พระพุทธเมตตา
พระพุทธเมตตา เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ยุดแรก ในพระพุทธศาสนา ที่สร้างสมัยปาละ ย่อมมีส่วนคล้ายพุทธลักษณ์ ของพระพุทธองค์ มากที่สุด
จะเห็นว่าปางขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น นั้น ไม่ได้นั่งหลับตา แต่ทอดสายตามองต่ำ ติดตาม(ใช้สติ)สภาวะธรรมที่เกิดขึ้นกับ รูป-นาม
อย่าลืมว่าในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธองค์ และเหล่าสาวกท่านอยู่ป่า สัตว์ร้ายชุกชุม ถ้าท่านนั่งหลับตา ก็ถูกเสือคาบไปกิน เพราะเสือมีมากในอินเดีย ถูกงูกัด ได้
ดังนั้น การนั่งสมาธิ เราควรยึด พระพุทธรูปปางขัดสมาธิเป็นหลัก ในการภาวนา
ทำไม? ต้องนั่งแบบนั้น เพื่อให้ถูกต้องตามพุทธลักษณ์ ไง!
ในพระไตรปิฎก ไม่พบคำว่าให้นั่งหลับตา มีเพียงให้ตั้งกายตรง ดำรงสติให้มั่น
คำถามที่ญาติโยม ถามผมบ่อยมากคือ นั่งสมาธิ ทุกครั้ง นั่งหลับจนเป็นนิสัย จนมีคำสอนออกมาว่า(คิดเอง และผิดด้วย) ก็ให้มันนั่งหลับอย่างนั้น เพราะหลับจากสติ
จริง ๆ เป็นคำสอนที่ผิด เพราะมันหลับด้วยความคิด ไม่ได้หลับด้วยสติ !
เหตุที่คนนั่งสามธิ หลับ เพราะ ท่านนั่งหลับตา เมื่อหลับตา พอสติหลุด ไม่อยู่กับลมหายใจเข้า - ออก หรือ ท้องป่อง - ท้องยุบ ท่านหลงเข้าไปในคความคิด เหมือนหลงเข้าไปในความฝัน อันเดียวกัน มันก็เกิดภวังค์ จึงไม่รู้ตัว นั่งหลับสัปปะหงก ดังที่ท่านเห็นภาพทั่วไป ในสถานปฏิบัติธรรม พอรู้ตัวก็ตื่น และพอหลงเข้าไปในความคิดอีก ก็นั่งสัปปะหงกหลับอีก เป็นเช่นนั้น เพราะรูป-นาม มันเป็นอนัตตา บังคับมันไม่ได้ และมันชอบคิด ไม่ชอบมีสติ จึงนั่งหลับสัปปะหงก จนยากจะเอาชนะมันได้ การปฏิบัติธรรม จึงไปไม่ถึงไหน
ดังนั้น ถ้าท่านจะนั่งสมาธิ ให้ยึดพระพุทธรูป ปางขัดสมาธิเป็นครู คือให้ท่านนั่งขัดสมาธิขัดตะหมาดขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ยึดกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น ทอดสายตามองต่ำ ไม่หลับตา พิจารณา ลมหายใจเข้า ก็รู้ว่าลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็รู้ว่าลมหายใจออก รู้สึกเฉย ๆ ไม่คิด หรือ เมื่อหายใจเข้า ก็รู้ว่าท้องป่อง เมื่อหายใจออกก็รู้สึกว่าท้องยุบ รู้สึกเฉย ๆ นอกจากนี้ก็ให้จับความรู้สึกทั่วกาย ในสภาวะธรรม ที่เกิดขึ้นกับกาย เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง หย่อน ก็ให้รู้สึก แต่รู้สึกเฉย ๆ ให้ติดตามสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นกับจิต(เจตสิก) ก็ให้รู้สภาวะธรรมนั้น แต่ถ้าจะคิดก็ให้ยกธรรมของพระพุทธองค์มาคิด เช่น อริยสัจ ๔ รูป-นาม ไตรลักษณ์ แต่ท่านต้องมีสติ อย่าหลงไปกับความคิด จนจิตมันตั้งมั่น เป็นสมาธิ เอาชนะเวทนา เอาชนะนิวรณ์ ๕ ได้ ทำญาณที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ให้เกิดขึ้น ดำรงอยู่ในเอกคตาจิต
ตัวชี้วัด คือ ไม่คิด ไม่หลง ไม่ไหล ไปกับความคิด เมื่อท่านนั่งสมาธิ
ใหม่ ๆ มันจะคิด ฟุ้งซ่านไปหมด ก็ปล่อยมัน เพราะเราบังคับมันไม่ได้ มันเป็นอนัตตา ปล่อย ไป ๆ สักพักอาจจะต้องใช้เวลานาน ก็ปล่อยไป เพราะเรามีเวลาไม่จำกัด นานก็นาน จนจิตมันตั้งมั่น เป็นสมาธิ เอาชนะเวทนา และเอาชนะนิวรณ์ ๕ ได้ เป็นสมาธิ
ตามที่ท่านเห็นตามทีวี หรือพระท่าน สอนให้ญาติโยม นั่งสมาธิ สิบนาที นั้น เพราะท่านก็รู้ว่าคนจะนั่งหลับ สัปปะหงก ภาพออกมาไม่สวย และพระผู้สอนท่านก็ทำไม่ได้ท่านจะไม่นั่งหลับ ท่านจะจ้องดูแต่นาฬิกา คอยให้สัญญาณ
อย่าลืม จิตมนุษย์นั้นฝึกได้ ขอให้ฝึกบ่อย ๆ อย่าเอาเวลามาเกี่ยวข้อง เมื่อมาภวนา ต้องมีเวลาเสมอ อย่างน้อยนั่งภาวนา แต่ละครั้ง ต้องเอาชนะนิวรณ์ ๕ ได้ เอาชนะเวทนาที่เกิดขึ้นให้ได้ จนเกิดปีติ (สักครั้ง ให้จิตมันได้ศึกษา รู้เอาไว้)
สวัสดี