หน้าแรกเว็บบอร์ด
แนะนำตัว
เพิ่ม/แก้.ข้อมูลส่วนตัว
ห้องโถงรวมรุ่น
Webสมาคมฯ
ปฏิทินนัดหมาย
สมัครสมาชิก
22 พฤศจิกายน 2567, 09:07:43
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน
[สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A
A
A
A
ระเบียบปฎิบัติ
Entire Forum
This board
This topic
Members
Entire Site
Languages
Cmadong Chula
|
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
|
ห้องสุขภาพและความงาม
| หัวข้อ:
12 วิธีหลับฝันดี+ไม่มีหลับใน
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: 12 วิธีหลับฝันดี+ไม่มีหลับใน (อ่าน 4088 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
12 วิธีหลับฝันดี+ไม่มีหลับใน
«
เมื่อ:
29 สิงหาคม 2553, 09:49:10 »
ขอขอบคุณเวบ health.buddythai โดย
น.พ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ร.พ.ห้างฉัตร ลำปาง
http://health.buddythai.com/archives/tag/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A
ภาพที่ 1: วงจรนอนหลับ (sleep cycle)
คนเรามีวงจรการนอนหลับแต่ละรอบ
จะกินเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
เริ่มจากระยะตื่น (awake = สีเหลือง),
ขาลงหลับตื้น (ระยะ 1 > 2)
ไปสู่ระยะหลับลึก (ระยะ 3 > 4)
หลังจากนั้นจะเป็นขาขึ้นจากระยะหลับลึก (4 > 3) ไปสู่ระยะหลับตื้น (2 > 1)
ซึ่งช่วงหลับตื้น (ระยะ 1 ขาขึ้น) จะมีช่วงการฝัน
การนอนหลับช่วงที่สำคัญมาก คือ
ช่วงฝัน (rapid eye movement / REM)
ซึ่งจะตรวจพบลูกตากลอกไปมาเร็ว
เชื่อกันว่า การฝันเป็นช่วงที่สมองจัดระบบความจำและความประทับใจ
เพื่อสร้างความจำระยะยาว และทำลายความเครียด
คนทั่วไปส่วนใหญ่จะฝันทุกคืน,
ถ้าถูกปลุกในช่วงที่กำลังฝัน (REM / แต้มสีแดง) จะจำความฝันได้,
ถ้าตื่นในช่วงที่ไม่ได้ฝัน (non-REM / แต้มด้วยสีอื่นที่ไม่ใช่สีแดง) จะจำความฝันไม่ได้
ภาพที่ 2: นาฬิกาชีวิตปกติ
พื้นที่ใต้เส้นสีดำ แต้มด้วยสีฟ้าแสดงความต้องการการนอน (sleep need)
ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนเวลาที่อดนอน,
ยิ่งอดนอนนานยิ่งมีความต้องการการนอนมาก
เส้นง่วงนอน (sleep urge) แสดงด้วยเส้นสีแดง
ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จะง่วงนอนมากที่สุดวันละ 2 รอบได้แก่
เที่ยงคืน (0.00 นาฬิกา) กับ บ่ายสอง (14.00 นาฬิกา)
ถ้าเส้นความต้องการการนอน (สีดำ) สูงด้วย, เส้นง่วงนอน (สีแดง) สูงด้วย…
โอกาสหลับในจะสูงขึ้น นั่นคือ
คนเรามีโอกาสหลับในสูงช่วง 0.00-7.00 นาฬิกา และช่วง 13.00-15.00 นาฬิกา
ภาพที่ 3: นาฬิกาชีวิตเมื่อนอนไม่พอ กรณีนี้ถือตื่นเร็วขึ้น
การนอนไม่พอจะทำให้ความต้องการการนอน (sleep need) มากขึ้น แสดงด้วย
เส้นกราฟสีดำสูงขึ้น โดยใช้เส้นประอธิบาย ทำให้หลับในง่าย เริ่มจาก
หลับในช่วงสั้นๆ (microsleep) หรือ เบลอ
ตามองเห็นไม่ชัดทั้งๆ ที่ไม่ได้หลับตาไปเป็นพักๆ ไม่ค่อยเกิน 2-3 วินาที
ถ้ายังไม่นอนอาจตามมาด้วยช่วงนอนหลับสั้นๆ ที่นานขึ้น หรือ
บ่อยขึ้น (drone effect) และอาจหลับยาวตามมา (หลับในเต็มที่)
ภาพที่ 4: นาฬิกาชีวิตปกติกับการงีบ (nap) ซึ่งช่วยให้
เส้นความต้องการการนอน (sleep need) ต่ำลง โอกาสหลับในลดลง
การงีบหรือหลับกลางวันช่วงสั้น 5-45 นาทีดีกับสุขภาพ โดยจะหลับไม่ลึก (ระยะ 1-2)
แต่ถ้าหลับนานกว่านี้… สมองจะเข้าสู่วงจรการนอนหลับเต็มรอบ
ซึ่งถ้าหลับครบรอบ (2 ชั่วโมง) น่าจะดี
ทีนี้ถ้าเข้าสู่วงจรการนอนหลับเต็มรอบ แต่ไม่ผ่านช่วงฝัน… ตื่นขึ้นมาอาจจะเกิดอาการ
“ตื่นไม่เต็มที่ (sleep inertia)” หรือเบลอ มึน งง สับสนไปประมาณ 15-20 นาที
ช่วงนี้ประสิทธิภาพจะต่ำลง เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
วิธีหลับเพื่อสุขภาพ 12 ข้อ
ได้แก่
(1). นอนตรงเวลา > อาจผ่อนผันให้ 1 คืนในวันหยุดต่อ 1 สัปดาห์
(2). มีช่วงผ่อนคลาย 45 นาทีก่อนนอน > ปิด TV, ไม่เปิดเพลงดัง, หรี่ไฟ , ปิดอินเตอร์เน็ต
งดขนม – เครื่องดื่ม และ ควรปัสสาวะก่อนเข้านอน เพื่อจะได้ไม่ปวดปัสสาวะตอนนอน
(3). ถ้านอนหลับยาก นอนไม่หลับ ใจสั่น มือสั่น ตกใจง่าย…
ควรลดกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ฯลฯ ในเวลาทำงาน ให้น้อยลง
(4). ทำอะไรซ้ำๆ (‘routine’ / รูทีน) หรืออะไร “เดิมๆ” ก่อนเข้านอนทุกวัน เช่น
บ้วนปากแปรงฟัน ล้างมือ ล้างเท้า ผลัดกันเล่านิทาน ฯลฯ
(5). นอนงีบตอนกลางวันได้ แต่ไม่ควรนานเกิน 5-45 นาที เพื่อป้องกันการเข้าสู่ระยะหลับลึก
ถ้าเกินควรหลับต่อให้ได้ 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อป้องกันการ “ตื่นไม่เต็มที่” จะงุนงงหลังตื่น
(6). การนอนกลางวันนานเกินอาจทำให้นอนหลับกลางคืนยากขึ้นได้
(7). ใช้ห้องนอน เพื่อนอน, อย่าใช้เตียงดู TV, อินเตอร์เน็ต, ทำงาน
(8 ).ควรปรับไฟในห้องให้สว่าง-มืดตามเวลาแสงแดด
(9). ทำตัวให้เย็นลงหน่อยก่อนนอน… เช่น อาบน้ำ เปิดแอร์หรือพัดลม
หายใจเข้า-ออกช้าๆ ไม่เกิน 10 ครั้ง/นาที 10-15 นาที
ถ้าฝึกเป็นประจำ ความดันเลือดมักจะลดลง และตัวมักจะเย็นลงได้ ฯลฯ
(10). หาอะไรบังแสงและกันเสียง ให้ห้องนอนค่อนไปทางมืด และ เงียบสงบ
(11). ไม่หลอกผีเด็ก และ ฝึกให้นอนปิดไฟ
(12). พยายามเข้าใจวงจรการนอน โดยเฉพาะวัยรุ่นจะนอนดึก-ตื่นสาย
บันทึกการเข้า
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
Cmadong Chula
|
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
|
ห้องสุขภาพและความงาม
| หัวข้อ:
12 วิธีหลับฝันดี+ไม่มีหลับใน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
"กิจกรรมสมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
-----------------------------
=> ข่าวประชาสัมพันธ์ของสมาคม
=> ข่าวประกาศทั่วไป
=> งานคืนสู่เหย้า ๒๕๕๗
=> โครงการรินน้ำใจเพื่อหอพักนิสิตจุฬาฯ
=> กิจกรรมเพื่อสังคม
=> กิจกรรมวิชาการ
=> กิจกรรมสมาชิกสัมพันธ์
=> กิจกรรมชาวหอ
=> กิจกรรมแกนนำและกิจกรรมรุ่น
=> ข้อบังคับสมาคม และกฎ ระเบียบ
=> การประชุมของสมาคม
-----------------------------
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
-----------------------------
=> เรื่องนี้มีพี่บอก
=> โบราณคดี Cmadong
=> ปฏิทินนัดหมายชาวหอ
=> ห้องซีมะโด่งสัมพันธ์
=> ซีมะโด่งเพื่อสังคม
=> ห้องสนทนาประสาพี่น้อง
=> ห้องชาวค่ายหอ
=> ห้องชมรมแสงเสียง
=> ห้องธรรมะ...สาธุ....
=> ห้องวิชาการ ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม
=> ห้องแสงทองของชีวิต
=> ห้องสุขภาพและความงาม
=> ห้องท่องเที่ยวไร้พรมแดน
=> ห้องซื้อ - ขาย แลกเปลี่ยน
-----------------------------
เรือนประจำรุ่น อบอุ่นทุกสมัย
-----------------------------
=> รุ่น 2507
=> รุ่น 2510
=> รุ่น 2511
=> รุ่น 2513
=> รุ่น 2514 รุ่นนี้มหาอำนาจ
=> รุ่น 2515
=> รุ่น 2516
=> รุ่น 2517
=> รุ่น 2518
=> รุ่น 2519
=> รุ่น 2520
=> รุ่น 2521
=> รุ่น 2522
=> รุ่น 2523
=> รุ่น 2524
=> รุ่น 2525
=> รุ่น 2526
=> รุ่น 2527
=> รุ่น 2528
=> รุ่น 2529
=> รุ่น 2530
=> รุ่น 2531
=> รุ่น 2532
=> รุ่น 2533
=> รุ่น 2534
=> รุ่น 2535 ซี้ปึ๊ก
=> รุ่น 2536
=> รุ่น 2537
=> รุ่น 2538
=> รุ่น 2539
=> รุ่น 2540
=> รุ่น 2541
=> รุ่น 2542
=> รุ่น 2543
=> รุ่น 2544
=> รุ่น 2545
=> รุ่น 2546
=> รุ่น 2547
=> รุ่น 2548
=> รุ่น 2549
=> รวมรุ่น 90-96 รหัส 2550-2556
-----------------------------
ข่าวประกาศ
-----------------------------
===> Countdown งานคืนสู่เหย้า 94 ปีซีมะโด่ง : เสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555
===> "รวมภาพงาน" ผูกพัน วันเก่า ๙๔ ปี ซีมะโด่ง
ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์ " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน" <))))><
กำลังโหลด...