23 พฤศจิกายน 2567, 00:12:48
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 663 664 [665] 666 667 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3548870 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16600 เมื่อ: 25 สิงหาคม 2560, 12:37:10 »



รสชาดสู้ ส้มโอนครชัยศรี ไม่ได้ครับ ทับทิมสยาม และราคาแพงเกินเหตุ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16601 เมื่อ: 25 สิงหาคม 2560, 20:28:39 »

สิ่งที่ทันสมัยอยู่เสมอ

เดี๋ยวนี้ใคร ๆ มักจะบ่นว่าชีวิตเร่งรีบมากขึ้น มีเวลาว่างน้อยลง และเครียดกว่าเดิม หลายคนโทษสภาพแวดล้อมในเมืองที่วุ่นวาย แต่ลืมมองไปว่า ตนเองก็มีส่วนไม่น้อยที่ทำให้วิถีชีวิตของตนอยู่ในภาวะดังกล่าวเวลาในแต่ละวันไม่เพียงหมดไปกับการทำมาหากินเท่านั้น แต่จำนวนไม่น้อยยังถูกใช้ไปกับการบริโภคสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลข่าวสาร ถ้าเราเพียงแต่บริโภคให้น้อยลง จะพบว่าเรามีเวลาว่างมากขึ้น สุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น ความเครียดน้อยลง

ข้อมูลนั้นมีประโยชน์ตราบเท่าที่เราเป็นนายมัน สามารถควบคุมมันให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมได้ แต่หากมันกลายเป็นนายเราเมื่อใด ยอมให้มันแย่งชิงเวลาเราไปเท่าไรก็ได้ ชีวิตเราก็ย่ำแย่เมื่อนั้น

เสียงธรรมจากหลวงพ่อไพศาล วิสาโล
พูดหลังทำวัตรเย็นที่วัดป่าสุคะโต
ตามลิงค์นี้เข้าไปฟังหรือดาวน์โหลดได้เลย
https://archive.org/details/PhraPaisalVisalo2560
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16602 เมื่อ: 26 สิงหาคม 2560, 05:31:27 »



 คนพูดก็พูดให้ตาย

คนฟังก็ฟังให้ตาย

มันก็รู้ธรรมไม่ได้

ธรรมะมันเป็นเรื่องของการฝึกรู้ ในกายในใจของเราเองไม่ใช่ จะต้องไปอ่านไปฟังไปพูดนั่นเป็นเรื่องของความคิดสังขารความปรุงแต่งความหลงทั้งสิ้น

~~~~~~~~~

คนโง่ อ่านอะไรก็โง่

คนฉลาด แม้ไม่อ่านอะไรเลยก็ฉลาด

การบรรลุธรรม จึงมิได้บรรลุจากการอ่านหนังสือหรือตำรา

แต่เกิดจากความเพียรแผดเผากิเลสให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ

ด้วยการเจริญสติสัมปชัญญะตามหลักแห่งมหาสติปัฏฐาน

ความรู้เหล่านี้มาจากตำราก็จริง

แต่ความเพียรที่แท้จริงย่อมเกิดจากตัวเรา มิใช่จากตำรา

ปัญหาทุกปัญหาเกิดจากกิเลสคนนี่แหละ มิใช่อื่นไกล

กิเลสยิ่งมาก ยิ่งฉลาดในการเอาเปรียบคนอื่นมาก

สุดท้ายแล้วก็ไม่พ้นกฎแห่งกรรม

อ่านหนังสือเล่มไหน ก็สู้อ่านใจตนเองไม่ได้

แต่คนฉลาดส่วนใหญ่ชอบอ่านหนังสือ

เพราะทำให้รู้อะไรมากขึ้น

และถือคติว่า รู้ดีกว่าไม่รู้

แต่รู้แล้วทุกข์ ไม่รู้ดีกว่า

เพราะทุกข์มีไว้ให้รู้ ไม่ได้มีไว้ให้เป็น

รู้แล้วก็วาง จึงไม่เป็นทุกข์เพราะรู้
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16603 เมื่อ: 26 สิงหาคม 2560, 05:33:52 »



 ขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่

ที่ไม่เคยฝึกเจริญสตินั้น

จะไม่สังเกตเห็นความคิด

จึงไม่อาจมีสามารถ

ที่จะวางเฉยกับความคิด

และจะมีปฏิกิริยาต่อความคิด

ประดุจว่า

ความคิด ของเราเองนั้น

เป็นสิ่งกระตุ้นเร้า

จึงต้องตกเป็นเหยื่อของความคิดไปโดยปริยาย

~~~~~~~~~

ผู้ที่ได้ฝึกวิปัสสนาเป็นประจำ

จะพยายามเฝ้าสังเกตว่า

ตนเองจะรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างไร

จะมีปฏิกิริยาตอบโต้

หรือว่าสามารถรักษาอุเบกขาเอาไว้ได้...

~ เอส เอ็น โกเอ็นก้า ~

Photo: kai-theeraporn
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16604 เมื่อ: 26 สิงหาคม 2560, 05:36:43 »



พระพุทธองค์ตรัสว่าผู้ที่เห็นกิเลสของตัวเองชัดเจนแล้ว
จะขยันปฏิบัติธรรมเพื่อละกิเลส  เหมือนผู้มีไฟกำลังไหม้ศีรษะวิ่งหาน้ำดับไฟ คือไม่ขี้เกียจแน่นอน

กำลังใจดับกิเลสเกิดจากการเห็นความร้ายกาจของกิเลส และจากความเชื่อมั่นว่าเราสามารถดับกิเลสได้ เพราะมันไม่ใช่ตัวเรา  มันแค่สิ่งที่จรเข้ามาในใจ เมื่อเราขาดสติ

เพราะฉะน้ัน ปฏิบัติธรรมใหม่ๆ เจอกิเลสเยอะๆอย่าเพิ่งท้อแท้
ถูกต้องแล้ว ต้องเจอเสียก่อน จึงจะเห็นโทษของมัน จึงจะมีทางแก้มันได้

พระอาจารย์ชยสาโร
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16605 เมื่อ: 26 สิงหาคม 2560, 05:44:31 »

“เรียงลำดับอริยภูมิ”

 วันนี้จะแสดงจุดรวมของเรื่องทั้งปวง ทั้งดี ทั้งชั่ว ทั้งสุข ทั้งทุกข์ให้ท่านผู้ฟังทราบว่า รวมลงที่ไหนกันแน่ โปรดตั้งเครื่องรับไว้โดยถูกต้อง จะทราบเรื่องทั้งมวลว่า “รวมลงในจิตแห่งเดียวกัน”
 ความมืดก็อยู่ที่นี่ ความสว่างก็อยู่ที่นี่ ความโง่ ความหลงก็อยู่ในตัวของเรานี้ ความรู้ความฉลาดก็อยู่ในใจของเรานี้ ใจดวงนี้จึงเป็นเหมือนเก้าอี้ตัวเดียว แต่คนรอนั่งบนเก้าอี้มีสองคน ถ้าคนหนึ่งเข้านั่ง อีกคนหนึ่งก็ต้องยืน แต่ถ้าแบ่งกันนั่งก็ได้นั่งคนละซีก เช่นเดียวกับความโง่ความฉลาดแทรกกันอยู่ในใจดวงเดียว จะว่าโง่จริง ๆ ก็รู้อยู่ จะว่าหลงจริง ๆ ก็ยังรู้อยู่ แต่ถ้าจะว่ารู้จริง ๆ ก็ยังมีความโง่ความฉลาดแทรกอยู่ด้วย จึงเทียบกับเก้าอี้ตัวเดียวแต่คนนั่งสองคน ใจดวงเดียวแต่มีความโง่กับความหลงแทรกกันอยู่คนละซีก ถ้าใครมีกำลังมากกว่า คนนั้นก็ได้นั่งมาก ฉะนั้น อุบายวิธีอบรมใจและการประกอบคุณงามความดีทุกประเภท จึงเพื่อกำจัดปัดเป่าสิ่งมัวหมองออกจากใจดวงนี้ ท่านพูดเรื่องคนโง่ เราก็ได้ยินและเข้าใจ ท่านพูดเรื่องคนฉลาด เราก็ได้ยินและเข้าใจ ท่านพูดเรื่องปุถุชนคนหนา เราก็รู้และเข้าใจ ท่านพูดเรื่องพระอริยเจ้านับแต่ชั้นต้นจนถึงพระอริยเจ้าขั้นสูงสุด เราก็รู้และเข้าใจเป็นลำดับ เฉพาะเราเองยังไม่สามารถทำตัวให้เป็นอย่างนั้นได้ แต่มีความสนใจใคร่อยากจะสดับเรื่องราวความดีที่ท่านอบรมมา และทางดำเนินของท่าน ท่านดำเนินอย่างไร จึงเป็นไปเพื่อธรรมเช่นนั้น
 เบื้องต้นพระพุทธเจ้าก็ดี พระสาวกอรหันต์ผู้ปฏิบัติและรู้เห็นตามพระพุทธเจ้าก็ดี ท่านเป็นคนมีกิเลสประเภทเดียวกันกับพวกเรา แต่อาศัยความพากเพียรพยายามไม่ลดละการบำเพ็ญเพื่อชำระซักฟอกสิ่งมืดมนของใจ ท่านพยายามบำเพ็ญโดยความสม่ำเสมอไม่หยุดชะงักหรือทอดทิ้งความพยายามใจที่ได้รับการบำรุงจากปุ๋ยที่ดี คือกุศลกรรม ก็ค่อย ๆ เจริญขึ้นโดยลำดับ จนสามารถบรรลุธรรมถึงชั้นอริยภูมิอันสูงสุด คือพระอรหัตตผล คำว่าพระอริยเจ้านั้น แปลว่าผู้ประเสริฐ เพราะธรรมที่ท่านได้บรรลุเป็นธรรมอันประเสริฐมีอยู่สี่ชั้น คือ ดังนี้ ชั้นพระโสดา  ชั้นพระสกิทาคา   ชั้นพระอนาคา   และชั้นพระอรหัตต์
 ผู้สำเร็จชั้นพระโสดา ท่านกล่าวไว้ว่า ละสังโยชน์ได้สาม คือสักกายทิฏฐิหนึ่ง วิจิกิจฉาหนึ่ง สีลัพพตปรามาสหนึ่ง  สักกายทิฏฐิที่แยกออกตามอาการของขันธ์มียี่สิบ โดยตั้งขันธ์ห้าแต่ละขันธ์ ๆ เป็นหลักของอาการนั้น ๆ ดังนี้ ความเห็นกายเป็นเรา เห็นเราเป็นกาย คือเห็นรูปกายของเรานี้เป็นเรา เห็นเราเป็นรูปกายอันนี้ เห็นรูปกายในอันนี้มีในเรา เห็นเรามีในรูปกาย อันนี้ รวมเป็นสี่ เห็นเวทนาเป็นเรา เห็นเราเป็นเวทนา เห็นเวทนามีในเรา เห็นเรามีในเวทนา นี่ก็รวมเป็นสี่เหมือนกันกับกองรูป  แม้สัญญา สังขาร วิญญาณก็มีนัยสี่ อย่างเดียวกัน  โปรดเทียบกันตามวิธีที่กล่าวมา คือขันธ์ห้าแต่ละขันธ์มีนัยเป็นสี่ สี่ ห้าครั้งเป็นยี่สิบ เป็นสักกายทิฏฐิยี่สิบ มีตามท่านกล่าวไว้ว่า พระโสดาบันบุคคลละได้โดยเด็ดขาด แต่ทางด้านปฏิบัติของธรรมะป่า รู้สึกจะคลาดเคลื่อนไปบ้าง เฉพาะสักกายทิฏฐิยี่สิบ นอกนั้นไม่มีข้อข้องใจในด้านปฏิบัติ จึงเรียนตามความเห็นของธรรมะป่าแทรกไว้บ้าง คงไม่เป็นอุปสรรคแก่การฟังและการอ่าน เมื่อเห็นว่าไม่ใช่ทางปลดเปลื้องตามนัยของสวากขาตธรรมแล้วก็กรุณาผ่านไป อย่าได้ถือเป็นอารมณ์ขัดข้องใจ ผู้ละสักกายทิฏฐิยี่สิบได้เด็ดขาดนั้น เมื่อสรุปแล้วก็พอได้ความว่า ผู้มิใช่ผู้เห็นขันธ์ห้าเป็นเรา เห็นเราเป็นขันธ์ เห็นขันธ์ห้ามีในเรา เห็นเรามีในขันธ์ห้า คิดว่าคงเป็นบุคคลประเภทไม่ควรแสวงหาครอบครัว ผัว-เมีย เพราะครอบครัว (ผัว-เมีย) เป็นเรื่องของขันธ์ห้า ซึ่งเป็นรวงรังของสักกายทิฏฐิที่ยังละไม่ขาดอยู่โดยดี ส่วนผู้ละสักกายทิฏฐิได้โดยเด็ดขาดแล้ว รูปกายก็หมดความหมายในทางกามารมณ์ เวทนาไม่เสวยกามารมณ์ สัญญาไม่จำหมายเพื่อกามารมณ์  สังขารไม่คิดปรุงแต่งเพื่อกามารมณ์  วิญญาณไม่รับทราบเพื่อกามารมณ์ ขันธ์ทั้งห้าของผู้นั้นไม่เป็นไปเพื่อกามารมณ์ คือประเพณีของโลกโดยประการทั้งปวง ขันธ์ห้าจำต้องเปลี่ยนหน้าที่ไปงานแผนกอื่นที่ตนเห็นว่ายังทำไม่สำเร็จโดยเลื่อนไปแผนกรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
 ผู้ละสักกายทิฏฐิยี่สิบได้โดยเด็ดขาด คิดว่าเป็นเรื่องของพระอนาคามีบุคคลเพราะเป็นผู้หมดความเยื่อใยในทางกามารมณ์ดังกล่าวแล้ว ส่วนพระโสดาบันบุคคลคิดว่าท่านรู้และละได้โดยข้ออุปมาว่า มีบุรุษผู้หนึ่งเดินทางเข้าไปในป่าลึกไปพบบึงแห่งหนึ่งมีน้ำใสสะอาดและมีรสจืดสนิทดี แต่น้ำนั้นถูกจอกแหนปกคลุมไว้ ไม่สามารถจะมองเห็นน้ำโดยชัดเจน เขาคนนั้นจึงแหวกจอกแหนที่ปกคลุมน้ำนั้นออกแล้วก็มองเห็นน้ำภายในบึงนั้นใสสะอาดและเป็นที่น่าดื่ม จึงตักขึ้นมาดื่มทดลองดู ก็รู้ว่าน้ำในบึงนั้นมีรสจืดสนิทดี เขาก็ตั้งหน้าดื่มจนเพียงพอกับความต้องการที่เขากระหายมาเป็นเวลานาน เมื่อดื่มพอกับความต้องการแล้วก็จากไป ส่วนจอกแหนที่ถูกเขาแหวกออกจากน้ำก็ไหลเข้ามาปกคลุมน้ำตามเดิม เขาคนนั้นแม้จากไปแล้วก็ยังมีความติดใจ และคิดถึงน้ำในบึงนั้นอยู่เสมอ และทุกครั้งที่เขาเข้าไปในป่านั้นต้องตรงไปที่บึงและแหวกจอกแหนออกแล้วตักขึ้นมาอาบดื่มและชำระล้างตามสบายทุก ๆ ครั้งที่เขาต้องการ เวลาเขาจากไปแล้วแม่น้ำในบึงนั้นจะถูกจอกแหนปกคลุมไว้อย่างมิดชิดก็ตาม แต่ความเชื่อที่เคยฝังอยู่ในใจเขาว่า น้ำในบึงนั้นมีอยู่อย่างสมบูรณ์หนึ่ง น้ำในบึงนั้นมีรสจืดสนิทหนึ่ง ความเชื่อทั้งนี้ของเขาจะไม่มีวันถอนตลอดกาล
 ข้อนี้ เทียบกันได้กับโยคาวจร ภาวนาพิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายชัดเจนด้วยปัญญาในขณะนั้นแล้ว จิตปล่อยวางจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หยั่งเข้าสู่ความสงบหมดจดโดยเฉพาะ ไม่มีความสัมพันธ์กับขันธ์ทั้งหลายเลย และขณะนั้น ขันธ์ทั้งห้าไม่ทำงานประสานกับจิตคือต่างอันต่างอยู่ เพราะถูกความเพียรแยกจากกันโดยเด็ดขาดแล้ว ขณะนั้นแลเป็นขณะที่เกิดความแปลกประหลาดและอัศจรรย์ขึ้นมาอย่างไม่มีสมัยใด ๆ เสมอเหมือนได้ นับแต่วันเกิดและวันปฏิบัติมา แต่ก็ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ปรากฏขึ้นในเวลานั้น จิตก็ได้ทรงตัวอยู่ในความสงบสุขชั่วระยะกาล แล้วจึงถอนขึ้นมา พอจิตถอนขึ้นมาจากที่นั้นแล้ว ขันธ์กับจิตก็เข้าประสานกันตามเดิม แต่หลักความเชื่อมั่นว่าจิตได้หยั่งลงถึงแดนแห่งความสงบอย่างเต็มที่หนึ่ง ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ได้แยกจากจิตโดยเด็ดขาดในเวลานั้นหนึ่ง ขณะจิตที่ทรงตัวอยู่ในความสงบเป็นจิตที่อัศจรรย์ยิ่งหนึ่ง ความเชื่อทั้งนี้ไม่มีวันถอนตลอดกาล เพราะความเชื่อประเภทอจลศรัทธา ความเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวโยกคลอนไปตามคำเล่าคือ โดยหาหลักฐานและเหตุผลมิได้ และเป็นความเชื่อมั่นประจำนิสัยของโยคาวจรผู้นั้นจากประสบการณ์นั้นแล้วก็ตั้งหน้าบำเพ็ญต่อไปเช่นที่เคยทำมาด้วยความดูดดื่มและเข้มแข็ง เพราะมีธรรมประเภทแม่เหล็กซึ่งเป็นพลังของศรัทธาประจำภายในใจ จิตก็หยั่งลงสู่ความสงบสุขและพักอยู่ตามกาลอันควร ทำนองที่เคยเป็นมา แต่ยังไม่สามารถทำใจให้ขาดจากความซึมซาบของขันธ์ได้โดยสิ้นเชิงเท่านั้น แม้เช่นนั้น ก็ไม่มีความท้อถอยในทางความเพียรเพื่อธรรมขั้นสูงขึ้นไปเป็นลำดับ ส่วนคุณสมบัติประจำใจของพระโสดาบันบุคคลนั้น คือหลักความเชื่อมั่นประเภทอจลศรัทธา เป็นผู้เชื่อมั่นต่อผลที่รู้เห็นประจักษ์ใจแล้วและเชื่อมั่นต่อคุณธรรมเบื้องสูงที่ตนยังไม่รู้ไม่เห็น สมานตฺตตา ความเป็นผู้วางตนเสมอ ไม่ถือตัวด้วยมานะชนิดใดชนิดหนึ่งกับคนทุกชั้น เป็นผู้มีธรรมครองใจ ไม่ถืออะไรให้ยิ่งกว่าเหตุการณ์ที่เห็นว่าถูกต้องด้วยเหตุผล พระโสดาบันบุคคลยอมรับและปฏิบัติตามทันทีไม่ยอมฝ่าฝืนหลักความจริง ไม่ว่าพระโสดาบันบุคคลจะเป็นคนชาติ ชั้น วรรณะใดย่อมให้ความสนิทสนมและความสม่ำเสมอกับคนทั่วไปไม่ลำเอียง แม้คนชั่วที่เคยประพฤติตัวไม่ดีมาแล้วตลอดสัตว์ดิรัจฉาน พระโสดาบันบุคคลก็ไม่รังเกียจ โดยเห็นว่าเขากับเราตกอยู่ในวงแห่งกรรมดี-กรรมชั่วเหมือนกัน ใครมีกรรมประเภทใดจำต้องยอมรับตามหลักกรรมที่ตนทำมาและยอมรับตามหลักความจริงที่เขาทำหรือเขายกเหตุผลขึ้นมาอ้างโดยถูกต้องในขณะนั้น โดยไม่ต้องรื้อฟื้นอดีตคือความเป็นมาของเขา ตลอดชาติ ชั้น วรรณะมาเป็นอุปสรรคต่อความจริงที่ตนเห็นว่าถูกต้อง รีบยึดถือมาเป็นคดีทันที นี้เป็นหลักธรรมประจำอัธยาศัยของพระโสดาบันบุคคล
 คำที่กล่าวมาด้วยความจนใจทั้งนี้เป็นการถูกต้อง พระโสดาบันบุคคลแสวงหาครอบครัวผัว-เมีย ก็ไม่ขัดข้องต่อประเพณีของผู้ละสักกายทิฏฐิยี่สิบอันเป็นรวงรังของกามารมณ์ยังไม่ได้เด็ดขาด สักกายทิฏฐิยี่สิบก็ไม่เป็นอุปสรรคแก่พระโสดาบันในทางครอบครัว เพราะเป็นคนละชั้น
 ท่านนักปฏิบัติโปรดยึดเอาเข็มทิศจากสวากขาตธรรมนำไปปฏิบัติจนเกิดความรู้ความเห็นขึ้นจำเพาะตนและกลายเป็นสมบัติของตนขึ้นมา นั่นแหละจะมีทางทราบได้ว่างานของเราเป็นงานประเภทหนึ่ง งานของท่านเป็นงานประเภทหนึ่ง แต่รวมผลรายได้เป็นตัวเงินอันเดียวกัน จะได้ร้อยบาท พันบาท หมื่นบาท หรือมากกว่านั้น ก็ทราบชัดว่าเงินจำนวนนี้เกิดจากผลงานที่ตนได้ทำความอุตส่าห์พยายามแสวงหามา มีมากหรือมีน้อยจะเป็นที่อุ่นอกอุ่นใจแก่ตนเอง อาจจะดีกว่าการคาดคะเนทรัพย์ในกระเป๋าของคนอื่น หรือการนำปริมาณทรัพย์ของคนอื่นมาถกเถียงกันโดยคู่ความทั้งสองไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากความแพ้ความชนะนั้น ๆ เลย ทั้งเป็นการตัดทอนสันทิฏฐิโกที่ทรงมอบให้เป็นสมบัติของผู้บำเพ็ญจะรับไปเป็นมรดก ให้ลดคุณภาพลง
 วิจิกิจฉา คือความสงสัย โดยสงสัยว่าตายแล้วเกิดหรือตายแล้วสูญ ถ้าตายแล้วเกิดแต่จะเกิดในภพชาติที่เคยเกิดหรือไม่ หรือจะเกิดเป็นอะไรในภพต่อไป คนตายแล้วเปลี่ยนภพชาติเกิดเป็นสัตว์ หรือสัตว์ตายแล้วเปลี่ยนภพชาติเกิดเป็นคนได้หรือไม่ คนตายแล้วสัตว์ตายแล้วไปอยู่ที่ไหนกัน กรรมดี-กรรมชั่วมีจริงไหม? และที่ทำลงไปแล้วให้ผลหรือไม่ ภพหน้าชาติหน้ามีจริงไหม? ทั้งนี้อยู่ในข่ายแห่งความสงสัยทั้งนั้น พระโสดาบันบุคคลคิดว่าท่านละได้ เพราะท่านรู้เห็นหลักความจริงประจำใจ ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาทั้งมวลที่กล่าวมา และยังเชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างฝังใจแบบถอนไม่ขึ้น ทั้งเชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าและพระธรรมว่าเป็นสวากขาตธรรมและเป็นนิยยานิกธรรม สามารถนำผู้ปฏิบัติตามให้ถึงความพ้นทุกข์ได้โดยลำดับ อย่างฝังใจอีกเช่นเดียวกัน
 ตามหลักความจริงของกฎธรรมชาติแล้ว ไม่มีอะไรสูญในโลก มีแต่ความเปลี่ยนแปลงของสังขารทุกประเภท ซึ่งไม่ใช่ธรรมชาติเดิมเท่านั้น เปลี่ยนแปลงตัวเองลงสู่ธรรมชาติ คือธาตุเดิมของเขาและเปลี่ยนแปลงตัวเองจากธรรมชาติเดิมขึ้นมาสู่ธาตุแฝงเช่นเป็นสัตว์ บุคคล เป็นต้น กรรมดีกรรมชั่ว ซึ่งเป็นสิ่งที่มีประจำสัตว์ผู้มีกิเลสเครื่องผลักดันและมีความรู้สึกในแง่ดี-ชั่วต่างกัน จำต้องทำกรรมอยู่โดยดี แล้วกรรมดีกรรมชั่วจะสูญไปไม่ได้ แม้ผลดีผลชั่วซึ่งผู้ทำกรรมจะรับเสวยเป็นความสุขความทุกข์จำต้องเป็นคู่กัน โดยจะเสื่อมสูญไปไม่ได้เหมือนกัน นอกจากผู้ทำใจให้หมดเชื้อจากภพชาติแล้วเท่านั้น จะเป็นผู้หมดปัญหาในเรื่องการเกิด-ตาย เพราะการทำดีทำชั่วและได้รับผลดี-ชั่ว ทั้งนี้เป็นสาเหตุมาจากเชื้อแห่งภพชาติที่ฝังอยู่ภายในใจเป็นมูลฐาน นอกจากนี้แล้วจะไม่อยู่ในอำนาจคำปฏิเสธและคำรับรองของผู้ใด เช่นเดียวกับความมืด ความสว่างตั้งอยู่เหนือโลกธรรมของโลก ฉะนั้น
 สีลัพพตปรามาส ท่านแปลว่า การลูบคลำศีลพรตเป็นสังโยชน์เครื่องข้องอันดับสาม การลูบคลำเกิดจากความไม่ไว้ใจ ถ้าเป็นลูกหญิงลูกชายก็เป็นที่ไม่ไว้ใจของพ่อแม่ อาจจะทำความหนักใจให้พ่อแม่ได้รับทุกข์อยู่เรื่อย ๆ เช่นลูกหญิงประพฤติตัวไม่สมศักดิ์ศรีของหญิง ทำคุณค่าของหญิงให้ต่ำลง เป็นคนชอบเที่ยว ชอบเกี้ยวผู้ชาย ชอบทำตัวในลักษณะขายก่อนซื้อ ใครชมว่าดี ว่าหญิงคนสวยที่ไหนเกิดความติดใจ เชื่อง่ายจ่ายไปโดยไม่คิดมูลค่าเพื่อความเป็นคู่ครอง ไปที่ไหนแฟนคอยแอบแฝงและติดตามเป็นพวง ๆ ประหนึ่งเขาร้อยปูนาปลาทะเลไปขายที่ตลาด ครั้นแล้วกลายเป็นเขาร้อยหญิงปรามาส หญิงประเภทนี้เรียกว่าหญิงปรามาส เป็นที่ลูบคลำของชายทั่ว ๆ ไปด้วย เป็นหญิงปรามาสสำหรับพ่อแม่จะต้องหนักใจในการว่ากล่าวสั่งสอนซ้ำ ๆ ซาก ๆ ด้วย เป็นหญิงชอบค้าประเวณีอันเป็นที่อับอายและขายหน้าของวงศ์สกุลด้วย
 ถ้าผู้เป็นลูกชายก็ทำความหนักใจให้พ่อแม่อีกทางหนึ่ง เช่นประพฤติตัวเป็นคนเกเร ขี้เกียจเรียนหนังสือและไปโรงเรียน เพื่อนชวนไปเที่ยวและเกี้ยวผู้หญิงที่ไหนเป็นที่พอใจ ไปโดยไม่บอกลาผู้ปกครองทางบ้านและโรงเรียนให้ทราบหัวท้ายปลายเท้าเลย ไปแสวงหาความสนุกสนานรื่นเริงโดยวิธีชิงสุกก่อนห่าม ครูทางโรงเรียนเห็นท่าไม่ดี เพราะเด็กขาดโรงเรียนไปหลายวัน เข้าใจว่าเด็กขโมยมาที่บ้าน รีบมาหาผู้ปกครองทางบ้านถามเรื่องราวของเด็กคนเก พ่อแม่ผู้ปกครองทางบ้านเกิดงงงันอั้นตู้และพูดออกมาด้วยความตื่นเต้นตกใจว่า อ้อ ก็ได้มอบเด็กให้อยู่กับครูที่โรงเรียนแล้ว ทางบ้านก็ไม่สนใจเพราะเข้าใจว่าเด็กอยู่ประจำที่โรงเรียน เรื่องก็เลยยุ่งกันใหญ่ เพราะผู้ปกครองทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่รู้เรื่องของเด็ก ไฟที่เด็กก่อขึ้นเพื่อประโยชน์เฉพาะตัว จึงลุกลามไปไหม้ทั้งครูผู้ปกครอง ทางโรงเรียนและพ่อแม่ของเด็กทางบ้านให้กลายเป็นเพลิงทั้งกองไปด้วยกัน ทั้งนี้เป็นเรื่องหนักใจแก่พ่อแม่ไม่น้อยเลย เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นลูกชายประเภทที่กล่าวนี้เรียกว่า ชายปรามาส พ่อแม่ต้องทุกข์แล้วทุกข์เล่า สั่งสอนแล้วอบรมเล่า ไม่มีเวลาปิดปากสนิทลงได้เลย ต้องลูบต้องคลำอยู่เช่นนั้น ไม่เป็นอันกินอยู่หลับนอนให้สนิทได้
 ถ้าเป็นสามีก็คือสามีที่ไม่น่าไว้ใจ กลัวจะไปคบชู้สู่แฟนในสถานที่ต่าง ๆ เวลาลับหูลับตาลูกเมียเที่ยวพ่วงผู้หญิงตามตรอกตามซอย แล้วนำไฟปรมาณูมาเผาผลาญลูกเมียและครอบครัว เพราะตามธรรมดาผู้ชายชอบเป็นนักเที่ยว นักเกี้ยวผู้หญิงและนักฉวยโอกาส ผู้หญิงคนใดใจลอยพลอยเชื่อง่ายมักจะถูกต้มจากฝ่ายชายเสมอ ผู้ชายที่ไม่ค่อยจะเห็นคู่ครองเป็นของสำคัญ โดยมากมันเป็นคนเสียหายในทางกามารมณ์ เบื้องต้นก็เห็นเหยื่อ (หญิง) ที่ผ่านเข้ามาอย่างลอย ๆ นั้นว่าเป็นอาหารว่าง แต่ไม่ได้คำนึงถึงปลาที่ติดเบ็ดจนถึงตายเพราะเหยื่อล่อ ปล่อยเลยตามเลยจึงต้องเสียคน ผู้มีครอบครัวเป็นหลักฐานประพฤติให้หนักไปทางอารมณ์ จึงเป็นความเสื่อมเสียแก่ตนและครอบครัว หญิงผู้มีสามีประเภทชอบแสวงหาอาหารว่างเป็นนิสัยจึงเป็นที่หนักใจยิ่งกว่าภูเขาทั้งลูก กินอยู่หลับนอนไม่เป็นสุข ฉะนั้น สามีประเภทอาหารว่างนี้ จึงควรให้นามว่าสามีปรามาสของภรรยา เพราะต้องรับประทานข้าวกับน้ำตา เนื่องจากความประพฤติระแวงจากสามีเสมอ ปล่อยอารมณ์ให้สบายใจสักนิดไม่ได้เลย
 ถ้าเป็นภรรยาก็เป็นภรรยาที่ไม่น่าไว้ใจของสามีเช่นเดียวกัน เป็นคนผลาญทรัพย์กลับใจ มีนิสัยเหมือนวานร ทั้งเป็นคู่รัก ทั้งเป็นคู่เวร ชอบเที่ยวแสวงหาสิ่งแปลก ๆ เป็นอาหารในเวลาวิกาลแบบนกค้างคาว กลับมาถึงบ้านก็ทำการเคี่ยวเข็ญสามี ทำท่าตีโพยตีพายหาโทษร้ายป้ายสีสามี เพื่อหาอุบายหนีจากสามีไปตามชู้ กิจการงานซึ่งเป็นหน้าที่ของแม่บ้านในครอบครัวจะจัดทำไม่นำพา สอดหูส่ายตามองไปมองมาล้วนแต่เป็นเรื่องมารยามองทางหาแฟน หนักเข้าก็นำเงินไปมอบให้ชายชู้ จ้างคนมาฆ่าสามีของตัวเพื่อครองรักกับเขา ถ้าเป็นหญิงประเภทนี้ก็ควรให้นามว่าภรรยาปรามาส เพราะก่อกรรมทำเข็ญให้สามีได้รับความทุกข์ทรมานและปวดร้าวในหัวใจไม่มีวันสร่าง ทั้งเป็นการเสี่ยงภัยต่อชีวิตอันอาจเกิดขึ้นจากภรรยาเพชฌฆาตผู้คอยสังหารอยู่ตลอดเวลาที่ได้โอกาส
 ถ้าเป็นสมบัติ มีรถราเป็นต้น ก็เป็นที่ไม่น่าไว้ใจ จะขับขี่ไปทางไหนก็กลัวอันตรายต้องเข้าโรงซ่อมบ่อย ๆ ไม่เช่นนั้นก็จะพาเจ้าของไปคว่ำจมดินที่ไหนไม่แน่ทั้งนั้น ต้องตรวจดูเครื่องทุกเวลาก่อนจะขับขี่ไปไหนมาไหน ลักษณะที่กล่าวมาทั้งนี้เข้าในข่ายของคำว่าปรามาส คือการลูบคลำทั้งนั้น
 ถ้าเป็นศีลก็เป็นศีลประเภทล้มลุก คนผู้รักษาศีลก็เป็นบุคคลล้มลุก เดี๋ยวก็ทำศีลให้ขาด เดี๋ยวก็ไปรับศีลใหม่ รับแล้วรับเล่า ขาดแล้วขาดเล่า จนตัวเองก็ไม่แน่ใจว่าตนมีศีลหรือเปล่า ทั้ง ๆ ที่รับศีลแล้วรับศีลเล่าอยู่นั่นเอง ทั้งนี้หมายถึงศีลของสามัญชนทั่ว ๆ ไปเพราะรับแล้ววันนี้คราวนี้ แต่วันหน้าคราวหน้าต้องรับอีก เหล่านี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส เพราะลูบคลำศีลเหมือนลูบคลำบาดแผล
 พระอริยบุคคลชั้นพระโสดาบัน แม้จะเป็นฆราวาสก็เป็นผู้แน่วแน่ในศีลที่ตนรักษาอยู่ ไม่รับศีลแล้วรับศีลเล่าเหมือนสามัญชน     เพราะท่านเชื่อเจตนาของตนและรักษาศีลด้วยความระมัด
ระวังไม่ยอมให้ศีลขาดหรือด่างพร้อยด้วยเจตนาล่วงเกิน แม้จะเป็นผู้นำหน้าของหมู่ชน ก็เพียงรับเป็นจารีตของผู้เป็นหัวหน้าเท่านั้น แต่เจตนาจะรับเพราะเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีศีลขาดหรือด่างพร้อยนั้น ไม่มีในพระโสดาบันบุคคลเลย
 พระสกิทาคา ท่านว่าทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาลง นี่ทางด้านปฏิบัติไม่มีข้อข้องใจ จึงขอยุติไว้เพียงนี้                   
 พระอนาคามีละสังโยชน์ได้ห้า คือสามกับที่ผ่านมาแล้วและละเพิ่มได้อีกสองข้อ คือกามราคะ ความยินดีในประเพณีของโลก และปฏิฆะความหงุดหงิดใจ ส่วนกามราคะนั้นอยู่ในวงของรูปกาย ตามความเห็นของธรรมะป่าว่า สักกายทิฏฐิยี่สิบนั่นแลเป็นบ่อของกามราคะแท้ ควรเป็นภาระของพระอนาคามีเป็นผู้ละได้โดยเด็ดขาด เพราะผู้จะก้าวขึ้นสู่ภูมิอนาคามีโดยสมบูรณ์จำต้องพิจารณาขันธ์ห้าโดยความรอบคอบด้วยปัญญาแล้วผ่านไปด้วยความหมดเยื่อใย คือสามารถพิจารณาส่วนแห่งร่างกายทุกส่วน เห็นด้วยความเป็นปฏิกูลด้วย โดยความเป็นไตรลักษณ์ด้วย ประจักษ์กับใจจนทราบชัดว่าทุกส่วนในร่างกายสะท้อนนี้มีความปฏิกูลเต็มไปหมด ความปฏิกูลของร่างกายที่ปรากฏเป็นภาพอยู่ภายนอก กลับย้อนเข้ามาสู่วงของจิตภายในโดยเฉพาะ และทราบชัดว่าความเป็นสุภะทั้งนี้เป็นเรื่องของจิตออกไปวาดภาพขึ้นมา แล้วเกิดความกำหนัดยินดีก็ดี ความเป็นอสุภะที่จิตออกไปวาดภาพขึ้นแล้วเกิดความเบื่อหน่ายและอิดหนาละอาใจต่อความเป็นอยู่ของร่างกายทุกส่วนก็ดี ในภาพทั้งสองนี้จะรวมเข้าสู่จิตดวงเดียว คือมิได้ปรากฏออกภายนอกดังที่เคยเป็นมา จิตได้เห็นโทษแห่งภาพภายนอกที่ตนวาดขึ้นอย่างเต็มใจ พร้อมทั้งการปล่อยวางจากสุภะและอสุภะภายนอกที่เกี่ยวโยงกับส่วนร่างกายที่ตนเคยพิจารณา ถอนอุปาทานความถือกายออกได้โดยสิ้นเชิง เรื่องของกามราคะซึ่งเกี่ยวกับกายก็ยุติลงได้ในขณะที่ถอนจิตอุปาทานจากกาย โดยผ่านออกระหว่างสุภะและอสุภะต่อกัน หมดความเยื่อใยในสุภะและอสุภะทั้งสองประเภท
 ปฏิฆะ ความหงุดหงิดของใจ ข้อนี้ทางด้านปฏิบัติไม่มีแปลกต่างและข้องใจ จึงขอยุติไว้เพียงเท่านี้
 อันดับสี่คือ อรหัตตภูมิ ท่านว่าละสังโยชน์ได้สิบ คือสังโยชน์เบื้องต่ำห้าที่กล่าวผ่านมาแล้วกับสังโยชน์เบื้องบนอีกห้า คือรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
 รูปราคะ ความกำหนัดยินดีในรูปไม่ได้หมายถึงรูปหญิง รูปชาย และรูปพัสดุสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งเป็นของภายนอกและเป็นส่วนหยาบ ๆ แต่หมายถึงนิมิตที่ปรากฏกับจิตอยู่ภายในโดยเฉพาะ คือภาพที่ได้จากภายนอกตามที่กล่าวผ่านมา ซึ่งย้อนกลับเข้ามาอยู่ในวงของจิตโดยเฉพาะ ผู้พิจารณาจำต้องถือนิมิตนี้เป็นอารมณ์ของจิต หรือเป็นเครื่องเพ่งเล็งของจิตจะว่าจิตยินดีหรือติดรูปฌานก็ถูก เพราะจิตชั้นนี้ต้องทำการฝึกซ้อมความเข้าใจเพื่อความชำนาญอยู่กับนิมิตภายใน โดยไม่เกี่ยวกับกายอีกเลย จนเกิดความชำนิชำนาญในการปรุงและทำลายภาพภายในจิต ให้มีการปรากฏขึ้นและดับไปแห่งภาพได้อย่างรวดเร็ว แต่การเกิด-ดับของภาพทั้งนี้เป็นการเกิด-ดับอยู่จำเพาะใจ มิได้เกิด-ดับอยู่ภายนอกเหมือนแต่ก่อน ซึ่งจิตกำลังเกี่ยวข้องอยู่กับกายเลย แม้ความเกิด-ดับของภาพภายใน เมื่อถูกสติปัญญาจดจ้องเพ่งเล็งอยู่ไม่หยุด ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองไปโดยลำดับ ความเกิด-ดับของภาพชนิดนี้ นับวันและเวลาเร็วเข้าทุกทีจนปรากฏเหมือนฟ้าแลบแล้วดับไป ผลสุดท้ายก็หมดไป ไม่มีนิมิตเหลืออยู่ภายในใจเลย พร้อมทั้งความรู้เท่าทันว่าภาพนี้ก็มีความสลายไปเช่นเดียวกับสภาวธรรมอื่น ๆ จากนั้นก็เป็นสูญญากาศว่างเปล่า ไม่มีนิมิตภายในจิต แม้ร่างกายจะทรงตัวอยู่แต่ในความรู้สึกนั้นปรากฏเป็นความว่างเปล่าไปหมด ไม่มีภาพใด ๆ เหลืออยู่ภายในจิตเลย
 อรูปราคะ คือความยินดีในสุขเวทนาหรือรูปฌาน ข้อนี้ทางด้านปฏิบัติไม่มีข้อข้องใจ จึงขอยุติไว้
 มานะ ความถือตัว แยกออกเป็นมานะ ๙ คือความสำคัญใจ ๙ อย่าง เช่นตัวมีภูมิธรรมต่ำกว่าเขา สำคัญว่าต่ำกว่าเขาบ้าง เสมอเขาบ้าง ยิ่งกว่าเขาบ้าง ตนมีภูมิธรรมเสมอเขา สำคัญว่าต่ำกว่าเขาบ้าง เสมอเขาบ้าง ยิ่งกว่าเขาบ้าง และตนมีภูมิธรรมยิ่งกว่าเขา แต่สำคัญว่าต่ำกว่าเขาบ้าง เสมอเขาบ้าง ยิ่งกว่าเขาบ้าง ความสำคัญทั้งนี้เป็นการผิดทั้งนั้น ถ้าพูดตามธรรมชั้นสูง เพราะความสำคัญเป็นเรื่องของกิเลส จึงควรแก้ไขจนไม่มีอะไรมาแสดงความสำคัญภายในใจ จะชื่อว่าเป็นใจที่บริสุทธิ์เพราะหมดความคะนองส่วนละเอียด
 อุทธัจจะ ความฟุ้งของใจ นี้ไม่ได้หมายถึงความฟุ้งซ่านแบบสามัญชนทั่ว ๆ ไป แต่เป็นกิริยาแห่งความขยันหมั่นเพียรและเพลิดเพลินของพระอรหันต์ชั้นนี้ ท่านทำการขุดค้นหาต้นตอของวัฏฏะด้วยสติปัญญาอันแหลมคมของท่าต่างหาก แต่การทำทั้งนี้รู้สึกจะมุ่งสำเร็จให้ทันกับความหวังของใจที่มีกำลังกล้าต่อแดนพ้นทุกข์ จึงไม่ค่อยคำนึงถึงมัชฌิมา คือความพอดี ได้แก่การพักผ่อนจิตให้เข้าสูความสงบสุขคือสมาธิ เพราะปัญญาชั้นนี้คิดไปเท่าไรก็ยิ่งเห็นทางถอดถอนกิเลสอาสวะโดยลำดับ ซึ่งเป็นโอกาสให้ผู้พิจารณามีความเพลินต่องานของตน จนลืมพักจิตในความสงบคือสมาธิเพื่อเป็นกำลังทางด้านปัญญาต่อไป เพราะเห็นว่าการพักจิตในสมาธิก็ดี การพักหลับนอนก็ดีเป็นการเนิ่นช้าต่อทางดำเนิน ฉะนั้น จิตจึงมีความเร่งรีบและเพลิดเพลินต่อการพิจารณาจนเลยเถิด ซึ่งเป็นทางผิดได้อีกทางหนึ่ง ที่ท่านให้นามว่า สังโยชน์ คือเครื่องผูกมัดใจ
 อวิชชา ถ้าหมายถึงอวิชชาทั่ว ๆ ไปในสามัญชนและสามัญสัตว์ก็ขอแปลแบบพระป่าว่ารู้แกมโง่ ฉลาดแกมโกง ทั้งรู้ทั้งหลง จับเอาตัวจริงไม่ได้ เรียกว่าอวิชชาชั้นหยาบ ส่วนอวิชชาชั้นละเอียดที่ท่านกล่าวไว้ในสังโยชน์เบื้องบนนั้น ตามความรู้สึกของธรรมะป่าว่า คือความหลงจิตดวงเดียวเท่านั้น เพราะสิ่งอื่น ๆ สามารถรู้เท่าและปล่อยวางได้ แต่กลับมาหลงตัวเอง ท่านจึงให้นามว่า “อวิชชา” แปลว่ารู้ไม่รอบ รู้ไม่ชัดเจนยังมีเงาปิดบังตัวเองไว้ ต่อเมื่อสติปัญญาเพียงพอเพราะอาศัยการขุดค้นไตร่ตรองเสมอ นั่นแลจิตจึงจะรู้ขึ้นมาว่า อวิชชาคือความหลงตัวเองเท่านั้น พอปัญญาได้หยั่งทราบ อวิชชาก็ดับลง ในขณะเดียวไม่มีอวิชชาตัวไหนจะยังเหลืออยู่ในจิตอีกเลย คำว่าอุทธัจจะ คือความฟุ้งในการพิจารณาก็ดี มานะความถือจิตก็ดี ย่อมหมดปัญหาลงในขณะเดียวกันกับขณะอวิชชาดับไป เพราะหมดต้นเหตุที่จะทำให้เพลิดเพลินและถือมั่นโดยประการทั้งปวงแล้ว เรื่องทั้งหมดก็มีอวิชชาคือสิ่งที่แปลกประหลาดอันเดียวเท่านั้นเป็นต้นหตุสำคัญในไตรภพเพราะเป็นสิ่งที่น่ารู้ และน่าหลงเคลือบแฝงอยู่ในตัวของมันอย่างพร้อมมูล ผู้ปฏิบัติถ้าไม่สันทัดทางด้านปัญญาจริง ๆ จะหาทางออกจากอวิชชาได้โดยยาก เพราะอวิชชาทั่ว ๆ ไปกับตัวอวิชชาจริง ๆ รู้สึกผิดแปลกกันมาก อวิชชาทั่ว ๆ ไปได้แก่ธรรมชาติที่รวมความหลงทั้งภายนอกและภายในเป็นตัวกิเลสไว้ด้วยกัน เช่นเดียวกับไม้ทั้งต้น ซึ่งรวมสิ่งต่าง ๆ ของมันไว้ ส่วนอวิชชาจริง ๆ ได้แก่ธรรมชาติที่ถูกตัดต้นโค่นรากจากความเพียรมาเป็นลำดับ จนหายพยศจากสิ่งต่าง ๆ เข้ามาเป็นระยะ ๆ สุดท้ายก็มารวมลงที่จิตแห่งเดียว จุดนี้แลเป็นจุดตัวจริงของอวิชชาแท้ แต่ขณะนี้อวิชชาไม่มีสมุนเป็นบริวารเหมือนสมัยที่กำลังเรืองอำนาจ ตัวอวิชชาแท้นี้เป็นที่เก็บรวมสิ่งต่าง ๆ ที่แปลกประหลาดซ่อนไว้กับตัวของมันหลายอย่าง ซึ่งเราไม่เคยคาดหมายไว้ก่อนเลย เช่นเดียวกับยาพิษที่แทรกอยู่กับวัตถุชิ้นเล็ก ๆ เป็นเครื่องล่อสัตว์ให้ตายฉะนั้น สิ่งแทรกซึมอยู่กับตัวอวิชชาแท้นั้น ที่พอจะนำมาอธิบายให้ท่านผู้ฟังได้ก็เพียงเล็กน้อย เพราะไม่สามารถจะนำมาเทียบกับสมมุติให้เหมือนตัวจริงของสิ่งเหล่านั้นได้สมความต้องการ สิ่งแทรกซึมนั้นคือความผ่องใสเด่นดวง ประหนึ่งเป็นสิ่งสำเร็จรูปโดยสมบูรณ์แล้ว หนึ่ง   ความสุขเพราะอำนาจความผ่องใสครองตัวอยู่ เป็นความสุขที่แปลกประหลาดมาก ประหนึ่งเป็นความสุขที่พ้นจากแดนสมมุติทั้งปวง หนึ่ง   ความองอาจภายในตัวเองประหนึ่งจะไม่มีสิ่งอาจเอื้อมเข้าไปเกี่ยวข้องได้ หนึ่ง  ความติดใจและสงวนธรรมชาตินั้นประหนึ่งทองคำธรรมชาติ หนึ่ง   สิ่งเหล่านี้แลเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินเพื่อสันติธรรมอันแท้จริง โดยเจ้าตัวไม่รู้สึกในเวลานั้น ต่อเมื่อได้ผ่านอุปสรรคเหล่านี้ไปแล้ว จึงจะทราบความผิดถูกของตน เมื่อย้อนกลับคืนพิจารณาข้างหลังที่เคยดำเนินมาก็ทราบได้ชัดว่าเราดำเนินมาถึงที่นั้น คดโค้งไปหรือผิดเพี้ยนไป ระยะนั้นเราติดความสงบ คือติดสมาธิมากไป ระยะนั้นเราพิจารณาทางด้านปัญญามากไป ไม่สม่ำเสมอทั้งด้านสมาธิและด้านปัญญา ความเพียรจึงช้าไปในระยะนั้น ๆ ย่อมทราบย้อนหลังโดยตลอด สิ่งที่จะให้เกิด-ตายต่อไปอีกคืออะไร ย่อมทราบชัดจากขณะอวิชชาดับไปแล้ว จากนั้นเป็นผู้หมดกังวลทั้งอดีตที่เคยเป็นมาของตน ทั้งอนาคตที่จะพาให้เป็นไปข้างหน้า เพราะปัจจุบันจิตขาดการติดต่อกับเรื่องทั้งหลายโดยประการทั้งปวงแล้ว
 ธรรมทั้งนี้ได้อธิบายตามปริยัติบ้าง ตามความเห็นของธรรมะป่าบ้าง เมื่อผิดบ้างถูกบ้างก็ขออภัยจากท่านผู้ฟังผู้อ่านทุกท่านด้วย เพราะแสดงไปตามความเข้าใจแบบป่า ๆ ที่ได้ปฏิบัติมา และพร้อมที่จะรับฟังเหตุผลผิดถูกและติชมจากท่านผู้มีเมตตาเสมอ
 วิธีปฏิบัติเพื่อความสุขความเจริญเป็นขั้น ๆ และประจักษ์ใจ คือการอบรมภาวนาคุณงามความดีอื่น ๆ ย่อมเป็นเครื่องอุดหนุนกันไป ขึ้นชื่อว่าความดีแล้วต้องเป็นเครื่องหนุนกันไปทั้งนั้น เช่นเดียวกับพริก แม้จะเป็นเม็ดเล็ก ๆ หรือเม็ดไม่ค่อยจะเต็มเท่าไรก็ตาม เมื่อนำมาผสมกันตำลงในครกแล้วคดออกมาใส่ถ้วยหรือจาน ขณะรับประทานจะจิ้มลงไปด้านไหนของถ้วยหรือจานนั้นย่อมมีรสเผ็ดเช่นเดียวกันหมด ไม่ได้นิยมว่าด้านนั้นพริกเต็ม ด้านนี้พริกลีบ ขึ้นชื่อว่าความดีแล้วไม่ว่าจะเกิดจากกุศลกรรมประเภทใดรวมกันแล้วจะกลายเป็นกองบุญอันใหญ่โตเช่นเดียวกัน ดังนั้นโปรดท่านผู้ฟังทุกท่านซึ่งมีความมุ่งหวังในธรรมอย่างเต็มใจ นำไปปฏิบัติดัดแปลงตัวเองตามฐานะให้ถูกเข็มทิศทางเดินของธรรม ในขณะที่มีชีวิตอยู่ แม้ถึงคราวจำเป็นซึ่งทุกคนจำต้องเผชิญ จิตจะมีหลักยึดไม่รวนเรไปในทางผิด จะก้าวไปตามทางผิดนิยยานิกธรรม นำตนให้ถึงสุขในคติภพนั้น ๆ ขึ้นชื่อว่าความสุขความเจริญที่เรารำพึงรำพันอยู่ทุกขณะจิตนั้นจะกลายมาเป็นสมบัติเครื่องครองของใจในภพของตน ๆ โดยไม่ต้องสงสัย
 ในอวสานแห่งธรรม จึงขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยตามคุ้มครองรักษาท่านทั้งหลายให้มีแต่ความสุขกายสบายใจ นึกสิ่งใดจงสมหวังความปรารถนาทุกประการเทอญฯ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16606 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2560, 07:10:30 »



เมื่อมีเกิด ก็ย่อมมีแก่ มีเจ็บ และตายลง เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต

วันที่ ๑ กันยายน เป็นวันครบ ๑๐๐ วัน ที่ รองศาสตราจารย์พินิจ   เพิ่มพงษ์พันธ์   อดีตผู้ช่วยอนุสาสกหอพักนิสิต จุฬาฯ ได้จากโลกนี้ไป เหลือเอาไว้แต่ความดีงาม ให้พวกเราชาวซีมะโด่ง  ได้ระลึกถึง

คนเราเกิดมา ประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และวิญญาณธาตุ เมื่อทุกอย่างแตกสลาย(ในภาษาธรรม คือธาตุทั้ง ๕ ไม่รวบตัวเป็นหนึ่งเดียว ก็จบชีวิตลง) วิญญาณก็ต้องเดินทางไกล(ไปเกิดในวัฏฏสงสาร ไม่รู้กี่ชาติ ถึงจะวนเวียนมาเกิดเป็นมนุษย์อีก เพื่อบำเพ็ญความเพียร เพื่อความพ้นทุกข์ถาวร) จนกว่าจะพบความจริงในสัจจธรรม จนหมดกิเลส พ้นทุกข์ภาวร ถึงซึ่งพระนิพพาน

เราในเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ต้องเพียรดำรงชีวิตโดยยึดหลัก มรรคมีองค์ ๘ ประการ เอาไว้ให้มั่น ซื่อประกอบด่วย สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะสัมมาสติ และสัมมาสมาธิ หรือ อยู่ในศีล  สมาธิ ปัญญา นั่นเอง เพียรสร้างบารมี ๑๐ ทัศน์ มีหิริ โอตัปปะ ให้มาก ชีวิตจะมีแต่สุข สงบ

อาจารย์พินิจ   ท่านจากไปแล้ว เราระลึกถึงคุณความดีของท่าน ก็มาทำบุญอุทิศกุซลให้ท่าน เป็นการทำความดี ครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16607 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2560, 06:38:53 »



วันอาทิตย์ที่ ๒๗ สิงหาคม
ทางครอบครัว อาจารย์ พี่ติ๋ว ลูก หลาน ๆ ได้จัดทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้ รองศาสตราจารย์พินิจ  เพิ่มพงศ์พันธุ์
ที่วัดใหม่ทองเสน  ก่อนถึงสี่แยกเกียกกาย วัดนี้ เป็นวัดที่มาแต่เดิมสมัยอยุธยา  เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เป็นชาวอุบลราชธานี ท่านได้รับการร้องขอให้มาเป็นเจ้าอาวาส
วัดนี้เดิมทีปล่อยรกร้าง เต็มไปด้วยสลัม ร้านค้า ต้นไม้ จึงไม่ค่อยมีพระมาอยู่ดูแล
วันหนึ่ง เจ้าอาวาส ท่านได้รับนิมนต์ไปเทศน์ ที่สมาคมชาวอุบลราชธานี ได้รู้จักกับท่านอาจารย์เผ่า  ท่านจึงขอให้คุณโยมอาจารย์ มาช่วยออกแบบ คุมการก่อสร้างในการบูรณะวัดขึ้นมาใหม่
อาจารย์เผ่า ได้ช่วยปฏิสังขร วัดเสียใหม่ อนุรักษ์อาคารเดิม เอาไว้ปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่  จนเป็นวัดที่ร่มรื่น น่าไปทำบุญ มากครับ
และเท่าที่เห็นวัดนี้ ไม่มีเมรุเผาศพ อยู่ในเขตทหาร มีประชาชนไปทำบุญจำนวนมาก วันเสาร์-อาทิตย์

เป็น กวัดหนึ่งใน กทม. ที่น่าเข้าไปศึกษา ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16608 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2560, 07:31:00 »



พี่ติ๋ว
เป็นประธานจุดธูป-เทียน
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16609 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2560, 07:31:46 »



พี่สิงห์
รับหน้าที่มัคคนายก
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16610 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2560, 07:32:43 »



บางส่วนของชาวซีมะโด่ง ที่มาร่วมงาน
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16611 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2560, 07:33:32 »

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16612 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2560, 07:34:30 »



รุ่น 2513 มากันถึง ๕ ท่าน
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16613 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2560, 07:35:36 »



พบกันครั้งหน้า ทำบุญครบ ๑ ปี ครับ

ขอขอบคุณท่าน อาจารย์เผ่า   สุวรรณศักดิ์ศรี  ที่รับเป็นธุระ หาวัดให้มาทำบุญกันครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16614 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2560, 05:55:45 »



วันนี้  วันพระ

ข่าวสารต่าง ๆ ผ่านมา แล้วก็ผ่านไป!
เมื่อมันผ่านมา ผัสสะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ผัสสะแล้วก็ให้มีสติ ใช้ปัญญาพิจารณา ถูกต้องไหม? เราทำอะไรได้ไหม? เมื่อทำไม่ได้ ก็ปล่อยผ่านไป ทุกสิ่งเป็นธรรมดาแบบนี้
แต่เมื่อไรเราไปยึดเอาไว้ เป็นตัวกู ของกู กูคิด กูชอบ กูไม่ชอบ มันมีแต่ทุกข์ครับ

ขอเพียงท่านมีสติ สิ่งที่ผ่านมา มันก็ผ่านไป คือดับลงตามธรนมชาตอของมันแบบนั้น นั่นเอง

สวัสดีครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16615 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2560, 20:37:55 »



ขิตมนุษย์นั้นฝึกได้
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16616 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2560, 20:40:17 »



โม ลูกสาวหนึ่ง ได้รับการสั่งสอน ให้หัดใส่บาตร เพื่อให้เขารู้จักการให้ และรู้จักไหว้พระ ด้วยการให้ใส่บาตรพระที่หน้าบ้าน ตั้งแต่ยังเดินไม่ได้

ไม่ใช่เด็กทั่วไป จะทำได้ ต้องมีกรรมเก่าเคยสร้างมาด้วย จึงมาพบพุทธศาสนา เมื่อสอน จิต จำได้ ก็สามารถปฏิบัติได้ตามธรรมชาติ และรู้เรื่อง

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16617 เมื่อ: 31 สิงหาคม 2560, 08:30:06 »



คนเรากว่าจะตาย ยังต้องอยู่กับความคิด?
จงหยุดการเปรียบเทียบกับบุคคลอื่น เสีย จะพบแต่ความสุขแบบพอเพียงแห่งอัตตภาพของตนเอง
ขอทานก็มีความสุขได้  คนรวยก็มีความสุขได้ คนกลาง ๆ ก็มีความสุขได้ ทุกคนมีสิทธิที่จะมีความสุขได้เท่าเทียมกัน อยู่ที่ว่าท่านจะให้โอกาส ตนเองหรือไม่

เมื่อใดที่ท่านมีสติ รู้สึกตัวเมื่อนั่น ท่านก็จะหยุดคิด  เมื่อหยุดคิด จิตมันก็สงบ จิตสงบท่านก็จะพบแด่ความสุข และสุขปราณีตยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก

แต่เพราะสติที่เกิดขึ้นนั้น มันเกิดได้ไม่นาน พอท่านผัสสะทางอายตนะ จิตมันก็ไปคิด ไปปรุงแต่ง เกิดอารมภ์อีกแล้ว
ความคิด  อารมภ็ที่เกิดขึ้น เป็นตัวกู ของกู ทั้งนั้น เมื่อเป็นตัวกูของกู ก็มีแต่ทุกข์ตามมา

จงหาเวลาเจริญสติ ให้สติมันงอกงามตามธรรมชาติ ให้สติมันอยู่กับท่านนาน ๆ ในแต่ละครั้งที่ภาวนา จนสติมันเป็นสมาธิ เป็นสัมมาทิฐิ เป็นสัมมาสมาธิ ก็จะเกิดขึ้นกับท่านได้ ได้นานขึ้น ๆ จนอยู่กับท่านได้ทั้งวัน สุขถาวรก็บังเกิดขึ้นกับท่านเอง เพราะท่านไม่ได้คิด ไม่ได้หลงคิด ไม่ได้อยู่กับอารมภ์ที่เกิดขึ้น สุดท้ายท่านจะเห็นความจริง ตัวกู ของกู มันก็คอย ๆ หมดไป ๆ ความสงบก็เขามาแทนที่เอง

สวัสดีครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16618 เมื่อ: 01 กันยายน 2560, 07:44:38 »



ร่างกายที่ทุกคนคิดว่าเป็นตัวตนของเรา ที่เราไปยึดเอาไว้นั้น มันก็ต้องดูแล คอยระวังเหมือนกัน ถึงมันจะไม่รู้อารมภ์ ก็ตาม แต่มันก็แสดงให้เราเข้าใจได้
เหตุ-ปัจจับที่ทำให้ร่างกาย หรือรูป จะคงอยู่ได้นาน คือ อาหารที่เรารับประทานเข้าไป การออกกำลังกาย และการพักผ่อน

อาการ เป็นเหตุ-ปัจจัยหลักในดารเจ็บป่วยของร่างกาย ท่านกินอย่างไร? ท่านก็จะได้ร่างกายอย่างนั้น นี่คือความจริง ที่ท่านต้องเข้าใจด้วยปัญญา   แต่ถ้าท่านกินตามความชอบของท่าน ระวังท่านจะเป็นโรคเรื้อรัง ดังเช่นคนทั้งหลายที่หลงไปกับความคิดตนเองในการกินอาหาร จึงได้โรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมา มีตัวอย่างให้เห็นเต็มไปหมดทั่วโลก

ดังนั้น จงมีสติ ในการเลือกกินอาหารที่ก่อประโยชน์ต่อร่างกาย  กินอาหารให้เป็นยา คือกินแต่พอดี เป็นประโยชน์ ไม่กินด้วยความอยาก ไม่กินด้วยความโลภ หรือไม่หลงกินตามความคิดนั่นเอง

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16619 เมื่อ: 02 กันยายน 2560, 07:27:22 »



จิตมนุษย์นั้น มี"หลง กับ รู้"

"หลง" คือ หลงว่ามีตัวตน ตัวกูของกู หลงอยู่ในความคิด หลงอยู่ในอารมภ์ที่เข้าไปเสพ หรือหลงในรูป-นาม นั่นเอง ทั้ง ๆที่ รูป-นาม ไม่ใช่ตัวตนเลย มันเป็นธรรมชาติ อย่างหนึ่ง

"รู้" คือ มีสติ หรือรู้สึกตัว สติมีหลายระดับ คนทั่วไปเวลากระทำก็มีสติ โจรก็มีสติ ...พระอรหันต์ท่สนก็มีสติ
คนทั่วไป จะให้สงบสุข เมื่อมีสติ ก็ต้องมีธรรมในจิตด้วย จะได้เกิดหิริ โอตัปปะ ไม่ทำชั่ว
ส่วนพระอรหันต์ท่าน มีสติจนละในรูป-นาม ละความเป็นตัวตน ตัวกู ของกู ได้สิ้นจึงปราศจากกิเลส ในจิต

สติ นั้น ฝึกได้
หลง นั้น ไม่ต้องฝึก มันสะสมมาตั้งแต่จำความได้ และเจริญงอกงามตามอายุที่เพิ่มขึ้นเองได้

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16620 เมื่อ: 03 กันยายน 2560, 12:57:54 »



หยุดการเปรียบเทียบ

ทุกวันนี้ในโลกมนุษย์  คนชอบเปรียบเทียบกับคนอื่น เมื่อเปรียบเทียบแล้วตนเองดีกว่า ก็ชอบ ชอบแล้วยังไม่พอ เยาะเย้ยเพิ่มอีก จนทำความเดือดร้อนให้ตนเอง

ส่วนสิ่งใดเมื่อเปรียบเทียบแล้วด้อยกว่า ก็ไม่ยอม ไม่ชอบ จะขวนขวายให้เท่าเทียมให้ได้ นำความเดือดร้อนมาให้ตนเองก็ยอมที่จะทำ

นี่ละโลกมนุษย์  จงหยุดเปรียบเทียบ อยู่แบบพอเพียงก็สุขได้

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16621 เมื่อ: 04 กันยายน 2560, 13:05:45 »



 "เราฟังคำสอนของครูบาอาจารย์มามากต่อมาก
เราทำทาน รักษาศีล ปฏิบัติธรรมมาก็เยอะ
แต่ทำไมในชีวิตจริง
บางขณะเราก็ยังตกเป็นทาสสภาวะอารมณ์อยู่ตลอดเวลา
มีความทุกข์เกิดขึ้นทำไมเราไม่สามารถสลัดความทุกข์
ออกจากจิตได้ในทันทีทันใด มันเป็นเพราะอะไร ?

มันเป็นเพราะเรา ”รู้” ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน
แต่เรายังทำให้ “เป็น”กับตัวเองไม่ได้ เรารู้จำ-รู้จักมามาก
แต่เรายังไม่ได้ทำ “ความเป็น” ให้ปรากฏขึ้นในชีวิตเรา

พระพุทธเจ้าต้องการให้เรานำคำสอนของท่าน
ไปทำให้เกิดขึ้นกับตัวเราเองให้ได้
เหมือนอย่างที่พระพุทธองค์เป็น
 เราต้องฝึกให้สติคล่องตัวในทุกอิริยาบถ
สติไม่ใช่คำพูด ไม่ใช่ตัวหนังสือ
แต่เป็นการกระทำที่ต้องทำให้ปรากฏ

เราต้องหมั่นฝึกฝนตนเองอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้สติมีกำลังสามารถรู้เท่าทันความคิด
และอารมณ์ที่เกิดขึ้นทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
ไม่ให้ความปรุงแต่งเหล่านี้มีอำนาจครอบงำเรา
ไม่ว่าสิ่งใดเกิดขึ้น เมื่อเรารู้ทัน มันจะจบลงตรงนั้น
เราจึงไม่ทุกข์อีกต่อไป"

พระธรรมเทศนา พระอาจารย์เอนก เตชวโร
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16622 เมื่อ: 04 กันยายน 2560, 13:08:55 »



พรุ่งนี้ วันพระ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ วันสารทจีน
ขอทำบุญบริจาคให้กับโรงเรียนอิยทร์บุรี เพื่อสนับสนุนการศึกษา

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16623 เมื่อ: 05 กันยายน 2560, 19:20:07 »



ผู้อำนวยการโรงเรียนอินทร์บุรี  รับมอบเงิน 150000 บาท
เพื่อสนับสนุนการศึกษา
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16624 เมื่อ: 05 กันยายน 2560, 19:20:51 »

      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 663 664 [665] 666 667 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><