KUSON
|
|
« ตอบ #9450 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2556, 14:13:27 » |
|
สวัสดีครับพี่สิงห์ วันก่อนโด่งมารับผมไปงานเผาพี่เปรมประจักษ์ ได้ทันเผาจริงพอดี การไปอินเดียปลายปีนี้โด่งเขาสนใจอยากไป วันสมัคร(ก่อนล่วงหน้า3-4เดือน)อย่าลืมบอกโด่งด้วย
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #9451 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2556, 20:25:28 » |
|
สวัสดีครับ ดร.กุศล ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน
เท่ากับว่าตอนนี้ไปอินเดียมี
๑. พี่สิงห์ ๒. ดร.กุศล ๓. พล.ร.ต.(หญิง)ศิริพร ๔. คุณ Tippy ๕. คุณ Tooky ๖. คุณพรชัย (โด่ง) ๗. คุณสุรีย์พร (ภรรยาคุณโด่ง) ๘. เพื่อน พล.ร.ต.(หญิง)ศิริพร
ใครจะไป อินเดีย ไประลึกสถานที่พระพุทธองค์และเหล่าพระอรหันต์เคยอยู่อาศัย ชมสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ไปช่วงเดือนมาฆะ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ อากาศไม่หนาวมาก เรียนเชิญลงชื่อเลยครับ ผมจะได้จองกับหลวงพ่อ ดร.พระมหาสุเทพ อากิญจโณ
ดร.สุริยา ท่านผู้พิพากษาสุภาพร คุณครูมะ ก็น่าที่จะไปในครั้งนี้ด้วย ขอเรียนเชิญ ครับ
เราไปแบบปล่อยวางทุกสิ่ง ผจญได้ทั้งนั้น เป็นการฝึกตนเอง ครับ
สวัสดี
|
|
|
|
|
pornchaiketlek
มือใหม่หัดเมาท์
ออฟไลน์
กระทู้: 134
|
|
« ตอบ #9453 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2556, 21:54:51 » |
|
พี่สิงห์ครับ
ผมขอสมัครไปอินเดียต้นปีหน้า 2 คนนะครับ พรชัย และสุรีพร เกตุเล็ก
|
|
|
|
pornchaiketlek
มือใหม่หัดเมาท์
ออฟไลน์
กระทู้: 134
|
|
« ตอบ #9454 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2556, 22:21:59 » |
|
ขออนุญาติใช้พื้นที่นี้ประชาสัมพันธ์หน่อยนะครับ
คุณ เกี๊ย วนิดา บัญชี 15 เป็นแม่งานจัดล้างพิษตับด้วยนะครับ โดยเชิญอาจารย์ตระกายธรรมจาก สีสระอโศก มาจัดให้
สถานที่ อมันตรารีสอร์ทเขาใหญ่
รุ่นที่1 จัดไปแล้วเมื่อเดือนพ.ค รุ่นที่2 วันที่11 -13 สิงหาคม (เต็มแล้ว)
ส่วนรุ่นที่3 จะจัดในวันที่ 13-15 กันยายนนี้ สมาชิกที่ไปมีเพื่อนๆของเกี้ย จากทั้งบัญชี และหอหญิงบ้าง ลูกน้องบ้าง รุ่นละ30 กว่าคน
เป็นสูตรที่พัฒนาใหม่สุดไม่ต้องทำ Detox อดอาหารประมาณ สามมื้อ ค่าใช้จ่ายท่านละ 4000 บาท(นอนห้องละสองคน) ่ พี่น้องซีมะโด่งที่สนใจลงชื่อได้นะครับ งวดเดือนกันยานี้ผม จะไปด้วยครับ ความจริงผมไปเกือบทุกครั้งที่จัดได้ผล ดีมากครับ
โด่ง
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #9455 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2556, 05:48:06 » |
|
สวัสดีครับ คุณโด่ง
อยากทราบรายละเอียดของโปรแกรม ในแต่ละวัน กรุณาเอามาลงด้วยครับ เพราะผมกำลังศึกษา หาข้อมูล เพื่อที่จะทำอย่างไร ? ผู้เข้าโครงการสบายกาย สบายใจ และได้ผลลัพธ์สมบูรณ์ให้มากที่สุด คือระบบ Metabolic กลับมาทำงานสมบูรณ์ ได้ใหม่
คุณโด่ง ผมขอจองเอาไว้หนึ่งที่ก่อนครับ แต่ขอนอนคนเดียว เพื่อสะดวกในการปฏิบัติธรรม และผมยังยึดถือแบบเดิม คือ Detox อดอาหาร จะคิดสตางค์เพิ่มก็ไม่ว่า และอยากเจอหน้า คุณน้องเกี้ย เนื่องจากไม่พบนาน ๆๆๆ มาก ครับ
และอย่าลืม ชวน ดร.กุศล ไปด้วย
จริง ๆ ผมสามารถทำเองได้ หรือแนะให้คนอื่นทำได้ แต่ต้องการให้รางวัลชีวิต ไปหาสถานที่พักผ่อน ปฏิบัติธรรม และช่วยผู้อื่นเท่าที่เราสามารถช่วยได้ ผมชอบวิธีการของศรีษะอโศก อยู่ ไม่ขอแก้ไขดัดแปลง เพราะเห็นว่ามีประโยชน์กว่า แบบที่พยายามปรับปรุงกันเพื่อเอาใจคนไปเข้าร่วมโครงการ
ขอบคุณมาก
สวัสดี
|
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #9457 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2556, 11:47:14 » |
|
Metabolic Syndrome (โรคอ้วนลงพุง) ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์
หน่วยต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลราชวิถี จุดประสงค์ของบทความ
1. เพื่อรวบรวมเกณฑ์การวินิจฉัย metabolic syndrome 2. เพื่อรวบรวมหลักฐานการรักษาภาวะ metabolic syndrome บทคัดย่อ
Metabolic syndrome คือกลุ่มความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งพบร่วมกันได้บ่อย ความผิดปกติดังกล่าวได้แก่ความผิดปกติของไขมันในเลือด ความดันโลหิต ระดับน้ำตาล ตลอดจนปัจจัยที่เป็น prothrombotic และ proinflammatory ผู้ที่เป็น metabolic syndrome จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจและหลอดเลือด สาเหตุของ metabolic syndrome ในปัจจุบันเชื่อว่าเป็นผลจากโรคอ้วนและภาวะดื้อต่ออินสุลิน การรักษา metabolic syndrome มุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตเป็นอันดับแรก การลดน้ำหนัก การออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน การใช้ยาในผู้ป่วย metabolic syndrome ขึ้นอยู่กับว่าความผิดปกติดังกล่าวถึงระดับที่ต้องใช้ยาหรือไม่ตาม guideline ต่างๆที่มีอยู่เช่นยาลดระดับไขมันในเลือด ยาลดความดันโลหิต ยาลดระดับน้ำตาล ตลอดจนการใช้ aspirin แม้ว่าในปัจจุบันจะมีข้อมูลว่าการใช้ยาลดภาวะดื้อต่ออินสุลินเช่น metformin และ thiazolidinedione จะสามารถป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้ในผู้ป่วยที่เป็น metabolic syndrome แต่ผลในระยะยาวต่อการลดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้นยังไม่ทราบ
คำจำกัดความและเกณฑ์การวินิจฉัยของ metabolic syndrome
Metabolic syndrome คือกลุ่มความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งพบร่วมกันได้บ่อย ความผิดปกติดังกล่าวได้แก่ความผิดปกติของไขมันในเลือด ความดันโลหิต ระดับน้ำตาล ตลอดจนปัจจัยที่เป็น prothrombotic และ proinflammatory1 metabolic syndromeนี้มีชื่อเรียกพ้องกันหลายชื่อด้วยกันเช่น insulin resistance syndrome2, deadly quartet3, syndrome X4, Reaven syndrome เป็นต้น ปัจจุบันมีเกณฑ์ในการวินิจฉัย metabolic syndrome อยู่หลายเกณฑ์ด้วยกันเช่น WHO 19995, European Group for the Study of Insulin Resistance (EGIR)19996, NCEP ATPIII 20017 และ American College of Endocrinology (ACE) 20028 เป็นต้น อย่างไรก็ตามเกณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ NCEP ATPIII เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 ได้มีเกณฑ์ในการวินิจฉัย metabolic syndrome เพิ่มขึ้นใหม่อีก 2 เกณฑ์คือเกณฑ์ของ International Diabetes Federation (IDF) 9 และ เกณฑ์ของ American Heart Association (AHA) ร่วมกับ National Heart Lung and Blood Institutes (NHLBI) 10 ของประเทศสหรัฐอเมริกา
เกณฑ์ของ NCEP ATPIII ในการวินิจฉัย metabolic syndrome จะต้องมีความผิดปกติอย่างน้อย 3 ข้อใน 5 ข้อต่อไปนี้ ได้แก่
1. อ้วนลงพุง (เส้นรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ 102 ซม. หรือ 40 นิ้วในผู้ชาย หรือ มากกว่าหรือเท่ากับ 88 ซม.หรือ 35 นิ้วในผู้หญิง) 2. ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด > 150 มก./ดล. 3. ระดับ เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล < 40 มก./ดล.ในผู้ชาย หรือ < 50 มก./ดล.ในผู้หญิง 4. ความดันโลหิต > 130/85 มม.ปรอท หรือรับประทานยาลดความดันโลหิตอยู่ 5. ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร > 110 มก./ดล.
เกณฑ์ของ WHO 1999 ในการวินิจฉัย metabolic syndrome ต้องประกอบด้วยภาวะดื้อ ต่ออินสุลิน (วินิจฉัยได้โดยมีความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร > 110 มก./ดล. หรือ น้ำตาลในเลือดที่ 2 ชั่วโมงหลังดื่มน้ำตาลกลูโคส > 140 มก./ดล. หรือ วัดระดับดื้อต่ออินสุลินได้มากกว่าร้อยละ 75 ของประชากรทั่วไป) ร่วมกับความผิดปกติอย่างน้อย 2 ข้อต่อไปนี้
1. อ้วน (BMI > 30 kg/m2 หรือ อัตราส่วนระหว่างเส้นรอบวงเอวต่อสะโพก, W/H ratio, > 0.9 ในผู้ชาย หรือ > 0.85 ในผู้หญิง) 2. ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด > 150 มก./ดล. หรือ ระดับ เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล < 35 มก./ดล.ในผู้ชาย หรือ < 39 มก./ดล.ในผู้หญิง 3. ความดันโลหิต > 140/90 มม.ปรอท หรือรับประทานยาลดความดันโลหิตอยู่ 4. ระดับอัลบูมินในปัสสาวะ > 20 ไมโครกรัม/นาที หรืออัตราส่วนของอัลบูมิน/ครีตินิน > 30 มก./กรัม
คำจำกัดความของโรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกินในคนเอเชียพบว่าต่างจากในคนซีกโลกตะวันตกเนื่องจากดัชนีมวลกาย (BMI) ในการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเริ่มตั้งแต่ 23 กก./ม2 และจะเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อค่ามากกว่า 25 กก/มม2,11-14 ซึ่งคำจำกัดความของน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในคนเอเชียจะใช้เกณฑ์ > 23 และ 25 กก./ม2 ตามลำดับ และเส้นรอบวงเอวที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจะถือเกณฑ์ > 90 ซม.หรือ 36นิ้วในผู้ชาย และ > 80 ซม.หรือ 32 นิ้วในผู้หญิง15 ดังนั้นค่า BMI และเส้นรอบวงเอวในการวินิจฉัย metabolic syndrome ในคนเอเชียจึงควรใช้ค่า 25 กก./มม2 และ 90 ซม.ในผู้ชายหรือ 80 ซม.ในผู้หญิง16
สหพันธ์เบาหวานโลก (International Diabetes Federation) 9 ได้ให้เกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะ metabolic syndrome ดังนี้คือผู้ที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มโรคดังกล่าวจะต้องมีภาวะอ้วนลงพุงทุกรายร่วมกับความผิดปกติทางเมตะบอลิสมอีกอย่างน้อยสองข้อในสี่ข้อ คำจำกัดความของอ้วนลงพุงให้ใช้เส้นรอบเอวที่เป็นเกณฑ์ในแต่ละเชื้อชาติและประเทศเป็นหลัก ในคนไทยจะใช้เกณฑ์ของประชากรที่ศึกษาในประเทศทางเอเชียคือเส้นรอบเอวตั้งแต่ 90 ซม.ขึ้นไปในผู้ชาย และตั้งแต่ 80 ซม.ขึ้นไปในผู้หญิง ความผิดปกติทางเมตะบอลิสมสี่ประการดังกล่าวประกอบด้วยระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด > 150 มก./ดล. ระดับ เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล < 40 มก./ดล.ในผู้ชาย หรือ < 50 มก./ดล.ในผู้หญิงความดันโลหิต > 130/85 มม.ปรอท หรือรับประทานยาลดความดันโลหิตอยู่ ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร > 100 มก./ดล. การที่มีการปรับเกณฑ์ของน้ำตาลในเลือดลดลงเนื่องจากเกณฑ์ใหม่ในการวินิจฉัยภาวะ impaired fasting glucose หรือ prediabetes ถือระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร > 100 มก.ดล.17
เกณฑ์ใหม่ของ American Heart Association (AHA) ร่วมกับ National Heart Lung and Blood Institutes (NHLBI) ของประเทศสหรัฐอเมริกา10 คล้ายคลึงกับเกณฑ์ของ IDF แตกต่างตรงที่ผู้ที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น metabolic syndrome ไม่จำเป็นต้องมีอ้วนลงพุงทุกราย แต่ต้องมีความผิดปกติอย่างน้อยสามข้อขึ้นไปในห้าข้อที่เป็นเกณฑ์ของ IDF (คล้ายคลึงกับเกณฑ์ NCEP ATPIII เดิมเพียงแต่เปลี่ยนค่าเส้นรอบเอวตามเชื้อชาติและระดับน้ำตาลในเลือด)
อย่างไรก็ตาม American Diabetes Association และ European Association of Study of Diabetes 18 ได้ให้ความเห็นว่าการวินิจฉัยภาวะ metabolic syndrome อาจจะไม่เหมาะสมนักเนื่องจากสาเหตุของกลุ่มโรคนี้ยังไม่ทราบชัดเจนและการรักษาในขณะนี้แนะนำให้มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขในแต่ละปัจจัยเสี่ยงมากกว่า ระบาดวิทยาของ metabolic syndrome
ความชุกของ metabolic syndrome ขึ้นอยู่กับอายุ เชื้อชาติและเพศ อายุมากขึ้นจะมีความชุกเพิ่มขึ้น การศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าความชุกของโรคนี้พบได้ประมาณร้อยละ 25 ของประชากรทั้งประเทศ19 เชื้อชาติ Mexican-American จะมีความชุกมากกว่า African-American ในคน Caucasians ด้วยกันเองชาวอเมริกันจะพบว่าความชุกของภาวะนี้มากกว่าชาวยุโรป เนื่องจากโรคอ้วนพบในชาวอเมริกันมากกว่าชาวยุโรป ข้อมูลของประเทศสิงคโปร์พบ metabolic syndrome โดยเกณฑ์ของ NCEP ATPIII ร้อยละ 12.2 ของประชากรอายุระหว่าง 18-69 ปี แต่ถ้าใช้เกณฑ์เส้นรอบเอวของคนเอเชียใน NCEP ATPIII (> 90 ซม.หรือ 36นิ้วในผู้ชาย และ > 80 ซม.หรือ 32 นิ้วในผู้หญิง) ความชุกจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 17.9 คนสิงคโปร์เชื้อสายอินเดียจะมีความชุกสูงกว่าคนเชื้อสายมาเลย์และเชื้อสายจีนตามลำดับ12
ข้อมูลความชุกของกลุ่มโรคนี้ในประเทศไทยจากการศึกษา Interasia 20 โดยศึกษาในประชากรไทยทั่วประเทศที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 5,091 ราย พบความชุกร้อยละ 21.9 โดยใช้เกณฑ์ของ NCEP ATPIII แต่ถ้าใช้เกณฑ์เส้นรอบเอวของคนเอเชียใน NCEP ATPIII ความชุกจะเพิ่มเป็นร้อยละ 29.3 เพศหญิงจะพบมากกว่าเพศชายโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ความผิดปกติในแต่ละข้อของ metabolic syndrome พบว่าที่พบได้บ่อยมากที่สุดคือ ภาวะที่ระดับ เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอลต่ำ ซึ่งพบได้มากกว่าร้อยละ 50 ในขณะที่ความชุกของเส้นรอบเอวมากกว่าเกณฑ์ของ NCEP พบเพียงร้อยละ 14.2 และเพิ่มเป็นร้อยละ 35.8 ถ้าใช้เกณฑ์ของเส้นรอบเอวในคนเอเชีย
การศึกษาในผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานที่อายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไปจำนวน 1623 คนทั่วประเทศ อายุเฉลี่ย 43 ปี พบภาวะนี้ร้อยละ 24.121 (เพศชาย 22.2 และเพศหญิง 24.7)ถ้าใช้เกณฑ์การวินิจฉัยของ NCEP ATPIII และร้อยละ 33.3 (เพศชาย 36.0 และเพศหญิง 32.6)ถ้าใช้เกณฑ์ของเส้นรอบเอวของคนเอเชียใน NCEP ATPIII การศึกษาดังกล่าวยังพบความชุกของ metabolic syndrome ในโรคและผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงดังนี้ โรคอ้วน (BMI > 30 kg/m2) ร้อยละ 38.2 โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 34.2 ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (ไตรกลีเซอไรด์มากกว่า 200 มก./ดล. หรือ เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอลน้อยกว่า 40 มก./ดล.) ร้อยละ29.4 ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือเคยคลอดบุตรมีน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม ร้อยละ 17.9 ผู้ที่มีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 14.1
การศึกษาที่เป็นการศึกษาในกลุ่มประชากรพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในกรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ.253822 อายุระหว่าง 35-54 ปีจำนวน 3499 รายพบความชุกของ metabolic syndrome ร้อยละ 16.4 (เพศชาย 18.2 และเพศหญิง 9.4) ถ้าใช้เกณฑ์การวินิจฉัยของ NCEP ATPIII และร้อยละ 21.5 (เพศชาย 23.6 และเพศหญิง 13.7) ถ้าใช้เกณฑ์ของเส้นรอบวงเอวของคนเอเชียใน NCEP ATPIII
การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของประเทศไทยจำนวน 2252 ราย พบภาวะ metabolic syndrome โดยเกณฑ์การวินิจฉัยของ NCEP ATPIII ร้อยละ 5923
ปัจจุบันยังมีความผิดปกติอื่นๆอีกที่พบร่วมกับภาวะ metabolic syndrome ได้แก่ภาวะ proinflammatory state คือพบว่ามีระดับ CRP ในเลือดสูง24 และ prothrombotic state คือพบว่าระดับ plasminogen activator inhibitor (PAI-1) และ fibrinogen สูง25 ซึ่งทั้งสองภาวะดังกล่าวเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเช่นกัน26 นอกจากนี้ภาวะ metabolic syndrome ยังพบร่วมกับภาวะ fatty liver และ nonalcoholic steatohepatitis (NASH) เชื่อว่าความอ้วนและภาวะดื้อต่ออินสุลินเป็นสาเหตุของการสะสมไขมันในเนื้อตับและกรดไขมันที่สะสมภายในตับร่วมกับภาวะ oxidative stress จะก่อให้เกิดการอักเสบของตับตามมา27 สาเหตุของ metabolic syndrome
สาเหตุหลักของภาวะ metabolic syndrome มีอยู่ 2 ประการใหญ่ๆคือ ความอ้วน และภาวะดื้อต่ออินสุลิน1 โรคอ้วนโดยเฉพาะอ้วนบริเวณพุงเป็นเหตุให้เกิดความดันโลหิตสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอลในเลือดต่ำ น้ำตาลในเลือดสูงรวมทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ การที่มีเซลล์ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้นจะทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนต่างๆจากเซลล์ไขมันออกมาสู่กระแสเลือดเพิ่มขึ้นเช่น nonesterified fatty acids (NEFA), cytokines และ PAI-1 เป็นผลให้เกิดความผิดปกติดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ในคนอ้วนจะพบว่ามีระดับฮอร์โมน adiponectin ในกระแสเลือดลดลง ฮอร์โมน adiponecitin เป็นฮอร์โมนที่พบในเซลล์ไขมันเท่านั้น ระดับ adiponectin ในเลือดที่ต่ำจะสัมพันธ์กับภาวะดื้อต่ออินสุลิน และเป็นตัวทำนายการเกิดโรคเบาหวานและโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ภาวะดื้อต่ออินสุลินเกิดจากสาเหตุทางพันธุกรรมและสาเหตุภาย-นอก เช่นความอ้วน อายุที่มากขึ้นและยาบางชนิด คนที่อ้วนลงพุงจะมีภาวะดื้อต่ออินสุลินมากกว่าคนที่อ้วนบริเวณสะโพก เนื่องจากไขมันบริเวณพุงจะสลายตัวเป็น NEFA ได้มากกว่าไขมันบริเวณสะโพก28 NEFA ที่เพิ่มขึ้นในกระแสเลือดจะยับยั้งเมตะบอลิสมของกลูโคสที่กล้ามเนื้อได้29 และ NEFA ที่ออกมาจากไขมันบริเวณพุงจะเข้าสู่ตับโดยตรงได้มากกว่าไขมันบริเวณสะโพก การรักษา Metabolic syndrome
การรักษา metabolic syndrome ประกอบด้วยการแก้ไขปัจจัยที่เป็นสาเหตุได้แก่โรคอ้วนและภาวะดื้อต่ออินสุลิน นอกจากนี้การรักษาแต่ละปัจจัยเสี่ยงเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากเช่นกัน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต (lifestyle modification) จึงเป็นการรักษาหลักอันดับแรกที่ต้องปฏิบัติ30
หลักการรักษาโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกินทำได้โดยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังโดยให้ลดพลังงานจากอาหารที่รับประทานและเพิ่มการออกกำลังกาย31 การลดอาหารเพื่อการลดน้ำหนักที่ได้ผลมากที่สุดในระยะยาวคือการลดพลังงานจากอาหารที่ควรได้รับประมาณวันละ 500-1,000 แคลอรี่ 31 เป้าหมายที่เหมาะสมในการลดน้ำหนักคือการลดน้ำหนักให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 5-10 ในช่วง 6-12 เดือน การลดน้ำหนักในระยะยาวที่จะได้ผลดีนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการออกกำลังกายร่วมด้วย การลดน้ำหนักโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ได้น้ำหนักลดลงอย่างน้อยร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักตัวเริ่มต้น พบว่าทำให้ปัจจัยเสี่ยงต่างๆของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้แก่ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลง และระดับเอช-ดี-แอลโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น31 การศึกษาในผู้ป่วย metabolic syndrome ที่มีเบาหวานแฝงพบว่าการลดน้ำหนักโดยการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวเป็นเวลาประมาณ 3 ปีสามารถป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้ 32
การออกกำลังกายนอกจากจะมีผลดีต่อการลดน้ำหนักตัวแล้วยังพบว่าทำให้ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้นด้วย การออกกำลังกายควรจะทำทุกวันอย่างน้อยวันละ 30 นาทีด้วยความแรงของการออกกำลังกายที่เหมาะสม (moderate intensity) นอกจากนี้การออกกำลังกายในระยะเวลาสั้นๆครั้งละ10-15 นาทีเช่นการเดินเร็วๆ การทำงานบ้าน แต่ทำบ่อยๆวันละหลายครั้งก็พบว่ามีประโยชน์เช่นกัน33
การรักษาปัจจัยเสี่ยงต่างๆของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้แก่ การรักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ การรักษาความดันโลหิตสูงและการรักษาน้ำตาลในเลือดสูง30
การรักษาไขมันในเลือดผิดปกติในผู้ป่วย metabolic syndrome ตามแนวทางปฎิบัติของ NCEP ATPIII แนะนำให้ยึดตามความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์ 34 โดยแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมาก (very high risk) ได้แก่ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้วและผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง (high risk) ได้แก่ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อยสองข้อ (ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวได้แก่ 1. ผู้ชายอายุตั้งแต่ 45 ปีหรือผู้หญิงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป 2. มีประวัติญาติสายตรงป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายก่อนอายุ 55 ปีในผู้ชายหรือก่อนอายุ 65 ปีในผู้หญิง 3. สูบบุหรี่ 4. เป็นโรคความดันโลหิตสูง 5. ระดับเอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอลในเลือดต่ำกว่า 40 มก./ดล.) ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงน้อย (low risk) ได้แก่ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่าสองข้อ ไขมันที่ต้องพิจารณาตัวแรกคือ แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลหรือไขมันตัวร้าย โดยเกณฑ์ที่เหมาะสมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมากคือน้อยกว่า 100 มก./ดล. (ในผู้ป่วยบางรายเช่นผู้ป่วย acute coronary syndrome เกณฑ์ที่เหมาะสมอาจจะต้องน้อยกว่า 70 มก./ดล.) ในกลุ่มผู้ป่วยที่ความเสี่ยงสูงเป้าหมายของแอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลควรมีระดับน้อยกว่า 130 มก./ดล. ส่วนกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อยเป้าหมายของแอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลควรมีระดับน้อยกว่า 160 มก./ดล. การรักษาประกอบด้วยการควบคุมและหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ยาที่ควรใช้เป็นอันดับแรกในการลดแอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลคือยาในกลุ่ม statin หลังจากที่แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลได้ตามเป้าหมายแล้วให้พิจารณาที่ระดับไตรกลีเซอไรด์ ในกรณีที่ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงเกิน 400 มก./ดล.หลังจากที่ควบคุมอาหารและออกกำลังกายแล้วควรพิจารณาให้ยาในกลุ่ม fibrates เพื่อป้องกันการเกิดโรคตับอ่อนอักเสบจากการที่ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมาก ในกรณีที่ระดับไตรกลีเซอไรด์อยู่ระหว่าง 200-400 มก./ดล.ให้พิจารณาค่า non-HDLโคเลสเตอรอลเป็นเกณฑ์ (ค่า non-HDLโคเลสเตอรอล คำนวณได้จากระดับโคเลสเตอรอลรวมลบด้วยเอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล) เป้าหมายของ non-HDLโคเลสเตอรอลในผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุด กลุ่มความเสี่ยงสูงและกลุ่มความเสี่ยงน้อยเท่ากับ 130, 160 และ 190 มก./ดล. ตามลำดับ ยาที่ใช้ลดระดับ non-HDLโคเลสเตอรอล ให้ได้ตามเป้าหมายอาจจะใช้ยาในกลุ่ม statins หรือกลุ่ม fibrates ก็ได้ ในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับยาในกลุ่ม statins และ fibrates ร่วมกันเพื่อที่ทำให้ระดับแอล-ดี-แอลโคเลสเตอรอลและ non-HDLโคเลสเตอรอลตามเป้าหมาย การรักษาภาวะเอช-ดี-แอลโคเลสเตอรอลต่ำ (น้อยกว่า 40 มก./ดล.) มุ่งเน้นไปที่การออกกำลังกายเป็นหลัก ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอาจจะพิจารณาใช้ยาในกลุ่ม fibrates เพื่อเพิ่มระดับเอช-ดี-แอลโคเลสเตอรอลได้
การลดความดันโลหิตในผู้ป่วย metabolic syndrome เป้าหมายของความดันโลหิตในผู้ป่วย metabolic syndrome คือน้อยกว่า 140/90 มม.ปรอท ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานซึ่งเป้าหมายของความดันโลหิตควรน้อยกว่า 130/80 มม.ปรอท การลดน้ำหนักโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้แก่การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นการรักษาอันดับแรกที่ต้องทำในการลดความดันโลหิตในผู้ป่วยที่เป็น metabolic syndrome30 การลดน้ำหนักลงร้อยละ 10 ของน้ำหนักเดิมหรือลดน้ำหนักลงประมาณ 10 กิโลกรัม สามารถลดความดันโลหิตซิสโตลิกได้ประมาณ 7 มม.ปรอท และความดันไดแอสโตลิกได้ประมาณ 3 มม.ปรอท35 ในกรณีที่ความดันโลหิตยังลดลงมาไม่ได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องการหลังจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแล้วก็ควรจะพิจารณาใช้ยาลดความดันโลหิตร่วมด้วย36 หลักในการเลือกใช้ยาลดความดันโลหิตในผู้ป่วยที่เป็น metabolic syndrome มีวัตถุประสงค์ในการลดการเกิดโรคแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดจากความดันโลหิตสูง ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบยาลดความดันโลหิตชนิดต่างๆในผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยเฉพาะ แม้ว่ายาลดความดันโลหิตในกลุ่ม alpha-1- blocker จะเป็นยาที่มีผลดีในแง่การลดภาวะดื้อต่ออินสุลินมากกว่ายาลดความดันโลหิตตัวอื่น37 แต่จากการศึกษา ALLHAT พบว่าการใช้ยาในกลุ่ม alpha-1- blocker เป็นยาตัวแรกในการลดความดันโลหิตจะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวมากกว่ายาขับปัสสาวะ38 ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้เป็นยาตัวแรกในการลดความดันโลหิต ในทางทฤษฎียากลุ่มที่น่าจะมีผลดีที่สุดในการรักษาความดันโลหิตสูงในผู้ป่วย metabolic syndrome คือ ACE-Inhibitors และ angiotensin receptor blockers เนื่องจากยาดังกล่าวมีผลลดการกระตุ้นของระบบเรนินและแองจิโอเทนซิน และทำให้ลด proteinuria นอกจากนี้ยาในกลุ่มดังกล่าวเมื่อเทียบกับยากลุ่มอื่นพบว่าสามารถลดอุบัติการณ์ในการเกิดโรคเบาหวานได้38-41 ยาขับปัสสาวะหรือ thiazide ถ้าใช้ในขนาดที่เหมาะสมคือ 12.5-25 มก./ดล. ก็ได้ผลดีในคนไข้กลุ่มนี้เนื่องจากมีผลต่อเมตะบอลิกน้อยมาก ยาในกลุ่ม calcium channel blocker ก็ใช้ได้ดีเช่นกันเนื่องจากไม่มีต่อเมตะบอลิกเลย ส่วนยาในกลุ่ม beta blocker น่าจะเป็นกลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากผลข้างเคียงทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ระดับไตรกลีเซอไรด์และโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานถ้าเทียบกับยาในกลุ่ม ACE-Inhibitors และ angiotensin receptor blockers40,42
การรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วย metabolic syndrome ขึ้นอยู่ว่าระดับน้ำตาลที่สูงถึงระดับที่เป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ในกรณีที่ระดับน้ำตาลไม่ถึงขั้นที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน (น้อยกว่า 126 มก./ดล.) การรักษาหลักได้แก่การลดน้ำหนักโดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย แม้ว่าจะมีการศึกษาว่าการใช้ยา metformin43 และ acarbose44 สามารถป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้ก็ตามแต่ผลที่ได้น้อยกว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ในผู้ป่วย metabolic syndrome ที่เป็นโรคเบาหวานและมีระดับน้ำตาลในเลือดเกินเป้าหมาย (ระดับน้ำตาลขณะงดอาหารมากกว่า 120 มก./ดล., HbA1c มากกว่า 6.5%) 45 หลังจากที่ได้รับการควบคุมอาหารและออกกำลังกายเป็นเวลา 1-3 เดือน ควรพิจารณาใช้ยา metformin เป็นยาอันดับแรก ในกรณีที่ไม่สามารถใช้ยา metformin ได้เนื่องจากเกิดอาการข้างเคียงของยาทางระบบทางเดินอาหารเช่น คลื่นไส้ อาเจียร ท้องเสีย หรือมีภาวะไตเสื่อมร่วมด้วยอาจจะพิจารณาใช้ยาในกลุ่ม thiazolidinediones แทนได้ ในกรณีที่เพิ่มขนาดยา metformin ถึงระดับสูงสุดแล้ว (2,550-3,000 มก./วัน) ระดับน้ำตาลในเลือดยังเกินเป้าหมาย ควรพิจารณาเสริมยาในกลุ่ม thiazolidinedione หรือ sulfonylurea ร่วมกับยา metformin
|
|
|
|
|
nok15
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 529
|
|
« ตอบ #9459 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2556, 12:51:37 » |
|
เสียดายจังค่ะ. ไม่มีคอร์สต้นเดือนสิงหาคมบ้างเหรอคะ อยากถาม. แม้พอจะเดาได้ว่าไม่มี. แต่ขอลุ้นคำตอบหน่อยก็แล้วกัน ประมาณ 1-5 สิงหาคม
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #9460 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2556, 12:56:52 » |
|
เอาไว้ให้ นิสิต หอพักนิสิต จุฬาฯ ปิดเทอม
ผมจะเชิญไปทางคุณหลาว จากศรีษะอโศก หรืออาจารย์ตะวัน หรืออาจารย์ขวัญดิน
มาเปิดคอร์สที่หอพัก
อาจารย์เผ่า อาจารย์เพ็ญพรรณ เห็นดีด้วย เพื่ออำนวยความสะดวก กับทุกท่าน
อาจารย์เผ่าบอกว่า ถ้าหอใหม่เสร็จ ดีที่สุด
สวัสดี
|
|
|
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #9464 เมื่อ: 29 มิถุนายน 2556, 16:24:07 » |
|
ท่านผู้นี้คือผู้นำเสนอการล้างพิษตับ โดยพิมพ์หนังสือออกมา ชื่อ The Amazing Liver And Gallbladder Flush ตอนท้ายมีตัวหนังสือ ให้กด pause แล้วอ่านได้นานๆ จับความได้คล้ายๆ กับว่า ไม่สนับสนุนให้ล้างลำไส้บ่อยๆ เชื่อหรือไม่ ให้ใช้หลัก กาลามะสูตร
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #9465 เมื่อ: 29 มิถุนายน 2556, 21:30:34 » |
|
ขอบคุณมาก
ผมก็ยึดหลักกาลามสูตร และทางสายกลาย ไม่ได้ทำตามที่ทาง ศรีษะอโศก เสนอ ๑๐๐ % ในเรื่องของการ Detox ๗ วัน ทั้งเช้า-เย็น
สำหรับการล้างตับผมยังยึดตามศรีษะอโศก อย่างน้อยอดอาหาร ๓ วัน เพราะมันก่อประโยชน์
หลังจากล้างครั้งแรกไปแล้ว ผมต้องเว้นวรรค อย่างน้อยสอง - สามเดือน จึงทำหลังจากนั้น คงทำปีละครั้ง-สองครั้ง เท่านั้น หรือไม่ทำเลย ขึ้นอยู่กับผลการตรวจเลือด ของแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะผมไม่มีโรคเรื้อรัง เหมือนอย่างคนอื่น
นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญภายหลังการล้างตับคือ เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ต้องออกกำลังกาย ถ่ายให้ได้ตามนาฬิกาชีวิต นอนหัวค่ำ และเจริญสติ ซึ่งผมทำได้หมด ไม่กินตามความอยาก แต่กินในสิ่งที่ต้องกิน
สวัสดี นี่คือ อาหารเช้าวันนี้ ที่ผมรับประทานทุกครั้ง ที่กินตามโรงแรม
มื้อกลางวัน วันนี้ เป็น ผัก-หัวไฉ่เท้าต้ม กับข้าวกล้อง
มื้อเย็นเป็นน้ำแอบเปิลแท้ ๑๐๐ % ของมาลี หนึ่งแก้ว
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #9466 เมื่อ: 29 มิถุนายน 2556, 21:47:50 » |
|
สวัสดียามค่ำครับ ชาวีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน
วันนี้ขณะนั่ง Taxi จากสนามบินดอนเมืองมาบ้าน คนขับรถ Taxi ใจดีเปิดสถานีวิทยุ FM 91 โฆษกหญิง รายงานว่า คุณมิตซุโอ อดีตพระอาจารย์ของเขา และดร.สุริยา ได้จดทะเบียนแต่งงาน อย่างเป็นทางการแล้ว
สะเทือนใจที่นับถือมานาน ทีแรกนึกว่าท่านลาสิกขาแล้ว จะสะดวกในการสอนปฏิบัติธรรมต่อไป แต่กลับแต่งงาน ไม่น่าเชื่อที่ท่านบวชมามากกว่าสามสิบปี เขียนหนังสือธรรมะสอนคน จำนวนมาก และอายุมากกว่าหกสิบปี ต้องลาสิกขาไปแต่งงาน !
ผมได้ส่ง SMS ไปให้ ดร.สุริยาแล้ว
ก่อนที่พระพุทธองค์ จะปรินิพพาน พระอานนท์ ได้ถามว่า เมื่อสุภาพสตรีจะมาขอพบจะทำอย่างไร?
พระพุทธองค์ตอบว่า "อย่าให้พบ"
พระอานนท์ถามว่า "เมื่อเขามาถึงแล้ว จะทำอย่างไร"
พระพุทธองค์ทรงตอบว่า "อย่าให้พบ"
พระอานนท์ถามว่า "เขามาอยู่ตรงหน้าแล้ว"
พระพุทธองค์ตอบว่า "อย่ามองใบหน้า"
พระอานนท์ถามว่า "เมื่อเขาพูดด้วย จะทำอย่างไร"
พระพุทธองค์ทรงตอบว่า "เธอจงตั้งสติ-สัมปชัญญะให้มั่น"
เป็นเพราะ พระมิตซุโอ ไม่ได้ปฏิบัติตามที่พระพุทธองค์ ทรงสอนพระอานนท์
สุดท้ายท่านต้องแพ้ภัยตนเอง ลาสิกขาไปแต่งงาน
ราตรีสวัสดิ์ทุกท่นครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #9467 เมื่อ: 29 มิถุนายน 2556, 22:21:12 » |
|
เห็นมาบ้างครับ พระไทยเป็นเจ้าอาวาสแต่งงานกับครูในโรงเรียน ตอนเป็นเด็กเขาสองคนคุยกันสองคน แต่อยู่ห่างกัน เราก็ไปยืนแถวนั้นด้วยความไม่รู้ สักไม่กี่เดือน เจ้าอาวาสสึกจากพระแต่งงานกับครูคนนี้
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #9468 เมื่อ: 30 มิถุนายน 2556, 20:53:24 » |
|
สวัสดีครับ คุณน้องเริง๒๐ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน
เจ้าอาวาสแต่งงานกับสีกา มีตัวอย่างมาก พี่สิงห์ พบเห็นมาตั้งแต่เด็ก พระอาจารย์มา เจ้าอาวาสวัดกระดังงา เป็นเกจิอาจารย์ ที่คนนับถือมาก มีลาภ เงินทองมาก แต่เสร็จสีกา ผ้าเหลืองร้อน จนต้องสึก เมื่อมาอยู่ในรูปประชาชน ไม่มีใครกราบไหว้ ไม่มีใครให้เงิน เมื่อเงินหมด ต้องทำงานก็ทำไม่ไหว เพราะสมัยเป็นพระมีแต่คนให้ จึงทำไม่เป็นประกอบกับอายุมาก ผลคือ มันไม่ได้พบกับความสุข มีแต่ทุกข์ทั้งนั้น คิดได้แต่ก็สาย จะกลับไปบวชใหม่ก็มีลูก หรือหน้าไม่ด้านพอที่จะโดนชาวบ้านว่ากล่าวในทางไม่ดี คือไปไม่รอด ก็กลับมาอาศัยผ้าเหลืองหากินอีก
วันนี้ทาง TNN เอาภาพของคุณมิตซุโอ ถ่ายคู่กับภรรยา ที่เป็นคนไทย ยังอยู่ในช่วงของความรัก ข้าวใหม่ปลามัน และมีเงินทอง ด้วย ยังสุข ทางข่าวบอกว่า คุณมิตซุโอ จะเขียนหนังสือ สอนคน ไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ท่านว่าอย่างนั้น แต่เชื่อเถอะ คนที่ทราบเรื่องนี้หมดศรัทธาในตัวท่านแล้ว เขียนไปคนก็ไม่เชื่อ เพราะท่านเองก็ตัดกิเลส ไม่ได้ คอยดูกันต่อไปท้ายสุดมันจะเป็นเช่นไร แต่ขอให้ท่านพบความสุข ตามที่ท่านปรารถนาเทอญ
และทาง TNN ได้เอาภาพของหลวงปู่เณรคำ นั่งเครื่องบินส่วนตัว ถือกระเป๋าหลุยวิกตอง แอคท่าถ่ายภาพ แบบคนไร้ความคิดไม่ใช่พระ เห็นภาพเหล่านั้นแล้ว เศร้าใจกับลูกศิษย์ ชาวบ้าน ที่บริจาคเงินทำบุญ นี่ละผู้ทำลายพุทธศาสนา ตามที่พระพุทธองค์ทรงว่าเอาไว้ กรณ๊อย่างนี้มีมากในปัจจุบัน แต่ทำอะไรไม่ได้ เพราะคนที่ศรัทธา นั้นหลงอยู่ในความคิด และผลประโยชน์ มันเศร้าจริง ๆ คนในพุทธศาสนาในปัจจุบัน หลงงมงายในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พิธีกรรม จนไม่มีปัญญาแยกแยะว่าอะไรควร ไม่ควร
เห็นแบบนี้แล้ว จิตมันหดหู่ จริง ๆ นี่หรือพระอรหันต์ หลวงปู่เณรคำ ที่อ้างว่า สามารถสื่อสารกับพระอินทร์ได้ มันน่าขำ จริง ๆ ใครทำกรรมอันใดไว้ กรรมดีก็ตาม กรรมชั่วก็ตาม ย่อมได้รับผลกรรมนั้นเสมอ
(ตามคำสอนของพระพุทธองค์ในการพิจารณาว่า พระท่านใดเป็นอรหันต์ จากภาพที่ปรากฏ และการอวดอุตริ มันก็ไม่ใช่พระอรหันต์แล้ว ผิดทั้งสิบข้อ ที่พระพุทธองค์ ยกขึ้นมา)
ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #9469 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2556, 06:05:31 » |
|
การใช้ปัญญาในฐานะเราเป็นพุทธศาสนิกชน ปัญญา แปลว่า ความรู้ แต่เป็นความรู้ในทางกุศลธรรม
การใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิตของเรา คือการกระทำต่าง ๆ ของเราในชีวิตประจำวันนั้น สิ่งที่กระทำต้องก่อประโยชน์ ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และตนเอง-ครอบครัวก็ไม่เดือดร้อน รวมทั้งทั้งไม่เบียดเบียนสัตว์เดรฉานด้วย
เมื่อใดจิตของเราเกิดความยินดี พอใจ และชอบในทางโลภ ละโมภ อยากได้ อยากเอา ก็ให้เกิดปัญญารู้ว่า สิ่งเราเกิดความพึงพอใจ โลภ ละโมภ อยากได้อยากเอานั้น มันเป็นความพอใจชั่วครู่ชั่วยาม เป็นของหยาบ เราจะต้องไม่ยินดีไปกับมัน ต้องรู้ตัวไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ควรกระทำ กระทำแต่ในสิ่งที่สมควรกระทำ ก่อประโยชน์ในทางกุศลธรรม
เมื่อใดจิตของเราเกิดความพอใจในกาม คือพอใจในรูป พอใจในเสียง พอใจในกลิ่น พอใจในรส พอใจในการสัมผัสทางกาย ก็ให้เกิดปัญญารู้ว่า สิ่งเรานี้คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสทางกาย นั้น ก็ให้รู้ด้วยปัญญษว่า มันเป็นความพอใจชั่วครู่ชั่วยาม เป็นของหยาบ เราจะต้องไม่ยินดีไปกับมัน ต้องรู้ตัวไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ควรกระทำ กระทำแต่ในสิ่งที่สมควรกระทำ ก่อประโยชน์ในทางกุศลธรรม
เมื่อใดจิตของเราเกิดความพยาบาท คือจิตเกิดความอาคาด เบียดเบียน ก็ให้รู้ด้วยปัญญาว่า การพยาบาท นั้น มันเป็นความพอใจชั่วครู่ชั่วยาม เป็นของหยาบ เราจะต้องไม่ยินดีไปกับมัน ต้องรู้ตัวไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ควรกระทำ กระทำแต่ในสิ่งที่สมควรกระทำ ก่อประโยชน์ในทางกุศลธรรม
เมื่อใดจิตเกิดถีนะมิตถะ คือ จิตหดหู่ เซื่องซึม ง่วงนอน ก็ให้รู้ด้วยปัญญาว่า จิตที่เกิดถีนะมิตถะ นั้น มันเป็นความพอใจชั่วครู่ชั่วยาม เป็นของหยาบ เราจะต้องไม่ยินดีไปกับมัน ต้องรู้ตัวไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ควรกระทำ กระทำแต่ในสิ่งที่สมควรกระทำ ก่อประโยชน์ในทางกุศลธรรม
เมื่อใดจิตเกิดอุจทัจจะกุกัจจะ คือจิตเดือดดาน ฟุ้งซ่าน ก็ให้รู้ด้วยปัญญาว่า จิตที่เกิดความฟุ้งซ่าน เดือดดานใจ นั้น มันเป็นความพอใจชั่วครู่ชั่วยาม เป็นของหยาบ เราจะต้องไม่ยินดีไปกับมัน ต้องรู้ตัวไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ควรกระทำ กระทำแต่ในสิ่งที่สมควรกระทำ ก่อประโยชน์ในทางกุศลธรรม
เมื่อใดจิตเกิดวิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ก็ให้รู้ด้วยปัญญาว่า จิตที่เกิดความลังเลสงสัย นั้น มันเป็นความพอใจชั่วครู่ชั่วยาม เป็นของหยาบ เราจะต้องไม่ยินดีไปกับมัน ต้องรู้ตัวไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ควรกระทำ กระทำแต่ในสิ่งที่สมควรกระทำ ก่อประโยชน์ในทางกุศลธรรม
การที่จิตเกิดยินดีในความโลภ ยินดีในกาม ยินดีในพยาบาท ยินดีในความหดหู่ เซื่องซึม ยินดีในความฟุ้งซ่าน เดือดดานใจ และยินดีในความสงสัยนั้น เราต้องมีปัญญาพิจารณา ไม่ให้จิตมันหลงไปตามนั้น
เพราะสิ่งเหล่านั้น มันเป็นอกุศลธรรม ที่มาเกาะจิตแล้ว ทำให้เกิดความพอใจ ซึ่งไม่ก่อประโยชน์เลย ควรที่จะละเสีย การที่จะละให้ได้นั้น หรือเกิดปัญญานั้น เราต้องมีสติ-สัมปชัญญะ คือมีความรู้ตัวทันที ปัญญาจะเกิด ไม่หลงผิดได้
สวัสดียามเช้าครับ วันนี้เป็นวันพระ ทำจิตให้เป็นกุศล ด้วยการรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9470 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2556, 07:35:06 » |
|
พี่สิงห์, น้องเริง
หญิงงามที่แต่งงานไปแล้ว 2 ครั้ง สามี 2 คน แถมลูกอีก ย่อมเจนจัดในโลกียะ พระบวชมานานย่อมไม่ทันกันจริตของสตรี ขนาดเราๆ ที่มีภรรยา มีลูกแล้ว ไปสถานเริ่งรมย์ เจอสาวเอ๊าะ เอ๊าะ ยังเอาไม่อยู่เลย !! ?? จะอ้างเป็นคู่ในอดีตชาติ หรืออะไร ก็ว่ากันไป ?? ดูยาวๆ เดี๋ยวก็ได้เห็นอะไร ที่แตกต่างจากวันนี้ แน่นอน ครับ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #9471 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2556, 16:35:24 » |
|
สวัสดีครับคุณเหยง
มันก็จริงตามนั้น
แต่อย่าลืมสุภาพสตรีที่งดงามก็มีอยู่ถมไป จะเหมารวมไม่ได้
กรณีของคุณมิตซุโอ ต้องดูนาน ๆ
กรณีของเณรคำ นั้นทำลายพุทธศาสนา ย่อมจะได้รับกรรมไม่นานเกินรอ
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #9472 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2556, 16:47:37 » |
|
สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มีเกียรติ ที่รักทุกท่าน
วันนี้ผมอยู่ที่ อำเภอสูงเนิน โคราช มาทำงาน คืนนี้คงพักที่โคราช
ลำตะคองยังคงไม่มีน้ำ เพราะฝนยังตกน้อย ต้องรอให้มีพายุพัดผ่านอย่างน้อยหนึ่งลูกสถานการณ์น้ำจึงจะดีขึ้น แต่ก็ทำให้โคราชรอดพ้นวิกฤตน้ำในการอุปโภค บริโภคมาได้ แต่น้ำทำนายังต้องพึ่งน้ำฝน เพราะทางชลประทานลำตะคองไม่มีน้ำจ่ายไปให้
อย่าลืมวันนี้เป็นวันพระ อย่างน้อยขอเชิญทุกท่าน สวดมนต์ก่อนนอน ครับ
สำหรับพี่สิงห์ ทำงานมากไป ไม่ดีเลย แต่มันก็ยังจำเป็นต้องกระทำอยู่ เพื่อให้เมื่อปลดเกษียณจริง ๆ พอมีเงินติดตัวเอาไว้รักษาพยาบาลตอนแก่ได้ เพราะไม่อยากไปพึ่งใครทั้งสิ้น
เมื่อวันอาทิตย์ คุณหมอพีร์ คุณหมอวิทิต และน้องสาวมาเยี่ยม เอาผลไม้ และปลาเกลือปลาช่อน มาให้ เมื่อเช้าเลยไม่ต้องไปซื้อกับข้าว ใส่บาตรก็เอาของที่น้องสาวมาให้นั้น ใส่บาตรพระแทน และท่านพระมหามาแจกซองเพื่อจะไปบริจาคเทียนเข้าพรรษายังวัดต่าง ๆ ในภาคอิสาน ก็เลยทำบุญกับพระมหาด้วย
คุณหมอพีร์ ที่รับดูแลชุมชนในเขตอำเภอเมือง สิงห์บุรี จะให้ไปสอนแนะนำการดูแลร่างกายสำหรับผู้สูงวัย ก็ไม่ขัดข้องยินดีที่จะไปแนะนำให้ เพื่อให้ทุกคนอยู่ในวัยเกษียณด้วยความสุข ถิอว่าช่วยสังคมให้ดีขึ้น
วันนี้วันพระ คงต้องนั่งภาวนา และสวดมนต์ทำวัตรเย็นมากหน่อย ครับ
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #9473 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2556, 22:02:39 » |
|
สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน
พี่สิงห์ อยู่กรุงเทพฯ แล้ว
ดร.สุริยา คงดีใจที่คุณมิตซุโอะ มีความสุข มีรูปกับภรรยา ลงหนังสือพิมพ์ และจะกลับมาเมืองไทย มาสอนเรื่องการดูแลสุขภาพ คือท่านอยู่ญี่ปุ่น ไม่ได้ เพราะต้องไปอาศัยพี่ชายอยู่ คงต้องกลับมาหากินที่เมืองไทย เพราะอยู่เมืองไทยมาสามสิบกว่าปี คงต้องดูกันยาว ๆ แต่ขอให้ท่านประสบในสิ่งที่ท่านตั้งใจ
วันก่อนพี่โส(ข้างบ้าน) เล่าให้ฟังว่า ขณะรอใส่บาตรพระที่หน้าบ้าน ทุกปี พระมิตซุโอะ จะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการท่องพระไตรปิฎก ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ หนึ่งวัน ในการสาธยายพระไตรปิฎกประจำปีเดือนพฤศจิกายน ที่พุทธคยา อินเดีย ต่อไปนี้คงไม่มีแล้ว ดังที่ทุกท่านได้ทราบ
ส่วนเฌรคำ ถ้าทุกท่านได้อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ ๑ กรกฎาคม กิเลนประลองเชิง ได้นำ ๔ ข้อ ที่ภิกษุต้องปราชิก มาลงให้รับทราบ และเรียกเณรคำว่า เป็น "อรหอย"
สำหรับผม ไม่มีอะไร ยังยึดถือ "ใครทำกรรมอันใดไว้ กรรมดีก็ตาม กรรมชั่วก็ตาม ย่อมได้รับกรรมนั้นเสมอ"
ไม่รู้จะเขียนเรื่องอะไรจริง ๆ
พรุ่งนี้ผมต้องไปทำงานที่สมุทรสาคร ไม่มี Internet ครับ
ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #9474 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2556, 23:16:37 » |
|
เดิมมีอยู่เล่มเดียว พอมีเรื่องก็เลยไปหาซื้อมาคู่กันซะ เป็นหนังสือชุดเดียวกัน ของอัมรินทร์ฯ ใครยังไม่ได้จับจองเป็นเจ้าของ ไปหามาซะนะครับ ผมไม่ให้ยืม กลัวไม่ได้คืน เพราะอีกหน่อยจะเป็นของหาค่ามิได้ เนื่องจากสำนักพิมพ์ไหนๆ ก็คงไม่กล้าพิมพ์ซ้ำ
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
|