24 พฤศจิกายน 2567, 12:49:23
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: 3G  (อ่าน 90126 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 9 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #150 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2553, 17:44:12 »

ก็เอ๋าพณฯท่าน
TOT งี้
TT & Tงี้
แล้วยังไม่รู้ว่า...
จะถึงโรงถึงศาลกันอีกกี่...T !!!
      บันทึกการเข้า


mek
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2540
คณะ: Vet 61
กระทู้: 627

« ตอบ #151 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2553, 18:08:24 »

อ้างถึง
ข้อความของ khesorn mueller เมื่อ 05 ตุลาคม 2553, 17:37:42
เปลี่ยนชื่อ...3G
เป็น...3T
ได้ป่าว?


เปลี่ยนเป็น 3T ไม่ได้ครับไม่งั้นจะเป็นชื่อบริษัทพี่ มนตรีครับ  (TT&T) 5555
      บันทึกการเข้า

khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #152 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2553, 18:11:58 »

รู้ค่ะ..ว่าเค้าเรียก 3 T
ถึงรีบกันไว้ก่อนไง!
      บันทึกการเข้า


ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #153 เมื่อ: 06 ตุลาคม 2553, 08:38:47 »

โครงการ 3G ของหน่วยงานแห่งหนึ่งภายใต้การกำกับของรัฐบาล ... เท่าที่ติดตามดู เห็นว่ามีหลายประเด็นของโครงการนี้ที่น่าเป็นห่วง ดังนั้น น่าจะดีไม่น้อยนะครับ ... ถ้าัจะเปิดช่องทางรับฟังความเห็นจากผู้รู้หลายๆท่าน เพื่อประโยชน์สูงสุดของโครงการฯ ที่เป็นความหวังของคนทั้งประเทศ   ปิ๊งๆ



อ้างถึง
ข้อความของ mek เมื่อ 05 ตุลาคม 2553, 16:06:50
ทีโอทีความหวัง3จีของประเทศ
อ้างอิง : http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=95797&categoryID=316
วันจันทร์ ที่ 04 ตุลาคม 2553 เวลา 0:00 น


ในแถบภูมิภาคเอเชียขณะนี้มีประเทศพม่า และประเทศไทยที่ยังไม่มีเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จี ใช้งานครอบคลุมทั่วประเทศ
  
ก่อนหน้านี้วงการโทรคมนาคมฝากความหวังเรื่อง 3จี ไว้ที่การออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ  3จี ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ (กทช.) แต่เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2553 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นให้ กทช.ระงับการประมูลใบอนุญาต 3จี ออกไปก่อน เพื่อรอคณะกรรมการกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
  
นักวิชาการได้แสดงความคิดเห็นว่านับจากนี้ตามกระบวนการที่จะได้มาซึ่งคณะ กรรมการ กสทช. และกระบวนการออกใบอนุญาตประกอบกิจการ 3จี คงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปี
  
แต่ความหวังที่จะได้ใช้เทคโนโลยี 3จี หรือเทคโนโลยีเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ซึ่งรองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงสุด 42 เมกะบิต/วินาที ทำให้การรับส่งข้อมูล ทั้งเอกสาร และไฟล์ภาพผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นเรื่องง่ายของ คนไทยก็ยังไม่สูญสลายเสียทีเดียว เพราะ วันที่ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการขยายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จี ทีโอที ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ วงเงิน 19,980 ล้านบาท
  
นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่า     การกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า โครงการ 3จี ทีโอที เบื้องต้นจะเริ่มขยายโครงข่ายในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และ 12 จังหวัดก่อน โดยจะครอบคลุม 50% ของผู้ใช้บริการมือถือ ก่อนขยายให้ครอบคลุม 70% ของประชากรภายใน 6-9 เดือน ปัจจุบัน ทีโอทีมีสถานีฐานสำหรับรับ-ส่งสัญญาณ 3จี จำนวน 548 สถานีฐาน
  
สำหรับการดำเนินการโครงการ 3จี  ทีโอที แบ่งเป็นเงินกู้ราว 15,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 4,000 กว่าล้านบาท จะเป็นเงินลงทุนของ ทีโอที โดยมีจำนวนสถานีฐาน 5,320 สถานีฐาน การลงทุนโครงข่ายจะเป็นการขอร่วมใช้โครงข่าย ของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบซีดีเอ็มเอของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อลดต้นทุน จากข้อมูลการใช้โครงข่ายร่วมทำให้ทีโอทีสามารถดำเนินการสร้างโครงข่ายได้รวด เร็วขึ้น ในภาพรวมจะเช่าสถานีฐานจากผู้ประกอบการรายอื่นประมาณ 3,040 แห่ง หรือคิดเป็น 57% จากจำนวนสถานีฐานรวม 5,320 แห่ง ที่เหลือเป็นการใช้สถานีฐานที่ ทีโอที มีอยู่เดิมในโครงข่าย โทรศัพท์ประจำที่ จำนวน 1,562 แห่ง คิดเป็น 29% และติดตั้งใหม่ประมาณ 718 แห่ง คิดเป็น 14%
  
ส่วนเป้าหมายการทำ 3จี ของทีโอที คือ การเพิ่มจำนวนลูกค้า 320,000 เลขหมายในปี 2553 เป็น 7.4 ล้านเลขหมายในปี 2558 และมีส่วนแบ่งตลาดไม่น้อยกว่า 8% โดยมุ่งเน้นการขายส่งเป็นหลัก และมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 7 ปี
  
สำหรับจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยขณะนี้มีผู้ใช้งาน   65 ล้านเลขหมาย โดยสิ้นปีคาดว่าจะมีผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือทั้งหมด 69 ล้านเลขหมาย
  
นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า ทีโอทีจะเร่งดำเนินงานคู่ขนานกันระหว่างการจัดทำเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้าง (ทีโออาร์) และการจ้างที่ปรึกษาในการหาแหล่งเงินกู้ โดยในวันที่ 14 ต.ค.นี้ จะนำเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างเข้าที่ประชุมกรรมการบริหาร (บอร์ด) ทีโอที เพื่อขออนุมัติหลักการ หลังจากนั้นจะเห็นการประมูลการจัดซื้อจัดจ้างวางโครงข่าย 3จี ทีโอที ทั่วประเทศ ภายใน 3 เดือน ซึ่งในทีโออาร์จะกำหนดให้จัดทำสถานีฐานสำหรับรับ-ส่งสัญญาณ 3จี จำนวน 4,772 สถานีฐานให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน
  
ส่วนผู้เช่าใช้โครงข่าย (เอ็มวีเอ็นโอ) ของ 3จี ทีโอที เพื่อให้บริการจำนวน 5 ราย ได้แก่ บริษัท สามารถ ไอโมบาย จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ บริษัท ไออีซี ประเทศไทย บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น และบริษัท เอ็ม คอนซัลท์ สิ้นปีนี้ทีโอทีจะประเมินการทำตลาดและปริมาณลูกค้าของเอ็มวีเอ็นโอทั้ง 5 ราย ซึ่งปัจจุบันทีโอทีมีลูกค้า 3จี จากเอ็มวีเอ็นโอทั้ง 5 ราย ประมาณ 1.4 แสนราย ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ 3 ธ.ค. 2552 นอกจากนี้ยังมีแผนจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาแผนการทำธุรกิจ 3จี และการเพิ่มจำนวนเอ็มวีเอ็นโอ รวมทั้งรูปแบบการให้บริการของเอ็มวีเอ็นโอ ในแต่ละพื้นที่ หลังมีโครงข่าย 3จี ทีโอที ครอบคลุมทั่วประเทศ ขณะที่บอร์ดได้ให้ไปดูโครงสร้างสายงานทางธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทีโอที ให้เหมาะสมกับการทำธุรกิจ
  
นายวรุธ กล่าวว่า หลังจากทีโอทีทำตามแผนขยายโครงข่าย 3จี ทีโอที   ทั่วประทศที่ได้เสนอไปแล้ว ในอนาคต   หากต้องการขยายโครงข่ายเพิ่มอาจหาพันธมิตรร่วมลงทุน ซึ่งอาจตั้งเป็นบริษัทร่วมทุนก็ได้
  
นับจากนี้วงการโทรคมนาคมต้องหันมาจับตาดู “3จี ทีโอที” ว่าจะทำให้การรอคอยที่จะได้ใช้เทคโนโลยี 3จี สมหวังเพียงใด?.
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #154 เมื่อ: 06 ตุลาคม 2553, 08:46:20 »

เปลี่ยนเป็นชื่อ 3T^D (อ่านว่า 3ที กำลังดี) ก็ได้ครับ พี่หนิง น้องเมฆ ^_^


อ้างถึง
ข้อความของ mek เมื่อ 05 ตุลาคม 2553, 18:08:24
อ้างถึง
ข้อความของ khesorn mueller เมื่อ 05 ตุลาคม 2553, 17:37:42
เปลี่ยนชื่อ...3G
เป็น...3T
ได้ป่าว?


เปลี่ยนเป็น 3T ไม่ได้ครับไม่งั้นจะเป็นชื่อบริษัทพี่ มนตรีครับ  (TT&T) 5555
อ้างถึง
ข้อความของ khesorn mueller เมื่อ 05 ตุลาคม 2553, 18:11:58
รู้ค่ะ..ว่าเค้าเรียก 3 T
ถึงรีบกันไว้ก่อนไง!

      บันทึกการเข้า
BU_KA
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 986

« ตอบ #155 เมื่อ: 06 ตุลาคม 2553, 08:56:32 »

เอ้า หนูนึกว่า 1-D 1-N 1-A ค่ะ

อ๊ะ ประทานโทษนะคะ
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #156 เมื่อ: 06 ตุลาคม 2553, 09:11:23 »

อ้างถึง
ข้อความของ BU_KA เมื่อ 06 ตุลาคม 2553, 08:56:32
เอ้า หนูนึกว่า 1-D 1-N 1-A ค่ะ

อ๊ะ ประทานโทษนะคะ

สวัสดีครับ น้อง BU_KA  ถ้า DNA ที่เกี่ยวข้องกับ คนในวงการบันเิทิง  พี่ไม่มีความเห็น ^_^

แต่ถ้า D N A คือ

การลดช่องว่างของ Digital Divide (D) ระหว่างคนเมืองและคนชนบท

เรียน เล่น และทำงานได้ทุกที่-ทุกเวลาด้วยการเชื่อมโยงเครือข่าย Network (N) และ Application (A)

นัยนี้สนับสนุนเต็มที่  หึหึ



 
      บันทึกการเข้า
BU_KA
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 986

« ตอบ #157 เมื่อ: 06 ตุลาคม 2553, 23:19:06 »

อ้างถึง
ข้อความของ ดร.มนตรี เมื่อ 06 ตุลาคม 2553, 09:11:23
อ้างถึง
ข้อความของ BU_KA เมื่อ 06 ตุลาคม 2553, 08:56:32
เอ้า หนูนึกว่า 1-D 1-N 1-A ค่ะ

อ๊ะ ประทานโทษนะคะ

สวัสดีครับ น้อง BU_KA  ถ้า DNA ที่เกี่ยวข้องกับ คนในวงการบันเิทิง  พี่ไม่มีความเห็น ^_^

แต่ถ้า D N A คือ

การลดช่องว่างของ Digital Divide (D) ระหว่างคนเมืองและคนชนบท

เรียน เล่น และทำงานได้ทุกที่-ทุกเวลาด้วยการเชื่อมโยงเครือข่าย Network (N) และ Application (A)

นัยนี้สนับสนุนเต็มที่  หึหึ

คม ค่ะ คม
      บันทึกการเข้า
mek
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2540
คณะ: Vet 61
กระทู้: 627

« ตอบ #158 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2553, 00:15:40 »

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=17ZrK2NryuQ" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=17ZrK2NryuQ</a>
อ้างอิง :http://www.youtube.com/watch?v=17ZrK2NryuQ&feature=player_embedded
      บันทึกการเข้า

suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #159 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2553, 00:52:23 »

Green Ad. จริงๆครับ
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
mek
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2540
คณะ: Vet 61
กระทู้: 627

« ตอบ #160 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2553, 02:22:36 »

เอาไว้ปลอบใจว่าไม่มี 3G ก็ดีไปอีกอย่างครับพี่ป๋อง
      บันทึกการเข้า

khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #161 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2553, 04:02:12 »

2G
กะการให้ความสำคัญกะคนรอบข้าง...
พอเช่นกันค่ะ.
      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #162 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2553, 04:21:29 »

พี่ดูอยู่ทุกวันแล้วคะ...

oh when you 're smiling...
when you 're smiling...
the whole world smiles with you baby..
yes when you're laughing..
oh when you're laughing
yes the sun comes shining through

But when you're crying you bring on the rain
So stop your sighing and be happy again
yes and keep on smiling ,keep on smiling
The whole world smiles with you


<a href="http://img405.imageshack.us/flvplayer.swf?f=Papplefacetimevideoh" target="_blank">http://img405.imageshack.us/flvplayer.swf?f=Papplefacetimevideoh</a>
      บันทึกการเข้า


BU_KA
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 986

« ตอบ #163 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2553, 01:33:54 »

เหอ ๆ มาสังเกตการณ์เจ้าค่าาาาาา
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #164 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2553, 01:53:57 »

ชอบมาดึกๆนะ
ไม่กลัวคนสีฟ้าหลอกboo!เหรอ?
      บันทึกการเข้า


mek
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2540
คณะ: Vet 61
กระทู้: 627

« ตอบ #165 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2553, 20:21:39 »

ยื่นฟ้องศาลปค.กลาง "กสท."ไม่มีอำนาจแบ่งคลื่นดีแทค-ทรูมูฟ
อ้างอิง : http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?lang=th&newsid=472992
   
8 ตค. 2553 18:23 น.

    นายจรัญ บัวมณี ประกอบอาชีพทนายความ ได้ยื่นฟ้อง บมจ. กสท โทรคมนาคม และ กรรมการ กสท. ระบุว่า กสท และบอร์ด ไม่มีอำนาจจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ให้แก่ผู้อื่น แต่กลับอนุญาตให้บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) โอนคลื่นวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า ดิจิตอล พีซีเอ็น 1800 ที่ดำเนินกิจการภายใต้สัญญาสัมปทาน ให้กับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และยังอนุมัติให้ดีแทค และทรูมูฟนำคลื่นความถี่ย่าน 800 เมกะเฮิรตซ์มาปรับปรุง (อัพเกรด) บนเทคโนโลยี HSPA เพื่อให้บริการ 3 จี ที่มีลักษณะของการใช้ความถี่ร่วม ซึ่งตามมาตรา 53 วรรคสองของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับกิจการโทรคมนาคม จะต้องดำเนินกิจการด้วยตนเอง
    นอกจากนี้ กสท ยังใช้สิทธิไม่สุจริต ในการยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ว่าไม่มีอำนาจเปิดประมูลใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) 3 จี ช่วงคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อประสงค์จะให้ กทช. ไม่สามารถจัดการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี เพื่อให้ กสท เป็นเพียงผู้เดียวที่ดำเนินการอนุญาตให้ดีแทคและทรูมูฟสามารถประกอบกิจการ โทรศัพท์เคลื่อนที่เทคโนโลยี HSPA ซึ่งเป็นการมุ่งหวังในผลประโยชน์ตอบแทนหรือเงินส่วนแบ่งรายได้ตามสัญญา สัมปทานที่จะได้รับเพิ่มขึ้นจากการที่ดีแทคและทรูมูฟได้รับสิทธิให้แสวงหาผล ประโยชน์จากการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว โดยมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนแต่อย่างใด
    โดยผู้ฟ้องได้ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งห้ามมิให้บมจ. กสท และบอร์ด อนุญาตหรือดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ และให้เพิกถอนคำสั่งหรือใบอนุญาตของ กทช. ที่อนุญาตให้นำคลื่นความถี่ 800 หรือ 850 เมกะเฮิรตซ์ มาจัดสรรให้ ดีแทคและทรูมูฟใหม่โดยพละการ รวมถึงมีคำสั่งให้การจัดสรรคลื่นความถี่ 800 หรือ 850 เมกะเฮิรตซ์ ที่ได้กระทำไปแล้วเป็นโมฆะ
    ด้านนายสถาพร เอียดใหญ่ ผู้จัดการฝ่ายคดี กสท กล่าวว่า ถ้าศาลกำหนดให้มีการไต่สวน ก็พร้อมเรียบเรียงสำนวนเพื่อสู้คดี เข้าใจว่าผู้ฟ้องไม่เข้าใจขั้นตอนกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่ ที่ กสท ได้รับสิทธิ และอำนาจในการใช้คลื่นความถี่จากกรมไปรษณีย์กลาง ตั้งแต่ยังเป็นการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่ง ขณะนั้นยังไม่มีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) แต่อย่างใด กสท จึงมีอำนาจตาม พ.ร.บ. การสื่อสารแห่งประเทศไทย 2519 จึงมีสิทธิจะให้ดีแทค และ ทรูมูฟ ผู้รับสัมปทานไปดำเนินการทางตลาดแทนได้ แต่คลื่นยังเป็นของ กสท เหมือนเดิม
      บันทึกการเข้า

khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #166 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2553, 21:09:50 »

อย่าบอกใครคะ..
แต่...
พี่อ่านสองรอบแล้วเนี่ย!

..
..
ยังไม่เข้าใจที!

..
..
DTACได้สิทธ์ ขณะที่ที่อื่นไม่ได้
เลยฟ้องกัน?
      บันทึกการเข้า


ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #167 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2553, 08:50:43 »

อ้างถึง
ข้อความของ ดร.มนตรี เมื่อ 27 กันยายน 2553, 10:57:46
ตอนนี้ 5 บ.เทเลคอม ในเวียดนาม (VNPT, Viettel, FPT Telecom, CMC, และ VTC) กำลังทำการทดสอบเครือข่าย 4G กันอยู่


ซึ่งเครือข่าย 4G นี้รัฐบาลเวียดนามนั้นให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี โดยกระทรวงเทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเวียดนามกำลังพิจารณาอยู่ว่าจะเลือกใช้ระบบอะไร ระหว่าง LTE หรือ WiMAX และรัฐบาลเวียดนามจะทำการผลักดัน 4G ในเวียดนามนี้ให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2010  so sad

-----------------------------------------------

สำหรับ 3G เมืองไทยทำไม ผมถึงบอกเสียดายโอกาสของประเทศ ... เริ่มต้นเลยถ้ามีการประมูลคลื่น 2.1 GHz สำหรับ 3G เกิดขึ้น

ภายในปีหน้า 2011 ... เด็กตจว.4 หมื่น 5 พันโรงเรียน เข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สาย ฟรี ...

ตามข้อกำหนดของการประมูล ...

http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/113598.html

บริษัทมาเลเซียเตรียมเปิดให้บริการ 4 จีเดือนหน้า
วันจันทร์ ที่ 11 ต.ค. 2553


กัวลาลัมเปอร์ 11 ต.ค. - บริษัทวายทีแอล เจ้าของโครงการด้านสาธารณูปโภครายใหญ่ของมาเลเซียเตรียมให้บริการเครือข่าย ไร้สายความเร็วสูง 4 จี ในวันที่ 18 พฤศจิกายนนี้ พร้อมเผยแผนจับมือกับบริษัทสหรัฐให้บริการทีวีอินเทอร์เน็ต

บริษัทวายทีแอล คอมมิวนิเคชัน ในเครือของบริษัทวายทีแอล ประกาศใช้เงินลงทุน 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการวางระบบ 4 จี เพื่อให้บริการด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วกว่าระบบ 3 จี นอกจากนี้ นายฟรานซิส โหยว กรรมการผู้จัดการบริษัทวายทีแอล กล่าวว่า การจับมือระหว่างบริษัทวายทีแอลกับบริษัทเซสมีของสหรัฐจะให้บริการระบบทีวี ลูกผสมที่สามารถบันทึก ชมรายการโทรทัศน์ และเคเบิลทีวี รวมทั้งการเลือกชมภาพยนตร์ได้ และรับบริการอินเทอร์เน็ตวิดีโอในเครือข่าย 4 จี ภายในปี 2554.


-สำนักข่าวไทย

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #168 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2553, 09:11:02 »

http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=43704%3A-4g--&catid=109%3A2009-02-08-11-36-01&Itemid=460

เวอไรซอนจ่อเปิด 4G ในสหรัฐฯ ปลายปีนี้

เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เวอไรซอน ไวร์เลส ประกาศแผนการเปิดให้บริการเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงในระบบ 4จี ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกภายในปลายปีนี้ โดยจะครอบคลุมพื้นที่ 38 เมืองใหญ่ อาทิ นิวยอร์ก ชิคาโก บอสตัน ลอสแองเจลีส และซานฟรานซิสโก

 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่า เครือข่ายไร้สายระบบ 4จี ของเวอไรซอนสามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็วกว่าระบบ 3จี ที่สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ใช้อยู่ถึง 10 เท่า และมีระยะเวลาการดีเลย์ของข้อมูลน้อยกว่าระบบ 3จี ครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้ระบบ 4จี ของเวอไรซอน ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Long-Term Evolution (LTE) ยังมีความเร็วมากกว่าระบบ 4จี ของเครือข่ายสปรินต์ เน็กซ์เทล และระบบ HSPA+ ของที-โมบาย ที่มีใช้อยู่ในบางเมืองของสหรัฐฯ ในเวลานี้

 โลวล์ แมคอาดัม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของบริษัท เวอไรซอน คอมมิวนิเคชันส์ฯ กล่าวว่า "พวกเรารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เป็นผู้นำในการเปิดให้บริการเครือข่าย 4จี ที่ใหญ่ที่สุดจนถึงขณะนี้" พร้อมกับกล่าวว่าจะมีอุปกรณ์สมาร์ทโฟนและแท็บเลตจำนวน 6 รุ่นที่สามารถรองรับระบบ 4จีได้ ไปเปิดตัวในงานคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ โชว์ ที่จะจัดขึ้นช่วงเดือนมกราคมปีหน้า และอุปกรณ์เหล่านั้นจะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงครึ่งแรกของปี 2554

 เวอไรซอน ไวร์เลส ซึ่งเป็นเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในสหรัฐฯ เร่งผลักดันการเปิดใช้เทคโนโลยี 4จี ด้วยความพยายามที่จะโหนกระแสความนิยมการส่งข้อมูลในรูปแบบวิดีโอ รวมถึงการเล่นเกมผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี การเปิดใช้เทคโนโลยีแอลทีอีมีความเสี่ยงเช่นกัน นักวิเคราะห์กล่าวว่าในช่วงแรกจะมีอุปกรณ์จำนวนน้อยที่สามารถรองรับ เทคโนโลยีดังกล่าว และราคาของอุปกรณ์เหล่านั้นจะสูงกว่าทั่วไป อีกทั้งเวอไรซอนจะต้องทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าอุปกรณ์เหล่านั้นสามารถเปลี่ยน กลับไปมาระหว่างการใช้งานระบบ 3จี และ 4จี ได้อย่างราบรื่น

 เวอไรซอนคาดหวังให้การเปิดตัวเครือข่าย 4จี ของตนเป็นไปอย่างยิ่งใหญ่ ทั้ง 38 เมืองในสหรัฐฯ ที่จะได้ใช้บริการ 4จี ของเวอไรซอนเป็นครั้งแรกครอบคลุมเมืองใหญ่ๆ เกือบทั้งหมด และมีประชากรรวมกันประมาณ 110 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ แมคอาดัมหวังว่าเครือข่าย 4จี ของบริษัทจะครอบคลุมประชากร 2 ใน 3 ของสหรัฐฯ ภายใน 18 เดือนข้างหน้า และเข้าถึงทั่วสหรัฐฯ ในปี 2556

 เครือข่ายจะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 70% ของแต่ละเมือง โดยเริ่มแรกสนามบิน 55 แห่งที่อยู่ในเมืองเหล่านั้น และอีก 7 แห่งนอกพื้นที่จะสามารถเข้าถึงบริการ 4จี นับเป็นความพยายามในการดึงดูดนักเดินทางซึ่งมักจะเป็นผู้ที่เลือกใช้ เทคโนโลยีก่อนใคร

 เวอไรซอน ไวร์เลส เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายแรกๆ ที่เริ่มใช้เทคโนโลยีแอลทีอี เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา เมโทรพีซีเอส คอมมิวนิเคชันส์ ผู้ให้บริการโทรศัพท์แบบเติมเงินเปิดให้บริการเครือข่ายแอลทีอีเป็นรายแรกใน เมืองลาสเวกัสและดัลลัส ขณะที่สปรินต์ เน็กซ์เทล คอร์ป เปิดให้บริการเครือข่าย 4จี ที่ใช้เทคโนโลยีชื่อ ไวแม็กซ์ (WiMax) และคาดว่าจะเปิดให้บริการในตลาดใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ ภายในปลายปีนี้เช่นกัน ส่วนเอทีแอนด์ทีกล่าวว่าจะเริ่มเปิดให้บริการระบบ 4จี ในปีหน้า


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,573  10-13  ตุลาคม พ.ศ. 2553
      บันทึกการเข้า
mek
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2540
คณะ: Vet 61
กระทู้: 627

« ตอบ #169 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2553, 09:57:57 »

ADVANC คาด ต.ค.นี้พร้อมเริ่มทำ MVNO-โรมมิ่งดาต้าร่วมกับ TOT
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 12 ตุลาคม 2553 09:48:31 น.
อ้างอิง : http://www2.ryt9.com/s/iq05/1003662

นายวิเชียร เมตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(ADVANC) คาดว่าในเดือน ต.ค.นี้ บริษัทจะสามารถดำเนินการเป็นผู้ทำการตลาดรูปแบบการบริการขายส่งบริการบนโครง ข่ายเสมือนจริง (MVNO) หลังจากที่คณะกรรมการ บมจ.ทีโอที อนุมัติในหลักการภายในสัปดาห์นี้

ขณะเดียวกัน การเจรจาการเข่าโรมมิ่งด้านข้อมูล (Roaming DATA) กับระบบของทีโอทีบนโครงข่ายเดิม ซึ่งได้เจรจามานานแล้ว ขณะนี้ได้ข้อยุติแล้ว โดยทางบริษัทจะทำการโรมมิ่งด้านข้อมูล 5 หมื่นเลขหมายบนโครงข่าย 3G ของทีโอที แลกกับการที่ทีโอทีโรมมิ่งด้านเสียง 2 แสนเลขหมายบนโครงข่ายของบริษัท ซึ่งจะมีการเซ็นสัญญาในเร็วๆนี้

"หลังจากบอร์ดอนุมัติเราก็ต้องมาคุยรายละเอียด ขอบเขตงานที่ได้ เพราะถ้าของเก่าขายไม่หมด เราก็ทำได้เลย...แต่เราต้องการทำ Full MVNO เสมือนเราเป็นโอเปอเรเตอร์ ระบบบิลลิ่งเราก็มีพร้อมทำเต็มระบบ ตั้งแต่ขายซิมตัวเอง หรือขายซิมให้เขา"นายวิเชียร กล่าวกับ"อินโฟเควสท์"

ทั้งนี้ บริษัทยังไม่สามารถประเมินเบื้องต้นค่าใช้จ่ายและเงินลงทุนในการทำ MVNO รวมถึงรายได้ เพราะต้องหารือในรายละเอียดว่าจะได้รับเลขหมายมาจำนวนเท่าใด ขึ้นอยู่กับ capacity ของทีโอทีว่าจะมีอยู่เท่าใด โดยหากโครงข่ายเดิมมีเลขหมายเหลือบริษัทก็จะดำเนินการไปก่อน จากนั้นก็รอโครงข่ายใหม่ 3G ที่ทางทีโอที เพิ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการลงทุน

ปัจจุบัน ทีโอทีมีผู้ให้บริการ MVNO 5 ราย ได้แก่ บมจ.สามารถ ไอ-โมบาย(SIM) , บมจ.ล็อกซเล่ย์ (LOXLEY) , บริษัท เอ็นอีซี , บริษัท เอ็ม คอนซัลท์ และ บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น ซึ่งแต่ละรายได้รับ 1 แสนเลขหมายในการทำตลาด

นายวิเชียร กล่าวว่า การเข้ามาทำตลาด MVNO ของ ADVANC เป็นการเพิ่ม value added ให้กับบริษัท และบริษัทต้องพยายามหาบริการ 3G ให้กับลูกค้าในระหว่างที่รอการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ครั้งใหม่

ADVANC มี 2 บริษัทย่อยที่ได้ใบอนุญาตในการทำ MVNO จากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.)เมื่อ 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ โมบาย บรอดแบรนด์ และ บริษัท ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จำกัด (WDS)  ซึ่งก็คงต้องเลือกเอาบริษัทใดบริษัทหนึ่งเข้าไปทำการตลาด MVNO

"เรามองตลาด MVNO เป็นการ add value  ตอนนี้เราทำอะไรได้เราทำทุกอย่าง ผมต้องทำตลาด 3G แทนที่จะอยู่เฉยๆ ระหว่างรอการเปิดประมูลใหม่ซึ่งไม่รู้เมื่อไร"นายวิเชียรกล่าว

      บันทึกการเข้า

ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #170 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2553, 10:17:59 »

เห็นด้วยครับ ... เป็นเรื่องที่ดี อย่างน้อยก็ช่วยลดความเสี่ยงของโครงการฯ

อ้างถึง
ข้อความของ mek เมื่อ 13 ตุลาคม 2553, 09:57:57
ADVANC คาด ต.ค.นี้พร้อมเริ่มทำ MVNO-โรมมิ่งดาต้าร่วมกับ TOT
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 12 ตุลาคม 2553 09:48:31 น.
อ้างอิง :

นายวิเชียร เมตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(ADVANC) คาดว่าในเดือน ต.ค.นี้ บริษัทจะสามารถดำเนินการเป็นผู้ทำการตลาดรูปแบบการบริการขายส่งบริการบนโครง ข่ายเสมือนจริง (MVNO) หลังจากที่คณะกรรมการ บมจ.ทีโอที อนุมัติในหลักการภายในสัปดาห์นี้

ขณะเดียวกัน การเจรจาการเข่าโรมมิ่งด้านข้อมูล (Roaming DATA) กับระบบของทีโอทีบนโครงข่ายเดิม ซึ่งได้เจรจามานานแล้ว ขณะนี้ได้ข้อยุติแล้ว โดยทางบริษัทจะทำการโรมมิ่งด้านข้อมูล 5 หมื่นเลขหมายบนโครงข่าย 3G ของทีโอที แลกกับการที่ทีโอทีโรมมิ่งด้านเสียง 2 แสนเลขหมายบนโครงข่ายของบริษัท ซึ่งจะมีการเซ็นสัญญาในเร็วๆนี้

"หลังจากบอร์ดอนุมัติเราก็ต้องมาคุยรายละเอียด ขอบเขตงานที่ได้ เพราะถ้าของเก่าขายไม่หมด เราก็ทำได้เลย...แต่เราต้องการทำ Full MVNO เสมือนเราเป็นโอเปอเรเตอร์ ระบบบิลลิ่งเราก็มีพร้อมทำเต็มระบบ ตั้งแต่ขายซิมตัวเอง หรือขายซิมให้เขา"นายวิเชียร กล่าวกับ"อินโฟเควสท์"

ทั้งนี้ บริษัทยังไม่สามารถประเมินเบื้องต้นค่าใช้จ่ายและเงินลงทุนในการทำ MVNO รวมถึงรายได้ เพราะต้องหารือในรายละเอียดว่าจะได้รับเลขหมายมาจำนวนเท่าใด ขึ้นอยู่กับ capacity ของทีโอทีว่าจะมีอยู่เท่าใด โดยหากโครงข่ายเดิมมีเลขหมายเหลือบริษัทก็จะดำเนินการไปก่อน จากนั้นก็รอโครงข่ายใหม่ 3G ที่ทางทีโอที เพิ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการลงทุน

ปัจจุบัน ทีโอทีมีผู้ให้บริการ MVNO 5 ราย ได้แก่ บมจ.สามารถ ไอ-โมบาย(SIM) , บมจ.ล็อกซเล่ย์ (LOXLEY) , บริษัท เอ็นอีซี , บริษัท เอ็ม คอนซัลท์ และ บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น ซึ่งแต่ละรายได้รับ 1 แสนเลขหมายในการทำตลาด

นายวิเชียร กล่าวว่า การเข้ามาทำตลาด MVNO ของ ADVANC เป็นการเพิ่ม value added ให้กับบริษัท และบริษัทต้องพยายามหาบริการ 3G ให้กับลูกค้าในระหว่างที่รอการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ครั้งใหม่

ADVANC มี 2 บริษัทย่อยที่ได้ใบอนุญาตในการทำ MVNO จากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.)เมื่อ 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ โมบาย บรอดแบรนด์ และ บริษัท ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จำกัด (WDS)  ซึ่งก็คงต้องเลือกเอาบริษัทใดบริษัทหนึ่งเข้าไปทำการตลาด MVNO

"เรามองตลาด MVNO เป็นการ add value  ตอนนี้เราทำอะไรได้เราทำทุกอย่าง ผมต้องทำตลาด 3G แทนที่จะอยู่เฉยๆ ระหว่างรอการเปิดประมูลใหม่ซึ่งไม่รู้เมื่อไร"นายวิเชียรกล่าว


      บันทึกการเข้า
mek
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2540
คณะ: Vet 61
กระทู้: 627

« ตอบ #171 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2553, 14:38:58 »


กสทฯบักโกรกขาดทุน1.7พันล้าน


    * 12 ตุลาคม 2553 เวลา 16:21 น. อ้างอิง :Posttoday
  

กสทฯ ยังแย่ ขาดทุนหนัก  1,700 ล้านบาท เร่ง 2 แผนสำรองฉุกเฉิน เตรียมเปิดให้ค่ายมือถือเช่าใช้โครงข่ายให้บริการ 3 จีแทนซื้อฮัทช์

นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง  กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของ กสทฯ 8 เดือนของปีนี้ ขาดทุน 1,687 ล้านบาท  โดยมีรายได้ไม่รวมสัมปทาน 11,809 ล้านบาท ซึ่งไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายรวม 10,402 ล้านบาท และค่าเสื่อมราคา 3,779 ล้านบาท  จึงเป็นเหตุให้ กสทฯ ต้องประสบภาวะดังกล่าว  เป็นเหตุให้รายรับทั้งหมดเมื่อรวมรายได้จากสัมปทานอยู่ที่ 31,657 ล้านบาท ลดลง 260 ล้านบาท หกเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การที่ กสทฯ  ขาดทุนครั้งนี้ เนื่องจากแผนธุรกิจใหม่ที่จะเข้ามาช่วยชดเชยรายได้ คือ การซื้อบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย หรือ ฮัทช์  และ โครงการขยายโครงข่ายมัลติมีเดีย  หรือ เอฟทีทีเอกซ์ ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามกำหนด เนื่องจากทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เห็นว่าราคายังสูงเกินไป

ทั้งนี้ กสทฯ  ได้เตรียมแผนรองรับไว้ 2 แนวทาง คือ  การเปิดให้บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค  และ บริษัท ทรูมูฟ สามารถให้บริการ 3จี บนคลื่นความถี่เดิม หรือ เอชเอสพีเอ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอคณะกรรมการมาตรา 22 และ 13 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุน และคาดว่าจะไม่เกินสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน

ส่วนแนวทางที่ 2 คือ การลงทุนให้บริการเอชเอสพีเอใน 51 จังหวัดแทนเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอ หากโครงการซื้อฮัทช์ไม่เกิดขึ้น เพราะขณะนี้ ทางนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.ไอซีที ต้องการให้ซื้อที่ราคา 4,000 บาท ลดลงจากเดิมที่ได้เจรจาไว้ 7,500 ล้านบาท ซึ่งหากทางฮัทช์ไม่รับราคานี้  กสทฯต้องมีแผนรองรับ โดยได้ตั้งคณะทำงานศึกษาเปรียบเทียบทั้งสองเทคโนโลยีแล้ว ซึ่งทั้งหมดจะต้องได้ข้อสรุปในเดือนนี้

นายจิรายุทธ กล่าวว่า การที่กสทฯ ให้บริการเอชเอสพีเอจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเครื่องลูกข่ายซีดีเอ็มเอที่ต้อง ผลิตขึ้นมาอย่างเฉพาะเจาะจง และกสทฯ ต้องนำเข้าจำหน่ายเอง  ซึ่งการเปลี่ยนมาเป็นระบบเอชเอสพีเอนั้น จะใช้เงินลงทุนประมาณ 2 ล้านบาทต่อสถานีฐาน  ปัจจุบัน กสทฯมีโครงข่ายซีดีเอ็มเอจำนวน 1,600 สถานี  และเพื่อให้ครอบคลุมทั่วประเทศจะต้องเช่าใช้สถานีฐาร่วมด้วย  โดยงบประมาณที่ใช้คาดว่าจะใกล้คียงกับมูลค่าการซื้อฮัทช์ในวงเงิน 7,500 ล้านบาท

ส่วนรูปแบบการทำตลาดนั้นเบื้องต้นจะเป็นรูปแบบเดียวกับ บริษัท ทีโอที  คือทำตลาดเองด้วยและเปิดให้เอกชนเช่าใช้โครงข่ายแล้วทำการตลาด หรือ เอ็มวีเอ็นโอ  ซึ่งจะใช้คลื่นความถี่ย่าน 850 เมกะเฮิร์ตซ ในพื้นที่กรุงเทพฯจำนวน 5 เมกะเฮิร์ตซ และต่างจังหวัดจำนวน 15 เมกกะเฮิร์ตซ ในขณะที่เมื่อเปลี่ยนระบบแล้วก็วจะมีการโอนย้ายลูกค้าให้มาใช้ระบบเอชเอสพี เอด้วย



แปลว่ากำไรที่จะคืนเข้ารัฐต้องลบ 1,687 ล้านด้วยใช่มั้ยครับ
      บันทึกการเข้า

ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #172 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2553, 10:05:07 »

สวัสดีเช้าวันสุข ครับ พี่น้อง...

หุ้นไม่พ้น 1000 จุด สะดุดอยู่ที่ 999 ถึง 3 รอบ

แต่ทองจ่อที่จะทะลุบาทละ 20000

ขณะที่ค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นอีก (ถ้ายังไม่มีการลดดอกเบี้ย)


สถานการณ์แบบนี้ ... "กองทุนทองคำ" น่าลงทุน ^_^



ปล.

กำลังนึกมุขใหม่ ถ้าเราจะไป 4G แบบทางลัดแซงหน้า เพื่อนบ้าน ...


จับมือกับพม่าก็ดี ตอนนี้ในอาเซียน เหลือเพียงเราและพม่าที่มีกันคนละ 2G


ถ้าเราร่วมมือกัน ก็จะเป็น 2G+2G = 4G แซงหน้า ลาวและเขมร สบายเลยเพราะเขามีกันแค่คนละ 3G  หลั่นล้า
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #173 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2553, 10:12:11 »

อ่านมุมมอง ดร.นที (กทช.) จาก Facebook ...   ปิ๊งๆ

----

แผนสนับสนุนการขยายโครงข่ายบรอดแบนด์ ตอนที่ 3 (posted October 14, 2010)
โดย Natee Sukonrat ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2010 เวลา 9:52 น.

(1) จากความสำคัญของการให้บริการบรอดแบนด์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การให้บริการสาธารณะ และการพัฒนาด้านอื่นๆ ในทุกมิติ

(2) ระบบบรอดแบนด์นับได้ว่าเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สำคัญยิ่ง นโยบายบรอดแบนด์ในหลายประเทศ กำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายแห่งชาติ

(3) การ ส่งเสริมบริการบรอดแบนด์ให้ทั่วถึงด้วยราคาที่เหมาะสมกับภาวะความเป็นอยู่ ของประชาชน ต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบของบรอดแบนด์ที่จะต้องดูแล

(4) โครงข่ายบรอดแบนด์มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ 1.โครงข่ายเชื่อมต่อระดับท้องถิ่น 2.โครงข่ายหลัก และ 3.การเชื่อมต่อไปสู่ต่างประเทศ

(5) โครงข่ายเชื่อมต่อระดับท้องถิ่น เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ต้องลงทุนมากที่สุด และมักเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาระบบบรอดแบนด์

(6) โครงข่ายเชื่อมต่อระดับท้องถิ่น เป็นโครงข่ายที่เชื่อมต่อจากอุปกรณ์ชุมสายไปยังบ้านหรือสำนักงานของผู้ใช้บริการบรอดแบนด์

(7) เนื่อง จากเป็นโครงข่ายที่เชื่อมต่อไปยังบ้านของผู้ใช้ เป็นส่วนสุดท้ายของโครงข่าย (Last Mile) ที่จะนำสัญญาณไปยังอุปกรณ์ของผู้รับบริการ

(Cool โครงข่าย เชื่อมต่อในระดับท้องถิ่นเป็นได้ทั้งโครงข่ายที่ใช้สาย (เช่น ทองแดง หรือใยแก้วนำแสง) และโครงข่ายไร้สาย ( เช่น 3G /  WiMAX / LTE )

(9) ผู้ ใช้บริการอยู่ต่างพื้นที่กันตามภูมิศาสตร์ดังนั้นการให้บริการแก่ผู้ใช้แต่ ละรายจึงต้องการ Last Mile ที่แยกจากกัน ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้

(10) ถ้าเป็นระบบสายก็ต้องลากสายทองแดงหรือใยแก้วนำแสงไปยังบ้านหรือสำนักงาน ของผู้ใช้บริการบรอดแบนด์ แต่ละรายแยกกันคนละเส้น

(11) จาก ข้อจำกัดดังกล่าวทำให้การใช้โครงข่ายเชื่อมต่อระดับท้องถิ่นผ่านโครงข่ายใช้ สายไม่ว่าจะเป็นทองแดงหรือใยแก้วนำแสงจึงต้องลงทุนสูง

(12) ในประเทศที่พัฒนาแล้วมีโทรศัพท์พื้นฐานที่ค่อนข้างทั่วถึงการให้บริการบรอดแบนด์สามารถให้บริการด้วย ADSL ผ่านคู่สายทองแดงเดิม

(13) กรณี ของประเทศไทยการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ไม่ทั่วถึงมาในอดีต ทำให้การขยายการให้บริการบรอดแบนด์ผ่านโครงข่ายเป็นไปได้อย่างจำกัด

(14) ใน กรณีที่มีข้อจำกัดในเชิงโครงสร้าง ซึ่งมักประสบในประเทศกำลังพัฒนา มักที่จะใช้เทคโนโลยีไร้สาย เป็นทางเลือกสำหรับโครงข่ายในระดับท้องถิ่น

(15) เทคโนโลยีไร้สายที่สำคัญ และนำมาใช้อย่างแพร่หลายสำหรับโครงข่ายเชื่อมต่อในระดับท้องถิ่นได้แก่ เทคโนโลยี 3G และเทคโนโลยี WiMAX

(16) นอกจาก 3G และ WiMAX ซึ่งเทียบเท่ากับการให้บริการบรอดแบนด์ด้วยเทคโนโลยี ADSL แล้วในอนาคต LTE จะเป็นทางเลือกที่สำคัญ

(17) องค์ประกอบที่สองของระบบบรอดแบนด์ที่จะต้องคำนึงถึงในการที่จะส่งเสริมให้การบริการบรอดแบนด์มีความทั่วถึง ได้แก่ โครงข่ายหลัก

(18) โครงข่ายหลัก (Core Networks หรือ Backbone) เป็นโครงข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างชุมสายและโครงข่ายเชื่อมต่อระดับท้องถิ่น ทั่วประเทศเข้าด้วยกัน

(19) โครงข่ายหลัก เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สำคัญ มีเฉพาะผู้ให้บริการบรอดแบนด์รายใหญ่เท่านั้น จึงจะสามารถมีโครงข่ายหลักเป็นของตนเองได้

(20) โครงข่ายหลัก โดยทั่วไปแล้วเป็นโครงข่ายใยแก้วนำแสง ซึ่งต้องวางไปตามถนน เส้นทางรถไฟ หรือใต้น้ำ ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรสาธารณะของชาติ

(21) องค์ประกอบสุด ท้ายในการให้บริการบรอดแบนด์ คือ การเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาเนื้อหาในต่างประเทศได้

(22) จะเห็น ได้ว่าองค์ประกอบทั้งสามส่วน คือ โครงข่ายเชื่อมต่อระดับท้องถิ่น โครงข่ายหลักและการเชื่อมต่อไปต่างประเทศ ล้วนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ

(23) การ พัฒนาระบบบรอดแบนด์จะต้องคำนึงถึงการพัฒนาองค์ประกอบทั้งหมด ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้รับการพัฒนาจะทำให้ไม่เกิดประโยชน์และเกิดปัญหา ครับ

-----------------


      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #174 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2553, 16:10:17 »

อ้างถึง
ข้อความของ ดร.มนตรี เมื่อ 11 กันยายน 2553, 10:30:07
เป็นคำถามที่ดีครับน้องหน่อ ... พี่ขอเคลียร์งานก่อน นะครับ ตอนนี้เยอะมาก ถึงมากที่สุด ...

แล้วจะมาเล่าให้ฟังทีหลังนะ ^_^

อ้างถึง
ข้อความของ บ่าวหน่อ เมืองพลาญ เมื่อ 08 กันยายน 2553, 10:06:28
เรื่องนี้ถกเถียงมานานครับ ในทัศนะพี่มนตรีคิดอย่างไรครับ

เมื่อมีการประมูลเกิดขึ้น แน่นอนรัฐต้องหาเงินทางการประมูลให้ให้ได้มากที่สุด และทาง Operator ก็ต้องการที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาเพื่อเป็นฐานกำลังในการผลักดันธุรกิจของตนจึงต้องใช้เงินเพื่อให้ชนะการประมูล เงินมหาศาลเหล่านั้น แน่นอนตอนประมูลก็เข้ารัฐ และการที่ Operator จ่ายเงินมหาศาลแล้วเขาย่อมต้องการเอาคืน แล้วจะเอาคืนที่ใคร หากไม่ใช่ผู้บริโภคที่ใช้บริการอย่างเราๆท่าน

1. หากผมจะใช้ 3G ผมต้องจ่ายแพงใช่ไหมครับ เพื่อชดเชยที่ Operator จ่ายให้แก่รัฐ...
2. การแข่งขันอย่างเสรีในตลาดตอนท้ายที่สุด มี 3 เจ้า อาจจะแข่งขันกันเองด้านราคา  แน่นอนก็ต้องไปอิงกับต้นทุนที่จ่ายค่าประมูลอยู่ดี ใช่ไหมครับ



1. หากผมจะใช้ 3G ผมต้องจ่ายแพงใช่ไหมครับ เพื่อชดเชยที่ Operator จ่ายให้แก่รัฐ...

- หากพี่เป็นผู้บริโภค การที่พี่จะจ่ายค่าบริการอะไรก็ตาม ...นั่นหมายความว่า บริการนั้นต้องมี Value ที่เหมาะสมกับเงินที่พี่ต้องจ่าย ซึ่งก็ไม่น่าจะแตกต่างจากผู้บริโภคทั่วๆไปนะครับ นั่นหมายความว่าหากน้องจะใช้ 3G แล้วน้องต้องจ่ายแพง ....3G ย่อมไม่เกิด จริงไหม?

ดังนั้นผู้ให้บริการย่อมที่จะต้องสร้างบริการที่มี Customer Value ... ถึงจุดที่ผู้บริโภครู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายไป 3G จึงจะเกิดได้ !!



2. การแข่งขันอย่างเสรีในตลาดตอนท้ายที่สุด มี 3 เจ้า อาจจะแข่งขันกันเองด้านราคา  แน่นอนก็ต้องไปอิงกับต้นทุนที่จ่ายค่าประมูลอยู่ดี ใช่ไหมครับ

- แน่นอนครับธุรกิจย่อมอิงกับต้นทุนและความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ ดังนั้นมูลค่าของการประมูลจะจบลงในราคาที่รับได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์

แต่การแข่งขันนอกจากจะแข่งกันในด้านราคาแล้ว ยังสามารถที่จะแข่งกันสร้างคุณค่า (Value Creation)ให้กับบริการได้อีกทางหนึ่ง นะครับ ตัวอย่างง่ายๆ เช่นการแข่งขันในธุรกิจ บรอดแบนด์ เป็นการแข่งกันเพิ่ม ความเร็วของ บรอดแบนด์ แทนที่จะแข่งกันลดราคาบรอดแบนด์ เป็นต้น



 ปิ๊งๆ จากข้อ 1+2 ในทัศนะของพี่ธุรกิจจำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการที่เรียกว่า Value Creation หรือ การสร้างคุณค่า ซึ่งพี่เคยเขียนไว้ในวารสาร TT&T News ตัดมาแชร์ให้ดังนี้นะครับ


1.   Value  (Insight)  Definition เพื่อการที่เราจะได้รู้ค่านิยม รู้ความต้องการ รู้จิตวิทยา ของลูกค้า เราเรียกว่าเรามี Customer insight และเมื่อเรารู้ Value definition หรือนิยามของคุณค่าเราก็จะรู้ว่าเราจะให้อะไรแก่ลูกค้า

2.   Value (Innovation) Creation เราจะสร้างคุณค่าดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ยุคนี้เป็นยุค Value creation เป็นยุคที่ต้องมุ่งมั่นสร้างคุณค่าให้เกิด ตามที่เราได้นิยามคุณค่าไว้ เช่น เรานิยามว่าเราจะให้ความสะดวกแก่ลูกค้า เราก็ต้องพยายามทำให้ได้ว่าเราจะให้ความสะดวกกับลูกค้าอย่างไร ถ้าเรานิยามว่าเราจะให้คุณภาพชีวิตที่ดีแก่ลูกค้า เราก็ต้องทราบว่าเราจะให้คุณภาพชีวิตที่ดีแก่ลูกค้าอย่างไร... ซึ่งการทำ Value creation ที่สำคัญมาก ๆ คือ การกล้าที่จะคิดใหม่ การกล้าที่จะทำใหม่ ซึ่งเราเรียกว่า Innovation คำว่า Innovation ไม่ใช่แปลว่าเครื่องมือใหม่อย่างเดียวเท่านั้น  คิดใหม่ ทำใหม่ ทัศนคติใหม่ กระบวนการใหม่ เราเรียกว่า Innovation ทั้งสิ้น   นัยของประเด็นนี้ ก็คือว่า เมื่อเราคิดจะให้อะไรกับลูกค้าแล้ว เราต้องถามตัวเราเองว่า เราพร้อมจะทำอะไรใหม่ที่ไม่เหมือนเดิมมั้ย เพราะถ้าเราจะไม่ทำอะไรใหม่ ทำเหมือนเดิมทุกอย่าง บางทีมันจะเป็นอุปสรรคในการที่เราจะ Create value  

3.   Value (agility) Delivery
เมื่อเราสร้างคุณค่าได้แล้ว เราจะส่งมอบคุณค่าดังกล่าวนั้นให้ไปถึงมือลูกค้าได้อย่างไร  เพราะถ้าสร้างได้ ส่งมอบไม่ได้ มันก็ไม่ครบถ้วนกระบวนความ ซึ่งการที่จะส่งมอบนั้น เราจะเน้น Agility ซึ่งหมายความว่า  การมุ่งมั่นเอาจริง ทุ่มเท เพราะการทำธุรกิจสมัยนี้ จะทำหยิบโหย่งเล่น ๆ ไม่ได้ เพราะการแข่งขันมีมาก ลูกค้า ก็ High demand ลูกค้าจะเรียกร้องเยอะเหลือเกิน ทำอย่างไรจึงจะตอบสนองความต้องการได้อย่างสมดุล

สรุป Value orientation เน้นการสร้างคุณค่า (Value creation) เน้นว่าจะทำอย่างไรให้ลูกค้าซาบซึ้งในคุณค่าธุรกิจของเรา  ซึ่งยุคนี้เป็นยุคของ Demand system management  เป็นยุคบริหารการจัดการข้อเรียกร้องของลูกค้า Demand ตัวนี้ไม่ใช่เพียงอุปสงค์ Demand ตัวนี้ยังรวมถึงข้อเรียกร้องของลูกค้า ลูกค้าอยากได้อะไร ลูกค้าต้องการอะไร ลูกค้าอยากให้มีอะไร เราต้องเรียนรู้ Demand เหล่านี้ และพยายามตอบสนอง Demandให้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งย้อนไปถึง Customer insight การที่เราจะบริหาร Demand system เราต้องรู้ลึกซึ้งว่า ณ เวลานี้ลูกค้าต้องการอะไร      เพราะฉะนั้นในแง่ของธุรกิจสมัยใหม่ เราไม่ได้ศึกษา Need อย่างเดียว เดี๋ยวนี้ Demand – what you say demand ลูกค้าเรียกหาอะไร  ลูกค้าอยากได้อะไร ซึ่งกำไรเกิดจากอะไร     เกิดจากที่เรามี Insight     คือการที่เราลึกซึ้งกับลูกค้า เกิดจาก Innovation คือเกิดจากการที่เรามีนวัตกรรม และเกิดจากการ มี Agility คือเกิดจากการที่เรามุ่งมั่นขยันขันแข็งเอาจริงเอาจัง…


-------------------------------------------------

ปล.


ล่าสุดผมทำงานวิจัยเรื่อง "องค์กรเสมือนจริงบนฐานความรู้ (Virtual Organization on Knowledge-based Model) หรือ VOK Model

หลังจากตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ (Journals) แล้ว ... จะนำมาแชร์ให้พวกเราต่อนะครับ ซึ่ง Model นี้เมื่อประเทศเราเข้าสู่ยุค 3G หรือ 4G แล้ว จะสร้าง Value ให้กับองค์กรได้อย่างมีนัยสำคัญ ...



      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><