เหยง 16
|
|
« ตอบ #800 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2553, 09:25:22 » |
|
คงต้องรอให้แผลสมานกันให้สนิทอีกสัก 2-3 วัน และเหงือกลดการอักเสบลง จึงจะใช้ฟันในฝั่งนี้รองรับอาหาร ช่วงนี้ หากไม่ได้ใช้แปรงสีฟัน พี่สิงห์ก็ใช้วิธีที่บอกมานั่นแหละครับ
ส่วนเรื่องหลานชาย อย่าไปโทษเขาเลย นี่แสดงให้เห็นถึง น้ำใจและสายใยแห่งความเป็นญาติที่แท้จริง ก็ในเมล์มันบอกแล้วนี้ว่า เป็นเรื่องจริง ถูกขโมยไปหมดทุกอย่าง......ง และมีความจำเป็นต้องใช้เงิน สมควรจะหาอะไรตอบแทนเขาด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่พี่สิงห์อาจจะยังโมโหอยู่
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #801 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2553, 09:34:43 » |
|
ผมกับเขาไม่ได้ติดต่อ mail กันเลย เพราะผมเขียนภาษาอังกฤษไม่เก่ง เขาก็รู้ เขาเองก็ไม่ได้เขียนถึงผม เพียงแต่มี mail ไว้เท่านั้น เขาควรจะฉลาดมากกว่านี้ อาจจะเป็นเพราะผมให้เขามาตลอดตั้งแต่เรียน ขออะไรผมก็ซื้อให้เช่น Computer แหวนทองคำฝังเพชร(ให้ไว้สมัยเขาเรียน บอกว่าถ้าเดือดร้อนเรื่องเงินก็เอาไปขายแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไว้ก่อน ) พระสมเด็จ และเงินทุนในการเรียน เขาก็รู้ว่าผมไม่เคยขออะไรจากเขาเลย เพียงแต่บอกไว้ว่า ให้เขาดูแลแม่เขาแทนผมด้วย(พี่สาว) บอกเท่านั้นจริงๆ เขาเป็นคนเก่ง ไม่ควรถูกหรอกได้ง่ายๆ เพียงแค่ถามคนที่ส่งไปว่าผมเกิดที่ไหน เท่านั้น เขาก็ตอบไม่ได้ครับฝรั่งขี้โกงคนนั้น ผมได้ส่ง mail ไปแสดงความเสียใจกับหลานชายไปแล้ว ครับ สวัสดี
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #802 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2553, 10:17:32 » |
|
พี่สิงห์
US $3,000 เหรียญมีค่ามากพอสมควรครับ คนโกงมันฉลาดที่ขอ พี่สิงห์ศึกษาได้จากอีเมล์ทั้งของพี่ และของพี่ชรินทร์ คนโกงมันเจตนาขอจากคนชั้นกลาง ซึ่งพี่เคยติดต่อ โดยได้อีเมล์จาก Maillist ของพี่ใน Hotmail นั่นเอง และเราไม่ได้เฉลียวอยู่เรื่องหนึ่งคือ การเมล์ไปหาบุคคลที่เราเคยติดต่อ ว่าอีเมล์เราถูก hack ไป ให้ระวัง ตรงนี้แหละคือจุดอ่อนที่ไม่มีใครเขาคิดถึงและทำการแก้เกมส์ของคนโกง
อนึ่ง มาคิดกันในแง่ความเป็นจริง เพื่อทบทวนความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ผมไม่เคยเก็บเงินไว้ในที่เดียว แม้ในตัวก็เก็บแยกไว้ 2 ที่ มันจะถูกขโมยจนหมดเชียวหรือ ปกติคนเดินทางไกลในต่างประเทศจะใส่สูท ซึ่งเอกสารเดินทางและกระเป๋าสตางค์มักจะอยู่ด้านในของสูท ขนาดไปเวียตนาม จีน หรือ ลาว ยังแยกเก็บมากกว่า 3 แห่ง Passport ยังมีสำเนาแยกเก็บไปด้วยเลย และเมื่อสัมภาระและเงินถูกขโมย ทางโรงแรมให้เราใช้เน็ตเพื่อขอความช่วยเหลือ ทั้งที่ควรติดต่อสถานฑูตก่อน เราไม่เก่งภาษาอังกฤษ แต่นั่นเป็นประเทศสเปน หนักเข้าไปกันใหญ่ กรณีใช้เน็ต เราเปิด maillist ของเราใน Hotmail เราก็คงต้องเลือกส่งเป็นเฉพาะราย กับบุคคลที่เราเชื่อว่า เขาจะช่วยเราได้จริง ไม่ใช่ส่งกราดไปทั้งหมด ที่ผมคาใจคือ ผมไม่รู้จัก western union ระบบส่งเงินที่ว่า งานนี้ต้องยอมรับว่า มันประสบผลสำเร็จในการ hack และได้ค่าเหนื่อยตอบแทน US $3,000 ไปจริงๆ และไม่แน่ว่าจะได้เพิ่มอีกหรือเปล่า ??
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #803 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2553, 13:04:03 » |
|
บ่นอะไร บ่นไป นั้นไม่ว่า มาห้ามคน เีรียนโยธา นั้นไม่ได้ ความรู้ดี คณะเด่น เห็นแต่ไกล โลกวิไล ปัจจัยสี่ มีมานาน
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #804 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2553, 13:30:54 » |
|
|
|
|
|
wannee
Global Moderator
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: จุฬาฯรุ่นประวัติศาสตร์ 2516
คณะ: ทันตแพทยศาสตร์
กระทู้: 4,806
|
|
« ตอบ #805 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2553, 19:44:08 » |
|
เมื่อเช้า แวะมา update แล้ว ( แต่ต้องรีบออกบ้านจึงไม่ได้ post ) และเย็นอีกครั้ง ตอนนี้พี่สิงห์ก็เพียงแต่รอแผลหายเท่านั้นค่ะ
การปฎิบัติตัวที่เปลี่ยนไปเล็กน้อยในระยะสั้นๆนี้ ก็มีเพียงเรื่อง การรับประทานอาหาร (จำพวกเคี้ยวยากหรือแข็ง) การแปรงฟัน(แปรงเบาหน่อยบริเวณแผล) และการออกกำลังกาย ( พอเหมาะ )
ขออนุญาติไปทานข้าวค่ะ ลูกรออยู่
|
"เสียด" ภาษาจีนฮากกา แปลว่า หิมะ
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #806 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2553, 20:15:02 » |
|
สวัสดีค่ะ คุณน้องเสียด คงไม่เป็นอะไรแล้วละ วันนี้ก็กินยาแก้ปวดที่คุณหมอกัลยาณีให้มาหมดแล้ว พรุ่งนี้คงไม่กินต่อ ตอนนี้ไม่ได้ใช้ฟันซีกขวาเคี้ยวอาหารเลย คิดว่าสักอาทิตย์หนึ่งผ่านไปจะลองใช้ดู เท่าที่สังเกตอาการตัวเอง ไม่รู้สึกปวด วันนี้ก็รับประทานข้าวทั้งสามมื้อก็ไม่มีอะไรผิดปกติ แต่ได้ไปซื้อน้ำยาบ้วนปากเพิ่มเพราะที่ให้มาหมดแล้ว พี่สิงห์อาจจะใช้เปลืองไปด้วยความไม่รู้คือกลัวมากไปเอง พรุ่งนี้วันอาทิตย์จะลองไปตีกอล์ฟ ดูว่าเป็นอะไรบ้างเมื่อเย็นลองสวิงดูแล้ว ปกติดี มันคงไม่เสทือนมากและหัวใจไม่ได้เต้นแรง เพราะอยู่บ้านก็ไม่รู้จะทำอะไรครับ เป็นอะไรเป็นกัน เลือดมันก็ไม่ได้ไหลให้เห็น อาการบวมไม่มี แต่กลัววันนี้เลยไปซื้อยาอมอกซีมารับประทานกันไว้ดีกว่าเพราะกลัวและความไม่รู้ครับ ถามหลานชายเขาก็บอกกินก็ได้ ไม่กินก็ได้เพราะไม่ได้เป็นหนอง ส่วนผมคิดป้องกันไว้ก่อนเป็น คิดเพียงแค่นี้จริงๆ เพราะ"อวิชา" ครับ ราตรีสวัสดิ์
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #807 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2553, 12:04:35 » |
|
พี่สิงห์
ถ้าทานยาแก้อักเสบแล้ว ก็ทานซะให้ครบ 3 วันเลย ป้องกันเชื้อจำและดื้อยาในอนาคต
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #808 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2553, 12:47:07 » |
|
ไม่จำเป็นมังครับคุณพิเชษฐ์ จะเป็นการทำร้ายกระเพาะอาหาร และตับอ่อนตับแก่เสียเปล่าๆ แค่ใช้พลังไท้จี้ ผสานกับโยคะตันเถียร ก็สามารถ ลบเมมโมรี่หน่วยความจำของเชื้อได้โดยง่าย
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #809 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2553, 19:32:46 » |
|
"เขื่อน"ปราการหรือตัวการ..น้ำท่วม!คมชัดลึก :ค่ำคืนวันที่ 3 พฤศจิกายน กลุ่มชายฉกรรจ์จำนวนหลายสิบคน พร้อมชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่งมารวมตัวกันที่สะพานนครน้อย ด้วยอาการไม่พอใจที่ตัวเมืองน้ำไม่ท่วม มีเพียงแต่บ้านเรือนนอกเขื่อนกั้นน้ำถูกน้ำท่วมขัง จึงนัดมารวมตัวกันที่หน้าเขื่อนชั่วคราวคลองนครน้อย หรือคลองหน้าเมือง ซึ่งอยู่ฝั่งทิศเหนือของเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ซึ่งสร้างไว้เมื่อ 3 ปีก่อน เพื่อใช้ป้องกันน้ำท่วมตัวเมืองชั้นใน ที่เป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัด และบีบกระแสน้ำให้ไหลไปทางคลองท่าเรียน สู่คลองราเมศวร์ คลองท่าซัก และออกไปทางปากอ่าวปากนครสู่อ่าวไทยในที่สุด ทั้งนี้ ชาวบ้านที่มารวมตัวกัน เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำของเขื่อน คือ ชุมชนที่อยู่ฝั่งทางทิศตะวันตกของคลองคูเมือง คลองท่าเรียน คลองราเมศวร์ ที่ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ แม้ว่าจะไม่มีเขื่อนชุมชนเหล่านี้เป็นที่รองรับน้ำอยู่แล้ว !! ขณะที่ สมนึก เกตุชาติ นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช ที่อยู่โยงเฝ้าสภาพน้ำทั่วทั้งเขตเทศบาลอย่างไม่ได้หลับไม่ได้นอน อยู่บนสันเขื่อน ดูการระบายน้ำลงสู่คลองนครน้อยจากเขื่อน กลุ่มชาวบ้านต่างตะโกนด่า "สมนึก" อย่างสาดเสียเทเสีย โดยที่เขาไม่ได้แสดงอาการตระหนกตกใจ หรืออาการใดๆ ออกมา แต่ทำให้เจ้าหน้าที่เทศบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องพลอยตื่นตระหนกไปตามๆ กัน กลุ่มคนบนสะพาน พยายามลากเอากระสอบทรายที่เทศบาลเตรียมเสริมสันเขื่อนไปโยนทิ้งน้ำอย่างบ้าคลั่งพร้อมเสียงตะโกนด่าด้วยความไม่พอใจ ซึ่งหลังจากพายุดีเปรสชันหอบฝนมากระหน่ำเมืองผ่านพ้นไป ย่อมมีประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วม แต่ในสถานการณ์เช่นนี้ ไม่น่าจะมาตอกย้ำซ้ำเติมกันและกัน ประกอบกับความต้องสงสัยที่พบเห็นกลุ่มคนของนักการเมืองท้องถิ่นขั้วตรงข้าม คอยยั่วยุสั่งการให้กลุ่มชาวบ้านใช้กำลังรื้อเขื่อนให้ได้ ซึ่งเสียงนั้นดังฟังชัดแข่งกับเขื่อนสูบน้ำ จับใจความได้ว่า “ไปหาวัยรุ่นมาอีกให้ได้สัก 20 คนลงไปรื้อสันเขื่อนเลยไปชนกับมันเลย ให้มันท่วมฉิบหายเหมือนกันทั้งเมือง" กลายเป็นความชุลมุนเล็กๆ ที่ตำรวจ อาสาสมัคร และเทศกิจ ช่วยกันระดมกำลังเข้ามาระงับเหตุได้ทันท่วงที โดยที่ยังรักษาพื้นที่เขตเศรษฐกิจสำคัญไว้ได้ ทั้งย่านศรีธรรมโศก พัฒนาการคูขวาง ร้านรวงต่างๆ ฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกสั่งการให้มาเสริมกำลังเพื่อป้องกันสันเขื่อนแห่งนี้ ท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง "เขื่อนดังกล่าวนั้นเป็นการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันความเสียหาย ไม่ใช่ว่าเป็นการปิดโดยสิ้นเชิง มีการเปิดระบายน้ำอยู่เช่นกันแต่ไม่สามารถเปิดระบายน้ำได้มากกว่านี้ หากเปิดทั้งหมดเขตเศรษฐกิจของนครศรีธรรมราชจะเสียหายอย่างหนัก จำเป็นที่จะต้องชะลอและผลักน้ำให้ไหลเลี่ยงเมืองไปออกคลองท่าซัก" ดร.กณพ เกตุชาติ วิศวกร ดีกรีปริญญาเอกจากสหรัฐอเมริกา ที่ปรึกษากำลังสำคัญของนายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช บอกถึงความจำเป็นของการสร้างเขื่อนคลองนครน้อย หลังจากเกิดเหตุ วิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ระดม ส.ส.นครศรีธรรมราช เข้าร่วมประชุมหารือกับ ธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเขื่อน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารจัดการน้ำของท้องถิ่นในการรักษาเมือง เป็นการเบี่ยงน้ำให้ระบายได้เร็วขึ้นอย่างถูกช่วงเวลาที่มีปริมาณน้ำเข้าเมืองจำนวนมาก ไม่ท่วมขังนาน เช่นเดียวกันกับที่ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ์ในเขตลุ่มน้ำปากพนัง หรือที่รู้จักกันในชื่อ เขื่อนปากพนังในพระราชดำริ ก่อนที่จะสร้างประตูระบายน้ำตัวนี้น้ำท่วมขังในเขตลุ่มน้ำเป็นเดือน แต่หลังจากมีประตูน้ำบริหารจัดการน้ำถูกเวลา แค่ 7 วัน ปริมาณน้ำก็ลดลงจนสู่สภาวะปกติ ปรากฏการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างคนนอกเขื่อนกับคนในเขื่อน แม้จะถูกมองว่ามีการเมืองอยู่เบื้องหลัง ซึ่งการสร้างเขื่อนนั้น ก็ถูกยอมรับว่าเป็นการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ เพื่อปกป้องพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัด แต่ขณะเดียวกันก็ควรต้องทำความเข้าใจ และให้ความช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบที่ไม่อาจปฏิเสธได้จากการสร้างเขื่อนด้วย - กฤษณะ ทิวัตถ์สิริกุล - http://www.komchadluek.net/detail/20101107/78636/เขื่อนปราการหรือตัวการ..น้ำท่วม!.html
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #810 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2553, 21:27:18 » |
|
สวัสดีครับ คุณเหยง และชาวเวบที่รักทุกท่าน สาเหตุที่ตัดสินใจกินเพราะระคายคอและอักเสบถึงหู และเป็นการป้องกัน เรื่องตับผมไม่กังวลครับ เพราะปริมาณยาไม่มาก กินน้ำแยะๆ มันก็เจือจางเอง ร่างกายต่อสู้ได้ ผลคือรู้สึกว่าดีขึ้นและตั้งใจกินสามวันครับ อยากหายขาดเสียที ตอนนี้อาการโดยรวมน่าจะเกือบปกติ เพราะสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ครบทุกอย่างโดยไม่มีอะไรผิดปกติ ไม่เจ็บปวด และพรุ่งนี้คงไม่กินยาแก้ปวดแล้วครับ วันนี้ตื่นตีห้าไปเล่นกอล์ฟที่สนาม President เล่นแบบรู้ตัวว่าตัวเองป่วย ผลคือ สามารถตีได้ 4 birdis 2 bogy นอกนั้น pars คะแนน 35+35 =70 คือ 2 under นับว่าเป็นคะแนนที่ดีมากที่สามารถทำได้ไม่บ่อยครับ อาจจะเป็นเพราะผมปรับปรุงวงสวิงใหม่ด้วย จึงสามารถตีด้วยความแน่นอนขึ้น ถ้าตีอย่างนี้เวลาแข่งขันทุกวันติดหนึ่งในห้าแน่นอนครับ พรุ่งนี้ตั้งใจไปเยี่ยมแม่ที่สิงห์บุรี และไปเยี่ยมพี่สาวที่อินทร์บุรี เสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พี่สาวไปรับเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีที่วัดปากแรด ซึ่งเป็นวัดอยู่ที่ลำแม่ลากลาง ญาติผมที่มีอาชีพทำนาอาศัยอยู่ทั้งหมู่บ้าน วัดนี้พ่อผมเป็นคนไปทำศาลา และโบสถ์ให้เวลาว่่างจากการสีข้าวสมัยที่ผมยังเรียนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนอินทร์บุรี พ่อต้องเดินไปประมาณสองชั่วโมงถึงจะถึงวัด สมัยนั้นน้องชายพ่อเป็นผู้ใหญ่บ้านอยู่ที่หางบางติดกับลำแม่ลาที่มีปลาช่อนอร่อย ผมกะว่าจะไปร่วมด้วย แต่ต้องเปลี่ยนตารางการบินไปนครศรีธรรมราชใหม่ก่อนครับ ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #811 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2553, 21:45:34 » |
|
สวัสดีครับ คุณเหยง ดร.กณพ เกตุชาติ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางน้ำครับ จบทางด้าน Soil การตัดสินใจก็เป็นแบบวิศวกรทั่วไปเท่านั้นครับ ผมอาจจะมีประสพการณ์มากกว่าเสียด้วยซ้ำ น้ำที่นครศรีธรรมราชปีนี้ ไม่มากกว่าทุกปีที่ผ่านมาในสายตาของผมที่เคยประสพมา ในเขตเทศบาลมันมีพื้นที่ลุ่มตามซอย โดยเฉพาะ ก่อนถึงคูเมืองเก่า เพราะเทศบาลทำถนนสูงหมดทุกสายในสายหลักซอยย่อมน้ำท้วมเป็นเรื่องธรรมดา เท่าที่ผมตระเวนดูระดับน้ำเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ผมก็ว่าปกติครับ อย่างที่ผมบอกน้ำจำนวนมากที่ตกในเขาหลวง อ.ลานสะกา อ.พระพรหม อ.พรหมคิรี ต้องไหลผ่านตัวเมืองโดยมีถนนเป็นคันกั้นน้ำขวงทางไม่ให้ลงทะเล โดยมีคลองสามสายรับน้ำจำนวนนี้ลงทะเล และมีคลองตัดน้ำจำนวนนี้ถ่ายไม่ให้ผ่านตัวเทศบาลอีกหนึ่งสาย จริงๆมันมีทางแก้ถาวร แต่เขาไม่ทำกันครับ คือทำทางระบายน้ำ สปินเวย์ก่อนถึงสนามบินด้านทิศเหนือ จากแหล่งแก้มลิงธรรมชาติให้ผ่านลงทะเล เพราะมันใกล้ทะเลมาก เพียงแค่ 200-300 เมตรเองก็สามารถเอาน้ำจากเขาหลวงลงทะเลได้โดยไม่ต้องผ่านเทศบาล แต่มันหาเจ้าภาพไม่ได้ครับและใช้งบประมาณน้อย พวกข้าราชการเขาไม่ทำกันหรอกครับ ผมมองพื้นดินจากบนฟ้า(บนเครื่องบิน) เห็นอยู่ทุกอาทิตย์ครับ ทางที่จะเอาน้ำจำนวนนี้ลงทะเลให้เร็วที่สุดครับ เพราะผมจะนั่งริมหน้าต่าง เห็นการท้วมของน้ำ และจุดไหนใกล้ทะเล จุดไหนเป็นแก้มลิงธรรมชาติและเป็นที่ราชพัสดุด้วย แต่บังเอิญผมมันเป็นเพียงไอ้สิงห์ที่ไม่มีอำนาจอะไร ไม่มีใครฟัง เป็นเพียงวิศวกรกระจอกคนหนึ่งเท่านั้น คิดไปก็ไร้ประโยชน์ครับ ราตรีสวัสดิ์อีกครั้ง
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #812 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2553, 22:05:15 » |
|
พี่สิงห์
มันมีอีกปัญหาที่คนไทยเราติดนิสัย และถือเป็นนิสัยเสียเลยก็ว่าได้ คือ การเสียสละและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทั้งๆ ที่มีการกล่าวอ้างว่า คนไทยนิสัยดี เอื้อเฟื้อ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น แต่ในความเป็นจริง-ไม่ใช่ แน่นอน 1. คนไทย ไม่เสียสละ เพื่อคนอื่น ดังพฤติกรรมที่ชาวบ้านจะไปรื้อกระสอบทรายกั้นน้ำให้น้ำไหลท่วมทุกครัวเรือน เพื่อให้เดือดร้อนเท่ากันหมด (แชร์ความทุกข์ให้เท่าๆกัน) 2. คนไทย ไม่เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือผู้อื่น เมื่อเขาจมน้ำและเรารอด แต่เราไม่เสียสละช่วยเหลือเขาในเรื่องที่พอจะทำได้ ทุกคนปล่อยให้รัฐทำหน้าที่ ส่งสิ่งของ ถุงยังชีพ ไปให้ผู้ถูกภัยน้ำท่วม แต่เราไม่ใส่ใจเขาอย่างจริงจัง ปัญหาจึงเกิดขึ้น ผู้ที่ถูกน้ำท่วม ก็อยากให้ผู้ที่รอด ถูกน้ำท่วมด้วยกันทั้งหมด เหมื่อเพื่อความสะใจ รัฐโดยองค์กรส่วนท้องถิ่นบอกว่า รักษา"พื้นที่เศรษฐกิจ"ไม่ให้ถูกน้ำท่วม แล้วคนที่อยู่ใน"พื้นที่เศรษฐกิจ"แสดงอะไรให้คนที่อยู่ในเขตน้ำท่วมดูแล้วหรือยัง ว่าได้บรรเทาความเลวร้ายจากภัยน้ำท่วมให้เขาแล้ว ?? หรือจะช่วยเขาฟื้นฟูเมื่อน้ำลด ?? เพื่อให้เขาอุ่นใจ และเชื่อว่า จะไม่มีการทอดทิ้งกันและกัน
แปลก รัฐก็ทราบดีว่า การแบ่งพื้นที่ โดยรักษาพื้นที่หนึ่งและปล่อยให้อีกพื้นที่หนึ่งเสียหาย ย่อมต้องเกิดคำถามมากมาย ไม่ยักประชาสัมพันธ์หรือทำความเข้าใจ หรือบอกกล่าวให้ทราบ อมสากกะเบือกันเป็นแถว หรือใช้คำว่า"นายสั่ง" ดังที่เคยเกิดเรื่องที่สิงห์บุรีมาแล้ว
|
|
|
|
phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557
|
|
« ตอบ #813 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553, 10:21:17 » |
|
สวัสดีครับพี่สิงห์ รูปใหม่ของผมไม่ไ้ด้เป็น Love period แบบวัยรุ่นหรอกนะครับ เป้นรูปของผมกับคุณแม่หน่ะครับ แหะๆ
งานคืนสู่เหย้าชาวค่ายหอ พี่สิงห์จะกรุณามาร่วมงานไหมครับ?
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #814 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553, 18:56:49 » |
|
พี่สิงห์
วันนี้ช่วงบ่าย คุณป้อม16 โทรไปถามผมเรื่องอีเมล์ใน hotmail เนื่องจากเพิ่งกลับจาก Australia ซึ่งผมให้รายละเอียดไปแล้ว คุณป้อมทราบและเข้าใจแล้ว
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #815 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553, 20:43:26 » |
|
1 ยิ่งแก้ยิ่งรุนแรง-ขัดแย้ง 'น้ำท่วมร้ายแรง' วันจันทร์ ที่ 08 พฤศจิกายน 2553 เวลา 0:00 น
ไทยไม่เท่าทันโลกร้อน!
”แม้ว่ารัฐบาลทุกยุคทุกสมัยจะให้ความสำคัญต่อปัญหาน้ำท่วม และหาทางแก้ไขน้ำท่วมมาโดยตลอด ซึ่งพบว่าที่ผ่านมาในอดีตประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง เช่น การลดความรุนแรงของน้ำท่วมที่เกิดขึ้นโดยการสร้างเขื่อนอเนกประสงค์ หรือทำนบ ทำคันดิน ตลอดจนสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ แต่ก็สามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้เพียงบางส่วนเท่านั้น...เมื่อพิจารณาภาพรวมของปัญหากับข้อมูลหลายฝ่ายประกอบกัน พบว่า ความเสี่ยงต่อภาวะการถูกน้ำท่วมมีมากกว่าในอดีต แนวโน้มความเสียหายมีความรุนแรงและมากขึ้น...” ...นี่เป็นส่วนหนึ่งจากชุดข้อมูล “เจาะข้อมูลเชิงลึกประเทศ ไทย...ทำไมต้องเจอภัยน้ำท่วมร้ายแรง?” โดย ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งพิจารณาจากน้ำท่วมใหญ่ปีนี้ ก็สอดคล้องชัดเจน
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #816 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553, 20:43:39 » |
|
2 ทำไมไทยต้องเจอภัยน้ำท่วมร้ายแรงอยู่เรื่อย ๆ?? ประเด็นนี้น่าคิดและน่าพิจารณาวิธีการแก้ไขที่ทำอยู่... ทั้งนี้ จากข้อมูลของ ศ.ดร.ธนวัฒน์ ได้มีการระบุย้อนไปถึงสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในไทยในอดีต ยึดโยงกับปรากฏการณ์ธรรม ชาติ โดยเฉพาะ “ภาวะโลกร้อน” ซึ่งน่าสนใจ และหากกระชับข้อมูลโดยโฟกัสเฉพาะบางพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมเป็นประจำอย่างพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะตอนล่าง รวมถึงพื้นที่กรุงเทพฯ ก็มีประเด็นสำคัญที่น่าคิด ภายใต้หัวข้อ “น้ำท่วม...ยิ่งแก้ยิ่งทวีความรุนแรงและขัดแย้งมากขึ้น” โดยสังเขปคือ...การขยายตัวของชุมชนและการพัฒนาด้านเกษตรกรรมในพื้นที่ ในยุคหลังได้มีการถมดินในพื้นที่ชุมชนและถมคลองระบายน้ำ มีการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมขึ้นในที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเริ่มจากการก่อสร้างระบบปิดล้อมพื้นที่ชุมชนแล้วขยายพื้นที่ปิดล้อมต่อไปยังพื้นที่เกษตรกรรม หลังเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2518, 2521, 2523 ได้มีการ ก่อสร้างระบบพื้นที่ปิดล้อมป้องกันน้ำท่วมเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน ประมาณปี 2524 ต่อมาจึงเกิดการสร้างระบบปิดล้อมขนาดใหญ่ รอบพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยหลังเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2526 ที่เกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑลหลายเดือน การก่อสร้างระบบปิดล้อมช่วยป้องกันพื้นที่ชุมชนหนาแน่นและพื้นที่เขตเศรษฐกิจบริเวณกรุงเทพฯ ไม่ให้มีปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในปีต่อ ๆ มา และฝั่งธนบุรีก็ได้มีการสร้างระบบปิดล้อม ระบบปิดล้อมนี้ช่วยให้พื้นที่ชุมชนหนาแน่นและพื้นที่เศรษฐกิจ ของกรุงเทพฯ ไม่ถูกน้ำท่วม แต่ต่อมาพื้นที่รอบนอกที่อยู่นอกคันกั้นน้ำท่วมของระบบปิด ต้องได้รับผลกระทบของน้ำท่วมเป็นเวลานานขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรมรอบนอก นำมาสู่ความขัดแย้งทางสังคมทุกครั้งที่มีน้ำท่วม โดยเฉพาะระหว่างชุมชนนอกคันป้องกันน้ำท่วมและพื้นที่เกษตรกรรมรอบนอก และพื้นที่ชุมชนที่มีระบบปิดล้อมกับชุมชนที่ไม่มีระบบ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #817 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553, 20:43:53 » |
|
3 ชุดข้อมูลโดย ศ.ดร.ธนวัฒน์ บางช่วงบางตอนยังชี้ไว้อีกว่า ...ผลของการสร้างพื้นที่ปิดล้อมทางตอนบน และการสร้างกำแพงป้องกันน้ำท่วมริมตลิ่งสองฝั่งแม่น้ำ ตั้งแต่สิงห์บุรีจนถึงกรุงเทพฯ ทำให้ความเร็วของกระแสท้ายน้ำรุนแรงมากขึ้น ซึ่งการพยายามป้อง กันทุกส่วนของพื้นที่ทั้งลุ่มน้ำไม่ให้ถูกน้ำท่วมด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรม ในขณะที่การพัฒนาด้านต่าง ๆ ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำหรือพื้นที่เก็บกักน้ำชั่วคราวสองฝั่งแม่น้ำลดลงจนแทบไม่มีเหลือ ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นมาก เนื่องจากไม่สามารถเอ่อไปท่วมพื้นที่อื่น ในอนาคตหากการพัฒนายังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง หากปีใดเกิดมีปริมาณน้ำมากใกล้เคียงหรือมากกว่าปี 2538 ก็จะเป็นปัญหา น้ำอาจล้นคันกั้นน้ำเข้าท่วมในพื้นที่ป้องกันต่าง ๆ ที่ได้มีการพัฒนาเป็นพื้นที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ที่กระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งหากเป็นเช่นนี้...ยับเยินแน่!! ทั้งนี้ แนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างที่ผ่านมาก่อให้เกิดความรุนแรงและความขัดแย้งทางสังคมมากขึ้นจนเห็นได้ชัดเจนขึ้นทุกวัน ซึ่ง ผลจากการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมโดยใช้มาตรการก่อสร้างเป็นหลัก การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบแยกส่วนพื้นที่โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อภาพรวมของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง การพัฒนาในทุกด้านที่กระจายทั่วไป พื้นที่เกษตรกรรมที่เดิมใช้เป็นที่รองรับน้ำหลากได้กลายเป็นพื้นที่ชุมชน อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ทำให้ยากต่อการบริหารจัดการน้ำในภาวะวิกฤติในอนาคต การแก้ปัญหาน้ำท่วมจะเป็นสิ่งทำได้ยากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต ปิดท้ายภายใต้หัวข้อ “ น้ำท่วม...ยิ่งแก้ยิ่งทวีความรุนแรงและขัดแย้งมากขึ้น” ชุดข้อมูลโดย ศ.ดร.ธนวัฒน์ ได้ชี้ถึงประเด็น มาตรการบริหารจัดการน้ำท่วมทั้งระบบของประเทศไทยยังล้าสมัย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สภาพอากาศมีการแปรปรวนมาก พร้อมทั้งชี้ถึงหัวใจสำคัญที่ในประเทศไทยก็มีการพูดถึงมานาน เพื่อให้การแก้ไขและป้องกันปัญหามีความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง นั่นคือ “มาตรการบริหารจัดการน้ำท่วมแบบบูรณาการ” ซึ่งในประเทศไทยเรายังแค่ได้ยิน...แต่ยังเห็นได้ไม่ชัด!!!. http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=23&contentId=102588
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #818 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553, 20:50:44 » |
|
1 ป้องกันน้ำแล้ง-น้ำท่วม 'บูรณาการ' พูดมานาน 'ถึงไหน?' วันอังคาร ที่ 02 พฤศจิกายน 2553 เวลา 0:00 น
เมื่อเกิดทุกข์ที่หนักหนาสาหัส เกิด “อุทกภัย-ภัยน้ำท่วม” อย่างรุนแรงในเมืองไทยคราใด ประเด็นเกี่ยวเนื่องประเด็นหนึ่งที่มักเกิดตามมาเป็นประจำคือ การพูดถึงนโยบายแก้ไขป้องกันมิให้ปัญหาเกิด “ซ้ำซาก” โดยคำว่า “บูรณาการ” เป็นคำหนึ่งที่พูดถึงมานาน... “การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ” เพื่อแก้ไขและป้องกัน ปัญหา “น้ำแล้ง-น้ำท่วม” นั้น ในเมืองไทยมีการระบุถึงมานานหลายรัฐบาลแล้ว แต่เอาเข้าจริงน้ำแล้ง-น้ำท่วมก็ยังเกิดซ้ำซาก “บูรณาการ” หรือยังเป็นแค่ “นามธรรม??” ทั้งนี้ ไม่ต้องย้อนไปไกลมาก ดูกันแค่ในยุครัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ที่ได้ชื่อว่ามีนโยบายประชานิยมอย่างมาก ในปี 2547 น้ำก็ท่วมรุนแรง ซึ่งตอนนั้นคนเป็นนายกฯ ก็ออกปากประมาณว่า...การที่ปัญหายังรุนแรง เป็นเพราะหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง “ประสาน งาน” กันได้ไม่ดีพอ ซึ่งก็มีการสั่งการให้แก้ไข
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #819 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553, 20:50:52 » |
|
2 ตอนนั้นคำว่า “แก้ปัญหาน้ำอย่างบูรณาการ” ก็ถูกพูดถึง เปลี่ยนผ่านทางการเมืองถึงยุครัฐบาลขิงแก่ รัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ปี 2549 ภัยน้ำท่วมก็เกิดขึ้น ซึ่งยุคนั้นหลายฝ่ายก็มีการพูดถึงการจัดการปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วมแบบ “องค์รวม” หรือบูรณาการ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งกับภาคราชการหลายกระทรวง ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมถึงองค์กรอิสระ ในการวางแผน วางนโยบาย เพื่อบรรเทา แก้ไข ป้องกัน มิให้เกิดปัญหาซ้ำซาก โดยฝ่ายนักวิชาการก็มีการฉายภาพไว้... อย่าง ผศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ซึ่งเคยเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยการจัดการภัยธรรมชาติน้ำท่วม-น้ำแล้ง ก็เสนอแนะไว้สรุปได้ว่า...ต้องมีองค์การเฉพาะของภาครัฐเป็นหน่วยงานนำ ควบคู่ไปกับการอาศัยความร่วมมือประสานงานที่ชัดเจนและต่อเนื่องจากหน่วยงานเครือข่าย ทั้งในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และวางแผนระยะยาว เมืองไทยนับแต่อดีต การบริหารจัดการสาธารณภัยต่าง ๆ รวมถึงน้ำท่วม ค่อนข้างเป็นไปอย่างสลับซับซ้อน เกี่ยวพันกับกฎหมายมากกว่า 30 ฉบับ ภายใต้ความรับผิดชอบของส่วนราช การราว 20 กรม ใน 9 กระทรวง การเข้าปฏิบัติการของหน่วยงานต่าง ๆ มักเป็นแบบภารกิจฉุกเฉินเฉพาะกิจ เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นครั้งคราว เน้นที่การช่วยเหลือฟื้นฟูมากกว่าป้องกัน มีการชี้ไว้ว่า...การดำเนินการลักษณะนี้เป็นแค่การตั้งรับ ทำ ให้มีอุปสรรคหลายด้าน เช่น การปฏิบัติงานขาดความต่อเนื่อง-ขาดเอกภาพในอำนาจหน้าที่ เกิดความซ้ำซ้อน บางครั้งขาดการสั่งการหรือประสานงานที่ชัดเจน มีปัญหาการไม่ปฏิบัติตามนโยบายและแผนที่วางไว้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีหรือรัฐบาล จากข้อติดขัดดังกล่าวนี้ ที่ผ่านมาก็มีการพูดถึงการวางแนวทางเพื่อทำให้แผนการจัดการในระดับต่าง ๆ ครอบคลุมปัญหา มีความชัดเจน เข้าถึงระบบปฏิบัติอย่างแท้จริง ไม่ติดขัดปัญหาด้านกฎหมาย-กฎระเบียบข้อบังคับที่ล้าสมัย เมื่อเกิดภัยพิบัติรุนแรงขึ้นจะได้ไม่เกิดความสูญเสียในระดับที่สูง ซึ่งโดยสรุปก็คือต้องมีการ ปฏิรูปการแก้ปัญหาให้เป็นแบบ “บูรณาการ” มุ่งเน้นการวางระบบเพื่อ “ป้องกันปัญหาอย่างยั่งยืน”
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #820 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553, 20:51:01 » |
|
3 ทว่า...จนถึงยุคนี้น้ำแล้ง-น้ำท่วมก็ยังเกิดซ้ำซาก ทั้งนี้ นอกจากมีการพูดถึงคำว่าบูรณาการมานาน มีการพูดถึงการที่ปัญหาเกิดซ้ำซากมานาน กับแนวทาง “ผ่าทางตันให้เกิดการบูรณาการ” จริง ๆ ก็มีการเสนอมานานเช่นกัน เช่น ต้องมุ่งเน้นการกระจายอำนาจการดำเนินการสู่ท้องถิ่น ควบคู่กับการ รวมส่วนงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องเข้ามาอยู่ด้วยกัน ที่สำคัญ...ต้องมีการกำหนด เจ้าภาพและให้น้ำหนักความสำคัญของภารกิจของเจ้าภาพอย่างชัดเจน กลไกในกระบวนการบริหารจัดการ ก็จะต้องมีจุดเชื่อมโยงการบังคับบัญชา 3 ระดับคือ...ระดับชาติ มีนายกรัฐมนตรีเป็น ผู้บังคับบัญชาสูงสุด สั่งการโดยตรง หรือผ่านการประชุมร่วมกับ คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง, ระดับจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น ผู้อำนวยการป้องกันภัย เป็นผู้บังคับบัญชาระดับจังหวัด รับคำสั่งจากระดับชาติ, ระดับท้องถิ่น มีนายกเทศมนตรี หรือปลัดเมือง หรือนายอำเภอ หรือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้บัญชาการ รับคำสั่งจากระดับจังหวัด ทั้ง 3 ระดับต้องร่วมกันจัดการปัญหาแบบองค์รวม ต้องมีการจัดการเชิงรุก สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถให้ประชาชนมีทักษะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและให้มีส่วนร่วมทำแผนป้องกันภัยเบื้องต้น ขณะที่ มาตรการบริหารจัดการต้องครอบคลุมภารกิจหลัก 4 ประการ คือ... 1.ป้องกันและลดผลกระทบ โครงการใดควรต้องทำเพื่อแก้ปัญหาในภาพรวมต้องกล้าทำ, 2.เตรียมพร้อมรับภัย, 3.การจัดการในภาวะฉุกเฉิน, 4.มาตรการหลังการเกิดภัย โดยทั้ง 4 มาตรการต้องดำเนินการตามกรอบเวลาคือ... ก่อนเกิดเหตุ, ระหว่างเกิดเหตุ, หลังเกิดเหตุ พูดถึงมานาน-เสนอมานาน...จนถึงยุคนี้ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่อีก ก็ไม่ได้หมายความว่า...หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานได้ไม่ดี แต่...ก็น่าคิดว่า “บูรณาการ” นั้น...วันนี้ทำได้ถึงไหน??. http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=101493&categoryID=23
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #821 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553, 20:51:14 » |
|
สวัสดีครับ คุณเหยง ขอบคุณมากครับที่ช่วยกรุณาอธิบายให้คุณป้อมฟัง วันนี้ผมกลับไปสิงห์บุรีไปหาแม่แต่เดินเข้าบ้านไม่ได้ ยังมีน้ำท้วมที่ถนนพื้นที่ลุ่ม จึงต้องนั่งรถกระบะเข้าไป บริเวณบ้านน้ำแห้งแล้วเนื่องจากอยู่สูง ปีนี้เป็นสถิติน้ำท้วมสูงสุดครับ ที่หน้าเทศบาลสิงห์บุรีระดับน้ำเจ้าพระยาเห็นตลิ่งพอดีครับ ตอนนี้เจ้าหน้าที่และประชาชนทุกบ้านกำลังทำความสะอาดบ้านคือล้างโคลนออกจากฝาผนังบ้านและบริเวณบ้านครับ สำหรับดินบนถนนและกระสอบทราย ก็กำลังดำเนินการเอาออกกันอยู่คาดว่าไม่เกินหนึ่งอาทิตย์ทุกอย่างก็เป็นปกติ สัญจรไปมาได้ทุกถนนและทุกซอยครับ หมดเคราะห์น้ำท้วมกันไปทีหนึ่ง ผมแวะไปที่บ้านตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรีที่เป็นที่ลุ่มระดับน้ำขนาดเข่าครับ กำลังแย่คือ ถนนโผล่ แต่เรือพายไม่ได้ติดโคลน ต้องเดินท่องน้ำไปมาหาสู่กัน บ้านพี่สาวน้ำถึงพื้นบ้านพอดีเลยคือบันไดจมหมด สำหรับนาข้าวบางจุดเสียบางจุดดี ที่เสียเพราะมีน้ำเออมาจากบางระจันและน้ำไหลผ่านถนนเข้าทุ่ง สำหรับกฐินวัดปากแรดที่พี่สาวไปรับมานั้น ญาติๆ บอกว่าพื้นที่โดยรอบวัดนาข้าวเสียหายหมด จึงไม่มีเงินเพียงพอที่จะทอดกฐินจึงขอให้พี่สาวรับไป ไม่กะเกณฑ์อะไรทั้งนั้น เพื่อสืบทอดพุทธศาสนา เพราะชาวบ้านโดยรอบวัด ไม่อยู่ในฐานะที่จะจัดการได้ ไร่นาจมน้ำหมด หมดตัวกันทุกครัวเรือน สวัสดี
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #822 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553, 20:58:36 » |
|
ล้างโคลนจากฝาบ้านเสร็จ อย่าลืมเอาสีขีดไว้ด้วยครับ ว่า ปี 2553 น้ำท่วมถึงตรงนี้ นานกว่า 15 วัน
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #823 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553, 21:04:32 » |
|
สวัสดีครับ ชาวเวบที่รักทุกท่าน กฐินวัดปากแรด ผมก็บอกพี่สาวว่าผมขอมีส่วนร่วมด้วยได้มอบเงินให้พี่สาวไว้ แต่คงไม่สามารถไปร่วมได้ เพราะผมต้องทำงานที่นครศรีธรรมราช ไม่สามารถเลื่อนตัวเครื่องบินได้ พี่ชายใหญ่ไป พี่หมอไปและน้องสาวไป คงขาดผมคนเดียวคงไม่เป็นอะไร เอาไว้ปีหน้า ถ้าไม่มีใครรับกฐินวัดปากแรด ผมจะรับเป็นเจ้าภาพทอดกบินเนื่องในโอกาสครบหกสิบปีอายุพอดี ถือเป็นสิริมงคล คงไม่ทอดอีกแล้วครับ วัดปากแรดเป็นวัดอยู่กลางทุ่งนา ไกลความเจริญ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ชาวบ้านได้ทำบุญไม่ต้องเดินทางมาที่วัดพระนอน บ้านผมซึ่งไกลเกินไปที่จะเดิน คือ ถ้าพระขึ้นศาลา 07:30 น. ชาวบ้านต้องออกเดินทาง ตีห้าถึงจะมาทันในสมัยที่ผมเป็นเด็ก น้องชายพ่อที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงมาขอร้องให้พ่อผมรับเป็นช่างสร้างให้ ทำไปเรื่อยๆ เวลาว่างจากงานประจำของพ่อ ก็เป็นวัดได้ครับ ถ้าปีหน้าไปทอดกฐินวัดนี้จะได้กินปลาช่อนแม่ลาของแท้แน่นอนครับ เพราะหลานๆ มีอาชีพทำนา และหาปลาในลำแม่ลากันทุกคน แต่ไม่สบายมากนักในสิ่งอำนวยความสะดวก ผมเคยคิดเลยถ้าไม่มีใครว่ามาขอข้าวชาวบ้านกิน ผมจะมาบวชอยู่ที่นี่ เพราะหาพระมาอยู่อยากเนื่องจากขัดสนทุกอย่างครับ ถ้านาข้าวดีพระก็พลอยดีไปด้วย แต่ถ้านาล่มเพราะน้ำท้วมเพลี้ยงลงพระก็อดเหมือนกัน และโอกาสอดก็มากเพราะน้ำท้วมทุกปีเสียแล้วครับ ราตรีสวัสดิ์ครับ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #824 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553, 21:06:46 » |
|
สวัสดีครับคุณน้องไพรสนต์ พี่สิงห์ยังไม่ทราบอะไรเลยทั้งสิ้นครับ สวัสดี
|
|
|
|
|