หน้าแรกเว็บบอร์ด
แนะนำตัว
เพิ่ม/แก้.ข้อมูลส่วนตัว
ห้องโถงรวมรุ่น
Webสมาคมฯ
ปฏิทินนัดหมาย
สมัครสมาชิก
25 พฤศจิกายน 2567, 12:56:34
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน
[สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A
A
A
A
ระเบียบปฎิบัติ
Entire Forum
This board
This topic
Members
Entire Site
Languages
Cmadong Chula
|
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
|
ห้องวิชาการ ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม
| หัวข้อ:
กองทัพไทยควรมีเครื่องบินไร้คนขับปฏิบัติการลับได้หรือยัง??
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: กองทัพไทยควรมีเครื่องบินไร้คนขับปฏิบัติการลับได้หรือยัง?? (อ่าน 4587 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
กองทัพไทยควรมีเครื่องบินไร้คนขับปฏิบัติการลับได้หรือยัง??
«
เมื่อ:
19 มกราคม 2554, 15:17:05 »
กองทัพไทยควรมีเครื่องบินไร้คนขับปฏิบัติการลับได้หรือยัง??
โดยเวบเดลินิวส์ วันพุธ ที่ 19 มกราคม 2554 เวลา 0:02 น
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=656&contentId=116342
โลกในยุคโลกาภิวัฒน์ ยุคที่ข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน หน่อยกำลังรบจำเป็นต้องได้รับข่าวสารเป้าหมายได้ในปัจจุบันทันด่วน
ในอดีตการบินลาดตระเวนตรวจการณ์ต้องใช้เครื่องบินที่มีนักบินควบคุม ซึ่งนอกจากจะมีต้นทุนในการดำเนินการสูงแล้ว ยังเป็นการเสี่ยงอันตรายต่อตัวนักบินที่อาจจะถูกฝ่ายตรงข้ามโจมตีอีกด้วย เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์มีความก้าวหน้ามากขึ้น
มีอุปกรณ์ นำร่องที่ทันสมัย
อากาศยานไร้นักบิน (Unmanned Aerial Vehicle) หรือ UAV
จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.1950 เพื่อภารกิจการลาดตระเวนหาข่าว
เนื่องจาก UAV มีจุดเด่นในเรื่องไม่มีการสูญเสียนักบิน ประหยัดงบประมาณในการผลิต เป็นระบบที่ไม่ซับซ้อน มีขนาดเล็ก ทำการตรวจจับได้ยาก มีความคล่องตัวสูง ระยะเวลาบินไม่ขึ้นอยู่กับความเมื่อยล้าของนักบิน เพราะใช้นักบินภายนอก
ดังนั้น UAV จึงได้ถูกพัฒนาให้มีความทันสมัยมากขึ้น และใช้ในภารกิจหลากหลายมากขึ้น เช่น การค้นหาเป้าหมาย เพื่อชี้เป้า และ ในอีก 14 ปีต่อมา (ค.ศ.1964) จึงมี UAV ของกระทรวงกลาโหมประเทศต่างๆ เกิดขึ้น จนกระทั่งปี ค.ศ.1990 UAV จึงกลายเป็นเครื่องมือสำหรับสงครามในปัจจุบันและอนาคต เป็นเครื่องมือเฝ้าตรวจจากระยะไกลที่สามารถส่งภาพให้เห็นได้ในเวลาจริง สามารถลาดตระเวน ติดตาม ค้นหาเป้าหมาย เปรียบเสมือนกองทัพมีหูทิพย์ ตาทิพย์
UAV มีหลายประเภท ระยะใกล้ เรียกว่า เครื่องบินลาดตระเวนและนักบินระยะใกล้ 50 ก.ม. และ สำหรับภารกิจระยะไกล เช่น พรีเดเตอร์ของสหรัฐอเมริกา ใช้ในภารกิจลาดตระเวนหาข่าวและส่งภาพในเวลาจริงในระยะกว่า 500 ไมล์ จนถึงปลายปี ค.ศ. 1990 ได้มีการรวม เครื่องบินลาดตระเวนและนักบินระยะใกล้เข้าด้วยกัน เป็น UAV ยุทธวิธี เพื่อเป็นเครื่องมือของผู้บังคับหน่วยในสนามใช้ในการตรวจการณ์หาข่าวและส่งภาพได้ในเวลาจริงหรือใกล้จริงในระยะ 200 ก.ม.
สรุปได้ว่า UAV มีภารกิจหลัก คือ การลาดตระเวน การเฝ้าตรวจ และการค้นหาเป้าหมาย ดังนั้น UAV จะต้องมีความสามารถ
ด้านข่าวกรองภาพถ่าย (Image Intelligent) สามารถรายงานภาพภารกิจหรือสามารถค้นหาเป้าหมายในเวลาจริง (Real Time) หรือใกล้เวลาจริง (Near Real Time) สามารถปฏิบัติภารกิจในเวลากลางคืน สามารถกำหนดแผนการปฏิบัติการได้ล่วงหน้าไม่ว่าด้านการถ่ายภาพถ่ายทอดสัญญาณ วีดีโอ และภาพถ่าย หรือการบิน สามารถบ่งบอกพิกัดของเป้าหมาย หรือ กำหนดพิกัดบนแผนที่เพื่อค้นหาเป้าหมายโดยอัตโนมัติได้
ส่วนประมวลผลเพื่อใช้งานในส่วนนี้ จะประกอบด้วย ส่วนควบคุมภารกิจทางการบิน และระบบภูมิสารสนเทศ ส่วนถ่ายทอดสัญญาณวีดีโอและภาพถ่าย
โปรแกรม ของ Payload ระบบของ UAV จึงต้องมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ
1.ระบบตัวยาน (Airframe)
ประกอบด้วย ปีก (มิติ รูปร่าง แพนอากาศ) ลำตัว สัดส่วนแรงยกต่อแรงต้าน การจำแนกมวลตามโครงสร้างการบิน ระบบต้นกำลัง (เครื่องยนต์ ใบพัด เกียร์ทด ชุดควบคุมความเร็ว) แบตเตอรี่ ระบบควบคุม เงื่อนไขสำคัญๆ ในการออกแบบคือ ให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้หลายรูปแบบ ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก บรรทุกสัมภาระได้มาก ระบบขับเคลื่อนที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา มีอัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงต่ำ สามารถใช้งานติดต่อกันได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน สร้างง่าย ราคาต่ำ ต้องการบำรุงรักษาน้อย มีความคงทนแข็งแรง สามารถใช้งานได้ยาวนาน สามารถปฏิบัติงานได้หลายลักษณะพื้นที่ สะท้อนสัญญาณตรวจจับในระดับต่ำ เพดานบินสูง พิสัยบินไกล บินได้นาน ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและเหมาะสมกับภูมิประเทศ ใช้เวลาน้อยในการสร้างความพร้อมเพื่อปฏิบัติการ
2.ระบบสื่อสารระหว่างตัวยานบินกับสถานีควบคุมภาคพื้นดิน
เป็นหัวใจหลักของการทำงานของ UAV การสื่อสารในแนวสายตา มีความโค้งของผิวโลกเป็นอุปสรรคที่สำคัญเนื่องจากทำให้มีสัญญาณรบกวน และสัญญาณแทรกสอดค่อนข้างสูง ทั้งจากธรรมชาติ ของพื้นผิวโลก ทะเลสูง โดยคงทนต่อสัญญาณแทรกสอด คงทนต่อการรบกวนที่ไม่เจตนาจากอุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ เช่นการรับส่งวิทยุของเรือประมง การสื่อสารดาวเทียมเชิงพาณิชย์ หรือคงทนการรบกวนโดยเจตนา
หน่วยกำลังรบ มีความต้องการใช้ เครื่องบินตรวจการณ์ขนาดเล็ก ควบคุมจากระยะไกล โดยไม่ใช้นักบิน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรวบรวมข่าวสารเป้าหมายที่ถูกต้องเชื่อถือได้ ทันเวลา สามารถตรวจจับค้นหาเป้าหมาย พิสูจน์ทราบ และกำหนดที่ตั้งเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง ทันด่วน เพื่อการทำลายข้าศึกได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ทั้งยังสามารถประเมินผลเสียหายทางยุทธวิธีดีที่สุด
แต่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศในราคาแพงซึ่งทั้งระบบมีราคาเกือบ 500 ล้านบาท
ประกอบด้วย
-ตัวเครื่องบินเล็ก UAV และเครื่องบินเล็กฝึกบินแบบย่อส่วนอุปกรณ์ติดตั้งบนเครื่องบินเล็ก ได้แก่ กล้องโทรทัศน์เวลากลางวัน และเวลากลางคืน ชนิดอินฟราเรด กล้องถ่ายภาพนิ่ง เครื่องบันทึกภาพวีดีทัศน์
-อุปกรณ์ควบคุมภาคพื้น ประกอบด้วย สถานีควบคุมภาคพื้นที่มีตู้ควบคุมติดตั้ง GCS พร้อมเครื่องควบคุมอุณหภูมิ
สถานีเชื่อมต่อสัญญาณข้อมูล มีตู้ควบคุมติดตั้งพร้อมระบบระบายอากาศรถยนต์บรรทุก 10 ตัน สถานีควบคุมแบบเคลื่อนที่ได้/ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 31 กิโลวัตต์ ติดตั้งบนรถพ่วง/รวมทั้งอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้น เช่น เครื่องวัดสำหรับเครื่องยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตู้บรรทุกเครื่องบินเล็ก ชิ้นส่วนซ่อม อุปกรณ์จัดเตรียมแผนที่ระบบDigital
จะเห็นได้ว่า เครื่องบินอากาศยานไร้นักบินเป็นเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพ หากประเทศใดมีไว้ใช้จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถทางทหารเป็นอย่างดี ซึ่งก็ไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหนที่กองทัพไทยจะได้มีโอกาสใช้เครื่องอากาศยานไร้นักบินที่มีประสิทธิภาพนี้หรือไม่....? ? ?
อุบล ชาญปรีชาสมุทร รายงาน
XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX
สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี่แห่งชาติ : สวทช.
ของเรา ต้องพัฒนาเทคโนโลยี่ของเราให้การก้าวสู่ยุคไฮเทค ด้วยการพัฒนาจากทรัพยากรบุคคลในชาติของเราเอง จุฬาฯของเราก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพทำได้
บันทึกการเข้า
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
Cmadong Chula
|
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
|
ห้องวิชาการ ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม
| หัวข้อ:
กองทัพไทยควรมีเครื่องบินไร้คนขับปฏิบัติการลับได้หรือยัง??
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
"กิจกรรมสมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
-----------------------------
=> ข่าวประชาสัมพันธ์ของสมาคม
=> ข่าวประกาศทั่วไป
=> งานคืนสู่เหย้า ๒๕๕๗
=> โครงการรินน้ำใจเพื่อหอพักนิสิตจุฬาฯ
=> กิจกรรมเพื่อสังคม
=> กิจกรรมวิชาการ
=> กิจกรรมสมาชิกสัมพันธ์
=> กิจกรรมชาวหอ
=> กิจกรรมแกนนำและกิจกรรมรุ่น
=> ข้อบังคับสมาคม และกฎ ระเบียบ
=> การประชุมของสมาคม
-----------------------------
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
-----------------------------
=> เรื่องนี้มีพี่บอก
=> โบราณคดี Cmadong
=> ปฏิทินนัดหมายชาวหอ
=> ห้องซีมะโด่งสัมพันธ์
=> ซีมะโด่งเพื่อสังคม
=> ห้องสนทนาประสาพี่น้อง
=> ห้องชาวค่ายหอ
=> ห้องชมรมแสงเสียง
=> ห้องธรรมะ...สาธุ....
=> ห้องวิชาการ ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม
=> ห้องแสงทองของชีวิต
=> ห้องสุขภาพและความงาม
=> ห้องท่องเที่ยวไร้พรมแดน
=> ห้องซื้อ - ขาย แลกเปลี่ยน
-----------------------------
เรือนประจำรุ่น อบอุ่นทุกสมัย
-----------------------------
=> รุ่น 2507
=> รุ่น 2510
=> รุ่น 2511
=> รุ่น 2513
=> รุ่น 2514 รุ่นนี้มหาอำนาจ
=> รุ่น 2515
=> รุ่น 2516
=> รุ่น 2517
=> รุ่น 2518
=> รุ่น 2519
=> รุ่น 2520
=> รุ่น 2521
=> รุ่น 2522
=> รุ่น 2523
=> รุ่น 2524
=> รุ่น 2525
=> รุ่น 2526
=> รุ่น 2527
=> รุ่น 2528
=> รุ่น 2529
=> รุ่น 2530
=> รุ่น 2531
=> รุ่น 2532
=> รุ่น 2533
=> รุ่น 2534
=> รุ่น 2535 ซี้ปึ๊ก
=> รุ่น 2536
=> รุ่น 2537
=> รุ่น 2538
=> รุ่น 2539
=> รุ่น 2540
=> รุ่น 2541
=> รุ่น 2542
=> รุ่น 2543
=> รุ่น 2544
=> รุ่น 2545
=> รุ่น 2546
=> รุ่น 2547
=> รุ่น 2548
=> รุ่น 2549
=> รวมรุ่น 90-96 รหัส 2550-2556
-----------------------------
ข่าวประกาศ
-----------------------------
===> Countdown งานคืนสู่เหย้า 94 ปีซีมะโด่ง : เสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555
===> "รวมภาพงาน" ผูกพัน วันเก่า ๙๔ ปี ซีมะโด่ง
สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><
กำลังโหลด...