24 พฤศจิกายน 2567, 14:22:20
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 567 568 [569] 570 571 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3573639 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 24 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14200 เมื่อ: 17 มีนาคม 2558, 19:05:48 »



สวัสดียามเย็น ทุกท่านครับ

วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ มีนาคม เป็นวันพระ

จะลองขับรถไปทำบุญ ที่วัดพระนอนดู มันน่าจะขับรถได้ เพราะรู้สึกว่าดีขึ้นเรื่อย ๆ จะมีบ้างเจ็บจากแผลภายใน  แต่เป็นบางครั้ง เท่านั้น

ตอนนี้รู้วิธีฆ่าเวลา คือเปิด you tube  ฟังการบรรยายธรรม ประวัติท่านอาณาบิณฑิกเศรษฐี มหาอุบาสก ทำให้ได้ทบทวน ธรรมที่พระสารีบุตรสอนก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต เรื่องไม่ให้ยึดมั่นในทุกสรรพสิ่ง และวิญญาณ คือความรู้แจ้ง จะไม่รับรู้ในสิ่งนั้น

และวันนี้ ก็ได้นั่งฟัง ประวัติของนางวิสาขา มหาอุบาสิกา  ก็ได้ทบทวนธรรม เรื่องการให้ทาน ต้องบริสุทธิ์ทั่งผู้รับ และเจตนาของผู้ให้

ตอนนี้ เราต้องให้ผู้อื่นเลี้ยง ต้องอยู่อย่างง่าย  กินตามที่เขาจัด ไม่เรียกร้อง ช่วยตัวเองให้มาก อยู่ด้วยศีล และการเจริญสติ  เพื่อว่า ผู้ที่เขาดูแล จะได้อานิสสง  จากเราบ้าง

แต่ละวัน ถ้าหลงอยู่ในความคิด เวลามันจะผ่านไปอย่างช้า ๆ มีแต่ทุกข์  แต่ถ้าอยู่ด้วยสติให้มาก เวลามันจะผ่านไปรวดเร็ว เราก็อยู่ได้  ฝึกเอาชนะใจตนเอง เพราะปกติเรา ช่วยตัวเอง ไปทำงาน ตลอดเวลา  แต่เวลานี้ อยู่เฉย ๆ จึงต้อง มีธรรมเป็นเครื่องอยู่  ไม่ให้ฟุ้งซ่าน ด้วยสติ  จึงอยู่ได้

ดังนั้น  สักวันทุกท่านต้องเจ็บป่วย  ช่วยตัวเองไม่ได้  ท่านลองถามตัวเองหรือยังว่า เมื่อเวลานั้นมาถึง ท่านจะวางจิตของท่านได้หรือ  ได้หรือไม่ได้ก็ต้องยอมรับสภาพว่าเราช่วยตัวเองไม่ได้เลย  ท่านต้องลองฝึกเอาไว้บ้าง จะได้ทุกข์น้อย ๆ เมื่อเวลานั้นมาถึง

ถ้าเราป่วยช่วยตนเองไม่ได้  ต้องยอมรับตัวเอง ในความเป็นจริง ที่ต้องประสพ  ต้องยอมทุกอย่าง ไม่บ่น ไม่พูด มีอย่างไรกินอย่างนั้น ไม่มากเรื่อง เราก็จะอยู่ได้  ผู้ดูแล ก็สบายใจ อยู่ได้เช่นกัน ใครจะมาดู หรือไม่ เราก็อยู่ได้  เพราะการเจริญสติ มันทำให้เราไม่คิด นั่นเอง

สวัสดีครับ

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14201 เมื่อ: 17 มีนาคม 2558, 20:18:10 »



ตอนนี้ก็ฆ่าเวลา ด้วยการฟัง นิทานธรรมเรื่อง "ลีลาวดี" และก็ทำสมาธิให้เกิด เพื่อพิจารณาธรรมไปด้วย จิตเพลินไปด้วย เราก็ไม่ยินดี ยินร้าย พิจารณาธรรม

ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14202 เมื่อ: 18 มีนาคม 2558, 06:29:32 »



อรุณสวัสดิ์ ทุกท่านครับ

อาการโดยรวมดีมาก  แต่ก็ยังมีอาการเจ็บภายในเป็นครั้งคราว ซึ่งเป็นสัญญาณ ให้เราทราบว่า เรายังเป็นคนป่วย จะต้องระวังตน ในเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกาย และห้ามยกของหนัก

เมื่อวานลองสะพายเครื่อง computer ขึ้นบ้าน ยังแทบจะไม่ได้เลย ถึงแม้เราจะเดินได้คล่อง ช่วยตัวเองในทุกสิ่งได้ก็ตาม แต่ยังเป็นผู้ป่วยอยู่ต้องระลึกถึงเสมอ

แต่ตอนนี้ ก็มีสิ่งที่ติดตาม คือ นิยายธรรมเรื่องราวของ พระเรวัตตะ-ลีลาวดี ที่พยายามสอนธรรมของพระพุทธองค์ ในรูปของนิยายธรรมให้ชวนติดตาม ฟัง สำหรับคนโดยทั่วไป ให้เรียนรู้ธรรม อีกวิธีหนึ่ง

มันเป็น นิทานธรรม ลีลาวดี

สองตอนแรก เป็นเรื่องของทุกข์
ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
ความเกิดก็เป็นทุกข์
ความแก่ก็เป็นทุกข์
ความเจ็บก็เป็นทุกข์
ความตายก็เป็นทุกข์
ปราถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
ประสพกับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบ นั่นก็เป็นทุกข์
และพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ที่ชอบ นั่นก็เป็นทุกข์

ตอนที่สาม คือเรื่องกรรม บุคคลหว่านพืชพันธุ์อะไรไว้ ย่อมได้พืชนั้น
โจรเรวัตตะ  ต้องถูกจับ บังคับให้สึก ไปรับโทษ เกือบถูกไฟเผาตาย
และกำลังถูกบ่วงมารกามราคะ จากลีลาวดี ที่ช่วยเหลือท่านเอาไว้

พระภัททิยะ ครูอาจารย์ ได้รับรองว่า เธอยังเป็นภิกษุอยู่ ด้วยเจตนาจากใจ ถึงจะไม่มีไตรจีวร แต่เธอ จงระวังตัว ยังไม่พ้นภัยกามราคะจากตนเอง นี่คือคำเตือนจากอาจารย์
 เป็นการสอนธรรม ให้ระวังตนใมนกามฉันท์ จากลีลาวดี
สิ่งที่ต้องกลัวจากหญิงที่มีอาวุธ คือ การเจรจา และน้ำตา

แต่พระเรวัตตะ ก็เอาตัวรอดได้  ฝ่ายโลก กับ ฝ่ายธรรม 
ฝ่ายธรรมย่อมชนะเสมอ  เพราะเป็นความจริง ที่มีอยู่จริง ถ้าจิตพิจารณาเห็นได้ ไม่หลงอยู่ในความคิด เพราะมันจะคิดเข้าข้างตนเอง เพราะความหลงใน รูป  รส  กลิ่น เสียง สัมผัสกายสตรี และคิดตามตัวเองอยากคิดคือการคำนึงในหญิง ลีลาวดี

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14203 เมื่อ: 18 มีนาคม 2558, 07:43:43 »



พระภัททิยะ สอนละกามฉันท์ แก่พระเรวัตตะ

ตอน สี่

ลีลาวดีขอให้พระเรวัตตะสึก มาเป็นสามีนาง นี่คือคำถามที่พระเรวัตตะต้องตอบในสามวัน

เช้าวันนี้พระเรวัตตะไปพบพระอาจารย์ และกล่าวคำขอสึก ท่านไม่พูดว่ากะไร แต่บอกว่า ขอให้ไปกับท่านก่อน พระเรวัตตะจึงเดินไปกับท่านอาจารย์ออกจากวัดเชตะวันไปหมู่บ้านหนึ่ง

ผ่านมาที่บ้านหนึ่งเห็นภรรยาที่แก่เฒ่าด่าว่าสามี  และสามีก็ออกมาจากบ้านทะเราะกัน พระเรวัตตะคิด คนเราแต่งงานกัน พอแก่เฒ่า ความรักหายไป มีแต่เรื่องขัดใจกัน ทะเราะวิวาทกันประจำ แต่ถ้าเราแต่งกับลีลาวดี เราจะไม่เป็นอย่างที่เห็น(คนมักคิดเข้าข้างตนเอง หาเหตุผลเพื่อสนับสนุนความคิดตนเอง เสมอนี่ละจิต นุษย์)

มาถึงคฤหาสใหญ่ พระอาจารย์พาขึ้นไปบนบ้านพบหญิงชรา  อยู่คนเดียวสามีนางตาย ทิ้งหน้าที่การงาน บ่าวไพร่ ที่นา การค้าขาย ยุ่งเหยิงให้นางต้องทำ นางก็สาธยายสารพัดปัญหา ที่เกิดขึ้น
ท่านอาจารย์สอนว่า หน้าที่ของชาวบ้านมันเป็นเช่นนี่ ไม่มีความสงบเลย  ผิดกับหน้าที่ของพระ อิสสระ เงียบสงบ คำกล่าวทำให้พระเรวัตตะเห็นด้วยกับเพศสมณะ

หลังจากนั้นท่านอาจารย์ พาเข้าป่า ไปถึงป่าช้าดงดิบ มีศพผู้ชายนอนตาย ตัวกลม มีน้ำหนองไหล หนอนไช  ส่งกลิ่น ดูแล้วน่าขยะขะแยง ท่านอาจารย์สอนว่า คนทุกคนต่อให้สวย ให้งามเพียงใด เมื่อตายลงสภาพจะเป็นเช่นนี้

ซากศพทำให้พระเรวัตตะ มองตนเองท่านอาจารย์ เป็นซากศพไปหมด  จนลืมว่ามาขอสึก ลืมลีลาวดีสิ้น รุ่งเช้าเมื่อกลับจากบิณฑบาตร ท่านอาจารย์สอนว่า จงปลีกวิเวก ทำความเพียรเถิด  ท่านจึงเก็บสิ่งของ ออกจากวัดไปบำเพ็ญเพียรที่วัดบุปผาราม อันสงบร่มเย็น ลืมลีลาวดีสิ้น

กิจที่สงฆ์ หรือผู้ใฝ่ธรรมพึงเอาเป็นแบบ อย่างคือ
ที่วัดบุปผาราม บ่ายท่านทำความสะอาดสถานที่ ค่ำฟังธรรม สวดมนต์ทำวัตรเย็น และพิจารณาว่าศีลบกพร่องข้อไหนบ้าง ก็พิจารณาซ่อมแซมให้เป็นปกติ เข้านอน ยามสุดท้ายตื่นมาทำความเพียร ก่อนบิณฑบาตร  กลับจากบิณฑบาตร ฉัน เก็บทำความสะอาด บำเพ็ญความเพียรถึงบ่าย

อย่าลืมเราต้องทบทวนตนเองว่า เราละเมิดศีลข้อไหน ก็ชำระเสีย ตั้งตันใหม่ ในวันรุ่งขึ้น เพื่อให้บิณฑบาตรบริสุทธิ์ นั่นเอง

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14204 เมื่อ: 18 มีนาคม 2558, 09:59:43 »



การบำเพ็ญเพียรทางจิตนั้น ต้องพึ่งธัมมวิจยะ คือเลือกเฟ้นธรรมเอามาคิดแทนจิตคิด เพราะมันเป็นไปได้ยากที่จะบำเพ็ญเพียรทั้งกลางวันกลางคืน เพราะจิตมันชอบคิด  การเฟ้นธรรมมาคิดจึงสมควรแล้วเพื่อล่อจิตออกมาในการคิดธรรม ไม่หลงคิดเอง

ตอนที่ ๕ เป็นเรื่องอารมณ์ราคะ โทสะ ผิดหวังที่เกิดขึ้นกับพระเรวัตตะ ที่หลงแต่คิด คิดแต่เข้าข้างตนเอง คิดเพ้อหาแต่ลีลาวดี หมดใจ ใจเป็นฆาราวาส แต่กายยังมีผ้าเหลืองเท่านั้น

จะเห็นว่าพิษกามราคะในรูป  รส  กลิ่น  เสียง  สัมผัสกายสาว  ที่เกิดจากการคิดปรุงแต่งไปเองนี้ ร้ายนัก แม่อสุภะก็เอาไม่อยู่เพราะหลงแต่คิดเท่านั้น

ภิกษุเพื่อนของพระเรวัตตะ ได้สอนเอาไว้ เพื่อนเอ๋ย  เมื่อไรเราเอาสิ่งที่เราหลงเราชอบ ใส่เข้าไปในความคิด  มันจะมีแต่คิดฟุ้งซ่าน จนอยากที่จะระงับลงได้โดยเฉพาะความคิดในรูป  รส  กลิ่น เสียง สัมผัสกาย ปล่อยใจนึกคิด  จงถอนมันออกมาจากความคิดเสียเถิด  การหลงคิดมีแต่ติดกับอยู่แต่ในความคิด จนยากที่จะออกมาได้  จะมีแต่ทุกข์ และจะทุกข์ยิ่งขึ้นเมื่อผิดหวัง เพื่อนเอ๋ย

จะออกจากทุกข์ ได้อย่างไรเพราะ พระเรวัตตะ ไม่รู้จักสติเสียแล้ว

คนเราไม่สุขตลอดไป  ไม่ทุกข์ตลอดไป เปรียบได้กับถนนเต็มไปด้วยหนาม เมื่อเราเหยียบเท้าลงไปก็ทุกข์  ยกเท้าขึ้นก็สุข  สลับกันไปอย่างนี้
การนอนตลอดไปก็ทุกข์ สุขเพียงระยะแรก  ดังนั้นจึงต้องมี นอน ยืน นั่ง เดิน  
ความสุข ความทุกข์ ก็เป็นดังนั้น

ราคะมารนั้น ยิ่งใหญ่จริง ๆ เพราะมันเกิดขึ้นกับจิต และตนเองก็หลงคิด จนไม่สามารถจะถอนมันออกได้ เพราะสติมันแพ้ความคิด ปัญญามันไม่เกิดเพราะหลงคิด เพราะขาดสติ

แต่สุดท้าย เวลาเท่านั้นจะรักษามันได้ อาจารย์ผู้สอนก็เอาไม่อยู่ กับพระเรวัตตะ

แต่มันคือละคร  สุดท้ายลีวาวดี ก็เขียนจดหมายมาบอกลาว่า ชาตินี้ต้องทดแทนบุญคุณแม่  แต่ใจนางมอบให้เรวัตตะหมดใจ ขอตอบแทนบุญคุณแม่ ด้วยการยอมแต่งงาน เกิดชาติหน้า ขอได้มีโอกาสได้แต่งงานกับท่าน

เพลิงที่กำลังลุก ได้เชื้อเพลิงโหมกระหน่ำ คือความโกรธ ความอาคาด ความผิดหวัง เกิดขึ้นในจิตของพระเรวัตตะ อยากจะไปฆ่า ทั้งสองคน ! จบตอนที่ห้า

ท่านฟังไป  ท่านต้องมีหลักคำสอนไปด้วย และวางจิตให้เป็นกลาง ไม่หลงคิดไปกับละคร เหตุการณ์

แต่มันยากนัก  ถ้าท่านไม่มีธรรม ตามที่หลวงพ่อคำเขียน  สุวัณโณ  ท่านสอนเอาไว้  ปฏิบัติให้เห็นธรรม  ไม่ต้องเชื่อใคร เพราะเราเห็นในธรรมนั้นได้เอง เราก็จะเข้าใจ  วางจิตของเราได้

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14205 เมื่อ: 18 มีนาคม 2558, 10:31:18 »




จริง ๆ ลีลาวดีไม่ได้เขียนจดหมาย

แต่เป็นพระกุมารผู้หลงรักในลีลาวดี เป็นคนเขียน และก็ได้ผลคือ รุ่งเช้าพระเรวัตตะก็ออกเดินทางไปทางทิศตะวันออกโดยเร็วให้ไกลที่สุดไม่ให้ใครรู้

ท่านบอกว่า รักมาก ก็โกรธ เกลียดมาก ฉันนั้น ความตายของลีลาวดี เท่านั้นที่จะทำให้ท่านลืมลงได้

ขณะเดียวกัน ลีลาวดี ก็ได้รับจดมายหนึ่งฉบับจากพระเรวัตตะ แต่เขียนโดย พระกุมารในอีกสามวันต่อมา

นางระทมทุกข์  เสียใจ  ส่งคนตามหาพระเรวัตตะ ก็ไม่พบ นางจึงนึกถึงหลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสอน เอาไว้

ความรัก  ทำให้เกิดความโศก
ความรัก ทำให้เกิดความกลัว

รักมาก  ก็โกรธมาก
รักมาก ก็กลัวมาก

เมื่อความรักไม่มี  ความโกรธก็ไม่มี
เมื่อความรักไม่มี ความกลัวก็ไม่มี

นางจึงมีแต่โศก และกลัว !

แต่พระเรวัตตะ ขออุทิศชีวิตแด่พระศาสนา เสียแล้ว ก็เดินทางไปเรื่อย ๆ อย่างไรจุดหมาย บิณฑบาตร สอนธรรมแก่ชาวบ้าน พบว่าชาวบ้านมีแต่เรื่องยุ่ง ท่านจึงไม่อยู่หมู่บ้านใดเกินห้าวัน ก็จากไป

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #14206 เมื่อ: 18 มีนาคม 2558, 10:38:53 »

                  สวัสดีค่ะพี่สิงห์ที่เคารพ  สาธุในธรรมที่เขียนบรรยายมา เป็นการถ่ายทอดขณะพักฟื้นเป็นกุศลแกผู้มารับฟัง
                   
                  ได้อย่างประณีต   นิทานธรรมะฟังได้ไม่รู้เบื่อเลยค่ะสำหรับต้อยฟังเอาตอนเข้าวัยสอวอ ที่ลูกชวนไปภาวนากับครูอ้อย
                    แม้ครูจะเล่าเป็นครั้งที่สอง ที่ส าม มีชื่อพระสาวก พระเจ้าต่างๆ อนาถิกเศรษฐี ที่พี่สิงห์เล่าอีกก็ชวนให้อ่านช
                     ขอบพระคุณค่ะ
      บันทึกการเข้า

Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14207 เมื่อ: 18 มีนาคม 2558, 10:46:06 »



วันนี้มีความรู้สึกคันแผล  จากภายในมากขึ้น
แสดงว่า ปราสาทมันเชื่อมติดกัน ต้องไม่เกามั
ทำเป็นไม่รู้จักมัน  อย่าไปหลงคิดกับมัน ให้รู้สึกตัวเข้าไว้

พระเรวัตตะ บอกว่า การสอนธรรมนั้น เท่ากับสอนตนเอง

ดังนั้น การเขียนธรรม  คือการสอนตนเอง นั่นเอง

สวัสดีครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14208 เมื่อ: 18 มีนาคม 2558, 10:50:00 »



สวัสดีค่ะ คุณน้องต้อย ที่รัก

ขอบคุณมาก

การเขียนธรรม ได้สอนตนเอง และทำให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ !

สาธุ สาธุ สาธุ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14209 เมื่อ: 18 มีนาคม 2558, 12:47:19 »



จะไม่มีเสาบังสายตาที่หน้าเสาธง




ขอขอบคุณ ดร.สุริยา  เป็นอย่างยิ่ง

ที่ได้ช่วยออกแบบ โครงหลังคา หน้าเสาธง โรงเรียนอินทร์บุรี ให้ใหม่

ตรงกับใจผม  และคุณครูทุกคน

ขอความสุข  ความเจริญในทรัพย์ จงบังเกิดขึ้นกับ ดร.สุริยา  ด้วยเทอญ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14210 เมื่อ: 18 มีนาคม 2558, 14:48:02 »


บรรจุอัฏธาตุ หลวงพ่อคำเขียน ใกล้ต้นจาน ศาลาน้ำใส ใต้เสาอโศก


สรุปคำสอนธรรม ตอนที่ ๖ ลีลาวดี

- ชาวบ้านงมงายสิ่งศักดิ์สิทธิ์
- ชาวบ้านญิงชราสูญเสียลูกอันเป็นที่รัก
- นายบ้าน บ้านถูกไฟไหม้

ชาวบ้านงมงายเชื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ !

ท่านเจอหมู่บ้านหนึ่ง บูชา เชื่อเทพเจ้าทั้งเจ็ด ว่าสามารถบันดาลสิ่งต่าง ๆให้ได้ ท่านถามว่าเทพเจ้าท่านอยู่ที่ไหน นายบ้านตอบว่า กลุ่มดาวรูปหมีทั้ง ๗ ที่จ้องมองพวกเราอยู่ ทุกคืน ใครต้องการ ะไรบูชา ท่าน ท่านก็จะช่วย

พระเรวัตตะถาม ว่าท่านเคยเห็นท่านมาช่วยไหม ? ชาวบ้านตอบว่า ไม่เคยเห็น
พระเรวัตตะถาม เมื่อบวงสรวงแล้ว ท่านช่วยเหลือ หรือประสพความสำเร็จทุกครั้งหรือไม่  ชาวบ้านตอบว่า ไม่สำเร็จ
พระเรวะตตะจึง อธิบายว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน หมายความว่าทุกสิ่งจะประสพผลสำเร็จได้นั้น ท่านต้องทำด้วยตัวของท่านเอง แล้วท่านก็ยกตัวอย่าง จนทำให้ชาวบ้านเชื่อเรื่อง กรรม ไม่เชื่อว่าพระเจ้า  เทพเจ้า  จะบันดาลให้ได้ ให้พึ่งการกระทำของตนเอง อยู่ในศีล ห้า เป็นต้น จะมีแต่สุขสงบ

ชาวบ้านหญิงชราสูญเสียลูกสุดที่รัก !

ผ่านมาริมแม่น้ำคงคาเห็นหญิงชราร้องให้คร่ำครวญแทบจะขาดใจที่เสียลูกอันเป็นสุดที่รักยิ่งไป ท่านจึงถามขึ้นว่า มีบ้านไหน หมู่บ้านไหน ที่ไม่มีคนตายบ้าง หญิงชราตอบว่าไม่มีเลย เจ้าค่ะ
พระเรวัตตะ อธิบายว่า คนทุกคน สัตว์ทุกตัว ต้นไม้ทุกต้น เมื่อมีเกิด ก็ต้องมีตาย เป็นเรื่องธรรมดา เพราะนี่คือความจริงของโลก ไม่มีใครหนีความตายไปได้ ฉนั้นในเมื่อคนเขาก็สูญเสีย เช่นท่าน  ท่านก็ไม่ควรเสียใจไปเลย
หญิงชรา ตอบว่า แต่นี่เป็นลูกสุดที่รักของข้าพเจ้า ช่วยเหลือเกื้อกูรข้าพเจ้าที่สึด ข้าพเจ้ารักมาก
พระเรวัตตะ ก็บอกว่า สิ่งใดรักมาก สิ่งนั้นก็เศร้าโศกมาก นี่คือความจริง
สุดท้ายหญิงชราก็เริ่มเข้าใจในธรรมจนความโศกระงับลงได้

ผ่ายไปอีกหมู่บ้าน ชาวบ้านนิมนต์ให้ท่านอยู่จำพรรษาที่นั่น
คืนหนึ่งเกิดไฟไหม้บ้าน ของนายหมู่บ้าน
เช้าขึ้นมานายบ้านก็มาร้องให้ขอให้ท่านช่วยเพราะไม่เหลืออะไรเลย เหลือเพียงบุตร ภรรยา ทรัพย์ต่าง ๆ ถูกไฟเผาไหม้หมดสิ้น จึงร้องห่มร้องให้มาขอร้องพระคุณเจ้า
พระเรวัตตะ ก็สอยธรรมจนท่านสงบระงับลงได้แล้วจึงยกนิทานว่า ก่อนจะมาถึงนี้ท่านผ่านหใบ้านหนึ่ง เห็นคนช่างปั้นหม้อกำลังไล่คนผู้หนึ่งออกจากโรงปั้นหม้อ เหตุมีว่า คนพเนจรท่านหนึ่ง ไม่มีที่พักช่างปั้นหม้อก็ให้พักในโรงปั้นหม้อ แต่พอเช้าขึ้นมาคนพเนจรก็ทึกทักเอาว่าโรงปั้นหม้อนี้เป็นของเขา เขาจะไม่ไปไหน  จนช่างปั้นหม้อต้องตามชาวบ้าน าช่วยกันไล่ออกไป
พระเรวัตตะสอนว่า เราทุกคนที่เกิดมาบนโลกใบนี้มาตัวเปล่าไม่มีอะไรเลย เมื่อตายลงไปก็ไปตัวเปล่าไม่มัสมบัติอะไรติดตัวไปได้เลย แถมเขายังเผาร่างของเราเสียด้วย เราเกิดมาอาศัยเขาอยู่ชั่วคราว ทรัพย์ทั้งหลายที่มีเราก็ขอยืมจากโลกใบนี้กันทั้งนั้น เมืาอท่สนบ้านถูกไฟไหม้ก็ข ให้คิดว่าโลกเขา วงของเขาคืนของเราคืนไป อย่าไปยึดมั่นกับมันเลย จะมีแต่ความทุกข์ เปรียบได้คนพเนจรนั้น เรามีชีวิตอยู่นี้ดีแล้ว เราสามารถหามันมาใหม่ได้ในทรัพย์นั้นอาตมาจะให้ชาวบ้านช่วยกันปลูกบ้านให้ท่านใหม่  สุดท้ายนายบ้านก็เข้าใจในธรรใที่ว่าเราเกิดมา มาอาศัยเขาอยู่ชั่วคราว แล้วก็ต้องจากไปทิ้งทุกอย่างไว้สิ้นเอาติดตัวไปไม่ได้ ส฿อยู่อย่างมีศีล ๕ ดีกว่า

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14211 เมื่อ: 18 มีนาคม 2558, 16:04:40 »



ธรรมนิยาย ลีลาวดี ตอนที่ ๗

ท่านทั้งหลาย สิ่งที่ข้าพเจ้ายึดถือปฏิบัติในการจาริก ที่ทำให้ข้าพเจ้าเป็นที่รักของชาวบ้าน คือการทำความดี  ส่งเสริมให้ชาวบ้านทำความดี จึงทำให้ข้าพเจ้าปลอดภัย ทำดีไดี  ทำชั่วได้ชั่ว

ท่านทั้งหลายที่หมู่บ้านหนึ่ง มีชายชราเป็นผู้คงแก่เรียนของหมู่บ้าน ตอนแรกก็ไม่ชอบข้าพเจ้า แต่พอสนทนากันแล้ว ก็ชอบพอกับข้าพเจ้า และทุกวันบ่ายก็ต้องมาสนทนากับข้าพเจ้าเสมอ

วันหนึ่งชายชราก็ถามข้าพเจ้าว่า ท่านสมณะท่านกินเนื้อ ท่านก็บาป เพราะคนให้ เขาก็ต้องไปฆ่าสัตว์มาทำอาหารท่านกิน ท่านก็บาป

ข้าพเจ้าก็ตอบว่า ข้าแต่ท่าน เราไปบิณฑบาตรไม่ได้เจาะจงอะไรเลย เขามีเหลือเขาก็แบ่งให้ ได้อะไรก็กินอย่างนั้น เรากินเพื่อประทังความหิว เราจะบาปได้อย่างไร เราไม่ได้สั่ง เราไม่รู้เรื่องการฆ่า เราไม่เห็นการฆ่า ถ้ารู้ ถ้าเห็น เราก็ไม่รับอาหารนั้นตามพระวินัย

การที่จะบาปหรือไม่ท่านจงพิจารณา มีผู้เีายวข้องสามคนคือ
๑ ผู้ฆ่าสัตว์ขาย
๒ ผู้ซื้อเอาไปทำอาหาร
๓ เราสมณผู้รับอาหาร
เราเป็นคนที่ ๓ ไม่รู้ในอาหารที่ได้มา ไม่ได้สั่ง ไม่เห็น จะบาปได้อย่างไร

ชายชราก็ตอบว่า ท่านก็บาปเพราะท่านกินเนื้อสัตว์ เปรียบได้โจรไปปล้นของเขามา แล้วเอาของมาให้ท่าน ท่านก็รับ ท่านก็บาป

พระเรวัตตะตอบว่า เราไม่รู้  ถ้ารู้เราก็ไม่รับ ท่านก็บาปอยู่ดีเพราะท่านกินเนื้อสัตว์ที่โจรเอามาให้

พระเรวัตตะพยายามจะอธิบายแต่ไร้ผล ชายชรายังโต้แย้งเหมือนเดิมว่าบาป ท่านจึงกล่าวว่า เอาอย่างนี้ ต่อไปเราจะไม่รับเนื้อสัตว์จะได้ไม่บาป แล้วท่านล่ะยังกินเนื้อสัตว์อยู่ไหม  ชายชราตอบว่ากิน อย่านั้นท่านก็บาปเหมือนกัน  ถ้าจะไม่ให้บาป ต่อไปพวกเราจงอย่ากินเนื้อสัตว์เลย จะได้ไม่มีการฆ่า
แล้วท่านก็จากไป ปล่อยให้ชายชราคิดต่อว่าจะทำอย่างไรเพราะเนื้อสัตว์มันอร่อย
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14212 เมื่อ: 18 มีนาคม 2558, 16:20:37 »



การรักษากฏ รักษาศีล หัวใจ คือการรักษาใจ หรือเจตนา

ท่านผ่านเข้ามาหมู่บ้านหนึ่ง ตอนค่ำ ขอไปพักกับชายท่านหนึ่งเพื่อขอน้ำดื่มประทังความหิว กระหาย ชายนั้นยกอาหารมา ท่านฉันแต่น้ำ โดยบอกว่า ท่านเจตนาเอาไว้้แล้ว ต้องการทำตามพระวินัย ท่านจึงไม่ฉัน อาหารนั้น
ชายชราถาม ท่านมีศีลกี่ข้อ
๒๒๗ ข้อ ท่านจะปฏิบัติได้หรือ
ได้ เราไม่จำเป็นต้องรู้ทั้งหมด ขอเพียงมีเจตนาที่จะไม่ละเมิดสักข้อ เราก็ทำได้แล้ว คือการรักษาที่ใจ เปรียบได้กับมีโค ๒๒๗ ตัว ท่านต้องคอยถือไม้ไล่ต้อนวัว วัวก็แตกแถว ที่ละตัว สองตัว สิบตัว ท่านก็ได้แต่ไล่ต้อนอยู่อย่างนั้น ไม่รู้จบ แต่ถ้าท่านตอกหลักหนึ่งให้มั่นกลางลานใหญ่ นำโคทั้ง ๒๒๗ ตัวมาผูกที่ลักนั้น วัวก็ไปไหนไม่ได้ ศีล กฏหมายบ้านเมืองเปรัยบได้กับโค  หลักนั้นเปรียบได้กับใจ หรือเจตนาในการรักษาศีล กฏหมาย เราไม่จำเป็นต้องรู้หมด ขอเพียงเรามีเจตนาที่จะรักษา เราก็รักษาใจของเราเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เราก็จะไม่ผิดศีล ไม่ถูกจับเพราะเราเพียงซื้อสัตย์ กระทำแต่ความดี เท่านั่น ทั้งที่ราก็ไม่รู้กฏหมาย

การสอนของพระเรวัตตะทำให้ชายนั้นนับถือมาก จึงเล่าความจริงปัญหาของตน และชาวบ้านทุกคนที่ถูกหัวหน้าบ้านกดขี่ค่าเช่านา เพราะชาวบ้านต้องเช่านาทำ ปีไหนแล้ง ก็ต้องไปกู้เขามาให้ จึงเป็นหนี้ จนไม่สามารถจะอยู่กันได้แล้ว ขอให้พระเรวัตตะช่วย
พระเรวัตตะรับปากว่าจะช่วย
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14213 เมื่อ: 18 มีนาคม 2558, 16:35:14 »



ที่หน้าประตูบ้านของนายบ้านมีสนามเด็กเล่น เป็นลานกว้าง
มีท่านนายบ้านนั่งดูอยู่ที่ซุ้มประตูบ้าน
มีเด็กชายคนหนึ่งเอาอิฐก่อเป็นเจดีย์
พระเรวัตตะ ฉันอาหารเสร็จก็มานั่งดูเด็กก่อเจดีย์อิฐเล่นอยู่

เด็กจะเอาอิญเรียงซ้อนขึ้นไปเป็นเจดีย์ สูงเท่าเอว แล้วก็เอาอิฐก้อนหนึ่งวางบนยอด พอเสร็จ ก็มาดึงอิฐแผ่นล่างออก เจดีย์ก็ล้มครืนลงมา ทำแบบนี้อยู่หลายหน เป็นที่สนุกสนาน พระเรวัตตะนั่งมอง

เมื่อเด็กกำลังจะเอาอิฐก้อนบนสุดวาง ท่านจึงเข้าไปถามว่า อิฐก้อนนี้คืออะไร เด็กตอบว่า อิฐก้อนนี้ แทนตัวพระราชาที่อยู่บนยอด มีอำนาจสูงสุด แล้วเด็กก็่วางอิฐพระราชาลงไป

เด็กกำลังจะดึงอิฐฐานออก พระเรวัตตะจึงถามว่า อิฐที่ทำฐานนั้นคืออะไร เด็กตอบว่า คือราษฏรนั่นเอง เมื่อดึงอิฐราษฏร ออกเจดีย์ก็ล้ม

พระเรวัตตะจึงบอกเด็กว่า พระราชา ผู้มีอำนาจ ถ้ามัวเมาในอำนาจ ไม่ดูแลราษฏร ราษฎรอยู่ไม่ได้ ท่านก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน เปรียบได้เจดีย์ที่ล้มนี้

ดังนั้น คนที่มีอำนาจ มัวเมาจนลืมหน้าที่ที่จะต้องเกื้อกูรต่อกัน เมื่อลูกบ้านอยู่ไม่ได้ เขามีทรัพย์  ทรัพย์นั้นก็ช่วยอะไรไม่ได้ ถือเขามีทรัพย์อยู่ในทะเลคนเดียว เมื่อเหลือเขาคนเดียว

นายบ้านได้คิด เดินมาก้มกราบร้องให้แทบท้าวพระเรวัตตะ สารภาพความผิด และตั้งสัตย์ว่าเขาทำผิดต่อชาวบ้านมามาก ต่อไปนี้จะยกหนี้ให้ และยกที่นาให้ชาวบ้านทั้งหมด

และก็เป็นจริง วันรุ่งขึ้นนายบ้านประชุมลูกบ้าน ยกหนี้ ยกที่นาให้ ชาวบ้านยินดี แห่ท่านนายบ้านรอบหมู่บ้าน

พระเรวัตตะก็จากหมู่บ้านนั้นไป

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14214 เมื่อ: 18 มีนาคม 2558, 16:50:18 »



พระสุรินทร์  ก่อนการคิด

พระเรวัตตะ พบเสือโคร่ง !

ครั้งหนึ่งพระเรวัตตะ เดินอยู่ในป่า เดินจนหมดแรง จึงล้มตัวลงนอนหลับใต้ต้นไม้ใหญ่

พอตื่นขึ้นมา มองไปโดยรอบ หัวใจท่านก็หล่นมาถึงตาตุ่ม เพราะห่างออกไป ห้าวา มีเสือโคร่งลายพาดกลอนตัวใหญ่ กำลังนั่งจ้องเลียลิ้นอยู่ จ้องมองมาทางท่าน

พระเรวัตตะกลัวสุดขีด  ความตายใกล้เข้ามาแล้วคงจะโดนเสือกินแน่ ๆ

แต่แล้วท่านก็มีสติเพราะท่านทำอะไรไม่ได้ เมื่อมีสติ ความกลัวก็หายไป ท่านนึกถึงคำของครูอาจารย์
จึงตั้งสติอธิษฐานอยู่ในใจ ทำสมาธิหลับตา ถ้าจะต้องตาย ก็ขอตายอย่างมีสมาธิ

แล้วท่านก็อธิษฐานว่า ถ้าท่านได้เคยก่อกรรมต่อเสือตัวนี้ในอดีตชาติมาก่อน ท่านก็ขอรับกรรมนั้น เป็นอาหารแก่เสือ  แตถ้าท่านไม่ได้เคยล่วงเกินต่อเสือตัวนี้ในอดีตชาติ  ก็ขอให้เสือตัวนี้จงหลีกทางให้ท่าน

เมื่ออธิษฐาเสร็จท่านก็ทำสมาธิ อยู่นาน พอลืมตาขึ้นมา เสือก็จากไปแล้ว

ความตาย ทำให้เรากลัว
ดังนั้น ต้องฝึก ไม่กลัวความตาย แล้วเราจะไม่กลัวอันตรายใดๆ เพราะความตายนั้นไม่มีอะไรจะใหญ่อยู่แล้ว
ถ้าไม่กลัวตาย ก็จะไม่กลัวอะไร

พระเรวัตตะ  จึงไม่กลัวอะไรอีกเลย ต่อนั้นมา

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14215 เมื่อ: 18 มีนาคม 2558, 19:32:26 »



สัมโมทนียกถางานบรรจุอัฐิธาตุหลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ

พระไพศาล วิสาโล
วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๘
วัดภูเขาทอง บ้านท่ามะไฟหวาน

 

วันนี้พวกเรามาพร้อมกันเพื่อทำพิธีบรรจุอัฐิธาตุของหลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ หลวงพ่อมรณภาพไปหลายเดือนแล้ว แต่ว่าหน้าที่ของเราที่พึงทำกับสรีระของหลวงพ่อ ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ วันนี้เราจะได้ทำกิจดังกล่าวเป็นขั้นตอนสุดท้าย คือบรรจุอัฐิธาตุของหลวงพ่อไว้ใต้เสาอโศกใกล้ๆ กับต้นจานที่หลวงพ่อได้ฝากฝังเอาไว้

เมื่อตอนที่หลวงพ่อใกล้มรณภาพ ท่านได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า อัฐิของหลวงพ่อส่วนหนึ่งให้ฝังไว้ใต้ต้นจานหน้าศาลาน้ำใส ซึ่งลูกศิษย์ก็ได้ปฏิบัติตามที่ท่านได้ระบุเอาไว้ทันที หลังจากที่ปลงสรีระของหลวงพ่อเมื่อเย็นวันที่ ๖ กันยายน  ปีที่แล้ว  เช้ามืดวันที่ ๗ พวกเราก็นำมาฝังไว้ใต้ต้นจาน

หลวงพ่อมีความประสงค์ให้พิธีกรรมหรือพิธีการเกี่ยวกับหลวงพ่อเป็นไปอย่างเรียบง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และไม่ฟุ่มเฟือย ท่านเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสร้างเจดีย์ใหญ่โตเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของท่าน แค่นำไปฝังไว้ใต้ต้นจานก็เพียงพอแล้ว อีกส่วนเอาไปบรรจุข้างๆ อัฐิของหลวงพ่อเทียนที่ลานหินโค้งใต้กงล้อธรรมจักร หลวงพ่ออยากให้อัฐิของท่านอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์คือหลวงพ่อเทียน รวมทั้งได้อยู่ใกล้ลูกศิษย์ ทั้งที่ละไปก่อนแล้ว และที่จะละหลังจากนั้น ตอนนี้ก็มีอัฐิธาตุของหลวงพ่อเทียน หลวงพ่อคำเขียน หลวงพ่อเสถียร ท่านวรเทพ และต่อไปก็จะมีอัฐิของอาตมาอยู่ตรงนั้นด้วย หลวงพ่อบอกเอาไว้แล้วว่าไม่ต้องไปไว้ที่ไหน มาไว้ตรงนี้แหละ จึงเป็นที่รู้กันว่าสุดท้ายปลายทางของอาตมาจะอยู่ตรงไหน

หลวงพ่อต้องการให้เอาอัฐิธาตุของท่านมาฝังไว้ใต้ต้นจาน เพื่อจะได้กลับคืนสู่ธรรมชาติ กลับไปเป็นส่วนหนึ่งของผืนดินและต้นไม้ คนเรามาจากธรรมชาติ อาหารที่เรากินเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต ก็ล้วนมาจากธรรมชาติ และเมื่อเราตายไป ร่างกายของเราก็กลับคืนสู่ธรรมชาติ กลายเป็นปุ๋ยหล่อเลี้ยงต้นไม้ ต้นจานต้นนี้ก็คงจะมีบางส่วนของหลวงพ่ออยู่ในนั้น รวมทั้งต้นไม้อีกหลายต้นที่อยู่ในบริเวณนี้ก็คงมีบางส่วนของหลวงพ่อรวมอยู่ด้วย เรียกว่าหลวงพ่อได้กลับคืนสู่ธรรมชาติ และสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้ธรรมชาติ

ชีวิตของหลวงพ่ออุทิศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติมาโดยตลอด โดยเฉพาะหลังจากที่ท่านเข้าใจธรรมะ ท่านก็มีความรักธรรมชาติและอุทิศตนเพื่อการรักษาธรรมชาติ ท่านได้ย้ายมาปักหลักอยู่บนหลังเขาตั้งแต่ปี ๒๕๑๙ ในขณะที่ลูกศิษย์ส่วนใหญ่ของหลวงพ่อเทียนอยู่ในเมือง หรืออยู่ใกล้เมือง เพื่อเผยแพร่ธรรมะให้กับคนเมือง แต่หลวงพ่อคำเขียนเลือกที่จะมาพำนักอยู่บนหลังเขาไกลจากเมือง ส่วนหนึ่งก็เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อจะได้ช่วยสอนญาติโยมที่อยู่ไกลวัดไกลเมือง ซึ่งก็คือบรรพบุรุษหรือปู่ย่าตายายพ่อแม่ของพวกเรานั่นเอง

ชีวิตของหลวงพ่อนอกจากการเผยแพร่ธรรมะแล้วก็ยังมุ่งอนุรักษ์ธรรมชาติด้วย ชีวิตของหลวงพ่อจึงเป็นไปทั้งเพื่อธรรมะและธรรมชาติ  แม้เมื่อหลวงพ่อป่วย ท่านก็ยังสอนธรรมให้กับพวกเราจนกระทั่งวาระสุดท้าย ท่านละสังขารไปอย่างสงบ ไม่มีความทุรนทุราย เป็นการแสดงธรรมให้เห็นว่า แม้เจ็บป่วย แม้ต้องตาย ก็ทุกข์แค่กาย แต่ใจไม่ทุกข์นั้นทำได้ หากเข้าใจธรรมะ

ชีวิตของท่านทั้งในยามปกติ เจ็บป่วย และสิ้นลม เป็นไปเพื่อธรรมะและธรรมชาติล้วนๆ แม้กระทั่งเมื่อละสังขารไปแล้ว ท่านก็อยากให้อัฐิธาตุของท่านกลับไปสู่ธรรมชาติ คืออยู่ใต้ต้นจานต้นนี้

เพื่อเป็นนิมิตหมายสำหรับลูกศิษย์และชนรุ่นหลัง และเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงคุณงามความดีของหลวงพ่อคำเขียน จึงมีการตั้งเสาอโศกขึ้นใกล้ต้นจาน โดยบรรจุอัฐิและอังคารส่วนที่เหลือของหลวงพ่อไว้ใต้เสาอโศกด้วย สถานที่แห่งนี้ไม่ได้มีขึ้นเพื่อระลึกนึกถึงหลวงพ่อเท่านั้น ที่สำคัญกว่านั้นก็คือเพื่อเตือนใจให้ระลึกถึงข้อธรรมคำสอนของหลวงพ่อที่ได้กล่าวให้ฟัง ทำให้ดู และอยู่ให้เห็นมาตลอดชีวิตบรรพชิตของท่าน

เมื่อใดที่เรามาเห็นเสาอโศกหรือต้นจานต้นนี้ แล้วนึกถึงคำสอนและการปฏิบัติของหลวงพ่อ สิริมงคลก็จะเกิดขึ้นกับเรา เปรียบเหมือนว่าเราได้ใกล้ชิดกับหลวงพ่ออย่างแท้จริง เพียงแค่เห็นหน้าท่าน เห็นตัวท่าน หรือสัมผัสจับปลายจีวรของท่านก็ยังไม่เรียกว่าเห็นหลวงพ่อ   ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสกับพระวักกลิว่า “แม้เธอจะจับชายจีวรของเราก็ไม่ชื่อว่าเห็นเรา” จะเห็นพระพุทธเจ้าได้ก็ต่อเมื่อเห็นธรรม  ดังพระองค์ตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” ฉันใดก็ฉันนั้น เราจะเห็นหลวงพ่อได้ก็ต่อเมื่อเราเห็นธรรม หรือนึกถึงธรรมที่หลวงพ่อได้สอน โดยเฉพาะข้อความที่จารึกไว้ใต้ฐานเสาอโศกว่า “ไม่เป็นอะไรกับอะไร” และ “เห็นทุกข์ก็พ้นทุกข์” ด้วยวิธีนี้เท่านั้นหลวงพ่อจึงจะเป็นกัลยาณมิตรของเราตลอดไป ดังข้อความที่สลักในหินอีกแผ่นหนึ่งว่า “ขอสั่งลาทุก ๆ ท่าน ธาตุขันธ์คงอยู่อีกได้ไม่นาน แต่ความเป็นกัลยาณมิตรยังอยู่ตลอดไป”

หลวงพ่อท่านสอนอยู่เสมอว่า ให้ “รู้ซื่อๆ”  และ “เห็นอย่าเข้าไปเป็น” อันนี้เป็นธรรมะสรุปรวบยอดของหลวงพ่อ ทั้งวิธีการปฏิบัติและผลของการปฏิบัติ คือว่าถ้าเรารู้ซื่อๆ  หรือเห็นโดยไม่เข้าไปเป็น เห็นกายเห็นใจตามที่เป็นจริง เห็นความคิด เห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจตามที่เป็นจริง รวมทั้งเห็นทุกข์ที่เกิดขึ้นกับกายและใจ โดยไม่เข้าไปเป็นผู้ทุกข์  ทุกข์นั้นแหละจะแสดงธรรมให้เราเห็น แสดงธรรมอะไร ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา  เพื่อให้เราไม่ยึดมั่นถือมั่นกับอะไรทั้งสิ้น เมื่อเราไม่ยึดมั่นถือมั่นกับอะไร สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือไม่เป็นอะไรกับอะไร ไม่เป็นผู้โกรธ ผู้ทุกข์ ผู้ปวด แม้ในยามเจ็บป่วย ก็ป่วยแค่กาย แต่ใจไม่ป่วยด้วย เพราะว่าไม่เป็นอะไรกับอะไร เรียกว่าแม้เจอทุกข์ จิตก็พ้นทุกข์ได้

อันนี้คือสมบัติล้ำค่าที่หลวงพ่อได้มอบไว้ให้กับเรา และเราก็ควรจะน้อมรับทุกครั้งที่ได้ระลึกนึกถึงหลวงพ่อ ไม่ว่าเราจะมีรูปหลวงพ่อ หรือมีอัฐิและอังคารของหลวงพ่ออยู่ในบ้าน แต่ถ้าเราไม่ปฏิบัติ ไม่รู้จักดูกายดูใจ อยู่กับความหลง ไม่มีความรู้สึกตัว ก็ถือว่าอัฐิหรืออังคารที่เรามีนั้นไร้ประโยชน์ ถ้าไม่ได้มีเพื่อกระตุ้นเตือนให้เราทำความเพียรเพื่อจะได้เข้าถึงธรรมอย่างที่หลวงพ่อเข้าถึงและได้แสดงไว้ ก็ไร้ค่า

หน้าที่ของเราที่พึงมีต่อสรีระหลวงพ่อกำลังจะจบสิ้นแล้ว แต่หน้าที่ต่อธรรมะของหลวงพ่อนั้นยังมีอยู่ต่อไป เราจะต้องสานต่อเพื่อสืบทอดและส่งเสริมพระศาสนา  เพื่อประโยชน์สุขของพวกเราและลูกหลานของเราในอนาคต  การที่พวกเราได้บรรจุอัฐิธาตุของหลวงพ่อใต้เสาอโศก ก็เป็นเครื่องหมายว่าหลวงพ่อได้อุทิศชีวิตเพื่อธรรมะ ชีวิตของท่านเปรียบเสมือนฐานรองรับพระศาสนา เหมือนกับที่กำลังจะเป็นฐานรองรับเสาอโศก

เสาอโศกนี้หมายความว่าอย่างไร เสาอโศกเป็นเสาที่พระเจ้าอโศกได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายของการประดิษฐานพระพุทธศาสนา  พระองค์ตั้งเสาอโศกตรงบริเวณที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนา ได้แก่สถานที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน รวมทั้งที่อื่นๆ อีกมากมายเพื่อเป็นเครื่องหมายของการประดิษฐานของพุทธศาสนาให้มั่นคง  พระเจ้าอโศกเป็นผู้ที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วประเทศอินเดีย ลังกา พม่า รวมทั้งไทย ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่าสุวรรณภูมิ ตั้งแต่เมื่อ ๒,๒๐๐ ปีที่แล้ว แต่มีเฉพาะอินเดียเท่านั้นที่มีการประดิษฐานเสาอโศกไว้

หลวงพ่อคำเขียนอุทิศตนเพื่อความตั้งมั่นของพระศาสนา โดยเริ่มที่บ้านท่ามะไฟหวาน จากนั้นก็ขยายไปบนหลังเขา แล้วก็ขยายไปยังจังหวัดอื่นในประเทศ นอกจากนั้นท่านก็ยังได้ไปแสดงธรรมที่ต่างประเทศด้วย การบรรจุอัฐิของหลวงพ่อไว้ใต้เสาอโศก จึงเป็นเครื่องหมายถึงการที่หลวงพ่อได้อุทิศตนเพื่อความตั้งมั่นของพระศาสนา เพื่อความดำรงยั่งยืนของศาสนธรรม

ในภายภาคหน้า เมื่อพวกเรามาที่นี่ เพื่อสักการะบูชาก็ขอให้น้อมใจเข้าถึงธรรมะด้วย อย่ามาที่นี่เพื่อมาบนบานศาลกล่าว อย่ามาขูดเสาหาเบอร์ อย่ามาอธิษฐานเพื่อให้ถูกหวยหรือขอให้มั่งมีร่ำรวย  จะเป็นเรื่องน่าเศร้ามากหากหลวงพ่อมีลูกศิษย์แบบนั้น ถ้าจะอธิษฐานก็อธิษฐานว่าขอให้มีความเพียร มีสติปัญญา เพื่อจะได้เห็นธรรมอย่างที่หลวงพ่อเห็น จะได้เข้าถึงธรรมอย่างที่หลวงพ่อเข้าถึง

นี้คือสิ่งที่เราควรทำกับพระบรมสารีริกธาตุด้วย ทุกวันนี้หลายคนมีพระบรมสารีริกธาตุอยู่ในครอบครอง บูชาไว้ในบ้าน แต่ถ้ามีไว้เพื่อสวดมนต์อ้อนวอนขออำนาจศักดิ์สิทธิ์อิทธิปาฏิหาริย์บันดาลให้ร่ำรวย  อย่างนี้ก็ถือว่าเรากำลังถลำสู่อวิชชาและความหลงงมงาย  การบูชาพระบรมสารีริกธาตุแบบนี้ไม่มีประโยชน์ แต่ถ้าเรามีไว้บูชาเพื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อเราจะได้ตั้งมั่นบำเพ็ญเพียร มีพระนิพพานเป็นที่หมาย จึงจะถูกต้อง  การสักการะของเราควรเป็นไปเพื่อส่งเสริมธรรม เพื่อเพิ่มพูนวิชชาหรือปัญญาขึ้นมาในใจเรา ไม่ใช่เพื่อพอกพูนความหลง กิเลสตัณหาหรือเสริมสร้างอวิชชาขึ้นมาในใจเรา เพราะจะทำให้เราหลงทิศหลงทางมากขึ้น

ขออนุโมทนากับญาติโยมทุกท่านที่ได้มาถวายสังฆทานและภัตตาหารแก่พระสงฆ์ เพื่อจะได้ร่วมกันประกอบพิธีในวันนี้ให้สำเร็จเสร็จสิ้นด้วยดี ท้ายที่สุดนี้ก็ขออ้างคุณพระศรีรัตนตรัยอำนวยให้ทุกท่านได้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ เพื่อเป็นพลวปัจจัยในการประพฤติปฏิบัติธรรมให้เจริญงอกงามในใจ เพื่อให้เกิดปัญญา พาใจออกจากความทุกข์เข้าสู่ความสุขเกษมศานติ์ มีพระนิพพานเป็นที่หมาย สมกับคำสั่งสอนของหลวงพ่อที่ได้อุทิศตนมาทั้งชีวิต  ขอให้คำสอนของหลวงพ่อได้สถิตในใจเรา เป็นเครื่องรักษาจิตให้ไกลจากความทุกข์ และเข้าถึงพระนิพพานด้วยกันทุกคนเทอญ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14216 เมื่อ: 19 มีนาคม 2558, 08:57:02 »


มาทำบุญที่วัดพระนอน เทศกาลตรุษไทย

สามเณรที่เห็นทางซ้ายมือ คือสามเณรวีระพันธ์  ที่จะบวชพระวันที่ ๒๒ มีนาคม นี้

วันนี้ ได้ทดลองขับรถไปทำบุญที่วัดพระนอน เทศกาลตรุษไทย ที่คนไทยสมัยใหม่ ไม่รู้จัก

เทศกาลตรุษไทย  คือวันสิ้นปีของไทยถ้านับทางจันทรคติ ที่วัดพระนอนจะทำบุญ ๓ วัน

ปกติสมัยที่ยังเป็นเด็กชาย ยังไม่มีรถยนต์ เทศกาลตรุษไทย แม่ ชาวบ้านทั่วไป จะทำขนมสามอย่างด้วยกันคือ
๑. ขนมกวน หรือบางภาคเรียกกาลาแม
๒. ข้าวเหนี๋ยวแดง
๓. มะพร้าวแก้ว

ขนมทั้งสามชนิดอยู่ได้นาน ทุกบ้านจะทำเพื่อเอาไปทำบุญ และแจกญาติ เพื่อนบ้าน แต่จะเลือกทำชนิดเดียว หรือสองชนิด เอาไว้แลกกับเพื่อนบ้าน

แต่ปีนี้เท่าที่ดู  ไม่มีเลย บางคนยังลืมว่าเป็นตรุษไทย  จำได้แต่ตรุษจีน รวมทั้งพี่สิงห์ ด้วย

เทศกาลตรุษไทย สมัยก่อน เป็นโอกาสของหนุ่ม-สาว ในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้าน จะมาเล่นลูกช่วง  มอญซ่อนผ้า เพื่อมาดูตัวกัน มาจีบกัน นั่นเอง สถานที่ คือ ตามวัด เป็นเทศกาล ปู่-ย่า ตา-ยาย มาจีบกัน เพราะปลอดจากการทำนา ทำไร่ ในตอนกลางวัน

ตอนเรียนอยู่ปี ๑ จุฬาฯ ช่วงตรุษ สงกรานต์ ก็กลับบ้าน ขี่จักรยานไปตามวัด และไปหาเพื่อน ที่เคยเรียนด้วยกัน และมีข้าวกิน ทางฝ่ายสาวต้องเลี้ยงข้าวฝ่ายชาย มันเป็นประเพณี  จะได้รู้ว่าสาวเจ้าทำอาหารถูกปากเราหรือไม่ !

สงกรานต์ จึงจะทำขนมจีน เพราะขนมจีนโบราณ มันทำยาก ใช้เวลาหมักข้าว ห้าวัน และต้องพร้อมใจกับเพื่อนบ้านในการโครกแป้ง โน้มแป้ง และจับเส้นขนมจีน คนโบราณจึงชอบกินขนมจีน เพราะมันทำยาก และอร่อย

ปัจจุบัน ไปซื้อกินไม่อร่อย บูดเร็ว  แป้งไม่เหนี๋ว เพราะไม่ได้ใช้แป้งหมัก ส่วนของโบราณอยู่ได้สามวัน ไม่บูด ตากแห้งทำหมี่ผัดยังได้

ทั้งหมดที่กล่าวมา  ปัจจุบันมันไม่มีแล้ว ชนม์รุ่นหลังไม่รู้จักแล้ว

สวัสดี

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14217 เมื่อ: 19 มีนาคม 2558, 09:36:14 »



อาหารเช้าวันนี้ กินข้าวก้นบาตร

กลับจากทำบุญเทศกาลตรุษไทยก็มากินข้าวบ้านพี่สาว กับเหลน ๆ เป็นการเปลี่ยนสถานที่บ้าน

ยังมีอาการเจ็บภายในเล็กน้อย  สามารถขับรถได้ เป็นปกติดี

๑๘ วันหลังจากการผ่าตัด

วันนี้ ที่ศาลาวัด พี่ ป้า น้า อา ญาติธรรม เข้ามาถาม เพราะทราบข้าวว่าเข้าโรงพยาบาล ไปผ่าตัด เท่ากับว่า รู้กันทั้งหมู่บ้านเลย ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้บอกให้ใครรู้

วันนี้ ท้องฟ้ามีเมฆ เลย ไม่ร้อน มีลมพัด  แต่ช่วงตรุษสงกรานต์ปกติจะมีพายุฤดูร้อน ลมแรง ต้องระวัง ธรรมชาติมันเป็นอย่างนี้

ปีนี้ ท้องนา ไม่ได้ปลูกพืชอะไรเลย เพราะตามคลอง หนองน้ำ  ไม่มีน้ำสักหยดเดียว แห้งผากเลยปีนี้  ก็ต้องอดทนกันไป เพราะคนกรุงเทพฯ กลัวน้ำท้วม จึงปล่อยน้ำลงทะเลหมดในหน้าฝน  และจะเป็นอย่สงนี้ทุกปี หน้าแล้งจึงไม่มีน้ำปลูกข้าว พืชไร่อีกแล้ว

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14218 เมื่อ: 19 มีนาคม 2558, 11:07:25 »


เปลญวน บ้านพี่สาว  ที่วัดพระนอน

ธรรมนิทาน ลีลาวดี ตอนที่ ๘

๑. ให้ระลึกถึงความตายบ่อย ๆ
๒. สะสมความดีติดตัว
๓. จงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่
๔. ลดทิฏฐิหมอ
๕. ปกครองสงฆ์ที่วัดเวฬุวัน

ให้ระลึกถึงความตายบ่อย ๆ

พระเรวัตตะ นั่งพักที่ต้นไทร ริมแม่น้ำเนรัญชรา ที่ไม่มีน้ำเลย  สักครู่มีชายชราเลี้ยงแกะ แพะ ผ่านมา มานั่งสนทนาด้วย
ชายชราถามว่า ท่านมาจากไหน  สาวัตถีอุบาสก
ชายชราถามว่า มาไกลขนาดนั้น มาคนเดียว ท่านไม่กลัวหรือ !
เราไม่กลัวหรอกอุบาสก เพราะเราระลึกถึงความตาย !
แสดงว่าท่านสมณะ เคยตายมาก่อน  หามิได้ท่านอุบาสก
เราเพียงใกล้ความตาย  เราได้ระลึกถึงความตายบ่อย ๆ มันก็ไม่กลัวตาย  เมื่อเราไม่กลัวตายแล้ว อะไร ๆ ก็ไม่กลัวทั้งนั้น

ดูก่อนอุบาสก ท่านเคยกลัวอะไรบ้างไหม?  เรากลัวลุงสมัยเป็นเด็กท่านท่า างดุร้ายมาก
แล้วเดี๋ยวนี้ท่านกลัว ลุงท่านไหม?  ไม่กลัวเลยท่านสมณะ
ทำไม? ท่านจึงไม่กลัว  เพราะตอนลุงป่วยเราไปเยี่ยมท่านบ่อยๆ ไปอยู่กับท่าน

นั่นละวิธีไม่กลัวความตาย  เราต้องระลึกถึงมัน  ดูคนตาย ให้พบบ่อย ๆ มันก็จะไม่กลัวตายไปเอง

คนเราเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว เรากำลังก้าวไปข้างหน้า ก้าวไปหาความตาย อยู่ที่ว่าใครจะก้าวเร็ว ก้าวช้า ไปหาความตายเท่านั้น  ถ้าเราระลึกถึงมันบ่อย ๆ เราก็จะไม่กลัวความตาย
แต่ถ้าท่านไม่ระลึกถึงมันบ่อย ๆ เมื่อความตายมาถึง เราจะมีแต่ความกลัว และตายแบบเต็มไปด้วยความกลัวทั้งสิ้น
แม่น้ำไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำตลอดเวลา เรามนุษย์ก็กำลังเดินไปหาความตายทุกวัน ความจริงมันเป็นเช่นนี้ สัตว์ มนุษย์ ต้นไม้ สิ่งมีชีวิต หนีความตายไปไม่พ้น ต้องตายสักวันหนึ่ง ดังนั้นถ้าเราระลึกถึงความตายบ่อย ๆ เมื่ เราต้องตาย เราก็จะไม่กลัวความตาย จะตายด้วยจิตที่สงบ ไม่ยึดมั่นถือมั่นลงได้

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14219 เมื่อ: 19 มีนาคม 2558, 11:11:32 »


ชิงช้า นั่งเล่น

สะสมความดีติดตัว !

ดูก่อนอุบาสก สมมติเรากำลังจะพายเรือข้ามฝาก แม่น้ำใหญ่
เราพายเรือที่มีรูรั่ว เราคงพายไปไม่ถึง เรือต้องจมกลางแม่น้ำ  ต้องจมน้ำตาย ท่านว่า เราควรจะทำอย่างไร เพราะความตายกำลังจะมาถึงแล้ว ในอีกไม่ช้าไม่นาน

ท่านสมณะ เราก็ร้องรำทำเพลงเพื่อให้ลืมความตายเสีย !
ท่านก็เป็นคนโง่น่ะซิ น่ะซิ  ทำไมท่านสมณะ

เรือรั่ว เปรียบได้กับมนุษย์
แม่น้ำ เปรียบได้กับวัฏฏะสงสาร
ฝั่งกระโน้น เปรียบได้ พระนิพพาน

เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นเรือรั่วที่ไม่สามารถไปถึงฝั่ง(พระนิพพาน)ได้ เมื่อรู้ว่าเรือต้องจม เราจะไม่ร้องรำทำเพลง เราจะเตรียมตัวให้พร้อม หาเครื่องช่วยชูชีพ เช่นเศษไม้ วัสดุมันพันรอบตัวเรา เมื่อเรือจมเราก็ยังลอยคอ ว่ายน้ำข้ามไปถึงฝั่งกระโน้นได้เพราะเราเตรียมชูชีพ เตรียมกาย เตรียมใจของเราเอาไว้แล้ว

ชูชีพ ช่วยพะยูงตัว เปรียบได้ด้วยกุศลกรรม ความดี !
มนุษย์เกิดมาท่านให้สร้างคุณงามความดี เพราะ เมื่อตายลงไปทรัพย์สมบัติที่อุตส่าห์หามาได้นั้น ติดตัวไปไม่ได้เลย แม้แต่ตัวเองเขาก็เผาทิ้งเพราะมันเหม็นมีแต่คนรังเกียจ เอาไว้ไม่ได้
แต่คุณงามความดี กุศลกรรมที่มนุษย์กระทำสะสมเอาไว้นั้น จะเป็นตัวช่วยให้มนุษย์ไปถึงฝั่งพระนิพพานได้ หรือไปสู่ภพที่ดีกว่าเดิมได้

ดังนั้น จงสะสมความดี กุศลกรรมเถิด จึงชื่อได้ว่าอยู่อย่างไม่ประมาท

เหลน ๆ หาข้าวให้กินเพล แล้วครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14220 เมื่อ: 19 มีนาคม 2558, 11:55:14 »


อาหารเพล เหลน ๆ เตรียมเอาไว้ให้


บ้านทรงไทยชนบท ต้องใต้ถุนโล่ง ป้องกันขโมย น้ำไม่ท้วม ได้อาศียพักในเวลากลางวัน เป็นที่ทำงาน นั่งสนทนา กินข้าว รับแขก และนอน ลมพัดผ่านเย็นสบาย นั่นคือภูมิปัญญาไทย  แต่ปัจจุบัน คนคิดตรงข้าม จึงมีแต่เจ็บ ป่วย

จงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ !

เช้าพระเรวัตตะ ก็ออกบิณฑบาตร ข้ามแม่น้ำเนรัญชรา มุ่งสู่นครราชคฤห์
ประชาชนมีอาชีพกสิกรรม  หาเช้ากินค่ำ เศรษฐี อยู่ปราสาท ๗ ชั้น ทุกคนต่างก็มีความสุข  พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ บ้านเมืองสงบร่มเย็น ไม่แก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น ต่างก็สงบสุข ตามอัฒตภาพของตน

คนเรานั้น จะยากจน มั่งมี แค่ไหน ความสุขมันก็เหมือนกันถ้ารู้จักการใช้ทรัพย์

ความสุขเกิดจากทรัพย์

ความสุขเกิดจากความพอใจของตน

ถ้ามีทรัพย์ ไม่รู้จักการใช้ทรัพย์ มันก็ไม่มีความสุข
คนจนมี ทรัพย์น้อย  แต่ใช้แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ อาจจะมีความสุขมากยิ่งกว่าเศรษฐีเสียอีก ที่ใช้ทรัพย์ไม่เป็น หรือได้แต่สะสม ไม่ย่อมใช้ทรัพย์

ความสุข มันอยู่ที่ใจ  ถ้าเราวางใจของเราเป็น คือถูกตำแหน่ง จังหวะ มันก็สุขได้ คือ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง  พอใจในสิ่งที่ตนมี เท่านั้น

ความสุข มันเป็นเช่นนี้เอง

อย่าลืมทรัพย์สมบัติ ร่างกาย เรามาอาศัยเขาอยู่เท่านั้น อย่าไปยึดมั่นถือมั่นเลย จะมีแต่ความทุกข์ใจ  ความสุข แท้จริงคือความสุขใจ(ไม่วิตก กังวล)

ดังนั้น จงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่เถิด แล้วจะพบแต่ความสุข สงบ(ไม่วิตกกังวล)

สวัสดี

หมายเหตุ  จำแต่หัวข้อ คนเราจะจำหมดได้อย่างไร? ฟังครั้งเดียวเมื่อวานนี้ แต่เพราะมีธรรม จึงเขียนธรรมนั้นได้
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14221 เมื่อ: 19 มีนาคม 2558, 13:57:49 »


ต้นแคกำลังออกดอก  พรุ่งนี้ได้กินแกงส้มดอกแค  แก้ไข้หัวลม(อากาศร้อน)

ลดทิฏฐิหมอ !

พระเรวัตตะ เดินชมชนบทไปจนเห็นประตูเมืองธรรมชาติคือภูเขาเวรบรรพต จึงหยุดพักร้อนใต้ต้นไม้ใหญ่
สักครู่ก็มีชาย ท่านหนึ่งเป็นหมอรักษาโรค มาถึงภายหลังจากทักทายกัน ท่านก็คุยไม่หยุดในความสามารถรักษาโรค ไม่มีโรคชนิดไหน ที่ท่านรักษาไม่หาย ท่านเป็นหมอที่เก่งที่สุดในเมืองราชคฤห? !

พระเรวัตตะ รู้ได้ทัน ว่าหมอคนนี้เต็มไปด้วยทิฏฐิ  เราจะต้องสอนเขาใหเลดทิฏฐิลงให้ได้ จึงบอกไปว่าเราก็เป็นหมอ เราเป็นหมอรักษาใจ ไม่คิดสตางค์ มีแต่ความสุขใจ ที่ได้ช่วยเหลือ ไม่มียา

แต่มีอยู่โรคหนึ่งอยากให้หมอช่วยรักษา เพราะเราก็รักษาไม่หาย
บอกมาเลยท้านสมณะ เราจะรักษา เจียดยาให้เอง ไม่คืดสตางค์สำหรับท่านรักษา ให้ฟรี ทุกโรคเรารักษาให้หายได้หมด !

พระเรวัตตา มีอยู่โรคหนึ่งที่เรียกว่าโรคชรา หลังค่อม ผมขาว ฟันหัก เดินไม่ไหว สายตามองไม่เห็น จะลุก จะเดิน ก็ลำบาก ขอท่านหมอจงช่วยรักษาให้ด้วยเถิด ทุกคนล้วนต้องประสพทุกคน

หมอได้ฟัง ใบหน้าถอดสีทันที  จึงตอบไปว่าโรคนี้ไม่มีทางรักษา ครับ !

หมอสิ้นทิฏฐิ ทันที ก้มลงกราบพระเรวัตตะ และถามท่านว่า ท่านรักษาใจ อย่างไร ?
พระเรวัตตะ คนเราทุกข์เพราะทรัพย์ มีทรัพย์มากก็ทุกข์ ไม่มีทรัพย์ก็ทุกข์  ใช้ทรัพย์ไม่เป็นก็ทุกข์ ทุกข์เกิดจากกายที่เราไปยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกาย  แต่คนส่วนใหญ่นั้นทุกข์ ใจ เพราะวางใจไม่เป็น ทำใจไม่ได้ ยิ่งรักมาก พอสูญเสีย ก็โศกมาย เรามีหน้าที่สอนให้รู้ความจริงในธรรมชาติที่คนไม่รู้ เมื่ รู้ความจริงแห่งกาย-ใจ ก็จะสามารถวางใจได้ โรคทุกข์ใจมันก็หาย คนเป็นกันมากด้วย เราก็สอนเท่าที่เราจะทำได้ ท่านหมอ
หมอได้ก้มลงกราบพระเรวัตตะ  ด้วยความสนิทใจอีกครั้งหนึ่งหมดทิฏฐิสิ้น

อย่าลืมระวังใจของเราให้ดี ต้องรู้เท่าทันมันด่วยสติ แย่าไปหลงอยู่กับมัน

สวัสดี

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14222 เมื่อ: 19 มีนาคม 2558, 14:08:51 »


ต้นแก้วมังกร

ปกครองสงฆ์วัดเวฬุวัน

พระเรวัตตะ ได้ไปอาศัยอยู่ที่วัดเวฬุวัน เป็นสถานที่รื่นรมณ์น่าอยู่ยิ่ง ท่านจึงตั้งใจจะอยู่นาน และได้สอนธรรมไปด้วย
วันหนึ่ง เจ้าอาวาสต้องการธุดงค์ จึงมอบหมายให้ ท่านปกครองสงฆ์ ดูแลวัด เพราะ ท่านอาวุโสสูงสุด และมีภูมิธรรมสูง

ท่านปกครองสงฆ์ คณะสงฆ์ก็เหมืองสังคมทั่วไป ยัง อิจฉา ริษยา เอาอกเอาใจเจ้าอาวาสยิ่ง เพื่อลาภ  สักการะ ความเป็นอยู่ที่ดี

ดังนั้น ท่านจึงต้องนำธรรม ที่ประกอบไปด้วย เมตตา กรุณา มุฑิตา  อุเบกขา  มาใช้ในการปกครองสงฆ์ของท่าน  ความสงบสุขจึงเกิดขึ้น และท่านเอง ก็ไม่ติดอยู่ในลาภ สักการะ ที่คนเอามาถวายมาก ท่านจะแบ่งปันให้กับสงฆ์ ไม่เก็บเอาไว้เลย ท่านทำให้เป็นตัวอย่างที่ดี คณะสงฆ์ที่วัดเวฬุวัน  จึงมีแต่สุข สงบภายใต้การปกครองของ ท่านเพราะหลักธรรม เมตตา  กรุณา  มุฑิตา  อุเบกขา  นั่นเอง

ทุกท่านที่ต้องปกครองคน อย่าลืมมี เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา ครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14223 เมื่อ: 19 มีนาคม 2558, 17:59:24 »


โรงเรียนอินทโมลีประทาน มีนักเรียนประมาณ 2,300 คน เปิดถึง ม.3

ธรรมนิยาย ลีลาวดี ตอน 9

๑. ความจริงเปิดเผย
๒. ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์
๓. จะรักใคร อย่ารักสุดหัวใจ
๔. ถ้าใครมาตำหนิเรา เขาคือผู้ให้ขุมทรัพย์

ความจริงถูกเปิดเผย

ลีลาวดีเมื่อรู้ความจริงทั้งหมด ก็เลยบวชเป็นภิกษุณี เที่ยวตามหาพระเรวัตตะ มาตลอด จนเดินทางมาถึงวัดเวฬุวัน  ขอพบพระเรวัตตะ เมื่อท่านสืบแน่ชัดว่าใช่

พระเรวัตตะด้วยความโกรธ(รักมาก ก็โกรธมาก) จึงไม่ยอมให้พบ ภิกษุณีลีลาวดี มาอ้อนวอนที่กุฏิ ก็ไร้ผล สุดท้ายนางล้มป่วยลงด้วยความตรอมใจ

พระเรวัตตะก็หนีไปบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำสุกรขาตา แต่ก็ไร้ผล กายสงบ แต่ใจมีแต่ลีลาวดี พรุ่งพล่านไม่เป็นสมาธิ

นางภิกษุณีลีลาวดา ให้คนมาบอกว่า ขอพบเป็นครั้งสุดท้ายก่อนตาย เพื่อบอกความจริงให้พระเรวัตตะทราบ
เมื่อพระเรวัตตะมาพบเธอนอนจมไข้ หายใจรวยริน โดยมีนางภิกษุณีอาวุโสดูแลอยู่ ไม่มีริ้วรอยความสวยหลงเหลืออยู่เลนด้วยความตรอมใจจากความรัก "ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์" รักมาก รักหมดหัวใจก็ทุกข์มากเท่านั้น

ภิกษุณีลีลาวดีมองหน้า อธิบายความจริงให้ทราบ เรื่องจดหมาย ชาตินี้เธอใช้กรรมหมดแล้ว ขอให้พระเรวัตตะอภัยให้เธอด้วย ชาติหน้ามีจริง ขอให้เธอได้สมหวังพระเรวัตตะ
พระเรวัตตะ ได้กล่าวขอโทษต่อนาง และให้อภัยนาง แต่ชาตินี้มีกรรมขอใช้กรรมเก่าให้หมดไป ขอพบกันในชาติหน้า ตนยกโทษให้

ภิกษุณีลีลาวดี ยิ้มด้วยน้ำตา เธอหลับตาลง หายใจแผ่วเบาลง ๆ สิ้นใจไปอย่างสงบ
พระเรวัตตะได้ฌาปนกิจศพเธออย่างสมเกียรติ และเอากระดูเธอใส่เจดีย์เอาไว้ที่ข้างประตูวัดพระเวฬุวัน และทุกคืน จะมานั่งอยู่กับเจดีย์จนเห็นแสงเงินแสงทองจึงจากไป

ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์

พระเรวัตตะ ถึงจะสอนคนมามากแต่ก็มาติดบ่วงความรัก จึงมีแต่ทุกข์ จนไม่สามารถบำเพ็ญความเพียรได้ ท่านพยายามหลบไปบำเพ็ญเพียรที่ถ้าสุกรขาตา
วีนหนึ่งขณะท่านบำเพ็ญเพียร ก็เห็นหฐิงงาม พยายามปีนยอดเขาขึ้นมา แล้วก็นั่งร้องให้ น่าเวทนายิ่ง ท่านจึงส่งเสียงให้ทราบ แล้วไปสนทนาด้วย
ดูกรกุลธิดา ทำไม่ท่านโศกนัก นางบอกว่านางผิดหวังความรักจากชาย จึงคิดจะมาฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดหน้าผา
ดูกรกุลธิดา ถึงแม้เธอจะโดดลงไปตายสมใจ แต่เธอจะตายแต่ร่าง ส่วนใจนั้น จะติดไปเกิดในภพใหม่ ทุกครั้งที่เกิดมีแต่ทุกข์ รักมาก ก็โศกมาก ทุกข์มาก  ดูอย่างเราเป็นต้น(ท่านเล่าความรักของท่านให้ฟัง)
การแก้ปัญหามีสองทางคือ หนึ่งฆ่าตัวตาย(แต่ใจไม่ตาย) สองคือ อดทน แล้วมันจะผ่านไป เราแก้ปัญหาของเราด้วยความอดทน จึงได้หนีมานี่ละ

นางจึงคลายโศกลง

จะรักใคร อย่ารักหมดใจ

เมืาอนางคลายโศกลง และไม่คิดค่าตัวตาย ท่านจึงสอนต่อไปว่า ต่อไปจะรักใคร อย่ารักหมดหัวใจ ให้แบ่งเป็นส่วน ๆ โดยเอาความรักที่เหลือไปแบ่งให้พ่อ-แม่ญาติ เพื่อ ครูอาจารย์ เพื่อว่าเมื่อผิดหวังจะได้ไม่โศกหมดใจจนคิดฆ่าตัวตาย

กระจกมีสองด้าน

ทุกสิ่งในโลกนี้มีสองด้านเสมอ เมื่อสุข ก็มีทุกข์  สมหวัง ก็ผิดหวัง มีมืด ก็มีสว่าง ฉนั้น จงเผื่อใจไว้บ้าง จะได้ไม่เสียใจแบบเดิมอีก

นางเห็นธรรมความจริงดัง พระเรวัตตะสอน จึงได้ก้มลงกราบ ไม่คิดฆ่าตัวตาย และจะไม่รักใครหมดหัวใจ จะใช้ความอดทนเอาชนะใจตนเอง

พระเรวัตตะ  สุขใจที่ได้ช่วยชีวิตนาง และทำให้ตนเองลืม ลีลาวดีลงได้บ้าง สงบขึ้น

ใครมาด่าว่าเรา นั่นเขากำลังให้ขุมทรัพย์

มีภิกษุลูกเศรษฐีมาบวช ไม่ชอบให้ใครมาสอน และท่านก็ไม่ประพฤติธรรม เอาแต่ใจตนเอง  จนเป็นที่เอือมระอาของเหล่าภิกษุ ด้วยกัน

ดังนั้นวันหนึ่งท่านจึงไปพบ ได้ยกตัวอย่างมากมาย จนในที่สุดท่านก็เอาชนะได้ ภิกษุก้มลงกราบ เพนาะตนเป็นคนรวย เอาแต่ใจตนเอง จึงมองไม่เห็นการกระทำของตนเองว่า ไปทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน  บัดนี้ท่านรู้ตัวแล้ว จึงก้มกราบท่านที่ชี้ขุมทรัพย์ ที่ตนมองไม่เห็นได้

อย่าลืมนะครับ อย่าหลงอยู่ในความคิด "ใครมาด่าว่าเรานั้น เขากำลังให้ขุมทรัพย์แก่เรา ที่เรามองจิตเราไม่ห็น แต่งคนอื่นเขามองเห็น เราก็แก้เสีย จะมีแต่สุขยิ่ง เป็นการลดทิฏฐิ ตนเอง ละความยึดมั่น ถือมั่นในตนเอง

จบครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14224 เมื่อ: 19 มีนาคม 2558, 20:12:13 »



อาทิตย์หน้าคงกลับบ้านที่ กทม. เพราะขับรถได้แล้ว  แต่ยังไม่กล้าเบรคแรง ๆ เท่านั้น

วันที่ ๒๐ มีนาคม ไปทำบุญ วัดพระนอน เทศกาลตรุษไทย
วันที่ ๒๑ มีนาคม ไปทำบุญ วัดพระนอน เทศกาลตรุษไทย
วันที่ ๒๒ มีนาคม ไปบวชพระ ที่เป็นโยมอุปฐากเณร วัดพระนอน
วันที่ ๒๓ มีนาคม เวลา 09:00 น.ไป  x-rayและทำอัลตร้าซาวด์ตรวจถุงน้ำดีอีกครั้ง ที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี คุณหมิวิฑิต  นัดมา
วันที่ ๒๔ มีนาคม คุณหมอสมเจตต์ ศัลยแพทย์นัดตรวจติดตามผล และ าจส่งตัวมารักษาต่อมลูกหมากที่โรงพยาบาลจุฬาฯ เพื่อนคุณหมอพีร์ รักษา

ถ้าไม่มีอะไร ปกติดี จะกลับบ้าน กทม. ครับ

ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 567 568 [569] 570 571 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><