23 พฤศจิกายน 2567, 19:07:02
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 61 62 [63] 64 65 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3562276 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 27 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1550 เมื่อ: 03 มีนาคม 2554, 19:06:39 »

อ้างถึง
ข้อความของ too_ploenpit เมื่อ 03 มีนาคม 2554, 18:37:08
...สาธุ...อนุโมทนาบุญกับ...พี่สิง์,เอมอร,ดร.กุศล...ด้วยนะคะ...
...วันละ 30 เพอร์เซ็น...ก็ยังดีค่ะ...สะสมเรื่อยๆ...
หลั่นล้า

สวัสดีค่ะ คุณน้องตู่  และชาวซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
                           พี่สิงห์จะทะยอยรูปและเรื่องราวมาลงให้ทราบอย่างต่อเนื่อง สำหรับทัวร์จาริกแสวงบุญอินเดีย-เนปาล ครั้งที่ผ่านมา และ ดร.กุศล  จะมาสรุปว่า ความประทับใจที่เกิดขึ้นกับ ดร.กุศล  นั้นเป็นอย่างไร เพราะ ดร.กุศลออกรายการวิทยุเกือบทุกวันเพื่อเล่าให้ญาติโยมที่ฟังทางวิทยุในเมืองไทยได้ทราบการจาริกแสวงบุญตามสถานที่ต่างๆ เชิญรอ ดร.กุศล
                           ปีหน้า พี่สิงห์ ดร.กุศล  คุณราเมศวร์  คุณดิเรก และอีกหลานท่านจะไปกับพี่สิงห์  พี่สิงห์จะจองไปในช่วงวันมาฆะบูชา ได้บอกกับ ดร.พระมหา สุเทพ และคุณนิจ จาก ทับทิมเทศ ทัวร์ ไว้แล้ว ใครสนใจจะไปกับพี่สิงห์ เรียนเชิญ ครับเพราะต้องแย่งกับท่านอื่นๆ ที่จะไปในช่วงมาฆะบูชาเหมือนกัน ครับ
                           สวัสดีครับ
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1551 เมื่อ: 04 มีนาคม 2554, 19:58:15 »

สวัสดีตอนเย็นค่ะ
พี่สิงห์
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1552 เมื่อ: 04 มีนาคม 2554, 20:34:33 »

สวัสดีครับ คุณน้องไพรสนต์ ที่รัก
                         ก่อนอื่นพี่สิงห์ต้องขอขอบคุณ คุณน้องไพรสนต์  ที่พยายามกู้ www.cmadong.com ให้กลับคืนมาโดยเร็ว ครับ มีปัญหาอะไร? ที่พี่สิงห์พอที่จะช่วยได้ อย่าเกรงใจ บอกมาเลยครับ ขอเป็นกำลังใจ
                         สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1553 เมื่อ: 04 มีนาคม 2554, 20:39:34 »

อ้างถึง
ข้อความของ เอมอร 2515 เมื่อ 04 มีนาคม 2554, 19:58:15
สวัสดีตอนเย็นค่ะ
พี่สิงห์
สวัสดีตอนเย็นค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                         รู้สึกว่าวันอาทิตย์นี้ คุณทรงเกียรติ และพรรคพวกจะไปเยี่ยมเธอที่บ้าน เขามาชวนพี่สิงห์เหมือนกัน แต่ในเวลานั้นพี่สิงห์ต้องไปช่วย ดร.พระมหา สุเทพ และพระอาจารย์เสียงป้อ Dr.Santos ในการสอนโยคะ ที่วัดธรรมปัญญาราม บางม่วง สามพราน นครปฐม ครับ เพราะรับปากท่านเอาไว้ และต้องการเรียนโยคะเพิ่มเติมของแท้ เพื่อจะเอาไว้ดูแลร่างกายตนเอง และไปถ่านทอดต่อกับทุกท่านที่สนใจฝึกโยคะ ครับ เอาไว้คราวหน้าก็แล้วกัน หวังว่าเธอคงจะหายแล้วนะครับ
                         สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1554 เมื่อ: 04 มีนาคม 2554, 20:56:27 »

                    วันที่สามของการจาริกแสวงบุญพุทธสถาน ๔ แห่ง  
                   คืนแรกที่พักค้างคืนที่วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา อากาศหนาวมาก ๆ ครับแทบจะอาบน้ไไม่ได้เลยทั้งตอนเย็นและตอนเช้า ต้องตั้งสติ ตัดเวทนาทิ้งไปจึงสามารถอาบน้ำได้ อุณหภูมิน่าจะประมาณ 12 องศาเซียลเซียส วันนี้คณะต้องไปหลายที่ คือคณะจะไปกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ของพระเจ้าพิมพิศาล ที่พระพุทธเจ้ารับปากกับพระเจ้าพิมพิศาลว่า ถ้าพระองค์ตรัสรู้แล้วขอให้กลับไปโปรดท่านด้วย แคว้นมคธเป็นแคว้นใหญ่ มีอำนาจทางทหาร เป็นเมืองใหญ่ที่มีพ่อค้ามาติดต่อค้าขายเป็นจำนวนมาก พระพุทธเจ้าจึงเห็นสมควรที่จะมาประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้ที่นี่ เพื่อความมั่นคงของพรพุทธศาสนา และพระเจ้าพิมพิศาลก็ได้ทรงขอร้องไว้ด้วย พระองค์จึงเสด็จมาแคว้นมคธ กรุงราชคฤห์นี้
                     ในภาพคือลอยเกวียนของท่านอณาบิณฑิกเศรษฐี ที่จมลึกในหินแสดงว่าเกวียนมีจำนวนมากและบรรทุกสินค้าหนักมาด้วย ท่านอณาบิณฑิกเศรษฐีอยู่แคว้นโกศล แต่มาค้าขายแคว้นมคธ
                     กรุงราชคฤห์นั้นมีภูเขาล้อมรอบห้าลูก ประตูเมืองอยู่ระหว่างภูเขาสองลูก และเป็นช่องเขามีทางเข้าทางเดียว ตรงตามที่ระบุไว้ในพระไตรปิฎกทุกประการ
                     เชิญชมภาพ











ราชคฤห์

                                                                     *****
ที่ตั้งกรุงราชคฤห์
   กรุงราชคฤห์  ในสมัยพุทธกาล  เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ ตั้งอยู่ทางทิศบูรพาแห่งชมพูทวีป เป็นแหล่งรุ่งเรืองด้วยอำนาจ และการค้าขาย พระพุทธองค์ได้เสด็จแวะเวียนมาประทับ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ๖ พรรษา มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาอยู่มาก
ปัจจุบันเป็นตำบลหนึ่งของจังหวัดนาลันทา อยู่ห่างจากพิหารชะรีฟ (Bihar Sharif) ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดนาลันทา ๒๖ กิโลเมตร อยู่ห่างจากเมืองนาลันทา  ๑๒ กิโลเมตร  ห่างจากพุทธคยา  ๘๗  กิโลเมตร อยู่ห่างจากเมืองปัตนะ ๑๐๓ กิโลเมตร  กรุงราชคฤห์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  เบญจคีรีนคร, คิริบรรพชนคร, หรือภัททิยนคร  เป็นเมืองที่มีแนวสันกำแพงเป็นเทือกเขา  ๕  ลูกล้อมรอบ คือ  ภูเขาเวภาระ, เวปุลละ, ปัณฑวะ, คิชฌกูฎ, อิสิคิลิ  ปัจจุบันเรียกว่า  “ราชคีร์ (Rajgir)” 
แต่ในปัจจุบัน ภูเขา ๕ ลูก ซึ่งบางลูกได้ถูกเปลี่ยนไปเช่น ภูเขาอิสิคิลิ เปลี่ยนเป็น ภูเขาโสนา ภูเขาปัณฑวะ  เปลี่ยนเป็น ภูเขาอุทัย และภูเขาคิชฌกูฏ กลายเป็นภูเขา ๓ ยอด คือ ยอดที่หนึ่ง ภูเขารัตนคีรี ยอดที่สอง ภูเขาฉัฏฐา และยอดที่สาม ภูเขาเศละ
ปัจจุบันประชาชนทั่วไปเขาเรียกภูเขา ๕ ลูก เป็นภูเขา ๗ ลูก หรือ สัตตคีรีนคร คือพระนครที่มีภูเขา ๗ ยอดแวดล้อม คือ เวภาระ วิปุละ รัตนะ ฉัฏฐา เศละ อุทัย และโสนา
ในสมัยพุทธกาลมีการปกครองโดยพระเจ้าพิมพิสาร ช่วงท้ายพุทธกาลคือ พระเจ้าอชาติศัตรู เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร และเป็นเมืองที่มีความสำคัญหลาย ๆ ด้าน คือ

ด้านการเมืองการปกครอง
   พระเจ้าพิมพิสาร  ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม  เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์มั่งคั่ง และมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดแบบบ้านพี่เมืองน้องกับเมืองสาวัตถี คือพระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๒ ต่างก็ทรงอภิเษกสมรสกับกนิษฐภคินีของกันและกัน ทั้งพระเจ้าแผ่นดินและประชาชนต่างก็เคารพในกฎหมาย ใครจะละเมิดกฎหมายมิได้  เช่น  พอเวลาพลับค่ำ  จะต้องปิดประตูเมืองห้ามคนเข้าออกเด็ดขาด  แม้แต่พระเจ้าพิมพิสารเองก็ดี  หมอชีวกก็ดี  พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ดี ยังเคยนอนนอกวังหรือนอกเมืองมาแล้วเพราะมาไม่ทันเวลาประตูเมืองปิดเสียก่อน
   กรุงราชคฤห์มีประตูเมืองขนาดใหญ่ ๆ ๓๒ ประตู มีประตูขนาดเล็ก ๆ อีก ๖๔ ประตู มีประชากรหนาแน่น ประมาณ ๑๘ โกฏิ
   นอกนั้นราชคฤห์ ยังเป็นเมืองหลวงของ ๒ แคว้น คือ แคว้นอังคะ และแคว้นมคธ มีพระเจ้าแผนดินองค์เดียวกัน

ด้านศาสนา
   กรุงราชคฤห์ เป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  พระพุทธองค์ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา ณ กรุงราชคฤห์ ที่วัดเวฬุวันแห่งนี้  ได้เป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  พระองค์ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์  ซึ่งประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ถึง  ๑,๒๕๐  รูป  (สถานที่เกิดแห่งวัน มาฆบูชา) และบริเวณที่พระเจ้าพิมพิสารพบพระโพธิสัตว์ก่อนเข้าเมืองราชคฤห์
   ทรงประกาศคำสอนและคุณสมบัติของพระภิกษุผู้ที่จะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา  แล้วค่อยแผ่ไปยังแคว้นต่าง ๆ ต่อไปจนทั่วทั้ง  ๑๖ แคว้น ในสมัยนั้น ทำให้ผู้คนมีความนับถือเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  และเข้ามาบรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ - ภิกษุณีมากมายสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้
   นอกจากนั้นราชคฤห์ยังเป็นที่ชุมนุมของเจ้าลัทธิมากมาย มีคณาจารย์ใหญ่ ๒ ท่านคือท่าน อาฬารดาบส และอุทกดาบส และมีลัทธิครูทั้ง ๖ เช่น ปูรณะกัสสปะ มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล  ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร และนิครนถ์นาฏบุตรหรือศาสดามหาวีระ ซึ่งแต่ละท่านมีประชาชนได้ให้ความเคารพนักถือเป็นจำนวนมาก

ด้านเศรษฐกิจ
   กรุงราชคฤห์  เป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางติดต่อทำการค้าขายกับแคว้นต่าง ๆ  ในขณะนั้น  ดังมีรอยเกวียนปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีก็เคยมาทำการค้าขายที่เมืองนี้ จนพบพระพุทธเจ้า  และกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จไปโปรดประชาชนชาวเมืองสาวัตถีด้วย  เป็นต้น
   สมัยพุทธกาลในพระนครแห่งนี้เคยมีมหาเศรษฐี ๕ ท่าน คือ ราชคหเศรษฐี ปุณณเศรษฐี โชติกเศรษฐี เมณฑกเศรษฐี ธนัญชัยเศรษฐี
   
ด้านการทหาร
   กรุงราชคฤห์ เป็นภูมิประเทศที่มีภูเขา ๕ ลูกล้อมรอบเป็นกำแพง เมืองให้อย่างดี  ยากแก่การที่ข้าศึกจะมาโจมตีได้  ปัจจุบันยังมีกำแพงเมือง ปรากฏอยู่บนยอดเขาตรงทางเข้าเมืองราชคฤห์  ทั้งทางด้านทิศเหนือและทิศใต้

พุทธสถานและสถานที่สำคัญ
   
๑.  ธัมมิกราชสถูป
เป็นสถานที่ที่พระเจ้าพิมพิสารเสด็จมาพบพระบรมโพธิสัตว์ครั้งแรก ที่พระองค์ได้เสด็จออกบรรพชา แล้วเดินทางพักแรมอยู่อนุปิยอัมพวัน แขวงมัลลชนบท จากนั้นเสด็จมายังกรุงราชคฤห์และทรงรับบิณฑบาตมีประชาชนได้พบเห็นจนได้ทราบถึงพระเจ้าพิมพิสารแล้วเสด็จมาพบพระองค์ ปัจจุบันเห็นสถูปปากทางเข้ากรุงราชคฤห์ ที่ทางการได้ค้นพบ ก่อนถึงรอยทางเกวียน
๒. วัดเวฬุวันมหาวิหาร  (สวนเวฬุวัน)
   เวฬุวนาราม วัดป่าไผ่ล้อม หรือวัดไผ่ล้อม เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขา  เวภารบรรพต ด้านใต้จรดตโปธาราม วัดธารน้ำร้อน ซึ่งมีแม่น้ำสรัสสวดีไหลผ่าน ซี่งพระเจ้าพิมพิสารเมื่อได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ทรงเลื่อมใสพร้อมแสดงตนเป็นพุทธมามกะ จากนั้นได้อาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุทั้งหลายเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ แล้วทรงถวายสวนเวฬุวันให้เป็นพระอารามหลวงแห่งแรกในพระพุทธศาสนา และเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พระพุทธองค์ตรัสกับท่านพระอานนท์ว่าเป็นสถานที่น่าอยู่น่ารื่นรมย์
พระพุทธองค์ทรงประทับจำพรรษาถึง ๖ พรรษาและพระพุทธองค์ได้อัครสาวกทั้ง ๒ คือ พระมหาโมคคัลลานะ กับพระสารีบุตร ที่เป็นกำลังสำคัญยิ่งในการเผยแผ่พระศาสนา และสถานที่แห่งนี้เป็นที่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์ มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกษุอุปสัมปทา และเป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา เรียกอีกอย่างว่า “วันจาตุรงคสันนิบาต” ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย คือไม่ให้ทำความชั่ว ให้ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้ผ่องใส
ปัจจุบัน ยังมีซากมูลคัณธกุฎีที่ประทับของพระบรมศาสดา ซึ่งอยู่ทางด้านใต้สุดของตัววัด และมีสระใหญ่ชื่อว่า กลันทกนิวาปะ สระที่ให้เหยื่อกระแตตั้งอยู่ตรงกลางทางด้านเหนือของมูลคันธกุฎี
๓. ศาลาไทยในสวนเวฬุวัน
เป็นศาลาทรงไทย ตั้งอยู่ในสวนเวฬุวัน เมื่อ  พ.ศ. ๒๕๑๔  สร้างขึ้นในสมัยที่พระธรรมราชานุวัตร  (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ ป.ธ.๘)  อดีตเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยาสมัยนั้น ตำแหน่งสมณศักดิ์ก่อนมรณภาพคือ  พระสุเมธาธิบดี  อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ สร้างไว้เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา  ณ  วัดเวฬุวันมหาวิหาร โดย  ฯพณฯ เอกอัครทูตเป็นผู้มอบให้รัฐบาลอินเดีย  และเป็นสถานที่ทำสังฆกรรม  และพิธีกรรมต่าง ๆ  ของผู้ที่มาแสวงบุญตลอดมา โดยการประสานงานของนักศึกษาไทยสมัยนั้น คือพระมหานคร เขมปาลี (สมณะศักดิ์ครั้งสุดท้าย พระราชรัตนโมลี มรณภาพ ๒๙ พ.ค. ๕๑) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ คณะ ๓ และอดีตเลขาธิการ อธิการบดี ประธานที่ปรึกษาอธิการบดี อุปนายก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และพระภิกษุวิเวกานันทะ (พระสหัส ปริสุทฺโธ/นาคะสิริ) หรือ พระ ดร.วิเวกานันทะ (ปัจจุบันมรณภาพแล้วที่อเมริกา ๒๖ ตุลาคม ๔๘)
๔. ตโปธาราม
   ตโปธาราม วัดธารน้ำร้อน อยู่ติดกับสวนเวฬุวัน ตโปธาราม มีบ่อน้ำร้อนอยู่เชิงเขาเวภาระบรรพตด้านตะวันออกโดยมีแม่น้ำสรัสสวดีสายเล็กๆ ขึ้นอยู่ เป็นวัดที่น่ารื่นรมย์ และที่นี่เป็นที่บัญญัติให้พระภิกษุสรงน้ำได้ ๑๕ วันต่อครั้ง สมัยพุทธกาลทั้งพระสงฆ์และพระเจ้าพิมพิสาร ก็ใช้ที่แห่งนี้ในการอาบน้ำปัจจุบันเป็นที่บำเพ็ญบุญของชาวฮินดู ข้างในจะมีขั้นอาบน้ำ ตามฐานะแห่งวรรณะของตน ทุกวันจะมีชาวอินเดียมาอาบน้ำอย่างมากมาย เพราะเขาเชื่อกันว่าสามารถรักษาโรคภัยให้ทุเลาหายได้
   ปัจจุบันบริเวณนี้ มีวัดพระศิวะสร้างเต็มไปหมดตั้งอยู่ตรงกลาง ส่วนด้านรอบข้าง ทำเป็นท่อและบ่อน้ำร้อนจัดไว้บริการสำหรับผู้ประสงค์จะอาบน้ำและดื่ม
๕. กัสสปารามหรือถ้ำปิปผลิคูหา
วัดกัสสปาราม หรือถ้ำปิปผลิคูหา ที่ได้ชื่ออย่างนั้นเพราะท่านกัสสปะเศรษฐีได้สร้างถวายพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ตั้งอยู่ที่เชิงเขาด้านเหนือของภูเขาเวภารบรรพต ที่พระมหากัสสปะเถระเคยพำนักอยู่ ท่านเป็นพระสาวกที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายด้วยคุณแห่งการถือธุดงค์ ๑๓ ข้อตลอดชีวิต เมื่อเรามองขึ้นไปจากวัดนี้ สามารถมองเห็นถ้ำสัตตบรรณได้ และครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ได้เคยเสด็จมาเยี่ยมพระอัสสชิ ซึ่งกำลังอาพาธซึ่งพักรักษาตัวอยู่ที่นี่
๖. สีตะวัน
สีตะวัน หรือวัดป่าพญาเย็น ตั้งอยู่ในตัวเมืองทางตะวันออกของภูเขาเวภารบรรพตจรดถึงเงื้อมผาสัปปโสณิกะ ขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ สถานที่นี้ ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีมาทำธุรกิจค้าขายพักอยู่ที่บ้านราชคหเศรษฐี เมื่อทราบว่า พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ จึงขออนุญาตท่านราชคหเศรษฐีไปเฝ้าพระพุทธองค์ พร้อมได้ฟังธรรมเทศนาและได้บรรลุโสดาปัตติผล พร้อมกันนั้นได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาไปโปรดชาวเมือง ณ เมืองสาวัตถี
๗. สัตตบรรณคูหา
   สัตตบรรณคูหา วัดถ้ำ ๗ ถ้ำ หรือวัดถ้ำ ๗ ใบ ตั้งอยู่บนหน้าผาด้านทิศเหนือแห่งยอดเขาเวภารบรรพต เป็นวัดแห่งหนึ่งที่พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่าเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์  หลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วได้ ๓ เดือน พระอริยสงฆ์จำนวน ๕๐๐ องค์ ซึ่งมีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ได้คัดเลือกและได้เลือกทำสังคายนาพระธรรมวินัย ณ สัตตบรรณคูหานี้ เป็นเวลา ๗ เดือนจึงเสร็จ  โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูรับเป็นผู้อุปถัมภ์
   ปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ทำให้ถ้ำ ๓ ถ้ำจึงพังทลาย เหลือเพียง ๔ ถ้ำ และเมื่อปีฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ทางรัฐบาลอินเดีย ซึ่งมี ฯพณฯ เยาวหราล เนห์รู นายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้จัดการทำถนนอย่างดี ตั้งแต่วัดตโปธาราม ผ่านถ้ำปิปผลิ จนถึงถ้ำ ๔ ถ้ำ
   ๘. สัปปโสณฑิกปัพภาร
   สัปปโณฑิกปัพภาร วัดเงื้อมผาพญางูแผ่พังพาน ตั้งยู่ใกล้กับวัดป่าพญาเย็นด้านใต้ ณ เชิงภูเขา     เวภารบรรพต พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่าเป็นน่ารื่นรมย์
   ภายในเงื้อมผาแห่งนี้ มีถ้ำอยู่สองถ้ำ ตั้งอยู่ติดกัน ถ้ำลูกด้านเหนือ หลังคาพังทลาย และภายในถ้ำมีรูปแกะสลักพระเชนติดอยู่กับฝาผนังถ้ำ ๔ องค์ ส่วนถ้ำลูกด้านใต้ มีลักษณะที่สมบูรณ์ มีประตูเข้าออก ๑ ประตู และมีช่องหน้าต่างเล็กอยู่ ๑ ช่อง ส่วนภายในเป็นห้องโถงขนาดปานกลาง และมีฝาผนังด้านในถ้ำมีคำจารึกเป็นอักษรโบราณจารึกเป็นปริศนาไว้ใกล้ๆ บานประตู  เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลถ้ำอธิบายให้ฟังว่า “ถ้าใครอ่านออกและตีปริศนานี้ได้ ประตูด้านในจะเปิดออกโดยอัตโนมัติ และทรัพย์สมบัติต่างๆ มีอยู่ในถ้ำทั้งหมดต้องเป็นของผู้นั้น”
๙. โจรปปาตะ หรือเหวทิ้งโจร
โจรปปาตะ หรือเหวทิ้งโจร ตั้งอยู่ใกล้ยอดเขารัตนคีรี เดิมยอดเขานี้เรียกว่า คิชฌกูฏ ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับมัททกุจฉิทายวันและเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พระพุทธองค์ตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า เป็นสถานที่น่าอยู่น่ารื่นรมย์ ท่านพระวักกะลิ หลังจากถูกพระพุทธองค์อเปหิออกจากสำนัก เพราะมัวแต่ฝักใฝ่ดูแด่พระรูปพระโฉมของพระพุทธเจ้า ไม่เอาใจใสในการปฏิบัติธรรม ได้หนีมาที่นี่เพื่อจะปลงชีวิตด้วยการกระโดดภูเขาตาย และเป็นที่นางภัททาบุตรีราชคหเศรษฐี ได้ผลักสามีผู้เป็นโจรทรยศที่คิดคดจะฆ่านางให้วอดวายตกลงไปตาย ณ เหวแห่งนี้
ปัจจุบัน มีการสร้างกระเช้าไฟฟ้า มีเก้าอี้นั่งอย่างนี้ ตั้งบริการอยู่ที่เชิงเขา เพื่อไปนมัสการวิศวศานติสถูป เป็นเจดีย์สร้างโดยหลวงพ่อฟูจิ นิกายเชนชาวญี่ปุ่น โดยการสนับสนุนจากรัฐบาลอินเดีย
๑๐. มัททกุจฉิทายวัน
วัดมัททกุจฉิทายวัน ตั้งอยู่ที่เชิงเขาภูเขาคิชฌกูฏ เป็นสถานที่พระนางเวเทหิ  ทรงรัดพระครรภ์ เพื่อหวังทำลายพระครรภ์ด้วยคำทำนายของโหราจารย์ว่าเด็กที่เกิดมาจะทำ ปิตุฆาต  คือฆ่าบิดา  แต่พระเจ้าพิมพิสารทรงห้ามไว้ เลยสร้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระนางเวเทหิ เอกอัครมเหสีที่ทรงให้อภัยในการไม่ทรงทำแท้ง
ระหว่างทางที่ขึ้นจนถึงเขาคิชฌกูฎมีอนุสรณ์เจดีย์สถานที่เป็นวัตถุโบราณต่างๆ โดยพระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระเจ้าพิมพิสาร ตามเส้นทางคือ
๑. พระเจดีย์องค์ที่หนึ่ง ตั้งอยู่ถัดขึ้นไปจากวัดมัททกุฉิทายวัน เป็นสถานที่พระเจ้าพิมพิสารได้เสด็จลงจากพระราชพาหนะ ซึ่งมากจากพระราชวังแล้วได้เสด็จขึ้นพระเสลี่ยงให้พนักงานนำเสด็จไป
๒. พระเจดีย์องค์ที่สอง เป็นสถานที่พระเจ้าพิมพิสารได้เสด็จลงจากเสลี่ยง แล้วทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาทขึ้นไป
๓.พระเจดีย์องค์ที่สาม เป็นสถานที่พระเจ้าพิมพิสารได้ให้พวกข้าราชบริวารที่ติดตามให้รอคอยอยู่ และจากนั้นพระองค์กับทหารองครักษ์เสด็จขึ้นไปเฝ้าพระพุทธองค์บนยอดเขาคิชฌกูฏ ณ มูลคัณธกุฎีที่ประทับ

๑๑. ถ้ำพระมหาโมคคัลลานะ
   ถ้ำพระมหาโมคคัลลานะ  เป็นถ้ำที่พระมหาโมคคัลลานะเคยอยู่ ในช่วงพระพุทธเจ้าจำพรรษา ณ กรุงราชคฤห์นี้ ซึ่งปัจจุบันนี้จะมองเห็น เพียงเพิงหินเล็ก ๆ เท่านั้น
๑๒. ถ้ำสุกรขาตา
   ก่อนจะถึงยอดเขาคิชฌกูฏ จะพบถ้ำมีหินชะโงกเป็นง่อนผา สามารถหลบแดด หลบฝนได้มีลักษณะเป็นคางหมู ในสมัยพุทธกาลเรียกว่า “สุกรขาตา” ที่พระพุทธองค์ทรงใช้เป็นที่แสดงธรรมโปรด ทีฆนขปริพาชก หลานของท่านพระสารีบุตร ซึ่งขณะที่ท่านพระสารีบุตรกำลังถวายงานพัดอยู่ด้วยนั้น ท่านก็ได้ฟังธรรมและสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในขณะนั้นเอง หลังจากอุปสมบทแล้ว ๑๕ วัน ระหว่างทางก่อนจะถึงถ้ำสุกรขาตา จะผ่านสถานที่ที่พักของไพร่พลทหาร และสถานที่ที่พระเจ้าพิมพิสารลงจากหลังช้าง สถานที่ที่เปลื้องเครื่องทรงของกษัตริย์ออก ก่อนจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทุกครั้ง
๑๓. ภูเขาคิชกูฎ
   คิชฌกูฏ วัดยอดเขานกแรง ที่เรียกอย่างนั้นเพราะในอดีตกาลเคยมีฝูงนกแร้งอาศัยอยู่ หรือภูเขาลูกนี้มียอดเขาคล้ายนกแร้ง
ที่เขาคิชฌกูฏ พระพุทธองค์ไม่เคยได้เสด็จมาจำพรรษา แต่ได้เสด็จมาประทับเป็นประจำ เพราะเขาคิชฌกูฏไม่สูงนัก พอเสด็จขึ้นและลงได้ บนยอดเขามีที่ประทับและที่กว้างพ่อสำหรับรับแขก ทั้งสงบอากาศบริสุทธิ์เย็นสบาย และประกอบกับพระเจ้าพิมพิสาร องค์เอกอัครมัคคนายกได้ทรงให้คระวิศวกรทำถนนเป็นขั้นบันไดสำหรับเสด็จพุทธดำเนินขึ้นไป เริ่มตั้งแต่วัดมัททกุจฉิทายวันจนถึงที่พระพุทธองค์ประทับ และทั้งองค์พระมหากษัตริย์เองก็ได้เสด็จขึ้นไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อสนทนาปัญหาประจำ ฉะนั้น ถนนพระเจ้าพิมพิสารในกาลต่อมา
   ๑๔. มูลคัณธกุฏี
   มูลคัณธกุฏี อยู่บนยอดเขาคิชฌกูฏ จากถ้ำสุกรขาตาจะมีบันไดเดินขึ้นไปแล้ว จะพบกุฏีของพระอานนท์พุทธอุปัฏฐาก อยู่ทางขวามือ ถัดไปคือ มูลคันธกุฎี ตั้งอยู่บนชะง่อนผาที่สูงชัน มีความกว้างประมาณ ๗ คูณ ๑๒ ฟุต ปัจจุบันจะเหลือเป็นซากกำแพงอิฐเท่านั้น นั่นแหละคือมูลคัณธกุฏีที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ และได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จนมั่นคงในแคว้นมคธ โดยมีกรุง     ราชคฤห์เป็นศูนย์กลาง และข้างๆ ยังมีกุฏิพระอานนท์
   ๑๕. เรือนคุมขังพระเจ้าพิมพิสาร
   เป็นที่คุมขังพระเจ้าพิมพิสาร โดยพระเจ้าอชาติศัตรูพระราชโอรส ได้จับพระราชบิดามาคุมขังไว้ตรงนี้ เพื่อตัวเองจะได้ครองราชย์สมบัติแทน เพราะอยากเป็นใหญ่ด้วยเหตุที่ไปคบกับพระเทวทัต จนสุดท้ายพระเจ้าพิมพิสารถึงแก่สวรรคต เพราะแรงแห่งกรรมที่ตัวเองได้เคยทำไว้ในอดีตนั้นเอง ปัจจุบันเหลือแต่ซากกำแพงหินหนาประมาณ ๖ ฟุต ล้อมรอบบริเวณ ณ จุดนี้จะสามารถมองเห็นเข้าคิชฌกูฏได้ ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารเคยประทับยืนทอดพระเนตรชายจีวรของพระพุทธองค์ พร้อมได้เสด็จเดินจงกรมจนพระองค์สิ้นพระชนม์
   ๑๖. วัดชีวกัมพวัน
   วัดชีวกัมพวัน หรือพระอารามสวนมะม่วง เป็นสถานที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ นายแพทย์ผู้มีชื่อเสียง จบการศึกษาจากตักศิลา เป็นแพทย์หลวงประจำพระองค์พระเจ้าพิมพิสารและได้รับความไว้วางใจจากแพทย์สภา ให้เป็นแพทย์ประจำองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ได้มีศรัทธาถวายป่ามะม่วงให้เป็นพระอารามหลวง หรือเรียกว่า ชีวการาม ถือว่าเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในพระพุทธศาสนาด้วย เพราะเคยเป็นที่ปฐมพยาบาลพระพุทธองค์ เมื่อครั้งถูกสะเก็ดหินที่พระเทวทัตต์ลอบกลิ่งหินหวังทำร้ายพระพุทธองค์ที่บริเวณทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ ทำเกิดโลหิตุปบาท  และเป็นที่แสดงสามัญญผลสูตร  แก่พระเจ้าอชาตศัตรูจนทำให้พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  ปัจจุบันจะเห็นวัตถุก่อสร้างเป็นโครงซากหินมีรั้วล้อมรอบอยู่ริมทางเชิงคิชฌกูฏ
๑๗. มณียามัส
   มณียามัส  สันนิษฐานว่าเป็นเสาหลักเมืองของกรุงราชคฤห์  และเคยเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในสมัยพระเจ้าอชาติศัตรู
๑๘. วิศวะศานติสถูป
   เป็นสถูปที่สร้างโดยพุทธศาสนิกชนชาวญี่ปุ่น ตั้งอยู่บนยอดเขา รัตนคีรี องค์สถูปสีขาว มีพระพุทธรูปแบบญี่ปุ่นประดิษฐานอยู่ และมีสำนักสงฆ์ของญี่ปุ่นตั้งอยู่ด้วย ทุกวันนี้จะมีกระเช้าไฟฟ้าขึ้นลงได้อย่างสะดวก
   ๑๙. ลัฏฐิวโนทยาน
   ลัฏฐิวัน สวนตาลรุ่น หรือสวนตาลหนุ่ม ตั้งอยู่ใกล้กับภูเขาอิสิคิลิ ซึ่งเป็นสถานที่พระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระอริยสงฆ์ ๑,๐๐๓ องค์ ได้พบกับพระเจ้าพิมพิสารพร้อมบริวารและคฤหบดี ๑๒๐,๐๐๐ คน ที่เสด็จไปเฝ้าพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ได้ตรัสเทศนาเรื่องมหานารทชาดกโดยพิสดาร อนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจ พอจบลงพระเจ้าพิมพิสารพร้อมกับพราหมณ์และคฤหบดี ๑๑ หมื่น บรรลุโสดาปัตติผล ส่วนที่เหลืออยู่อีก ๑ หมื่น ตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์เป็นอุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันจะเห็นต้นตาลอยู่ประจำประปราย มีพระพุทธรูป ๑ องค์ ประดิษฐานอยู่บนวิหารที่ทางสมาคมนักศึกษาญี่ปุ่นได้สร้างศาลาถวายไว้ ห่างจากพระราชวังเก่าไปทางทิศตะวันตก  ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร
๒๐.  กาฬสิลา
กาฬสิลา วัดถ้ำหินดำ ตั้งอยู่ข้างภูเขาอิสิคิลิ ด้านทิศใต้ของเมืองราชคฤห์ ในสังยุตตนิกาย กล่าวว่า พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป มีท่านพระมหาโมคคัลลานะและท่านพระวังคีสะ เป็นต้น ได้เคยเสด็จมาประทับที่วัดนี้และเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พระพุทธองค์ตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ และพระอริยสาวก ๒ ท่าน คือพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งได้ถูกพวกเหล่าโจรทำร้ายทุบตี แต่ได้มาอธิษฐานการนิพพานที่นี่และพระโคริกะก็ได้มานิพพาน ณ สถานที่แห่งนี้
นอกจากนั้น สถานที่นี้พระทัพพะมัลลบุตรเคยได้จัดให้เป็นสถานที่พักของพระภิกษุทั้งหลายที่เดินทางมาจากจตุรทิศเพื่อจะมาเฝ้าพระพุทธองค์ตามที่พระมหาเถรานุเถระเหล่านั้นประสงค์ใคร่จะพัก
๒๑.  อินทสาลคูหา
อินทสาลคูหา วัดถ้ำช้างน้าว ตั้งอยู่ระหว่างภูเขาเวทยิกะ ทางด้านทิศตะวันออกของเมืองราชคฤห์ ซึ่งอยู่ถัดภูเขาคิชฌกูฏไปประมาณ ๖ กม. ที่ได้ชื่อว่า วัดถ้ำช้างน้าว เพราะที่หน้าประตูถ้ำมีตนช้างน้าวขึ้นอยู่
ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ วัดถ้ำช้างน้าวนี้ ท้าวสักกเทวราช พร้อมด้วยหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ โดยการน้ำของปัญจสิขคนธรรพ์เทพบุตรได้เสด็จลงมาเฝ้าและทูลถามปัญหา พอจบพระธรรมเทศนา ท้าวสักกเทวราชพร้อมด้วยหมู่เทพเทวาได้ดวงตาเห็นธรรมกันถ้วนหน้า

๒๒. อันธกวินทะ
อินธกวินทะ เป็นวัดหนึ่งในมหาวิหาร ๑๘ ตำบล ซึ่งอยู่ในบริเวณกรุงราชคฤห์ ซึ่งได้กล่าวว่า ท่านพระมหากัสสปะ เป็นประธาน พร้อมด้วยพระอริยสงฆ์ ๕๐๐ องค์ ได้เคยมาจำพรรษาอยู่ ในอรรถกถาจารย์ได้กล่าวว่า ในวันหนึ่งเป็นวันลงพระอุโบสถ เพื่อฟังพระปาฏิโมกข์เป็นระยะทางถึง ๔ กม. (๑ คาวุต)
๒๓. ปาสาณกเจดีย์
เป็นสถานที่มาณพ ๑๖ คน ซึ่งเป็นศิษย์เอกของพราหมณ์พาวรี เข้าเฝ้าพระพุทธองค์และทูลถามปัญหาต่าง ๆ ที่พราหมณ์พาวรีแต่งให้ เมื่อศิษย์ทั้ง ๑๖ คนได้ถามปัญหาจากพระพุทธองค์ และพระองค์ทรงได้เฉลยปัญหาจบลง บรรดาศิษย์ ๑๕ คนได้บรรลุพระอรหัตตผลทันที เหลือปิงคิยะมาณพคนเดียวเท่านั้นที่ได้บรรลุเพียงโสดาปัตติผล เพราะใจไปมัวกังวลถึงอาจารย์
๒๔. ทักขิณาคิรีวิหาร
ทักขิณาคิริวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงราชคฤห์ อยู่ใกล้กับภูเขาอิสิคิลิและภูเขาปัณฑวะ ประมาณ ๕๐๐ เมตร
เนื่องจากถนนจากเมืองสาวัตถีมายังกรุงราชคฤห์นั้น ต้องผ่านมาที่วัดทักขิณคิรีพอดี ดังนั้นพระพุทธองค์ในคราวที่เสด็จมาประทับทุกครั้งที่พระองค์เสด็จไปและกลับระหว่างกรุงสาวัตถีกับกรุงราชคฤห์
ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ได้เสด็จมาที่วัดแห่งนี้ ตามเส้นทางที่ได้ทอดพระเนตรเห็นแปลงนาของชาวมคธ พูนดินทำเป็นตารางรูปสี่เหลี่ยมเล็กใหญ่ได้สัดส่วนทั้งด้านยาวและด้านกว้าง จึงรับสั่งให้พระอานนท์ตัดแต่งจีวรให้เป็นรูปตารางสี่เหลี่ยมคล้ายเขตแปลงนางของชาวมคธ
๒๕. หมู่บ้านเอกนาลา
เอกนาลา เป็นชื่อหมู่บ้านพราหมณ์ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับทักขิณาคิรีวิหาร ทางทิศด้านใต้ของเมือง      ราชคฤห์  ซึ่งในครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ หมู่บ้านนี้ ในตอนเช้าวันหนึ่ง กสิภารทวาชพราหมณ์กำลังเตรียมการไถนาและหว่านข้าว เห็นพระองค์เสด็จมาเพื่อบิณฑบาต จึงกราบทูลเป็นทำนองแนะนำพระพุทธเจ้าแนะนำพระพุทธองค์ว่า “ข้าพระองค์ย่อมไถและหว่านครั้นไถและหว่านแล้ว จึงค่อยเสวยเถิด” จากนั้นพระองค์ได้ทรงเทศนาตามนัย คือถาม – ตอบ ที่ชื่อ กสิภารทวาชสูตร พอจบพระธรรมเทศนา ภารทวาชพราหมณ์ทูลขอบรรพชาและอุปสมบท ตั้งใจปฏิบัติตามที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไม่นานนักท่านก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล และพรรษาที่ ๑๑ นี้ พระทศพลก็ได้ทรงจำพรรษา ณ เอกนาลาวิหารปัจจุบันยังไม่ทราบว่าอยู่ตรงจุดไหน
๒๖. อัมพลัฏฐิกา
เป็นสถานที่พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เดินทางอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา มีปริพพาชก ( นักบวชนอกศาสนา) ชื่อสุปปิยะ พร้อมด้วยศิษย์ชื่อพรหมทัตมาณพ เดินทางมาข้างหลัง สุปปิยะปริพพาชก ติเตียนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ศิษย์กล่าวสรรเสริญ  เมื่อถึงเวลากลางคืนภิกษุทั้งหลายได้สนทนากันถึงเรื่องศิษย์อาจารย์กล่าวแย้งกันเรื่องสรรเสริญ ติเตียนพระรัตนตรัย พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงตรัสเตือนมิให้โกรธเมื่อมีผู้ติเตียนพระรัตนตรัย มิให้ยินดีหรือเหลิงเมื่อมีผู้สรรเสริญ  แล้วตรัสว่า คนอาจกล่าวชมเชยพระองค์ด้วยศีล ๓ ชั้น คือศีลอย่างเล็กน้อย ศีลอย่างกลาง ศีลอย่างใหญ่
ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคทรงแสดงถึงความคิดเห็น ๖๒ ประการของสมณพราหมณ์ในครั้งนั้น คือพวกที่มีความเห็นปรารภเบื้องตั้นของสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมาอย่างไร และสิ่งต่างๆ จะลงสุดท้ายอย่างไร
๒๗. วัดไทยสิริราชคฤห์
   วัดไทยสิริราชคฤห์ ตั้งอยู่เมืองราชคฤห์ อำเภอนาลันทา รัฐพิหาร วางศิลาฤกษ์เมื่อปี ๒๕๔๖ โดยพระพุทธิวงศมุนี (บุญมา ทีปธมฺโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส จัดซื้อที่ดินในนามวัดไทยพุทธ คยา โดยการประสานงานของพระเทพโพธิวิเทศ (ทองยอด ภูริปาโล/บุณยเนตร) และพระครูปลัด ดร.ฉลอง จนฺทสิริ วัดไทยพุทธคยา มีวัตถุประสงค์เพื่อบูชาคุณของพระรัตนตรัย พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าอโศกมหาราช หมอชีวกโกมารภัจจ์ พระเจ้าอชาติศัตรู พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ โดยการอุปถัมภ์คณะพุทธบริษัทชาวไทย ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับถ้ำสัตตบรรณคูหามีทางเข้าทางด้านข้างของวัดเวฬุวัน (อยู่ในช่วงดำเนินการก่อสร้าง)  โดยมีพระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ  (พ.ม.วิเชียร  วชิรวํโส  Ph.D.)  เป็นประธานสงฆ์ มีเนื้อที่ ๙ ไร่
สถานที่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม
๑.      พหุปุตตกนิโครธ
เป็นสถานที่ที่พระมหากัสสปะพบกับพระพุทธองค์และได้รับการแสดงธรรมพร้อมการบรรลุธรรมและได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธองค์
๒. โคตมนิโครธ
โคตมนิโครธ หรือนิโครธาราม ยังไม่มีข้อมูลว่าอยู่ ณ จุดไหนในเมืองราชคฤห์ แต่เป็นสถานที่แห่งหนึ่งใน ๑๐ แห่ง ที่พระพุทธองค์ตรัสกับท่านอานนท์ในคราวแสดงโอภาสนิมิตว่าเป็นสถานที่น่าอยู่น่ารื่นรมย์ และเป็นสถานที่แห่งหนึ่งเช่นกันที่พระทัพพมัลลบุตร ได้เคยจัดให้เป็นสถานที่พักของพระภิกษุสงฆ์ที่มาจากจตุรทิศ เพื่อรอเฝ้าพระพุทธเจ้า
๓. วิหาร ๑๘ ตำบล
   ในกรุงราชคฤห์และเขตรอบ ๆ เมืองราชคฤห์มีปรากฏวิหารเกิดขึ้น ๑๘ ตำบล หรือที่เรียกว่า วิหาร ๑๘ ตำบล ดังนี้
๑. เวฬุวนาราม   ๒. ตโปธาราม   ๓. สัตตบรรณคูหา       ๔. กัสสปาราม
๕. สีตะวัน   ๖. เงื้อมผาสัปปโสณฑิกะ   ๗. อันธกวินทะ   ๘. ชีวกัมพวัน
๙. เหวทิ้งโจร   ๑๐. มัททกุจฉิทายวัน   ๑๑. คิชฌกูฏ   ๑๒.อินทสาลคูหา
๑๓. กาฬสิลา   ๑๔. ลัฏฐิวัน   ๑๕. ทักขิณาคีรี   ๑๖. หมู่บ้านเอกนาลา
๑๗. โคตมนิโครธ   ๑๘. ปาสาณกเจดีย์


      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1555 เมื่อ: 05 มีนาคม 2554, 08:06:33 »

สวัสดียามเช้าค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                         อากาศยามเช้าที่นครดีมาก มีลมโกรกอ่อน ๆ เหมาะสำหรับออกกำลังกาย TAI CHI และโยคะมาก ตามปกติพี่สิงห์จะเดินสายพานให้ได้ระยะอย่างน้อยสามกิโลเมตร หรือมากกว่า ๓๐ นาที หรือต้องเผาผลาญพลังงานได้มากกว่า ๒๕๐ แคลอลี่ และหัวใจต้องเต้น ๑๓๐-๑๔๐ ครั้งต่อนาทีนาน ๑๐ นาทีเป็นอย่างน้อย ก่อนจึงไปออกกำลังกาย ถ้าอยู่นครศรีธรรมราช สามารถทำได้ทั้งเช้า-เย็น เพราะมีเวลา ครับ
                         เดี๋ยวนี้ มารชอบมาผจญพี่สิงห์หนักขึ้น และก็ชนะพี่สิงห์ในความฝันเสมอ คือสติพี่สิงห์มาช้ากว่ามาร มารมาทำให้หลงไปในความคิดตัวเองที่นอนเนื่องในสันดาลที่โผล่ขึ้นมาในความฝัน กว่าจะมีสติรู้ตัวได้ทันก็หลงไปนานพอดู  กำลังสังเกตุตัวเองอยู่ว่าเป็นอะไร?
                         เวลาจิตมันฟุ้งซ่านไม่นิ่งอยู่กับปัจจุบัน พี่สิงห์จะใช้วิธีของหลวงปู่ดูลย์ คือภาวนา "พุทโธ" แต่พอจิตนิ่งเราก็ปล่อยให้จิตมันสงบไม่ต้องภาวนา หรือถ้าทำได้ก็จะใช้การเคลื่อนไหวมือตามหลวงพ่อเทียนแทน(พี่สิงห์จะไม่ใช้วิธีนี้ ในที่สาธารณะ เพราะไม่อยากเป็นเป้าสายตาชาวบ้าน จึงใช้ภาวนาแทน) ทุกสิ่งทุกอย่างพี่สิงห์ใช้ผสมปนเปกันเพื่อให้เข้ากับจริตของตัวเอง เพราะเป็นวิธีที่ถูกต้องทั้งนั้น เพราะสามารถทำให้จิตของเราสงบมีสติ สามารถแยกไปดู รูป-นาม ของเราได้ตามที่พระพุทธเจ้าท่านบอกไว้ ไม่ต้องดูห่างตัว พอมีสติดูจิต-กายของเรานี่ละ เราสามารถเห็นความจริงจากตัวเราได้และเป็น "ปัจจัจตัง" คือเราสามารถรู้ได้ด้วยตัวของเราเองเท่านั้น
                         เมื่อคืนอ่านหนังสือของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล  และวิธีปฏิบัติธรรมของท่าน จบจึงรู้ได้เลยว่าวิธีของท่านซึ่งท่านเป็นศิษย์รุ่นแรกของหลวงปู่มั่น และของหลวงพ่อเทียน  มีลักษณะสำคัญเหมือนกันเลย จึงเป็นพระอริยสงฆ์เหมือนกัน แต่ต่างกันตรงจุดเริ่มต้นที่ของหลวงพ่อเทียนเคลื่อนไหวด้วยมือ ซึ่งจะมีสติ เป็นสมาธิได้หง่าย และดูกาย-ใจ แต่ของหลวงปู่ดูลย์ ไม่ส่งจิตออกนอก คือไม่ให้คิดฟุ้งซ่านนอกตัวในปัจจุบัน ให้คุมจิตให้อยู่และก็ดูขันธ์ ๕ ในตัวเรานี้ละ เหมือนกับหลวงพ่อเทียน ต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
                         ดังนั้นถ้าใครปฏิบัติตามแนวทางหลวงพ่อเทียน หรือหลวงปู่ดูลย์ก้ดี นับว่าเป็นวิธีการที่ถูกต้อง ณ ปัจจุบันในความคิดของผม สามารถจะพ้นทุกข์ได้ในชาตินี้ ถ้าทำจริง เพราะคำว่า "พุทธ" มันมีอยู่แล้วในตัวของเรา เพียงแต่เราค้นไม่พบเท่านั้น หลวงปู่ดูลย์ หลวงพ่อเทียน ท่านทั้งสองยืนยันเหมือนกันครับว่ามีอยู่ในคนทุกคน จริง
                          สวัสดีครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1556 เมื่อ: 05 มีนาคม 2554, 08:27:07 »

 วันที่สามของการจาริกแสวงบุญ ๔ ตำบล
                         ภายหลังจากเข้าห้องน้ำดาวล้านดวง ก็ไปดูรอยเกวียนของท่านอณาบอณฑิกะเศรษฐี ก็ตรงไปขึ้นเขาคิชกูฎ ต้องใช้ระยะทางเดินขึ้นเขาประมาณ ๗๐๐ เมตร สำหรับท่านที่เดินไม่ไหวมีบริการนั่งแคร่มีคนหามสองคนคิดค่าบริการ ๙๐๐ รูปี ยังไม่มีปรากฎว่าตกแคร่ ครับ ตลอดระยะทางขึ้น-ลงจะมีแม่ค้า พ่อค้าขายผลไม้ โดยเฉพาะมะขามป้อมลูกใหญ่มาก ส้ม น้ำดื่ม และท่านจะได้เป็น "มหาราชา-มหารานี" ของพวกอาชีพขอทาน ที่นั่งสองฝากทาง และเด็กที่เดินตามตื้อท่าน ท่านต้องมีขันติ ใครแรงกว่าคนนั้นชนะ ครับ ที่เขาคิชกูฏมีวัดญี่ปุ่นอยู่บนยอดสูงขึ้นไปโดยกระเช้าไฟฟ้า คนนิยมมากเพราะสามารถดูเมืองราชคฤห์ได้เต็มตา คณะผมไม่มีเวลาจึงไม่ได้ขึ้นครับ
                        ภูเขาทั้งห้านั้น มีสำนักอาดาฬดาบถ อุทกดาบถ อาจารย์สัญชัยของพระสารีบุตร-พระโมคคัลลานะ ตั้งอยู่ ปัจจุบันสร้างเจดีย์และมรวัดพราห์มตั้งอยู่ คณะไม่ได้ขึ้นไปเพราะอยู่บนยอดเขาและห่างกันมาก ได้แต่ดูเท่านั้น ว่ามีหลักฐานอยู่จริง ตามที่กล่าวไว้มนพระไตรปิฎก





นี้คือถ้ำของพระโมคคัลลานะ ที่ท่านพักอาสัยและบรรลุพระอรหันต์ เขาคิชกูฎ





นี้คือถ้ำสุกรขาตา ที่พักของพระสารีบุตร
ท่านยืนโบกพัดให้พระพุทธเจ้า ขณะพระพุทธเจ้าสอนปริพาชก พระสารีบุตรยืนฟัง คิดตาม บรรลุเป็นพระอรหันต์ที่นี่







มูลพระคันธกุฎี บนยอดเขาคิชกูฎ ที่พระพุทธเจ้าประทับในเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธซึ่งพระเจ้าพิมพิศาลเสด็จมาเฝ้าพระพุมธเจ้าที่นี่



ที่พระนั่งนั้น คือกุฎฏิของพระอานนท์ พระอุปฐากพระพุทธเจ้า ใครจะขึ้นไปเฝ้าพระพุทะเจ้า ต้องผ่านพระอานนท์ก่อน
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1557 เมื่อ: 05 มีนาคม 2554, 10:09:38 »

                         ที่มูลพระคันธกุฎี บนยอดเขาคิชกูฏ นี้อากาศเช้าวันนี้เย็นสบายมากครับ คณะของเราเส้นใหญ่ จึงใช้เวลาในการบรรยายสถานที่ สวดมนต์ทำวัตรเช้า ปฏิบัติธรรม วิปัสสนานานมากว่าหนึ่งชั่วโมง พร้อมทั้งเวียนเทียนรอบมูลพระคันธกุฎี ให้ญาติโยมได้ปิดทองพระแท่น ทำบุญตามใจชอบ เสร็จแล้วก็มาสวดมนต์ต่อที่ถ้ำสุกรขาตา ที่พักของพระสารีบุตร และมาสวดมนต์ที่ถ้ำพระโมคคัลลานะ เพื่อระลึกถึงท่าน เสร็จก็เดินลงจากยอดเขาคิชกูฎ มาซื้อของที่ระลึก ดื่มน้ำ ชมทิวทัศน์ที่จะเห็นพุทธสถาน โดยรอบ ได้เห็นซากของเมืองราชคฤห์ ที่เมื่อก่อนในสมัยพุทธกาลเจริญสูงสุดในแคว้นชมพูทวีป แต่ปัจจุบันมีแต่ความแห้งแล้ง เมืองล้าง เป็นป่า นี่ละแม้แต่ซากเมือง ยังเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะเอาอะไรกับจิตของคนที่ไม่มีตัวตน แต่ทำให้คนเป็นทาษของมันทำอะไรๆ หลายอย่างที่เป็นทุกข์ตามมา ดังนั้นอย่าไปติดหรือยึดมั่นในสิ่งที่เราเคยเป็น เคยมี เคยได้รับความสุข เพราะมันไม่จิรังยั่งยืน สู้ทำจิตของเราให้บริสุทธิ์ผ่องใสดีกว่าครับ
                         เมืองราชคฤห์เป็นจุดรวมของหลาบลัทธิในสมัยพุทธกาล เป็นที่พระพุทธเจ้าเรียนกรรมฐานจาก อาฬารดาบส และอุทกดาบส เป็นที่พระพุทะเจ้าบำเพ็ญความเพียรอยู่กับปัญจวัคคี เป็นที่ประดิษฐานพุทธศาสนาให้มั่นคงในเมืองนี้ มีวัดแห่งแรก คือวัดเวฬุวันที่พระเจ้าพิมพิศาลทรงสร้างถวายในสวนป่าไผ่ ดังนั้นการจะเที่ยวชมเมืองราชคฤห์ให้ครบถ้วนรวมทั้ง ถ้ำสตบรรณคูหาที่พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูปทรงทำสังคยานาพระไตรปิฎกครั้งแรกด้วย ต้องใช้เวลาสองวันหนึ่งคืนครับ
                        คณะของเรามีเวลาจำกัดจึงต้องไปเฉพาะสถานที่สำคัญ และรับประทานอาหารกลางวันเป็นข้าวกล่องบนรถ ซึ่งก็อร่อยดีมากครับ เป็นไข่ผะโล้ และหมูทอด เชิญชมภาพต่อ ครับ
                       (ผมมุ่งแต่ใช้เวลาส่วนมากปฏิบัติธรรม ให้มีสติตลอดเวลา จึงถ่ายภาพมาน้อยเอาเแพาะที่สำคัญเท่านั้น)











ดร.พระมหา สุเทพ   นั่งบรรยายที่ถ้ำสุกรขาตา ของพระสารีบุตรเถระ



ดร.กุศล  กำลังนั่งสมาธิ  ที่มูลพระคันธกุฎี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1558 เมื่อ: 05 มีนาคม 2554, 13:20:24 »

                          ภายหลังจากกินข้าวกลางวันบนรถเสร็จ คณะเดินทางต่อไปยังโรงพยาบาลหมอชีวกโกมารภัจน์ และไปชมบ่ออาบน้ำของชาวฮินดู ที่แบ่งชั้นตามวรรณะ คือ พราห์มอาบชั้นบนสุด ถัดมาวรรณแพทย์ วรรณสูทร วรรณะจันฑาร จะเห็นว่าน้ำขุ่นมาก แต่เขาก็อาบแบบยอมรับในสิ่งที่พระพรหมกำหนด และอาบน้ำแบบมีความสุขด้วยครับ เราอย่าไปมองว่าสกปรก แต่นั้นเป็นสิ่งที่เราคิด แต่เขาไม่คิดและดวงตามีความสุข





นี่คือบ้านและโรงพยาบาล ของหมอชีวกโกมารภัจน์ หมอที่รักษาพระพุทธเจ้า เวลาทรงพระประชวร



คลังเก็บสมบัติ ของพระเจ้าพิมพิสาล เป็นถ้ำอยู่ในภูเขา



บ่ออาบน้ำของวรรณต่ำสุด(จันฑาน)







ภูเขาที่เห็นไกล ๆ นั้นคือ ถ้ำสัตบรรณคูหา ที่สังคยนาพระไตรปิฎก ครั้งแรก
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1559 เมื่อ: 05 มีนาคม 2554, 13:24:39 »

สวัสดีครับ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                        เย็นนี้พี่สิงห์กลับกรุงเทพฯ และพรุ่งนี้วันที่ ๖ ๗ ๘ พี่สิงห์ไปเรียนโยคะกับ Dr. Santos ที่วัดธรรมปัญญาราม บางม่วง สามพราน นครปฐม สามวันครับ เธอหายดีแล้วพี่สิงห์จะไปสอนให้เพื่อเธอจะได้ดูแลตัวเอง
                        สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1560 เมื่อ: 05 มีนาคม 2554, 15:04:34 »


              โอวาทปาติโมกขคาถา

(หันทะ มะยัง โอวาทะปาติโมกขะคาถาโย ภะณามะ เส)
 

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง,   การไม่ทำบาปทั่งปวง,

กุสะลัสสูปะสัมปะทา,      การทำกุศลให้ถึงพร้อม,

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง,      การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ,

เอตัง พุทธานะสาสะนัง,      ธรรม ๓ อย่างนี้, เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา,    ขันติ คือความอดกลั้น, เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง,

นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา,   ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง,

นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี,   ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่, ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย,

สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต,   ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่, ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย,

อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต,      การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย,

ปาติโมกเข จะ สังวะโร,      การสำรวมในปาติโมกข์,

มัตตัญญุตา จะ ภัตค์สะมิง,      ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค,

ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง,      การนอน การนั้ง ในที่อันสงัด,

อะธิจิตเต จะ อาโยโค,      ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง,

เอตัง พุทธานะสาสะนัง.      ธรรม ๖ อย่างนี้, เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.




                         ออกจากคลังสมบัติของพระเจ้าพิมพิสาร คณะเดินทางไปวัดเวฬุวนารม เป็นวัดแห่งแรกของโลกในพระพุทธศาสนา ที่พระเจ้าพิมพิสาร ทรงสร้างถวายพระพุทธองค์ เป็นอุทยานป่าไผ่ร่มรื่นงดงาม ปัจจุบันเป็นสถานที่สำคัญที่พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ที่ล้วนแล้วแต่เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา มาประชุมพร้อมกัน โดยมิได้นัดหมาย และพระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาติโมก คือทรงแสดงหลักการของศาสนาที่ระบุความมุ่งหมายที่ชัดเจน ให้แตกต่างจากลัทธิอื่นๆ ในขณะนั้น คือ ศาสนาพุทธประกอบไปด้วย ๑ ไม่ทำความชั่ว(อยู่ในศิล) ๒ ทำความดีให้ถึงพร้อม(สมาธิ) ๓ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส(มีปัญญา) และพระภิกษุต้องเป็นแบบอย่างที่ดีต่อชาวบ้าน คือไม่ประพฤติแบบปุถุชนม์ทั่วไป ไม่ฆ่าสัตว์ หรือมีวาจาที่ไม่เหมาะสม และต้องมีความเป็นอยู่ที่ง่าย เพราะต้องพึ่งชาวบ้านในเรื่องการกิน ต้องทำตัวให้ชาวบ้านพึ่งได้
                         วัดเวฬุวนารามนี้ เป็นสถานที่อุปติสสะและสหายทั้ง ๒๕๐ คนมาขอบวช คือท่านพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะและสหายนั่นเอง
                         ปัจจุบันทำเป็นสวนรื่นรมภ์มาก และมีอนุสาวรีย์อยู่ตรงที่ทรงแสดงโอวาทปาติโมก เป็นป่าไผ่คงปลูกขึ้นใหม่ มีสระจำชื่อไม่ได้ครับ และมีศาลาไทย ให้พักผ่อนด้วย ตอนไปกำลังบูรณะยังไม่เสร็จ พี่สิงห์เลยร่วมขอบริจาคไป ๑๐๐๐บาทครับ
                         คณะได้ไปสวดมนต์ สวดโอวาทปาติโมก นั่งเจริญสติ วิปัสสนา แล้วจึงเดินทางต่อไป นาลันทา
                        ข้างนอกรั้ว เต็มไปด้วยร้านขายของมีฝุ่นมากและร้อน แมลงวันมากเพราะสกปรก และมีขอทานมาก ครับ
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1561 เมื่อ: 05 มีนาคม 2554, 20:44:30 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 04 มีนาคม 2554, 20:39:34
อ้างถึง
ข้อความของ เอมอร 2515 เมื่อ 04 มีนาคม 2554, 19:58:15
สวัสดีตอนเย็นค่ะ
พี่สิงห์
สวัสดีตอนเย็นค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                         รู้สึกว่าวันอาทิตย์นี้ คุณทรงเกียรติ และพรรคพวกจะไปเยี่ยมเธอที่บ้าน เขามาชวนพี่สิงห์เหมือนกัน แต่ในเวลานั้นพี่สิงห์ต้องไปช่วย ดร.พระมหา สุเทพ และพระอาจารย์เสียงป้อ Dr.Santos ในการสอนโยคะ ที่วัดธรรมปัญญาราม บางม่วง สามพราน นครปฐม ครับ เพราะรับปากท่านเอาไว้ และต้องการเรียนโยคะเพิ่มเติมของแท้ เพื่อจะเอาไว้ดูแลร่างกายตนเอง และไปถ่านทอดต่อกับทุกท่านที่สนใจฝึกโยคะ ครับ เอาไว้คราวหน้าก็แล้วกัน หวังว่าเธอคงจะหายแล้วนะครับ
                         สวัสดี
สวัสดี ค่ะพี่สิงห์
ขอบคุณค่ะ
แค่พี่เขียนแนะนำธรรมดีๆ ก็ขอบคุณมากแล้วค่ะ
 หากหายดีแล้วคงได้พบกันค่ะ
ก็หวังเหมือนกันค่ะว่าเดือน เม.ย. คงจะเดินได้ตามที่หมอบอกค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1562 เมื่อ: 05 มีนาคม 2554, 20:45:10 »

                         ออกจากวัดเวฬุวนาราม คระก็เดินทางมาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในโลก ในสมัยนั้นมีพระภิกษุมาเรียนมากกว่าหนึ่งหมื่นองค์ สิ่งแรกที่คณะไปถึงเราไปนมัสการหลวงพ่อองคืดำ ที่ชาวบ้านละแวกนั้นนับถือ เป็นพระพุทธรูปองค์เดียวที่รอดพ้นจากการเผาของพวกมุสลิมอย่างน่าอัศจรรย์ ข้างนอกเต็มไปด้วยร้านค้า และคณะต้องนั่งรถม้าเข้าไปนมัสการหลวงพ่อองค์ดำอีกต่อหนึ่ง
                         คณะได้ไปสวดมนต์ นั่งเจริญสติ วิปัสสนา และนมัสการหลวงพ่อองคืดำกันถ้วนหน้า แล้วเดินทางไปมหาวิทยาลัยนาลันทา ต้องนั่งรถม้ากลับออกไปครับ การนั่งรถม้าก็สนุกดีเสียอย่างเดียวนั่งกันห้าท่านรวมทั้งคนขับ มันทารุญสัตว์เกินไปครับ
                         เชิญชมภาพ










ประวัติหลวงพ่อพระพุทธองค์ดำ

สำหรับประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อองค์ดำ จากบันทึกของ ปิลาซิง ทำให้เราได้ทราบว่า พระพุทธรูปพระพุทธเจ้าองค์ดำนี้ สร้างเมื่อสมัย พระเจ้าเทวาปาล คือระหว่าง พ.ศ.1353-1393
และถ้าหากท่านทราบประวัติความเป็นมามากกว่านี้ ท่านจะรู้สึกศรัทธา และประหลาดใจเป็นแน่ เพราะเป็นพระพุทธรูปองค์เดียวเท่านั้น ที่เหลือจากการทำลายของคนศาสนาอื่นได้อย่างไม่น่าเชื่อ กล่าวคือ เมื่อ พ.ศ.1766 พวกมุสลิมได้ใช้วิธีเผยแผ่ศาสนาโดยใช้กำลังอาวุธ ถ้าใครไม่นับถือศาสนาของตนจะต้องถูกทำร้าย โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ถือว่าเป็นศัตรูตัวสำคัญ จะต้องถูกทำลาย ไม่ว่าจะเป็นคนหรือทรัพย์สมบัติในพระพุทธศาสนา
จนกระทั่งเข้ายึดครองดินแดนชมพูทวีปฝ่ายเหนือได้ทั้งหมด ด้วยการใช้กำลังอำนาจเข้าห้ำหั่น ฆ่าฟัน ข่มเหง และย่ำยีด้วยวิธีการต่างๆ นานา ซึ่งมี อิคเทียร์ ซิลจิ เป็นหัวหน้า พาสมัครพรรคพวก ถืออาวุธเข้าห้ำหั่นชาวพุทธ ทุบทำลายเผาตำรับตำรา สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เหลือไว้แต่ซากปรักหักพัง เป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก
จากการบันทึกของท่าน ตารนาท ธรรมสวามินปราชญ์ เขียนเอาไว้ว่า พอกองทัพมุสลิมยกทัพกลับไปแล้ว พระ นักศึกษา และพระอาจารย์ ที่มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา ซึ่งเหลืออยู่ประมาณ 70 องค์ ก็พากันออกมาจากที่ซ่อน ทำการสำรวจข้าวของที่ยังหลงเหลืออยู่ รวบรวมเท่าที่จะหาได้ ปฏิสังขรณ์ตัดทอนกันเข้า ก็พอได้ใช้สอยกันต่อมา
และท่าน มุทิตาภัทร รัฐมนตรีของกษัตริย์ ในสมัยนั้น ได้จัดทุนทรัพย์จำนวนหนึ่ง ส่งไปจากแคว้นมคธ เพื่อช่วยเหลือซ่อมแซมปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่นาลันทาขึ้นมาใหม่ แต่ก็ทำได้บางส่วนเท่านั้น
แต่แล้ววันหนึ่ง ได้มี ชูชก 2 คน เข้ามาวางอำนาจ ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพลทางศาสนา จนกระทั่ง 12 ปีผ่านไป 2 ชูชกก็ยังวางตนเขื่องอยู่
มาถึงคราวหนึ่ง ทั้ง 2 ชูชกได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาขึ้น และคงคิดว่าเพียงพอแล้วที่จะอยู่ที่นี่ต่อไป จึงได้รวบรวมเศษไม้ แล้วก่อไฟขึ้น พร้อมทั้งขว้างปาดุ้นฟืนที่ติดไฟไปตามสถานที่ต่างๆ โดยรอบ จนกระทั่งเกิดไฟลุกไหม้ไปทั่ว มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา แหลกลาญเป็นผุยผง สุดที่จะทำการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ให้คืนดีได้ดังเดิม มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา อันเลื่องชื่อลือนาม ก็เป็นอันสิ้นสุดลง ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า มาตั้งแต่บัดนั้น
จนกระทั่งชาวอังกฤษเข้ายึดครองอินเดีย ได้มีนักโบราณคดีชาวอังกฤษคนหนึ่ง ชื่อท่าน เซอร์คันนิ่งแฮม ได้อ่านบันทึกของ พระถังซำจั๋ง ซึ่งเป็นพระจีนที่เคยเดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนา ที่มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา ถึง 14 ปี ได้บันทึกเหตุการณ์ และสถานที่สำคัญต่างๆ เอาไว้อย่างละเอียด
ซึ่งเมื่อ เซอร์คันนิ่งแฮม ได้อ่านดูแล้ว จึงได้มอบหมายให้ เอ.เอ็ม.พรอดเล่ย์ และ ดร.สปูนเนอร์ เข้าไปค้นหาปูชนียวัตถุ ตามบันทึกนั้น ก็ปรากฏว่าได้พระพุทธรูปมากมายหลายองค์ ส่วนมากจะเสียหายหักบิ่นจากการถูกทำลายของมุสลิมดังกล่าว จึงส่งเข้าไปรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประเทศอังกฤษ
ส่วนพระพุทธรูป หลวงพ่อพระพุทธเจ้าองค์ดำ นั้น ไม่ทราบว่า เป็นเพราะเหตุใดจึงไม่ถูกส่งไปอังกฤษด้วย และเป็นพระพุทธรูปองค์เดียวที่ยังคงความสมบูรณ์ที่สุด จะมีหักบิ่นนิดหน่อยเฉพาะที่พระนาสิก และพระองค์คุลีข้างขวาเท่านั้น
สรุปแล้วก็คือ เป็นพระพุทธรูปองค์เดียวเท่านั้น ที่เหลือรอดจากการถูกทำลายของมุสลิม และไม่ถูกอังกฤษยึดไป
           หากมองจากภาพทั่ว ๆ ไปแล้วพระพุทธรูปองค์ดำนี้..มีขนาดใหญ่และปดิษฐานตั้งไว้บนฐานที่มั่นคงยากลำบากต่อการเคลื่อนย้าย แต่ตามคำบอกเล่าทราบว่า ในกาลภายหลังทางรัฐบาลอินเดียพยายามที่จะย้ายท่านไปเก็บรักษาไว้ภายในพิพิธภัณฑ์เมืองนาลันทา ซึ่งเก็บรวบรวมหลักฐานพระพุทธรูปต่าง ๆ ที่ค้นพบในบริเวณนาลันทาและราชคฤห์ ทุกครั้งที่มีการโยกย้ายมักเกิดเหตุอาเพทที่ไม่คาดฝันเสมอ เช่น ฝนตกอย่างหนักเกิดฟ้าผ่าอย่างรุนแรงเป็นต้น เป็นเหตุให้การโยกย้ายองค์พระไม่สำเร็จได้ และชาวบ้านก็มาดูแลรักษาหลวงพ่อดำไว้ หากเกิดการเจ็บป่วยก็จะนำน้ำมันมาลูบองค์พระแล้วอฐิษฐานขอให้หลวงพ่อรักษาโรคต่าง ๆ ก็เป็นมหัศจรรย์ว่า โรคต่าง ๆ ได้ถูกรักษาด้วยพลังความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระ แม้แต่ปัจจุบัน ชาวพุทธผู้แสวงบุญชาวไทยต่างก็เดินทางไปสักการะและอฐิษบานของพรจากท่านรักษาโรคต่าง ๆ หายได้นับเป็นเรื่องมหัศจรรย์ยิ่งนัก หากมีโอกาสก็อย่าลืมไปสักการะหลวงพ่อดำได้ที่นาลันทา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

คำสวดบูชาสมเด็จพระพุทธเจ้าองค์ดำ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3จบ)

คำบูชาหลวงพ่อดำ
อิติปิโส ภะคะวา กาฬะวัณณะพุทธะปฏิมัง อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมาสาระถิ สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
ขอพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ พุทธบารมี สมเด็จพระพุทธเจ้าทรงวรรณะองค์ดำ ที่ข้าพเจ้าได้บุชาแล้ว จงมีอานุภาพ พลานุภาพ บุญญฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ จงบันดาลส่งผลให้ข้าพเจ้า มีอุดมมงคลสูงสุดในตัวข้าพเจ้า และครอบครัว ธุรกิจการงานของข้าพเจ้า จงชนะตลอด ปลอดภัยตลอด เจริญรุ่งเรื่องตลอด ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บตลอดชีวิต มีพลานามัยที่สมบูรณ์ยิ่ง
ในที่สุดขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาได้ดวงตาเห็นธรรม รู้แจ้ง เห็นจริง ในอริยสัจ4ประการ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรมอย่างไร ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าจงรู้ธรรมอย่างนั้นด้วยเดชแห่งบุญนี้เทอญ ฯ

      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1563 เมื่อ: 05 มีนาคม 2554, 20:53:34 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 05 มีนาคม 2554, 08:06:33
สวัสดียามเช้าค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                         อากาศยามเช้าที่นครดีมาก มีลมโกรกอ่อน ๆ เหมาะสำหรับออกกำลังกาย TAI CHI และโยคะมาก ตามปกติพี่สิงห์จะเดินสายพานให้ได้ระยะอย่างน้อยสามกิโลเมตร หรือมากกว่า ๓๐ นาที หรือต้องเผาผลาญพลังงานได้มากกว่า ๒๕๐ แคลอลี่ และหัวใจต้องเต้น ๑๓๐-๑๔๐ ครั้งต่อนาทีนาน ๑๐ นาทีเป็นอย่างน้อย ก่อนจึงไปออกกำลังกาย ถ้าอยู่นครศรีธรรมราช สามารถทำได้ทั้งเช้า-เย็น เพราะมีเวลา ครับ
                         เดี๋ยวนี้ มารชอบมาผจญพี่สิงห์หนักขึ้น และก็ชนะพี่สิงห์ในความฝันเสมอ คือสติพี่สิงห์มาช้ากว่ามาร มารมาทำให้หลงไปในความคิดตัวเองที่นอนเนื่องในสันดาลที่โผล่ขึ้นมาในความฝัน กว่าจะมีสติรู้ตัวได้ทันก็หลงไปนานพอดู  กำลังสังเกตุตัวเองอยู่ว่าเป็นอะไร?
                         เวลาจิตมันฟุ้งซ่านไม่นิ่งอยู่กับปัจจุบัน พี่สิงห์จะใช้วิธีของหลวงปู่ดูลย์ คือภาวนา "พุทโธ" แต่พอจิตนิ่งเราก็ปล่อยให้จิตมันสงบไม่ต้องภาวนา หรือถ้าทำได้ก็จะใช้การเคลื่อนไหวมือตามหลวงพ่อเทียนแทน(พี่สิงห์จะไม่ใช้วิธีนี้ ในที่สาธารณะ เพราะไม่อยากเป็นเป้าสายตาชาวบ้าน จึงใช้ภาวนาแทน) ทุกสิ่งทุกอย่างพี่สิงห์ใช้ผสมปนเปกันเพื่อให้เข้ากับจริตของตัวเอง เพราะเป็นวิธีที่ถูกต้องทั้งนั้น เพราะสามารถทำให้จิตของเราสงบมีสติ สามารถแยกไปดู รูป-นาม ของเราได้ตามที่พระพุทธเจ้าท่านบอกไว้ ไม่ต้องดูห่างตัว พอมีสติดูจิต-กายของเรานี่ละ เราสามารถเห็นความจริงจากตัวเราได้และเป็น "ปัจจัจตัง" คือเราสามารถรู้ได้ด้วยตัวของเราเองเท่านั้น
                         เมื่อคืนอ่านหนังสือของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล  และวิธีปฏิบัติธรรมของท่าน จบจึงรู้ได้เลยว่าวิธีของท่านซึ่งท่านเป็นศิษย์รุ่นแรกของหลวงปู่มั่น และของหลวงพ่อเทียน  มีลักษณะสำคัญเหมือนกันเลย จึงเป็นพระอริยสงฆ์เหมือนกัน แต่ต่างกันตรงจุดเริ่มต้นที่ของหลวงพ่อเทียนเคลื่อนไหวด้วยมือ ซึ่งจะมีสติ เป็นสมาธิได้หง่าย และดูกาย-ใจ แต่ของหลวงปู่ดูลย์ ไม่ส่งจิตออกนอก คือไม่ให้คิดฟุ้งซ่านนอกตัวในปัจจุบัน ให้คุมจิตให้อยู่และก็ดูขันธ์ ๕ ในตัวเรานี้ละ เหมือนกับหลวงพ่อเทียน ต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
                         ดังนั้นถ้าใครปฏิบัติตามแนวทางหลวงพ่อเทียน หรือหลวงปู่ดูลย์ก้ดี นับว่าเป็นวิธีการที่ถูกต้อง ณ ปัจจุบันในความคิดของผม สามารถจะพ้นทุกข์ได้ในชาตินี้ ถ้าทำจริง เพราะคำว่า "พุทธ" มันมีอยู่แล้วในตัวของเรา เพียงแต่เราค้นไม่พบเท่านั้น หลวงปู่ดูลย์ หลวงพ่อเทียน ท่านทั้งสองยืนยันเหมือนกันครับว่ามีอยู่ในคนทุกคน จริง
                          สวัสดีครับ
สวัสดีตอนเย็นค่ะ พี่สิงห์
เพิ่งจะเข้าwebตอนเย็นนี่เองค่ะ
๒-๓วันมานี่ เริ่มกำหนดจิตได้ดีขึ้น ค่ะ
วันที่web ล่มทำได้นานมากเลยค่ะ
ส่วนใหญ่จะทำได้นานตอนกลางคืน เงียบๆ นอนไปทำไปค่ะ
หากนั่งทำมือ จะทำได้สั้นกว่าค่ะ เมื่อย
คงไม่เป็นไร ใช่ไหมคะ ให้จิตเป็นสมาธิ จะนั่งหรือนอนหรือเดินก็คงจะใช้ได้นะคะ
ตอนนี้สงบมากแล้ว
พี่สิงห์บอกว่า เมื่อกำหนดจิตแล้ว ดูกาย ดูใจ ของพี่สิงห์ดูอย่างไรคะ ง่ายๆนะคะ
ดูเรื่องอะไร บ้าง จะลองหัดดูค่ะ เพราะคิดว่าตอนนี้ เริ่มกำหนดจิตให้สงบได้ง่าย และเร็วแล้วค่ะ
 น่าจะลองทำขั้นต่อไปได้แล้ว
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1564 เมื่อ: 05 มีนาคม 2554, 20:58:03 »

สวัสดีตอนค่ำค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                         พี่สิงห์อยู่กรุงเทพฯ กำลังจะสวดมนต์เย็น  นั่งเจริญสติ และนอน ครับ
                         ราตรีสวัสดิ์ค่ะ
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1565 เมื่อ: 05 มีนาคม 2554, 21:03:58 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 05 มีนาคม 2554, 20:58:03
สวัสดีตอนค่ำค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                         พี่สิงห์อยู่กรุงเทพฯ กำลังจะสวดมนต์เย็น  นั่งเจริญสติ และนอน ครับ
                         ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

 กำลังจะออกจากweb ไปทำสมาธิเหมือนกันคะ
พอดีวันนี้ยังไม่ได้เข้าwebเลยก็เลยตรวจข่าวคราวก่อน
เลยเวลาทำสมาธิมามากแล้ว
ราตรีสวัสดิ์ค่ะ พี่สิงห์
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #1566 เมื่อ: 05 มีนาคม 2554, 21:29:46 »



อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 05 มีนาคม 2554, 13:20:24
ภูเขาที่เห็นไกล ๆ นั้นคือ ถ้ำสัตบรรณคูหา ที่สังคยนาพระไตรปิฎก ครั้งแรก
คงจะเป็นภูเขาคนละลูกกันกับที่หนุมาน ไปหาสังกรณีตรีชวา มาแก้ฤทธิ์หอกโมกขศักดิ์ ของอินทรชิต
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1567 เมื่อ: 06 มีนาคม 2554, 05:53:24 »

                         มาดูซากมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลกกันครับ













                     นาลันทา เป็นชื่อเมือง ๆ หนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ 1 โยชน์ (ประมาณ 16 กิโลเมตร) ณ เมืองนี้มีสวนมะม่วง ชื่อ ปาวาริกัมพวัน (สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี) ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้งคัมภีร์ฝ่ายมหายานกล่าวว่า พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นอัครสาวก เกิดที่เมืองนาลันทา แต่คัมภีร์ฝ่ายบาลีเรียกถิ่นเกิดของ พระสารีบุตรว่า หมู่บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม
ตั้งของเมืองนาลันทาในปัจจุบัน

                      นาลันทาเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ห่างจากเมืองราชคฤห์ใหม่ประมาณ 12 กิโลเมตร ห่างจากเมืองปัตนะ รัฐพิหาร ประมาณ 90 กิโลเมตร ถึงแม้จะเป็นหมู่บ้านเล็กๆ แต่ภายหลังการขุดค้นพบซากมหาวิทยาลัยนาลันทาแล้ว ทางรัฐบาลรัฐพิหารได้ประกาศยกฐานะหมู่บ้านนาลันทา เป็นอำเภอนาลันทา (ที่ว่าการอำเภออยู่ที่พิหารชารีฟ ตั้งอยู่ห่างจากนาลันทา 12 กิโลเมตร)

นาลันทาในความหมายเชิงนิรุกติศาสตร์

คำว่า นาลันทา วิเคราะห์เชิงนิรุกติศาสตร์ได้ 5 นัย ดังนี้
                   1.   โบราณาจารย์บอกว่านาลันทา เลือนมาจากประโยคว่า น อลม ทา แปลว่า ฉันจะไม่ให้ มีตำนานเสริมว่าสมัยหนึ่งพระโพธิสัตว์บำเพ็ญทานบารมี เป็นที่รู้จักกันดี จนไม่มีใครได้ยินคำว่า ฉันจะไม่ให้
                   2.   นาลันทา มาจากคำ 2 คำ คือ นาลัน แปลว่า ดอกบัว และ ทา แปลว่า ให้ หมายถึง ให้ดอกบัว มีตำนานเสริมว่าบริเวณนี้มีดอกบัวมาก แม้ปัจจุบันก็ยังมี ดอกบัวมากอยู่ จึงเป็นเหมือนสถานที่ให้ดอกบัว
                   3.   นาลันทา เป็นชื่อพญานาคซึ่งอาศัยอยู่ในสระบัวใหญ่ ณ บริเวณมหาวิทยาลัยนาลันทาปัจจุบัน ตรงกับคตินิยมของชาวอินเดียในปัจจุบันที่บูชางู มีพิธีเรียกว่านาคปัญจมี มีเมืองชื่อ นาคปุระ๘
                   4.   นาลันทา ประกอบด้วยคำ 3 คำ คือ น, อลัง, และ ทา แปลตามตัวอักษรว่า ให้ไม่พอ แต่ความหมายก็คือ ให้ไม่รู้จักพอ
                  5.   สมณะอี้จิงบันทึกไว้ว่า นาลันทา แผลงมาจากคำว่า นาคนันทะ ซึ่งอาจตั้งชื่อตามชื่อพญานาคที่ยึดครองที่นั้นและต่อมา พญานาคนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่า นาคแห่งนาลันทา หรือ นาลันทานาค ท่านธรรมสวามีชาวทิเบตซึ่งเดินทางมาเยี่ยมที่นี้เมื่อ พ.ศ. 1777 บันทึกไว้ว่า คำว่า นาลันทา หมายถึง เจ้าแห่งมนุษย์ (Lord of men)

นาลันทาในสมัยพุทธกาล

                  คำว่า นาลันทา ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาหลายครั้งในพุทธกาล เช่น ตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสเกวัฏฏสูตรแก่บุตรคฤบดีชื่อเกวัฏฏะ และปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาซึ่งแก้ข้อความพระสูตรเดียวกัน เมืองนาลันทาตั้งอยู่ห่างจากกรุงราชคฤห์ 1 โยชน์ (ประมาณ 16 กิโลเมตร) มีสถานะเป็นเมืองเล็ก (township) แต่เป็นสถานที่ซึ่งมีชื่อเสียง เจริญรุ่งเรือง มีคนอาศัยอยู่มาก เป็นศูนย์กลางการค้าขายเห็นได้จากมีข้อความอ้างถึงเสมอ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จทางไกล ประทับแรม ณ ที่ใดที่หนึ่ง พระสังคีติ-กาจารย์อ้างเสมอว่าสถานที่นั้นอยู่บริเวณใดแน่ ก็จะอ้างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทาว่า อนฺตรา จ ราชคหํ อนฺตรา จ นาฬนฺทํ ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา เช่น
สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป แม้สุปปิยปริพาชกก็ได้เดินทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา พร้อม ด้วยพรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์...
เมืองนาลันทามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ เป็นที่ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปมาเสมอ (โคจรคาม) นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญ ใกล้เคียง เช่น สวนมะม่วงชื่อ ปาวาริกะ ซึ่งทุสสิกปาวาริกเศรษฐีน้อมถวาย สวนอัมพลัฏฐิกา ปาฏลิคาม และพหุปุตตเจดีย์

ความสำคัญของเมืองนาลันทาสมัยพุทธกาล

               นาลันทามีความสำคัญมาแต่ครั้งพุทธกาล เห็นได้จากกรณีที่พระสารีบุตรบันลือสีหนาท ประกาศความเลื่อมใสของตนในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้าว่า
                ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่น ซึ่งจะมี ปัญญาในทางพระสัมมาสัมโพธิญาณ ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า
                เนื่องจากพระสารีบุตรต้องการประกาศความเลื่อมใสของตนในเมืองนาลันทาเพราะว่าเมืองนาลันทาเป็นศูนย์การศึกษาแม้ในครั้งพุทธกาล เป็นศูนย์รวม นักปราชญ์นักวิชาการ พระสารีบุตรซึ่งเป็นเลิศทางด้านปัญญาประสงค์ จะประกาศให้เหล่านักวิชาการแห่งนาลันทา รับรู้ความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมโพธิญาณของพระผู้มีพระพุทธเจ้า

               หลักฐานที่แสดงถึงความสำคัญ ของนาลันทาอีกอย่างหนึ่ง คือ การที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพรหมชาลสูตร ประกาศทิฏฐิ ๖๒ และทรงแสดงเกวัฏฏสูตร แสดงภาวะนิพพานซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนา ทิฏฐิ 62 เป็นประเด็นที่เจ้าลัทธิต่างๆ อภิปรายกันไม่รู้จบ เพราะเป็นประเด็นเชิงอภิปรัชญา ไม่มีใครรู้จริง แต่อภิปรายกันตามความคิดเห็น พระพุทธองค์ทรงแสดงให้บรรดาเจ้าลัทธิรู้ว่า วัตถุประสงค์และประโยชน์ของทิฏฐิเหล่านี้คืออะไร มีขอบเขตเพียงไร อานิสงส์ที่เกิดจากการแสดงพระสูตรทั้ง 2 นี้มี 2 ระดับ คือ
1.   ระดับวิชาการ พระพุทธองค์ทรงประกาศให้รู้ว่า อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณครอบคลุมภูมิปัญญาทุกระดับ ทิฏฐิ 62 ซึ่งเป็นเรื่องเชิงวิชาการ เป็นปรัชญา พระพุทธองค์ทรงรู้แจ้ง แต่ไม่ประสงค์จะอภิปรายตอบข้อสงสัย เพราะไม่มีประโยชน์ และจะกลายเป็นประเด็นให้เจ้าลัทธินำไปกล่าวอ้างในที่ต่างๆ ว่า พระพุทธองค์ตรัสอย่างนี้ อย่างนี้
2.   ระดับอุดมการณ์ พระพุทธองค์ทรงประกาศภาวะยิ่งใหญ่แห่งนิพพานว่า เป็นที่ดับสนิทของมหาภูตรูป เป็นที่ดับสนิทแห่งนาม ภาวะที่เรียกว่านิพพาน นี่แหละคืออุดมการณ์สูงสุดแห่งการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา

ความรุ่งเรืองหลังพุทธกาล

              ภายหลังพุทธกาล ชื่อเมืองนาลันทาเงียบหายไประยะหนึ่ง หลวงจีนฟาเหียนซึ่งจาริกมาสืบศาสนาในชมพูทวีป ราว พ.ศ. 944-953 บันทึกไว้ว่าได้พบเพียงสถูปองค์หนึ่งที่นาลันทา แต่ต่อมาไม่นาน กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะพระองค์หนึ่งพระนามว่าศักราทิตย์ หรือกุมารคุปตะที่ 1 ซึ่งครองราชย์ประมาณ พ.ศ. 958-998 ได้ทรงสร้างวัดอันเป็นสถานศึกษาขึ้นแห่งหนึ่งที่เมืองนาลันทา และกษัตริย์พระองค์ ต่อๆ มาในราชวงศ์นี้ก็ได้สร้างวัดอื่นๆ เพิ่มขึ้นในโอกาสต่างๆ จนมีถึง 6 วัด อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ในที่สุดได้มีการสร้างกำแพงใหญ่อันเดียวล้อมรอบ ทำให้วัดทั้ง 6 รวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า นาลันทามหาวิหาร และได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ แห่งสำคัญยิ่ง ที่นักประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เรียกกันทั่วไปว่า “มหาวิทยาลัยนาลันทา”

มหาวิทยาลัยนาลันทา

               พระเจ้าหรรษาวรรธนะ มหาราชพระองค์หนึ่งของอินเดีย ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1149-1191 ก็ได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของมหาวิทยาลัยนาลันทา หลวงจีนเหี้ยนจัง (พระถังซำจั๋ง) ซึ่งจาริกมาสืบพระศาสนาในอินเดียในรัชกาลนี้ ในช่วง พ.ศ. 1172-1187 ได้มาศึกษาที่นาลันทามหาวิหาร และได้เขียนบันทึกบรรยายอาคารสถานที่ที่ใหญ่โตและศิลปกรรมที่วิจิตรงดงาม ท่านเล่าถึงกิจกรรมทางการศึกษา ที่รุ่งเรืองยิ่ง นักศึกษามีประมาณ 10,000 คน และมีอาจารย์ประมาณ 1,500 คน พระมหากษัตริย์พระราชทานหมู่บ้าน 200 หมู่โดยรอบให้ โดยทรงยกภาษีที่เก็บได้ให้เป็นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ผู้เล่าเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น วิชาที่สอนมีทั้งปรัชญา โยคะ ศัพทศาสตร์ เวชชศาสตร์ ตรรกศาสตร์ นิติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ ตลอดจนโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ และตันตระ

                 แต่ที่เด่นชัดก็คือนาลันทาเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และเพราะความที่มีกิตติศัพท์เลื่องลือมาก จึงมีมีนักศึกษาเดินทางมาจากต่างประเทศหลายแห่ง เช่น จีน ญี่ปุ่น เอเซียกลาง สุมาตรา ชวา ทิเบต และมองโกเลีย เป็นต้น หอสมุดของนาลันทาใหญ่โตมากและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เมื่อคราวที่ถูกเผาทำลายในสมัยต่อมา มีบันทึกกล่าวว่าหอสมุดนี้ไหม้อยู่เป็นเวลาหลายเดือน หลวงจีนอี้จิงซึ่งจาริกมาในระยะประมาณ พ.ศ. 1223 ก็ได้มาศึกษาที่นาลันทาและได้เขียนบันทึกเล่าไว้อีก นาลันทารุ่งเรืองสืบมาช้านานจนถึงสมัยราชวงศ์ปาละ (พ.ศ. 1303-1685) กษัตริย์ราชวงศ์นี้ก็ทรงอุปถัมภ์มหาวิหารแห่งนี้ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยเฉพาะโอทันตปุระที่ได้ทรงสถาปนาขึ้นใหม่
อย่างไรก็ดี ในระยะหลังๆ นาลันทาได้หันไปสนใจการศึกษาพุทธศาสนาแบบตันตระ ที่ทำให้เกิดความย่อหย่อนและหลงเพลินทางกามารมณ์ ซึ่งเมื่อพระที่ควรงดเว้นเรื่องกามตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา กลับหันมาเสพกามเสียแล้ว ก็ทำให้เหล่าอุบาสก อุบาสิกาเริ่มเสื่อมศรัทธาจนส่งผลให้ไม่สนใจใยดีพระศาสนา ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ฝ่ายเดียวต่างจากลัทธิพราหมณ์เริ่มที่จะปรับตัวจนกลายมาเป็น ฮินดู การปรับตัวนั้นก็เพื่อต่อสู้กับการเจริญเติบโตของพุทธศาสนา จากลัทธิพราหมณ์ที่ไม่มีนักบวช ก็มี ไม่มีวัด ก็มี จากการเข่นฆ่าบูชายันต์สัตว์ ก็หันมานับถือสัตว์บางประเภทและประกาศไม่กินเนื้อ เช่น วัว สร้างเรื่องให้พระพุทธเจ้าก็กลายเป็นอวตารหนึ่งของเทพเจ้าในศาสนาฮินดูและทำให้พุทธศาสนากลมกลืนกับศาสนาฮินดูมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุสำคัญอย่างหนึ่งแห่งความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนา

ความล่มสลายของมหาวิทยาลัยนาลันทา

                  ในประมาณ พ.ศ. 1742 กองทัพมุสลิมเติรกส์ได้ยกมารุกรานรบชนะกษัตริย์แห่งชมพูทวีปฝ่ายเหนือ และเข้าครอบครองดินแดงโดยลำดับ กองทัพมุสลิมเติรกส์ได้เผาผลาญทำลายวัดและปูชนียสถานในพุทธศาสนาลงแทบทั้งหมด และสังหารผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา นาลันทามหาวิหารก็ถูกเผาผลาญทำลายลงในช่วงระยะเวลานั้นด้วย มีบันทึกของนักประวัติศาสตร์ชาวมุสลิมเล่าว่า ที่นาลันทา พระภิกษุถูกสังหารแทบหมดสิ้น และมหาวิทยาลัยนาลันทาก็ก้าวถึงความพินาศสูญสิ้นลงแต่บัดนั้นมา
จากการบันทึกของท่าน ตารนาท ธรรมสวามินปราชญ์เขียนเอาไว้ว่า พอกองทัพมุสลิมยกทัพกลับไปแล้ว พระ นักศึกษา และพระอาจารย์ ที่มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา ซึ่งเหลืออยู่ประมาณ 70 องค์ ก็พากันออกมาจากที่ซ่อน ทำการสำรวจข้าวของที่ยังหลงเหลืออยู่ รวบรวมเท่าที่จะหาได้ ปฏิสังขรณ์ตัดทอนกันเข้าก็พอได้ใช้สอยกันต่อมา และ ท่านมุทิตาภัทร รัฐมนตรีของกษัตริย์ในสมัยนั้นได้จัดทุนทรัพย์จำนวนหนึ่ง ส่งไปจากแคว้นมคธ เพื่อช่วยเหลือซ่อมแซมปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่นาลันทาขึ้นมาใหม่แต่ก็ทำได้บางส่วนเท่านั้น
                  แต่แล้ววันหนึ่งได้มีปริพาชก 2 คนได้เข้ามาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของตนขึ้นและคงคิดว่าเพียงพอแล้วที่จะอยู่ที่นี่ต่อไป จึงได้รวบรวมเศษไม้แล้วก่อไฟขึ้น พร้อมทั้งขว้างปาดุ้นฟืนที่ติดไฟไปตามสถานที่ต่างๆ โดยรอบ จนกระทั่งเกิดไฟลุกไหม้ไปทั่วมหาวิทยาลัยนาลันทา ก็เป็นอันแหลกลาญเป็นผุยผง สุดที่จะทำการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ให้คืนดีได้ดังเดิม มหาวิทยาลัยนาลันทา อันเลื่องชื่อลือนาม ก็เป็นอันสิ้นสุดลง ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า มาตั้งแต่บัดนั้นซากของนาลันทาที่ถูกขุดค้นพบในภายหลัง ยังประกาศยืนยันอย่างชัดเจนถึงความยิ่งใหญ่ของนาลันทาในอดีตในปลายพุทธศตวรรษที่ 25

การค้นพบนาลันทา

              ในยุคที่อังกฤษปกครองอินเดีย นักโบราณคดีจำนวนมากได้มาสำรวจขุดค้นพุทธสถานต่างๆ ในอินเดียโดยอาศัยบันทึกของท่านเฮี่ยนจัง คนแรกที่มาสำรวจ คือ ท่าน ฮามินตัน (Lord Haminton) ใน พ.ศ. 2358 แต่ไม่พบ ได้พบเพียงพระพุทธรูปและเทวรูป 2 องค์เท่านั้น ซึ่งสถานที่พบอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยเพียง 1 กิโลเมตรเท่านั้น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2403 นายพลคันนิ่งแฮม ได้มาสำรวจและก็พบมหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงกองดินสูงเท่านั้น ต่อมาจึงได้ขุดสำรวจตามหลักวิชาการโบราณคดี มหาวิทยาลัยก็ได้ปรากฏแก่สายตาชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง บริเวณปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ และตรงหน้ามหาวิทยาลัยนาลันทาได้มีพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ที่เก็บรวมรวมโบราณวัตถุที่ขุดพบในมหาวิทยาลัยนาลันทา

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1568 เมื่อ: 06 มีนาคม 2554, 06:03:59 »

อรุณสวัสดิ์ค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                         พี่สิงห์ตื่นมาตีห้า มานั่งเจริญสติ สักพักหนึ่ง จึงมาเข้าเวบเพื่อโพสต์มหาวิทยาลัย "นาลันทา" ต่อ ก่อนที่จะไปเรียนโยคะ กับ Dr.Santos ที่วัดธรรมปัญญาราม บางม่วง สามพราน นครปฐม ครับ
                         เช้านี้เธอสบายทั้งกาย-ใจ นะครับ "อย่าส่งจิตออกนอก" "จิตเห็นจิตเป็นมรรค" คือ "นิพพาน" จากหลวงปู่ดูลย์  อตุโล
                         นี่คือ กำลังใจครับ "อย่าคิดไปไกลกว่าปัจจุบัน ที่เรากำลังกระทำอยู่ตรงหน้า คือจิตไม่ฟุ้งซ่านปล่อยให้คิดอะไรไปต่างๆ นาๆ  ให้ดูจิตตัวเอง จนดวงตาเห็นธรรม" จะรู้ได้ด้วยตัวเองเพราะเป็น "ปัจจัจตัง"
                         สวัสดีค่ะ
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1569 เมื่อ: 06 มีนาคม 2554, 10:01:24 »

...เข้ามาตามชมรูปต่อค่ะ...
...ขอบคุณมากนะคะ...พี่สิงห์...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #1570 เมื่อ: 06 มีนาคม 2554, 18:29:33 »

ขอบคุณพี่สิงห์มากครับกำลังอยากรู้พอดี
      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1571 เมื่อ: 06 มีนาคม 2554, 20:26:45 »

                          ที่มหาวิทยาลัยนาลันทานี้ คระใช้เวลาในการเยี่ยมชมสองชั่วโมง โดยมีไกด์ท้องถิ่นเป็นผู้บรรยาย เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับนาลันทา พาชมห้องฝึกกรรมฐาน ที่อยู่ระหว่างศิษย์-อาจารย์ ห้องสมุดที่ไฟลุกไหม้ถึงสามวันจึงดับ และชาวพุทธที่นาลันทา ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ ยังรักษาขนบธรรมเนียมต่างๆ ไว้อย่างเหนี๋ยวแน่น แต่ท่านเหล่านั้นได้อพยพไปอยู่ที่เมืองจิตกอง มีอยู่ประมาณล้านกว่าคน ยังเหนียวแน่นกับพุทธศาสนา
                          คณะได้ไปนั่งสวดมนต์เย็นหน้าซากเจดีย์บรรจุสรีระของพระสารีบุตร ที่นาลันทา นั่งเจริญสติ วิปัสสนาเพื่อรำลึกถึงท่าน เพราะนาลันทา สร้างเพื่อรำลึกถึงท่านพระสารีบุตรอุครสาวกเบื้องขวา
                          ต่อจากนั้นคณะเดินทางต่อไปยังวัดไทยไวสารี ถึงวัดไทยไวสารีห้าทุ่มเพราะวันนั้นเป็นวันที่ศาสนาฮินดูแห่พระเจ้ากันทั้งคืน รถติดมาก ทุกคนได้รับประทานอาหารเย็นเที่ยงคืน แต่พี่สิงห์โชคดีที่ถือสิลแปด เลยไม่ต้องกินข้าวเย็น อากาศหนาวมาก อาบน้ำไปต้องปลงเวทนาไป จึงอาบได้ครับ เชิญชมภาพ

















ปกติต้นปาล์มจะมีเพียงต้นเดียวและยอดเดียว แต่ที่นาลันทามีปาล์มหนึ่งต้นแตกยดกเป็นแปกยอกเท่ากับ "มรรค ๘"





ลวดลายโบราญ ที่ยังหลงเหลืออยู่

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1572 เมื่อ: 06 มีนาคม 2554, 21:04:16 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
                        วันนี้พี่สิงห์ได้ไปช่วยพระอาจารย์ ดร.พิสิษฐ์(เสียงป้อ) ดร.พระมหา สุเทพ และ ดร.สวามี ซานโตส อนันท์ ที่วัดธรรมปัญญาราม วัดมหายาน ในการเป็ดอบรมโยคะ และมีการถ่ายทอดสดออกทางทีวี DDTV ผ่าน internet ไป ๑๗๐ ประเทศ ทางวิทยุ FM 101.25 Mhz พี่สิงห์ช่วยบรรยาย และช่วยผู้ฝึกได้ทำให้ถุกต้องตามท่าที่ ดร.ซานโตส  สอน และช่วงพักฉันเพลต้องรับหน้าเสื่อสอนโยคะ และบรรยายการดุแลรักษาสุขภาพ และเรื่องอื่นๆ เป็นการฆ่าเวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงครั่ง เป็นการคั่นรายการและออก TV สด ด้วย โดยไม่มีการนัดแนะเลย เป็นอะไรที่สนุกดีเหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่าผู้ชมทางบ้านจะชอบหรือไม่
                          การอบรมโยะวันนี้มีสองช่วง คือช่วงเช้า 09:00-11:00 น. ช่วงบ่าย 15:00-17:00 น. และยังมีต่ออีกสองวันครับ ชาวซีมะโด่งท่านใดสนใจจะฝึกโยคะจาก ดร.ซานโตส  เชิญที่วัดได้เลยครับ สำหรับ VCD ที่มีผู้โทรศัพท์ไปถามจำนวนมากนั้นทางวัดจะจัดทำอีกทีหนึ่ง ท่านสามารถสอบถามทางวัดธรรมปัญญารามได้ ถ้าท่านต้องการ
                          วันนี้พี่สิงห์ได้แต่เป็นผู้ช่วย บรรยายบางครั้งสลับกับ ดร.พระมหาสุเทพ และได้จดจำท่าไว้เกือบทั้งหมด พรุ่งนี้คงจะต้องฝึกตาม คงไม่ต้องแปลเป็นไทยแล้ว จะได้จำได้หมดเอาไว้ฝึกตัวเอง และสอนต่อให้กับผู้ที่อยากเรียน ดร.ซานโตส สอนทั้งอาสนะโยคะ และพราห์มยาณะโยคะ เน้นทั้งส่วนต่างๆของร่างกายและอวัยวะภายในเพื่อแก้โรค จากไม่ติดเชื้อ เช่น เบาหวาน ความดัน ตับ ไต หัวใจ ปวดต่างๆ ตามร่างกาย มายเกรน ตา
                          เอาไว้พี่สิงห์ได้ VCD และฝึกตัวเองคล่องแล้วจะสอนต่อให้กับผู้ที่สนใจครับ วันนี้เหนื่อยมากๆ ทั้งวัน ครับ
                          ราตรีสวัสดิ์ครับ





















      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1573 เมื่อ: 07 มีนาคม 2554, 00:06:17 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 06 มีนาคม 2554, 06:03:59
อรุณสวัสดิ์ค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                         พี่สิงห์ตื่นมาตีห้า มานั่งเจริญสติ สักพักหนึ่ง จึงมาเข้าเวบเพื่อโพสต์มหาวิทยาลัย "นาลันทา" ต่อ ก่อนที่จะไปเรียนโยคะ กับ Dr.Santos ที่วัดธรรมปัญญาราม บางม่วง สามพราน นครปฐม ครับ
                         เช้านี้เธอสบายทั้งกาย-ใจ นะครับ "อย่าส่งจิตออกนอก" "จิตเห็นจิตเป็นมรรค" คือ "นิพพาน" จากหลวงปู่ดูลย์  อตุโล
                         นี่คือ กำลังใจครับ "อย่าคิดไปไกลกว่าปัจจุบัน ที่เรากำลังกระทำอยู่ตรงหน้า คือจิตไม่ฟุ้งซ่านปล่อยให้คิดอะไรไปต่างๆ นาๆ  ให้ดูจิตตัวเอง จนดวงตาเห็นธรรม" จะรู้ได้ด้วยตัวเองเพราะเป็น "ปัจจัจตัง"
                         สวัสดีค่ะ

ขอบคุณพี่สิงห์ค่ะ
วันนี้เพื่อนๆมาเยี่ยมค่ะ
ได้กำลังใจมากมายค่ะ
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #1574 เมื่อ: 07 มีนาคม 2554, 00:19:44 »

อ้างถึง
ข้อความของ patooman 64 เมื่อ 06 มีนาคม 2554, 18:29:33
ขอบคุณพี่สิงห์มากครับกำลังอยากรู้พอดี
กำลังอยากรู้ว่าอยากรู้อะไรพอดี
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
  หน้า: 1 ... 61 62 [63] 64 65 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><