26 พฤศจิกายน 2567, 06:33:03
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 82 83 [84] 85 86 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3580242 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 9 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #2075 เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2554, 08:42:13 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 13 พฤษภาคม 2554, 16:30:16
อ้างถึง
ข้อความของ too_ploenpit เมื่อ 13 พฤษภาคม 2554, 14:41:04

...เข้ามาตามอ่านค่ะ...พี่สิงห์...

...ตู่กำลังฝึกหายใจเข้ารูนึง...ออกรูนึงค่ะ...ตามแบบที่พี่สิงห์สอน...

...ขอบพระคุณสำหรับธรรมะดีๆที่พี่สิงห์มอบให้ค่ะ...

สวัสดีค่ะ คุณน้องตู่ ที่รัก
            เช้า หรือเย็น เธอควรจะชวนพี่หมอประสิทธิ์ เดินครั้งละหนึ่งชั่วโมง และฝึกหายใจจมูกเดียว ทุกวัน แต่มีข้อแม้ ห้ามเธอกินแยะ โดยเฉพาะภายหลังเดินเสร็จ เพราะจะอร่อยทุกอย่างที่ขวางหน้า เลยกินมาก ขาดความยับยั้งชั่งใจ
            สวัสดีค่ะ

...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์...

...หมอประสิทธิ์เค้าออกกำลังกายตลอดค่ะ...ส่วนมากจะตีแบด...กับเล่นฟุตบอลค่ะ...

...ส่วนตู่ก็ปั่นจักรยานกับว่ายน้ำค่ะ...

...เรื่องอาหารเหรอคะ...ก็เป็นบางวันค่ะ...วันไหนเข้าร้านดีๆก็ทานเยอะหน่อยค่ะ...อิอิ...

...ขอบพระคุณที่แนะนำค่ะ...พี่สิงห์...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2076 เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2554, 21:01:43 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
                       วันนี้ได้มีโอกาสคุยกับท่าน รศ.พินิจ และพี่ติ๋ว ตอนนี้อาจารย์สบายดีแล้ว พักอยู่ที่บ้าน ภายหลังได้ไปทำการรักษาเส้นเลือดตีบโดยการสวนเส้นเลือดหรือบอลล์ลูน ที่สถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลราชวิถี
                       ทุกท่านที่ทราบข่าวว่าอาจารย์ป่วยสบายใจได้แล้วครับ
                       ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2077 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2554, 06:02:53 »

สวัสดียามเช้าครับ ชาซซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
                        เช้านี้ผมขอนำพระสูตรของปริสังฆนายก องค์ที่ หก : ปรมาจารย์เว่ยหล่าง มาให้ทุกท่านได้ศึกษาต่อ พิจารณาด้วยปัญญาของท่านเอง ถึงแม้ว่าจะคนละนิกาย แต่แก่นแท้อันเดียวกัน ครับ
                        สวัสดี

พระสูตรเว่ยหล่าง
พุทธทาสภิกขุแปล

หมวดที่ 6
ว่าด้วยบาปสำนึก (การสำนึกบาป)
************************

ครั้งหนึ่ง พวกที่ใฝ่ใจในการศึกษา และพวกชาวบ้าน จากกวางเจา ชิวเจา และที่อื่นๆ ได้มาประชุมกันอย่างคับคั่ง เพื่อฟังคำเทศนาของพระสังฆปริณายก เมื่อพระสังฆปริณายกเห็นดั่งนั้น ก็ได้ขึ้นธรรมมาสน์ และแสดงธรรมเป็นข้อความดังต่อไปนี้:-

การปฏิบัติในพระพุทธศาสนานั้น เราควรตั้งต้นที่ จิตเดิมแท้ ของเราตลอดเวลา เราต้องชำระจิตของเราติดต่อกันทุกขณะจิต ไต่ไปตามมรรคปฎิปทาด้วยน้ำพักน้ำแรง ของเราเอง ให้เห็นประจักษ์ชัดแจ้งในธรรมกายของเรา ให้เห็นประจักษ์ชัดแจ้งต่อองค์พระพุทธเจ้าในใจของเรา รื้อขึ้นเองด้วยต่างคนต่างสมาทานศีล แล้วการมาสู่ที่นี่ของพวกท่านทั้งหลาย ก็จะมิเป็นการมาเปล่า เนื่องจากท่านทั้งหลายมาจากที่ไกล ด้วยกันทุกคน ข้อที่เราได้มาพบกันที่นี่ ย่อมแสดงว่าเป็นการได้มีการสมาคมกันอย่างประเสริฐ ฉะนั้นพวกเราทั้งหมดจงนั่งลงตามท่านั่งชาวอินเดีย อาตมาจะได้แสดงเรื่องวิธีการ สำนึกบาป(*23) (อันเป็นทางใจล้วน ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม (เช่นกิริยาท่าทางเป็นต้น) แก่ท่านทั้งหลาย

*23 คำว่า Formless Repentence ในที่นี้แปลว่า วิธีการสำนึกบาป (อันเป็นทางใจล้วน) ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม (เช่นกิริยาท่าทางเป็นต้น) นี้หมายถึงการซักล้างหรือเปลี่ยนกลับที่เกี่ยวกับใจภายในล้วนๆ ด้วยอำนาจของปัญญาเป็นต้น ไม่เกี่ยวกับกิริยา เช่น ประกอบพิธี ขอขมาในโบสถ์หรือเกี่ยวกับวัตถุ เช่นไถ่ตัวด้วยของทำบุญเป็นต้น หรือเกี่ยวกับบุคคล เช่น อ้อนวอนผู้มีอำนาจเบื้องบนเป็นต้น ท่านเรียกของท่านว่า Formless ซึ่งตามตัวว่า "ไม่มีรูป" นับว่าเป็นคำที่แปลยากที่สุดในหนังสือเล่มนี้ และมีอยู่ทั่วไปแทบทุกบท ต่อไปนี้จะแปลเพียงสั้นๆ ว่า "ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม" มีอธิบายดังที่กล่าวมาแล้ว ให้ผู้อ่านถือเป็นหลักใหญ่ๆ ไว้อย่างหนึ่งว่าสังฆปริณายกเว่ยหล่างที่กล่าวถึงองค์นี้ ท่านมุ่งจะสอนทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นธรรมาธิษฐาน คือเรื่องจิต หรือตัวจริงไปหมด ไม่ให้เป็นรูปบุคคลาธิฐาน ซึ่งสมมุติขึ้นเป็นบุคคล หรืออิงอยู่กับวัตถุ (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

เมื่อทุกคนนั่งเรียบร้อยแล้ว พระสังฆปริณายกได้กล่าวต่อไปว่า:-

คันธสาระ(*24) ข้อต้นนั้น คือ ศีล ซึ่งหมายถึงการที่จิตของเรา ปราศจากรอยด่างๆของทุจริต ความชั่ว ความริษยา ความตระหนี่ ความโกรธ

*24 คันธสาระ ในที่นี้หมายถึงสิ่งที่มีกลิ่นหอมทั่วไป ใช้จุดเพื่อให้อากาศหอม ผู้อ่านที่สังเกตจะเห็นได้ว่า คันธสาระห้าอย่างนี้ โดยชื่อ ก็คือที่เรียกกันในฝ่ายเถรวาทว่าธรรมสาระห้านั่นเอง ได้แก่ ศีล. สมาธิ ปัญญา. วิมุต และวิมุติญาณทัสสะ แต่คำอธิบายเดินคนละชั้นคนละแนว (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

การใช้กำลังข่มขู่ และการผูกเวร คันธสาระ ข้อที่สองนั้นคือ สมาธิ ซึ่งหมายถึงการที่จิตของเรา ไม่มีอาการหวั่นไหวในทุกเหตุการณ์ ที่เข้ามาแวดล้อมเรา ไม่ว่ามาดีหรือมาร้าย คันธสาระ ข้อที่สาม คือปัญญา ซึ่งหมายถึงการที่จิตของเราเป็นอิสระจากเครื่องหุ้มห่อรึงรัด หมายถึงการที่เราส่องปัญญาของเราอยู่เนืองนิจ ลงที่จิตเดิมแท้ของเรา หมายถึงความที่เราเป็นผู้พ้นเด็ดขาดจากการที่จะทำความชั่วทุกประเภท หมายถึงความที่แม้ว่า เราจะทำความดีทุกสิ่งทุกอย่าง ถึงกระนั้นเราก็ไม่ปล่อยให้ใจของเราเกี่ยวเกาะอยู่ที่ผลของความดีนั้นๆ และหมายถึงว่าเรายอมเคารพนับถือผู้ทีสูงกว่าเรา อ่อนน้อมต่อผู้ที่ต่ำต้อยกว่าเรา เห็นอกเห็นใจคนที่หมดวาสนาและคนยากจน คันธสาระ ข้อที่สี่ คือความหลุดพ้น(วิมุติ) ซึ่งหมายถึงความที่ใจของเราขึ้นถึงขั้นเป็นอิสระเด็ดขาด ไม่เกี่ยวเกาะอยู่กับสิ่งใด ไม่ผูกพันตัวเองอยู่กับความดีและความชั่ว คันธสาระข้อที่ห้า คือความรู้ อันเราได้รับในขณะที่ลุถึงความหลุดพ้น เมื่อจิตของเราไม่เกี่ยวเกาะกับความดีและความชั่วแล้วเรายังจะต้องระวังไม่ปล่อยให้จิตนั้นอิงอยู่กับความว่างเปล่า หรือตงลงไปสู่ความเฉื่อย ยิ่งกว่านั้นเรายังจะต้องเพิ่มพูนการศึกษา และขยายความรู้ของเราให้กว้างออกไป จนกระทั่งเราสามารถรู้จักจิตของเราเอง สามารถเข้าใจโดยทั่วถึงในหลักแห่งพุทธธรรม ทำตนเป็นญาติมิตรกับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายที่เราเกี่ยวข้องด้วย บำบัดความรูสึกว่า "ตัวตน" และความรู้สึกว่ามีว่าเป็นเสียให้หมดสิ้น และเห็นแจ้งชัดว่า จำเดิมแต่ต้นมาจนกระทั่งถึงเวลาที่เราได้บรรลุโพธินั้น "ธรรมชาติที่แท้จริง" (หรือจิตเดิมแท้) ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดั่งนี้ ชื่อว่าคันธสาระแห่ง "ความรู้อันเราได้รับในขณะที่ลุถึงความหลุดพ้น" คันธสาระอันประกอบไปด้วยองค์ห้าประการนี้ ย่อมอบกลิ่นออกมาจากภายใน และเราไม่ควรแสวงหามันจากภายนอก

ที่นี้อาตมาจะได้แสดงแก่ท่านทั้งหลาย ถึงเรื่อง "บาปสำนึก*25 อันไม่เกี่ยวกับรูปธรรม" อันเป็นวิธีที่จะไถ่ถอนเสียได้ซึ่งปวงบาป อันเราทั้ง

*25 คำว่า บาปสำนึก หรือการสำนึกบาปนี้ หมายถึงความสลดสังเวชในบาปที่ทำมาแล้ว ถึงขนาดที่จะทำใจให้เปลี่ยนกลับตัวเป็นคนๆ ใหม่ แต่ท่านหมายความสูงถึงการทำใจให้พ้นจากการถือในบาปในบุญเอาเสียทีเดียว จึงพยายามชี้ให้เห็นว่า ใจต้องข้ามพ้นจากบาปและบุญ จึงจะสามารถทำใจ ให้เกลี้ยงเกลาจากบาปได้ ซึ่งในที่อื่นข้างหน้า ท่านชี้ให้เห็นว่า บุญกับบาปนั้นเป็นของอย่างเดียวกัน คือเป็นเพียงสังขาร และออกมาจากอวิชชาด้วยกันทั้งสองอย่าง ผู้แปลไทย พุทธทาส

หลายได้กระทำกันในชาติเป็นปัจจุบัน ชาติอดีต และอนาคต และจะชำระมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ของเราให้หมดจด
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, จงทำตามอาตมา และว่าดังๆ พร้อมกันทุกคนเหมือนที่อาตมาจะว่านำ:-

ขอให้เราทั้งหลาย บรรดาสาวกที่ไม่ได้ระบุนามเหล่านี้ จงเป็นผู้เป็นอิสระตลอดกาล จากรอยด่างของความไม่รู้และรู้ผิด เราได้สำนึกแล้วในบาปและกรรมชั่วทั้งหลายของเรา อันเราได้ประกอบแล้ว เพราะอำนาจแห่งความรู้ผิด หรือความไม่รู้ ขอให้บาปทั้งปวงนั้นจงเป็นสิ่งไถ่ถอนหมดสิ้นแล้วในทันทีนี้ และขอย่าให้กลับเกิดมีมาอีกเลย

ขอให้เราทั้งหลาย จงเป็นผู้เป็นอิสระตลอดกาล จากรอยด่างของความเย่อหยิ่งและความอวดดี เราสำนึกได้แล้วในจริตอันเย่อหยิ่งและโอ่อวด อันเราทั้งหลายได้ประพฤติมาแล้วในอดีต ขอให้บาปทั้งมวลนั้น จงเป็นสิ่งที่ไถ่ถอนหมดสิ้นแล้วในทันทีนี้ และขออย่าให้กลับเกิดมีมาอีกเลย

ขอให้เราทั้งหลาย จงเป็นผู้เป็นอิสระตลอดกาล จากรอยด่างของความริษยา และความเคียดแค้น เราสำนึกได้แล้วในบาป และกรรมชั่วทั้งหลายของเรา อันเราได้ประกอบขึ้นแล้วด้วยใจอันเต็มไปด้วยความริษยาและความเคียดแค้น ขอให้บาปทั้งมวลนั้น จงเป็นสิ่งที่ไถ่ถอนหมดสิ้นแล้วในทันทีนี้ และขออย่าให้กลับเกิดมีมาอีกเลย

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย นี่แหละที่เราเรียกว่า "เซ็น-ฝู่ อันไม่เกี่ยวกับรูปธรรม" อะไรเล่าเป็นความหมายของ เซ็น และ ฝู่ (กฺษมยติ) ในที่นี้? เซ็น นั้นถึงความสำนึกบาปอันเป็นอดีต การสำนึกถึงตัวบาปและกรรมชั่วทั้งปวงในอดีต อันเราได้ประกอบขึ้นแล้ว ด้วยอำนาจความรู้ผิด ความไม่รู้ ความเย่อหยิ่ง ความอวดดี ความเคียดแค้น หรือความริษยาและอื่นๆ ได้ ฯลฯ จนถึงกับทำความสิ้นสุดให้แก่บาปเหล่านี้ได้เรียกว่า เซ็น. ฝู่ นั้นเล็งถึงการสำนึกบาปส่วนที่จะเกิดขึ้นด้วยการกระทำในอนาคตของเรา เมื่อเห็นแจ้งชัดถึงธรรมชาติอันเราอาจล่วงละเมิดได้ (ในอนาคต) เราย่อมตั้งปฏิญาณว่าแต่นี้ต่อไป เราขอทำความสุดสิ้นแก่กรรมชั่วทุกประเภท อันเกิดขึ้นมาจากความรู้ผิด ความไม่รู้ ความเย่อหยิ่ง ความอวดดี ความเคียดแค้น หรือความริษยา และว่า เราจะไม่ก่อบาปขึ้นอีกต่อไป นี้เรียกว่า ฝู่

เนื่องจากความไม่รู้และรู้ผิดเป็นเหตุ คนทั้งหลายย่อมไม่เห็นชัดแจ้งว่าในการทำความสำนึกบาปนั้น เขาไม่ควรจะเพียงแต่รู้สึกเสียใจ เพราะบาปกรรมที่ทำมาแล้วอย่างเดียว แต่เขาควรจะละเว้นเด็ดขาดจากการทำบาปใหม่ในอนาคตด้วย เนื่องจากเขาไม่ใส่ใจสำรวมถึงการกระทำในอนาคตนั่นเอง เขาประกอบบาปขึ้นใหม่ก่อน แทนที่จะไถ่ถอนบาปเก่าให้สิ้นไป เราจะเรียกการกระทำเช่นนั้นว่า "การสำนึกบาป" ได้อย่างไรกันเล่า?

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย เมื่อได้มีการสำนึกบาปชำระตัวแล้ว เราควรจะตั้งไว้ซึ่ง ปฏิญาณรวบยอด 4 ประการ*26 ดังต่อไปนี้

*26 ปฏิญาณรวบยอด 4 ประการ นั้น คำว่ารวบยอดหมายความว่า กินหมดถึงหลักทุกๆ หลักในการปฏิบัติ หรือตัวศาสนาก็ตาม

เราขอปฏิญาณที่จะปลดปล่อยสัตว์มีวิญญาณ มีปริมาณไม่จำกัดอันเป็นของแห่งใจของเราเอง.
เราขอปฏิญาณที่จะเพิกเสียซึ่งกิเลสมีปริมาณคณานาไม่ได้ ในใจของเราเอง
เราขอปฏิญาณที่จะศึกษาระบอบธรรม อันนับไม่ถ้วนแห่งจิตเดิมแท้ของเรา
เราขอปฏิญาณที่จะเข้าให้ถึงพุทธภาวะ อันสูงสุดแห่งจิตเดิมแท้ของเรา


ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย บัดนี้เราทั้งหมดได้ประกาศออกไปแล้วว่าเราปฏิญาณในอันที่จะปลดปล่อยสัตว์มีวิญญาณ อันมีประมาณไม่จำกัด แต่นั้นหมายความว่าอย่างไรเล่า? มันมิได้หมายความว่า อาตมา,เว่ยหล่าง กำลังจะปลดปล่อยสัตว์นั้น. และอะไรเล่าคือสัตว์มีวิญญาณเหล่านั้น อันมีอยู่ในใจของเรา?สัตว์เหล่านั้นคือ ใจที่หลงผิด ใจที่เป็นมายา ใจชั่วร้ายและใจอื่นๆ ทำนองนั้น เหล่านี้ทั้งหมด เรียกว่าสัตว์ที่มีวิญญาณ *27 สัตว์เหล่านี้แต่ละตัว
 
*27 การที่เรียกใจที่ชั่วร้ายนานาชนิด ว่าสัตว์มีวิญญาณในที่นี้ เป็นสำนวนศาสนาชนิดหนึ่งซึ่งถือว่าสิ่งทั้งปวงสำคัญอยู่ที่ใจ สำเร็จอยู่ที่ใจ หรือออกไปจากใจ และเป็นสิ่งที่น่าสงสารที่สุดสำหรับผู้ที่ไม่มีปัญญา พิจารณาเห็น ผู้แปลไทย พุทธทาส

จำจะต้องปลดปล่อยตัวมันเอง โดยอาศัยอำนาจแห่งจิตเดิมแท้ของมัน แล้วการปลดปล่อยนั้น ก็จะเป็นการปลดปล่อยอันเลิศแท้.

ในเรื่องนี้ การปลดปล่อยตัวเองโดยอาศัยจิตเดิมแท้ของตัวเองนั้น หมายความว่าอย่างไรเล่า? มันหมายถึงการหลุดรอดของสัตว์ที่โง่เขลา ที่หลงผิด ที่หลงทรมาน อันมีอยู่ในใจเรา ออกไปได้โดยอาศัยสัมมาทิฏฐิ โดยได้อาศัยสัมมาทิฏฐิและปัญญา สิ่งกางกั้นต่างๆที่สัตว์ผู้ไร้ความรู้และรู้ผิดเหล่านั้นแต่ละตัว จะอยู่ในฐานะปลดปล่อยตัวเองออกไปได้ ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัว ผู้ผิดจงปลดปล่อยตัวเองได้ ด้วยอาศัยความถูก ผู้รู้ผิดจงปลดปล่อยตัวเองได้ ด้วยอาศัยความรู้แจ้ง ผู้ไม่รู้ ด้วยอาศัยปัญญา และผู้เต็มอยู่ด้วยโทษ ด้วยการอาศัยคุณนี้คือการปลดปล่อยอันเลิศแท้.

สำหรับข้อปฏิญาณที่ว่า "เราขอปฏิญาณที่จะเพิกเสียซึ่งกิเลสอันชั่วร้ายภายในใจ อันมีปริมาณคณานับไม่ได้" นั้น ย่อมเล็งถึงการปลดออกเสียซึ่งกลุ่มของความคิดอันเชื่อถือไม่ได้ และเป็นมายาหลอกลวง โดยนำเอาปัญญาแห่งจิตเดิมแท้เข้ามาใส่แทนที่.

สำหรับข้อปฏิญาณที่ว่า "เราขอปฏิญาณที่จะศึกษาระบบธรรม อันนับไม่ถ้วน" นั้น ควรจะวางหลักลงไปว่า การศึกษาที่แท้จริงจะยังมีไม่ได้ จนกว่าเราจะได้เผชิญหน้ากับจิตเดิมแท้ของเราเสียก่อน. และจนกว่าเราจะมีความเป็นไปของเรากลมเกลียวกันได้กับธรรมะอันถูกต้อง ในทุกโอกาสเสียก่อน

สำหรับข้อปฏิญาณที่ว่า "เราขอปฏิญาณที่จะเข้าให้ถึงพุทธภาวะอันสูงสุด" นั้น อาตมาปรารถนาที่จะชี้ ให้ท่านทั้งหลายเห็นชัดว่า เมื่อเราสามารถน้อมจิตของเรา ไปตามทางแห่งธรรมะอันแท้ และถูกตรงในทุกโอกาส และเมื่อปัญญาแจ่มแจ้งอยู่ในใจของเราไม่ขาดสาย จนกระทั่งเราสามารถตีตัวออกห่างเสียได้ทั้งจากความรู้แจ้งและความไม่รู้ ไม่ข้องแวะด้วยกับทั้งความจริงและความเท็จ เมื่อนั้นแหละ เราอาจจะถือว่าตัวเราได้รู้แจ่มชัดแล้วในธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ *28 หรืออีกนัยหนึ่ง ได้ลุถึงแล้วซึ่งพุทธภาวะ

*28ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ หรือพุทธภาวะ ซึ่งมีประจำอยู่ที่จิตเดิมแท้ สองคำนี้ เป็นคำที่อธิบายยาก ท่านจึงต้องชี้ไว้ด้วยลักษณะอาการ ทำนองการอนุมานว่า เมื่อใดจิตสะอาดและฉลาดและสงบ ถึงขนาดที่มองเห็นว่า ความจริงกับความเท็จก็เป็นของไม่น่ายึดถือ เท่ากัน ความตรัสรู้ กับความโง่เขลาก็เป็นของไม่น่ายึดถือ เท่ากัน เมื่อนั้น ใจนั้นชื่อว่า อยู่ในมาตรฐานที่รู้จักพุทธภาวะ อันมีอยู่เองแล้ว ในจิตเดิมแท้ของคนทุกคน ผู้แปลไทย พุทธทาส

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย เราควรจะสำเหนียกอยู่ในใจให้ได้เสมอไปว่า เรากำลังไต่ไปเรื่อยๆตามทางแห่งมรรคปฏิปทา เพราะว่าการทำในใจเช่นนั้นย่อมเพิ่มกำลังให้แก่ปฏิญาณของเรา บัดนี้ เนื่องจากเราได้ตั้งไว้ ซึ่งปฏิญาณรวมยอด 4 ประการ เหล่านี้แล้ว อาตมาจะได้แสดงแก่ท่านทั้งหลาย ถึง "เครื่องส่องทาง *29 มีองค์สามประการอันไม่เกี่ยวกับรูปธรรม*30" สืบต่อไป

*29 เครื่องส่องทาง Guidance ในที่นี้โดยความหมายก็ตรงกับคำว่า สรณะ เพราะสรณะก็คือเครื่องสำหรับให้ใจหน่วงไป หรือดึงดูดใจไปหา. แต่ข้าพเจ้าคงแปลว่า "เครื่องส่องทาง" อนุโลมตามรูปศัพท์ในภาษาอังกฤษ ทั้งๆ ที่เชื่อว่าต้นฉบับเดิมในภาษาจีนใช้คำที่ตรงกับคำว่า สรณะ ผู้แปลไทย พุทธทาส

*30 "ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม" ในตอนนี้มีอธิบายชัดอยู่ในตัวแล้ว คือคำว่าพระพุทธเจ้า ก็ไม่หมายเอาองค์หรือร่างกายพระพุทธเจ้า แต่หมายเอาตัวความรู้ พระธรรม ก็ไม่ได้หมายเอาคัมภีร์หรือเสียง หรือภาพ แต่หมายเอาตัวความถูกต้อง พระสงฆ์ไม่ไม่หมายเอาผ้าเหลืองหรือตัวคน แต่หมายเอาตัวความบริสุทธิ์ เช่นนี้ทำให้เราเข้าใจความหมายของคำว่า "Formless" หรือ "ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม" ตามความหมายของพระสังฆปริณายก นั้นได้ง่ายขึ้น ผู้แปลไทย พุทธทาส

เราถือเอา "การรู้แจ้ง(ตรัสรู้) ว่าเป็นเครื่องนำทางของเรา เพราะว่านั่นแหละ คือยอดสุดทั้งของบุญและปัญญา
เราถือเอา "ความถูกต้องตามธรรมแท้" ว่าเป็นเครื่องนำทางของเรา เพราะว่านั่นแหละ คือหนทางที่ดีที่สุดแล้ว ของการรื้อถอนตัณหา.
เราถือเอา "ความบริสุทธิ์" ว่าเป็นเครื่องนำทางของเรา เพราะว่านั่นแหละ คือคุณชาติอันประเสริฐที่สุดของการได้เกิดเป็นมนุษย์


ต่อไปนี้จงถือเอาท่านที่ตรัสรู้แล้ว เป็นครูของเรา ในทุกกรณี เราไม่ควรรับเอาพญามาร (บุคคลาธิษฐานแห่งความชั่ว) หรือมิจฉาทิฏฐิบุคคลอื่นใดว่าเป็นผู้นำของเรา ข้อนี้เราอาจน้อมนำเข้ามาสู่ใจเราได้ โดยการน้อมระลึกถึงอยู่เนืองนิจใน "รัตนะทั้งสาม" แห่งจิตเดิมแท้ของเรา ซึ่งในรัตนะเหล่านี้เอง

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย อาตมาแนะนำให้ท่านทั้งหลายถือเอาเป็นที่พึ่ง รัตนะเหล่านั้นคือ:-

พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นตัวแทนของ "ความรู้แจ้ง(ตรัสรู้)"
พระธรรม ซึ่งเป็นตัวแทนของ "ความถูกต้องตามธรรมแท้"
พระสงฆ์ ซึ่งเป็นตัวแทนของ "ความบริสุทธิ์"


การน้อมใจของเราให้ถือเอา "ความรู้แจ้ง" เป็นที่พึ่งได้ จนถึงกับความรู้สึกที่ชั่วร้าย และผิดธรรมไม่อาจเกิดขึ้นได้ ตัณหาห่างจากไป ความตึงเครียดไม่ปรากฏ ราคะและโลภะไม่รึงรัดอีกต่อไป นั่นแหละคือยอดสุด ทั้งของบุญและปัญญา

การน้อมใจของเราให้ถือเอา "ความถูกต้องตามธรรมแท้" เป็นที่พึ่งได้ จนถึงกับเราเป็นอิสระอยู่เสมอ จากความเห็นผิด (ซึ่งถ้าปราศจากความเห็นผิดแล้ว ก็ไม่อาจจะเกิดความยึดถือตัวตน ความเย่อหยิ่ง หรือความทะเยอทะยานขึ้นมาได้) นั่นแหละ คือหนทางอันประเสริฐที่จะถอนเสียได้ซึ่งตัณหา.

การน้อมใจของเรา ให้ถือเอา "ความบริสุทธิ์" เป็นที่พึ่งได้ จนถึงกับไม่ว่าสถานะการณ์อันใดจะเข้ามาแวดล้อมใจ ก็ไม่ถูกทำให้เปื้อนด้วยวัตถุอารมณ์ อันน่าขยะแขยง ด้วยความทะเยอทะยานและตัณหา นั่นแหละ คือคุณชาติอันประเสริฐสุดของการได้เกิดมาเป็นคน

การปฏิบัติใน "เครื่องส่องทางมีองค์สาม" ตามวิธีที่กล่าวมาแล้วนี้ ย่อมหมายถึงการทำที่พึ่งในตัวของตัวเอง (คือในจิตเดิมแท้ของผู้นั้นเอง)*31
 
*31 พระสังฆปริณายกต้องการจะชี้ให้เห็นว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชนิดที่เป็นรูปธรรมนั้น คนละอย่างต่างจากตัวพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่เป็นลักษณะของจิตเดิมแท้ และท่านสอนสาวกของท่านให้ถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างนัยหลัง จึงขัดกัน อย่างที่จะเข้ากันไม่ได้ หรือฟังกันไม่ถูกกับพวกที่ถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชนิดที่เป็นรูปธรรม และด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงต้องใช้คำว่า "Formless" กำกับอยู่เสมอทุกแห่งในหัวข้อคำสอนของท่าน ผู้แปลไทย พุทธทาส

พวกคนเขลาพากันถือสรณะ "เครื่องส่องทางมีองค์สาม" ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่เขาหาเข้าใจในสิ่งนี้ไม่ ถ้าเขากล่าวว่า เขาถือที่พึ่งในพระพุทธเจ้า เขาทราบหรือว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน? ถ้าเขาไม่สามารถเห็นพระพุทธเจ้าได้ แล้วเขาจะสามารถถือที่พึ่งในพระองค์ได้อย่างไร? การที่เขายืนยันเช่นนั้นมิกลายเป็นเท็จไปหรือ?

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายแต่ละคนควรจะพิจารณา และสอบสวนข้อเท็จจริงในแง่นี้ให้แจ้งชัด เพื่อตัวท่านเอง และอย่าปล่อยให้กำลังกายและกำลังความคิดของท่าน ถูกใช้ไปผิดทาง พระสูตรได้กล่าวไว้ชัดแล้วว่า*31 เราควรจะถือที่พึ่งในพระพุทธเจ้าภายในตัวเราเอง ไม่ได้กล่าว

*31 พระสูตร ในที่นี้หมายถึงสูตรฝ่ายมหายาน และโดยเฉพาะหมายถึงวัชรเฉทิกสูตรซึ่งข้าพเจ้าจะได้หาโอกาสสอบดูต่อไป พระสูตรเล่มจีน เรียก กิมกังเก็ง ผู้แปลไทย พุทธทาส

สอนไว้เลยว่าให้ถือพระพุทธเจ้าอื่นๆ นอกจากนี้เป็นที่พึ่ง ยิ่งกว่านั้น ถ้าหากว่าเราไม่ถือที่พึ่งในพระพุทธเจ้าภายในตัวเราเองแล้ว ก็ไม่มีที่อื่นใดอีก ที่จะถือเอาเป็นที่พึ่งที่ต้านทานแก่เราได้

เมื่อได้พิจารณาเห็นความจริงในข้อนี้ โดยกระจ่างแล้วเราทั้งหลายแต่ละคนจงถือเอาที่พึ่งใน "รัตนะทั้งสาม" ภายในตัวเราเองเถิด ในภายในเราบังคับใจของเราเอง ภายนอก เรานอบน้อมต่อผู้อื่น นี่แหละ คือวิถีทางแห่งการถือที่พึ่งภายในตัวเราเอง

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย เมื่อท่านทุกคนได้ถือเอา "เครื่องส่องทางมีองค์สาม" นี้แล้ว อาตมาก็จะได้กล่าวแก่ท่านทั้งหลาย ถึงเรื่อง ตรีกาย (กายสามอย่าง) ของพระพุทธเจ้าแห่งจิตเดิมแท้ สืบไป เพื่อว่าท่านทั้งหลายจะสามารถเห็นกายทั้งสามนี้ แล้วจะเห็นแจ้งในจิตเดิมแท้อย่างชัดเจนด้วย จงตั้งใจฟังให้ดี และว่าตามดังๆ พร้อมกันทุกคน เหมือนที่อาตมาจะว่านำ:-

ด้วยกายเนื้อของเรานี้ เราขอถือที่พึ่งในธรรมกายอันบริสุทธิ์ (คือกายแก่น) ของพระพุทธเจ้า
ด้วยกายเนื้อของเรานี้ เราขอถือที่พึ่งในสัมโภคกายอันสมบูรณ์(คือการแสดงออก) ของพระพุทธเจ้า
ด้วยกายเนื้อของเรานี้ เราขอถือที่พึ่งในนิรมานกายอันมากมายตั้งหมื่นแสน(กายเปลี่ยนรูปต่างๆ) ของพระพุทธเจ้า


ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย กายเนื้อของเรานี้ อาจเปรียบกันได้กับโรงพักแรก (คือที่อาศัยชั่วคราว) ดั่งนั้นเราจึงไม่สามารถยึดเอาเป็นที่พึ่ง ในภายในจิตเดิมแท้ของเรา เราอาจหาพบกายทั้งสามนี้ และเป็นของสาธารณะทั่วไปสำหรับทุกคน แต่เนื่องจากใจ(ของคนธรรมดาสามัญ) ทำกิจอยู่ด้วยความรู้ผิดเขาจึงไม่ทราบถึงธรรมชาติแท้ในภายในกายของเขา ผลจึงเกิดมีว่าเขาไม่รู้จักตรีกาย ภายในตัวของเขาเอง (มิหนำซ้ำยังเชื่อผิดๆ อีก) ว่าตรีกายนั้นเป็นสิ่งที่ต้องแสวงหาจากภายนอก ท่านจงตั้งใจฟังเถิด อาตมาจะแสดงให้ท่านเห็นว่าในตัวท่านเอง ท่านจะหาพบตรีกายเป็นปรากฏการณ์ อันแสดงออกของจิตเดิมแท้ อันเป็นสิ่งที่ไม่อาจหาพบได้จากภายนอก

ในที่นี้ อะไรเล่าชื่อว่าธรรมกายอันบริสุทธิ์? จิตเดิมแท้ของเราเป็นของบริสุทธิ์จริงแท้ ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงอาการแสดงออกของจิตนี้กรรมดีกรรมชั่ว เป็นเพียงผลของความคิดดีและคิดชั่วตามลำดับ ฉะนั้น ภายในจิตเดิมแท้ สิ่งทุกสิ่ง (ย่อมบริสุทธิ์จริงแท้) เหมือนกับสีของท้องฟ้ากับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเมื่อเมฆผ่านมาบังความแจ่มนั้นดูประหนึ่งว่าถูกทำให้มัวไป แต่เมื่อเมฆผ่านไปแล้ว ความแจ่มกลับปรากฏอีก และสิ่งต่างๆก็ได้รับแสงที่ส่องมาเต็มที่อย่างเดิม ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย จิตชั่วของเราเปรียบเหมือนกับเมฆ ความรู้แจ้งแทงตลอด และปัญญาของเราเปรียบเหมือนดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ตามลำดับ เมื่อเราพัวพันอยู่กับอารมณ์ภายนอก

จิตเดิมแท้ของเรา ก็ถูกบดบังไว้ด้วยความรู้สึกที่ติดรสของอารมณ์ ซึ่งย่อมเป็นการปิดกั้นความรู้แจ้งแทงตลอด และปัญญาของเราไว้ มิให้ส่องแสงออกมาภายนอกได้ แต่เผอิญเป็นโชคดีแก่เราอย่างเพียงพอ ที่ได้พบกันกับครูผู้รอบรู้และอารีที่ได้นำธรรมะอันถูกต้องตามธรรมมาให้เราทราบ เราจึงสามารถกำจัดอวิชชาและความรู้ผิดเสียได้ ด้วยน้ำพักน้ำแรงของเรา จนถึงกับเราเป็นผู้รู้แจ้งสว่างไสว ทั้งภายในและภายนอก และธรรมชาติแท้ของสิ่งทั้งปวง ปรากฏ ตัวมันเองอยู่ภายในจิตเดิมแท้ของเรา นี่แหละคือสิ่งซึ่งบังเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ได้เผชิญหน้ากันกับจิตเดิมแท้ และนี่แหละ คือสิ่งซึ่งเรียกว่า ธรรมกายอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย การถือที่พึ่งในพระพุทธเจ้าที่จริงแท้นั้น ก็คือการถือที่พึ่งในจิตเดิมแท้ ของเราเอง ผู้ที่ถือที่พึ่งเช่นนี้ ย่อมจะพรากสิ่งต่อไปนี้ออกเสียจากจิตเดิมแท้ ของตน คือจิตชั่วต่ำ จิตริษยา จิตสอพลอ คดๆ งอๆ ความยึดถือตัว ความคดโกงและมดเท็จ ความดูถูก ดูแคลน ความโอหัง ความเห็นผิด ความเย่อหยิ่งจองหอง และความต่ำทรามอื่นๆ อันจะมีเกิดขึ้นในจิตไม่ว่าในเวลาใดๆ การถือที่พึ่งในตัวเราเองนั้น คือการระวังระไวอยู่ตลอดเวลาในการที่จะไม่ทำชั่วทำผิด และงดขาดจากการวิพากษ์วิจารณ์ความดี หรือความผิดของบุคคลอื่น ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตัวอยู่เสมอทุกโอกาส มีอัธยาศัยสุภาพต่อคนทุกๆคน ย่อมเป็นผู้ที่ได้เห็นจิตเดิมแท้ของเขาอย่างทั่วถึงแล้ว ทั่วถึงจริงๆ จนถึงกับหนทางข้างหน้าของเขาจะปราศจากอุปสรรคทุกประการ นี่แหละคือวิถีทางที่จะทำที่พึ่ง ในตนเอง

อะไรเล่า ชื่อว่าสัมโภคกายอันสมบูรณ์ ในที่นี้ขอให้เรานึกถึงตะเกียงเป็นภาพเปรียบ แม้แต่แสงตะเกียงเพียงดวงเดียว ก็ยังสามารถทำลายความมืด ที่มืดมานับพันๆปีได้ ฉะนั้น ประกายแห่งปัญญาย่อมสามารถทำลายอวิชชาที่มืดมาเป็นยุคๆ ได้เช่นกัน เราไม่ต้องวิตกกังวลถึงอดีต เพราะอดีตเป็นสิ่งที่ล่วงพ้นมาแล้ว และไม่สามารถเอากลับคืนมาได้ สิ่งที่ต้องการความสนใจจากเราคืออนาคต ฉะนั้น จงให้ความคิดของเราเป็นสิ่งที่กระจ่าง และกลมกล่อมอยู่ทุกขณะจิตเถิด และให้เห็นอย่างเผชิญหน้าอยู่กับจิตเดิมแท้ทุกเมื่อเถิด ความดีกับความชั่วเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามต่อกันและกันอยู่ก็จริง แต่ว่าตัวเนื้อแท้ส่วนลึกของมันนั้น ไม่สามารถจะแยกออกเป็นสองฝ่าย*32 ธรรมชาติชั้นที่เราไม่สามารถแบ่งแยกออกเป็นสองฝ่ายนี่เอง คือตัวธรรมชาติแท้ (กล่าวคือความจริงแท้อันเด็ดขาด) ซึ่งไม่สามารถถูกทำให้เปื้อนด้วยความชั่ว หรือวิปริตไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยอำนาจของความดี นี่แหละคือสิ่งซึ่งเรียกว่า สัมโภคกายของพระพุทธเจ้า

*32 ข้อความวรรคนี้ คงจะเข้าใจยากยิ่งสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นกับธรรมประเภทนี้ ว่ามีความดีกับความชั่ว เป็นของที่เห็นชัดว่าผิดตรงข้าม แต่ส่วนเนื้อแท้ส่วนลึกของมันเป็นอันเดียวกัน ไม่สามารถแบ่งแยกออกเป็นสองฝ่ายนั้น คือว่า ปรากฏการณ์ข้างนอกของความดีความชั่ว หรือผลอันจะเกิดจากความดีความชั่วแก่เรา หรือลักษณะอื่นๆ ก็ตามล้วนแต่ตรงกันข้าม จนคนทั่วไปเรียกว่าเป็นของคู่ คือคนละอย่างตรงกันข้าม แต่เมื่อปัญญาแทงตลอดลงไปถึงตัวจริงส่วนลึก(Quintessence)ของมันแล้ว การกลับปรากฏไปเสียว่ามาจากตัณหาด้วยกัน เป็นสังขารด้วยกัน อวิชชาปรุงแต่งขึ้นด้วยกัน ไม่อาจแบ่งแยกเป็นสองฝ่ายในขั้นนี้ซึ่งเป็นขั้นรากเง้าของมัน ใครเห็นชัดความจริงในส่วนนี้ ชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้าแห่งจิตเดิมแท้ ในส่วนสัมโภคกายของพระองค์ คำว่า Quintessence นั้น ตามตัวอักษรแปลว่า อายตนะที่ห้า หรือมูลธาตุที่ห้า ดิน น้ำ ลม ไฟ คือสี่ธาตุ ธาตุที่ห้า คือใจ เมื่อใช้กับวัตถุ หมายถึงส่วนที่เป็นตัวแท้ของมัน ที่ไม่ใช่ปรากฏการณ์ข้างนอก ในที่นี้ใช้กับความดี ความชั่ว คำนี้จึงหมายถึง "ตัวแท้ชั้นในหรือชั้นลึก"ของสิ่งนี้ ผู้แปลไทย พุทธทาส

ความคิดชั่วร้ายเพียงดวงเดียว จากจิตเดิมแท้ของเรา อาจจะทำลายความดีที่เราสร้างสม อบรมมานาน นับเป็นสมัยๆ ให้เสื่อมเสียไปหมดได้ทำนองเดียวกับความคิดอันดีงานจากจิตเดิมแท้นั่นอีกเหมือนกัน อาจจะชำระชะล้างบาปอกุศลของเรา ซึ่งแม้จะมากมายเหมือนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ได้ดุจกันการเห็นประจักษ์ชัดต่อจิตเดิมแท้ของเราเองอยู่ทุกขณะจิต ปราศจากการแทรกแซงจนกระทั่งลุถึงการตรัสรู้ขั้นสูงสุด ถึงกับอยู่ในภาวะแห่งความเต็มเปี่ยมด้วยความรู้ อันถูกต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นั่นแหละ คือสัมโภคกาย

ทีนี้ อะไรเล่า ชื่อว่านิรมานกายอันมากมายนับด้วยหมื่นแสน? เมื่อใดเราทำตัวเรา ให้เข้ามาอยู่ในฝักฝ่ายของความรู้จักแบ่งแยกว่า อะไรเป็นฝ่ายไหน และระบุออกไปว่า อะไรเป็นสิ่งที่ควรต้องการ ได้แม้แต่เพียงนิดเดียวเท่านั้น เมื่อนั้นความเปลี่ยนรูปแปลงร่างก็จะเกิดขึ้น (แก่ตัวเราเอง)*33

*33 ข้อความนี้ คงฟังยากสำหรับบางคน จึงขออธิบายเสียด้วยว่า พอปัญญาแท้จริงเกิดขึ้นแม้นิดเดียว ในขณะนั้นก็เกิดการเปลี่ยนรูปขึ้นภายในจิต เช่นเปลี่ยนจากความมืด มายังความสว่าง จากความเปื้อน มาเป็นความสะอาด จากความร้อนมาเป็นความเย็น เป็นต้น เป็นของใหม่ขึ้นมา มากน้อยตามสมควรแก่ความรู้จักแยก (discrimination) และความรู้จักระบุของที่ควรต้องการ (particularization) ของตนเอง หมายความสั้นๆว่า พอปัญญาเกิด ก็ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในภายในด้วยเสมอไป ถ้าผิดไปจากนี้ ก็คือยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ผู้แปลไทย พุทธทาส

ถ้าผิดไปจากนี้ สิ่งทุกสิ่งจะยังคงว่างเปล่า เหมือนกับอวกาศ ดังเช่นที่มันเป็นอยู่ในตัวมันเองมาแต่เดิม โดยการเอนอิงจิตของเราลงไปบนสิ่งชั่ว นรกก็เกิดขึ้น โดยการเอนอิงจิตของเราลงไปบนการกระทำกรรมดี สวรรค์ก็ปรากฏ มังกรและงูร้าย คือการแปลงร่างมาเกิดของเวรภัยอันมีพิษ เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ก็คือตัวตน ของความเมตตากรุณา จับกลุ่มกันมาเกิด ซีกบนคือปัญญาซึ่งจับตัวกันเป็นผลึก ส่องแสงจ้าอยู่ ในขณะที่โลกซึกล่างเป็นเพียงอีกรูปหนึ่งของสิ่งที่ก่อรูปมาจากอวิชชา และความมัวเมา การเปลี่ยนรูปแปลงร่างของจิตเดิมแท้ช่างมีมากมายเสียจริงๆ พวกที่ตกอยู่ภายใต้ความหลงก็ไม่มีวันตื่น และไม่มีวันเข้าใจ จึงน้อมใจลงสู่ความชั่วเสมอและประพฤติความชั่วนั้นเป็นปกตินิสัย แต่ถ้าเขาจะน้อมจิตเลี้ยวจากความชั่ว มายังความดีงาม แม้แต่เพียงสักขณะจิตเดียวเท่านั้น ปัญญาก็จะเกิดขึ้นทันที นี่แหละ คือสิ่งซึ่งเรียกว่านิรมานกายของพระพุทธเจ้าแห่งจิตเดิมแท้

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ธรรมกาย คือ สิ่งซึ่งมีความเต็มเปี่ยมอยู่ในตัวเอง อย่างแท้จริง การเห็นกันอยู่อย่างเผชิญหน้ากับจิตเดิมแท้ของคนทุกๆขณะจิต นั้นคือ สัมโภคกาย ของพระพุทธเจ้า การเอนอิงจิตของเราลงที่สัมโภคกายนั้น (จนถึงกับเกิดความสว่างหรือปัญญา) นั่นคือนิรมานกาย การปฏิบัติให้ลุถึงการตรัสรู้ ด้วยน้ำพักน้ำแรงของเราเอง และการที่ตนเองปฏิบัติความดีงาม ตามที่มีอยู่ในจิตเดิมแท้ของตนเอง นั่นแหละ คือกรณีชั้นเลิศของ "การถือที่พึ่ง" กายเนื้อของเรานี้ประกอบอยู่ด้วยเนื้อและหนัง ฯลฯ มันไม่มากอะไรยิ่งไปกว่าเป็นที่พักแรม (สำหรับอาศัยเพียงชั่วคราว) ดังนั้นเราจึงไม่ถือที่พึ่งในกายเนื้อนั้น แต่เราจงพยายามให้เห็นแจ้งในตรีกายแห่งจิตเดิมแท้ของเราเถิด และเราจะรู้จักพระพุทธเจ้าแห่งจิตเดิมแท้ของเราเอง

อาตมามีโศลกโคลง *34 อันไม่เกี่ยวกับรูปธรรม" อยู่บทหนึ่งซึ่งการท่องและการปฏิบัติตามโศลกโคลงนี้ จะสามารถเพิกอวิชชาให้สูญไป และชำระ

*34 โคลงโศลก ในที่นี้คือคำที่ผูกเข้าเป็นคำประพันธ์ชนิดกาพย์ หรือโคลงในภาษาบาลีเรียกคำชนิดนี้ว่า "คาถา" หรือคำสำหรับขับ "ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม" ในที่นี้ ก็เช่นเดียวกับที่อื่นนั่นเอง คือสอนวิธีปฏิบัติไม่เกี่ยวกับรูปธรรม หรือพึ่งพาอาศัยรูปธรรม ผู้แปลไทย พุทธทาส

ชะล้างบาป อันได้สะสมอบรมมานานนับด้วยกัลป์ๆได้ โดยสิ้นเชิง โศลกโคลงนั้นมีดังนี้:-
พวกที่จมอยู่ความเขลา ย่อมมัวแต่สะสมบุญอันแปดเปื้อน (ด้วยการลูบคลำของตัณหาและทิฏฐิ)*35 ไม่ไต่ไปตามมรรคปฏิปทา

*35 บุญเป็นสิ่งที่แปดเปื้อนหรือมีราคี เพราะบุญทุกอย่างต้องอาศัยตัณหาและทิฏฐิ หรือย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเกิดขึ้นได้ ที่เป็นชั้นสูง เช่นทิฏฐิที่ยังสำคัญว่าตัวตนบังคับให้ทำดีอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อตัวเช่นนี้ บุญนี้ ชื่อว่ายังถูกทิฏฐิ หรืออุปทานลูบคลำอยู่ ถ้าสูงพ้นนี้ไป คือมีความรู้สึกในความไม่มีตัวตน ทำอะไรก็พ้นจากความเป็นบุญเสียแล้ว จึงมีหลักตายตัวว่า บุญทุกชนิดต้องแปดเปื้อนแต่เป็นความแปดเปื้อนชนิดที่ถือกันว่าสวยเช่น การเขียนปาก เขียนคิ้ว ของคนในสมัยนี้ เป็นตัวอย่าง บุญย่อมนำหรือส่งเสริมให้เกิดในภพใดภพหนึ่งเสมอไป ซึ่งทำให้มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทางพุทธศาสนาจึงถือว่า แม้บุญก็มีพิษร้ายเท่ากับบาป แต่ว่าลึกซึ้งเกินกว่าที่คนธรรมดาจะมองเห็น และเมื่อเขายังไม่สามารถทำอะไรให้สูงไปกว่านั้นได้ จึงให้ทำบุญกันไปก่อนดีกว่าทำบาป แต่เมื่อใดความเห็นจริง เมื่อนั้น จะเบื่อบุญเท่ากับเบื่อบาป และหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ ผู้แปลไทย พุทธทาส

พวกนี้ตกอยู่ภายใต้ความรู้สึก ว่าการสะสมบุญ กับการไต่ไปตามมรรคปฏิปทานั้น เป็นของสิ่งเดียวและอย่าเดียวกัน
แม้ว่าบุญของคนพวกนี้ อันเกิดจากการให้ทานและการบูชา จะมีมากหาประมาณมิได้
เขาก็ไม่เห็นแจ้งว่า วิถีทางมาอันเฉียบขาดของบาปนั้น เนื่องอยู่กับมูลธาตุ อันมีพิษร้ายสามประการ(โลภ โกรธ หลง)อันมีอยู่ในใจของตนเอง
เขาคิดว่าเขาจะเปลื้องบาปของเขาได้ ด้วยการสะสมบุญ
โดยหารู้ไม่ว่าความสุขที่เขาจะได้รับในชาติข้างหน้านั้น ไม่มีอะไรเกี่ยวกับการเปลื้องบาปนั้นเลย
ทำไมจึงไม่เปลื้องบาป (ด้วยวิธีที่ทำกัน) ภายในใจของตนเอง เพราะนั่นแหละเป็นการชำระบาป (ภายในจิตเดิมแท้ของเรา) อย่างแท้จริง
คนบาปที่ได้มีความเห็นแจ้งขึ้นในทันทีทันใด ว่าอะไรจะนำมาซึ่งการสำนึกบาป อย่างแท้จริง ตามวิธีของนิกายมหายาน
และได้เลิกละเด็ดขาดจากการทำบาป ทำแต่ความดีงาม นี่แหละ คือ ผู้หมดบาป
ผู้ที่ไต่ไปตามมรรคปฏิปทา ซึ่งกำหนดในจิตเดิมแท้อยู่เนืองนิจนั้น
ควรถูกจัดเข้าในระดับชั้นเดียวกันกับ พุทธบุคคลอันมีประเภทต่างๆ
พระสังฆปริณายกของเราที่แล้วๆมา ไม่ค่อยสอนระบบธรรมอย่างอื่นเลย นอกจากระบบ "ฉับพลัน"*36 นี้เท่านั้น

*36 ระบบฉับพลัน หมายถึงระบบลัดตามวิธีนี้ เพื่อตัดขาดจากการมัวข้องแวะกับรูปธรรม นับตั้งแต่ตำราไปจนถึงบุญกุศลหรือสวรรค์ อ้นเป็นหลักสำคัญของท่านผู้นี้ ผู้แปลไทย พุทธทาส

ขอให้ ผู้ปฏิบัติตามระบบนี้ทุกคน จงเห็นอย่างเผชิญหน้าต่อ จิตเดิมแท้ของตน และอยู่กับพระพุทธเจ้าเหล่านั้นได้ในทันที
ถ้าท่านกำลังแสวงหาธรรมกาย
ก็จงมองให้สูง เหนือขึ้นไปจากลักษณะธรรมดา *37 (ปรากฏการณ์ต่างๆ) แล้วจิตเดิมแท้ของท่านก็จะบริสุทธิ์

*37 คำนี้ของเดิมว่า "ธรรมลักษณะ" หมายถึงลักษณะธรรมดาของสิ่งทั้งปวงทั่วไป ข้าพเจ้าไม่ทับศัพท์เพราะอาจเกิดความสับสนแก่ท่านผู้อ่านได้ ผู้แปลไทย พุทธทาส

จงตั้งตัวมั่น ในความมุ่งหมายที่เห็นจิตเดิมแท้อย่างเผชิญหน้า อย่าถอยหลัง
เพราะความตายอาจมาถึงโดยปัจจุบัน และทำชีวิตในโลกนี้ของท่าน ให้สิ้นสุดลงโดยทันที
ผู้ที่เข้าใจคำสอนตามหลักแห่งมหายาน และอยู่ในฐานะที่จะมองเห็นจิตเดิมแท้เช่นนี้
ควรจะกระพุ่มมือทั้งสองเข้าด้วยกันอย่างนอบน้อม (ด้วยอาการแห่งความเคารพ) แล้วแสวงหาธรรมกาย ด้วยความกระตือรือร้นเถิด

พระสังฆปริณายกได้กล่าวเสริมอีกว่า:-

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ควรสาธยายโศลกนี้และปฏิบัติตาม ถ้าท่านมองเห็นจิตเดิมแท้ของท่านหลังจากที่สาธยายแล้ว ท่านก็จะเห็นได้เองว่า ท่านได้อยู่ในที่เฉพาะหน้าของอาตมาตลอดไป แม้ว่าตามที่แท้ท่านอยู่ห่างออกไปตั้งพันๆไมล์ แต่ถ้าท่านไม่สามารถทำได้ แม้เราจะอยู่จ่อหน้ากันอย่างนี้ โดยทีแท้ก็คือเราอยู่ห่างกันตั้งพันๆ ไมล์นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนั้น จะมีประโยชน์อะไรในการที่ท่านทนทรมานเดินทางจนมาถึงที่นี่ จากที่อันไกลแสนไกล จงระวังตัวของท่านให้ดี อาตมาลาก่อน

บรรดาผู้มาประชุมกันนั้น เมื่อได้ฟังพระสังฆปริณายกกล่าวจบแล้ว ได้พากันรู้แจ้งเห็นจริง ด้วยอาการอันปลื้มปีติ เขาพากันร้บเอาคำสอน และนำไปปฏิบัติ

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2078 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2554, 08:16:15 »

วันวิสาขบูชา

ปีนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔








เชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่าง วันวิสาขบูชา กันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวันวิสาขบูชา พร้อมๆ กันดีกว่า


ความหมายของ วันวิสาขบูชา

คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6

การกำหนด วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ

ประวัติวันวิสาขบูชา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่

 1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ

เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"

เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส

 2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ

หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ
 
วันวิสาขบูชา

 ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
 ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
 ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา


 3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน

เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธุ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น
 


ประวัติความเป็นมาของ วันวิสาขบูชา ในประเทศไทย

ปรากฎหลักฐานว่า วันวิสาขบูชา เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกา นั่นคือ เมื่อประมาณ พ.ศ.420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นกษัตริย์ลังกา พระองค์อื่นๆ ก็ปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบทอดต่อกันมา

ส่วนการเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยนั้น น่าจะเป็นเพราะประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับประเทศลังกาอย่างใกล้ชิด เห็นได้จากมีพระสงฆ์จากลังกาหลายรูปเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย

สำหรับการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีการบันทึกไว้ในหนังสือนางนพมาศ สรุปได้ว่า เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัย จะช่วยกันประดับตกแต่งพระนคร ด้วยดอกไม้ พร้อมกับจุดประทีปโคมไฟให้ดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายในไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน
 
ส่วนชาวสุโขทัยจะรักษาศีล ฟังธรรม ถวายสลากภัต สังฆทาน อาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทานแก่คนยากจน ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ

หลังจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มากขึ้น ทำให้ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีการประกอบพิธีวิสาขบูชา จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2360) ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรก ในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ.2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญ ทำกุศล โดยทั่วหน้ากัน การรื้อฟื้นพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาในครานี้ จึงถือเป็นแบบอย่างถือปฏิบัติในการประกอบพิธี วันวิสาขบูชา ต่อเนื่องมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ

วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญที่สุดทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระศาสดา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชานี้ และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2542 องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา ผู้ที่ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณา และได้กำหนดวันวิสาขบูชานี้ถือเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา โดยการที่สหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกนั้น ได้ให้เหตุผลไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน

การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา

การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา จะแบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่

 1. พิธีหลวง คือ พระราชพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ประกอบในวันวิสาขบูชา
 2. พิธีราษฎร์ คือ พิธีของประชาชนทั่วไป
 3. พิธีของพระสงฆ์ คือ พิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจ

กิจกรรมใน วันวิสาขบูชา

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

 1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร
 2. จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
 3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล
 4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
 5. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
 6. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
 7. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
 8. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

หลักธรรมที่สำคัญใน วันวิสาขบูชา ที่ควรนำมาปฏิบัติ

ใน วันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรยึดมั่นในหลักธรรม ซึ่งหลักธรรมที่ควรนำมาปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ได้แก่

 1. ความกตัญญู

คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้ง บิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ

ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนด้วยความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป

 2. อริยสัจ 4

คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

 ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพลาดจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือ ความยากจน เป็นต้น

 สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก "ตัณหา" อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

 นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้

 มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ


 3. ความไม่ประมาท

คือการมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้นในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ


วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิต

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2079 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2554, 12:05:52 »

"มี แต่ไม่เอา"

พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดุูลย์   อตุโล

                       ปี ๒๕๒๒ หลวงปู่ไปพักผ่อน และเยี่ยมพระอาจารย์สมชายที่วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี ขระเดียวกันก็มีพระเถระอาวุโสรูปหนึ่งจากกรุงเทพฯ คือพระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม เจ้าคณะภาคทางภาคใต้ ไปฝึกกรรมฐานเมื่อวัยชรา เพราะมีอายุอ่อนกว่าหลวงปู่ปีเดียว
                       เมื่อท่านทราบว่าหลวงปู่เป็นพระฝ่ายกรรมฐานอยู่แล้ว ท่านจึงสนใจและศึกษาถามถึงผลของการปฏิบัติ ทำนองสนทนาธรรมกันเป็นเวลานาน และกล่าวถึงภาระของท่านว่า มัวแต่ศึกษาและบริหารงานการคณะสงฆ์มาตลอดวัยชรา แล้วก็สนทนาข้อกัมมัฏฐานกับหลวงปู่เป็นเวลานาน ลงท้ายถามหลวงปู่สั้น ๆ ว่าท่านยังมีโกรธอยู่ไหม
                       หลวงปู่ตอบเร็วว่า "มี แต่ไม่เอา"


                       มันก็จริงดังหลวงปู่ดูลย์ ท่านตอบ  
                       ผมเองนั้นภายหลังจากการปฏิบัติธรรมเจริญสติมาระยะหนึ่งนั้น ความรู้สึกโกรธ ไม่เคยหายไปเลย แต่ทำไม?ผมจึงโกรธ อยากขึ้นจนไม่แสดงออกเลย ทั้งๆที่ยังมีความรู้สึกว่าโกรธ อยู่? ทำไมขาเราปวดเดินไม่ไหว? เราไม่เห็นเจ็บและยังเดินได้อยู่โดยไม่คิดว่าเจ็บ?
                       คำตอบคือ เป็นเพราะผมฝึกสติ จนตัวสติมันมีความเร็วเกือบเท่าความคิดของผม คือ พอผมรู้สึกว่าจะโกรธ? การโกรธนั้นมีสาเหตุมาจาก "ประสพกับสิ่งที่ไม่รัก ไม่ชอบ จึงเป็นทุกข์" เป็นทุกข์หนึ่งในเจ็ด ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบอกไว้ ที่จะก่อให้เกิดความโกรธขึ้นมาได้ มันก็เป็นจริง ท่านลองดูจิตของท่านเถิด ความโกรธนั้นเกิดขึ้นจากสิ่งที่ท่านประสพ ณ ปัจจุบัน ในสิ่งที่ท่านคิดว่า ท่านไม่รัก ไม่ชอบ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่อยากพบ ไม่อยากได้ ..... แต่ก็มีคนหรือท่านมาพบอีกจนได้ เพราะท่านไม่ชอบสิ่งเหล่านี้ที่เคยเกิดขึ้นมากับท่านแล้วในอดีต ฝังอยู่ในใจท่านจนเป็นสันดาล เมื่อมาพบอีกด้วยสาเหตุอะไรก็ตามโดยมากมักเป็นคนนำมาให้ท่าน ท่านขาดความยั้งคิด คือขาดสติ จึงแสดงออกทางกาย วาจา ใจ ทันทีคือการแสดงอาการโกรธขึ้นหน้าขึ้นมาทันที
                      แต่สำหรับผม พอเจอสิ่งที่จะทำให้ตัวเองโกรธขึ้นมานั้น จะรู้สึกหงุดหงิดขึ้นมาทันที แต่ในทันใดนั้นตัวสติก็วิ่งมาเร็วพอกันมาแสดงตนให้ทราบทันทีว่า ต้นตอแห่งสาเหตุการโกรธนั้น มันมาจากอะไร? อะไร?เป็นสาเหตุแห่งการที่เราจะโกรธนั้น เมื่อทราบสาเหตุ สติก็จะเตือนทันทีว่าสาเหตุที่เราจะโกรธนั้น มันเป็นอดีต มันผ่านไปแล้ว เราจะมาฟื้นหาทุกข์ใส่บ่าตนไปอีกทำไม? ทำไม?ไม่ละมันเสีย พอคิดได้ความหงุดหงิดที่เกิดขึ้นก็หายไป ความโกรธก็ไม่บังเกิด ความปล่อยวางเข้ามาแทนที่ รวมทั้งคำว่า "ให้อภัย" จะอยู่ในจิต
                      สรุป ความเวทนาต่างๆ หรือความโกรธนั้น มนุษย์ทุกคนจะยังรับรู้ได้อยู่ เพียงแต่ผู้ฝึกจิตไว้ดีแล้ว ท่านเหล่านั้น มีจิตที่อยู่เหนือกว่า เวทนาและความโกรธนั้น มันจึงไม่มีผลกับคน คนนั้น
                      ของขวัญวันวิสาขบูชา
                      สวัสดี

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2080 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2554, 12:58:16 »



"เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ" ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้ ต่อแต่นี้ไป กระผมนายมานพ  กลับดี จะขอดำรงค์อยู่ด้วยการรักษาศิล ๕ เป็นนิจ ดังนี้

๑. ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และไม่ใช้ผู้อื่นฆ่า
๒. อะทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการเอาสิ่งของผู้อื่นมาเป็นของตน
๓. กาเม สุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ พูดยุยง ส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ
๕. สุรา เมระยะ มัชชะปะมา ทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มเครื่องดองของเมา

และในวันพระ จะขอดำรงค์อยู่ด้วยอุโบสถศีล เป็นนิจ ดังนี้

๑. ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และไม่ใช้ผู้อื่นฆ่า
๒. อะทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการเอาสิ่งของผู้อื่นมาเป็นของตน
๓. อะพรัหมะจริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
๔. มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ พูดยุยง ส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ
๕. สุรา เมระยะ มัชชะปะมา ทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มเครื่องดองของเมา
๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฉันอาหารหลังเที่ยงวันและในเวลาวิกาล
๗. นัจจะคีตะ วาทิตะ วิสูกะ ทัศสะนา มาลาคันธะ วิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการตกแต่งเครื่องประดับ ดูมหรสพ ผัดทาของหอม
๘. อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการนั่งหรือนอนบนที่สูงหรืออ่อนนุ่ม

ตั้งแต่วันอังคารที่ ๑๗ พฤษภาคม ศกนี้ ซึ่งเป็นวัน "วิสาขบูชา" เป็นต้นไป
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2081 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2554, 20:37:28 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
                       วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันพระใหญ่นะครับ ขอเรียนเชิญทุกท่านทำบุญเวียนเทียน และปฏิบัติธรรม เจริญสติวิปัสสนา กันครับ สำหรับท่านที่เริ่มต้นใหม่ในการนั่งเจริญสตินั้น ขอให้ท่านเลือวิธีปฏิบัติให้ถูกกับจริตของท่านตามแนวทางสายของหลวงปู่มั่น ที่ใช้การภาวนา หายใจเข้าภาวนาว่า "พุทธ" หายใจออกภาวนาว่า "โธ" หรือถ้าท่านไม่รู้วิธีผมขอแนะนำการเจริญสติตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน แบบเคลื่อนไหวด้วยมือ ๑๔ จังหวะ ตามที่ผมเคยแนะนำไปแล้วครับ
                       การทำนั้นขั้นแรกขอให้นั่งไปจนกว่าร่างกายของเราทนไม่ไหว ท่านก็หาทางแก้ทุกข์ให้แก่ตัวเอง แต่ถ้าแก้ไขไม่เป็นก็ขอให้ท่านลุกขึ้นเดินจงกรม สลับไปมากับนั่งนี่ละครับสามารถทำได้นานทั้งวัน แต่เคล้กลับอยู่ืที่ เมื่อท่านมีสติเป็นสมาธิแล้ว ท่านต้องเอาสตอมาดูกาย มาดูใจของท่าน ท่านจะต้องไม่เพ่ง เพราะการเพ่งจะทำให้เกิดภวัง หลงไปกับความคิด ท่านจะต้องไม่เผลอ เพราะถ้าเผลอท่านจะตกไปเป็นทาษของความคิด ให้ทำสบายๆ ให้รู้ตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา รักษาให้จิตอยู่กับปัจจุบัน แบบว่างๆนีละ ปัญญาญาณหรือจิตเดิมแท้ มันจะออกมาเองขอให้ท่านสังเกตุให้เป็น แต่ท่านต้องไม่หลงอยู่กับความคิดตัวเองเป็นอันขาด หรือถ้าหลงก็ขอให้รูตัวกลับมาที่เดิม ณ ปัจจุบัน ให้ได้ ทำแบบนี้ละครับ ท่านอาจมีอาการง่วงเหงาหาวนอนบ้าง เอาชนะความง่วงให้ได้ด้วยการรู้ตัวทั่วพร้อมนี่ละครับสามารถเอาชนะมันได้ จิตท่านจะต้องผ่องใส ไม่มึน ไม่อึดอัด หรือนั่งหลับ ถ้าเกิดขึ้นนั่นไม่ใช่แล้วท่านหลงไปในความคิดแล้ว ต้องกลับมา ณ ปัจจุบันให้ได้ ลองทำดูนะครับ
                       ราตรีสวัสดิ์ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2082 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2554, 21:09:55 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
                       วันหยุดวิสาขบูชา ถ้าท่านไม่มีอะไรจะทำ ขอเชิญมาศึกษาพระสูตร ของปรมาจารย์เว่ยหล่าง กันต่อดีกว่าครับ
                       สวัสดี

พระสูตรเว่ยหล่าง
พุทธทาสภิกขุแปล

หมวดที่ 7
ว่าด้วยคำสอนอันเหมาะแก่อุปนิสัย และสิ่งแวดล้อม
***********************************

แม้ว่าพระสังฆปริณายก จะได้กลับมายังตำบลโซฮัวแห่งเมืองชิวเจา จากวองมุยอันเป็นที่ซึ่งท่านได้รับมอบพระธรรม (แห่งนิกายธยานะจากพระสังฆปริณายกองค์ก่อน) อีกก็ตาม ท่านก็ยังเป็นคนแปลกหน้า ที่ไม่มีใครรู้จักในหมู่คนทั้งหลายอยู่นั่นเอง และผู้ทีให้การต้อนรับเลี้ยงดูอย่างครบครันแก่ท่านนั้น ได้แก่นักศึกษาแห่งลัทธิขงจื้อผู้หนึ่ง ซึ่งมีนามว่าหลิวชีลั่ก เผอิญหลิวชีลั่กผู้นี้ มีน้าผู้หญิงอยู่คนหนึ่ง ชื่อวูจูจอง ได้บวชเป็นบรรพชิตในพุทธศาสนา และโดยปรกติสวดสาธยายมหาปรินิวาณสูตรอยู่เป็นนิจ เมื่อพระสังฆปริณายกได้ฟังการสาธยาย ของสตรีผู้นี้เพียงชั่วเวลาหน่อยเดียวเท่านั้น ก็สามารถจับฉวยเอาใจความอันลึกซึ้งของพระสูตรนั้นได้ และได้เริ่มอธิบายแก่เธอ เมื่อเป็นดังนั้น สตรีผู้นี้ได้หยิบคัมภีร์ขึ้นมาถามถึงความหมายของข้อความตอนหนึ่งแก่ท่าน

พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า อาตมาไม่รู้หนังสือ แต่ถ้าท่านประสงค์จะทราบใจความ แห่งพระคัมภีร์เรื่องนี้ ก็จงถามเถิด นักบวชสตรีผู้นั้นจึงถามต่อไปว่า เมื่อท่านไม่รู้จักแม้แต่จะอ่านถ้อยคำเหล่านั้นแล้ว ท่านจะสามารถทราบถึงความหมายแห่งตัวสูตรได้อย่างไรเล่า? พระสังฆปริณายกได้ตอบคำถามนี้ว่า ความลึกซึ้งแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่เกี่ยวอะไรกันเลยกับภาษาที่เขียนด้วยตัวหนังสือ

คำตอบนี้ ได้ทำให้สตรีผู้นั้นรู้สึกประหลาดใจเป็นอันมาก และเมื่อได้เล็งเห็นว่า ท่านผู้นี้มิได้เป็นพระภิกษุอย่างธรรมดาสามัญแล้ว ก็ได้บอกกล่าวให้เป็นที่ทราบกันทั่วไป ในบรรดาผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือในหมู่บ้านนั้น เธอได้บอกกล่าวว่า ท่านผู้นี้เป็นอริยะบุคคล เราทั้งหลายควรขอร้องท่านให้พักอยู่ที่นี่ และขออนุญาตจากท่านเพื่อถวายอาหารและที่พักอาศัย

ต่อมา มีเชื้อสายแห่งท่านขุนนางชั้นสูง คือท่าน หวู่ แห่งราชวงศ์อาย ผู้หนึ่ง มีนามว่า โซชุกเหลียง พร้อมด้วยชาวบ้านจำนวนมาก ได้พากันมาในเวลาบ่ายวันหนึ่ง เพื่อถวายความเคารพแด่พระสังฆปริณายก วัดเปาลัมอัน เป็นวัดเก่าแก่ในประวัติศาสตร์ ซึ่งร้างไปเพราะภัยสงครามในปรายราชวงศ์ชิว ในบัดนี้หักพังเหลือแต่เศษสิ่งของเป็นกองๆ นั้น มหาชนได้พากันบูรณะขึ้นใหม่ตรงที่เดิมนั่นเอง และได้ของร้องให้พระสังฆปริณายกอยู่อาศัยประจำที่นั่น ไม่นานนักก็กลายเป็นวัดที่มีชื่อเสียงมาก

เมื่อได้อยู่ที่นั่นมาประมาณเก้าเดือนเศษ ศัตรูผู้ปองร้ายท่าน ก็ได้ติดตามมา และคอยพยายามจองล้างจองผลาญท่านอีก เนื่องด้วยเหตุนี้ท่านได้ไปหลบซ่อนยังภูเขาใกล้ๆกัน คนโหดร้ายเหล่านั้นได้จุดไฟเผาป่าซึ่งท่านได้ไปหลบซ่อนอยู่ แต่ท่านหนีรอดไปได้ด้วยหลบไปซ่อนอยู่บนชะง่อนฝา ชะง่อนผาแห่งนี้ ซึ่งต่อมาเรียกว่า "ภูเขาแห่งความปลอด" นั้น ยังมีรอยคุกเข่าของพระสังฆปริณายกปรากฏอยู่ และยังมีรอยเป็นลายเนื้อผ้าแห่งเครื่องนุ่งห่มของท่านปรากฏติดอยู่บนแผ่นหินนั้นด้วย

เมื่อท่านระลึกได้ถึงคำเตือน ของพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า ผู้เป็นครูของท่าน ที่ได้เคยสั่งไว้ว่า "จงหยุดที่ตำบลเวย แล้วซ่อนอยู่ผู้เดียวที่ตำบลวุย" ดังนี้ ท่านจึงได้เอาตำบลทั้งสองนี้ เป็นที่หนีร้อน และเวียนไปเวียนมา

ภิกษุฟัตห่อย ช่าวบ้านฮุกกองแห่งชิวเจา เมื่อทำการสนทนากับพระสังฆปริณายกเป็นครั้งแรก ได้ถามถึงความหมายของกระทู้ธรรมที่คนทุกคนสนใจบทหนึ่งที่ว่า "ใจคือสิ่งใด พุทธะคือสิ่งนั้น" พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า การไม่ปล่อยให้ความคิดที่ผ่านไปแล้วกลับเกิดขึ้นมาอีก นี่คือ "ใจ" การไม่ปล่อยให้ความคิดที่กำลังจะเกิด ถูกทำลายไปเสีย นี่คือ "พุทธะ" การแสดงออกซึ่งปรากฏการณ์ทุกชนิด นี่คือ "ใจ" การเป็นอิสระจากรูปธรรมทั้งปวง(คือการรู้เท่าถึงความลวงตาของปรากฏการณ์ทั้งหลาย) นี่คือ "พุทธะ" แต่ถ้าข้าพเจ้าจะต้องอธิบายแก่ท่านให้ครบถ้วนทุกกระบวนความ เรื่องที่จะต้องนำมาพูดก็จะไม่จบสิ้นลงไปได้ แม้ว่าข้าพเจ้าจะใช้เวลาอธิบายสักกัลป์หนึ่ง ดังนั้น จงฟังโศลกของข้าพเจ้าจะดีกว่า:-

ปรัชญา (ปัญญา) คือ "สิ่งที่ใจเป็น"
สมาธิ คือ "สิ่งที่พุทธะเป็น"
ในการบำเพ็ญปรัชญาและสมาธิ ต้องให้แต่ละอย่างลงจังหวะกันและกัน
แล้วความคิดของเราก็จะบริสุทธิ์
คำสอนข้อนี้เข้าใจได้
ก็แต่โดยการ "ประพฤติดูจนช่ำชอง"
ที่ว่าสมาธิตั้งมั่นนั้น ที่จริงมิใช่สมาธิอะไรเลย
คำสอนที่ถูกต้องนั้นคือ ให้บำเพ็ญปัญญา คู่กันไปกับสมาธิโดยไม่แยกกัน
(คือต้องใช้ธรรมะวิจัย คู่ไปกับสมาธิ  ความเห็นของมานพ กลับดี)

เมื่อได้ฟังดังนั้น ภิกษุฟัตห่อยมีความสว่างไสวในธรรมในขณะนั้นเอง เธอได้กล่าวสรรเสริญคุณพระสังฆปริณายกด้วยโศลกดังต่อไปนี้:-

ใจคือสิ่งใด พุทธะคือสิ่งนั้น นี่เป็นความจริงเสียจริงๆ
แต่ข้าพเจ้ามัวไปปราบพยศของตัวเอง ทั้งที่ไม่เข้าใจในมัน
บัดนี้ข้าพเจ้ารู้จักเหตุอันเป็นประธานของปรัชญาและสมาธิ
ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ ข้าพเจ้าจักบำเพ็ญเพื่อเปลื้องตัวเสียจากรูปธรรมทั้งหลาย

พระภิกษุฟัตตัต ชาวเมืองฮุงเจา ผู้เข้ามาบรรพชาในพระศาสนา ตั้งแต่อายุพึ่งได้ 7 ปี มีปรกติสาธยายสัทธรรมปุณฑริกสูตรอยู่เป็นนิจ เมื่อท่านผู้นี้มาแสดงความเคารพต่อพระสังฆปริณายก ท่านไม่ได้กราบให้ศีรษะจรดพื้น ท่านทำความเคารพอย่างขอไปที พระสังฆปริณายกได้ตำหนิว่า ถ้าท่านรังเกียจที่จะทำความเคารพให้ศีรษะจรดพื้นแล้ว การไม่ทำความเคารพเสียเลยจะมิดีกว่าหรือ ต้องมีอะไรอยู่ในใจของท่านสักอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้ท่านมีความทะนงเช่นนั้น ขอถามว่า ท่านทำอะไรประจำหรือวัน?

ภิกษุฟัตตัตได้ตอบว่า กระผมสาธยายสัทธรรมปุณฑริกสูตร กระผมท่องตลอดทั้งสูตร สามพันครั้งแล้ว

พระสังฆปริณายก ได้เตือนว่า ถ้าท่านจับใจความของพระสูตรนี้ได้ ท่านจะไม่มีการถือตัวท่านเลย แม้ท่านจะถึงกับเคยท่องพระสูตรนี้มาถึงสามพันครั้งแล้ว ถ้าท่านจับความหมายของพระสูตรนี้ได้จริงๆ ท่านก็จะต้องได้เดินอยู่ในทางๆ เดียวกันกับข้าพเจ้า สิ่งที่ท่านเรียนสำเร็จ ได้ทำให้ท่านกลายเป็นคนหยิ่งไปเสียแล้ว และยิ่งกว่านั้น ดูเหมือนท่านไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำไป ว่าการที่เป็นเช่นนี้เป็นของผิด ท่านจงฟังโศลกของข้าพเจ้าเถิด:-

ก็เมื่อความมุ่งหมายของระเบียบวินัยต่างๆเป็นไปเพื่อปราบปรามความทะลึ่งแล้ว
ทำไมท่านไม่กราบให้ศีรษะจดพื้น?

"การยึดถือในตัวตน" เป็นมายาแห่งบาป
แต่ "การถือว่าการได้บรรลุธรรมหรือผลใดๆ ก็ตาม เป็นเพียงของลมๆแล้งๆ" นี้เป็นทางมาแห่งกุศลอันใหญ่หลวง

จบแล้ว พระสังฆปริณายกได้ไต่ถามถึงชื่อของท่านผู้นี้ เมื่อได้ฟังว่าชื่อฟัตตัต (ซึ่งแปลว่าผู้เข้าใจในธรรม) พระสังฆปริณายกจึงได้กล่าวต่อไปว่า ท่านชื่อฟัตตัตก็จริง แต่ท่านยังไม่เข้าใจในธรรมเลย แล้วท่านได้สรุปความด้วยโศลกต่อไปอีกว่า:-

ชื่อของท่านว่า ฟัตตัด
ท่านสาธยายพระสูตรอย่างพากเพียรไม่ท้อถอย
การท่องพระสูตรด้วยปาก เป็นแต่การออกเสียงล้วนๆ
ส่วนผู้ที่มีใจสว่างไสวเพราะจับใจความได้ นั่นคือโพธิสัตว์แท้
เพราะเป็นเรื่องปัจจยาการ อันอาจสืบสาวไปถึงภพก่อนๆ
ข้าพเจ้าจะอธิบายความข้อนี้แก่ท่าน
ถ้าท่านเพียงแต่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าไม่ตรัสอะไร แม้แต่คำเดียว
เมื่อนั้น ดอกบัวจะบานขึ้นในปากของท่านเอง

เมื่อได้ฟังโศลกนี้ ภิกษุฟัตตัตรู้สึกสลดใจ และขออภัยต่อพระสังฆปริณายก เธอได้กล่าวต่อไปว่า แต่นี้ต่อไป กระผมจะเป็นคนสุภาพและถ่อมตนในทุกโอกาส เนื่องจากกระผมไม่มีความเข้าใจในความหมายของพระสูตรที่ท่องนั้นอย่างถูกต้อง กระผมก็ฉงนในการตีความหมายอันแท้จริงของพระสูตรนั้น ใต้เท้ามีความรู้และปัญญาอันลึกซึ้งที่สุด ขอได้โปรดอธิบายโดยสรุปแก่กระผมเถิด

พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า ฟัตตัตเอ๋ย พระธรรมเป็นของกระจ่าง เต็มที่อยู่เสมอ ใจของท่านต่างหากซึ่งไม่กระจ่าง พระสูตรนั้นไม่มีข้อความที่น่าฉงนเลย แต่ใจของท่านต่างหาก ที่ทำให้พระสูตรนั้น เป็นของชวนฉงนไป ในการสาธยายพระสูตรนั้น ท่านทราบถึงความมุ่งหมายอันสำคัญ ของพระสูตรนั้นหรือเปล่า?

ภิกษุฟัตตัดได้ตอบว่า กระผมจะทราบได้อย่างไร ในเมื่อกระผมมีแต่ความมืดมัวทึบอยู่เช่นนี้ เท่าที่กระผมทราบก็คือท่องอย่างไรจึงจะว่าปากเปล่าต่อกันไปได้เท่านั้น

พระสังฆปริณายกได้กล่าวต่อไปว่า ท่านจงสาธยายพระสูตรออกมาเถิด ฉันอ่านเองไม่ได้ แล้วฉันจะอธิบายความหมายให้ฟัง
ภิกษุฟัตตัตได้สาธยายพระสูตรนั้นขึ้น ครั้นมาถึงบทอันมีชื่อว่า "นิยายเป็นเครื่องอุปมา"*38 พระสังฆปริณายกได้บอกให้หยุด แล้วกล่าวว่า ความ

*38 คือบทที่ 3 ของพระสูตร ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 27 บท นิยายนั้นมีว่า พ่อเอาตุ๊กตาเครื่องเล่นล่อลูกเล็กๆ ให้วิ่งออกมาเสียจากเรือนที่กำลังถูกไฟไหม้ จนปลอดภัย เปรียบกับพระพุทธองค์ในข้อที่พระพุทธองค์มียานต่างชนิดต่างขนาด สำหรับขนสัตว์ข้ามสังสารวัฏ. ผู้แปลไทย พุทธทาส

หมายของพระสูตรๆ นี้ ก็คือเพื่อแสดงให้ปรากฏถึงความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ ของการที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาบังเกิดขึ้นในโลกนี้นั่นเอง แม้ว่านิยายและภาพความหมายจะมีมาก ในข้อความแห่งพระสูตรนี้ ก็ไม่มีเรื่องใดหรือภาพใดที่มุ่งหมายจะแสดงอะไรขึ้น นอกไปจากจุดประสงค์อันสำคัญนี้ ทีนี้อะไรเล่า คือ วัตถุประสงค์? อะไรเล่า คือ ความมุ่งหมายดังที่กล่าวมานั้น? ข้อความในพระสูตรกล่าวว่า "เพื่อวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียว เพื่อความมุ่งหมายเพียงอย่างเดียว เป็นวัตถุประสงค์อันสูงสุดจริงๆ เป็นความมุ่งหมายอันสูงสุดจริงๆ ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาบังเกิดขึ้นในโลกนี้" ในเรื่องนี้ วัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียว ความมุ่งหมายเพียงอย่างเดียว อันเป็นวัตถุประสงค์อันสูงสุด เป็นความมุ่งหมายที่สูงสุด ที่กล่าวถึงในพระสูตร ก็คือ "การเห็น" ซึ่งพุทธธรรม*39

*39 เอาใจความว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกนี้ ก็เพื่อทำให้เกิดมี "การเห็น ธรรมชนิดที่ทำผู้เห็นให้เป็นพุทธะ" ขึ้นได้ในโลกนั่นเอง คือช่วยทำให้เกิดโอกาสแก่ "พุทธภาวะ" ที่มีอยู่ในทุกๆคน แสดงตัวปรากฏออกมา ผู้แปลไทย พุทธทาส

คนธรรมดาสามัญทั่วไป ทำตัวให้ติดพันอยู่กับวัตถุในภายนอก, ส่วนภายในก็จมอยู่ในความผิดเรื่อง "ความว่างเปล่า" เมื่อใดเขาสามารถเปลื้องตนเองออกมาเสีย จากความผูกพันอยู่กับวัตถุต่างๆ ที่เขาได้ประสบ และเปลื้องตัวเองออกมาเสียจากความเห็นผิด เรื่องความขาดสูญ อันเกี่ยวกับคำสอน เรื่อง "ศูนยตา" เมื่อนั้น เขาจะเป็นคนอิสระจากอวิชชาความหลงผิดในภายใน และจากสิ่งอันเป็นมายาในภายนอก บุคคลที่เข้าใจแจ่มแจ้งในความจริงอันนี้ และใจของเขาสว่างไสวออกไปในทันที นี่แหละควรเรียกว่า ผู้ทีได้เปิดตาของเขาแล้ว เพื่อการเห็นแจ้งซึ่งพุทธธรรม
คำว่า "พุทธภาวะ" นี้ มีความหมายเท่ากับคำว่า "การตรัสรู้" ซึ่งควรจะถูกกำหนดไว้ภายใต้หัวข้อ (ดังที่กำหนดไว้ในสูตร) 4 หัวข้อ ดังต่อไปนี้

เปิดตาขึ้นเพื่อการเห็นแจ้ง "ธรรมอันเป็นเหตุให้ตรัสรู้"
แสดงความเห็นแจ้งใน "ธรรมอันเป็นเหตุให้ตรัสรู้นั้น ให้ปรากฏ”
ตื่นขึ้นเพื่อการเห็นแจ้งใน "ธรรมอันเป็นเหตุให้ตรัสรู้"
เป็นผู้ตั้งมั่นใน "ธรรมอันเป็นเหตุให้ตรัสรู้"

เมื่อได้รับการสั่งสอนแล้ว ถ้าเราสามารถจับฉวย และเข้าใจโดยทั่วถึง ในคำสอนอันว่าด้วย "ธรรมอันเป็นเหตุให้ตรัสรู้" เมื่อนั้นแหละคุณสมบัติอันประจำอยู่ภายใน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมชาติอันแท้จริง อันได้แก่ "ธรรมอันเป็นเหตุให้ตรัสรู้" นั้นก็จะมีโอกาสแสดงตัวออกมาให้ปรากฏ ท่านไม่ควรตีความหมายในตัวพระสุตรอย่างผิดๆ แล้วลงมติเสียในที่สุดว่า พุทธธรรมนั้นเป็นสิ่งทีมีไว้สำหรับพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ ไม่เป็นของทั่วไปสำหรับเราทั้งหลายด้วย โดยที่เผอิญไปพบข้อความในสูตรที่กล่าวไว้ว่า "เปิดตาขึ้นเพื่อการแจ้งในพุทธธรรม แสดงความเห็นแจ้งในพุทธธรรมให้ปรากฏ ฯลฯ" ดังนี้ การตีความหมายผิดเช่นนี้ จะถึงกับเป็นการป้ายร้ายให้แก่พระพุทธเจ้าและเป็นการแช่งด่าพระสูตรนั้นเอง ทุกๆคำที่ตนพูด เพราะเขาก็เป็นพุทธะด้วยคนหนึ่ง เขาจึงมีโพธิธรรมอันนี้มาด้วยพร้อมแล้ว แต่ไม่มีโอกาสสำหรับเขาเอง ที่จะเปิดตาออกดูสิ่งอันนั้น เพราะฉะนั้น ท่านควรจะรับเอาการตีความหมายที่ว่า พุทธธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็นพุทธะ) นั้น คือ พุทธธรรมของใจเราเอง หาใช่ของพระพุทธเจ้าอื่นใดที่ไหนไม่

เมื่อถูกทำให้หลงรักโดยอารมณ์อันยั่วยวน และปิดกั้นตัวเองเสียจากแสงสว่างของตัวเอง ด้วยเหตุอันนั้น สัตว์ทั้งปวงซึ่งระทมทุกข์อยู่เพราะอารมณ์ภายนอก และความเร่าร้อนภายในจึงได้ตกเป็นเหมือนทาสแห่งตัณหาของตนเองโดยหมดสิ้น เมื่อทรงเห็นเหตุการณ์อันนี้ พระพุทธองค์ของเรา จึงได้ทรงลุกออกจากสมาธิ เพื่อเร้าใจสัตว์เหล่านั้นด้วยพระโอวาทอันเป็นเครื่องกระตุ้นมีประการต่างๆ ให้ย่ำยีตัณหาของตนเอง และเว้นขาดเสียจากการแสวงสุขจากอารมณ์ภายนอก เพื่อว่าเขาจะได้เป็นผู้เสมอกันกับพระพุทธเจ้า เพราะเหตุอันนี้เอง ข้อความในตัวสูตรจึงมีว่า "เปิดตาขึ้น เพื่อเห็นแจ้งพุทธธรรม ฯลฯ"

ข้าพเจ้าได้ตักเตือนคนทั่วไปอยู่เสมอ ให้เปิดตาของตนเอง เพื่อเห็นแจ้งพุทธธรรมในภายในใจของตนเอง แต่ด้วยอำนาจความผิดปรกติของคนเหล่านั้นเขาพากันทำบาปภายใต้อวิชชาและความโง่เขลา ปากของเขาว่ากรุณา แต่ใจของเขาโหดร้าย เขาเป็นคนตะกละ มุ่งร้าย ริษยา คดโกง สอพลอ เข้าข้างตัว รุกรานคนอื่น เป็นผู้ทำลายกระทั่งสิ่งที่ไม่มีชีวิต ดั่งนั้น จึงชื่อว่าเขาปิดตาของเขาขึ้นเพื่อ "ปุถุชนธรรม" ถ้าเขากลับใจของเขาเสีย ในลักษณะที่ปัญญาปรากฏตัวอยู่ตลอดกาล ใจก็จะมีความเห็นแจ้งในภายในอยู่เป็นปกติ การทำชั่วก็จะมีการทำดีเข้ามาแทนที่ แล้วเขาก็จะลากตัวเองเข้ามาในทางแห่งพุทธธรรมได้ด้วยเหตุนั้น

เพราะฉะนั้น ท่านควรจะเปิดตาของท่านอยู่ทุกๆ ขณะมิใช่เพื่อปุถุชนธรรม แต่เพื่อพุทธธรรม ซึ่งเป็นสิ่งอยู่เหนือวิสัยโลก ในเมื่อปุถุชนธรรมเป็นของอย่างโลกๆ อีกอย่างหนึ่งถ้าหากท่านติดแน่นอยู่แต่ในความคิดเห็นของตนเอง ว่าเพียงแต่สาธยายพระสูตรเป็นประจำวันอย่างเดียว ก็เป็นการดีเพียงพอเสียแล้วดังนี้ ท่านจะหลงรักมันเหมือนจามรีหลงรักพวงหางของมันเอง (จามรีนั้น เป็นสัตว์ที่รู้กันอยู่แล้วว่ามีความหวงแหนอย่างแรงกล้าในหางของมัน)

ในขณะนั้น ภิกษุฟัตตัดได้ถามขึ้นว่า ถ้าเป็นดังนั้น เราเพียงแต่รู้ความหมายของพระสูตรก็พอแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่เราต้องสาธยายข้อความนั้นๆถูกไหมขอรับ?

พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า ไม่มีอะไรเป็นของผิดอยู่ในพระสูตร จนถึงท่านจะต้องเลิกการสาธยายเสียเลย การสาธยายพระสูตร จะช่วยให้ท่านตรัสรู้ธรรมได้หรือไม่ จะเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านหรือไม่ ข้อนั้นทั้งหมด มันเนื่องอยู่ที่ตัวท่านเอง ผู้ที่ท่องพระสูตรอยู่ด้วยปาก และเอาข้อความไปปฏิบัติอยู่เสมอด้วยใจ คนนั้นชื่อว่า "พลิก" พระสูตร ส่วนผู้ที่ท่องพระสูตรด้วยปาก ปราศจากการปฏิบัติแต่อย่างใด ผู้ใดชื่อว่า "ถูกพลิกเสียแล้ว" โดยพระสูตรที่เขาท่องนั้นเอง ท่านจงฟังโศลกโคลงของข้าพเจ้าดังต่อไปนี้:-

เมื่อใจของเราตกอยู่ภายใต้อวิชชา สัทธรรมปุณฑริกสูตร "พลิกเรา"
เมื่อมีใจสว่างไสวในธรรม เมื่อนั้นเรากลับ "พลิก" สัทธรรมปุณฑริกสูตร
การสาธยายสูตรนับไม่ถ้วนครั้ง โดยไม่ทราบความหมาย นั้น
ย่อมแสดงว่า ท่านเป็นแขกแปลกหน้าต่อใจความของพระสูตร
วิธีที่ถูกต้องสำหรับการสาธยายสูตรก็คือ อย่างยึดถือตามความเห็นของตัว
มิฉะนั้นแล้ว มันจะต้องพลาด
ผู้ที่อยู่เหนือ "การรับ" และ "การปฏิเสธ"
ย่อมนั่งอยู่เนืองนิจ บนเกวียนวัวขาว (กล่าวคือพุทธยาน)

เมื่อได้ฟังโศลกนี้จบลงแล้ว ภิกษุฟัตตัต เกิดความสว่างไสวในธรรมและมีน้ำตาไหล ได้ร้องขึ้นว่า เป็นความจริง ที่ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าไม่สามารถจะ "พลิก" พระสูตร แต่เป็นข้างพระสูตรเสียเองมากกว่า ที่ "พลิก" ข้าพเจ้า

ลำดับนั้น ภิกษุฟัตตัต ได้ยกเรื่องอื่นขึ้นมาถามต่อไปว่า พระสูตรได้กล่าวว่า "นับตั้งแต่พระสาวกขึ้นไปจนถึงพระโพธิสัตว์ แม้ท่านเหล่านี้จะได้พยายามจนสุดกำลัง ก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจทั่วถึงในพุทธธรรม" ดังนี้ แต่ใต้เท้า ได้ทำให้กระผมเข้าใจว่า แม้คนธรรมดาเรา ถ้าเข้าใจแจ่มแจ้งถึงใจของตนเอง เขาก็ได้ชื่อว่าลุถึงพุทธธรรมแล้ว ดังนี้ กระผมเกรงไปว่า ยกเว้นพวกที่เฉียบแหลมอย่างยิ่งเสียแล้ว คนนอกนั้นจะสงสัยไม่เชื่อคำสอนของใต้เท้า ยิ่งกว่านั้น ในสูตรมีกล่าวถึงยาน 3 ชนิด คือเกวียนเทียมด้วยแพะ(สาวกยาน) เกวียนเทียมด้วยกวาง(ปัจเจกพุทธยาน) และเกวียนเทียมด้วยวัว(โพธิสัตว์ยาน) แล้วก็ยานทั้งสามนี้ ผิดแปลกแตกต่างไปจากเกวียนวัวขาวได้อย่างไรเล่า?

พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า ในข้อนี้ พระสูตรได้แสดงไว้ชัดเจนแล้ว ท่านเองต่างหากที่เข้าใจผิด เหตุผลที่ว่า ทำไมพระสาวก พระปัจเจกพุทธะและพระโพธิสัตว์ ไม่สามารถเข้าใจในพุทธธรรมได้ ก็เพราะท่านเหล่านั้นเพ่งจ้องต่อพุทธธรรม ท่านเหล่านั้นสามารถประมวลกำลังความเพียรทั้งหมดเพื่อเพ่งก็จริง แต่เขายิ่งเพ่งนานเข้าเท่าไร เขาก็ยิ่งห่างออกไปจากธรรมนั้นมากขึ้นเพียงนั้น พระโคตมะพุทธเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้ แก่คนธรรมดาทั่วไป มิใช่ตรัสแก่พระพุทธเจ้าองค์อื่นๆด้วยกัน แต่สำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับเอาคำสอนที่พระองค์ทรงแนะให้ พระองค์ก็ปล่อยให้เขาหลุดไปจากหมู่ ดูเหมือนท่านจะยังไม่ทราบว่า เพราะเราได้นั่งอยู่บนเกวียนวัวขาวเรียบร้อยแล้ว เราก็ไม่มีความจำเป็น ที่จะออกเที่ยวแสวงหางเกวียนอื่นอีกสามชนิดเหล่านั้น ยิ่งกว่านั้น พระสูตรก็ได้บอกแก่ท่านอย่างแจ่มแจ้งแล้วว่า มีพุทธยานเท่านั้น ไม่มียานอื่นที่ไหนอีก ในฐานะเป็นยานที่สองที่สาม เพราะเหตุที่จะให้เราเข้าใจในยานอันเอกอันนี้เอง พระพุทธองค์จึงได้ทรงสั่งสอนเรา ด้วยวิธีที่พระองค์ทรงช่ำชองมาแล้ว มีปริยายต่างๆ ทรงใช้เหตุผลและข้อถกเถียง มีปริยายต่างๆ พร้อมทั้งนิทานเปรียบและภาพเปรียบ และอื่นๆ ทำไมท่านจึงไม่อาจเข้าใจได้ว่ายานทั้งสามเหล่านั้น เป็นของสมมุติให้เด็กเล่น สำหรับใช้กับเรื่องที่ล่วงไปแล้ว ส่วนยานอันเองคือพุทธยานนั้น เป็นของชั้นยอดเยี่ยม และเพื่อใช้กับเรื่องในปัจจุบันๆ

พระสูตร ได้สอนให้ท่านตั้งหน้าบำเพ็ญไป โดยไม่ต้องเป็นห่วงถึงของสมมุติให้เด็กเล่นเหล่านั้น และให้เพ่งตรงไปยังของชั้นสูงสุดอย่างเดียว เมื่อถึงขั้นสูงสุดแล้ว ท่านก็จะพบว่า สิ่งที่เรียกกันว่า "ชั้นสูงสุด" นี้ ก็มิได้มีอยู่เลย ท่านจะรูสึกเห็นด้วยในข้อที่ว่า ท่านเองผู้เดียว เป็นเจ้าของสิ่งอันสูงค่าเหล่านี้ และสิ่งเหล่านี้ มันขึ้นอยู่กับการจัดการทำของท่านเองล้วนๆ*40 เมื่อใดท่านเปลื้องตัวออกมาเสียได้จากการนึกเดาเอาเองว่า สิ่ง

*40การที่อ้างถึงบท "นิยายอุปมา" ในพระสูตร เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นในข้อที่ว่าพุทธธรรมมีอยู่ในคนทุกคนแล้ว ผู้แปลไทย พุทธทาส

เหล่านี้เป็นของพ่อหรือเป็นของลูกๆ หรือว่ามันอยู่ที่การจัดการทำของคนนั้นคนนี้ เมื่อนั้นแหละท่านจะได้ชื่อว่าดำเนินการสาธยายพระสูตรไปโดยถูกทาง เมื่อทำได้ดังนี้ พระสูตรก็จะชื่อว่า อยู่ในกำมือของท่านทุกกัปป์ทุกกัลป์ และท่านก็จะชื่อว่าสาธยายพระสูตรทุกเช้าเย็น ตลอดทุกเวลาทีเดียว

เมื่อภิกษุฟัตตัตได้รับคำสั่งสอนจนเห็นแจ้งเช่นนั้น ได้กล่าวสรรเสริญพระสังฆปริณายก ด้วยความปลาบปลื้มใจเป็นล้นพ้น ด้วยโศลกเหล่านี้ว่า:-

ความสำคัญผิดว่าเราได้รับกุศลเป็นอันมากในการสาธยายพระสูตร มากกว่าสามพันครั้ง
ได้ถูกขับไล่ไปหมดด้วยคำพูดคำเดียว ของ ท่านอาจารย์แห่งสำนักโซกาย*41

*41 อาจารย์แห่งสำนักโซกาย ก็คือ พระสังฆปริณายก ผู้แปลไทย พุทธทาส

ผู้ที่ไม่เข้าใจในความมุ่งหมายของการที่ พระพุทธบังเกิดขึ้นในโลกนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่สามารถข่มขี่กิเลสร้าย อันตนได้สะสมมา เป็นชาติๆ
ยานสามชนิด ซึ่งเทียมด้วยแพะ กวาง และวัว ตามลำดับ นั้นจะเป็นเพียงของเด็กเล่นไปเอง

ในเมื่อระดับทั้งสาม คือ ชั้นต้น ชั้นกลาง ชั้นสุด อ้นเป็นของที่อธิบายกันอยู่ในชั้นที่เรียนธรรมะไปตามแบบแผน ได้ถูกจัดทำไปจนถึงที่สุดแล้ว จริงๆ
น้อยคนเหลือเกิน ที่จะยอมเห็นด้วย ว่า ในเรือนที่ไฟกำลังจะไหม้นั่นเอง มีพระธรรมราชา ซึ่งเราจะหาพบได้

พระสังฆปริณายก ได้กล่าวแก่ภิกษุฟัตตัตต่อไปว่า ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปภิกษุฟัตตัตควรจะเรียกตัวเองว่า "ภิกษุผู้สาธยายพระสูตร" ได้แล้ว หลังจากการสนทนากันครั้งนี้ ภิกษุฟัตตัตก็สามารถจับฉวยเอาใจความอันลึกซึ้งของพระพุทธศาสนาได้ และเธอยังคงสาธยายพระสูตรไปดังเช่นก่อน

ภิกษุชิท็อง เป็นชาวบ้านชูเจาแห่งอานฟุง ได้อ่านลังกาวตารสูตรมาเกือบพันครั้ง แต่ก็ไม่สามารถเข้าใจความหมายของตรีกาย และปรัชญาทั้งสี่ เหตุนั้น จึงได้ไปหาพระสังฆปริณายก ให้ช่วยอธิบายความ

พระสังฆปริณายกได้ให้คำอธิบายว่า ในกายทั้งสามนั้น ธรรมกายอันบริสุทธิ์ ก็คือ ตัวธรรมชาติตัวแท้ของท่าน นั่นเอง สัมโภคกายอันสมบูรณ์ ก็คือ ตัวปรีชาญาณของท่าน ส่วนนิรมานกายนับด้วยหมื่นแสน ก็คือ การกระทำกรรมต่างๆของท่าน ถ้าท่านจะให้กายทั้งสามนี้ เป็นของต่างหากจากจิตเดิมแท้ มันก็เกิดมี "กายซึ่งปราศจากปัญญา" ขึ้นมาเท่านั้นเอง ถ้าท่านเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า กายทั้งสามนี้ ไม่มีตัวตนแท้จริงของมันเองอะไรที่ไหนอีก (เพราะมันเป็นแต่เพียงสมบัติของจิตเดิมแท้) ดั่งนี้แล้ว ท่านก็จะลุถึงโพธิของปรัชญาสี่ประการโดยแน่นอน จงฟังโศลกของฉัน ดังต่อไปนี้:-

กายทั้งสามมีอยู่แล้ว ในจิตเดิมแท้ของเรา
ซึ่งโดยการงอกงามของจิตเดิมแท้ นั่นเอง ปรัชญาทั้งสี่ก็ปรากฏตัว
เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านไม่ต้องหลับตาหรืออุดหูของท่าน เพื่อหลีกเลี่ยงอารมณ์ภายนอก
ท่านก็สามารถเข้าถึงพุทธภาวะได้โดยจังๆหน้ากับอารมณ์
เมื่อข้าพเจ้าได้อธิบายแก่ท่านอย่างเปิดเผย (จนเห็นเอง) เช่นนี้แล้ว
จงเชื่ออย่างแน่วแน่เถิด ท่านจะหลุดพ้น จากความหลงตลอดไป
อย่าไปตามคน พวกที่แสวงหา "การตรัสรู้" จากภายนอก
คนพวกนี้ พูดถึงโพธิ อย่างพร่ำเพรื่อ (แต่ตัวยังไม่เคยรู้เห็นเสียเลย)

ภิกษุชิท็อง ได้ขอร้องต่อไปว่า "ขอใต้เท้าได้กรุณาให้กระผมทราบข้อความ อันเกี่ยวกับปรัชญาทั้งสี่นั้นบ้างเถิด" พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า ถ้าท่านเข้าใจในเรื่องกายสามนี้แล้ว ท่านก็จะเข้าใจในเรื่องปรัชญาทั้งสี่ได้เอง ฉะนั้น คำถามของท่านเป็นของไม่จำเป็น ถ้าท่านทำให้ปรัชญาทั้งสี่อยู่ต่างหาก จากกายทั้งสามเสียแล้ว ก็จะเกิดมี ปรัชญาซึ่งปราศจากกายขึ้นโดยแน่นอน ซึ่งเมื่อเป็นดังนี้ มันหาใช่เป็นปรัชญาไม่

พระสังฆปริณายก ได้กล่าวโศลกอื่นต่อไปอีกว่า:-

"ปัญญาอันเปรียบด้วยกระจกส่อง" นั้นบริสุทธิ์อยู่เองโดยธรรมชาติ
"ปัญญาเห็นความเสมอภาค" นั้น ย่อมเปลื้องจิต เสียจากเครื่องกั้นทั้งปวง
"ปัญญาเครื่องเห็นสิ่งทั้งปวง" นั้น เห็นสิ่งทั้งปวงแจ่มแจ้ง โดยไม่ต้องอาศัยแนวแห่งเหตุและผล
"ปัญญาเครื่องกระทำสิ่งทั้งปวง" นั้น มีลักษณะอย่างเดียวกันกับ "ปัญญาอันเปรียบด้วยกระจกส่อง"

วิญญาณทั้งห้าข้างตน*42 และอาลยวิญญาณ*43 ย่อม "แปรรูป" เป็นปรัชญาในขั้นที่ตรัสรู้เป็นพุทธะ อย่างเดียวกับที่ กลิษตมโนวิญญาณ*44
และ มโนวิญญาณ*45 แปรรูปเป็นปรัชญาในขั้นที่เป็นโพธิสัตว์*46

*42 วิญญาณห้า คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ผู้อธิบายจีน
*43 วิญญาณคลังใหญ่ หรือวิญญาณโลก ผู้อธิบายจีน
*44 วิญญาณเฉพาะตน ผู้อธิบายจีน
*45 วิญญาณคิดนึก ผู้อธิบายจีน
*46 ในระยะที่หนึ่ง คือระยะ "มุทิตา" อันเป็นระยะที่โพธิสัตว์พิจารณาเห็นความว่างเปล่าของตัวตน และของสิ่งทั้งปวงอย่างแจ่มแจ้ง นั่นเองที่ท่าน "แปรรูป" กลิษตมโนวิญญาณ ไปเป็น "ปัญญาเครื่องรู้สิ่งทั้งปวง" เมื่อมีการบรรลุ พุทธภาวะวิญญาณห้าข้างตน จะถูก "แปรรูป" ไปเป็น ปัญญาเครื่องกระทำสิ่งทั้งปวง และอาลยวิญญาณ เป็น "ปัญญาเปรียบด้วยกระจกส่อง" ผู้อธิบายจีน

คำที่เรียกว่า "การแปรรูปของวิญญาณ" ดังที่กล่าวนี้ เป็นเพียงการเปลี่ยนชื่อที่ใช้เรียกเท่านั้น ส่วนตัวจริงหามีอะไรเปลี่ยนไม่*47

*47 ในจิตเดิมแท้ ไม่อาจมีสิ่งที่เรียกกันว่า "การแปรรูป" เมื่อคนตรัสรู้ธรรมก็ใช้คำว่า "ปัญญา" เมื่อยังไม่ตรัสรู้ใช้คำว่า "วิญญาณ" หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คำว่า "การแปรรูป" คำนี้ใช้เป็นเครื่องเปรียบ หรือภาพพจน์ เท่านั้น ผู้อธิบายจีน

เมื่อใดท่านสามารถเปลื้องตัวเองให้หมดจด จากความผูกพันของโลกิยารมณ์ในขณะที่มี "การแปรรูปของวิญญาณ" ดังกล่าวมาแล้ว เมื่อนั้นท่านชื่อว่าตั้งอยู่ใน นาคสมาธิ อันทยอยกันเกิดขึ้นติดต่อกันไป ตลอดกาลเนืองนิจ

ภิกษุชิท็อง ได้ฟังคำอธิบายนี้ ได้มีความเห็นแจ้งในปรัชญาแห่งจิตเดิมแท้ในขณะนั้นเอง และได้กล่าวโศลกแก่พระสังฆปริณายกดังต่อไปนี้:-

แน่นอนเหลือเกิน กายทั้งสามมีอยู่ในจิตเดิมแท้
เมื่อใจเรารู้ธรรมสว่างไสว ปรัชญาทั้งสี่ ก็ปรากฏเด่นอยู่ในนั้น
เมื่อใดกายและปรัชญาเหล่านั้น เกิดความรู้แจ้งซึ่งกันและกันว่าเป็นของอันเดียวกัน
เมื่อนั่นเราก็สามารถตอบสนองคำขอร้องของสัตว์ทั้งปวง
(โดยเหมาะสมแก่อุปนิสัยและอารมณ์ของสัตว์นั้น)
ไม่ว่าสัตว์นั้นๆจะอยู่ในรูปร่างใด

การเริ่มต้นปฏิบัติ ด้วยการแสวงหากายสามและปรัชญาสี่ นั้นเป็นการถือเอาทางที่ผิด โดยสิ้นเชิง(เพราะเมื่อสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในเราเองแล้ว เรื่องของมัน—ก็คือทำให้เห็นแจ้งออกมาไม่ใช่เที่ยววิ่งแสวงหา)

การพยายามจะ "จับฉวย" หรือ "กุมตัว" สิ่งเหล่านี้ เป็นการกระทำ ที่ขัดขวางต่อธรรมชนิดแท้ของมันอย่างตรงกันข้าม
เพราะได้อาศัยใต้เท้าแหละขอรับ
บัดนี้กระผมจึงสามารถจับใจความอันลึกซึ้งของมันได้.

และตั้งแต่นี้ต่อไป กระผมสามารถสลัดทิ้งความเท็จเทียมและชื่อต่างๆที่หลงตั้งขึ้นเรียกตามโมหะของตนๆตลอดนิจกาล*48

*48 บันทึก เมื่อจับใจความของคำสอนได้แล้ว ผู้ปฏิบัติก็ตั้งหน้าบำเพ็ญไปได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อที่ใช้เรียกสิ่งนั้นๆ เพราะว่าชื่อทั้งหมดเป็นเพียงของสมมุติให้เด็กเล่นเท่านั้นเอง (แม้สุดแต่ชื่อว่า มรรค ผล นิพพาน ฯลฯ) ผู้คัดลอกจีน

**********
พระภิกษุ ชิซ็วง เป็นชาวบ้านตำบลไกวกายแห่งชุนเจา เข้ามาบวชตั้งแต่เป็นเด็ก และแข็งข้อในการพากเพียรเพื่อการเห็นแจ้งจิตเดิมแท้ วันหนึ่งภิกษุรูปนี้ได้มานมัสการพระสังฆปริณายก และถูกปริณายกถามว่า มาแต่ไหน และมาทำไม

ภิกษุ ชิช็วง ได้ตอบว่า "เมื่อไม่นานมานี้ กระผมได้ไปที่ภูเขาผาขาวในเขตฮุงเจา เพื่อสนทนากับพระอาจารย์ต้าตุง ผู้ที่สามารถพอจะสอนกระผมได้เห็นแจ้งจิตเดิมแท้ และลุถึงพุทธภาวะด้วยเหตุนั้น แต่เพราะเหตุที่กระผมยังคงมีความสงสัยอยู่หลายประการ จึงอุตส่าห์เดินทางมาไกลถึงที่นี่เพื่อนมัสการพระอาจารย์ ขอได้โปรดอธิบายข้อสงสัยเหล่านั้น แต่กระผมด้วยเถิด

พระสังฆปริณายกได้ถามขึ้นว่า เขาได้แนะนำท่านว่าอย่างบ้างเล่า?
 
ภิกษุ ชิช็วง เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้พักอยู่ที่นั่นจนถึงสามเดือนแล้วโดยมิได้รับคำแนะนำอย่างใดเลย และมีความกระหายในธรรมแรงกล้าขึ้นทุกที คืนวันหนึ่งกระผมลำพังผู้เดียว ได้เข้าไปในห้องของท่านอาจารย์ต้าตุงนั้น และถามท่านว่าจิตเดิมแท้ของผมคืออะไร ท่านถามว่า "เธอมองเห็นความว่างอันไม่มีขอบเขตจำกัดไหม?" กระผมตอบท่านว่า "มองเห็น" ท่านถาม ต่อไปว่า ความว่างที่ว่านั้น มีรูปร่างเฉพาะของมันเองหรือไม่? ครั้นกระผมตอบว่า ความว่างย่อมไม่มีรูปร่าง ฉะนั้น จึงไม่มีรูปร่างโดยเฉพาะของมันเอง ดังนี้แล้ว ท่านกล่าวต่อไปว่า "จิตเดิมแท้ของเธอ" เป็นเหมือนกับความว่างอย่างตรงเผ็งที่เดียวละ การเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า ไม่มีสิ่งใดเลย ที่เราอาจมองพบตัวมัน นี่คือ "ทิฏฐิอันถูกต้อง" การเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า ไม่มีสิ่งใดเลยที่เราอาจรู้จักมัน (ให้ถูกต้อง) ได้ นี่แหละคือ "ความรู้อันถูกต้อง" การเห็นอย่าแจ่มแจ้งว่า มันไม่ใช่เขียว มันไม่ใช่เหลือง มันไม่ใช่สั้น มันไม่ใช่ยาว ว่ามันเป็นของบริสุทธิ์อยู่โดยธรรมชาติ และว่าเนื้อแท้ของมันนั้น สมบูรณ์และสดใส นี่แหละคือการเห็นแจ้งจิตเดิมแท้ และลุถึงพุทธภาวะได้ด้วยเหตุนั้น ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ธรรมะที่ทำให้คนเป็นพระพุทธะ" แต่กระผมไม่เข้าใจคำสอนของท่านอาจารย์ต้าตุงเสียเลย ขอใต้เท้ากรุณาทำความแจ่มแจ้งให้แก่กระผมด้วยเถิดขอรับ

พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า คำสอนของท่านผู้นั้นชี้ชัดอยู่แล้วว่าเขายังมีความรู้สึกที่นึกเอาเอง ในเรื่องอันเกี่ยวกับ "ทิฏฐิ" และ "ความรู้" เหลืออยู่ และอันนี้เอง ที่ส่อให้เห็นว่า ทำไมเขาจึงไม่สามารถทำความกระจ่างให้แก่ท่านได้ จงฟังโศลกของฉันดังต่อไปนี้:-

การเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า ไม่มีสิ่งใดเลย ที่เราอาจมองพบตัวมัน แต่แล้วก็ยังคงเก็บเอาความรู้สึกว่า "ความไม่อาจจะมองเห็นได้" ไว้อีก
ข้อนี้ เปรียบเหมือนกับดวงอาทิตย์ ที่ถูกบังคับอยู่ด้วยเมฆที่ลอยมาขวางหน้า
การเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า ไม่มีสิ่งใดเลย ที่เราอาจจะรู้จักมันได้ แต่แล้วก็เก็บเอาความรู้สึกว่า "ความที่ไม่อาจจะรู้ได้" ได้อีก
ข้อนี้ อาจเปรียบกันได้กับท้องฟ้าแจ่มแจ้ง แต่เสียรูปไปเพราะสายฟ้าแลบ
การปล่อยให้ความรู้สึก นึกเอาเองเช่นนี้ เกิดขึ้นตามสบายในใจของท่าน
ย่อมแสดงว่า ท่านไม่รู้จักจิตเดิมแท้อย่างถูกต้องด้วย ทั้งไม่มีเครื่องมืออะไร ที่มีประสิทธิภาพพอที่จะทำให้ท่านรู้ได้ด้วย
ถ้าท่านรู้อย่างแจ้งฉาน แม้เพียงขณะเดียวเท่านั้นว่า ความรู้สึกที่นึกเอาเองเช่นนี้ เป็นความผิดใช้ไม่ได้แล้ว
แสงสว่างภายในจิตของท่านเอง จะลุกโพลงออกมาอย่างถาวร

เมื่อได้ฟังดังนั้น ภิกษุ ชิช็วง รู้สึกว่า ใจของตนได้สว่างไสวในขณะนั้นเอง เพราะเหตุนั้น เธอจึงกล่าวโศลกแก่พระสังฆปริณายก ดังต่อไปนี้:-

การยอมให้ความรู้สึกว่า "ความไม่อาจจะมองเห็นได้" และ "ความไม่อาจจะรู้ได้" เกิดขึ้นในใจ ตามความพอใจของตัวนั้น
เป็นการแสวงหาโพธิ โดยไม่ต้องเปลื้องตัวเองไห้อิสระจากความคิดต่างๆ ที่ตนเดาเอาเอง ในเรื่องอันเกี่ยวกับสิ่งทั้งปวง
ผู้ที่ผยองพองตัว ด้วยความรู้สึกอันเบาเต็งว่า "บัดนี้เรารู้แจ้งแล้ว" นั้น
ก็ยังไม่ดีไปกว่าเมื่อเขายังไม่รู้สึกอะไรเลย
ถ้าหากข้าพเจ้าไม่ได้มาหมอบอยู่แทบเท้าของพระสังฆปริณายก
ข้าพเจ้าก็ยังคงงงงัน ไม่รู้จะเดินทางไหนถูกอยู่นั่นเอง
ในวันหนึ่ง ภิกษุ ชิช็วง ได้ถามพระสังฆปริณายกว่า พระพุทธองค์ได้ประกาศคำสอนเรื่อง "ยานสามชนิด" และเรื่อง "ยานชั้นสูงสุด" ไว้ด้วย แต่กระผมไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้ ขอให้ใต้เท้าจงกรุณาอธิบายเถิด"

พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า ในการพยายามเพื่อเข้าใจเรื่องเหล่านี้ ท่านควรจะส่องดูที่ใจของท่านเอง และทำตัวต่อสิ่งทั้งปวงในภายนอกอย่างมีอิสระ ความแตกต่างระหว่างยานทั้งสี่ชนิด มิได้อยู่ที่ตัวธรรมะ แต่อยู่ที่ความแตกต่างของใจคนที่จะปฏิบัติธรรมะ การดู การฟัง การท่องพระสูตร เป็นยานขนาดเล็ก การรู้ธรรมและเข้าถึงความหมายเป็นยานขนาดกลาง การเอาธรรมะที่รู้นั้นมาปฏิบัติจนเป็นปกติวิสัย นี่คือยานขนาดใหญ่ การเข้าใจธรรมทั้งปวงอย่างปรุโปร่ง ได้ดื่มรสธรรมะนั้นอย่างสมบูรณ์ เป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง มีใจอยู่เหนือสิ่งทั้งปวง และไม่ถืออะไรไว้โดยความเป็นของของตน นี่แหละคือยานอันสูงสุด

เนื่องจากคำว่า "ยาน" (พาหนะ) คำนี้ หมายถึง "เครื่องเคลื่อน" (กล่าวคือ การน้อมนำมาปฏิบัติ) ดังนั้น ข้อโต้แย้งในเรื่องนี้ ไม่มีความจำเป็นเสียเลย ทั้งหมดทั้งสิ้น มันขึ้นอยู่กับการฝึกฝนตัวเอง ดังนั้น ท่านไม่จำเป็นจะต้องถามปัญหาใดๆอีกเลย แต่ฉันขอเตือนท่านให้ระลึกไว้ว่า ตลอดทุกกาลเวลา จิตเดิมแท้นั้นคงดำรงอยู่ในภาวะแห่ง "ความเป็นเช่นนั้น" อยู่เสมอ

ภิกษุ ชิช็วง แสดงความเคารพและขอบคุณพระสังฆปริณายก จำเดิมแต่นั้นมา ท่านได้ทำตนเป็นผู้ปรนนิบัติพระสังฆปริณายก จนตลอดชีวิตพระสังฆปริณายก

***********
ภิกษุ ฉิต่าว เป็นชาวเมืองน่ำหอยแห่งกวางตุ้ง ได้มาหาพระสังฆปริณายก เพื่อขอคำแนะนำตักเตือน ได้กล่าวแก่พระสังฆปริณายกว่า "นับแต่กระผมได้บวชมานี้ กระผมได้อ่านมหาปรินิวาณสูตรมากว่า 10 ปีแล้ว แต่กระผมก็ยังไม่สามารถจับฉวยเอาใจความสำคัญของสูตรนั้นได้ ขอใต้เท้าได้โปรดสอนแก่กระผมด้วยเถิด

พระสังฆปริณายกได้ถามว่า พระสูตรตอนไหนเล่า ที่ท่านยังไม่เข้าใจ?

ภิกษุ ฉิฉ่าว จึงกล่าวตอบว่า "ข้อความในพระสุตรตอนที่กระผมไม่เข้าใจนั้นมีว่า "สิ่งทุกสิ่งไม่คงตัวอยู่อย่างถาวร ดังนั้น สิ่งทั้งปวงจึงตกอยู่ใต้อำนาจ ของธรรมที่เป็นความเกิดขึ้น และความแตกดับ(กล่าวคือสังขตธรรม) เมื่อความเกิดขึ้นและความแตกดับมาสิ้นสุดลงด้วยกัน ศานติสุขแห่งความหยุดได้โดยสมบูรณ์*49 และความสิ้นสุด ของการเปลี่ยนแปลง (กล่าวคือนิพพาน) ย่อมปรากฏขึ้นมา

*49 ความหยุดได้โดยสมบูรณ์ หมายถึงความที่หลุดพ้นจากเครื่องปรุงแต่ง คือ พ้นอำนาจของอวิชชา ตัณหา นั่นเอง และหมายถึง นิพพาน ผู้แปลไทย พุทธทาส

พระสังฆปริณายกได้ถามว่า อะไรเล่าที่ทำให้ท่านสงสัย?

ภิกษุ ฉิต่าว ได้ตอบว่า สิ่งที่มีชีวิตทั้งปวงย่อมมีกาย 2 กาย กล่าวคือ กายเนื้อและกายธรรม กายเนื้อไม่คงตัวอยู่อย่างถาวร มันมีอยู่ และตายไป. ส่วนกายธรรมนั้น ตั้งอยู่อย่างถาวร, ไม่รู้อะไร ไม่มีความรู้สึกอะไร. ทีนี้ ในพระสูตรกล่าวว่า "เมื่อความเกิดขึ้น" และความแตกดับ สิ้นสุดลงด้วยกัน ศานติสุขแห่งความหยุดได้โดยสมบูรณ์ และความสิ้นสุดของการเปลี่ยนแปลง (กล่าวคือนิพพาน) ย่อมปรากฏขึ้นมา" ดังนี้ กระผมไม่เข้าใจได้เลยว่า กายไหนสิ้นสุดลง และกายไหนยังอยู่เพื่อดื่มรสแห่งศานตินั้น. มันเป็นไปไม่ได้ที่กายเนื้อจะดื่มรสแห่งศานติ เพราะว่าเมื่อมันตาย มหาภูตะทั้งสี่ (วัตถุธาตุ กล่าวคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ) จะกระจัดกระจายจากกัน และการกระจัดกระจายจากกันนั้น เป็นความทุกข์ล้วนๆ และตรงกันข้ามจากศานติสุขโดยสิ้นเชิง ถ้าหากว่าเป็นธรรมกายที่สิ้นสุดลงไป แล้วมันก็จะตกอยู่ในลักษณะเช่นเดียวกันกับสิ่งที่ "มิใช่สัตว์" ซึ่งได้แก่ ผักหญ้า ต้นไม้ ก้อนหิน และอื่นๆ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ใครเล่าจะเป็นผู้ดื่มรสแห่งศานตินั้น

ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ สภาวะธรรมดา ย่อมเป็นหัวใจหรือตัวการ ของความเกิดขึ้น และความแตกดับ. อันแสดงตัวออกมาในรูปของขันธ์ทั้งห้า (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หรือถ้าจะกล่าวกันอย่างง่ายๆ ก็คือว่า มีตัวการแต่ตัวเดียว แต่อาการของมันมีถึงห้าอย่างนั่นเอง กระแสแห่งการเกิดขึ้นและการแตกดับนั้น เป็นสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่ออาการหรือการทำตามหน้าที่ยัง "มีออกมา" จากตัวการนั้นแล้ว กระแสนั้นก็ไหลไปเรื่อย, เมื่อการปฏิบัติงานหรืออาการนั้น ถูก "ดูด" กลับคืนไปยังตัวการ กระแสก็หยุดไหล เมื่อการถือกำเนิดใหม่ยังมีได้อยู่เพียงใด ก็ย่อมไม่มี "การสิ้นสุดแห่งความเปลี่ยนแปลง" อยู่เพียงนั้น ดังจะเห็นได้ในกรณีของสัตว์มีชีวิตทั่วไป. ถ้าการถือกำเนิดใหม่ ไม่เข้ามาแทรกแซงแล้ว, สิ่งต่างๆก็จะอยู่ในสภาพของสิ่งที่ไร้ชีวิต ดังเช่นวัตถุต่างๆ ที่ไม่มีชีวิตทั้งหลาย เมื่อเป็นดังนี้แล้ว, ภายในขอบเขตอันจำกัดเฉียบขาดของนิพพานนั้น ย่อมมีไม่ได้แม้แต่ความมีอยู่ ของสัตว์ เช่นนี้แล้ว จะมีความเปรมปรีดิ์ (ในการดื่มรสของนิพพาน) อะไรกันได้เล่า?

พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า ท่านก็เป็นบุตรคนหนึ่งของพระชินะพุทธ (คือเป็นภิกษุ) ทำไมจึงมารับเอาความเห็นผิดแห่งสัสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ ของพวกเห็นผิดนอกพุทธศาสนา, และทั้งกล้าตำหนิคำสอนของลัทธิอุตรยาน?

ข้อแย้งของท่านยืนยันว่า มีกายธรรมอยู่ต่างหากจากกายเนื้อ, และว่า "ความหยุดได้โดยสมบูรณ์" และ "ความสิ้นสุดของความเปลี่ยนแปลง" นั้นต้องแสวงหาจากที่อื่นนอกไปจาก "ความเกิดขึ้นและความแตกดับ" ยิ่งกว่านั้น จากข้อที่กล่าวว่า "นิพพานเป็นความเปรมปรีดิ์ไม่มีที่สิ้นสุด" นั่นเอง ท่านเชื่อโดยการพิสูจน์เอาว่า ต้องมีใครคนใดคนหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นผู้เปรมปรีดิ์.

ความเห็นผิดเหล่านี้เอง มิใช่อื่น ที่ทำให้คนทั้งปวงทะเยอทะยานอยากเกิดเป็นสัตว์ชนิดที่มีอวัยวะรู้รสของอารมณ์. และปรนปรือตัวเองด้วยความเพลิดเพลินอย่างวิสัยโลก. และเพื่อคนเหล่านี้. ซึ่งเป็นเหยื่อของอวิชชา; ซึ่งถือว่าการประชุมของข้นธ์ทั้งห้า เป็นตัวตน และถือสิ่งนอกนั้นว่ามิใช่ตัวตน; ซึ่งหลงรักการเกิดของตัว และเกลียดชังความตาย อย่างสุดจิตสุดใจ; ซึ่งลอยไปมาอยู่ ในวังวนของความเกิด และความตาย โดยไม่มีการสำนึกถึงความว่างกลวงไร้แก่นสารของโลกียภพ ซึ่งเป็นแต่เพียงความฝันหรือมายา; ซึ่งทำความทุกข์ขึ้นใส่ตัวเองโดยไม่จำเป็น ด้วยการพ่วงตัวเองเข้ากับสังสารวัฏแห่งการเวียนเกิด; ซึ่งเข้าใจผิดต่อภาวะแห่งความแปรมปรีดิ์ ไม่มีที่สิ้นสุดของนิพพาน ในฐานะเป็นความทุกข์อีกแบบหนึ่ง; และซึ่งแล่นตามหาความเพลิดเพลินจากอารมณ์อยู่เนืองนิจ. เหล่านี้เองแท้ๆ ที่พระพุทธองค์ผู้ทรงพระมหากรุณา ได้ทรงแสดงศานติอันแท้จริงของนิพพานไว้ให้เขาโดยจำเพาะเจาะจง.

ไม่ว่าในขณะใดหมด นิพพานย่อมไม่มีปรากฏการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลง, หรือแห่งการแตกดับ. ไม่มีแม้กระทั่งความสิ้นสุดของการทำหน้าที่ ของความเกิดขึ้นและความแตกดับ. นิพพานเป็นการแสดงออกของ "ความหยุดได้โดยสมบูรณ์ และความสิ้นสุดของความเปลี่ยนแปลง" แต่แม้ในขณะแห่งการแสดงออกนั้น ก็ไม่มี "ความเห็น" ว่าเป็นการแสดงออก, ดั่งนั้นจึงถูกเรียกว่า "ความเปรมปรีดิ์อันไม่รู้จักหมดสิ้น" ซึ่งไม่ต้องมีตัวผู้เปรมปรีดิ์หรือผู้ไม่เปรมปรีดิ์ แต่อย่างใด.

ไม่มีสิ่งใดที่จะกล่าวได้ว่า "มีตัวการอยู่ตัวหนึ่ง แล้วมีอาการของมันห้าอย่าง" เหมือนที่ท่านยืนยัน, ท่านกำลังกล่าวป้ายร้ายพระพุทธองค์ และกำลังใส่ร้ายพระธรรม โดยที่ท่านไปไกลจนถึงกับกล่าวว่า ภายใต้ขอบเขตอันจำกัดเฉียบขาดของนิพพาน ย่อมมีไม่ได้ แม้แต่ความมีอยู่ของสัตว์ทุกชนิด. จงฟังโศลกของฉันดังต่อไปนี้:-
 
มหาปรินิพพานอันสูงสุดนั้น
เป็นสิ่งที่เต็มเปี่ยม ถาวร สงบ และรุ่งเรืองสว่างไสว
คนสามัญและคนเขลา หลงเรียกนิพพานนั้นว่าความตาย
ฝ่ายพวกมิจฉาทิฏฐิก็ถือเอกตามขอบใจว่า นิพพานนั้น เป็นความขาดสูญ
พวกที่เป็นฝ่ายสาวกยาน และปัจเจกพุทธยาน
เห็นพระนิพพานว่าเป็นสิ่งที่ "ไม่มีการกระทำ"
ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงการคำนวนเอาด้วยสติปัญญาของคนสามัญ
และย่อมจะสร้างรากฐาน แห่งมิจฉาทิฏฐิ 62 ประการขึ้นมา.
ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงชื่อต่างๆ ที่คิดเดาเอาเอง ประดิษฐ์ขึ้นเองในขณะ
ที่เขาไม่รู้จะทำอย่างไรต่อสัจจธรรมอันสูงสุดนั้น
เฉพาะพวกที่มีใจสูงเหนือสิ่งทั้งหลายเท่านั้น
ที่อาจจะเข้าใจได้ถูกต้องว่า นิพพานนั้นคืออะไรกันแน่.และวางตนไว้ ในลักษณะที่เข้าพัวพันด้วยก็ไม่ใช่ เฉยเมยก็มิใช่ทั้งสองอย่าง*50

*50 ข้อนี้ท่านดิปิเซ่ ให้อรรถธิบายไว้ว่า เมื่อคนสามัยหลงอยู่ในวังวนของการเวียนเกิด เวียนตาย, พวกสาวกและพวกปัจเจกพุทธะ แสดงทีท่าเกลียดชัง อาการอันนี้. ทำเช่นนี้ไม่ถูกทั้งสองพวก ผู้ดำเนินไปในมรรคปฏิปทา ย่อมไม่ติดใจ ในการเกิดเป็นสัตว์เพื่อเสวยอารมณ์ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมีการจงเกลียดจงชังอะไรแก่สิ่งนี้. เพราะความถือว่ "ตัวตน" หรือว่า "สัตว์บุคคล" ย่อมไม่มีแก่ผู้นี้ และเพราะว่า ท่านผู้นี้เสียสละได้ทั้งท่าทีแห่งการอยากได้ และท่าทีแห่งการเฉยเมยต่อสิ่งทั้งปวง. วิมุติ จึงอยู่ในกำมือของท่านตลอดเวลา, และท่านอยู่เป็นผาสุขได้ในทุกๆ สถานการณ์ที่แวดล้อม. ท่านอาจผ่านไปในกระแสของการเกิดตาย แต่กระแสนั้น ไม่อาจพัวพันท่าน และสำหรับท่าน ปัญหาเรื่องเกิดตายไม่เป็นปัญหาอะไรเลย. คนชนิดนี้แหละที่ควรเรียกว่ามีใจสูงเหนือสิ่งทั้งปวง (ได้พบพระนิพพานแล้ว) ดิปิงเซ่ ผุ้บรรยายจีน

ท่านเหล่านั้น ย่อมรู้ว่า ขันธ์ทั้งห้า
และสิ่งที่เรียกกันว่า "ตัวตน" อันเกิดขึ้นจากการประชุมพร้อมของขันธ์ทั้งห้านั้น
รวมทั้งวัตถุและรูปธรรมภายนอกทุกชนิด
และทั้งปรากฏการณ์ต่างๆ ของศัพท์และสำเนียง
ล้วนแต่ของเทียม ดั่งเช่นความฝันและภาพมายา เสมอกันหมด
ท่านเหล่านั้นไม่เห็นว่ามีอะไรแตกต่างกัน ระหว่างพระมุนีกับคนธรรมดา
หรือจะมีความคิดเดาเอาเอง ในเรื่องนิพพาน ก็หาไม่.
ท่านเหล่านี้ ย่อมอยู่เหนือ "การรับ" และ "การปฏิเสธ"
และท่านเหล่านี้ ทำลายเครื่องกีดขวาง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
ท่านเหล่านี้ ย่อมใช้อวัยวะเครื่องทำความรู้สึก ของท่านในเมื่อมีเรื่องต้องใช้
แต่ว่าความรู้สึกยึดถือใน "การใช่" นั้น มิได้เกิดขึ้นเลย
ท่านเหล่านั้น อาจระบุเจาะจงสิ่งต่างๆ ได้ทุกชนิด.
แต่ว่าความรู้สึกยึดถือใน "การระบุเจาะจง" นั้น มิได้เกิดขึ้นเลย
ขณะที่ไฟประลัยกัลป์ล้างโลก ในที่สุดของกัลป์, เมื่อท้องมหาสมุทรแห้งไป
หรือขณะที่ลมมหาประลัยพัดทำลายโลก จนภูเขาล้มชนกันระเกะระกะ
ศานติสุขอันแท้จริงและยั่งยืน ของ "ความหยุดได้โดยสมบูรณ์" และความสุดสิ้นของความเปลี่ยนแปลง"
แห่งนิพพาน, ย่อมยังคงอยู่ในสภาพเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย.
นี่ฉันได้พยายามอธิบายแก่ท่าน ถึงสิ่งบางสิ่ง ที่เหลือที่จะพูดออกมาได้
เพื่อให้ท่านสามารถกำจัดความเห็นผิดของท่านเสีย.
แต่ถ้าท่านไม่ตีความแห่งคำพูดของฉันให้ตรง ตามความหมายแล้ว
ท่านอาจเรียนรู้ความหมายของนิพพาน แต่เพียงกะจิริด นิดหนึ่งเท่านั้น

เมื่อได้ฟังโศลกนี้แล้ว ภิกษุ ฉิต่าว ได้มีความสว่างไสวในธรรมอย่างสูงเธอรับฟังคำสอนด้วยใจอันปราโมทย์ และลาจากไป

***********
ภิกษุ ฮังฉิ อาจารย์องค์หนึ่งในนิกายธยานนี้ เกิดที่อันเซ้งแห่งกัตเจา ในตระกูลหลิว. เมื่อได้ยินข่าวเล่าลือว่า คำสอนของพระสังฆปริณายก ได้ทำให้คนจำนวนมากมีความสว่างไสวในธรรม ท่านจึงได้ตรงมายังตำบลโซกายทันที เมื่อทำความเคารพแล้ว ได้ตั้งคำถามขึ้นว่า "ผู้ปฏิบัติควรส่งจิตของตนพุ่งไปยังสิ่งใด อันจะทำให้การบรรลุธรรมของเขาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดได้ด้วย "เครื่องวัดคุณวิเศษ" ตามที่คนทั่วไปเขารู้กัน?"

พระสังฆปริณายกถามว่า ก็ท่านกำลังปฏิบัติอยู่อย่างไรเล่า?

ภิกษุ ฮังฉิ ตอบว่า แม้ธรรมคืออริยสัจทั้งหลาย ที่พระพุทธเจ้าทุกๆองค์สอนไว้ ข้าพเจ้าก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องเข้าไปแตะต้องด้วย
พระสังฆปริณายกถามต่อไปว่า แล้วก็เดี๋ยวนี้ท่านอยู่ใน "ชั้นแห่งคุณวิเศษ" ชั้นไหนเล่า?

ภิกษุ ฮังฉิ ย้อนว่า จะมี "ชั้นคุณวิเศษ" อะไรที่ไหนเล่า ในเมื่อข้าพเจ้าปฏิเสธไม่เข้าเกี่ยวข้องด้วย แม้กับอริยสัจที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สอนไว้?
การตอบโต้อย่างทันควันของภิกษุฮังฉิ ได้ทำให้พระสังฆปริณายกเกิดความนับถือ ถึงกับยกเธอขึ้นเป็นหัวหน้าคณะ.

วันหนึ่ง พระสังฆปริณายกได้กล่าวแก่ท่านผู้นี้ ว่าท่านควรจะไปประกาศธรรมในท้องถิ่นของท่านเอง เพื่อว่าคำสอนจะไม่ลับหายสิ้นสุดไป เพราะเหตุนั้น ภิกษุฮังฉิ ได้กลับไปภูเขาชิงอัน อันเป็นภูมิลำเนาของท่าน. พระธรรม (แห่งนิกายนี้) ถูกมอบหมายทอดช่วงไปยังท่าน. ท่านได้เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง และเป็นการทำให้คำสอนแห่งครูอาจารย์ของท่านลงรากอย่างมั่นคง เพราะเหตุนั้น เมื่อท่านมรณภาพแล้ว เขาพากันยกสมัญญาให้แก่ท่านว่า "ฮุงไซ่ ผู้เป็นอาจารย์แห่งนิกายธยาน"

**********
ภิกษุ เว่ยยาง อาจารย์ในนิกายธยานอีกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลเต๋า ในกิมเจา เมื่อไปเยี่ยมท่านเว่ยออนแห่งภูเขาซุงซาน ซึ่งเป็น "อาจารย์ประจำเมือง" ได้ถูกท่านผู้บังคับให้มายังตำบลโซกาย เพื่อสนทนากับพระสังฆปริณายก

ครั้นมาถึง และได้ทำความรพตามธรรมเนียมแล้ว ก็ถูกพระสังฆปริณายก ถามว่า มาจากไหน ตอบว่า มาจากซุงซาน
ถามว่า สิ่งที่มานั้นเป็นอะไร มาได้อย่างไร ตอบว่า จะว่ามันเหมือนกับอะไร ก็เป็นการผิดทั้งนั้น
ถามว่า เป็นสิ่งที่ลุถึงได้ด้วยการฝึกฝนปฏิบัติตนหรือ ตอบว่า มิใช่เป็นการสุดวิสัยที่จะลุถึงได้ด้วยการฝึกฝนปฏิบัติตน แต่ว่าเป็นการสุดวิสัยจริงๆ ที่จะทำสิ่งนี้ไห้เศร้าหมองมีมลทิน

เมื่อได้ฟังดังนั้น พระสังฆปริณายกได้เปล่งเสียงขึ้นดังๆว่า มันได้แก่สิ่งที่ไม่รู้จักเศร้าหมองนี้จริงๆ ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เอาพระทัยใส่ ถึงท่านก็ต้องเป็นอย่างเดียวกัน ถึงแม้ข้าพเจ้าก็ต้องเป็นอย่างเดียวกัน พระสังฆปริณายกชื่อ ปรัชญาตาระ แห่งอินเดีย ได้ทำนายไว้ว่า ลูกม้า*51ตัวหนึ่งจะออกมา

*51ข้อนี้หมายถึงศิษย์อันมีชื่อเสียงของภิกษุเว่ยยาง ที่ชื่อว่า "ม้า โซ่" อันเป็นผู้ที่ได้แผ่คำสอนของนิกายธยานไปจนทั่วประเทศจีน ผู้คัดลอกจีนว่องมูล่ำ

จากใต้ฝ่าเท้าของเท้า และจะกระโจนเหยียบย่ำมหาชนไปทั่วโลก ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องพยากรณ์ความข้อนี้เร็วเกินไป เพราะว่าคำพยากรณ์นั้น ท่านหาดูได้ในใจของท่าน

ภิกษุ เว่ยยาง มีความเข้าใจปรุโปร่งในคำพูดของพระสังฆปริณายก ได้เข้าใจซึมทราบแจ่มแจ้งว่าพระสังฆปริณายกพูดหมายถึงอะไร ตั้งแต่วันนั้นมา ได้เป็นศิษย์ติดสอยห้อยตามพระสังฆปริณายกอยู่เป็นเวลา 15 ปี มีความรู้ในทางพระพุทธศาสนาลึกซึ้งยิ่งขึ้นๆ ทุกๆวัน ต่อมาได้ตั้งสำนักขึ้นที่เฮ็งชาน ทำการเผยแพร่คำสอนของพระสังฆปริณายกออกไปอย่างกว้างขวาง เมื่อถึงมรณภาพแล้ว ทางการแห่งราชสำนักของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้ถวายสมัญญาแก่ท่านว่า "ไถ่ไหว่ ผู้เป็นอาจารย์แห่งนิกายธยาน"

**********
อาจารย์นิกายธยาน ชื่อ หยวนกว็อก แห่งวิงกา เกิดในตระกูลไต๋ ในเว็นเจา เมื่อยังหนุ่มได้ศึกษาในสูตรและศาสตร์เป็นอันมาก เป็นผู้แตกฉานในหลักสมถะ และวิปัสสนาแห่งนิกายเท็นดาย โดยที่ได้อ่านวิมลกีรตินิเทศสูตร ท่านได้ทราบถึงข้อลี้ลับ แห่งใจของท่านเองอย่างปรุโปร่ง

มีภิกษุรูปหนึ่ง มีนามว่า อันแช็ก เป็นศิษย์ของพระสังฆปริณายกเผอิญได้ไปเยี่ยมมนัสการท่านอาจารย์ผู้นั้น เมื่อได้มีธรรมสากัจฉากันเป็นเวลานานแล้ว ภิกษุอันแช็กได้สังเกตเห็นว่า ถ้อยคำของคู่สนทนานั้นลงกันได้ดีกับคำสอนต่างๆ ของพระสังฆปริณายก จึงถามขึ้นว่า "ผมใคร่จะทราบนามอาจารย์ของท่าน ซึ่งได้สั่งสอนธรรมให้แก่ท่าน"

หยวนกว็อกได้ตอบว่า ผมมีอาจารย์มากมายที่สอนผม ในขณะที่ผมศึกษาสูตรและศาสตร์ต่างๆ แห่งสำนักไวปูลยะ, แต่หลังจากนั้นมาเป็นเพราะได้อ่านวิมลกีรตินิเทศสูตร ผมจึงมองเห็นแจ่มแจ้งถึงความสำคัญของนิกายพุทธจิตตะ (คือนิกายธยาน) แล้วในตอนนี้ ผมยังไม่มีอาจารย์คนใดที่จะพิสูจน์และยืนยันความรู้ของผม

ภิกษุอันแช็กกล่าวขึ้นว่า ถ้าในยุคก่อนหน้าพระภิสมครรชิตศวร พระพุทธเจ้าองค์แรก ก็พอจะเป็นไปได้ ที่ใครๆจะรู้ธรรมได้โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับอาจารย์ แต่หลังจากนั้นมาแล้ว ผู้ที่บรรลุธรรมโดยไม่อาศัยความช่วยเหลือและยืนยันของอาจารย์คนใดคนหนึ่งแล้ว (ดูเหมือนจะ) ใช้ไม่ได้เป็นธรรมดา
หยวนกว็อกได้ถามว่า ถ้าดังนั้นท่านช่วยเป็นผู้พิสูจน์การรู้ธรรมของผมได้ไหมเล่า?
ภิกษุอันแช็กตอบว่า คำพูดของผมไม่มีน้ำหนัก ที่ตำบลโซกาย มีพระสังฆปริณายกองค์ที่หก อยู่ที่นั่น คนจำนวนมากมาหาท่านจากทิศต่างๆ ด้วยความประสงค์อย่างเดียวกัน คือเพื่อรับเอาธรรม ถ้าท่านใคร่จะไปที่นั่น ผมยินดีที่จะไปเป็นเพื่อน
ในเวลาอันสมควร ภิกษุทั้งสองก็ได้ไปถึงโซกาย และพบปะกับพระสังฆปริณายก สำหรับท่านหยวนกว็อกนั้น เมื่อได้เดินเวียนรอบๆ พระสังฆปริณายกสามครั้งแล้ว ก็หยุดยืนถือไม้เท้านิ่งอยู่ (ปราศจากการแสดงความเคารพแต่อย่างใด)
พระสังฆปริณายกเห็นเช่นนั้น จึงกล่าวขึ้นว่า ก็ภิกษุย่อมเป็นที่เกาะอาศัยของศีลสิกขาบทสามพันข้อ และสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ อีกแปดพันข้อ ผมสงสัยเหลือเกินว่าท่านมาจากสำนักไหน และมีอะไรที่ทำให้ท่านถือตัวถึงเพียงนี้
ท่านหยวนกว็อกได้ตอบว่า ปัญหาเกี่ยวกับการเวียนเกิดไม่รู้สิ้นสุด เป็นปัญหาด่วนจี๋ และความตายอาจจู่มาถึงขณะจิตใดก็ได้ (ผมจึงไม่มีเวลามากพอที่จะเสียไปในการทำพิธีรีตองเช่นนั้น)
พระสังฆปริณายกถามไปว่า แล้วทำไมท่านไม่ทำความแจ่มแจ้งในหลักธรรมเรื่อง "ความไม่เกิด" และแก้ไขความยุ่งยากแห่งความไม่เที่ยงแท้ของชีวิตให้หมดไปด้วยธรรมนั้นเล่า?
ท่านหยวนกว็อกเสนอว่า การเห็นแจ้งจิตเดิมแท้เป็นการทำตนให้เป็นอิสระจากการเวียนเกิด จัดการกับปัญหาข้อนี้ให้ลุล่วงไปเพียงข้อเดียว ปัญหาเรื่องความไม่เที่ยง ก็จะไม่มีเหลืออีกต่อไป
พระสังฆณายกได้ตอบรับว่า ถูกแล้ว ถูกแล้ว
ในตอนนี้ หยวนกว็อกได้ยอมทำความเคารพอย่างเต็มที่ตามธรรมเนียม ไม่กี่อืดใจก็กล่าวคำอำลาพระสังฆปริณายก
พะรสังฆปริณายกถามว่า ท่านกำลังจะกลับเร็วเกินไปเสียแล้ว ใช่ไหมล่ะ?
หยวนกว็อกย้อนว่า "ความเร็ว" จะมีได้อย่างไรกัน ในเมื่อความเคลื่อนไหวเอง ก็มิได้มีเสียแล้ว
ย้อนกลับไปว่า ใครเล่า ที่จะรู้ว่าการเคลื่อนไหวก็มิได้มี?
สวนมาว่า ท่านขอรับ กระผมหวังว่าท่านจะไม่ชี้ระบุตัวตนอะไรที่ไหน
พระสังฆปริณายกได้กล่าวสรรเสริญท่านหยวนกว็อก ว่าสามารถมีความเข้าใจในเรื่อง "ความไม่เกิด" (คือพระนิพพาน) ได้อย่างกว้างขวางปรุโปร่ง แต่ท่านหยวนกว็อกได้ตั้งข้อสังเกตขึ้นมาอีกว่า ก็ใน "ความไม่เกิด" นั้น มี "ความเข้าใจ" อยู่ด้วยหรือ?
พระสังฆปริณายกย้อนตอบไปว่า ไม่มี "ความเข้าใจ"แล้ว ใครเล่าที่สามารถชี้ระบุตัวตน?
ท่านหยวนกว็อกตอบว่า สิ่งที่ชี้ระบุตัวตนนั้น หาใช่ "ความเข้าใจ" ไม่

พระสังฆปริณายกร้องขึ้นว่า สาธู แล้วได้ขอร้องให้ท่านหยวนกว็องยับยั้งการกลับไว้ก่อน และค้างคืนด้วยกันสักคืนหนึ่ง เพราะเหตุนี้เอง ท่านหยวนกว็อก.จึงเป็นผู้ที่พวกเพื่อนๆ ในสมัยเดียวกันขนานนามว่า "ผู้รู้ ซึ่งเคยค้างคืนกับพระสังฆปริณายก"

ต่อมาภายหลัง ท่านหยวนกว็อกได้ประพันธ์วรรณกรรมอันมีชื่อเสียงเรื่อง "บทขับเกี่ยวกับการบรรลุทางฝ่ายใจ" ซึ่งแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง เมื่อมรณภาพแล้ว ท่านได้รับสมัญญาว่า "ปรมาจารย์ วู่เช็ง (ซึ่งแปลว่าผู้อยู่เหนือสิ่งต่างๆ ในโลก) พวกเพื่อนๆสมัยเดียวกันกับท่าน พากันเรียกท่านอีกว่า
ธยานาจารย์ ชุนกว็อก (ซึ่งแปลว่า ท่านที่รู้จริงๆ)

************
ภิกษุ จิหว่าง เป็นนักศึกษาผู้หนึ่งในนิกายธยาน หลังจากได้สอบถามพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า (เกี่ยวกับการก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมของตน) แล้วก็เข้าใจเอกเองว่าตนได้บรรลุสมาธิ ดังนั้น ท่านผู้นี้จึงเก็บตัวอยู่ในวิหารเล็กๆ แห่งหนึ่ง เป็นเวลาถึงยี่สิบปี และเฝ้าแต่นั่งขัดสมาธิอยู่ตลอดเวลา
มีศิษย์ของพระสังฆปริณายกองค์ที่หกผู้หนึ่งชื่อ ภิกษุอันแช็ก จาริกไปทางฝั่งเหนือของ แม่น้ำฮวงโห ได้ยินเรื่องราวของท่านผู้นี้ จึงเข้าไปเยี่ยมถึงที่วัดนั้น

ภิกษุอันแช็กได้ถามว่า "ท่านทำอะไรอยู่ที่นี่"
ภิกษุจิหว่างได้ตอบว่า "ข้าพเจ้ากำลังเข้าสมาธิอยู่"

ภิกษุอันแช็กกล่าวขึ้นว่า "ท่านว่าท่านกำลังเข้าสมาธิอยู่อย่างนั้นหรือ? ข้าพเจ้าอยากทราบว่า ท่านทำสมาธิอยู่ด้วยความรู้สึก หรือว่าปราศจากความรู้สึก เพราะว่าถ้าท่านทำสมาธิอยู่ โดยไม่มีความรู้สึก มันก็หมายความว่าสิ่งที่ไม่มีชีวิตทั้งปวง เช่น เครื่องกระเบื้อง, ก้อนหิน, ต้นไม้, และผักหญ้าทั้งหลาย ก็ลุถึงสมาธิได้เหมือนกัน. หรือไม่อย่างนั้น ถ้าท่านทำสมาธิอยู่โดยมีความรู้สึก, แล้วตัวสัตว์ที่มีชีวิตหรือมนุษย์ก็ตาม ทั้งหมดนั้น ก็จะพลอยเป็นผู้อยู่ในสมาธิไปด้วยทั้งสิ้น."

ภิกษุจิหว่างได้กล่าวขึ้นว่า "เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในสมาธินั้น ข้าพเจ้าไม่รู้สึกเลยว่า มีความรู้สึกหรือไม่มีความรู้สึก"
ภิกษุอันแช็กจึงพูดว่า "ถ้าเอาอย่างที่ท่านว่า มันต้องเป็นความสงบตลอดกาล, ซึ่งในภาวะเช่นนั้นไม่มีทั้งการเข้าอยู่และการออกมา.อาการที่ท่านยังเข้าๆ ออกๆ ได้อยู่นั้น ยังไม่ใช่สมาธิชั้นเยี่ยม"
ภิกษุจิหว่างรู้สึกงง หลังจากที่นิ่งอึ้งไปขณะหนึ่ง, แล้วท่านจึงได้ถามขึ้นว่า "ข้าพเจ้าขอทราบว่าใครเป็นอาจารย์ของท่าน"
ภิกษุอันแช็กตอบว่า "อาจารย์ของข้าพเจ้า คือพระสังฆปริณายกองค์ที่หกแห่งโซกาย"
ภิกษุจิหว่างถามต่อไปว่า "อาจารย์ของท่าน ได้กล่าวสรูปความในเรื่องธยาน และ สมาธิ ไว้อย่างไรเล่า"
ภิกษุอันแช็กกล่าวตอบว่า "คำสอนของอาจารย์มีว่า ธรรมกายเป็นสิ่งที่เต็มเปี่ยมและสงบ. ตัวแท้และการทำหน้าที่ของธรรมกาย ย่อมอยู่ในภาวะแห่ง "ความคงที่เสมอ" ขันธ์ทั้งห้า เป็นของว่างโดยแท้จริง และอายตนะภายนอกทั้งหก เป็นของไม่มีอยู่ ในสมาธิไม่มีทั้งการเข้า และไม่มีทั้งการออก ไม่มีทั้งความเงียบ และไม่มีทั้งความวุ่นวาย. ธรรมชาติของธยานไม่ใช่เป็นความเข้าอยู่ ดังนั้น เราควรจะขึ้นไปให้เหนือภาวะแห่ง "การเข้าอยู่ในความสงบแห่งธยาน" ธรรมชาติของ ธยานนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ใครจะสร้างขึ้นได้, ดังนั้น เราควรจะขึ้นไปให้เหนือความคิดแห่ง "การสร้างภาวะของธยาน" ภาวะของจิตนั้นอาจเปรียบได้กับอวกาศ, แต่มันเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัด, ดังนั้น จิตจึงมีอยู่โดยปราศจากการจำกัดเขตของอวกาศ.

เมื่อได้ฟังดังนั้น ภิกษุจิหว่างจึงออกเดินทางไปยังโซกาย เพื่อไต่ถามพระสังฆปริณายก เมื่อสังฆปริณายกถามว่า มาแต่ไหนแล้ว, ภิกษุจิหว่าง ก็ได้เล่าเรื่องราวที่ตนได้สนทนากับภิกษุอันแช็ก ให้พระสังฆปริณายกฟังโดยละเอียด

พระสังฆปริณายกได้กล่าวว่า ข้อความที่อันแช็กพูดนั้น ถูกต้องทีเดียว. จงทำใจของท่าน ให้อยู่ภาพเหมือนกับความว่าอันหาขอบเขตไม่ได้, แต่อย่าให้มันเข้าไปติดในทิฏฐิว่า "ดับสูญ" จงให้ใจทำหน้าที่ของมันอย่างอิสระ. ไม่ว่าท่านจะกำลังทำงานหรือหยุดพัก จงอย่างให้ใจของท่านเกาะเกี่ยวในสิ่งใด. จงอย่าไปรู้สึกว่า มีความแตกต่างระหว่างอริยบุคคล กับบุคคลธรรมดา อย่าไปคิดว่ามีความแตกต่างระหว่าตัวผู้กระทำ กับสิ่งที่ถูกกระทำ. จงปล่อยจิตเดิมแท้และสิ่งทั้งปวง ไว้ในสภาพแห่ง "ความเป็นเช่นนั้น"*52 แล้วท่านก็จะอยู่ในสมาธิตลอดเวลา

*52 "ความเป็นเช่นนั้น" หรือ "ตถตา" นั้น คือความที่ถ้าเป็นสังขาร ก็ปรุงแต่งหรือเกิดดับกันไป ถ้าเป็นวิสังขาร ก็ไม่มีการปรุงแต่ง ไม่มีการเกิดดับ ผู้แปลไทย พุทธทาส

เมื่อได้ฟังดังนั้น จิหว่างก็มีความสว่างไสวในใจถึงที่สุด ความคิดที่ว่าตนได้บรรลุสมาธิมาแล้วตั้งยี่สิบปีแล้วนั้น บัดนี้ ได้สูญสิ้นไป. ในคืนวันนั้นเองพวกชาวบ้านโฮเป่ย (ทางฝั่งเหนือของแม่น้ำเหลือง) ได้ยินเสียงอัศจรรย์ในท้องฟ้า ซึ่งแสดงว่าท่านอาจารย์จิหว่างแห่งนิกายธยาน ได้รู้ธรรมในวันนั้น
ต่อมาอีกไม่นาน ภิกษุจิหว่างได้อำลาพระสังฆปริณายกกลับไปโฮเป่ย อันเป็นที่ซึ่งท่านได้สั่งสอนมหาชนหญิงชาย เป็นจำนวนมากทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์สืบมา

***********
ครั้งหนึ่ง มี ภิกษุองค์หนึ่ง ถามพระสังฆปริณายกว่า บุคคลประเภทไหนที่สามารถรับเอาใจความสำคัญของคำสอน แห่งว่องมุ่ย คือ พระสังฆปริณายกที่ห้าได้

พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า "ผู้ที่สามารถเข้าใจธรรมะของพระพุทธเจ้านั่นแหละ คือผู้ที่จะสามารถรับเอาได้
ภิกษุนั้นถามอีกว่า "ก็ใต้เท้าเล่า ได้รับแล้วหรือเปล่า?"
ท่านได้ตอบว่า "ฉันไม่รู้ (สึกว่ามี) ธรรมะของพระพุทธเจ้าเลย"

**********
วันหนึ่ง พระสังฆปริณายกต้องการจะซักจีวร ที่ได้รับมอบเป็นมรดกตกทอดมานั้น แต่ท่านไม่สามารถหาลำธารที่เหมาะๆ ได้ในที่นั้น ดังนั้น ท่านจึงได้เดินไปยังที่แห่งหนึ่ง ทางหลังวัดประมาณห้าไมล์, ที่นั่น ท่านได้สังเกตเห็นว่า ผักหญ้า และต้นไม้งอกงามหนาแน่น และสิ่งแวดล้อมได้ทำให้เกิดความรู้สึกว่า เป็นที่อันเหมาะสม. ท่านได้สั่นไม้เท้าประจำตัวของท่าน (ซึ่งทำให้เกิดเสียงดัง กริ่ง กริ่ง เพราะมีลูกพรวนจำนวนหนึ่งผูกอยู่ที่ด้ามไม้เท้านั้น) แล้วปักมันลงที่แผ่นดิน. ทันใดนั้น ก็มีน้ำพุ่งขึ้นมา ไม่นานก็กลายเป็นสระน้ำ

ขณะที่ท่านคุกเข่าลงบนก้อนหิน เพื่อจะซักจีวร, ในทันใดนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมาปรากฏขึ้นตรงหน้าของท่าน และทำความเคารพท่าน.

ภิกษุองค์นั้นได้กล่าวว่า "กระผมชื่อ ฟองปิน เป็นชาวเสฉวน เมื่อครั้งกระผมอยู่ที่ประเทศอินเดียตอนใต้, กระผมได้พบ พระสังฆปริณายกโพธิธรรม, ท่านได้แนะนำให้กระผมกลับมายังประเทศจีน. ท่านได้บอกแก่กระผมว่า "ธรรมหฤทัยอันถูกต้อง พร้อมทั้งจีวรบาตร (อันเป็นเครื่องหมายแห่งนิกายธยาน) อันเราได้รับมอบต่อๆลงมาจากพระมหากัสสปะเถระนั้น บัดนี้ ได้ตกทอดไปถึงพระสังฆปริณายกองค์ที่หก ซึ่งบัดนี้อยู่ที่ตำบลโซกาย แห่งชิวเจา. ท่านจงไปที่นั่นเพื่อจะได้ดูสิ่งเหล่านั้น และได้ถวายความเคารพแก่พระสังฆปริณายกองค์นั้น" กระผมเดินทางเป็นเวลานานจนมาถึงที่นี่ ขอให้กระผมได้เห็นจีวรและบาตรที่ใต้เท้าได้รับมอบเป็นทอดๆ ลงมานั้นเถิด?"

เมื่อได้ให้ดูเจดีย์วัตถุทั้งสองอย่างนั้นแล้ว พระสังฆปริณายกได้ถามภิกษุฟองปินว่า เขามีความเชี่ยวชาญในงานชนิดไหนบ้าง. ภิกษุฟองปินได้ตอบว่า "กระผมถนัดมือในทางงานแกะสลัก ขอรับ" พระสังฆปริณายก ได้ระบุความต้องการของท่านออกไปว่า "ถ้าอย่างนั้น จงทำอะไรให้ฉันดูสักอย่างหนึ่ง"

ภิกษุฟองปินรู้สึกหัวหมุนในขณะนั้น แต่ต่อมา 2-3 วัน ท่านก็สามารถและสลักรูปพระสังฆปริณายกอย่างประณีต เหมือนกับมีชีวิตอยู่จริงๆ ขึ้นได้สำเร็จรูปหนึ่ง สูงประมาณเจ็ดนิ้ว เป็นงานชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของการแกะสลัก

เมื่อได้เห็นรูปสลักรูปนั้น พระสังฆปริณายกได้หัวเราะ และกล่าวแก่ฟองปินว่า "เธอมีความรู้เชี่ยวชาญในด้านหนึ่งของวิชาการแกะสลักจริงๆ แต่ดูเหมือนว่า เธอไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวอันลึกซึ้งของพระพุทธเจ้าเสียเลย" แล้วพระสังฆปริณายกได้เอื้อมมือไปลูบศีรษะของภิกษุฟองปิน (เป็นวิธีให้พรตามแบบของพุทธบริษัท) และได้ประกาศขึ้นว่า "เธอจงเป็นเนื้อนาบุญของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย ตลอดกาลนานเป็นนิจเถิด"

นอกไปจากนั้น พระสังฆปริณายกได้ตอบแทนงานชิ้นของภิกษุฟองปินนั้น ด้วยการมอบจีวรผืนหนึ่งเป็นรางวัล ซึ่งภิกษุฟองปินได้ตัดแบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งได้ตบแต่งรูปสลักนั้น, ส่วนหนึ่งสำหรับใช้เอง และอีกส่วนหนึ่งท่านได้ห่อมันด้วยใบลาน แล้วฝังลงในดิน. ขณะที่ทำการฝังลงไป ท่านได้ประกาศคำอธิษฐานออกมาว่า เมื่อใดผ้านี้ถูกขุดขึ้น เมื่อนั้นขอให้ท่านได้เกิดใหม่ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดนั้น และให้ได้รับภาระซ่อมแซมพระเจดีย์และโบสถ์วิหารทั้งปวง

************

ภิกษุรูปหนึ่งนำโศลกซึ่งแต่งขึ้น โดยธยานาจารย์รูปหนึ่ง ชื่อ ออหลุน มาท่องบ่นอยู่ว่า:-

ออหลุน มีวิธีและเครื่องมือ
ที่จะกั้นจิตเสียจาก ความนึกคิดทั้งปวง
เมื่ออารมณ์ต่างๆ มิได้กลุ้มรุมจิต
ต้นโพธิ(เครื่องหมายแห่งปัญญา) ก็จะงอกงามอย่างเป็นล่ำสัน

พระสังฆปริณายก ได้ยินโศลกนี้ จึงพูดว่า "โศลกนี้ ย่อมแสดงว่า ผู้แต่งยังไม่เห็นจิตเดิมแท้อย่างเต็มที่ ถ้าใครรับเอาข้อความนี้มาถือปฏิบัติ ก็จะไม่ได้รับความหลุดพ้น แต่จักกลับผูกรัดตัวเองแน่นหนายิ่งขึ้น" แล้วพระสังฆปริณายก ได้บอกโศลกบทหนึ่งให้แก่ภิกษุรูปนั้นไว้ท่องบ่น ว่าดังนี้:-

เว่ยหล่าง ไม่มีวิธี และเครื่องมือ
ที่จะกั้นจิตเสียจากความนึกคิดทั้งปวง
อารมณ์ต่างๆย่อมกลุ้มรุมจิตของข้าพเจ้าอยู่เสมอ
และข้าพเจ้าสงสัยว่าต้นโพธิจะงอกงามได้อย่างไรกัน
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #2083 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2554, 02:40:35 »

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=xDhPdJCRffo" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=xDhPdJCRffo</a>

อยากให้อุบาสกสิงห์สละเวลาฟังเพลงนี้สักครึ่งเพลงก็ยังดี
(อีกครึ่งที่เหลือมันซ้ำครึ่งแรก เพราะศิลปินเจ้าของเพลงกลัวเพลงสั้น...ฟังยังไม่ทันหายมัน จบซะแร๊ะ)
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
อ้อย 14
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,055

« ตอบ #2084 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2554, 07:42:39 »


 emo48:)คมมาก คมมากพี่ท่าน...!! สะใจจัง Easy and simple...!!! gek
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #2085 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2554, 09:29:36 »


...สุขสันต์วันวิสาขบูชาค่ะ...พี่สิงห์...

...ทำบุญมาแล้วค่ะ...ขอให้ทุกท่านสุขใจได้บุญกันทั่วหน้าค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2086 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2554, 21:35:15 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องตู่ และชาวซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
                         สุขสันต์วันวิสาขบูชาทุกท่านครับ
                         พี่สิงห์ไปทำบุญนวิสาขบูชา ที่บ้าน วัดพระนอนมาครับ ทางวัได้จัดให้ทำบุญแบบ "ฉลากภัทร์" หมายความว่าทำบุญโดยไม่เจาะจงพระ หรือเณร โดยใช้วิธีจับฉลาก พี่สิงห์ไม่ทราบล่วงหน้า แต่บังเอิญซื้อขนมหม้อแกง สังขยา มะม่วง ทุเรียนไปฝากแม่ พี่สาวบอกว่าเขาทำบุญฉลากภัทร์ จึงให้จัดสำหรับกับข้าวสามชุดแบบง่ายๆให้ ผมเลยต้องแบ่งขนมที่จะไปให้แม่ครึ่งหนึ่งมาทำบุญแทนตามมีตามเกิด ครับ
                         สมัยที่ผมยังเล็ก การทำบุญฉลากภัทร์จะทำหน้าที่มะม่วงกำลังสุก หลังสงกรานต์ เพื่อถวายพระแต่ละบ้านต้องเตรียมทั้งของคาวและหวานให้ครบ เป็นสำหรับแบบถ้วยเครื่องปั่นดินเผาเป็นชุดสวยงาม ต้องใส่พานทองเหลืองหาบมา บางทีก็มีการแข่งขันการจัดสำหรับ และอาหารคาวหวาน จะสวยงามมาก แต่ปัจจุบันสังคมเปลี่ยนไป ไม่มีใครจัดแบบแต่ก่อนแล้ว แม้แต่บ้านผมแม่ก็เอาถาดทองเหลืองไปหล่อพระ ทุกคนใช้ปิ่นโตแทนหาบแบบโบราณ เมื่อใช้ปิ่นโตทางวัดเลยต้องจัดถาดสังกะสีพร้อมทั้งถ้วยชามเอาไว้ให้
                         ผมไปถึงวัดหกโมงครึ่งก็ไปหาถาดและถ้วยชาม มาจัดสำหรับของผม ใส่ตามมีตามเกิดเพราะไม่รู้ล่วงหน้า ทุกคนจะช่วยกันจัดของใครของมันครับ
                          เชิญชมภาพ
                          ราตรีสวัสดิ์





 
อาหารที่พี่สิงห์เตรียม และเงินทำบุญ 1,000 บาท ผมจับฉลากได้เบอร์ ๑๙ เป็นเณร
ตอนถวายผมก็บอกเณรตรงว่าไม่ได้เตรียมอะไรมาเลย เณรอยากฉันอะไร เอาสตางค์ไปซื้อเองดีกว่าครับ
ปรากฎว่า สำหรับอื่นๆ อาหารเหลือ ของผมเณรฉันหมดทุกอย่าง ยกเว้นข้าว(ครึ่งจาน)กับแกงมัสมั่น ทำให้ชื่นใจครับ

























      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #2087 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2554, 00:12:21 »


...อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ...พี่สิงห์...

...เท่านี้ก็อิ่มบุญแล้วค่ะ...ทำตามฐานะของเรา...ก็ถูกต้องตามหลักพุทธแล้วนี่คะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2088 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2554, 06:02:04 »

สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะที่รักโด่งทุกท่าน
                        ผมจัดสำรับของผมเสร็จก้เดินดูรอบๆศาลา เพื่อถ่ายภาพให้ทุกท่านได้ชมวัฒนธรรมการทำอาหารแถวบ้านผมว่าเขาทำอะไรกันบ้าง ถ้าเป็นสมัยก่อนใครมีความสามารถทำกับข้าวชนิดไหนเป้นพิเศษ ก็จำทำมาและจะมีการแจกในหมู่เครือญาติ เพื่อแบ่งปันกันกินด้วย แต่ปัจจุบันเหลือน้อยเติมทีแล้วครับ แต่ก็ยังมี ครับ
                        เชิญชมภาพ

















      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2089 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2554, 06:10:06 »

                       พี่สิงห์จับฉลากได้ ลำดับที่ ๑๙ เป็นเณร พระสวดพิธีเสร็จ กล่าวถวายอาหาร แล้วก้ประเกนอาหารพร้อมปัจจัย
                       เชิญชมภาพเอาเองครับ









ลำดับที่ ๑๙ เณรที่พี่สิงห์จับฉลากได้







คูณมรกต  กลับดี  พี่ชายใหญ่พี่สิงห์ ประธานกรรมการวัดพระนอน







ภายหลังทำบุญเสร็จ พระฉันอาหารเสร็จแล้ว ทุกคนก็ไปยกกับข้าวลงจากพระเป็นลุกสิษย์วัด
คือรับประทานอาหารกันบนศาลาวัด แล้วจึงรับรับพรพระ

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2090 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2554, 07:33:19 »

เรียน ดร.สุริยา และชาวซีมะโด่งที่สนใจทราบ
                       วันอาทิตย์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ศกนี้ เช้าผมจะพาท่านอาจารย์เผ่า  สุวรรณศักดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตย์กรรมไทย ไปที่วัดพระนอน เพื่อให้ท่านอาจารย์เผ่า ออกความเห็นว่าจะซ่อมหลังคา ฝ้าเพดาน ศาลาวัด ทำอย่างไรได้บ้าง รวมทั้งฐานรากศาลาเพื่อความมั่นคง จะยกให้สูงได้หรือไม่ รวมทั้งจะซ่อมอย่างไรดี คือต้องการเอาไปเป็นเพื่อนอาจารย์เผ่า จะได้มีเพื่อนคุยไม่เหงา จึงอยากให้ ดร.สุริยาไปด้วย ฐานรากจะได้มั่นคงเหมือนพระอาทิตย์ที่อยู่คงกับระบบสุริยะ ผมได้นัดกรรมการวัด และวันนั้นจะมีการทำบุญเลี้ยงพระเพลที่วัดพระนอนด้วยด้วย
                       ชาวหอท่านใดสนใจจะไปทำบุญ รับประทานอาหารจากชาวบ้านชุมชนวัดพระนอนตามที่เห็นในรูป และแวะไหว้พระตามรายทาง กินปลาแม่ลาแท้ ขอเชิญครับ ถ้ามีจำนวนมากพอรถตู้ ผมจะเอารถตู้ไป ตอนบ่ายกลับสามารถกลับมาเล่นโบลิ่งกับชมรมฯ ได้ทันครับ เพียงแต่เราออกเช้าหน่อยเท่านั้น สนใจ โทร.มาที่ 0817000760 ด่วนครับ
                       ผมได้ไปบอกให้หลานๆ ไปดูๆ ปลาช่อนแม่ลาให้หน่อย(ผิดศีล)
                       สวัสดี



ซุ้มประตูนี้นายมานพ  กลับดี เป็นผู้สร้าง
โดยเอาเงินที่เพื่อนฝูงใส่ซองทำบุญวันฌาปนกิจพ่อ มาทำ หมดเงินไปประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท สมัยนั้น

























ศาลานี้สร้างโดย ช่างแก้ว - ช่างชิด กลับดี  ปี ๒๔๔๙
ชาวบ้านต้องการยกให้สูงเพื่อหนีน้ำ แต่ดูสภาพแล้ว ชำรุดมาก ระดับไม่ได้ คานเล็กมาก และก่อสร้างแบบกระทุ้งด้วยไม้ ไม่ได้อัดแน่นมาก



ในเมื่อพ่อ ผมเป็นคนสร้าง ผมในฐานะลูก ต้องเป็นคนซ่อม ส่วนพี่ชายใหญ่มีหน้าที่หาเงิน เพื่อให้ศาลานี้คงอยู่ ต่อไปอีกสักระยะ
(ให้ผมตายก่อน)



ตลาดชุมชนวัดพระนอน ที่แม่ผมเคยทำขนมไทยขาย และพ่อผมตั้งโรงสีข้าวขนาดเล็กมาก ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ข้างวัดติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา
และพอผมโตขึ้นการคมนาคมต้องใช้รถพอดีกับเขาทำถนนกั้นน้ำไม่ให้เข้านาข้าวพ่อก็ย้ายโรงสีมาอยู่ที่ปัจจุบันพร้อมทั้งขยายให้ใหญ่ขึ้นกว่าเก่า
แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2091 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2554, 08:39:50 »

                       ผมปฏิบัติธรรม นั้น ไม่ใช่มีสาเหตุมาจาก
                       - อกหัก พลาดหวังในชีวิต หมดอะไรตายอยากแล้วชีวิตนี้
                       - พลัดพรากจากสิ่งที่รัก เสียใจ สูญเสียอย่างใหญ่หลวงในชีวิต
                       - ไม่ประสพความสำเร็จในการทำงาน ธุระกิจล้มละลาย มองหน้าใครไม่ได้
                       - ไปไหนไม่รอด หมดทางทำมาหากิน ความคิดไม่มี ไม่มีความหมาย
                       - อื่นๆ อีกมากที่ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายเขาพึงมีสาเหตุกัน
                       แต่ผมปฏิบัติธรรมเพื่อ
                       - ทำอย่างไร? ผมจะอยู่อย่างพอเพียงได้ ก็คือต้องเอาชนะใจตนเองให้ได้ โดยการปฏิบัติธรรมทางจิตเท่านั้น
                       - ผมรู้สาเหตุของการเกิดทุกข์ คือความอยาก(ตัณหา) ก็อยากที่จะหาวิธีเอาชนะความอยากนั้นกับเขาบ้าง ด้วย"มรรค ๘"
                       ถ้าผมค้นพบทางนั้นก็ดี ไม่พบก็ดี ผมสามารถเอาประสพประการณ์ที่ได้นั้น
                       - นำความรู้ที่ได้ ไปสอนช่วยคนที่เจ็บป่วยทางจิตที่ได้รับจากเวทนาทางร่างกายให้ดีขึ้นได้
                       - เห็นสัจจธรรม เห็นความคิด รู้สาเหตุของความคิดที่เกิด และรู้วิธีปล่อยวางได้ ด้วยปัญญา
                       - จิตใจนิ่งขึ้น ปลงเป็น ทำงานดีขึ้น มีสติดีขึ้น ปัญญายังคงอยู่
                       - สุขภาพจิตดีขึ้น รับได้ทุกสถานการณ์
                       เพียงแค่นี้ก็คุ้มค่า ไม่ได้เสียเวลาทำมาหากิน หรือดำเนินชีวิตแต่ประการใด ไม่หลงงมงายในสิ่งที่กระทำ ทุกอย่างกระทำ คิดด้วยปัญญา ใช้หลัก เหตุ... ปัจจัย ในการตัดสินตาม "ธรรม" เสมอ ไม่ชักชวนใคร ถ้าเขาไม่ต้องการ ไม่เชื่อสิ่งใด จะแนะนำเฉพาะคนที่กำลังทุกข์ หาหนทางไม่เจอ ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน  
                       ปฏิบัติแล้วความทุกข์คลาย ความกังวลไม่มี  ยอมรับทุกสิ่ง(ความคิดท่านอื่นๆ ทนรับฟังได้ แต่ไม่ปรุงแต่งตาม) ความโลภ โกรธ หลง ลดน้อยลง ปัจจุบันใจจืดชืดลงมากในสองวันที่ผ่านมาช่วงวิสาขบูชา ตัดในหลายสิ่งที่เคยกระทำลงหมด เหลือทำตัวแบบพอเพียง เท่านั้น สุขแล้วครับกับการ อยู่กับปัจจุบันแบบพอเพียง และยังทำอะไรให้สังคมได้เท่าที่จะทำได้
                       การเมือง  ข่าวสาร พบปะคน บันเทิง  เรื่องทุกข์ทั้งนั้น ผมขออยู่ห่างไกล ครับ
                       สวัสดีครับ
      บันทึกการเข้า
อ้อย17
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,908

« ตอบ #2092 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2554, 08:42:50 »


     สวัสดีค่ะ พี่สิงห์....
      ขออนุโมทนาบุญกับพี่สิงห์ด้วยนะคะ...
พี่สิงห์โชคดีที่ได้มีโอกาส และหาโอกาสต่อบุญมาโดยตลอด
กุศลผลบุญที่พี่ทำจะช่วยให้พี่พบแต่ความสุขความเจริญทั้งชาตินี้ และชาติหน้า
คนกรุงหาโอกาสไปวัดยาก เพราะขาดความสะดวกสบาย
เมื่อวานไปสวนคลองสิบ ผ่านวัดนาป่าพง รถติดยาวเหยียด..............
เพราะสาธุชนแห่กันไปวัดที่จอดรถที่ทางวัดเตรียมไว้เต็มหมด จนต้องจอดรถริมถนนสองฝั่ง
แถวนั้นมีโรงงานซีเมนต์ รถใหญ่ต้องวิ่งผ่านเป็นประจำ แถมรถบรรทุกรถไถนาเข้าไปอีก
ทำให้จราจรเป็นจราจลย่อยๆ มีเจ้าหน้าที่วัดเพียงคนเดียวที่คอยอำนวยการรถ...
เฮอ.....คิดถึงบ้านตัวเอง คิดถึงบ้านพี่  ที่อยู่ใกล้วัด เดินไปได้ไม่ต้องใช้รถ
เลยทำให้คิดว่าแก่ตัวลงคงไปอยู่ที่บ้านหรือหาที่ใกล้วัดจะได้สะดวกในการไปทำวัตรสวดมนต์

     อยากบอกพี่ว่า สนใจโปรแกรมพี่จริงๆ อยากไปด้วยค่ะ...
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2093 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2554, 09:05:44 »

                       ภายหลังทำบุญเสร็จ ผมแวะไปเยี่ยมพี่ฉวี ลูกสาวของน้องสาวพ่อ อยู่คนเดียว เห็นไม่ไปทำบุญ เป็นโรคเบาหวาน หัวใจ อ้วน เจ็บเข่า จึงเข้าไปพบถามข่าวคราว ความเป็นอยู่ เป็นอย่างไรบ้าง? พี่ฉวี ตอบว่า เจ็บเข่ามาก เดินไม่ไหว(ผมสังเกตุเห็นว่าน้ำหนักมากกว่าเดิม) จึงไม่ไปทำบุญ อยากินไปหมด เพราะกลัวว่าถ้าไม่กินเบาหวานจะขึ้น ใจสั่นเวลาไม่ได้กิน
                       ผมจึงอยู่คุยด้วยเป็นชั่วโมง เพื่อแนะนำ พูดคุยให้สบายใจ รับรู้เรื่องต่างๆ พอพี่ฉวีสบายใจที่จะรับรู้ความจริงได้แล้ว ผมก็เริ่มอธิบัจทำไมพี่เขากังวลเรื่องกิน เบาหวาน เดินไม่ได้.......อีกมากผมเลยบอกสาเหตุมาจาก "ความไม่รู้" จึงคิดไปเองปฏิบัติไปเองทั้งสิ้น ผมชี้ให้พี่ฉวีเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตนั้น เป็นเพราะเราหลงอยู่ในความคิด กระทำตามความคิดเรามาทั้งชีวิต โดยไม่คัดค้านด้วน ปัญญาจากจิตเดิมแท้ หรือด้วยการมีสติเลย ผมมันจึงเป็นอย่างที่เห็น
                       แต่ยังสามารถแก้ได้ คนที่เขาเป็นอำมพฤกษ์ เขาป่วยแต่กายแต่ใจไม่ได้ป่วย ยังสามารถเอาชนะใจตนเองได้ ตอนนี้ยังแก้ไขทัน ต้องแก้ที่จิตก่อนทางกาย คือ ผมให้อ่านหนังสือหลวงพ่อเทียน และอธิบายเรื่องการปฏิบัติธรรม ให้ลืมวิธีที่เคยรรับทราบมาก่อน คือ นั่งหลับตา ภาวนา ซึ่งทำไม่ได้เพราะนั่งไม่ได้ ผมสอนว่าการปฏิบัติธรรมที่แท่จริงนั้น คือการทำจิตของเราให็รู้ตัวทั่วพร้อมทั้งกานและใจ ไม่ปล่อยให้ใจลอยคิดปรุงแต่งไปเรื่อย ให้มีความรู้สึกตัวคอยดูจิตตัวเอง โดยการเวลานั่งให้ใช้มือสัมผัสจากนิ้งโป่ง นิ้วชี้ หรือพลิกมือ แต่ขอให้รู้สึกตัว ถ้าเมื่อยก็เหยียดขา กระดกปลายเท้าเข้าออก แต่ให้รู้สึกตัว(ที่ให้กระกดเพราะพี่ฉวี ชาปลายนิ้ว ต้องใช้ยาหม่องทา ผมบอกทายามันปลายเหตุต้องแก้ที่สาเหตุ คือขยับตามที่ผมว่า) ให้สลับขา และให้สลัดขาที่ละข้าง ให้มีความรู้สึก เป็นการออกกำลังกายข้อเข่าที่ติดเดินไม่ได้ ผมสอนอีกมาก....... ผมบอกว่าเวลาเดินให้รู้สึกตัวจะได้ไม่ล้ม นี่ละการปฏิบัติธรรมที่แท้จริง คอยดูใจเราไปด้วย ประเดี๋ยวใจมันก็คลายลง รู้ปล่อยวางขึ้น และใช้ปัญญามากขึ้น ก็สามารถที่จะลดเรื่องการกินลงได้ ทุกอย่างก็จะดีขึ้นๆ
                       ผมบอกว่าการปฏิบัติธรรมที่แท้จริงคือ การไม่กระทำตามที่จิตมันนึก มันคิดให้กระทำ ให้ทำตรงกันข้าม และใช้ปัญญาทำเท่านั้น พี่ฉวีมีเวลา เพราะไม่ได้ทำอะไร ถ้าสามารถเอาชนะจิตตัวเองได้แล้ว เรื่องเบาหวาน ความดัน หัวใจ แก้ง่ายนิดเดียวเท่านั้น
                       ผมนั่งอธิบายจนพี่ฉวีเริ่มเข้าใจท่องแท้ที่จะสามารถเอาชนะใจตนเองได้ มีหนทางที่จะกลับมาเดินได้ และทำอะไรได้ เมื่อเห็นว่าพี่่ฉวีมีจิตที่เห็นชอบแล้ว และสมควรแก่เวลา จึงขอลากลับเพื่อจะไปหาแม่ที่บ้านน้องสาวและไปกินข้าวกลางวันที่ร้านขนมเบื่องญวน ก๋วยเตี๋ยวที่วัดกลางนรินทร์ ที่พี่สมบุญนำมาเวลามีงานคืนสู่เหย้า ครับ
                       สวัสดีครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2094 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2554, 09:14:35 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องอ้อย ๑๗ ที่รัก
                        เธอช่วยกรุณาชักชวนให้ครับ สิบท่านรวมทั้งพี่สิงห์ อาจารย์เผ่า ดร.สุริยา ออกแต่เช้า ที่หอพัก แวะวัดไชโย หลวงพ่อโต ไปไหว้พระทองคำ วัดประดิษฐ์ และหลวงพ่อหินวัดพระนอน ร่วมทำบุญ ไม่มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น กินข้าวกลางวันที่วัด(ชาวบ้านจัดให้) กลับมาทันโบลิ่งของชมรม ต้องการปลาช้อนแดดเดียวบอกล่วงหน้า จะได้ให้ผู้ใหญ่บ้านจัดการให้ เราไม่เสียเวลา
                        เพียงแค่ให้ อาจารย์เผ่าได้ทำงานครึ่งชั่วโมง และบอกชาวบ้านว่าจะซ่อมอย่างไรดี เท่านั้นครับ อาจารย์เผ่า ยินดีและทำด้วยความเต็มใจ อยู่แล้ว และพี่สิงห์จะได้บอกน้องแน๊ะ ไปด้วยครับเพราะไม่ไกลกัน
                        แก่แล้วถ้าไม่รู้จะไปไหน อีกห้าปีพี่สิงห์กลับบ้าน จะไปสร้างบ้านดินไว้หลาย ๆหลัง ให้พวกเราได้อยู่ และปฏิบัตธรรมกัน ไปอยู่กับพี่สิงห์ ด้วยกัน จะได้มีอะไรทำ ไม่รบกวนลูกหลาน ครับ ถ้าไม่มีที่ไปหลังเกษียณ
                        สวัสดี
      บันทึกการเข้า
อ้อย17
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,908

« ตอบ #2095 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2554, 09:23:35 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 18 พฤษภาคม 2554, 09:14:35
สวัสดีค่ะ คุณน้องอ้อย ๑๗ ที่รัก
                        เธอช่วยกรุณาชักชวนให้ครับ สิบท่านรวมทั้งพี่สิงห์ อาจารย์เผ่า ดร.สุริยา ออกแต่เช้า ที่หอพัก แวะวัดไชโย หลวงพ่อโต ไปไหว้พระทองคำ วัดประดิษฐ์ และหลวงพ่อหินวัดพระนอน ร่วมทำบุญ ไม่มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น กินข้าวกลางวันที่วัด(ชาวบ้านจัดให้) กลับมาทันโบลิ่งของชมรม ต้องการปลาช้อนแดดเดียวบอกล่วงหน้า จะได้ให้ผู้ใหญ่บ้านจัดการให้ เราไม่เสียเวลา
                        เพียงแค่ให้ อาจารย์เผ่าได้ทำงานครึ่งชั่วโมง และบอกชาวบ้านว่าจะซ่อมอย่างไรดี เท่านั้นครับ อาจารย์เผ่า ยินดีและทำด้วยความเต็มใจ อยู่แล้ว และพี่สิงห์จะได้บอกน้องแน๊ะ ไปด้วยครับเพราะไม่ไกลกัน
                        แก่แล้วถ้าไม่รู้จะไปไหน อีกห้าปีพี่สิงห์กลับบ้าน จะไปสร้างบ้านดินไว้หลาย ๆหลัง ให้พวกเราได้อยู่ และปฏิบัตธรรมกัน ไปอยู่กับพี่สิงห์ ด้วยกัน จะได้มีอะไรทำ ไม่รบกวนลูกหลาน ครับ ถ้าไม่มีที่ไปหลังเกษียณ
                        สวัสดี

     ค่ะ...พี่สิงห์....
     เดี๋ยวจะลองๆชวนกันดู น่าจะมีคนสนใจหลายคน......
     บ้านดินหรือคะ...น่าสนใจมากๆๆๆ.......ชอบค่ะพี่สิงห์
     ถ้าบุญพา วาสนาส่ง  คงได้ไปปฏิบัติธรรมใกล้พี่ค่ะ....ขอบพระคุณค่ะ ที่ชวน...
      บันทึกการเข้า
supanee
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 605

« ตอบ #2096 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2554, 10:03:58 »

เห็นภาพการทำบุญวันวิสาขฯที่พี่สิงห์นำมาลงไว้ แล้วชื่นใจจัง อยากอยู่ในสังคมแบบนั้นบ้าง
ตั้งแต่เด็กมาไม่เคยได้ใช้ชีวิตแบบนี้เลย เป็นนักเรียนประจำกับอยู่หอพักมาตลอด
หวังว่าแถวนครชัยศรีที่จะไปอยู่หลังเลิกทำงานคงจะมีแบบนี้บ้าง

วันที่ 29 นี้ที่พี่สิงห์ชวน เผอิญไม่อยู่ค่ะ ไม่งั้นจะขอไปด้วย
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2097 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2554, 15:18:07 »

อ้างถึง
ข้อความของ supanee เมื่อ 18 พฤษภาคม 2554, 10:03:58
เห็นภาพการทำบุญวันวิสาขฯที่พี่สิงห์นำมาลงไว้ แล้วชื่นใจจัง อยากอยู่ในสังคมแบบนั้นบ้าง
ตั้งแต่เด็กมาไม่เคยได้ใช้ชีวิตแบบนี้เลย เป็นนักเรียนประจำกับอยู่หอพักมาตลอด
หวังว่าแถวนครชัยศรีที่จะไปอยู่หลังเลิกทำงานคงจะมีแบบนี้บ้าง

วันที่ 29 นี้ที่พี่สิงห์ชวน เผอิญไม่อยู่ค่ะ ไม่งั้นจะขอไปด้วย

สวัสดีค่ะ คุณสุภาณี ที่รัก
            สมัยที่พี่สิงห์ยังเรียนหนังสืออยู่ที่บ้านชีวิตมีแต่ความสุขที่แท้จริง วันหนึ่งชาวบ้านไม่ได้ใช้เงินกันเลยเพราะมีเองหมด ยกเว้นเนื้อหมู ที่ต้องซื้อ ทุกบ้านมีอาชีพทำนาเป็นหลัก อาหารการกินไม่เดือดร้อน งานแต่งงาน งานบวชนาค สนุกมาก อาหารการกินประกวดประชันกันเป็นวัฒนธรรม ไม่มีการซื้อขายมีแต่ให้ งานวัดจึงสนุกมาก แต่เดี๋ยวนี้ไม่สนุกเลย กร่อยไปเลยครับ
            แต่ปัจจุบันเศรษบกิจแบบใหม่ ของดีๆ หายหมดเลยครับ สงกรานต์ที่ผ่านมาพี่ชายเลยขอย้อนยุคทุกอย่างให้มีบรรยากาศเดิมๆยังอยู่ให้ลูกหลานได้ดู คือทุกคนร่วมใจกันทั้งหมู่บ้าน รูจักการเสียสละมากขึ้น และมีความสามัคคี ไม่มีการเมืองเข้ามายุ่ง
            วัฒนธรรมไทยดีๆ ทั้งนั้น แต่มันถูกลืมหมดแล้วด้วยวัฒนธรรมสากลไปหมด เสียดาย
            สวัสดี
      บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #2098 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2554, 20:10:44 »

 
อ้างถึง   
อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 18 พฤษภาคม 2554, 15:18:07
อ้างถึง
ข้อความของ supanee เมื่อ 18 พฤษภาคม 2554, 10:03:58
เห็นภาพการทำบุญวันวิสาขฯที่พี่สิงห์นำมาลงไว้ แล้วชื่นใจจัง อยากอยู่ในสังคมแบบนั้นบ้าง
ตั้งแต่เด็กมาไม่เคยได้ใช้ชีวิตแบบนี้เลย เป็นนักเรียนประจำกับอยู่หอพักมาตลอด
หวังว่าแถวนครชัยศรีที่จะไปอยู่หลังเลิกทำงานคงจะมีแบบนี้บ้าง

วันที่ 29 นี้ที่พี่สิงห์ชวน เผอิญไม่อยู่ค่ะ ไม่งั้นจะขอไปด้วย

สวัสดีค่ะ คุณสุภาณี ที่รัก
            สมัยที่พี่สิงห์ยังเรียนหนังสืออยู่ที่บ้านชีวิตมีแต่ความสุขที่แท้จริง วันหนึ่งชาวบ้านไม่ได้ใช้เงินกันเลยเพราะมีเองหมด ยกเว้นเนื้อหมู ที่ต้องซื้อ ทุกบ้านมีอาชีพทำนาเป็นหลัก อาหารการกินไม่เดือดร้อน งานแต่งงาน งานบวชนาค สนุกมาก อาหารการกินประกวดประชันกันเป็นวัฒนธรรม ไม่มีการซื้อขายมีแต่ให้ งานวัดจึงสนุกมาก แต่เดี๋ยวนี้ไม่สนุกเลย กร่อยไปเลยครับ
            แต่ปัจจุบันเศรษบกิจแบบใหม่ ของดีๆ หายหมดเลยครับ สงกรานต์ที่ผ่านมาพี่ชายเลยขอย้อนยุคทุกอย่างให้มีบรรยากาศเดิมๆยังอยู่ให้ลูกหลานได้ดู คือทุกคนร่วมใจกันทั้งหมู่บ้าน รูจักการเสียสละมากขึ้น และมีความสามัคคี ไม่มีการเมืองเข้ามายุ่ง
            วัฒนธรรมไทยดีๆ ทั้งนั้น แต่มันถูกลืมหมดแล้วด้วยวัฒนธรรมสากลไปหมด เสียดาย
            สวัสดี

อ่านกระทู้นี้ แล้วสุขใจ
เสียดายจัง 29 นี้ไปไม่ได้

ปล.ผมก็เสียดาย วัฒนธรรมไทยดี ที่ถูกลืม เหมือนกัน

      บันทึกการเข้า
pusadee sitthiphong
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
กระทู้: 4,689

« ตอบ #2099 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2554, 20:40:08 »

สวัสดีค่ะพี่สิงห์
      บันทึกการเข้า

pom shi 2516
  หน้า: 1 ... 82 83 [84] 85 86 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><