25 พฤศจิกายน 2567, 21:43:25
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 2 3 [4]  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์  (อ่าน 55538 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #75 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2553, 08:04:55 »

สวัสดียามเช้า ชาวเวบที่รักทุกท่านครับ
                        สำหรับพี่สิงห์ อาหารมื้อเช้า-กลางวัน ถือเป็นมื้อสำคัญของชีวิต ต้องรับประทานและจะเลือกให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายพวกอาหารขยะไม่เอาเลย เช่นก๊วยเตี๋ยว หรือกระเภาไข่ดาว แต่มื้อเย็น ถ้าอยู่นครหรือต่างจังหวัดรับประทานสลัดทูน่า ถ้าอยู่บ้านส่วนมาก ตอนเย็นจะรับประทานฝรั่งหรือชมภู่ อยู่ได้สบายโดยไม่หิวเลย ที่บ้านผมจะซื้อฝรั่งที่มีรถมาขายถึงหน้าบ้าน เป็นฝรั่งกิมจู กิโลละ 20 บาท อาทิตย์ละสี่กิโลกรัม เป็นอาหารมื้อเย็น  รับประทานคู่กับลูกเสาวรสหนึ่งผล เป็นมื้อเย็น ประหยัดสตางค์  ไม่เสียเวลาหุงข้าวและไปซื้อกับข้าวด้วย ยกเว้นมีญาติมาเท่านั้น
                        แต่อย่าลืมออกกำลัง  และนอนหัวค่ำ ทุกวันแบบพี่สิงห์ด้วยนะครับ
                        ทุกท่านเชิญทดลองสูตรแบบพี่สิงห์ก็ได้ครับ
                        สวัสดียามเช้าทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #76 เมื่อ: 30 ตุลาคม 2553, 08:01:07 »



บทพระนิพนธ์ เรื่อง  “ พระพุทะเจ้าทรงสั่งสอนอะไร ”
ประพันธ์โดย
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
                         
                         เมื่อก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ได้มีมหาบุรุษท่านหนึ่ง เกิดขึ้นมาในโลก เป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์สักกชนบทซึ่งบัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล มีพระนามว่า “สิทธัตถะ” ต่อมาอีก ๓๕ ปี พระสิทธัตถะได้ตรัสรู้ธรรม ได้พระนามตามความตรัสรู้ว่า “พุทธะ” ซึ่งไทยเราเรียกว่า “พระพุทธเจ้า” พระองค์ได้ทรงประกาศพระธรรมที่ได้ตรัสรู้แก่ประชาชน จึงเกิดพระพุทธศาสนา(คำสั่งสอนของพระพุทธะ)และบริษัท ๔ คือ ภิกษุ (สามเณร) ภิกษุณี (สามเณรี) อุบาสก อุบาสิกาขึ้นในโลกจำเดิมแต่นั้น บัดนี้ ในเมืองไทยมีแต่ภิกษุ (สามเณร) อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุนั้น คือชายผู้ถือบวช ปฏิบัติพระวินัยของภิกษุ สามเณรนั้นคือชายผู้มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี หรือแม้อายุเกิน ๒๐ ปี แล้วเข้ามาถือบวช ปฏิบัติสิกขาของสามเณร อุบาสก อุบาสิกานั้นคือ คฤหัสถ์ชายหญิงผู้นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (ที่พึ่ง) และปฏิบัติอยู่ในศิลสำหรับคฤหัสถ์ บัดนี้มีคำเรียกชายหญิงทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ผู้ประกาศตนถึงพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะว่า “พุทธมามกะ” “พุทธมามิกา” แปลว่า “ผู้นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นพระของตน” พระพุทธศาสนาได้แผ่จากประเทศถิ่นที่เกิดไปในประเทศต่าง ๆ ในโลก
   หลักเคารพสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ พระรัตนตรัย (รัตนะ ๓) ได้แก่พระพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้พระธรรมแล้วทรงประกาศสั่งสอนตั้งพระพุทธศาสนาขึ้น พระธรรม คือ สัจธรรม (ธรรม คือความจริง) ที่พระพุทะเจ้าได้ตรัสรู้ได้ทรงประกาศสั่งสอนเป็นพระศาสนาขึ้น พระสงฆ์ คือ หมู่ชนผู้ได้ฟังคำสั่งสอนได้ปฏิบัติและได้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า บางพวกออกบวชตาม ได้ช่วยนำพระพุทธศาสนาและสืบต่อวงศ์ การบวชมาจนถึงปัจจุบันนี้
   ทุกคนผู้เข้ามานับถือพระพุทธศาสนา จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม จะถือบวชก็ตาม ต้องทำกิจเบื้องต้น คือ ปฏิญาณตน ถึงพระรัตนตรัยนี้เป็นสรณะ คือ ที่พึ่งหรือดังที่เรียกว่านับถือเป็นพระของตน เทียบกับทางสกุล คือ นับถือพระพุทธเจ้าเป็นพระบิดา ผู้ให้กำเนิดชีวิตในทางจิตใจของตน พุทธศาสนิกชนย่อมสังคมกับผู้นับถือศาสนาอื่นได้ และย่อมแสดงความเคารพสิ่งเคารพในศาสนาอื่นได้ตามมรรยาทที่เหมาะสม เช่นเดียวกับแสดงความเคารพบิดาหรือมารดาหรือผู้ใหญ่ของคนอื่นได้ แต่ก็คงมีบิดาของตน ฉะนั้น จึงไม่ขาดจากความเป็นพุทธศาสนิกชน ตลอดเวลาที่ยังนับถือพระรัตนตรัยเป็นของตน เช่นเดียวกับเมื่อยังไม่ตัดบิดาของตน ไปรับบิดาของเขามาเป็นบิดา ก็คงเป็นบุตรธิดาของบิดาตนอยู่หรือเมื่อยังไม่แปลงสัญชาติเป็นอื่น ก็คงเป็นไทยอยู่นั่นเอง ฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงไม่คับแคบ ผู้นับถือ ย่อมสังคมกับชาวโลกต่างชาติต่างศาสนาได้สะดวก ทั้งไม่สอนให้ลบหลู่ใคร ตรงกันข้ามกลับให้เคารพต่อผู้ควรเคารพทั้งปวง และไม่ซ่อนเร้นหวงกันธรรมไว้โดยเฉพาะ ใครจะมาศึกษาปฏิบัติก็ได้ทั้งนั้น โดยไม่ต้องมานับถือก่อนทั้งนี้ เพราะแสดงธรรมที่เปิดทางให้พิสูจน์ได้ว่าเป็นสัจจะ (ความจริง)ที่เป็นประโยชน์สุขแก่การดำรงชีวิตในปัจจุบัน สัจธรรมที่เป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจ ๔
   อริยสัจ แปลว่า “สัจจะของผู้ประเสริฐ (หรือผู้เจริญ)” “สัจจะที่ผู้ประเสริฐพึงรู้” “สัจจะที่ทำให้เป็นผู้ประเสริฐ” หรือ แปลรวบรัดว่า “สัจจะอย่างประเสริฐ” พึงทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า มิใช่สัจจะชอบใจของโลกหรือของตนเอง แต่เป็นสัจจะทางปัญญาโดยตรง

อริยสัจ ๔
อริยสัจมี  ๔  คือ
๑. ทุกข์ ได้แก่ความเกิด ความแก่ ความตายซึ่งมีเป็นธรรมดาของชีวิต และความโศก ความระทม ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจซึ่งมีแก่จิตใจและร่างกายเป็นครั้งคราว  ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบ  ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบ ความปราถนาไม่สมหวัง กล่าวโดยย่อก็คือกายและใจนี้เองที่เป็นทุกข์ต่าง ๆ จะพูดว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ต่าง ๆ ดังกล่าวก็ได้
๒. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตใจคือดิ้นรนทะยานอยากเพื่อจะเป็นอะไรต่าง ๆ ดิ้นรนทะยานอยากที่จะไม่เป็นในภาวะที่ไม่ชอบต่าง ๆ
๓. นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากดังกล่าว
๔. มรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ทางมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ  วาจาชอบ  การงานชอบ  อาชีพชอบ  เพียรชอบ  สติชอบ  ตั้งใจชอบ
   ได้มีบางคนเข้าใจว่า พระพุทธศาสนามองในแง่ร้าย เพราะแสดงให้เห็นแต่ทุกข์และสอนสูงเกินกว่าที่คนทั่วไปจะรับได้ เพราะสอนให้ดับความดิ้นรนทะยานอยากเสียหมด ซึ่งจะเป็นไปอยาก เห็นว่าจะต้องมีผู้เข้าใจดังนี้ จึงต้องซ้อมความเข้าใจไว้ก่อนที่จะแจกอริยสัจออกไป พระพุทธศาสนามิได้มองแง่ร้ายหรือแง่ดีทั้งสองแต่อย่างเดียว แต่มองในแง่ของสัจจะ คือ ความจริงซึ่งต้องใช้ปัญญาและจิตใจที่บริสุทธิ์ประกอบกันพิจารณา
ตามประวัติพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้ามิได้ทรงแสดงอริยสัจแก่ใครง่าย ๆ แต่ได้ทรงอบรมด้วยธรรมข้ออื่นจนผู้นั้นมีจิตใจบริสุทธิ์พอที่จะรับเข้าใจได้แล้ว จึงทรงแสดงอริยสัจ ธรรมข้ออื่นที่ทรงอบรมก่อนอยู่เสมอสำหรับคฤหัสถ์นั้น คือ ทรงพรรณนาทาน พรรณนาศีล พรรณนาผลของทาน ศีล ที่เรียกว่าสวรรค์ (หมายถึง ความสุขสมบูรณ์ต่าง ๆ ที่เกิดจาก ทาน  ศีล  แม้ในชีวิตนี้) และอานิสงส์ คือ ผลดีของการที่พรากใจออกจากกามได้เทียบด้วยระบบการศึกษาปัจจุบัน ก็เหมือนอย่างทรงแสดงอริยสัจแก่นักศึกษาชั้นมหาวิทยาลัย ส่วนนักเรียนที่ต่ำลงมาก็ทรงแสดงธรรมข้ออื่นตามสมควรแก่ระดับ พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงแสดงธรรมที่สูงกว่าระดับของผู้ฟัง ซึ่งจะไม่เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย แต่ผู้ที่มุ่งศึกษาแสวงหาความรู้ แม้จะยังปฏิบัติไม่ได้ ก็ยังเป็นทางเจริญความรู้ในสัจจะที่ตอบได้ตามเหตุผล และอาจพิจารณาผ่อนลงมาปฏิบัติทั้งที่ยังมีตัณหา คือความอยากดังกล่าวอยู่นั่นแหละ ทางพิจารณานั้นพึงมิได้ เช่นที่จะกล่าวเป็นแนวคิดดังนี้
๑. ทุก ๆ คนปราถนาสุข ไม่ต้องการทุกข์ แต่ทำไมคนเราจึงยังต้องเป็นทุกข์ และไม่สามารถจะแก้ ทุกข์ของตนเองได้ บางทียิ่งแก้ก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก ทั้งนี้ ก็เพราะไม่รู้เหตุผลตามเป็นจริงว่า  อะไรเป็นเหตุของทุกข์  อะไรเป็นเหตุของสุข  ถ้าได้รู้แล้วก็จะแก้ได้ คือ ละเหตุที่ให้เกิดทุกข์ ทำเหตุที่ให้เกิดสุข  อุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่งก็คือใจของตนเอง เพราะคนเราตามใจตนเองมากไปจึงต้องเดือดร้อน
๒. ที่พูดกันว่าตามใจตนเองนั้น โดยที่แท้ก็คือตามใจตัณหา  คือความอยากของใจ ในขั้นโลก ๆ นี้ ยังไม่ต้องดับความอยากให้หมด  เพราะยังต้องอาสัยความอยากเพื่อสร้างโลก หรือสร้างตนเองให้เจริญต่อไป  แต่ก็ต้องมีการควบคุมอยากให้อยู่ในขอบเขตที่สมควรและจะต้องรู้จักอิ่ม  รู้จักพอในสิ่งที่ควรอิ่มควรพอ  ดับตัณหาได้เพียงเท่านี้  ก็พอครองชีวิตอยู่ในสุขในโลก  ผู้ก่อไฟเผาตนเองและเผาโลกอยู่ในขอบเขต  ถ้าคนเรามีความอยากจะได้วิชาก็ตั้งใจพากเพียรเรียน  มีความอยากจะได้ทรัพย์ยศ  ก็ตั้งใจเพียรทำงานให้ดี  ตามกำลังตามทางที่สมควรดังนี้แล้วก็ใช้ได้  แปลว่า  ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ในทางโลก  และก็อยู่ในทางธรรมด้วย
๓. แต่คนเราต้องการมีการพักผ่อน  ร่างกายก็ต้องมีการพัก  ต้องให้หลับ  ซึ่งเป็นการพักทางร่างกาย  จิตใจก็ต้องมีเวลาที่ปล่อยให้ว่าง  ถ้าจิตใจยังมุ่งคิดอะไรอยู่ไม่ปล่อยความคิดนั้นแล้วก็หลับไม่ลง  ผู้ที่ต้องการมีความสุขสนุกสนานจากรูป  เสียงทั้งหลาย  เช่น  ชอบฟังดนตรีที่ไพเราะ  หากจะถูกเกณฑ์ให้ต้องฟังอยู่นานเกินไปเสียงดนตรีที่ไพเราะที่ดังจ่อหูอยู่นานเกินไปนั้น  จะก่อให้เกิดความทุกข์อย่างยิ่ง  จะต้องการหนีไปให้พ้น  ต้องการกลับไปอยู่กับสภาวะที่ปราศจากเสียง  คือ  ความสงบ, จิตใจของคนเราต้องการความสงบดังนี้อยู่ทุกวัน  วันหนึ่งเป็นเวลาไม่น้อย  นี้คือความสงบใจ  กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือความสงบ  ความดิ้นรนทะยานอยากของใจ  ซึ่งเป็นความดับทุกข์นั่นเอง  ฉะนั้น  ถ้าทำความเข้าใจให้ดีว่าความดับทุกข์ก็คือความสงบใจ  ซึ่งเป็นอาหารใจที่ทุก ๆ คนต้องการอยู่ทุกวัน  ก็จะค่อยเข้าใจในข้อ “นิโรธ” นี้ขึ้น
๔. ควรคิดต่อไปว่า  ใจที่ไม่สงบนั้น  ก็เพราะเกิดความดิ้นรนขึ้น  และก็บัญชาให้ทำ  พูด  คิด  ไปตามใจที่ดิ้นรนนั้น  เมื่อปฏิบัติตามใจไปแล้วก็อาจสงบลงได้แต่การที่ปฏิบัติไปแล้วนั้น  บางทีชั่วเวลาประเดี๋ยวเดียวก็ให้เกิดทุกข์โทษอย่างมหันต์  บางทีเป็นมลทินโทษที่ทำให้เสียใจไปช้านาน  คนเช่นนี้  ควรทราบว่าท่านเรียกว่า “ทาสของตัณหา”  ฉะนั้น  จะมีวิธีทำอย่างไรที่จะไม่แพ้ตัณหา  หรือจะเป็นนายของตัณหาในใจของตนเองได้  วิธีดังกล่าวนี้ก็คือ 

มรรคมีองค์ ๘
 มรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์  ได้แก่
๑. สัมมาทิฐิ   ความเห็นชอบ   คือ  เห็นอริยสัจ ๔ หรือเห็นเหตุผลตามเป็นจริง  แม้โดยประการที่ผ่อนพิจารณาลงดังกล่าวมาโดยลำดับ
๒. สัมมาสังกัปปะ   ความดำริชอบ   คือ  ดำริ  หรือคิดออกจากสิ่งที่ผูกพันให้เป็นทุกข์  ดำริในทางไม่พยาบาทมุ่งร้าย  ดำริในทางไม่เบียดเบียน
๓. สัมมาวาจา   วาจาชอบ   แสดงในทางเว้น   คือ  เว้นจากพูดเท็จ  เว้นจากพูดส่อเสียดให้แตกร้าวกัน  เว้นจากพูดคำหยาบร้าย  เว้นจากพูดเพ้อเจ้อไม่เป็นประโยชน์
๔. สัมมากัมมันตะ   การงานชอบ   แสดงในทางเว้น   คือ  เว้นจากการฆ่า  เว้นจากการทรมาน   เว้นจากการลัก  เว้นจากการประพฤติผิดในทางกาม
๕. สัมมาอาชีวะ   เลี้ยงชีพชอบ   คือ  เว้นจากมิจฉาอาชีวะ(อาชีพที่ผิด) สำเร็จชีวิตด้วยอาชีพที่ชอบ
๖. สัมมาวายามะ   เพียรพยายามชอบ   คือ  เพียรระวังบาปที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น  เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว  เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น  เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม  แต่ให้เจริญยิ่งขึ้น
๗. สัมมาสติ   ระลึกชอบ  คือ  ระลึกไปในที่ตั้งของสติที่ดีทั้งหลาย   เช่น  ในสติปัฏฐาน ๔  คือ  กาย  เวทนา  จิต  ธรรม
๘. สัมมาสมาธิ   ตั้งใจชอบ   คือ  ทำใจให้เป็นสมาธิ(ตั้งมั่นแน่วแน่) ในเรื่องที่ตั้งใจจะทำในทางที่ชอบ
มรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นทางเดียว  แต่มีองค์ประกอบเป็น ๘ และย่อลงได้ในสิกขา (ข้อที่พึงศึกษาปฏิบัติ) คือ
ศิลสิกขา  สิกขา คือ ศิล ได้แก่ วาจาชอบ การงานชอบ  อาชีพชอบ  พูดโดยทั่วไป  จะพูด จะทำอะไรก็ให้ถูกชอบอย่าให้ผิด  จะประกอบอาชีพอะไรก็เช่นเดียวกัน  ถ้ายังไม่มีอาชีพ  เช่น  เป็นนักเรียนต้องอาศัยท่านผู้ใหญ่อุปการะ  ก็ให้ใช้ทรัพย์ที่ท่านให้มาตามส่วนที่ควรใช้  ไม่ใช้อย่างสุรุยสุร่ายเหลวแหลก  ศึกษาควบคุมตนเอง ให้งดเว้นจากความคิดที่จะประพฤติตน ที่จะเลี้ยงตนเลี้ยงเพื่อนไปในทางที่ผิด ที่ไม่สมควร
จิตตสิกขา   สิกขา  คือ จิต  ได้แก่เพียรพยายามชอบ   ระลึกชอบ  ตั้งใจชอบ  พูดโดยทั่วไป  เรื่องจิตของตนเป็นเรื่องสำคัญ  ต้องพยายามศึกษาฝึกฝน  เพราะอาจฝึกได้โดยไม่ยากด้วย  แต่  ขอให้เริ่ม  เช่น  เริ่มฝึกตั้งความเพียร  ฝึกให้ระลึกจดจำ  และ  ระลึกถึงเรื่องที่เป็นประโยชน์  และให้ตั้งใจแน่วแน่  สิกขาข้อนี้  ใช้ในการเรียนได้เป็นอย่างดี  เพราะการเรียนจะต้องมีความเพียร  ความระลึก  ความตั้งใจ
ปัญญาสิกขา   สิกขา  คือ  ปัญญา  ได้แก่  เห็นชอบ  ดำริชอบ  พูดโดยทั่วไป  มนุษย์เจริญขึ้นก็ด้วยปัญญาที่พิจารณาและลงความเห็นในทางที่ถูกที่ชอบ  ดำริชอบก็คือพิจารณาโดยชอบ  เห็นชอบ  ก็คือลงความเห็นที่ถูกต้อง  นักเรียนผู้ศึกษาวิชาการต่าง ๆ ก็มุ่งให้ได้ปัญญาสำหรับที่จะพิจารณาและลงความเห็นโดยความถูกชอบ  ตามหลักแห่งเหตุผลตามเป็นจริง  และโดยเฉพาะควรอบรมปัญญาในไตรลักษณ์ และปฏิบัติ

ไตรลักษณ์
หมายถึง  ลักษณะที่ทั่วไปแก่สังขารทั้งปวง  คือ  อนิจจะ  ทุกขะ  อนัตตา
อนิจจะ   ไม่เที่ยง   คือ  ไม่ดำรงอยู่เป็นนิตย์นิรันดร์  เพราะเมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องดับในที่สุด  ทุก ๆ สิ่งจึงมีหรือเป็นอะไรขึ้นมาแล้ว  ก็กลับไม่มี  เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ชั่วคราวเท่านั้น
ทุกขะ   ทนอยู่คงที่ไม่ได้   ต้องเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอเหมือนอย่างถูกบีบคั้นให้ทรุดโทรมเก่าแก่ไปอยู่เรื่อย ๆ ทุก ๆ คนผู้เป็นเจ้าของสิ่งเช่นนี้  ก็ต้องทนทุกข์เดือดร้อนไม่สบายไปด้วย  เช่น  ไม่สบายเพราะร่างกายป่วยเจ็บ
อนัตตา   ไม่ใช่อัตตา  คือไม่ใช่ตัวตน  อนัตตานี้ขออธิบายเป็นลำดับชั้น สามชั้น ดังต่อไปนี้
๑. ไม่ยึดมั่นกับตนเกินไป   เพราะถ้ายึดมั่นกับตนเกินไป  ก็ทำให้เป็นคนเห็นแก่ตนถ่ายเดียว หรือทำให้หลงตน  ลืมตนมีคติ  คือลำเอียงเข้ากับตน  ทำให้ไม่รู้จักตนตามเป็นจริง  เช่น  คิดว่าตนเป็นฝ่ายถูก  ตนต้องได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ด้วย  ความยึดมั่นตนเองเกินไป  แต่ตามที่เป็นจริง  หาได้เป็นเช่นนั้นไม่
๒. บังคับให้สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งร่างกายและจิตใจไม่ให้เปลี่ยนแปลงตามความต้องการไม่ได้  เช่น  บังคับให้เป็นหนุ่มสาวสวยงามอยู่เสมอไม่ได้  บังคับให้ภาวะของจิตใจชุ่มชื่นว่องไวอยู่เสมอไม่ได้
๓. สำหรับผู้ที่ได้ปฏิบัติไปได้จนถึงขั้นสูงสุด  เห็นสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งร่างกายและจิตใจเป็นอนัตตา  ไม่ใช่ตัวตนทั้งสิ้นแล้ว  ตัวตนจะไม่มี  ตามพระพุทธภาษิตที่แปลว่า “ตนย่อมไม่มีแก่ตน”  แต่ยังมีผู้รู้ซึ่งไม่มียึดมั่นอะไรในโลก  ผู้รู้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็สามารถปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นไปตามสมควรแก่สถานที่ และสิ่งแวดล้อมโดยเที่ยงธรรมล้วน ๆ (ไม่มีกิเลสเจือปน)

พรหมวิหาร ๔
คือ  ธรรมสำหรับเป็นที่อาศัยอยู่ของจิตใจที่ดี  มี ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้
๑. เมตตา   ความรักที่จะให้เป็นสุข  ตรงกันข้ามกับความเกลียดที่จะให้เป็นทุกข์  เมตตาเป็นเครื่องปลูกอัธยาศัยเอื่ออารี  ทำให้มีความหนักแน่นในอารมณ์  ไม่ร้อนวู่วาม  เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกเป็นมิตร  ไม่เป็นศัตรู  ไม่เบียดเบียนใคร  แม้สัตว์เล็กเพียงไหน  ให้เดือดร้อนทรมานด้วยความเกลียด  โกรธ  หรือสนุกก็ตาม
๒. กรุณา   ความสงสารจะช่วยให้พ้นทุกข์  ตรงกันข้ามกับความเบียดเบียน  เป็นเครื่องปลูกอัธยาศัยเผื่อแผ่เจือจาน  ช่วยผู้ที่ประสบทุกข์ยากต่าง ๆ กรุณานี้เป็นพระคุณสำคัญข้อหนึ่งของพระพุทธเจ้า  เป็นพระคุณสำคัญข้อหนึ่งของพระมหากษัตริย์  และเป็นคุณข้อสำคัญของท่านผู้มีคุณทั้งหลาย  มีมารดาบิดา  เป็นต้น
๓. มุทิตา   ความพลอยยินดีในความได้ดีของผู้อื่น  ตรงกันข้ามกับความริษยาในความดีของเขา  เป็นเครื่องปลูกอัธยาศัยส่งเสริมความดี  ความสุข  ความเจริญของกันและกัน
๔. อุเบกขา   ความวางใจเป็นกลาง   ในเวลาที่ควรวางใจ  ดังนั้น  เช่นในเวลาที่ผู้อื่นถึงความวิบัติ  ก็วางใจเป็นกลาง  ไม่ดีใจว่าศัตรูถึงความวิบัติ  ไม่เสียใจว่าคนที่รักถึงความวิบัติ  ด้วยพิจารณาในทางกรรมว่า  ทุก ๆ คนมีกรรมเป็นของตน  ต้องเป็นทายาทรับผลของกรรมที่ตนได้ทำไว้เอง  ความเพ่งเล็งถึงกรรมเป็นสำคัญดังนี้ จนวางใจลงในกรรมได้  ย่อมเป็นเหตุถอนความเพ่งเล็งบุคคลเป็นสำคัญ  นี้แหละเรียกว่า  อุเบกขา  เป็นเหตุปลูกอัธยาศัยให้เพ่งเล็งถึงความผิดถูกชั่วดีเป็นข้อสำคัญ  ทำให้เป็นคนมีใจยุติธรรมในเรื่องทั่ว ๆ ไปด้วย
ธรรม ๔ ข้อนี้  ควรอบรมให้มีจิตใจด้วยวิธีคิดแผ่ใจประกอบด้วยเมตตา เป็นต้น  ออกไปในบุคคลและในสัตว์ทั้งหลาย  โดยเจาะจง  และโดยไม่เจาะจงคือทั่วไปเมื่อหัดคิดอยู่บ่อย ๆ จิตใจก็จะอยู่กับธรรมเหล่านี้บ่อยเข้าแทนความเกลียด  โกรธ  เป็นต้น  ที่ตรงกันข้าม  จนถึงเป็นอัธยาศัยขึ้น  ก็จะมีความสุขมาก

นิพพานเป็นบรมสุข
ได้มีภาษิตกล่าวไว้  แปลว่า  “นิพพานเป็นบรมสุข  คือ  สุขอย่างยิ่ง” นิพพาน คือ ความละตัณหา  ในทางโลกและทางธรรมทั้งหมด  ปฏิบัติโดยไม่มีตัณหาทั้งหมด คือ  การปฏิบัติถึงนิพพาน
ได้มีผู้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า “ธรรม” (ตลอดถึง) “นิพพาน” ที่ว่า “เป็นสนฺทิฏฐิโก  อันบุคคลเห็นเอง” นั้นเป็นอย่างไร?  ได้มีพระพุทธดำรัสตอบโดยความว่าอย่างนี้ คือ  ผู้ที่มีจิตถูกราคะ  โทสะ  โมหะ  ครอบงำเสียแล้ว  ย่อมเกิดเจตนาความคิดเพื่อเบียดบังตนบ้าง  ผู้อื่นบ้าง  ทั้งสองฝ่ายบ้าง  ต้องได้รับทุกข์โทมนัสแม้ทางใจ  เมื่อเกิดเจตนาขึ้น ดังนั้น  ก็ทำให้ประพฤติทุจริตทางไตรทวาร คือ กาย  วาจา  ใจ  และคนเช่นนั้นย่อมไม่รู้ประโยชน์ตน  ประโยชน์ผู้อื่น  ประโยชน์ทั้งสองตามเป็นจริง  แต่ว่าเมื่อละความชอบ  ความชัง  ความหลงเสียได้  ไม่มีเจตนาความคิดที่จะเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย  ไม่ประพฤติทุจริตทางไตรทวาร  รู้ประโยชน์ตน  ประโยชน์ผู้อื่น  ประโยชน์ทั้งสองตามเป็นจริง  ไม่ต้องเป็นทุกข์โทมนัสแม้ด้วยใจ  “ธรรม (ตลอดถึง) นิพพาน” ที่ว่า “เห็นเอง” คือเห็นอย่างนี้  ตามที่ตรัสอธิบายนี้  เห็นธรรม ก็คือ  เห็นภาวะหรือสภาวะแห่งจิตใจของตนเอง  ทั้งในทางไม่ดีทั้งในทางดี  จิตใจเป็นอย่างไร  ก็ให้รู้อย่างนั้นตามเป็นจริง  ดังนี้  เรียกว่าเห็นธรรม  ถ้ามีคำถามว่า  จะได้ประโยชน์อย่างไร?  ก็ตอบได้ว่า  ได้ความดับทางใจ  คือ  จิตใจที่ร้อนรุ่มด้วยความโลภ  โกรธ  หลง  นั้น เพราะมุ่งออกไปข้างนอก  หากได้นำใจกลับเข้ามาดูใจเองแล้ว  สิ่งที่ร้อนจะสงบเอง  และให้สังเกตจับตัวความสงบนั้นให้ได้  จับไว้ให้อยู่  เห็นความสงบดังนี้  คือ  เห็นนิพพาน  วิธีเห็นธรรม  เห็นนิพพาน  ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสอธิบายไว้  จึงเป็นวิธีธรรมดาที่คนธรรมดาทั่ว ๆ ไปปฏิบัติได้  ตั้งแต่ขั้นธรรมดาต่ำ ๆ ตลอดถึงขั้นสูงสุด
อริยสัจ  ไตรลักษณ์  และนิพพาน  “เป็นสัจธรรม”  ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้  และได้ทรงแสดงสั่งสอน (ดังแสดงในปฐมเทศนาและในธรรมนิยาม) เรียกได้ว่าเป็น “ธรรมสัจจะ” สัจจะทางธรรมเป็นวิสัยที่พึงรู้ได้ด้วยปัญญา  อันเป็นทางพ้นทุกข์ในพระพุทธศาสนา  แต่ทางพระพุทธศาสนาก็ได้แสดงธรรมในอีกหลักหนึ่งคู่กันไป คือ ตาม  “โลกสัจจะ”

สัจจะทางโลก คือ  แสดงในทางตน  มีตน  เพราะโดยสัจจะทางธรรมที่เด็ดขาดย่อมเป็นอนัตตา  แต่โดยสัจจะทางโลกย่อมมีอัตตา  ดังที่ตรัสว่า “ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน”  ในเรื่องนี้ได้ตรัสไว้ว่า  “เพราะประกอบเครื่องรถเข้า  เสียงว่ารถย่อมมีฉันใด  เพราะขันธ์ทั้งหลายมีอยู่  สัตว์ก็ย่อมมีฉันนั้น”  ธรรมในส่วนโลกสัจจะ  เช่น  ธรรมที่เกี่ยวแก่การปฏิบัติในสังคมมนุษย์ เช่น  ทิศหก  แม้ศีลกับวินัยบัญญัติทั้งหลาย  ก็เช่นเดียวกัน  ฉะนั้นแม้จะปฏิบัติอยู่เพื่อความพ้นทุกข์ทางจิตใจตามหลักธรรมสัจจะ  ส่วนทางกายและทางสังคม  ก็ต้องปฏิบัติอยู่ในธรรมตามโลกสัจจะ  ยกตัวอย่างเช่น  บัดนี้ตนอยู่ในภาวะอันใด เช่น  เป็นบุตรธิดา  เป็นนักเรียน เป็นต้น  ก็พึงปฏิบัติธรรมตามควรแก่ภาวะของตน  และ ควรพยายามศึกษานำธรรมมาปฏิบัติใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นประจำวัน  พยายามให้มีธรรมในภาคปฏิบัติขึ้นทุก ๆ วัน  ในการเรียน  ในการทำงาน  และในการอื่น ๆ เห็นว่า  ผู้ปฏิบัติดังนี้จะเห็นเองว่า  ธรรมมีประโยชน์อย่างยิ่งแก่ชีวิตอย่างแท้จริง


      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #77 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2553, 07:57:07 »

ธรรมะจากพระดี

“หลักมนุษย์”
                       

                         เนื้อหาของธรรมะเรื่องนี้เรียบเรียงมาจากพระธรรมเทศนาเรื่อง “อัปปมาทกถา” ของพระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต) ซึ่งแสดงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี(สมเด็จย่า) เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๓๙ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
             คนเราทุกคนย่อมต้องการให้ชีวิตของตนเองมีความสุขทั้งทางโลก คือในด้านการเรียน การทำงาน ฯลฯ มีความเจริญก้าวหน้า ประสพผลสำเร็จตามที่ตั้งใจ และมีความสุขในทางธรรม คือมีจิตใจที่ผ่องใส สงบ สดชื่น ลดความโลภ โกรธ หลง ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
              การจะไปสู่ชีวิตที่สมบูรณ์ดังกล่าวได้ เราจะต้องไม่ตกลงไปใน “หลุมดักมนุษย์” ซึ่งทำให้เราหยุดนิ่งไม่พัฒนาตนเอง เพราะมัวไปหลงมัวเมาอยู่กับบางสิ่งบางอย่าง พระธรรมปิฎก ได้แสดงธรรมที่จะเป็นเคล็ดลับของการมีชีวิตอยู่เหนือ “หลุมดักมนุษย์” ไว้อย่างน่าสนใจ ผู้จัดพิมพ์จึงนำมาเสนอให้ผู้อ่าน ได้มีโอกาสศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้าที่พระเดชพระคุณท่านนำมาแสดงไว้ และเราเชื่อว่า การที่พระเดชพระคุณท่านดำรงความเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ(สุปฏิปันโน) มาได้โดยยาวนาน ก็เนื่องจากท่านมหาเถระเป็นผู้ที่มีธรรมะในข้อนี้อยู่ตลอดเวลา จึงมีความก้าวหน้าเจริญในธรรม มาอย่างต่อเนื่องมั่นคง
                ในสังคมที่เรียกว่าเจริญนี้ มีเครื่องกล่อมจิตและผ่อนคลายชีวิตมากมาย หากไม่ระวัง ทำให้ถูกต้องและพอดี จะมีโทษ ทำให้เกิดความประมาท นำความพินาศมาให้ตนเองและคนอื่นได้ “สิ่งกล่อม” หมายถึงสิ่งที่ประโลมใจให้ชุ่มชื่น ช่วยให้พักใจ ลืมทุกข์ หลบปัญหาได้ชั่วคราว แต่สิ่งกล่อมนี้ไม่ได้แก้ปัญหาหรือความทุกข์ที่สาเหตุอันแท้จริง จึงไม่ทำให้ทุกข์และปัญหาต่างๆ หมดไป หากมัวติดเพลิดเพลินกับสิ่งกล่อมก็กลายเป็นความประมาท ทำให้เกิดความเสื่อมและพินาศในที่สุดได้
                 สิ่งกล่อมบางอย่างมีโทษร้ายแรง หาประโยชน์ยาก เช่น อบายมุข สุรา ยาเสพติดทั้งหลาย ความเพลิดเพลินในการพนัน การหมกมุ่นสำส่อนทางเพศ การมั่วสุมต่างๆ
                สิ่งกล่อมบางอย่างมีประโยชน์บ้าง ถ้ารู้จักใช้ให้ถูกต้อง จำกัดให้พอดี เช่น การสนุกสนาน บันเทิง รวมทั้งดนตรี กีฬา ที่ไม่เป็นพิษภัยหรือก่อความเดือดร้อนแก่ใคร ก็อาจช่วยพักใจคลายทุกข์ได้ชั่วคราว และพัฒนาร่างกาย ส่งเสริมสติปัญญาได้ แต่ต้องอยู่ในขอบเขตไม่เกินพอดี
                 ความเชื่อทางศาสนา บางครั้งกลายเป็นสิ่งกล่อมจิตอย่างหนึ่งไปได้ เพราะทำให้คลายทุกข์ เช่น ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือการพึ่งคนอื่น ฯลฯ สิ่งกล่อมนี้ต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังมาก ถ้าติดเพลินหมกมุ่น จะทำให้จิตใจอ่อนแอ หวังพึ่งแต่ภายนอกให้ช่วย ไม่คิดแก้ไขสาเหตุของทุกข์ที่แท้ ไม่สู้ปัญหา ลักษณะแบบนี้จะทำให้ศาสนากลายเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจแบบเหนี่ยวดึง “ลง” จนกระทั่งคนเราไม่พัฒนาตนเอง
                  แม้แต่สมาธิ หรือสิ่งดีงามประเสริฐ หากใช้ผิดจุดมุ่งหมาย ก็อาจกลายเป็นสิ่งกล่อมที่นำไปสู่ความประมาท เช่น สมาธิ ที่นำมาใช้เพื่อให้เกิดความสุข สงบใจ ลืมทุกข์ ลืมปัญหาไปชั่วคราว ก็อาจกลายเป็นสิ่งกล่อมที่ทำให้หยุดจมอยู่ในความประมาท ไม่คิดแก้ไขปัญหาที่เป็นสาเหตุอันแท้จริงให้หมดไป เช่นเดียวกับการปลงอนิจจัง(ปล่อยวาง) ก็อาจกลายเป็นสิ่งกล่อมให้สบายใจชั่วคราว โดยไม่คิดแก้ไขปัญหาที่แท้จริงเช่นกัน
               ดังนั้นการปฏิบัติสิ่งที่ดีงามทั้งหลาย จะต้องเป็น “สัมมาปฏิบัติ” คือทำให้ถูกต้อง จำกัดขอบเขตให้พอดีด้วย เช่นใช้เพื่อฟื้นฟูจิตใจ พักใจชั่วคราว เมื่อมีเรี่ยวแรง เข้มแข็งมากขึ้นแล้ว ก็ต้องเดินทางให้ก้าวหน้าต่อไป สู่จุดหมายที่ถูกต้อง ไม่ใช่ไปตกหลุมดักอยู่กับสิ่งกล่อมนั้นๆ จนไม่ไปไหน
   สรุปก็คือ “หลุมดักมนัษย์” ที่ทำให้คนเราแม้แต่คนดี คนประเสริฐ ตกลงไปในความประมาทมี ๓ อย่าง คือ
•   ความสุข
•   ความสำเร็จ
•   ความดีงาม
                      ผู้ที่มีความสุขแล้ว ก็มักจะติดเพลินในความสุขนั้นๆ ชอบผัดผ่อน ไม่คิดจะลุกขึ้นมาขวนขวายทำอะไรให้ก้าวหน้าอีก เพราะติดความสุขสบายนั้น
ผู้ที่มีความสำเร็จแล้ว คือประสพความสำเร็จ ได้ลาภ ยศ ร่ำรวย มีตำแหน่ง ฯลฯ บางคนก็เกิดความเฉื่อยชา หยุดรอเสวยผลสำเร็จนั้น ไม่คิดทำอะไรอีก บางคนเกิดความลำพองมัวเมาในความสำเร็จ ใช้ทรัพย์หรืออำนาจไปข่มขู่คุกคาม เบียดเบียนคนอื่นให้ทุกข์ร้อน
                      ผู้ที่ก้าวหน้าไปในความดี ก็มักเกิดความภูมใจและพอใจในความดีงามที่ตนเองไปถึงหรือมี ทำให้หยุด ไม่พัฒนาตนเองไปสู่ความดีงามที่สูงยิ่งๆขึ้นไป
พระพุทธเจ้าได้สอนให้คนเราไม่ประมาท คือเมื่อ ประสบความสุข สำเร็จ มีความก้าวหน้าดีงาม ก็ให้รู้เท่าทันความไม่แน่นอน และรู้ว่าสิ่งที่ได้มานั้น เป็นเพียงเครื่องมือ และโอกาสที่ตนเองจะสร้างประโยชน์เพื่อทำสิ่งที่ดีงามแก่ตนเองและผู้อื่นให้เพิ่มพูนยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่ไปติดกับ หรือตกหลุม หยุดอยู่กับที่ ไม่ยอมไปไหน
                      ลักษณะสำคัญของความไม่ประมาท คือ “เป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ” มีความระลึก ตื่นตัว อยู่ในสิ่งที่ดีงาม ระวังไม่ยอมให้จิตใจ ไถลออกไปกับความชั่ว ที่จะทำให้เกิดความเสียหาย และไม่ทิ้งโอกาสแห่งการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้างอกงามให้แก่ตนเองและผู้อื่น
                     ความไม่ประมาทนั้น แสดงเด่นชัดที่การรู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ไม่ปล่อยเวลาแม้แต่ขณะเดียวให้ผ่านไปอย่างเปล่าประโยชน์เวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า ไม่มากก็น้อยต้องให้ “ได้” อะไรบ้าง
                     สิ่งที่ “ได้” นั้น มีหลายอย่าง ตั้งแต่ได้วัตถุสิ่งของ เงินทองการงาม ได้บำเพ็ญประโยชน์ ทำบุญทำทาน ได้ความรู้ ได้เพิ่มพูนคุณธรรม ได้ความสุขสบายใจ ได้ปัญญามองเห็นโลก เข้าใจชีวิตอย่างรู้เท่าทัน สรุปคือ ได้พัฒนาชีวิต จิตใจ และทำปัญญาให้เจริญงอกงามและได้ทำประโยชน์ตนและแก่ผู้อื่น ถ้าทำทุกวัน แม้ไม่มาก ก็จะค่อยๆเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา ก็ถือว่าเวลาไม่สูญเปล่า บุคคลคนนั้นก็เป็นผู้ “ไม่ประมาท”
                      ส่วนผู้ประมาทนั้น แสดงออกหลายอย่าง เช่น ขี้เกียจ เห็นแก่ความสะดวกสบาย เอาแต่ที่ง่ายๆ ลุ่มหลงหมกมุ่นในความสุข ตามใจตนเองอยู่เรื่อย การแสดงออกเหล่านี้ เนื่องจากมองข้ามความสำคัญของเวลา ก็เลยผัดวันประกันพรุ่งอยู่เรื่อย
                       บ้างก็เมาวัย เมาในความไร้โรค เมาชีวิต คิดว่าตัวเองยังเด้ก หนุ่มสาว ร่างกายแข็งแรง หรือคิดว่าชีวิตจะอยู่ได้ตลอดไป ไม่รู้จักตาย ก็เลยปล่อยตัวปล่อยใจ ปล่อยเวลา มารู้เอาก็เมื่อสายเกินไปเสียแล้ว
                      เรื่องความไม่ประมาทนี้จึงสำคัญนัก ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน(ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป) เรื่องที่ทรงกล่าวสั่งเสียครั้งสุดท้าย ที่เรียกว่า “ปัจฉิมโอวาท” ก็คือเรื่อง “ความไม่ประมาท”

      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #78 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2553, 19:52:40 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 29 ตุลาคม 2553, 08:04:55
สวัสดียามเช้า ชาวเวบที่รักทุกท่านครับ
                        สำหรับพี่สิงห์ อาหารมื้อเช้า-กลางวัน ถือเป็นมื้อสำคัญของชีวิต ต้องรับประทานและจะเลือกให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายพวกอาหารขยะไม่เอาเลย เช่นก๊วยเตี๋ยว หรือกระเภาไข่ดาว แต่มื้อเย็น ถ้าอยู่นครหรือต่างจังหวัดรับประทานสลัดทูน่า ถ้าอยู่บ้านส่วนมาก ตอนเย็นจะรับประทานฝรั่งหรือชมภู่ อยู่ได้สบายโดยไม่หิวเลย ที่บ้านผมจะซื้อฝรั่งที่มีรถมาขายถึงหน้าบ้าน เป็นฝรั่งกิมจู กิโลละ 20 บาท อาทิตย์ละสี่กิโลกรัม เป็นอาหารมื้อเย็น  รับประทานคู่กับลูกเสาวรสหนึ่งผล เป็นมื้อเย็น ประหยัดสตางค์  ไม่เสียเวลาหุงข้าวและไปซื้อกับข้าวด้วย ยกเว้นมีญาติมาเท่านั้น
                        แต่อย่าลืมออกกำลัง  และนอนหัวค่ำ ทุกวันแบบพี่สิงห์ด้วยนะครับ
                        ทุกท่านเชิญทดลองสูตรแบบพี่สิงห์ก็ได้ครับ
                        สวัสดียามเช้าทุกท่านครับ

พี่สิงห์,
ไม่มีฝรั่งรับทาน ทำไงดีคะ??
หนิงซื้อส้มโอทองของเมืองจีน
ผลละ 1.99 €กินคนเดียวได้ 2 วัน
ครอบครัวเขาปอกไม่เป็น...เลยไม่สนใจ
แกะเปลือกวางไว้ให้ในครัวยังไม่มีใครแตะ.

กินส้มโอกะกาแฟ...
แล้วไปว่ายน้ำ 65-75นาที
รับรองคะ ว่าร่างกายได้เผาผลาญ
กลับมาบ้านกินช้างได้ตัวพอดีคะ.




nn.
      บันทึกการเข้า


Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #79 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2553, 16:29:14 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องหนิง
                          กรณีไม่มีฝรั่งรับประทาน โดยเฉพาะอยู่ยุโรป แนะนำ Apple ครับ
                          สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #80 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2553, 20:41:57 »

ธรรมะจากพระดี

“ธรรมะตรวจใจ”

                        ในยุคสมัยที่ข่าวสารข้อมูลมีมากมาย และมีสื่อมวลชนหลายรูปแบบ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ เมื่อเกิดความขัดแย้งอะไรขึ้นมา การเสนอข่าวสารต่างๆ ก็มักจะทำให้ชาวบ้านหรือประชาชนทั่วไปสับสน เกิดแบ่งฝักแบ่งฝ่าย โดยไม่ได้คิดถึงธรรมะหรือเรื่องความถูกต้องดีงามของส่วนรวมเป็นหลัก บางคนถึงกับกล่าวเท็จให้ร้ายผู้อื่นโดยใช้สื่อมวลชนบางส่วนเป็นเครื่องมือ ดังนั้น การจะอยู่ในยุคสมัยอย่างนี้ พระท่านจึงสอนเราให้หมั่น “ตรวจใจ” หรือตรวจสอบใจตัวเราเองอยู่เสมอ ว่าเราเข้าข้างฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ เพราะเป็นความ “ลำเอียง” หรือ “อคติ” หรือไม่ เนื่องจากเราทุกคนนั้น ยังเป็นคนธรรมดาหรือปุถุชน จึงยังมีความรู้สึกที่เรียกว่า “อคติ ๔” คือมีความรู้สึกลำเอียง ๔ อย่าง ทให้เมื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับใคร อะไร เราก็มักจะมีแนวโน้มเชื่อหรือไม่เชื่อตามความรู้สึก ๔ อย่างนั้น โดยไม่ใช้สติปัญญาไตร่ตรองก่อน จิตที่มีอคติจึงมักทำอะไรผิดพลาด ก่อปัญหา เพราะมองอะไรทำอะไรไม่ตรงตามความจริงนั่นเอง อคติ ๔ ได้แก่
                      ลำเอียงเพราะความรัก เช่น รักว่าเป็นคนบ้านเดียวกัน เป็นคนหล่อ คนสวย คนซื่อสัตย์ เป็นคนให้ประโยชน์แก่เรา ฯลฯ
                      ลำเอียงเพราะความเกลียด เช่น เคยทะเลาะกันมาก่อน คิดไม่ตรงกับเรา ไม่ชอบนิสัย ไม่ชอบหน้า ไม่ชอบคนเชื้อชาตินี้ เป็นผู้จะทำให้เราเสียประโยชน์ ฯลฯ
                      ลำเอียงเพราะความกลัว เช่น กลัวว่าเขาจะมาทำลายสิ่งที่เรารักใคร่ เคารพ (เช่นบุคคล ศาสนา ฯลฯ) ให้เกิดเสียหาย ทำให้ความสะดวกสบาย หรือผลประโยชน์ ลาภ ยศ ต่างๆ ของเราหมดไป ฯลฯ
                      ลำเอียงเพราะความหลง(งมงาย) เช่น ปักใจเชื่อว่าต้องเป็นแบบนี้ อย่างนี้ จึงถูกจึงดี โดยไม่ต้องคิดไตร่ตรองเหตุผล ความจริง อะไรเลย
                       ดังนั้น เมื่อจะตัดสินใจทำอะไร เชื่อใคร เราควรจะหยุดและ “ตรวจใจ” ว่า เป็นเพราะเราลำเอียงด้วย “อคติ ๔” อย่างที่ว่ามาหรือเปล่าและตรวจใจ “เขา” หรือคนที่เอาข่าวสารข้อมูลมาเขียนมาบอกหรือโฆษณา ว่าเขาเขียนหรือพูดเพราะมี "อคติ ๔" คือ รัก เกลียด กลัว หลง ในบุคคลหรือสิ่งใดหรือไม่อย่างไร เขาต้องการประโยชน์อะไรจากเรา การตรวจใจตนเองและคนอื่นด้วย จะช่วยให้เรามีความรอบคอบ ไม่เชื่อใครโดยง่าย จนเกิดผลเสียหายต่อตนเองและผู้อื่น

ธรรมะเรื่องนี้นำมาจาก “มองให้ลึก นึกให้ไกล” โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ขณะที่ยังเป็นพระเทพเวที
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #81 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2553, 13:56:16 »

พี่สิงห์,
แอ๊ปเปิ้ลเยอรมัน...เหมือนผลไม้บ้านเรา...กล้วยน้ำว้า!
ถูก...มีทั้งปี...มองทางไหนก็มี
เลยเบื่อค่ะ!
เริ่มเหี่ยวก็โล๊ะอบเค้กที...
เลยหันไปหาexotic fruit....pomeloนี่แหละคะ
อร่อย


nn
      บันทึกการเข้า


Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #82 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2553, 20:12:17 »

ธรรมะจากพระดี

ธรรมะตรวจนิสัย
       
         ในยุคที่ข่าวสารต่างๆ มีมากมายและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ทั้งจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์-โทรสาร ฯลฯ การจะอยู่ได้อย่างรู้เท่าทัน มีสติ และไม่ถูกหลอก หรือถูกมอมเมาให้เชื่อโดยไม่คิดไตร่ตรอง จึงเป็นสิ่งจำเป็น แต่จะทำได้ เราควรจะต้องรู้นิสัยของเรา ที่มีต่อข่าวสารต่างๆ ว่าเป็นแบบไหน เมื่อรู้แล้ว เราจะได้รู้จักตนเองว่ามีจุดอ่อนอย่างไร ควรจะต้องปรับปรุงแก้ไขตนเองอย่างไร พระธรรมปิฎก ท่านแบ่งไว้ ๔ แบบ ลองดูซิว่าตนเองเป็นแบบไหน
๑.   พวกตื่นเต้นข่าวสาร
•   มีข่าวอะไร จะให้ความสนใจทุกเรื่อง แต่เอาแค่พอรู้เป็นเลาๆ เช่น ฟังเขาเล่า ดูโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แบบผ่านๆตา ผ่านๆหู
•   ชอบเอาเรื่องที่รู้เลาๆ นั้นมาเล่าลือ วิพากษ์วิจารณ์ให้ดูตื่นเต้น จะได้ทันสมัยไม่ “ตกข่าว”
•   ไม่สนใจว่าข่าวที่เอามาเล่าลือนั้น จริงไม่จริง ขอเอาความตื่นเต้นมาก่อน
๒.   พวกตามทัน
•   สนใจติดตามข่าวสาร รู้ทันเหตุการณ์ด้านต่างๆ อย่างไม่ฉาบฉวย
๓.   พวกรู้ทัน
•   เข้าใจที่ไปที่มาหรือสาเหตุของเรื่องต่างๆ แยกแยะคุณโทษ ข้อดีข้อเสียได้ รู้ว่าควรทำอะไร อย่างไร จึงจะเป็นประโยชน์ ไม่ถูกครอบงำ
๔.   พวกอยู่เหนือมัน(ชาวพุทธแท้)
•   รู้ทันและรู้จริงในข่าวสาร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือรู้สาเหตุ และแยกแยะคุณ – โทษ จริง – เท็จ ฯลฯ ได้
•   วางใจอยู่เหนือข่าวสารนั้นๆ คือไม่ตื่นเต้นตูมตาม ไม่หงุดหงิด หม่นหมอง หรือดีใจเสียใจ หรือเกลียดกลัว ฯลฯ เพราะข่าวสารนั้นๆ
•   รู้ว่าควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร เพราะรู้คิด มีสติเท่าทันทั้งเหตุการณ์ ความรู้สึก จึงจัดการกับสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม เป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น

ธรรมะเรื่องนี้ นำมาจาก “คนไทยสู่ยุคไอที” โดยพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
      บันทึกการเข้า
มีนา
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2515
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 1,865

« ตอบ #83 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2553, 15:42:10 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 24 ตุลาคม 2553, 20:49:41
สวัสดีครับ คุณน้องมีนา
                         พี่สิงห์ไม่ได้เอามาจากหนังสือ มีขายหรือไม่ไม่ทราบครับ รำกระบอง 12 ท่าพี่สิงห์เรียนมาจาก "โครงการซ่อมสร้างสุขภาพที่โรงพยาบาลจอมทอง เชียงใหม่" พยาบาลสอนให้ทำ แทนการเต้นแอโรบิค เพราะการเต้นแอโรบิค ต้องการลดน้ำหนัก แต่ข้อเข่าเสื่อมครับ เหมาะสำหรับวัยรุ่น  ผู้สูงอายุแนะนำให้รำกระบองของป้าบุญมี  ได้ผลเหมือนกันดังที่ท่านขุนบรรยายสรรพคุณมา
                          ส่วนภาพนั้น จริงๆ พี่สิงห์มีภาพของป้าบุญมี รำกระบอง แต่ทางพนังงานปูนซิเมนต์ไทยทุ่งสง  ขอยืมไปยังไม่ส่งคืน ก็เลยหาภาพได้จากทางเวบที่ท่านขุนโพสต์ ครับ ทีแรกตั้งใจจะรำด้วยตัวเอง แต่ติดขัดที่ยังหาช่างภาพไม่ได้ และตอนนี้คอระบมมาก ขอพักครับ
                          ส่วนเนื้อหาอื่นๆที่เขียนนั้น เขียนเองตามสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวพี่สิงห์ และบุคคลใกล้ตัวต่างๆ ที่เป็นโรค เพื่อหาทางแก้ ทำอย่างไร?จะอยู่อย่างไร้โรค  โดยพี่สิงห์เอาตัวเองเป็นหนูตะเภา ทดลอง ก็เขียนขึ้นมาเอาไว้ไปสอนทุกท่านที่หยากอยู่อย่างไร้โรค ให้เข้าใจก่อน จึงจะสอนโยคะและรำมวยจีนให้ เพราะเราต้องเป็นหมอดูแลตัวเราให้ได้ก่อนที่จะเจ็บป่วย
                          นอกจากนี้ข้อมูลบางส่วนได้จากการฟังรายการ "พลังชีวิต" ของคุณอำมร  บรรจง ทางคลื่น FM100.5 คลื่นข่าว Net work เวลา 05:00-06:00 น. ครับ
                          สวัสดี

        สวัสดีค่ะ พี่สิงห์

         ......ค้นเจอหนังสือ รำไม้พลองของ อ.เสริม ลอวิดาล  ที่เพื่อนให้แล้ว เผยแพร่โดยสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
        กรมการแพทย์  ซึ่งคล้ายกับที่พี่มาโพสต์  ตอนนี้มีปัญหาภูมิแพ้ หมอให้ยากินต่อเนื่อง 6 อาทิตย์ ไม่อยากกินมาก 
        วันนี้เริ่มไปหาแพทย์ทางเลือก ฝังเข็มให้ที่ใบหู 2 ข้าง  อ.แนะนำให้ออกกำลังกายรำไท้ชิและดื่มน้ำมากขึ้น
        รอดูผลต่อไป

        ......ติดตามคำแนะนำการดูแลสุขภาพจากพี่ต่อไปด้วยค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #84 เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2553, 10:48:24 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องมีนา
                          ส่งที่อยู่มาให้พี่สิงห์  พี่สิงห์จะจัดส่ง การฝึก TAI CHI ไปให้ฝึกครับ และภายหลังฝึกแนะนำ ดื่ม น้ำมะนาว คือ เอามะนาวสอง-สามลูกคั้นเอาแต่น้ำ ผสมด้วยน้ำผึ่งป่าหนึ่งช้อนชาและเกลือป่นนิดหน่อย ดื่มเพียวๆ ได้ประโยชน์มหาศาล ทำแบบนี้อาทิตย์ละสาม-สี่ครั้ง ครั้งละสามสิบนาที ก็เพียงพอแล้ว ร่างกายแข็งแรง ระบบอวัยวะภายในดี ถ้าไม่ดีจริง คนจีนไม่ทำมามากกว่า ห้าพันปีแล้วครับ ยาถ้าไม่จำเป็นจริงอย่าไปกิน ทำให้ตับทำงานหนักและเสียสตางค์สู้วิธีธรรมชาติไม่ได้ครับ
                         ฝังเข็มที่หู และติดแม่เหล็กพี่สิงห์ทำมาแล้ว ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงสู้ TAI CHI และ YOKA ไม่ได้ครับ อย่าลืมส่งที่อยู่มาให้พี่สิงห์
                          สวัสดี
      บันทึกการเข้า
มีนา
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2515
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 1,865

« ตอบ #85 เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2553, 12:18:15 »

                     ขอบคุณมากค่ะพี่สิงห์ ที่อยู่คือ
                     มีนา  วิวัฒน์ศิริกุล
                     244/342  หมู่บ้านวังมุขแลนด์
                     ถนนลงหาดบางแสน
                     ต.แสนสุข
                     อ.เมืองฯ
                     จ.ชลบุรี 20130
   ได้รับแล้วจะลงมือปฏิบัติทันที สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องออกกำลังกาย ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #86 เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2553, 16:05:54 »

อ้างถึง
ข้อความของ มีนา เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2553, 12:18:15
                     ขอบคุณมากค่ะพี่สิงห์ ที่อยู่คือ
                     มีนา  วิวัฒน์ศิริกุล
                     244/342  หมู่บ้านวังมุขแลนด์
                     ถนนลงหาดบางแสน
                     ต.แสนสุข
                     อ.เมืองฯ
                     จ.ชลบุรี 20130
   ได้รับแล้วจะลงมือปฏิบัติทันที สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องออกกำลังกาย ปิ๊งๆ
               
ขณะนี้พี่สิงห์อยู่นครศรีธรรมราช วันจันทร์จะจัดส่งให้ครับ
สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #87 เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2553, 12:10:05 »

สวัสดีครับ ชาวเวบที่รักทุกท่าน
                             ผมไปอ่านเจอในหนังสือ Secrete จึงนำมาฝากทุกท่านครับ


“ยาแก้ทุกข์”

                   เวลานี้ หลายคนคงอยากกรี๊ดดังๆ กระทืบเท้าแรงๆ ให้สารพันปัญหาที่ประเดประดังเข้ามาทำให้เราทุกข์กาย-ทุกข์ใจ อยู่ตอนนี้ออกจากตัวไปซะ.... หรือบางคนอาจอยากจับเจ้าความทุกข์ที่มีมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ แล้วแตะโด่งมันออกไปให้ไกลสุดหล้า....
                    ฟังดูเหมือนง่าย แต่ในความเป็นจริง ทุกๆคนต่างรู้ดีว่า การจะลากเจ้าความทุกข์ที่ติดหนึบยิ่งกว่าหมากฝรั่งให้ออกไปจากใจได้นั้นยากเสียยิ่งกว่ายาก
                    คราวนี้จึงถือเป็นฤกษ์งามยามดีที่ Secrete จะได้เสนอ ยาขนานเอก ในการสลายเชื้อโรคตัวร้ายที่ชื่อว่า “ความทุกข์” ให้หายไปจากใจทุกคน แต่ก่อนที่เราจะนำยาดีมาให้ ก็ต้องจับแว่นขยายมาสำรวจกันเสียก่อนว่า เจ้าความทุกข์นั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไรบ้าง....
                    พระอาจารย์ชาญชัย  อธิปญฺโญ  ได้อธิบายที่มาของความทุกข์ไว่อย่างง่ายๆ ว่า ความทุกข์เกิดจากสองทาง คือ
                    ทุกข์ทางกาย เป็นความทุกข์ที่เกิดจากร่างกายของตัวเอง ร้อน หนาว เมื่อย เจ็บไข้ได้ป่วย เป็นความทุกข์ที่มักจะมีเสียงกริ่งเตือนดังจากร่างกายก่อนเสมอ เช่น ท้องร้องต้องกินข้าว ปวดท้องต้องกินยา.... คนเราจึงไม่ค่อยเห็นว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์ เพราะป้องกันและแก้ไขได้ง่าย
                     ทุกข์ทางใจ เป็นความทุกข์ที่เกิดจากการ “คิดไปเอง” หรือ “การปรุงแต่ง” ซึ่งเกิดขึ้นได้ไม่จำกัดสถานที่และโมงยาม เช่น ทุกข์เมื่อต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ไม่ได้ในสิ่งที่อยากได้ ทุกข์จากความโกรธ กลัว กังวลใจ คับแค้นใจ กลัวว่าความสุขที่มีอยู่จะหมดไป กลัวความทุกข์อยากลำบากที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต กลัวลาภยศที่มีจะหายไป ฯลฯ เป็นทุกข์ที่แก้ได้อยาก เพราะจะมาในเวลาที่ไม่ตั้งตัว
                     ทุกข์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ พระพุทธองค์สรุปไว้ว่า เกิดจากการยึดถือว่าชีวิตเป็นของเรา ตัวเราเป็นของเรา และเกดจากการที่มี “ตัณหา” หรือ “ความอยาก” อยู่ในใจ ซึ่งหากต้องการกำจัดความทุกข์ทั้งหมดให้สลายไป มีวิธีเดียวคือการหนีเข้า “นิพพาน” เท่านั้น!
                     อ่านมาถึงบรรทัดนี้ หลายคนคงบ่นงึมงำว่ายากเกินไป คนธรรมดาอย่างฉันทำไม่ได้หรอก! ในเมื่อยากนัก Secrete จึงขอแนะนำ ยาคลายทุกข์ ซึ่งเป็นหลักคิด ๗ ประการจากหนังสือ “มหัศจรรย์แห่งชีวิต” โดยท่าน ว.วชิรเมธี มาให้ลองใช้ลองชิมกันดู
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #88 เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2553, 12:11:40 »

๗ หลักคิดดีๆ เพื่อชีวีที่เป็นสุข
โดย
ท่าน ว.วชิรเมธี
๑.   ความคิดดีๆ เป็นที่มาแห่งความสุข
   แน่นอนว่าเมื่อเรามีความคิดดีๆ โลกก็จะดีตามดังที่ท่านว่าไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า “โลกเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับว่าเราใส่แว่นตาสีอะไรมองโลก หากมองโลกในแง่ดี ชีวิตมีแต่สิ่งรื่นรมณ์ หากมองโลกในแง่ร้าย ชีวิตมีแต่ความวุ่นวายและทกข์ระทม
คิดอย่างไรไม่ให้ทุกข์
   กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แนะนำวิธีคิดต่างๆ เพื่อเป็นคู่มือดูแลตัวเอง ไว้ในหนังสือเรื่อง “ทำอย่างไรเมื่อใจเป็นทุกข์”ว่า
-   คิดในแง่ยืดหยุ่นให้มากขึ้น ไม่เข้มงวด จับผิด หรือตัดสินผิดถุกในเรื่องของผู้อื่นตลอดเวลา รู้จักปล่อยวางผ่อนหนักเป็นเบา ลดทิฐิมานะ รู้จักให้อภัย ไม่ถือโทษโกรธเคือง นอกจากนี้ควรหัดลืมเสียบ้าง ชีวิตก็จะมีความสุขมากขึ้น
-   คิดอย่างมีเหตุผล  อย่าด่วนตัดสินใจเชื่ออะไรง่ายๆ แล้วเก็บเอามาคิดวิตกกังวลในภายหลัง พยายามใช้เหตุผลตรวจสอบหาข้อเท็จจริงโดยไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน นอกจากจะไม่ตกเป็นเหยื่อให้ถูกหรอกได้ง่ายๆแล้ว ยังตัดความวิตกกังวลลงได้ด้วย
-   คิกหลายๆ แง่มุม  ลองคิดในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านดีและด้านไม่ดี เพราะไม่ว่าคนหรือเหตุการณ์อะไรก็ตามย่อมมีทั้งส่วนดีและไม่ดีทั้งนั้น ควรหัดคิดในมุมของคนอื่นบ้าง เช่น สามีจะคิดอย่างไร ลูกจะรู้สึกอย่างไร เจ้านายจะแก้ปัญหานี้อย่างไร เพื่อนร่วมงานจะต้องเจออะไรบ้าง ....ฯลฯ จะช่วยให้มองอะไรได้กว้างไกลกว่าเดิม
-   คิดแต่เรื่องดีๆ  ถ้าคุณมัวแต่คิดถึงเรื่องร้ายๆ เรื่องความล้มเหลวของชีวิต ผิดหวัง หรือเรื่องที่ทำให้ทุกข์อยู่ตลอดเวลา ก็จะยิ่งทุกข์ไปใหญ่ ควรคิดถึงเรื่องดีๆ ให้มากขึ้น เช่น คิดถึงประสพการณ์ที่เป็นสุขในอดีต ความสำเร็จในชีวิตที่ผ่านมา ความดีของเพื่อน แฟนหรือคู่สมรส ฯลฯ จะช่วยให้สบายใจมากขึ้น
-   คิดถึงคนอื่นบ้าง  อย่าคิดหมกมุ่นกับตัวเองเท่านั้น เปิดใจให้กว้าง รับรู้ความเป็นไปของคนใกล้ชิดและใส่ใจที่จะช่วยเหลือ สนใจปัญหาของผู้คนรอบข้างในสังคม บางทีคุณอาจจะพบว่า ปัญหาที่กำลังเป็นทุกข์อยู่ขณะนี้ช่างเล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับปัญหาของคนอื่นๆ ยิ่งถ้าช่วยเหลือคนอื่นได้ คุณจะสุขใจขึ้นเป็นทวีคูณ


๒.   ปัญญาดีย่อมมีความสุข
   คนมีปัญญาย่อมใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาเพื่อให้พ้นทุกข์ ดังนั้น สำหรับคนมีปัญญา วิกฤตอยู่ไหน ปัญญาอยู่นั่น ส่วนคนด้อยปัญญา โอกาสอยู่ไหน วิกฤตอยู่นั่น จงเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา เปลี่ยนอุปสรรคเป็นอุปกรณ์
วิธีแก้ปัญหาด้วยปัญญา
-   ปรับเปลี่ยนวิธีแก้ปัญหา  เมื่อปัญหาประเดประดังเข้ามามากมายจนอาจคิดว่า ทางออกทางเดียวคือการฆ่าตัวตาย...บางทีคุณอาจต้องลองคิด ลองเปลี่ยนวิธีแก้ปัญหาใหม่ เช่น ถ้าเอนทรานซ์ไม่ติด ก็ลองอ่านหนังสือให้หนักขึ้น หรือลองมองมหาวิทยาลัยเปิดที่น่าสนใจอื่นๆ เป็นต้น
-   หาทางออกไม่ได้ ให้หาทางเข้า  บางคนคิดอยู่เป็นนาน หาทางออกจากปัญหาไม่ได้ เราขอแนะนำให้ลองออกทางเข้า คือ กลับไปดูที่ต้นตอของปัญหา เมื่อคุรกลับไปพินิจพิจารณาต้นเหตุของปัญหาดีๆ คุณอาจพบทางออกที่ไม่คาดคิดก็เป็นไปได้

๓.   ชีวิตของคนดีคือชีวิตที่มีความสุข
ดังท่านว่า ดอกไม้หอมได้บางดอก แต่มนุษย์หอมได้ทุกคนหากเป็นคนดี...กลิ่นดอกไม้แม้หอมขนาดไหน ก็หอมได้แต่ตามลมเท่านั้น ส่วนกลิ่นความดีของคนนั้น หอมหวลทวนลมฟุ้งกระจายไปในทิศทั้งสี่ ดอกไม้ผลิบานแล้วไม่นานก็ร่วงโรย แต่ความดีของคนนั้นสถิตเป็นนิรันดร์เหนือกาลเวลา
ศิล ๕ รักษาไว้ไม่เดือดร้อน...ฟันธง!
   ศิล ๕ มีดังนี้ ๑. ไม่ฆ่า เบียดเบียน หรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น ๒. ไม่ถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้(รวมถึงการยักยอก ปลอมแปลง สับเปลี่ยน และรับสินบนด้วย) ๓. ไม่ประพฤติผิดในกาม ๔. ไม่พูดปด ปลิ้นปล่อน เพ้อเจ้อ ไร้สาระ ๕. ไม่เสพสิ่งมึนเมา อาทิ เหล้า ยาเสพติด และบุหรี่
๔.   ปฏิสัมพันธ์ดีก็มีความสุข
คือ การคบมิตร โลกนี้มีมิตรอยู่ ๓ ประเภท คือ ๑. บาปมิตร เพื่อนชั่ว จงอย่าคบ ๒. กัลยาณมิตร เพื่อนดี จงคบ ๓. พันธมิตร เพื่อนที่ผูกพันกันด้วยผลประโยชน์ จงระวัง
ในอกิตติชาดก มีวิธีแนะให้ดูเพื่อนที่ไม่ควรคบ ๕ แบบ คือ
o   ชอบชักนำในทางที่ผิด
o   ชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระหน้าที่ของตน
o   มักเห็นผิดเป็นชอบ
o   แม้เราหรือใครๆ พูดดีๆ ก็โกรธ
o   ไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัยหรือกฎหมาย
ใครมีเพื่อนแบบนี้ Secrete ขอแนะนำให้รีบถอนตัว ตีจากโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันความทุกข์ที่เพื่อนจะนำมาให้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
๕.   ทำงานดีก็มีความสุข
ท่านว่าไว้ คนจำนวนมากเป็นทุกข์ขณะทำงาน แต่เบิกบานเฉพาะเสาร์ – อาทิตย์ โดยหารู้ไม่ว่า ในหนึ่งสัปดาห์มีเสาร์ – อาทิตย์แค่สองวัน ฉะนั้น จงเป็นสุขขณะทำงาน จงเบิกบานขณะหายใจ
หลักในการทำงานให้สุขี
-   เต็มใจทำงาน คือ มองเห็นข้อดีของงานที่ทำ เช่น เขียนหนังสือเพื่อให้ผู้อ่านได้คิด วิจัยเพื่อให้ได้ตัวยามารักษาคน ฯลฯ
-   ขยันทำงาน พระอาจารย์รูปหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “เหงื่อออกมาก น้ำตาออกน้อย เหงื่อออกน้อย น้ำตาออกมาก” ซึ่งคำกล่าวนี้เป็นจริงที่สุด
-   ตั้งใจทำงาน ไม่ปล่อยปละละเลยงานของตัวเอง...คนส่วนมากมักไม่ค่อยมีปัญหากับงานของตัวเอง แต่มักไปก้าวก่ายงานของคนอื่น พระพุทะเจ้าจึงให้โอวาทสำทับไว้ว่า “ควรตราจตรางานของตัวเอง ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำเสียก่อนทำ”
-   ความเข้าใจในงานที่ทำ คือต้องรู้จักศึกษา เข้าใจงานที่ทำอย่างถ่องแท้ และต้องรู้จักใช้ปัญญาในการทำงาน เช่น การแบ่งเวลา การใช้คนงาน ฯลฯ
๖.   มองโลกในแง่ดี ชีวิตมีความสุข
ผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มันถูกอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด” ใครทำความเข้าใจคำกล่าวนี้ได้อย่างลึกซึ้ง คนนั้นจะไม่ทุกข์ และจะไม่หวั่นไหวในความผันแปรของชีวิต สิ่งใดเกิดขึ้นเขาจะอุทานอยู่เสมอว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
เทคนิคมองโลกในแง่ดี
เครือข่ายชาวพุทธฯ ได้แนะนำ ๔ เทคนิคมองโลกในแง่ดี ดังนี้
-   เมื่อพบอุปสรรคในการทำงาน ต้องบอกตัวเองว่า “ไม่เป็นไรเอาใหม่” คำว่าไม่เป็นไรคือการพุดกับตัวเองให้ปล่อยวางจากปัญหา สำหรับคำว่าเอาใหม่ เพื่อปลุกใจเราให้อยากทำงานอีกครั้ง
-   เมื่อต้องเจอเหตุร้าย ให้คิดเสียว่า สิ่งที่เราประสบพบเจอไม่ใช่สิ่งที่ร้ายกาจที่สุด เป็น “โชคดี” ของเราจริงๆ ที่ไม่เจอหนักกว่านี้
-   เมื่อมีปัญหากับคนอื่นๆ คนเราเมื่อเกิดมาแล้วเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีปัยหากับใครเลย ดังนั้นหากมีใครทำอะไรที่เราไม่ถูกใจ ทำให้เราเศร้าใจ เช่น มีคนนินทา ก็คิดเสียว่านี่เป็นโอกาสดีที่ทำให้ได้เรียนรู้ข้อเสียของตัวเอง จะได้นำไปปรับปรุง
-   เมื่อปัยหาประจำวันประดังเข้ามา ให้ตั้งคำถามทันทีว่า “เราได้อะไร” เป็นการตั้งคำถามเพื่อให้เรามุ่งหาความรู้ทันทีที่พบกับปัยหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การที่กระเป๋าสตางค์หาย ไม่มีเงินใช้ทำให้เราเข้าใจคนยากจนมากขึ้น เป็นต้น
๗.   ครอบครัวดีทวีความสุข
ครอบครัวคือพื้นฐานสำคัญของชีวิต บุตร – ธิดา คืออนุสาวรีย์ของพ่อแม่ หากลุกเป็นคนดี อนุสาวรีย์ของพ่อแม่ก็งดงาม หากลุกเลวทราม อนุสาวรีย์ของพ่อแม่ก็อัปลักษณ์
สามี – ภรรยา อยู่กันอย่างไรไม่ให้มีทุกข์
กรมสุขภาพจิต แนะนำให้ผู้เป็นสามี – ภรรยา ถือหลักการครองเรือน โดยยึดหลัก ๓ ไม่ ๔ มี ดังต่อไปนี้
๓ ไม่ ประกอบด้วย
๑.   ไม่จุกจิกจู้จี้
๒.   ไม่เป็นเจ้าของหัวใจ
๓.   ไม่ตำหนิติเตียน
๔ มี ประกอบด้วย
๑.   ยกย่องให้เกียรติ
๒.   เอาอกเอาใจ ยามป่วยไข้ควรดูแล
๓.   วาจาสุภาพอ่อนโยน
๔.   มีความรู้เรื่องเพศ
ฉลากยาแก้ทุกข์จากหลวงพ่อปัญญา  นันทภิกขุ
-   วางแผนในการดำเนินชีวิตให้ดี คือ มีชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท ทำ “ปัจจุบัน” ให้ดีที่สุด
-   เตรียมความพร้อมให้ใจ คือ รู้จักใช้ธรรมะในการสอนตัวเองไว้ก่อน คิดถึงสิ่งที่ต้องเจอแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะได้ไม่ผิดหวัง
-   ทำตัวเป็นเด้กอ่อนทางใจ คือ เด็กๆ มักมีทุกข์น้อย เพราะยังไม่รู้จักคำว่า “ยึด” นี่ของฉัน นั่นของเธอ ดังนั้น ในเมื่อเด้กทำได้ ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ก็ควรทำให้ได้เช่นกัน มิฉนั้น อายเด็ก!
คำเตือน : ยาครอบจักรวาลที่ Secrete แนะนำนั้น จะไม่ได้ผลเลยหากทุกคนไม่นำไปปฏิบัติ ดังนั้น หากใครอยากมีสุข คลายทุกข์ให้ได้เร็วๆ กรุณาทำตามที่แนะนำด้วย...เตือนแล้วนะ ขอบอก!
ทุกข์มี      เพราะยึด
ทุกข์ยืด      เพราะอยาก
ทุกข์มาก      เพราะพลอย
ทุกข์น้อย      เพราะหยุด
ทุกข์หลุด      เพราะปล่อย
หลวงพ่อชา  สุภทฺโท  วัดหนองป่าพง
      บันทึกการเข้า
มีนา
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2515
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 1,865

« ตอบ #89 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2553, 13:06:49 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2553, 16:05:54
อ้างถึง
ข้อความของ มีนา เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2553, 12:18:15
                     ขอบคุณมากค่ะพี่สิงห์ ที่อยู่คือ
                     มีนา  วิวัฒน์ศิริกุล
                     244/342  หมู่บ้านวังมุขแลนด์
                     ถนนลงหาดบางแสน
                     ต.แสนสุข
                     อ.เมืองฯ
                     จ.ชลบุรี 20130
   ได้รับแล้วจะลงมือปฏิบัติทันที สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องออกกำลังกาย ปิ๊งๆ
               
ขณะนี้พี่สิงห์อยู่นครศรีธรรมราช วันจันทร์จะจัดส่งให้ครับ
สวัสดี
     
       ใกล้เที่ยง ได้รับเอกสารและ CD 2 แผ่น จากพี่สิงห์แล้ว  ขอบคุณมากค่ะ
      บันทึกการเข้า
มีนา
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2515
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 1,865

« ตอบ #90 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2553, 11:33:20 »


.....รายงานพี่สิงห์ค่ะ  เริ่มเล่นโยคะเป็นหลักก่อนทั้งเช้า ค่ำ
มีพื้นฐานเล่นโยคะมาเล็กน้อย พอจำท่าทางได้  ส่วนไท้ชิ
ยังจดจำท่าไม่ค่อยได้ ต้องฝึกต่อบ่อยๆ แนวโน้มน่าจะดีขึ้น
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #91 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2553, 21:02:47 »

อ้างถึง
ข้อความของ มีนา เมื่อ 06 ธันวาคม 2553, 11:33:20

.....รายงานพี่สิงห์ค่ะ  เริ่มเล่นโยคะเป็นหลักก่อนทั้งเช้า ค่ำ
มีพื้นฐานเล่นโยคะมาเล็กน้อย พอจำท่าทางได้  ส่วนไท้ชิ
ยังจดจำท่าไม่ค่อยได้ ต้องฝึกต่อบ่อยๆ แนวโน้มน่าจะดีขึ้น

                 พี่สิงห์อยากให้ลองฝึก TAICHI ติดต่อกันสักสองอาทิตย์รับรองจำท่าได้แน่นอน จะมีประโยชน์มากต่อ อวัยยวะภายใน โรคความดัน เบาหวาน  ตับได้แน่นอน ครับ ให้พยายามทำ แล้วจะนึกชอบ ขอให้มีสมาธิอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกและท่ารำให้เป็นธรรมชาติอ่อนช้อย ไม่จำเป็นต้องเหมือนท่าตาม CD ครับ พี่สิงห์สามารถรำท่าได้สวยกว่า CD อีกเพราะรำไปตามธรรมชาติและมีสติ ครับ
                 ขอให้โชคดีครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #92 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2553, 13:12:28 »


ส.ค.ส. ๒๕๕๔  แด่ พี่ น้อง เพื่อน ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่านครับ



                สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔ ที่จะมาถึงนี้ครับ   ปีใหม่นี้ผมคงไม่อวยพรให้ท่านและครอบครัว  เพราะอวยพรให้ ก็ไม่สามารถที่จะเป็นจริงได้    แต่ผมขอแนะนำ  ให้ท่านนำไปปฏิบัติ แล้วท่านจะพบกับความจริง และได้รับผลแห่งการกระทำนั้นได้   ดังนี้:-
                 
                 ๑). มีสติ คือระลึกได้ก่อนที่จะคิด  ก่อนที่จะพูด และก่อนที่จะกระทำ  เสมอ
                 ๒). มีสติในการจะกิน คือระลึกได้ว่าต้อง กินอาหารสูตร ๒:๑:๑ คือ ผักสองส่วน ต่อ โปรตีน(แนะนำเนื้อปลา)หนึ่งส่วน ต่อ ข้าวหนึ่งส่วน งดของมัน  งดของทอด หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด กินร้อนช้อนกลาง และกินในปริมาณที่เหมาะสม
                 ๓). มีสติที่จะต้องออกกำลังกาย คือ ระลึกได้ว่าต้องออกกำลังกายอย่างน้อยสามครั้ง ต่อ สัปดาห์ และแต่ละครั้งต้องนานต่อเนื่องมากกว่าสามสิบนาที
                 ๔). มีสติที่จะต้องนอนแต่หัวค่ำ คือ ระลึกได้ว่าต้องเข้านอนก่อนสี่ทุ่ม เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอไปในแต่ละวัน ตามธรรมชาติ
                 ๕). มีสติอยู่กับปัจจุบันให้มากๆ หรือตลอดเวลา จนจิตเป็นปภัสสร
                 
                  ถ้าท่านและครอบครัว ปฏิบัติได้ตามนี้ ท่านจะประสพแด่ ความสำเร็จในการกระทำทุกสิ่ง  ปราศจากทุกข์  ปราศจากโรค  ปราศจากภัย  มีแต่ความสงบ ตลอดปีใหม่นี้ เทอญ.
                  ผมปฏิบัติแล้ว และประสพกับความจริงมาแล้วครับ
                                          มานพ   กลับดี
      บันทึกการเข้า
มีนา
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2515
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 1,865

« ตอบ #93 เมื่อ: 30 ธันวาคม 2553, 11:30:42 »


                         สวัสดีปีใหม่ค่ะพี่สิงห์

ทำตามคำแนะนำของพี่(ยังทำไม่ได้ทุกข้อ)แต่สังเกตว่าสุขภาพดีขึ้น
ขอบคุณมากค่ะ  ได้แนะนำพี่น้อง คนรู้จักให้ลองฝึกไท้จี๋ด้วย sing หลั่นล้า
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #94 เมื่อ: 30 ธันวาคม 2553, 19:40:53 »

สวัสดีปีใหม่นะคะพี่สิงห์   ความรู้ที่พี่สิงห์ให้มีประโยชน์มากนะคะ น้องๆจะมีสุขภาพดีก็ครานี้แหละคะ อยากได้กำลัง ก็ต้องออกกำลัง
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #95 เมื่อ: 04 มกราคม 2554, 17:01:56 »

อ้างถึง
ข้อความของ เอมอร 2515 เมื่อ 30 ธันวาคม 2553, 19:40:53
สวัสดีปีใหม่นะคะพี่สิงห์   ความรู้ที่พี่สิงห์ให้มีประโยชน์มากนะคะ น้องๆจะมีสุขภาพดีก็ครานี้แหละคะ อยากได้กำลัง ก็ต้องออกกำลัง
                   สวัสดีปีใหม่ค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #96 เมื่อ: 04 มกราคม 2554, 17:03:55 »

อ้างถึง
ข้อความของ มีนา เมื่อ 30 ธันวาคม 2553, 11:30:42

                         สวัสดีปีใหม่ค่ะพี่สิงห์

ทำตามคำแนะนำของพี่(ยังทำไม่ได้ทุกข้อ)แต่สังเกตว่าสุขภาพดีขึ้น
ขอบคุณมากค่ะ  ได้แนะนำพี่น้อง คนรู้จักให้ลองฝึกไท้จี๋ด้วย sing หลั่นล้า
                  สวัสดีปีใหม่ค่ะ
                  พี่สิงห์ขอเป็นกำลังใจให้ครับ พยายามออกกำลังรำ TAI CHI เข้าไว้ถือว่าเป็นหน้าที่ ที่เราจะต้องทำเพื่อคนที่เรารัก จะไม่ต้องลำบากเพราะเราครับ
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 2 3 [4]  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><