มูลนิธิการกุศลมุกดาหาร, ชมรมนักวิทยุสมัครเล่น กู้ภัยธงแดง มุกดาหาร
มูลนิธิการกุศลมุกดาหาร, ชมรมนักวิทยุสมัครเล่น กู้ภัยธงแดง มุกดาหาร
Menu
มูลนิธิการกุศลมุกดาหาร, ชมรมนักวิทยุสมัครเล่น กู้ภัยธงแดง มุกดาหาร / Dhamma / ธรรมะ บทสวดมนต์ / ฌาน 4 , อรูปณาน 4, นิโรธสมาบัติ, วิปัสสนาญาณ 9, อภิญญา 6
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ฌาน 4 , อรูปณาน 4, นิโรธสมาบัติ, วิปัสสนาญาณ 9, อภิญญา 6 (อ่าน 62576 ครั้ง)
มกราคม 17, 2011, 04:48:20 PM
ออฟไลน์ เด็กมุก
Administrator
กระทู้: 207
ดูรายละเอียด เครื่องทำตรายาง
ฌาน 4 , อรูปณาน 4, นิโรธสมาบัติ, วิปัสสนาญาณ 9, อภิญญา 6
ฌาน 4
1.ปฐมฌาน 2.ทุติยฌาน 3.ตติยฌาน 4.จตุตถฌาน
คำว่า "ฌาน" แปลว่า "การเพ่ง
1.ปฐมฌาน มีองค์ 5 คือ
วิตก (ความตรึก ) การจดจ่ออยู่แต่ในการบริกรรมหรือการภาวนา เช่น พุทโธๆ แบบหนักแน่น
วิจาร (ความตรอง) การผ่อนคลายจากการวิตกข้างต้นลงได้ มีสติรู้บริกรรมได้แบบพริ้วไหวแผ่วเบา
ปิติ ความเอิบอิ่มใจที่เกิดขึ้น แสดงออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น เห็นแสง กายสั่นโยกคอนเป็นต้น
สุข ความสุขกายสบายใจ กายเบาใจเบาเหมือนปุยนุ่น ไม่รู้สึกเจ็บปวด (กายละเอียดลมหายใจละเอียดกายหยาบหายไป)
เอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ แบบหนึ่งเดียว มีสติรู้อยู่เพียงลำพัง ไร้ซึ่งความคิดใดๆรบกวน (ตกอยู่ในห่วงแห่งภวังคจิต)
2.ทุติยฌาน มีองค์ 3 คือ
ปิติ คือความเอิบอิ่มใจ
สุข ความสุขกายสบายใจ
เอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ได้แก่การที่เราสามารถละ วิตก , วิจาร ลงได้ นั่นเอง
กล่าวคือการที่เราชำนาญพอนั่งปุ๊ปสามารถเข้า ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์ ได้ตามลำดับโดยไม่ต้องมานั่ง วิตก วิจารอีก
3.ตติยฌาน มีองค์ 2 คือ
สุข
เอกัคคตารมณ์
เพราะปิติสงบระงับไป ความสุขจึงมี จิตของผู้ปฏิบัติเยือกเย็นและสงบมากยิ่งขึ้น
กล่าวคือการที่เราชำนาญพอนั่งปุ๊ปสามารถเข้าถึง สุข และเอกัคคตารมณ์ ได้ตามลำดับโดยไม่ต้องมานั่ง วิตก วิจารและปิติอีก ก้าวข้ามไปสุขได้โดยพริบตาเดียวความชำนาญแบบนี้เรียกว่า ตติยฌาน
4.จตุตถฌาน มีองค์ 2 คือ
อุเบกขา
เอกัคคตา
แม้ความสุขจะหายไป แต่ใจจะปรากฏเป็นอุเบกขาคือการวางเฉยเพิ่มเข้ามา ที่เรียกว่า เป็นอุเบกขาฌาน อันเป็นอาการของปัญญาปรากฏขึ้นภายในจิตพร้อมกับเอกัคคตา คือจิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิไม่หวั่นไหว
กล่าวคือการที่เราชำนาญพอนั่งปุ๊ปสามารถเข้าถึง เอกัคคตารมณ์ ได้ทันทีโดยไม่ต้องมานั่งบริกรรม วิตก วิจาร ปิติและสุขอีก ก้าวข้ามไปเอกัคคตารมณ์ ได้โดยในพริบตาเดียวความชำนาญแบบนี้เรียกว่า จตุตถฌาน
สรุปการทำให้ครบองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคตารมณ์ ได้ เรียกว่าเข้าถึง ปฐมณาน
การชำนาญสามารถละ วิตก วิจาร เข้าถึง ปิติ ได้ภายในพริบตาเดียวเรียกว่า ทุติยณาน
การชำนาญสามารถละ ปิติ เข้าถึงสุขได้ภายในพริบตาเดียวเรียกว่า ตติยณาน
การชำนาญสามารถละ สุข เข้าถึง เอกัคตารมณ์ ได้ภายในพริบตาเดียวเรียกว่า จตุตถณาน (ณาน4)
ฌานทั้ง 4 ประการนี้ ท่านเรียกว่า รูปฌาน (รูปสมาบัติ)
ส่วนใหญ่ชอบหลงกัน มักคิดว่าตนเองถึงณาน4 แล้ว ทั้งๆที่ยังเป็นแค่ ปฐมฌาน (มีองค์5) วิตก,วิจาร,ปิติ,สุข,เอกัคคตารมณ์
ตราบใดยังนั่งบริกรรมมีองค์ 5 อยู่ตราบนั้นก็ยังไม่ใช่ ณาน4 เพราะณาน 4 ต้องมีองค์ 2 คือ อุเบกขา กับเอกัคคตารมณ์
กล่าวคือการที่เราชำนาญพอนั่งปุ๊ปสามารถเข้าถึง เอกัคคตารมณ์ ได้ทันทีนั่นแหละคือ จตุตถฌาน
ณานละเอียดชั่นสูง
อรูปณาน 4 (อรูปสมาบัติ)
อากาสานัญจายตนะ (ถืออากาศเป็นอารมณ์)
วิญญานัญจายตนะ (ถือวิญญาณเป็นอารมณ์)
อากิจจัญจายตนะ (ถืออาการแห่งความไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์)
เนวะสัญญานาสัญญายตนะ (ถืออาการแห่งการมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เป็นอารมณ์)
รูปณาน4 อรูปณาน4 เรียกว่าสมาบัติ ๘ ทำได้ก็สามารถ ทรงอภิญญา ๕ ได้
นิโรธสมาบัติ
นิโรธสมาบัติ ท่านที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นพระอริยเจ้าขั้นต่ำตั้งแต่พระอนาคามีเป็นต้นไป และพระอรหันต์เท่านั้น และท่านต้องได้สมาบัติแปดมาก่อน ตั้งแต่ท่านเป็นโลกียฌาน ท่านที่ได้สมาบัติแปด เป็นพระอริยะต่ำกว่าพระอนาคามีก็เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ต้องได้มรรคผลถึงอนาคามีเป็นอย่างต่ำจึงเข้าได้
ผลของสมาบัติ
สมาบัตินี้ นอกจากจะให้ผลแก่ท่านที่ได้แล้ว ยังให้ผลแก่ทานที่บำเพ็ญกุศล ต่อท่านที่ได้สมาบัติด้วย ท่านสอนว่าพระก่อนบิณฑบาต ตอนเช้ามืดที่ท่านสอนให้เคาะระฆังก็เพื่อให้พระวิจัยวิปัสสนาญาณ และเข้าฌานสมาบัติ เพื่อเป็นการสนองความดีของทายกทายิกาผู้สงเคราะห์ใส่บารตในตอนเช้า ผลของสมาบัติมีดังนี้
๑.นิโรธสมาบัติ สมาบัตินี้ เข้าคราวหนึ่งใช้เวลาอย่างน้อย ๗ วัน อย่างสูงไม่เกิน ๑๕วัน ใครได้ทำบุญแก่ท่านที่ออกจานิโรธสมาบัตินี้ จะได้ผลในวันนั้น หมายความว่าคนจนก็จะได้เป็นเศรษฐีในวันนั้นเลยทีเดียว
๒.ผลสมาบัติ เป็นสมาบัติเฉพาะพระอริยเจ้า ท่านออกจากผลสมาบัติแล้วสมาบัตินี้เข้าออกได้ทุกวันและทุกเวลา ท่านที่ทำบุญแด่ท่านที่ออกจากผลสมาบัติ ท่านผู้นั้นจะมีผลไพบูลย์ในความเป็นอยู่ คือมีฐานะไม่ฝืดเคือง
๓.ฌานสมาบัติ ท่านที่บำเพ็ญกุศลแก่ท่านที่ออกจากฌานสมาบัติ จะทรงฐานะไว้ด้วยดี ไม่ยากจนกว่าเดิม มีวันแต่จะเจริญงอกงามขึ้นเป็นลำดับ
นิวรณ์ 5
สิ่งที่ทำให้ไม่ได้ ณาน หรือสมาธิ เรียกว่า นิวรณ์
นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้น หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้หรือทำให้เลิกล้มความ ตั้งใจปฏิบัติไป
นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ
1. กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง
2. พยาบาท ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปราถณาในโลกียะสมบัติทั้งปวง
3. ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบนิ่งแห่งจิตใจ กระวนกระวายใจ
5. วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ความลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆกลัว ไม่เต็มร้อย ไม่มั่นใจในธรรม
ลำดับแห่งสมาธิ
ขณิกสมาธิ ( สมาธิชั่วคราว )
อุปจารสมาธิ (สมาธิเฉียดฌาน) เกือบแน่วแน่
อัปปนาสมาธิ (สมาธิแน่วแน่) มี ๔
1.ปฐมฌาน (วิตก, วิจารณ์,ปิติ, สุข, เอกกัคคตา)
2.ทุติยฌาน (ปิติ , สุข, เอกัคคตา)
3.ตติยะฌาน ( สุข,เอกัคคตา)
4.จตุตถะฌาน (อุเบกขา,เอกัคคตา)
วิปัสสนาญาณ 9 : วิปัสสนา แปลว่า การทำให้แจ้ง ญาณ แปลว่า ความรู้ หมายถึง ความรู้ที่ทำให้ดับทุกข์ ดับกิเลสได้สิ้นเชิง มี 9 อย่าง
1) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้ตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนาม
2) ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้ตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
3) ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ความรู้อันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
4) อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้คำนึงเห็นโทษ
5) นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้คำนึงเห็นด้วยความหน่าย
6) มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ความรู้หยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
7) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้อันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง
สังขารุเปกขาญาณ หมายถึง ความรู้อันเป็นโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
9) สัจจานุดลมิกญาณ หมายถึง ความรู้ที่เป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์
อภิญญา 6
อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน
อภิญญา หมายถึงคุณสมบัติพิเศษของพระอริยบุคคลซึ่งเป็นเหตุให้มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ มี 6 อย่าง คือ
1. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
2. ทิพพโสต มีหูทิพย์
3. เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
5. ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
6. อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป
อภิญญา 5 ข้อแรกเป็นของสาธารณะ (โลกียญาณ) ข้อ 6 มีเฉพาะในพระอรหันต์
ถ้าพบผู้แสดงฤทธิ์ได้ อย่าพึ่งหมายความว่าผู้นั้นจะเป็นอริยบุคคล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2011, 05:05:28 PM โดย เด็กมุก »
บันทึกการเข้า
สวัสดี...ผู้เยี่ยมชม...กด + Thank You ให้หรือยัง
ประวัติศาสตร์ไทย
สปริงเกอร์ไทยแลนด์
ปั๊มน้ำ
ออกแบบเว็บไซต์,เช่าโฮสท์
เครื่องทำตรายาง
มกราคม 18, 2011, 12:54:34 PM ตอบกลับ #1
ออฟไลน์ <<B'oO..
กระทู้: 917
MSN Messenger -
boo_jeemokkoa@hotmail.comดูรายละเอียด อีเมล์
Re: ฌาน 4 , อรูปณาน 4, นิโรธสมาบัติ, วิปัสสนาญาณ 9, อภิญญา 6
^4thx^
บันทึกการเข้า
"Khee-Bu-Joo"
กรุณากดคำว่า +Thank You
แทนการขอบคุณด้วยนะครับผม
หน้า: [1] ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
มูลนิธิการกุศลมุกดาหาร, ชมรมนักวิทยุสมัครเล่น กู้ภัยธงแดง มุกดาหาร / Dhamma / ธรรมะ บทสวดมนต์ / ฌาน 4 , อรูปณาน 4, นิโรธสมาบัติ, วิปัสสนาญาณ 9, อภิญญา 6
กระโดดไป:
SMF 2.0.12 | SMF © 2011, Simple Machines
มูลนิธิการกุศลมุกดาหาร, ชมรมนักวิทยุสมัครเล่น กู้ภัยธงแดง มุกดาหาร
มูลนิธิการกุศลมุกดาหาร, ชมรมนักวิทยุสมัครเล่น กู้ภัยธงแดง มุกดาหาร © 2018
All rights reserved