KUSON
|
|
« ตอบ #5650 เมื่อ: 13 มีนาคม 2555, 13:07:03 » |
|
ลุมพินี เสาศิลาจารึกพระเจ้าอโศก และสถานที่ประสูตรลุมพินีวัน
|
|
|
|
KUSON
|
|
« ตอบ #5651 เมื่อ: 13 มีนาคม 2555, 13:18:28 » |
|
พาราณสี ธัมเมกขสถูป สถานที่แสดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตร ทั้ง4แห่งนี้เป็นที่เปิดดวงปัญญาแห่งหมู่สัตว์ ตัวผมเองยอมรับว่ารู้น้อยในหลักธรรม จึงไม่อยากบรรยายอย่างละเอียดนัก แต่ถึงเวลาก็ต้องสรุปพอสังเขปว่าได้ไปเห็นอะไรมาบ้าง ขอจบเพียงเท่านี้แหละตรับ
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #5652 เมื่อ: 13 มีนาคม 2555, 13:42:52 » |
|
ผมอายุน้อยกว่าท่าน 11 เดือนก็จริงอยู่ แต่ดูจากสังขาร และการดูแลสุขภาพแล้ว ผมคงไปก่อนท่าน ดังนั้น ควรสั่งเสียพวกสายตระกูล "บรรจง" ไว้ เพราะหลานๆ ไปหลังพวกเราแน่ๆ
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5653 เมื่อ: 13 มีนาคม 2555, 17:31:05 » |
|
ยืนยัน ลุมพินีสถาน เนปาล สถานที่ที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รับเป็นเจ้าภาพครับ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #5654 เมื่อ: 13 มีนาคม 2555, 19:37:37 » |
|
เรียน คุณเหยง
เท่าที่หลวงพ่อบรรยายให้ฟัง ส่วนใหญ่เป็นเงินบริจาค จากญี่ปุ่น และเป็น ๑๐๐๐ บาท จริงๆ เพราะกว้างมาก คือปรับปรุงทัศนียาภาพใหม่หมด เข้าทางใหม่ บริเวณหน้าประตู ตอนนี้ทำเป็นศูนย์การค้าใหญ่มาก หรือสถานที่แสดงอะไรก็ได้ และมีลานจัดงานใหญ่มาก ๆ มีการขุคลองใหม่ทางเข้าที่เห็น มีสะพานโค้งเป็นช้วง ๆ ยาวร่วม ๒-๓ กิโลเมตร
ถ้าคุณหญิงจะบริจาค ต้องมี ๑๐๐๐ ล้านบาทแน่ ๆ ส่วนวัดไทยนั้นผมไม่ได้เข้าไป เท่าที่ทราบ คุณหญิงสุดารัตน์ได้บริจาคให้ทำห้องน้ำที่ลุมพินีวัน เมื่อปีที่แล้วครับ แต่ผมไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน เพราะใช้ป่าข้างทาง ครับ
อาจจะบริจาคบางส่วน แต่ไม่ใช่ทั้งหมดแน่ครับ เพราะเขาทำมาหลายปีแล้วในการบูรณะลุมพีนี ไม่ใช่เพิ่งทำครับ
ผมไม่ได้ถ่ายภาพ เพราะมันเป็นของใหม่ ไม่ก่อประโยชน์ทั้งสิ้น
สวัสดี
|
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #5656 เมื่อ: 13 มีนาคม 2555, 20:34:30 » |
|
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร บทนำ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อนุตตะรัง อภิสัมโพธิง สัมพุชฌิตวา ตะถาคะโต ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง ยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฎิปัตติ จะ มัชฌิมา จะตูสวาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง นาเมนะ วิสสุตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะณามะ เส ฯ
พระตถาคต คือ พระพุทธเจ้า ครั้นได้ตรัสรู้ธรรม ได้แก่ อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นธรรมอันสูงสุด ไม่มีธรรมใดที่สูงไปกว่า ได้ทรงแสดงให้เห็นเป็นจักร คือ วงล้อ ประกอบด้วยซี่ 8 ซี่ คือธรรมอันเป็นทางสายกลาง 8 ประการ ซึ่งเป็นทางที่หลีกเว้นการปฏิบัติตนแบบสุดโต่ง 2 คือ หมกหมุ่นในกามคุณ และ ทรมานตนด้วยวิธีการต่างๆ เป็นข้อ ปฏิบัติเป็นกลาง ให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ให้บริสุทธิ์จากกิเลส, พวกเราทั้งหลาย จงร่วมกันสวดพระธรรมจักรนั้น ที่พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นธรรมราช ทรงแสดงไว้แล้ว มีชื่อปรากฏว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” เป็นพระสูตรที่ประกาศให้ทราบถึงการที่พระองค์ ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งพระสงฆ์ผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้ทั้งหลาย ได้ร้อยกรองไว้โดยทำเป็นบทสวดมนต์ที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ เทอญฯธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ
ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์) ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสีในเวลานั้น พระองค์ได้ตรัสเตือนพระภิกษุเบญจวัคคีย์ว่า
เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ออกบวชแสวงหาความหลุดพ้น ไม่ควรปฎิบัติตน 2 ประการ คือ (1) การแสวงหาความสุขทางกามคุณ แบบสุดโต่ง ซึ่งทำให้จิตใจต่ำทราม เป็นเรื่องของชาวบ้านที่มีความใคร่ เป็นเรื่องของคนมีกิเลสหนาไม่ใช่เป็นสิ่งประเสริฐ คือ มีแต่จะก่อให้เกิดข้าศึกคือกิเลส ไม่มีสาระประโยชน์อันใด (2) การปฏิบัติตนแบบก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน เป็นสภาวะที่ทนได้ยาก ไม่ใช่สิ่งประเสริฐ คือ มีแต่จะก่อให้เกิดข้าศึก คือ กิเลสไม่มีสาระประโยชน์อันใด ฯ
เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถา คะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะ มายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
ภิกษุทั้งหลาย หลักปฏิบัติอันเป็น ทางสายกลาง หลีกเลี่ยงจากการปฏิบัติแบบสุดโต่ง ซึ่งเราตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยวดยิ่ง เห็นได้ด้วยตาใน รู้ด้วยญาณภายใน เป็นไปเพื่อความสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้อย่างทั่วถึง เพื่อความดับกิเลสและกองทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ (1) ความเห็นชอบ (2) ความดำริชอบ (3) วาจาชอบ (4) การงานชอบ (5) เลี้ยงชีวิตชอบ (6) ความเพียรชอบ (7) ความระลึกชอบ ( ความตั้งจิตชอบ
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะ เตนะ อะภิ สัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ คือ ความจริงที่ช่วยมนุษย์ให้เป็นผู้ประเสริฐเกี่ยวกับการพิจารณาเห็นทุกข์ เป็นอย่างนี้ คือ การเข้าใจว่า "เกิด แก่ เจ็บ ตาย" ล้วนแต่ เป็นทุกข์ แม้แต่ความโศรกเศร้าเสียใจ ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ทั้งความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ พลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปราถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ การยึดมั่นแบบฝังใจ ว่า เบญจขันธ์ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ว่าเป็น อัตตา เป็นตัวเรา เป็นเหตุทำให้เกิดความทุกข์แท้จริง
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ
ภิกษุทั้งหลาย เหตุทำให้เกิดความทุกข์ (สมุหทัย) มีอย่างนี้ คือ ความอยากเกินควร ที่เรียกว่า ทะยานอยาก ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด เป็นไปด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มัวเพลิดเพลินอย่างหลงระเริงในสิ่งที่ก่อให้เกิดความกำหนัดรักใคร่นั้นๆ ได้แก่ (1) ความทะยานอยากในสิ่งที่ก่อให้เกิดความใคร่ (2) ความทะยานอยากในความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่ (3) ความทะยานอยากในความที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่อยากเป็๋น เช่น ไม่อยากจะเป็นคนไร้เกียรติ ไร้ยศ เป็นต้น อยากจะดับสูญไปเลย ถ้าไม่ได้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจังฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะ นิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
ภิกษุทั้งหลาย นิโรธ คือ ความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ ดับความกำหนัดอย่างสิ้นเชิง มิให้ตัณหาเหลือยู่ สละตัณหา ปล่อยวางตัณหาข้ามพ้นจากตัณหา ไม่มีเยื่อใยในตัณหา
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะ สัจจัง ฯ
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมา อาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ (1) ความเห็นชอบ (2) ความดำริชอบ (3) วาจาชอบ (4) การงานชอบ (5) เลี้ยงชีวิตชอบ (6) ความเพียรชอบ (7) ความระลึกชอบ ( ความตั้งจิตมั่นชอบ
อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้ เป็นทุกขอริยสัจจ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลายที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็นทุกขอริยสัจ เราได้กำหนดรู้แล้ว
อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็นทุกสมุทัยอริยสัจ เป็นสิ่งที่ควรละ ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็นทุกขสมุทัยอริยสัจเราละได้แล้ว
อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิ ฯ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ
ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็น ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่าเป็น ทุกขนิโรธอริยสัจ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว
อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่าเป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว
ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดการหยั่งรู้ การเห็นตามความเป็นจริง ว่าอริยสัจ 4 มี 3 รอบ มีอาการ 12 (ได้แก่ 1. หยั่งรู้อริยสัจ แต่ละอย่างตามความเป็นจริง 2. หยั่งรู้กิจของอริยสัจ 3. หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้ว ในอริยสัจ) ยังไม่หมดจดเพียงใด
เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะ พราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง ไม่มีใครจะเทียบได้ ไม่ว่าจะเป็นเทวดา มาร พรหม แม้มวลมนุษย์ ทั้งที่เป็นสมณะเป็นพราหมณ์ ก็เทียบเท่ามิได้เพียงนั้น
ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดการหยั่งรู้ การเห็นตามความเป็นจริงดังกล่าวมาหมดจดดีแล้ว เมื่อนั้นเราได้ยืนยันตนเป็นผู้ตรัสรู้ชอบดังกล่าวแล้ว เช่นนั้น
ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิปุ นัพภะโวติ ฯ
การหยั่งรู้ การเห็นตามความเป็นจริงได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า ความหลุดพ้นของเราไม่มีการกลับกำเริบอีกแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแล้ว ไม่ต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดอีก
อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
ครั้นพระพุทธองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณได้แสดงธรรมโดยปริยายดังกล่าวมา เหล่าภิกษุเบญจวัคคีย์ ก็ได้มีใจยินดีเพลินในการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า
อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ ภัญญะมาเน อายัส มะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ
ก็แล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธรรมอย่างแจ่มแจ้งอย่างมีหลัก ท่านโกณทัญญะ ผู้ทรงไว้ซึ่งอาวุโส ได้เกิดธรรมจักษุ คือ ได้รู้แจ้งเห็นจริงซึ่งพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง กำจัดธุลี กำจัดมลทินเสียได้ มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา เพราะสิ้นเหตุปัจจัย
ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิวา โลกัสมินติ ฯ
ครั้นพระพุทธองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ได้แสดงธรรมจักร คือ หมุนวงล้อแห่งธรรมที่ประกอบด้วย 8 ซี่ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เหล่าภุมเทวดา ก็เปล่งเสียงสาธุการบันลือลั่นว่า วงล้อแห่งธรรม ไม่มีวงล้ออื่นใดจะหมุนสู้ได้ ได้รับการหมุนไปโดยพระพุทธเจ้า ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งไม่มีใครทำได้มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปะริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา มะหาพรัหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ มะหาพรัหมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุภะกิณหะกา เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุงฯ สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิ วัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ
เหล่าเทพเจ้าชั้นจาตุมมหาราชิกา ครั้นได้ยินเสียงเหล่าเทพภุมเทวดาต่างก็ส่งเสียงสาธุการ บันลือลั่นสืบต่อไปจนถึงเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามะ ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี จนกระทั่งถึงชั้นพรหม ตั้งแต่พรหมปาริสัชชา พรหมปโรหิตา มหาพรหม ปริตตาภาพรหม อัปมาณาภาพรหม อาภัสสราพรหม ปริตตสุภาพรหม อัปปมาณสุภาพรหม สุภกิณหกาพรหม เวหัปผลาพรหม อวิหาพรหม อตัปปาพรหม สุทัสสาพรหม สุทัสสีพรหม จนกระทั่งถึงอกนิฎฐกาพรหมเป็นที่สุด ก็ส่งเสียงสาธุการบันลือลั่น เพียงครู่เดียว เสียงได้บันลือไปทั่วพรหมโลก
อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ อะยันจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ
สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
ทั้งหมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหว สะเทือนสะท้าน เสียงดังสนั่นลั่นไป ทั้งแสงสว่างอันหาประมาณมิได้ ได้ปรากฏขึ้นในโลก เหนือกว่าอานุภาพของเหล่าพรหม
อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ อิติหิทัง อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ได้ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย" เพราะเหตุนี้ ท่านโกณฑัญญะจึงได้นามว่าอัญญาโกณฑัญญะ
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #5657 เมื่อ: 13 มีนาคม 2555, 20:55:17 » |
|
พี่สิงห์คะ .. ยังทันไหมคะ เรื่องรายงานสภาพอากาศก่อนที่จะเดินทาง
มิลานอยู่สูงกว่าโรม อากาศจะเย็นกว่านิดหน่อย หยีขอนำสภาพอากาศของมิลานมาฝากนะคะ
ตอนนี้อากาศอุ่นขึ้นแล้วค่ะ กลางวันประมาณ 17-19 องศา ส่วนกลางคืนประมาณ 4-7 องศา
เดินทางปลอดภัยนะคะ .. จะคอยชมภาพและเรื่อง เป็นลำดับต่อไป
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5658 เมื่อ: 13 มีนาคม 2555, 21:02:59 » |
|
วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7775 ข่าวสดรายวัน 'สุดารัตน์'แจงคืบหน้างานบูรณะ สถานที่ประสูติพระพุทธเจ้า-ลุมพินีวันสถาน คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานมูลนิธิไทยพึ่งไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินการโครงการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ลุมพินีวันสถาน ประเทศเนปาล โครงการก่อสร้างระยะที่ 1 และระยะที่ 2 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย ทางเดินรอบวิหารมายาเทวี ความยาว 500 เมตร และลานสักการะหน้าเสาหินอโศก ขนาด 25x25 เมตร พร้อมลานปฏิบัติธรรมอีก 3 ลาน ลานปฏิบัติธรรม เพิ่มเติมทางด้านทิศใต้ และทางเดินรอบสระโบกขรณี สระน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ที่พระพุทธมารดา พระนางสิริมหามายาได้ลงสรงน้ำก่อนประสูติกาล ทั้งนี้ การก่อสร้างที่เสร็จสิ้นทั้ง 2 โครงการใช้งบประมาณจากพลังศรัทธา จำนวน 8,095,845.80 บาท
คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวว่า สำหรับโครงการก่อสร้างระยะที่ 3 เป็นการก่อสร้างถนนเข้าสู่สวนอันศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Garden) บริเวณจุดที่พระพุทธเจ้าประสูติ ความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร พร้อมทางเดิน 2 ข้าง รวมทั้งจัดสร้างลานประดิษฐานพระพุทธเจ้าน้อย (Baby Budha) และศาลาอเนกประสงค์ พร้อมห้องน้ำ เพื่อบริการแก่พุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาสักการะสถานที่ประสูติจากทั่วโลก ซึ่งการออกแบบก่อสร้างได้เสร็จสิ้นแล้ว รอการอนุมัติแบบจากคณะกรรมการกองทุนพัฒนาลุมพินี (Lumbini Development Trust) และคณะกรรมการมรดกโลก (UNESCO) โดยมีเป้าหมายให้การก่อสร้างทั้งหมดแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช 2555 เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาส 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการโครงการก่อสร้างในระยะที่ 3 คณะกรรมการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติฯ ซึ่งมีเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์, นายสุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส และคณะกรรมการดำเนินการโครงการนี้จะจัดสร้างพระพุทธเจ้าน้อย เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้มีส่วนร่วม โดยจะมีการจำหน่ายแผ่นทองให้กับประชาชน ทางมูลนิธิไทยพึ่งไทยจะจัดทำแผ่นทองจำหน่ายให้กับประชาชนในราคาชุดละ 99 บาท ซึ่งจะจัดจำหน่ายที่ร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่น และที่ทำการไปรษณีย์ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยแผ่นทองทั้งหมดจะผ่านพิธีพุทธาภิเษก ณ ลุมพินีสถาน และจะนำแผ่นทองทั้งหมดไปใช้ในการหล่อพระพุทธรูปพระพุทธเจ้าน้อย เมื่อจัดทำเสร็จเรียบร้อยจะนำไปประดิษฐานไว้ ณ สถานที่ประสูติ ลุมพินีวันสถาน ประเทศเนปาล และประเทศไทยต่อไป ติดต่อรายละเอียดได้ที่ มูลนิธิไทยพึ่งไทย โทร.0-2971-7575 http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdNVEV6TURNMU5RPT0=§ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1pMHdNeTB4TXc9PQ==
|
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #5660 เมื่อ: 14 มีนาคม 2555, 09:46:52 » |
|
สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
วันนี้ผมอยู่บ้าน เลยได้ลุกขึ้นมาปฏิบัติธรรมเช้ามืด หุงข้าว เดินจงกรมหน้าบ้าน เดินไปหลังการบินไทยเพื่อซื้อกับข้าวมารับประทานและใส่บาตรพระตอน 07:00 น. ครับ เป็นกิจวัตรประจำวันที่ต้องกระทำเมื่ออยุ่บ้านที่ กทม.
10:00 น. จะออกไปเยี่ยมพี่กุ้ง ประธานกรรมการฝ่ายบริหาร ของ PSTC ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งขั้นที่ ๔ ในช่องท้องใกล้กับถุงน้ำดี ที่นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลพิชัยยุทธ เนื่องจากมีปัญหาระบบหายใจ ที่หายใจติดขัด วันศุกร์ที่จะถึงนี้ คุณดิเรก (น้องชาย กจก.PSTC) จะนิมนต์หลวงพ่อที่ชุมพร มาสอนปฏิบัติธรรม เป็นการรักษาโรคทางใจ เขาถามผม ผมสนับสนุนอย่างยิ่งให้ไปนิมนต์มาเลย และได้แนะนำไปหลายอย่างให้คุรดิเรกรับทราบ ถ้าเป็นไปได้ให้นิมนต์หลวงพ่อไพศาล มาสอนการเตรียมตัวก่อนตาย เพราะพี่กุ้ง ก็เป็นคนหนึ่งที่ทำบุญมามาก ไม่เบียดเบียนใคร เคยไปอินเดียตามสังเวชนีย์ ๔ แห่งมาแล้ว และรู้จักหลวงพ่อเทียน เพียงแต่เท่าที่ผ่านมาไม่ได้ปฏิบัติธรรม เท่านั้น ได้แต่รู้ แต่ก็ละเว้นการทำชั่วทั้งปวง ก็จัดว่าเป็นคนดีพอสมควร(ไม่เบียดเบียนใคร)
วันนี้ผมตั้งใจไปสอนให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ สิ่งดี ๆ ที่พี่กุ้งได้กระทำมาแล้ว ชีวิตนี้ไม่มีอะไรต้องกังวลทั้งสิ้น ลูกทุกคนมีครอบครัว มีกิจการเป็นของตนเอง ไม่มีอะไรต้องเป็นห่วงทั้งสิ้น ให้มีจิตอยู่กับปัจจุบัน จากไปด้วยการมีสตินี่ละ จะทำให้ลูกๆ สบายใจ หมดกังวล ชีัวิตมันก็เป็นเช่นนี้ เรามาอาสัยร่างเขาอยู่เพียงชั่วคราว ไม่วันใดวันหนึ่งก็ต้องจากร่างนั้นไป ไปไหนก้ไม่รู้ทั้งสิ้น ขอเพียงเรามีสติรู้ตัวก็เพียงพอแล้ว จะจากไปด้วยความสงบ
ว่าง ๆ จะนำสิ่งที่หลวงพ่อไพศาล มาให้ทุกท่านได้ศึกษา ครับ
สวัสดี
|
|
|
|
Kaimook
|
|
« ตอบ #5661 เมื่อ: 14 มีนาคม 2555, 18:04:35 » |
|
สวัสดียามเย็นค่ะพี่สิงห์และพี่ๆทุกท่าน เข้ามาชมค่ะ ขอยพระคุณพี่สิงห์ พี่กุศลมากๆค่ะ พี่ป๋องหายไวๆนะคะ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #5662 เมื่อ: 14 มีนาคม 2555, 19:33:29 » |
|
สวัสดีครับคุณน้องน้ำอ้อย ที่รัก
สวัสดียามค่ำครับ พี่สิงห์ก็ไม่รู้ว่า ดร.สุริยา เจ็บขนาดไหน เห็นเสียงยัง O.K. ไม่น่าเป็นอะไรมาก พระคุ้มครองอยู่แล้ว คนดี ๆ อย่าง ดร.สุริยา
วันเสาร์เธออาจจะได้เจอ ดร.สุริยา ก็ได้ เพราะคุณณรงฤทธิ์ เชิญชวนเพื่อน ๆ วศ.๑๓ ไปแจกของให้เด็กนักเรียน และชมโรงกลั่นไทยออยที่ศรีราชา ค้างคืนที่นั่น มีตีกอล์ฟ ด้วย เห็นประธานรุ่น คุณณรงค์ศักดิ์ ผู้ว่า กฟภ. ชวนตีกอล์ฟที่ ศรีราชา ส่วนพี่สิงห์ไม่ได้ไปเพราะไปทำงานที่นครศรีธรรมราช ครับ
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #5663 เมื่อ: 14 มีนาคม 2555, 19:38:39 » |
|
สวัสดีค่ะ คุณน้องยาหยี ที่รัก
พี่สิงห์เดินทางเย็นวันอาทิตย์ที่ ๑๘ มีนาคม ครับ เห็นอุณหภูมิที่เธอบอกแล้ว กำลังคิดว่า จะไม่เอา Long John ไป เพราะกลางคืนอยู่ในห้องพัก มี Heater ตอนนี้ทัวร์กำลังเร่งประชาสัมพันธ์บอกว่า ระวังนักล้วงกระเป๋า ที่โรม ห้ามรับดอกไม้จากสาว ๆ ทั้งสิ้น
โรม - เวนิส พี่สิงห์ เคยไปมาครั้งหนึ่งแล้วร่วม ๒๐ กว่าปีที่ผ่านมาครับ ไม่ได้ตั้งใจไปซื้ออะไรทั้งสิ้น ขอชมเมืองเท่านั้น
สวัสดีค่ะ
|
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #5665 เมื่อ: 14 มีนาคม 2555, 20:07:40 » |
|
ระลึกถึงความตายสบายนัก
มันหักรักหักหลงในสงสาร
บรรเทามืดโมหันต์อันธการ
ทำให้หาญหายสะดุ้งไม่ยุ่งใจ แต่งโดย พระศาสนโสภณ (จตฺตสลฺลเถร) สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
หนังสือ "ระลึกถึงความตายสบายนัก การเจริญมรณสติในชีวิตประจำวัน" ของหลวงพ่อไพศาล วิสาโล ผมอ่านแล้ว มีประโยชน์ ผมจะเอามาลงให้ทุกท่านได้อ่าน ในระหว่างที่ผมไปทัวร์อิตาลี-สวัส ครับ
โปรดติดตาม และนำไปปฏิบัติ นะครับ
ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #5666 เมื่อ: 14 มีนาคม 2555, 20:26:31 » |
|
ผู้ชายมายื่นดอกไม้ให้ ก็รับไม่ได้เหมือนกันค่ะ
หากพี่ไปมิลาน ทัวร์จะต้องพาพี่สิงห์ไปที่มหาวิหารแห่งมิลาน (Duomo di Milano) แน่ ๆ ที่ลานหน้ามหาวิหาร มีนกพิราบเยอะมาก และมักจะมีคนท้องถิ่น เอาเมล็ดข้าวโพดแห้งมาใส่ในมือเรา เพื่อให้นกมารุมกินในมือ แล้วถ่ายรูป
พี่สิงห์อย่ารับนะคะ .. เมล็ดข้าวโพดไม่กี่เมล็ด เขาจะ charge เงินเรา 10 ยูโรเต็ม ๆ ค่ะ หยีได้รับการเตือนมาก่อน และเห็นกับตาจริง ๆ ที่นั่น
นี่ค่ะ .. มหาวิหารของเมืองมิลาน หน้าตาเป็นแบบนี้
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #5667 เมื่อ: 14 มีนาคม 2555, 21:02:29 » |
|
สวัสดีค่ะ คุณน้องยาหยี ที่รัก
ขอบคุณมากที่เตือน พี่สิงห์ จะได้ระวังไว้ ไมรับเมตตาจากใครทั้งสิ้น ขอปล่อยวาง
สวัสดีค่ะ
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #5668 เมื่อ: 14 มีนาคม 2555, 21:25:44 » |
|
10 ยูโร ขนไม่ร่วง
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5669 เมื่อ: 14 มีนาคม 2555, 21:31:12 » |
|
เขาไม่ได้เมตตาครับ เขาขายสินค้า ขายบริการพร้อมถ่ายรูป
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #5670 เมื่อ: 14 มีนาคม 2555, 21:35:07 » |
|
สวัสดีค่ะพี่สิงห์ คำว่าปล่อยวาง นี่เหมาะกับสภาพจิตใจมากมากคือไม่รับมาคิด มาสรุป มาชื่นชม เอามาเป็นทุกข์ คือว่าง ว่าง งั้นใช่ไหมค่ะ ที่อิตาลีต้อยเคยได้ยินมาว่าเรื่องล้วงกระเป๋าเค้าพัฒนาแล้วไม่ใช่ ้แกล้งเดินชนทางที่ดีไม่ต้องพกเงินแต่นั่นแหละบางที ไปคิดเตรียมไว้ก่อน เดี๋ยวเที่ยวไม่สนุก ขอให้พี่สิงห์เดินทางราบรื่นและมีความสุขกับทริปนี้น่ะค่ะ คอยชมภาพค่ะ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #5671 เมื่อ: 15 มีนาคม 2555, 07:37:20 » |
|
เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ชัดเจนจริง ๆ นับถือ ๆ
มันอยู่ที่ตัวเรา มีสติรู้เท่าทันด้วยปัญญาว่า สมควรหรือไม่ และยึดอุเบกขา(ขันติ) ตามที่ตั้งใจมั่น(สมาธิ)
มันเป็นเรื่องวิธีการเสนอ(ต้องการขาย) เราจะซื้อหรือไม่อยู่ที่ตัวเราตัดสินใจต่างหากไม่ใช่ผู้นำเสนอ
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #5672 เมื่อ: 15 มีนาคม 2555, 07:39:07 » |
|
เป็นคำตอบง่าย ๆ ตัดความรำคาญ ถูกต้องหรือ ? ใคร ๆ เขาก็ทำกันเป็นส่วนใหญ่
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #5673 เมื่อ: 15 มีนาคม 2555, 07:55:07 » |
|
สวัสดีค่ะ คุณน้องต้อย ที่รัก
มันก็เป็นทำนองนั้น มันก็ถูกต้อง
คำว่าปล่อยวาง นั้นไม่ใช่อะไรก็ปล่อยวางทั้งหมด ทุกอย่างมันเป็นเรื่องของอารมณ์ที่มากระทบจากอายตนะทั้ง ๖ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และปล่อยใจนึกคิด ทำให้จิตมันปรุงแต่ง เราต้องมีขันติ(ความอดทนอดกลั้น) พิจารณา ใคร่ควร ด้วยหลักเหตุ - ปัจจัย ด้วยปัญญา จึงจะปล่อยวาง มันเป็นเรื่องอารมณ์ของจิตและการปรุงแต่ง หรือ เจตสิก นั่นเอง
เราต้องปล่อยวางด้วยการมีเหตุ-ผล ตามที่ควรจะเป็น ว่าสมควรหรือไม่ ไม่เข้าข้างตนเอง เพราะมีบางเรื่องที่เราจำเป็นต้องกระทำอยู่ เพื่อการดำรงค์ชีวิต คือปัจจัย ๔ และความกตัญญู ต่อบิดา-มารดา ครูอาจารย์ การอนุเคราห์คนยากไร้ ต่าง ๆ อีกมาก ไม่ใช่ปล่อยวางทั้งหมด
วิธีการปล่อยวาง คือเมื่อเราพิจารณาด้วยการมีสติ(รู้ตัว) ใช้ปัญญาแล้ว จะมีคำตอบเสมอว่า ถ้าเราไม่กระทำตามที่จิตมันต้องการนั้น เราสามารถอยู่ได้ไหม ? มีผู้ได้รับทุกข์เพราะการปล่อยวางของเราไหม ? สมควรตามเหตุ-ผลที่วิญญูชนม์พึงกระทำไหม? แล้วใช้ขันติ ปล่อยมันไป เพียงประเดี๋ยวเดียว ความคิดปรุงแต่งนั้น มันก็ดับไปเองตามธรรมชาติ และไม่มีใครได้รับทุกข์ทั้งสิ้น รวมทั้งตัวเรา มันเป็นเรื่องของการควบคุมจิตเรา ที่เราไม่สามารถสั่งมันได้ แต่ฝึกได้ด้วยการมีสติ คือการรู้สึกตัว นี่ละ
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #5674 เมื่อ: 15 มีนาคม 2555, 07:59:56 » |
|
ดร.สุริยา อาจจะแย้งว่า แล้วพระอรหันต์ล่ะ !
คำตอบ คือ ถึงแม้จะเป็นพระอรหันต์ ที่ตัดกิเลสโดยสิ้นเชิงก็ตาม เมื่อเห็นเด็กตกน้ำกำลังจะจมน้ำตายอยู่ตรงหน้า ท่านก็ต้องเข้าไปช่วย ไม่ปล่อยวางให้เด็กตายไปต่อหน้าหรอก !
เหมือนกับที่ ดร.สุริยา เคยนำมาเสนอ คือ "อุเบกขาควาย" ที่หลวงพ่อชา ท่านสอนศิษย์ท่าน ครับ
สวัสดี
|
|
|
|
|