23 พฤศจิกายน 2567, 21:22:31
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 93 94 [95] 96 97 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3564057 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 23 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #2350 เมื่อ: 23 มิถุนายน 2554, 21:19:17 »

 
อ้างถึง   
อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 23 มิถุนายน 2554, 16:35:36
อ้างถึง
ข้อความของ มีนา เมื่อ 23 มิถุนายน 2554, 11:59:58

สวัสดีค่ะพี่สิงห์ ตามอ่านตลอดค่ะ สนใจเรื่องดีท็อก มีวิธีอื่นที่ไม่ใช่การสวนด้วยกาแฟมั้ยคะ
ชนิดที่ใช้วิธีดื่มแทน รอคำแนะนำจากพี่ ขอบคุณมากค่ะ
สวัสดีค่ะ คุณน้อง มีนา ที่รัก
            พี่สิงห์เคยฟังตามที่เขาโฆษณาทางวิทยุครับ ลองถามตามร้านขายยาน่าจะทราบครับ
            พี่สิงห์รู้แต่วิธีสวนทางลำไส้ใหญ่ด้วยกาแฟเท่านั้น เพราะคุณหมออุดม-พยาบาล โรงพยาบาลจอมทอง สอนพี่สิงห์มา และพี่สิงห์ทำอย่างต่อเนื่องมามากกว่าสามปีแล้วครับ ไม่มีอะไรผิดปกติ ข้อสำคัญที่ควรทราบคือ ดั่งเดิมที่ค้นพบก็ใช้กาแฟ และกาแฟนั้นจะไปกระตุ้นตับให้ทำงาน ตับจะหรั่งสารมาทำลายพิษในร่างกาย คือพิษที่ตกค้างในลำไส้ใหญ่  แต่ถ้าทำโดยวิธีอื่นนั้น ตับอาจจะยังคงไม่ทำงานเป็นการล้างลำไส้เท่านั้น(พี่สิงห์คิดเอง) เวลาทำดีท๊อก คุณหมอจะบอกพยายามอั้นให้นานที่สุด อย่างน้อยให้ปวดถ่ายทนให้ได้สองครั้ง จึงปล่อยให้ถ่ายตามธรรมชาติ ไม่ต้องเบ่ง เพราะต้องการให้ตับทำงานขจัดสารพิษในร่างกาย ครับ
               พี่สิงห์เพิ่งไปซื้ออุปกรณ์และกาแฟ มาจากโรงพยาบาลจอมทอง ราคาถูกมาก  ถ้าเธอสนใจบอกที่อยู่มา พี่สิงห์

จะจัดส่งไปให้เพื่อทดลองทำดีท๊อก ด้วยตัวเอง ทำครั้งแรก กลัว ไม่กล้า อาย  เขินตัวเอง  แต่พอครั้งที่สองมันก็ชินไปเอง
ไม่มีอันตราย



พี่มีนาครับ
การทำดีท๊อก แบบที่พีสิงห์แนะนำ เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุด
แต่ถ้าไม่สะดวก การดีท๊อกทางปาก ด้วยการกิน ก็มี
ร้านขายยา หลายร้านมีจำหน่าย เป็นซองๆ แบบชาลิปตัน
แต่ซองใหญ่กว่า และชงกินแบบชา ชงดื่มเวลา2-3ทุ่ม เช้าจะระบายได้ดี
แต่ไม่ได้เป็นยาถ่ายตะครุบ


               สวัสดี
      บันทึกการเข้า
มีนา
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2515
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 1,865

« ตอบ #2351 เมื่อ: 23 มิถุนายน 2554, 21:32:01 »


ขอบคุณค่ะน้องสมชาย  ได้รู้ว่ามีวิธีอื่นให้เลือก
      บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #2352 เมื่อ: 23 มิถุนายน 2554, 21:38:11 »

สวัสดีครับพี่สิงห์/พี่อ้อย กรองอร

ผมดีใจที่พี่สิงห์ไม่เกิดอารมณ์โกรธ ผมติดตามอ่านและการให้ข้อคิดเห็น
ในจุดที่ผมเห็น เพราะผมชื่นชมพี่สิงห์. และความเห็นในบางประเด็นของผม
เป็นการเสวนาธรรมแลกเปลี่ยนกันแบบ ๒ทาง
รับมาเป็นส่วนใหญ่และเสนอกลับไปบางประเด็น
ขอบคุณครับ
      บันทึกการเข้า
มีนา
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2515
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 1,865

« ตอบ #2353 เมื่อ: 23 มิถุนายน 2554, 21:42:24 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 23 มิถุนายน 2554, 16:35:36
อ้างถึง
ข้อความของ มีนา เมื่อ 23 มิถุนายน 2554, 11:59:58

สวัสดีค่ะพี่สิงห์ ตามอ่านตลอดค่ะ สนใจเรื่องดีท็อก มีวิธีอื่นที่ไม่ใช่การสวนด้วยกาแฟมั้ยคะ
ชนิดที่ใช้วิธีดื่มแทน รอคำแนะนำจากพี่ ขอบคุณมากค่ะ
สวัสดีค่ะ คุณน้อง มีนา ที่รัก
            พี่สิงห์เคยฟังตามที่เขาโฆษณาทางวิทยุครับ ลองถามตามร้านขายยาน่าจะทราบครับ
            พี่สิงห์รู้แต่วิธีสวนทางลำไส้ใหญ่ด้วยกาแฟเท่านั้น เพราะคุณหมออุดม-พยาบาล โรงพยาบาลจอมทอง สอนพี่สิงห์มา และพี่สิงห์ทำอย่างต่อเนื่องมามากกว่าสามปีแล้วครับ ไม่มีอะไรผิดปกติ ข้อสำคัญที่ควรทราบคือ ดั่งเดิมที่ค้นพบก็ใช้กาแฟ และกาแฟนั้นจะไปกระตุ้นตับให้ทำงาน ตับจะหรั่งสารมาทำลายพิษในร่างกาย คือพิษที่ตกค้างในลำไส้ใหญ่  แต่ถ้าทำโดยวิธีอื่นนั้น ตับอาจจะยังคงไม่ทำงานเป็นการล้างลำไส้เท่านั้น(พี่สิงห์คิดเอง) เวลาทำดีท๊อก คุณหมอจะบอกพยายามอั้นให้นานที่สุด อย่างน้อยให้ปวดถ่ายทนให้ได้สองครั้ง จึงปล่อยให้ถ่ายตามธรรมชาติ ไม่ต้องเบ่ง เพราะต้องการให้ตับทำงานขจัดสารพิษในร่างกาย ครับ
               พี่สิงห์เพิ่งไปซื้ออุปกรณ์และกาแฟ มาจากโรงพยาบาลจอมทอง ราคาถูกมาก  ถ้าเธอสนใจบอกที่อยู่มา พี่สิงห์จะจัดส่งไปให้เพื่อทดลองทำดีท๊อก ด้วยตัวเอง ทำครั้งแรก กลัว ไม่กล้า อาย  เขินตัวเอง  แต่พอครั้งที่สองมันก็ชินไปเอง ไม่มีอันตราย
               สวัสดี

ขอบคุณพี่สิงห์ค่ะทั้งเล่าเรื่องการดีท็อกด้วยกาแฟและจะส่งให้ทดลอง  ยังไม่รบกวนพี่นะคะ
กำลังหาข้อมูล ทดลองใช้วิธีอื่นก่อนค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2354 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2554, 04:54:12 »

อรุณสวัสดิ์ค่ะ คุณน้องตู่ ที่รัก
                  พี่สิงห์ไปกับ group ไหนก็ได้ครับ แล้วแต่เธอกับหลิวตกลงกัน อย่าลืมชวน ดร.กุศล  ด้วย(เพราะต่างคน ต่างรู้หน้าที่ ที่จะไม่ทำความลำบากใจแก่กันและกัน ต่างคนต่างอยู่ ก็สุขใจ)
                  ขอบคุณและสวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2355 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2554, 05:56:35 »

วันนี้วัน "พระ" อย่าลืมทำจิตให้ผ่องใสน้อมนำคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาปฏิบัติในการดำรงค์ชีวิต
ด้วยการรักษากาย วาจา ใจ ให้ถึงพร้อม บริสุทธิ์  ผ่องใส

เกล็ดน่ารู้เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม

สติ คือ ความระลึกได้ หรือการระลึกได้ ท่านต้องระลึกได้ ณ ปัจจุบันว่าท่านกำลังกระทำอะไรอยู่ ณขณะนั้น อย่างผมกำลังสร้างจังหวะในการเคลื่อนไหวด้วยมือ ๑๔ จังหวะ จิตจะระลึกได้ว่ามือจะต้องเคลื่อนไหวไปตามจังหวะ ไปหยุดที่จังหวะนั้นๆ สิ่งที่เกิดขึ้นกับจิต คือ จิตจะไม่คิด เพราะมันระลึกได้ในสิ่งที่มือกำลังกระทำ ธรรมชาติของจิต คิดสองอย่างพร้อมกันไม่ได้ เมื่อมันระลึกได้ในแต่ละจังหวะไปแล้ว มันก็ไม่คิด การไม่คิดนอกการกระทำนี่ละคือ สติปัฏฐาน ที่ต้องการ มันระลึกได้ติดต่อกันนานๆ มันก็คือ สมาธิ คือความตั้งใจมั่น ง่ายๆแบบนี้ละการปฏิบัติธรรม ทำบ่อยๆ จิตมันจะคลาย หรือยอมแพ้ไปเอง จิตมันจะไม่คิด จนเป็นความเคยชินไป เราจะได้ไม่เป็นทาสของมันคือหลงอยู่ในความคิดตัวเอง เราจะเห็นความคิดของจิต เมื่อเห็นความคิดนั้นเราจะมีเวลาถึงแม้จริงๆจะเร็วมากความคิด แต่เราจะมีเวลาศึกษามูลเหตุแห่งความคิดนั้น และใช้ปัญญาของเราได้ว่าจะกระทำตามความคิดนั้นหรือไม่ด้วยสติที่เป็นธรรม ครับ

รู้ธรรมวันละนิด  จิตผ่องใส
ตอนที่ ๒๐
การดำรงชีวิตด้วย มรรค ๘

                  มรรค  คือ วิธีปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางในการดำรงค์ชีวิต และเป็นทางพ้นทุกข์  มี ๘ ประการ คือ

                               สัมมาทิฏฐิ              มีความเห็นชอบ(แนวทาง)
                               สัมมาสังกัปปะ         มีความคิดชอบ(ทางใจ)
                               สัมมาวาจา              เจรจาชอบ(ทางวาจา)
                               สัมมากัมมันตะ         ประพฤติชอบ(ทางกาย)
                               สัมมาอาชีวะ            หาเลี้ยงชีพชอบ
                               สัมมาวายามะ          มีความเพียรชอบ
                               สัมมาสติ                มีความระลึกชอบ
                               สัมมาสมาธิ             มีใจตั้งมั่นชอบ

                   มนุษย์เราเกิดมานั้นเมื่อยังเล็ก ต้องพึ่งพ่อ-แม่ให้เลี้ยงดู พอเติมใหญ่ถึงวัยเรียนรู้ ต้องพึ่งครู อาจารย์ และยังต้องให้พ่อ-แม่ พี่ ญาติผูใหญ่ อบรมสั่งสอนให้ประพฤติไปในทางที่ดีงาม แต่แมื่อจบการศึกษาแล้ว ต้องรับผิดชอบตัวเอง  ต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ ต้องแต่งงานมีครอบครัว ต้องดูแลครอบครัว และยังต้องเกี่ยวข้องกับมนุษย์และสัตว์ด้วยกัน  พูดง่ายๆคือทำอย่างไรเราจะอยู่ในสังคมได้ และทำอย่างไรที่สังคมนั้นจะมีแต่ความสงบ สุขได้ ดังนั้น มนุษย์จึงต้องมีศาสนาเป็นหลักในการปฏิบัติ ยึดเหนี่ยวจิตใจในการดำรงค์ชีวิตในสังคม เพราะจิตของมนุษย์นั้น "อยากแท้หยั่งถึง" เต็มไปด้วยความอยาก อยากรู้อยากเห็น อยากได้อยากเอา ไม่ว่าจะใช้วิธีการใดๆทั้งสิ้น ถ้าเราไม่ได้วางแนวทางให้จิตมันคิด เราก็จะอยู่ในสังคมลำบาก คือไม่มีความสุข ก่อทุกข์ต่างๆ ตามมา
                    ดังนั้นเราในฐานะเป็นคนไทย นับถือศาสนาพุทธ ก็ควรจะได้น้อมนำคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะ มรรค ๘ มาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ นำเอามาเป็นหลักในการดำรงชีวิต  เมื่อเราหรือมนุษย์ในสังคมประเทศไทย ปฏิบัติตาม มรรค ๘ เราจะมีแต่ความสุข ไร้ทุกข์ สังคมสงบ ประเทสไทยจะเป็นประเทศที่น่าอยู่มาก

                     สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบ นั้นหมายความว่า เรามีความเห็นชอบ มีแนวทางในการปฏิบัติด้วยตัวของเราเอง ว่าเราจะยึดหลักคำสอนของศาสนาพุทธ ยึดทางสายกลาง กระทำในสิ่งที่ดีงาม ไม่ทำให้มนุษย์และสัตว์เดือดร้อน ในการดำรงชีวิตของเราเพื่อความผาสุขทั้งของเราเอง มนุษย์หมู่สัตว์เพื่อนร่าวมโลก จะอยู่กันด้วยความผาสุข เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ช่วยกัน ปฏิบัติต่อกัน ด้วยความไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ นี่คืแนวทางแห่งความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ) พูดง่ายๆก็คือ ไม่ทำอะไรตามความคิดตัวเองเป็นหลัก เพราะมนุษย์ทุกคนจะคิดเข้าข้างตนเอง เอามาตรฐานของตนเองเป็นหลัก ซึ่งอาจจะทำให้มนุษย์และสัตว์เดือดร้อน ไม่สามารถอยู่ด้วยกันอย่างสันติได้

                     สัมมาสังกัปปะ คือความคิดชอบทางใจ หมายความว่า ความประพฤติทางใจที่ดีเป็นธรรม เราต้องมีใจที่คิดในทางที่เป็นทำ ไม่คิดเอาเปรียบมนุษย์และสัตว์ ไม่อยากได้ของผู้อื่นเมื่อสิ่งนั้นเราไม่ได้หามาโดยสุจริต ไม่คิดอาฆาติมาดร้ายผู้อื่น ไม่คิดพยาบาท ไม่คิดปองร้ายหรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้อน ให้คิดในทางที่ถูกที่ควร ที่มนุษย์ที่ดีพึงกระทำ คือกระทำตรงข้ามในสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น คนที่รับรู้อารมณ์แห่งการให้นั้น จะมีปีติมากกว่าคนที่คิดในทางเป็นผู้รับหรือได้อย่างเดียว อารมณ์นั้นมันต่างกันมาก แต่เราต้องให้ในสิ่งที่เราและครอบครัวไม่ทุกข์หรือเกิดความเดือดร้อน

                     สัมมาวาจา คือเจรจาชอบ นั้นหมายความว่า ความประพฤติทางวาจาที่ดีเป็นธรรม เราต้องพูดจาไพเราะ คนรับสามารถฟังได้โดยไม่เกิดมีอารมณ์ไม่ชอบ คือต้องพูดด พูดได้สาระ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดให้คนเขาทะเราะกัน ไม่พูดทำให้สังคมแตกแยก ไม่พูดยกตนข่มท่าน ไม่พูดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว หรือไม่พูดแล้วทำให้เราได้รับทุกข์ เพราะคำพูดของเรา  คำพูดของคนนั้นสำคัญมากต่อการดำรงค์ชีวิต เพราะคำพุดของเรานั้นมันออกมาจากจิต ออกมาจากใจที่เราคิด จึงต้องพึงระวังอย่างยิ่ง คำพุดสามารถบรรดาลให้ทุกสิ่งเกิดขึ้นได้ ก่อให้เกิดสงคราม หรือก่อให้เกิดความทุกข์มหาศาลได้ ดังนั้นเราพึงสังวรคำพูดของเราไว้ให้ดี เราจะได้ไม่เดือดร้อนเพราะคำพูดของเราครับ

                     สัมมากัมมันตะ คือประพฤติชอบ นั้นหมายความว่ามีการกระทำทางกายทีชอบถูกต้องทางธรรม คือไม่ลักทรัพย์หรือสิ่งของที่ไม่ใช่ของตนหรือหามาได้ด้วยความสุจริต ไม่ไปฉุดภรรยา ลูกสาวเขามาเป็นของตน ไม่ไปพรากสัตว์มาจากธรรมชาติมาใส่กรงขัง ไม่ทำร้ายผู้อื่นหรือกระทำต่อสัตว์ให้ได้รับความเดือดร้อนต่างๆหรือเป็นทุกข์ ไม่ฆ่ามนุษย์หรือสัตว์  พูดง่ายๆ คือไม่กระทำผิด เอาเปรียบ ฆ่า ด้วยกายของเราต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ นั่นเอง ถ้าเราไม่กระทำ เราจะได้รับแต่ความสุข ความสงบ

                     สัมมาอาชีวะ คือหาเลี้ยงชีพชอบ หมายความว่า ทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องรู้จักทำมาหากิน หาอาชีพให้ตัวเอง ในทางที่ได้ทรัพย์นั้นมาด้วยการกระทำของตัวเอง โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นทั้งสิ้น  ถ้าเขาจะให้ก็เขาให้ด้วยความตั้งใจและเขาไม่เดือดร้อนได้รับทุกข์ เช่น การถวายอาหารแด่พระสงฆ์ หรือการบริจาคทาน ผู้ให้ต้องให้ด้วยความเคารพผู้รับ ไม่ดูถูกเหยียดหยาม หรือให้เพราะเสียไม่ได้ ให้พ้นๆตัวไปหมายความว่าผู้รับก็สุข ผู้ให้ก็สุข  ในการประกอบอาชีพนั้นเราต้องมีจรรยาบรรณ คือไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างได้ เราเอากำไรพอควร ไม่เอาเปรียบ คิดกำไรเกินควรผู้คนเดือดร้อน การไม่เอาเปรียบนั้นให้รวมไม่เอาเปรียบต่อเพื่อนมนุษย์  สัตว์ และสภาพสิ่งแวดล้อม ทำได้ดังนี้ สังคมจะอยู่ได้  ไม่สร้างความเดือดร้อนให้สังคม คนที่ปฏิบัติได้ตามนี้จะมีอาชีพที่เป็นสุข แต่คนที่กระทำตรงข้ามจะมีอาชีพที่เป็นทุกข์
                      
                     สัมมาวายามะ คือความเพียรชอบ หมายความว่าในการที่จะทำให้สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ประพสความสำเร็จได้นั้น เราต้องมีศรัทธาความเชื่อมั่นว่าเราสามารถกระทำได้ ต้องมีความอดทน ต้องทำด้วยความพยายาม และต้องทำด้วยความสม่ำเสมอ จนติดเป็นนิสัย แต่ปัจจุบันชาวพุทธเราไม่ปฏิบัติตามนั้น ทุกคนชอบเห็นผลสำเร็จเร็ว ชอบอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธ์ให้บันดาลให้ ไปกราบไหว้พระขอให้พระท่านประทานให้ แต่ไม่อยากกระทำด้วยความเพียรของตนเลย ซึ่งเป็นการเห็นผิดเป็นชอบ ชาวพุทธเราควรกระทำด้วยตนเอง การอ้อนวอนนั้นไม่สมควรกระทำอย่างยิ่ง เป็นทางที่ผิด ไม่ควรส่งเสริมด้วยซ้ำ เช่นนับถือเครื่องลางของขลัง เพราะถ้าท่านประทานให้ได้ ท่านจะเอาอะไรประทานให้เพราะมนุษย์ชอบขอ  ชอบอ้อนวอนทั้งนั้น

                       สัมมาสติ คือมีความระลึกชอบ หมายความว่า ให้เรามีความระลึกในสิ่งกำลังกระทำอยู่ ณ ปัจจุบัน ได้แก่ระลึกได้ในสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และสัมมาวายามะ เมื่อเราระลึกได้ในสิ่งที่เรากำลังกระทำ จิตเรามีที่อยู่ เมื่อจิตมีที่อยู่ จิตจะไม่คิด เมื่อจิตไม่คิด ก็ไม่มีทุกข์ พูดง่ายเข้าไปอีกคือ เราต้องระลึกได้ว่า ณ เวลานั้นๆ เรากำลังทำอะไร ถ้าระลึกได้ จิตจะว่างเปล่า เป็นประภัสสร นี่คือสิ่งที่เราต้องการ คือจิตเรากลับไปสู่จิตเดิมแท้ที่ตอนเกิดเป็นทารกแรกเริ่มนั้นจิตเป็นประภัสสร

                       สัมมาสมาธิ  คือมีใจตั้งมั่นชอบ หมายความว่าเมื่อเรามีสติในการทำสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และสัมมาวายามะ แล้ว ให้กระทำด้วยใจตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว ต่อเนื่อง สมาธิจะเกิดขึ้นเอง ผลสำเร็จต่างๆก็จะตามมาเองเป็นธรรมชาติ เราก็สามารถดำรงค์ชีวิตได้อย่างมีความสุข สังคม ประเทศชาติสงบ

                       ดังนั้นเราทุกคนควรจะนำ มรรค ๘ นี้มาใช้ปฏิบัติในการดำรงค์ชีวิตของเราจนกว่าจะตายจากไป ครับ
                       ผมขออธิบายย่อๆ แบบนี้ละครับ ลองตรองดูด้วยปัญญานะครับ ว่าจริงหรือไม่
                       สวัสดี(28747)






      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #2356 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2554, 08:42:52 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 24 มิถุนายน 2554, 04:54:12
อรุณสวัสดิ์ค่ะ คุณน้องตู่ ที่รัก
                  พี่สิงห์ไปกับ group ไหนก็ได้ครับ แล้วแต่เธอกับหลิวตกลงกัน อย่าลืมชวน ดร.กุศล  ด้วย(เพราะต่างคน ต่างรู้หน้าที่ ที่จะไม่ทำความลำบากใจแก่กันและกัน ต่างคนต่างอยู่ ก็สุขใจ)
                  ขอบคุณและสวัสดี

...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์...

...ตู่ได้พีเอ็มไปชวน ดร.กุศล แล้วนะคะ...แต่ยังไม่ได้คำตอบค่ะ...

...คิดว่าทางที่ดีพี่สิงห์ชวนเอง...จะดีกว่าค่ะ...เพราะว่าเข้าใจกันมากกว่าค่ะ...

...ส่วนหลิวนั้น...ยังไม่พอใจเรื่องราคาค่ะ...แต่ที่หมอประสิทธิ์คุยกับทางทัวร์...

...คือได้นัดทางทัวร์มาคุยกันที่โรงพยาบาลแล้วค่ะ...เมื่อวันพุธที่ผ่านมา...

...เพราะสมาชิกบางคนยังไม่เข้าใจ...ทัวร์ก็ได้วาดแผนที่คร่าวๆว่าเป็นการเดินทางแบบวงกลม...

...คือเราจะไม่ผ่านกลับมาจุดเดิม...และทัวร์ก็จะไม่พาหรือผ่านไปตรงจุดที่มีอันตรายค่ะ...

...ส่วนการเดินทางบางวันที่ไม่แวะเที่ยวอะไรเลย...อย่างโปรแกรมวันแรก...

...ทัวร์บอกว่าที่จริงมีจุดที่แวะเที่ยวได้...ก็จะแวะให้ค่ะ...เช่น...ผ่านวัดเป้าเอิน...

...ก็สามารถแวะเที่ยวได้...แต่ทัวร์ไม่ได้ลงรายละเอียดไว้...

...ทัวร์บอกว่าเค้าจะปรับโปรแกรมทัวร์อีกที...แล้วจะส่งอันใหม่มาให้ค่ะ...

...และทุกจุดที่เราแวะทานอาหารและเข้าห้องน้ำ...ก็จะมีร้านค้าให้ช็อปปิ้งทุกจุดค่ะ...

...และถ้ามีสมาชิกไปกันเยอะกว่านี้...เค้าจะลดค่าทัวร์ลงอีกค่ะ...แต่ตู่คิดว่าคงไม่มาก...

...ตู่ขอใส่ชื่อพี่สิงห์ลงในกรุ๊ปของหมอเลยนะคะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #2357 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2554, 09:37:08 »

...ยังไม่ได้บทสรุปว่าจะมีสมาชิกทั้งหมดกี่คน...

...ขอลงชื่อคนที่ไปแน่นอนแล้วค่ะ...

   1.  หมอประสิทธิ์ (ซีมะโด่ง 12)

   2.  ต้น

   3.  ตู่ (ซีมะโด่ง 14)

   4.  โซ้ยโก

   5.  หมอบุ๋ม (ซีมะโด่ง 40)

   6.  ต๊อก  (พยาบาล)

   7.  พี่ไพ  (พยาบาล)

   8.  พี่นี    (พยาบาล)

   9.  พี่ชลลดา  (ครุ 12)

  10. น้องนิด  (ทันตะ 40)...(ลูกสาวพี่ชลลดา)

  11. คุณกุหลาบ...(เพื่อนโซ้ยโก)

  12. ลูกชายคุณกุหลาบ

  13. คุณยุทธนาวี...สำนักงาน สสจ.ชลบุรี

  14. ภรรยาคุณยุทธ

  15. คุณสังข์...เภสัชกร ร.พ.

  16. ภรรยาคุณสังข์

  17. พี่สิงห์ (ซีมะโด่ง 13)

...ยังรอรูมเมทพี่สิงห์...และรอกรุ๊ฟของหลิวอยู่ค่ะ...

      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2358 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2554, 13:08:09 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 24 มิถุนายน 2554, 05:56:35
วันนี้วัน "พระ" อย่าลืมทำจิตให้ผ่องใสน้อมนำคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาปฏิบัติในการดำรงค์ชีวิต
ด้วยการรักษากาย วาจา ใจ ให้ถึงพร้อม บริสุทธิ์  ผ่องใส

เกล็ดน่ารู้เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม

สติ คือ ความระลึกได้ หรือการระลึกได้ ท่านต้องระลึกได้ ณ ปัจจุบันว่าท่านกำลังกระทำอะไรอยู่ ณขณะนั้น อย่างผมกำลังสร้างจังหวะในการเคลื่อนไหวด้วยมือ ๑๔ จังหวะ จิตจะระลึกได้ว่ามือจะต้องเคลื่อนไหวไปตามจังหวะ ไปหยุดที่จังหวะนั้นๆ สิ่งที่เกิดขึ้นกับจิต คือ จิตจะไม่คิด เพราะมันระลึกได้ในสิ่งที่มือกำลังกระทำ ธรรมชาติของจิต คิดสองอย่างพร้อมกันไม่ได้ เมื่อมันระลึกได้ในแต่ละจังหวะไปแล้ว มันก็ไม่คิด การไม่คิดนอกการกระทำนี่ละคือ สติปัฏฐาน ที่ต้องการ มันระลึกได้ติดต่อกันนานๆ มันก็คือ สมาธิ คือความตั้งใจมั่น ง่ายๆแบบนี้ละการปฏิบัติธรรม ทำบ่อยๆ จิตมันจะคลาย หรือยอมแพ้ไปเอง จิตมันจะไม่คิด จนเป็นความเคยชินไป เราจะได้ไม่เป็นทาสของมันคือหลงอยู่ในความคิดตัวเอง เราจะเห็นความคิดของจิต เมื่อเห็นความคิดนั้นเราจะมีเวลาถึงแม้จริงๆจะเร็วมากความคิด แต่เราจะมีเวลาศึกษามูลเหตุแห่งความคิดนั้น และใช้ปัญญาของเราได้ว่าจะกระทำตามความคิดนั้นหรือไม่ด้วยสติที่เป็นธรรม ครับ

รู้ธรรมวันละนิด  จิตผ่องใส
ตอนที่ ๒๐
การดำรงชีวิตด้วย มรรค ๘

                  มรรค  คือ วิธีปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางในการดำรงค์ชีวิต และเป็นทางพ้นทุกข์  มี ๘ ประการ คือ

                               สัมมาทิฏฐิ              มีความเห็นชอบ(แนวทาง)
                               สัมมาสังกัปปะ         มีความคิดชอบ(ทางใจ)
                               สัมมาวาจา              เจรจาชอบ(ทางวาจา)
                               สัมมากัมมันตะ         ประพฤติชอบ(ทางกาย)
                               สัมมาอาชีวะ            หาเลี้ยงชีพชอบ
                               สัมมาวายามะ          มีความเพียรชอบ
                               สัมมาสติ                มีความระลึกชอบ
                               สัมมาสมาธิ             มีใจตั้งมั่นชอบ

                   มนุษย์เราเกิดมานั้นเมื่อยังเล็ก ต้องพึ่งพ่อ-แม่ให้เลี้ยงดู พอเติมใหญ่ถึงวัยเรียนรู้ ต้องพึ่งครู อาจารย์ และยังต้องให้พ่อ-แม่ พี่ ญาติผูใหญ่ อบรมสั่งสอนให้ประพฤติไปในทางที่ดีงาม แต่แมื่อจบการศึกษาแล้ว ต้องรับผิดชอบตัวเอง  ต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ ต้องแต่งงานมีครอบครัว ต้องดูแลครอบครัว และยังต้องเกี่ยวข้องกับมนุษย์และสัตว์ด้วยกัน  พูดง่ายๆคือทำอย่างไรเราจะอยู่ในสังคมได้ และทำอย่างไรที่สังคมนั้นจะมีแต่ความสงบ สุขได้ ดังนั้น มนุษย์จึงต้องมีศาสนาเป็นหลักในการปฏิบัติ ยึดเหนี่ยวจิตใจในการดำรงค์ชีวิตในสังคม เพราะจิตของมนุษย์นั้น "อยากแท้หยั่งถึง" เต็มไปด้วยความอยาก อยากรู้อยากเห็น อยากได้อยากเอา ไม่ว่าจะใช้วิธีการใดๆทั้งสิ้น ถ้าเราไม่ได้วางแนวทางให้จิตมันคิด เราก็จะอยู่ในสังคมลำบาก คือไม่มีความสุข ก่อทุกข์ต่างๆ ตามมา
                    ดังนั้นเราในฐานะเป็นคนไทย นับถือศาสนาพุทธ ก็ควรจะได้น้อมนำคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะ มรรค ๘ มาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ นำเอามาเป็นหลักในการดำรงชีวิต  เมื่อเราหรือมนุษย์ในสังคมประเทศไทย ปฏิบัติตาม มรรค ๘ เราจะมีแต่ความสุข ไร้ทุกข์ สังคมสงบ ประเทสไทยจะเป็นประเทศที่น่าอยู่มาก

                     สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบ นั้นหมายความว่า เรามีความเห็นชอบ มีแนวทางในการปฏิบัติด้วยตัวของเราเอง ว่าเราจะยึดหลักคำสอนของศาสนาพุทธ ยึดทางสายกลาง กระทำในสิ่งที่ดีงาม ไม่ทำให้มนุษย์และสัตว์เดือดร้อน ในการดำรงชีวิตของเราเพื่อความผาสุขทั้งของเราเอง มนุษย์หมู่สัตว์เพื่อนร่าวมโลก จะอยู่กันด้วยความผาสุข เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ช่วยกัน ปฏิบัติต่อกัน ด้วยความไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ นี่คืแนวทางแห่งความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ) พูดง่ายๆก็คือ ไม่ทำอะไรตามความคิดตัวเองเป็นหลัก เพราะมนุษย์ทุกคนจะคิดเข้าข้างตนเอง เอามาตรฐานของตนเองเป็นหลัก ซึ่งอาจจะทำให้มนุษย์และสัตว์เดือดร้อน ไม่สามารถอยู่ด้วยกันอย่างสันติได้

                     สัมมาสังกัปปะ คือความคิดชอบทางใจ หมายความว่า ความประพฤติทางใจที่ดีเป็นธรรม เราต้องมีใจที่คิดในทางที่เป็นทำ ไม่คิดเอาเปรียบมนุษย์และสัตว์ ไม่อยากได้ของผู้อื่นเมื่อสิ่งนั้นเราไม่ได้หามาโดยสุจริต ไม่คิดอาฆาติมาดร้ายผู้อื่น ไม่คิดพยาบาท ไม่คิดปองร้ายหรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้อน ให้คิดในทางที่ถูกที่ควร ที่มนุษย์ที่ดีพึงกระทำ คือกระทำตรงข้ามในสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น คนที่รับรู้อารมณ์แห่งการให้นั้น จะมีปีติมากกว่าคนที่คิดในทางเป็นผู้รับหรือได้อย่างเดียว อารมณ์นั้นมันต่างกันมาก แต่เราต้องให้ในสิ่งที่เราและครอบครัวไม่ทุกข์หรือเกิดความเดือดร้อน

                     สัมมาวาจา คือเจรจาชอบ นั้นหมายความว่า ความประพฤติทางวาจาที่ดีเป็นธรรม เราต้องพูดจาไพเราะ คนรับสามารถฟังได้โดยไม่เกิดมีอารมณ์ไม่ชอบ คือต้องพูดด พูดได้สาระ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดให้คนเขาทะเราะกัน ไม่พูดทำให้สังคมแตกแยก ไม่พูดยกตนข่มท่าน ไม่พูดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว หรือไม่พูดแล้วทำให้เราได้รับทุกข์ เพราะคำพูดของเรา  คำพูดของคนนั้นสำคัญมากต่อการดำรงค์ชีวิต เพราะคำพุดของเรานั้นมันออกมาจากจิต ออกมาจากใจที่เราคิด จึงต้องพึงระวังอย่างยิ่ง คำพุดสามารถบรรดาลให้ทุกสิ่งเกิดขึ้นได้ ก่อให้เกิดสงคราม หรือก่อให้เกิดความทุกข์มหาศาลได้ ดังนั้นเราพึงสังวรคำพูดของเราไว้ให้ดี เราจะได้ไม่เดือดร้อนเพราะคำพูดของเราครับ

                     สัมมากัมมันตะ คือประพฤติชอบ นั้นหมายความว่ามีการกระทำทางกายทีชอบถูกต้องทางธรรม คือไม่ลักทรัพย์หรือสิ่งของที่ไม่ใช่ของตนหรือหามาได้ด้วยความสุจริต ไม่ไปฉุดภรรยา ลูกสาวเขามาเป็นของตน ไม่ไปพรากสัตว์มาจากธรรมชาติมาใส่กรงขัง ไม่ทำร้ายผู้อื่นหรือกระทำต่อสัตว์ให้ได้รับความเดือดร้อนต่างๆหรือเป็นทุกข์ ไม่ฆ่ามนุษย์หรือสัตว์  พูดง่ายๆ คือไม่กระทำผิด เอาเปรียบ ฆ่า ด้วยกายของเราต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ นั่นเอง ถ้าเราไม่กระทำ เราจะได้รับแต่ความสุข ความสงบ

                     สัมมาอาชีวะ คือหาเลี้ยงชีพชอบ หมายความว่า ทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องรู้จักทำมาหากิน หาอาชีพให้ตัวเอง ในทางที่ได้ทรัพย์นั้นมาด้วยการกระทำของตัวเอง โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นทั้งสิ้น  ถ้าเขาจะให้ก็เขาให้ด้วยความตั้งใจและเขาไม่เดือดร้อนได้รับทุกข์ เช่น การถวายอาหารแด่พระสงฆ์ หรือการบริจาคทาน ผู้ให้ต้องให้ด้วยความเคารพผู้รับ ไม่ดูถูกเหยียดหยาม หรือให้เพราะเสียไม่ได้ ให้พ้นๆตัวไปหมายความว่าผู้รับก็สุข ผู้ให้ก็สุข  ในการประกอบอาชีพนั้นเราต้องมีจรรยาบรรณ คือไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างได้ เราเอากำไรพอควร ไม่เอาเปรียบ คิดกำไรเกินควรผู้คนเดือดร้อน การไม่เอาเปรียบนั้นให้รวมไม่เอาเปรียบต่อเพื่อนมนุษย์  สัตว์ และสภาพสิ่งแวดล้อม ทำได้ดังนี้ สังคมจะอยู่ได้  ไม่สร้างความเดือดร้อนให้สังคม คนที่ปฏิบัติได้ตามนี้จะมีอาชีพที่เป็นสุข แต่คนที่กระทำตรงข้ามจะมีอาชีพที่เป็นทุกข์
                      
                     สัมมาวายามะ คือความเพียรชอบ หมายความว่าในการที่จะทำให้สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ประพสความสำเร็จได้นั้น เราต้องมีศรัทธาความเชื่อมั่นว่าเราสามารถกระทำได้ ต้องมีความอดทน ต้องทำด้วยความพยายาม และต้องทำด้วยความสม่ำเสมอ จนติดเป็นนิสัย แต่ปัจจุบันชาวพุทธเราไม่ปฏิบัติตามนั้น ทุกคนชอบเห็นผลสำเร็จเร็ว ชอบอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธ์ให้บันดาลให้ ไปกราบไหว้พระขอให้พระท่านประทานให้ แต่ไม่อยากกระทำด้วยความเพียรของตนเลย ซึ่งเป็นการเห็นผิดเป็นชอบ ชาวพุทธเราควรกระทำด้วยตนเอง การอ้อนวอนนั้นไม่สมควรกระทำอย่างยิ่ง เป็นทางที่ผิด ไม่ควรส่งเสริมด้วยซ้ำ เช่นนับถือเครื่องลางของขลัง เพราะถ้าท่านประทานให้ได้ ท่านจะเอาอะไรประทานให้เพราะมนุษย์ชอบขอ  ชอบอ้อนวอนทั้งนั้น

                       สัมมาสติ คือมีความระลึกชอบ หมายความว่า ให้เรามีความระลึกในสิ่งกำลังกระทำอยู่ ณ ปัจจุบัน ได้แก่ระลึกได้ในสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และสัมมาวายามะ เมื่อเราระลึกได้ในสิ่งที่เรากำลังกระทำ จิตเรามีที่อยู่ เมื่อจิตมีที่อยู่ จิตจะไม่คิด เมื่อจิตไม่คิด ก็ไม่มีทุกข์ พูดง่ายเข้าไปอีกคือ เราต้องระลึกได้ว่า ณ เวลานั้นๆ เรากำลังทำอะไร ถ้าระลึกได้ จิตจะว่างเปล่า เป็นประภัสสร นี่คือสิ่งที่เราต้องการ คือจิตเรากลับไปสู่จิตเดิมแท้ที่ตอนเกิดเป็นทารกแรกเริ่มนั้นจิตเป็นประภัสสร

                       สัมมาสมาธิ  คือมีใจตั้งมั่นชอบ หมายความว่าเมื่อเรามีสติในการทำสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และสัมมาวายามะ แล้ว ให้กระทำด้วยใจตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว ต่อเนื่อง สมาธิจะเกิดขึ้นเอง ผลสำเร็จต่างๆก็จะตามมาเองเป็นธรรมชาติ เราก็สามารถดำรงค์ชีวิตได้อย่างมีความสุข สังคม ประเทศชาติสงบ

                       ดังนั้นเราทุกคนควรจะนำ มรรค ๘ นี้มาใช้ปฏิบัติในการดำรงค์ชีวิตของเราจนกว่าจะตายจากไป ครับ
                       ผมขออธิบายย่อๆ แบบนี้ละครับ ลองตรองดูด้วยปัญญานะครับ ว่าจริงหรือไม่
                       สวัสดี(28747)






วันนี้พี่สิงห์ ถือ"ศีล ๘" ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2359 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2554, 19:38:19 »








สวัสดีครับ คุณน้องสมชาย ๑๗
                         พี่สิงห์ ถ่ายรูปสนามกอล์ฟสันติบุรีเชียงรายมาฝาก เพื่อให้รำลึกถึงความหลังเมื่อครั้งแข่งเบียร์สิงห์ชิงแช้มป์ประจำปี พี่สิงห์ได้แช้มป์สนามนี้เป็นถ้วยสุดท้ายหลังจากนั้นก็สอบโปร.ได้
                         มาครั้งนี้พี่สิงห์ เล่นกับคุณมงคลชัย และหลานวิทย์  ซึ่งหลานวิทย์ตีไกลมาก 300 หลา แต่พี่สิงหืไม่กลัว รอบแรกพี่สิงห์ได้สองเบอร์ดี้ แต่มีสามโบกี้ ออก ๓๗ รอบหลังมีหนึ่งเบอร์ดี้แต่สี่โบกี้ ออก ๓๙ รวมสกอร์ ๗๖ ไม่เลวสำหรับคนแก่อายุ ๖๐ ปี เล่นหมุดน้ำเงินครับ
                         ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
nok15
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 529

« ตอบ #2360 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2554, 21:35:34 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 24 มิถุนายน 2554, 19:38:19







สวัสดีครับ คุณน้องสมชาย ๑๗
                         พี่สิงห์ ถ่ายรูปสนามกอล์ฟสันติบุรีเชียงรายมาฝาก เพื่อให้รำลึกถึงความหลังเมื่อครั้งแข่งเบียร์สิงห์ชิงแช้มป์ประจำปี พี่สิงห์ได้แช้มป์สนามนี้เป็นถ้วยสุดท้ายหลังจากนั้นก็สอบโปร.ได้
                         มาครั้งนี้พี่สิงห์ เล่นกับคุณมงคลชัย และหลานวิทย์  ซึ่งหลานวิทย์ตีไกลมาก 300 หลา แต่พี่สิงหืไม่กลัว รอบแรกพี่สิงห์ได้สองเบอร์ดี้ แต่มีสามโบกี้ ออก ๓๗ รอบหลังมีหนึ่งเบอร์ดี้แต่สี่โบกี้ ออก ๓๙ รวมสกอร์ ๗๖ ไม่เลวสำหรับคนแก่อายุ ๖๐ ปี เล่นหมุดน้ำเงินครับ
                         ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
     

                 สวัสดียามดึกค่ะพี่สิงห์
                         ชุดเล่นกอล์ฟของพี่สิงห์จ๊าบสุดๆ
                                        nok15
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2361 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2554, 04:57:10 »

อรุณสวัสดิ์ค่ะ คุณ Nok15 ที่รัก
                        พี่สิงห์ ขอบคุณมากที่เธอเข้ามาทักทาย พูดคุยกัน พี่สิงห์ยังนึกใบหน้าเธอไม่ออกเลย ครุศาสตร์รุ่น 15 เท่าที่จำได้ ณ ขณะนี้จริงๆ ก็ศศิวิมล(จุ๋ม)  จิราพร(จิ๋ม) รู้สึกว่าจะสองคนนี้เท่านั้น เพราะเคยทำกิจกรรมร่วมกับพี่สิงห์ คนแรกเป็นกรรมการหอด้วยกัน คนที่สองเล่นรำกลองยาวด้วยกันและโดนระเบิดไล่ข้างหอ ๑๔ ชั้น ตอนซ้อมไปเล่นทีวี วัน ๒๓ ตุลาคม ลืมไปพี่สิงห์นึกได้อีกคนหนึ่งคือ ดร.แอนน์ คู่กับคุณน้องเกี้ย ครับ
                        จำได้เพียงแค่นี้ครับ พี่สิงห์พยายามลืมอดีตที่ผ่านมา ให้เหลือไว้แต่ความทรงจำดีๆ
                        ขอบคุณและสวัสดีค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2362 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2554, 05:14:01 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
                       เช้านี้พี่สิงห์ขอนำปฐกถาธรรมของหลวงปู่ชา  วัดหนองป่าพงษ์ มาให้ทุกท่านได้ศึกษาครับ ลองพิจารณาดูนะครับ
                       พี่สิงห์ขอตัวไปนั่งเจริญสติก่อนครับ
                       สวัสดี


ตามดูจิต

(หลวงปู่ชา)


                      บัดนี้ เป็นโอกาสที่พวกเราทั้งหลายจะได้มีการอบรมธรรมปฏิบัติกัน พระบรมศาสดาท่านกล่าวถึงการปฏิบัติไว้ว่า บุคคลที่ยังไม่ได้รับการอบรมปฏิบัติก็จะไม่เข้าใจในธรรมไม่เข้าใจในธรรมชาติที่มันเป็นอยู่ หรือในสัญชาตญาณที่คู่กับเราแต่เกิด ธรรมชาติอันนี้หรือสัญชาติญาณอันนี้มันเกี่ยวข้องกันกับชัวิตของเราตลอดเวลา เราจะเรียกว่าของที่มันเป็นอยู่ก็ได้ เรียกว่าสัญชาติญาณก็ได้ มันมีความเฉลียวฉลาดอยู่ในนั้น ซึ่งช่วยป้องกันรักษาตัวมันเองมาตลอด สัตว์ทุกจำพวกเมื่อเกิดมันต้องรักษามันแหละ การรักษาตัว ปกป้องชีวิต ป้องกันอันตรายทั้งหลาย แสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิต นี้เหมือนกันหมด เช่น สัตว์เดรัจฉาน มันก็กลัวอันตราย แสวงหาความสุข เหมือนกันกับสัญชาตญาณมนุษย์เรา อันนี้ท่านเรียกว่าเป็นธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ จะมารักษาตัวมันตลอดเวลา ธรรมชาตินั่นเอง ธรรมชาติเรื่องกายหรือเรื่องจิตใจ
เราจะต้องมารับการอบรมใหม่ เปลี่ยนใหม่
                       ถ้าหากว่าเรายังไม่ได้รับการอบรมบ่มนิสัย ก็คือยังเป็นของที่ไม่สะอาด ยังเป็นของที่สกปรก เป็นจิตใจที่เศร้าหมองเหมือนกันกับต้นไม้ในป่า ซึ่งมันเกิดมามันก็เป็นธรรมชาติ ถ้าหากว่ามนุษย์เราต้องการจะเอามาทำประโยชน์ดีกว่านั้น ก็ต้องมาดัดแปลง สะสาง ธรรมชาติอันนี้ให้เป็นของที่ใช้ได้ เช่นโต๊ะนี้ หรือบ้านเรือนของเรานั้น เกิดจากเราสามารถเอาธรรมชาติมาทำเป็นที่อยู่อาศัย เปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติอันนั้นมา มนุษยชาตินี้ก็เหมือนกัน ต้องมาปรับเปลี่ยนใหม่ ในทางพุทธศาสนานี้เรียกว่า พุทธศาสตร์
                       พุทธศาสตร์ คือความรู้ทางพุทธศาสนา สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของพวกเราทั้งหลาย ซึ่งมันติดแน่นอยู่ในอันใดอันหนึ่ง เช่น เราเกิดมามีชื่อเสียงเรียงนามมาตั้งแต่วันเกิด เช่นว่า เรียกว่าตน ตัวเรา ของเรา นี้สมมุติกันขึ้นมาว่าร่างกายของเรา จิตใจของเรา ซึ่งสมมุติชื่อขึ้นมาจากธรรมชาตินั่นเอง พวกเราทั้งหลายก็ติดแน่นอยู่ในตัวเรา หรือในของของเรา เป็นอุปาทานโดยที่ไม่รู้เนื้อรู้ตัว เป็นอย่างนี้ในทางพุทธศาสนานั้นท่านสอนให้รู้ยิ่งเข้าไปกว่านั้นอีก ทำจิตใจให้สงบให้รู้ยิ่งเข้าไป ยิ่งกว่าธรรมชาติที่มันเป็นอยู่ จนเป็นเหตุให้ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตนอันนี้ พูดตามชาวโลกเราว่าตัวว่าตน ว่าเราว่าเขา ทางพุทธศาสนานั้นท่านเรียกว่า ตัวตนเราเขาไม่มี นี่คือมันแย้งกัน มันแย้งกันอยู่อย่างนี้ ตัวเราหรือของเราซึ่งพวกเราเข้าใจกันตั้งแต่เราเกิดมาจนรู้เดียงสา จนเกิดเป็นอุปาทานมาตลอดจนทุกวันนี้ อันนี้ก็เป็นเครื่องปกปิดธรรมอันแท้จริง อันพวกเราทั้งหลายไม่รู้เนื้อรู้ตัว ฉะนั้นในทางพุทธศาสนาท่านจึงให้มาอบรม
                       การอบรมในทางพุทธศาสนานั้น เบื้องแรกท่านว่าให้เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ตามบัญญัติท่านเรียกว่าให้พากันรักษา ศีล เป็นเบื้องแรกเสียก่อน นี่ข้อประพฤติปฏิบัติจนเป็นเหตุไม่ให้เกิดโทษ ไม่ให้เกิดทุกข์ทางกายและทางวาจาของเรา อย่างที่เราทั้งหลายอบรมกันอยู่ ให้อายและกลัว ทั้งอายทั้งกลัว อายต่อความชั่วทั้งหลาย อายต่อความผิดทั้งหลาย อายต่อการกระทำบาปทั้งหลาย รักษาตัวกลัวบาป เมื่อจิตใจของเราพ้นจากความชั่วทั้งหลาย พ้นจากความผิดทั้งหลาย ใจเราก็เยือกเย็น ใจเราก็สบาย ความสบายหรือความสงบอันเกิดจากการประพฤติปฏิบัติซึ่งไม่มีโทษนั่นก็เป็น สมาธิ ขั้นหนึ่ง

                      ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสว่า สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทธานสาสนํ ท่านว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนา
                      สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำบาปทางกาย ทางวาจา คือ การไม่ทำผิดทำชั่ว ทางกายทางวาจา อันนี้เป็นตัวศาสนา เป็นพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หรือ เอตํ พุทธานสาสนํ
                      กุสลสฺสูปสมฺปทา เมื่อมาทำจิตของตนให้สงบ ระงับจากบาปแล้ว ก็เป็นจิตที่มีกุศลเกิดขึ้นมา เอตํ พุทธานสาสนํ อันนี้เป็นคำสอนของท่านหรือเป็นหัวใจของพุทธศาสนาเหมือนกัน
                      สจิตฺตปริโยทปนํ การมาทำจิตใจของตนให้ผ่องใสขาวสะอาด เอตํ พุทธานสาสนํ อันนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือเป็นหัวใจของพุทธศาสนาอีกประการหนึ่ง
                      ทั้งสามประการนี้เป็นหัวใจของพุทธศาสนา ก็ประพฤติปฏิบัติอันนี้ ซึ่งมันมีอยู่ในตัวเราแล้ว กายก็มีอยู่ วาจาก็มีอยู่ จิตใจก็มีอยู่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านจึงให้ปฏิบัติ ให้พิจารณาตัวในตัว ในของตัว ซึ่งมันมีอยู่ ของทั้งหมดที่เราศึกษาเราเรียนกันนั้น มันจะมารู้ความเป็นจริงที่ตัวของเรา ไม่ไปรู้อยู่ที่อื่น
                      เบื้องแรกก็รู้จากการได้ฟังที่เรียกว่า สุตมยปัญญา การได้ฟัง การได้ยินอันนี้ก็เป็นเหตุให้รู้ เป็นเหตุให้เกิดปัญญาเช่นว่า สมมติว่าวันนี้เราเพิ่งได้ยินว่าสีขาว แต่ก่อนนี้เราไม่เคยได้ยิน ที่นี้เมื่อเรารู้ว่าสีขาวมันเป็นเช่นนี้ เราก็คิดไปอีก สีอื่นจะไม่มีหรือ หรือสีขาวจะแปรเป็นสีอื่นจะได้หรือไม่ เป็นต้นนี่เรียกว่า จินตามยปัญญา หรือว่าเราคิดไป ก็ไปคิดลองดูเอาสีดำมาปนในสีขาว มันก็เกิดเป็นสีอื่นขึ้นมาอีก เป็นสีเทาอย่างนี้เป็นต้น การที่เราจะได้รู้จักสีเทาต่อไปนั้น ก็เพราะว่าเรา คิด ปัญญาเกิดจากการคิด การวิพากษ์วิจารณ์ เราเลยรู้สูงขึ้นไปกว่าสีขาว รู้สีเทาเพิ่มขึ้นไปอีก ปัญญาเกิดจากสิ่งทั้งสองนี้
                       นี้เป็นปัญญาที่เป็นโลกียวิสัย ซึ่งชาวโลกพากันเรียนอยู่ทั้งเมืองไทย จะไปเรียนนอกมาก็ตาม มันก็คงอยู่ในสุตมยปัญญา จินตามยปัญญาเท่านั้น อันนี้เป็นโลกียวิสัย พ้นทุกข์ไม่ได้ พ้นทุกข์ได้ยาก หรือพ้นไม่ได้เลยทีเดียว เพราะเมื่อรู้สีขาว สีเทาแล้ว ก็ไปยึดมั่น(อุปาทาน) ในสีขาว สีเทาอันนั้น แล้วจะปล่อยวางไม่ได้ เช่นว่า เราเกิดอารมณ์ขึ้นมา ได้ยินเขาว่าเราไม่ดี เรียกว่านินทา อดเสียใจไม่ได้ อดน้อยใจไม่ได้ เข้าไปยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน) ในอารมณ์อันนั้น เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ขึ้นมาเพราะ อุปาทาน นี้เรียกว่าการรู้หรือการเห็นจากการได้ฟัง มันจะพ้นทุกข์ไม่ได้ หรือว่าเขาสรรเสริญเรา มันอดดีใจไม่ได้ แล้วก็เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในความดีนั้นอีก ไม่ได้ตามปรารถนาแล้วก็ทุกข์อีก สุขแล้วก็ทุกข์ ทุกข์แล้วก็สุข ดีแล้วก็ชั่ว ชั่วแล้วก็ดี เป็นตัววัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนแปรไปไม่จบ อันนี้เป็นโลกียวิสัย เช่นที่ปรากฏอยู่ในโลกทุกวันนี้เราเคยรู้เคยเห็น จะเรียนไปถึงที่สุดอะไรที่ไหนก็ตาม มันก็ยังทุกข์ เอาทุกข์ออกจากตัวไม่ได้นั่นเป็นปัญญาโลกีย์ ละทุกข์ไม่ได้ ไม่พ้นจากทุกข์ ความร่ำรวยเศรษฐีหรือมหาเศรษฐีที่อยู่ในโลกนี้มันก็ไม่พ้นจากความทุกข์ เพราะมันเป็นโลกียวิสัย ปัญญาทั้งสองประการนี้ท่านยกให้โลก ปกครองกันอยู่ในโลก วุ่ยวายกันอยู่ในโลก ไม่มีทางจบ ถึงแม้จะจนมันก็ทุกข์ ถึงแม้จะรวยแล้วมันก็ยังทุกข์อยู่อีก ไม่พ้นไปจากทุกข์

                       ปัญญาโลกุตตระที่จะเกิดขึ้นมาต่อไป เป็นความรู้ของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นโลกุตตระ พ้นจากทุกข์ พ้นจากวัฏฏสงสาร อันนี้ท่านพูดถึงการอบรมจิตใจ (ภาวนา) ไม่ต้องอาศัยการฟัง ไม่ต้องอาศัยการคิด ถึงฟังมาแล้วก็ดี ถึงคิดมาแล้วก็ดี เมื่อภาวนาทิ้งมัน ทิ้งการฟังไว้ ทิ้งการคิดเสียเก็บไว้ในตู้ แต่มาทำจิต (ภาวนา) อย่างที่พวกเรามาฝึกกันอยู่ทุกวันนี้ หรือเรียกว่าทำกรรมฐาน ที่โบราณาจารย์ทั้งหลายท่านแยกประเภทส่วนแห่งการกระทำ แยกข้อประพฤติ ปฏิบัติ เรียกว่า สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน
                       สมถวิปัสสนาเป็นแนวทางที่ให้พวกเราทั้งหลายปฏิบัติให้เป็นโลกุตตรจิต ให้พ้นจากวัฏฏสงสาร เช่นว่าเรานั่ง ไม่ต้องฟัง และไม่ต้องคิด ตัดการฟัง ตัดการคิดออกและยกส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นพิจารณา เช่น เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ หรือเรายกอานาปานสติ คือ หายใจเข้านึกว่า พุท หายใจออกนึกว่า โธ ในเวลาที่เราทำกรรมฐานอยู่นั้นในเวลาที่เรากำหนดลมอยู่นั้น ท่านไม่ให้ส่งจิตไปทางอื่น ให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว ออกไปแล้วเข้ามา เข้ามาแล้วก็ออกไป ไม่ต้องอยากรู้อะไรมาก ไม่ต้องอยากเห็นอะไรต่อไป ให้จิตของเรารู้เฉพาะลมที่มันเข้าหรือมันออก เรียกว่าการกำหนดลม เป็น อานาปานสติ
                       การกำหนดลมนี้บางคนกำหนดไม่ได้ การกำหนดลมเราจะต้องเอาสภาวะที่มันเป็นอยู่ หายใจเข้า ยาว หายใจออก สั้น เท่าไร อันนั้นไม่เป็นประมาณ เป็นประมาณที่ว่ามันสบายอย่างไร หายใจแรงหรือมันค่อย หรือมันยาว หรือมันสั้น เราจะต้องทดลองหายใจดู มันถูกจริตที่ตรงไหน มันสบายอย่างไร ลมไม่ขัดข้อง จะกำหนดตามลมก็สบายสะดวก ตัวอย่างเช่น เราฝึกเย็บผ้าด้วยจักร เราก็ควรเอาจักรมาลองเอาเท้าเราถีบจักรเข้า ถีบจักรเปล่ายังไม่ต้องเย็บผ้า ให้มันชำนาญเสียก่อน เมื่อเท้าเราชำนาญพอสมควรแล้วค่อยเอาผ้ามาใส่ เย็บไปพิจารณาไป
                       การกำหนดลมหายใจนี้ก็เหมือนกัน ก็หายใจเบาๆ เสียก่อน ไม่ต้องกำหนดอะไร มันยาว มันสั้น มันหยาบ มันละเอียด มันสบายอย่างไร อันนั้นเป็นจริตของเรา ความพอดีของมันนั้น ไม่ยาว ไม่สั้น พอดี เรากำหนดเอาอันนั้นเป็นประมาณ นี้เรียกว่าให้กรรมฐานถูกจริต แล้วค่อยๆ ปล่อยลมออกไป แล้วก็สูดลมเข้ามา เราจะกำหนดว่า เมื่อลมเข้าต้นลมอยู่ปลายจมูก กลางลมอยู่หทัย ปลายลมอยู่สะดือ เมื่อเราหายใจออก ต้นลมอยู่สะดือ กลางลมอยู่หทัย ปลายลมอยู่จมูก ให้เรากำหนดอย่างนี้เสียก่อน แล้วก็สูดลมเข้าผ่านปลายจมูก หทัย สะดือ เมื่อออกตั้งต้น สะดือ หทัย ปลายจมูก เป็นต้น ทำอยู่แต่อย่างนี้แหละ ไม่ต้องสนใจอื่น
                       เมื่อเวลาเราทำ (สมถ) กรรมฐาน คือกำหนดลมไม่ต้องพิจารณาอะไร เอาสติประคองจิตของเรา ให้รู้ตามลมเข้าออกเท่านั้น ไม่ต้องสนใจอย่างอื่น ไม่ต้องพิจารณาอย่างอื่นลมก็สบายไม่ขัดข้อง ลมเข้าก็สบาย ลมออกก็สบาย เอาความรู้สึกที่เรียกว่า สติ สติตามลม ส่วนสัมปชัญญะก็รู้อยู่ว่าสติเราตามลม ขณะที่เรากำลังทำอยู่นั้น มีสติ แล้วก็มีลมมีสติตามลม เราจะมองดูในที่อันนั้น เราจะรู้ลม เห็นลม ว่ามันยาวสั้นประการใด เห็นลมและมีสติอยู่ว่าเรารู้ลม แล้วก็เห็นจิตของเราตามลม เห็นทั้งลม เห็นทั้งสติ เห็นทั้งจิต 3 ประการรวมกัน หายใจเข้าก็รวม หายใจออกก็รวม รู้สึกอยู่อย่างนี้ มันจะเป็นอะไรบ้างต่อไป อย่าคิดไป มันจะมีอะไรบ้างต่อไป อย่าคิดไป ทำอย่างนี้มันจะดี จะเป็นอย่างไรต่อไปไม่ต้องคิด เรียกว่ากำหนดลมเข้าออกสบาย

                       เมื่อหากว่าจิตของเรากำหนดอารมณ์กับลมหายใจถูกแล้ว มันจะไม่ขัดข้อง ลมก้ไม่ขัดข้อง ผู้รู้ก็ไม่ขัดข้อง ทุกอย่างทุกส่วนก็ไม่ขัดข้อง เราเพียงแต่รู้อันเดียวเท่านั้นแหละคือรู้แต่เพียงลมหายใจเข้าออก คือกำหนดรู้ว่า ต้นลม่คือจมูกกลางลมคือหทัย ปลายลมคือสะดือ เมื่อลมมันถอนออกมาต้นลมอยู่สะดือ กลางลมอยู่หทัย ปลายลมอยู่จมูก 3 ประการนี้เรานั่งพิจารณากำหนดรู้อยู่เช่นนั้น ให้มันรู้ทั้ง 3 นี้เสมอเรียกว่าเรามีสติเต็มที่ของเรา มีผู้รู้ควบคุมสติอันนั้นอยู่เต็มที่เช่นนี้เรียกว่าเราทำ(สมถ) กรรมฐาน จนกว่าจิตเรามันสงบ
                       เมื่อจิตเราสงบ กายมันก็เบา ใจมันก็เบา ลมมันก็ละเอียด เมื่อเรามีลมอันละเอียดแล้ว ก็ไม่ต้องตามลม เพราะการตามลมเข้าไป มันเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อไม่อยากจะตามเสียแล้ว เอาสติกำหนดที่ปลายจมูกของเรานี้ พอแต่รู้ว่ามันเข้า พอแต่รู้ว่ามันออก เท่านี้ก็พอแล้ว จิตสบาย กายก็เบาใจสงบ ลมก็ละเอียด อันนี้จิตเป็นสมาธิ รู้ตามลมอย่างเดียวเมื่อมันละเอียดเต็มที่เข้าไปนั้น มันจะเกิดความละเอียดขึ้นมาใจใจของเราอีก ลมที่เรากำหนดอยู่นี้มันจะหายไป มันจะไม่มีลม ที่จริงมันมีอยู่หรอกแต่มันละเอียดที่สุดจนกำหนดไม่ได้ ก็เลยเกิดเป็นคนไม่มีลม นั่งเฉยๆ อยู่ นึกว่าไม่มีลม
                       ตอนนี้พระโยคาวจรเจ้ามักจะตกใจ กลัวว่าเราไม่มีลมกลัวว่าเราจะเป็นอะไรไป ถ้าลมไม่มีแล้วจะเอาอะไรเป็นอารณ์ต่อไปอีก เราจะต้องเอาความรู้สึกว่าลมไม่มีนั่นแหละเป็นอารมณ์ต่อไป ไม่เป็นโทษ ไม่เป็นอันตราย เราทำจิตของเราให้รู้ว่าไม่มีลมเข้าไป ถึงกาลถึงเวลาแล้วเป็นเอง อันนี้ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องสะดุ้ง จะเป็นไปอย่างไรก็ตาม ก็รู้ รู้ใจของเราที่มันเป็นอย่างไร กำหนดจิตเข้าไปว่ารู้อย่างไร จะไม่มีอันตรายแต่อย่างใด อันนี้เป็นอารมณ์ของการกระทำจิตให้สงบ(สมถ)เบื้องแรก
                       พูดถึงความสงบ(สมถ) พอมันสงบแล้วก็มีส่วนที่มันไม่สงบมาปะปนเข้า เช่นว่า เราเพิ่งมาฝึกจิตของเราเดือนหนึ่ง 10 วัน 5 วัน โดยมากมันก็ยังไม่สงบ ถ้ามันไม่สงบนั้น ไม่ต้องน้อยใจ มันเป็นเรื่องธรรมดาของมัน เรื่องจิตอันนี้มันจะอยู่นิ่งๆ ในที่ของมันไม่ได้หรอก บางทีมันมีอาการคิดอย่างโน้นคิดอย่างนี้ ในขณะอยู่ในที่สงบอันนั้นแหละบางคนก็จิตไม่สงบ จิตฟุ้งซ่าน ใจก็ไม่สบาย ใจเขาก็ไม่ดี เพราะว่าจิตไม่สงบ อันนี้เราต้องพิจารณาด้วยปัญญาของเรา เรื่องไม่สงบอันนั้นเพราะเราไม่รู้ตามความเป็นจริงของมันเท่านั้นเองถ้าเรารู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว อันนั้นสักแต่ว่าอาการของจิต จริงๆ แล้วจิตมันไม่ฟุ้งไปอย่างนั้น เช่นว่า เรารู้ความคิดแล้วว่า บัดนี้เราคิดอิจฉาคน นี้เป็นอาการของจิตแต่เป็นของไม่จริง มันไม่เป็นความจริง เรียกว่าอาการของจิตมันมีตลอดเวลา ถ้าหากคนไม่รู้ตามความเป็นจริงของมันแล้วก็น้อยใจว่าจิตเราไม่อยู่นิ่ง จิตเราไม่สงบ อันนี้เราต้องใช้การพิจารณาอีกทีหนึ่งให้มันเข้าใจ เรื่องของจิตนั้นนะ มันเป็นเรื่องของอาการของมัน แต่ที่สำคัญคือ มันรู้ รู้ดีมันก็รู้ รู้ชั่วมันก็รู้ รู้สงบมันก็รู้ รู้ไม่สงบมันก็รู้ อันนี้คือตัวรู้พระพุทธเจ้าของเราท่านให้ตามรู้ ตามดูจิตของเรา
                       จิตนั้นคืออะไร จิตนั้นอยูที่ไหน ทุกคนที่นั่งอยู่ที่นี่เราก็คงรู้ตัวของเรา ความรู้ที่มันรู้นี่มันรู้อยู่ที่ไหน จิตก็เหมือนกัน จิตนี้คืออะไร มันเป็นธรรมชาติ หรือเป็นสัญชาตญาณอันหนึ่งที่มันมีอยู่ อย่างที่เราได้ยินอยู่เดี๋ยวนี้แหละ มันมีความรู้อยู่ ความรู้นี้มันอยู่ที่ไหน ในจิตนั้นมันเป็นอย่างไร ทั้งความรู้ก็ดี ทั้งจิตก็ดี เป็นแต่ความรู้สึก ผู้ที่รู้สึกดีชั่ว เป็นสักแต่ว่าความรู้สึก รู้สึกดีหรือชั่ว หรือรู้สึกผิดหรือถูก คนที่รู้สึกนั้นแหละเป็นคนรู้สึกตัว รู้สึกตัวมันคืออะไร มันก็ไม่คืออะไร ถ้าพูดตามส่วนแล้วมันเป็นอยู่อย่างนี้ ถ้ารู้สึกผิดไปก็ไปทำผิดมัน รู้สึกถูกก็ไปทำถูก ฉะนั้นท่านจึงให้เกิดความรู้สึกขึ้นมาเรื่องจิตของเรานั้นมันเป็นอาการของจิต เรื่องมันคิดมันคิดไปทั่ว แต่ผู้รู้คือปัญญาของเราตามรู้ ตามรู้อันนั้นตามเป็นจริง

                       ถ้าเราเห็นอารณ์ตามเป็นจริงของเราแล้ว มันก็เปลี่ยนไปอีกประเภทหนึ่ง (วิปัสสนากรรมฐาน) เช่นว่า เราได้ยินว่ารถทับคนตายเป็นต้น เราก็เฉยๆ ความรู้ชนิดนี้มันก็มี แต่มันรู้ไม่เห็น รู้ไม่จริง รู้ด้วยสัญญา (ความจำ) ขนาดนี้มันรู้อย่างนี้ ทีนี้ถ้าหากว่าเดินไปดูซิรถมันทับคนตายที่ไหนไปเห็นร่างกายคนนั้นมันเละหมดแล้ว อันความรู้ครั้งที่สองนี้มันดีขึ้นเพราะมันไปเห็น เห็นอวัยวะที่ถูกรถทับ มันเกิดสลดเกิดสังเวช ความรู้ที่เห็นด้วยตามันมีราคายิ่งกว่าเขาว่า
                       เมื่อเราไปเห็นทุกสิ่งอันนี้ มันเป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา ไม่แน่ไม่นอน ในร่างกายนี้ไม่เป็นแก่นเป็นสาร ไม่สดไม่สวย ความรู้สึกนึกคิดมันค้นในเวลานั้นมันก็เกิดปัญญา (วิปัสสนา) เป็นเหตุให้ถอนอุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) ออกได้ เรียกว่าความรู้สึกอันนี้มันสูงขึ้น สูงขึ้น ๆต้องพิจารณา เช่นนี้
                       การทำกรรมฐาน ถ้าไม่รู้จักแล้วก็จะลำบาก บางคนก็ไม่เคยทำ เมื่อมาทำวันสองวันสามวัน มันก็ไม่สงบ มันก็เลยนึกว่า เราทำไม่ได้ เราต้องคิดว่า เมื่อเราเกิดมาเคยถูกสอนหรือยัง เราเคยทำความสงบหรือเปล่า เราปล่อยมานานแล้ว ไม่เคยฝึกเคยหัดมัน มาฝึกมันชั่วระยะหนึ่งอยากให้มันสงบอย่างนั้นเหตุมันไม่พอ ผลมันก็ไม่มี เป็นเรื่องของธรรมดาเป็นเรื่องอันตัวเราท่านทั้งหลายจะหลุดพ้น ต้องอดทน การอดทนเป็นแม่บทของการประพฤติปฏิบัติ
                       ให้เห็นกาย ให้เห็นใจ เมื่อรู้จักธรรมตามความเป็นจริงแล้วนั่น ความที่เรายึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) แต่ก่อนๆ มันจึงจะผ่อนออก เห็นตามความเป็นจริงของมันอุปาทานมั่นหมายในความดี ความชั่วทั้งหลายมันจะคลายออก คลายออก เห็นว่ามันเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา เป็นของไม่แน่ไม่นอน
                       ที่มันเกิดมีในจิตของเรานี้นั้น ลองดูซิ ความรักมันแน่ไหม มันก็ไม่แน่ ความเกลียดมันแน่ไหม ความสุขมันแน่ไหม มันก็ไม่แน่ ความทุกข์มันแน่ไหม มันก็ไม่แน่ อันไม่แน่นั้นเรียกว่าของไม่จริง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่ออันนี้มันไม่จริง ของจริงมันอยู่ที่ไหน ของจริงอยู่ที่มันเป็นอยู่อย่างนั้น มันไม่เที่ยงอยู่อย่างนั้น เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น มันจริงแต่สักว่า มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น อันนี้คือความจริง ความจริงอยู่ตรงที่มันไม่จริง อันความเที่ยงอยู่ตรงที่มันไม่เที่ยง เหมือนกันกับของสกปรกมันเกิดมีขึ้นความสะอาดอยู่ตรงไหน มันอยู่ตรงที่สกปรกนั่นแหละ เอาสกปรกออกก็เห็นความสะอาดฉันใด จิตใจของเรานี้ก็เหมือนกันฉันนั้น
                       การประพฤติปฏิบัตินี้ บางคนปัญญามันน้อยบางคนปัญญามันมาก ไม่ทันกัน ไม่เห็นเหมือนกัน อย่างเราไปพบวัตถุอันหนึ่ง 2 คนหรือ 3 คนไปพบแก้วใบหนึ่งบางคนก็เห็นว่ามันสวย บางคนจะเห็นว่ามันไม่สวย บางคนจะเห็นว่ามันโตไป บางคนจะเห็นว่ามันเล็กไป นี่ ทั้งๆ ที่แก้วใบเดียวกันนั่นเอง ทำไมไม่เหมือนกัน แก้วใบนั้นมันเหมือนของมันอยู่ แต่ความเห็นของเรามันไม่เหมือนกัน มันเป็นเช่นนี้ฉะนั้นมันจึงไม่เหมือนกันอยู่ที่ตรงนี้ การประพฤติปฏิบัติทางพุทธศาสนานี้ก็เหมือนกัน พระพุทธเจ้าท่านสอน อย่าให้มันช้า อย่าให้มันเร็ว ทำจิตใจให้พอดี การประพฤติปฏิบัตินี่ไม่ต้องเดือนร้อน ถ้ามันเดือดร้อนเราก็ต้องพิจารณา เช่นว่าเราจะปลูกต้นไม้ต้นหนึ่งขึ้นมา ต้นไม้ที่จะปลูกนั้นก็มีอยู่ ก็ขุดหลุม ก็ปลูก เอาต้นไม้มาวางลงหลุมนั้นก็เป็นหน้าที่ของเราจะมูนดิน จะให้ปุ๋ย จะให้น้ำ จะรักษาแมลงต่างๆ ก็เป็นเรื่องของเรา เป็นหน้าที่ของเรา คนจะทำสวนต้องทำอย่างนี้ ทีนี้เรื่องต้นไม้มันจะโตเร็วโตช้าของมันนั้นน่ะ มันไม่ใช่เรื่องของเรามันเป็นเรื่องของต้นไม้ ถ้าเราไม่รู้จักหน้าที่การงานของตัวแล้วมันก็ไปทำงานหน้าที่ของต้นไม้ มันก็ทุกข์ ไม่ทำงานหน้าที่ของเรา หน้าที่ของเราก็ให้ปุ๋ยมันไป ให้น้ำมันไป รักษาแมลงไม้ไป เท่านี้ ส่วนต้นไม้จะโตเร็วโตช้าเป็นเรื่องของต้นไม้ ถ้าเรารู้จักหน้าที่การงานของเราเช่นนี้ ภาวนา(ฝึกจิต) ก็สบายถ้าเราคิดเช่นนี้การปฏิบัติของเราก็สบาย ง่าย สะดวก ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย

                       นั่งมันสงบก็ดูความสงบไป ที่มันไม่สงบก็ดูความไม่สงบไป ที่มันสงบนั้น มันก็เป็นเรื่องของจิต มันเป็น อย่างนั้น ที่มันไม่สงบ มันก็เป็นเรื่องของมันอย่างนั้น ไม่ได้เป็นอย่างอื่น มันสงบแล้ว มันก็สงบไป ถ้าไม่สงบก็ไม่สงบไป เราจะไปทุกข์เพราะมันไม่สงบไม่ได้ เราจะไปดีใจเพราะจิตสงบมันก็ไม่ถูก เราจะไปเสียใจเพราะจิตมันไม่สงบก็ไม่ถูกเหมือนกัน เราจะไปทุกข์กับต้นไม้ได้หรือไปทุกข์กับแดดได้หรือ ไปทุกข์กับฝนได้หรือ ไปทุกข์กับอย่างอื่นได้หรือ มันเป็นเรื่องของมันอยู่อย่างนั้น
                       ถ้าเราเข้าใจเช่นนี้แล้ว การภาวนาของพระโยคาวจรนั้นก็สบายแล้ว เดินทางเรื่อยๆ ไป ปฏิบัติไป ทำธุระหน้าที่ของเราไป เวลาพอสมควรเราก็ทำของเราไป ส่วนมันจะได้จะถึงหรือมันสงบนั้น ก็เป็นวาสนาบารมีของเรา เหมือนกับชาวสวนปลูกต้นไม้ หน้าที่ของเราใส่ปุ๋ยก็ใส่มันไป รดน้ำก็รดมันไป รักษาแมลงก็รักษามันไป เรื่องต้นไม้จะโตเร็วโตช้าไม่ใช่เรื่องของเราเป็นเรื่องของต้นไม้ ละปล่อยทั้งสองอย่างนี้ รู้จักหน้าที่ของเรารู้จักหน้าที่ของต้นไม้ มันถึงเป็นชาวสวนที่มีความสดชื่นดี ฉันใดผู้มีปัญญา ผู้ที่ภาวนาในพุทธศาสนานี้ก็เหมือนกันฉันนั้น พอจิตคิดเช่นนี้ ความพอดีมันตั้งขึ้นมาเอง พอความพอดีมันตั้งขึ้นมาก็เลยเป็นปฏิปทา ปฏิปทาที่พอดีเกิดขึ้นมา ความเหมาะสมมันก็เกิดขึ้นมา อารมณ์เหมาะสมมันก็เกิดขึ้นมา ความรู้สึกนึกคิดเกิดขึ้นมาแล้ว มันเป็นสิ่งที่เหมาะสมแล้ว เป็นสัมมาปฏิปทา ปฏิบัติไม่หย่อน ปฏิบัติไม่ตึง ปฏิบัติไม่เร็ว ปฏิบัติไม่ช้า จิตใจปล่อยไปตามสภาวะของมัน อันนั้นคือภาวนาสงบแล้ว สบายแล้ว
                       ความรู้สึกนึกคิดของเราไปมีอุปาทานมั่นหมายมันขึ้นเมื่อไร มันก็เป็นทุกข์เมื่อนั้น ฉะนั้น ในการประพฤติปฏิบัติ ท่านจึงให้ปล่อยวาง เช่นว่า เราอยู่ด้วยกันหลายๆ คนนี้นะ ต่างบ้าน ต่างตระกูล ต่างตำบล ต่างจังหวัด ที่มารวมๆ กันนี้ ถ้าเรารู้คนในนี้ ในศาลานี้ก็สงบแล้ว ภาวนาเราก็สบาย เรื่องคนนี้ก็ให้คนนี้ เรื่องคนนั้นก็ให้คนนั้น ให้คนละคนละคนไปเรื่อย ๆ ไป เราก็สบาย เรื่องทุกสิ่งทุกอย่างก็ปล่อยไป ไม่ต้องไปวิพากษ์วิจัยเรื่องคนอื่น ไม่ต้องไปวิพากษ์วิจัยเรื่องนอกกายนอกใจเราแล้ว มันก็เกิดความสงบความสบายขึ้นมา เพราะความรู้ตามเป็นจริงเกิดขึ้นมา
                       เราต้องการธรรมไปทำไม ต้องการธรรมไปเพื่อรู้ตามความเป็นจริงเท่านั้นเอง ถึงแม้มันจะจน ถึงแม้มันจะรวย ถึงแม้มันจะเป็นโรค ถึงแม้มันจะปราศจากโรค จิตก็อยู่อย่างนั้นเอง เช่นว่า วันหนึ่งตัวเรามันไม่สบายขึ้นมาจะเห็นชัดในจิตของเราว่า มันก็นึกกลัวตาย กลัวมันจะไม่หายใจก็ไม่สบายเกิดขึ้นมาแล้ว ความไม่สบายเกิดขึ้นมาแล้ว คือไม่อยากจะตาย อยากให้มันหาย อันนี้เห็นแง่เดียว ตามธรรมชาติของมันแล้ว ถ้ามันเกิดป่วยขึ้นมา เกิดอาพาธขึ้นมาเราก็รู้ว่า เป็นก็เป็น ตายก็ตาย หายก็หาย ไม่หายก็ไม่หาย ถ้าเราคิดได้เช่นนี้มันเป็นธรรม เอาทั้งสองอย่างนั่นแหละ หายก็เอามัน ไม่หายก็เอามัน เป็นก็เอามัน ตายก็เอามัน

                       อันนี้ถูก แต่ว่ามันจะมีสักกี่คน นั่งฟังธรรมอยู่นี่มันมีกี่คนป่วยมาแล้ว ตายก็ตาย หายก็หาย มีกี่คนก็ไม่รู้ ที่มันอยากจะหาย ไม่อยากจะตาย อันนี้มันคิดผิด เพราะมันกลัวเพราะมันไม่เห็นธรรม มันจึงทุกข์ ถ้าเห็นสังขารร่างกายแล้วไม่ว่ามันล่ะ หายก็หาย ตายก็ตาย เอาทั้งสองอย่าง ไม่เอามันก็ต้องได้อะไรสักอย่างจนได้
                       เมื่อเรารู้จักธรรมเช่นนี้ รู้จักสังขารเช่นนี้ เราก็พิจารณาตามสังขารว่ามันเป็นอย่างนั้น นี่กรรมฐานมันตั้งขึ้นมาแล้ว มันพ้นทุกข์อย่างนี้เอง ไม่ใช่ว่ามันไม่ตาย ไม่ใช่ว่ามันไม่เจ็บ ไม่ใช่ว่ามันไม่ไข้ อันเรื่องเจ็บเรื่องไข้มันเป็นเรื่องของสังขาร เป็นไปตามเรื่องของมัน ถึงคราวมันจะตาย ไม่อยากตายเท่าไหร่ มันก็ตาย ถึงคราวมันจะหาย ไม่อยากจะให้หาย มันก็หาย อันนี้มันไม่ใช่ธุระหน้าที่ของเราแล้ว มันเป็นธุระหน้าที่ของสังขาร ถ้าเราภาวนาเห็นเช่นนี้ จิตมีอารมณ์เห็นเช่นนี้ทุกขณะ จิตก็ปล่อยวางสบาย
                       การภาวนานั้นไม่ใช่ว่านั่งหลับตาภาวนาอย่างเดียวการภาวนานั้นตลอดเวลา การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ให้มีสติ ประคับประคองอยู่เสมอเลยทีเดียว
                       บัดนี้มีความทุกข์เกิดขึ้นมาแล้ว ก็ทวนดูซิ อันนี้มันก็ไม่แน่นอนหรอก เรื่องมันไม่จริงทั้งนั้นน่ะ เราต้องเตือนอยู่เช่นนี้เมื่อมันมีสุขเกิดขึ้นมาแล้ว สุขนี้มันก็ไม่แน่เหมือนกันนั่นแหละเคยสุขมาแล้วมันก็เป็นอย่างนั้นแหละ เดี๋ยวมันก็ทุกข์ เดี๋ยวมันก็สุข เป็นของไม่แน่นอนทั้งนั้น ถ้าเราเห็นอารมณ์เมื่อใดถูกอารมณ์ขึ้นมาเมื่อใด มันจะดีใจ เราก็ต้องบอกมัน เตือนมัน ว่าความดีใจมันก็ไม่แน่นอนหรอก เป็นแต่ความไม่จริงทั้งนั้นแหละ มันหลอกลวงทั้งนั้น เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็ว่ามันไม่แน่นอน เป็นสิ่งที่หลอกลวงทั้งนั้นแหละ เป็นความรู้สึกเท่านั้นแหละ
                       ความเป็นจริงแล้ว ความสุขหรือความทุกข์นั้นไม่มี มันมีแต่ความรู้สึก รู้สึกว่าสุข รู้สึกว่าทุกข์ ถ้ามีความชอบใจก็รู้สึกว่าสุข ไม่ชอบใจก็รู้สึกว่าทุกข์ ตัวสุขตัวทุกข์จริงๆ มันไม่มี มันเป็นแต่เพียงความรู้สึก ถ้าเราคิดได้เช่นนี้ เราก็เห็นของปลอมตลอดเวลา รู้จักอารมณ์ อารมณ์อันนี้ก็ไม่ต้องว่าไปสอบอารมณ์ การภาวนาไม่ต้องไปสอบอารมณ์ เมื่อเรามีสติตลอดเวลา ทุกวันทุกนาที มันจะรู้จักอารมณ์เมื่อเราทำผู้รู้ให้ตื่นอยู่เสมอแล้ว มันจะเห็นความสุขหรือทุกข์ ชอบไม่ชอบ จะเห็นอยู่ตลอดเวลา มันจะทวนลงไปทีเดียว ว่ามันไม่แน่
                       สุขเกิดขึ้นมาอันนี้ก็ไม่แน่นอนเหมือนกัน อย่าไปหมายมั่นมันเลย ทุกข์เกิดขึ้นมาเราก็ว่าเลยว่า อันนี้มันก็ไม่แน่เหมือนกันนะ มันแน่อยู่ตรงไหนเล่า มันแน่อยู่ตรงที่มันไม่แน่ มันเป็นอยู่อย่างนั้นเอง อันนี้เป็นเหตุให้สุขทุกข์และอารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีกำลัง เสื่อม เมื่อสิ่งทั้งหลายนี้มันเสื่อมไป อุปาทาน(ความยึดมั่น) ของเราก็น้อย ก็ปล่อยวาง นี่เป็นเรื่องของธรรมชาติ เรื่องของธรรมดาเช่นนี้

                       ฉะนั้นจิตใจของเรา มันจะได้มาก็เป็นเรื่องธรรมดาของมัน มันจะเสียหายไปก็เป็นเรื่องของมัน มันจะสุขก็เป็นเรื่องของมัน มันจะทุกข์ก็เป็นเรื่องของมัน เรื่องของสังขารมันเป็นอยู่อย่างนั้น อันนี้เป็นสักแต่ว่าเรารู้สึกเท่านั้น อื่นนั้นก็ไม่มี ฉะนั้นท่านจึงสอนให้โอปนยิโก คือให้น้อมเข้ามาใส่ตัวอย่าน้อมออกไป น้อมเข้ามาให้เห็นด้วยตัวของเรานี้
                       ทางที่ดีสำหรับคนที่อ่านที่ศึกษามามากแล้ว จะมาอยู่มาภาวนาเพียงสองสัปดาห์เท่านี้น่ะ อาตมาเห็นว่าไม่ต้องดูไม่ต้องอ่าน หนังสือเอาเข้าตู้เสีย ถึงเวลาเราทำกรรมฐาน นั่งสมาธิของเรา เราก็ทำไป อานปานสติทำไปเรื่อยๆ ขณะที่เราเดินจงกรม เราก็เดิน ให้รู้จิตของเราเท่านั้นแหละ รักษาจิตของเรา บางทีความหวาด ความสะดุ้งมันเกิดขึ้นมา เราก็ทวนมันอีก อันนี้เป็นของไม่แน่นอนเรื่องความกล้าหาญเกิดขึ้นมา อันนี้มันก็ไม่แน่นอนเหมือนกันไม่แน่ทั้งหมดนั่นแหละ ไม่รู้จะจับอะไร นี่ทำปัญญาให้เกิดเลยทีเดียว ทำปัญญาให้เกิด ไม่ใช่รู้ตามสัญญา(ความจำ) รู้จิตของเราที่มันคิดมันนึกอยู่นี้ มันคิดนึกทั้งหมดเกิดขึ้นมาในใจของเรานี้แหละ จะดีหรือชั่ว จะถูกหรือผิด รับรู้มันไว้ อย่าไปหมายมั่นมัน เออ...ทุกข์มันก็เท่านั้นแหละ สุขมันก็เท่านั้นแหละ มันเป็นของหลอกลวงทั้งนั้นแหละ เรายืนตัวอยู่เช่นนี้เลยยืนตัวอยู่เสมอเช่นนี้ ไม่วิ่งไปกับมัน ไม่วิ่งไปกับสุข ไม่วิ่งไปกับทุกข์ รู้อยู่ รู้แล้วก็วาง อันนี้ปัญญาจะเกิด ทวนจิตเข้าไปเรื่อยๆ
                       เวลาเรามีไม่มาก เรามาฝึกจิตก็ต้องดูจิต ดูอาการของจิต ลองดูจิต ให้เห็นจิตเรา อย่าไปยึดมั่นถือมั่นถือมั่นก็เห็นสุขเป็นของจริง สุขเป็นเรา สุขเป็นของเราทุกข์เป็นเรา ทุกข์เป็นของเรา มันคิดเช่นนี้ แต่ความเป็นจริงนี้สุขสักแต่ว่าสุข ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา ทุกข์นี้ก็ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา ตัวคนที่รู้ทุกข์หรือสุขนี้ก็ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา ถ้าเราเห็นเช่นนี้ก็ไม่มีอะไรจะเกาะ เกิดสุขขึ้นมา สุขก็เกาะเราไม่ได้ เกิดทุกข์ขึ้นมา ทุกข์ก็เกาะเราไม่ได้ ทำไมไม่ได้ เพราะว่ามันไม่แน่ เป็นของปลอมทั้งนั้น เป็นของไม่แน่นอน ถ้าเราคิดเช่นนี้ จะภาวนาได้เร็ว จะยืนจะเดินจะนั่งจะนอนจะไปจะมา ทุกอย่างจิตกำหนดอยู่เสมอ ให้รู้ มีอารมณ์มันเข้ามา ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรสอะไรต่างๆ นี้ มันจะเกิดความชอบไม่ชอบขึ้นมาทันที มันจะเกิดสุขเกิดทุกข์ขึ้นมาทันทีอันนี้เราเรียกว่าอ่านดูจิต มันจะเห็นจิต เพราะมันเกิดจากจิตดวงเดียวเท่านี้ มันจะให้สุข มันให้ทุกข์ทุกอย่างเกิดจากจิต ถ้าเราตามดูจิตของเราอยู่เช่นนี้ มันจะเห็นกิเลส มันจะเห็นจิตของเราสม่ำเสมอเลยทีเดียว อันนี้แหละคืออาการภาวนา
                       บางคนเมื่อมาภาวนา ตอนเย็นก็นั่งสมาธิ เดินจงกรม ก็นึกว่าเขาได้ภาวนาแล้ว ยังไม่ใช่เท่านี้ ความเป็นจริงการภาวนาคือสติติดต่อกัน ให้เป็นวงกลม ตลอดเวลาให้มีสติอยู่สม่ำเสมอ ให้รู้ให้เห็น ให้เห็นอาการที่มันเกิดขึ้นมาในจิตของเรา เห็นเกิดขึ้นมา อย่าไปยึดมั่น อยาไปหมายมั่น ปล่อยมัน วางมันไว้เช่นนี้ ปฏิบัติเช่นนี้ เร็วเร็วมาก มีแต่เห็นอารมณ์เท่านั้นแหละ อารมณ์ที่ชอบ อารมณ์ที่ไม่ชอบ
                        ทุกวันนี้เราทุกคนน่ะไม่รู้จักกิเลสตัณหา มีคนๆเดียวนั่นละที่มันหลอกตัวอยู่วันยังค่ำ ดูซิ เราเกิดมามีอะไรไหม ก็คนๆ เดียวนั่นแหละมันพาให้เราหัวเราะอยู่ที่นี่ ร้องไห้อยู่ที่นี่ โศกเศร้าอยู่ที่นี่ วุ่นวายอยู่นี่แหละ มันก็่คือคนๆเดียวกันถ้าเราไม่พิจารณา ไม่ตามดูแล้ว ยิ่งไม่รู้จักมัน มันก็เกิดทุกข์อยู่ตลอดเวลา ได้มาก็เคยเสียอยู่ เสียแล้วก็เคยได้มาอยู่ ก็พลอยสุขกับมันทุกข์กับมัน ยึดมั่นหมายมั่นกับมันตลอดเวลาอยู่เช่นนี้ เพราะไม่ดูมัน ไม่พิจารณา ของทั้งหลายนี้ไม่ได้อยู่ที่อื่น มันอยู่ที่ตัวเรา ถ้าเราพิจารณาที่ตัวเราอยู่เช่นนี้ เราจะได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าของเรา

                       ต้นไม้ทุกต้นเปรียบเหมือนมนุษย์ ก้อนหินทุกก้อนเปรียบเหมือนมนุษย์ สัตว์ทุกสัตว์ในป่าในทุ่งก็ดี มันก็เหมือนกับเรา ไม่แปลกกับเรา มีสภาวะอันนี้อันเดียวกัน มีความเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้น แล้วก็มีความแปรในท่ามกลาง แล้วก็มีความดับไปในที่สุด เหมือนกันทั้งนั้น ฉะนั้นเราไม่ควรยึดมั่นหรือถือมั่นอะไรทั้งหลาย แต่ว่าเราต้องใช้มันอยู่ เช่น กระติกน้ำใบนี้ เขาเรียกว่ากระติก เราก็เรียกว่ากระติกกับเขา เพราะว่าเราจะมีความเกี่ยวข้องกับกระติกน้ำอยู่ตลอดเวลา เขาเรียกกระติกก็เรียกกับเขา เขาเรียกกระโถนก็เรียกกับเขา เขาเรียกจานก็เรียกกับเขา เขาเรียกถ้วยก็เรียกกับเขา แต่เราไม่ติดอยู่กับถ้วย ไม่ติดอยู่กับจาน ไม่ติดอยู่กับกระโถน ไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่ในนั้น นี่เรียกว่าเราภาวนา รู้จักตัวเราและรู้จักของของเรา
                       รู้จักตัวเราแล้วก็ไม่ทุกข์เพราะตัวเรา รู้จักของของเราแล้วก็ไม่ทุกข์กับของของเรา อันนี้เพราะเราทำกรรมฐาน ปัญญามันจะเกิดขึ้นอย่างนี้ มันจะเห็นไปตามสภาวะมันเองทุกๆ อย่าง อันนี้เป็น โลกุตตรปัญญา ปัญญาเกิดจากการภาวนา (ภาวนามยปัญญา) มันพ้นจากโลกียวิสัย เมื่อจิตสงบรวมกำลังจิตตรงที่นั้น เกิดรู้ เกิดเป็นญาณขึ้นมา เป็นความรู้โลกุตตระอันนั้น
                        ความรู้โลกุตตระอันนี้ พูดให้ก็ไม่รู้เรื่อง อกฺขาตาโรตถาคตา ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก คือพระพุทธเจ้าบอกให้ได้ แต่ว่าทำให้ไม่ได้ เรื่องการประพฤติปฏิบัติมันเป็นเช่นนั้นฉะนั้น อดทนแล้วก็เพียร สอบอารมณ์เรื่อยๆ ไป ถึงคราวเราทำความเพียร เราก็ทำไป ทำสมาธิเราก็ทำไป ออกจากสมาธิก็พิจารณา เห็นมดก็พิจารณา เห็นสัตว์อะไรก็พิจารณาเห็นต้นไม้ก็พิจารณา ทุกอย่างเหมือนเรา ทุกอย่างน้อมเข้ามาหาตัวเรา เหมือนเราทั้งนั้น อย่างใบไม้มันจะหล่นเองไป ใบไม้มันจะขึ้นมาใหม่ ต้นไม้มันจะใหญ่ ต้นไม้มันจะเล็กอะไรทั้งหลายเหล่านี้มันล้วนแต่เกิดปัญญาทั้งนั้น ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นอะไรทั้งนั้น เมื่อจิตเรารู้จักการปล่อยวางเช่นนี้แล้วก็จะเกิดความสงบ ความงบไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ มันสงบ เรียกว่า ได้ความพอดี เหมาะสม ด้วยความรู้สึกนึกคิดของเรานั้น เรียกว่า เป็นธรรม
                        ผู้ที่ฝึกแล้วก็จะพอมองเห็น ผู้ที่ยังไม่เคยฝึกนี้ มันก็เป็นของที่ลำบากสักนิดหนึ่งเราอย่าไปน้อยใจมัน อย่าไปตกใจมัน มันก็เหมือนนักเรียนนั่นแหละ เพิ่งเข้าโรงเรียนจะให้เขียนหนังสือได้อ่านหนังสือได้ เขียนหนังสือให้มันสวยงามมันก็ไม่ได้ อาศัยการฝึก อาศัยการกระทำ อาศัยการประพฤติอาศัยการปฏิบัติ แล้วมันก็เป็นไป

                        การตั้งไว้ในใจของผู้ประพฤติปฏิบัตินี้ ให้เอาชนะตัวเอง ไม่ต้องเอาชนะคนอื่น ให้สอนตัวเอง ไม่ต้องพยายามสอนคนอื่นให้มากที่สุด เดินไปก็ให้สอนตัวเองทั้งนั้น นั่งก็ให้สอนตัวเองได้ ทุกอย่างให้มีในตัวของเราอยู่เสมอเรียกว่า สติ สตินั่นแหละเป็นแม่บทของผู้เจริญกรรมฐานสติอันนั้นเมื่อมันมีความรู้สึกขึ้นปัญญาก็จะวิ่งมา ถ้าสติไม่มีปัญญาก็เลิก ไม่มี ฉะนั้นจงพากันตั้งใจ ถึงแม้ว่าเราจะมีเวลาน้อยก็ช่างมัน เวลาน้อยก็ยังเป็นอุปนิสัย ยังเป็นปัจจัยอย่างอื่นจะหาเป็นที่พึ่งอย่างพุทธศาสนานี่ไม่มี มันจบอยู่ตรงนี้ไปไหนก็ไม่จบ แต่พุทธศาสนาทำให้มันจบอยู่ตรงนี้
                       ถ้าเราไม่เห็นเดี๋ยวนี้ ต่อไปก็ต้องเห็น ถ้าเราพิจารณาเช่นนี้ต่อๆไป ยังเป็นคนใหม่ ประพฤติใหม่ปฏิบัติใหม่ก็ยังไม่เห็น ก็เหมือนกับเราเป็นเด็ก เรายังไม่เห็นสภาพของคนแก่ทำไมไม่เห็นล่ะ ฟันเราก็ยังดีอยู่ ตาเราก็ยังดีอยู่ หูเราก็ยังดีอยู่ร่างกายเราก็ยังดีอยู่ ไม่รู้จักคนแก่ แต่ต่อไปเมื่อเราเป็นคนแก่เราจะรู้จัก ใครจะบอก สังขารมันจะบอก ฟันมันจะโยก นี่แก่แล้ว ตามันจะไม่สว่าง หูมันจะตึง สภาวะร่างกายมันจะเจ็บปวดไปหมด นี้คนแก่มันเป็นอย่างนี้ ใครมาบอก สังขารนี้บอกเอง ถ้าเราพิจารณาอยู่ คือสัญชาตญาณมันมีอยู่ เช่นพวกปลวกหรือแม้ผึ้ง ผึ้งใครไปสอนมัน เมื่อมันทำรัง มันมีลูก มันทำรังกันสวยๆ ถ้ามันแก่มันก็ออกไปเป็นรังใหม่ ลูกๆ ผึ้งมันก็ไปทำรังกันใหม่ ใครไปสอนมัน มันทำรังกันสวยๆ
                       นกก็เหมือนกัน ตามป่านะ โดยเฉพาะนกกระจาบนกกระจอก มันทำรังกันสวยๆ ใครไปบอกมัน เมื่อมันโตมันก็บินจากพ่อแม่มันไป มันก็ไปทำรังเหมือนพ่อแม่กัน ใครจะไปบอกมัน ปลวกก็เหมือนกัน ใครจะไปบอกมัน สัญชาตญาณมันมี มันทำของมันเอง สัญชาตญาณอันนี้ที่มีอยู่ในใจของเรานี้ เราก็ไม่รู้ตัวเรา ถ้าเราไม่มาเรียนรู้ธรรมก็ไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ความเป็นจริง คนทุกๆ คนมันอยากจะมีความสุข และมันอยากจะดีทุกๆ คนนั่นแหละ แต่มันทำดีไม่เหมือนกัน มันตามหาความสุขไม่เหมือนกัน มันต่างกันเพราะปัญญา
                       สัญชาตญาณที่มันมีอยู่ในใจเรานั้น เราไม่รู้จักมันมันปกปิดอย่างสนิท อย่างชนิดไม่รู้ไม่เห็น เมื่อธรรมชี้ไปมันจึงจะเห็น เช่นว่า เรานั่งอยู่นี่ ร่างกายของเราทุกส่วนนี่โดยสภาพแล้ว พระพุทธเจ้าท่านว่า ไม่มีชิ้นไม่มีอะไรมันจะสวยมันจะสะอาดเลย ท่านตรัสอย่างนี้ ไม่สวยไม่สะอาด และไม่เป็นแก่นเป็นสารด้วย เราก็ยังไม่เห็น เรานึกว่าอันนี้มันสวยอยู่อันนี้มันสะอาดอยู่ อันนี้มันดีอยู่ ทำไมมันเป็นอย่างนั้นเล่า ของไม่สวยแต่ในเห็นว่าสวย ของไม่สะอาดทำไมมันเห็นว่าสะอาดของไม่เป็นแก่นสาร ของนี้ไม่ใช่ตัวของเรา ทำไมจึงเข้าใจว่าเป็นตัวของเรา อันนี้มันก็มืดอยู่พอแล้ว มันน่าจะเห็นนี่

                        ธรรมชาติอันนี้มันก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนเราจริงๆ มันจะเจ็บจะไข้เมื่อไหร่ก็เจ็บก็ไข้ มันจะตายเมื่อไหร่มันก็ตาย มันไม่ห่วงเราทั้งนั้นแหละ อันนี้เราก็ยังไม่เห็นมัน มันน่าจะเห็น ทำไมไม่เห็นล่ะ นี้มันก็มืดพออยู่แล้ว ที่มันไม่เห็นนี่น่ะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ได้แยกสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ออกมาจนจิตของท่านเห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นจริง ๆ ชัดๆ ไม่ใช่สัญญา(ความจำ) สังขารร่างกายมันจะเป็นอย่างไร ก็ให้มันเป็นไปตามเรื่องของมัน ท่านเห็นเช่นนั้น
                        การกำหนดพิจารณา เรียกว่า ภาวนากรรมฐาน เพื่อให้มันเห็น ขนาดนั้นมันยังไม่ค่อยจะเห็น อันใดมันไม่สวยก็เห็นว่าสวย อันใดมันไม่เป็นแก่นเป็นสาร มันก็เห็นว่าเป็นแก่นเป็นสาร นี่จิตมันไม่ยอม มันจึงไม่เห็น ท่านก็ว่าเยาว์คือจิตมันเป็นเด็กอยู่ จิตมันยังเยาว์อยู่ จิตมันยังไม่เติบ จิตมันยังไม่โต เช่นนั้น พระพุทธศาสนานี้ท่านสอนส่วนจิต ให้จิตเป็นคนเห็น ถ้าจิตมันเห็นแล้วจิตมันรู้ของมันแล้ว ไม่ต้องเป็นห่วง เรียกว่า การภาวนาเป็น
                       ฉะนั้นจึงค่อยๆ ทำ ค่อยๆ ประพฤติปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าจะเอาวันสองวันสามวันให้ได้ให้เห็น เมื่อวานซืนนี่มีนักศึกษาได้มาปรึกษา จะไปนั่งภาวนากรรมฐาน นั่งสมาธิ มันไม่สบาย มันไม่สงบ มาหาหลวงพ่อ ชาร์จแบตเตอรี่ให้ไม่ได้ หรือ นี่อันนี้มันต้องพากันพยายาม พยายามทำกันไปเรื่อยๆ คนอื่นบอกมันไม่รู้จัก มันจะต้องไปพบด้วยตนเอง ไม่ต้องเอาทีละมากหรอก เอาน้อยๆ แต่เอาทุกวัน นั่งสมาธิทุกวัน แล้วก็เดินจงกรมทุกวัน มันจะมากหรือน้อยเราก็ทำทุกๆ วัน แล้วก็เป็นคนที่พูดน้อย แล้วก็ดูจิตของตัวเองตลอดเวลา เมื่อดูจิตของตัวเอง อะไรมันจะเกิดขึ้นมา แล้วมันจะสุขหรือมันจะทุกข์อะไรเหล่านี้ ก็บอกปัดปฏิเสธมันเสีย ว่าเป็นของไม่แน่นอน เป็นของหลอกลวงทั้งนั้น
                       ผู้ที่เรียน ศึกษามากๆ นั้นนะ มันเป็นด้วยสัญญาไม่ใช่ปัญญา สัญญาเป็นความจำ ปัญญาเป็นความรู้เท่าทันมันไม่เหมือนกัน มันต่างกันบางคนจำสัญญาเป็นปัญญา ถ้าปัญญาแล้วไม่สุขกับใคร ไม่ทุกข์กับใคร ไม่เดือดร้อนกับใคร ไม่เป็นทุกข์เป็นร้อนกับจิตที่มันสงบหรือไม่สงบ ถ้าสัญญาไม่ใช่อย่างนั้นนะ มันเกิดความยึดมั่นถือมั่น เป็นทุกข์เป็นร้อนไปตามอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น
 
สมถวิปัสสนา


                      ในการทำกรรมฐานนั้น มีอารมณ์อยู่สองอย่างอารมณ์อย่างที่หนึ่งที่เรียกว่า ให้เรามีความสงบ อย่างที่สองเรียกว่า ให้เราเกิดปัญญา แล้วก็สงบทีหลัง อารมณ์ที่ให้เรามีความมสงบนั้น ไม่ยากอะไรหรอก เหมือนเด็กๆ มันไม่นอนน่ะเราก็ไปจับกระเช้า(เปล) แกว่งไปมาเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็หลับอารมณ์อันนี้เรียกว่า สมถกรรมฐานมีหลายอย่าง บางคนไปจับเอาอานาปานสติบ้าง พุทโธบ้าง ธัมโมบ้าง สังโฆบ้าง สารพัดอย่าง ต้องหาความสงบนี้เป็นเบื้องแรก
แต่ว่าความสงบอันนี้มันยังมีอะไรไปเจือปนมันอยู่สงบเพราะว่าของมันมีอยู่ เราไม่รู้จักมัน มันก็สงบ เช่นว่าผ้าเช็ดเท้าที่ผมเหยียบอยู่เดี๋ยวนี้ มันมีงูตัวหนึ่งอาศัยอยู่ตรงนี้ผมก็เอาเท้าเหยียบลงไป ผมไม่รู้สึกกลัวอะไรเลย เพราะผมไม่เห็นงู แต่ความจริงนี้งูอสรพิษนี้อยู่ตรงนี้แต่ผมไม่คิด ผมก็สบายใจ ไม่คิดกลัวอะไรต่อะไร ที่ผมไม่กลัว ก็เพราะไม่รู้ว่างูอสรพิษนี้อยู่ตรงนี้ นี่คือ สมถะ ทำจิตให้สงบ กิเลสมีอยู่ก็ช่างมัน เวลานี้ฉันสงบ นี่เรียกว่าสงบจิต ไม่ใช่สงบกิเลส พูดตามภาษาอันนี้ เรียกว่า สมถะ การฝึกทำจิตให้สงบ แต่มันเป็นไวพจน์ซึ่งกันและกันหรอก เพื่อจะทำให้กิเลสสงบต่อไป
                       เรื่องทำให้กิเลสสงบต่อไปนั้น เป็นเรื่องของปัญญา เรื่องของปัญญานี้ก็มีเรื่องสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะให้ปัญญาเกิดขึ้น ต้องเจริญอันนี้มากๆ ไม่เกิดเดี๋ยวนั้น ต่อไปมันก็จะเกิด ถ้าเจริญไม่หยุด ปัญญามันจะเกิดไม่หยุดต่อไป ผมก็พูดบ่อย แต่ว่าคนก็ไม่ค่อยเอาใจใส่หรืออย่างไรก็ไม่รู้สังเกตดู มันถึงได้เป็นทุกข์กันอยู่เสมอ
                       เรื่องทำจิตให้สงบ เพื่อให้กิเลสสงบนั้นน่ะ ที่ผมว่าอารมณ์ของ วิปัสสนา คือ เรื่องอะไรบ้าง? คือ เรื่องอนิจจัง เรื่องทุกขัง เรื่องอนัตตา 3 อย่างเท่านี้แหละ มันเป็นเหตุให้ปัญญาเราเกิด เราจะถูกอารมณ์ดีใจที่สุดก็ตาม เสียใจที่สุดก็ตาม รักที่สุดก็ช่างเถอะ เกลียดที่สุดก็ช่างเถอะ อย่าลืม ขบปัญหานี้ให้แตก อย่าลืม มันจะเกลียดขนาดไหน จะรักขนาดไหน จะเสียใจขนาดไหน จะดีใจขนาดไหนก็ตามเถอะ ซึ่งมันเกิดขึ้นมาแล้ว เราควรบอกมันให้เข้าใจว่า “อันนี้มันไม่แน่” ทุกครั้งไม่ใช่พูดออกทางปาก แต่พูดทางใจเสมอ “อันนี้มันไม่แน่” อันนี้ที่จะพาเราพ้น ตอนนี้ปัญญามันจะเกิด ถึงแม้ตอนนี้เราไม่เห็นต่อไปมันก็เห็น
                       ถ้าเราไม่ทิ้งจุดนี้ จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญที่ให้ปัญญาเราเกิดทั่วถึง ให้รู้จักทั่วถึง นี่เรียกว่า ปล่อยวางอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่มันเกิดขึ้น เห็นแต่ว่า มันเกิดแล้วดับไปจะเห็นอันนี้ชัดเจน จิตเราจะสงบ เมื่อจิตสงบ กิเลสก็สงบด้วย
                       ตรงนี้ ที่ว่าสมถะนั้น จิตมันสงบ กิเลสไม่สงบตอนนี้จิตสงบด้วย กิเลสสงบด้วย เพราะมันเป็นปัญญาตรงนี้ให้เข้าใจ มันจะอยู่ไปเฉยๆ ก็ได้ การยืน เดิน นั่ง นอน ก็ได้ ถ้ามีอารมณ์วูบหนึ่งเกิดขึ้นมา มันดีใจเหลือเกินอย่างนี้ ให้ค่อยๆ พิจารณา ว่าอันนี้มันไม่แน่ มันก็แตกกัน มันไม่รวมกลุ่มกันเสียแล้ว แต่ถ้าไปคิดว่ามันแน่นะมันก็จะรวมกลุ่มกัน แต่ความมจริงแล้วอันนี้มันไม่แน่ ถ้ารู้ความจริงอย่างนี้ ความเห็นผิดมันค่อยวางจางคลายออกไปไม่รวมกลุ่มกันละ

บัว 4 เหล่า   


                    ภายในโคลนนั่นน่ะ มีความเหม็นสาบเหม็นเน่าสารพัดอย่าง แต่ดอกอุบลทั้งหลายที่เกิดในที่นั้น ยิ่งสวย ยิ่งงาม ยิ่งต้นใหญ่ ลำใหญ่ ดอกใหญ่ โคลนทั้งหลายนั้นเป็นปุ๋ยของมัน บัวทั้งหลายมันชอบปุ๋ย ติณชาติทั้งหลายชอบปุ๋ย ได้ปุ๋ยแล้วมันงาม ปุ๋ยนั้นเป็นของโสโครก เป็นของสกปรกเป็นของเหม็น กลิ่นสารพัดอย่าง มันจะเหม็นเท่าไรๆ สกปรกเท่าใดๆ บัวมันยิ่งชอบ ดอกมันยิ่งโต ลำมันใหญ่ ยิ่งยาวดอกบัวนั้นก็เปรียบกับจิตของเรา มันจมอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง คือ ราคะ โทสะ โมหะ สารพัดอย่าง อันมันเป็นโคลน ที่เป็นโคลนนี้ ท่านจึงจัดว่า ดอกบัวมันอยู่ในตม ที่มันอยู่ในโคลนนั้นน่ะ ท่านบอกว่า มันเป็นดอกบัวที่เสี่ยงเสี่ยงเพราะอะไร มันอยู่ในโคลนยังไม่มีหวังที่จะพ้นตมมาเลย มันจึงเป็นดอกบัวที่เสี่ยงมากทีเดียว มันเป็นเหตุที่ว่าเต่ามันก็จะกิน ปลามันก็จะกินได้ เพราะมันอยู่ในโคลน
                      จิตใจของเราก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้ามันหมกอยู่ใน ราคะ โทสะ โมหะ มันเหมือนอยู่ในโคลน มัจจุราชตามเอาเป็นอาหารหมดละ มันอยู่ในโคลน มันหนาแน่น มันไม่ได้ยิน มันไม่ได้ฟัง มันไม่ได้อบรม มันหนา มันแน่น มันก็ยังมีที่หวังของมันจะเป็นได้หลายอย่าง จะเป็นปุถุชน หรืออันธภาพชนทั้งหลาย เป็นได้หลายอย่าง แล้วแต่จิตของตน
                      อีกคนหนึ่งนั้น อีกจิตหนึ่งนั้น มันจะพ้นตมขึ้นมาแล้ว แต่มันอยู่ในกลางน้ำ ดอกบัวดอกนี้ก็ยังจะเสี่ยงอยู่เหมือนกัน นี่เพราะว่ามันจะเป็นอาหารเต่าหรือปลาอยู่เสมอ ยังไม่พ้น
                      เหล่าที่ 3 เสมอน้ำ พ้นตมแต่ยังเสมอน้ำ อันนี้ก็ยังเสี่ยงอยู่เหมือนกัน ยังจะเป็นอาหารของปลา และเต่าอยู่ทั้งนั้นอันนี้มันเกิดความรู้สึกขึ้นมา มีญาณของพระพุทธเจ้าของเราที่ท่านหยั่งซึ้งลงไปว่า สัตว์โลกเป็นอย่างไร
                     เหล่าที่ 4 นี้ เรียกว่า พ้นโคน พ้นตม พ้นน้ำมาจะบานแล้ว บัว 4 เหล่านี้คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญูเนยยะ ปทปรมะ นั่นแหละ
                      พระพุทธเจ้าของเราจึงมาตรัสเสียว่า เออ มันเป็นอย่างนี้อยู่ โลกมันก็ต้องเป็นอย่างนี้อยู่ ไม่ให้มันเป็นอย่างนี้มันก็ไม่เป็นโลก จะต้องทำอย่างไร พระพุทธเจ้าท่านรู้แจ้งโลกนี้ดี จึงทรงชื่อว่า โลกวิทู ในจิตของท่าน รู้แจ้งโลกว่า มันเป็นอย่างนี้ โลกมันเป็นอย่างนี้ เหมือนบัวในตมในโคลนมันเหม็นสาบ ดอกบัวไปเกิดที่ตรงน้ำ มันโผล่น้ำขึ้นมา มันมีกลิ่นหอมน่าทัศนาดูทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เพราะดอกบัวดอกนี้มันเกิดมาจากโคลนสกปรก จิตใจของเราทั้งหลายก็เหมือนกันสัตว์โลกทั้งหลายก็เหมือนกัน มันปกปิดอยู่ด้วยอาสวธรรมทั้งหลายทั้งนั้นแหละ
                      ถึงพระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันตสาวกก็ดี ก็ต้องเกิดมาจากโคลนอย่างนั้น มีราคะ โทสะ โมหะปกคลุมอยู่ทั้งนั้นแหละ หุ้มห่ออยู่ทั้งนั้นแหละ แต่พระพุทธองค์ก็พ้นมาได้ สาวกทั้งหลายก็พ้นมาได้ ท่านแยกกันอยู่อย่างนั้น ถ้าไม่มีอันนั้นเป็นเหตุ ผลมันก็เกิดขึ้นไม่ได้

ธาตุ 4

                      จิตนี้มันคล้ายกับแผ่นดินหรือน้ำหรือลมหรือไฟ สมมติตัวเรานี้ ก็เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม เท่านั้นไม่มีอะไร มันเป็นอนัตตาไปเลย ไม่ใช่ก้อนอัตตานี้แล้ว นี่ท่านจึงว่า ทำจิตเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม ร่างกายที่เรียกกันว่า เราๆ เขา ๆ อันนี้มันก็ไม่ใช่ เราๆ เขาๆ
ตามธรรมดา ตามธรรมชาติ ความเป็นจริงมันก็สักว่า ธาตุนั่นแหละ คือเป็น ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เท่านั้นแหละ ดังนั้น ท่านจึงว่าอย่างนี้ เราจะต้องเป็นธาตุเสีย ยอมให้มันเป็นดินเสีย เป็นน้ำเสีย เป็นไฟเสีย เป็นลมเสีย
                      ดิน ปกติเราจะเอาจอบไปขุดมันก็ไม่มีอะไร จะเอาของเหม็นไปถ่ายเทใส่ ดินก็อยู่อย่างนั้น
                      ลม ก็เหมือนกัน ลมพัดไปมา เบื้องล่าง เบื้องบน ของสกปรกรกรากทั้งหลายก็พัดไป เออ มันเป็นเรื่องธรรมดามันก็เป็นลม
                    ไฟ ก็เหมือนกัน ความอบอุ่นที่อยู่ในร่างกายของเรานี้เป็นไฟ ไฟธรรมดานี้ไปเผาอะไรได้ไหม ไฟเผาของเหม็นก็ได้ของหอมก็ได้ สกปรกรกรากสารพัดอย่าง ไฟไม่มีอะไร ไฟก็่คงเป็นไฟอยู่อย่างนั้น
                      น้ำ ก็เหมือนกัน น้ำธรรมดาทุกวันนี้ นี่ก็พูดถึงน้ำใจของท่านที่จะอุตส่าห์โปรดสัตว์โลก ก็เหมือนน้ำธรรมดาๆ จะทำเป็นน้ำหอมก็ได้ น้ำเหม็นก็ได้ ล้างของสกปรกก็ได้ จะไปทำอะไรก็ได้ จะไปทำให้มันเย็นเป็นก้อนก็ได้ จะไปทำให้มันร้อนเหมือนกับไฟอีกก็ได้ แต่มันก็เป็นน้ำของมันอยู่
ตกลงตัวท่านก็เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม มันจะถูกอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ ชอบใจ ไม่ชอบใจ มันสักแต่ว่ารู้ ไม่มียึด เหมือนกับดิน กับน้ำ กับไฟ กับลม มันจึงไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น ตัวท่านก็คงเป็นเพียงธาตุ 4

มรรค 8


                     พวกเราทั้งหลายครอบครองทรัพย์สมบัติภายนอกตัวมามากแล้ว จงเข้ามาเปลี่ยนเป็น ทรัพย์ภายใน อันนี้จะพ้นจากอุทกภัย วาตภัย โจรภัย อะไรต่างๆ ทรัพย์อันนี้จะพ้นจากข้าศึกแล้ว น้ำท่วม ลมพัด ไฟไหม้ อันตรายต่างๆ ทั้งหลายเหล่านี้ เข้าไม่ถึงแล้ว เพราะว่าเข้าถึงจุดมัน คือที่ความสบายใจหรือความดีใจที่ฝั่งไว้ในวิญญาณอันนี้ ดังนั้นพระพุทธเจ้าของเราท่านจึงได้ว่า บุญไม่อยู่ภายนอก แต่เข้ามาข้างในเสียแล้ว ท่านจึงจัดเป็น อริยทรัพย์ หรือทรัพย์ภายในซึ่งน้ำท่วมไม่ได้ ไฟไหม้ไม่ได้ โจรลักไปไม่ได้ ส่วนนี้โยมจะสบาย ส่วนที่บริจาคไปวันนี้เก็บบัญชีไว้ดีๆ แล้วพ้นอันตรายสบายใจๆ อันนี้ไม่มีโทษอะไร ฉะนั้นการบริจาคนี้เป็นการปราบกิเลสส่วนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าตัว โลภะ ทำใจเราให้มัวหมอง เมื่อจิตมัวหมองแล้วท่านจะได้ทุกข์ไปตามอันนั้น การกระทำวันนี้ของญาติโยมทั้งหลายเป็นไปในทำนองอันนี้
                       แต่อย่างไรก็ตาม ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราท่านสอนว่าการ ให้ทาน การักษา ศีล การเจริญเมตตา ภาวนา นั้น รวมเข้าไปหาจุดอันเดียว ๆ คืออันใดอยู่ที่ ไหน จุดอันเดียวเพื่อจะให้ถึงความสงบ เมื่อสงบแล้วเรียกว่ามันจบ ก่อนจะสงบนั้นนะเราจะรู้เรื่องว่า เราจะทำอย่างไรใจเราจึงสงบ อย่างนี้เป็นต้น เมื่อจิตเราไม่สงบเราจะทำอย่างไรมันถึงจะสงบ ถ้าเมื่อจิตสงบแล้วก็ถึงจุดของพระผู้มีพระภาคของเรานั้นนะที่ท่านต้องการที่สุด
เรื่องที่จิตของเราที่ไม่สงบนั้น เพราะว่าจิตของเรานั้นน่ะไม่เข้าถึงธรรมะอันแท้จริง ไม่ถึงจุดธรรมะอันแท้จริง จิตเรายังโง่อยู่ ยังไม่ฉลาด ไม่มีปัญญารู้เท่าตามความเป็นจริงในสภาวธรรมทั้งหลาย นั้นเรียกว่าปฏิบัติธรรม อะไรมันเป็นธรรมะทุกอย่าง สิ่งที่ไม่เป็นธรรมะไม่มี คือของทุกสิ่งทุกอย่างนั้นแหละ ท่านเรียกว่าธรรมะ จะเป็นรูปที่เรามองเห็นด้วยตาก็ตามจะเป็นนามสิ่งที่เรามองเห็นด้วยตาไม่ได้ก็ตาม เป็นธรรมกันทั้งหมดเลยทีเดียว นี่เรียกว่า ธรรมะ เรียกว่าสภาวะ คือความเป็นอยู่อย่างนั้น มันเป็นเองของมันอยู่อย่างนั้น แม้พระพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นก็ตาม ไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม สภาวธรรมเป็นอยู่อย่างนั้นเอง ไม่แปรเป็นไปอย่างอื่น
                       ทีนี้ความไม่สงบของเราทั้งหลายนั้น คือยังไม่ได้ประพฤติธรรม ยังไม่ได้ปฏิบัติธรรม เช่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราท่านว่าให้เห็นอย่างถูกต้องเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ตลอดไปจนถึง สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ องค์ของมรรคมี 8 อย่าง แต่มรรคมีอันเดียว คือ เอกายนมรรคเป็นมรรคอันเดียว และเป็นของบุคคลที่จะสัญจรไปคนเดียว ไปแต่ผู้เดียว แต่ว่ามีองค์ 8 ประการ
                       เมื่อเรามาเห็นชอบ ดำริมันก็ชอบ วาจามันก็ชอบ การงานก็ชอบ เลี้ยงชีวิตมันก็ชอบ พยายามก็ชอบ ตั้งสติมันก็ชอบ ตั้งใจก็ชอบ มันชอบที่ตรงไหน มันชอบอยู่ที่ใจของเรานี้แหละ จะไปตรงไหนก็ช่างมัน มันออกจากจิตดวงนี้ เห็นชอบออกจากจิต ดำริชอบมันออกจากจิต เมื่อจิตมันตั้งไว้ชอบแล้ว มันจะชอบกันไปหมดนั้น และไม่มีอะไรที่จะไม่ชอบมรรคทั้งหลายเหล่านี้มันสามัคคีกันขึ้นที่จิตใจของเราเป็นอันเดียว คือ ความสงบ จุดนี้เป็นทางที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราท่านตรัสว่าให้เดินมรรคอันนี้เป็น สัมมามรรค
                       ถ้าเราคิดให้จิตใจสงบ เช่นว่าเราถูกอารมณ์อันใดเกิดขึ้นมา ถ้าเราเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบแล้ว ทุกอย่างมันชอบทั้งนั้นแหละ ไม่มีผิด เพราะธรรมะสั่งสอนในการปล่อยวาง ไม่มีอะไร เมื่อมีควมสุขเกิดขึ้นมา อันความสุขนี้ท่านก็สอนว่าสักแต่ว่าเป็นสุข ทุกข์เกิดขึ้นมานี้ พระพุทธเจ้าก็สอนว่า อันนี้ก็สักแต่ว่าเป็นทุกข์ ไม่มีใครสุข และไม่มีใครทุกข์ เป็นแต่ความรู้สึกเกิดขึ้นมาเฉยๆ ท่านจึงว่า สักแต่ว่าเป็นสุข สักแต่ว่าเป็นทุกข์ ความสุขทุกข์อันนี้มันก็เกิดขึ้นมามีอยู่ แต่ว่าเราทั้งหลายมาประพฤติปฏิบัติธรรมแล้ว อาการของสุขนี้มันก็เกิดขึ้นมา แต่ว่าหาเจ้าของสุขนั้นไม่มี ไม่มีใครเป็นเจ้าของ บางทีทุกข์ก็เกิดขึ้นมามีอยู่ แต่ว่าทุกข์นั้นมันเป็นมาตามเรื่องของมัน เกิดมาตามกิริยาของมัน มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น ท่านจึงบอกว่า ถ้ามีความสุขแล้ว ก็ให้รู้ตามความเป็นจริงมันเสียว่า สุขนี้ก็สักแต่ว่าสุข ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ถ้าทุกข์เกิดขึ้นมาแล้วท่านก็ให้รับรู้ พิจารณามันว่า ทุกข์นี้ก็สักว่าแต่ทุกข์ ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
                       การที่เราคิดเช่นนี้แหละเป็นสัมมาทิฏฐิ เราก็ไม่ได้เป็นเจ้าของสุขนั้นและทุกข์นั้น สุขทุกข์อันนั้นเป็นของที่ไม่มีเจ้าของ ถ้าใครเข้าไปยึดมั่นถือมั่นมัน ก็เข้าไปเป็นเจ้าของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อเข้าไปเป็นเจ้าของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันก็ไม่เพียงแต่เป็นทุกข์ มันไหลไปเรื่อยๆ ไป บางทีมันก็หายไป บางทีมันก็ไม่ได้มา แล้วก็ดีอกดีใจ แล้วก็เสียใจ ตามสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เพราะว่าตัวมิจฉาทิฏฐิมันเข้ามาแทรกให้มีความเห็นผิดเช่นนั้น เห็นผิดอะไร เราเข้าไปเป็นเจ้าของความสุข เราเข้าไปเป็นเจ้าของความทุกข์ เข้าไปแบกสุขทุกข์อันนั้นอยู่ มันก็หนัก อันนี้มันเป็นมิจฉาทิฏฐิ ในทำนองอย่างนี้
                       ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว เวทนานี้ก็สักแต่เวทนา ลงสักว่าอย่างนี้ เวทนานั้นเป็นความเสวยสุขหรือทุกข์ 2 ประการนั้นแหละ เวทนานี้ถ้ามันเกิดขึ้นมา สุขก็จัดเป็นสุขเวทนา ทุกข์ก็จัดเป็นทุกข์เวทนา ดังนั้นเกิดแล้วมันดับไป เจ้าของสุขทุกข์นั้นไม่มี พระพุทธเจ้าท่านให้พิจารณาอย่างนี้
                       เมื่อเราพิจารณาเข้าไปเช่นนี้บ่อยๆ เรียกจิตว่าเข้ามาดูซิว่า อันนี้คืออะไร สุขนี้คืออะไร ทุกข์นี้มันคืออะไร มันเป็นของแน่นอนไหม มันเที่ยงไหม หรือมันเป็นอย่างไร พิจารณาตามมันเถอะ เราพอมองเห็นไหมว่าสภาวะที่เป็นอยู่นั้นนะ เราเคยเป็นสุขมาไหม “เคย” แล้วมันหายไปมีไหม หายไปมันก็มีแล้วทุกข์เคยมีไหม เคยมีทุกข์ทุกคน แต่ว่ามันทุกข์ไปตลอดไหมบางทีมันก็หายไป เราจะไปเอาเรื่องเอาราวอะไรกับสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ นี้แหละเป็นอารมณ์อย่างนี้ พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้
                       เมื่อเรารู้สิ่งทั้ง 2 ประการนี้ จิตเราก็สงบ ทำไมถึงสงบ เพราะเราไม่เข้าไปเป็นเจ้าของอะไรทั้งนั้นแต่ว่าเราใช้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้สบาย ถ้วยโถโอชาม จะมีในบ้านของเราโต๊ะเก้าอี้อะไรที่มันมีอยู่นั้นก็ไม่ใช่ของเราๆ ใช้ไปเพื่อไม่ใช่ของเรา แต่เราใช้มันตามสบายใจ โดยที่ไม่ต้องทุกข์ ใช้โดยผู้มีปัญญารอบคอบ ให้อยู่เหนือสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ให้รู้เหนือสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ถ้าไม่อยู่เหนือสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เราก็แบกมันโดยอุปาทานว่า อันนี้ของเรา อันนั้นของเรา เรื่อยไปอันนี้แหละที่มันเป็น มิจฉาทิฏฐิ เป็นความเห็นที่ผิดขึ้นมาเพราะทำให้เราเป็นทุกข์ เป็นทุกข์เพราะอะไร ผิดหวัง อันนั้นเธอจงเป็นอย่างนั้น อันนี้แกจงเป็นอย่างนี้ ไม่ได้ตามปรารถนาของเรา
                       พระพุทธเจ้าท่านสอน พุทธบริษัทเราทั้งหลายเพื่อให้พ้นจากวัฏฏสงสารทุกๆ คน แต่ว่าเราสัตว์ผู้ที่กิเลสหนาปัญญาหยาบนั้นก็คิดไปอย่างหนึ่ง ที่ฟังธรรมะแล้ว อะไรก็ไม่ใช่ของตนทั้งนั้น กลัวจะไม่ได้ก็ไม่สบายใจ ความเป็นจริงนั้น ที่ว่าตน ที่เป็นของตนนั้น เป็นได้ แต่ว่านั้น เป็นของสมมติ มันไม่เป็นวิมุติ เราต้องเรียนรู้มันลืมทุกอย่างนั้นแหละ มันเป็นของสมมติ เช่นตัวของเรานี้ ชื่อเรานี้ มันมีชื่อมาแต่วันเราเกิดนะ เกิดมาแล้วมาตั้งชื่อใหม่ ชื่อเก่านั้นไม่มีเพราะมันไม่มี ทำไมมันถึงไม่มี มันว่างอยู่ตรงนั้นแหละ ตรงที่ไหนมันว่าง ก็เอาอะไรไปวางตรงที่นั้นก็ได้ เอาไปวางตรงที่มันว่างๆ เพราะว่าสัตว์เกิดมามันว่างไม่มีชื่อ เราก็ตั้งชื่อให้มันเสีย ชื่อใหม่นี้เอาไปใส่ใหม่ เป็นสมมติขึ้นมา เป็นนาย ก. นาย ข. นาย ค. ชื่อใหม่สมมติที่ตรงนั้น ทำไมต้องสมมติมัน เพราะตรงนั้นมันไม่มีอะไร จึงสมมติว่าให้มันเป็นนาย ก. นาย ข. เสีย นาย ก. นาย ข. จึงถูกสมมติขึ้นมา ไม่ใช่นาย ก จริง นาย ข จริง แต่เป็นนาย ก นาย ข สมมติ มันไม่ใช่วิมุต ถ้าไปถามถึงแล้ว จริงๆ มันจะไม่มีอะไร เป็นสภาวธรรมเท่านั้น เกิดมาแล้วต้องดับไป ดับไปแล้วเกิดขึ้นมา เกิดๆ ดับๆ อยู่เช่นนั้นสภาวะทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อเรานำเอาอันนี้ไปพิจารณาแล้วจะได้รู้แจ้งเห็นจริงแก่ตัวเอง

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2363 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2554, 07:48:58 »


สวัสดีค่ะ คุณน้องNok15 ที่รัก
                        พี่สิงห์ลืมบอกไป ถึงแม้พี่สิงห์ จะไปตีกอล์ฟก็ตาม พี่สิงห์ถือว่าได้ปฏิบัติธรรมนานๆ เพราะว่าใช้เวลาไม่ต่ำกว่าสาม สี่ ห้าชั่วโมง ขณะตีกอล์ฟพี่สิงห์จะไม่คิดอะไรเลย สวิงผ่านลูกกอล์ฟอย่างเดียว แต่ภายหลังตีไปแล้ว เมื่อ mark จุดตกของลูกกอล์ฟเรียบร้อบแล้ว พี่สิงห์ก็จะเดินจงกรม คือมือไขว้หลัง ขยับมือสร้างจังหวะให้สอดคล้องกับการเดิน ให้มีความรู้สึกตัวระลึกได้ในการกระทำที่มือ และการก้าวเท้าที่ละก้าว ยาวๆ ไปจนกว่าจะถึงลูกกอล์ฟ ในขระเดียวกันถ้ามีอะไรมาสัมผัสทางอายตนะ ๖ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็รับรู้ ไม่ปรุงแต่ง ปล่อยให้ผ่านไป และเราก็ดูสิ่งที่จิตมันคิดไปเรื่อยๆ อันไหนเป็นเรื่องในอดีต อนาคต ตัดทิ้งไปเลยแบบแมวจับหนู แต่ความคิดอันไหนเป็นเรื่องของตัวเรา กาย-ใจ-อารมณ์ ณ ขณะนั้นปล่อยให้มันคิด เราจะได้รู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับกาย-ใจ แต่ต้องสร้างความรู้สึกตัวเสมอ นอกจากนี้การเดินตีกอล์ฟยังสร้างความผ่อนคลาย คือไม่คิดอะไรเลย การพนันก็ไม่เล่น จะตีกอล์ฟดี ไม่ดี  ก็ไม่ได้สนใจมัน เล่นไม่ดีก็แก้ที่สาเหตุ  ไม่หงุดหงิด บังคับใจตัวเองให้อุเบกขาเอาไว้ นอกจากนี้ยังเป็นการออกกำลังกายอีกด้วย พี่สิงห์กระทำ คิดเพียงเท่านี้ในการเล่นกอล์ฟ  ยกเว้นเวลาแข่งขันกอล์ฟอาชีพ  จะเพิ่มความตั้งใจ คือสมาธิ อย่างมากเข้าไปอีก และต้องเอาสติมาควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการเล่นผิดพลาดของเรา บังคับให้อยู่ ตัดความผิดผ่านที่หลุมที่เล่นจบแล้วทิ้งเลย เริ่มตันใหม่ คะแนนจะดีไม่ดีช่างมัน เล่นให้จบตามที่ตั้งใจไว้เท่านั้น ตกรอบก็เฉยๆ ได้เงินก็เฉยๆ พยายามทำแบบนี้ครับ
                        อย่าลืมว่าเรายังต้องทำงาน พบผู้คน  รับรู้สิ่งต่าง ๆ เราก็ปฏิบัติธรรมของเราได้ ขอเพียงมีความระลึกได้ในสิ่งที่กระทำ ณ ขณะนั้นจากอิริยาบถ ของเรา เราไม่จำเป็นต้องไปนั่งแบบพระทั้งวัน เพราะพระท่านมีเวลา แต่เราต้องทำมาหากิน มันเหมือนกัน ถ้าพระท่านนั่งหลับตา เฉยๆ ท่านได้แต่ความสงบ แต่ทางธรรมไม่เกิด เพราะท่านไม่ได้มีสติมาดูกาย-ใจ คือดูความคิดตัวเอง มันก็เป็นศูนย์ ครับ
                        การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง คือการมีสติอยู่กับอิริยาบถ ณ ปัจจุบัน และเอาสติมาดูกาย-ใจ ให้รู้เท่าทันความคิด แต่อย่างหลงเข้าไปในความคิดนั้น ให้รู้ซื่อๆ อยู่อย่างนั้น เพราะจิตมันคิดสองอย่างไม่ได้ เมื่อสติอยู่กับอิริยาบถนั้น จิตมันจะว่าง เมื่อจิตว่าง จิตไม่คิด มันก็ไม่ทุกข์ ทำบ่อยๆ จนเป็นนิสัย มันจะจางไปเอง สักวันเราจะรู้เป็น "พุทธ" ด้วยตัวของเราเอง ครับ
                        สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2364 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2554, 08:15:31 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
                       รู้สุขภาพวันนี้ พี่สิงห์เอามาจากที่ท่านอาจารย์ถาวร  โชติชื่น ไปอบรมมา และส่งมาให้พี่สิงห์ พี่สิงห์เลยถือวิสาสะเอามาเรียนให้ทุกท่านได้ศึกษา การเยียวยาตนเองด้วยการปฏิบัติธรรมเจริญสติ จนเกิดเป็นสมาธิ นั้น มีประโยชน์อย่างไร ขอให้ทุกท่านใช้ปัญญาพิจารณาเอาเองครับ
                       สวัสดี(28819)


รู้สุขภาพวันละนิด จิตคลายทุกข์
ตอน
การเยียวยาตนเอง
Self Healing

รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี

ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข
คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

***********

การเยียวยาคืออะไร?
การป้องกัน  การส่งเสริม การรักษา
การฟื้นฟูสุขภาพ
 โดยใช้กระบวนการดูแลสุขภาพเชิงองค์รวม

************
การเยียวยาตนเองหมายถึงคืออะไร?    

                       การเยียวยาตนเอง (Self healing) เป็นวิธีการที่บุคคล มีความรู้ ความเชื่อและนำไปปฏิบัติเพื่อใช้ป้องกันการเจ็บป่วยและรักษาโรคตนเองโดยไม่มีการใช้ยา ไม่ต้องผ่าตัด  เป็นเรื่องของการแพทย์ทางเลือกเป็นเรื่องของการแพทย์แผนเดิม

ปัจจุบัน  การเยียวยาตนเองเป็นวิทยาศาสตร์

                       เป็นการทำงานประสานกัน  ระหว่างจิต-วิญญาณ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย  และระบบประสาท  เนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ไม่สมดุล เพราะมีสิ่ง มากระตุ้นร่างกาย เช่น เชื้อโรค  ความร้อน  แสง  เสียง  อารมณ์ของตนเอง ความรู้สึกนึกคิด  ความรัก  ความโลภ ความโกรธ ความหลง  
                        โดยมีแนวคิดของความสัมพันธ์ของกาย-จิต อารมณ์ สังคม สิ่งแวดล้อมและวิญญาณ เป็นหนึ่งเดียว
    
*******************

  
ผลลัพท์จากการปฏิบัติสมาธิ

         ๑.   การเปลี่ยนแปลงด้านภูมิต้านทานของร่างกาย
                        a.   CD4 T cell เพิ่มขึ้น (Na lamlieng,1998)

         ๒.   การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท
                        a.   กระแสประสาทที่ผ่านจะถูกปรับ
                        b.   กระแสนำเข้าจาก ปลายประสาทรับรู้ถูกควบคุม
                        c.   ลดสิ่งเร้า หรือเพิ่มความสนใจต่อสิ่งกระตุ้น
                        d.   จิตนิ่ง สงบ เข้าสู่สมาธิ  สมองมีคลื่นแอลฟ่า เธต้า
                        e.   การทำงานของระบบประสาทอัติโนมัติลดลง

         ๓.   มีการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท
                        a.   เพิ่มสารสุข  (Ryu et al, 1995)
                        b.   เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ที่ สมองส่วนหน้า และสมองส่วนท้ายทอย
                        c.   ลด สารสื่อประสาท
                        d.   ลดสารเร่งการเจริญเติบโต   เพิ่มสารเคมีชลอวัยวะ
                        e.   เพิ่มสารช่วยความจำ และ สารช่วยในการนอนหลับ

         ๔.   การเปลี่ยนแปลงด้านหัวใจและหลอดเลือด
                         a.   การฝึกสมาธิ แบบทีเอ็ม 4 เดือนทำให้ความดันโลหิต   ตัวล่างลดลง (Weneberg et al, 1997)
                         b.   ฝึกสมาธิวันละ 2 ครั้ง ใน เวลา 4 สัปดาห์ รักษาความดันโลหิตสูง (Hager & Survit, 1978)
                         c.   รักษาโรคหลอดเลือด  หัวใจได้ ภายใน 8 เดือน(Zamara et al, 1996)
                         d.   การทำงานของระบบประสาทอัติโนมัติลดลง ความดันโลหิตลดลง(Matias,1991; สมพร เตรียมชัยศรี, 2541)

         ๕.   การเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมนและสารเคมี
                         a.   ปฏิบัติสมาธิ 40 นาที ทำให้ฮอร์โมนเครียดลดลง (Gallois et al,1984)        
                         b.   การปฏิบัติสมาธิ ทำให้ระดับ คอร์ติซอลลดลง ซีรั่มโปรตีนเพิ่มขึ้น  ความดันโลหิตลดลง( Sudsuang et al, 1991)

          ๖.   การเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมนและสารเคมี
                         a.   ลดความเครียด
                         b.   ยกระดับจิตใจ ทำให้จิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดี
                         c.   ลดความวิตกกังวล
                         d.   รักษาโรคซึมเศร้า
                         e.   รักษาผู้ที่ติดสารเสพย์ติด พฤติกรรมก้าวร้าว
                         f.   ทำให้เพิ่มความเชื่อมั่นในตนเอง

ตัวอย่างของการวิจัยที่ใช้สมาธิรักษาโรค

หวัง และ โครอาร์(1993)  รักษา มะเร็ง วัณโรค เอดส์
เทเลอร์ (1995) รักษา HIV,
แกลอิส(1984) รักษาความดันโลหิตสูง
สแตนดิชและคณะ(1997) รักษา เอชไอวี เอดส์
ออนสทอต (1998) รักษา เอดส์
เฟเบอร์ และ นอลล์ (1993);
แกสตัน (1991) รักษาโรคเรื้อนกวาง
ดี แอนโทนี และคณะ(1995) รักษา ผู้ที่มีความผิดปกติในการพูด
บราว(1997) ส่งเสริมสุขภาพจิต วิญญาณผู้ป่วยและครอบครัว
ลา ฟอร์ก(1997): แมเธียส (1991)  รักษาโรคหัวใจ
      บันทึกการเข้า
Khun28
Full Member
**


ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2528
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์
กระทู้: 784

« ตอบ #2365 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2554, 14:10:23 »

ขออนุญาต พี่สิงห์ ประชาสัมพันธ์งานหลวงพ่อเทียน นะครับ

http://www.luangporteean.net/

กำหนดการจัดงาน การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน :
การศึกษาและสุขภาวะบนรากฐานความรู้สึกตัว วันที่ ๙-๑๐ กรกฏาคม ๒๕๕๔
ห้องประชุมบุญศิริ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล









ผมจะไปร่วมงานทั้งสองวันครับ


      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2366 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2554, 21:49:00 »

สำหรับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า

หรุ่งนี้ อาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2554 เตรียมบัตรประชาชนไปยังหน่วยประจำเขต อำเภอ หรือจังหวัด

นำ"หนังสือแจ้งผลการขอลงทะเบียนใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก่อนวันเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งแบบรายบุคคล หรือ แบบ ทก.๒" ไปด้วยครับ ในนั้นจะบอกถึงที่ตั้งหน่วยลงคะแนนล่วงหน้า
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2367 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2554, 09:42:05 »

ข่าวแต่เช้าเลย คือไทยขอถอนตัวออกจากคณะกรรมการมรดกโลก ถือเป็นชาติแรกที่ทำเช่นนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อตัดสินใจแล้ว ก็ขอให้เดินตามแนวทางนี้ตลอดไป และไม่สมควรกลับเข้าไปอีก

มรดกโลกที่มีอยู่แล้ว ก็หาเงินหาทองบริหารเอาเอง ส่วนที่จะยื่นใหม่ ก็เลิกคิดกันไปเลยแล้วกัน
อนุรักษ์ หรือรักษาเอาไว้เองก็ได้ ของดีๆ เขาพากันมาดูเอง ไม่ต้องเอาตรามรดกโลกไปแปะรับรองก็ได้


ด่วน! "สุวิทย์" ประกาศถอนตัวจากภาคีมรดกโลกแล้ว
26 มิถุนายน 2554 04:36 น.


       "สุวิทย์" ทวีต ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก บรรจุวาระพิจารณาแผนบริหารจัดการโดยรอบประสาทเขาพระวิหาร โดยไม่ยอมเลื่อนตามที่ไทยขอ ประกาศนำประเทศไทยถอนตัวจากการเป็นสมาชิกมรดกโลกแล้ว ย้ำไม่มีประโยชน์ใดที่จะอยู่ในสังคมที่ดำเนินการตามใจตนเอง ไม่คิดถึงกฏระเบียบที่ลงมติโดยสมาชิกแล้ว
       
       นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจามรดกโลกไทย ได้ทวิตข้อความผ่าน @SuwitKhunkitti เมื่อเวลา 23.24 น. ระหว่างการเดินทางร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการประชุมเพื่อหาข้อสรุปกรณีปราสาทเขาพระวิหาร ว่า ที่ประชุมบรรจุวาระ ผมไม่มีทางเลือกครับ คงต้องถอนตัว ผมได้เคยพูดกับสื่อไทยไปว่า หากสังคมใดดำเนินการตามใจตนเอง ไม่คิดถึงกฏระเบียบที่ลงมติโดยสมาชิกแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆที่เราจะอยู่ในสังคมแบบนี้
       
       นายสุวิทย์ เผยต่อมาว่า "กำลังแถลงต่อที่ประชุมครับ คณะผู้แทนพยายามเข้าใจ อธิบาย และอดทนรออย่างเต็มที่แล้ว"
       
       ล่าสุด เมื่อเวลา 23.40 น. ตามเวลาในประเทศไทย นายสุวิทย์ระบุว่า "ผมและคณะนำประเทศไทยถอนตัวจากการเป็นสมาชิกมรดกโลกแล้วครับ"
       
       โดยก่อนหน้านี้เมื่อเวลาประมาณ 17.47 น. นายสุวิทย์ ได้ระบุว่า  ไม่มีประโยชน์อะไรที่ประเทศไทยจะอยู่ในสังคมที่ไม่มีกติกาแบบนี้ ทุกคนได้ทำหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์ของไทยอย่างเต็มความสามารถแล้ว ทำทุกอย่างเท่าที่ควร และจำเป็นต้องทำไปหมดแล้ว สิ่งที่เหลือในตอนนี้คือ รอการพิจารณา และเราจะตัดสินใจในขั้นสุดท้ายต่อไป คาดว่า คณะกรรมการมรดกโลก จะมีคำตอบให้ภายใน 1 ชั่วโมงนับจากนี้ ซึ่งเราจะใช้เวลาช่วงสุดท้ายตัดสินใจก่อนเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ
       
       ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า ในการถอนตัวดังกล่าวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ได้รับทราบแล้ว อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นยังไม่ได้พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีว่าจะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการหรือไม่ ส่วนผลกระทบบริเวณชายแดนนั้นก็ต้องดำเนินการผ่านกรอบที่มีอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) หรือ การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (จีบีซี ) ทั้งนี้ยืนยันว่าทางทหารไทยพร้อมที่จะปกป้องอธิปไตยของชาติอยู่แล้ว

 
 
 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000077762


 

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2368 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2554, 09:44:02 »

ปีหน้า ไทนเรารับเป็นเจ้าภาพประชุมมรดกโลกที่ภูเก็ต
และจะนำทะเลภูเก็ต อาทิ หมู่เกาะสิมิรัน เกาะแก่งต่างๆ เข้าเป็นมรดกโลก
เรื่องคงยุติเพียงเท่านี้ ต่อไปคงต้องโปรโมท และดูแลกันเอง
      บันทึกการเข้า
krongon2513
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,490

« ตอบ #2369 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2554, 10:05:56 »

สวัสดีน้องสมชาย พี่ชอบหลักคิดของน้องนะคะ เจอกันตัวเป็นๆก้คุยเรื่อยเปื่อย ไม่ได้คุยเรื่องที่มีคุณค่าเช่นนี้ ฝากความคิดถึงน้องอ๊อดด้วยค่ะ เราน่าจะได้ไปเที่ยวด้วยกันอีกนะ

คุณสิงห์ค้า  เข้ามาเพราะชอบชุดตีกอล์ฟด้วย มันช่างชมพู๊ชมพู อะไรเช่นนี้ อีกอันที่ชอบคือ ที่แขวนถุงดีทอกซ์ ช่างเรียบง่าย ได้ประโยชน์ดีแท้ เรื่อง ที่เตือนมาก็ขอบคุณนะ จิบๆพอเป็นยาอะจ้ะ(ยานอนหลับ คริคริ)
จริงๆแล้วฉันก็ไม่ได้ตั้งใจมาเที่ยวเท่าไร แค่มาเยี่ยมญาติกับเยี่ยมลูก แต่ทั้งญาติและลูกพาฉันเที่ยวเสียยกใหญ่ วันนี้ไปวอชิงตัน ดีซี ไปถ่ายรูปหน้าทำเนียบขาว ร้อนชะมัด
ถ้าเจอน้องเปี๊ยกสุภาอีก บอกเธอด้วยว่าพี่อ้อยขอบคุณมากๆที่จัดการเรื่องตั๋วให้ทุกครา แนได้รับความสะดวกจากน้องเป็นอย่างดี
สวัสดียามดึก พรุ่งนี้ต้องเดินทางจากแมรีแลนด์กลับแคลิฟอร์เนีย ใช้เวลาบินเจ็ดชั่วโมงจ้ะ
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #2370 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2554, 17:00:52 »

สวัสดี ค่ะ พี่สิงห์ พี่อ้อย
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2371 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2554, 11:43:25 »

อ้างถึง
ข้อความของ krongon2513 เมื่อ 26 มิถุนายน 2554, 10:05:56
สวัสดีน้องสมชาย พี่ชอบหลักคิดของน้องนะคะ เจอกันตัวเป็นๆก้คุยเรื่อยเปื่อย ไม่ได้คุยเรื่องที่มีคุณค่าเช่นนี้ ฝากความคิดถึงน้องอ๊อดด้วยค่ะ เราน่าจะได้ไปเที่ยวด้วยกันอีกนะ

คุณสิงห์ค้า  เข้ามาเพราะชอบชุดตีกอล์ฟด้วย มันช่างชมพู๊ชมพู อะไรเช่นนี้ อีกอันที่ชอบคือ ที่แขวนถุงดีทอกซ์ ช่างเรียบง่าย ได้ประโยชน์ดีแท้ เรื่อง ที่เตือนมาก็ขอบคุณนะ จิบๆพอเป็นยาอะจ้ะ(ยานอนหลับ คริคริ)
จริงๆแล้วฉันก็ไม่ได้ตั้งใจมาเที่ยวเท่าไร แค่มาเยี่ยมญาติกับเยี่ยมลูก แต่ทั้งญาติและลูกพาฉันเที่ยวเสียยกใหญ่ วันนี้ไปวอชิงตัน ดีซี ไปถ่ายรูปหน้าทำเนียบขาว ร้อนชะมัด
ถ้าเจอน้องเปี๊ยกสุภาอีก บอกเธอด้วยว่าพี่อ้อยขอบคุณมากๆที่จัดการเรื่องตั๋วให้ทุกครา แนได้รับความสะดวกจากน้องเป็นอย่างดี
สวัสดียามดึก พรุ่งนี้ต้องเดินทางจากแมรีแลนด์กลับแคลิฟอร์เนีย ใช้เวลาบินเจ็ดชั่วโมงจ้ะ
สวัสดีค่ะ คุณอ้อย(กรองอร) ที่รัก
            อาจารย์เผ่า   ต้องการเจรจากับเธอ เพราะว่าอาจารย์เผ่า  จะพานิสิตไปชมบ้านของเธอค่ะ
            ขอบคุณมาก และสวัสดีค่ะ
      บันทึกการเข้า
krongon2513
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,490

« ตอบ #2372 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2554, 15:45:20 »

สวัสดีค่ะน้องเอมอร
คุณสิงห์คะ ด่วนไหมละคะ
ถ้าด่วนจะให้ติดต่อน้องสาวฉัน ถ้าไม่ด่วน ฉันกลับต้นเดือนหน้าจะรีบโทรหาอาจารย์เผ่าด่วนจี๋เลย
ปลายเดือนกรกฎาฉันจะไปฟังบรรยายเรื่องเรือนไทย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ที่อาจารย์เผ่าเป็นผู้บรรยายอยู่พอดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2373 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2554, 16:09:59 »

อ้างถึง
ข้อความของ krongon2513 เมื่อ 27 มิถุนายน 2554, 15:45:20
สวัสดีค่ะน้องเอมอร
คุณสิงห์คะ ด่วนไหมละคะ
ถ้าด่วนจะให้ติดต่อน้องสาวฉัน ถ้าไม่ด่วน ฉันกลับต้นเดือนหน้าจะรีบโทรหาอาจารย์เผ่าด่วนจี๋เลย
ปลายเดือนกรกฎาฉันจะไปฟังบรรยายเรื่องเรือนไทย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ที่อาจารย์เผ่าเป็นผู้บรรยายอยู่พอดี
สวัสดีค่ะ คุณอ้อย
                     รู้สึกว่าจะด่วนครับ เบอร์อาจารย์เผ่า 0816597869
                     สวัสดี
      บันทึกการเข้า
krongon2513
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,490

« ตอบ #2374 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2554, 23:26:42 »

เรียบร้อยแล้วค่ะ น้องสาวฉัน(ซีมะโด่ง17)จัดการประสานงานกับอาจารย์เผ่าแทนฉันได้เป็นอย่างดี
ผู้ที่ไม่ใช่นิสิต(คือคุณสิงห์)จะมาด้วยก็ได้นี่คะ
จะได้คอมเมนท์ทั้งจากวิศวกรและสถาปนิก มีประโยชน์เป็นยิ่งนัก

วันนี้อยู่แคลิฟอร์เนีย อาทิตย์หน้าจะไปเนวาดาและอริโซนาแล้วก็กลับบ้านเรา(ดีกว่า)
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 93 94 [95] 96 97 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><