25 พฤศจิกายน 2567, 09:45:57
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: สถานพยาบาลคุณภาพ รพสต.มีแพทย์รับผิดชอบ จะมีทั่วประเทศภายใน 30 ก.ย.54  (อ่าน 7286 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 01 ธันวาคม 2553, 19:59:36 »


       “จุรินทร์” ตั้งเป้ายก “อนามัย” เป็น รพ.สต.ทั่วประเทศภายใน 30 ก.ย.54
                      โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   1 ธันวาคม 2553
        http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000169609

                          

                             นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สธ.

       “จุรินทร์” เผย ยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแล้ว 3,200 แห่ง ที่เหลือจะเสร็จภายใน 30 กันยายน 2554 เตรียมสร้างโรงพยาบาลชุมชน 54 แห่งในอำเภอเกิดใหม่ ตั้งเป้าใน 2554 สร้างอย่างน้อยร้อยละ 50
      
       วันนี้ (1 ธ.ค.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังเปิดอาคารผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซับใหญ่ อำเภอซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ ว่า

       กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบาย 2 เรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว

       เรื่องที่ 1 จะดำเนินการยกระดับสถานีอนามัยทั่วประเทศ ประมาณ 10,000 แห่ง เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในปี 2553 ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 2,000 แห่ง ในปีงบประมาณ 2554 จะดำเนินการอีก 8,000 แห่ง โดยภายใน 2 เดือนแรกปีงบประมาณ 2554 คือตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2553 ได้ยกระดับเพิ่มแล้วอีก 1,200 แห่ง คาดว่า สิ้นเดือนกันยายน 2554 จะครบทุกแห่ง รวมขณะนี้ยกระดับแล้ว 3,200 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ประชาชนในตำบล หมู่บ้านและชุมชน ได้รับบริการที่ดีขึ้น โดยเฉพาะงานส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค การคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงการรักษาพยาบาลสำหรับโรคพื้นฐานเบื้องต้น ถือว่าเป็นนโยบายที่รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
      
       เรื่องที่ 2 ขณะนี้ ประเทศไทยมีอำเภอเกิดใหม่และยังไม่มีโรงพยาบาลประจำอำเภออยู่จำนวน 54 แห่งทั่วประเทศ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายชัดเจนที่จะเร่งดำเนินการสร้างโรงพยาบาลชุมชนประจำอำเภอเพิ่มเติมอีก 54 แห่ง โดยเร็วที่สุด มั่นใจว่า

       ในปี 2554 จะดำเนินการได้อย่างน้อยร้อยละ 50 ของอำเภอเกิดใหม่ทั้งหมด โดยใช้งบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขที่มีอยู่ โดยจะให้การสนับสนุนเป็นกรณีพิเศษต่อไป ทั้งหมดนี้จะมีส่วนช่วยให้ประชาชนมีโรงพยาบาลเป็นของตนเองในอำเภอ ได้รับบริการที่ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น ที่สำคัญไม่ต้องเดินทางไปไกลนอกพื้นที่อำเภอเหมือนในปัจจุบัน
      
       สำหรับเรื่องบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไม่มีปัญหา ได้มีการประชุมติดตามทุกวันจันทร์ที่กระทรวงสาธารณสุข อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้าราชการอย่างน้อย 4 ตำแหน่ง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล พยาบาลเวชปฏิบัติ หรือ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข และ สหวิชาชีพ เช่น ทันตาภิบาล เภสัชชุมชน แพทย์แผนไทย ซึ่งในปี 2553 มีแพทย์แผนไทยประจำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแล้ว 150 คน ไม่นับลูกจ้าง

                     รักนะ รักนะ รักนะ

)))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))

       ตัวชี้วัดสุขภาพดีถ้วนหน้าตัวที่ 3 การมีสถานพยาบาลใกล้บ้้านเข้าถึงสะดวก จะมี รพสต.ทุกตำบล ใน 30 ก.ย.2554 และ

       ตัวชี้วัดสุขภาพดีถ้วนหน้าตัวที่ 4 ทุกสถานพยาบาลที่ให้บริการมีป้ายรับรองคุณภาพจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ (Hospital Accreditation : HA)

       กระทรวงสาธารณสุข จะให้ทุก ร.พ.พัฒนา จนได้ใบรับรองคุณภาพ จาก สถาบันฯ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้มั่นใจในบริการ คาดว่า คงสำเร็จภายในปี 2555

       ดังนั้น ตัวชี้วัด 3 และ 4 จะสำเร็จตามอีก 2 ตัวชี้วัดที่ได้ทำสำเร็จ ไว้รอแล้ว ได้แก่

       ตัวชี้วัด ที่ 1 ประชาชนได้รับสิ่งจำเป็นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิต (จปฐ.)ถ้วนหน้า ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องรับไปทำสำเร็จแล้ว

       ตัวชี้วัดที่ 2 ประชาชนร่วมมือในการทำให้สุขภาพของตนเองดีขึ้น เช่น อาสาสมัคร เป็น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ที่ครบทุกหมู่บ้านแล้ว เป็นแกนนำเรื่องสุขภาพจาก รพสต.หรือ รพสอ.ไปสู่การปฏิบัติตามของประชาชน

                            

ศูนย์แพทย์ชุมชน ปัจจุบันเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อนแล้ว
ผมเป็นแพทย์ประจำพื้นที่นั้นดูแลรักษาสุขภาพใกล้บ้าน รพสต.ข้างต้น  หลั่นล้า

     สุขภาพดีถ้วนหน้าในปี ค.ศ.2000 หรือ พ.ศ.2543 ที่เราทำยังไม่สำเร็จ
       จะสำเร็จได้ในปี 2555 (2 เหอๆๆ เหอๆๆ เหอๆๆ)แน่นอน

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #1 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2553, 15:53:13 »


                              โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   19 ธันวาคม 2553
            http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000178047

                                   

                                           นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.

       สธ.เร่งพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข พร้อมจัดอบรมเจ้าหน้าที่ประจำรพ.สต. 14 หลักสูตร เพิ่มศักยภาพดูแลประชาชนในพื้นที่ได้เต็มที่ครบถ้วน เร่งทำเกณฑ์จัดกรอบอัตรากำลังดูแลประชาชน พยาบาล 1 คนต่อประชากร 5,000 คน ส่วนแพทย์ 1 คนดูแลประชากร 10,000 คน
       
       นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2554 นี้ สธ. มีแผนยกระดับสถานีอนามัย 7,750 แห่งทั่วประเทศ เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) ทุกแห่ง

       หลังจากที่ในปีงบฯ 2553 ได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปแล้ว 2,000 แห่งให้บริการประชาชนแล้ว
ครอบคลุม 5 ภารกิจหลัก ได้แก่
1.การรักษาพยาบาล
2.การส่งเสริมสุขภาพ
3.การป้องกันโรค
4.การฟื้นฟูสุขภาพผู้เจ็บป่วยและ
5.การคุ้มครองความปลอดภัยผู้บริโภคทั้งเรื่องอาหาร ยา เครื่องสำอาง ตามนโยบายรัฐบาลและ

      นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สธ. โดยตั้งเป้าให้ทุกจังหวัดพัฒนาให้แล้วเสร็จทุกแห่ง ภายในเดือนมี.ค. 2554 นี้โดยได้กำชับผู้ตรวจราชการทุกเขตขอให้ติดตามเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษ
       
       นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ในด้านการพัฒนาบุคลากรรองรับภารกิจบริการดังกล่าว ในปีนี้ได้เพิ่ม
หลักสูตรอบรมใหม่อีก 4 หลักสูตร ได้แก่
1.การดูแลผู้ป่วยที่อยู่ระยะสุดท้ายชีวิต
2.การควบคุมโรค
3.การจัดบริการแพทย์ฉุกเฉินในชุมชน และ
4.การรักษาโรคในชุมชน

       จากเดิมในปี 2553 ได้จัดทำหลักสูตรพัฒนาแล้ว 11 หลักสูตร ประกอบด้วย

       หลักสูตรพื้นฐาน 6 หลักสูตร ได้แก่
1.หลักสูตรการดูแลครอบครัว
2.ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง
3.ทันตสุขภาพชุมชน
4.การส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
5.การคุ้มครองผู้บริโภค
6.การบริหารจัดการองค์กร

       หลักสูตรเฉพาะ 5 หลักสูตร ได้แก่
1.การฟื้นฟูผู้เจ็บป่วยในชุมชน
2.การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น
3.การจัดบริการแพทย์แผนไทย
4.การให้บริการคำปรึกษา
5.การดูแลสุขภาพอนามัยวัยเจริญพันธุ์
       
       นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ สธ. ยังได้จัดทำเกณฑ์การพัฒนา รพ.สต. ให้มีมาตรฐานบริการประชาชนที่สูงขึ้น โดยกำหนดกรอบอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ดูแลประชาชนให้ใกล้ชิดมากขึ้น ดังนี้

กำหนดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คนดูแลประชากรเฉลี่ย 1,250 คน
พยาบาลวิชาชีพดูแลประชากร 1 ต่อ 5,000 คน
แพทย์ดูแลประชากร 1 ต่อ 10,000 คน

       โดยในปี 2554 นี้ สธ. จะพัฒนา รพ.สต. ให้ผ่าน

        เกณฑ์โรงพยาบาล 3 ดี คือ
1.มีบรรยากาศดี
2.บริการดี และ
3.ระบบบริหารจัดการดี

       ให้ได้ร้อยละ 50 เพื่อให้ประชาชนพึงพอใจยิ่งขึ้น

                      win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><