28 มิถุนายน 2567, 00:53:56
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 80 81 [82] 83 84 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3329264 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 6 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2025 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2554, 08:53:05 »

สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
                        เช้านี้พี่สิงห์จะเขียนเรื่องอะไรดี ? นึกไม่ออก เอาเรื่อง "ทุกข์" ก็แล้วกัน
                        ทุกข์ คือ ความไม่สะบายกาย ความไม่สะบายใจ ที่มนุษย์ทนอยู่ได้อยาก พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่จะต้อง "กำหนดรู้" แต่ "อย่าไปหลงติดอยู่ในทุกข์" นั้น เพราะการกำหนดรู้ของทุกข์นั้น เราจะสามารถเห็นความทุกข์นั้นที่มันเกิดกับรูป-นาม ของเรา เราสามารถเห็นต้นตอ สาเหตุแห่งความทุกข์นั้น และถ้าเราคิดเสียว่าสาเหตุแห่งทุกข์นั้นมันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตทั้งสิ้น แต่มันส่งผลมาถึงปัจจุบันได้ เมื่อเราได้สัมผัสทางอายาตนะ ๖ อีกครั้ง มันจึงเกิดการปรุงแต่งแห่งความคิดขึ้นมาก่อทุกข์ เมื่อเรากำหนดรู้ว่าทุกข์นี้มันเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นในอดีต มันผ่านไปแล้ว รู้สาเหตุแล้ว เราต้องมีตัว "สติ" เป็นตัวถ่วงเอาไว้และใช้ปัญญาไตร่ตรองไม่ให้เรา คือ รูป-นาม ของเราหลงเข้าไปติดในกองทุกข์นั้น ขอให้ใช้สติเป็นแต่เพียงผู้ดู หรือกำหนดรู้ไว้เท่านั้น อย่างตกเป็นทาษ หรือหลงติดอยู่ในกองทุกข์(ความคิดแห่งจิตที่ปรุงแต่ง หรือวิตกกังวลคิดขึ้นมาทำให้ทุกข์กาย ทุกข์ใจ)
                        พระพุทธเจ้าท่านจึงให้กำหนดรู้เฉยๆ ทุกข์ในโลกนี้ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามีด้วยกัน ๗ ประการ คือ
                        ๑. ความเกิด ก็เป็นทุกข์
                        ๒. ความแก่ ก็เป็นทุกข์
                        ๓. ความเจ็บ ก็เป็นทุกข์
                        ๔. ความตาย ก็เป็นทุกข์
                        ๕. รักชอบสิ่งใด หรือปราถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์
                        ๖. ประสพกับสิ่งที่ไม่รัก ไม่ชอบ ไม่ปราถนา ก็เป็นทุกข์
                        ๗. พลัดพลากจากสิ่งที่รัก ที่ชอบ ก็เป็นทุกข์
                        ดังนั้น เมื่อทุกท่านประสพกับทุกข์ทั้ง ๗ ประการนี้ ขอให้ท่านกำหนดรู้ ต้นตอแห่งสาเหตุนั้น ให้ตัดที่ต้นตอด้วยการมี สติ(รู้สึกตัว) ใช้ปัญญาไตรตรอง อย่าเป็นทาษ หรือหลงเข้าไปในความคิด หรือเป็นผู้ทุกข์เสียเอง ให้กำหนดรู้ เฝ้าดูเฉยๆด้วยการมีสติ แล้วท่านจะพ้นทุกข์ หรือสามารถอยู่เหนือทุกข์นั้น(จิตใจ) ทุกข์ก็จะไม่กระทบต่อท่านเลย
                        สวัสดียามเช้าทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #2026 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2554, 13:40:20 »

มารับธรรม ตอนบ่ายค่ะพี่สิงห์

ยินดี กับหลานนะด้วย ยินดีต้อนรับน้องใหม่ จุฬาค่ะ

 น้องติ๋ม พี่ตกข่าวค่ะ เพิ่งเห็นข่าว และได้อ่าน วันนี้เอง เพิ่งทราบว่าเป็นแถวบ้านน้องติ๋มด้วย เป็นอย่างไรบ้างค่ะ
เอาใจช่วยนะคะ  ขนข้าวของหายเหนื่อยบ้างหรือยัง
หากกลับบ้านปลอดภัย เก็บข้าวของเรียบร้อยดีแล้ว  หายเหนื่อยแล้วก็ส่งข่าวมาบ้างนะคะ เป็นห่วงค่ะ
พี่รู้ดีว่าขนของหนีน้ำท่วมมันสาหัส และทุกข์ใจค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2027 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2554, 15:03:00 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                       พี่สิงห์นั่งอยู่ที่สนามบินนครศรีธรรมราชเพื่อกลับกรุงเทพฯ ครับ ไม่มีอะไรทำ ขอเขียนเรื่อง "ธรรม" ไปพลางๆ ครับ

"รูป-นาม" เป็นฉันท์ใด?

                       พระพุทธเจ้าท่านมองว่า "มนุษย์" นั้นประกอบไปด้วย "รูป และ นาม" หรือเบญจขันธ์ หรือขันธ์ ๕ ซึ่งประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ในเบญจขรรค์นั้นแบ่งออกได้สองลักษณะคือ รูป และนาม "รูป"ก็คือ รูปร่างของมนุษย์ที่เราเห็นกันอยู่นี้ ส่วน "นาม" ก็คือ ส่วนที่ไม่มีตัวไม่มีตน มีแต่จิต ซึ่งได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ "นาม" นี้สามารถที่จะสัมผัสได้ทางอายาตนะ ๖ คือสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
                       ในส่วนที่เป็นนามนี้ละคือ "จิต" ของมนุษย์ที่มีอำนาจเหนือ "รูป" เป็นผู้ก่อความทุกให้ทั้ง "รูป-นาม" นามหรือจิตนี้ สามารถที่จะรับรู้จากการสัมผัสทางอายตนะ ๖ (วิญญาณ) หรือจำได้หมายรู้(สัญญา) มีความรู้สึกได้ว่าสุข ทุกข์ เฉยๆ(เวทนา) และปรุงแต่งความคิด(สังขาร)
                       ส่วน "รูป" นั้นพระพุทธเจ้าท่านบอกว่าประกอบไปด้วยธาตูดิน(ส่วนที่เป็นของแข็งในร่างกาย) ธาตูน้ำ(ของเหลว ได้แก่เลือด น้ำเหลือง) ธาตุไฟ (ความร้อนในร่างกาย) และธาตูลม(อากาศ) มาประชุมกันเป็นร่างกายมนุษย์ ดังนั้นถ้าธาตุต่างๆเหล่านี้เกิดความไม่สมดุลย์เกิดขึ้น ผลคือร่างกายจะเจ็บป่วย ตามมา ดังนั้นเราต้องรู้จักวิธีรักษาให้ธาตุเหล่านี้สมดุลย์เข้าไว้ จากการ "ดูกาย" ตนเองให้เป็นให้รู้จัก "รูปธรรม" และ "นามธรรม" ของร่างกายที่แท้จริง
                       ดังนั้น ขั้นต้นของการปฏิบัติธรรม ท่านต้องมอง "รูป-นาม" ให้ออกด้วยความรู้สึกด้วยตัวของท่านเอง ค้นพบให้ได้แล้วท่านจะเข้าใจได้แจ่มแจ้งด้วยปัญญาของท่าน ไม่รู้ลืม การรู้ด้วยปัญญา มันไม่มีวันลืม แต่การรู้จำ คือมีความรู้จากการอ่าน การเรียน มันลืมได้สักวันหนึ่งไม่ช้าก็เร็ว
                       สวัสดีตอนบ่ายครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2028 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2554, 22:59:05 »

พี่สิงห์ครับ

น้องใหม่25 สอบถามถึงการที่พี่จะไปวัดไร่ขิงครับ มีความคืบหน้าแล้วหรืออย่างไร??
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #2029 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2554, 08:36:23 »

...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์...และพี่น้องทุกท่าน...

...เข้ามาอ่านธรรมะจากพี่สิงห์ค่ะ...จะทยอยๆอ่านค่ะ...

...ขอบคุณค่ะ...พี่สิงห์...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2030 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2554, 20:16:44 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 08 พฤษภาคม 2554, 22:59:05
พี่สิงห์ครับ

น้องใหม่25 สอบถามถึงการที่พี่จะไปวัดไร่ขิงครับ มีความคืบหน้าแล้วหรืออย่างไร??
สวัสดีครับ คุณเหยง
              เรื่องไปสอนพระออกกำลังกายนั้น ต้องใช้เวลา คือสีกาที่ติดต่อมา ต้องไปเขียนเป็นโครงการ นำเสนอต่อเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง เพื่อขออนุมัติอย่างเป็นทางการ  ไม่ใช่นึกจะไปสอนก็ไปเลยครับ
              มีความก้าวหน้าจะแจ้งให้ทราบต่อไปครับ
              สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2031 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2554, 20:19:50 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องตู่และชาวซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
                       ช่วงนี้อากาศร้อนจัดมาก และมีฝนตกเกือบทุกวัน พยายามออกกำลังกายกันบ้างนะครับ เพราะเดี๋ยวจะเป็นไข้หวัดกัน
                       สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2032 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2554, 20:37:09 »

พุทธพจน์ แสดง กฎไตรลักษณ์

ตถาคต(พระพุทธเจ้า)ทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ(หลัก) นั้นก็ยังคงมีอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยามว่า
                       ๑. สังขารทั้งปวง             ไม่เที่ยง.....
                       ๒. สังขารทั้งปวง             เป็นทุกข์.....
                       ๓. ธรรมทั้งปวง               เป็นอนัตตา.....
ตถาคต ตรัสรู้ เข้าถึงหลักนั้นแล้ว จึงบอก แสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผยแจกแจง ทำให้เข้าใจง่ายว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง...สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์.....ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา”
                       ความคิดปรุงแต่งที่มีเหตุเป็นปัจจัย นั้นเมื่อคิดขึ้นมา ถ้าเรามีอุเบกขา ความคิดอันนั้นมันก็ดับไปของมันเองเพราะ ความคิดมันไม่มีตัว ไม่มีตน แต่เพราะเราไปคิดว่ามันมีตัวมีตน พอคิดขึ้นมาก็ไปหลงกระทำตามความคิดนั้น มันจึงก่อทุกข์ตามมา
                       ดังนั้นถ้าเราไม่คิด ไม่กังวลในสิ่งที่มาไม่ถึง สิ่งผ่านไปแล้วให้ผ่านไปไม่คิด อยู่กับปัจจุบัน เราก็ไม่ทุกข์ ครับ


สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
                        วันนี้พี่สิงห์ ไปสิงห์บุรีกลับไปเยี่ยมแม่มาครับ วันนี้แม่จำอะไรได้มากกว่าทุกวัน พี่สิงห์ซื้อขนมหม้อแกงไปให้ ป้อนให้กินแล้วถามว่าขนมอะไร แม่บอกว่าขนมหม้อแกง อร่อยมาก ผมถามว่ารู้จักยายเตี่ยมไหม? แม่บอกว่ารู้จักเป็นแม่ฉัน ผมถามว่าแม่เอากระดูกยายเตี่ยมไปไว้ที่ไหน? แม่บอกว่าเอาไปเก็บไว้ที่โบสถ์  ผมถามว่าแม่รู้จักป้าเยื้อนไหม? แม่บอกว่ารู้จักเป็นพี่สาว ผมถามว่าแม่รู้จักโกวิทย์ที่รูปร่างเหมือนก๋งหัวเราเสียงดังๆ ไหม? แม่บอกว่ารู้จักเป็นลูกของพี่ชาย ผมถามว่าแม่รู้ไหมโกวิทย์ตกเครื่องบินตายแล้ว แม่บอกไม่รู้  ผมถามว่าแม่รู้จักยายปรองไหม? แม่ตอบว่ารู้จักเป็นน้องสาวพ่อแก  ผมบอกมะม่วงอกร่องกิน แม่บอกขอบ้างผมเลยป้อนให้กิน แม่บอกมะม่วงอกร่องหวานชื่นใจดี
                         เป็นอันว่าวันนี้แม่จำได้มาก และไม่หลง ผมเลยบอกแม่ว่าเวลานอนให้พยายามเอามือขวาสัมผัสตัวลูปไปมา เอาสติไปอยู่ที่การสัมผัส จิตจะได้ไม่ส่งออกนอก คือไม่คิด เมื่อไม่คิดมันก้ไม่ทุกข์ แม่บอกว่าจำได้พยายามทำและไม่คิดอะไรทั้งสิ้น ผมถามว่าแม่จะอยู่อีกกี่ปี แม่บอกว่าอีกสองปี ปกติแม่ไม่มีโรคประจำตัวเลย ยกเว้นอัลไวเมอร์เท่านั้น แต่ปีนี้แม่ตัวเล็กลงแยะ เพราะต้องให้อาหารพราะระบบเคี้ยว กลืน ไม่ค่อยทำงาน ยกเว้น อยากกินในสิ่งที่ชอบที่ผมซื้อไปให้ครับ ตอนกลับแม่ก็อวยพรให้ทุกครั้ง ขอให้มีความสุข ร่ำรวย กลับมาเยี่ยมแม่บ้างนะ
                         ที่สิงห์บุรีฝนตก สลับกับแดดร้อนจัด ครับ
                         ราตรีสวัสดิ์
                        
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #2033 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2554, 03:49:03 »

ยอดเยี่ยมค่ะ น่ารักมาก พูมใจด้วยจังเลย
ออกลูกหมดได้มันส์มากด้วย
อ้างถึง
ข้อความของ lek_adisorn เมื่อ 06 พฤษภาคม 2554, 09:04:52
เมื่อวานน้องนัตก็ไปเล่นดนตรี ที่อาคารนิมิบุตรมาครับ     VDO ถ่ายจากเลนส์กล้องฟิล์ม ซูมไม่ได้ โฟกัสมือครับ และไม่ได้ตัดต่อครับ โปรแกรมเสียยังไม่ได้ลงใหม่ครับ

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=C0ehs6BBteU" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=C0ehs6BBteU</a>
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #2034 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2554, 05:45:41 »

น้องติ๋ม
  ที่บ้านเรียบร้อยดีแล้วใช่ไหมคะ
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #2035 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2554, 10:30:10 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 09 พฤษภาคม 2554, 20:37:09
พุทธพจน์ แสดง กฎไตรลักษณ์

ตถาคต(พระพุทธเจ้า)ทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ(หลัก) นั้นก็ยังคงมีอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยามว่า
                       ๑. สังขารทั้งปวง             ไม่เที่ยง.....
                       ๒. สังขารทั้งปวง             เป็นทุกข์.....
                       ๓. ธรรมทั้งปวง               เป็นอนัตตา.....
ตถาคต ตรัสรู้ เข้าถึงหลักนั้นแล้ว จึงบอก แสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผยแจกแจง ทำให้เข้าใจง่ายว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง...สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์.....ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา”
                       ความคิดปรุงแต่งที่มีเหตุเป็นปัจจัย นั้นเมื่อคิดขึ้นมา ถ้าเรามีอุเบกขา ความคิดอันนั้นมันก็ดับไปของมันเองเพราะ ความคิดมันไม่มีตัว ไม่มีตน แต่เพราะเราไปคิดว่ามันมีตัวมีตน พอคิดขึ้นมาก็ไปหลงกระทำตามความคิดนั้น มันจึงก่อทุกข์ตามมา
                       ดังนั้นถ้าเราไม่คิด ไม่กังวลในสิ่งที่มาไม่ถึง สิ่งผ่านไปแล้วให้ผ่านไปไม่คิด อยู่กับปัจจุบัน เราก็ไม่ทุกข์ ครับ


สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
                        วันนี้พี่สิงห์ ไปสิงห์บุรีกลับไปเยี่ยมแม่มาครับ วันนี้แม่จำอะไรได้มากกว่าทุกวัน พี่สิงห์ซื้อขนมหม้อแกงไปให้ ป้อนให้กินแล้วถามว่าขนมอะไร แม่บอกว่าขนมหม้อแกง อร่อยมาก ผมถามว่ารู้จักยายเตี่ยมไหม? แม่บอกว่ารู้จักเป็นแม่ฉัน ผมถามว่าแม่เอากระดูกยายเตี่ยมไปไว้ที่ไหน? แม่บอกว่าเอาไปเก็บไว้ที่โบสถ์  ผมถามว่าแม่รู้จักป้าเยื้อนไหม? แม่บอกว่ารู้จักเป็นพี่สาว ผมถามว่าแม่รู้จักโกวิทย์ที่รูปร่างเหมือนก๋งหัวเราเสียงดังๆ ไหม? แม่บอกว่ารู้จักเป็นลูกของพี่ชาย ผมถามว่าแม่รู้ไหมโกวิทย์ตกเครื่องบินตายแล้ว แม่บอกไม่รู้  ผมถามว่าแม่รู้จักยายปรองไหม? แม่ตอบว่ารู้จักเป็นน้องสาวพ่อแก  ผมบอกมะม่วงอกร่องกิน แม่บอกขอบ้างผมเลยป้อนให้กิน แม่บอกมะม่วงอกร่องหวานชื่นใจดี
                         เป็นอันว่าวันนี้แม่จำได้มาก และไม่หลง ผมเลยบอกแม่ว่าเวลานอนให้พยายามเอามือขวาสัมผัสตัวลูปไปมา เอาสติไปอยู่ที่การสัมผัส จิตจะได้ไม่ส่งออกนอก คือไม่คิด เมื่อไม่คิดมันก้ไม่ทุกข์ แม่บอกว่าจำได้พยายามทำและไม่คิดอะไรทั้งสิ้น ผมถามว่าแม่จะอยู่อีกกี่ปี แม่บอกว่าอีกสองปี ปกติแม่ไม่มีโรคประจำตัวเลย ยกเว้นอัลไวเมอร์เท่านั้น แต่ปีนี้แม่ตัวเล็กลงแยะ เพราะต้องให้อาหารพราะระบบเคี้ยว กลืน ไม่ค่อยทำงาน ยกเว้น อยากกินในสิ่งที่ชอบที่ผมซื้อไปให้ครับ ตอนกลับแม่ก็อวยพรให้ทุกครั้ง ขอให้มีความสุข ร่ำรวย กลับมาเยี่ยมแม่บ้างนะ
                         ที่สิงห์บุรีฝนตก สลับกับแดดร้อนจัด ครับ
                         ราตรีสวัสดิ์
                         

...พี่สิงห์คะ...ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและความกตัญญูรู้คุณของพี่สิงห์...จงส่งผลให้คุณแม่ของพี่สิงห์หายป่วยและมี

สุขภาพแข็งแรงอยู่เป็นร่มโพธ์ร่มไทรกับพี่สิงห์และญาติๆไปอีกนานๆค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2036 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2554, 13:53:12 »

ขอบคุณมากค่ะ คุณน้องตู่ที่อวยพรให้พี่สิงห์

ตอนนี้พี่สิงห์กำลังศึกษาธรรมะของ ท่านปรมาจารย์เว่ยหลาง หรือฮุ่ยเหนิง ครับ
สาเหตุเพราะอยากรู้เนื่องจาก หลวงปู่ดุลย์ หลวงพ่อชา พระไพศาล ต่างก็อ้างหรือกล่าวถึง ทั้งนั้น
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ เป็นผู้แปลบางตอน ตอนนี้อ่านเกือบจบแล้ว ได้ความจริงมาปฏิบัติธรรม มากมาย
ทุกสิ่นล้วนเป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะ "ธรรมญาณ" หรือ "พุทธ" นั้น มีในคนทุกคนไม่ยกเว้น
แต่เป็นเพราะ "กิเลส" ที่ปิดบังไว้ในใจเราทุกคน คนจึงมองไม่เห็นเอง
ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมไม่ต้องไปค้นหาที่ไหน ค้นหาจากตัวเรานี่ละ ด้วยการมีสติดูกาย มีสติดูใจ ให้ "รู้ตัวทั่วพร้อม" อยู่เสมอ
ปัญหาคือ จะทำอย่างไรให้เรารู้จัก "สติปัฏฐาน" ที่แท้จริงซึ่งมันอยูระหว่าง "เผลอ" และ "เพ่ง" ต้องหามันให้พบ
สวัสดี
      บันทึกการเข้า
TU14
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 342

« ตอบ #2037 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2554, 14:06:07 »

ขอให้คุณแม่แข็งแรงอยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรไปอีกนานๆนะคะ
      บันทึกการเข้า
อ้อย17
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,908

« ตอบ #2038 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2554, 15:51:44 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 06 พฤษภาคม 2554, 17:06:38
สวัสดัค่ะ คุณน้องอ้อย ๑๗ ที่รัก
                       หายหน้าหายตาไปไหน สบายดีหรือเปล่า พี่สิงห์ว้าเว่ใจจนอยากที่จะหนีไปมัสดีฟ แล้วกำลังเข้าไปอ่านในรายละเอียดหาทัวร์ถูกๆ เพราะไม่รู้จะเขียนเรื่องอะไรมาสู่กัน ครับ
                       สวัสดีค่ะ

       สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์....
            ไม่ได้ไปไหนไกลเลย อยู่แถวๆนี้แหละค่ะ....
             พอดีหนูไปเที่ยวตรังกับพวกพี่ๆน้องๆหลายวัน...
             แล้วไปต่อกระบี่กับตุ๊กอีก จนถึงวันที่4พค....ยังเจอธวัช กับเจ้าเปี๊ยกสุภาเลยค่ะ..

              พี่สิงห์เป็นอะไรไปคะ...ว้าเหว่เป็นด้วยหรือคะ...พี่สิงห์ออกเข้มแข็ง
                 อ้อยยังชื่นชมในความมั่นใจมั่นคงของพี่อยู่เลย...
                 เสียดายที่พี่ไม่ไปตรังด้วยกัน...จะได้สนุกจนลืมเหงา...
                 นัดเจอพี่ๆน้องๆก็ได้นะคะไปกินข้าว หรือ ไปร้องเพลง  
                 เมื่อไหร่ดีคะ?...
 
                      อ้อยย้อนไปดูรูปแม่พี่สิงห์แล้ว...ดูท่านยังสดชื่นแจ่มใสอยู่เลยนะคะเนี่ย..
                      อาจจะอยู่นานเกินกว่า2ปีที่แม่บอกก็ได้นะคะ....
                      พี่สิงห์เป็นลูกที่ดี พี่ต้องได้รับแต่สิ่งดีๆเช่นกันค่ะ...
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2039 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2554, 16:55:28 »

อ้างถึง
ข้อความของ TU14 เมื่อ 10 พฤษภาคม 2554, 14:06:07
ขอให้คุณแม่แข็งแรงอยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรไปอีกนานๆนะคะ
สวัสดีค่ะ คุณน้องอรสา ที่รัก
ขอบคุณมาก เธอสบายดีหรือเปล่า รักษาสุขภาพด้วยนะ
สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2040 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2554, 17:05:26 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องอ้อย ๑๗ ที่รัก
                       เธอเอารูปที่ไปเที่ยวกันมาลงในกระทู้นี้ก็ได้ พี่สิงห์ไม่รู้จะเขียนเรื่องอะไร? ความก้าวหน้าเรื่องปฏิบัติธรรม ไม่สามารถเขียนได้ตามที่ได้รับการแนะนำจากคุณหมอกัลญาณี เดี๋ยวเขาจะหาว่าเป็นพวกอุตะริมนุษย์ธรรม อวดรู้ แต่แนวทางปฏิบัตินั้นเขียนได้ จากการอ่านข้อธรรมมะของปรมาจารย์เว่ยหลาง จึงรู้ว่าสำนักปฏิบัติธรรม ที่เปิดจนเป็นพุทธพาณิชย์นั้น ไม่ละอายคำสอนของพระพุทธเจ้ากันเลย และแถมยังตู่ว่าเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงสอนให้ปฏิบัติอีก  กรรมใดใครก่อ คนนั้นก็ต้องรับกรรม ไม่ช้าก็เร็ว
                       พี่สิงห์ไม่ว้าเหว่ใจหรอก ไม่มีอะไรจะทำก็ปฏิบัติธรรม ดูกาย-ดูใจ ให้รู้ตัวทั่วพร้อมให้มากเข้าไว้ ฝึกสติให้เร็ว ให้เห็นความคิดตัวเองอยู่เสมอๆ จะได้ไม่หลงอยู่กับความคิดตัวเอง โดยเอาสติถ่วงดุลย์ และปฏิบัติตามมรรค ๘ ครับ
                       สวัสดีค่ะ
      บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #2041 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2554, 18:57:49 »

สวัสดีครับ พี่สิงห์

อ่านที่พี่สิงห์เขียนไว้ ก็ได้ความรู้เพิ่ม ได้ข้อคิดดีๆ
พวกเราชาวซีมะโด่ง ที่ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรม ก็มีไม่น้อย
(เพียงแต่ไม่ได้มา สนทนา ถ่ายทอดให้ พี่ๆ น้องๆ รับทราบ
และร่วมแสดงความคิดเห็นกัน)

ผมอ่านและศึกษาบ้าง แต่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติ จึงเป็นแค่ผู้ศีกษา ไม่ใช่ผู้รู้
ได้อ่านของพี่สิงห์ ก็ได้รับรู้ในเรื่องวิธีปฏิบัติมากขึ้น ว่าบางช่วงในระหว่างการปฏิบัติเป็นทุกข์ กายเป็นทุกข์
ในการนั่งสมาธิ กว่าจะละทุกข์ทางกายได้ ต้องใช้ความเพียร ความอดทนมาก
นี่เฉพาะทุกข์ทางกาย ซึ่งรับรู้ได้ง่ายตัดได้ง่าย  ถ้าทุกข์ทางใจ จะรับรู้ได้ยากและปลดทุกข์ได้ยากขึ้นไปอีก
เรื่องแบบนี้ต้องได้ผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ จริงมา ถ่ายทอด เล่าให้ฟัง แนะนำให้ทำ

ถ้าพี่สิงห์มีอะไรที่เป็นประสพการณ์ที่ดี หรือคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ เล่ามาใน เวบ ซีมะโด่งนี้แหละ รักนะ
ไม่ได้เป็นการ อวด อุตริมนุษยธรรม หรอกครับ (เรา ไม่ได้คิดประกอบการค้า  แต่มุ่งหวังให้ผู้อื่น
โดยเฉพาะที่เรารู้จัก เดินสู่ทางแห่งการพ้นทุกข์ โดยไม่คิดมูลค่า  ผลตอบแทนที่เราได้ คือความปิติ
ที่ได้เห็นผู้ที่เรารู้จัก พ้นทุกข์ และรู้จักการ ปล่อยวางจาก กิเลส  ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่หาค่ามิได้)


ผมจะตามอ่าน ตามศึกษาและตามรู้ ไปเรื่อยๆครับ พี่สิงห์

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2042 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2554, 21:40:01 »

สวัสดีครับ คุณสมชาย  เสรีรัฐ และชาวซีมะโด่งที่รัก
                       ขอบคุณมากครับ
                       พี่สิงห์ก็เขียนตามความรู้สึกที่พี่สิงห์รู้ และมันเกิดกับพี่สิงห์จริงๆ ยังเคยคิดจะทำเป็นบันทึกไว้เลย แต่ก็ยังไม่ได้ทำ แต่จำได้อย่างมั่นคง ในสิ่งที่รู้นั้น ซึ่งมีขึ้นเรื่อยๆ แต่พี่สิงห์จะไม่พูดเรื่องความก้าวหน้าทั้งสิ้น  พี่สิงห์ไม่เห็นอะไรทั้งสิ้น ไม่ว่านรก สวรรค์ หรือยักษ์ หรือมาร พี่สิงห์เห็นแต่จิตตัวเองคิด โดยมีสติเป็นตัวถ่วง ไม่ให้กระทำตามความคิด แต่ทำไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เผลอ หรือหลงไปในความคิดบ้าง แต่กลับได้เร็ว รู้ตัวได้เร็ว
                       เมื่อวานภายหลังจากได้อ่านพระสูตรของท่านเว่ยหลาง จบ ได้ทบทวนดู(เดี๋ยวนี้เวลาพี่สิงหือ่านหนังสือ จะสร้างความรู้สึกตัวโดยการสัมผัสที่นิ้ว ให้มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม ไม่หลงติดอยู่กับหนังสือที่อ่าน คืออ่านอย่างมีสติ) พี่สิงห์เริ่มเข้าใจในสิ่งที่หลวงพ่อเทียน ท่านย้ำเสมอว่า การที่พระพุทธองค์ทรงลอยถาดทวนกระแสน้ำนั้น มันเป็นปริศนาธรรม คือพระพุทธเจ้าท่านให้ทวนกระแสความคิด คือไม่ให้หลงอยู่กับความคิด ให้เป็นผู้ดูความคิด ด้วยการรู้ตัวทั่วพร้อมทั้งกาย-ใจ(ภายนอก-ภายใน) ของตนเองนี่ละ ซึ่งมันก็ตรงกับสิ่งที่ปรมาจารย์เว่ยหลางบอก คือจิตแท้ดั่งเดิมของคนเรานั้น มันมีอยู่ในตัวเรานี่ละเพียงแต่ด้วยกิเลส จึงค้นไม่พบเอง คือลืมดูจิต หรือศึกษาจิตตัวเองไป ไปหาเอาที่อื่น มันจึงไม่พบ "พุทธ" (ที่พี่สิงห์เห็นจริงตามนั้น เพราะ สิ่งที่พี่สิงห์รู้นั้น มันก็เกิด ด้วยการทวนกระแสจิต แล้วจึงเริ่มรู้ ซึ่งมันก็น่าที่จะเป็นจริง มันคงไม่บังเอิญทั้งหลวงพ่อเทียนและท่านเว่ยหลาง เพราะหลวงพ่อเทียนท่านไม่เคยเอ่ยถึงท่านเวบหลางเลย แสดงว่าท่านไม่ทราบ แต่สองท่านนี้คิดเหมือนกัน)
                       จะเห็นว่าทั้งหลวงพ่อเทียน และปรมาจารย์เว่ยหลาง ไม่รู้หนังสือทั้งสองท่าน แต่ท่านก็เป็น "พุทธ" ค้นพบการทวนกระแสทางความคิด คือไม่หลงเป็นทาษความคิด จนค้นพบ "พุทธ" จากการดูจิตตัวเองจนรู้ว่า ทุกคนนั้น จิตดั่งเดิมเป็น "พุทธ" ทุกคนมีอยู่แล้วทั้งสิ้นทุกคน
                       อย่าลืมเคล็ดลับในการปฏิบัติธรรมนั้น ไม่ใช่การนั่งสงบ หลับตา ภาวนา ครับ อยู่ที่การรู้ตัวทั่วพร้อมทั้งกายและใจ จนเป็นสติปัฏฐาน ตลอดเวลา เพื่อให้ไม่เป็นทาษหรือหลงอยู่กับความคิด ซึ่งหลวงพ่อเทียนท่านว่า เป็นการไปขะเย่าตัวรู้ ให้รู้ซื่อๆ แล้ว "พุทธ" คือ ผู้รู้ ผู้ตืน ผู้เบิกบาน ที่มันมีอยู่แล้วในจิตดั่งเดิมของทุกคนนี่ละ มันจะ "รู้" หรือเป็น "พุทธ" ออกมาเอง ด้วย ความเพียร และปัญญา ของเราเองเท่านั้น ไม่สามารถหาจากที่ไหน หรือใครช่วยได้ทั้งนั้น ซึ่งมันก้เหมือนกับที่ปรมาจารย์เว่ยหลาง กล่าวไว้ทุกประการ
                        โดยสรุป คือให้ทวนความคิด ให้มีสติ ไม่หลงหรือกระทำตามความคิด รู้ตัวทั่วพร้อมเสมอ สักวันจะค้นพบได้ด้วยตัวเอง ด้วยปัญญา
                        ราตรีสวัสดิ์ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2043 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2554, 07:13:25 »

สวัสดีครับ ชาวเวบที่รักทุกท่าน
                        พี่สิงห์อยากให้ทุกท่าน สละเวลาของท่านสักเล็กน้อย มาลองอ่านดูครับ แต่ก่อนอ่าน ขอให้ท่านลืมพระไตรปิฎก ลืมศาสนพิธีต่างๆ ของศาสนาพุทธ ทำจิตให้ว่าง อย่าไปตั้งข้อสงสัย ขอให้ท่านอ่าน คิดด้วยปัญญาของท่าน ใช้หลัก อิทัปปัจจยตา คือเหตุ..ปัจจัย ในการคิด
                        ลองอ่านดูครับ  ถ้าท่านอ่านแล้ว มีประโยชน์ ขอยกให้ "แม่" ซึ่งเป็น"พระและครูคนแรก" ของลูก ครับ
                        สวัสดียามเช้า


คำชี้แจ้งของพุทธทาสภิกขุ
เกี่ยวกับการศึกษา-สูตรของเว่ยหล่าง
 

เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ มีเรื่องที่จะต้องทราบกันเสียก่อนในเบื้องต้นอยู่ 2 ข้อ
                       ข้อแรก หนังสือเล่มนี้จะไม่เป็นที่เข้าใจได้สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่เคยศึกษาทางพุทธศาสนามาก่อนเลย, มันไม่ใช่หนังสือเล่มแรกสำหรับผู้ริเริ่มการศึกษาพุทธศาสนา. อย่างน้อยที่สุดผู้ที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้ แม้จะไม่เคยอ่านหนังสือของทางฝ่ายมหายานมาบ้างแล้ว ก็ควรจะได้เคยศึกษาศึกษาหลักแห่งพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมาบ้างพอสมควรแล้ว จนถึงกับ จับใจความได้อย่างใดอย่างหนึ่งว่า พุทธศาสนาที่ตนศึกษาแล้วนั้นมีหลักอย่างไร หรือวิธีปฏิบัติอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ได้ โดยเฉพาะ. และอีกทางหนึ่งสำหรับ.ผู้ที่เคยศึกษาแต่ฝ่ายเถรวาทมาอย่างเคร่งครัด และยังแถมยึดถือทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งไว้อย่างเหนียวแน่นนั้น อาจจะมองไปเห็นว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ผิดหลักพระพุทธศาสนาเป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือเป็นสิ่งที่น่าอันตรายไปอย่างยิ่ง ไปก็ได้. ทั้งนี้ เพราะเหตุที่ หลักคิด และ แนวปฏิบัติ เดินกันคนละแนว เหมือนการเดินของคนที่เดินตามทางใหญ่ที่อ้อมค้อม กับคนที่เดินทางลัด หรือถึงกับดำดินไปผุดขึ้นในที่ที่ตนต้องการจะให้ไปถึงเสียเลย ฉันใดฉันนั้น.

                       ข้อที่สอง ผู้ที่อ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยความสนใจ ควรทราบไว้เสียก่อนว่า หลักนิกายเซ็นและโดยเฉพาะของพระสังฆปรินายกชื่อ เว่ยหล่าง นี้ นอกจากจะเป็นวิธีการที่ลัดสั้นแล้ว ยังเป็นวิธีปฏิบัติที่อิงหลักธรรมชาติทางจิตใจของคนทั่วไป แม้ที่ไม่รู้หนังสือ หรือไม่เข้าใจพิธีรีตองต่างๆ จึงเป็นเหตุให้ลัทธินี้ถูกขนานนามว่า "ลัทธิพุทธศาสนาที่อยู่นอกพระไตรปิฎก" หรืออะไรอื่นทำนองนี้อีกมากมาย. ที่จริง ผู้ที่จะอ่านหนังสือนี้ ควรจะได้รับการชักชวนให้ลืมอะไรต่างๆที่เคยยึดถือไว้แต่ก่อนให้หมดสิ้นเสียก่อน จึงจะเป็นการง่ายในการอ่านและเข้าใจ; โดยเฉพาะก็คือ ให้ลืมพระไตรปิฎก ลืมระเบียบพิธีต่างๆทางพุทธศาสนา ลืมความคิดดิ่งๆด้านเดียว ที่ตนเคยยึดถือ กระทั่งลืมความเป็นพุทธบริษัทของตนเสีย คงเอาไว้แต่ใจล้วนๆของมนุษย์ ซึ่งไม่จำกัดว่าชาติใดภาษาใด หรือถือศาสนาไหน เป็นใจซึ่งกำลังทำการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ว่า "ทำอย่างไร จิตของมนุษย์ทุกคนในลักษณะที่เป็นสากลนี้ จักหลุดพ้นจากความบีบคั้นหุ้มห่อพัวพันได้โดยสิ้นเชิง?" เท่านั้น. การทำเช่นนี้จักเป็นประโยชน์อย่างสูงแก่ผู้อ่าน ในการที่จะได้ทราบอย่างชัดแจ้งถึง ความแตกต่างระหว่างพุทธศาสนาในขอบเขตของคัมภีร์ กับพุทธศาสนาซึ่งอยู่เหนือคัมภีร์; พุทธศาสนาที่อิงอยู่กับพิธีรีตองต่าง ๆ กับพุทธศาสนาที่เป็นอิสระตามธรรมชาติ และเดินตามหลักธรรมชาติ; พุทธศาสนาที่ให้เชื่อก่อนทำ กับพุทธศาสนาที่ให้ลองทำก่อนเชื่อ; พุทธศาสนาในฐานะที่เป็นวรรณคดี กับพุทธศาสนาประยุกต์; และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่างพุทธศาสนาที่ใช้ได้แต่กับคนบางคน กับพุทธศาสนาที่อาจใช้ให้สำเร็จประโยชน์ได้แก่บุคคลทุกคนแม้ที่ไม่รู้หนังสือ ขอเพียงแต่ให้มีสติปัญญาตามปรกติสามัญมนุษย์เท่านั้น ผู้ที่ได้ทราบเช่นนี้แล้วจะได้รับพุทธศาสนาชนิดที่ปฏิบัติได้จริง ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาปฏิบัติอย่างเหลือเฟือ และลัดดิ่งไปสู่สิ่งที่จะให้เกิดความอิ่ม ความพอ ได้โดยเร็ว ถ้ามิฉะนั้นแล้ว เขาก็จะเป็นตัวหนอนที่มัวแต่กัดแทะหนังสือ หรือเป็นนักก่อการทะเลาะวิวาทตามทางปรัชญา ไปตามเดิมแต่อย่างเดียว.
                       ผู้อ่านจะสังเกตเห็นได้เองเมื่ออ่านในตอนแรก ๆ ว่า หนังสือเรื่องนี้ ไม่ใช่หนังสือที่บรรจุไว้ด้วยข้อความที่ง่าย ๆ หรืออ่านเขาใจได้ง่าย ๆ เพราะเหตุว่าเรื่องการทำใจให้หลุดพ้นซากทุกข์จริง ๆ นั้น ไม่ใช่ของง่ายเลย. แต่เป็นสิ่งที่น่าแปลกประหลาดอย่างยิ่งว่า ถ้าอ่านไปจนเข้าใจแล้ว จะพบว่าทั้งที่มันเข้าใจยากมาก ก็ยังอาจเป็นที่เข้าใจได้ แม้แต่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือ หรือไม่เคยศึกษาพระไตรปิฎกมาก่อนอยู่นั่นเอง และทั้งไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากสิ่งที่มนุษย์ควรรู้และอาจรู้ได้โดยไม่เหลือวิสัย ข้อความทุกข้อชี้บทเรียนไปที่ตัวชีวิตนั่นเอง และได้ถือเอาความพลิกแพลงแห่งกลไกในตัวชีวิต โดยเฉพาะคือจิต ซึ่งเป็นโจทย์เลขหรือปัญหาที่ต้องตีให้แตกกระจายไป และจบสิ้นกันเพียงเท่านั้น คือเท่าที่จำเป็นจริง ๆ ไม่มีปัญญาเหลือเฟือชนิดที่ตีปัญหาโลกแตก ที่ชอบถกเถียงกันในหมู่บุคคล ที่อ้างตัวว่าเป็นพุทธบริษัทอันเคร่งครัดเท่านั้นเลย.
                      อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้มิได้เป็นหนังสือในลักษณะตำราธรรมะโดยตรง เป็นเพียงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นประวัติและคำสอนของเจ้าลัทธิท่านหนึ่งเท่านั้น. เราไม่อาจจับเอาหลักธรรมะต่าง ๆ ที่จัดเป็นระเบียบเรียบร้อยจนสะดวกแก่การศึกษาไว้ก่อนแล้ว โดยง่ายเลย. ผู้ศึกษาจะต้องเลือกเก็บใจความที่เป็นหลักธรรมต่าง ๆ เอาจากเรื่องราวที่เป็นประวัติ หรือบันทึกเหตุการณ์เหล่านั้น,จากข้อความที่เข้าใจได้ยาก ๆ นั่นแหละ ผู้ศึกษาจะต้องทำการขุดเพชรในหินด้วยตนเอง.

                      หนังสือเล่มนี้ แม้จะเป็นหนังสือของทางฝ่ายมหายานก็จริง แต่หาใช่มหายานชนิดที่ชาวไทยเราได้เคยได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง หรือเข้าใจกันอยู่โดยมากไม่; มหายานที่เราเคยได้เห็นได้ยินได้ฟังกันอยู่เป็นปรกตินั้น ก็เป็นชนิดที่เกี่ยวเนื่องติดแน่นกันอยู่กับพระไตรปิฎกและพิธีรีตองต่าง ๆ และไหลเลื่อนไปในทางเป็นของขลังและของศักดิ์สิทธิ์เหมือนกัน. ส่วนใจความของหนังสือเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น คงเป็นไปแต่ในทางปฏิบัติธรรมทางใจโดยอาศัยปัญญาเป็นใหญ่หรือที่เราเรียกกันว่า วิปัสสนาธุระล้วน ๆ และทั้งเป็นแบบหนึ่งของตนเองซึ่งไม่ซ้ำใคร เพราะมุ่งหมายจะให้เป็นวิธีลัดสั้นที่สุด ดังกล่าวแล้ว. เพราะฉะนั้นผู้ที่เคยตั้งข้อรังเกียจต่อฝ่ายมหายาน และมีความยึดมั่นมาก จนถึงกับพอเอ่ยชื่อว่า มหายานแล้ว ก็ส่ายหน้าดูถูกเหยียดหยาม ไม่อยากฟังเอาเสียทีเดียวนั้น ควรทำใจเสียใหม่ในการที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้ ซึ่งจะทำให้ท่านเกิดความรู้สึกอันตรงกันข้ามจากที่แล้ว ๆ มา และเกิดความคิดใหม่ขึ้นมาแทนว่า การตั้งข้อรังเกียจเดิม ๆ ของตนนั้นมันมากและโง่เกินไป.
                       เมื่อกล่าวโดยหลักกว้างๆ แล้ว ลัทธิของเว่ยหล่างนี้ เป็นวิธีลัดที่พุ่งแรงบทหนึ่ง อย่างน่าพิศวง ถ้าจะชี้ให้เห็นกันง่ายๆ ว่า ลัทธินี้มีหลักหรือวิธีการอย่างใดแล้ว ก็ต้องชี้ไปในทางที่จะวางหลักสั้นๆ ว่า ก็เมื่อปุถุชนคนธรรมดาสามัญทั่วไป ย่อมเป็นผู้ที่กำลังมีความเห็นหรือความเข้าใจ ที่ผิดจากความจริงเป็นปรกติอยู่แล้ว สิ่งที่ตรงกันข้ามจากที่คนธรรมดาสามัญคิดเห็นหรือเข้าใจนั่นแหละ เป็นความเห็นที่ถูก เพราะฉะนั้นเว่ยหล่างจึงได้วางหลักให้คิดชนิดที่เรียกว่า "กลับหน้าเป็นหลัง" เอาทีเดียว ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้อื่นกล่าวว่าจงพยายามชำระใจให้สะอาดเถิด เว่ยหล่าง กลับกล่าวเสียว่าใจของคนทุกคนสะอาดอยู่แล้ว จะไปชำระมันทำไมอีก สิ่งที่ไม่สะอาดนั้นไม่ใช่ใจ จะไปยุ่งกับมันทำไม, หรือถ้าจะกล่าวให้ถูกยิ่งขึ้นไปกว่านั้นก็กล่าวว่า เว่ยหล่าง ถือว่า ใจมันไม่มีตัวไม่มีตน แล้วจะไปชำระอะไรให้แก่ใคร การที่จะไปเห็นว่าใจเป็นใจและไม่สะอาดนั้นเป็นอวิชชาของผู้นั้นเองต่างหาก ดังนี้เป็นต้น. โศลกหรือปริศนาธรรมที่ลัทธินี้วางไว้ให้ขบคิด ก็ล้วนแต่ทำให้คนสามัญทั่วไปงงงวย เพราะแต่ละข้อมีหลักให้คิดเพื่อให้เห็นสิ่งตรงกันข้าม จากที่คนธรรมดาคิดกันอยู่ หรือเห็นๆกันอยู่. ตัวอย่างเช่น ถ้าหากว่า กามีสีดำนกยางก็ต้องมีสีดำด้วย หรือถ้าเห็นว่า นกยางมีสีขาว กาก็ต้องขาวด้วย. และถ้าให้ถูกยิ่งไปกว่านั้นก็คือ นกยางนั่นแหละสีดำ กานั่นแหละสีขาว สังสารวัฏกับนิพพานเป็นของสิ่งเดียวกัน ที่ที่เย็นที่สุดนั้น คือที่ท่ามกลางกองเพลิงแห่งเตาหลอมเหล็ก ดังนี้เป็นต้น
                      ถ้าใครมองเห็นความจริงตามแบบของเว่ยหล่างเหล่านี้แล้ว ก็ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่า เขาได้เห็นสิ่งต่างๆ จนลึกถึงขั้นที่มันตรงกันข้าม จากที่คนสามัญทั่วไปเขามองเห็นกันอยู่เป็นปรกติ. ฉะนั้น สำหรับการสรุปใจความของลัทธินี้อย่างสั้นที่สุด ก็สรุปได้ว่า พยายามคิดจนเห็นตรงกันข้ามจากความคิดของคนที่ยังมีอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ก็เป็นอันนับได้ว่า ได้เข้าถึงความจริงถึงที่สุด. และวิธีการแห่งลัทธินี้ได้วางรูปปริศนาให้คิด ชนิดที่ผิดตรงกันข้ามไปเสียตั้งแต่แรกทีเดียว ใครคิดออก ก็แปลว่า คนนั้นผ่านไปได้ หรือย่างน้อยที่สุดก็เป็นวิธีที่จะทำให้ผ่านไปได้โดยเร็วที่สุด นั่นเอง. คิดให้ตรงข้ามจากสามัญสัตว์ทั่วไปเถิด ก็จะเข้าถึงความคิดของพระอริยะเจ้าขึ้นมาเอง. ฉะนั้นนิกายนี้จึงเรียกตัวเองว่า "นิกายฉับพลัน" ซึ่งหมายความว่า จะทำให้ผู้ปฏิบัติตามวิธีลัดนี้ให้บรรลุธรรมได้อย่างฉับพลันโดยไม่มีพิธีรีตอง.

                       ส่วนปาฐกถาอีก 3 เรื่อง ของนายแพทย์ ตันม่อเซี้ยง ซึ่งพิมพ์ไว้ต่อท้ายเรื่องสูตรของเว่ยหล่างนั้นเล่า ก็เป็นข้อความที่จะให้ผู้อ่านได้เข้าใจในวิธีการปฏิบัติของ "นิกายฉับพลัน" ได้เป็นอย่างดี. จากข้อความทั้งหมดนั้น ผู้ศึกษาจะได้ความรู้ที่แน่นอนข้อหนึ่งว่า วิธีการที่ "ฉับพลัน" นั้น ย่อมขึ้นอยู่แก่ความช่วยเหลือของอาจารย์ หรือผู้ควบคุมที่สามารถจริงๆเป็นส่วนใหญ่. เพราะตามธรรมดาแล้ว "การเขี่ยให้ถูกจุด" นั่นแหละ เป็นความสำเร็จที่ฉับพลันเหนือความสำเร็จทั้งปวง. ถ้ามีความจำเป็นถึงขนาดที่จะต้องให้ตัวเองเป็นอาจารย์ตัวเองแล้ว ขอจงได้พยายามศึกษาและจับใจความสำคัญแห่งข้อความนั้นๆ ให้ได้ของจริงๆ จงทุกๆคนเถิด.
                       ธรรมะนั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่าเรื่องของคนเราๆ ทุกๆ คน. เพราะมัวไปยกขึ้นให้สูง เป็นเรื่องคัมภีร์หรือของศักดิ์สิทธิ์ไปเสียท่าเดียว ก็เลยกลายเป็นเรื่องพ้นวิสัยของคนไป เว่ยหล่างมีความมุ่งหมายให้ธรรมะนั้นกลับมาเป็นเรื่องของคนธรรมดาสามัญแม้ที่ไม่รู้หนังสือ. เพื่อประโยชน์แก่คนตามความหมายของคำว่า "มหายาน" หวังว่าผู้ที่คิดกรุ่นอยู่ในใจเสมอว่า ตนเป็นคนฉลาดเพราะรู้หนังสือดีนั้น จักได้ทำตนให้เป็นบุคคลที่ไม่เสียเปรียบผู้ที่ไม่รู้หนังสือได้คนหนึ่งเป็นแน่

 
พุทธทาส อินทปัญโญ
โมกขพลาราม ไชยา
31 มี.ค.2496



พระสูตรเว่ยหล่าง
พุทธทาสภิกขุแปล

สูตรอันประกาศบนมหาบัลลังก์
แห่ง "ธรรมรถ"
หมวดที่ 1
ชีวประวัติที่ท่านเล่าเอง
****************
 

                   ครั้งหนึ่ง เมื่อพระสังฆปริณายกองค์นี้ ได้มาที่วัดเปาลัม ข้าหลวงไว่ แห่งเมืองชิวเจา กับข้าราชการอีกหลายคน ได้พากันไปที่วัดนั้น เพื่อขอให้ท่านกล่าวธรรมกถาแก่ประชาชนทั่วไป ณ ห้องโถง.แห่งวิหารไทฟัน ในนครกวางตุ้ง.
                  ในไม่ช้า มีผู้มาประชุมฟัง ณ โรงธรรมสภานั้น คือข้าหลวงไว่แห่งชิวเจา, พวกข้าราชการและนักศึกษาฝ่ายขงจื้อ อย่างละประมาณ 30 คน, ภิกษุ, ภิกษุณี นักพรตแห่งลัทธิเต๋า และคฤหัสถ์ทั่วไป รวมเบ็ดเสร็จประมาณหนึ่งพันคน.
                   ครั้นพระสังฆปริณายก ได้ขึ้นนั่งบนอาสนะเรียบร้อยแล้ว ที่ประชุมได้ทำการเคารพ. และอาราธนาขอให้ท่านแสดงธรรมว่าด้วยหลักสำคัญแห่งพุทธศาสนา. ในอันดับนั้น ท่านสาธุคุณองค์นั้น ได้เริ่มแสดงมีข้อความดังต่อไปนี้-
                   ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย จิตเดิมแท้ (Essence of Mind) ของเราซึ่งเป็นเมล็ดพืชหรือแก่นของการตรัสรู้นั้น เป็นของบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ (Pure by nature) และต้องอาศัย จิตเดิมแท้ นี้เท่านั้น มนุษย์เราจึงจะเข้าถึงความเป็นพุทธะได้โดยตรงๆ อาตมาจะเล่าให้ฟังถึงประวัติของอาตมาเองบางตอน และเล่าถึงข้อที่ว่า อาตมาได้รับคำสอนอันเร้นลับ แห่งนิกายธยาน(เซ็น) มาด้วยอาการอย่างไร
                   บิดาของอาตมาเป็นชาวเมืองฟันยาง ถูกถอดจากตำแหน่งราชการ ถูกเนรเทศไปอยู่อย่างราษฎรสามัญที่ซุนเจาในมณฑลกวางตุ้ง. อาตมาโชคร้ายโดยที่บิดาได้ถึงแก่กรรมเสียแต่ในขณะที่อาตมายังเล็กอยู่เหลือเกิน และทิ้งมารดาไว้ในสภาพที่ยากจนทนทุกข์ เราสองคนจึงย้ายไปอยู่ทางกวางเจา และอยู่ที่นั้นด้วยความทุกข์ยากเรื่อยมา.
[/size]
                   วันหนึ่ง อาตมากำลังนำฟืนไปขายอยู่ที่ตลาดเพราะเจ้าจำนำคนหนึ่งเขาสั่งให้นำไปขายให้เขาถึงร้าน เมื่อส่งของและรับเงินเสร็จแล้ว อาตมาก็ออกจากร้าน ได้พบชายคนหนึ่งกำลังบริกรรมสูตรๆ หนึ่งอยู่แถวหน้าร้านนั้นเอง พอได้ยินข้อความแห่งสูตรนั้นเท่านั้น ใจของอาตมาก็ลุกโพลงสว่างไสวในพุทธธรรม อาตมาจึงถามชื่อคัมภีร์ที่เขากำลังสวดอยู่ ก็ได้ความจากชายคนนั้นว่า พระสูตรนั้นชื่อ วัชรสูตร (วชฺรจฺเฉทิกสูตร หรือพระสูตรอันว่าด้วยเพชรสำหรับตัด) อาตมาจึงไล่เรียงต่อไปว่า เขามาจากไหน ทำไมเขาจึงจำเพาะมาท่องบ่นแต่พระสูตรนี้. ชายคนนั้นตอบว่าเขามาจากวัดตุงซั่น ตำบลวองมุย เมืองคีเจา เจ้าอาวาสในขณะนี้มีนามว่าหวางยั่น(ฮ่งยิ้ม) เป็นพระสังฆปริณายก แห่งนิกายเซ็น องค์ที่ 5 มีศิษย์รับการสั่งสอนอยู่ประมาณพันคน เมื่อเขาไหว้พระสังฆปริณายกที่วัดนั้น เขาได้ฟังเทศน์หลายครั้งเกี่ยวกับพระสูตรๆนี้ เขาเล่าต่อไปว่า ท่านสาธุคุณองค์นั้นเคยรบเร้าทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตอยู่เสมอ ให้พากันบริกรรมพระสูตรๆนี้ เผื่อว่าเมื่อเขาพากันบริกรรมอยู่ เขาจะสามารถเห็น จิตเดิมแท้ ของตนเอง และจะเข้าถึงความเป็นพุทธะได้โดยตรงๆ เพราะเหตุนั้น
                    คงเป็นด้วยกุศลที่อาตมาได้ทำไว้แต่ชาติก่อนๆ จึงเป็นเหตุให้อาตมาได้ทราบเรื่องราวเหล่านี้ และอาตมายังได้รับเงินอีก 10 ตำลึงจากชายผู้อารีคนหนึ่งให้มาเพื่อมอบให้มารดาไว้ใช้สอย ในระหว่างที่อาตมาไม่อยู่ ทั้งเขาเองเป็นผู้แนะนำให้อาตมารีบไปยังตำบลวองมุย เพื่อพบพระสังฆปริณายกองค์นั้น เมื่อได้จัดแจงให้มีคนช่วยดูแลมารดาเสร็จแล้ว อาตมาก็ได้ออกเดินทางไปยังวองมุย และถึงที่นั้นได้ในชั่วเวลาไม่ถึงสามสิบวัน
                    ครั้นถึงตำบลวองมุยแล้ว อาตมาได้ไปนมัสการพระสังฆปริณายก ท่านถามว่ามาจากไหน และต้องประสงค์อะไร อาตมาได้ตอบว่า "กระผมเป็นคนพื้นเมืองซุนเจา แห่งมณฑลกวางตุ้ง เดินทางมาแสนไกลเพื่อทำสักการะเคารพแด่หลวงพ่อท่าน และกระผมไม่ต้องการอะไร นอกจากธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ (Buddha-nature) อย่างเดียวเท่านั้น"
                    ท่านถามอาตมาว่า "เป็นชาวกวางตุ้งหรือ? เป็นคนป่าคนเยิงแล้วเธอจะหวังเป็นพุทธะได้อย่างไรกัน?"
                    อาตมาได้เรียนตอบท่านว่า "แม้ว่าจะมีคนชาวเหนือและคนชาวใต้ก็จริง แต่ทิศเหนือและทิศใต้นั้น หาได้ทำให้ความเป็นพุทธะซึ่งมีอยู่ในคนนั้นๆ แตกต่างกันได้ไม่. คนป่าคนเยิงจะแตกต่างจากหลวงพ่อ ก็แต่ในทางร่างกายเท่านั้น, แต่ไม่มีความผิดแปลกแตกต่างกันในส่วนธรรมชาติของความเป็นพุทธะของเราทั้งหลาย" แต่เผอิญมีศิษย์ของท่านเข้ามาหลายคน ท่านจึงหยุดชะงัก และสั่งให้อาตมาไปสมทบทำงานกับคนงานหมู่หนึ่ง
                    อาตมากล่าวขึ้นว่า "กระผมกราบเรียนหลวงพ่อว่า "วิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นในใจของกระผมเสมอๆ เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งไม่ได้มีจิตเลื่อนลอยไปจาก จิตเดิมแท้ ของตนแล้ว ก็ควรจะเรียกเขาผู้นั้นว่า "ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก" เหมือนกัน กระผมจึงไม่ทราบว่างานอะไร ที่หลวงพ่อให้ผมกระทำ?"
                    พระสังฆปริณายกได้มีบัญชาว่า "เจ้าคนป่านี้เฉลียวฉลาดเกินตัวไปเสียแล้ว จงไปที่โรงนั่น แล้วอย่าพูดอะไรอีกเลย" อาตมาจึงถอยหลีกไปทางลานข้างหลัง มีคนวัดที่ไม่ใช่บรรพชิตคนหนึ่ง มาบอกให้ผ่าฟืน และตำข้าว ต่อมาไม่น้อยกว่าแปดเดือน วันหนึ่งพระสังฆปริณายกได้พบอาตมา และท่านกล่าวว่า "ฉันทราบดีว่า ความรู้ในพุทธธรรมของเธอนั้นมั่นคงดีมาก แต่ฉันต้องหลีกไม่พูดกับเธอ มิฉะนั้นจะมีคนทุศีลบางคนทำอันตรายเธอ, เธอเข้าใจไหม?" อาตมาตอบว่า "ขอรับหลวงพ่อ กระผมเข้าใจ เพื่อไม่ให้ใครสังเกตเห็นกระผมในข้อนี้ กระผมก็ไม่กล้าเข้าไปใกล้ๆห้องของหลวงพ่อ"
                     อยู่มาวันหนึ่ง พระสังฆปริณายกเรียกประชุมบรรดาศิษย์ทั้งหมด แล้วประกาศว่า "ปัญหาแห่งการเวียนเกิดไม่มีที่สิ้นสุด เป็นปัญหาเฉพาะหน้าเวลานี้ วันแล้ววันเล่า แท่นที่จะพยายามเปลื้องตัวเองออกมาเสียจากทะเลแห่งการเกิดตายอันขื่นขม ดูเหมือนว่าพวกเธอกลับหมกหมุ่นอยู่แต่ในบุญกุศลชนิดที่ถูกตัณหาลูบคลำเสียแล้ว อย่างเดียวเท่านั้น (กล่าวคือบุญกุศลที่เป็นเหตุให้เกิดใหม่) ถ้า จิตเดิมแท้ ของพวกเธอยังมืดมัวอยู่ บุญกุศลทั้งหลายก็ยังจะไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย จงตั้งหน้าค้นหาปรัชญา (ปัญญา) ในใจของเธอเอง แล้วเขียนโศลก(คาถา) มาให้เราโศลกหนึ่ง ว่าด้วยเรื่อง จิตเดิมแท้ ผู้ใดเข้าใจได้ถูกต้องว่า จิตเดิมแท้นั้นเป็นอย่างไร ผู้นั้นจะได้รับมอบผ้ากาสาวพัสตร์ (อันเป็นเครื่องหมายตำแหน่งพระสังฆปริณายก) พร้อมทั้งธรรมะ(อันเป็นคำสอนเร้นลับของนิกายธยาน) และฉันจะสถาปนาผู้นั้นเป็นสังฆปริณายกองค์ที่หก (แห่งนิกายนี้) จงไปโดยเร็วอย่ารีรอในการเขียนโศลก การมัวตรึกตรองไม่จำเป็น และไม่มีประโยชน์อะไร ผู้ที่รู้แจ้งชัดในจิตเดิมแท้ จะพูดได้ทันทีที่มีใครมาชวนพูดด้วยเรื่องนั้น และมันจะไม่ละไปจากคลองแห่งญาณจักษุของเขา แม้ว่าเขาจะกำลังรบพุ่งชุลมุนอยู่กลางสนามรบก็ตามที"

                      เมื่อได้รับคำสั่งดังนั้น ศิษย์อื่นๆ (เว้นแต่ชินเชาหัวหน้าศิษย์)พากันถอยออกไปและกล่าวแก่กันและกันว่า "ไม่มีประโยชน์อะไรสำหรับคนชั้นพวกเราๆที่จะไปตั้งสมาธิเพ่งจิตเขียนโศลก ถวายหลวงพ่อ เพราะว่าตำแหน่งสังฆปริณายกนั้น ใดๆ ก็เห็นว่าจะไม่พ้นมือท่านชินเชา ผู้เป็นหัวหน้าศิษย์ไปได้. เมื่อเราเขียนใช้ไม่ได้ มันก็เป็นการลงแรงเสียเปล่า" เมื่อได้ปรับทุกข์กันดังนี้แล้ว ศิษย์เหล่านั้นทุกคนได้พากันเลิกล้มความตั้งใจในการเขียน และว่าแก่กันว่า "เราจะไปทำให้มันเหนื่อยทำไม? ต่อไปนี้ เราคอยติดตามหัวหน้าของเรา คือ ชินเชา เท่านั้นก็พอแล้ว ไม่ว่าเขาจะไปข้างไหน เราจะตามเขาในฐานะเป็นผู้นำ"
                      ในขณะเดียวกันนั้น ชินเชา ผู้เป็นเชฏฐอันเตวาสิก ก็หยั่งทราบความเรื่องนี้ได้ด้วยตนเอง, เขารำพึงว่า "เมื่อพิจารณารดูถึงข้อที่ว่า เราเป็นครูสั่งสอนเขาอยู่ คงไม่มีใครเข้ามาเป็นคู่แข่งขันในการเขียนโศลกกับเรา แต่เป็นครูสั่งสอนเขาอยู่เราจะเขียนโศลกถวายพระสังฆปริณายกดีหรือไม่ ถ้าเราไม่เขียน พระสังฆปริณายกจะทราบได้อย่างไรว่า ความรู้ของเราลึกซึ้งหรือผิวเผินเพียงไหน ถ้าวัตถุประสงค์ในการเขียนของเราในครั้งนี้ ได้แก่ความหวังจะได้รับธรรมจากพระสังฆปริณายก ก็แปลว่าเจตนาของเราบริสุทธิ์ แต่ถ้าเราเขียนเพราะอยากได้ตำแหน่งสังฆปริณายก นั่นแปลว่ามันเป็นความมีเจตนาชั่ว ในกรณีดังกล่าวจิตของเราก็เป็นจิตที่ข้องอยู่ในโลก และการกระทำของเราก็คือ การปล้นยื้อแย่งบัลลังก์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระสังฆปริณายก แต่ถ้าเราจะไม่เขียนโศลกยื่นท่านเราก็ไม่มีโอกาสจะได้รับทราบธรรมะนั้น. มันช่างยากที่จะตัดสินใจเสียจริงๆ"
                       ที่หน้าหอสำนักของพระสังฆปริณายกนั้น มีช่องทางเดินตลอดสามช่อง ที่ผนังของช่องเหล่านี้ โลชูน จิตรกรเอกแห่งราชสำนักได้เขียนภาพต่างๆ จาก "ลังกาวตารสูตร" แสดงถึงการกลับกลายร่างของผู้ที่เข้าประชุม และเขียนภาพอันแสดงถึงชาติวงศ์ ของพระสังฆปริณายกทั้งห้าองค์ เพื่อเป็นความรู้ของประชาชน และให้ประชาชนได้ทำสักการะบูชา
                       เมื่อชินเชาแต่งโศลกเสร็จแล้ว ได้พยายามที่จะส่งต่อพระสังฆปริณายกตั้งหลายหน แต่เมื่อเดินเข้าไปใกล้จะถึงหอสำนักของพระสังฆปริณายกทีไรหัวใจเต้นเหงื่อกาฬแตกท่วมตัวทุกที. เขาไม่สามารถที่จะแข็งใจเข้าไปส่งได้สำเร็จ ชั่วเวลาเพียง 4 วัน เขาพยายามถึง 13 ครั้ง ในที่สุดเขาก็ตกลงใจว่า "เราจะเขียนมันไว้ที่ฝาผนังช่องทางเดิน ให้พระสังฆปริณายกท่านเห็นเองดีกว่า" ถ้าถูกใจท่าน เราจึงค่อยออกมานมัสการท่าน และเรียนท่านว่าเราเป็นผู้เขียน ถ้าท่านเห็นว่ามันผิดใช้ไม่ได้ ก็แปลว่าเราได้เสียเวลาไปหลายปีในการมาอยู่บนภูเขานี้ และทำให้ชาวบ้านหลงเคารพกราบไหว้เสียเป็นนาน โดยไม่คู่ควรกันเลย และเมื่อเป็นเช่นนี้ ก็แปลว่าเราไม่ได้ก้าวหน้าในการศึกษาพระธรรมเลยแม้แต่น้อยมิใช่หรือ?" ครั้นถึงเวลาเที่ยงคืนในวันนั้น ชินเชาถือตะเกียงลอบไปเขียนโศลกที่เขาแต่งขึ้นไว้ ที่ผนังช่องทางเดินทางทิศใต้ โดยหวังอยู่ว่า พระสังฆปริณายกจะได้เห็นและหยั่งทราบถึงวิปัสสนาญาณที่เขาได้บรรลุ โศลกนั้นมีว่า:-

 
" กายของเราคือต้นโพธิ์ (*1)
ใจของเราคือกระจกเงาอันใส
เราเช็ดมันโดยระมัดระวังทุกๆ ชั่วโมง
และไม่ยอมให้ฝุ่นละอองจับ"

*1ต้นโพธิ์ในที่นี้ หมายถึงไม้เนื้ออ่อนไม่มีแก่น ได้แก่ไม้ตระกูลมะเดื่อทั่วไป ข้อนี้หมายถึงความไม่มีแก่นสารของร่างกาย และเห็นความสำคัญอยู่ที่ใจ ซึ่งจะต้องคอยรักษาให้สะอาดตามสภาพเดิม อยู่เสมอ ขอเตือนผู้อ่านและผู้ศึกษาให้กำหนดข้อความในตอนนี้ให้ดี เพราะเป็นข้อความที่ชี้ให้เห็นว่า เซ็นไม่เห็นพ้องกับมติที่ว่ามีอาตมัน ซึ่งจะทราบได้เมื่ออ่านต่อไปถึงตอนข้างหน้า ซึ่งปฏิเสธความมีอยู่แห่งกระจก (พุทธทาสผู้แปลไทย)[/color][/size] 

                     พอเขียนเสร็จ เขาก็รีบกลับไปห้องของเขาทันที โดยไม่มีใครทราบการกระทำของเขา ครั้นไปถึงแล้วเขาก็วิตกต่อไปว่า "พรุ่งนี้ถ้าพระสังฆปริณายกเห็นโศลกของเรา และพอใจ ก็แปลว่าเราพร้อมที่จะได้รับธรรมะอันลึกซึ้งของท่าน แต่ถ้าท่านติว่าใช้ไม่ได้ มันก็แปลว่าเรายังไม่สมควรที่จะได้รับธรรมะอันนั้น เนื่องจากความชั่วที่เราทำไว้แต่ชาติก่อนๆ มาหุ้มห่อใจเราอย่างหนาแน่น มันเป็นการยากเย็นเหลือเกิน ในการที่จะทายว่า พระสังฆปริณายกจะมีความรู้สึกอย่างไรในโศลกอันนั้น" เขาได้คิดทบทวนอยู่เช่นนั้นจนกระทั่งคืนยันรุ่ง นั่งก็ไม่เป็นสุข นอนก็ไม่เป็นสุข
                     แต่พระสังฆปริณายกได้ทราบอยู่ก่อนแล้วว่า ชินเชาผู้นี้ยังไม่ได้ก้าวเข้าไปในประตูแห่งการตรัสรู้ และเขายังไม่ซึมทราบในจิตเดิมแท้
                     รุ่งเช้า พระสังฆปริณายกให้ไปเชิญ นายโลชุน จิตรกรแห่งราชสำนักมาแล้วเดินไปตามช่องทางเดินทางทิศใต้พร้อมกัน เพื่อให้เขียนภาพที่ผนังเหล่านั้น จึงเป็นการประจวบเหมาะที่ทำให้พระสังฆปริณายกได้เห็นโศลกที่ชินเชาเขียนไว้
                     พระสังฆปริณายก ได้กล่าวแก่โลชุนช่างเขียนว่า "เสียใจที่ได้รบกวนท่านให้มาจนถึงนี่ บัดนี้เห็นว่า ผนังเหล่านี้ไม่ต้องเขียนภาพเสียแล้ว เพราะสูตรๆนั้นได้กล่าวไว้ว่า "สรรพสิ่งที่มีรูป หรือมีความปรากฏกิริยาอาการ ย่อมเป็นอนิจจังและเป็นมายา" ฉะนั้น ควรปล่อยโศลกนั้นไว้บนผนังอย่างนั้น เพื่อให้มหาชนได้ศึกษาและท่องบ่น และถ้าเขาปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อความที่สอนไว้นั้น เขาก็จะพ้นทุกข์ ไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ อานิสงส์ที่ผู้ปฏิบัติตามจะพึงได้รับนั้นมีมากนัก"
                     ครั้นกล่าวดังนั้นแล้ว พระสังฆปริณายกได้สั่งให้นำเอาธูปเทียนมาจุดบูชาที่ตรงหน้าโศลกนั้น และสั่งให้ศิษย์ของท่านทุกคนทำความเคารพ แล้วจำเอาไปท่องบ่น เพื่อให้เขาสามารถพิจารณาเห็น จิตเดิมแท้ เมื่อศิษย์เหล่านั้นท่องได้แล้ว ทุกคนพากันออกอุทานว่า "สาธู"
                     ครั้นเวลาเที่ยงคืน พระสังฆปริณายกได้ให้คนไปตามตัวชินเชามาที่หอแล้วถามว่าเขาเป็นผู้เขียนโศลกนั้นใช่หรือไม่ ชินเชาได้ตอบว่า "ใช่ขอรับ กระผมมิได้เห่อเหิมเพื่อตำแหน่งสังฆปริณายก เพียงแต่หวังว่าหลวงพ่อจะกรุณาบอกให้ทราบว่า โศลกนั้นแสดงว่ามีแววแห่งปัญญาอยู่ในนั้นบ้างสักเล็กน้อย หรือหาไม่"
                      พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า "โศลกของเจ้าแสดงว่าเจ้ายังไม่ได้รู้แจ้ง จิตเดิมแท้ เจ้ามาถึงประตูแห่งการบรรลุธรรมแล้วเป็นนาน แต่เจ้ายังไม่ได้ก้าวข้ามธรณีประตูเข้าไป การแสวงหาความตรัสรู้อันสูงสุด ด้วยความเข้าใจอย่างของเจ้าที่มีอยู่ในขณะนี้นั้น ยากที่จะสำเร็จได้"
                     "การที่ใครจะบรรลุอนุตรสัมโพธิได้นั้น ผู้นั้นจะต้องสามารถรู้แจ้งด้วยใจเอง ในธรรมชาติแท้ของตนเอง หรือที่เรียกว่า จิตเดิมแท้ อันเป็นสิ่งที่ใครสร้างขึ้นไม่ได้ หรือทำลายให้สูญหายไปก็ไม่ได้ ชั่วเวลาขณะจิตเดียวเท่านั้น ผู้นั้นสามารถเห็นแจ้งจิตเดิมแท้ ได้โดยตลอดกาลทั้งปวง ต่อจากนั้นทุกๆ สิ่งก็จะเป็นอิสระจากการถูกกักขัง กล่าวคือจะเป็นวิมุติหลุดพ้นไป ตถตา (คือความเป็นแต่ที่เป็นอยู่เช่นนั้น ไม่อาจเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้, ซึ่งเป็นชื่อของจิตเดิมแท้อีกชื่อหนึ่ง) ปรากฏขึ้นเป็นครั้งเดียวหรือชั่วขณะจิตเดียว ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระจากความหลงได้ตลอดกาลไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ว่าสถานการณ์รอบข้างจะเป็นเช่นไรใจของผู้นั้น ก็จะยังคงอยู่ในสภาพแห่ง "ความเป็นเช่นนั้น" สถานะเช่นนี้ที่จิตได้ลุถึงนั่นแหละคือตัวสัจจธรรมแท้ ถ้าเจ้าสามารถเห็นสิ่งทั้งปวง โดยลักษณะการเช่นนี้ เจ้าจะได้รู้แจ้งจิตเดิมแท้ ซึ่งเป็นการตรัสรู้อันสูงสุด"

                      "เจ้าไปเสียก่อน ไปคิดมันอีกสักสองวัน แล้วเขียนโศลกอันใหม่มาให้ฉัน ถ้าโศลกของเจ้าแสดงว่า เจ้าเข้าพ้นประตูไปแล้ว ฉันจะมอบผ้ากาสาวพัสตร์และธรรมะ(แห่งนิกายธยาน) ให้แก่เจ้าสืบทอดไป"
                      ชินเชา กราบพระสังฆปริณายกแล้วหลีกไป เวลาล่วงเลยมาหลายวันเขาก็ยังจนปัญญา ในการที่จะเขียนโศลกอันใหม่ มันทำให้ใจของเขาหกหัวกลับไม่รู้บนล่างเหมือนคนถูกผีอำ เป็นไข้ทั้งที่ตัวเย็นชืดเหมือนกับที่คนกำลังฝันร้ายจะนั่งหรือเดินอย่างไร ก็ไม่พบอาริยาบทที่ผาสุก.
                      เวลาล่วงมาอีกสองวัน บังเอิญเด็กหนุ่มคนหนึ่งเดินผ่านมาทางห้อง ที่อาตมาตำข้าวอยู่ เด็กคนนั้น ได้เดินท่องโศลกของชินเชา ที่จำมาจากฝาผนังอย่างดังๆ พอได้ยินโศลกนั้น อาตมาก็ทราบได้ทันทีว่าผู้แต่งโศลกนั้น ยังไม่ใช่ผู้เห็นแจ้งใน จิตเดิมแท้ แม้ว่าในเวลานั้น อาตมายังมิได้รับคำอธิบายอะไรเกี่ยวกับข้อความในโศลกนั้น อาตมาก็ยังเข้าใจในความหมายทั่วๆไปของมันได้เป็นอย่างดี อยู่เองแล้ว
                      อาตมาถามเด็กนั้นว่า "โศลกอะไรกันนี่?" เด็กเขาตอบว่า "ท่านคนป่าคนเยิง, ท่านไม่ทราบเรื่องโศลกนี้ดอกหรือ? พระสังฆปริณายกได้ประกาศแก่ศิษย์ทั้งหลายว่า ปัญหาเรื่องการเกิดใหม่ไม่รู้สิ้นสุดนั้น เป็นปัญหาเฉพาะหน้าของคนทั้งหลาย, และว่าผู้ใดปรารถนาจะได้รับมอบผ้ากาสาวพัสตร์และธรรมะ จะต้องเขียนโศลกให้ท่านโศลกหนึ่ง และว่าผู้ที่รู้แจ้งจิตเดิมแท้ จะได้รับมอบของเหล่านั้น และจะถูกแต่งตั้งเป็นสังฆปริณายกองค์ที่หก ท่านชินเชาศิษย์อาวุโส ได้เขียนโศลกเรื่อง "ไม่มีรูป" โศลกนี้ไว้ที่ผนัง ทางเดินด้านทิศใต้ และ พระสังฆปริณายกให้สั่งให้พวกเราท่องบ่นโศลกอันนี้ไว้ และท่านยังได้กล่าวไว้ด้วยว่า ผู้ใดเก็บเอาคำสอนนี้ไปปฏิบัติ ผู้นั้นจะได้รับอานิสงส์เป็นอันมาก จะพ้นจากทุกข์แห่งการเกิดในอบายภูมิ"
                       อาตมาได้บอกแก่เด็กหนุ่มคนนั้นว่า อาตมาก็ปรารถนาที่จะท่องบ่นโศลกนั้นเหมือนกัน เผื่อว่าในภพเบื้องหน้า จะได้พบคำสอนเช่นนั้นอีก อาตมาได้บอกเขาด้วยว่า แม้อาตมาจะได้ตำข้าวอยู่ที่นี่ตั้งแปดเดือนมาแล้ว ก็ไม่เคยเดินผ่านไปแถวช่องทางเดินเหล่านั้นเลย เขาจะต้องนำอาตมาไปถึงที่ที่โศลกนั้นเขียนไว้บนผนัง เพื่อให้อาตมาได้มีโอกาสทำการบูชาโศลกนั้น ด้วยตนเอง
                       เด็กหนุ่มนั้น นำอาตมาไปยังที่นั่น อาตมาขอร้องให้เขาช่วยอ่านให้ฟังเพราะอาตมาไม่รู้หนังสือ เจ้าหน้าที่เสมียนพนักงานแห่งตำบลกองเจาคนหนึ่งชื่อ จางตัตยุง เผอิญมาอยู่ที่นั้นด้วย ได้ช่วยอ่านให้ฟัง เมื่อเขาอ่านจบ อาตมาได้บอกแก่เขาว่า อาตมาก็ได้แต่งโศลกไว้โศลกหนึ่งเหมือนกัน และขอให้เขาช่วยเขียนให้อาตมาด้วย เขาออกอุทานว่า "พิลึกกึกกือเหลือเกิน ที่ท่านก็มาแต่งโศลกกับเขาได้ด้วย"
                       อาตมาได้ตอบว่า "ถ้าท่านเป็นผู้ที่เสาะแสวงหาการบรรลุธรรมอันสูงสุดคนหนึ่งกะเขาด้วยละก็, ท่านอย่าดูถูกคนเพิ่งเริ่มต้น ท่านควรจะรู้ไว้ว่า คนที่ถูกจัดเป็นคนชั้นต่ำ ก็อาจมีปฏิภาณสูงได้เหมือนกัน และคนชั้นสูง ก็ปรากฏว่ายังขาดสติปัญญาอยู่บ่อยๆ ถ้าท่านดูถูกคน ก็ชื่อว่า ท่านทำบาปหนัก"
                       เขากล่าวว่า "ไหนเล่า จงบอกโศลกของท่านมาชี ฉันจะช่วยเขียนให้ท่านแต่อย่าลืมช่วยฉันนะ ขอให้ท่านลุความสำเร็จในธรรมของท่านเถิด" โศลกของอาตมามีว่า:-

"ไม่มีต้นโพธิ์
ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด
เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว
ฝุ่นจะลงจับอะไร?"

                      เมื่อเขาเขียนโศลกลงที่ผนังแล้ว ทั้งพวกศิษย์และคนนอกทุกคนที่อยู่ที่นั่น ต่างพากันประหลาดใจอย่างยิ่ง จิตใจเต็มตื้นไปด้วยความชื่นชม เขาพากันกล่าวแก่กันและกันว่า "น่าประหลาดเหลือเกิน ไม่ต้องสงสัยเลย เราไม่ควรตัดสินใครว่าเป็นอย่างไร ด้วยการเอารูปร่างภายนอกเป็นประมาณ มันเป็นไปได้อย่างไรกันหนอ ที่เราพากันใช้สอยโพธิสัตว์ผู้อวตาร ให้ทำงานหนักให้แก่เรา มานานถึงเพียงนี้?"
                       พระสังฆปริณายก เห็นคนเหล่านั้นพากันเต็มตื้น ไปด้วยความอัศจรรย์ใจ ท่านจึงเอารองเท้าลบโศลก อันที่เป็นของอาตมาออกเสีย ถ้าไม่ทำดังนั้น พวกคนที่มักริษยาจะพากันทำร้ายอาตมา พระสังฆปริณายก แสดงความรู้สึกบางอย่างออกมา ซึ่งทำให้คนเหล่านั้นพอใจที่จะคิดว่า แม้ผู้ที่เขียนโศลกอันนี้ก็ยังไม่ใช่เป็นผู้ที่เห็นแจ้ง จิตเดิมแท้ เหมือนกัน
                       วันรุ่งขึ้น พระสังฆปริณายกได้ลอบมาที่โรงตำข้าวอย่างเงียบๆ ครั้นเห็นอาตมาตำข้าวอยู่ด้วยสากหิน ท่านกล่าวแก่อาตมาว่า "ผู้ค้นหาหนทางต้องยอมเสี่ยงชีวิตของตนเพื่อธรรมะ เขาควรทำเช่นนั้นมิใช่หรือ?" แล้วท่านถามอาตมาต่อไปว่า "ข้าวได้ที่แล้วหรือ?" อาตมาตอบท่านว่า ได้ที่นานแล้ว ยังรอคอยอยู่ก็แต่ตะแกรงสำหรับร่อนเท่านั้น" ท่านเคาะครกตำข้าวด้วยไม้เท้า 3 ครั้ง แล้วก็ออกเดินไป
                       อาตมาทราบดีว่าการบอกใบ้เช่นนั้น หมายความว่ากระไร ดังนั้นในเวลาสามยามแห่งคืนนั้น อาตมาจึงไปที่ห้องท่าน ท่านใช้จีวรขึ้นขึงบังมิให้ใครเห็นเราทั้งสองแล้ว ท่านก็ได้อธิบายข้อความอันลึกซึ้งในวัชรสูตร(กิมกังเก็ง) ให้แก่อาตมา เมื่อท่านได้อธิบายมาถึงข้อความที่ว่า "คนเราควรจะใช้จิตของตน ในวิถีทางที่มันจะเป็นอิสระได้จากเครื่องข้องทั้งหลาย"(*2) ทันใดนั้นอาตมาก็ได้บรรลุการตรัสรู้ธรรมโดยสมบูรณ์ และได้เห็นแจ้งชัดว่า "ที่แท้ทุกๆ สิ่งในสากลโลกนี้ก็คือตัว จิตเดิมแท้ นั่นเองมิใช่อื่นไกล"

*2บันทึกของ ออน คณาจารย์แห่งนิกายธยานผู้หนึ่งมีว่า-เป็นอิสระได้จากเครื่องข้องทั้งหลาย นั้น หมายความว่า ไม่ข้องแวะอยู่ในรูปหรือวัตถุ ไม่ข้องแวะอยู่ในเสียง ไม่ข้องแวะอยู่ในความหลง ไม่ข้องแวะอยู่ในการตรัสรู้ ไม่ข้องแวะอยู่ในสิ่งอันเป็นตัวยืนโรง ไม่ข้องแวะอยู่ในสิ่งอันเป็นคุณลักษณะที่อาศัย(อยู่กับตัวที่ยืนโรง) คำว่า "ใช้จิต" นั้น หมายความว่า ให้ "จิตเอก" (กล่าวคือ ตัวจิตร่วมของสากลโลก) ได้ปรากฏตัวมันเองในที่ทุกแห่ง อธิบายว่า เมื่อใดจิตประกอบอยู่ด้วยเมตตา หรือโทสะก็ตาม เมื่อนั้นตัวเมตตาหรือตัวโทสะก็ปรากฏแทนเสีย ส่วนตัว "จิตเดิมแท้" ลับหายไป แต่เมื่อจิตของเราไม่ประกอบอยู่ด้วยอะไรเลย เราก็ย่อมเห็นได้โดยประจักษ์ว่า โลกนี้ทั้งสิบภาค(หรือสิบทิศ) ไม่ใช่อะไรอื่นไกล นอกไปจากความปรากฏของ "จิตเอก" นั้นเท่านั้น

                       คำอธิบายข้างบนนี้แน่นแฟ้นและตรงจุด นักศึกษาที่เป็นเจ้าตำรานั้น ไม่สามารถให้คำอธิบายที่น่าพอใจเช่นนี้ได้ เพราะเหตุนั้น คณาจารย์ฝ่ายธยาน (รวมทั้งท่าน ออน อาจารย์ฝ่ายธยานมีชื่อของประเทศด้วย ผู้หนึ่ง) จึงอยู่สูงกว่าพวกที่เทศนาสั่งสอน ตามพระไตรปิฎก (ดิปิงเซ่ ผู้แปลเดิม)
อาตมาได้ร้องขึ้นในที่เฉพาะหน้าพระสังฆปริณายก ในที่นั้นว่า
 
      "แหม! ใครจะไปคิดว่า จิตเดิมแท้ นั้น เป็นของบริสุทธิ์อย่างบริสุทธิ์แท้จริง
       ใครจะไปคิดว่า จิตเดิมแท้ นั้น เป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจ ความต้องเป็นอยู่ หรือภายใต้ความดับสูญ อย่างอิสระแท้จริง
       ใครจะไปคิดว่า จิตเดิมแท้ นั้น เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวมันเอง อย่างสมบูรณ์แท้จริง
       ใครจะไปคิดว่า จิตเดิมแท้ นั้น เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือความเปลี่ยนแปลง อย่างนอกเหนือแท้จริง
       ใครจะไปคิดว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏออกมานี้ ไหลเทออกมาจากตัว จิตเดิมแท้"

                     เมื่อพระสังฆปริณายก สังเกตเห็นว่า อาตมาได้เห็นแจ้งแล้วใน จิตเดิมแท้ ท่านได้กล่าวว่า "สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักจิตใจของตนเอง ว่าคืออะไร ก็ป่วยการที่ผู้นั้นจะศึกษาพุทธศาสนา ตรงกันข้าม ถ้าผู้ใดรู้จักจิตใจของตนเองว่าเป็นอะไร และเห็นด้วยปัญญาอย่างซึมซับว่า ธรรมชาติแท้ของตนเองคืออะไรด้วยแล้ว ผู้นั้นคือวีรมนุษย์(นายโรงโลก) คือครูของเทวดาและมนุษย์ คือพุทธะ"
                      ดังนั้น, ในฐานะที่ความรู้ย่อมไม่เป็นของบุคคลใดแต่ผู้เดียว ธรรมะอันนั้นจึงถูกมอบตกทอดมายังอาตมาในเที่ยงคืนวันนั้นเอง ผลก็คืออาตมาเป็นทายาทผู้ได้รับมอบทอดช่วง คำสั่งสอนแห่งนิกาย "ฉับพลัน" (sudden school) พร้อมทั้งจีวรและบาตร (อันเป็นเครื่องหมายตำแหน่งสังฆปริณายกแห่งนิกายนี้สืบลงมาตั้งแต่สังฆปริณายกองค์แรก)                       
                  พระสังฆปริณายกได้กล่าวสืบไปว่า "บัดนี้ ท่านเป็นสังฆปริณายกองค์ที่หก ท่านต้องคุ้มครองตัวของท่านให้ดี จงช่วยมนุษย์ให้มากพอที่จะช่วยได้ จงทำการเผยแพร่คำสอน และสืบอายุคำสอนไว้อย่าให้ขาดตอนลงได้" จงจำโศลกโคลงอันนี้ของเราไว้:-

                      "สัตว์ที่มีความรู้สึกนึกคิด ซึ่งเราหว่านเมล็ดพืชพันธุ์แห่งการตรัสรู้ ลงในเนื้อนาแห่งความเป็นไปตามอำนาจแห่งเหตุและผลแล้วจะเก็บเกี่ยวผลถึงพุทธภูมิ
                       วัตถุมิใช่สัตว์ที่มีความรู้สึกนึกคิด เป็นสิ่งว่างเปล่าจากธรรมชาติแห่งพุทธะ ย่อมไม่หว่านและไม่เก็บเกี่ยวเลย"

                       ท่านได้กล่าวสืบไปว่า "เมื่อสังฆปริณายกนามว่า โพธิธรรมได้มาสู่ประเทศจีนนี้เป็นครั้งแรก ชาวจีนส่วนมากไม่ยอมเชื่อในท่าน ดังนั้น, ผ้ากาสาวพัสตร์นี้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมที่จะต้องมอบต่อๆกันไป จากพระสังฆปริณายกองค์หนึ่งไปยังอีกองค์หนึ่ง ในฐานะเป็นเครื่องหมาย สำหรับธรรมะนั้นเล่า ก็มอบทอดช่วงกันไปตัวต่อตัวโดยทางใจ(จิตถึงจิต) ไม่เกี่ยวกับคัมภีร์และผู้รับมอบนั้น ต้องเป็นผู้ที่เห็นธรรมะนั้นแล้วอย่างแจ่มแจ้ง ด้วยความพยายามของตนเองโดยเฉพาะ นับตั้งแต่อดีตกาลอันกำหนดนับไม่ได้เป็นต้นมา เป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันสำหรับพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ก็จะมอบหัวใจคำสอนของพระองค์ให้แก่ผู้จะสืบอายุพระพุทธศาสนาต่อไป แม้สำหรับพระสังฆปริณายกหัวหน้าแห่งนิกายองค์หนึ่งๆก็เหมือนกัน ย่อมจะมอบคำสอนอันเร้นลับแห่งนิกายนั้นโดยตัวต่อตัว ให้แก่พระสังฆปริณายกที่รองลำดับลงไปโดยความรู้ทางใจ (ไม่เกี่ยวกับตำรา) แต่สำหรับผ้ากาสาวพัสตร์และบาตรนี้อาจเป็นต้นเหตุแห่งการยื้อแย่งเถียงสิทธิกันขึ้นก็ได้ ท่านเป็นคนสุดท้ายที่ได้รับมอบในเวลานี้ ท่านควรมอบมันไปเสียแก่ผู้ที่จะรับสืบต่อจากท่านได้ ชีวิตของท่านกำลังล่อแหลมต่ออันตราย จงเดินทางไปเสียจากที่นี่ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ มิฉะนั้นจะมีคนทำอันตรายท่าน
อาตมาถามท่านว่า ควรจะไปทางไหน ท่านตอบว่า "จงหยุดที่ตำบลเวย แล้วซ่อนตัวอยู่ผู้เดียวที่ตำบลวุย"
                      เมื่อได้รับผ้ากาสาวพัสตร์และบาตรในตอนเที่ยงคืนเสร็จแล้ว อาตมาได้กล่าวกะท่านว่า เนื่องจากตัวเป็นชาวใต้ จะรู้จักเดินทางไปตามภูเขาได้อย่างไรและไม่สามารถเดินไป(เพื่อลงเรือ) ที่ปากแม่น้ำได้ ท่านตอบว่า "อย่าร้อนใจเราจะไปด้วย"
                      ท่านได้มาเป็นเพื่อนอาตมา จนถึงกิวเกียง, ณ ที่นั้นท่านได้บอกให้อาตมาลงเรือลำหนึ่ง ท่านแจวเรือนั้นด้วยตนเอง อาตมาจึงขอร้องให้ท่านนั่งลงเสียและอาตมาจะแจวเอง ท่านตอบว่า "มันเป็นสิทธิฝ่ายเราผู้เดียวเท่านั้นในการที่จะพาท่านข้ามไป (ในที่นี้หมายถึงทะเลแห่งการเกิดตาย ซึ่งคนเราจะต้องข้าม ก่อนแต่จะลุถึงฝั่งคือนิพพาน) อาตมาจึงตอบท่านว่า "เมื่อกระผมยังอยู่ภายใต้โมหะ ก็เป็นหน้าที่ที่หลวงพ่อจะต้องพากระผมข้ามไป แต่เมื่อได้บรรลุธรรมเป็นการตรัสรู้แล้ว กระผมก็ควรจะข้ามมันด้วยตนเอง (คำว่า "ข้าม" ทั้งสองแห่งนั้น แม้เขียนเหมือนกัน แต่ความหมายต่างกัน) โดยที่กระผมเกิดที่บ้านนอกชายแดน แม้การพูดจาของกระผมยังแปร่งไม่ถูกต้องในการออกเสียงก็ตามแต่กระผมก็ได้รับเกียรติจากหลวงพ่อ ในการที่ได้รับมอบธรรมะอันนั้นจากหลวงพ่อ ฉะนั้นก็แปลว่ากระผมได้บรรลุธรรมแล้ว มันควรจะเป็นสิทธิของกระผม ในการที่จะพาตัวเองข้ามทะเลแห่งความเกิดตายไปได้ด้วยการที่ตนเห็นแจ้ง จิตเดิมแท้ ของตนเองแล้ว"

                     "ถูกแล้ว ถูกแล้ว" ท่านรับรอง แล้วท่านกล่าวต่อไปว่า "นับจำเดิมแต่นี้เป็นต้นไป เพราะอาศัยท่านเป็นเหตุ พุทธศาสนา (หมายถึงนิกายธยาน)จะแผ่กว้างขวางไพศาล นับตั้งแต่จากกันวันนี้แล้ว อีกสามปีเราก็จะลาจากโลกนี้ไป ท่านจงเริ่มต้นการจาริกของท่านตั้งแต่บัดนี้เถิด จงลงไปทางใต้ให้เร็วเท่าที่จะเร็วได้ อย่าด่วนทำการเผยแพร่ให้เร็วเกินไป เพราะว่าพุทธธรรมนี้(หมายถึงนิกายธยาน) ไม่เป็นของที่เผยแพร่ได้โดยง่ายเลย
                      เมื่อได้กล่าวคำอำลาแล้ว อาตมาก็จากท่าน เดินทางลงมาทางทิศใต้ เป็นเวลาประมาณสองเดือน อาตมาก็มาถึงภูเขาไต้ยู้ ณ ที่นี้ อาตมาได้สังเกตเห็นว่ามีคนหลายร้อยคนติดตามรอยอาตมา ด้วยหวังจะยื้อแย่งผ้ากาสาวพัสตร์ และบาตร (เป็นปูชนียวัตถุของพระพุทธเจ้า)
                      ในจำพวกคนที่ติดตามมานั้น มีภิกษุอยู่ด้วยรูปหนึ่งชื่อไวมิง เมื่อเป็นฆราวาสใช้แซ่สกุลว่า เซ็น และมียศนายทหารเป็นนายพลจัตวา มีกิริยาหยาบคายโทสะฉุนเฉียว ในบรรดาคนที่ติดตามอาตมามานั้น เขาเป็นคนที่สะกดรอยเก่งที่สุด ครั้นเขามาใกล้จวนจะถึงตัวอาตมา อาตมาก็วางผ้ากาสาวพัสตร์กับบาตรลงบนก้อนหิน ประกาศว่า "ผ้านี้ไม่เป็นอะไรอื่น นอกจากจะเป็นเครื่องหมายเท่านั้น จะมีประโยชน์อะไร ในการที่จะยื้อแย่งเอาไปด้วยกำลัง?" (แล้วอาตมาก็หลบไปซ่อนเสีย)
                      ครั้นภิกษุไวมิงมาถึงก้อนหินนั้น เขาพยายามที่จะหยิบมันขึ้น แต่กลับปรากฏว่าเขาไม่สามารถจะทำเช่นนั้นได้ แล้วเขาได้ตะโกนว่า "พ่อน้องชาย พ่อน้องชาย ฉันมาเพื่อหาธรรมะ ไม่ใช่มาเพื่อเอาผ้า" (พึงทราบว่าเวลานี้ พระสังฆปริณายกองค์ที่หกนี้ยังไม่ได้รับการอุปสมบท จึงถูกเรียกว่า พ่อน้องชาย เหมือนที่ฆราวาสเขาเรียกกัน)
                      ต่อจากนั้น อาตมาก็ออกจากที่ซ่อน นั่งลงบนก้อนหินนั้น ภิกษุไวมิงทำความเคารพ แล้วกล่าวว่า "น้องชาย แสดงธรรมแก่ฉันเถิด ช่วยที"
                      อาตมาได้กล่าวกะภิกษุไวมิงว่า "เมื่อความประสงค์แห่งการมาเป็นความประสงค์เพื่อจะฟังธรรมแล้ว ก็จงระงับใจไม่ให้คิดถึงสิ่งใดๆ แล้วทำใจของท่านให้ว่างเปล่า เมื่อนั้นข้าพเจ้าจึงจะสอนท่าน" ครั้นเขาทำดังนั้นชั่วเวลาพอสมควรแล้ว อาตมาได้กล่าวว่า "เมื่อท่านทำในใจไม่คิดทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว(รู้จักสิ่งที่ไม่ดีและไม่ชั่ว) แล้ว ในเวลานั้นเป็นอะไร ท่านที่นับถือ นั่นคือธรรมชาติแท้ของท่าน (ตามตัวหนังสือ เรียนหน้าตาดั้งเดิมของท่าน) มิใช่หรือ?"
พอภิกษุไวมิงได้ฟังดังนั้น ท่านก็บรรลุธรรมทันที แต่ท่านได้ถามต่อไปว่า "นอกจากคำสอนและข้อคิดอันเร้นลับ ที่พระสังฆปริณายกท่านมอบต่อๆ กันลงไป หลายชั่วพระสังฆปริณายกมากันแล้วนั้น ยังมีคำสอนเร้นลับอะไรอีกบ้างไหม?" อาตมาตอบว่า "สิ่งที่ข้าพเจ้าจำนำมาสอนให้ท่านได้นั้น ไม่ใช่ข้อเร้นลับอะไร คือถ้าท่านมองย้อนเข้าข้างใน (*3) ท่านจะเห็นสิ่งเร้นลับมีอยู่ในตัวท่านแล้ว"

*3 หลักสำคัญที่สุดในคำสอนของนิกายธยานนั้น คือ "การมองด้านใน" หรือ "การเฝ้าดูแต่ภายใน" หมายถึงการหมุนให้ "แสง"ของตัวเอง ฉายกลับเข้าภายในถ้าจะเปรียบ เราควรจะเปรียบกับตะเกียง คือเราทราบดีว่าแสงของตะเกียงนั้น เมื่อมีโป๊ะครอบอยู่โดยรอบ ก็ย่อมกระท้อนกลับเข้าภายใน พร้อมทั้งรัศมีทั้งหมดไปรวมจุดศูนย์กลางอยู่ที่ดวงไฟผิดกับตะเกียงที่ไม่มีโป๊ะครอบ แสงก็จะพร่าจางหายไปในภายนอก เมื่อเราคอยแต่จะวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามักเคยทำกันจนเคยตัว ก็เป็นการยากที่จะหมุนความคิดนึกให้มาสนใจแต่ตัวเองโดยเฉพาะ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นการยากที่จะทราบเรื่องต่างๆ ของตัวเอง โดยลักษณะตรงกันข้าม พวกนิกายธยานหมุนความสนใจส่องกลับเข้าภายในทั้งหมด และส่องระดมลงไปที่ "ธรรมชาติแท้" ของตัวเองซึ่งเรียกกันในระหว่างชนชาวจีนว่า "หน้าตาดั้งเดิม" ของตัวเอง

                      เพื่อมิให้ผู้อ่านผ่านพ้นความสำคัญตอนนี้ไปเสีย จึงควรบันทึกข้อความนี้ไว้เป็นเครื่องสะกิดใจว่า ในประเทศจีนแห่งเดียวเท่านั้น พุทธบริษัทจำนวนพันๆ ได้บรรลุธรรมถึงขั้นสูงโดยการปฏิบัติตามคำสอนอันฉลาด (ในการลัดทางตรง) ของพระสังฆปริณายกองค์ที่หกนี้ (ดิปิงเซ่ ผู้แปลเดิม)
ภิกษุไวมิงได้กล่าวขึ้นว่า "แม้ฉันจะอยู่ที่วองมุยมานมนาน ฉันก็ไม่ได้เห็นแจ้งตัวธรรมชาติแท้ของจิตฉันเลย บัดนี้รู้สึกขอบคุณเหลือเกินในการชี้ทางของท่าน ฉันรู้สิ่งนั้นชัดแจ้ง เหมือนที่คนดื่มน้ำเขารู้แจ้งชัดว่า น้ำที่เขาดื่มนั้นร้อนหรือเย็นอย่างไร พ่อน้องชายเอ๋ย บัดนี้ท่านเป็นครูของฉันแล้ว"
                      อาตมาตอบว่า "ถ้าเป็นดังนั้นจริงแล้ว ท่านกับข้าพเจ้า ก็เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกัน ของพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า ท่านจงคุ้มครองตัวของท่านให้ดีเถิด" เมื่อเขาถามอาตมาว่าต่อจากนี้ไป เขาควรจะไปทางไหน อาตมาก็ตอบแก่เขาว่า ให้เขาหยุดที่ตำบลยีวน แล้วตั้งพำนักอาศัยที่ตำบลม็อง เขาก็ทำความเคารพแล้วจากกันไป"
                      ต่อมาไม่นาน อาตมาก็ไปถึงตำบลโซกาย, ณ ที่นั้น พวกใจบาปได้ตามจองล้างจองผลาญอาตมาอีก ทำให้อาตมาต้องหลบซ่อนอยู่ที่ซีวุย อันเป็นที่ซึ่งอาตมาได้อาศัยอยู่กับพวกพรานป่าตลอดเวลานานถึง 15 ปี ในบางโอกาส อาตมาก็หาทางสั่งสอนเขาตามที่เขาพอจะเข้าใจได้บ้าง เขาเคยใช้อาตมาให้นั่งเฝ้าข่ายดักจับสัตว์ของเขา, เมื่ออาตมาเห็นสัตว์มาติดที่ข่ายนั้น ก็ปลดปล่อยให้รอดชีวิตไป ในเวลาหุงต้มอาหาร อาตมานำผักมาใส่ลงไปในหม้อที่เขากำลังต้ม หรือแกงเนื้อ บางคนสงสัยก็ถามอาตมา อาตมาตอบให้ฟังว่า แม้เนื้อนั้นแกงรวมกันอยู่กับผัก อาตมาก็จะคัดเลือกรับประทานแต่ผักอย่างเดียวเท่านั้น
                      วันหนึ่ง อาตมารำพึงในใจตนเองว่า อาตมาไม่ควรจะเก็บตัวซ่อนอยู่เช่นนี้ตลอดไป มันถึงเวลาแล้ว ที่อาตมาจะทำการประกาศธรรม ดังนั้นอาตมาจึงออกจากที่นั้น และได้ไปสู่อาวาสฟัดฉิ่นในนครกวางตุ้ง

                      ในขณะนั้น ภิกษุเยนชุง ผู้เป็นธรรมาจารย์มีชื่อเสียงองค์หนึ่ง กำลังเทศนาว่าด้วยมหาปรินิวาณสูตร อยู่ในอาวาสนั้น มันเป็นการบังเอิญในวันนั้น เมื่อธงริ้วกำลังถูกลมพัดสะบัดพริ้วๆ อยู่ในสายลม ภิกษุสองรูปเกิดโต้เถียงกันขึ้นว่าสิ่งที่กำลังไหวสั่นระรัวอยู่นั้น ได้แก่ลม หรือได้แก่ธงนั้นเล่า เมื่อไม่มีทางที่จะตกลงกันได้ อาตมาจึงเสนอข้อตัดสินให้แก่ภิกษุสองรูปนั้นว่า ไม่ใช่ลมหรือธงทั้งสองอย่าง ที่แท้จริง ที่หวั่นไหวจริงๆ นั้น ได้แก่จิตของภิกษุทั้งสองรูปนั้นเองต่างหากที่ประชุมที่กำลังประชุมกันอยู่ในที่นั้น พากันตื่นตะลึง.ในถ้อยคำที่อาตมาได้กล่าวออกไป และภิกษุเยนชุง ได้อาราธนาอาตมาให้ขึ้นนั่งบนอาสนะอันสูงแล้วได้ซักถามปัญหาที่เป็นปมยุ่งต่างๆ ในพระสูตรที่สำคัญๆ หลายพระสูตร
                      เมื่อได้เห็นว่า คำตอบของอาตมาชัดเจนแจ่มแจ้งและมั่งคง และเห็นว่าเป็นคำตอบที่มีอะไรสูงยิ่งไปกว่าความรู้ ที่จะหาได้จากตำราแล้ว ภิกษุเยนชุงได้กล่าวแก่อาตมาว่า "น้องชาย ท่านต้องเป็นบุคคลพิเศษเหนือธรรมดาเป็นแน่ เราได้ฟังข่าวมานานแล้วว่า บุคคลผู้ได้รับมอบผ้ากาสาวพัสตร์ และธรรมะจากพระสังฆปรินายกองค์ที่ห้านั้น บัดนี้ได้เดินทางลงมาทางทิศใต้แล้ว ท่านต้องเป็นบุคคลผู้นั้น เสียแน่แล้ว"
                      อาตมา ได้แสดงกิริยายอมรับโดยอ่อนน้อม ทันใดนั้น ภิกษุเยนชุงได้ทำความเคารพ และขอให้อาตมานำผ้าและบาตร ซึ่งได้รับมอบ ออกมาให้ที่ประชุมดูด้วย แล้วได้ถามอาตมาสืบไปว่า เมื่อสังฆปริณายกองค์ที่ห้ามอบธรรมอันเร้นลับสำหรับสังฆปริณายก ให้แก่อาตมานั้น อาตมาได้รับคำสั่งสอนอะไร อย่างใดบ้าง
                      อาตมาตอบว่า "นอกจากการคุ้ยเขี่ยด้วยเรื่องการเห็นแจ้งชัดใน จิตเดิมแท้ แล้ว ท่านไม่ได้ให้คำสอนอะไรอีกเลย ท่านไม่ได้เอ่ยถึงแม้แต่เรื่องธยานและวิมุต" ภิกษุเย็นชุงสงสัย จึงถามอาตมาว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น อาตมาตอบว่า เพราะว่ามันจะทำให้เกิดความหมายว่า มีหนทางขึ้นถึงสองทาง ก็ทางในพุทธธรรมนี้ จะมีถึงสองทางไม่ได้ มันมีแต่ทางเดียวเท่านั้น
                      ภิกษุเยนชุง ถามอาตมาต่อไปว่า ที่ว่ามีแต่ทางเดียวนั้นคืออะไร อาตมาตอบว่า "ก็มหาปรินิรวาณสูตรซึ่งท่านนำออกเทศนาอยู่นั่นเอง ย่อมชี้ให้เห็นอยู่แล้วว่า ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ(ซึ่งมีอยู่ในคนทุกคน) นั่นแหละคือทางทางเดียว ยกตัวอย่างตอนหนึ่งในพระสูตรนั้นมีว่า พระเจ้าโกโกวตั่ก ซึ่งเป็นโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า บุคคลที่ล่วงปาราชิกสี่อย่างก็ดี หรือทำอนันตริยกรรมห้าอย่างก็ดี และพวกอิจฉันติกะ (คือมิจฉาทิฏฐินอกศาสนา) ก็ดี ฯลฯ คนเหล่านี้ จะได้ชื่อว่าถอนรากเหง้าแห่งความดี และทำลาย ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ของตนเองเสียแล้ว โดยสิ้นเชิงหรือหาไม่? พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบว่า รากเหง้าของความดีนั้น มีอยู่สองชนิดคือ ชนิดที่ถาวรตลอดอนันตกาล กับไม่ถาวร(Eternal, and Non-eternal) เพราะเหตุที่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้น จะเป็นของถาวรตลอดอนันตการก็ไม่ใช่ จะว่าไม่ถาวรก็ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น รากเหง้าแห่งความดีของเขา จึงไม่ถูกถอนขึ้นโดยสิ้นเชิง" ในบัดนี้ก็เป็นที่ปรากฏแล้วว่า พุทธธรรมมิได้มีทางสองทาง ที่ว่าทางฝ่ายดีก็มี ทางฝ่ายชั่วก็มี นั้นจริงอยู่ แต่เพราะเหตุที่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้น เป็นของไม่ดีไม่ชั่ว เพราะฉะนั้น พุทธธรรมจึงเป็นที่ปรากฏว่าไม่มีทางถึงสองทาง ตามความคิดของคนธรรมดาทั่วไปนั้นเข้าใจว่า ส่วนย่อยๆของขันธ์และธาตุทั้งหลายนั้น เป็นของที่แบ่งแยกออกได้เป็นสองอย่าง แต่ผู้ที่ได้บรรลุธรรมแล้ว ย่อมเข้าใจว่า สิ่งเหล่านั้นตามธรรมชาติไม่ได้เป็นของคู่เลย พุทธภาวะหรือธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธนั้นไม่ใช่เป็นของคู่"
                     ภิกษุเยนชุง พอใจในคำตอบของอาตมาเป็นอย่างสูง ได้ประนมมือทั้งสองขึ้นเป็นการแสดงความเคารพแล้ว ท่านได้กล่าวแก่อาตมาว่า "คำอธิบายความในพระสูตรที่ข้าพเจ้าเองอธิบายไปแล้วนั้น ไร้มูลค่า เช่นเดียวกับกองขยะมูลฝอยอันระเกะระกะไปหมด ส่วนคำอธิบายของท่านนั้น เต็มไปด้วยคุณค่าเปรียบเหมือนทองคำเนื้อบริสุทธิ์" ครั้นแล้วท่านได้ช่วยจัดการให้อาตมาได้รับการ ประกอบพิธีปลงผม และรับการบรรพชาอุปสมบท เป็นภิกษุในพุทธศาสนา และได้ขอร้องให้อาตมา รับท่านไว้ในฐานะเป็นศิษย์คนหนึ่งด้วย
                     จำเดิมแต่นั้นมา อาตมาก็ได้ทำการเผยแพร่คำสอนแห่งสำนักตุงซั่น (คือ สำนักแห่งพระสังฆปริณายกองค์ที่สี่และองค์ที่ห้า ซึ่งอยู่ในวัดตุงซั่น) ตลอดมาภายใต้ร่มเงาของต้นโพธิ์(*4)

*4 คำว่าต้นโพธิ์ในที่นี้ เข้าใจว่าหมายถึงบารมีของพระพุทธเจ้า หรือมิฉะนั้นก็หมายถึงพุทธภาวะหรือธรรมชาติแห่งพุทธะ ซึ่งถือเป็นของสำคัญเพียงอย่างเดียวในนิกายนี้ (พุทธทาส ผู้แปลไทย)

                      นับตั้งแต่อาตมาได้รับมอบพระธรรมมาจากสำนักตุงซั่นแล้ว อาตมาต้องตกระกำลำบากหลายครั้งหลายหน ชีวิตปริ่มจะออกจากร่างอยู่บ่อยๆ วันนี้อาตมาได้มีเกียรติมาพบกับท่านทั้งหลาย ในที่ประชุมนี้ ทั้งนี้ อาตมาต้องถือว่าเป็นเพราะเราได้เคยติดต่อสัมพันธ์กันมาเป็นอย่างดีแล้วแต่ในกัลป์ก่อนๆ รวมทั้งอานิสงส์แห่งบุญกุศล ที่เราได้สะสมกันไว้ ในการถวายไทยธรรมร่วมกันมาแต่พระพุทธเจ้าหลายพระองค์ในชาติก่อนๆของเรานั่นเอง มิฉะนั้นแล้วไฉนเราจะมีโอกาสได้ยินได้ฟังคำสอนแห่ง "สำนักบรรลุฉับพลัน" อันเป็นรากฐานที่ทำให้เราเข้าใจพระธรรมได้แจ่มแจ้ง ในอนาคตนั้นเล่า
                      คำสอนอันนี้ เป็นคำสอนที่ "ได้มอบสืบทอดต่อๆ กันลงมาจากพระสังฆปริณายกองค์ก่อนๆ หาใช่เป็นคำสอนที่อาตมาประดิษฐ์คิดขึ้นด้วยตนเองไม่ ผู้ที่ปรารถนาจะสดับพระธรรมนั้น ในขั้นแรกควรจะชำระใจของตนให้ ครั้นได้ฟังแล้ว ก็ควรจะชะล้างความสงสัยของตน ให้เกลี้ยงเกลาไปเฉพาะตนๆ โดยทำนองที่พระมุนีทั้งหลายในกาลก่อนได้เคยกระทำกันมา จงทุกคนเถิด"
ครั้นจบพระธรรมเทศนา ผู้ฟังพากันปลาบปลื้มด้วยปีติ ทำความเคารพแล้วลาไป

      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #2044 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2554, 08:28:16 »


...อ่านจบแล้วค่ะ...พี่สิงห์...ยาวมาก...

...ขอบคุณค่ะ...ตู่พยายามทำความเข้าใจ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2045 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2554, 09:14:53 »

อ้างถึง
ข้อความของ too_ploenpit เมื่อ 11 พฤษภาคม 2554, 08:28:16

...อ่านจบแล้วค่ะ...พี่สิงห์...ยาวมาก...

...ขอบคุณค่ะ...ตู่พยายามทำความเข้าใจ...

สวัสดีค่ะ คุณน้องตู่ ที่รัก
            พี่สิงห์ อยากให้เธอกลับไปอ่าน คำชี้แจงของ ท่านพุทธทาสภิกขุ อีกครั้งเพื่อความกระจ่าง ค่ะ
            พี่สิงห์ กลับคิดตรงข้ามกับเธอ เมื่ออ่านครั้งแรกแล้วสะกิดใจ เข้าใจทันที เหมือนกับตอนที่พี่สิงห์ นั่งฟังหลวงพ่อคำเขียนเทศน์ รู้ เข้าใจด้วยปัญญา หรือแทงตลอดในธรรม ทันที ปราศจากข้อกังขา เหลือเพียงปฏิบัติให้ได้ตามนั้นเท่านั้น
            ในกรณีที่ยากต่อการเข้าใจ ขอให้กลับไปอ่านซ้ำ พี่สิงห์ ถึงจะเอามาลงไว้ทีละตอน อย่างช้าๆ ไม่รีบร้อน ค่ะ
            แต่อย่าลืม อ่านอย่างมีสติ(โดยการ รู้สึกตัวจากการสัมผัสกันของร่างกาย เช่น พี่สิงห์ กำลังอ่านอยู่ จะเอานิ้วชี้สัมผัสกับนิ้วโป้ง สร้างความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ตลอดเวลา สลับไปสลับมาทั้งสองมือ เพื่อให้มีสติแจ่มใสตลอดเวลา) อ่านอย่างปัญญา คือ อ่านโยนิโสมนสิการ แล้วจะเข้าใจดี ค่ะ
            สวัสดี
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #2046 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2554, 10:22:48 »


...พี่สิงห์คะ...ตู่ว่าคีย์มันอยู่ตรงนี้ค่ะ(ใช่หรือเปล่าไม่รู้...แต่คิดว่า...)

...ท่อนแรก..." กายของเราคือต้นโพธิ์ (*1)

                     ใจของเราคือกระจกเงาอันใส

                     เราเช็ดมันโดยระมัดระวังทุกๆ ชั่วโมง

                     และไม่ยอมให้ฝุ่นละอองจับ"

...ท่อนที่ 2...

                    "ไม่มีต้นโพธิ์

                    ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด

                    เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว
 
                    ฝุ่นจะลงจับอะไร?"
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
อ้อย17
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,908

« ตอบ #2047 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2554, 11:33:01 »


      พี่สิงห์.........................
     
         ทำไมมันยาววววจัง.....ขอเวลาอ่านหน่อยนะค๊าาาา...............
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #2048 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2554, 14:37:30 »

ได้เข้าไปพยายามปรับแต่งให้ตัวใหญ่ขึ้นด้วยวิธีที่ทำอยู่กับ reply ของผมอันนี้ แต่พระสูตรเว่ยหล่าง ก็ไม่โตขึ้นเลย
สงสัยมีการลงคาถากำกับไว้ที่พระสูตรกระมังครับ
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #2049 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2554, 14:49:05 »

อุปสรรคน่าจะอยู่ตรงที่คำสั่งกำกับรูปแบบตัวอักษรไปงงกับคำสั่ง ให้จัดอยู่กลางหน้า
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
  หน้า: 1 ... 80 81 [82] 83 84 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><