Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #7325 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555, 15:46:32 » |
|
สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่งและแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน
สงสัย ดร.สุริยา คงไม่มีเวลาผ่านเข้ามาอ่าน ครับ
ไม่เป็นไร ผมตอบเองก็ได้ ผิด-ถูก ทุกท่านตัดสินใจได้
ท่านเคยได้ยินที่คุณพ่อ คุณแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย คนโบราณ บางครั้งท่านสอนให้เราหัดเป็น เตมีย์ใบ้ เข้าไว้บ้าง เพื่อว่าภัยจะได้ไม่มาถึงตัว หรือจะได้ไม่วิวาทกับใคร เพราะบางคราวเราตกในที่นั่งลำบาก พูดก็ไม่ได้ กระทำก็ไม่ได้ เลยต้องเอาหูทวนลม หรือเป็นพระเตมีย์ใบ้ จะได้รอดตัวไป
ความหมายมันก็ตรงๆ คือ บางสถานะการณ์เราจะต้อง พึงเป็นคนใบ้หนึ่ง พึงเป็นคนหูหนวกหนึ่ง พึงเป็นคนง่อยหนึ่ง เราถึงจะปลอยภัย แต่อย่าลืมท่านจะต้องอดทนอดกลั้นอย่างพระเตย์มี ถึง ๑๐ ปี แสดงว่าท่านต้องบำเพ็ญความเพียรเอาชนะจิตท่านด้วยความอุตสาหะยิ่ง
บางครั้งท่านตกอยู่ในหมู่โจร ท่านไปเห็น ไปรับรู้ความลับของเขา เช่นสังคมของคนกระทำผิดกฏหมายยาเสพติด ค้าของเถื่อน ท่านต้องทำเป็นพระเตมีย์ใบ้ ไม่อย่างนั้น ท่านจะต้องเสียชีวิตแน่นอน
บางครั้งในการทำงาน มีความเห็นที่แตกต่าง เราพูดไปก็เท่านั้น อาจจะดี อาจจะมีคนไม่ชอบ สู้เป็นเตมีย์ใบ้ ดีกว่าแยะเพราะจะได้ไม่มีใครวิวาทด้วย
บางครั้งท่านถูกบังคับให้กระทำในสิ่งที่ท่านไม่อยากกระทำ ท่านก็ทำตัวเป็นพระเตมีย์ใบ้เสีย ก็สิ้นเรื่อง
ดังนั้น บางโอกาส บางเวลา การเป็นพระเตมีย์ใบ้ก็มีประโยชน์ยิ่ง
แต่เราเองคงกระทำได้เพียงชั่วครู่ชั่วยาม คงไม่มีความอดทนเท่าพระเตมีย์ แน่ ๆ เพราะท่านกระทำอยู่ถึง ๑๐ ปี เพื่อว่าท่านจะได้ไม่ต้องเป็นกษัตริย์ จะได้ไม่ต้องตัดสินคดี จะได้ไม่ตกนรกอีก มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่ปุถุคนชนเช่นเราจะกระทำได้ ครับ
แต่อย่างไรเราก็เอาไปใช้ประโยชน์ได้ครับ พอนึกถึงเรื่องพระเตมีย์ใบ้ขึ้นมา เราอาจจะมีความอดทนอดกลั้นขึ้นมาบ้างก็ได้ครับ
แต่จริงๆ แล้วชาดกเรื่องนี้แสดง ถึงการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือการออกบวชหรือออกจากกาม
สวัสดี
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือการออกบวชหรือออกจากกาม เล่าเรื่องเตมียราชกุมาร เกรงการที่จะได้ครองราชสมบัติ เพราะทรงสลด พระหฤทัยที่เห็นราชบุรษลงโทษโจรตามพระราชดำรัสของพระราชา เช่น เฆี่ยนพันครั้งบ้าง เอาหอกแทงบ้าง เอาหลาวเสียบบ้าง จึงใช้วิธีแสร้งทำเป็นง่อยเปลี้ย หูหนวก เป็นใบ้ไม่พูดจากับใคร แม้จะถูกทดลองต่าง ๆ ก็อดกลั้นไว้ ไม่ยอมแสดงอาการพิรุธให้ปรากฏ ทั้งนี้เพื่อจะเลี่ยงการครองราชสมบัติ พระราชาปรึกษาพวกพรากมณ์ ก็ได้รับคำแนะนำใหนำราชกุมารไปฝังเสีย. พระราชมารดาทรงคัดค้านไม่สำเร็จ ก็ทูลขอให้พระราชกุมารครองราชสัก ๗ วัน แต่พระราชกุมารก็ไม่ยอมพูด ต่อเมื่อ ๗ วันแล้ว สารถีนำราชกุมารขึ้นสู่รถ เพื่อจะฝังตามรับสั่งพระราชา ขณะที่ขุดหลุ่มอยู่พระราชกุมารก็เสด็จลงจากรถ ตรัสปราศัยกับนายสารถี แจ้งความจริงให้ทราบว่า มีพระประสงค์จะออกบวช สารถีเลื่อมใสในคำสอนขอออกบวชด้วย จึงตรัสให้นำรถกลับไปคืนก่อน สารถีนำความไปเล่าถวายพระราชมารดา พระราชบิดาให้ทรงทราบ . ทั้งสองพระองค์พร้อมด้วยอำมาตย์ราชบริพารจึงได้เสด็จออกไปหา เชิญให้พระราชกุมารเสด็จกลับไปครองราชสมบัติ แต่พระราชกุมารกลับถวายหลักธรรมให้ยินดี ในเนกขัมมะ คือการออกจากกาม. พระชนกชนนีพร้อมด้วยบริวารทรงเลื่อมใสในคำสอน ก็เสด็จออกผนวชและบวชตาม. และได้มีพระราชาอื่นอีกเป็นอันมาก สดับพระราชโอวาทขอออกผนวชตาม.
|
|
|
|
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562
|
|
« ตอบ #7326 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555, 16:03:53 » |
|
เหมือนที่ คนไทย ได้กันสอนไว้ว่า นิ่งเสียตำลึงทอง ค่ะ พี่สิงห์
|
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #7328 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555, 16:19:49 » |
|
สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
พี่สิงห์ ไม่รู้จะเอาอะไรมาเขียนกลัวข้อกล่าวหา อุตริมนุษย์ธรรม ก็ต้องอาศับชากด เหล่านี้ครับ และมันก็เป็นสิ่งที่ดี ที่เราไม่รู้ และมีประโยชน์ มาอ่านผ่านตา จิตมันจะได้นึกได้เอาไปใช้ประโยชน์ ได้ครับ
มันก็เป็นเช่นนั้น
สวัสดี
|
|
|
|
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562
|
|
« ตอบ #7329 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555, 16:31:38 » |
|
ดี นะคะ พี่สิงห์ แม้ ว่า เราเคย รู้มาบ้าง ก็เตือนใจ ให้มีความพยายามในแต่ละเรื่อง ดีกว่า การที่ท่อง แต่ หัวใจพระเจ้าสิบชาติ ค่ะ เมื่อก่อน เคย ท่องสวดมนต์ให้ลูกฟังว่า เต ชะ สุ เน มะ ภู จ นา วิ เว ตามที่เคยท่อง ลูก ยังเด็ก ก็ถามตามประสาเด็กว่า คำย่อ นี้ หมายถึง ใครบ้าง แล้วเพื่ออะไร ทำให้ เรา ต้องกลับมาอ่านอีกครั้ง แต่พอ ในหลวง มีพระราชดำริ ให้จัดพิมพ์ หนังสือ พระมหาชนก ฉบับ การ์ตูน ก็เลยได้ ซื้อมาให้ลูกอ่าน แต่ก็ยังมีคึำถามมาจน ได้ ว่า ลูกที่จะกัด นมแม่ ที่กำลังให้นม ตัวเอง อยู่นั้น เด็กดีหรือ แม่จนปัญญา ต้อง กลับมาอ่าน เพื่อวิเคราห์ เหตุผล อีก ดังนั้น การที่ให้เด็ก อ่านชาดกนั้น คงต้องมีการอธิบาย ที่ชัดเจน เพิ่มเติม ค่ะ ให้อ่านเอง คงยาก นะคะ พี่สิงห์
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #7330 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555, 16:49:40 » |
|
มันก็จริงของเธอ แต่เราก็สามารถอธิบายให้ลุกฟังได้ ครับ
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #7331 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555, 16:51:48 » |
|
ชาดก เรื่องพระมหาชนกนั้นแสดงถึง การบำเพ็ญ "วิริยบารมี"
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญวิริยบารมี คือความพากเพียร ใจความสำคัญ คือพระมหาชนกราชกุมารเดินทางไปทางทะเล เรือแตก คนทั้งหลายจมน้ำตายบ้าง เป็นเหยี่อของสัตว์น้ำบ้าง แต่ไม่ทรงละความอุตสาหะ ทรงว่ายน้ำโดยกำหนดทิศทางแห่งกรุงมิถิลา ในที่สุดก็ได้รอดชีวิตกลับไปถึงกรุงมิถิลาได้ครองราชสมบัติ. ชาดกเรื่องนี้เป็นที่มาแห่งภาษิตที่ว่า เป็นชายควรเพียรร่ำไป อย่างเบื่อหน่าย ( ความเพียร ) เสีย, เราเห็นตัวเองเป็นได้อย่างที่ปรารถนา, ขึ้นจากน้ำมาสู่บกได้
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #7332 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555, 16:58:55 » |
|
วันนี้ พี่สิงห์ ไปดูโขน เรื่อง "จองถนน" รอบ 19:30 น. ครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #7333 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555, 20:18:49 » |
|
พี่สิงห์
ไม่ทันแล้วครับ จองถนน เป็นแค่ผู้รับเหมา เขาจองประเทศนี้กันไปแล้วล่ะ อย่างน้อยก็ 8 ปีเต็ม ??
|
|
|
|
อ้อย17
|
|
« ตอบ #7334 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2555, 07:43:09 » |
|
ตามมาอ่านชาดก อย่างเอาจริงเอาจัง ขอบคุณที่พี่สิงห์นำมาให้อ่านค่ะ... ความจริงก็ตามหลังพี่สิงห์มาอยู่ตลอดแต่ไม่ได้ส่งเสียงค่ะ.. ขอบคุณในความหวังดีต่อพี่น้องของพี่ค่ะ...
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #7335 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2555, 08:48:28 » |
|
ผมก็ปล่อยวางแล้ว ในเมื่อประชาชนเป็นคนเลือกเอง ก็ต้องรับกรรมนั้น
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #7336 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2555, 08:52:04 » |
|
สวัสดีค่ะ คุณน้องอ้อย 17 ที่รัก
ขอบคุณมาก
พี่สิงห์ คิดเพียงอย่าเดียว การบำเพ็ญบารมีนั้น ถ้าได้อ่าน ได้คิด จิตมันจะจำ บางโอกาส เราจะนึกขึ้นมาได้เอง สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้ เมื่องต้องประสบเหตุการณ์ในทำนองนั้น
หลายคนก็ลืมไปแล้ว หรือไม่เคยรับทราบมาเลย
จะนำมาเสนอจนครบ ๑๐ ชาดก เพราะเคยรับปากคุณวัฒนา โอภานนท์อมตะ เอาไว้ครับ
สวัสดี
|
|
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #7339 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2555, 20:22:29 » |
|
สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
วันอังคาร พี่สิงห์ ต้องไปบำเพ็ญเมตตาบารมี ตามแบบสุวรรณสาม ที่จังหวัดนครปฐม
คือไปสอนหนังสือ ให้กับวิศวกร โฟร์แมน ที่โรงงานผลิตเสาเข็ม แห่งหนึ่ง ไม่ทราบรายละเอียด
เรื่อง "การผลิตเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงแบบมืออาชีพ"
ทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือนก็คงต้องรอเวลาบ่ายๆ ท่านก็ทบทวน ชาดก ดู เพราะจิตมันจะได้จำ ยามคับขันจะได้นำออกมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้
การบำเพ็ญเนกขัมมะบารมี ของ พระเตมีย์ใบ้
การบำเพ็ญวิริยะบารมี ของ พระมหาชนก
การบำเพ็ญเมตตาบารมี ของ สุวรรณสาม
ราตรีสวัสดิ์ ครับ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #7340 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2555, 05:28:08 » |
|
สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
ทุกท่านลอง ทดลองกับตัวท่านดู
ตื่นเช้าประมาณตีห้า หรือตีสี่ครึ่งก็ได้ เมื่อตื่นแล้ว ล้างหน้าล้างตาให้แจ่มใส่
ลองเดินจงกรม หาพื้นที่ปูด้วยดิน ไม้ หรือพรหมในห้องนอน เพราะจะเป็นผลดีต่อเท้า
ท่านเดินจงกรมไป ก็ให้รู้สึกตัวในการก้าวเท้า เหยี่ยบลงพื้น ยกเท้า คือเท้าเคลื่อน - หยุด รู้สึกตัวไปแบบนี้ ระยะแรกอาจจะเพ่ง แต่พอเวลาผ่านไปสักพัก มันจะเป็นธรรมชาติขึ้น จิตท่านจะค่อยๆ สงบ การคิดน้อยลง การรู้สึกตัวมากขึ้น อยู่อย่างนี้ ทำไป ๆ ท่านจะพบว่าจิตท่านจะสงบ สว่าง เบา ไม่อึดอัด สบายๆ ท่านจะทราบด้วยตัวท่านเอง รู้สึกตัวไปเรื่อยๆ ถ้ามีความคิด หรืออารมณ์เกิดขึ้น มีอะไรมากระทบทางอายตนะ ท่านก็จะรับรู้ได้ แต่ไม่ปรุงแต่งต่อ เพียงแค่นี้ครับ กระทำให้เป็นธรรมชาติ สังเกตรูป-นาม ตนเอง ไปเรื่อยๆ ท่านจะเรียนรู้รูป-นาม ของท่านด้วยตัวของท่านเอง เมื่อยเมื่อไร เห็นว่าพอสมควรแล้ว ท่านก็เลิก แต่เก็บความรู้สึกตัวนั้น เอาไปใช้ดูจิตตนเอง ในชีวิตประจำวันของท่าน ท่านจะพบว่า มันคิดน้อยลง มีความรู้สึกตัวมากขึ้น ทุกข์มันจะน้อยลงไปเองตามธรรมชาติ ครับ
เช้านี้มีความคิดในทางกุศล มีวิริยะในการกระทำให้สำเร็จ มีเมตตาต่อสัตว์โลกปราถนาให้เขาพ้นทุกข์ คือคิดในทางที่ดี เช้านี้ก็จะเป็นเช้าที่ดี สำหรับท่านครับ
สวัสดี
|
|
|
|
Kaimook
|
|
« ตอบ #7341 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2555, 11:36:59 » |
|
สวัสดีค่ะพี่สิงห์ พี่ป๋อง พี่ตู่ พี่เอมอร น้องหมอตุ่น เข้ามาอ่านธรรมะของพี่สิงห็ค่ะชอบธรรมะนี้เหมือนพี่ตู่เลยค่ะและขออนุญาตเอาไปลงในเฟสของหนูนะคะ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #7342 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2555, 20:06:14 » |
|
สวัสดีค่ะ คุณน้อง Kaimook ที่รัก
เชิญตามสบายเลย ที่นี่ไม่มีข้อห้ามใด ๆ ทั้งสิ้น ใครชอบใจอะไร สามารถ coppy เอาไปได้เลยไม่ต้องขออนุญาติ ทั้งสิ้น
จิตเธอปกติ หรือยัง อย่าลืมมันเป็นอดีตไปแล้ว ต้องมีความรู้สึกตัวอยู่กับ ปัจจุบัน เวลาสามารถรักษาได้ครับ ถ้ายังคิดถึงท่านก็ใส่บาตรพระตอนเช้า และอุทิศส่วนกุศลให้ท่าน จิตจะได้สงบ ครับ
เธอสบายดีนะ
สวัสดีค่ะ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #7343 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2555, 20:18:50 » |
|
๔ . เนมิราชชาดก (พระเนมิราช) ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
คือความตั้งมั่นคง. มีเรื่องเล่าว่า เนมิราชกุมารได้ครองราชสืบสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดา ทรงบำเพ็ญคุณงาม ความดีเป็นที่รักของมหาชน และในที่สุด เมื่อทรงพระชราก็ทรงมอบราชสมบัติแก่พระราชโอรส เสด็จออกผนวชเช่นเดียวกับที่พระราชบิดาของพระองค์เคยทรงบำเพ็ญมา. เมื่อครั้งอดีตกาลนานมาแล้วกษัตริย์ผู้ครองนครมิถิลานั้นได้พบว่าเส้นพระเกศาของพระองค์ นั้นหงอกแล้ว ซึ่งในธรรมเนียมของราชวงศ์นั้นได้มีกำหนดไว้ว่า หากพระเกศาองค์ใดมีพระเกศาหงอกก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเวนราชสมบัติให้แก่ราชโอรสขื้นครองราชบัลลังก์สืบต่อไป แล้วตัวพระราชาผู้แก่เฒ่านั้นก็ต้องออกจากพระราชวังไปบำเพ็ญพรตภาวนาเป็นนักบวชอยู่ในป่าอย่างสงบตราบจนล้นอายุขัย
ในเวลาเดียวกันนั้นเองขณะที่พระราชาแห่งมิถิลานครพบว่าพระองค์มีเส้นพระเกศาหงอก แต่ก็ยังเป็นกังวลด้วยว่าพระองค์ยังมิมีราชโอรสเป็นทายาทที่จะขึ้นครองราชย์ต่อไปนั้น ขณะเดียวกันบน
สรวงสวรรค์ก็มีเทพบุตรองค์หนึ่งนามว่า “เนมิราช” ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาที่กำลังจะสิ้นอายุขัยบนสรวงสวรรค์นั้นเช่นกัน
เทพบุตรเนมิราชเล็งเห็นด้วยทิพยเนตรว่ามิถิลานครกำลังตกอยู่ในช่วงเวลาใกล้ล่มสลายแล้ว จึงคิดที่จะเสด็จจากสรวงสวรรค์ลงมาผดุงรักษาราชวงศ์นั้นสืบต่อไป
ในเวลาต่อมาเนมิราชเทพบุตรจึงได้จุติลงในครรภ์ของพระอัครมเหสี และเมื่อประสูติแล้วนั้นโหรหลวงก็ถวายคำพยากรณ์แด่พระเจ้ามิถิลานครว่า พระราชกุมารน้อยพระองค์นี้จะปฏิบัติตามธรรมเนียมของราชวงศ์ที่เคยกระทำสืบมาตั้งแต่โบราณ เสมือนกับเป็นการกระทำตามกงเกวียนกำเกวียนกระนั้น พระราชาแห่งมิถิลานครจึงพระราชทานนามให้พระราชโอรสองค์นี้ว่า “เนมิราช”
เมื่อพระราชโอรสเนมิราชเจริญวัยขึ้นสู่วัยรุ่นหนุ่มแล้ว พระราชบิดาก็เวนราชสมบัติให้ตามธรรมเนียมแล้วตัวพระองค์ก็เสด็จออกบวช ปล่อยให้ราชโอรสครองราชบัลลังก์และครองบ้านครองเมืองสืบ ต่อไป
พระราชาเนมิราชเป็นพระราชาที่ตั้งอยู่ในคุณธรรมปกครองบ้านเมืองด้วยความร่มเย็นเป็นสุขและตั้งมั่นในศีลในธรรมเป็นอย่างยิ่งพระราชาเนมิราชทรงโปรดที่จะให้มีการตั้งศาลาทานขึ้นที่ประตูพระนครทั้ง ๔ ด้าน และที่กลางเมืองอีกแห่งหนึ่ง เพื่อที่จะบริจาคทานและแจกจ่ายเสื้อผ้าอาหารและเงินทองแก่บรรดาผู้ยากไร้ทั้งหลาย
บรรดาพสกนิกรในมิถิลาต่างก็ฝักใฝ่ในศีลในธรรมตามอย่างพระราชาที่คอยพยายามอบรมสั่งสอนให้อาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงประพฤติตนอยู่ในความดีเป็นที่ตั้งมิให้เบียดเบียนทำร้ายกัน
บรรดาราษฎรที่มุ่งมั่นทำแต่ความดีแเละหมั่นบำเพ็ญกุศลอยู่เสมอตามพระราชประสงค์ของพระราชานั้น ครั้นเมื่อสิ้นอายุขัยตายไปจากโลกนี้แล้วก็ได้ไปจุติเป็นเทวดาบนเทวโลกหรือบนสรวงสวรรค์ และ ครั้นเมื่อได้ทราบว่าการที่ตนได้จุติมาเป็นเทวดามิต้องไปเกิดเป็นมนุษย์ชดใช้กรรมในชาติปางต่อไปนั้น ก็เป็นด้วยเพราะตนทำความดีตามคำสั่งสอนของพระราชาเนมิราช
บรรดาเทวดาเหล่านั้นจึงใคร่ที่จะได้ชมพระบารมีของพระราชาเนมิราชให้เป็นบุญตา
เมื่อบรรดาเทวดาพากันมากราบทูลพระอินทร์เช่นนั้น พระอินทร์จึงได้มีรับสั่งแก่พระมาตุลีเทพบุตรว่า “นี่แนะมาตุลีเอ๋ยเจ้าจงไปอัญเชิญพระเนมิราชกษัตริย์แหง่มิถิลานครขึ้นมาบนสรวงสวรรค์ด้วยเถิด”
พระมาตุลีนั้นได้ทำหน้าที่เป็นสารถีขับรถม้าสวรรค์ลงไปยังโลกมนุษย์ แล้วทูลเชิญพระเนมิราชให้เสด็จขึ้นไปยังสรวงสวรรค์สักระยะหนึ่งตามพระบัญชาของพระอินทร์
ฝ่ายพระเนมิราชนั้นก็ตอบตกลงด้วยดี ด้วยปรารถนาจะขึ้นไปเที่ยวชมเมืองสวรรค์ดูสักครั้ง จะได้นำมาบอกเล่าแก่พระญาติพระวงศ์และข้าราชบริพารกับราษฎรของพระองค์ต่อไป
เมื่อนั่งรถเทียมม้าเดินทางออกจากโลกมนุษย์ไปมิช้ามินานนักพระมาตุลีก็กราบทูลพระเนมิราชว่า “ขอเดชะหม่อมฉันใคร่จะพาพระองค์ไปเที่ยวชมดูเมืองนรกก่อนที่จะขึ้นไปยังสรวงสวรรค์ชั้นบนมิทราบว่าพระองค์จะเห็นดีหรือไม่ พระเจ้าข้า ” พระเนมิราชนั้นทรงดำริว่าก่อนที่จะไปเที่ยวชมเมืองสวรรค์อันแสนวิเศษ ซึ่งก็คงจะมีความสวยงามตระการตาทั่วไปนั้นก็น่าที่จะลองไปชมเมืองนรกดูบ้างว่า คนที่ทำบาปทำกรรมแล้วต้องมาตกนรกหมกไหม้นั้นที่แท้จะต้องไปอยู่ในสภาพเช่นใด เมื่อดำริดังนั้นพระเนมิราชก็ตอบตกลงด้วยดี พระมาตุลีเทพบุตรจึงได้ทำหน้าที่สารถีขับรถม้านำพาพระเนมิราช ลงสู่นรกภูมิในบัดดล
ในเมืองนรกนั้นเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความมืดมิดตลอดทางทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยวิญญาณบาป ผีเปรต และภูตพรายทั้งหลายทั้งปวง ที่เฝ้าร่ำร้องโหยหวนคร่ำครวญด้วยความเจ็บปวดทุรนทุราย จากการถูกทรมานในลักษณะต่างๆ บางคนนั้นต้องปีนป่ายต้นงิ้วจนเลือดโซมกายมิสามารถจะลงมาได้ ด้วยเพราะมียมทูตคอยดักแทงอยู่ด้วยหอกอันแหลมคมทั้งข้างล่างและบนยอดต้นงิ้วนั้นบางคนก็ต้องทุรนทุรายแหวกว่ายอยู่ในกระทะทองแดงขนาดยักษ์ ที่มีน้ำนรกเดือดพล่านอยู่ชั่วนาตาปีมิสามารถจะปีนปายหนีออกจากกระทะนั้นได้
คนบาปบางกลุ่มต้องถูกไล่แทงด้วยหอกด้วยดาบอันคมกริบจนเลือดชะโลมกายก็มิสามารถจะหนีจากโทษทัณฑ์อันทุกข์ทรมานนั้นได้ บางคนก็ถูกกงจักรที่หมุนวนปั่นศีรษะจนเลือดไหลชุ่มโชกต้องกรีดร้องโหยหวนด้วยความทรมานแสนสาหัส ระหว่างที่ทอดพระเนตรดูคนบาปผู้ต้องชดใช้กรรมอย่างทุกข์ทรมานนั้น พระเนมิราชก็ตรัสถามพระมาตุลีเทพบุตรไปด้วยว่าการได้รับโทษทัณฑ์แต่ละอย่างนั้น ด้วยเพราะทำผิดใดบ้าง
พระมาตุลีเทพบุตรก็ได้กราบทูลให้ทรงทราบถึงบาปกรรมและความชั่วต่างๆ ที่จะต้องได้รับโทษทัณฑ์แตกต่างกันไปล้วนแล้วเป็นความทุกข์ทรมานแสนสาหัสทั้งสิ้น และจะต้องเผชิญกับความทุกข์เช่นนั้นนานชั่วกัปชั่วกัลป์เลยทีเดียว มิใช่แค่จะสิ้นสุดในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น
ครั้นเมื่อพระมาตุลีเทพบุตรนำรถม้าพระเนมิราชเที่ยวชมเมืองนรกจนทั่วแล้ว ก็ได้ขับรถม้าเหาะเหินขึ้นสู่สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ต่อ
ครั้นเมื่อพระเนมิราชเสด็จมาถึงแล้ว พระอินทร์และเหล่าเทพยดานางฟ้านางสวรรค์ทั้งปวงก็พากันมารับเสด็จและสักการบูชาพระองค์ด้วยความเคารพเลื่อมใสหลังจากนั้นพระเนมิราชก็ได้เข้าชมเมืองสวรรค์ ซึ่งเต็มไปด้วยปราสาทราชมณเฑียรอันงดงามประดับด้วยแก้วแหวนเงินทองหลากสีสันระยิบระยับแพรวพราววิจิตรตระการตาเป็นอันมาก
บรรดาต้นไม้บนสวรรค์นั้นก็มีความงดงามหอมหวนยิ่งกว่าไม้ดอกไม้ใบบนโลกมนุษย์ ลำธารน้ำบนสรวงสวรรค์แต่ละแห่งก็ใสกระจ่างดังกับแก้ว บรรดาเทพบุตรเทพธิดาบนสรวงสวรรค์ล้วนแล้วแต่มีความงดงามและยิ้มแย้มแช่มชื่นราวกับไม่ต้องมีการทุกข์ใจอันใดเลย
เมื่อพระเนมิราชเที่ยวชมเมืองสวรรค์โดยทั่วแล้ว พระอินทร์ก็ตรัสถามว่าเมืองสวรรค์นี้สวยงามถูกพระทัยหรือไม่ พระเนมิราชตรัสตอบว่าเมืองสวรรค์นี้เป็นแดนวิมานที่สวยงามและเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขอย่างที่จะหาโลกใดเสมอเหมือนได้อีก
พระอินทร์จึงอัญเชิญให้พระเนมิราชอยู่เสวยทิพยสมบัติบนสรวงสวรรค์นี้มิต้องลงไปยังโลกมนุษย์อีก “หม่อมฉันใคร่จะกลับลงไปสอนบรรดาพสกนิกรทั้งหลายให้ประพฤติตนอยู่ในความดี หมั่นประกอบบุญกุศลและบริจาคทาน เมึ่อตายแล้วจะได้มิต้องไปรับความทุกข์ทรมานอยู่ในนรก แต่จะได้มาจุติอยู่บนสรวงสวรรค์นี้”
เมื่อพระเนมิราชมีพระประสงค์เช่นนั้น พระอินทร์จึงให้พระมาตุลีนำพระเนมิราชไปส่งยังโลกมนุษย์ดังเดิม เมื่อได้เห็นความแตกต่างระหว่างนรกสวรรค์แล้ว พระเนมิราชก็มีความทุกข์อยู่ในพระทัยด้วยปรารถนาที่จะให้ข้าราชบริพารและพสกนิกรของพระองค์นั้นประกอบกรรมทำแต่ความดี เพื่อจะได้ไม่ต้องลงนรกไปรับความทุกข์ทรมานนานหลายกัปหลายกัลป์ดังที่พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นมาแล้ว
นับจากนั้นตลอดรัชสมัยของพระองค์ พระเนมิราชก็ได้เพียรพยายามอบรมสั่งสอนไพร่ฟ้าประชาชนในมิถิลานครให้หมั่นบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบแต่กรรมดีสืบต่อไป
ครั้นเมื่อถึงเวลาที่พระเนมิราชมีเส้นพระเกศาหงอกแล้วก็ทรงเวนราชสมบัติให้แก่ลูกหลานส่วนตัวพระองค์นั้นได้เสด็จออกจากพระราชวังไปบำเพ็ญพรตจำศีลภาวนาเป็นนักบวช แสวงหาความวิเวกอยู่ในป่าจนสิ้นอายุขัย และได้ขึ้นไปจุติเป็นเทพยดาเสวยทิพยสมบัติอยู่บนสวรรค์ชั้นฟ้าสืบต่อไป
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #7344 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2555, 20:41:11 » |
|
“หม่อมฉันใคร่จะกลับลงไปสอนบรรดาพสกนิกรทั้งหลายให้ประพฤติตนอยู่ในความดี หมั่นประกอบบุญกุศลและบริจาคทาน เมึ่อตายแล้วจะได้มิต้องไปรับความทุกข์ทรมานอยู่ในนรก แต่จะได้มาจุติอยู่บนสรวงสวรรค์นี้”
สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน
ชาดกเรื่องพระเนมิราช นี้ สอนให้เรารู้เรื่องของนรก และสวรรค์
ใครประพฤติตนอยู่ในความดี ไม่ทุศีลอย่างน้อย ศีล ๕ หมั่นประกอบบุญกุศล และบริจาคทาน เมื่อตายลงจะได้ไปจุติบนสรวงสวรรค์
ส่วนใครที่ประพฤติทุศีล ยังฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ พรากลูกเมียคนอื่น ลักขโมย หรือพูดง่ายๆ คือ ประพฤติผิดในศีล ๕ เมื่อตายไปย่อมไปรับทุกข์เวทนาต่างๆ ในแดนนรกภูมิ
เมื่อเราทราบอย่างนี้แล้วถึงมันจะเป็นเพียงชาดก ก็ตามแต่ถ้าผู้ใดประพฤติผิดศีล ๕ หรือกระทำแต่อกุศลกรรม ไม่ต้องรอชาติหน้า ก็ยังได้รับโทษทัณฑ์ทันตาเห็น มีให้เห็นโดยทั่วไป
ดังนั้น ขอให้พวกเราจงพิจารณาด้วยปัญญาว่า การประกอบแต่กุศลกรรมนั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์พึงปฏิบัติ มนุษย์จึงจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบ มันก็เป็นความจริงครับ
วันนี้ไปสอนหนังสือมา เหนื่อยมากครับ ระบบหายใจติดขัดเพราะเจ็บคอ ใช้เสียงมากไป เราคงแก่แล้วจริงๆ
ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #7345 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2555, 07:45:19 » |
|
สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือนที่รัก ทุกท่าน
วันนี้อยู่บ้าน เช้าเลยได้หุงข้าวใส่บาตรพระที่หน้าบ้าน
อีกสักครู่ก็จะเดินทางไปสิงห์บุรี ไปเยี่ยมแม่ครับ
ในสมัยพุทธกาล มีพระภิกษุที่ปฏิบัติธรรม เมื่อตายไปแล้วก็ไปเกิดบนสวรรค์ รูปร่าง กิริยา สง่างาม น่าเลื่อมใส แต่เวลาที่นรับประทานอะไรก็จะมีแต่หนอนชินไชที่ปาก มีกลิ่นเหม็น เทวดาได้ถามท่านว่าท่านกระทำผิดอะไร ในโลกมนุษย์ จึงได้เป็นเช่นนี้ ท่านว่า สมัยอยู่โลกมนุษย์ ถึงแม้จะปฏิบัติธรรมก็ตามที่จัดว่าได้อานิสสงมากนั้น แต่ท่านไม่ได้บริจาคทานเลย เมื่อต้องเกิดใหม่ จึงต้องประสบเคราะห์กรรมเช่นนี้
ดังนั้น ถ้ามีโอกาสขอให้ทุกท่าน ใส่บาตรทำบุญ บริจาคทานให้กับผู้ยากไร้ หรือร่วมทำบุญตามกำลังศรัทธา เท่าที่เราไม่เดือดร้อน มากน้อย ไม่สำคัญ สำคัญที่ก่อนทำต้องมีจิตเป็นกุศล ขณะทำก็มีจิตเป็นกุศล และหลังทำก็มีจิตเป็นกุศล
หมายความว่า เรามีเงินเหลือก็กระทำโดยที่ตัวเอง ครอบครัวไม่เดือดร้อน กระทำด้วยจิตใจที่อยากจะเป็นผู้ให้ เมื่อกระทำไปแล้วก็จบตรงนั้น ไม่คิดว่าสิ่งที่เราได้กระทำไปนั้น จะไปไหน เอาไปทำอะไร มาก-น้อย สู้คนอื่นเขาไม่ได้ กระทำแล้วก็จบเพียงแค่นั้น เท่านี้เป็นพอแล้ว เรื่องอื่นๆ ก็เป็นเรื่องของคนอื่น อาจจะดี ไม่ดี ก็ไม่ใช่เรื่องของเรา เราเมื่อได้กระทำแล้วสบายใจเป็นพอ ใก้จิตมันเป็นกุศล เท่านั้น รูป-นามจะได้รับรู้ด้วยตัวเอง
การใสบาตรพระก็เป็นเรื่องที่ดี ที่น่ากระทำ สบายใจ ว่างวันไหน ก็ใส่บาตร มีอะไรก้ได้ แม้กระทั่งปัจจัย ใช้ได้หมด
และจะให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ก็รักษาศีล ๕ เอาไว้ เพราะการอยู่ในศีล ๕ นั้น เป็นการประพฤติกาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติ ให้เป็นมหากุศลแห่งจิต ที่จะเอาไปเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
นอกจากนี้ การรักษาศีล ๕ ยังเป็นความสง่าแห่งตนเอง ได้รับการนับถือจากผู้ใกล้ชิด
สวัสดี
หมายเหตุ
เราสามารถนำชาดกทั้ง ๑๐ ชาติ ไปเล่าเป็นนิทานให้ลูกหลานฟังได้ และเน้นให้นำคติธรรมไปเป็นหลักในการดำรงชีวิต
ผมเองก็เกิดความคิด ถ้าใครจะให้สอนธรรมะ จะขอน้อมนำ ชาดกทั้ง ๑๐ ชาตินี้ ไปเป็นธรรมสอนในเบื่องต้นเพื่อให้จิตน้อมนำไปในทางธรรม เหมาะแก่การรับฟังธรรมของสมณโคดม
ชาดกทั้ง ๑๐ ชาติ นี้เป็นการบำเพ็ญเพียรทางจิต ที่ยิ่งใหญ่จริงๆ ไม่ใช่ว่ากระทำได้โดยง่าย เพราะต้องต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทั้งชีวิต และน้อมนำเอาไปประพฤติปฏิบัติต่อตัวเราเองได้ จะมาก จะน้อยดีทั้งนั้น
ส่วน ดร. กุศล ก็ได้แต่ท่องจำบทสวดมนต์ "บารมี ๑๐ ทัศน์" แบบนกแก้วนกขุนทอง แต่ก็ยังดี เป็น ดร.กุศล
สวัสดี
|
|
|
|
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562
|
|
« ตอบ #7346 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2555, 16:39:09 » |
|
สวัสดีค่ะ พี่สิงห์ ขอบคุณ ทั้งชาดก ที่ลงเพิ่ม และ การอรรถรส มุมมอง ในการดูโขน ทำให้คนที่ไม่ได้ไปดู เห็นภาพค่ะ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #7347 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2555, 20:23:18 » |
|
สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
พี่สิงห์เชิญ ชวนให้เธอพาลูก ๆ ไปดูโขน ครับ เขาเล่นถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน ยังมีเวลา
ถ้าพี่สิงห์ ไม่เกรง ดร.สุริยา ว่ายึดติด ยึดมั่น จะไปดูอีกครั้ง
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #7348 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2555, 20:39:42 » |
|
สวัสดียามค่ำครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน
วันนี้ขณะขับรถไปสิงห์บุรี ก็ได้ฟังการบรรยายการปฏิบัติธรรมทางวิทยุ จากหลวงพ่อสุวัจ ก็ดีเหมือนกัน ในอีกมุมมองหนึ่ง สลับกับหลวงตามหาบัว จนถึงสิงห์บุรีเลย
น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สิงห์บุรี ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งเกิน ๘ เมตร นั่นหมายความว่าเข้าสู้สภาวะแล้ง แล้ว เดือนสิบสิงลอยกระทง คงมีน้ำเพียงก้นตลิ่งเท่านั้น ปีนี้
สำหรับแม่นั้น วันนี้ผมได้บอกแม่ว่า ระหว่าง วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ถึง ๕ ธันวาคม แม่อย่าตายนะ ผมจะไปญี่ปุ่น - เวียตนาม แม่บอกว่ายังไม่ตาย ทำให้ผมไปด้วยความสบายใจ เพราะแม่มีทั้งน้องสาว พี่สาวจากอเมริกา คอยดูแล
มีเรื่องโจ๊กเกิดขึ้น คือ เมื่อเช้าวาน คุณหมอ มาตรวจแม่ที่บ้าน แม่นอนหลับลึกมาก คุณหมอตรวจพบว่าชีพจรไม่มี หัวใจหยุดเต้น จึงรีบโทรศัพท์ไปเรียกรถพยาบาลมารับแม่ไปที่ห้องฉุกเฉินทันที เมื่อไปถึงโรงพยาบาลอยู่ในห้องฉุกเฉิน แม่ตื่นทันที มีชีพจร แม่ก็พูดขึ้นว่าอยู่ที่ไหน พาแม่กลับบ้านด้วย ทำให้ทุกคนโล่งอก พาแม่กลับมาอยู่บ้าน
วันนี้คนดูแล และพี่สาวได้อาบน้ำแม่ เพราะไม่ได้อาบมานานแล้ว เสร็จแล้วก็เอาแม่รับลม และแสงแดด ผมก็บอกว่า เวลาเช้าไม่เกิน ๘ โมง ให้เอายายรับแสงแดดอ่อนๆ ภายใต้ร่มเงา จะได้ทำให้ผิวหนังไม่เปื่อย ไม่ลอก
ผมได้ชวนแม่คุย จนท่านหลับไป และได้บอกว่า ควรลดยาแก้ปวดลงบ้าง จะได้มีความรู้สึกตัวมาก ไม่นอนหลับอย่างเดียว
ตั้งแต่พี่สาวมาจากอเมริกา แม่อาการดีขึ้น ผิวพรรณดีขึ้น แต่บวมด้วยน้ำ ที่ขาดเกลือและโบรมีน ผมเลยบอกว่าแม่พยายามอยู่บ้านให้นาน ๆ นะ แม่บอกว่าอีกสามวัน คงต้องไปนอนโรงพยาบาลอีกครั้ง
ก็เรียนให้ทุกท่านที่เป็นห่วงได้ทราบ สำหรับผมนั้น พ้นสิงห์บุรีแล้วก็ลืม ครับ
พรุ่งนี้ ผมไปทำงานที่นครศรีธรรมราช กลับค่ำวันเสาร์
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #7349 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2555, 20:56:41 » |
|
๕ . มโหสถชาดก (พระมโหสถ) ชาดกเรื่องนี้แสดงถึง การบำเพ็ญปัญญาบารมี
คือความทั่วถึงสิ่งที่ควรรู้. มีเรื่องเล่าว่า มโหสถบัณฑิตเป็นที่ปรึกษาหนุ่มของพระเจ้าวิเทหะแห่งกรุงมิถิลา ท่านมี ความฉลาดรู้ สามารถแนะนำในปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องรอบคอบ เอาชนะที่ปรึกษาอื่น ๆ ที่ริษยาใส่ความ ด้วยความดีไม่พยาบาทอาฆาต ครั้งหลังใช้อุบายป้องกัน พระราชาจากราชศัตรู และจับราชศัตรูซึ่งเป็นกษัตริย์พระนครอื่นได้. ชาติที่ ๕ พระมโหสถบัณฑิต เมื่อครั้งอดีตกาลนานมาแล้ว ครั้งนั้นมิถิลานครอยู่ในความปกครองของพระเจ้าวิเทหะผู้ซึ่งเป็นกษัตัริย์ที่มีราชบัณฑิตประจำราชสำนัก ๔ คน คือ เสณกะ ปุกกุสะ กามินทะ และทวินทะ
ในคืนหนึ่งพระเจ้าวิเทหะทรงพระสุบินว่าได้มีกองไฟกองใหญ่ลุกโชติช่วงขึ้นอยู่ที่มุมพระลานทั้ง ๔ และได้มีกองไฟเล็กๆ ที่กลางพระลานค่อยๆ ลุกโชติช่วงจนใหญ่ขึ้นกลางกองไฟทั้ง ๔ ทิศจนสว่างเจิดจ้าไปทั่วทั้งพระลาน และบรรดาราษฎรก็พากันมากราบไหว้บูชากองไฟนั้นด้วยธูปเทียนดอกไม้และเครื่องหอมต่างๆ แล้วก็พากันแวดล้อมอยู่รอบกองไฟนั้นราวกับว่ามิได้รับความร้อนจากกองไฟเลยแม้แต่น้อย
พระสุบินนั้นบรรดาราชบัณฑิตทั้ง ๔ ของพระองค์ก็ได้ถวายคำทำนายว่าความฝันนั้นเป็นลางดี ไฟ ๔ กองที่พระลานตามทิศต่างๆ นั้นก็คือ ตัวของพวกตนซึ่งเป็นบัณฑิตทั้ง ๔ ประจำราชสำนักนั่นเอง ส่วนกองไฟที่เกิดขึ้นกลางพระลานแต่แรกเป็นกองเล็กแล้วค่อยๆ ใหญ่ขึ้นจนราษฎรมากราบไหว้นั้นเป็นนิมิตบอกล่วงหน้าว่าจะมีบัณฑิตผู้ปราดเปรื่องยิ่งกว่าพวกตนทั้ง ๔ เกิดขึ้นในมิถิลานครนี้
บัณฑิตผู้นั้นจะมีวาสนาบารมีสูงส่งเป็นยิ่งนักเมื่อได้สดับฟังเช่นนั้นพระเจ้าวิเทหะก็มีความปีติยินดีพระทัยเป็นยิ่งนัก ได้แต่เฝ้ารอให้ได้พบบัณฑิตผู้เปี่ยมไปด้วยบุญญาธิการผู้นั้น
ในเมืองมิถิลา มีเศรษฐีผู้หนึ่งมีนามว่า สิริวัฒกะ ภรรยาชื่อ นางสุมนาเทวี นางสุมนาเทวีมีบุตรชายคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อคลอด ออกมานั้นมีแท่งโอสถอยู่ในมือ เศรษฐีสิริวัฒกะเคยเป็นโรค ปวดศีรษะมานาน จึงเอาแท่งยานั้นฝนที่หินบดยา แล้วนำมา ทาหน้าผาก อาการปวดศีรษะก็หายขาด ครั้นผู้อื่นที่มีโรคภัย ไข้เจ็บมาขอปันยานั้นไปรักษาบ้าง ก็พากันหายจากโรค เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว เศรษฐีจึงตั้งชื่อบุตรว่า "มโหสถ" เพราะทารกนั้นมีแท่งยาวิเศษ เกิดมากับตัว เมื่อมโหสถเติบโตขึ้น ปรากฏว่ามีสติปัญญาเฉลียวฉลาด กว่าเด็กในวัยเดียวกัน ครั้งหนึ่งมโหสถเห็นว่า ในเวลาฝนตก ตนและเพื่อนเล่นทั้งหลายต้องหลบฝน ลำบากลำบนเล่นไม่สนุก จึงขอให้เพื่อนเล่นทุก คนนำเงินมารวมกันเพื่อสร้างสถานที่เล่น มโหสถจัดการออกแบบอาคารนั้นอย่างวิจิตรพิสดาร นอกจาก ที่เล่นที่กินและที่พักสำหรับคนที่ผ่านไปมาแล้ว ยังจัดสร้างห้อง วินิจฉัยคดีด้วย เพราะความที่มโหสถเป็นเด็กฉลาดเฉลียวเกินวัย จึงมักมีผู้คนมาขอให้ตัดสินปัญหาข้อพิพาท หรือแก้ใขปัญหาขัดข้อง ต่างๆ อยู่ เสมอ ชื่อเสียงของมโหสถเลื่องลือไปไกลทั่วมิถิลานคร ในขณะนั้น กษัตริย์เมืองมิถิลา ทรงพระนามว่า พระเจ้าวิเทหราช ทรงมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตประจำ ราชสำนัก 4 คน คือ เสนกะ ปุตกุสะ กามินท์ และ เทวินทะ บัณฑิตทั้ง 4 เคยกราบทูลว่าจะมี บัณฑิต คนที่ห้ามาสู่ราชสำนักพระเจ้าวิเทหราช พระองค์จึงโปรดให้ เสนาออกสืบข่าวว่า มีบัณฑิตผู้มีสติปัญญา ปราดเปรื่องอยู่ที่ใดบ้าง เสนาเดินทางมาถึงบริเวณบ้านของสิริวัฒกะเศรษฐี เห็นอาคารงดงาม จัดแต่งอย่างประณีตบรรจง จึงถามผู้คนว่าใครเป็นผู้ออกแบบ คนก็ ตอบว่า ผู้ออกแบบคือมโหสถบัณฑิต บุตรชายวัย 7 ขวบ ของสิริวัฒกะ เศรษฐี เสนาจึงนำความไปกราบทูลพระเจ้าวิเทหราช พระองค์ตรัสเรียก บัณฑิตทั้ง 4 มา ปรึกษาว่าควรจะไปรับมโหสถมาสู่ราชสำนักหรือไม่ บัณฑิตทั้ง 4 เกรงว่ามโหสถจะได้ดีเกินหน้าตนจึงทูลว่า ลำพังการออก แบบตกแต่งอาคารไม่นับว่าผู้นั้นจะมีสติปัญญาสูงถึงขั้นบัณฑิต ขอให้รอดูต่อไปว่า มโหสถจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดจริงหรือไม่ ฝ่ายมโหสถนั้น มีชาวบ้านนำคดีความต่างๆ มาให้ตัดสินอยู่เป็นนิตย์ เป็นต้นว่า ชายเลี้ยงโคนอนหลับไป มีขโมยเข้ามาลักโค เมื่อตามไปพบ ขโมยก็อ้างว่าตนเป็นเจ้าของโค ต่างฝ่ายต่างถกเถียงอ้างสิทธิ์ ไม่มีใคร ตัดสินได้ว่าโคนั้นเป็นของใคร จึงพากันไปหามโหสถ มโหสถถามชาย เจ้าของโคว่า เรื่องราวเป็นอย่างไร ชายนั้นก็เล่าให้ฟัง มโหสถจึงถาม ขโมยว่า "ท่านให้โคของท่านกินอาหารอะไรบ้าง" ขโมยตอบว่า "ข้าพเจ้าให้กินงา กินแป้ง ถั่ว และยาคู" มโหสถถามชายเจ้าของโค ชายนั้นก็ตอบว่า"ข้าพเจ้าให้โคกิน หญ้าตามธรรมดา" มโหสถจึงให้ เอาใบไม้มาตำให้โคกินแล้วให้กินน้ำ โคก็สำรอกเอาหญ้าออกมา จึงเป็นอันทราบว่าใครเป็นเจ้าของโคที่แท้จริง พระเจ้าวิเทหราชได้ทราบเรื่องการตัดสินความของมโหสถก็ ปรารถนาจะเชิญมโหสถาสู่ราชสำนัก แต่บัณฑิตทั้งสี่ก็คอยทูล ทัดทานไว้เรื่อยๆ ทุกครั้งที่มโหสถแสดงสติปัญญาในการตัดสินคดี พระเจ้าวิเทหราชทรงทดลองสติปัญญามโหสถด้วยการตั้งปัญหา ต่างๆก็ปรากฏว่า มโหสถแก้ปัญหาได้ทุกครั้ง เช่น เรื่องท่อนไม้ ที่เกลาได้เรียบเสมอกัน พระเจ้าวิเทหราชทรงตั้งคำถามว่า ข้างไหนเป็นข้าง ปลายข้างไหนเป็นข้างโคน มโหสถก็ใช้วิธีผูกเชือก กลางท่อนไม้นั้น แล้วหย่อนลงในน้ำ ทางโคนหนักก็จมลง ส่วนทาง ปลายลอยน้ำ เพราะน้ำหนักเบากว่าไม้ มโหสถก็ชี้ได้ว่า ทางไหน เป็นโคนทางไหนเป็นปลาย นอกจากนี้มโหสถยังแก้ปัญหาเรื่องต่างๆ อีกเป็นอันมาก จนในที่สุดพระราชาก็ไม่อาจทนรอตามคำ ทัดทานของ บัณฑิตทั้งสี่ อีกต่อไป จึงโปรดให้ราชบุรุษไปพาตัวมโหสถกับบิดามา เข้าเฝ้าพร้อมกับให้นำ ม้าอัสดรมาถวายด้วย มโหสถทราบดีว่าครั้งนี้ เป็นการทดลองสำคัญ จึงนัดหมายการอย่างหนึ่งกับบิดา และ ในวันที่ไปเฝ้าพระราชา มโหสถให้คนนำลามาด้วยหนึ่งตัว เมื่อเข้าไปถึงที่ประทับ พระราชาโปรดให้สิริวัฒกะเศรษฐีนั่งบนที่ อันสมควรแก่เกียรติยศ ครั้นเมื่อมโหสถเข้าไป สิริวัฒกะก็ลุกขึ้น เรียกบุตรชายว่า "พ่อมโหสถ มานั่งตรงนี้เถิด" แล้วก็ลุกขึ้นจากที่นั่ง มโหสถก็ตรงไปนั่งแทนที่บิดา ผู้คนก็พากันมองดูอย่างตำหนิ ที่มโหสถทำเสมือนไม่เคารพบิดา มโหสถจึง ถามพระราชาว่า "พระองค์ไม่พอพระทัยที่ข้าพเจ้านั่งแทนที่บิดาใช่หรือไม่" พระราชาทรงรับคำ มโหสถ จึงถามว่า " ข้าพเจ้าขอทูลถามว่า ธรรมดาบิดาย่อมดีกว่าบุตร สำคัญกว่าบุตรเสมอไปหรือ" พระราชา ตรัสว่า "ย่อมเป็นอย่างนั้น บิดาย่อมสำคัญกว่าบุตร" มโหสถทูลต่อว่า "เมื่อข้าพเจ้ามาเฝ้า พระองค์มีพระกระแส รับสั่งว่าให้ข้าพเจ้านำม้าอัสดรมาถวายด้วย ใช่ไหมพระเจ้าค่ะ" พระราชาทรงรับคำ มโหสถจึงให้คนนำลาที่เตรียมเข้ามา ต่อพระพักตร์ แล้วทูลว่า "เมื่อพระองค์ตรัสว่าบิดาย่อมสำคัญ กว่าบุตร ลาตัวนี้เป็นพ่อของม้าอัสดร หากพระองค์ทรงเห็น เช่นนั้นจริง ก็โปรดทรงรับลานี้ไปแทนม้าอัสดรเถิดพระเจ้าค่ะ เพราะม้าอัสดรเกิดจากลานี้ แต่ถ้าทรงเห็นว่า บุตรอาจดีกว่าบิดา ก็ทรงรับเอาม้าอัสดรไปตามที่ทรงมีพระราชประสงค์ ถ้าหากพระองค์เห็นว่าบิดาย่อมประเสริฐกว่าบุตรก็ทรงโปรด รับเอาบิดาของข้าพเจ้าไว้ แต่หากทรงเห็นว่าบุตรอาจประเสริฐ กว่าบิดา ก็ขอให้ทรงรับข้าพเจ้าไว้" การที่มโหสถกราบทูลเช่นนั้น มิใช่จะลบหลู่ดูหมิ่นบิดา แต่เพราะ ประสงค์จะให้ผู้คนทั้งหลายตระหนักใน ความเป็นจริงของโลก และเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีผู้จงใจผูกขึ้น คือบัณฑิตทั้งสี่นั้นเอง พระราชาทรงพอพระทัยในปัญญาของมโหสถจึงตรัสแก่ สิริวัฒกะเศรษฐีว่า "ท่านเศรษฐี เราขอมโหสถไว้ เป็นราชบุตร จะขัดข้องหรือไม่" เศรษฐีทูลตอบว่า "ข้าแต่พระองค์ มโหสถยังเด็กนัก อายุ เพิ่ง 7 ขวบ เอาไว้ให้โตเป็นผู้ใหญ่ก่อนน่าจะดีกว่าพระเจ้าค่ะ" พระราชาตรัสตอบว่า "ท่านอย่าวิตกในข้อที่ว่ามโหสถยังอายุ น้อยเลย มโหสถเป็นผู้มี ปัญญาเฉียบแหลมยิ่งกว่าผู้ใหญ่ จำนวนมาก เราจะเลี้ยงมโหสถในฐานะราชบุตรของเรา ท่านอย่ากังวล ไปเลย"
มโหสถจึงได้เริ่มรับราชการกับ พระเจ้าวิเทหราชนับตั้งแต่นั้นมา ตลอดเวลาที่อยู่ในราชสำนัก มโหสถได้แสดงสติปัญญา และความสุขุมลึกซึ้งในการพิจารณาแก้ไขปัญหา ข้อขัดข้อง ทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่พระราชาทรงผูกขึ้นลองปัญญา มโหสถ หรือที่บัณฑิตทั้งสี่พยายาม สร้างขึ้นเพื่อให้มโหสถ อับจนปัญญา แต่มโหสถก็แก้ปัญหาเหล่านั้นได้ทุกครั้งไป มิหนำซ้ำในบางครั้ง มโหสถยังได้ช่วยให้บัณฑิตทั้งสี่นั้น รอดพ้นความอับจน แต่บัณฑิตเหล่านั้นมิได้กตัญญูรู้คุณ ที่มโหสถกระทำแก่ตน กลับพยายามทำให้พระราชาเข้า พระทัยว่ามโหสถด้อยปัญญา พยายามหาหนทางให้พระราชา ทรงรังเกียจมโหสถ เพื่อที่ตนจะได้รุ่งเรืองในราชสำนัก เหมือนสมัยก่อน มโหสถรุ่งเรืองอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าวิเทหราช ได้รับการ สรรเสริญจากผู้คนทั้งหลายจนมีอายุได้ 16 ปี พระมเหสีของ พระราชาผู้ทรงรักใคร่มโหสถเหมือนเป็นน้องชาย ทรงประสงค์ จะหาคู่ครองให้ แต่มโหสถขอพระราชทานอนุญาตเดินทาง ไปเสาะหาคู่ครองที่ตนพอใจด้วยตนเอง พระมเหสีก็ทรงอนุญาต
มโหสถเดินทางไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ได้พบหญิงสาวคนหนึ่ง เป็นลูกสาวเศรษฐีเก่าแก่ แต่ได้ยากจนลง หญิงสาวนั้นชื่อว่าอมร มโหสถปลอมตัวเป็นช่างชุนผ้า ไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาของนาง และได้ทดลอง สติปัญญาของนางด้วยประการต่างๆเป็นต้นว่า ในครั้งแรกที่พบกันนั้น มโหสถถามนางว่า "เธอชื่ออะไร" นางตอบว่า "สิ่งที่ดิฉันไม่มีอยู่ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต นั่นแหล่ะ เป็นชื่อ ของดิฉัน" มโหสถ พิจารณาอยู่ครู่หนึ่งก็ตอบว่า "ความไม่ตายเป็นสิ่ง ไม่มีอยู่ในโลก เธอชื่อ อมร ( ไม่ตาย ) ใช่ไหม " หญิงสาวตอบว่า ใช่ มโหสถถามต่อว่า นางจะนำข้าวไปให้ใคร นางตอบว่า นำไป ให้บุรพเทวดา มโหสถก็ ตีปริศนาออกว่า บุรพเทวดาคือเทวดา ที่มีก่อนองค์อื่นๆ ได้แก่ บิดา มารดา เมื่อมโหสถได้ทดลองสติปัญญาและความประพฤติต่างๆของ นางอมรจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงขอนางจาก บิดา มารดา พากลับ ไปกรุงมิถิลา เมื่อไปถึงยังเมือง ก็ยังได้ทดลองใจนางอีกโดย มโหสถแสร้งล่วงหน้าไปก่อน แล้วแต่งกายงดงามรออยู่ในบ้าน ให้คนพานางมาพบ กล่าวเกี้ยวพาราสีนาง นางก็ไม่ยินดีด้วย มโหสถจึงพอใจนาง จึงพาไปเฝ้าพระราชาและพระมเหสี พระราชาก็โปรดให้มโหสถแต่งงานอยู่กินกับ นางอมรต่อมา บัณฑิตทั้งสี่ยังพยายามที่จะกลั่นแกล้งมโหสถด้วยประการ ต่างๆ แต่ก็ไม่เป็นผล แม้ถึงขนาดพระราชาหลงเข้าพระทัยผิด ขับไล่มโหสถออกจากวัง มโหสถก็มิได้ขุ่นเคือง แต่ยังจงรักภักดี ต่อพระราชา พระราชาจึงตรัสถามมโหสถว่า "เจ้าเป็นผู้มีสติปัญญา หลักแหลมยิ่ง หากจะหวังช่วงชิงราชสมบัติจากเราก็ย่อมได้ เหตุใดจึงไม่คิดการร้ายต่อเรา" มโหสถทูลตอบว่า "บัณฑิตย่อม ไม่ทำชั่ว เพื่อให้ได้ความสุข สำหรับตน แม้จะถูกทับถมให้เสื่อมจาก ลาภยศ ก็ไม่คิดสละธรรมะด้วยความหลงในลาภยศ หรือด้วย ความรักความชัง บุคคลนั่งนอนอยู่ใต้ร่มไม้ ย่อมไม่ควรหัก กิ่งต้นไม้นั้น เพราะจะได้ชื่อว่าทำร้ายมิตร บุคคลที่ได้รับการ เกื้อหนุนอุปการะจากผู้ใด ย่อมไม่ทำให้ไมตรีนั้นเสียไปด้วย ความโง่เขลา หรือความ หลงในยศอำนาจ บุคคลผู้ครองเรือน หากเกียจคร้าน ก็ไม่งาม นักบวชไม่สำรวม ก็ไม่งาม พระราชา ขาดความพินิจพิจารณาก็ไม่งาม บัณฑิตโกรธง่าย ก็ไม่งาม" ไม่ว่าบัณฑิตทั้งสี่จะกลั่นแกล้งมโหสถอย่างใด มโหสถก็ สามารถเอาตัวรอดได้ทุกครั้ง และมิได้ตอบแทน ความชั่วร้าย ด้วยความชั่วร้าย แต่กลับให้ความเมตตากรุณาต่อบัณฑิต ทั้งสี่เสมอมา นอกจากจะทำหน้าที่พิจารณาเรื่องราว แก้ไขปัญหาต่างๆ มโหสถยังได้เตรียมการป้องกันพระนครใน ด้านต่างๆ ให้พร้อมเสมอด้วย และยังจัดผู้คนไปอยู่ตามเมืองต่างๆ เพื่อคอยสืบข่าวว่า จะมีบ้านเมืองใด มาโจมตีเมืองมิถิลาหรือไม่
มีพระราชาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า จุลนีพรหมทัต ครองเมือง อุตรปัญจาล ประสงค์จะทำสงครามแผ่ เดชานุภาพ จึงทรงคิด การกับปุโรหิตชื่อ เกวัฏพราหมณ์ หมายจะลวงเอากษัตริย์ ร้อยเอ็ดพระนครมา กระทำสัตย์สาบานแล้วเอาสุราเจือยาพิษ ให้กษัตริย์เหล่านั้นดื่ม จะได้รวบรวมพระนครไว้ในกำมือ มโหสถ ได้ทราบความลับจากนกแก้วที่ส่งออกไปสืบข่าว จึงหาทางช่วย ชีวิตกษัตริย์ทั้งร้อยเอ็ดไว้ได้ โดยที่ กษัตริย์เหล่านั้นหารู้ตัวไม่ พระเจ้าจุลนีทรงเห็นว่ามิถิลา เป็นเมืองเดียวที่ไม่ยอมทำ สัตย์สาบาน จึงยกทัพใหญ่มุ่งไปโจมตีมิถิลา มีเกวัฏพราหมณ์ เป็นที่ปรึกษาใหญ่ แต่ไม่ว่าจะโจมตีด้วยวิธีใด มโหสถ ก็รู้ทัน สามารถตอบโต้และแก้ไขได้ ทุกครั้งไป ในที่สุดพระเจ้าจุลนีทรงส่งเกวัฏพราหมณ์มาประลองปัญญา ทำสงครามธรรมกับมโหสถ มโหสถออกไป พบเกวัฏพราหมณ์ โดยนำเอาแก้วมณีค่าควรเมืองไปด้วย แสร้งบอกว่า จะยกให้ พราหมณ์ แต่เมื่อจะส่ง ให้ก็วางให้ที่ปลายมือพราหมณ์เกวัฏ เกรงว่าแก้วมณจะตกจึงก้มลงรับแต่ก็ไม่ทัน แก้วมณีตกลงไป กับพื้นเกวัฏก้มลงเก็บด้วยความโลภ มโหสถจึงกดคอเกวัฏไว้ ผลักให้กระเด็นไป แล้วให้ทหารร้องประกาศว่า เกวัฏปราหมณ ์ก้มลงไหว้มโหสถ แล้วถูกผลักไปด้วยความรังเกียจ บรรดาทหารของพระเจ้าจุลนีมองเห็นแต่ภาพเกวัฏพราหมณ์ ก้มลงแทบเท้า แต่ไม่ทราบว่าก้มลงด้วยเหตุใด ก็เชื่อตามที่ ทหารของมโหสถป่าวประกาศ พากันกลัวอำนาจมโหสถ ถอยหนีไปไม่เป็นกระบวน กองทัพพระเจ้าจุลนีก็แตกพ่ายไป
เกวัฏพราหมณ์คิดพยาบาทมโหสถอยู่ไม่รู้หาย จึงวางอุบายให้ พระเจ้าจุลนีส่งทูตไปทูลพระเจ้าวิเทหราชว่าจะขอทำสัญญาไมตรี และขอถวายพระราชธิดาให้เป็นชายา พระเจ้าวิเทหราชทรงมี ความยินดี จึงทรงตอบรับเป็นไมตรี พระเจ้าจุลนีก็ขอให้ พระเจ้าวิเทหราชเสด็จมาอุตรปัญจาล มโหสถพยายาม ทูลคัดค้าน พระราชาก็มิได้ฟังคำ มโหสถก็เสียใจว่าพระราชา ลุ่มหลงในสตรี แต่กระนั้นก็ยังคงจงรักภักดี จึงคิดจะแก้อุบาย ของพระเจ้าจุลนี มโหสถจึงทูลขออนุญาตไปจัดเตรียมที่ประทับ ให้พระราชในเมืองอุตรปัญจาล ก็ได้รับอนุญาต มโหสถจึงให้ ผู้คนไปจัดสร้างวังอันงดงาม และที่สำคัญคือจัดสร้างอุโมงค์ใต้ดิน เป็นทาง เดินภายในอุโมงค์ประกอบด้วยกลไกและประตูลับ ต่างๆซับซ้อนมากมาย เมื่อเสร็จแล้วมโหสถจึงทูลเชิญ ให้พระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปยังอุตรปัญจาล ขณะที่พระเจ้าวิเทหราชประทับอยู่ในวัง รอที่จะอภิเษกกับ พระธิดาพระเจ้าจุลนี พระเจ้าจุลนีทรงยก กองทหารมาล้อมวังไว้ มโหสถซึ่งเตรียมการไว้แล้ว ก็ลอบลงไปทางอุโมงค์เข้าไปใน ปราสาทพระเจ้าจุลนี ทำอุบายหลอกเอาพระชนนี พระมเหสี พระราชบุตร และราชธิดาพระเจ้าจุลนีมากักไว้ใต้วังที่สร้างขึ้น นั้นแล้วจึงกลังไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช พระเจ้าวิเทหราชตกพระทัยว่ากองทหารมาล้อมวัง ตรัสปรึกษา มโหสถ มโหสถจึงทูลเตือนพระราชาว่า "ข้าพระองค์ได้กราบทูล ห้าม มิให้ทรงประมาท แต่ก็มิได้ทรงเชื่อ พระราชบิดาพระเจ้าจุลนี นั้น ประดุจเหยื่อที่นำมาตกปลา การทำไมตรีกับผู้ไม่มีศีลธรรม ย่อมนำความทุกข์มาให้ ธรรมดาบุคคลผู้มี ปัญญา ไม่พึงทำ ไมตรีสมาคมกับบุคคลผู้ไม่มีศีล ซึ่งเปรียบเสมือนงู ไว้วางใจ มิได้ย่อมนำความเดือดร้อน มาสู่ไมตรีนั้น ไม่มีทางสำเร็จผลได้" พระเจ้าวิเทหราชทรงเสียพระทัยที่ไม่ทรงเชื่อคำทัดทาน ของมโหสถแต่แรก มโหสถจัดการนำพระเจ้า วิเทหราช ไปพบพระชนนี พระมเหสี และพระโอรสธิดาของพระเจ้าจุลนี ที่ตนนำมาไว้ในอุโมงค์ใต้ดิน แล้วจัดการให้กองทัพที่เตรียมไว้ นำเสด็จกษัตริย์ทั้งหลายกลับไปมิถิลา ส่วนตัวมโหสถเองอยู่ เผชิญหน้า กับพระเจ้าจุลนี เมื่อพระเจ้าจุลนีเสด็จมา ประกาศว่าจะจับพระเจ้าวิเทหราช มโหสถจึงบอกให้ทรงทราบว่า พระเจ้าวิเทหราช มโหสถจึงบอก ให้ทรงทราบว่า พระเจ้าวิเทหราชเสด็จกลับมิถิลาแล้วพร้อมด้วย พระราชวงศ์ ของพระเจ้าจุลนี พระราชาก็ทรงตกพระทัย เกรงว่าพระญาติวงศ์จะเป็นอันตราย มโหสถจึงทูลว่า ไม่มีผู้ใด จะทำอันตราย แล้วจึงทูลเชิญพระเจ้าจุลนีทอดพระเนตรวังและ อุโมงค์ที่จัดเตรียมไว้อย่างวิจิตรงดงาม ขณะที่พระเจ้าจุลนีกำลัง ทรงเพลิดเพลิน มโหสถก็ปิดประตูกลทั้งปวง และหยิบดาบที่ซ่อนไว้ ทำทีว่าจะ ตัดพระเศียรพระราชา พระราชาตกพระทัยกลัว มโหสถจึงทูลว่า "ข้าพระองค์จะไม่ทำร้ายพระราชา แต่หากจะฆ่า ข้าพระองค์เพราะแค้นพระทัย ข้าพระองค์ก็จะถวายดาบนี้ให้"
พระราชาเห็นมโหสถส่งดาบถวาย ก็ทรงได้สติ เห็นว่ามโหสถ นอกจากจะประกอบด้วยความสติปัญญาประเสริฐแล้ว ยังเป็น ผู้ไม่มีจิตใจมุ่งร้ายพยาบาทผู้ใด พระเจ้าจุลนีจึงตรัสขออภัยที่ ได้เคยคิดร้ายต่อเมืองมิถิลา ต่อพระเจ้าวิเทหราช และต่อมโหสถ มโหสถจึงทูลลากลับไปมิถิลา จัดให้กองทหารนำเสด็จพระชนนี พระมเหสี และ พระราชบุตร ของพระเจ้าจุลนีกลับมายัง อุตรปัญจาล ส่วนราชธิดานั้นคงประทับอยู่มิถิลา ในฐานะ พระชายาพระเจ้า วิเทหราชต่อไป พระเจ้าจุลนีทรงตรัสขอให้มโหสถมาอยู่กับพระองค์ มโหสถ ทูลว่า "ข้าพระองค์รับราชการรุ่งเรืองในราช สำนักของพระเจ้า วิเทหราช ผู้เป็นเจ้านายของข้าพระองค์แต่เดิม ไม่อาจจะไปอยู่ที่ อื่นได้หากเมื่อใด พระเจ้าวิเทหราชสวรรคต ข้าพระองค์จะไป อยู่เมืองอุตรปัญจกาล รับราชการอยู่ในราชสำนัก ของ พระองค์" เมื่อพระเจ้าวิเทหราชสิ้นพระชนม์ มโหสถก็ทำตามที่ ลั่นวาจาไว้ คือไปรับราชการอยู่กับพระเจ้าจุลนี และยังถูก กลั่นแกล้งจากเกวัฏพราหมณ์คู่ปรับเก่า แต่มโหสถก็ เอาตัวรอดได้ทุกครั้ง มโหสถนอกจากจะมีสติปัญญา เฉลียวฉลาดแล้ว ยังประกอบด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ มีความสุขุมรอบคอบ มิได้หลงใหล ในลาภยศสรรเสริญ ดังนั้นมโหสถจึงได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็น บัณฑิตผู้มี ความรู้อันลึกซึ้ง มีสติ ปัญญานั้นประกอบด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ ที่กำกับให้ผู้มีสติปัญญาประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร
คติธรรม : บำเพ็ญปัญญาบารมี
"ปัญญาอันล้ำเลิศนั้นย่อมทำคุณให้แก่บุคคล ยิ่งกว่ามีทรัพย์นับแสน แม้มิมีปัญญาดั่งปราชญ์ แต่ถ้าเป็นผู้รู้จักคิดให้รอบคอบก่อน ก็ย่อมเป็นผู้มีปัญญาและประพฤติชอบแล้ว"
"บัณฑิตย่อม ไม่ทำชั่ว เพื่อให้ได้ความสุข สำหรับตน แม้จะถูกทับถมให้เสื่อมจาก ลาภยศ ก็ไม่คิดสละธรรมะด้วยความหลงในลาภยศ หรือด้วย ความรักความชัง บุคคลนั่งนอนอยู่ใต้ร่มไม้ ย่อมไม่ควรหัก กิ่งต้นไม้นั้น เพราะจะได้ชื่อว่าทำร้ายมิตร บุคคลที่ได้รับการ เกื้อหนุนอุปการะจากผู้ใด ย่อมไม่ทำให้ไมตรีนั้นเสียไปด้วย ความโง่เขลา หรือความ หลงในยศอำนาจ บุคคลผู้ครองเรือน หากเกียจคร้าน ก็ไม่งาม นักบวชไม่สำรวม ก็ไม่งาม พระราชา ขาดความพินิจพิจารณาก็ไม่งาม บัณฑิตโกรธง่าย ก็ไม่งาม"
|
|
|
|
|