24 พฤศจิกายน 2567, 09:21:29
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: 3G  (อ่าน 89842 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 6 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #175 เมื่อ: 16 ตุลาคม 2553, 10:25:54 »

นึกมุขได้อีกมุข ... เมื่อวันที่ 10 เดือน 10 ที่ผ่านมาไปพัทยา แวะไป ริบลี่ย์ ... ไอเท็มต่อไปคงต้องเพิ่ม ...

ฺำBelieve it or Not !! เมืองไทย ยังไม่มี 3G
  หลั่นล้า



      บันทึกการเข้า
BU_KA
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 986

« ตอบ #176 เมื่อ: 16 ตุลาคม 2553, 10:46:56 »

แหม!!! ท่านพี่

ชวนให้น้อง ๆ
แอบบบ คิดว่า .. ทำไมเราไม่ไ้ด้ไปและถ่ายแบบนี้บ้างเน๊อะ
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #177 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2553, 11:04:18 »

อ้างถึง
ข้อความของ BU_KA เมื่อ 16 ตุลาคม 2553, 10:46:56
แหม!!! ท่านพี่

ชวนให้น้อง ๆ
แอบบบ คิดว่า .. ทำไมเราไม่ไ้ด้ไปและถ่ายแบบนี้บ้างเน๊อะ

จ๊ะ ^_^
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #178 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2553, 11:09:22 »

อ้างถึง
ข้อความของ ดร.มนตรี เมื่อ 15 ตุลาคม 2553, 16:10:17
อ้างถึง
ข้อความของ ดร.มนตรี เมื่อ 11 กันยายน 2553, 10:30:07
เป็นคำถามที่ดีครับน้องหน่อ ... พี่ขอเคลียร์งานก่อน นะครับ ตอนนี้เยอะมาก ถึงมากที่สุด ...

แล้วจะมาเล่าให้ฟังทีหลังนะ ^_^

อ้างถึง
ข้อความของ บ่าวหน่อ เมืองพลาญ เมื่อ 08 กันยายน 2553, 10:06:28
เรื่องนี้ถกเถียงมานานครับ ในทัศนะพี่มนตรีคิดอย่างไรครับ

เมื่อมีการประมูลเกิดขึ้น แน่นอนรัฐต้องหาเงินทางการประมูลให้ให้ได้มากที่สุด และทาง Operator ก็ต้องการที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาเพื่อเป็นฐานกำลังในการผลักดันธุรกิจของตนจึงต้องใช้เงินเพื่อให้ชนะการประมูล เงินมหาศาลเหล่านั้น แน่นอนตอนประมูลก็เข้ารัฐ และการที่ Operator จ่ายเงินมหาศาลแล้วเขาย่อมต้องการเอาคืน แล้วจะเอาคืนที่ใคร หากไม่ใช่ผู้บริโภคที่ใช้บริการอย่างเราๆท่าน

1. หากผมจะใช้ 3G ผมต้องจ่ายแพงใช่ไหมครับ เพื่อชดเชยที่ Operator จ่ายให้แก่รัฐ...
2. การแข่งขันอย่างเสรีในตลาดตอนท้ายที่สุด มี 3 เจ้า อาจจะแข่งขันกันเองด้านราคา  แน่นอนก็ต้องไปอิงกับต้นทุนที่จ่ายค่าประมูลอยู่ดี ใช่ไหมครับ



1. หากผมจะใช้ 3G ผมต้องจ่ายแพงใช่ไหมครับ เพื่อชดเชยที่ Operator จ่ายให้แก่รัฐ...

- หากพี่เป็นผู้บริโภค การที่พี่จะจ่ายค่าบริการอะไรก็ตาม ...นั่นหมายความว่า บริการนั้นต้องมี Value ที่เหมาะสมกับเงินที่พี่ต้องจ่าย ซึ่งก็ไม่น่าจะแตกต่างจากผู้บริโภคทั่วๆไปนะครับ นั่นหมายความว่าหากน้องจะใช้ 3G แล้วน้องต้องจ่ายแพง ....3G ย่อมไม่เกิด จริงไหม?

ดังนั้นผู้ให้บริการย่อมที่จะต้องสร้างบริการที่มี Customer Value ... ถึงจุดที่ผู้บริโภครู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายไป 3G จึงจะเกิดได้ !!



2. การแข่งขันอย่างเสรีในตลาดตอนท้ายที่สุด มี 3 เจ้า อาจจะแข่งขันกันเองด้านราคา  แน่นอนก็ต้องไปอิงกับต้นทุนที่จ่ายค่าประมูลอยู่ดี ใช่ไหมครับ

- แน่นอนครับธุรกิจย่อมอิงกับต้นทุนและความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ ดังนั้นมูลค่าของการประมูลจะจบลงในราคาที่รับได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์

แต่การแข่งขันนอกจากจะแข่งกันในด้านราคาแล้ว ยังสามารถที่จะแข่งกันสร้างคุณค่า (Value Creation)ให้กับบริการได้อีกทางหนึ่ง นะครับ ตัวอย่างง่ายๆ เช่นการแข่งขันในธุรกิจ บรอดแบนด์ เป็นการแข่งกันเพิ่ม ความเร็วของ บรอดแบนด์ แทนที่จะแข่งกันลดราคาบรอดแบนด์ เป็นต้น



 ปิ๊งๆ จากข้อ 1+2 ในทัศนะของพี่ธุรกิจจำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการที่เรียกว่า Value Creation หรือ การสร้างคุณค่า ซึ่งพี่เคยเขียนไว้ในวารสาร TT&T News ตัดมาแชร์ให้ดังนี้นะครับ


1.   Value  (Insight)  Definition เพื่อการที่เราจะได้รู้ค่านิยม รู้ความต้องการ รู้จิตวิทยา ของลูกค้า เราเรียกว่าเรามี Customer insight และเมื่อเรารู้ Value definition หรือนิยามของคุณค่าเราก็จะรู้ว่าเราจะให้อะไรแก่ลูกค้า

2.   Value (Innovation) Creation เราจะสร้างคุณค่าดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ยุคนี้เป็นยุค Value creation เป็นยุคที่ต้องมุ่งมั่นสร้างคุณค่าให้เกิด ตามที่เราได้นิยามคุณค่าไว้ เช่น เรานิยามว่าเราจะให้ความสะดวกแก่ลูกค้า เราก็ต้องพยายามทำให้ได้ว่าเราจะให้ความสะดวกกับลูกค้าอย่างไร ถ้าเรานิยามว่าเราจะให้คุณภาพชีวิตที่ดีแก่ลูกค้า เราก็ต้องทราบว่าเราจะให้คุณภาพชีวิตที่ดีแก่ลูกค้าอย่างไร... ซึ่งการทำ Value creation ที่สำคัญมาก ๆ คือ การกล้าที่จะคิดใหม่ การกล้าที่จะทำใหม่ ซึ่งเราเรียกว่า Innovation คำว่า Innovation ไม่ใช่แปลว่าเครื่องมือใหม่อย่างเดียวเท่านั้น  คิดใหม่ ทำใหม่ ทัศนคติใหม่ กระบวนการใหม่ เราเรียกว่า Innovation ทั้งสิ้น   นัยของประเด็นนี้ ก็คือว่า เมื่อเราคิดจะให้อะไรกับลูกค้าแล้ว เราต้องถามตัวเราเองว่า เราพร้อมจะทำอะไรใหม่ที่ไม่เหมือนเดิมมั้ย เพราะถ้าเราจะไม่ทำอะไรใหม่ ทำเหมือนเดิมทุกอย่าง บางทีมันจะเป็นอุปสรรคในการที่เราจะ Create value 

3.   Value (agility) Delivery
เมื่อเราสร้างคุณค่าได้แล้ว เราจะส่งมอบคุณค่าดังกล่าวนั้นให้ไปถึงมือลูกค้าได้อย่างไร  เพราะถ้าสร้างได้ ส่งมอบไม่ได้ มันก็ไม่ครบถ้วนกระบวนความ ซึ่งการที่จะส่งมอบนั้น เราจะเน้น Agility ซึ่งหมายความว่า  การมุ่งมั่นเอาจริง ทุ่มเท เพราะการทำธุรกิจสมัยนี้ จะทำหยิบโหย่งเล่น ๆ ไม่ได้ เพราะการแข่งขันมีมาก ลูกค้า ก็ High demand ลูกค้าจะเรียกร้องเยอะเหลือเกิน ทำอย่างไรจึงจะตอบสนองความต้องการได้อย่างสมดุล

สรุป Value orientation เน้นการสร้างคุณค่า (Value creation) เน้นว่าจะทำอย่างไรให้ลูกค้าซาบซึ้งในคุณค่าธุรกิจของเรา  ซึ่งยุคนี้เป็นยุคของ Demand system management  เป็นยุคบริหารการจัดการข้อเรียกร้องของลูกค้า Demand ตัวนี้ไม่ใช่เพียงอุปสงค์ Demand ตัวนี้ยังรวมถึงข้อเรียกร้องของลูกค้า ลูกค้าอยากได้อะไร ลูกค้าต้องการอะไร ลูกค้าอยากให้มีอะไร เราต้องเรียนรู้ Demand เหล่านี้ และพยายามตอบสนอง Demandให้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งย้อนไปถึง Customer insight การที่เราจะบริหาร Demand system เราต้องรู้ลึกซึ้งว่า ณ เวลานี้ลูกค้าต้องการอะไร      เพราะฉะนั้นในแง่ของธุรกิจสมัยใหม่ เราไม่ได้ศึกษา Need อย่างเดียว เดี๋ยวนี้ Demand – what you say demand ลูกค้าเรียกหาอะไร  ลูกค้าอยากได้อะไร ซึ่งกำไรเกิดจากอะไร     เกิดจากที่เรามี Insight     คือการที่เราลึกซึ้งกับลูกค้า เกิดจาก Innovation คือเกิดจากการที่เรามีนวัตกรรม และเกิดจากการ มี Agility คือเกิดจากการที่เรามุ่งมั่นขยันขันแข็งเอาจริงเอาจัง…


-------------------------------------------------

ปล.


ล่าสุดผมทำงานวิจัยเรื่อง "องค์กรเสมือนจริงบนฐานความรู้ (Virtual Organization on Knowledge-based Model) หรือ VOK Model

หลังจากตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ (Journals) แล้ว ... จะนำมาแชร์ให้พวกเราต่อนะครับ ซึ่ง Model นี้เมื่อประเทศเราเข้าสู่ยุค 3G หรือ 4G แล้ว จะสร้าง Value ให้กับองค์กรได้อย่างมีนัยสำคัญ ...





อ้างถึง
ข้อความของ ดร.มนตรี เมื่อ 31 สิงหาคม 2553, 22:46:35
พรุ่งนี้ถ้าพอมีเวลา ... จะมาแชร์เรื่อง 3G ...ผลกระทบ และโอกาส ต่อนะครับ เืผื่อท่านใด มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ รวยแล้ว อย่าลืมซื้อหนมมาแบ่ง นะครับ  ^_^


ตัวอย่างของ นักสร้าง Value ...

เศรษฐีจากธุรกิจไซเบอร์ ที่มีอายุต่ำกว่าสามสิบ     

เปิดเผยโฉมหน้าของนักคิด ที่กลายเป็นเศรษฐีจากธุรกิจไซเบอร์ ที่รวยที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ที่เว็บไซต์ Complex.com ได้จัดอันดับไว้


1. มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก

วัย 26 ปี เจ้าของเครือข่ายออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกคนนี้ กลายเป็นเศรษฐีติดอันดับโลกไปแล้วภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี เรียกได้ว่าเขาอาจเป็นส่วนผสมของบิล เกตส์ และ สตีฟ จ็อบส์ CEO ของแอปเปิลก็เป็นได้ เพราะเครือข่ายออนไลน์ที่เขาคิดค้นขึ้นได้รับความนิยมอย่างมากมาย จนปัจจุบันนี้มันทำเงินให้เขาได้ถึง 4,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เลยทีเดียว และนั่นทำให้เขากลายเป็น 1 ในมหาเศรษฐีที่มีรายได้แซงหน้าสตีฟ จ็อบส์ ไปแล้ว



      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #179 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2553, 11:10:40 »

2. ดัสติน มอสโกวิทซ์

วัย 26 ปี หนึ่งในผู้สร้าง Facebook คู่หูของซักเกอร์เบิร์ก เขาถือหุ้น 6 เปอร์เซ็นต์ และครองตำแหน่งผู้บริหารอีกคนของ Facebook ส่วนรายได้ของเขาน่ะหรือ ตอนนี้อยู่ที่ 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #180 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2553, 11:11:26 »

3. เบลค รอส

วัย 25 ปี ประสบความสำเร็จจากการพัฒนาเว็บบราวเซอร์คุณภาพอย่าง Firefox ขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ.2004 จนเป็นที่นิยมกันไปทั่วโลก ด้วยยอดคนดาวน์โหลดกว่า 100 ล้านครั้งในเวลาไม่ถึงปี และนั่นทำให้เขากลายเป็นเศรษฐีร้อยล้านตั้งแต่อายุได้เพียง 19 ปีเท่านั้น รายได้ของเขาอยู่ที่ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #181 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2553, 11:13:06 »

4. นาวีน เซลวาดูไร

วัย 28 ปี ผู้สร้างสรรค์ Foursquare แอพลิเค ชั่นเครือข่ายออนไลน์ที่ผสม Social Network เข้ากับสถานที่ ที่ทำให้ผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้งหลายสามารถระบุสถานที่ที่ตัว เองอยู่ได้ แอพลิเคชั่นนี้ดึงดูดผู้ใช้งานได้ถึง 275,000 คนในเวลาไม่ถึงปี และบัดนี้มันทำเงินให้เขาได้แล้วถึง 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ



      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #182 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2553, 11:14:06 »

5. แอลเจโล่ โซทีรา

วัย 28 ปี เจ้าของเว็บไซต์ DeviantArt ที่เป็น ศูนย์รวมศิลปะทุกแขนง และเป็นชุมชนศิลปินสาขาต่าง ๆ ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น ปัจจุบันมีสมาชิกแล้วกว่า 11 ล้านคนทั่วโลก ทำรายได้ให้เขาได้ถึง 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #183 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2553, 11:14:54 »

6. อเล็กซานเดอร์ เลวิน

วัย 26 ปี เจ้าของเว็บ Imageshack ที่เอา ไว้สำหรับฝากรูปที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และมันทำเงินให้เขาไปแล้วกว่า 56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #184 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2553, 11:15:42 »

7. แจ็ค นิกเกล

วัย 30 ปี ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Threadless ซึ่งเป็น เว็บไซต์ขายเสื้อผ้าที่โด่งดังมาก ๆ โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เว็บไซต์แห่งนี้ได้ทำรายได้ให้เขาแล้ว 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ



      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #185 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2553, 11:16:22 »

8. เซียน เบลนิค

วัย 23 ปี ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Bizchair.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ ที่ขายเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ทั้งในออฟฟิศและบ้าน ปัจจุบันเขามีรายได้กว่า 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #186 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2553, 11:17:41 »

9. แมตต์ มุลเลนเวก

วัย 26 ปี ผู้ก่อตั้ง wordpress โปรแกรมสำหรับสร้างบล็อกที่สะดวกต่อการใช้งาน ปัจจุบันทำรายได้ให้เขาถึง 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ





      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #187 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2553, 11:18:26 »

10. โอดาน คัลเลน

วัย 27 ปี เจ้าของ Statcounter ซึ่งเป็นตัววัดสถิติการ เข้าชมเว็บไซต์ที่เป็นที่นิยมมากในขณะนี้ โดยมีสมาชิกกว่า 1.5 ล้านคน และสร้างรายได้ให้เขาได้ถึง 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ



      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #188 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2553, 08:46:56 »

อ้างถึง
ข้อความของ ดร.มนตรี เมื่อ 15 ตุลาคม 2553, 16:10:17
-------------------------------------------------

ปล.


ล่าสุดผมทำงานวิจัยเรื่อง "องค์กรเสมือนจริงบนฐานความรู้ (Virtual Organization on Knowledge-based Model) หรือ VOK Model

หลังจากตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ (Journals) แล้ว ... จะนำมาแชร์ให้พวกเราต่อนะครับ ซึ่ง Model นี้เมื่อประเทศเราเข้าสู่ยุค 3G หรือ 4G แล้ว จะสร้าง Value ให้กับองค์กรได้อย่างมีนัยสำคัญ ...





Spoil: บางส่วน ย่อมา และจัด Format ให้อ่านง่ายๆ สะดวกต่อการอ่านผ่านหน้ากระทู้ นะครับ

          ความสนใจในการวิจัย ครั้งนี้ มุ่งเน้นวิจัย เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ขับเคลื่อนธุรกิจ ขับเคลื่อนองค์กรด้วยความรู้ ความรู้ที่จะทำให้องค์กร สร้างธุรกิจให้ดีเลิศ ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถ (Competency) ของบุคคลากรซึ่งเป็นทรัพยากรอันมีค่าขององค์กร เป็นหัวใจแห่งความสำเร็จขององค์กร ในยุคแห่งความผันผวน และไร้ระเบียบ (Disruptive Age หมายถึง ยุคแห่งการสร้างความแตกต่าง ที่ไม่เหมือนคู่แข่งขันรายอื่นๆ) โดยการฝังกระบวนการจัดการความรู้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ การจัดการองค์กร

          บุคลากรในองค์กรแบบเสมือนจริง สามารถที่จะเรียนรู้ และปฏิบัติงานได้ทุกที่ ทุกเวลา สามารถทำการปรับปรุง พัฒนาและเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงาน โดยการทบทวนความนึกคิด จินตนาการที่เกินจากกรอบในปัจจุบัน (Lateral Thinking) ทบทวนพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในที่ทำงาน เปลี่ยนไปสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ด้วยความกระตือรือร้น การสร้างความสดชื่น ร่าเริง ความมุ่งหวังความสำเร็จและประสิทธิผล กับทุกๆ ส่วน ภายในองค์กร ด้วยนวัตกรรมคือ การ กำหนดกลยุทธ์ใหม่ (New Strategy) กำหนดยุทธวิธีในการทำการแข่งขันใหม่ (New Tactics) เป็นต้น การสร้างทรัพยากรมนุษย์ ในลักษณะทุนมนษย์ (Human Capital) มีการสร้างระบบ และเครื่องมือการจัดการที่เหมาะสม มีการกำหนดรูปแบบการจัดการ กระบวนการ (Process) เป็นลักษณะการผสมผสาน โดยการสื่อสารแบบข้ามฝ่ายกัน (Cross - functional Communication) เตรียมพร้อมรับมือกับยุคเศรษฐกิจใหม่ อย่างมีประสิทธิผล

           การวิจัยหัวข้อตัวแบบองค์กรเสมือนจริงบนฐานความรู้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดและทฤษฏีเพื่อเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยประกอบด้วยแนวคิดที่สำคัญคือ แนวคิดด้านการจัดการความรู้ แนวคิดด้านองค์กรเสมือนจริง และแนวคิดด้านการพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #189 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2553, 08:48:36 »

แนวคิดด้านการจัดการความรู้

          ปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy – KBE) งานต่างๆ จำเป็นต้องใช้ความรู้มาสร้างผลผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น การจัดการความรู้เป็นคำกว้างๆ ที่มีความหมายครอบคลุมเทคนิค กลไกต่างๆ มากมาย เพื่อสนับสนุนให้การทำงานของแรงงานความรู้ (Knowledge Worker) มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กลไกดังกล่าวได้แก่ การรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ที่ต่างๆ มารวมไว้ที่เดียวกัน การสร้างบรรยากาศให้คนคิดค้น เรียนรู้ สร้างความรู้ใหม่ๆ ขึ้น การจัดระเบียบความรู้ในเอกสาร และทำสมุดหน้าเหลืองรวบรวมรายชื่อผู้มีความรู้ในด้านต่างๆ และที่สำคัญที่สุด คือการสร้างช่องทาง และเงื่อนไขให้คนเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน เพื่อนำไปใช้พัฒนางานของตนให้สัมฤทธิ์ผล

          ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ความรู้ชัดแจ้งคือความรู้ที่เขียนอธิบายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ ตำรา เวปไซด์ Blog ฯลฯ ส่วนความรู้แฝงเร้นคือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ไม่ได้ถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบางครั้งก็ไม่สามารถถอดเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ความรู้ที่สำคัญส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้แฝงเร้น อยู่ในคนทำงาน และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันและกัน

           ความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้คำพูดได้ มีรากฐานมาจากการกระทำและประสบการณ์ มีลักษณะเป็นความเชื่อ ทักษะ และเป็นอัตวิสัย (Subjective) ต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีลักษณะเป็นเรื่องส่วนบุคคล มีบริบทเฉพาะ (Context-specific) ทำให้เป็นทางการและสื่อสารยาก เช่น วิจารณญาณ ความลับทางการค้า วัฒนธรรมองค์กร ทักษะ ความเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ การเรียนรู้ขององค์กร

           ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่รวบรวมได้ง่าย จัดระบบและถ่ายโอนโดยใช้วิธีการดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective) เป็นทฤษฏี สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อถ่ายทอดความรู้ เช่น นโยบายขององค์กร กระบวนการทำงาน ซอฟต์แวร์ เอกสาร และกลยุทธ์ เป้าหมายและความสามารถขององค์กร
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #190 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2553, 08:53:35 »

การจัดการความรู้นั้นมีหลายรูปแบบ มีหลากหลายโมเดล สาระสำคัญ ดังนี้

          - เราขับเคลื่อนด้วยแก่นความเชื่อพื้นฐานที่ว่า ความปรารถนาและความสามารถขององค์กรที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจากแหล่งไหนก็ได้ และนำความรู้นั้นไปใช้ คือความได้เปรียบในการแข่งขันขั้นสูงสุด (Jack Welch, CEO of GE)
         
          - ถ้าเรารู้ว่าเรารู้อะไรบ้าง เราจะมีกำไร 3 เท่าของที่เป็นอยู่ (Lew Platt, former CEO of HP, 1999)
     
          - การบริหารองค์กรสมัยใหม่จะต้องไม่เป็นแบบรูปเจดีย์หรือปิระมิดหากเป็นการแยกพนักงานออกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วภายในขอบเขตงานของตน ไม่ต้องรอคำสั่งจากเบื้องบนดังแต่ก่อน (Hammer M., Goldratt E, Senge P.)
 
          - ในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและการเข่งขันที่รุนแรง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจะเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อความอยู่รอด หรือเพื่อการรักษาความเป็นเลิศให้ยั่งยืน (Peter F. Drucker, 1993)

           - การศึกษาด้านการจัดการในอนาคตนั้นไม่ใช่แค่ต้องการเพียงการศึกษาเนื้อหาและนำไปใช้เท่านั้นแต่หมายรวมถึงการบูรณาการด้านทักษะเชิงประสบการณ์ ความรู้และเทคโนโลยีตลอดจนการส่งเสริมกระบวนการจัดการความรู้ในองค์กรด้วย (Donaldson, 2002 และ Giddens, 1984)

           - ความหมายของคำว่า Illiterate แห่งศตวรรษที่ 21 จะไม่ใช่ผู้ที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่จะหมายถึงผู้ที่ไม่มีความสามารถในการเรียนรู้ ลบความรู้ ชุดเก่าที่ล้าสมัยออกจากสมอง และเรียนรู้ความรู้ชุดใหม่ (Toffler, 1998)

           - Ikujiro Nonaka ผู้บุกเบิกเรื่องการจัดการความรู้ได้กล่าวถึงความสำคัญของความรู้ว่าเป็นความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืนที่สุด โดยเฉพาะโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Based Economy) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่อาศัยการสร้าง การกระจาย และการใช้ความรู้เป็นพลังขับเคลื่อนหลัก

ข้อมูล (Data) คือ ข้อมูลดิบ ข้อเท็จจริง หรือ ตัวเลขต่างๆที่ยังไม่ได้ผ่านการแปลความ

สารสนเทศ (Information) เป็นข้อมูลที่ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ วิเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการและตัดสินใจ มีบริบทซึ่งเกิดจากความเชื่อ สามัญสำนึก หรือประสบการณ์ของผู้ใช้สารสนเทศนั้นๆ โดยมักจะอยู่ในรูปของข้อมูลที่วัดได้จับต้องได้ อย่างไรก็ตาม สารสนเทศอาจมีข้อจำกัดในเรื่องช่วงเวลาที่ใช้และขอบข่ายของงานที่จะนำมาใช้

ความรู้ (Knowledge) คือสารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิด เปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู้อื่นจนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆได้โดยไม่จำกัดช่วงเวลา

ปัญญา (Wisdom) คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ก่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #191 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2553, 08:59:09 »



          จะเห็นได้ว่า ความรู้เริ่มมีอิทธิพลหรือบทบาทในการตัดสินใจและเพิ่มอำนาจในการแข่งขันมากขึ้นสำหรับโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งต่างจากเดิมที่คนให้ความสำคัญกับข้อมูลมาก แต่เมื่อช่องทางการเข้าถึงข้อมูลทำได้สะดวกมากขึ้น มีระบบอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูล การมีข้อมูลเพียงอย่างเดียวจึงไม่ถือว่าเป็นจุดแข็งอีกต่อไป สิ่งสำคัญคือ ต้องสามารถนำข้อมูลมาสังเคราะห์ พัฒนา วิจัย และนำมาประยุกต์ใช้ หรือทำให้เป็นประโยชน์ในแง่ของการแปลงข้อมูลเป็นความรู้ ทั้งนี้ ความรู้ที่ได้หรือนำมาใช้ ควรเป็นความรู้ที่ผ่านการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ความรู้ที่เกิดประโยชน์สูงสุดและใช้ได้จริงด้วย ทั้งนี้การพัฒนาความรู้ที่เหนือกว่าการวิจัย คือ การทำให้เกิดปัญญา ซึ่งต้องมาจากกระบวนการเรียนรู้ ทั้งจากการศึกษาและประสบการณ์อย่างครบถ้วน ถูกต้อง โดยกระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 1) การแสวงหาความรู้ 2) การแปลความหมาย ทำความเข้าใจกับความรู้ และ 3) การประยุกต์ใช้ความรู้ที่มี

   Michael Polanyi และ Ikujiro Nonaka เริ่มจำแนก ความรู้ออกเป็น 2 ประเภท คือ Tacit และ Explicit Knowledge โดยให้คำจำกัดความดังนี้
   
        Tacit Knowledge ที่ปกติจะอยู่ในสมองของแต่ละคนหรือ ถูกฝังในการปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มภายในฝ่ายหรือในสาขา เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญหรือการมีทักษะในระดับสูงที่น่าเป็นแบบอย่างเป็นแหล่งสะสมประสบการณ์ แผนทางความคิด ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ความฉลาด ความเชี่ยวชาญ Know-how ความลับทางการค้า ทักษะ ความเข้าใจและการเรียนรู้ที่องค์กรมี รวมทั้งวัฒนธรรมขององค์กรที่ถูกฝังอยู่ในขบวนการและคุณค่าและในประสบการณ์ของคนในองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน Tacit Knowledge ถูกกระจายโดยไร้โครงสร้างที่จับต้องได้ ดังนั้น มันจึงยากที่รวบรวม

        Polanyi กล่าวไว้ว่า เป็นการยากที่จะเก็บ Tacit knowledge ไว้ในรูปตัวอักษร ตัวอย่างเช่น การอธิบายวิธีการขี่จักรยานโดยการเขียนเป็นตำรา  การเปลี่ยนรูปหรือการแบ่งปันความรู้แบบ Tacit ที่ให้ผลสำเร็จปกติจะเกิดขึ้นโดยผ่านการคบหาสมาคม การฝึกงาน การสนทนา การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือแม้แต่การเลียนแบบ

        Nonaka กล่าวว่าสิ่งที่สัมผัสไม่ได้ เช่น ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ การรู้โดยการสัมผัส ความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว คุณค่า ภาพลักษณ์ เป็นทรัพย์สินขององค์กรที่ถูกมองข้ามเสมอ การเก็บเกี่ยวผลจากทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้นี้สามารถนำมาเอื้อประโยชน์กับผลกำไรหรือขาดทุนในงบการเงินและความสามารถในการบรรลุเป้าหมายขององค์กร

        Explicit Knowledge ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล สามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น data, software, policy, procedural guide, document, reports, white paper, designs, products, strategy, goal, mission , core competency เป็นต้น เป็นความรู้ที่ถูกรวบรวมในรูปแบบที่สามารถแจกจ่ายให้ผู้อื่นโดยไม่ต้องมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือเปลี่ยนรูปแบบในรูปของกรรมวิธีหรือกลยุทธ์  ตัวอย่างเช่น การบรรยายวิธีการของการสมัครงานจะต้องมีการทำเป็นเอกสารคู่มือนโยบายของแผนกทรัพยากรบุคคลในองค์กร Explicit Knowledge ถูกเรียกอีกอย่างว่า Leaky knowledge (ความรู้รั่ว) เนื่องจากสะดวกที่จะทิ้งไว้กับบุคคล หรือองค์กร เพราะมันสามารถพิสูจน์โดยเอกสารได้อย่างถูกต้องและง่ายดาย

        เมื่อพิจารณาสัดส่วนความรู้ทั้ง 2 ประเภท จะพบว่าความรู้ในองค์กรส่วนใหญ่เป็นความรู้ประเภท Tacit มากกว่าความรู้ประเภท Explicit โดยหากจะเปรียบเทียบกับภูเขาน้ำแข็ง Explicit เปรียบเสมือนส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมา ซึ่งเป็นส่วนน้อย (ประมาณ 20% ของทั้งหมด) เมื่อเทียบกับส่วนของภูเขาที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งมากถึง 80% (เป็นส่วนของ Tacit)
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #192 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2553, 09:03:31 »

ทฤษฏีองค์กรแห่งการเรียนรู้

          โลกาภิวัตน์เป็นยุคที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนทำให้องค์กรแบบดั้งเดิมปรับตัวแทบไม่ทัน จึงเกิดองค์กรแบบใหม่ๆ ขึ้นมากมาย เช่น Team Structure, Matrix and Project Structure, The Boundary less Organization และ The Learning Organization เป็นต้น

          ผู้บริหารยุคใหม่จำนวนมากเชื่อว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นคำตอบหนึ่งของการบริหารธุรกิจในยุคปัจจุบัน

           การจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง เนื่องจาก แนวคิดในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ การที่จะทำให้คนในองค์กรเรียนรู้ปัจจัยต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอก เพื่อการนำมาใช้ในการพัฒนาตนเองและการดำเนินงานขององค์กร หรือกล่าวได้ว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นองค์กรที่มีการปรับเปลี่ยนและค้นหาวิธีทางใหม่ๆ ในการผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการอันจะนำมาซึ่งการเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์กร ทั้งนี้การที่องค์กรจะสามารถเรียนรู้เพื่อพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิผลนั้น ต้องมีการจัดการความรู้ควบคู่ไปด้วยเสมอ

          Ikujiro Nonaka กล่าวว่าแนวคิดของ Peter Senge เรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้หมายถึง การทำให้คนในองค์กรต้องการหรือกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้น โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงระหว่างวิธีการจัดการความรู้ที่มีกับนวัตกรรมการผลิตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายถึงว่า องค์กรที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ควรมีนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เด่นชัด ทั้งนี้การเรียนรู้เป็นกระบวนการในการเสาะหาองค์ความรู้ต่างๆที่เหมาะสม เพื่อนำมาใช้ในองค์กรทำให้เกิดการพัฒนาหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การจัดการความรู้ เป็นการจัดการเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้ที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดการความรู้และเครื่องมือต่างๆ ที่เหมาะสมจะช่วยให้องค์กรมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือวิธีการทำงานให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ นำมาซึ่งผลการดำเนินงานที่ดีได้

          แนวคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ของ Pete M.Senge จากหนังสือ “The Fifth Discipline: The Art and Practice of The Learning Organization” ในปี ค.ศ. 1990 และได้เขียนหนังสืออีกเล่มชื่อ “The Fifth Discipline Fieldbook: Strategies and Tools for Building a Learning Organization” ร่วมกับ Art Kleiner, Charlotte Roberts, Richard B.Ross และ Bryan J.Smith ในปี ค.ศ. 1994 หนังสือทั้งสองเล่มได้ให้แนวคิด พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบแนวคิด ตลอดจนได้นำเสนอวิธีการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างละเอียด แม้ว่า Peter M.Senge จะไม่ได้ให้คำนิยามขององค์กรแห่งการเรียนรู้ไว้อย่างชัดเจน แต่พอจะสรุปโดยสังเขปสำหรับแนวคิดของ Peter M.Senge ได้ว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือที่ซึ่งมนุษย์สามารถขยายศักยภาพ (Capacity) อย่างต่อเนื่องในการสร้างผลลัพธ์ตามต้องการ เป็นที่ซึ่งรูปแบบความคิด (Pattern of Thinking) แบบใหม่และกว้างขวางได้รับการส่งเสริม เป็นที่ซึ่งความทะเยอทะยานร่วมของทุกคน (Collective Aspiration) ได้รับการยอมรับและเป็นที่ซึ่งมนุษย์เรียนรู้ที่จะเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้มีบรรยากาศแห่งความไว้วางใจ (Trust) มีสัมพันธภาพภายใน (Relationship) ที่ดี มีการยอมรับซึ่งกันและกัน (Acceptance) ของสมาชิก มีความสอดคล้องและกลมกลืน (Synergy) ตลอดจนสามารถสร้างผลลัพธ์ที่นำมาซึ่งความสำเร็จได้ โดยที่ปัจจัยและความสำเร็จเหล่านี้เกิดจากการพัฒนาความรู้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของทีมอย่างต่อเนื่อง (สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ, 2005)
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #193 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2553, 09:06:51 »

แนวคิดด้านองค์กรเสมือนจริง

Tom Peters ได้สรุปลักษณะองค์กรสมัยใหม่ ควรจะมีรูปแบบดังนี้

1.   องค์กรแบบแบนราบ (Flat) ไม่มีรูปแบบของระบบราชการ
2.   บูรณาการอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น (Systemically integrated) มีลักษณะเชื่อมโยงอุปสงค์ อุปทานแบบห่วงโซ่ (Supply & Demand Chain)
3.   เชื่อมโยงการสื่อสารโดยอินเตอร์เนต
4.   เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
5.   ทำงานได้ทุกเวลา และทุกสถานที่
6.   ตอบสนองสิ่งต่างๆ ได้อย่างทันทีทันใด
7.   "ลูกค้า" เป็นจุดศูนย์กลาง (Customer-centric)
8.   สินค้า และบริการสามารถตอบสนองลูกค้าได้รวดเร็ว ทันกับความต้องการ
9.   การเปลี่ยนแปลงจากศูนย์ต้นทุน (Cost center) ไปสู่องค์กรแห่งการให้บริการอย่างมืออาชีพ (The Professional Service Firms / PSFs)

          Virtual Organization คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการในพื้นที่ซึ่งอยู่ ห่างไกลออกไป หรือแม้แต่ในต่างประเทศได้โดยไม่จำเป็นต้องมีสำนักงานไปตั้งอยู่ ณ ที่นั้นจริง ๆ
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #194 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2553, 09:11:18 »

แนวคิดด้านการพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์

   จากแนวคิดด้านการจัดการความรู้ และแนวคิดด้านองค์กรเสมือนจริง เพื่อการจัดการความรู้และปฏิบัติงานโดยการใช้องค์ความรู้เป็นแรงขับเคลื่อนองค์กร เพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์หรือทุนทางปัญญา จึงต้องศึกษา แนวคิดด้านการพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์ พบว่ามีแนวคิดด้านกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทุนทางปัญญาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ดังตาราง




      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #195 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2553, 09:16:38 »

กรอบแนวคิดการวิจัย

          ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ที่สภาพแวดล้อมภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรง ทำให้ทุกองค์กรต้องมีการปรับตัว โดยมุ่งเน้นการบริหารและการทำงานที่คำนึงถึงประสิทธิผลเป็นหลัก ส่งผลให้องค์กร จำเป็นต้องมีการพัฒนาองค์กรและบุคลากร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่เกิดขึ้น

          ในปัจจุบัน ทิศทางการบริหารทรัพยากรบุคคลสมัยใหม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่สามารถแปลงกลยุทธ์ขององค์กรไปสู่การบริหารบุคลากรอย่างมีทิศทางและต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นระบบการสรรหาคัดเลือก การพัฒนาบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงาน การวางแผนอาชีพ ฯลฯ เพื่อให้องค์กร สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้เนื่องจากบุคลากรเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จขององค์กร ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรดังกล่าวต้องสามารถปรับเปลี่ยนพนักงานให้มีคุณลักษณะและความสามารถที่สนับสนุนงานและความสำเร็จขององค์กร

          ผู้วิจัย ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงและความสำคัญของการบริหารทรัพยากรบุคคล จึงนำแนวคิดการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา ความรู้ ทักษะ และขีดความสามารถ โดยมุ่งที่จะสรรหาตัวแบบในการจัดการความรู้ และการจัดการองค์กรแบบเสมือนจริงเพื่อการทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา มาพัฒนาเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์องค์กรกับกลยุทธ์การจัดการความรู้ โดยการที่จะเชื่อมโยงการจัดการความรู้ฝัง (Embed) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงานขององค์กร และพัฒนาวิธีวิทยาการของการจัดการความรู้ (KM Methodologies) ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาความรู้ ทักษะ และขีดความสามารถ (Competency) ของบุคลากรในองค์กรพร้อมที่จะขับเคลื่อนองค์กร ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ด้วยแนวคิดด้านการพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์

          ขีดความสามารถของพนักงานเป็นตัวผลักดันให้เกิดผลลัพธ์สูงสุดขององค์กร เพราะขีดความสามารถ คือ คุณลักษณะที่สะท้อนพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน โดยมีความสัมพันธ์ในเชิงเหตุผลและก่อให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด (Superior Performance) ที่องค์กรต้องการ

          การวิจัยหัวข้อตัวแบบองค์กรเสมือนจริงบนฐานความรู้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดและทฤษฏีเพื่อเป็นกรอบแนวคิดการจัดการความรู้สำหรับการวิจัยนี้เป็นการจัดการความรู้ ทั้งด้านอุปสงค์และด้านอุปทาน สำหรับด้านอุปทาน (Supply-side Learning) นั้นเป็นการจัดการความรู้ในลักษณะกิจกรรมที่ “ผู้มีความรู้” เอาความรู้มาจัดระบบ สังเคราะห์ความรู้ขึ้นเพื่อให้ผู้อื่นใช้  ส่วนด้านอุปสงค์ (Demand-side Learning)   เป็นการจัดการความรู้โดยกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน เป็นการดำเนินกิจกรรมกันในกลุ่มผู้ทำงานเพื่อช่วยกันดึง “ความรู้ในคน” (Tacit knowledge) และ “คว้า” (Capture) ความรู้ภายนอกองค์กรมาใช้ในการทำงาน  และคอย “คว้า” ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการทำงานเอามายกระดับความรู้ และนำกลับไปใช้ในการทำงาน และสั่งสมไว้เป็นองค์ความรู้ขององค์กร แต่ก็ไม่ปฏิเสธผู้ที่จะรับการช่วยจัดการความรู้ด้านอุปทาน เป็นวงจรต่อเนื่องไม่จบสิ้น 

          จากแนวคิดด้านการจัดการความรู้ และแนวคิดด้านองค์กรเสมือนจริงผนวกรวมเข้ากับ แนวคิดด้านการพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์จากทฤษฏีองค์กรและทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ของ Dr. K-E Sveiby, Prof.L. dvinsson และ Kaplan & Norton ที่จะต้องเป็นหนึ่งเดียวกับระบบกลยุทธ์ทั้งองค์กร (Total Corporate Strategy) และจากวัตถุประสงค์ในการวิจัย

1.   เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์องค์กรกับกลยุทธ์การจัดการความรู้ ในการที่จะเชื่อมโยงการจัดการความรู้ฝัง (Embed) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

2.   เพื่อพัฒนาวิธีวิทยาการของการจัดการความรู้ (KM Methodologies) ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาขีดความสามารถ (Competency) ของบุคคลากรในองค์กรสำหรับการตอบโจทย์ การพัฒนาต้นแบบองค์กรธุรกิจเสมือนจริงที่มีประสิทธิผล เนื่องจากการที่จะทำให้องค์กรมีประสิทธิผล (Effectiveness) หัวใจสำคัญคือ ทรัพยากรบุคลากรที่มีขีดความสามารถ พื้นฐานสำคัญก็คือองค์ความรู้ปและการจัดการความรู้ ดังนั้น จึงต้องพัฒนาวิธีวิทยาการของการจัดการความรู้ เพื่อ

1.   การค้นหาว่าองค์ความรู้มีอะไรบ้าง ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร และความรู้ที่จำเป็นต่อองค์กรมีอะไรบ้าง (Knowledge Identification)
2.   การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)
3.   การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
4.   การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)
5.   การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
6.   การแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing)
7.   การเรียนรู้ (Learning)
8.   การวัดผล (Measurement)
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #196 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2553, 09:24:43 »

ปล.

Spoil ไว้เท่านี้ก่อนนะครับ ... ^_^
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #197 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2553, 17:03:58 »

ขออนุญาต ฝากข่าว ... ครับ

บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) ศูนย์บริหารงานจ.นครราชสีมา ได้นำรถเครนช่วยขนย้ายประชาชนในตัวเมืองที่ประสบภัยน้ำท่วมซึ่งรถเล็กไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ และติดตั้งเลขหมายโทรศัพท์ตามจุดที่มีน้ำท่วมหนักและมีศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่จ.นครราชสีมาในเบื้องต้น 5 จุดให้ประชาชนได้ติดต่อสื่อสารติดตามสถานการณ์ห่วงใยผู้ประสบภัยได้ฟรี! โดยเลขหมายตามศูนย์ประสบภัยต่างๆมีดังนี้

 

1.ศูนย์ฯถนนมิตรภาพ ซอย 6 โทร. 044-261039   

   ผู้ประสานงาน  ผอ.อ้อน โทร.081-1853366

 2.บริเวณหน้าขนส่ง ตะคองเก่า  โทร. 044-261042 , 044-261053

     ผู้ประสานงาน คุณอธิชา 083-1011149

3.บริเวณถนนช้างเผือก หัวมุมรร.สุรนารี  โทร. 044-270356, 044-270358

   ผู้ประสานงาน  คุณคู่ขวัญ โทร. 087-2572145

 4. ที่ KCTV โคราช  โทร. 044-273203

 5. ที่ พีกาซัส ทาวเวอร์  โทร.  044-270371

    ผู้ประสานงาน คุณเลิศ  บุญเกาะโทร. 081-9669142

 

นอกจากนี้ท่านสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและแจ้งขอรับความช่วยเหลือหรือประสานงานเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายการตลาดทีทีแอนด์ที โทร. 02-6932100 ต่อ 4601 , 4620 หรือ โทร 085-4858012.
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #198 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2553, 17:06:34 »

ถ้ามี 3G/4G ... งานสาธารณภัย เช่น การติดตั้งเซนเซอร์เตือนภัยน้ำท่วม หรือแม้แต่ซึนามิ การเชื่อมโยงศูนย์ข้อมูล การติดตั้งกล้องวงจรปิด ฯลฯ

เป็นเรื่องที่สามารถเป็นไปได้ อย่างง่ายดาย  เหนื่อย
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #199 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2553, 19:25:16 »


เครดิต: ทราบข้อมูลจาก พี่กวางดำ วศ. 16 ผ่าน Facebook

ซึ่งผมจะส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในโครงการนี้ จึงนำมาเผยแพร่ต่อ เผื่อพี่น้องท่านใดสนใจส่งผลงานเข้าร่วมโครงการฯ นะครับ


--------------------------------------------------


http://www.frit.or.th/princess.html?ref=nf

การจัดแข่งขัน "รางวัล เจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ"  มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทยให้ มีความก้าวหน้าทัดเทียมระดับสากล สามารถนำมาพัฒนาในเชิงธุรกิจและมีจุดประสงค์หลักเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับ ประเทศ รวมทั้งเพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างกว้างขวางทั้งภาครัฐและเอกชน โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ระดับ กล่าวคือ

1. ประเภทบุคคลทั่วไป ผู้ชนะเลิศจะได้รับโล่พระราชทาน "รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ" พร้อมเงินรางวัล 1,000,000 บาท

2. ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้ชนะเลิศจะได้รับได้รับโล่พระราชทาน "รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ" พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท

ลักษณะของโครงงาน

1.     เป็นผลงานวิจัยหรือผล งานเชิงประยุกต์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) อาทิ Software, Application, Network, Communication หรือ    Hardware
2.    เป็นผลงานที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นเชิงธุรกิจหรือพัฒนามาใช้จริงในเชิงปฏิบัติได้
3.    เป็นผลงานที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย
4.    เป็นผลงานที่มีนักวิจัยหรือเจ้าของเป็นคนไทย
5.    เป็นผลงานเพื่อประโยชน์แก่ประเทศไทยเป็นสำคัญ

โครงงานที่นำเสนอจะต้องประกอบด้วย

1.     ข้อมูลโดยละเอียดของผลงาน
2.    ประโยชน์อันพึงจะได้รับหรือผลกระทบที่มีต่อสังคมไทยหรือประเทศชาติ
3.    ลักษณะเด่นของผลงาน
4.    ค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการดำเนินงาน
5.    แนวโน้มในการพัฒนาต่อ และศักยภาพเชิงพาณิชย์ ฯลฯ

ดูรายละเอียด และ Download แบบฟอร์มใบสมัครการนำเสนอโครงงานที่ admin@frit.or.th

วิธีคัดเลือก

1.     คณะกรรมการมูลนิธิพิจารณาผลงานจาก Proposal ที่ส่งเข้าประกวด
2.    สรรหาคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละด้านเพื่อพิจารณาคัดเลือกผลงานโดยผู้ส่งผลงานเข้าประกวด จะต้องนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ และผู้ทรงคุณวุฒิในรอบแรก (ระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา การนำเสนอผลงานในรอบแรก จะมีการออกบูธเพื่อแสดงผลงาน โดยมูลนิธิ สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการออกบูธ) คุณวุฒิในรอบแรก (ระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา การนำเสนอผลงานในรอบแรก จะมีการออกบูธเพื่อแสดงผลงาน โดยมูลนิธิ สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการออกบูธ)
3.    ประกาศผลงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย
4.    คณะกรรมการมูลนิธิ สรรหาคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละด้านเพื่อพิจารณาตัดสินผลงาน โดยผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ และผู้ทรงคุณวุฒิในรอบสุดท้าย
5.    ประกาศผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ

ขั้นตอนการรับสมัคร

    
ดำเนินการได้ 2 วิธี

1.    สมัครผ่านเวบไซต์ www.itprincessaward.com
     
- กรอกแบบฟอร์มใบสมัคร
- Upload ข้อเสนอโครงงาน (Proposal) ตามรูปแบบที่กำหนด
- จัดส่งเอกสารสำคัญต่างๆ มาทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ของมูลนิธิ
- หรือ จัดส่งทาง Email : admin@frit.or.th

2.    สมัครผ่านทางไปรษณีย์ โดยขอแบบฟอร์มได้ที่มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ
     
- กรอกแบบฟอร์มใบสมัคร
- จัดส่งเอกสารสำคัญต่างๆ มาทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ของมูลนิธิ

  มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 19 โซน เอ
  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่
  เลขที่ 9 ถ.รัชดาภิเษก จตุจักร กทม. 10900

แผนดำเนินงาน

มิถุนายน - ตุลาคม 2553    - ผู้สนใจส่งใบสมัคร และ PROPOSAL
พฤศจิกายน 2553            - คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณา PROPOSAL

รางวัลและรายละเอียด
   
1.    ระดับประเภทบุคคลทั่วไป
     ได้รับโล่พระราชทาน "รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ" และ เงินรางวัลมูลค่า 1,000,000 บาท
     
2.    ระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา
     ได้รับโล่พระราชทาน "รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ" และ เงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท



      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><