เรื่องที่ 1
นิทานเรื่อง 'ตะเกียงวิเศษ'
โดยดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
กาลครั้งหนึ่งมีชายหนุ่มคนหนึ่งขุดพบตะเกียงเก่าแก่อันหนึ่งในขณะที่เขากำลังทำสวนอยู่ พอเขาเอามือถู
ตะเกียง ก็ปรากฏว่ามีควันออกมาจากตะเกียงแล้วกลายเป็นยักษ์ตัวใหญ่ ยักษ์ตนนั้นพูดกับชายหนุ่มว่า
'ขอบใจที่ได้ช่วยให้ฉันเป็นอิสระฉันจะตอบแทนท่านโดยรับใช้ท่าน ท่านจะใช้อะไรฉันก็ได้ แต่มีข้อแม้ว่า
เมื่อไรที่ท่านหยุดใช้ฉัน ฉันก็จะกินท่าน'
ชายหนุ่มก็ตกลงเพราะเขาเห็นว่าการมีคนรับใช้เป็นเรื่องที่ดีและเขาก็มั่นใจว่า เขาจะใช้ยักษ์ตนนี้ให้ยุ่ง
อยู่ตลอดเวลาได้ ดังนั้นเขาจึงตอบตกลงยักษ์นั้นจึงถามว่า 'นายต้องการให้ฉันรับใช้เรื่องใดบ้างแต่อย่า
ลืมนะถ้านายหยุดใช้ฉันเมื่อใด ฉันก็จะกินนาย'ชายหนุ่มคนนั้นตอบว่า
'ฉันต้องการวังหลังหนึ่งเพื่อฉันจะได้เข้าไปอยู่'
ทันใดนั้นยักษ์ก็เนรมิตวังหลังหนึ่งได้ ชายหนุ่มตกใจเพราะเขานึกว่ายักษ์คงใช้เวลาสักปีกว่าจะสร้างวัง
เสร็จทีนี้เขาต้องคิดอย่างรวดเร็วว่าจะขอให้ยักษ์ทำอะไรต่อไปดี เขาบอกยักษ์ให้'สร้างถนนกว้างๆ ไป
ถึงหน้าวัง' ทันใดนั้นถนนก็ปรากฏอยู่ต่อสายตาเขา'ฉันต้องการสวนล้อมรอบวัง' เขาสั่งต่อไป
ทันทีความต้องการของเขาก็ปรากฏต่อหน้าเขา'ฉันต้องการ.....'เขาก็ขอไปเรื่อยๆแต่เขาเริ่มต้นวิตก
ว่าอีกไม่ช้าเขาก็จะขอจนหมดแล้วและอีกอย่างเขาคงเข้าไปอยู่ในวังอย่างผาสุกไม่ได้เพราะเขาต้องคอย
มานั่งสั่งยักษ์ให้ทำงานตลอดเวลา
ในที่สุดเขาก็คิดหาทางออกได้ เขาขอให้ยักษ์สร้างเสาต้นหนึ่งให้สูงสุดซึ่งยักษ์ก็เนรมิตให้ทันทีทันใด เขา
ขอให้ยักษ์ปีนเสาต้นนี้ช้าๆไปถึงยอดแล้วให้ปีนลงมาช้าๆ เช่นกัน พอถึงพื้นก็ให้ปีนขึ้นไปบนยอดใหม่อีกครั้ง
แล้วให้ปีนขึ้นปีนลงเช่นนี้ตลอดเวลาไม่ให้หยุดเลย
ยักษ์ตนนั้นก็เลยต้องปีนขึ้นปีนลงตลอดเวลาตามคำสั่งของนาย
ชายหนุ่มจึงเริ่มหายใจได้ทั่วท้อง ขณะนี้เขาปลอดภัยแล้วชายหนุ่มมีเวลาที่จะเข้าไปอยู่ในวังอย่างมีความ
สุขตั้งแต่นั้นมา
ยักษ์ตนนี้เปรียบเสมือนความคิดและจิตใจของเราถ้าเรารู้จักใช้ความคิดของเรา และควบคุมความคิดของ
เราให้ดีเราจะได้รับผลดีจากความคิดของเรา
ถ้าเราต้องการจะทำอะไรให้ดีให้ถูกต้องเราต้องควบคุมจิตใจของเราให้สงบเหมือนกับชายหนุ่มในนิทานที่
สามารถควบคุมยักษ์ตนนั้นได้และสามารถทำให้ความต้องการของเขาลุล่วงสำเร็จได้
ถ้าเราควบคุมความคิดของเราไม่ได้ มันจะสร้างปัญหาให้กับเราเราจะเริ่มต้นนั่งคิดว่าจะไปซื้ออะไร จะ
ไปกินอะไรดี หรือจะไปเที่ยวไหนดี ฯลฯความต้องการจะครอบคลุมจิตใจของเรา ครอบคลุมอารมณ์ของ
เรา เราจะหวั่นไหวต่อความโลภความโกรธและความอิจฉา เป็นต้นสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นถ้าเราไม่รู้จัก
ควบคุมความคิดของเราเช่นเดียวกับยักษ์ตนนั้นที่ข่มขู่ชายหนุ่มตลอดเวลา
เราต้องควบคุมความคิดของเราตลอดเวลาชายหนุ่มคนนี้ใช้ให้ยักษ์ปีนขึ้นลงที่เสาสูงต้นนั้นเราก็สามารถใช้
ลมหายใจเข้าออกของเราซึ่งอยู่กับเราตลอดเวลานั้นเป็นเสาสูงแทน
หมายเหตุ :: นิทานเรื่องตะเกียงวิเศษนี้คัดมาจากหนังสือวิทยาศาสตร์ของการฝึกจิตของ ดร.อาจอง
ชุมสาย ณ อยุธยา
เรื่องที่ 2
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่งเป็นคนเจ้าอารมณ์และมักจะปวดศีรษะอยู่เป็นประจำ
เขาได้ประกาศว่าจะให้รางวัลอย่างงามแก่คนที่สามารถรักษาอาการปวดศีรษะของเขาได้
หลายคนรวมทั้งหมอที่เชี่ยวชาญต่างก็มาเสนอแนะวิธีรักษาโรคปวดศีรษะของเศรษฐีผู้นี้แต่ไม่มีใครสามารถ
ทำให้เขาดีขึ้นได้
อยู่มาวันหนึ่งมีฤาษีคนหนึ่งมาเยี่ยมท่านเศรษฐีเศรษฐีได้บอกเกี่ยวกับโรคประจำตัวของเขาให้ฤาษีทราบ
ฤาษีจึงบอกกับท่านเศรษฐีว่า 'โธ่เอ้ยวิธีรักษาอาการปวดหัวของเจ้ามันง่ายนิดเดียว
นั่นก็คือเจ้าจะต้องมองทุกอย่างให้เป็นสีเขียวตลอดเวลาแล้วอาการโรคของเจ้าจะหายไป'
เศรษฐีดีใจมากและคิดว่าสิ่งที่ฤาษีแนะนำเขานั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายมาก
วันรุ่งขึ้นท่านเศรษฐีจึงจ้างช่างทาสีหลายร้อยคนมาช่วยกันทาสีของหมู่บ้านให้เป็นสีเขียวทั้งหมด
นอกจากนี้ด้วยความที่รวยมากยังซื้อเสื้อผ้าให้กับคนในหมู่บ้านทุกคนใส่
ในตอนนี้ไม่ว่าท่านเศรษฐีมองไปทางใดก็จะเป็นสีเขียวตลอดเวลาตามคำแนะนำของฤาษี
อาการปวดศีรษะของเขาก็เริ่มดีขึ้นๆเขาเริ่มเป็นคนยิ้มง่ายและมีความสุขมากขึ้น
สองสามเดือนถัดมาท่านฤาษีได้กลับมาเยี่ยมเศรษฐีอีกครั้งหนึ่ง
แต่ก็ต้องเผชิญกับช่างทาสีคนหนึ่งซึ่งร้องตะโกนว่า
'หยุด หยุดท่านเข้ามาในหมู่บ้านนี้ในชุดนี้ไม่ได้เดี๋ยวผมจะทาสีท่านให้เป็นสีเขียวก่อน'
ฤาษีก็รีบวิ่งและหนีเข้าไปในบ้านของเศรษฐีได้ในที่สุด
ฤาษีได้พบกับเศรษฐีในบ้านและตำหนิว่า
'ทำไมเจ้าถึงเสียเงินทองและ เวลามากมายเพื่อเปลี่ยนสิ่งต่างๆรอบตัวเจ้าเล่า
เราไม่ได้บอกให้เจ้าไปเที่ยวทาสีทุกอย่างให้เป็นสีเขียวเลย
เจ้าเพียงแค่สวมแว่นตาสีเขียวเท่านั้นเจ้าก็จะมองเห็นทุกสิ่งรอบตัวเป็นสีเขียวแล้ว'
หากเราต้องการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมรอบตัว
เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทุกคนหรือทุกอย่าง
เราเพียงแต่เปลี่ยนตัวของเราเองก่อน
แล้วเราจะพบว่าทุกสิ่งรอบตัวของเราก็จะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน
เรื่องจากการพัฒนาศักยภาพอย่างสมบูรณ์
โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
เรื่องที่ 3
+++... หาความสุขได้ที่ไหน...+++
ในตอนกลางดึกมีหญิงชราคนหนึ่งกำลังคลำหาอะไรอยู่สักอย่างรอบๆเสาไฟฟ้าข้างถนน
สักครู่หนึ่งมีหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งเดินผ่านมา
เห็นหญิงชราผู้นั้นกำลังคลำหาอะไรอยู่
เลยถามขึ้นว่า'ยาย..ยาย ยายกำลังหาอะไรอยู่?'
หญิงชราผู้นั้นตอบว่า'ยายกำลังหาเข็มเย็บผ้าอยู่ยายทำตกหายไป
ช่วยยายหาหน่อยซิ'
พวกหนุ่มสาวกลุ่มนั้นจึงช่วยกันหาทั่วไปหมดแต่ก็หาไม่เจอ
ในที่สุดพวกเขาก็สงสัยจึงถามยาย
'ยาย..ยาย..ยายทำเข็มเย็บผ้าหล่นหายไปที่ไหน'
ยายตอบว่า'ยายกำลังเย็บผ้าอยู่ในห้องยาย แล้วก็ทำเข็มเย็บผ้าหล่นหายไป
แต่ห้องยายมันมืดยายมองไม่ค่อยเห็น
ยายก็เลยออกมาที่ถนนเพราะมีแสงสว่างจากไฟฟ้า
'...พอพวกหนุ่มสาวกลุ่มนั้นได้ยินเช่นนั้นก็เลยหัวเราะแล้วเดินหนีไป
เมื่อเราทำของหายเราก็ต้องไปหาในที่ๆเราทำหาย
มันจะมีประโยชน์อะไรที่จะไปหาที่อื่น
เช่นเดียวกันเมื่อเราแสวงหาความสุข
เราก็ต้องหาในจุดที่เราได้สูญเสียความสุขไป
มันจะมีประโยชน์อะไรที่จะหาความสุขที่ไนท์คลับหรือสถานเริงรมย์ต่างๆ
หรือไปหาที่ประเทศนั้นประเทศนี้หรือไปหาที่คนอื่น
ความสุขของเราได้สูญหายไปจากตรงไหน?
คำตอบก็คือเราได้ทำหายไปจากใจของเรา ได้สูญเสียความสุขจากตัวเรา
จากใจเรา ดังนั้นเราก็ต้องแสวงหาความสุขที่จุดนั้น คือ ในตัวเรา
แหล่งที่มา : จาก'แนวทางสู่ความสุข' โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
เรื่องที่ 4
มีสามีภรรยาคู่หนึ่งทุกๆ เช้าภรรยาจะแอบมองดูเพื่อนบ้านจากหน้าต่างชั้นบน และวิ่งกลับมารายงานให้
สามีฟัง
'เพื่อนบ้านเรานี่ซักผ้าไม่เป็นเลย เสื้อผ้าสกปรกเหลือเกินไม่รู้ใช้ผงซักฟอกยี่ห้ออะไร หรือใช้วิธีซักอย่าง
ไร'
สามีก็ตอบว่า'อย่าไปสนใจคนอื่นเขาเลย เราซักผ้าของเราให้สะอาดก็แล้วกัน'
แต่ภรรยาก็แอบไปดูเพื่อนบ้านจากหน้าต่างข้างบนบ้านและวิ่งกลับมางานสามีทุกเช้า
'เสื้อผ้าของเขาสกปรกอีกแล้ว'
อยู่มาวันหนึ่งภรรยาวิ่งลงมารายงานสามีด้วยความแปลกประหลาดใจ'ไม่เข้าใจจริงๆ ว่าวันนี้เกิดอะไร
ขึ้น เสื้อผ้าของเขาขาวสะอาดอยากรู้เหลือเกินว่าเขาเปลี่ยนมาใช้ผงซักฟอกอะไร หรือใช้วิธีใดซักผ้า'
สามีหัวเราะแล้วกล่าวว่า
'นี่ฉันรำคาญเธอเหลือเกินเมื่อเช้านี้ฉันตื่นแต่เช้ามืดและไปเช็ดกระจกหน้าต่างให้สะอาด ก่อนหน้านี้
กระจกมันสกปรก เธอมองออกไปก็เห็นแต่ความสกปรก'
'ทุกข์' หรือ 'สุข' นั้น จิตใจเป็นตัวกำหนด แต่ถึงอย่างนั้น ผิด ชอบ ชั่ว ดีก็ยังถือเป็นภาระทาง
จริยธรรมของเราอยู่มิใช่หรือ
ที่สำคัญ ...(ถ้าจำไม่ผิด) หากเช็ดหน้าต่างแล้วนะคะ ถึงจะไม่สะอาดเอี่ยมแต่ก็เพียงพอที่แสงจะลอด
ผ่าน เพื่อประโยชน์แก่การ 'มอง' และ 'เห็น
โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
ตาแคม