27 พฤศจิกายน 2567, 09:23:58
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 645 646 [647] 648 649 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3583821 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 25 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
pusadee sitthiphong
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
กระทู้: 4,689

« ตอบ #16150 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2559, 21:58:30 »

อนุโมทนาสาธุค่ะ
      บันทึกการเข้า

pom shi 2516
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16151 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2559, 11:14:23 »



- บุ ญ กิ ริ ย า วั ต ถุ  ๑๐ -

......พระมหาสมณฤๅษีพุทธเจ้าตรัสถึงบุญกิริยาวัตถุไว้ ๓  ประการ คือ ๑. ทานมัย ๒. สีลมัย  และ ๓.  ภาวนามัย

       แต่พระอรรถกถาจารย์ผู้อธิบายคัมภีร์พระปาฬีได้ขยายความบุญกิริยาในพระพุทธศาสนาออกเป็น ๑๐ ก็เพื่อให้เข้าใจหลักการทำบุญในพระพุทธศาสนาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  อันมีปรากฏในอรรถกถาทีฆนิกาย   
       คัมภีร์อรรถกถาคือคัมภีร์ขยายความพระติปิฏก ซึ่งมีความสำคัญรองลงมาจากพระติปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนามาช้านาน......

  [ กลอนบท บุญกิริยาวัตถุ  ๑๐ ]
         
๏ ปุญญานิ  กยิราถ  สุขาวหานิ
จุ่งดำริในบุญเป็นทุนสรรค์
พฤติเพียรกอปรบุญไว้ไม่ผลัดวัน
เพราะบุญนั้นนำสุข  บ่ ทุกข์ใจ

๏ อันข้อบุญ กิริยาวัตถุสิบ
จักเป็นทิพย์ธรรมธัญอันผ่องใส
รวมในทาน, ศีลกะภาวันใจ
อรรถกถาจารย์ไซร้ขยายธรรม

๏ หนึ่ง  คือ ทานมัย ให้จาคะ
ในกิจจะเสียสละอุปถัมภ์
สอง คือ สีลมัย กายกรรม
ไม่เพลี่ยงพล้ำพฤติผิดด้วยจิตพาล

๏ สาม คือ ภาวนามัย ให้ดำริ
ทรงสติมีธรรมกัมมัฏฐาน
สี่  อปจายนมัย ไม่ใจพาล
ให้อ่อนน้อมพร้อมสมานการไมตรี

๏ ห้า  คือ เวยยาวัจจมัย ใฝ่ขวนขวาย
กิจทั้งหลายที่ชอบรอบวิถี
หก  ปัตติทานมัย ส่งใจพลี
อุทิศที่บุญญาทั่วสากล

๏ เจ็ด  ปัตตานุโมทนามัย
ยินดีใจในผู้ลุกุศล
แปด  ธัมมัสสวนมัย ในยุบล
ตั้งใจตนฟังธรรมคำพุทธา

๏ เก้า  ธัมมเทสนามัย ใฝ่ประกาศ
แสดงพระอนุศาสน์ปราศมิจฉา
สิบ  ทิฏฐุชุกัมม์ ทรงสัมมา
มีปัญญาเห็นชอบประกอบญาณ

๏ สุโข ปุญญัสสะ อุจจะโย
ด้วยเดโชแห่งบุญเป็นมูลฐาน
อันสั่งสมดีนี้จักนิธาน
ตราบแต่นานด้วยสุข บ่ ทุกข์ใจ ๚ะ๛

แม่พลอย มณีตรี อัลตรา

อภิธานศัพท์....
มัย     แปลว่า       สำเร็จด้วย,  แล้วด้วย
พระปาฬี    คือ     ชื่อเรียกคัมภีร์พระติปิฎกพระพุทธพจน์ ( บาลี, ปาลี, ปาฬิ )  แปลว่ารักษา
ภาวัน         ''        ภาวนา
ยุบล           ''        ข้อความ,  เรื่องราว
อนุศาสน์     ''        การสอน, คำชี้แจง
นิธาน          ''       บรรจุ, การฝังไว้
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16152 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2559, 11:19:44 »

อ้างถึง
ข้อความของ pusadee sitthiphong เมื่อ 02 ตุลาคม 2559, 21:58:30
อนุโมทนาสาธุค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ
เธอและครอบครัว สบายดี นะคะ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16153 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2559, 07:02:50 »

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16154 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2559, 16:45:05 »



วันเสาร์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน
เรียนเชิญ ทุกท่าน ไปทอดกฐินกับพี่สิงห์ ที่วัดพระนอน ตำบลทับยา  อำเภออินทร์บุรี  จังหวัดสิงห์บุรี

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16155 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2559, 17:22:26 »



ดูกรพาหิยะ
เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น
เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง
 เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ
เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง

ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล

ดูกรพาหิยะ
ในกาลใดแล
 เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น
เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง
เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ
 เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง
ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี

ในกาลใด ท่านไม่มี
ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้
ย่อมไม่มีในโลกหน้าย่อม
ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง
นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16156 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2559, 19:32:14 »



การทำบุญบำรุงวัด ก็เป็นการชำระความตระหนี่ ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่ง ความโลภ ความโกรธ ความหลง
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16157 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2559, 19:32:45 »

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16158 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2559, 05:56:49 »



การที่ยังอยู่ในสังคม ต้องทำงาน มีแต่มารมาผจญ  แต่ก็ดีมารมันก็เรื่องของมาร ของคนอื่น เรามีหน้าที่ระวังจิตของเรา ให้มีสติ รู้สึกตัว ไม่เผลอไปคิดตามสิ่งที่ประสพทางทวารทั้งห้า เพราะถ้าคิด มันก็หลงไปในความคิด เป็นตัวตน สัตว์บุคคลเรา เขาไปสิ้น ระวังจิตด้วยการมีสติ เป็นผู้ดี ไม่เป็นผู้เป็น มีวิริยะอุเบกขาให้มาก อยู่ในศรัทธา ศีล พอเพียง วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16159 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2559, 08:34:02 »



อาจารย์เผ่า   สุวรรณศักดิ์ศรี
มีคุณานุประการ ต่อหอพัก ต่อชมรมนิสิตเก่าหอพัก ต่อสมาคมนิสิตเก่าหอพัก และชาวหอพัก
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16160 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2559, 08:35:35 »



เป็นเกียรติของผมอย่างมาก ที่ได้รู้จักท่านอาจารย์เผ่า  ได้ทำงานในชมรมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาฯ ร่วมกับอาจารย์เผ่า

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16161 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2559, 08:38:00 »

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16162 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2559, 08:40:17 »



ยังระลึกอยู่เสมอครับ
ท่านอาจารย์เผ่า   สุวรรณศักดิ์ศรี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16163 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2559, 08:42:43 »



ปลดของหนักออกจากบ่าหมดแล้ว ดูแลสุขภาพด้วยครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16164 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2559, 13:18:10 »

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16165 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2559, 13:18:41 »

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16166 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2559, 18:55:17 »



      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16167 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2559, 05:44:03 »



อรุณสวัสดิ์ ทุกท่านครับ

เมื่อใดที่ท่าน นอนไม่หลับ เพราะท่านหลงอยู่ในความคิด เกิดความฟุ้งซ่านในการคิด วิตกกังวล ควบคุมไม่อยู่ ท่านต้องรู้ตัวว่านั่นละ ผู้หลงอยู่ในความคิด บางทีท่านอาจจะรู้สึกตัว แต่ก็เอาชนะการคิดไม่ได้เพราะมันเป็นอนัตตา

แต่ท่านสามารถทำเหตุ-ปัจจัยให้เกิดขึ้นที่จะเอาชนะมันได้ ท่านต้งมีวิริยะเพิ่มขึ้น มีศรัทธาเพิ่มขึ้น ด้วยการภาวนา วิธีใดก็ได้ ยื่อกับความคิดที่ฟุ้ง ทำไป ทำไป ทำไป อย่ายอมแพ้จิตตนเอง  สุดท้ายท่สนก็จะชนะจิตตนเอง มันยอมแพ้ จิตท่สนหลุดจากความคิด มีสติ เป็นสมาธิ  ท่านอยู่ในท่านอน หลับตา ท่านจะหลับอย่างมีสติ ทันที คือหลับลึก

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16168 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2559, 08:23:43 »



ท่านพุทธทาสเขียนหนังสือเรื่อง สูตรเว่ยหล่าง หลายคนอาจไม่รู้ว่าเว่ยหล่างคือใคร สำคัญอย่างไร

เว่ยหล่างก็คือฮุ่ยเหนิง คนคนเดียวกัน เป็นสังฆปริณายกคนสำคัญที่สุดองค์หนึ่งของเซน

ฮุ่ยเหนิงเกิดในตระกูลยากไร้ แช่ลู่ พ่อเป็นข้าราชการที่ถูกถอดออกจากตำแหน่งและถูกเนรเทศไปอยู่ในพื้นที่ป่าดอยหลิงหนานที่กวางโจว และตายไปตั้งแต่เขาอายุสามขวบ ทิ้งครอบครัวให้ตกทุกข์ได้ยาก เขาจึงไม่มีโอกาสเรียนหนังสือ ต้องทำงานตัดฟืนเลี้ยงแม่

จวบจนอายุได้ยี่สิบสอง วันหนึ่งขณะที่ฮุ่ยเหนิงกำลังส่งฟืนไปยังร้านค้าแห่งหนึ่ง เขาได้ยินชายคนหนึ่งกำลังบริกรรมพระสูตรบทหนึ่งอยู่หน้าร้าน ความว่า "ความคิดควรผุดขึ้นจากสภาวะแห่งการไม่ยึดติด..."

เรื่องท่อนนี้มีหลายเวอร์ชั่น บ้างว่าแขกคนนั้นท่องว่า "ถ้าโพธิสัตว์หรือผู้แสวงธรรมยังมีจิตยึดมั่นผูกมั่นกับตัวตนบุคคลแล้วไซร้ เขาก็ยังหาใช่พระโพธิสัตว์แท้จริงไม่ พุทธะคือผู้ที่เป็นอิสระแล้วจากความคิดทั้งปวง แม้แต่การบรรลุธรรมนี้ แท้จริงแล้วมิได้มีการบรรลุเลย จึงเรียกว่า บรรลุธรรม..."

ฮุ่ยเหนิงได้ยินแล้วรู้สึกดื่มด่ำในคำนั้นทันที ถามว่า "สิ่งที่ท่านกำลังอ่านอยู่คือหนังสืออะไร?"

ชายคนนั้นตอบว่า "วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร"

"ขอเรียนถามว่าเป็นพระสูตรจากที่ใด?"

"นี่คือพระสูตรที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาจากอาจารย์หงเริ่นแห่งวัดตังซาน เจ้าก็สนใจในบทธรรมด้วยรึ?"

หลังจากสนทนากับหนุ่มบ้านป่าพักใหญ่ ชายผู้นั้นก็ยิ่งแปลกใจที่ฮุ่ยเหนิงผู้ซึ่งพูดจาราวคนที่ศึกษาธรรมมานานปีกลับไม่รู้หนังสือ

"เจ้าแซ่อะไร?"

"ข้าพเจ้าแช่ลู่"

"ท่าทางเจ้าเลื่อมใสทางสายพุทธะอย่างใหญ่หลวง เจ้าน่าจะไปฝากตัวเป็นศิษย์วัดตังซาน"

"ข้าพเจ้าก็อยากทำเช่นนั้น แต่ติดขัดที่ครอบครัวข้าพเจ้าขัดสนยิ่ง อีกประการหนึ่ง ข้าพเจ้ายังมีภาระต้องเลี้ยงดูแม่"

"นอกจากมีปัญญาแล้ว เจ้ายังมีความกตัญญูยิ่ง"

ด้วยความเมตตา แขกผู้นั้นมอบเงินสิบตำลึงให้เขา มากพอที่จะให้แม่ของเขาดูแลตัวเองได้
 
แล้วฮุ่ยเหนิงก็เดินไปตามทางสายธรรมที่นอกจากจะเปลี่ยนชีวิตของเขาอย่างสิ้นเชิง ยังเปลี่ยนทิศทางของประวัติศาสตร์เซนด้วย

………………

ฮุ่ยเหนิงเดินทางด้วยเท้านานสามสิบวัน ก็ถึงวัดบนภูเขาในสภาพเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า เขาขออนุญาตเข้าพบเจ้าอาวาส

อาจารย์หงเริ่นถามเขา "เจ้ามาจากที่ใด? กำลังแสวงหาสิ่งใด?"

"ข้าพเจ้ามาจากหลิงหนาน ในมณฑลกวางตุ้ง ข้าพเจ้าเดินทางมาไกลมากเพื่อจะเรียนรู้วิถีแห่งพุทธะ"

หลิงหนานเป็นพื้นที่ที่ชนเผ่าพื้นเมืองอยู่ร่วมกันกับคนจีน จัดเป็นพื้นที่ป่าดอย

อาจารย์หงเริ่นกล่าวยิ้ม ๆ นัยน์ตาเป็นประกาย "อา! เจ้ามาจากทางใต้ ย่อมเป็นคนป่า คนจากหลิงหนานนั้นไม่มีธรรมชาติแห่งพุทธะ เช่นนั้นเจ้าจะบรรลุพุทธภาวะได้อย่างไร?"

"ธรรมชาติแห่งพุทธะไม่มีทิศเหนือหรือใต้ สังขารของคนป่าอาจแตกต่างจากสังขารของท่านเจ้าอาวาส แต่ธรรมชาติแห่งพุทธะไหนเลยมีความแตกต่าง"

อาจารย์หงเริ่นซ่อนยิ้ม รู้ว่าผู้มาใหม่เข้าใจความหมายของคำพูดที่ท่านเอ่ยทุกประการ

ประมาณห้าร้อยปีต่อมา เอเฮ โดเก็น (1200-1253) ปรมาจารย์เซนแห่งญี่ปุ่นอธิบายความเรื่องนี้ว่า "เมื่ออาจารย์หงเริ่นเอ่ยว่า 'คนจากหลิงหนานนั้นไม่มีธรรมชาติแห่งพุทธะ' มิได้แปลว่าคนจากหลิงหนานนั้นไม่มีธรรมชาติแห่งพุทธะ และก็มิได้หมายความว่าคนจากหลิงหนานนั้นมีธรรมชาติแห่งพุทธะ มันหมายถึง 'ความไม่มีของธรรมชาติแห่งพุทธะของคนจากหลิงหนาน' "

นี่คือความหมายสำคัญของธรรมชาติแห่งพุทธะ ความไม่มีของธรรมชาติแห่งพุทธะคือรากฐาน เพราะแก่นแท้ของธรรมชาติแห่งพุทธะก็คือความว่างเปล่า

และประโยค "เจ้ามาจากที่ใด?" นี้ ฮุ่ยเหนิงก็ใช้ถามศิษย์อื่น ๆ ต่อมาอีกหลายครั้งหลายครา

อาจารย์หงเริ่นแลเห็นประกายของเพชรในตมที่ซ่อนในคราบหนุ่มชาวป่าร่างกายมอมแมม ทว่ายามนี้หาใช่เวลาอันเหมาะสมที่จะเจียระไนเพชรเม็ดนี้ให้เปล่งประกายไม่ ท่านกล่าวตัดบทว่า "อย่าเอ่ยอีกเลย จงไปทำงานในโรงตำข้าว"

และที่นั่น ฮุ่ยเหนิงผ่านเวลาแปดเดือนไปกับการผ่าฟืนและตำข้าว

………………

อาจารย์หงเริ่นรู้ดีว่า ไม่ช้าก็เร็วต้องหาคนที่มาสืบสายตำแหน่งพระสังฆปริณายกองค์ต่อไป จึงได้ทดสอบคุณสมบัติศิษย์ในวัดเพื่อหาผู้ที่มาสืบตำแหน่งนี้ต่อไป สั่งให้ศิษย์เขียนความเข้าใจเรื่องธรรมในรูปของโศลกคนละบทมาให้

ศิษย์ทั้งหลายก็คิดว่าไม่จำเป็นต้องเขียนให้เสียเวลา เพราะเขียนอย่างไรก็คงสู้เสินซิ่วศิษย์เอกผู้ที่เฉลียวฉลาดที่สุดในวัดมิได้ และก็เป็นจริงตามนั้น เพราะโศลกของเสินซิ่วจับใจทุกคนที่อ่าน

เสินซิ่วเขียนโศลกไว้ดังนี้

กายนั้นคือต้นโพธิ์
จิตคือกระจกเงา
หมั่นเช็ดถูอยู่เสมอ
อย่าให้ฝุ่นละอองลงจับ

คำว่า 'โพธิ์' ในทางเซนมีความหมายถึงการตรัสรู้หรือการรู้แจ้ง สัญลักษณ์การตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ของพระพุทธเจ้า ส่วนการเปรียบจิตเป็นกระจกเงามีรากมานานตั้งแต่โบราณ จวงจื่อ ปรมาจารย์แห่งลัทธิเต๋า เขียนไว้ว่า "มนุษย์ที่แท้ใช้จิตของเขาเช่นกระจกเงา"

เสินซิ่วเขียนแล้วก็ไม่กล้าให้อาจารย์อ่าน เพราะกลัวยังไม่ดีพอ เขาพยายามจะส่งงานที่เขียนให้อาจารย์หลายครั้ง แต่ทุกครั้งที่เดินไปหาอาจารย์ก็ใจเต้นและถอยกลับ ภายในเวลาสี่วัน เสินซิ่วพยายามจะส่งงานให้อาจารย์ถึงสิบสามครั้ง แต่ในที่สุดก็เปลี่ยนใจ เขาคิดว่า เขียนบนฝาผนังช่องทางเดินให้อาจารย์ผ่านมาเห็นเองดีกว่า หากถูกใจท่าน ก็ค่อยออกมารับหน้า หากไม่ถูกใจท่าน ก็แสดงว่าเซนที่เรียนมาหลายปีนี้สูญเปล่า

เมื่ออาจารย์หงเริ่นอ่านโศลกบทนี้แล้วก็หยั่งรู้ว่า เสินซิ่วยังไม่ได้เข้าใกล้จิตเดิมแท้ แต่กระนั้นมันก็ยังเป็นโศลกที่ดี สั่งให้ศิษย์นำธูปเทียนมาบูชา และให้ศิษย์นำไปท่องบ่นเพื่อที่จะได้พิจารณาให้เห็นจิตเดิมแท้

ทว่ายามเที่ยงคืน อาจารย์หงเริ่นก็ให้คนไปตามเสินซิ่วมาที่หอ ถามว่า "โศลกบทนั้นเจ้าเป็นผู้เขียนใช่หรือไม่?"

"ใช่"

"โศลกบทนี้ของเจ้าแสดงว่าเจ้ายังไม่เข้าใจเรื่องจิตเดิมแท้ เจ้าก้าวไปถึงปากประตูแล้ว แต่ยังไม่ได้เปิดเข้าไป"

เสินซิ่วคารวะอาจารย์ เอ่ยว่า "ศิษย์จะขอไปสำรวจตัวเองอีกครั้ง"

ฝ่ายลูกวัดพากันเอ่ยท่องโศลกบทนี้ ฮุ่ยเหนิงได้ยินเข้าก็นึกอยากจะเขียนโศลกบ้าง แต่เนื่องจากตนเองไม่รู้หนังสือ ก็บอกให้พระรูปหนึ่งช่วยเขียนโศลกบทหนึ่งบนกำแพง

พระรูปนั้นกล่าวว่า "เจ้าไม่รู้หนังสือ ไยคิดเขียนโศลก?"

ฮุ่ยเหนิงตอบว่า "คนต่ำต้อยที่สุดก็อาจมองไกลได้"

พระรูปนั้นจนคำ จึงเขียนคำตามคำบอกของฮุ่ยเหนิงดังนี้

โพธิ์นั้นไม่มีต้น
กระจกเงาก็ไม่มี
สรรพสิ่งแต่แรกมาคือความว่างเปล่า
ฝุ่นละอองจะลงจับบนสิ่งใด

ลูกวัดที่อ่านโศลกบทนี้พากันคุยว่า เป็นถ้อยคำที่ลึกซึ้งยิ่ง เสียงโจษจันมาถึงหูเจ้าอาวาสอย่างรวดเร็ว อาจารย์หงเริ่นเดินไปหยุดที่หน้ากำแพงที่จารึกโศลกบทนี้ กล่าวกับลูกวัดเพียงว่า "ผู้ที่เขียนโศลกนี้ยังหาได้พบทางแห่งพุทธะไม่" ว่าแล้วก็ถอดรองเท้าลบข้อความบนกำแพงทิ้ง ด้วยรู้ดีว่า ความอิจฉาริษยาของพระหลายรูปในวัดที่มีต่อความสามารถของฮุ่ยเหนิงจะเป็นอันตรายต่อเขา

ความแตกต่างของโศลกสองบทนี้แสดงให้เห็นสองแนวทางของเซนอย่างชัดเจน บทกวีของเสินซิ่วสะท้อนมุมมองของการฝึกเซนซึ่งเป็นที่นิยมทั่วไป เป็นแบบของการนั่งสมาธิเพื่อชำระใจ มองว่าจิตนั้นสามารถชำระล้างให้สะอาดขึ้นได้โดยผ่านการเพ่งแน่วแน่ เพื่อทำให้ความคิดและสิ่งปรุงแต่งสูญไป นี่เป็นมุมมองว่า สภาวะสูงสุดของสติสำนึกคือสติสำนึกที่ว่างเปล่าจากทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความคิดอ่าน ความรู้สึก และอารมณ์ นี่ก็คือ สมาธิ

ส่วนมุมของฮุ่ยเหนิงนั้นมองว่าคนที่มีสติสำนึกที่ว่างเปล่าจากทุกอย่างก็ไม่ต่างอะไรจากท่อนไม้หรือก้อนหิน ฮุ่ยเหนิงเห็นว่าการชำระจิตให้สะอาดเป็นเรื่องที่ไม่ตรงจุดและทำให้สับสนเปล่า ๆ เพราะจิตของมนุษย์นั้นโดยพื้นฐานแล้วก็คือความไร้จิต (no-mind) จึงไม่ต้องไปทำอะไรกับมัน การพยายามชำระจิตก็คือการทำให้มันแปดเปื้อนด้วยความบริสุทธิ์! นี่ก็คือแนวคิดแบบเต๋าซึ่งมองว่า เราจะยังไม่สามารถปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระหากยังไปหมกมุ่นกับกฎเกณฑ์ปลอม ๆ เพราะมันเป็นความบริสุทธิ์ปลอม ๆ ความใสกระจ่างปลอม ๆ

แนวคิดของฮุ่ยเหนิงคือ แทนที่จะไปชำระจิตให้สะอาดหรือทำให้มันว่างเปล่า ก็แค่ปล่อยจิตไป เพราะจิตมิใช่สิ่งที่จะจับต้องได้ การปล่อยจิตไปก็เท่ากับเป็นการปลดปล่อยความคิดความรู้สึกทั้งหลายที่วนเวียนในจิตไปโดยปริยาย วิถีเซนที่แท้คือการพบว่าธรรมชาติของแต่ละคนก็เหมือนที่ว่างที่ความคิดความรู้สึกทั้งหลายผ่านมาและผ่านไปในจิตเดิมแท้

………………

วันนั้นอาจารย์หงเริ่นเดินไปที่โรงตำข้าว ถามฮุ่ยเหนิงว่า "เจ้าเป็นผู้เขียนโศลกบทนั้นบนกำแพงหรือ?"

"ใช่แล้วขอรับ"

อาจารย์เงียบไปนาน กวาดตาดูเมล็ดข้าวในห้องนั้น กล่าวเบา ๆ ว่า " 'ข้าว' ได้ที่แล้วหรือ?"

"ได้ที่มานานแล้ว เพียงรอ 'ตะแกรง' สำหรับร่อนเท่านั้น"

อาจารย์ได้ยินแล้วก็เคาะครกตำข้าวสามครั้ง ก่อนเดินจากไป

การเคาะครกสามครั้งคือรหัสของเวลายามสามของคืนนั้น ดังนั้นฮุ่ยเหนิงก็ลอบไปหาอาจารย์ในหอในคืนนั้น อาจารย์ใช้จีวรขึงบังไม่ให้ใครเห็น แล้วเริ่มอธิบายความในวัชรสูตรแก่ฮุ่ยเหนิง เมื่อเอ่ยถึงประโยค"คนเราควรจะใช้จิตของตนในวิถีทางที่จิตเป็นอิสระได้จากเครื่องข้องทั้งหลาย" (หมายความว่า คนเราควรใช้จิตของเราโดยให้มันเป็นอิสระไม่เกาะยึดกับอะไร) ฮุ่ยเหนิงก็มองเห็นสภาวะจิตเดิมแท้ของตน เข้าใจว่าสรรพสิ่งในจักรวาลเป็นเนื้อแท้แห่งจิต หรือจิตเดิมแท้ (essence of mind) เท่านั้น รู้แจ้งในคืนนั้นเองว่า ที่แท้ทุก ๆ สิ่งในสากลโลกก็คือตัวจิตเดิมแท้นี่เอง มิใช่สิ่งอื่นใด

และในราตรีแห่งธรรมนั้นเอง อาจารย์หงเริ่นก็มอบบาตร จีวร สังฆาฏิที่สืบทอดมาจากพระโพธิธรรมให้ฮุ่ยเหนิงเป็นพระสังฆปริณายกองค์ต่อไป

แต่เนื่องจากสถานะที่ต่ำต้อยของฮุ่ยเหนิง และมองเห็นผลกระทบจากความอิจฉาของศิษย์วัดที่ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจนี้ อาจารย์หงเริ่นจึงสั่งให้ฮุ่ยเหนิงหนีไปจากวัด ลี้ภัยลงไปทางใต้เสีย
 
………………

อาจารย์หงเริ่นไปส่งฮุ่ยเหนิงที่ริมฝั่งแม่น้ำแยงซี ตั้งใจจะแจวเรือส่งศิษย์ข้ามฟาก ทว่าฮุ่ยเหนิงคารวะอาจารย์ กล่าวเบา ๆ ว่า "ขอให้ศิษย์ของท่านเป็นผู้แจวเรือเถิด"

"ควรเป็นหน้าที่ของอาจารย์ที่ส่งศิษย์ข้ามฟาก" (หมายถึงทะเลแห่งการเกิดการตาย)

"ในสภาวะแห่งความไม่รู้ อาจารย์เป็นผู้แจวเรือข้ามฟาก ในสภาพตื่นรู้ ผู้ข้ามฟากเป็นผู้แจวเรือเอง"

การข้ามห้วงมหรรณพแห่งวัฏสงสารก็เช่นการข้ามแม่น้ำ คนแจวเรือส่งผู้โดยสารได้เพียงถึงจุดจุดหนึ่งเท่านั้น

หนทางที่เหลือ ผู้โดยสารต้องเดินไปด้วยตนเอง

………………

จาก มังกรเซน

วินทร์ เลียววาริณ
เฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/winlyovarin/
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16169 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2559, 10:26:49 »


คนเราตายเอาอะไรไปไม่ได้เลย มีแต่กรรมติดตัวไปคือบุญ-บาป ที่ได้กระทำเอาไว้ตอนมีชีวิตอยู่

ใจความสำคัญแห่งคำถาม-คำตอบ ระหว่าง ปริพาชก(หลานพระสารีบุตร)เป็นผู้ถาม  พระสารีบุตร เป็นผู้ตอบ มีดังนี้

ปริพาชก       : นิพพานคืออะไร?
พระสารีบุตร : ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ คือนิพพาน

ปริพาชก       : อรหัตต์คืออะไร?
พระสารีบุตร : ธรรมเป็นที่สิ้นราคะโทสะโมหะ คืออรหัตต์

ปริพาชก       : ใครคือธรรมวาที? ใครคือผู้ปฏิบัติดี? ใครคือผู้ไปดี?
พระสารีบุตร : ผู้แสดงธรรมเพื่อละราคะโทสะโมหะ คือธรรมวาที, ผู้ปฏิบัติเพื่อละราคะโทสะโมหะ คือผู้ปฏิบัติดี, ผู้ละราคะโทสะโมหะได้เด็ดขาดแล้ว คือผู้ไปดี

ปริพาชก       : ท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กับพระสมณโคดมเพื่ออะไร?
พระสารีบุตร : เพื่อกำหนดรู้ทุกข์(ทุกฺขสฺส ปริญฺญตฺถํ)

ปริพาชก       : ถึงความโล่งใจ(อสฺสาสปฺปตฺโต)คืออะไร?
พระสารีบุตร : รู้ความเกิด ความดับ ส่วนดี ส่วนเสีย และวิธีสลัดพ้นจากผัสสายตนะ ๖ เรียกว่า ถึงความโล่งใจ

ปริพาชก       : ถึงความโล่งใจที่สุดยอด(ปรมัสฺสาสปฺปตฺโต)คืออย่างไร?
พระสารีบุตร : รู้ความเกิด ความดับ ส่วนดี ส่วนเสีย และวิธีสลัดพ้นจากผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง และหลุดพ้นเพราะไม่มีอุปาทานแล้ว เรียกว่าถึงความโล่งใจที่สุดยอด
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16170 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2559, 10:45:15 »


เพราะมีการเกิด จึงมีแก มีเจ็บ และมีตาย

ปริพาชก       : เวทนา คืออะไรบ้าง?
พระสารีบุตร : เวทนามี ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

ปริพาชก       : อาสวะ คืออะไรบ้าง?
พระสารีบุตร : อาสวะมี ๓ อย่าง คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ

ปริพาชก       : อวิชชา คืออะไร?
พระสารีบุตร : ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในวิธีปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกว่าอวิชชา

ปริพาชก       : ตัณหา คืออะไรบ้าง?
พระสารีบุตร : ตัณหามี ๓ อย่างคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

ปริพาชก       : โอฆะ(ห้วงกิเลส) คืออะไรบ้าง?
พระสารีบุตร : โอฆะ มี ๔ อย่างคือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ

ปริพาชก       : อุปาทาน คืออะไรบ้าง?
พระสารีบุตร : อุปาทาน มี๔ อย่าง คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน

ปริพาชก       : ภพ คืออะไร?
พระสารีบุตร : ภพ มี ๓ อย่างคือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ

ปริพาชก       : ที่เรียกว่าทุกข์ หมายถึงอะไร?
ะระสารีบุตร : ภาวะทุกข์ มี ๓ อย่าง คือ ๑.ทุกขตา ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์(ตรงกับทุกขเวทนา) ๒.สังขารทุกขตา ทุกข์ตามสภาพสังขาร(สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ตามเหตุ-ปัจจัย) ๓.วิปริณามทุกขตา ทุกข์เนื่องด้วยความผันแปร(ความแปรปรวนทำให้เกิดทุกข์ได้เสมอ)
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16171 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2559, 11:03:14 »


ความตายมาถึงได้ทุกขณะ ไม่มีใครกำหนดได้ แต่รู้ว่าจะต้องตายไม่วันใด ก็วันหนึ่ง


ปริพาชก       : สักกายะ หมายถึงอะไร?
พระสารีบุตร : สักกายะ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่บุคคลเข้าไปยึดถือ)

ปริพาชก       : อะไร เป็นการยากที่จะทำได้ในธรรมวินัยนี้
พระสารีบุตร : บรรพชา

ปริพาชก       : อะไรที่ผู้บวชแล้วทำได้ยาก?
พระสารีบุตร : ความยินดียิ่ง(อภิรติ-ยินดียิ่งอยู่กับการบวช ไม่คิดจะลาสิกขา)

ปริพาชก       : อะไรที่ภิกษุผู้ยินดียิ่งแล้วทำได้ยาก
พระสารีบุตร : การปฏิบัติธรรมเหมาะแก่ธรรม(ธัมมานุธัมมปฏิบัติ-ปฏิบัติถูกหลัก)

ปริพาชก       : นานแค่ไหนที่ผู้ปฏิบัติธรรมเหมาะแก่ธรรมจะได้สำเร็จอรหันต์?
พระสารีบุตร : ไม่นานเลย(น จิรํ)

เห็นว่าเป็นประโยชน์ จึงนำมาฝากทุกท่านครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16172 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2559, 15:50:45 »



ฉลาดทุกครั้งที่เกิดอารมณ์

ใช้ความโกรธ ใช้ความเศร้าอารมณ์ต่างๆ ที่เป็น อกุศลเหล่านี้แหละให้เป็นเหมือนครู ที่สอนให้เราเห็นสัจจธรรมความจริงเห็นว่ามันไม่จีรังยั่งยืน มันมาแล้วก็ไป เห็นว่ามันไม่ใช่ตน ไม่ตัวเราหรือของเรา เพราะความจริงมันก็เป็นอย่างนั้นแหละเวลาโกรธ เป็นเพราะความโง่ของเรา ความหลงของเรา ก็เลยคิดว่าเราโกรธ ที่จริงมันไม่ใช่เราเลย มันไม่มีเราที่โกรธเลยนะ มันมีแค่ความโกรธ เวลาเราเศร้ามันก็ไม่ใช่เราเศร้า มีแต่ความเศร้าที่เกิดขึ้น

แต่เพราะความโง่แท้ๆจึงไปหลงคิดว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นเพราะไม่รู้จักสรุปบทเรียน ถ้าเรามีสติบ่อยๆเราจะฉลาดขึ้น  นอกจากจะไม่ถูกมันหลอกแล้ว เรายังสามารถที่จะใช้มันเพื่อทำให้เราฉลาดกว่าเดิม เกิดปัญญามากขึ้น จนสามารถอิสระจากความทุกข์ได้

เสียงธรรมจากพระอ.ไพศาล วิสาโล
บรรยายหลังทำวัตรเย็นที่วัดป่าสุคะโต
ตามลิงค์นี้เข้าไปฟังหรือโหลดเลย
https://archive.org/details/Visalo2016
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16173 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2559, 19:56:22 »



พี่ทองอู่   จักรสิงห์
อดีตประธานชมรม ซีมะโด่ง จุฬาฯ



วัดเสมียรนารี สวดพระอภิธรรม เวลา 19:00 น.
พระราชทานเพลิงศพ วันอังคารที่ 18 ตุลาคม เวลา 17:00 น.

เรียนเชิญชาวซีมะโด่ง ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16174 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2559, 20:03:05 »



พี่ทองอู่  จักรสิงห์
ศิริอายุย่าง ๙๐ ปี
ชาตะ ๙ ตุลาคม
มรณะ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๙
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 645 646 [647] 648 649 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><