26 พฤศจิกายน 2567, 13:00:02
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 671 672 [673] 674 675 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3581158 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16800 เมื่อ: 05 เมษายน 2561, 18:37:19 »


หลวงพ่อคำเขียน   สุวณฺโณ

บทสวดและคำแปล ธัมมะนิยามะสูตร

ธัมมะนิยามะสุตตัง

เอวัมเม  สุตัง ฯ เอกัง  สะมะยัง  ภะคะวา สาวัตถิยัง  วิหะระติ
เชตะวะเน  อะนาถะปิณฑิกัสสะ  อาราเม ฯ ตัตระ  โข  ภะคะวา ภิกขู
อามันเตสิ  ภิกขะโวติ  ฯ  ภะทันเตติ  เต ภิกขู  ภะคะวะโต  ปัจจัสโสสุง ฯ
ภะคะวา  เอตะทะโวจะ
        อุปปาทา  วา  ภิกขะเว  ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา  วา
ตะถาคะตานัง ฐิตา  วะ สา ธาตุ  ธัมมัฏฐิตะตา  ธัมมะนิยามะตา สัพเพ
สังขารา  อะนิจจาติ ฯ ตัง  ตะถาคะโต  อะภิสัมพุชฌะติ  อะภิสะเมติ  อะภิ-
สัมพุชฌิตวา  อะภิสะเมตวา  อาจิกขะติ  เทเสติ  ปัญญะเปติ  ปัฏฐะเปติ
วิวะระติ  วิภะชะติ  อุตตานีกะโรติ สัพเพ  สังขารา  อะนิจจาติ ฯ
        อุปปาทา  วา  ภิกขะเว ตะถาคะตานัง  อะนุปปาทา  วา  ตะถาคะ-
ตานัง  ฐิตา  วะ สา  ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา  ธัมมะนิยามะตา สัพเพ  สังขารา
ทุกขาติ ฯ  ตัง  ตะถาคะโต  อะภิสัมพุชฌะติ  อะภิสะเมติ  อะภิสัมพุช-
ฌิตวา  อะภิสะเมตวา  อาจิกขะติ  เทเสติ  ปัญญะเปติ  ปัฏฐะเปติ  วิวะระติ
วิภะชะติ  อุตตานีกะโรติ  สัพเพ  สังขารา  ทุกขาติ ฯ
        อุปปาทา  วา  ภิกขะเว  ตะถาคะตานัง   อะนุปปาทา  วา ตะถาคะ-
ตานัง  ฐิตา  วะ สา  ธาตุ  ธัมมัฏฐิตะตา  ธัมมะนิยามะตา สัพเพ  ธัมมา
อะนัตตาติ ฯ ตัง  ตะถาคะโต   อะภิสัมพุชฌะติ  อะภิสะเมติ  อะภิสัมพุช-
ฌิตวา  อะภิสะเมตวา  อาจิกขะติ  เทเสติ  ปัญญะเปติ  ปัฏฐะเปติ  วิวะระติ
วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ  สัพเพ  ธัมเม  อะนัตตาติ ฯ  อิทะมะโว  จะ
ภะคะวา ฯ  อัตตะมะนา  เต ภิกขู  ภะคะวะโต  ภาสิตัง  อะภินันทุนติ ฯ

คำแปล  ธัมมะนิยามะสูตร

           อันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ)  ได้สดับมาแล้วอย่างนี้  สมัยหนึ่งพระผุ้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับในพระวิหารเชตวัน  อันเป็นอารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดีสร้างถวาย  ใกล้เมืองสาวัตถี  ในกาลนั้นแล  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระภิกษทั้งหลาย  (ให้ตั้งใจสดับพุทธภาษิตนี้)ว่า

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายหรือความไม่เกิดของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย  ธาตุอันนั้นตั้งอยู่มีอยู่  นิยมอยู่แล้ว  เป็นธรรมดาว่า สังขารรูปนามของมีเหตุ  อันอวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้นทั้งสิ้น ไม่เที่ยง  เราตถาคตรู้พร้อมเฉพาะอยู่  ถึงพร้อมเฉพาะอยู่  ส่วนธาตุนั้น  ครั้นรุ้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว  บอกกล่าวแสดงบัญญัติแต่งตั้งเปิดเผย  จำแนกทำความให้ตื้นขึ้นว่า  สังขารรูปนามของมีเหตุ  อันอวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้นทั้งสิ้น ไม่เทียง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรปรวน ดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย  หรือความไม่เกิดของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย  ธาตุอันนั้นตั้งอยู่มีอยู่  นิยมอยู่แล้ว  เป็นธรรมดาว่า สังขารรูปนามของมีเหตุ  อันอวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้นทั้งสิ้น เป็นทุกข์เหลือทน  ทนของเบียดเบียนอยู่ไม่ได้  เราตถาคตรู้พร้อมเฉพาะอยู่  ถึงพร้อมเฉพาะอยู่  ส่วนธาตุนั้น  ครั้นรุ้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว  บอกกล่าวแสดงบัญญัติแต่งตั้งเปิดเผย  จำแนกทำความให้ตื้นขึ้นว่า  สังขารรูปนามของมีเหตุ  อันอวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้นทั้งสิ้น เป็นทุกข์เหลือทน ทนของเบียดเบียนอยู่ไม่ได้  ดังนี้

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายหรือความไม่เกิดของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย  ธาตุอันนั้นตั้งอยู่มีอยู่  นิยมอยู่แล้ว  เป็นธรรมดาว่า สังขารรูปนามของมีเหตุ  อันอวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น เป็นอนัตตา ไม่ใช่ของเรา  ไม่มีตัวเรา  ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารของเราดังนี้  เราตถาคตรู้พร้อมเฉพาะอยู่  ถึงพร้อมเฉพาะอยู่  ส่วนธาตุนั้น  ครั้นรุ้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว  บอกกล่าวแสดงบัญญัติแต่งตั้งเปิดเผย  จำแนกทำความให้ตื้นขึ้นว่า  สังขารรูปนามของมีเหตุ  อันอวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น  เป็นอนัตตา ไม่ใช่ของเรา  ไม่มีตัวเรา ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารของเรา ดังนี้

           พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสธรรมเทศนานี้จบลงแล้ว  ภิกษุทั้งหลายนั้น  มีใจยินดีเพลิดเเพลิน ภาษิตของสมเด็จพระผุ้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการ ดังนี้แล



      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16801 เมื่อ: 19 เมษายน 2561, 08:14:11 »



บ้านที่ อยากได้ อยู่แบบธรรมชาติ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16802 เมื่อ: 19 เมษายน 2561, 08:21:35 »



การภาวนา เจริญสติ มีจุดมุ่งหมายให้มีจิตที่ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
และเพื่อลด เพื่อละอัตตาตนเอง
อยู่อย่างปล่อยวาง ด้วยการมีสติ ใช้ปัญญา ว่าอะไรควรกระทำ อะไรไม่สมควรกระทำ ไม่หลงไม่ไหลไปกับความคิด อยู่กับความเป็นจริง  ยังต้องใช้ความคิด ประกอบไปด้วย
- ศรัทธา
- มีศีล
- ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เกิดความอยาก
- อยู่ด้วยปัจจัย ๔ ที่พอเพียง
- มีวิริยะ
- มีสติ
- ทำสติให้เป็นสมาธิ
- ใช้ปัญญา

เพื่อลด เพื่อละกิเลส-ตัณหา ซึ่งก็คืออัตตาตนเอง นั่นเอง

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16803 เมื่อ: 19 เมษายน 2561, 17:09:55 »



พนักโรงงาน ที่พระพรหม นครศรีธรรมราช
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16804 เมื่อ: 20 เมษายน 2561, 16:48:46 »

มนุษย์ที่พัฒนาตนจนถึงที่สุดแล้ว จะหมด(ความยึดมั่น)“ตัวตน”
แล้วก็จะหมดความทุกข์ พ้นจากกิเลส มีจิตใจเป็นอิสระ

“เมื่อพัฒนาตนแล้ว พัฒนาไปๆ กายก็พัฒนา ศีลก็พัฒนา จิตก็พัฒนา ปัญญาก็พัฒนาดีแล้ว ก็เกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้เท่าทันคติธรรมดาของโลกและชีวิต รู้เข้าใจ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปัญญาพัฒนาแล้ว ก็เลยรู้ว่า“ตัวตน”นี้ไม่มี

ตกลงพัฒนาตน พัฒนาไปพัฒนามา ก็หมด“ตัวตน”เป็นสุดท้าย จบเลย

ความจริง ไม่ใช่ว่าหมดหรอก โดย“สมมุติ”ก็ยังมีอยู่ เป็นเรื่องของภาษา

ที่ว่าพัฒนาตนนั้นก็ต้องรู้เท่าทัน เราพูดตามภาษาสำหรับสื่อความหมายกัน เรียกว่า“ตัวตน”โดยสมมุติ

เมื่อพัฒนาปัญญา ก็ทำให้รู้เข้าใจความจริงเกี่ยวกับ“ตัวตน” ว่ามันเป็น“อนัตตา” คือ ไม่ใช่ว่าหมดตัวตนหรอก แต่..รู้ทัน ว่า“ตัวตน”ที่ยึดถือกันนั้น ที่แท้..มันไม่มี

เมื่อรู้ว่าเป็นอนัตตาแล้วก็หมดความยึดมั่น (คือ..เมื่อที่จริง“ตัวตน”มันไม่มีอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องหมดตัวตน แต่คนมีความยึดมั่นใน“ตัวตน”ที่ไม่มีนั้น จึงต้องทำให้..หมดความยึดมั่น นั้น แล้วปัญหาก็หมดไปเอง)

เมื่อไม่มีความยึดติดถือมั่นในตัวตน ก็ไม่ถูกกระทบกระทั่ง เพราะไม่มี“ตัวตน”ที่คอยรับกระทบให้เกิดความทุกข์

แต่ก่อนนี้ คนโน้นว่ามาก็กระทบ ไปทำโน้น ไปมองเห็นรู้อะไรทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็กระทบเรื่อย เพราะมีตัวตนที่ยึดไว้ พะวงปกป้องไว้คอยรับกระทบอยู่เรื่อย

แต่พอเข้าใจ มีปัญญารู้แจ่มแจ้ง หมดความยึดมั่นนั้น ก็ไม่มีตัวไว้รับกระทบ ก็หมดทุกข์ เรียกว่าพ้นจากกิเลสและความทุกข์ ก็ถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา

ต่อแต่นั้น จะทำอะไร จะแก้อะไร ก็ตรงไปตรงมาตามเหตุปัจจัย ไม่ทำไปตามกิเลส เป็นอิสระแท้จริง

ถ้าไม่พัฒนาตนก็เป็นไปในทางตรงข้าม คือ ไม่รู้เข้าใจ“ตัวตน”ว่าเป็นอนัตตา ก็ยิ่งพัฒนาความยึดมั่นในตัวตน ตัวตนมันก็ขยายพอกพูนออกไป พองออกไป พองออกไป อยู่นานวันเข้าตัวตนของเราก็ยิ่งพองขยายใหญ่ พอขยายใหญ่ก็ยิ่งทุกข์มาก เพราะตัวตนแค่นี้ มันรับกระทบแค่นี้ มันก็ทุกข์แค่นี้ พอนานๆเข้ามันขยายออกไป ขยายออกไป อยู่กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ ก็มี“ตัวตน”ที่รับกระทบมากขึ้นๆ ก็ทุกข์หนักเข้าทุกที

ถ้าเราอยู่ในโลกไม่เป็น ก็ติดโลก แล้วก็ยึดทุกอย่างในโลก เช่น ของที่เรามี ที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง เราก็ยึดทุกอย่าง เรายึดอะไร ตัวตนของเราก็ขยายไปอยู่กับมัน สิ่งนั้นก็ผนวกเข้าเป็น“ตัวตน”ของเรา

เรามีแก้วใบหนึ่ง แก้วใบนั้นก็เป็น“ตัวตน”ของเราด้วย ตัวเราขยายไปอยู่กับแก้ว เรามีบ้านหลังหนึ่ง ตัวตนของเราก็แผ่ขยายไปครอบคลุมบ้าน เรามีอะไร “ตัวตน”ของเราก็ขยายไปผนวกเข้า ตัวตนก็ใหญ่ออกไปๆ จนในที่สุด สิ่งกระทบก็เข้ามากระทบมากมายจนรับไม่ไหวเลย วันหนึ่งๆไม่รู้กระทบเท่าไร

ยิ่ง“ตัวตน”ใหญ่ ก็ยิ่งมีโอกาสมีขอบเขตมีแดนที่จะรับกระทบมาก ก็เลยทุกข์มาก

จะทำอะไร จะแก้ไขอะไร ก็ทำด้วยกิเลส ที่เห็นแก่ตน ทำไปตามแรงความรู้สึกที่ถูกบีบ ไม่ทำให้ตรงตามเหตุปัจจัย ก็เลยยิ่งเกิดปัญหามาก

ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาตน เพื่อจะรู้เท่าทัน เข้าใจอนัตตา มองเห็นความไม่มี“ตัวตน” จะได้หมดความยึดมั่นในตัวตนแล้วก็จะหมดความทุกข์ พ้นจากกิเลส มีจิตใจเป็นอิสระ”

#_สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
    ( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : หนังสือ “หลักแม่บทของการพัฒนาตน”


พี่สิงห์  ขอยืนยันว่า สิ่งที่พระคุณเจ้า ป. อ.  ปยุตฺโต  ท่านสอนเอาไว้นั้น เป็นความจริงที่ท่านจะหยั่งรู้ทราบได้เอง จากการฝึกฝนตนเองในการตั้งสติปัฏฐาน ๔ ครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16805 เมื่อ: 24 เมษายน 2561, 09:13:39 »



การภาวนา คือการเจริญสติ ตั้งสติปัฏฐาน ๔ ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตื่นรู้ในความจริงที่เกิดขึ้นกับจิต กับกาย รู้ความคิด  รู้อารมภ์ที่มากระทบ ทางทวารทั้งหก ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อรู้แจ้งอารมภ์นั้น ก็ ใช้ปัญญา ละความเป็นตัวตนให้มาก ก็สามารถอุเบกขาได้มากเช่นกัน เพราะยังต้องมีกาย ยังต้อวใช้ความคิด แต่สามารถอยู่กับความคิดได้ ต้องอาศัยความคิดในการดำรงชีวิต แต่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน มีศีล มีธรรม กระทำแต่กุศล ก็มีชีวิตที่สงบสุขได้ ไม่สะสมกิเลส ไม่เพิ่มอัตตาตนเอง มีแต่จะละอัตตาตนเองให้หมดไป เพราะรู้ความจริง ในรูป ในนาม เห็นความคิด อารมภ์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เกิด-ดับ เกิด-ดับ จนวางอุเบกขาได้

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16806 เมื่อ: 25 เมษายน 2561, 06:41:37 »

บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะSelect English version :-metta : eaccesstoinsight : thanaccesstoinsight : somabuddhavacanasuttacentralsuttacentral : 2     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman

                                                                                                                                                                                                                                                                        พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

เกสปุตตสูตร [๕๐๕] ๖๖. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของพวกกาลามะชื่อว่า เกสปุตตะ พวกชนกาลามโคตร ชาวเกสปุตตนิคมได้สดับข่าวมาว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยสกุลแล้ว เสด็จมาถึงเกสปุตตนิคมโดยลำดับ ก็กิตติศัพท์อัน งามของพระสมณโคดมพระองค์นั้นแล ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... ทรงเบิกบานแล้ว ทรงจำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วย พระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะใน ท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อม ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปาน- *นั้น ย่อมเป็นความดีแล ครั้งนั้น ชนกาลามโคตร ชาวเกสปุตตนิคมได้เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการ ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประนมมือ ไปทางพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและ โคตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งเฉยๆ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อต่างก็นั่งลงเรียบร้อยแล้ว จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า มีสมณ พราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม สมณพราหมณ์พวกนั้น พูดประกาศ แต่เฉพาะวาทะของตัวเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม ถึงพราหมณ์พวกนั้น ก็พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตนเท่านั้น ส่วนวาทะของ ผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า พวก ข้าพระองค์ยังมีความเคลือบแคลงสงสัยในสมณพราหมณ์เหล่านั้นอยู่ทีเดียวว่า ท่าน สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร กาลามชนทั้งหลาย ก็ควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลงสงสัย และท่าน ทั้งหลายเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในฐานะที่ควรแล้ว มาเถิดท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำ สืบๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือโดยอ้าง ตำรา อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน อย่าได้ยึดถือโดย ความตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าได้ ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้ เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรม เหล่านั้นเสีย ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโลภ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อสิ่งไม่เป็น ประโยชน์ พวกชนกาลามโคตรต่างกราบทูลว่า เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ มีจิต อันความโลภกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โลภ ย่อม ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโกรธเมื่อเกิดขึ้น ในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อสิ่งไม่ใช่ประโยชน์ ฯ กา. เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำ มีจิต อันความโกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โกรธย่อม ชักชวนผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความหลง เมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อสิ่ง ไม่เป็นประโยชน์ ฯ กา. เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ มีจิต อันความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้หลง ย่อม ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ฯ กา. เป็นอกุศล พระเจ้าข้า ฯ พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ ฯ กา. มีโทษ พระเจ้าข้า ฯ พ. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ ฯ กา. ท่านผู้รู้ติเตียน พระเจ้าข้า ฯ พ. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์หรือหาไม่ ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร ฯ กา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อ ทุกข์ ในข้อนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้ ฯ พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรกาลามชน ทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ ฟังมา ... อย่าได้ยึดถือโดยนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้ว นั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่าน ทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ... อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือ ว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่า นี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข เมื่อนั้น ท่าน ทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความไม่โลภเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดเพื่อ ประโยชน์หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ฯ กา. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่ถูกความโลภครอบงำ มีจิตไม่ถูกความโลภกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่ โลภ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ฯ กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความไม่โกรธ เมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อ สิ่งไม่เป็นประโยชน์ ฯ กา. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ มีจิตไม่ถูกความโกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ สิ่งใดเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โกรธ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ฯ กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความไม่หลง เมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อ สิ่งไม่เป็นประโยชน์ ฯ กา. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่หลง ไม่ถูกความหลงครอบงำ มีจิตไม่ถูกความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่ หลง ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ฯ กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ฯ กา. เป็นกุศล พระเจ้าข้า ฯ พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ ฯ กา. ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า ฯ พ. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ ฯ กา. ท่านผู้รู้สรรเสริญ พระเจ้าข้า ฯ พ. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความสุขหรือหาไม่ ในข้อนี้ ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร ฯ กา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความสุข ในข้อนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้ ฯ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้ ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินว่าอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือ โดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน อย่าได้ยึดถือโดย ตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตน อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่า ผู้พูดสมควรเชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรม เหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้นท่าน ทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เรา จึงได้กล่าวไว้ดังนี้ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ปราศจากความ โลภ ปราศจากความพยาบาท ไม่หลงแล้วอย่างนี้ มีสัมปชัญญะ มีสติ มั่นคง มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอด โลก ทั่วสัตว์ทุกข์เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอัน ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วย อุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่ เศร้าหมองอย่างนี้มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการใน ปัจจุบันว่าก็ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีจริง เหตุนี้เป็นเครื่อง ให้เราเมื่อแตกกายตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจ ข้อที่ ๑ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมทำดี ทำชั่วไม่มี เราไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์เป็นสุข บริหารตนอยู่ ในปัจจุบันนี้ ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๒ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว ก็ถ้าเมื่อ บุคคลทำอยู่ ชื่อว่าทำบาป เราไม่ได้คิดความชั่วให้แก่ใครๆ ไหนเลยทุกข์ จักมาถูกต้องเราผู้ไม่ได้ทำบาปกรรมเล่า ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๓ นี้ พระอริย สาวกนั้นได้แล้ว ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ไม่ชื่อว่าทำบาป เราก็ได้พิจารณาเห็น ตนว่าเป็นคนบริสุทธิ์แล้วทั้งสองส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๔ นี้ พระอริย สาวกนั้นได้แล้ว ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่มีเศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้ว อย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แลในปัจจุบัน ฯ กา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็น อย่างนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระอริยสาวกนั้น มีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิต ไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ท่านย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในปัจจุบัน ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ พระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระองค์โปรดทรงจำพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไปฯ                                                                                                                                                                                                                                                                                                          



























      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16807 เมื่อ: 26 เมษายน 2561, 09:01:56 »



สังคมนี้ อยู่อยากนัก มีแต่คนที่หลง ที่ไหลไปกับความคิดของตนเอง
เรายังต้องเกี่ยวข้องกับสังคม  ระวังตนเองมาก ก็ยังไม่พอ เพราะสังคมเขามีแต่ ตัวกู  ของกู อยู่เป็นนิจ เขาไม่เข้าใจว่า แท้จริงแล้ว ไม่มีตัวกู  ของกู อันใด้เลย มีเพียง รูปกับนาม
รูป ก็ประกอบไปด้วย มหาธาตุทั้ง ๔ ประกอบกันด้วยเหตุ-ปัจจัย ทางธรรมชาติ และกรรมเก่า
นาม ก็ประกอบไปด้วยวิญญาณธาตุ หรือธาตุรู้ หรือจิต มาอาศัยอยู่ชั่วคราวในรูป พอเหตุ-ปัจจัยดับ ก็จากไปสู่ภพอื่นตามกรรมที่กระทำเอาไว้
ไม่มีตัวกู  ขอกู เลย
แต่เพราะไม่รู้ ไม่เห็นความจริงอันนี้ ไม่เห็นความคิดของตนเอง ไม่เห็นอารมภ์ที่เกิดขึ้นกับจิตของตนเอง
ยึดแต่รูปนี้ ยึดแต่จิตนี้ เป็นตนเอง เป็นของตนเอง จึงหลงจึงไหล กระทำไปตามความคิด ไปตามอารมภ์ที่มาปรุงแต่งจิต ไปเสียสิ้น เมื่อเราไปเกี่ยวข้องก็ จะต้องกระทำตนให้กลมกลืน  ถ้าไม่กลมกลืน ก็หาว่าเรายิ่ง ทิฐิ นอกลู่นอกทาง  ทั้งๆ ที่เราระวังตนเอง อยู่อย่างไม่ประมาท กระทำแต่ในสิ่งที่สมควรกระทำ ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน คือ มีศีล มีสติรู้ตลอดเวลา และใช้ปัญญารู้เท่าทันจิตที่มันคิด ที่มันชอบ ที่มันมีอารมภ์

การสร้างบารมี ๑๐ ทัศน์ ก็ต้องระวัง เพราะอาจเผลอกลายเป็นสร้างอัตตาตนเอง โดยไม่รู้ตัวขึ้นมาอีก

การภาวนา คือการมีสติ  รู้สึกตัว เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่หลงไปกับผัสสะทางทวารทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ไม่ยินดี ยินร้าย ในรูป รส กบิ่น เสียง โผฏทัพพะ และธัมมารมภ์ ที่เกิดขึ้น
ระวังจิตตนเอง ให้ตื่น ด้วยสติ ใช้ปัญญา เพื่ออุเบกขาให้มาก ๆ

สังคมนี้ มีแต่กิเลส ตัณหา เป็นบ่วงมาร ให้ไปติดกับ จึงเป็นสังคมที่น่าเบื่อหน่าย ที่ต้องอยู่ร่วมจนกว่าจะตาย

แต่เรายังต้องมีชีวิต ต้องอยู่ในสังคม จงระวังตนเอง จิตตนเองให้มาก ๆ เข้าไว้ ใครไม่รู้เราก็รู้  รู้ได้เช่นนี้ ทำอุเบกขาให้เกิดขึ้นเป็นพอแล้ว อย่าไปยึดถือกติกาสังคม ที่หลงไหล เพิ่มอัตตาตนเองเลย เราก็สงบสุขได้ตามอัตตภาพ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16808 เมื่อ: 28 เมษายน 2561, 10:19:46 »

“พระอรหันต์”ดำเนินชีวิตอย่างไร?
ทำกิจกรรมหรือประกอบกิจการงานอะไรในรูปลักษณะอย่างไร?

     “พระอรหันต์เป็นผู้ดับกรรมหรือสิ้นกรรม การกระทำของท่านไม่เป็นกรรมอีกต่อไป ในคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรมมีคำเรียกการกระทำของท่านว่าเป็น“กิริยา”

ที่ว่า“ดับกรรม”นั้น หมายถึง ไม่กระทำการต่างๆโดยมี อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ครอบงำหรือชักจูงใจ แต่ทำด้วยจิตใจที่เป็นอิสระ มีปัญญารู้แจ้งชัดตามเหตุผล เลิกทำการอย่าง“ปุถุชน” เปลี่ยนเป็นทำอย่าง“อริยชน”

คือ ไม่ทำการด้วยความยึดมั่นในความดีความชั่ว ที่เกี่ยวกับตัวฉัน-ของฉัน(ตัวกู ของกู) ผลประโยชน์ของฉัน ที่จะให้ฉันได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่มีความปรารถนาเพื่อตัวตนเคลือบแฝงอยู่ ไม่ว่าในรูปที่หยาบหรือละเอียด แม้แต่ความภูมิพองอยู่ภายในว่า นั่นเป็นความดีของฉัน หรือว่าฉันได้ทำความดี เป็นต้น

ทำไปตามวัตถุประสงค์ของกิจนั้นๆ ตามเหตุผลของเรื่องนั้นๆ ตามที่มันควรจะเป็นของมันล้วนๆ

จึงเป็นการกระทำขั้นที่“ลอยพ้นเหนือกรรมดี”ขึ้นไปอีก

ส่วนกรรมชั่วเป็นอันไม่ต้องพูดถึง เพราะหมดโลภะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้ทำความชั่วเสียแล้ว”

#_สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
    ( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : จากหนังสือ “พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย”
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16809 เมื่อ: 29 เมษายน 2561, 15:58:05 »

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16810 เมื่อ: 30 เมษายน 2561, 18:06:49 »




ไม่เชื่อความคิด ไม่หลงอารมณ์

อารมณ์กับตัวหลงก็เช่นเดียวกัน มันพยายามทุกทางที่จะครองใจของเรา แต่ว่ามันแพ้ทางสติ มันกลัวถูกรู้ ถูกเห็น นี่เป็นจุดอ่อนที่สำคัญ ดังนั้นเราจึงควรเพียรเจริญสติ หมั่นรู้สึกตัวบ่อย ๆ หมั่นสังเกตความคิด หมั่นมองตนบ่อย ๆ เราจะรู้ทันอารมณ์ได้เร็วขึ้น และไม่เปิดโอกาสให้มันครองใจเรา หรือบงการชีวิตของเราไปตามอำนาจของมัน

เสียงธรรมรับอรุณวัดป่าสุคะโต
จากหลวงพ่อไพศาล วิสาโล
ตามลิงค์นี้เข้าไปฟังหรือดาวน์โหลดได้เลย

https://drive.google.com/file/d/1RKgkuIUh3NYk_kRbQ4FK8Dl_388JFXI1/view?usp=sharing
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16811 เมื่อ: 30 เมษายน 2561, 18:39:03 »





หัวใจพระพุทธศาสนา

"การรู้นี่สำคัญ สิ่งที่ไปถูกรู้นี่ไม่สำคัญหรอก "

การภาวนาคือ พัฒนาจิตผู้รู้
ให้รู้มันชัด ไม่ใช่ให้อารมณ์มันชัด
ถ้าจิตรู้มันชัดกว่า อารมณ์มันก็เล็กลง
อันไหนชัดกว่า อันนั้นก็ยิ่งใหญ่ในใจเรา

ให้ขยันรู้ไปเถอะ
ให้รู้แบบปกติ อย่าไปรู้แบบจี้
มันเป็นการเพ่ง เครียด
รู้จี้ มันเป็นการเพ่ง

การวางใจให้รู้รอบๆ รู้เบาๆ แบบผ่อนคลาย
รู้รอบๆ มันจะรอบรู้
รู้ตัวทั่วพร้อม คือ พร้อมที่จะรู้
เช่น รู้ลงปัจจุบันว่ากายกำลังทำอะไร?
รู้ไปแค่นี้เรื่อยๆ
เป็นการพัฒนาจากสิ่งที่หยาบๆ ไปสู่สิ่งที่ละเอียด

เวลากายเคลื่อนไหว ใจก็รู้
เวลาจิตมันคิด มันก็รู้

ภาวนาคือ ขยันรู้ ไม่ใช่ขยันคิด
ไม่รู้ก็ไม่เป็นไร

ความรู้สึกตัวเกิดขึ้นที่ไหน
เกิดขึ้นตอนที่รู้สึกตัว
แล้วแต่จิตมันจะผลิตสติขึ้นมา
หากหลงลืมบ้างอย่าไปเครียด
มันหลงแล้วก็แล้วไป
เดี๋ยวเราก็รู้ขึ้นใหม่
มันหลงได้ ก็รู้ได้

หลงแล้วรู้ใหม่ รู้ใหม่เรื่อยๆ

ชีวิตเราก็จะใหม่
การรู้แต่ละครั้งไม่ไร้ค่า
จิตเป็นกุศลทันที ดีกว่าเราไม่รู้เลย
อกุศลก็เกิดแทน ทุกครั้งที่เรารู้
จิตเป็นกุศลทันที

จิตปกติ ขาวรอบแล้ว
ณ ปัจจุบันนั้นทันที
นี่คือ หัวใจของพระพุทธศาสนา"

อ.กำพล ทองบุญนุ่ม ชมรมเพื่อนคุณธรรม
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16812 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2561, 07:14:17 »



หมั่นดูจิต ชีวิตสงบเย็น

เพียงแค่หมั่นดูใจของตนอยู่เสมอ ทำอะไรใจก็อยู่กับสิ่งนั้น   ใจลอยไปไหน ก็รู้  แล้วกลับมาอยู่กับสิ่งนั้น  ทำบ่อย ๆ สติก็จะว่องไวปราดเปรียว ช่วยคุ้มกันใจ ไม่ให้อารมณ์ใด ๆ ครอบงำ  เพียงเท่านี้ ความสงบเย็น โปร่งโล่งเบาสบาย จะกลายเป็นเรื่องง่าย  แม้รอบตัววุ่นวายเพียงใดก็ตาม

เสียงธรรมจากหลวงพ่อไพศาล วิสาโล
ตามลิงค์นี้เข้าไปฟังหรือดาวน์ได้เลย

https://drive.google.com/file/d/1VqncQvLDrs_B54xi55CfFZyOOs_O-lBZ/view?usp=sharing
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16813 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2561, 07:20:38 »



อุปสรรคของการภาวนา คืออะไร?

- อวิชชา
- ขาดศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
- หลงอยู่ในความคิด
- หลงอยู่ในเจตสิกที่มาปรุงจิต
- ไม่เข้าใจในมรรคมีองค์ ๘ ประการ
- ไม่รู้จักรูป-นาม
- ไม่รู้จักกลไกรในการรู้แจ้ง และผลของการรู้แจ้งในทวารทั้งหก หรือการทำงานของอายตนะ
- ฯลฯ
- จบลงที่การไม่รู้จัก ธรรมะ และการใช้ปัญญา

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16814 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2561, 07:39:14 »




อุปสรรคขณะภาวนา คืออะไร?
- นิวรณ์ ๕
- วิปัสสนูกิเลส
- หลง ไหล ไปกับความคิด ยังมีตัวกู ของกู ละอัตตาไม่ได้
- ขาดวิริยะ
- ขาดวาสนา หรือทำกรรมดีมาน้อยในภพที่ผ่านมา

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16815 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2561, 09:12:46 »



๔๒. หากจะมีคำถามว่า ในการปฏิบัติภาวนานั้น เวลาใดเหมาะที่สุด บางคนอาจจะคิดว่าเวลาเช้าเวลาเย็น แต่แท้ที่จริงแล้วเวลาที่รู้สึกตัวดีที่สุด

เพราะเวลาที่ไม่รู้สึกตัวนั้นไม่มีอะไรต้องพูดอยู่แล้ว

ดังนั้นระเบียบแห่งการภาวนานั้นย่อมหมายรวมไปสู่ทุกๆ ตอนของการรู้สึกตัว ไม่ว่าจะอยู่ในวัดหรือนอกวัด
นั่นคือระเบียบวินัยแห่งการภาวนา คนที่ไม่มีระเบียบวินัยแห่งการภาวนา ย่อมยากที่จะซาบซึ้งถึงผลแห่งการปฏิบัติ

ระเบียบวินัยแห่งการภาวนานั้นจะแก่กล้าเข้มข้นขึ้น จนกระทั่งแม้ยกหูโทรศัพท์ก็รู้สึกตัวชัดเจน เมื่อพูดก็รู้สึกชัดเจน เมื่อไม่พูดก็รู้ กะพริบตาก็รู้ ยืนก็รู้ เดินก็รู้ คิดก็รู้

อย่างนี้เรียกว่าระเบียบแห่งการภาวนานั้นได้นำบุคคลเข้าไปสู่ขุมทรัพย์แห่งสติปัญญาชั้นสูง อย่างนี้เรียกว่า “อธิจิต” ก็ได้ ถือเป็นสมาธิขั้นสูง “อธิศีลสิกขา” ก็ได้ คือเป็นผู้มีระเบียบวินัยชั้นสูง ไม่ได้อยู่ที่การควบคุมตัวเองจากภายนอก เป็น “อธิปัญญา” ก็ได้ คือไปเห็นการเกิดดับของความคิดนึก มันคิดไปอย่างไรก็รู้ นิมิตต่างๆ เข้ามาอย่างไรก็รู้ ดับไปอย่างไรก็รู้
โดยอาศัยระเบียบวินัยในการภาวนาที่ว่านี้ จะนำผู้นั้นเข้าไปสู่ชีวิตที่สูงส่งที่เรียกว่า เป็น “อริยะ” ซึ่งห่างไกลจากความหนาทึบทึน ซึ่งหมายถึง “ปุถุชน”

ดังนั้นผมคิดว่าพวกเราควรจะยินดีที่จะกำหนดอารมณ์กรรมฐานอยู่เรื่อยๆ ต่างว่าแม่ซึ่งคลอดลูกคนแรกเป็นลูกชายซึ่งเป็นหัวแก้วหัวแหวน เมื่อมีเหตุจะต้องจากไปต่างจังหวัดก็คิดถึง นั่งรถก็คิดถึง ไปตลาดก็คิดถึงลูก รีบไปรีบกลับ เพราะใจอยู่ที่นั่น ฉันใดก็ฉันนั้น บุคคลจะต้องมีบทกรรมฐานอยู่ประจำตัว เปรียบเสมือนบทมนต์กำกับหัวใจทีเดียว

เพราะถ้าไม่ทำอย่างนั้นความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของคนเรานี่ทุกข์ได้ง่าย บ้าคลั่งได้ง่าย โง่ทึ่มทื่อได้ง่าย

ดั่งสายน้ำไหล : เขมานันทะ
รวบรวมจากคำแนะนำต่อกลุ่มธรรมจาริณี ในรายการภาวนาประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ณ อาศรมศานติ-ไมตรี นิคมพึ่งตนเองขุนทะเล จ.สุราษฎร์ธานี เน้นกิจภาวนาเป็นหลัก การบรรยายขยายความนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของรายการ

หมายเหตุ: ตั้งค่า "เห็นโพสต์ก่อน" จะเพิ่มโอกาสเห็นโพสต์เพจได้ต่อเนื่อง
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16816 เมื่อ: 02 พฤษภาคม 2561, 06:52:22 »



สุขทีหลังดีกว่าสุขก่อน

คิดเก่งอย่างเดียวไม่พอ การฝึกใจให้เข้มแข็งมีพลังก็สำคัญมาก การฝึกสมาธิภาวนาเป็นวิธีหนึ่งในการฝึกให้จิตใจมีความเข้มแข็ง อดทนต่อความเบื่อหน่าย แค่ตั้งใจนั่งสมาธิให้ได้ทุกวัน ก็มีอานิสงส์มาก ถึงแม้จะเบื่อก็ตาม  แทนที่จะไปเล่น เที่ยว หรือกิน แต่ต้องมานั่งฝึกสมาธิให้ได้ครบตามกำหนดเวลา แม้แต่ ๕ นาทีก็มีคุณค่าและมีความหมาย อย่าไปประมาท เพียงแค่ ๕ นาที ถ้าทำเป็นประจำก็ทำให้จิตมีกำลังมาก
 
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ แห่งวัดสะแก อยุธยา ท่านเป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมาก คราวหนึ่งมีชายหนุ่ม ๒ คน  มากราบท่าน คนหนึ่งเป็นลูกศิษย์ท่าน ชวนเพื่อนให้รักษาศีลและนั่งสมาธิต่อหน้าหลวงปู่ดู่  เพื่อนก็ปฏิเสธบอกว่า เขาถือศีล ๕ ไม่ได้เพราะยังกินเหล้าอยู่ หลวงปู่ก็เลยพูดกับเขาว่า แกจะกินเหล้าก็กินไป แต่ว่าทำสมาธิให้ได้ไหม แค่ ๕ นาทีก็พอ  ชายคนนั้นเห็นว่า ๕ นาทีไม่ได้มากอะไร ก็เลยรับปากหลวงปู่ดู่  เนื่องจากเขาเป็นคนพูดคำไหนคำนั้น  ดังนั้นเขาจึงนั่งสมาธิทุกวันวันละ ๕ นาทีตามที่รับปากไว้ นั่งเสร็จก็ไปกินเหล้า แต่บางวันเพื่อนชวนมากินเหล้าตอนที่กำลังนั่งสมาธิอยู่ ก็ปฏิเสธไป ปรากฏว่าทำไป ๆ เขาก็เลิกเหล้าได้เอง  คงเพราะนั่งสมาธิทุกวัน ทำให้จิตใจมีกำลัง ไม่คล้อยตามกิเลสง่าย ๆ   นอกจากหักห้ามใจได้แล้ว สมาธิยังช่วยให้เขามีความสุข เป็นความสุขที่ประเสริฐกว่าการกินเหล้าเยอะ

ชายคนนี้นอกจากเลิกเหล้าไดแล้ว ตอนหลังก็เกิดศรัทธา ถึงกับบวชพระและอยู่ในสมณเพศต่อเนื่องหลายปี  พูดได้ว่าชีวิตของเขาเปลี่ยนแปลงเพราะว่าทำสมาธิแค่วันละ ๕ นาที สิ่งเล็กน้อย หากเป็นสิ่งที่ดี ถ้าเราทำบ่อย ๆ จะมีอานิสงส์มาก ทำให้จิตมีกำลัง  เมื่อจิตมีกำลังก็สามารถขับเคลื่อนชีวิตของเราสู่ความเจริญงอกงามตามที่ตั้งใจไว้

เสียงธรรมจากหลวงพ่อไพศาล วิสาโล
ตามลิงค์นี้เข้าไปฟังได้เลย

https://drive.google.com/file/d/11nlFEpOIBKQ9dXElyNO_dRFXFQhvZfao/view?usp=sharing
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16817 เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2561, 08:22:06 »



สังคมโลกมนุษย์นี้อยู่ยาก!

เกิดเป็นมนุษย์มีแต่ทุกข์ เพราะมันเต็มไปด้วย อวิชชา  อัตตา  ทิฐิ หลง-ไหลไปกับความคิด อารมภ์ที่ปรุงแต่ง ที่เป็นผลมาจากการผัสสะทาง อายตนะ ทางทวารทั้งงหก และเคยได้เสพสุข หรือได้รับทุกข์มาก่อน ก็คิด ทำ หลงไปแบบนั้นตลอดเวลา

เมื่อรู้ความจริงในพฤติกรรมจิตมนุษย์แล้ว มันจึงเกิดความเบื่อหน่าย ในความคิด อารมภ์ปรุงแต่ง  ถึงเราจะระวังตนเองให้มั่น ด้วยอุเบกขา  แต่เราระวังคนอื่นไม่ไได้  เรายังต้องได้รับผลอยู่ดี ไม่ว่าสังคมไหน ก็หลงอยู่ในความคิด

การละเสียออกจากสังคม  จึงเป็นทางเลือกที่ดี

สังคมผ้าเหลืองที่หลงอยู่ในความคิดก็อยู่ยากเช่นกัน ระวังไม่ไหว ?

การปลีกวิเวก  สร้างเหตุ-ปัจจัยในการเกิดที่ดี ลดการรับรู้ให้มาก  ระวังตนเองให้มาก  จึงเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับชีวิตบั้นปลาย ของผู้สูงอายุ อย่างผม
ขออยู่อย่าง
- มีศรัทธา
- อยู่อย่างสมถะ พอเพียง ในปัจจัยทั้ง ๔
- มีศีล
- ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
- มีวิริยะในการสร้างกุศล
- มีสติ
- ทำสติให้เป็นสมาธิ
- อยู่ด้วยปัญญา รู้เท่าทันความคิด อารมภ์ที่มาปรุงแต่ง ดำรงจิตให้มั่นด้วยสติ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

นี่ละหนทางอันประเสริฐ มรรค มีองค์ ๘ ประการ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16818 เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2561, 13:37:17 »




๕๔.คนที่มีสติแน่นแฟ้น มีความรู้ทางใจสูงกว่า จะรู้จักคนที่อยู่เบื้องล่างกว่า แต่คนเบื้องล่างไม่อาจรู้จักได้ ไม่ใช่ลำดับของอายุ ที่คนอายุมากจะรู้จักคนอายุน้อย มันเป็นอายุความรู้จักใจทางใจ

บางทีคนแก่ๆ ขาดสติบ่อย ดังนั้นจะไม่รู้จักคนที่สูงกว่าตัว ทางความรู้ทางใจ อาจจะถือทิฎฐิมานะ คิดว่าตนเองอายุมาก ลำพังอายุนั้นไม่เท่าไร เราเกิดมากินข้าวเป็น กินน้ำเป็นก็มีอายุได้ อยู่ไปเรื่อยๆ ยิ่งอายุมากก็ยิ่งเป็นปัญหาคนอื่นด้วยซ้ำไป

อายุทางใจนี่หมายความว่า ความรู้แจ้ง ความแจ้งฉาน ความเข้าไปในใจ ความรู้จักใจ ซึ่งเริ่มต้นจากการรู้ตัวเข้าไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็จะมีสติครองเนื้อครองตัว การเจริญภาวนานี้ เป็นการเจริญขึ้นอีกแบบหนึ่งไม่เหมือนการเจริญวัยหรืออายุ

ภาษาบาลีคำว่า เจริญวัย แปลว่า เจริญ เพื่อจะไปวายวัย = วะยะ เจริญเพื่อเสื่อมสลาย เจริญวัย คือ ยิ่งโตยิ่งใกล้ตาย

ภาษาบาลีนั้นเป็นภาษาเพื่อธรรมะ เช่น ผู้หญิงสวย ถ้าแปลตามตัวแปลว่า ผู้หญิงที่พร้อมไปด้วยความวอดวาย ความงามที่ใจนี่แหละมันจะอยู่ มันไม่รู้จักแก่รู้จักเฒ่า

ดังนั้นเมื่อเราเจริญขึ้นจริงๆ ย่อมหมายถึง การภาวนา ภาวนา หมายถึง การก้าวขึ้นสู่คุณเบื้องสูง

ที่เรามาบวชชั่วคราวก็เพื่อการภาวนา ก้าวไปสู่การรู้สึกตัวยิ่งๆแล้วก็ไม่สับสน เป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้าแล้วไม่สับสนใดๆ

ดั่งสายน้ำไหล : เขมานันทะ
รวบรวมจากคำแนะนำต่อกลุ่มธรรมจาริณี ในรายการภาวนาประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ณ อาศรมศานติ-ไมตรี นิคมพึ่งตนเองขุนทะเล จ.สุราษฎร์ธานี เน้นกิจภาวนาเป็นหลัก การบรรยายขยายความนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของรายการ

หมายเหตุ: ตั้งค่า "เห็นโพสต์ก่อน" จะเพิ่มโอกาสเห็นโพสต์เพจได้ต่อเนื่อง
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16819 เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2561, 16:56:48 »




"ความอยาก" ในพระพุทธศาสนา
( ปัญหาและความเข้าใจ เรื่อง "ความอยาก")

"เราในหมู่ชาวพุทธนี้มักจะกลัวเรื่อง "ความอยาก" แล้วก็มีความรู้สึกว่า..ถ้าพูดถึง"ความอยาก"แล้ว ชาวพุทธจะต้องปฏิเสธ จะต้องพยายามเลี่ยงเว้น พวกชาวพุทธเป็นคนไม่มีความอยาก ปฏิบัติเพื่อละความอยาก อยากอะไรไม่ได้ อันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ถ้าหากว่าระวังระแวงเกินไป อาจจะทำให้เสียแก่พระพุทธศาสนาได้เหมือนกัน เพราะว่า"ความอยาก"นี้เราไปหมายถึง"ตัณหา" เราบอกว่าพุทธศาสนานี้เป็นศาสนาที่สอนให้ละตัณหา เพราะฉะนั้น จะอยากอะไรไม่ได้

ทีนี้ ก็มีฝ่ายตรงข้ามเขาก็บอกว่า
โอ…พระพุทธศาสนาสอนให้คนไม่อยาก
เมื่อไม่อยากก็เลยไม่ต้องการอะไร
ไม่ต้องผลิตสร้างสรรค์
ทำให้ขัดถ่วงการพัฒนา

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีการแยกแยะให้เห็นว่า "ความอยาก"ในพระพุทธศาสนานี้ มันเป็นสิ่งที่ถูกประณามแท้จริงหรือไม่

ขอเข้าสู่หลักเลย ท่านบอกว่า "ปตฺถนา" แปลว่า ความอยากหรือความปรารถนา
"ปตฺถนา"นั้น มี ๒ อย่าง

๑. ตัณหาปัตถนา ปรารถนาหรืออยากด้วย"ตัณหา"

๒. ฉันทปัตถนา ปรารถนาหรืออยากด้วย"ฉันทะ"

"ตัณหาปัตถนา" อยากด้วยตัณหานั้น เป็น อกุศล
"ฉันทปัตถนา" อยากหรือปรารถนาด้วยฉันทะ เป็น กุศล ฉันทะนี้เป็นองค์ธรรมสำคัญ เช่น ในอิทธิบาทเป็นข้อแรกทีเดียว ก็เป็นอันว่าที่จริงฉันทะนี้ ซึ่งเราจะแปลอย่างไรก็ตาม อาจจะพยายามเลี่ยงหน่อย ไม่อยากใช้คำว่า"อยาก" แปลเป็นอย่างอื่นก็ตาม แต่ก็ต้องให้รู้ว่าสาระของมันมีอยู่ว่า ในทางพระพุทธศาสนานี้ ความปรารถนา หรือความต้องการอย่างหนึ่ง ท่านสอนและสนับสนุนให้มี คือ ความต้องการที่เรียกว่า "ฉันทะ"

ที่จริง"ฉันทะ"นี้ก็เป็นไวพจน์(คำสำหรับเรียกแทนกันได้)ของ"ตัณหา"ได้เหมือนกัน ฉันทะมีหลายอย่างอีกแหละ มี...
"กัตตุกัมยตาฉันทะ" ฉันทะคือความอยากที่ต้องการจะทำ
"ตัณหาฉันทะ" หรือ "อกุศลฉันทะ" คือความอยากที่เป็นตัณหา
และมี "กุศลฉันทะ" หรือกุศลธรรมฉันทะ ความอยากหรือความต้องการตัวธรรม หรือต้องการสิ่งที่เป็นกุศล

ในแง่ของฉันทะที่เป็นกุศล จะมีพุทธพจน์แม้แต่ว่า..ฉันทะในนิพพาน คือ อยากนิพพานก็มี แต่ต้องแยกให้ถูก ระหว่าง อยากนิพพานด้วยตัณหา กับ อยากนิพพานด้วยฉันทะ

อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ ต้องการเพียงแสดงหลักการให้เห็นว่า มี"ความอยาก"ประเภทหนึ่งที่พระพุทธศาสนาสนับสนุน และเป็นตัวสำคัญในการปฏิบัติ ในการดำเนินชีวิตตามหลักการของธรรม

ฉะนั้น เราควรจะต้องแยกแยะให้ถูกก่อน เมื่อแยกถูกแล้ว จะสนับสนุนคนให้อยากด้วยซ้ำไป ฉะนั้น ชาวพุทธไม่ควรจะมากลัวนักกับคำว่า "อยาก" แต่ต้องเข้าใจคำว่า"อยาก"นี้ให้ถูกต้อง และแยกให้ถูกและสอนให้ชัดว่า อันไหนควรอยาก อันไหนไม่ควรอยาก ควรอยากในแง่ไหน และก็สนับสนุนความอยากที่ถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงความอยากที่ไม่ถูกต้อง ถ้าจะเอาแต่ไปกดกำหราบละความอยาก เราอาจจะไม่สำเร็จผลและเกิดโทษก็ได้ นี้ก็เป็นข้อที่ควรจะเน้นอันหนึ่ง"

#สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
  ( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : ธรรมนิพนธ์ "หลักทั่วไปของพุทธศาสตร์"

หมายเหตุ : เพิ่มเติม
ตัณหา กับ ฉันทะ ต่างกันอย่างไร?

"ตัณหา" มุ่งประสงค์เวทนา และ จึงต้องการสิ่งสำหรับเอามาเสพเสวยเวทนา หรือสิ่งที่จะปรนปรือตัวตน ตัณหาอาศัยอวิชชาคอยหล่อเลี้ยงและให้โอกาส พัวพันเกี่ยวเนื่องอยู่กับเรื่องตัวตน เอาอัตตาเป็นศูนย์กลาง และนำไปสู่ปริเยสนาคือการแสวงหา

"ฉันทะ" มุ่งประสงค์อัตถะคือตัวประโยชน์ (หมายถึงสิ่งที่มีคุณค่าแท้จริงแก่ชีวิต) และ จึงต้องการความจริง สิ่งที่ดีงาม หรือภาวะที่ดีงาม ต้องการทำให้ดีงามสมบูรณ์ เต็มสภาวะ ฉันทะก่อตัวขึ้นจากโยนิโสมนสิการ คือความรู้จักคิดหรือคิดถูกวิธี คิดตามสภาวะและเหตุผล เป็นภาวะกลางๆของธรรม ไม่ผูกพันกับอัตตา และนำไปสู่อุตสาหะหรือวิริยะ คือทำให้เกิดการกระทำ
    เพื่อจะแยกว่า เมื่อใครคิดพูดทำอะไร จะเป็นตัณหาหรือไม่ ถึงตอนนี้จะเห็นชัดว่า ความต้องการหรือกิจกรรมใดไม่เกี่ยวกับการหาสิ่งมาเสพเสวยเวทนา ไม่เกี่ยวกับการปกป้องรักษาหรือเสริมขยายความมั่นคงถาวรของอัตตา (ลึกลงไปแม้แต่การที่จะบีบคั้นลิดรอนอัตตา) ความต้องการหรือกิจกรรมนั้นไม่ใช่เรื่องของตัณหา
     ข้อความว่า ตัณหานำไปสู่การแสวงหา ฉันทะทำให้เกิดการกระทำ นี้เป็นจุดสำคัญ ที่จะให้เข้าใจความแตกต่างระหว่างตัณหากับฉันทะได้ชัดเจน"

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(ป.อ. ปยุตฺโต)
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16820 เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2561, 19:33:29 »




๕๕. มีพราหมณ์ผู้หนึ่งทูลถามพระพุทธเจ้าว่า วันหนึ่งๆ นั้นพระองค์ปฏิบัติโลกุตรธรรมอย่างไร

 โลกุตรธรรมนั้นหมายถึง ธรรมเหนือโลก

 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูก่อน พราหมณ์ วันหนึ่งๆ เรายืน เราเดิน เรานั่ง และเรานอน”

 พราหมณ์ผู้นั้นก็หัวเราะเยาะพระองค์ท่าน และพูดว่า “ใครๆ เขาก็ยืน เดิน นั่ง นอนทั้งนั้น พระองค์ท่านกล่าวว่า แค่ยืน เดิน นั่ง นอนนั้นเป็นการปฏิบัติธรรมชั้นเลิศสุดได้อย่างไรกัน”

 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูก่อนเธอ ก็แต่ว่าเมื่อเรายืนนั้น เรารู้ เมื่อเราเดินนั้น เรารู้ เมื่อนั่งนั้นรู้ เมื่อนอนนั้น รู้” ส่วนคนสามัญทั่วไปนั้น แม้จะยืน เดิน นอน นั่งโดยอาการไม่รู้”

 กิริยาภายนอกของผู้ปฏิบัติกับผู้ไม่ปฏิบัติธรรมนั้น สังเกตความแตกต่างได้ยาก คนธรรมดาเขาทำงาน กิน ดื่ม ไป มา เดิน ยืน นอน นั่ง ผู้ปฏิบัติธรรมชั้นสูง ชั้นเหนือโลก, ชั้นที่ไปให้พ้นจากความทุกข์ทั้งหลาย ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับคนธรรมดาสามัญ โดยรูปภายนอก

 ส่วนความผิดแผกแตกต่างอยู่ตรงที่ผู้ปฏิบัติธรรมชั้นสูงนั้นมีความรู้สึกตัวอยู่ มีสติ
 ซึ่งด้วยการทำอย่างนี้จะนำไปสู่ผลที่แตกต่างกัน

 บุคคลที่มีชีวิตอยู่โดยไม่เจริญภาวนานั้น ชีวิตจะค่อยๆ ขัดข้อง มืดมน...อารมณ์ก็เข้ามาเร้ารุม ทุกข์เป็นที่หมาย
 ส่วนผู้เจริญภาวนาอยู่ แม้ในเบื้องต้นเหมือนคนทั่วไปทุกอย่าง แต่เมื่อสติเข้มข้น สมาธิชนิดที่เป็นเองปรากฎขึ้น ความทุกข์ยากทั้งหลายก็จะลดน้อยลง ที่สุดก็เข้าถึงที่สุดทุกข์ได้ในตัวเอง สุดสิ้นปัญหาที่เร้ารุมอยู่ ไม่ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วกำลังจะเกิด หรือจะมีอีกในวันหน้า ข้อแตกต่างเป็นอย่างนี้

ดั่งสายน้ำไหล : เขมานันทะ
รวบรวมจากคำแนะนำต่อกลุ่มธรรมจาริณี ในรายการภาวนาประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ณ อาศรมศานติ-ไมตรี นิคมพึ่งตนเองขุนทะเล จ.สุราษฎร์ธานี เน้นกิจภาวนาเป็นหลัก การบรรยายขยายความนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของรายการ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16821 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2561, 07:47:28 »



กาย เราก็ต้องดูแล แต่อย่าหลงไปกับความคิด คือความอยาก ความโลภ ความชอบในรสชาดของอาหาร และความสะดวกสบาย ความเท่ นั้น

สวัสดี

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16822 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2561, 07:42:41 »

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16823 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2561, 07:44:57 »

อาหารมื้อเย็น เป็นการเอาชนะจิตใจตนเอง ไม่กินก็ไม่เป็นไร? ต่อร่างกาย

และช่วยให้มีสตางค์ขึ้น เพราะอาหารมื้อเย็น มันจะแพง เสียเวลาไปกับการกินดี ๆ เท่ หรู อร่อย

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16824 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2561, 07:48:01 »



เดือนนี้เป็นเดือนที่ รศ.พินิจ   เพิ่มพงศ์พันธิ์ จากไป
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 671 672 [673] 674 675 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><