23 พฤศจิกายน 2567, 09:33:34
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 64 65 [66] 67 68 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3555037 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 27 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1625 เมื่อ: 13 มีนาคม 2554, 21:03:27 »

                         คณะเดินทางจากวัดเชตวัน สาวัตถีมาที่เมืองพาราณาสี มาถึงประมาณห้าทุ่มจึงรับประทานอาหารเย็น พี่สิงห์สบายเพราะถือศิลแปด จึงไปอานน้ำนอน หนาวมาก ค้างที่วัดไทยสารนาถ เมืองพาราณาสี
                         เวลาตีห้าคณะออกเดินทางไปชมการอาบน้ำที่แม่น้ำคงคาของชาวฮินดู เพื่อล้างบาปในแม่น้ำคงคา ระหว่างทางแออัด สกปรกมีระเบิดเวลาเต็มไปหมด ต้องหลบให้ดี นักท่องเที่ยวแยะมาก  ได้มีโอกาสลอยกระทงดอกไม้เพื่อสักการะเจ้าแม่คงคา เป็นดอกดาวเหลือง และมีเทียนจุดด้วย  ได้ชมสถานที่เผาศพ ที่ชาวฮินดูปราถนามาตายที่นี่ เพื่อเผาริมแม่น้ำคงคา มีที่เผาศพตามวรรณะ ศพผู้หยิงใช้ผ้าสีขาวพันสามชั้นจึงเผา สพผู้ชายพันผ้าสีเหลืองสามชั้น ศพนักบวช สวยพรหมจรรย์ จะไม่เผาจะใช้วิธีปล่อยให้ศพจมในแม่น้ำคงคา ดังนั้นจะเห็นศพลอยในแม่น้ำคงคา สถานที่เผาศพไฟเผาศพไม่เคยดับเลยมามากกว่าสามพันปีติดต่อกัน มีคฤหาษของหัวหน้าเผาศพเป็นวรรณะจัณฑาล เป็นผู้ดูแลการเผา มีที่พักสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายก่อนตายมากมาย รวมทั้งคฤหาษเศรษฐี กษัตริย์ มากมายมาสร้างไว้สำหรับพักก่อนตาย เมืองพาราณาสีจึงเป็นเมืองเก่าแก่มากและเป็นเมือ.สักดิ์สิทธิ์ ตรงกลางแม่น้ำเป็นเนินทรายใหญ่มากเรียกว่าฝั่งนรก ไม่มีคนอยู่มีแต่นกแร้ง ฝั่งเผาศพเรียกว่าฝั่งสวรรค์
                        เชิญชมภาพ


                                                             












คนฮิดูปราถนาที่จะมาตายที่นี่ และเผาที่นี่ตามวรรณะ เพื่อขึ้นสวรรค์







ชมพระอาทิตย์ขึ้นที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์คงคา เป็นแม่น้ำมีต้นกำเนิดจากภูเขาหิมาลัย หน้าแล้งน้ำจะมากเพราะหิมะละลาย


เปิดประตูดูโฉมหน้าประเทศอินเดีย
 
แต่งโดย ดร.พระมหาไพเราะ  ฐิตสีโล เจ้าอาวาสวัดสระแก้ว องป่าโมก จังหวัดอ่างทอง   
   
                                                   
                                                                  อินเดีย                คือดินแดนถิ่นพระเจ้า
                                                                  อินเดีย                มีหลายเผ่าหลายศาสนา
                                                                  อินเดีย                มีแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ชื่อคงคา
                                                                  อินเดีย                แดนภูผาหิมาลัย
                                                                  อินเดีย                เมืองที่สุดของที่สุด
                                                                  อินเดีย                เป็นเมืองพุทธอันยิ่งใหญ่
                                                                  อินเดีย                มีสาวสวยกว่าประเทศใด
                                                                  อินเดีย                เมืองอาถรรพ์ไปตลอดกาล
                                                                  อินเดีย                เมืองที่สุดแห่งปัญหา
                                                                  อินเดีย                แหล่งเกิดปัญญามหาศาล
                                                                  อินเดีย                บ่อเกิดศรัทธาธาร                                                     
                                                                  อินเดีย                คือสุสาน ตำนานอารยธรรม
      บันทึกการเข้า
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #1626 เมื่อ: 14 มีนาคม 2554, 13:07:43 »

เรื่องที่9 พาพ่อ-แม่ มาสังเวชนียสถาน
ใครพาพ่อ พาแม่มาสักการะสังเวชนียสถาน
เป็นการทำบุญอันยิ่งใหญ่ พอๆกับการได้ปฎิบัติธรรม
ท่านพระครู ปลัด สุวัฒนโพธิคุณ ท่านพูดถึงขณะที่พวกเราสักการะสถานที่ประสูตรณกุสินารา
กล่าวจบท่านให้คนที่พาพ่อแม่มาเข้าไปกราบพ่อหรือแม่ของตนเอง
พวกเราหลายคนที่ได้พบเห็นพากันทราบซึ้งประทับใจไปด้วย
มีคนพาพ่อ พาแม่ไปหลายท่าน
เช่นคุณหมอ ศิลา ทองไล้ พาคุณพ่อไป
และคุณอภิชา  โชติกาจิรสินจากการบินไทยพาคุณแม่ไปด้วย เป็นต้น
สรุปว่าการเดินทางไปสักการะพระพุทธเจ้าครั้งนี้
อายุและสังขารมิได้เป็นอุปสรรคในการเดินทางแต่ประการใดเลย





      บันทึกการเข้า
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #1627 เมื่อ: 14 มีนาคม 2554, 15:20:48 »

เรื่องที่10 แขกมุง
เวลามีเหตุการณ์ผิดปกติมีคนมามุงดูมากๆ
เราเรียกตามภาษาบ้านเราว่า "ไทยมุง"
แต่ที่อินเดีย มีคนพลุกพล่าน แต่ละเมืองไม่ต่ำกว่าสี่-ห้าสิบล้านคน
นั่งรถไปตามถนนเรามักจะไม่ค่อยเห็นฝูงคน
แต่พอมีเหตุการณ์ผิดปกติละก็
เราต้องยอมรับกติกาแขกมุงเลยทีเดียว
ขอยกตัวอย่าง2เรื่อง
เรื่องแรก คืนวันพระจันทร์เต็มดวง(ใกล้เคียงวันมาฆะบูชาของเรา)
พวกฮินดูเขาก็มีพิธีแห่เจ้าแม่ของเขาเหมือนกัน
กล่าวคือพอตกเย็น
พวกชาวบ้านก็นำรูปปั้นพระแม่ธุระคา (ถ้าผิดขอโทษ)มาขึ้นรถแห่ไปตามท้องถนน
เนื่องจากถนนทุกสายมีเพียง2เลนแคบๆ
ดังนั้นเย็นวันนั้นถนนทุกสายรถจึงต้องรอหยุดกันเป็นระยะๆ
เพื่อให้ขบวนแห่ได้เป่าปี่ตีกลองร่ายรำกันบนท้องถนน
แรกๆพอเจอขบวนแรกเราก็ตื่นเต้นชโงกหน้าออกไปดูเพราะเป็นของแปลก
แต่พอเวลาผ่านไปๆยิ่งคึกเข้าๆ
เกือบเที่ยงคืนแล้วรถเรายังวิ่งไปไม่ถึงใหน
หิวก็หิว เหนื่อยก็เหนื่อย ง่วงก็ง่วง
พอมีเสียงประกาศว่า
ขณะนี้เราเริ่มออกนอกเมืองแล้ว
คณะแห่เจ้าแม่คงมีน้อยลง
เท่านั้นแหละเหมือนยกภูเขาออกจากอก
เฮ้อ ...ได้เดินทางต่อถึงจุดหมายเสียที
ทุกคนรำพึงเป็นเสียงเดียวกัน

เรื่องที่สอง กฎหมุ่
ใครเจอกฎหมุ่เมืองอินเดียเข้า เข็ดจนตาย
ตำรวจก็เอาใว้ไม่อยู่
เรื่องของเรื่องคือ
คืนวันที่เราจะเดินทางกลับไปยังเมืองมคธ
พอตกเย็นโพล้เพล้เหมือนเคย
จู่ๆรถก็ติดกันยาวเหยียดไม่ยอมขยับเสียงั้นแหละ
ผ่านไปสองชั่วโมง สามชั่วโมง รถก็ยังจอดนิ่งนับสิบๆกิโล
ไกด์และลูกน้องในรถจึงออกไปสอบถามได้ความว่า
ตรงสี่แยกข้างหน้าห่างจากรถเราประมาณห้าร้อยเมตรมีคนถูกรถชนตาย
และรถคันที่ชนก็ขับหนีไปแล้ว
ชาวบ้านและญาติคนตายจึงมาปิดถนนเพื่อหาคนรับผิดชอบ
ต่อมามีรถตำรวจเดินทางมาไกล่เกลี่ย
เจรจาสักพักก็ถอยทัพกลับไป
เพราะญาติผู้ตายไม่ยอม
ผลที่สุดรถทุกคันก็ต้องดับเครื่องจอดนิ่งทั้งขาไปขากลับ
พระท่านเล่าว่า
วัฒนะธรรมที่นี่เป็นอย่างนี้
เมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น
ห้ามลงจากรถไปเอะอะโวยวาย
มิฉนั้นจะถูกชาวบ้านประชาทันทันที
ดังนั้นเราจึงเห็นรถทุกคันดับเครื่องนั่งรอ นอนรอ จนกว่าเรื่องจะยุติค่อยว่ากัน
คืนนั้นเราจึงต้องนั่งรอในรถจนถึงเที่ยงคืนเศษ
น่าแปลกพอเขาตกลงกันได้
รถเราซึ่งอยู่ตอนต้นๆได้ออกก่อน
ทั้งๆที่รถอัดเข้ามาปิดทั้งสองเลน
แต่พอเขาเจรจากันสำเร็จ
รถของคณะเดินทางทั้งสองคันก็ค่อยๆวิ่งสูจุดหมายปลายทางโดยราบรื่น
มหัศจรรย์อินเดียอีกแล้วครับท่าน
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1628 เมื่อ: 14 มีนาคม 2554, 17:34:44 »

...กุศล...คนชนหนีไปแล้ว...ใครรับผิดชอบล่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1629 เมื่อ: 14 มีนาคม 2554, 17:35:10 »

...แม่น้ำคงคาสวยดีนะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1630 เมื่อ: 14 มีนาคม 2554, 20:34:27 »

อ้างถึง
ข้อความของ too_ploenpit เมื่อ 14 มีนาคม 2554, 17:34:44
...กุศล...คนชนหนีไปแล้ว...ใครรับผิดชอบล่ะ...
                    งานนี้ตายฟรี เพราะคนขับรถหนีไปแล้ว ต้องรอจนกว่าจะครบหกชั่วโมง หลังจากนั้นเขาจะนำศพไปเผา ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1631 เมื่อ: 14 มีนาคม 2554, 20:51:46 »

                          ภายหลังจากล่องเรือในแม่น้ำคงคา คณะกลับมาที่วัดไทยสารนาถเพื่อรับประทานอาหารเช้า หลังจากนั้นได้ไปนมัสการสถานที่แสดงปฐมเทศนา คือสถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา แสดงธรรมจักรกัปวัตนสูตร ให้ปัจวัคคีฟัง และท่านโกณะธัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม แสดงตนขอบวช จึงมีภิกษุเกิดขึ้นที่นี้
                          คณะได้สวดธรรมจักรกัปวัตนสูตร นั่งเจริญสติ วิปัสสนา เวียนเทียนรอบธัมเมกขสถูป สามรอบ
                          เชิญชมภาพ







ธัมเมกขสถูป







ช่องที่เห็นนั้น จะบรรจุพระพุทธรูป มีแปดช่อง เท่ากับ มรรค ๘ ปัจจุบันพระพุทธรุปไม่มี นำไปไว้นพิพิธภัณฑ์หมดแล้วครับ

สารนาถ

พาราณสี สภาพปัจจุบัน
   ลักษณะพื้นที่ของเมืองพาราณสีตั้งคู่ขนานไปกับแม่น้ำคงคา ตัวเมืองใหญ่ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกห่างจากแม่น้ำคงคาไปไม่ไกลนักเป็นศูนย์กลางการคาและแหล่งผ้าไหมอันลือชื่อของแคว้นกาสีในอดีต ชื่อของศูนย์กลางการค้าของเมืองพาราณสี อาทิ โคดาวเลีย ลาหุรปี เจาคัมบา เป็นต้น
   ถนนในตัวเมืองพลุกพล่านไปด้วยรถนานาชนิด ผู้คนเดินกันขวักไขว่และนอกจากนี้ยังมีฝูงสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร สุนัข แพะ แกะ ลา ต่างก็เดินกันไปตามถนนเป็นประหนึ่งว่าตนก็มีสิทธิ์ใช้ถนนเช่นกัน โดยไม่มีการทำร้ายซึ่งกันและกัน เป็นเมืองที่แปลกที่สุดก็ว่าได้
   ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวเมือง เป็นที่ตั้งสถานีรถไฟประจำเมืองพาราณสี นับเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีถึง ๑๐ ชานชาลา สามารถเดินทางไปได้แทบทุกรัฐใน ๒๙ รัฐของอินเดีย อาจกล่าวได้ว่าเป็นศูนย์กลางรถไฟของอินเดีย สำหรับการเดินทางระหว่างเมืองและรัฐในอินเดีย มีผู้อินเดียคนนิยมเดินทางโดยรถไฟเพราะค่อนข้างสะดวกรวดเร็วและราคาถูก จากสถิติปัจจุบันมีรถไฟจำนวน ๖๐ ขบวนต่อวันเข้ามารับส่งผู้โดยสารในเมืองพาราณสี ดังนั้นจึงค่อนข้างสะดวกในการเดนทางจากที่ต่างๆ ของอินเดียไปยังเมืองพาราณสี
   เดินทางไกลออกไปทางชานเมืองข้ามแม่น้ำ “วรณา” หรือ “วรุณะ” ประมาณ ๑๕ กิโลเมตรจะถึงตำบลสารนาถอันเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนานั่นคือ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าของแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) หลังจากที่พระองค์ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณที่พุทธคยา
   ปัจจุบันเมืองพาราณสีมีประชากรประมาณ ๔ ล้านคน สินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ผ้า พรม ผ้าไหม ส่าหรี เมืองพาราณสีเป็นอำเภอหนึ่งใน ๘๕ อำเภอของรัฐอุตตรประทศ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งจากรัฐบาลกาลาง (เดลี) จำนวน ๑ คน และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งจากรัฐบาลท้องถิ่น (รัฐอุตตรประเทศ) จำนวน ๖ คน
   เมืองพาราณสีอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๘๐.๑๘ เมตร ช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิสูงสุด ๔๘ องศาเซลเซียส ต่ำสุด ๓๒.๐๒ องศาเซลเซียส ฤดูหนาวอุณหภูมิสูงสุด ๒๕.๕๐ องศาเซลเซียส ต่ำสุด ๕ องศาเซลเซียส

พาราณสีสมัยพุทธกาล
   กรุงพาราณสี ในสมัยที่เจริญรุ่งเรืองมีอาณาบริเวณกว้างขวางกว่า ๓ โยชน์ มหาโควินทะ เป็นสถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่ของนครแห่งนี้ รายพระนามของกษัตริย์ที่ปกครองกรุงพาราณสี ได้มีปรากฏในชาดกต่างๆ เช่น พระเจ้าอังคะ พระเจ้าอุคคะเสนะ พระเจ้าธนัญชัย พระเจ้าธัตรัฏฐะ พระเจ้าทุปปาสหะ พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าปเสนทิโกศล และกษัตริย์อีก ๑๖ พระองค์ ซึ่งเป็นบุรพกษัตริย์ของพระวงศ์พระเจ้าโอกกากุด้วย
   พาราณสี เป็นชื่อที่เก่าแก่และเป็นชื่อที่เรารู้จักกันมานานตั้งแต่เกิดก็ว่าได้ และก็ยังเป็นชื่อที่ฮิตติดหูเสียด้วยซ้ำไป จะเห็นว่าในพระไตรปิฎก มักจะกล่าวถึงเมืองพาราณสีอยู่เสมอๆ แม้กระทั้งการบำเพ็ญเป็นพระโพธิสัตว์ของพระพุทธองค์ก็ดี ก็มักจะกล่าวถึงเมืองพาราณสีเสียส่วนมาก เพราะฉะนั้นเราอาจกว่าได้ว่า เมืองพาราณสีเท่ากับว่า “เป็นสนามสอบความเป็นพระพุทธเจ้า” ก็ว่าได้

ที่ตั้งเมืองสารนาถ
   สารนาถ ตั้งอยู่ชาญเมืองเมืองพาราณสี  รัฐอุตตรประเทศอยู่ ห่างจากสถานีรถไฟสารนาถ  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ๑๖  กิโลเมตร
   ในสมัยพุทธกาล  สถานที่แห่งนี้เรียกว่า  ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  ซึ่งแปลว่า  ป่าเป็นที่ตกลงแห่งฤาษี  หรือ  ป่าเป็นที่ประชุมแห่งฤาษีอันเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ (กวาง)  ปัจจุบันเรียกว่า  สารนาถ  ซึ่งมาจากคำว่า  สรังค + นาถ  แปลว่า  เจ้าแห่งกวาง  หรือ ที่พึ่งแห่งกวาง คือเป็นเขตอภัยทานแก่สัตว์นั่นเอง

สถานที่แสดงปฐมเทศนา
   หลังจากพระพุทธองค์ทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ  และเสวยวิมุตติสุขอยู่บริเวณพุทธ คยา ตลอด ๗ สัปดาห์แล้ว  จึงทรงดำริว่า  “เราควรจะแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ” ทรงเกิดความคิดว่า  “อาฬารดาบสเป็นบัณฑิต ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน” ทรงสำรวจทบทวนก็ทรงทราบว่าอาฬาร ดาบสสิ้นชีวิตไป  ๗  วันแล้ว  เมื่อทรงระลึกถึงอุททกดาบส  ก็ทรงทราบว่าอุททกดาบสสิ้นชีวิตแล้ว ตอนพลบค่ำ  ก็ทรงนึกถึงปัญจวัคคีย์อีกว่า  “บัดนี้  ปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ”  เมื่อทรงทราบว่าอยู่ที่ป่า        อิสิปตนมฤคทายวัน  กรุงพาราณสี  พระองค์จึงทรงเดินทางจากอุรุเวลาเสนานิคม ถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (๑๘ โยชน์ = ๒๘๘ กม.)  ใช้เวลาเดินทาง ๑๑ วัน เพื่อไปโปรดปัญจวัคคีย์
   ในระหว่างทางทรงพบอาชีวกนักบวชชื่อว่า  อุปกะ  พระพุทธองค์ทรง บอกแก่เขาว่า  พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า แต่อุปกะได้แต่เพียงตะแคงศีรษะแล้วเดินหลีกไป  โดยไม่สนใจฟังธรรมใด ๆ จากพระองค์
   ครั้งถึงวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ  ก็ได้เสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ณ เจาคัณฑีสถูปแล้ว ได้ไปแสดงธรรมที่ธรรมเมกขสถูป ทรงประกาศแก่ปัญจวัคคีย์ว่า  พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าแล้วเสด็จประทับบนพุทธอาสน์ที่พวกปัญจวัคคีย์จัดถวาย  ทรงแสดง “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ทำให้ท่านอัญญาโกญฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรมและขออุปสมบทเป็นพระสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนา ทำให้พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ คือ มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ และเมื่อทรงแสดง “อนัตตลักขณสูตร” ทำให้ปัญจวัคคีย์ทั้งหมดได้ขออุปสมบทแล้วได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
   พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดยสะ บุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีและบิดามารดาภรรยาของยสะ จนทุกคนแสดงตนเป็นพุทธมามะ เป็นอุบาสกอุบาสิกาชุดแรกที่เข้าถึงพระรัตนตรัยโดยเฉพาะ ยสะได้ขออุปสมบท และมีเพื่อนอีก ๕๔ คนตามออกบวชด้วย ทั้งหมดบรรลุอรหันต์ รวมกับปัญจวัคคีย์แล้ว เป็น ๖๐ องค์ เป็นสมณทูตชุดแรกที่พระพุทธองค์ได้ส่งไปประกาศพระศาสนาตามที่ต่าง ๆ ทั่วชมพูทวีป
   ในยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้เสด็จมานมัสการที่สารนาถแล้วได้สร้างถาวรวัตถุไว้มากมายรวมถึงเสาหินด้วย สารนาถเจริญรุ่งเรื่องตลอดมา จนถึงยุคราชวงศ์คุปตะ ท่านมสณะเหี้ยนจังได้เดินทางมาจากประเทศจีนได้บันทึกในจดหมายเหตุว่า มีพระอยู่ประจำ ๑,๕๐๐ รูป มีระสถูปสูงประมาณ ๑๐๐ เมตร มีศิลาจารึกจองพระเจ้าอโศกและถาวรวัตถุมากมาย
   เมื่อสมัยกษัตริย์โมกุล นำกองทัพอิสลามเข้ารุกรานอินเดีย พระพุทธศาสนาถูกทำลายไปด้วย แม้สารนาถก็ถูกเผาทำลายลง จนท่านอนาคาริกธรรมปาละ ชาวศรีลังกา ได้บูรณะขึ้นอีกครั้ง

พุทธสถานและสถานที่สำคัญ
   ๑. เจาคันธีสถูป
   เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงพบกับปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก หลักจากปัญจวัคคีย์หนีมาอยู่  ณ  ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  โดยทิ้งให้พระองค์ทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่แต่ลำพังเพียงพระองค์เดียวที่อุรุเวลาเสนานิคม  บริเวณภูเขาดงคสิริในปัจจุบัน
   เจาคันธีสถูปนี้อยู่ห่างจากป่าอิสิปตนมฤคทายวันประมาณ  ๑  กิโลเมตร เดิมทีพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ประมาณ พ.ศ. ๒๔๐ ต่อมาได้บูรณะในสมัยคุปตะ (Gupta)  สูงประมาณ  ๗๔  ฟุต  ตามประวัติกล่าวไว้ว่า  พระเจ้าอักบาร์ (Akbar)  ได้ซ่อมแซมทำเป็นรูป  ๖  เหลี่ยม  ในปี  พ.ศ. ๒๐๓๑  เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระเจ้าหุมายุน  หรือ พระเจ้าหะมายุน (Hamayun)  ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์เอง  ซึ่งได้ถูก เชอชาห์  ชาวมุสลิมตามล่า  พระองค์ได้เสด็จหนีมาหลบซ่อนอยู่ที่นี่อย่างปลอดภัย
   ๒. ธัมเมกขสถูป
   ธัมเมกขสถูป   เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรง แสดงธรรมกัณฑ์แรก  คือ  ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  เนื้อความในเบื้องต้นนั้น ได้กล่าวถึงการปฏิบัติตนว่า  ไม่ควรยึดความสุดโต่งสองทาง  คือ :-
   ๑. ไม่ควรทำตนให้หมกมุ่นอยู่ในเรื่องของกามคุณใช้ชีวิตสิ้นเปลือง แบบไม่มีประโยชน์อะไร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการติดสุข  หมกมุ่นอยู่ในเรื่องของกามคุณ ๕
   ๒. ไม่ควรทรมานตนเอง  และจริงจังกับสิ่งที่ไม่จีรังจนเกินไป  จนชีวิตได้รับแต่ทุกขเวทนาหาความสุขและความสำเร็จอะไรไม่ได้  เป็นการทำตนให้เหนื่อยหน่ายเปล่าและลำบากเปล่า
   ทั้งสองประการนี้  พระพุทธองค์ต้องการที่จะชี้ให้ปัญจวัคคีย์เห็นว่า  สิ่งที่พระองค์ได้ปฏิบัติมาแล้ว  และไม่ใช่ทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการแสวงหาโมกขธรรม  ซึ่งกลุ่มปัญจวัคคีย์ก็เห็นตามนั้นจริง ๆ
   จากนั้น  พระพุทธองค์ก็ชี้นำทางไปสู่ความสำเร็จให้แก่ปัญจวัคคีย์  คือหลักมัชฌิมาปฏิปทา  ซึ่งแปลว่า  ทางสายกลาง  เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดี ที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้น  เป็นอิสระ  ดับทุกข์  ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในทางสุดโต่งทั้งสองหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  มรรคมีองค์  ๘   ประการ  (Noble  Eightfold  Path)
   ความเป็นมาของธัมเมกสถูป  ตามที่นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ทางศาสนา  ได้วินิจฉัยเอาไว้ว่า  “เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรง  ประทับนั่งแสดงธรรม  และเป็นเครื่องหมายแสดงการเสด็จมาอุบัติของพระพุทธเจ้าในอนาคต  ซึ่งแปลว่า  ที่ตั้งแห่งธรรม  หรือ  มีธรรมเป็นใหญ่”
   เมื่อเดือนมกราคม  พ.ศ. ๒๓๓๗  (ค.ศ.๑๗๙๔)  ได้มีการขุดค้นครั้งล่าสุด  และเริ่มซ่อมแซมเมื่อปี  พ.ศ. ๒๓๕๘  ใช้เวลาในการบูรณะซ่อมแซมถึง  ๕๖  ปี  มีความสูง  ๒๔๓  ฟุต  เส้นผ่าศูนย์กลาง  ๔๗.๕  ฟุต  ส่วนพื้นล่าง ก่อด้วยหินอย่างแข็งแรง  และแกะเป็นรูปสวัสดิกะอยู่โดยรอบ  สูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งทำเป็นช่องรอบองค์สถูปมีทั้งหมด  ๘  ช่อง  แต่ละช่องมีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ  ประดิษฐานไว้  จากจดหมายเหตุของหลวงจีนพระถังซำจั๋ง  ยืนยันว่า  เมื่อท่านเดินทางมาบูชาพระสถูปแห่งนี้  ท่านได้เห็นพระพุทธรูปทองคำประดิษฐานอยู่ทุกช่อง  มีสถูปใหญ่อยู่  ๔  องค์  และมีวิหารอยู่  ๒  หลัง  
   เมื่อปีพุทธศักราช  ๒๓๕๗  พันเอกแมคเคนซี  นักโบราณคดีชาว อังกฤษ  ได้ร่วมมือกับนักโบราณคดีชาวอินเดียหลายคน  ลงมือขุดค้นปูชนียสถานที่สำคัญก่อน  คือสังเวชนียสถานทั้ง  ๔  แห่ง   พันเอกแมคเคนซี  เป็นนักสำรวจคนแรกและได้ทำเครื่องหมายแผนผังเอาไว้ทุกที่  และท่านก็ไม่ปล่อยให้งานการขุดค้นสูญเปล่า  ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช  ๒๓๗๗  ได้มีการขุดสำรวจครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์  โดยการนำของท่าน  เซอร์  อเล็ก ซานเดอร์  คันนิ่งแฮม (Sir Alexander  Cunningham)  นักโบราณคดีชาว อังกฤษคนสำคัญเป็นหัวหน้า
   ๓. ธัมมราชิกสถูป
   ธัมมราชิกสถูป  เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร  โปรดปัญจวัคคีย์  มีลักษณะเป็นสถูปสร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช ควบคู่กับเสาศิลาหัวสิงห์ที่เด่นสง่างามที่สุดก็ว่าได้ ซึ่งรัฐบาลอินเดียใช้ตราหัวสิงห์นี้แหละเป็นตราเงินสกุลรูปีในประเทศ ส่วนเครื่องหมายสัญลักษณ์ ตราธรรมจักรที่อยู่บนหัวสิงห์นั้น  ได้ใช้เป็นตราราชการของแผ่นดิน
   พระสถูปองค์นี้มีความเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบได้ในบริเวณนี้  ลักษณะเดิมนั้นเป็นทรงบาตรคว่ำ  เหมือนธัมเมกขสถูปที่เห็นในปัจจุบัน สร้างด้วยอิฐล็อกแดง  เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  แต่น่าเสียดายว่า ปัจจุบันนี้เหลืออยู่เพียงแค่ฐานเท่านั้นเอง  ทั้งนี้เนื่องมาจากว่า  เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๗  ชาคัด  สิงห์  มหาอำมาตย์ของมหาราชเชตสิงห์  ผู้ครองนครพาราณสี  ต้องการอิฐก้อนใหญ่ ๆ  ไปก่อสร้างเมือง  จึงทำลายองค์สถูปใหญ่นี้ ในขณะนั้นได้พบพระบรมสารีริกธาตุ และได้นำไปลอย ในแม่น้ำคงคาด้วยความ ปรารถนาดีแท้ ๆ  เพราะเกรงว่าพระพุทธเจ้าจะไม่ได้ขึ้นสวรรค์  อันเป็นความเชื่อของผู้นับถือศาสนาฮินดูด้วยคิดว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่ซึ่งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา จึงได้นำพระบรมสารีริกธาตุนั้นไปลอยลงแม่น้ำคงคา  ทำให้ข่าวนี้ เลื่องลือไปทั่วทุกหัวเมือง  และได้นำความเศร้าสลดใจมาสู่พุทธศาสนิกชน เป็นอย่างมาก
   ๔. เสาหินพระเจ้าอโศก
   พระเจ้าอโศกมหาราชเสด็จยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เพื่อกราบสักการบูชาสถานที่ที่มีความ สำคัญต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  และได้ปักเสาศิลาจารึกไว้สูงประมาณ  ๗๐  ฟุต  เสาศิลามีลักษณะเป็นมันเลื่อม และเรียบ  มีรัศมีต้องตาต้องใจเมื่อได้พบเห็นเสาศิลาอันเป็นเครื่องหมายที่ สำคัญยิ่งนี้  เป็นการยืนยันว่า  สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ที่พระตถาคตเจ้า ยังวงล้อแห่งพระธรรมให้หมุนไปนั่นเอง  ที่หลักศิลามีการจารึกข้อความเป็น อักษรพราหมี  สิ่งที่สำคัญที่สุดบนยอดเสาศิลา  คือ  หัวสิงห์  ซึ่งปัจจุบันได้นำไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ประจำเมืองสารนาถแล้ว และยังอยู่ในสภาพที่ดีมาก  มีรูปสิงโตแกะสลัก ๔  ตัว นั่งหันหลังชนกัน  สภาพเดิมนั้น มีรูป ธรรมจักรอยู่บน หัวสิงห์  แต่น่าเสียดายว่า  รูปธรรมจักรหักหล่นหาเศษได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น  ไม่สามารถประกอบเข้าเป็นรูปธรรมจักรอย่างเดิมได้  ก็คงเห็นแต่เบื้องล่างของสิงโตทั้ง ๔  ตัวเท่านั้น  ที่ยังมีรูปธรรมจักรอยู่ครบทั้ง ๔  ด้าน  ซึ่งเป็นรูปกงล้อ ๆ  ละ  ๒๔  ซี่  เท่ากับจำนวนปฏิจจสมุปบาท  (เกิด - ดับ)
   ในระหว่างรูปธรรมจักรทั้ง  ๔  มีรูปสัตว์  ๔  ชนิด  คือ  ช้าง  โค  ม้า  สิงโต  หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราชกลับคืนมาจากอังกฤษแล้ว  ได้ใช้ตรา ธรรมจักรนี้เป็นตราแผ่นดิน
   ๕.  พิพิธภัณฑ์สารนาถ
   พิพิธภัณฑ์สารนาถเป็นที่รวบรวมเก็บรักษาพระพุทธรูป วัตถุโบราณที่ขุดได้ในบริเวณสารนาถเมื่อคริสตศักราช ๑๙๐๔ มีศิลปะหลาย ๆ ยุค เริ่มจากยุคเมารยัน กุษาณ คุปตะและอื่นๆ ที่มีความสำคัญกับพระพุทธศาสนา คือ
   ๑. พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา
   พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา เป็นศิลปะยุคคุปตะที่สง่างามที่สุด พระพักตร์แย้ม พระหัตถ์อยู่ในท่าแสดงธรรม ในแวดวงพุทธศิลป์ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามที่สุด สร้างโดย พระนางกุมารเทวี พระชายาของพระเจ้าโควินทจันทา กษัตริย์ผู้ครองนครกาโนช (เมืองลักเนาว์ ในปัจจุบัน) ประมาณปี พ.ศ. ๘๕๐-๑๑๕๐ สมัยราชวงศ์คุปตะ
   ๒. ยอดเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช
   ยอดเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งมีสิงโต ๔ เศียรหันหลังชนกัน ใต้สิงโตมีรูปธรรมจักร และสัตว์ ๔ ตัว คือ ช้าง โค ม้า และสิงโต อันหมายถึงเหตุการณ์ตามพุทธประวัติ
   ๖.  มูลคัณธกุฎีวิหาร (ใหม่)
   ผู้ก่อสร้างคือ ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ ชาวศรีลังกา ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย สร้างแบบของพระเจดีย์พุทธคยา สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ สิ่งที่สำคัญในวิหาร คือ พระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งขุดได้ที่เมืองตักสิลา โดยรัฐบาลอังกฤษ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังโดยจิตรกรชาวญี่ปุ่น ชื่อโกเชตสุโนสุ ใช้เวลาวาด  ๓  ปี
   ๗.  เมืองพาราณสี
   เมืองพาราณสี  เป็นเมืองเก่าแก่  ในอดีตเป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี คำว่า  พาราณสี  มาจากคำว่า  วรณา  และ  อสี  ซึ่งเป็นชื่อของแม่น้ำ  เพราะ เมืองพาราณสีตั้งอยู่ระหว่างของแม่น้ำสองสายนี้
   เมืองพาราณสี  เป็นศูนย์กลางของศาสนาฮินดู  อีกทั้งแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของฮินดู  คือ  แม่น้ำคงคา  ซึ่งมีความยาวเป็นอันดับสองของ แม่น้ำในประเทศอินเดีย  มีความยาว  ๒,๕๑๐  กิโลเมตร  รองจากแม่น้ำ พรหมบุตร  ที่มีความยาวถึง  ๕,๙๐๐  กิโลเมตร  ชาวฮินดูมีความเชื่ออย่างมั่นคงว่า  แม่น้ำคงคาสามารถชำระล้างบาปได้
   แม่น้ำคงคานี้มีท่าที่ใช้สำหรับเผาศพทั้งหมด  ๘๔  ท่า  แต่ท่าน้ำที่ ผู้คนนิยมใช้มากที่สุดมี  ๕  ท่าน้ำ  คือ  ท่าอัสสี  ท่าทสอัศวเมธ  ท่าบาร์นะสังคม  ท่าปัญจคงคา  และท่ามณิกรรณิการ์  ในแต่ละวันจะมีการเผาศพ  ไม่น้อยกว่า  ๗๐  ศพ  โดยมีผู้กล่าวว่าไฟที่เผาศพบริเวณริมฝั่งคงคายังไม่เคยดับเลยเป็น เวลาไม่ต่ำกว่า  ๓,๐๐๐  ปีมาแล้ว
   ๘. มหาวิทยาลัยพาราณสี
   เป็นมหาวิทยาลัยที่มีพื้นที่ กว้างใหญ่ประมาณ  ๒,๐๐๐  เอเคอร์  ผู้ก่อตั้งคือบัณฑิต  มะดัน โมหัน  มาลทวิยะ  กับสตรีชาวไอริช  โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ  อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมอินเดียเปิดการสอนในปี  ค.ศ. ๑๙๐๔  มีสาขาวิชาที่เรียนมากกว่า  ๔๒  วิชา  ในแต่ละปี  มีพระภิกษุและนักเรียนไทยมาศึกษา อยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นจำนวนมาก โดยมีหอเสนเป็นที่พัก


      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1632 เมื่อ: 15 มีนาคม 2554, 14:00:05 »

...เข้ามาชมภาพต่อค่ะ...
...ขอบคุณค่ะ...พี่สิงห์และดร.กุศล...ได้รับความรู้มากมายค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1633 เมื่อ: 15 มีนาคม 2554, 14:59:34 »

สวัสดีค่ะ พี่สิงห์ กุศล เข้ามาชมรูปและเรื่องต่อค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1634 เมื่อ: 15 มีนาคม 2554, 16:12:45 »

                         ภายหลังจากเวียนเทียนรอบธัมเมกขสถูปเสร็จ คณะเดินชมบริเวณสารนาถ ชมสถานที่พระพุทธเจ้าทรงพบกับยสกุมาร ซึ่งยสกุมาร นี้เป็นพระภิกษุองค์ที่ ๖ ต่อจากปัญจวัคคี และพ่อ-แม่ ของยสกุมาร เป็นอุบาสก-อุบาสิกา คู่แรกภายหลัง มีพระพุทธ  พระธรรม พระสงฆ์ ครบ
                         เชิญชมภาพ



ธัมมราชิกสถูป (ภาพล่าง เหลือแต่ฐาน เพราะถูกรื้อถอนเพื่อเอาอิฐเก่าแก่เนื้อละเอียดไปสร้างปราสาท)

















นี่คือสถานที่พระพุทธเจ้า ทรงพบ ยสกุมาร





เสาอโศก



ผู้ถึงพระรัตนตรัยคู่แรก และภิกาษุ องค์ที่ ๖ ไม่รวมพระพุทธเจ้า พระยสกุมาร

                  บิดามารดาของยสกุมาร บิดาของยสกุมารชื่อเรียงเสียงใดไม่แจ้ง บอกแต่ว่าเป็นเศรษฐีเมืองพาราณสี ส่วนมารดาของยสกุมารนั้น แม้พระไตรปิฎกจะไม่เอ่ยนาม แต่อรรถกถาก็โยงว่าคือ นางสุชาดา ผู้ถวายข้าวมุปายาสแด่พระบรมโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้นั้นแล
                  เมื่อ ยสกุมาร ผู้บุตร เกิดเบื่อหน่ายในเพศฆราวาส มองเห็นแต่ความทุกข์ที่รุมเร้าจิตใจ จึงตัดสินใจหนีออกจากบ้านกลางดึก หลังจากตื่นขึ้นมาเห็นภาพอันน่าสังเวชของเหล่านางรำที่นอนหลับใหล แสดง “ทัศนะอุจาด” ต่างๆ เช่น บางนางก็นอนกรนเสียงดัง น้ำลายไหลจากปาก บางนางก็กัดฟัน ละเมอฟังไม่ได้ศัพท์ บางนางผ้าผ่อนหลุดลุ่ยเปิดอวัยวะที่ควรปิด เป็นต้น
                  ถ้าสมัยที่ยสกุมารยังสนุกอยู่กับความสุขทางกาม ก็คงเห็นภาพเหล่าน่าดูน่าชมดุจน้องนัทน้องแนทอะไรนั้น แต่บังเอิญว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ยสกุมารเอือมกับความสุขทางเนื้อหนังมังสาเสียแล้ว ภาพเหล่านี้จึงปรากฏต่อเธอดุจซากศพในป่าช้าปานนั้น จึงเดินลงเรือนไป พลางเปล่งอุทานด้วยความสลดใจว่า “อุปทฺทูตํ วต โภ อุปสฏฺฐํ” สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแปลว่า “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” ถ้าจะแปลให้ถึงใจก็ต้องว่า “วุ่นวายจริงโว้ย กลุ้มจริงโว้ย” ประมาณนั้น
                  เขาเดินบ่นไปจนถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ขณะพระพุทธองค์เสด็จจงกรมอยู่ พระองค์ตรัสตอบว่า “ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มานี่สิ ยสะ เราจะแสดงธรรมให้ฟัง” เขาจึงเข้าไปกราบพระบาท สดับพระธรรมเทศนาจนกระทั่งได้ดวงตาเห็นธรรม แล้วทูลขอบวชเป็นพระภิกษุ
                  บิดามารดาของยสกุมารตามหาบุตรมายังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พบพระพุทธองค์ ได้ฟังพระธรรมเทศนา ขณะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแก่บิดามารดาของตนนั้น พระยสะ นั่งอยู่ ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ โดยต่างฝ่ายต่างก็มองไม่เห็นกัน ด้วยการบันดาลฤทธิ์ของพระพุทธองค์ เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง พระยสะได้บรรลุพระอรหันต์ บิดามารดาได้ดวงตาเห็นธรรม ทั้งสองได้เปล่งวาจาถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต นับเป็นอุบาสกอุบาสิกาคู่แรกที่ถึงพระรัตนตรัย
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1635 เมื่อ: 15 มีนาคม 2554, 16:44:34 »

                         คณะได้ไปสวดมนต์ที่มูลคันธกุฏี ที่สถูป และที่พระพุทธเจ้าทรงพบยสกุมาร หลังจากนั้นได้ไปชมพิพิธภัณฑ์ ซึ่งห้ามถ่ายภาพ มีพระพุทธรูปเก่าแก่ สวยงาม ที่ค้นพบที่ธัมเมกขสถูป เอามาไว้ที่นี่ ผมไม่มีภาพให้ชมครับ หลังจากนั้นไปที่เจาวคานธีสถูป สถานที่พระพุทธเจ้าทรงพบเบญจวัคคีย์
                         เชิญชมภาพ และรับการบรรยายโดย ดร.กุศล  ต่อ ครับ







มูลคันธกุฎี









นี่คือ เจาวคานธีสถูป สถานที่พรัพุทธเจ้าทรงพบเบญจวัคคีย์


บทนำ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

อนุตตะรัง อภิสัมโพธิง สัมพุชฌิตวา ตะถาคะโต
ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง
สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
ยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฎิปัตติ จะ มัชฌิมา
จะตูสวาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง
เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง
นาเมนะ วิสสุตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง
เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะณามะ เส ฯ

พระตถาคต คือ พระพุทธเจ้า ครั้นได้ตรัสรู้ธรรม ได้แก่ อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นธรรมอันสูงสุด ไม่มีธรรมใดที่สูงไปกว่า ได้ทรงแสดงให้เห็นเป็นจักร คือ วงล้อ ประกอบด้วยซี่ 8 ซี่ คือธรรมอันเป็ฯทางสายกลาง 8 ประการ ซึ่งเป็นทางที่หลีกเว้นการปฏิบัติตนแบบสุดโต่ง 2 คือ หมกหมุ่นในกามคุณ และ ทรมานตนด้วยวิธีการต่างๆ เป็นข้อ ปฏิบัติเป็นกลาง ให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ให้บริสุทธิ์จากกิเลส, พวกเราทั้งหลาย จงร่วมกันสวดพระธรรมจักรนั้น ที่พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นธรรมราช ทรงแสดงไว้แล้ว มีชื่อปรากฏว่ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นพระสูตรที่ประกาศให้ทราบถึงการที่พระองค์ ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งพระสงฆ์ผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้ทั้งหลาย ได้ร้อยกรองไว้โดยทำเป็นบทสวดมนต์ที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ เทอญฯ


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ
ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์) ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสีในเวลานั้น พระองค์ได้ตรัสเตือนพระภิกษุเบญจวัคคีย์ว่า

เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ออกบวชแสวงหาความหลุดพ้น ไม่ควรปฎิบัติตน 2 ประการ คือ (1) การแสวงหาความสุขทางกามคุณ แบบสุดโต่ง ซึ่งทำให้จิตใจต่ำทราม เป็นเรื่องของชาวบ้านที่มีความใคร่ เป็นเรื่องของคนมีกิเลสหนาไม่ใช่เป็นสิ่งประเสริฐ คือ มีแต่จะก่อให้เกิดข้าศึกคือกิเลส ไม่มีสาระประโยชน์อันใด (2) การปฏิบัติตนแบบก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน เป็นสภาวะที่ทนได้ยาก ไม่ใช่สิ่งประเสริฐ คือ มีแต่จะก่อให้เกิดข้าศึก คือ กิเลสไม่มีสาระประโยชน์อันใด ฯ

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ
กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถา คะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะ มายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
ภิกษุทั้งหลาย หลักปฏิบัติอันเป็น ทางสายกลาง หลีกเลี่ยงจากการปฏิบัติแบบสุดโต่ง ซึ่งเราตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยวดยิ่ง เห็นได้ด้วยตาใน รู้ด้วยญาณภายใน เป็นไปเพื่อความสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้อย่างทั่วถึง เพื่อความดับกิเลสและกองทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ (1) ความเห็นชอบ (2) ความดำริชอบ (3) วาจาชอบ (4) การงานชอบ (5) เลี้ยงชีวิตชอบ (6) ความเพียรชอบ (7) ความระลึกชอบ (Cool ความตั้งจิตชอบ
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะ เตนะ อะภิ สัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ คือ ความจริงที่ช่วยมนุษย์ให้เป็นผู้ประเสริฐเกี่ยวกับการพิจารณาเห็นทุกข์ เป็นอย่างนี้ คือ การเข้าใจว่า "เกิด แก่ เจ็บ ตาย" ล้วนแต่ เป็นทุกข์ แม้แต่ความโศรกเศร้าเสียใจ ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ทั้งความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ พลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปราถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ การยึดมั่นแบบฝังใจ ว่า เบญจขันธ์ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ว่าเป็น อัตตา เป็นตัวเรา เป็นเหตุทำให้เกิดความทุกข์แท้จริง

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ
ภิกษุทั้งหลาย เหตุทำให้เกิดความทุกข์ (สมุหทัย) มีอย่างนี้ คือ ความอยากเกินควร ที่เรียกว่า ทะยานอยาก ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด เป็นไปด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มัวเพลิดเพลินอย่างหลงระเริงในสิ่งที่ก่อให้เกิดความกำหนัดรักใคร่นั้นๆ ได้แก่
(1) ความทะยานอยากในสิ่งที่ก่อให้เกิดความใคร่
(2) ความทะยานอยากในความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่
(3) ความทะยานอยากในความที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่อยากเป็๋น เช่น ไม่อยากจะเป็นคนไร้เกียรติ ไร้ยศ เป็นต้น อยากจะดับสูญไปเลย ถ้าไม่ได้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจังฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะ นิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
ภิกษุทั้งหลาย นิโรธ คือ ความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ ดับความกำหนัดอย่างสิ้นเชิง มิให้ตัณหาเหลือยู่ สละตัณหา ปล่อยวางตัณหาข้ามพ้นจากตัณหา ไม่มีเยื่อใยในตัณหา

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะ สัจจัง ฯ
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมา อาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ (1) ความเห็นชอบ (2) ความดำริชอบ (3) วาจาชอบ (4) การงานชอบ (5) เลี้ยงชีวิตชอบ (6) ความเพียรชอบ (7) ความระลึกชอบ (Cool ความตั้งจิตมั่นชอบ

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้ เป็นทุกขอริยสัจจ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลายที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็นทุกขอริยสัจ เราได้กำหนดรู้แล้ว

อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็นทุกสมุทัยอริยสัจ เป็นสิ่งที่ควรละ ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็นทุกขสมุทัยอริยสัจเราละได้แล้ว

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิ ฯ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ
ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็น ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่าเป็น ทุกขนิโรธอริยสัจ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว

อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่าเป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดการหยั่งรู้ การเห็นตามความเป็นจริง ว่าอริยสัจ 4 มี 3 รอบ มีอาการ 12 (ได้แก่ 1. หยั่งรู้อริยสัจ แต่ละอย่างตามความเป็นจริง 2. หยั่งรู้กิจของอริยสัจ 3. หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้ว ในอริยสัจ) ยังไม่หมดจดเพียงใด

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะ พราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง ไม่มีใครจะเทียบได้ ไม่ว่าจะเป็นเทวดา มาร พรหม แม้มวลมนุษย์ ทั้งที่เป็นสมณะเป็นพราหมณ์ ก็เทียบเท่ามิได้เพียงนั้น

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดการหยั่งรู้ การเห็นตามความเป็นจริงดังกล่าวมาหมดจดดีแล้ว เมื่อนั้นเราได้ยืนยันตนเป็นผู้ตรัสรู้ชอบดังกล่าวแล้ว เช่นนั้น

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิปุ นัพภะโวติ ฯ
การหยั่งรู้ การเห็นตามความเป็นจริงได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า ความหลุดพ้นของเราไม่มีการกลับกำเริบอีกแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแล้ว ไม่ต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดอีก

อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
ครั้นพระพุทธองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณได้แสดงธรรมโดยปริยายดังกล่าวมา เหล่าภิกษูเบญจวัคคีย์ ก็ได้มีใจยินดีเพลินในการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า

อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ ภัญญะมาเน อายัส มะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ
ก็แล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธรรมอย่างแจ่มแจ้งอย่างมีหลัก ท่านโกณทัญญะ ผู้ทรงไว้ซึ่งอาวุโส ได้เกิดธรรมจักษุ คือ ได้รู้แจ้งเห็นจริงซึ่งพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง กำจัดธุลี กำจัดมลทินเสียได้ มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่ สิ่งใดเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา เพราะสิ้นเหตุปัจจัย

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิวา โลกัสมินติ ฯ
ครั้นพระพุทธองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ได้แสดงธรรมจักร คือ หมุนวงล้อแห่งธรรมที่ประกอบด้วย 8 ซี่ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เหล่าภุมเทวดา ก็เปล่งเสียงสาธุการบันลือลั่นว่า วงล้อแห่งธรรม ไม่มีวงล้ออื่นใดจะหมุนสู้ได้ ได้รับการหมุนไปโดยพระพุทธเจ้า ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งไม่มีใครทำได้มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พรัหมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปะริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พรัหมะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
มะหาพรัหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ มะหาพรัหมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
สุภะกิณหะกา เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุงฯ สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิ วัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ
เหล่าเทพเจ้าชั้นจาตุมมหาราชิกา ครั้นได้ยินเสียงเหล่าเทพภุมเทวดาต่างก็ส่งเสียงสาธุการ บันลือลั่นสืบต่อไปจนถึงเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามะ ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี จนกระทั่งถึงชั้นพรหม ตั้งแต่พรหมปาริสัชชา พรหมปโรหิตา มหาพรหม ปริตตาภาพรหม อัปมาณาภา
พรหม อาภัสสราพรหม ปริตตสุภาพรหม อัปปมาณสุภาพรหม สุภกิณหกาพรหม เวหัปผลาพรหม อวิหาพรหม อตัปปาพรหม สุทัสสาพรหม สุทัสสีพรหม จนกระทั่งถึงอกนิฎฐกาพรหมเป็นที่สุด ก็ส่งเสียงสาธุการบันลือลั่น เพียงครู่เดียว เสียงได้บันลือไปทั่วพรหมโลก

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ อะยันจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ
สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
ทั้งหมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหว สะเทือนสะท้าน เสียงดังสนั่นลั่นไป ทั้งแสงสว่างอันหาประมาณมิได้ ได้ปรากฏขึ้นในโลก เหนือกว่าอานุภาพของเหล่าพรหม

อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ อิติหิทัง อายัสมะโต
โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ได้ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย" เพราะเหตุนี้ ท่านโกณฑัญญะจึงได้นามว่าอัญญาโกณฑัญญะ
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1636 เมื่อ: 16 มีนาคม 2554, 09:48:45 »

...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์...เข้ามาชมรูปต่อค่ะ...
...ร่องรอยของสถานที่ต่างๆ...หลงเหลืออยู่นิดหน่อยเองนะคะ...น่าเสียดายค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #1637 เมื่อ: 16 มีนาคม 2554, 11:29:46 »

ถ้าได้ชมสถานที่จริง อลังการครับพี่ตู่
เพราะแต่ละสถานที่ ยิ่งใหญ่เท่ากับเมืองๆหนึ่ง
การชมจากภาพดูเหมือนน้อยนิด
แต่ที่เราเสียเวลาเดินทางเกือบ10วันเต็ม
แต่ละสถานที่บางวันใช้เวลานั่งรถเกือบ12ชั่วโมง
แต่พอลงจากรถ ได้เห็นของจริง
ได้ฟังคำบรรยายจากผู้รู้
และที่สำคัญได้สัมผัสบรรยากาศจากสถานที่จริง
ทุกคนหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง
ไม่ได้ยินเสียงคนบ่นสักคำ
ว่าเสียเวลา หรือเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทาง
โดยเฉพาะคนแก่ๆ บางคนเคยมาแล้ว 2-3ครั้ง
แต่เขาก็ยังอยากมาอีก
แม้แต่ตัวกุศลเองก็รู้สึกเช่นนั้น
ผมเคยไปประเทศที่เจริญทางวัตถุมาหลายประเทศ
พอไปซ้ำก็งั้นๆ ไม่มีอะไรตื่นเต้นอีกแล้ว
แต่ไปแดนพุทธภูมิ ยิ่งไปยิ่งอยากครับ
อยากทราบความเห็นท่านอื่นๆบ้างครับ สวัสดี

      บันทึกการเข้า
มีนา
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2515
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 1,865

« ตอบ #1638 เมื่อ: 16 มีนาคม 2554, 13:16:20 »

.....สวัสดีค่ะทุกคน ตามอ่านตามดูเหมือนกัน
.....ยังไม่ได้เห็นอินเดียกับตาตัวเอง เห็นแต่ในสารคดีมีเรื่องน่าสนใจมากกกจริงๆ
เคยคุยกับเพื่อนๆที่ไปมาแล้ว บอกเดิมไม่มีความคิดอยากไปอินเดียแต่ไปมาแล้วอยากไปอีก
เล่าไม่ถูก ให้ไปดูกับตาตัวเอง
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1639 เมื่อ: 16 มีนาคม 2554, 13:31:45 »

...ถ้าได้ไปจะแต่งส่าหรีใส่ตุ้มหูกำไลเยอะๆบ้าง...หุ่นให้อยู่แล้ว...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1640 เมื่อ: 16 มีนาคม 2554, 13:35:53 »

อ้างถึง
ข้อความของ KUSON เมื่อ 16 มีนาคม 2554, 11:29:46
ถ้าได้ชมสถานที่จริง อลังการครับพี่ตู่
เพราะแต่ละสถานที่ ยิ่งใหญ่เท่ากับเมืองๆหนึ่ง
การชมจากภาพดูเหมือนน้อยนิด
แต่ที่เราเสียเวลาเดินทางเกือบ10วันเต็ม
แต่ละสถานที่บางวันใช้เวลานั่งรถเกือบ12ชั่วโมง
แต่พอลงจากรถ ได้เห็นของจริง
ได้ฟังคำบรรยายจากผู้รู้
และที่สำคัญได้สัมผัสบรรยากาศจากสถานที่จริง
ทุกคนหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง
ไม่ได้ยินเสียงคนบ่นสักคำ
ว่าเสียเวลา หรือเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทาง
โดยเฉพาะคนแก่ๆ บางคนเคยมาแล้ว 2-3ครั้ง
แต่เขาก็ยังอยากมาอีก
แม้แต่ตัวกุศลเองก็รู้สึกเช่นนั้น
ผมเคยไปประเทศที่เจริญทางวัตถุมาหลายประเทศ
พอไปซ้ำก็งั้นๆ ไม่มีอะไรตื่นเต้นอีกแล้ว
แต่ไปแดนพุทธภูมิ ยิ่งไปยิ่งอยากครับ
อยากทราบความเห็นท่านอื่นๆบ้างครับ สวัสดี



...กุศล...ถ้าพี่ตู่ได้ไปจริงๆ...พี่คงร้องไห้...ขนาดอ่านประวัติของพระพุทธเจ้า...บางทีพี่ยังอยากบวชเลย...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1641 เมื่อ: 17 มีนาคม 2554, 06:56:26 »

สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน ที่ติดตามการจาริกแสวงบุญพุทธสถาน ๔ แห่ง
                           ขณะนี้พี่สิงห์ อยู่สนามบินดอนเมืองกำลังนั่งคอยเวลาออก เพื่อที่จะไปนครศรีธรรมราช เช้านี้ Boarding 08:00 น.
                           เมื่อวันพุธทั้งวัน พี่สิงห์ต้องไปทำหน้าที่โฆษก ในการจัดการแข่งขันกอล์ฟสร้างความสำพันธ์ระหว่างลูกค้า ผู้ร่วมค้าทางธุรกิจ และ PSTC จัดขึ้นที่สนามกอล์ฟอยุธยากอลืฟคลับ กลับถึงบ้านสี่ทุ่ม เช้าตื่นตีห้ามานั่งเจริญสติเสร็จก็มาสนามบินเลย
                           สำหรับท่านที่มีความต้องการจะไปจาริกแสวงบุญที่อินเดีย เดือนมาฆะบูชา 2555 ขอให้รีบเก็บเงินหยอดใส่กระปุ๊ก และแจ้งความจำนงค์มา เพราะปีหน้าพี่สิงห์จะไปอีกเพราะยังสามารถไปได้ และได้ทำการจองบอก ดร.พระมหา สุเทพ  เอาไว้แล้ว และจะไปแคสเมียร์เดือนเมษายน 2555 ด้วย จะได้ไม่มีอะไรค้างคาใจ
                           สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1642 เมื่อ: 17 มีนาคม 2554, 10:37:31 »

                          วันอังคารที่ 29 มีนาคม 2554 พี่สิงห์มีประชุมตอน 18:00-20:00 น. เพื่อสรุปเรื่องการจัดการแข่งขันกอล์ฟ วิศวฯ รุ่น 54(2513) ดังนั้น ช่วงเช้าว่าง สามารถไปงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ดร.กุศล  ได้  ได้คุญกับคุณดิเรก PSTC แล้ว ว่าติดประชุมจัดกอล์ฟ จึงเลื่อนนัดกันไปปากช่อง ครั้งต่อไปไม่มีกำหนด
                           ขอแจ้งให้ ดร.กุศล ทราบ
                           ลงเครื่องบินที่นคร อากาศร้อน แดดจ้า ซึ่งแตกต่างจากกรุงเทพฯตรงข้ามเลย เพราะเมื่อเช้าหนาว จนต้องใส่เสื้อ Jacket แต่ขณะนี้เวลา 10:38 น. ฝนตก และแสงแดดสลัวๆ ครับ
                           ที่สนามบินดอนเมืองได้เจอกับ คุณรุ่งศักดิ์   บุญชู  เดินทางไปนครศรีธรรมราชเหมือนกันเพื่อไปดูทำเลสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็กจากวัสดุเหลือใช้ที่ทุ่งสง  เลยมีโอกาสได้คุยกันก่อนเครื่องบินขึ้น
                           สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1643 เมื่อ: 17 มีนาคม 2554, 10:37:55 »

สวัสดี ตอนเช้าที่อากาศดีมากๆค่ะ พี่สิงห์
 จะกลับไปอินเดียอีกแล้วหรือคะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1644 เมื่อ: 17 มีนาคม 2554, 11:12:20 »

อ้างถึง
ข้อความของ เอมอร 2515 เมื่อ 17 มีนาคม 2554, 10:37:55
สวัสดี ตอนเช้าที่อากาศดีมากๆค่ะ พี่สิงห์
 จะกลับไปอินเดียอีกแล้วหรือคะ


สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                   พี่สิงห์วางแผนไว้ปีหน้า ครับถ้าไม่มีกิจอย่างอื่นพึงกระทำที่สำคัญกว่า ก็จะไปอีกครั้ง และก็อยากเชิญพวกเราไปพร้อมกัน ถ้าตั้งใจจะไปสักครั้งหนึ่ง จะได้มีเพื่อนคุย ช่วยเหลือกันได้ ดีกว่าไปกับผู้ที่ไม่รู้จัก ครับ
                    ดังนั้นใครอยากไปด้วยก็ต้องเตรียมตัว วางแผนแล้วครับ ทัวร์ของ ดร.พระมหาสุเทพ คนจองแยะเต็มเร็วมากครับ ถ้ามัวชักช้าก็ไม่ได้ไปครับ
                    เธอเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อเช้าคุยกับคุณรุ่งศักดิ์  บุญชู เขาบอกพี่สิงห์ว่า กระดูกเธอติดแล้ว พี่สิงห์ก็ดีใจด้วย แต่ขอให้ค่อยเป็ยค่อยไป อย่าไปฝืนเร็วนัก เราต้องดูกายของเราให้เป็น ให้พอเหมาะพอควร ตามธรรมขชาติที่เป็นจริง ไปเร่ง คืออยากเดินได้เร็วๆ กายเราไม่พร้อม เป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ อย่าทำตามความอยากขอเรา ขอให้ดูกายของเราให้ออกใช้ "ปัญญา" พิจารณาครับ
                    ดีใจด้วยค่ะ
                    สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1645 เมื่อ: 17 มีนาคม 2554, 11:16:10 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 17 มีนาคม 2554, 11:12:20
อ้างถึง
ข้อความของ เอมอร 2515 เมื่อ 17 มีนาคม 2554, 10:37:55
สวัสดี ตอนเช้าที่อากาศดีมากๆค่ะ พี่สิงห์
 จะกลับไปอินเดียอีกแล้วหรือคะ


สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                   พี่สิงห์วางแผนไว้ปีหน้า ครับถ้าไม่มีกิจอย่างอื่นพึงกระทำที่สำคัญกว่า ก็จะไปอีกครั้ง และก็อยากเชิญพวกเราไปพร้อมกัน ถ้าตั้งใจจะไปสักครั้งหนึ่ง จะได้มีเพื่อนคุย ช่วยเหลือกันได้ ดีกว่าไปกับผู้ที่ไม่รู้จัก ครับ
                    ดังนั้นใครอยากไปด้วยก็ต้องเตรียมตัว วางแผนแล้วครับ ทัวร์ของ ดร.พระมหาสุเทพ คนจองแยะเต็มเร็วมากครับ ถ้ามัวชักช้าก็ไม่ได้ไปครับ
                    เธอเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อเช้าคุยกับคุณรุ่งศักดิ์  บุญชู เขาบอกพี่สิงห์ว่า กระดูกเธอติดแล้ว พี่สิงห์ก็ดีใจด้วย แต่ขอให้ค่อยเป็ยค่อยไป อย่าไปฝืนเร็วนัก เราต้องดูกายของเราให้เป็น ให้พอเหมาะพอควร ตามธรรมขชาติที่เป็นจริง ไปเร่ง คืออยากเดินได้เร็วๆ กายเราไม่พร้อม เป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ อย่าทำตามความอยากขอเรา ขอให้ดูกายของเราให้ออกใช้ "ปัญญา" พิจารณาครับ
                    ดีใจด้วยค่ะ
                    สวัสดี
ขอบคุณค่ะพี่สิงห์
จริงค่ะ ต้องค่อยเป็นค่อยไป
ตอนแรก พอหมอให้ลงน้ำหนักเพื่อหัดเดินได้
ก็เดินใหญ่ อยากเดินได้เร็วๆ ระบม เป็นไข้ เลยค่ะ
ตอนนี้ ก็ค่อยหัด บ้าง หยุดบ้าง สลับกันไป
คาดว่า คงจะเดินได้ จริงปลาย เม.ย.ค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1646 เมื่อ: 17 มีนาคม 2554, 11:24:58 »

                         กลับจากเข้าชมพิพิธภัณฑ์ที่สารนาถ คณะไปรับประทานอาหารกลางวันที่วัดไทยสารนาถ เก็บกระเป๋าขึ้นรถ และไปทำบุญทอดผ้าป่าที่พระอุโบสถ ได้เงินแสนกว่ารูปี โดยมี ดร.กุศล  เป็นมักกะทายก นับเงินทุกครั้งที่ทำบุญ
                         หลังจากนั้นคณะเดินทางกลับพุทธคยา ถึงประมาณเที่ยงคืนเพราะเจอกฎหมู่ปิดการจราจรตามที่ดร.กุศล  บอกไว้ จึงรับประทานอาหารเย็น สบายพี่สิงห์คนเดียวเพราะถือศิลแปด อาบน้ำเข้านอนเลย เพราะรุ่งขึ้นเป็นวันมาฆะบูชา และเช้าต้องฝึดโยคะกับ Dr.Santos หกโมงเช้า
                         พี่สิงห์ชอบทุ่งข้างสาลีและมัสตาด สวยสบายใจดีครับ



ทำบุญทอดผ้าป่าวัดไทยสารนาถ ได้เงินบำรุงวัดแสนกว่ารูปี







ทุ่งข้าวสาลีระหว่างเดินทาง





วัดญี่ปุ่น ที่พุทธคยา
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1647 เมื่อ: 17 มีนาคม 2554, 12:15:07 »

                         วันนี้เป็นวันที่แปดของการเดินทางจาริกแสวงบุญอินเดีย-เนปาล และเป็นวันมาฆะบูชา คณะเหนื่อยจากการเดินทางมามาก ดร.พระมหาสุทพ ท่านเลยให้ทุกท่านได้พักผ่อนอยู่ที่วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา ท่านได้เล่าเรื่องต่างๆ ของท่านตอนมาอินเดีย เพื่อสร้างวัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา และวิบากกรรมของท่าน ว่าทำไมท่านต้องมาอินเดีย อขให้ทุกท่านไปทวงถาม ดร.กุศล ให้มาเขียบนเรื่องราวโดยละเอียดให้ด้วยครับ
                         คณะรับประทานอาหารกลางวันที่วัด และมีแผนเข้าชมวัดนานาชาติ แต่บังเอิญโปรแกรมเปลี่ยน คณะจึงไปนมัสการบ้านของนางสุชาดาแทน ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับพุทธคยา คนละฝั่งของแม่น้ำเนรัญชรา คณะได้ไปนั่งสวดมนต์ นั่งเจริญสติ วิปัสสนา และเวียนเทียนรอบสถูป ที่สร้างคล้อมบ้านของนางสุชาดาเอาไว้ ตามภาพ
                         พอดีชาวบ้านกำลังนวดข้าวสาลี จึงนำภาพมาให้ชมกัน เหมือนชนบาไทยสมัยที่ผมยังเป็นเด็ก
                         ข้อสังเกตุ ทุ่งนาสวย แสดงว่าดินดี และมีต้นตาลมากครับ
                         เชิญชมภาพ













วิธีการนวดข้าวสาลี คือ การนำเมล้ดข้าวสาลีออกจากรวงหรือต้นข้าว





นางสุชาดา
เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน

                         นางสุชาดา เป็นธิดาของเสนียกุฏมพี (กุฏมพี = เศรษฐี, ผู้มีทรัพย์มาก) ในหมู้บ้านเสนานิคม แห่งตำบนอุรุเวลา เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยสาวนางได้ทำพิธีบวงสวงต่อเทพยดาที่สิงสถิต ณ ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งใกล้บ้านของนาง โดยได้ตั้งปณิธานความปรารถนาไว้ ๒ ประการ คือ..
                         ๑. ขอให้ข้าพเจ้าได้สามีที่มีบุญ มีทรัพยสมบัติ และชาติสกุลเสมอกัน
                         ๒. ขอให้ข้าพเจ้ามีบุตรคนแรกเป็นชาย
                         ถ้าความปรารถนาของข้าพเจ้าทั้ง ๒ ประการ สำเร็จสมบูรณ์แล้ว ข้าพเจ้าจะทำพลีกรรมแก่ท่านด้วยของอันมีค่าหนึ่งแสนกหาปณะ
 
                         ครั้นกาลต่อมา ความปรารถาของนางสำเร็จทั้งสองประการ โดยได้สามีเป็นเศรษฐีมีฐานะเสมอกัน และได้บุตรคนแรกเป็นชายนามว่า “ ยสะ ” นางได้ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปจนลูกชายแต่งงานแล้ว จึงปรารภที่จะทำพลีกรรมบวงสรวงสังเวยเทพยดาด้วยข้าวมธปยาสเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้นางทาสีสาวใช้ไปปัดกวาดทำความสะอาดบริเวณโคนต้อนไทรนั้น
 
แก้บนด้วยข้าวมธุปายาส
 
  
                         ขณะนั้น พระสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์ หลังจากเลิกการทรมานร่างกายหันมาเสวยพระกระยาหารหวังจะบำเพ็ญเพียรทางจิต ประทับนั่งพักผ่อนที่ใต้ต้นไทรนั้น ผินพระพักตร์ทอดพระเนตรไปทาทิศปราจีน (ตะวันออก) มีพระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกายเป็นปริมณฑลดูงามยิ่งนัก นางทาสีสาวใช้เห็นแล้วก็ตระหนักแน่ในจิตคิดว่า คงเป็นเทพยดาเจ้า มานั่งคอยท่ารับเครื่องพลีกรรม จึงมิได้เข้าไปทำความสอาดดังที่ตั้งใจมา รีบกลับไปแจ้งแก่นางสุชาดา โดยด่วน
                          ฝ่ายนางสุชาดาจึงรีบแต่งกายด้วยเครื่องอาภรณ์อันงดงามเป็นที่เรียบร้อยแล้วยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูลศีรษะ ออกจากบ้านพร้อมด้วยบริวารไปยังต้นไทรนั้น ครั้นได้เห็นพระโพธิสัตว์งดงามเช่นนั้น ก็เกิดโสมนัสยินดีสำคัญว่าเป็นรุกขเทวดามานั่งคอยรับเครื่องพลีกรรม จึงน้อมนำเข้าไปถวายพร้อมทั้งถาดทองคำ  
                          เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ทรงรับข้าวมธุปายาสแล้ว เสด็จไปประทับที่โคนต้นศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตและได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าในวันนั้น หลังจากได้ปนะทับเสวยวิมุติสุข คือสุขอันเกิดจากการตรัสรู้บริเวณใกล้ ๆ นั้นเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ รวม ๔๕ วัน แล้วได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระปัจจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันแขวงเมืองพาราณสี


                                                                                            ลูกชายหาย

                         ในที่ไม่ไกลจากป่าอิสิปตนมฤคทาวันมากนัก ตระกูลครอบครับของนางสุชาดาได้ตั้งอยู่บริเวณนั้น เพราะตนเป็นตระกูลเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติมาก แต่มีบุตรชายเพียงคนเดียว จึงเอาอกเอาใจบำรุงบำเรอบุตรด้วยกามคุณ ๕ อย่างพร้อมสรรพด้วยหวังจะให้บุตรชายเป็นทายาทสืบสกุล ได้สร้างปราสาท ๓ หลัง สำหรับเป็นที่อยู่ใน ๓ ฤดู อีกทั้งมีสาวงามคอยขับร้องประโคมดนตรีขับกล่อมตลอดเวลา
                        คืนหนึ่ง ยสะนอนหลับก่อนบริวารและสาวขับร้อง ท่ามกลางแสงประทีปส่องสว่างอยู่ บรรดาหญิงนักขับร้องประโคมดนตรีทั้งหลายเห็นยสะนอนหลับแล้วจึงคิดว่า บัดนี้เจ้านายก็หลับแล้วพวกเราจะขับร้องประโคมดนตรีกันเพื่อประโยชน์อะไร จึงพากันเอนกายลงนอนหลับใหลไม่ได้สติ  
                      ยสะตื่นขึ้นมากลางดึกเห็นอาการอันวิปริตต่าง ๆ ของหญิงนักดนตรีเหล่านั้นนอนกันไม่เป็นระเบียบ บ้างก็นอนบ่นละะเมอเพ้อพึมพำ บ้างก็นอนกรนดังเสียงกา บ้างก็เปลือยกายไม่มีผ้าปิด บ้างก็อ้าปากน้ำลายไหล ฯลฯ ไม่เป็นที่เจริญจิตเจริญใจดังแต่ก่อน ภาพเหล่านี้ปรากฏแก่ยสะดุจซากศพในป่าช้าผีดิบ เกิดความรู้สึกสลดรันทดใจ และเบื่อหน่ายรำคาญป็นที่สุด จึงเดินออกจากห้องเดินพลางบ่นพรางว่า    “ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ”    ออกจากห้องลงบันไดเดินไปอย่างไม่มีจุดหมาย บังเอิญได้เดินไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์เสด็จเดินจงกรมอยู่ ได้สดับเสียงของยสะเดินบ่นมาเช่นนั้น จึงตรัสว่า
                                                 “ ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง เธอจงเข้ามาที่นี่เราจะแสดงธรรมให้ฟัง”
                 ยสะจึงถอดรองเท้าแล้วเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ ได้สดับพระธรรมเทศนาอุนุปุพพิกาถาและ อริยสัจ ๔ จบแล้วได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

                                                                                          ยสะบรรลุพระอรหัตผล
 
                         ฝ่ายทางบ้าน พอรู้ว่าลูกชายหายไปจึงรีบส่งคนออกติดตามทั่วทุกทิศ บิดาเองก็ออกติดตามด้วย และบังเอิญเดินไปทางป่าอิสิปตนฤคทายวัน เห็นรองเท้าลูกชายก็จำได้ จึงเข้าไปกราบทูลถามพระพุทธองค์ว่าเห็นลูกชายมาทางนี้บ้างหรือไม่
                         พระพุทธองค์ทรงดำริว่า “    ถ้าพ่อลูกได้เห็นหน้ากันก็จะเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุธรรม”    จึงทรงบันดาลด้วยฤทธิ์มิให้พ่อลูกเห็นกัน ตรัสแก่เศรษฐีว่า    “ ท่านจงนั่งลงก่อนแล้วท่านจะได้เห็นลูกชายของท่าน”
                         แล้วทรงแสดงอนุปุพพิกา และอริยสัจ ๔    ให้ท่านเศรษฐีฟัง ส่วนยสะก็ได้ฟังอีกครั้งหนึ่ง เมื่อจบลงเศรษฐีได้บรรลุพระโสดาบัน ส่วนยสะได้บรรลุพระอรหัตผล พระพุทธองค์ทรงทราบว่ายสะบรรลุพระอรหันต์ ไม่หวนกลับไปครองเพศฆราวาสอีกต่อไปแล้ว จึงทรงคลายฤทธิ์ให้พ่อลูกได้เห็นกัน
                          เศรษฐีเห็นยสะลูกชายก็ดีใจ อ้อนวอนให้กลับบ้าน ด้วยคำว่า “ ยสะมารดาของเจ้าเศร้าโศกยิ่งนัก เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเข้าเถิด” แต่พอทราบว่ายสะบรรลุ พระอรหันต์แล้ว ก็อนุโมทนาและขอแสดงตนเป็นอุบาสก ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก ตลอดชีวิต ได้ชื่อว่า “ เป็นอุบาสกคนแรก ที่ถึงพระรัตนตรัย” แล้วกราบทุลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยยสะให้ไปรับอาหารบิณฑบาตที่เรือนของตนในเช้าวันนั้น
                       เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับอาราธนาแล้ว จึงกราบทูลลากลับบ้านไปแจ้งแก่ภรรยาและบริวารในบ้านให้จัดเตรียมอาหาร เพื่อถวายพระบรมศาสดาและยสะ ฝ่ายยสะ เมื่อบิดากลับไปแล้ว กราบทูลพระพุทธขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงประทานด้วยพระดำรัสว่า
   “ เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด” โดยไม่มีคำว่า “ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ” เหมือนกับที่ประทานแก่พระปัญจวัคคย์ เพราะว่ายสะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ตั้งแต่ก่อนบวชนั้นเอง การอุปสมบทแบบนี้เรียกว่า “ เอหิภิกขุอุปสัมปทา”
                    เช้าวันนั้น พระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระยสะเสด็จไปยังเรือนของเศรษฐีตามคำอาราธนนา ประทับบนอาสนะที่จัดเตรียมไว้ มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะได้ช่วยกับถวายภัตตาหาร เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ ให้สตรีทั้งสองฟัง เมื่อจบทั้งเธอสองก็ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบันในพระพุทธศาสนา แสดงตนเป็นอุบาสิดา ขอถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต เธอทั้งสองได้ชื่อว่า “ เป็นอุบาสิกาคนแรกหรือรุ่นแรกที่ถึงพระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนา”
                     ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องนางสุชาดา    ( มารดาของพระยสะ)    ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อนอุบาสิกาทั้งปวง..
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1648 เมื่อ: 17 มีนาคม 2554, 12:32:41 »



ดร.กุศล อย่าลืมมาเล่าเรื่องของ ดร.พระมหาสุเทพ วิบากกรรมของท่านที่เมืองไทย และการสร้างวัดไทยพุทธวิปัสสนา ในฐานะลูกศิษย์
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1649 เมื่อ: 17 มีนาคม 2554, 13:25:46 »

...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์...
...พวกที่ใส่ชุดขาวๆ...เค้าถือศีลแปดกันเหรอคะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
  หน้า: 1 ... 64 65 [66] 67 68 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><