24 พฤศจิกายน 2567, 19:26:54
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 457 458 [459] 460 461 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3575710 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 25 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11450 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 07:46:00 »


สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

เช้านี้ท่านรับประทานอาหารเช้าหรือยัง ?
อย่าลืมร่างกายต้องการสารอาหารในมื้อเช้าเพื่อไปล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ให้คงอยู่ต่อไป

การรู้จักรับประทานอาหารให้ถูกหลัก 2:1:1 คือผักสองส่วน ข้าวหนึ่งส่วน และโปรตีนหนึ่งส่วน

กินอาหารให้เป็นยา คือกินตรงเวลา อย่างน้อยเช้า กลางวัน มื้อเย็นเป็นมื้ออันตรายอย่ากินมาก อย่ากินตามใจปาก

และถ้าท่านหมั่นออกกำลังกายด้วยการเดินวันละหนึ่งชี่วโมง อาทิตย์ละสี่วัน

และเจริญสติจนเป็นสมาธิ สวดมนต์ก่อนนอน นอนแต่หัวค่ำ ทุกวัน

เพียงเท่านี้ท่านจะห่างไกลโรค จริงๆ เพราะ พี่สิงห์ ก็ทำอย่างนี้ ไม่เป็นอะไรเลย ในหลายปีที่ผ่านมา

ผู้ที่ไปสวดสาธยายพระไตรปิฏกที่ผ่านมารวมถึงดร.กุศล เป็นหวัด เกือบทุกคน พี่โสข้างบ้านยังไม่หาย  หลวงปู่ปฐมพจน์ยังอยู่โรงพยาบาล และคนอื่นๆ ก็เป็นหวัดกันทั้งนั้น เพราะร่างกายอ่อนแอ ไม่ทำอย่างพี่สิงห์ จึงต้องไม่สบายเป็นธรรมดา

ปีใหม่นี้ขอให้ทุกท่านให้ของขวัญตัวเอง ด้วยการมีเวลาเสมอสำหรับการออกกำลังกาย กินอาหารเช้า-กลางวันแบบพี่สิงห์ และสวดมนต์ เจริญสติ นอนหัวค่ำแบบพี่สิงห์ ท่านจะห่างไกลโรคได้  อย่าแน่นอน

ไม่เชื่อลองกระทำดูซิครับ ท่านจะพบด้วยตัวท่านเอง มีแต่สุข ไม่วิตกกังวลอะไรเลย  มีทุกข์น้อย อยู่อย่างพอเพียง ก็สุขได้

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11451 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 08:00:17 »



เช้านี้ได้ นั่งเจริญสติ  สวดมนต์ทำวัตรเช้า เดินจงกรมออกกำลังกาย และฝึกชิกง-โยคะ บนเทอเรสชั้นสามของโรงแรม

โรงแรมเงียบเหงา ไม่มีนักท่องเที่ยว มีแต่พนักงานเชพล่อน เท่านั้น

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11452 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 08:02:15 »



ศีล  สมาธิ  ปัญญา
สำหรับบุคคลทั่วไป

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ ของอาจารย์อุทัย  บุญเย็น สรุปได้ว่า พุทธศาสนาเน้นที่การประพฤติกาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติ ด้วยการรักษาศีล และอยู่ด้วยความไม่ประมาทในสังขาร เพราะสังขารนั้นเป็นอนิจจัง มีแก่ มีโรค และตายได้ ดังนั้นเราต้องเร่งทำความเพียรด้วยการมี ศีล  สมาธิ  ปัญญา

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ นั้น เน้นให้เห็นว่า กรรมคือการกระทำ ใครทำกรรมดีตายไปจะไปเกิดในสวรรค์ ในภพที่ดีกว่าจากผลของกรรมนั้น ใครทำชั่วผิดศีล ๕ ตายไปย่อมไปเกิดเป็นสัตว?เดรฉารและนรกภูมิ โดยชี้ให้เห็นว่าในสมัยพุทธกาล ได้มีการชุมนุมใหญ่ของเทวดาในโลกทั้ง ๔ เทวดา พรหม นั้นได้มาบอกความจริงว่า ในสมัยที่เป็นมนุษย์อยู่นั้น ตนได้กระดีเช่นใร ในพุทะศาสนา จึงได้มาเกิดเป็นเทวดาในภพนั้น ซึ่งในภพนั้นมีเหล่าเทวดาชั้นยักษ์ คนธรรพ์ นาค เทวดาชั้นต่าง ๆ อินทร์ พรหม ล้วนแต่ต้องประการรกรรมดีในโลลกมนุษย์ทั้งสิ้น นอกจากนี้พระพุทธองค์ทรงสอนสิงคาละมาณพในเรื่องทิศหก
 
ที่บิดา-มารดา พึงมีหน้าที่ต่อบุตร บุตรพึงมีหน้าที่ต่อบิดา-มารดา
ครู-อาจารย์พึงมีหน้าที่ต่อศิษย์ ศิษย์พึงมีหน้าที่ต่อครู-อาจารย์
สามี พึงมีหน้าที่ต่อภรรยา-บุตร  ภรรยา-บุตรพึงมีหน้าที่ต่อสามี
เพื่อนพึงมีหน้าที่ต่อเพื่อน ชี้ให้เห็นมิตรแท้ มิตรเทียม
หน้าทีของนายจ้างพึงมีต่อลูกจ้างข้าทาส และลูกจ้าง ข้าทาสพึงมีต่อนายจ้าง
หน้าที่ของคนทั่วไปพึงมีแด่สมณะ พราหมณ์ และหน้าที่ของสมณะ พราหมณ์พึงมีต่อคนทั่วไป

จพเห็นว่ามันเป็นเรื่องของคนต่าง ๆ ในสังคมที่พึงมีหน้าที่ต่อกัน เพื่อให้สังคมนั้นอยู่อย่างสงบสุข คือเพียงระวังตนเองทำหน้าที่ของตนที่พึงกระทำเท่านั้น
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11453 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 10:03:24 »


สำหรับ ศีล  สมาธิ  ปัญญา สำหรับบุคคลทั่วไปนั้น

ศีล ขอให้มีศีลอย่างน้อยคือ ศีล ๕ เป็นเกราะป้องกันตัว เราจะได้รับการสรรเสริญจากบุคคลทั่วไปว่า คน คนนี้เป็นคนดี น่าเอาเป็นตัวอย่าง เพราะเป็นคนมีศีล คือ

ไม่เบียดเบียนสัตซ์ ไม่ทำร้ายสัตว์ให้ได้รับอันตราย แลละไม่ฆ่าสัตว์
ไม่ลักทรัพย์ ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้
ไม่พรากลูก เมีย สามีคนอื่น
ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ่อ ไม่พูดทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท
ไม่ดื่มสุรา เมลัย สิ่งเสพติด ที่เป็นต้นเหตุให้ละเมิดศีลข้อที่กล่าวมาแล้ว

สมาธิ คือขอให้มีสติ-สัมปชัญญะ รู้ตัวก่อนที่จะกระทำ ก่อนที่จะพูด เท่านั้น เพราะถ้าเรารู้ตัวไม่หลงอยู่ในความคิด ไม่ติดอยู่ในความคิด เรามีศีล ๕ เป็นเกราะ เราจะกระทำในสิ่งที่เป็นกุศล ได้ประโยชน์ ไม่กระทำตามความคิดตนเอง

ปัญญา คือ สิ่งที่เรากระทำในการดำรงชีวิตประจำวันคือ การทำมาหากิน การอยู่ในสังคม เราจะใช้ปัญญา ไม่หลงตนเอง ไม่ทำตามความคิดตนเอง เพราะเรามีศีล มีสมาธิ เราจะกระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ส่วนรวม เป็นไปในทางกุศล ทั้งสิ้น เพราะเรารู้ตัว เมื่อรู้ตัวก็จะมีศีลเป็นเกราะ เมื่อมีศีลก็จะคิดกระทำด้วยปัญญา โดยเอาประโยชน์สูงสุดไม่เข้าข้างตนเอง เป็นไปในทางกุศล

ศีล  สมาธิ ปัญญา ง่าย ๆ แบบนี้ละครับ เราต้องฝึกจิตของเราบ่อย ๆ ให้มีสติ เพราะจิตมนุษย์นั้นสอนได้ เป็นจริงครับ

เราจะพบแต่ความสงบสุข ตามอัตภาพ ตามเหตุ-ปัจจัย

ทุกวันนี้ไม่ว่าท่านจะยิ่งใหญ่ มีอำนาจขนาดไหน ถ้าท่านขาดศีล  สมาธิ  ปัญญา ท่านก้อยู่ไม่ได้ เพราะจะไม่เป็นที่ยอมรับของคน หรือเอาง่าย ๆ คือ
ท่านต้องกระทำตามกฏหมาย ประเพณีที่ทุกคนยอมรับ
กระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ส่วนรวม  เป็นไปในทางก่อกุศล
และท่านจะต้องไม่เห็นประโยชน์ส่วนตน ไม่คอรัพชั่น นั่นเอง  ท่านจึงจะอยู่ได้ยั่งยืน

ถ้าผิดจากสามข้อนี้ ไม่ว่าท่านจะมีอำนาจขนาดไหน ท่านก็อยู่ไม่ได้ เพราะทุกคนจะไม่ยอมรับ

ดังนั้น ผู้นำจึงต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา และมีพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา ท่านจึงจะประสบความสำเร็จในการเป็นผู้นำ

สวัสดี


      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11454 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 11:59:10 »

สักกปัญหา



เวร - อาชยา - ข้าศึก - พยาบาทเกิดจากอะไร?

เวร หมายถึง ความกระทบกระทั่งกันระหว่างบุคคล
อาชญา หมายถึง สิ่งที่ใช้ทำร้ายหรือประหัตประหารกัน
ข้าศึก หมายถึง ศัตรู
พยาบาm หมายถึง ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ(โทมนัส)

เมื่อได้รับโอกาสให้ทูลถามปัญหาแล้ว ท้าวสักกะก็เริ่มด้วยปัญหาว่า "อะไรทำให้เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และสัตว์ทั้งหลายมีเวร  มีอาชญา มีข้าศึก มีพยาบาท ทั้งๆ ที่ไม่ปราถนาจะให้มี"


พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า ริษยา (อิสสา) และความตระหนี่ (มัจฉริยะ) คือเครื่องผูกมัดให้เป็นอย่างนั้น
(ริษยา - อยากเห็นสมบัติของคนอื่นเสื่อมสิ้นไป
ตระหนี่ - ทนไม่ได้เมื่อสมบัติของตนตกเป็นของคนอื่น)


ท้าวสักกะ ทูลยอมรับว่าจริง
แล้วทูลถามต่อไปว่า "ความริษยากับความตระหนี่นั้น เกิดจากอะไร ?"


พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า  อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก (ปิยาปิยํ) เป็นบ่อเกิดของความริษยาและความตระหนี่
(อารมณ์ในที่นี้หมายถึง สัตว์สังขารทั้งหลาย  สัตว์และสังขารอันเป็นที่รักเป็นบ่อเกิดแห่งความตระหนี่ สัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักเป็นบ่อเกิดแห่งความริษยา หรืออาจจะเป็นบ่อเกิดสับเปลี่ยนกันก็ได้)


ทูลถามว่า อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก เกิดได้อย่างไร ?

ตรัสตอบว่า เกิดได้เพราะมี ฉันทะ - ความพอใจ
(ฉันทะ - ความพอใจ มี ๕ อย่างคือ ๑.พอใจในการแสวงหา ๒.พอใจในการได้มา ๓.พอใจในการใช้สอย ๔.พอใจในการสะสม๕.พอใจในการแจกจ่ายออกไป  ฉันทะในที่นี้ จึงหมายถึง ตัณหาซึ่งเป็นกิเลส)


ทูลถามว่า ฉันทะ (ตัณหา) เกิดจากอะไร ?

ตรัสตอบว่า เกิดจากวิตก (ความตริตรึกนึกคิดซึ่งเป็นไปตามอำนาจของตัณหาและทิฏฐิ)

ทูลถามว่า วิตกเกิดจากอะไร ?

ตรัสตอบว่า เกิดจากปปัญจสัญญาสังขา - ส่วนแห่งสัญญาที่ซับซ้อนหลากหลาย (ปปัญจะ ได้แก่ อาการพัวพันอยู่กับอารมณ์นั้นและคิดปรุงแต่งไปต่าง ๆ โดยมีตัณหามานะและทิฏฐิเป็นแรงหนุน กล่าวคือ ปปัญจะ เป็นกิเลสที่ทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อ  จึงแปลได้ว่ากิเลสเครื่องเนิ่นช้า อันหมายถึงตัณหา มานะและทิฏฐินั่นเอง แต่ในที่นี้หมายถึงเฉพาะตัณหา) เมื่อไม่มีส่วนสัญญาอันประกอบด้วยกิเลสเครื่องเนิ่นช้า การตริตรึกนึกคิดก็ไม่มี

ท้าวสักกะทูลถามต่อไปว่า  ภิกษุปฏิบัติอย่างไร ? จึงได้ชื่อว่าเดินทางถูก เพื่อดับส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วยกิเลสเครื่องเนินช้านั้น

พระพุทธองค์ตรัสว่า
"โสมนัส  โทมนัส  และอุเบกขา (อทุกขมสุข - ความรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุข) แต่ละอย่างมองได้ ๒ ด้าน คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี เหตุใดจึงกล่าวอย่างนั้น  เหตุผลคือ ถ้ารู้ว่าเสพโสมนัส  โทมนัสหรืออุเบกขาใดแล้ว อกุศลธรรมเจริญมากขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป ก็ไม่ควรเสพ  ตรงกันข้าม  ถ้ารู้ว่าเสพความรู้สึก(เวทนา) ชนิดใดแล้ว อกุศลธรรมเสื่อมไป  กุศลธรรมเจริญมากขึ้น ความรู้สึกชนิดนั้นควรเสพ"

ทรงยกโสมนัสเป็นกรณีตัวอย่างว่า
"โสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยปฐมฌาน ยังมีวิตกวิจาร โสมนัสที่ไม่มีวิตกวิจารประณีตกว่า เพราะฉะนั้น โสมนัสจึงมี ๒ ด้าน คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี โทมนัสและอุเบกขาก็เหมือนกัน"

ตรัสว่า ถ้าภิกษุปฏิบัติได้อย่างนี้  ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้เดินถูกทาง  สามารถดับส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วยกิเลสเครื่องเนิ่นช้าได้


ท้าวสักกะ ทรงยอมรับว่า การตอบปัญหาของพระพุทธองค์ ไม่มีอะไรเหลือให้เคลือบแคลงสงสัยได้อีกเลย

หวังว่า ทุกท่านคงเข้าใจนะครับ !
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11455 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 16:43:36 »






อาจารย์แจ่มใส่  คุณประภาศรี  ส่งภาพมาให้ เป็นหลานชายคุณหมอหาญ  สุฉันทะบุตร ชื่อวสุ  สุฉันทะบุตร  เป็นลูกนายตำรวจ  พ่อตายในราชการที่ภาคใต้  อยู่กับแม่สองคน

คุณประภาศรี ได้ส่ง line ไปถึง พลตำรวจเอกอดุลย์  แสงสิงห์แก้ว  ด้วย

เป็นเยื่อรายแรก

ถ้าทุกคนที่เกี่ยวข้องลดทิฏฐิ  ไม่หลงอยู่ในความคิดตนเอง ไม่เห็นประโยชน์ส่วนตน เหตุการแบบนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น

นายกยิ่งลักษณ์  ผู้สั่งการซึ่งไม่ทราบว่าเป็นใครและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติควรถูกปลด  เพราะภาพที่เห็นทางทีวีมันฟ้อง  ตำรวจทำเกินเหตุ ทุบรถเขาไม่ปรานีปราสัย ไม่ใช่ป้องกันตนเอง แต่เป็นการสังหารฝ่ายตรงข้าม มันทำเกินเหตุ

ก่อนขึ้นเครื่องบินเมื่อวาน ดูทีวีที่ดอนเมือง ภาพประจานไปทั่วโลก ตำรวจไทยทำลายรถที่จอดอยู่บนถนน แบบจงใจจริงๆ ไม่ใช่ป้องกันตัวเสียแล้ว น่าอับอายมากตำรวจไทยและผู้สั่งการ

และได้ยินคนพูดว่ามีอีกหนึ่งที่โดนยิงที่หัว ไม่ตายแต่พิการตลอดชีวิตเพราะยิงใส่สมอง

ไม่นึกว่าจะมีคนตายแบบนี้ มันเกินกว่าเหตุแล้ว

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #11456 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 16:45:13 »

สวัสดีปีใหม่ครับ พี่สิงห์ พี่เหยง และทุกๆท่าน

ขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง และสมหวังในสิ่งที่ตั้งใจไว้

สำหรับพี่สิงห์ ขอให้เจริญภาวนา เจริญสติ ยิ่งๆขึ้นครับ

มีพี่ผู้ปฏิบัติธรรมท่านหนึ่ง บอกว่า สมเด็จโต ท่านกล่าวโดยสรุปว่า

ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา.  ละ สังโยด10  ละสุข. ละทุกข์. ก็เข้าสู่นิพพานแล้ว

สวัสดีปีใหม่อีกครั้งครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11457 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 16:49:57 »

อ้างถึง
ข้อความของ สมชาย17 เมื่อ 27 ธันวาคม 2556, 16:45:13
สวัสดีปีใหม่ครับ พี่สิงห์ พี่เหยง และทุกๆท่าน

ขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง และสมหวังในสิ่งที่ตั้งใจไว้

สำหรับพี่สิงห์ ขอให้เจริญภาวนา เจริญสติ ยิ่งๆขึ้นครับ

มีพี่ผู้ปฏิบัติธรรมท่านหนึ่ง บอกว่า สมเด็จโต ท่านกล่าวโดยสรุปว่า

ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา.  ละ สังโยด10  ละสุข. ละทุกข์. ก็เข้าสู่นิพพานแล้ว

สวัสดีปีใหม่อีกครั้งครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ คุณสมชาย

ไม่ต้อง ๑๐ หรอกครับ เพียงละทิฏฐิได้ มีศรัทธาในศิล  สมาธิ  ปัญญา ก็ได้โสดาบันแล้ว ครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11458 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 19:19:23 »


พี่สิงห์  ตกหล่นพระสูตรที่สำคัญในเล่มที่สองคือ พระพุทธองค์ทรงแสดง สติปัฏฐาน ๔ ที่แคว้นกุรุเสนานิคม หรือกรุงนิวเดลลี ปัจจุบัน อีกหนึ่งพระสูติ ที่เป็นทางสายเอกที่สามารถจะถึง นิพพาน ได้ ที่เป็นจุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนา

ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11459 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 20:25:32 »

พยากรณ์อากาศในช่วงส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2556 - 1 มกราคม 2557


การคาดหมาย  ในช่วงวันที่ 26-30 ธ.ค.บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็น โดยบริเวณเทือกเขาสูงในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. - 1 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ทั่วประเทศมีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป และมีหมอกเพิ่มมากขึ้น กับมีหมอกหนาในบางพื้นที่

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไปมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ตลอดทั้งสัปดาห์

ข้อควรระวัง   ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศหนาวเย็น และระวังอันตรายในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไปควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย

ภาคเหนือ  ในช่วงวันที่ 26-30 ธ.ค. อากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-28 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 2-4 องศาเซลเซียส และมีน้ำค้างแข็งในบางพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. - 1 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อากาศหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในหลายพื้นที่

อุณหภูมิต่ำสุด 9-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-30 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-7 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ในช่วงวันที่ 26-30 ธ.ค. อากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 7-14 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-27 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-5 องศาเซลเซียส และมีน้ำค้างแข็งในบางพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. - 1 ธ.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อากาศหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในหลายพื้นที่

อุณหภูมิต่ำสุด 9-16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-28 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-9 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคกลาง  ในช่วงวันที่ 26-30 ธ.ค. อากาศหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้าอุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-29 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. - 1 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่

อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก  ในช่วงวันที่ 26-30 ธ.ค. มีหมอกบางในตอนเช้า ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. - 1 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส

ในช่วงวันที่ 26-27 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งๆ ถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 28 ธ.ค. -1 ม.ค. โดยมีฝนฟ้าคะนองมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และตั้งแต่จังหวัดพัทลุงลงไป มีฝนตกหนักบางแห่ง

อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  อากาศเย็นในตอนเช้า และมีเมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส

ในช่วงวันที่ 26-27 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
ส่วนในช่วงวันที่ 28 ธ.ค. -1 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  ในช่วงวันที่ 26-30 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. - 1 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11460 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2556, 21:26:50 »

พยากรณ์อากาศตั้งแต่เย็นวันนี้ ถึง เย็นวันพรุ่งนี้ครับ





ประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 16:00 น.  บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศไทยตอนบนแล้ว ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส และมีหมอกหนาเกิดขึ้นในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายในการสัญจรบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไปมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังไว้ด้วย

อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงระลอกนี้จะทำให้ประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็นต่อเนื่องจนถึงช่วงปีใหม่
 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 17:00 วันนี้ ถึง 17:00 วันพรุ่งนี้. 

ภาคเหนือ  อากาศหนาว อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 11-13 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-27 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณยอดดอย อากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-6 องศาเซลเซียส
ลมเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อากาศหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-26 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-6 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
 
ภาคกลาง  อากาศหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-29 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า
โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ บริเวณตอนล่างของภาค

อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 21-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด 16-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-29 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ข้อมูลจาก อุตุนิยมวิทยา และ JTWC USA
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11461 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2556, 06:09:01 »



สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

อย่าลืม ศีล  สมาธิ  ปัญญา  
สามคำสั้น ๆ ถ้าท่านปฏิบัติได้ จะมีแต่สุข พ้นทุกข์ถาวร ไม่ต้องรอชาติหน้า ปฏิบัติกันในชาตินี้  เรายังมีเวลา เพราะเรายังไม่ได้ตาย เรายังมีลมหายใจอยู่

การเป็นคนมีศีล จะทำให้เราสามารถรักษา กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของเราให้เป็นปกติ ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ หรือป้องกันความอยากในเมื่อเราประสบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้

นอกจากนี้ผู้ใดมีศีล  จะได้รับการยกย่อง สรรเสริญจากคนรอบข้าง เพราะบุคคลทั่วไปไม่สามารถกระทำได้ เพราะการรักษาศีลให้งดงาม ต่อเนื่องนั้นมันทำยาก ต้องมีความอดทน อดกลั้น และที่สำคัญต้องมีใจรัก มีสัจจะ

สมาธิ นั้น เป็นการฝึกจิตให้เห็นจริงในพฤติกรรมของจิต แยกความคิดกับสติออกจากกัน ให้อยู่ในโลกของสติ เพราะอยู่กับสติที่กาย ใจ มันไม่มีทุกข์ แต่อยู่กับความคิดมีแต่ทุกข์ เมื่อมีสติแล้วก็เจริญต่อไปให้เป็นสมาธิ ให้จิตตั้งมั่นแน่วแน่เป็นอารมณ์เดียวจนสามารถ ละนิวรณ์ ละวิตก-วิจาร ละปีติ และละสุข-ละทุกข์ ลงได้

จิตมนุษย์นั้นทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ตั้งแต่สมัยพุทธกาล มาจนถึงปัจจุบัน และในอนาคตอันไกล มีพฤติกรรม ความอยากเหมือนกันไม่เปลี่ยนแปลงเราศึกษาจิตเรา เท่ากับศึกษาจิตของคนอื่น เมื่อศึกษาแล้วเราต้องรู้เท่าทันจิตของเรา ด้วย สติและธรรมของพระพุทธองค์

ปัญญา เมื่อจิตตั้งมั่นได้แล้วเวลาเราประสบกับอารมณ์ตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น เช่นความโลภ ความโกรธ ความหลง เนื่องจากเรามีศีล มีสติ-สัมปชัญญะ จะทำให้เราไม่หลงกระทำไปตามความคิด จักใช้ปัญญากระทำในสิ่งที่ก่อประโยชน์ส่วนรวม ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และเป็นไปในทางกุศล และใช้ปัญญาในการพิจารณาขั้นสูงต่อไปจนสำเร็จ วิชชา ๘ เป็นพระอรหันต์ได้

ก็ขอฝากให้ทุกท่านได้พิจารณาในเช้านี้

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11462 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2556, 07:23:37 »



ขนมจีน  ข้าวยำปักษ์ใต้



อาหารไทย



ข้าวต้ม



อาหารฝรั่ง



มุมสลัด



อาหารอเมริกันเบรคฟัส


อาหารเช้าที่โรงแรม มีมากมาย แต่สิ่งไหนจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

กินแต่ละครั้งนิดเดียว  จึงต้องเลือกในสิ่งที่ก่อประโยชน์

อาหารเช้าวันนี้
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11463 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2556, 09:03:16 »



โรงแรมทวินโลตัส  จังหวัดนครศรีธรรมราช


วันนี้ซื้อขนมเค็กที่โรงแรม ไปอวยพรปีใหม่แก่พนักงาน นครดีซี ที่อำนวยความสะดวกให้เวลา check in Nok Air สนามบินนครศรีธรรมราช และ

วันนี้พาพนักงานบรษัทไปเลี้ยงอาหารเพลที่ร้าน ท่าศาลาซีฟู๊ด เนื่องในเทศกาลปีใหม่

กลับ กทม. By Nok Air Boarding 15:45 น.

ช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ ไม่ได้ไปไหน อยู่ กทม.
ไปทำบุญที่สิงห์บุรี วันที่ ๑ มกราคม ที่วัดพระนอน
วันที่ ๓๑ ธันวาคม  ถ้าพระมาบิณฑบาตร ก็คงใส่บาตรพระที่หน้าบ้าน
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11464 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2556, 13:03:14 »

สังโยชน์ ๑๐ และอนุสัย ๗



สังโยชน์ ๑๐ กิเลสที่ผูกมัดจิตใจไว้กับทุกข์ ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ (เรียงลำดับตาม อริยมรรค)

โอรัทภาคิสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำเป็นอย่างหยาบเป็นในภพอันต่ำ

๑. สักกายทิฏฐิ มีความเห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นเรา เป็นของเรา เป็นว่ามีตัวตน ยึดกายของตน ความเห็นเข้าข้างตน

๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย สงสัยเพราะไม่รู้

๓.สีลัพพตปรามาส ความยึดถือศีลถือพรตอย่างงมงายคิดว่าขลังว่าศักดิ์สิทธิ์ คิดว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยสมาธิและปัญญา เชื่อถือโชคลาง เพื่อเชื่อพิธีกรรม เป็นการลูบคลำศีล

๔.กามราคะ ความกำหนัดยินดีใน กามคุณ ๕
         ๑.รูป
         ๒.เสียง
         ๓.กลิ่น                      
         ๔.รส
         ๕.โผฏฐัพพะ

๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งทางใจ ทำให้ไม่พอใจ ความขัดใจ หงุดหงิดด้วยอำนาจ โทสะ

 

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูงเป็นอย่างละเอียดเป็นไปแม้ในภพอันสูง

๖.รูปราคะ ติดใจใน รูปธรรม (สิ่งที่มีรูป) ติดใจในอารมณ์แห่ง รูปฌาน ๔ (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์)

๗.อรูปราคะ ติดใจใน อรูปธรรม ติดใจในอารมณ์แห่ง อรูปฌาน ๔ (ฌานที่มีอรูปธรรมเป็นอารมณ์)

๘.มานะ ความถือตนโดยความรู้สึกว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เราดีกว่าเขา เราไม่ดีกว่าเขา เราเสมอเขา

๙.อุทธัจจะ อารมณ์ฟุ้งซ่าน จิตส่าย ใจวอกแวก

๑๐.อวิชชา ความไม่รู้แจ้ง (ไม่รู้ใน อริยสัจจ์ ๔) อวิชชา ๔

        ๑. ไม่รู้ใน ทุกข์
        ๒. ไม่รู้ใน ทุกขสมุทัย
        ๓. ไม่รู้ใน ทุกขนิโรธ
        ๔. ไม่รู้ใน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
             ไม่รู้ใน อดีต ไม่รู้เหตุการณ์
             ไม่รู้ใน อนาคต
             ไม่รู้ทั้ง อดีต ทั้ง อนาคต
             ไม่รู้ ปฏิจจสมุปบาท

 

อนุสัย ๗ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ใน สันดาน

เหมือนตะกอนนอนอยู่ที่ก้นภาชนะ ตะกอนจะฟุ้งขึ้นมาทำน้ำให้ขุ่นเพราะมีคนไปกระทบหรือกวนภาชนะฉันใด อนุสัยกิเลสก็เช่นเดียวกัน จะฟุ้งขึ้นมาทำจิตให้ขุ่นมัว ต่อเมื่อมีอารมณ์ภายนอกมากระทบเช่นเดียวกันฉันนั้น

อนุสัย (สังโยชน์๗)

๑. กามราคะ ความกำหนัดในกาม ความอยากได้ติดใจในกาม

๒.ปฏิฆะ ความขัดใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง คือ โทสะ

๓.ทิฏฐิ ความเห็นผิด

๔.วิจิกิจฉา ความลังเล ความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย

๕.มานะ ความถือตัว

๖.ภวราคะ ความกำหนัดในภพ

๗.อวิชชา ความไม่รู้จริง คือ โมหะ

กิเลสานุสัย กิเลสจำพวก อนุสัย กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน จะปรากฏเมื่อ อารมณ์ มายั่วยุเหมือนตะกอนน้ำที่อยู่ก้นโอ่ง ถ้าไม่มีคนกวนตะกอนก็นอนเฉยอยู่ ถ้ากวนน้ำเข้าตะกอนก็ลอยขึ้น

สันดาน ความสืบต่อแห่งจิต คือกระแสจิตที่เกิดดับต่อเนื่องกันมา ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่าอุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด

ราคะ ความกำหนัด ความยินดีในกาม ความติดใจ หรือความย้อมใจติดอยู่ในอารมณ์

ราคี ผู้มีความกำหนัด มลทิน เศร้าหมอง มัวหมอง

มลทิน ความมัวหมอง ความไม่บริสุทธิ์ เช่นผ้าขาวเมื่อเป็นจุดสีต่าง ๆ ก็เรียกว่าผ้ามีมลทิน

เวร ความแค้นเคือง ความปองร้ายกัน ความคิดร้ายตอบแก่ผู้ทำร้าย ในภาษาไทยใช้อีกความหนึ่งด้วยว่า คราว รอบ การผลัดกันเป็นคราว ๆ ตรงกับ วาร หรือ วาระ ในภาษาบาลี

กำหนัด ยินดี ความยินดี

โยคธรรม ธรรมคือกิเลสเครื่องประกอบ ในข้อความว่า “ เกษมจากโยคธรรม ” คือ ความพ้นภัยจากกิเลส

โยคะ ๑.กิเลสเครื่องประกอบ คือประกอบสัตว์ไว้ในภพ หรือผูกสัตว์ดุจเทียมไว้กับแอก มี ๔ คือ
                     ๑. กาม ๒. ภพ ๓. ทิฏฐิ ๔. อวิชชา

         ๒.ความเพียร


การที่จะละสังโยชน์ ๑๐ ได้นั้น

ไม่ใช่ละได้ด้วยความเข้าใจ 
ต้องละด้วยการปฏิบัติเจริญสติให้จิตมันปล่อยวางของมันเองตามธรรมชาติจริง ๆ
 
ซึ่งผู้รู้ จะรู้ได้เฉพาะตน เท่านั้น
      บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #11465 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2556, 14:39:09 »

ขอบคุณมากครับ พี่สิงห์
ที่ช่วยให้ความกระจ่าง เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา และสังโยชน์10
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11466 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2556, 20:41:49 »



สวัสดีครับ คุณสมชาย ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

- ถ้าละสัญโยชน์ ๓ อย่างได้เด็ดขาด คือ ทิฏฐิสัญโยชน์  สีลัพพตปรามาสสัญโยชน์ และวิจิกิจฉาสัญโยชน์ , ละอนุสัย ๒ อย่างได้เด็ดขาด คือ ทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัย ซึ่งผู้รู้จะรู้ได้เฉพาะตน นั่นคือท่านเป็น พระโสดาบัน

- ละกามราคสัญโบชน์ และปฏิฆสัญโยชน์ ส่วนที่เป็นอย่างหยาบ , ละกามราคานุสัย และปฏิฆานุสัยส่วนที่เป็นอย่างหยาบ เพิ่มจากโสดาบัน นั่นคือท่านเป็น พระสกทาคามี

-  ละกามราคสัญโบชน์ และปฏิฆสัญโยชน์ ส่วนที่เป็นอย่างละเอียด , ละกามราคานุสัย และปฏิฆานุสัยส่วนที่เป็นอย่างละเอียด เพิ่มจากโสดาบันและสกทาคามี นั่นคือท่านเป็น พระอนาคามี

- ละสังโยชน์ ๑๐ ละอนุสัย ๗ ได้หมด ซึ่งผู้รู้ รู้ได้เฉพาะตน ท่านเป็น พระอรหันต์

อย่าลืม ! ไม่ได้รู้เพราะอ่าน ฟัง คิด เข้าใจ นะครับ

ท่านต้องรู้จากการปฏิบัติตาม มรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล  สมาธิ  ปัญญา เท่านั้น

ท่านจะมีญาณหยั่งรู้ด้วยตัวของท่านเอง คือ ผู้รู้รู้ได้เฉพาะตน ไม่จำกัดกาล

สวัสดี และราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11467 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2556, 09:16:26 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่งและแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

วันนี้ เป็นวันพักผ่อน มาตีกอล์ฟ ที่สนามกอล์ฟ President Country Club อากาศดีมากครับ ทำให้สุขภาพดี ได้อากาศสดชื่น หลายท่านคงไปเที่ยวพักผ่อนกับครอบครัว

พี่สิงห์ ไม่มีครอบครัว ก็ต้องอยู่อย่างนี้ละครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11468 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2556, 11:51:48 »



พี่สิงห์ ให้รางวัลตัวเอง

มานั่งรับประทานอาหารเพล ที่ร้านฟูจิ  เทสโก้โลตัส สาขาลาดพร้าว

ไม่ได้รับประทานอาหารตามร้านอย่างนี้ นานมากแล้วครับ

อยู่บ้าน ก็ซักผ้า อ่านพระไตรปิฎก

 เมื่อคืนที่ผ่านมาก็สวดมนต์ ๑๒ ตำนาน ก่อนนอนใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง ไปจบที่ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11469 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2556, 13:53:56 »

การเกิดกิเลส เกิดขึ้นได้ ๗ ทาง



ครั้งหนึ่งที่วัดเชตวัน พระพุทธองค์ ทรงสอนภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อรู้เมื่อเห็น จึงเกิดความสิ้นอาสวะ(กิเลส)ได้ เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ความสิ้นอาสวะก็เกิดขึ้นไม่ได้  รู้อะไรเห็นอะไรเล่าจึงจะเกิดความสิ้นอาสวะ  คำตอบคือ รู้เห็นโยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการ

(โยนิโสมนสิการ คือ การพิจารณาโดยแยบคาย ด้วยเหตุและผล ด้วยความไม่ประมาทพิจารณาโดยละเอียดถี่ถ้วน)

ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุทำไว้ในใจ(มนสิการ)โดยไม่แยบคาย  อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น  และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญขึ้น  เมื่อภิกษุทำไว้ในใจโดยแยบคาย  อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด  ย่อมไม่เกิดขึ้น  และที่เกิดขึ้นแล้ว เธอย่อมละเสียได้"

แล้วตรัสต่อไปว่า  การละอาสวะ(กิเลส)ทั้งหลายนั้นเกิดขึ้นได้ ๗ ทาง  คือ

๑. ด้วยการเห็น(ทัสสนะ)
๒. ด้วยการสำรวมระวัง(สังวระ)
๓. ด้วยการส้องเสพ(ปฏิเสวนะ)
๔. ด้วยการอดกลั้น(อธิวาสนะ)
๕. ด้วยการงดเว้น(ปริวัชชนะ)
๖. ด้วยการบรรเทา(วิโนทนะ)
๗. ด้วยการอบรมจิต(ภาวนา)
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11470 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2556, 17:30:39 »



วิธีละกิเลสด้วยการเห็น (ทัสสนะ)

ตรัสว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้เห็นไม่ได้ฟังคำสอนของพระอริยะและสัตบุรุษ ย่อมไม่รู้ธรรมท่ีควรมนสิการ(น้อมนึก, พิจารณา, ไตร่ตรอง) เมื่อไม่รู้  ก็มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการและไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ  ธรรมที่ไม่ควรมนสิการนั้น คือธรรมที่มนสิการแล้วทำให้กามาสวะ  ภาวาสวะ  หรืออวิชชาสวะที่ยังไม่เกิด  ย่อมเกิดขึ้น  และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญขึ้น  ส่วนธรรมที่ควรมนสิการ มีนัยตรงกันข้าม

อโยนิโสมนสิการของปุถุชนนั้น คือ คิดนึกในเรื่องว่าตนเคยเกิดหรือไม่เคยเกิดมานานแค่ไหน เคยเกิดอย่างไร เคยเกิดเป็นอะไร จักเกิดหรือไม่เกิดต่อไป จักเกิดอย่างไร จักเกิดเป็นอะไร หรือไม่ก็คิดนึกถึงปัจจุบันว่า เรามีหรือไม่มี เราเป็นหรือไม่เป็นอย่างไร สัตว์เกิดจากที่ไหน หรือจะไปเกิดที่ไหนต่อไป

เมื่อคิดนึกในเรื่องอย่างนั้น ก็จะเกิดทิฐิ (ความคิดเห็น) ๖ อย่างคือ
๑.เกิดความเห็นแน่วแน่ว่า อัตตาของเรามี
๒.เกิดความเห็นแน่วแน่ว่า อัตตาของเราไม่มี
๓.เกิดความเห็นแน่วแน่ว่า เรารู้อัตตาด้วยอัตตาของเรา
๔.เกิดความเห็นแน่วแน่ว่า เรารู้สิ่งที่มิใช่อัตตาได้ด้วยอัตตา
๕.เกิดความเห็นแน่วแน่ว่า เรารู้อัตตาได้ด้วยสิ่งที่มิใช่อัตตา
๖.เกิดความเห็นแน่วแน่ว่า อัตตาของเรา เป็นผู้พูด เป็นผู้รู้ เป็นผู้รับผลกรรม อัตตาของเราเป็นอมตะนิรันดร

ตรัสว่า ความคิดเห็นทั้ง ๖ อย่างนี้ เป็นตัวมิจฉาทิฐิ(ทิฏฐิคตะ) เป็นทิฐิเครื่องยึดถือ(ทิฏฐิคหณะ) เป็นทิฐิกันดาร(ทิฏฐิกันตาระ) เป็นทิฐิขวางทาง(ทิฏฐิวิสูกะ) เป็นทิฐิดิ้นรน(ทิฏฐิวิปผันทิตะ) และเป็นทิฐิจองจำ(ทิฏฐิสังโยชนะ) ผู้ประกอบด้วยทิฐิเหล่านี้ ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไปได้

สำหรับอริยสาวกนั้น มีนัยตรงกันข้าม ย่อมมนสิการธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เกิดอาสวะทั้งหลาย
พระพุทธองค์ตรัสว่า

"อริยะสาวกนั้นย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมเป็นอันเธอละได้ ภิกษุทั้งหลาย! อาสวะ(กิเลส)เหล่านี้ เราตถาคตกล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเห็น (ทัสสนะ)"


[ พี่สิงห์ ขอขยายความเพิ่มเติม]

ผู้ที่จะสามารถละกิเลส ในสังโยชน์ทั้ง ๓ นั้นได้ ท่านต้องมีศรัมธา(พระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์) มีจาคะ มีศีล มีสูตะ มีวิริยา และใช้ปัญญา ท่านจึงจะละสังโยชน์นั้น ได้จากการเห็น(ทัสสนะ)

เมื่อท่านมีศรัทธา มีจาคะ มีศีล มีสูตะ มีวิริยะ และปัญญา ท่านย่อมรู้ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์(มรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล  สมาธิ  ปัญญา)  จิตท่านจะรู้เท่าทันในสิ่งที่ประสบทางอายตนะนั้น และรู้ว่าทุกข์นั้น เป็นทุกข์ที่ต้องเกิดกับคนทุกคน ท่านจะเห็นว่าทุกสิ่งล้านเกิดขึ้นด้วยเหตุ-ปัจจัย และเป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ทั้งสิ้น ขอเพียงรู้เท่าทันจิต และท่านจะเชื่อในเรื่องกรรม ไม่เชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีความสงสัยในอริยสัจ ๔ ไม่มีความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ และละความเป็นตัวตนได้ คือยึดมั่นในตัวตนน้อยลง

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11471 เมื่อ: 30 ธันวาคม 2556, 12:49:58 »



วิธีละกิเลสด้วยการสำรวมระวัง

ตรัสว่า อาสวะที่ทำให้เกิดความยุ่งยากเดือดร้อนนั้น เกิดขึ้นเพราะการไม่สำรวมระวัง (สังวระ) ทางอินทรีย์ทั้ง ๖ คือ ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมอินทรีย์ อาสวะทั้งหลายที่จะทำความยุ่งยากเดือดร้อน (วิฆาตปริฬาหา) ก็เกิดขึ้นไม่ได้  นี้คือการละอาสวะด้วยสังวร


วิธีละกิเลสด้วยการส้องเสพ

การส้องเสพ (ปฏิเสวนะ) ในที่นี้ หมายถึงการบริโภคหรือการใช้สอย  ทรงชี้ไปที่การใช้สอยจีวร  บิณฑบาตร เสนาสนะ(ที่อยู่) และเภสัช  เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคายแล้ว  ใช้สอยตามความจำเป็น  ไม่ใช้สอยเพื่อความสวยงาม เพื่อความสุขสบาย เพื่อความรื่นรมย์ เป็นต้น   อาสวะทั้งหลายที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้  ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้  นี้คือการละอาสวะด้วยการส้องเสพ


วิธีละกิเลสด้วยความอดกลั้น

ตรัสว่า เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคายแล้วอดทนต่อหนาว  ร้อน  หิว  กระหาย  เหลือบ  ยุง  ลม  แดด และสัตว์เลื้อยคลาน อดทนต่อการกล่าวใส่ร้ายของผู้อื่น  และอดทนต่อเวทนาอันไม่พึงปราถนา  อาสวะทั้งหลายที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้  นี้คือการละอาสวะด้วยความอดทนอดกลั้น(อธิวาสนะ)


วิธีละกิเลสด้วยการงดเว้น

การงดเว้น (หลีกเลี่ยง) เพื่อไม่ให้เกิดอาสวะได้นั้น ทรงชี้ไปที่
๑. หลีกเลี่ยงช้าง ม้า โค สุนัข และงูที่ดุร้าย  รวมไปถึงตอ(ขาณุ)ที่จะทำอันตรายให้
๒. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีขวากหนาม  บ่อ  เหว  ที่สกปรกโสโครก
๓. หลีกเลี่ยงที่นั่งที่โคจรและการคบมิตรที่ไม่ดี
เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคายแล้ว งดเว้นหรือหลีกเลี่ยง  อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้  นี้เป็นการละอาสวะด้วยการงดเว้น (ปริวัชชนะ)


วิธีละกิเลสด้วยการบรรเทา

การบรรเทา (วิโนทนะ) ในที่นี้ หมายถึงการขจัดให้หมดสิ้นไป  ทรงชี้ไปที่การมนสิการโดยแยบคายแล้วขจัด
๑. กามวิตก
๒. พยาบาท
๓. วิสิงหาวิตก
๔. ธรรมที่เป็นบาป อกุศลทั้งหลายซึ่งเกิดขึ้นแล้วให้หมดสิ้นไป
เมื่อภิกษุขจัดกามวิตกเป็นต้นได้  อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้  ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้  นี้เป็นการละอาสวะด้วยการบรรเทา


วิธีละกิเลสด้วยการอบรมจิต

การอบรมจิต  คือการลงมือปฏิบัติทางจิต  เรียกว่าภาวนา  ทรงชี้ไปที่การพิจารณาโดยแยบคาย  เจริญโพชฌงค์ทั้ง ๗ คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ซึ่งล้วนแต่เป็นธรรมวิเวก  อิงวิราคะ  อิงนิโรธ  และน้อมนำไปในทางหลุดพ้นจากกิเลส  เมื่อภิกษุได้ลงมือปฏิบัติอย่างนี้ อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้  นี้เป็นการละอาสวะด้วยภาวนา


               ตรัสในตอนท้ายว่า เมื่อภิกษุละอาสวะทั้งหลายด้วยวิธีต่าง ๆ ดังกล่าวได้แล้ว  ก็เรียกว่าเป็นผู้สำรวมระวังในอาสวะทั้งปวง  ขจัดตัณหาได้  ทำลายสังโยชน์ได้  ถึงที่สุดแห่งทุกข์เพราะความตรัสรู้แห่งใจ


สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

พี่สิงห์ได้นำเสนอพุทธวิธีกำจัดกิเลสทั้ง ๗ ให้หมดสิ้นไปจากใจเรา ให้ได้รับทราบกันของเพียง โยนิโสมนสิการ คือการพอจารณาโดยความแยบคาบ ให้จิตมันได้รู้  จิตจะได้รู้เท่าทันกิเลสต่าง ๆ เป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดกิเลสตามหลัก อิทัปปัจจยตา คือแก้ที่เหตุ เมื่อเหตุดับผลจึงไม่มี

กิเลสต่าง ๆ ที่เราเคยมีมาในปีเก่า  ซึ่งกำลังจะหมดไปนี้ ก็ขอให้กิเลสนั้นหมดสิ้นไปกับปีเก่า

ปีใหม่เรามาเริ่มต้นกันใหม่ เพราะรู้วิธีกำจัดกิเลสเสียแล้ว  กิเลสมันคงจะหมดสิ้นไปจากใจเราได้ หรือเกิดขึ้นน้อย ๆ เราก็อยู่แบบสงบ พอเพียงแล้วครับ

ชีวิตคนเรานั้น เพราะลาภ  ยศ สุข สรรเสริญ ทั้งสี่ตัวนี้ จึงทำให้กิเลสต่าง ๆ เช่น ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง เกิดขึ้นไม่รู้จักจบจักสิ้น

อย่าไปยึดมั่นในลาภ  ยศ  สุข  สรรเสริญ  นั้นเลย  ห่างไกลได้ก็ได้ชื่อว่า ห่างไกลกิเลส  แล้วครับ

อย่าลืมปีใหม่นี้ อยู่ใน  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  ครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11472 เมื่อ: 30 ธันวาคม 2556, 20:33:20 »

สวดมนต์ข้ามปี ! สวดมนต์บทไหนดี ใครตอบได้ ?



สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

พรุ่งนี้วันส่งท้ายปีเก่า ๒๕๕๖ และวันต้อนรับปีใหม่ ๒๕๕๗

คนไทยนิยมสวดมนต์ข้ามปี  ท่านจะสวดบทไหน? ดีครับ
บางวัดสวดธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตัง ๑๐๐ รอบ ข้ามปี
บางวัดสวดสาธยายพระไตรปิฎกข้ามปี
พี่สิงห์  จะสวดบทไหน ดีล่ะ

พี่สิงห์จะเริ่มสวดมนต์ข้ามปีที่บ้าน เพื่อให้เทวดา เจ้าที่ กระดูกพ่อ-แม่ ได้ฟังสวด เพราะเทวดาทั้งหลายฟังภาษาบาลีออก
บทสวดจะเริ่มจาก
กราบพระ  อาราธนาพระปริต  ชุมนุมเทวดา  นโมตัสสะ ๓ จบ และบทแสดงตนเป็นชาวพุทธ คือพุทธคุณ  ธรรมคุณ และสังฆคุณ
ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสูตร และตามด้วยสวดมนต์ ๑๒ ตำนาน
หลังจากนั้นก็อิติปิโส สวาขาโต สุปฏิปันโน พรหุง ชยันโต มหากา
กรวดน้ำ แผ่เมตตา

โดยจะเริ่มสวดและทำน้ำมนต์ไว้อายในเวลาสี่ทุ่มครึ่ง เป็นต้นไปจนกว่าจะจบ
วันก่อนลองซ้อมสวด ๑๒ ตำนานไปหนึ่งครั้งใช้เวลา หนึ่งชั่วโมงครึ่ง วันนี้จะขอสวด ๑๒ ตำนาน ไปพร้อมกับพระสวดใน You Tube ด้วย

พระปริตร ๑๒ ตำนาน บทสวดมนต์มหัศจรรย์ สวดเพื่อคุ้มครองและป้องกันภัย

"พระปริตร" หมายถึง "เครื่องคุ้มครอง" อันเป็นบทสวดมนต์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์และสําคัญมากในพุทธศาสนา มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นการสวดพระพุทธวจนะ ให้คุ้มครองป้องกันภัยแก่ผู้สวดทำให้เกิดความสุขสวัสดิ์ ผ่อนภัยร้ายให้กลายเป็นเบา

อานิสงส์ของการสวดพระปริตร ๑๒ ตำนาน
๑.มงคลปริตร มงคลชีวิต ๓๘ ประการ สวดเพื่อความเป็นมงคลให้กับชีวิต ป้องกันชีวิตตกต่ำ
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงหลักปฏิบัติ ๓๘ ประการ ที่จะช่วยให้ชีวิตมีแต่ความเป็นสิริมงคล อันจะทำให้เกิดความสุข และความเจริญสูงสุดในชีวิต

๒.รัตนปริตร ขับไล่เสนียดจัญไร โรคภัยไข้เจ็บ ทำให้เกิดความสวัสดีในชีวิต
เนื้อความในบทสวดกล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อาราธนาเอาคุณความดีของพระรัตนตรัยนั้นมาปกปักรักษาตน ช่วยทําลายความทุกข์โศกให้หายไป และขออํานวยความสุขสวัสดิ์แก่ตน

๓.เมตตปริตร หรือกรณียเมตตสูตร ทำให้เทวดารักใคร่
เนื้อความในบทสวดกล่าวาวถึงอานุภาพของการแผ่เมตตา

๔.ขันธปริตร ป้องกันภัยจากอสรพิษ และสัตว์ร้าย
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงการแผ่เมตตาให้สัตว์ร้ายทั้งปวง เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง เสือ จระเข้ เหยียว แร้ง กา นิยมสวดเมื่อเข้าป่า ช่วยให้เกิดความแคล้วคลาดปลอดภัย

๕.โมรปริตร ป้องกันภัยทั้งกลางวัน และกลางคืน สวดบูชาให้พ้นจากผู้คิดร้าย
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพญานกยูง พุทธานุภาพให้พระโพธสัตว์รอดพ้นจากบ่วงของนายพรานนานถึง ๑๒ ปี สวดเพื่อให้รอดพ้นจากผู้คิดร้าย

๖.วัฏฏกปริตร ป้องกันอัคคีภัย
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นลูกนกคุ้มที่กำลังถูกไฟป่าลุกลาม แต่ด้วยสัจจะอธิษฐานจึงทำให้ไฟป่าสงบลง ใชสวดเพื่อป้องกันอัคคีภัย

๗.ธชัคคปริตร ป้องกันอันตรายจากความเสี่ยง และภยันตรายทั้งปวง
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงสงครามระหวางเทวดาและอสูร ท้าวสักกะเห็นว่าเหล่าเทวดาเกิดความหวาดกลัว จึงชี้ให้เหล่าเทวดามองขึ้นไปบนยอดธงรบของพระองค์ เพื่อให้เกิดกําลังใจจนได้รับชัยชนะในที่สุด สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนําใหเหล่าภิกษุไปปฏิบัติธรรมตามป่า เขา เมื่อเหล่าภิกษุเกิดความหวาดกลัวอันตราย พระพุทธองค์ทรงกแนะให้ระลึกถึงยอดธงรบของท้าวสักกะอยู่เสมอ ธงรบนั้นก็คือสัญลักษณ์ของพระรัตนตรัย ที่มีชัยเหนือทกสรรพสิ่ง อานุภาพของพระคาถาบทนี้จึงปกป้องคุ้มครองให็ผู็สวดเกิดความฮึกเหิมและแคล้วคลาดปลอดภัย

๘.อาฏานาฏิยปริตร คาถาท้าวเวสสุวรรณป้องกันภูตผี ปีศาจ อมนุษย์
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ในอดีต และการอาราธนาพุทธานุภาพเหล่านั้นมาคุ้มครองให้ผู้สวดรอดพ้นจากอันตราย

๙.อังคุลีมาลปริตร สัจจะวาจาของพระอังคุลีมาล ช่วยให้คลอดบุตรง่าย
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงสัจาธิษฐานของพระองคุลิมาลเถระ ที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยหญิงมีครรภ์คนหนึ่ง

๑๐.โพชฌังคปริตร คุณธรรม ๗ ประการที่จะช่วยให้บรรลุธรรม ป้องกันโรคร้าย ทำให้สุขภาพแข็งแรง
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงพระธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสร ๗ ประการ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ และ อุเบกขา มีอานุภาพรักษาอาการเจ็บป่วยเป็นไข้

๑๑.อภัยปริตร ป้องกันฝันร้าย ภัยพิบัติทั้งปวง
เนื้อความในบทสวดสวดมีอานุภาพเพื่อแก้ลางร้าย เหตุร้าย ฝันร้าย ทําลายสิ่งอัปมงคลทั้งปวงให้มลายสิ้น

๑๒.ชัยปริตร มีชัยชนะเหนอความชั่วร้าย
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงอานุภาพของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สวดเป็นประจําเพื่อให้ได้รับชัยชนะเหนือสิ่งเลวร้าย

พระปริตรจะมีอานุภาพ และอานิสงส์ก็ต่อเมื่อผู้สวดมีเมตตาจิตมุ่งประโยชน์แก่ผู้อื่น สวดถูกต้องตามอักขระวิธี และเข้าใจความหมายของบทสวด อีกต้องถึงพร้อมด้วยองค์ ๓ ประการคือ ๑.ไม่เคยทำอนันตริยกรรม ๕ ประการคือ ฆ่ามารดา บิดา, ฆ่าพระอรหันต์, ทำร้ายพระพุทธเจ้ายังพระโลหิต รวมถึงสังฆเภทยังหมู่สงหืให้แตกแยก ๒.ไม่มีมิจฉาทิฏฐิที่เห็นผิดว่ากรรมและผลของกรรมไม่มีจริง ๓.เชื่อมั่นในอานุภาพของพระปริตรว่ามีจริง

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11473 เมื่อ: 31 ธันวาคม 2556, 11:28:40 »

สวัสดีปีเก่า ๒๕๕๖ ครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

วันนี้เป็นวันสุดท้ายของปี ๒๕๕๖
หลายท่าน คงไปพักผ่อนท่องเที่ยวกับครอบครัว มิตร ตามต่างจังหวัด
หลายท่านคงไม่ได้ไปไหน อยู่บ้าน แบบผม
ปีเก่ากำลังนับถอยหลัง เราลองมาทบทวนกันดูว่าปีที่ผ่านมา การดำรงชีวิตของเราในสังคมนั้น มีกุศลธรรมเจริญขึ้น หรือว่ามีอกุศลธรรมเจริญขึ้น อย่างไหนมากกว่ากันระหว่างกุศลและอกุศล

ถ้าอกุศลเจริญขึ้นมากกว่ากุศลธรรม ปีใหม่นี้ ๒๕๕๗ เราก็ต้องหาทางทำให้กุศลธรรมเจริญขึ้น  และละอกุศลธรรม ไม่ให้เกิดขึ้น โดยยึด ศีล  สมาธิ  ปัญญา หรือ ห่างไกลกิเลสที่มีช่องทางเกิดขึ้นได้ ๗ ทาง ตามที่ได้ เรียนให้ทราบกันไปแล้ว

ในด้านการทำงาน อะไรที่ผิดพลาดในการทำงาน ปีใหม่นี้ก็ต้องแก้ไขไม่ให้มันเกิดขึ้น หรือหาแนวทางใหม่ๆ ในการทำงานที่จะให้ประสบความสำเร็จ อย่าถอยหลังลงคลอง ต้องก้าวไปข้างหน้า

อดีต คือบทเรียนที่มีค่า
อดีต ที่ไม่ดี ลืมให้สิ้น อย่าไปจมปลักกับมันมีแต่ทุกข์
มีสติ-สัมปชัญญะ อยู่กับปัจจุบันนี่ละดี

สวัสดีปีใหม่ครับ


      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11474 เมื่อ: 31 ธันวาคม 2556, 16:12:49 »

เหลืออีกแปดชั่วโมง ปีเก่า ๒๕๕๖ ก็จะสิ้นไป ปีใหม่ ๒๕๕๗ ก็จะเริ่มขึ้น

การปฏิบัติธรรมนั้น มันมีช่วงที่ไม่ก้าวหน้า เพราะความปราถนาของเรามันมี
เมื่อไม่ก้าวหน้า ก็จะเกิดวิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัยในธรรม หรือข้อปฏิบัติในแนวทางนั้น

อย่าลืมเราต้องสิ้นสงสัยในพระพุทธ ในพระธรรม และในพระอริยะสงฆ์

เราต้องมีวิริยสัมโพชฌงค์ ผ่านอุปสรรคในจิตเราให้ได้ ยึดในศีล  สมาธิ  ปัญญา  เอาไว้มั่น เพราะมันจะก้าวหน้าหรือไม่ เราก็สงบสุขตามเหตุ-ปัจจัย

เข้าใจให้ง่ายก็มีศีล  บริจาคทาน หรืออนุเคราะห์ให้มาก คอยตามจิตของเราไปเรื่อยๆ มันจะก้าวหน้าเอง  ถ้าเราหลงอยู่กับความคิด  มันก็ไม่ก้าวหน้า  ถ้าเรามีสติ  ความก้าวหน้ามันเกิดของมันเอง

อย่าลืมมันเป็น ปัจจัตตัง  ผู้รู้ รู้ได้เฉพาะตน

บางครั้งเราอยากบอก อยากสอน แต่สติมันจะบอกว่าอย่าเลย ถ้าเขาไม่ศรัทธา  มีแต่วิวาท สู่เราอยู่เฉยๆ นี่ละประเสริฐ  

ดังนั้น ผมเองใคร่ที่จะปล่อย อยู่อย่างมีอุเบกขามากกว่า เพราะรู้เท่าทันพฤติกรรมของจิตมนุษย์ มันมีแต่ทิฏฐิ  คิดเข้าข้างตนเอง

เราต้องทำลายกำแพงทิฏฐิที่เป็นมิจฉาทิฏฐิลงเสีย เปลี่ยนให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ด้วย ศีล  สมาธิ  ปัญญา

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๗
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 457 458 [459] 460 461 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><