สวัสดี เช้าวันเสาร์ ครับ คุณอร ในภาคปฏิบัติทางศาสนา / ถ้ามีเปรียบเทียบ / ถ้ามีจงใจ / ถ้ามีตั้งใจ / ถ้ามีบังคับ/
จะไม่เกิดผลแห่งการเปลี่ยนแปลง เพราะเรากำลัง Due กับจิต (ไม่มีตัวตน) เหตุที่กล่าวเช่นนั้น เพราะว่า
การกระทำทุกอย่างที่เกิดจาก /ถ้ามี/ จะอยู่ภายใต้ ความ" อยาก "ทั้งหมด มันเป็น ธง ที่ จิต เราปักไว้แล้ว
เพียงแต่ ร่างกายตอบสนอง ให้ถึง ธง เท่านั้น ?? ถามว่า ถ้าเราทำได้ แต่จิต เรียนรู้อะไรไหม? เปลียนแปลง
ไหม?? เปล่า......คำว่า " อยาก " เป็น ฐาน รวม ของ โลภะ โทสะ โมหะ ( ราคะ ก็ คือ"โคตรอยาก" นั้นแหละ )
อ้าว....... แล้วจะทำอย่างไร? มันต้องคิดก่อนทำไม่ใช่หรือ ? ใช่ คำถามนี้เกิด กับทุกคนที่เริ่ม ปฏิบัติธรรม
แน่นอน คิด มาก่อน เพราะเราเกิด มาพร้อมสมอง และ จิตใช้สมองตลอด เราคุยกับตัวเอง อยู่ตลอดเวลา
ตั้งแต่จำความได้ จน ปัจจุบัน มีสักกี่ครั้งที่เราเกิดคำว่า" ชนะใจตนเอง " คงจำลำบาก เพราะมีไม่มากครั้งนัก
เราเอาตรงนี้มาวิเคราะห์ ดู ภาษา โลกๆ ก็คือ มีแพ้-มีชนะ ใช่ไหม ? อีตรง ชนะ นี่แหละคือ ช่องว่าง ทีเราจะ
สามารถ ที่จะ ใส่ Input ที่ต้องการจะฝึก จิต
ข้อมูล Input ที่มีอยู่ รอบๆเรา มีทั้ง + และ - แล้วจะยึดอะไร? เป็นแนว ทาง ที่น่า่จะถูกต้อง ก็ ศีล 5 นั้นแหละ
คือพื้นฐาน ประกอบเหตุผล เมื่อจิตเราคลุกเคล้า อยู่กับ Input ดีๆ จนชิน มันก็จะย้อนกลับ มาสั่ง คิด ตัดสิน
ใจ และให้เหตุผลแต่สิ่งที่ดีๆ
พอสรุปเป็น ข้อได้ว่า
1. ชนะใจตัวเอง ด้วยเหตุผลประกอบที่เป็น บวก
2. ทำทุกอย่างให้เป็นธรรมชาติ ไม่มี บังคับ ไม่มีอยาก ทำให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
พอถึงเวลา จิต เขาจะ ตื่นเอง