บทที่ ๕
อาสวะกิเลส
กิเลส คือสิ่งที่เข้าไปเกาะ หรือเข้าไปยึดติดกับใจแล้ว ทำให้ใจเศร้าหมอง ขุ่นมัวอุปมาเหมือนกับน้ำที่ปกติจะใสสะอาด ปราศจากสี แต่ถ้าเรานำสีไปใส่ น้ำก็จะแปรเปลี่ยนไปตามสีที่เติมนั้น จิตใจก็เหมือนกัน ปกติใจจะใสสะอาดปราศจากสิ่งเศร้าหมองทั้งปวง แต่เนื่องจากเราไปพบและเกิดการปรุ่งแต่งขึ้น จึงทำให้สิ่งที่เราไปพบนั้นเกาะยึดติดอยู่ในใจ ทำให้ใจเป็นไปตามสิ่งที่นั้น กลายเป็นคนโกรธง่าย โลภ หลง ใจดำ ใจร้าย เพราะสิ่งที่เราไปพบนั้นมันเป็นกิเลสเข้าไปเกาะยึดอยู่ในใจนั่นเอง
กิเลส มีอยู่ ๑๐ อย่างด้วยกัน คือ
๑. อโนตตัปปะ ความไม่รู้สึกตื่นกลัวต่อการทุจริต
๒. โทสะ ความโมโห โกรธ ความไม่พอใจ
๓. โมหะ ความหลงใหล ความโง่
๔. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านไปต่างๆ นานา
๕. ทิฏฐิ ความเห็นผิดเป็นชอบ
๖. วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงใจ สงสัย ไม่แน่ใจ ลังเลใจ ในสิ่งที่ควรเชื่อ
๗. โลภะ ความพอใจ ชอบใจ เต็มใจ ในโลกียอารมณ์ต่างๆ
๘. ถีนะ ความหดหู่ เงียบเหงา
๙. อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการกระทำผิด ทุจริต
๑๐. มานะ ความทะนงตน ถือตัว เย่อยิ่ง
หรือนิวรณ์ ๕ ก็เป็นกิเลสอย่างหนึ่งแต่แยกเอาเฉพาะที่สำคัญ ประกอบด้วย คือ
๑. กามฉันท์ ความพอใจในกาม
๒. พยาบาท ความคิดปองร้าย
๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ ง่วงงุน
๔. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
แต่ที่สำคัญ หรือพูดให้เข้าใจได้ง่าย หรือทำให้สั้นเข้าและทุกท่านเข้าใจ คือกิเลสที่เกิดจาก ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นสิ่งที่ทำให้เราทุกข์หนักมากที่สุด
อาสวะ คือ สิ่งที่หมักดอง หรือทับถมอยู่ในสันดาล หรืออยู่ในจิตใต้สำนึก
อาสวะกิเลส คือ สิ่งเศร้าหมอง ซึ่งได้แก่ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น ที่เราหมักหมม หรือสะสม เอาไว้ตั้งแต่อยู่ในท้องมารดา แรกเกิด เจริญวัยย์ จนกระทั้งถึง ณ ปัจจุบัน ถูกนำไปเก็บไว้ในสันดาล หรือจิตใต้สำนึก และเมื่อไปประจวบ พบกับสิ่งนั้น ๆ ใหม่อีกครั้ง จากการสัมผัสทางอายตนะ ๖ คือทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะพรุ่ง หรือโพร่งขึ้นมากจากจิตใต้สำนึกนั้นอีกครั้ง โดยรวดเร็วมาก แสดงออกทางอารมณ์ ได้รับการปรุงแต่งและแสดงออกทางกายทันที ชนิดที่ไม่สามารถควบคุมมันได้เลย ก่อให้เกิด “ทุกข์” ตามมาภายหลัง
ทุกข์
ทุกข์ คือสภาพ หรือสภาวะที่เกิดขึ้นแล้วทนอยู่ไม่ได้ หรือทนอยู่ได้ยาก, ลำบาก
ทุกขอริยสัจ คือทุกข์ที่จะต้องเกิดขึ้นจริงเป็นที่สุด จริงแท้แน่นอนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะเป็นทุกข์ตามธรรมชาติ ที่จะต้องเกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกรูป-นาม ไม่สามารถหลีกหนีได้ แต่สามารถทำให้ผ่อนคลาย(ทำให้เป็นธรรมชาติ)ได้ ถ้าเรารู้จัก “ปล่อยวาง” คือเข้าไปรับรู้ ยอมรับ ปล่อยให้ผ่านไป ไม่ปรุงแต่ง มีสติและสมาธิ(สงบ)
ทุกขอริยสัจ ประกอบด้วย ๗ ประการ คือทุกข์ที่เกิดจาก
๑. ความเกิด
๒. ความแก่
๓. ความเจ็บ
๔. ความตาย
๕. ความปราถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น
๖. การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก หรือชอบ
๗. การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก(ทั้งบุคคล และสิ่งของ)
ทุกข์ทั้ง ๗ ประการนี้ ครอบคลุมทุกข์ที่จะพึงมีในโลกนี้ทั้งหมดที่เกิดกับมนุษย์ ทุกรูป-นาม และไม่สามารถที่จะหลีกหนีพ้าทั้งสิ้น รวมทั้งพระพุทธเจ้าและเหล่าอริยะสาวก แต่ถ้าเรารู้ ยอมรับ ปล่อยวาง เราก็สามารถที่จะบรรเทาทุกข์นี้ได้ ตามที่พระพุทธเจ้าท่านให้ไปรับรู้เวทนาจากทุกขอริยสัจ ไม่ต้องสังขารา(ปรุงแต่ง) ไม่ต้องจำสัญญา ให้ปล่อยวางผ่านไปด้วยความสงบแห่งจิตใจ ทุกข์นั้นก็จะเป็นทุกข์ธรรมดา หรือทุกข์ธรรมชาติ ที่จะต้องเกิด จะต้องเป็นไปเป็นตามธรรมดา อย่าไปสังขาราหรือวิตกกังวล ทำให้เป็น “อุปทานทุกข์”
อุปทานทุกข์ คือเหล่าทุกข์อริยสัจ ที่ประกอบไปด้วย ความเกิด ๑ ความแก่ ๑ ความเจ็บ ๑ ความตายหนึ่ง๑ ความปราถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ๑ การประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักหรือชอบ ๑ และพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ๑ เรารับรู้หรือสัมผัสได้ทางอายตนะ ๖ เกดเวทนา เอาไปจำไว้และเราไปสังขารา(ปรุงแต่ง) ไปยึดมั่นถือมั่นกับทุกข์เหล่านี้ ไปยึดติด(อุปาทาน)หรือหยาก(ตัณหา)กับเวทนา ที่เกิดขึ้นและก็เอาไปเก็บไว้ในความคิด(สัญญา) รอวันที่จะประสพอีกครั้งก็พรุ่งขึ้นมาจากจิตใจทันที ก็ทำให้ทุกข์เกิดขึ้นทั้งทางกายและใจแก่เราอีก