04 กรกฎาคม 2567, 11:04:48
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 329 330 [331] 332 333 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3348733 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 8 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #8250 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2556, 07:47:27 »


...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์...

...ถ้าพี่สิงห์ว่าง...ก็มาช่วยได้นะคะ...

...ที่ผ่านมาทั้งสองวัน...คนเพียบค่ะ...

...ตู่ช่วยตั้งแต่ 9 โมงเช้าจนถึงห้าโมงหรือหกโมงเย็น...

...เมื่อวานคนเยอะมากๆค่ะ...

...รถติดที่วัดเลยไปจนถึงอ่างเก็บน้ำมาบประชัน...

...ก็เกือบสิบกิโลได้ค่ะ...

...ตู่มีเวลาแป๊บนึงตอนไปเข้าห้องน้ำและแวะหาของทาน...

...เอามาทานที่โต๊ะที่เราทำงาน...ซึ่งเป็นจุดแลกเงินอยู่ข้างเจดีย์เลยค่ะ...

...เป็นทางผ่านของลูกนิมิตลูกที่ 2...

...ดังนั้นใครมาปิดทองก็ต้องผ่านโต๊ะตู่ค่ะ...

...นอกนั้นต้องอยู่โยงตลอดเพราะจำนวนเงินที่รับผิดชอบก็มากพอสมควร...

...ชาวหอท่านใดสนใจมาช่วยงานก็ได้นะคะ...

...ยังขาดคนช่วยเยอะเลยค่ะ...

...เมื่อวานหมอก็ไปช่วยนับเงินทั้งวันค่ะ...

...เพราะแม่ชีไม่สบาย...แต่ก็มาสับเปลี่ยนตอนบ่ายๆค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8251 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2556, 08:03:31 »

สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มีเกียรติ ที่รักทุกท่าน

                        เช้านี้อยู่บ้าน ได้หุงข้าวใส่บาตรพระยามเช้า ที่หน้าบ้าน

                        วันนรี้รู้สึกว่า ในบาตรพระ มีคนใส่บาตรไม่มาก คงหยุดตรุษจีนกัน

                        ตลาดลุงเพิ่มหลังการบินไทย เปิด แต่ก็หายไปบ้างบางส่วนที่เขารู้ว่าค้าขายมานาน ขอหยุดพักผ่อนบ้าง

                       ก่อนที่จะออกเดินทางไป PSTC ยังมีเวลา ขอสรุป เรื่องพฤติกรรมของรูป-นาม และอายตนะ ๑๒ พอสังเขป เพื่อให้เข้าใจง่าย  จดจำง่าย ดังนี้

                       ร่างกายมนุษย์นั้น ประกอบไปด้วย "รูป กับ นาม"

                       รูป คือ ส่วนที่มองเห็นได้ เคลื่อนไหวได้ หยุดนิ่งได้ แต่ควบคุม สั่งการ รูปไม่ได้ด้วยรูป เพราะไม่มีจิตเป็นของตนเอง 

                       รูป ประกอบไปด้วยธาตุดิน(ส่วนที่เป็นของแข็ง) ธาตุน้ำ(ส่วนที่เป็นของเหลว) ธาตุไฟ(อุณหภูมิ ร้อน-เย็น) และอากาศธาตุ(ส่วนที่เป็นที่ว่างมีทั้งอากาศและไม่มีอากาศ) มาประชุมรวมกันด้วยเหตุ-ปัจจัย มีอวัยวะ ๓๒ ประการ ที่เขาเรียกว่ามนุษย์(ในภาษาไทย)

                       นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็น  ไม่มีตัวตน แต่สามารถรับรู้ได้ และบางครั้งก็สามารถสั่งการให้รูปกระทำตามได้ แต่เราก็ไม่สามารถสั่งการนามได้  ไม่มีอำนาจเหนือมัน สั่งให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ไม่ได้ (เหมือนพระราชาที่มีอำนาจสั่งการเด็ดขาด) หรือเราเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "จิต"

                       จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ประกอบไปด้วย เวทนา  สัญญา  สังขาร  และวิญญาณ

                       เวทนา คือ ความรู้สึก หรือเสวยอารมณ์ ได้แก่ ความรู้สึกว่านี่คือสุข  ความรู้สึกว่านี่คือทุกข์ ความรู้สึกว่านี่ไม่สุขไม่ทุกข์

                       สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ ในสิ่งที่ที่สัมผัสได้จากอายตนะ และเวทนา เอาไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ คือสมองของมนุษย์

                       สังขาร คือ ความคิดปรุงแต่ง (เป็นตัวก่อทุกข์ โดยมี อวิชชา เป็นปัจจัย อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอิริยสัจ ๔ ไม่รู้อนาคต  ไม่รู้อดีต ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต จึงเกิดการคิด) สังขารในภาษาบาลี ไม่ใช่แปลว่าร่างกาย ท่านต้องแยกให้ออก อย่าสับสน

                       วิญญาณ คือ ความรับรู้ หรือรู้แจ้ง โดยมีอายตนะ ๖  และสัมผัส เป็นปัจจัย จึงจะเกิด วิญญาณ (วิญญาณ ไม่ใช่เป็นดวงวิญญาณที่มาอาศัยร่างอยู่  เป็นจิตที่มาอาศัยร่างอยู่)

                      อวัยยวะ ๓๒ ประการ ที่เป็นร่างกายนั้น มีสิ่งที่สามารถรู้แจ้ง ได้ทางช่องทางที่สามารถสัมผัส(สัมผัส หรือ ผัสสะ แปลว่า ถูกต้อง)ได้ ที่เรียกว่าประตูเปิดรับความรู้แจ้งของรูป-นาม คือ อายตนะภายใน ๖

                      อายตนะภายใน ๖ ประกอบด้วย จักษุ(ตา)  โสตะ(หู) ฆานะ(จมูก) ชิวหา(ลิ้น) กาย และมโน(ใจ)

                      อายตนะภายนอก ๖ นั้น คือสิ่งที่ อายตนะภายใน ๖ ไปสัมผัส(ถูกต้อง) และเกิดการรู้แจ้ง(วิญญาณ) ประกอบไปด้วย รูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ(รู้แจ้งด้วยกาย) และธรรมารมณ์(รู้แจ้งทางใจ)

                      หมดเวลาแล้ว ต้องออกเดินทางไปสระบุรี ของพักเอาไว้ก่อน ครับ

                      สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8252 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2556, 08:05:38 »

อ้างถึง
ข้อความของ too_ploenpit เมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2556, 07:47:27

...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์...

...ถ้าพี่สิงห์ว่าง...ก็มาช่วยได้นะคะ...

...ที่ผ่านมาทั้งสองวัน...คนเพียบค่ะ...

...ตู่ช่วยตั้งแต่ 9 โมงเช้าจนถึงห้าโมงหรือหกโมงเย็น...

...เมื่อวานคนเยอะมากๆค่ะ...

...รถติดที่วัดเลยไปจนถึงอ่างเก็บน้ำมาบประชัน...

...ก็เกือบสิบกิโลได้ค่ะ...

...ตู่มีเวลาแป๊บนึงตอนไปเข้าห้องน้ำและแวะหาของทาน...

...เอามาทานที่โต๊ะที่เราทำงาน...ซึ่งเป็นจุดแลกเงินอยู่ข้างเจดีย์เลยค่ะ...

...เป็นทางผ่านของลูกนิมิตลูกที่ 2...

...ดังนั้นใครมาปิดทองก็ต้องผ่านโต๊ะตู่ค่ะ...

...นอกนั้นต้องอยู่โยงตลอดเพราะจำนวนเงินที่รับผิดชอบก็มากพอสมควร...

...ชาวหอท่านใดสนใจมาช่วยงานก็ได้นะคะ...

...ยังขาดคนช่วยเยอะเลยค่ะ...

...เมื่อวานหมอก็ไปช่วยนับเงินทั้งวันค่ะ...

...เพราะแม่ชีไม่สบาย...แต่ก็มาสับเปลี่ยนตอนบ่ายๆค่ะ...


สวัสดีค่ะ คุณน้องตู่ ที่รัก

                         พี่สิงห์  ไม่มีเวลาว่างเลย  มีสิ่งที่ต้องกระทำ จากเหตุ-ปัจจัย ของคนอื่นสั่งการทั้งนั้น ต้องขออภัยด้วย

                         สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8253 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2556, 21:41:26 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2556, 21:25:18
สวัสดียามค่ำ ครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                        วันนี้เป็นวันตรุษจีน เป็นวันพระแรม ๑๕ ค่ำ พระจันทร์มืดเต็มดวง

                        ผมขอนำ อายตนะหกหมวด ๖ ข้อ ที่พระพุทธองค์ ทรงสอนภิกษุ อย่างสมบูรณ์ มาให้ทุกท่านได้ทบทวน เพื่อให้จิตของท่านเห็นจริงตามนั้น  ความยึดมั่นใน อายตนะ จะได้สิ้นไป

                        เลยเวลาสวดมนต์ทำวัตรเย็นมาพอสมควรแล้ว

                        ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๓๗)

            [๖๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มี-*พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสฬายตนวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสฬายตนวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

             [๖๑๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ ความนึก
หน่วงของใจ ๑๘ ทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ ใน ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ อันเราเรียกว่า สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นี้เป็นอุเทศแห่งสฬายตนวิภังค์ ฯ

             [๖๑๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสต อายตนะคือฆานะ อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

             [๖๒๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือกลิ่น อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

             [๖๒๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่นเราอาศัยวิญญาณดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

             [๖๒๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยสัมผัสดังนี้กล่าวแล้ว ฯ

             [๖๒๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ใจย่อมนึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
             เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
             เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
             เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
             เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
             เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ใจย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฉะนี้ เป็นความนึกหน่วงฝ่ายโสมนัส ๖ ฝ่ายโทมนัส ๖ ฝ่าย อุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความนึกหน่วงดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

             [๖๒๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ โสมนัสอาศัยเรือน ๖ โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ โทมนัสอาศัยเรือน ๖ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ

             [๖๒๕] ใน ๓๖ ประการนั้น โสมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิสโดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่เคยได้เฉพาะในก่อนอันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัส
เช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้โสมนัสอาศัยเรือน ๖ ฯ

             [๖๒๖] ใน ๓๖ ประการนั้น โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ฯ

             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรสทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ

             [๖๒๗] ใน ๓๖ ประการนั้น โทมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งเสียง ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งกลิ่น ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรส ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะ ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้โทมนัสอาศัยเรือน ๖ ฯ

             [๖๒๘] ใน ๓๖ ประการนั้น โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาใน อนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ

             บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรสทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ

             [๖๒๙] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน

             เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
             เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
             เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
             เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
             เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน เหล่านี้ อุเบกขาอาศัยเรือน ฯ

             [๖๓๐] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่าอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ

             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรสทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น เราอาศัยทางดำเนินดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

             [๖๓๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโสมนัสนั้นๆ ได้  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานั้นๆ ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัส อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโสมนัสนั้นๆ ได้ ฯ

             [๖๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ ก็มี อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งก็มี  ก็อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ เป็นไฉน คือ อุเบกขา ที่มีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ
             ก็อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นไฉน คือ อุเบกขาที่มีอาศัยอากาสานัญจายตนะ อาศัยวิญญาณัญจายตนะ อาศัยอากิญจัญญายตนะ อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอุเบกขา ๒ อย่าง พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอาศัย คืออิงความเป็นผู้ไม่มีตัณหา แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยการละ การล่วง ดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

             [๖๓๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ฯ

             [๖๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงประโยชน์ เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าการ ตั้งสติประการที่ ๑ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ ฯ

             [๖๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น บางพวกย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา บางพวกย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ชื่นชม ไม่เสวยความไม่ชื่นชม เว้นทั้งความชื่นชมและความไม่ชื่นชมทั้งสองอย่างนั้นแล้ว เป็นผู้วางเฉย ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๒ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ ฯ

             [๖๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตเป็นผู้ชื่นชม เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๓ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น เราอาศัยเหตุนี้ กล่าวแล้ว ฯ

             [๖๓๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่า สารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกช้างไสให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเท่านั้น คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ ม้าที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกม้าขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ โคที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกโคขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศ คือ ผู้ที่มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้นี้ทิศที่ ๑ ผู้ที่มีสัญญาในอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายภายนอกได้ นี้ทิศที่ ๒ ย่อมเป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้ทิศที่ ๓ ย่อมเข้าอากาสานัญจายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๔ ย่อมเข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๕ ย่อมเข้าอากิญจัญญายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า ไม่มีสักน้อยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๖ ย่อมเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๗ ย่อมเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่ง
ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศดังนี้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่าสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่นเราอาศัยเหตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ


จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗
-----------------------------------------------------


สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง  และแขกผู้มีเกียรติ ที่รักทุกท่าน

                           เมื่อค่ำที่ผ่านมาได้ไปเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมศพ หลานสาวแม่  ที่วัดกลางพรหมบุรี  ตลาดปากบาง  อำเภออินทร์บุรี  จังหวัดสิงห์บุรี  ดังนั้น คืนนี้ นอนค้างคืนที่สิงห์บุรี

                        วันนี้ได้รับ SMS จากท่านผู้พิพากษา  สุภาพร  ฝากเงินไปทำบุญ  ที่อินเดีย  ตามที่ได้เคยแจ้งให้ทราบตามคำขอของ อ.ถาวร  โชติชื่น  ก็ขออนุโมทนา  ด้วย  จักทำตามวัตถุประสงค์  ให้ครับ

                      ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8254 เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2556, 07:17:04 »

สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มีเกียรติ ที่รักทุกท่าน

                          เช้านี้ได้ไปใส่บาตรพระ ที่หน้าร้านกิตติไพศาล  ใกล้ๆ โรงพยาบาลสิงห์บุรี ใส่บาตรหลวงพ่อวัดแจ้งพรหมนคร และหลวงตาอีกสองรูป

                         หลวงพ่อวัดแจ้ง วันที่ ๑๕ นี้ก็จะไปอินเดีย เช่นกันแต่คนละคณะกับผม

                         เช้านี้ได้ไปซื้อปลาท่องโก๋ และขนมเปี๊ยะสูตรดั้งเดิม  ร้านที่ไม่มีชื่อแต่อร่อย

                                    ได้รับประทานข้าวเช้าแล้ว มีข้าวก้นบาตร  แกงส้มมะละกอ  ปลาเกลือทอด  ไข่เจียว เมื่อเวลาหกโมงครึ่ง  แต่ปกติจะรับประทานเวลา เจ็ดโมงเช้า คือหลังใส่บาตรพระเสมอ  ถ้าอยู่โรงแรมไม่ได้ใส่บาตร พระก็ภายหลังออกกำลังกายเสร็จ

                                อากาศที่สิงห์บุรี  ขมุกขมัว  แบบต้องระวัง อาจเจ็บป่วยได้

                                        เมื่อคืนได้พบพี่แดง  วิชัย  ฉวีวรรณกร  อดีตกัปตันการบินไทย  จะให้ผมไปสอนการปฏิบัิติธรรม  พี่แดงบอกว่าอ่านหนังสือพุทธธรรม ไม่รู้เรื่อง  รูปนาม ก็ไม่เข้าใจ  ถ้าคนที่อดีตอยู่ห้อง King โรงเรียนเตรียมไม่เข้าใจละก็  ผมก็เข้าใจแล้วว่า มันเป็นเรื่องยากสำหรับคนทั่วๆ ไปจริง  พี่แดง  บอกว่าเขาจะให้ไปทำงานที่กรมการบิน  ผมก็บอกว่า  พี่แดงอย่าไปแย่งงานเขาเลยให้คนรุ่นใหม่ทำดีกว่า  ไม่มีความจำเป็นเลย  อยู่แบบไม่ทำให้ใครเดือดร้อน  เป็นผู้ให้แบบนี้ดีแล้ว  มันก็สุขได้  เช่นเดียวกับการปฏิบัติธรรม แต่ขอให้ใช้ปัญญา เห็นการเกิดดับของความสุขที่ได้รับจากการให้  คือพี่แดง  ไปดูแลพี่สาวที่เจ็บป่วย นอนอยู่ห้องสามัญรวม  พี่แดงได้ซื้อผลไม้ ปอกให้พี่สาว  และคนไข้อื่นด้วย  ได้เห็นรอยยิ้ม  คำขอบคุณ  ไดรับความสุข  ที่ตนเองไม่เคยมี  ทำอย่างที่ดาไลลามะสอน  มันก็ดี  เพราะปฏิบัติธรรมนั้น  ทำไม่ได้  ทั้งที่ศึกษามามากหลายหลวงพ่อ  พี่แดง  ไม่มีครอบครัว  แต่ดูแลหลานหลายคน  เงินเดือนในขณะที่เป็นนักบินการบินไทย  ไม่เคยเบิกเลย  ใช้แต่เบี้ยเลี้ยงเท่านั้น  ผมก็บอกพี่แดงแบบง่ายๆ ว่า  พี่แดงก็อยู่อย่างทุกวันนี้ให้เป็นปกติ  อยู่กับปัจจุบัน  อยากทำอะไรทำ  แต่ให้รู้ตัว  รักษากายวาจา คือศืลห้า  ไม่ทำให้ตนเอง และใครเดือดร้อน  นี่ละการปฏิบัติธรรมแล้ว  จะพบสุขด้วยตัวเองได้  อย่างที่พี่แดงพบที่โรงพยาบาล นั่นละ  ศาสนาพุทธ ต้องใช้ปัญญา  ตามจิตให้ทัน  อย่าหลงอยู่ในความคิดตนเอง

                                    อีกสักครู่เดินทางไปสระบุรี จะแวะที่วัดอัมพวัน ไปซื้อกางเกงเพิ่ม เพื่อเอาไปอินเดีย และซื้อน้ำพริกไปรับประทานครับ

                                สวัสดี
             
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8255 เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2556, 07:38:38 »


สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มีเกียรติ ที่รักทุกท่าน

                    เช้านี้อยู่บ้าน ได้หุงข้าว ใส่บาตรพระที่หน้าบ้าน

                    สำหรับอาหารเช้าก็เป็นอาหารที่เหลือ จากวันจันทร์ที่หลานสาวรับประทานไม่หมด เอามาอุ่น รับประทานใหม่

                    วันนี้ต้องเดินทางไปสุรินทร์ โดยลงเครื่องที่บุรีรัมภ์ Boarding 12:15 น. โดย Nok Mini

                    เมื่อเช้าขณะเดินจงกรมรอพระมาบิณฑบาตร ก็ได้พิจารณาธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสอน เริ่มตั้งแต่ ทาน  ศีล นรก  สวรรค์ โทษของกาม และการออกจากกาม(กามในที่นี้คือ ความอยาก  ความยินดีเพลินเพลิน ที่เกิดจาก ตาเย็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น  ลิ้นได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกาย และได้สัมผัสทางใจ) และได้เปรียบเทียบกับ ศรัทธา  ศีล  จาคะ  สุตะ และปัญญา ซึ่งมันก็คือธรรมอันเดียวกัน เพียงแต่แยกสอนในโอกาสที่ต่างกัน เท่านั้น 

                    และภายหลังจากใส่บาตรพระเสร็จได้พิจารณาถึง คำพูดที่เกิดจากยสกุลบุตร และบิดา-มารดา -ภรรยาของยสกุลบุตร พระอรหันต์ลำดับที่ ๗ ต่อจากปัญจวัคคีย์ ที่ได้ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลีปราศจากมลทินว่า "สิ่งใด ๆ ที่มีสภาพเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีสภาพดับไปเป็นธรรมดา"  ที่ตนเองได้เคยเข้าใจเอาไว้ ที่ผ่านมากับ ณ ปัจจุบัน  มันต่างออกไปอย่างไร และมันมีความหมายว่าอย่างไรกันแน่ !  ก็ได้ตอบตนเองอีกครั้งหนึ่ง

                    อากาศเช้านี้ ไม่ดีเลย  ต้องระวังสุขภาพให้จงหนัก อาจเจ็บ-ไข้ ได้ อยู่ในช่วงเปลี่ยนจากหนาว เป็นอากาศร้อน และมีหมอกลงจัดหรือฝนตก  ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ

                   อย่าลืม ใครที่อยากจะกระทำตามที่อาจารย์ถาวร  โชติชื่น  บอกกล่าวเอาไว้  คือฝากเงินผมไปทำบุญที่ ๔ สังเวชนีย์  ก็เรียนเชิญ  ยังมีเวลาถึงวันพฤหัสบดี ครับ เพราะบ่ายวันศุกร์ ผมจะไปเบิกเงินจำนวนดังกล่าวไปทำบุญแทนให้ที่อินเดีย ครับ  จะได้เป็นการทำบุญร่วมกัน  ถ้าชาติหน้ามีจริงจะได้เป็นกัลญาณมิตรกัน หรือชาติปัจจุบัน เราก็ได้เป็นกัลญาณมิตรกัน  มีแต่เรื่องน่าเพลินเพลิน  ยินดีทั้งสิ้น  จะมาก  จะน้อยไม่สำคัญ อยู่ที่อารมณ์ที่เกิดขึ้นกับเราในการให้  แต่อย่าไปหลงอยู่กับมัน ครับ  ขออนุโมทนา

                    สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8256 เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2556, 08:29:53 »

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

๔. ทีฆนขสูตร

เรื่องทีฆนขปริพาชก




            [๒๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตาเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อทีฆนขะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว. ได้กราบทูลว่า ท่านพระโคดม ความจริงข้าพเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้ มีปกติเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น ก็ไม่ควรแก่ท่าน.

              ท่านพระโคดม ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น.

              อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีมาก คือมากกว่าคนที่ละได้.

              อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นได้ และไม่ยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีน้อยคือน้อยกว่าคนที่ยังละไม่ได้.

             ทิฏฐิเป็นเหตุให้เกิดวิวาท

             [๒๗๐] อัคคิเวสสนะ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น ใกล้ข้างกิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น.

               อัคคิเวสสนะบรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น.

                เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆนขปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า.

                อัคคิเวสสนะ ในความเห็นนั้นๆ ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา นั้นส่วนที่เห็นว่าควร ใกล้ข้างกิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น ส่วนที่เห็นว่าไม่ควรใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น.

             [๒๗๑] อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ในความเห็นของสมณพราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า เราจะยึดมั่น ถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑. เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี. เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้. อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ในทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่น ถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑. เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วยไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย. การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้. อัคคิเวสสนะบรรดาความเห็นนั้น ในทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่น ซึ่งทิฏฐิของเราว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เราดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑. เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกันในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้นย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.

             [๒๗๒] อัคคิเวสสนะ ก็กายนี้มีรูป เป็นที่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและนมสด ต้องอบและขัดสีกันเป็นนิจ มีความแตกกระจัดกระจายเป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตน. เมื่อท่านพิจารณาเห็นกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตนอยู่ ท่านย่อมละความพอใจในกาย ความเยื่อใยในกาย ความอยู่ในอำนาจของกายในกายได้.

               เวทนา ๓

             [๒๗๓]  อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑. อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ.

             [๒๗๔] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์พระผู้มีพระภาค. ได้มีความดำริว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตรัสการละธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสุคตตรัสการสละคืนธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน

               ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ทีฆนข- *ปริพาชกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา. ทีฆนขปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก

             [๒๗๕] ลำดับนั้น ทีฆนขปริพาชกมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันถึงแล้ว มีธรรมอันทราบแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.


จบ ทีฆนขสูตร ที่ ๔.

-----------------------------------------------------

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8257 เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2556, 19:16:52 »


สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                  วันนี้นั่ง Nok Mini มาลงที่สนามบินบุรีรัมภ์ เพื่อเดินทางต่อไปที่จังหวัดสุรินทร์ ผู้โดยสารเกือบเต็มลำ  ส่วนใหญ่เป็นฝรั่ง

                   อากาศร้อนเลยทำให้การนั่งเครื่องบินเล็กสนุกดี คือเครื่องบินจะเต้นระบำ แต่ไม่มาก แต่ตอนลง- ขึ้น ก็เอาเรื่องเหมือนกัน

                  ที่สุรินทร์ อากาศร้อนแต่มัวทำงานเลยเวลามีน้อย ไม่ได้เห็นอะไรเลย

                  ช่วงเวลาจวนมืด ได้ไปเดินตลาดสด หาน้ำผลไม้  น้ำนมข้าวโพด และน้ำเต้าหู้ ซื้อไปรับประทาน และได้ซื้อปิ่นโตไปสามเถา  ส้ม ดอกไม้ เพื่อจะเอาไปใส่อาหารที่ให้ทางโรมแรมทองธารินทร์ ทำให้เอาไปถวายท่านเจ้าคุณ ที่วัดบูรพาราม (วัดที่หลวงปู่ดุลย์   อตุโล บูรณะ) พรุ่งนี้เจ็ดโมงเช้า เพราะได้นิมนต์ ท่านเจ้าคุณเอาไว้แล้ว จำนวน ๓ รูป

                  วันนี้อาจารย์ถาวร ได้  โทรศัพท์มาว่าได้โอนเงินฝากไปทำบุญด้วยที่อินเดีย  และให้นำเงินบางส่วนไปทำบุญพรุ่งนี้ที่วัดบูรพารม  ให้ด้วย  ก็จพกระทำตามที่ตั้งใจไว้ทุกประการ ขออนุโมทนา ด้วยครับ

                  และเช่นเดียวกัน คุณสุภาณี  และคุณอรสา  ได้ฝากเงินให้ช่วยเอาไปทำบุญให้ด้วย ที่ ๔ สังเวชนีย์ ที่อินเดีย  ก็จะจัดการให้ตามนั้น ทุกประการ  ขออนุโมทนา ด้วยครับ

                  วันนี้ที่โรงแรมทองธารินทร์  มีแขกมาพักเพื่อจะไปร่วมงานแต่งงานที่บ้านช้าง เนื่องในวันวาเลนไทล์พรุ่งนี้ ครับ

                  ราตรีสวัสดิ์ ทุกท่านครับ


ขันติ โสรัจจะ

ธรรมที่ทำให้งาม


ขันติ แปลว่า ความอดทน หมายถึง ความสามารถที่จะทนต่อความลำบาก มีจิตใจเข้มแข็งที่จะทำความดี และสามารถควบคุมตนเองได้โดย

            ๑. อดทนต่อความยากลำบาก คือ มีจิตใจเข้มแข็งที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ

            ๒. อดทนต่อความเจ็บป่วย คือ อดทนต่อความเจ็บป่วยของร่างกายไม่ท้อแท้
 
            ๓. อดทนต่อความเจ็บใจ คือ อดทนต่อการกระทำที่ผู้อื่นล่วงเกินเราโต้ตอบด้วยวิธีสันติ

            ๔. อดทนต่อกิเลส คือ อดทนต่อสิ่งต่างๆที่มายั่วยุให้หลงใหล อดทนต่อความโลภ อดทนต่อความโกรธและอดทนต่อความหลง

โสรัจจะ หมายถึง ความสงบเสงี่ยม ความมีอัธยาศัยงดงาม ความประณีตความเรียบร้อยรวมถึงความไม่หรูหรา

ขันติ โสรัจจะ เป็นธรรมสองข้อที่ไปด้วยกันเมื่อแปลจะได้ความหมาย ธรรมอันทำให้งาม

คนงาม ต้องงามดังนี้
 
           ๑. มีจิตใจเข้มแข็งน่ายกย่อง

           ๒. มีวาจาไม่ก้าวร้าว ไม่หยาบคาย พูดในเรื่องที่สร้างสรรค์เป็นประโยชน์

           ๓. มีการกระทำที่อยู่ในกรอบที่เหมาะสม ตามขนบธรรมเนียม ประเพณี รู้กาลเทศะ

คนจะงามตามที่พระธรรมโกศาจารย์อธิบายคือ
 
           ๑. ขยันขันแข็ง กล้า ยอมตายถ้าถูกต้องชอบธรรม
 
           ๒. สุภาพ อ่อนโยน เชื่อฟังผู้เฒ่าผู้แก่ บิดามารดา  ครูบาอาจารย์ ผู้อาวุโส

           ๓.  กตัญญู กตเวที รับรู้คุณ แม้สิ่งไม่มีชีวิต แม้อุปสรรค ศัตรู

           ๔. มีศีล มีสัตย์ เปิดเผย บริสุทธิ์ใจ
 
           ๕. ประหยัด สันโดษ รู้จักทำสิ่งร้ายให้กลายเป็นดี คำนึงถึงประโยชน์และความจำเป็นในชีวิต
 
           ๖. มีเมตตา กรุณา มีน้ำใจ ไม่มีเขาไม่มีเรา ไม่ทำให้ตนเอง คนอื่นเดือดร้อน คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม

           ๗. อดกลั้น อดทน ด้วยใจแจ่มใส คอยได้รอได้

           ๘. เป็นฝ่ายยอมได้ให้อภัยได้ เพื่อให้อะไรๆ มันลงกันได้

           ๙. ไม่ตามใจกิเลส แต่เลือกข้างถูกต้องเป็นธรรม

         ๑๐. เป็นแบบฉบับในเรื่อง กิน อยู่ หลับ นอน เกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นของชาวพุทธเอง
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #8258 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2556, 01:08:38 »



สุขสันต์วันเกิดครับ โปร.สิงห์ มานพ
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #8259 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2556, 01:56:46 »

  ก็ ต้องตามมา Happy Birthday กันด้วยตามประเพณี อันดีงาม ตามหลังผู้อาวุโส  ครับพี่ สิงห์
      บันทึกการเข้า
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #8260 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2556, 02:16:47 »

 
      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
อ้อย17
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,908

« ตอบ #8261 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2556, 04:34:57 »



       สุขสันตืวันเกิดค่ะ  พี่สิงห์
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8262 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2556, 08:33:14 »



ทำบุญที่วัดบูรพาราม  จังหวัดสุรินทร์ (วัดหลวงปู่ดุลย์  อตุโล)
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8263 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2556, 08:36:06 »



วันนี้มีคนเกิด 14 กุมภาพันธ์ มาทำบุญด้วย สามท่าน เป็นเด็กชาย และหญิงสาววัยรุ่น ร่วมกันผม
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8264 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2556, 08:40:14 »



พระราชวรคุณ  เจ้าอาวาสวัดบูรพาราม  องค์ปัจจุบัน  หลานหลวงปู่ดุลย์  อตุโล

ได้สนทนาธรรมกับหลวงพ่อ  เล่าให้หลวงพ่อฟัง ในสิ่งที่รู้  

หลวงพ่อเมตตา ได้สอนอาการของจิต จิตเป็นหนึ่งเดียว  จิตว่างเปล่า  จิตพระอรหันต์

หลวงพ่อ ถามว่า ทำไมไม่บวช  ก็ได้ตอบหลวงพ่อไปตามเป็นจริง ดังที่เคยเรียนให้ทุกท่านทราบ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8265 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2556, 08:43:57 »



หลวงพ่อ  ให้ตามดูจิต  ตนเอง  ให้รู้ทันตลอดเวลา  ไม่ยินดียินร้ายในอายตนะ แต่ไม่ใช่แบบคนหูหนวก ตาบอด

คือให้รู้ทันจิตตนเอง  ไม่ปรุงแต่ง ตามอาการของจิต  ที่เกิดขึ้นเมื่อสัมผัสทางอายตนะ

ได้ถวายปัจจัย ถวายหลวงพ่อ และพระสองรูป องค์ละ 1000 บาท

ได้ถวายเงินซ่อมแซมอุโบสถย์1000 บาท และ

อาจารย์ถาวร-ญาณิศา  ขอร่วมทำบุญ ซ่อมพระอุโบสถย์ ด้วย 500 บาท ได้เรียนให้หลวงพ่อทราบ ด้วย

เช้นนี้ออากาศ ที่สุรินทร์ มีลมพัดเย็นสบายดีครับ
      บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #8266 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2556, 09:04:31 »

สุขสันต์ วันเกิด ครับ พี่สิงห์ ขอให้เจริญในธรรมและบรรลุตามที่มุ่งหวังไว้
      บันทึกการเข้า
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #8267 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2556, 09:20:03 »

สุขสันต์วันเกิดครับพี่สิงห์
เมื่อสองปีที่ผ่านมา พี่สิงห์ได้ทำบุญวันเกิดที่ประเทศอินเดีย
มาปีนี้ได้ทำบุญวันเกิดที่เมืองไทย
และจะได้ทำบุญวันมาฆบูชา(25 กพ 56)ที่เมืองออรังคบาดประเทศอินเดียเช่นเดิมครับ
ขอให้โชคดีครับ
      บันทึกการเข้า
lek_adisorn
Hero Cmadong Member
***

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,595

« ตอบ #8268 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2556, 09:29:58 »

สุขสันต์วันเกิดครับพี่สิงห์

      บันทึกการเข้า
nok15
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 529

« ตอบ #8269 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2556, 12:07:57 »


สวัสดีค่ะพี่สิงห์

      บันทึกการเข้า
pusadee sitthiphong
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
กระทู้: 4,689

« ตอบ #8270 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2556, 13:39:06 »

Happy Birthday ค่า มีความสุขมากๆนะคะ
      บันทึกการเข้า

pom shi 2516
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8271 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2556, 16:01:25 »



สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

           
             ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอวยพรในกระทู้นี้ และบางท่านที่ได้ส่งข้อความมาทางโทรศัพท์ และมีบางท่านได้โทรศัพท์มาอวยพร

                     พรใดที่อวยพรให้พี่สิงห์ ขอพรนั้นจงบันดาลให้ท่านได้รับความสุข  มีสุขภาพแข็งแรง  และร่ำรวยเงินทองครับ

                         ขณะนี้นั่งอยู่ที่สนามบินอุบลราชธานี  รอขึ้นเครื่องกับกรุงเทพฯ  เวลา 17:25 น. ถึงกรุงเทพฯ ก็หกโมงครึ่ง ไม่มีนัดทั้งสิ้น เพราะเมื่อเช้าก็ได้ทำพิธีรับศีลแปด อีกครั้งจากท่านเจ้าคุณ ราชวรคุณ วัดบูรพาราม   และท่านเจ้าคุณได้สอนเรื่องจิตเดียว  จิตที่ว่างเปล่า   จิตเป็นประภัสสร  จิตอรหันต์   ได้ตั้งใจเอาไว้ว่า มาสุรินทร์ ครั้งหน้าจะอยู่สนทนาธรรมกับท่านนานๆ ผมเชื่อว่าหลวงปู่ดุลย์  ได้สอนท่านเอาไว้มาก  และแนวความคิดของท่านตรงกับของผม เพราะเป็นสิ่งที่วิญยูชนย์ย่อมคิดแบบนั้น  คือท่านได้ปรารภให้ฟังถึงพระสมัยนี้ติดอยู่ที่ภาพสัักการะ  ชอบแสดงออกให้เห็นเป็นการแสดงไปเสียสิ้น  ไม่ใช่พระนักปฏิบัติ ที่แท้จริงเลย  มันก็เป็นความจริงทั้งสิ้นที่ท่านปรารภให้ฟัง

                        เขียนด้วย Samsung  ไม่ถนัดครับ

                    ขอบคุณมาก  สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8272 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2556, 16:29:35 »



อาจารย์ถาวร  โชติชื่น  อย่าลืมทวงหนังสือ   ที่หลวงพ่อให้  จากผมด้วย

ได้ทบทวนคำสอนในสิ่งที่ท่านได้ เมตตาสอนให้รู้ในวันนี้

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8273 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2556, 20:58:54 »


สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มีเกียรติ ที่รักทุกท่าน

                   อยู่กรุงเทพฯ แล้วครับ พรุ่งนี้ไม่ไปไหนทั้งนั้น เพราะยังไม่ได้จัดเสื้อผ้ายัดใส่กระเป๋าเพื่อไปแสวงบุญที่อินเดียเลยครับ  ตอนนี้ รศ.ประกายแก้ว - คุณวัฒนา  ล่วงหน้าไปเมื่อกลางวันที่ผ่านมา  หวังว่าคงมีโอกาสได้พบกันที่พุทธคยา ครับ

                   วันนี้ทาง Nok Air ให้ Nok Air ทำเป็นพวงมาลัยมาคล้องคอเชิญชวนให้ผู้โดยสารร่วมกิจกรรมถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก เนื่องในวันวาเลนไทล์ ไม่มีใครสนใจเลย ผมเลยแจ้งให้ทราบขอร่วมกิจกรรมนั้น เพื่อนำภาพมาฝากทุกท่านครับ

                   ผมขอนำเกล็ดธรรมที่พระราชวรคุณ  เจ้าอาวาสวัดบูรพาราม สนทนาธรรมให้ฟัง มาเล่าสู่กันฟัง  ตามแต่จะจำได้ครับ

                   เมื่อเช้าผมขอรับศีล ๘ อีกครั้งจากหลวงพ่อเพื่อความเป็นสิริมงคล ของตนเอง  จะได้ปฏิบัติตัวไม่ละเมิดศีลได้บอกหลวงพ่อว่าจะไปอินเดีย  ท่านก็บอกว่า ท่านไปมาแล้ว ๑๑ ครั้ง

                   หลวงพ่อเล่าสู่กันฟังว่า เดี๋ยวนี้การเดินธุดง  ต้องเดินเป็นแถว เพื่อถ่ายภาพออกทีวี มันเป็นการแสดงเหมือนละคร  และส่วนใหญ่ติดในลาภสักการะเสียหมด (อันนี้ผมก็เห็นด้วย) ผิดวิสัยของพระฝ่ายปฏิบัติ

                   ท่านเคยนั่งรถไปธุดงที่เชียงใหม่ไปกันหลายองค์ ท่านไม่ได้ปีนขึ้นไปสูง ๆ ท่านนั่งอยู่ริมแม่น้ำมีน้ำไหลผ่าน  ท่านก็เอาไม้ตีน้ำ น้ำก็แตกกระจายออกไป ขึ้นอยู่กับการตีแรงตีค่อย แล้วท่านก็พิจารณาของท่านไป อยู่อย่างนั้น แล้วท่านก็วกมาถามผมว่า น้ำนั้นมันเป็นน้ำเก่าหรือน้ำใหม่  ผมก็ตอบท่านไปว่า เป็นน้ำใหม่เสมอ เพราะน้ำเก่าที่ตีนั้นมันไหลไปแล้วน้ำที่ตีแต่ละครั้งมีแต่น้ำใหม่ที่เป็นปัจจุบัน  แล้วท่านก็เปรียบเทียบว่า มันก็เป็นเช่นนั้น เราต้องอยู่กับปัจจุบัน ทุกอย่างในอาการของจิต มันก็เกิดขึ้น ดับไปแบบนั้นตลอดเวลา ผมก็บอกว่ามันเป็นไปแบบนั้น

                  ท่านบอกว่าท่านมากรุงเทพฯ เขานิมนต์ให้มาเทศน์ตั้งแต่โรงเรียนอนุบาล จนถึงสถาบันพระปกเกล้า ไม่ได้หยุดเลย ไม่มีเวลาอยู่วัด มัวแต่รับกิจนิมนต์  ไม่ไปก็ไม่ได้ ท่านบอกว่า เจ้าอาวาสวัดวชิรธรรมฯ บอกท่านว่า พระดัง ๆ มีสมณศักดิ์สูงๆ ก็อย่างนี้ละ มีกิจนิมนต์มาก เลยไม่ต้องปฏิบัติธรรมเท่าไร ไม่ต้องเคร่งครัด ก็มีคนนิมนต์ แต่วัดไหนที่ไม่ดัง พระท่านก็มีเวลาปฏิบัติธรรม เพราะเกรงว่าถ้าไม่ปฏิบัติธรรมให้สำรวมชาวบ้านเขาจะไม่มาทำบุญ มันก็เป็นความจริง  ท่านมากรุงเทพฯ รถติดไฟแดง ท่านก็พิจารณาว่า เวลาไฟแดงรถทุกคันต้องจอด คนรวย  คนจน ที่ขับรถก็ต้องหยุดไม่มีข้อยกเว้น เท่าเทียมกัน เวลาไฟเขียวก็ไปพร้อมกัน ไม่เกี่ยวกับฐานะ เมื่อพิจารณาแล้ว มันก็ไม่กังวลว่าจะรถติดนาน หรือไม่ ท่านก็สามารถปฏิบัติธรรมได้ พิจารณาถึงความเป็นจริงในสังคม

                   ก็เป็นข้อธรรมให้คิด  อยู่กับปัจจุบัน พิจารณาให้เกิดปัญญา วิปัสนาเปรียบเทียบ คอยตามจิตของเรา นอกเหนือจากที่ ผมได้บอกไปแล้วเรื่องการส่งจิตออกนอก และอาการของจิต  ตามที่หลวงปู่ดุลย์  อตุโล ได้สอนเอาไว้

                   ขอบคุณทุกท่านครับ เลยเวลาแล้วขอทำวัตรเย็นก่อนนอน ครับ

                   ราตรีสวัสดิ์ทุกท่าน
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #8274 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2556, 21:14:06 »

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=W5zjsySfuPY" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=W5zjsySfuPY</a>
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
  หน้า: 1 ... 329 330 [331] 332 333 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><