04 กรกฎาคม 2567, 09:49:11
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 328 329 [330] 331 332 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3348446 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8225 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2556, 07:44:10 »

อาทิตย์นี้ เป็นเทศกาลตรุษจีน

ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้  万事如意 新年发财

ปีใหม่ขอให้ทุกอย่าง สมหวัง ปีใหม่ขอให้ร่ำรวย




อาหารใส่บาตรพระ ที่หน้าบ้านเช้านี้
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8226 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2556, 07:45:52 »



อาหารสำหรับไหว้บรรพบุรุษ คือพ่อ-แม่  เนื่องในเทศกาลตรุษจีน
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8227 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2556, 08:32:23 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                    เช้านี้อยู่บ้าน ได้กระทำในสิ่งที่ได้ตั้งใจไว้ คือ

                     - หุงข้าวใส่บาตรพระที่หน้าบ้าน

                     - ได้จัดอาหารไหว้บรรพบุรุษ คือ บิดา-มารดา เนื่องในเทศกาลตรุษจีน ที่จะมาถึงของปีนี้

                    วันนี้ Boarding 14:15 น. เดินทางไปนครศรีธรรมราช

                     เมื่อเช้าขณะเดินจงกรม รอพระมาบิณฑบาตร เดินอยู่หน้าบ้าน จิตมันก็คิดถึง ทวารแห่งการก่อทุกข์  ดังนั้น เช้านี้ขอนำเสนอ ทวารในการก่อทุกข์ ครับ

                     สวัสดี


อายตนะประตูแห่งการก่อทุกข์


                     ในสมัยพุทธกาล พระสมิทธิ ได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า "อะไรที่เรียกว่ามาร  และมารเกิดขึ้นเมื่อใด" (ในทำนองนี้ เพราะเขียนจากความจำ) พระพุทธองค์ทรงตอบว่า "ดูกรสมิทธิ เมื่อใดเกิดการรับรู้ หรือสัมผัสได้ เมื่อตาเห็นรูป  หูได้ฟังเสียง  จมูกได้ดมกลิ่น  ลิ้นได้ลิ้มรส  กายได้สัมผัส และใจ ปล่อยคิด เมื่อนั้น ย่อมมีมารเกิดขึ้น  เมื่อใดไม่มีมารก็มีความหมายในทางตรงกันข้าม"

                     "มาร" เกิดจากความปราถนา หรือความอยากได้แห่งจิต เมื่อตาได้เห็นรูป(คน สัตว์ สิ่งของ ที่ตนชอบ) เมื่อหูได้ยินเสียง(เสียง ที่ตนชอบ) จมูกได้ดมกลิ่น(กลิ่นที่ตนเองชอบ) ลิ้นได้ลิ้มรส (อาหารที่ตนเองชอบ) ร่างกายได้สัมผัส(เช่นร่างกายบุรุษ-สตรี ที่ตนเองชอบ) ใจได้นึกคิด(คืดล่องลอยในสิ่งที่ตนเองชอบ เช่นสร้างวิมาร และคิดไปในทางอกุศล)

                       เมื่อตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  ได้สัมผัส  ได้รับรู้  เกิดวิญญาณตามมา ในสิ่งที่ตนเองชอบ เกิดการปรุงแต่ง อยากได้  อยาเอามาเป็นเจ้าของ  ย่อมเกิดมาร มารบกวนจิตใจที่ต้องหาสิ่งนั้นเอามาครอบครองให้จงได้ ทั้งทางการกระทำที่เป็นกุศล และอกุศล  ย่อมเกิดความทุกข์ตามมา

                       ปกติแรกเริ่ม จิตเป็นประภัสสร  แต่เพราะความอยาก ทางตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ   นี่ละ  จึงทำให้มีมารเกิดขึ้น มาขวางกั้น ไม่ให้จิตเป็นประภัสสร และเมื่อจิตมีมารมาเกาะ ซึ่งก็คือกิเลส ตัณหา นั้น แกะออกอยาก  ติดแล้วติดเลย  อยากได้อีกไม่มีที่สิ้นสุด  จนกว่าจะตายจากไปจากรูป

                        ดังนั้น  จะเห็นว่า ประตูที่เปิดรับมาร หรือกิเลส ตัณหา ก็คือ ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  และใจของเรานี่ละ  ถ้าเราไม่เห็นความจริงอันนี้ ไม่เข้าใจอันนี้ก็เท่ากับเราหลงอยู่ในความคิด เป็นทาสของจิต เปิดประตูต้อนรับมาร  เพราะจิตมนุษย์นั้น ย่อมหลงเพลิดเพลิน ยินดีทางตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจและเพลิดเพลินไม่มีที่สิ้นสุด  เต็มไปด้วยความยึดมั่น  ถือมั่น หรือทิฏฐิ  ไม่รู้จบสิ้น มีแต่ก่อทุกข์ร่ำไป

                         แต่ถ้าผู้ใด ทราบความจริงอันนี้แล้วนำไปปฏิบัติตาม ด้วยการคอยระวังจิตตนเอง หรือคอยตามจิตตนเองให้พบ เมื่อตาเห็นรูป  หูได้ยินเสียง  จมูกได้ดมกลิ่น  ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้สัมผัส  ไม่ปล่อยใจนึกคิดล่องลอยไปจากกาย-ใจ  ด้วยการสำรวมกาย  วาจา  ใจ  หรือให้รู้  เพื่อว่าไม่ให้จิตเพลิดเพลิน หลงไปในทางความยิดดีนั้น ก็จะพบแต่สุข ที่ไม่มีการปรุงแต่ง

                        อย่าลืมจำกรรมฐานของเณร ที่สอนพระใบลานเอาไว้ให้มั่น "อุโมงมีอยู่ ๖ อุโมง มีสัตว์เข้าไปอาศัยอยู่  ถ้าจะจับสัตว์นั้นให้ได้ ต้องปิดอุโมงทั้ง ๕ เปิดอุโมงที่ ๖  เดินเข้าไปในอุโมงที่ ๖  จะจับสัตว์นั้น ได้เอง"

                        ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  คือประตูเปิดต้อนรับมาร  ความคิดปรุงแต่ง  กิเลส  ตัณหา และเป็นต้นเหตุแห่งการรับทุกข์

                        เราต้องปิดอุโมงทั้งห้า คือ ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ด้วยการเห็นสักแต่ว่าเห็น ไม่ปรุงแต่ง  ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน ไม่ปรุงแต่ง  ได้กลิ่นสักแต่ว่าได้กลิ่น ไม่ปรุงแต่ง  ได้ลิ้มรสสักแต่ว่าได้ลิ้มรส ไม่ปรุงแต่ง  ได้สัมผัสสักแต่ว่าได้สัมผัส  

                        เปิดใจของเราปล่อยให้คิด  เมื่อใจคิดก็ให้รู้ว่าคิด  คอยตามดูพฤติกรรมของจิตตนเอง ก็จะสามารถเอาชนะจิตตนเองได้  จนสามารถไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวางทุกสิ่งลงได้ เพราะเห็นความจริงของธรรมชาติในจิตนั้นแล้วว่า ร่างกายเราประกอบไปด้วยรูป - นาม และทุกสิ่งล้วนเป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ เกิด  ดับ อยู่อย่างนี้  ไม่มีอะไรที่จิรังยั่งยืนเลย เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นธรรมดา  ไม่น่ายินดี  ไม่น่าเพลิดเพลิน ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าหลงเลย

                        สวัสดีครับ
 
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8228 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2556, 09:40:45 »

ความกตัญญู


            พระพุทธศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี คนดีย่อมเป็นที่ปราถนาที่ต้องการในที่ทุกหนทุกแห่งในทุกกิจการ และในทุกยุคทุกสมัย

                        คนดีทำให้ครอบครัวเจริญ โรงเรียนเจริญ ชุมชนเจริญ สังคมและประเทศชาติเจริญ

                        คนดีอยู่ในครอบครัวใด โรงเรียนใดและสังคมใด ครอบครัว โรงเรียน และสังคมนั้นๆ ย่อมมีความสุข

                        ความกตัญญู คือ คุณสมบัติและสัญลักษณ์ของคนดี

                        กตัญญูกับกตเวที รวมเป็น กตัญญูกตเวที เป็นคุณธรรมคู่กันเสมอ เป็นหลักถือปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของสัตบุรุษ คือ คนดี หรือคนในอุดมคตินั่นเอง

                        ในสังคมชาวพุทธ คนมีกตัญญูกตเวทีย่อมเป็นผู้ควรค่าแก่ความรัก เกียรติ ศักดิ์ศรี และการยกย่องสรรเสริญจากผู้อื่น เพราะได้ปฏิบัติธรรมอันถือเป็นมงคลยิ่งข้อหนึ่ง คือ ความกตัญญู บุคคลย่อมมีชีวิตประสบแต่ความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรือง

                        ความคิดและความเชื่อตามวัฒนธรรมไทยนั้น สรรเสริญผู้มีความกตัญญูและตำหนิผู้ที่ไม่รู้จักบุญคุณคนอื่นเป็นอย่างมาก

                        คนไทยมีความเชื่อว่า ผู้ที่มีความกตัญญูต่อพ่อ แม่ ครูอาจารย์ จะมีความเจริญรุ่งเรืองประสบความสำเร็จในชีวิต

                        ส่วนผู้ที่เนรคุณนั้น จะประสบความวิบัติเป็นที่รังเกียจในสังคม ได้มีการเปรียบเทียบว่า คนที่เนรคุณนั้น เป็นคนไร้ค่ามีจิตใจกระด้างดังเนื้อหิน เขาจะกรุณาคนอื่นได้อย่างไรในเมื่อคนที่มีบุญคุณต่อเขา ยังทำให้เขาสำนึกไม่ได้

                        กตัญญู เป็นธรรมอันเป็นมงคลที่ 25 ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ โดยเน้นให้นำไปพัฒนาคุณสมบัติของคนดี แปลตามตัวหนังสือ คือผู้รู้ว่า คนอื่นทำความความดีอะไรไว้แก่ตนบ้าง เอาความหมายสั้นๆ ว่าา "ผู้รู้คุณคน" การรู้บุญคุณคน หรือรู้อุปการคุณที่ผู้อื่นทำให้ตนเองนับถือเป็นหลักแห่งความยุติธรรมและความเป็นธรรมอย่างหนึ่งในสังคมมนุษย์ เพราะเป็นการสอดคล้องกับหลักคำสอนว่า "การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้

                          มีคนทำดีให้กับเราแล้ว และเราได้รับผลประโยชน์จากการทำดีของเขา เป็นต้นว่า ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุข แต่เรารับรู้แต่ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่รับรู้คุณความดีของเขา ย่อมถือได้ว่าไม่ยุติธรรมต่อกัน

                          ดังนั้น เมื่อเราเกิดมาเป็นคน เป็นพุทธศาสนิกชน ควรจะเป็นผู้มีความกตัญญู ต่อบิดา มารดา ครู อาจารย์ ญาติ มิตร และผู้มีอุปการะคุณทุกท่าน รวมถึงเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง และสัตว์เดรัจฉาร ที่มีคุณแก่เรา ด้วย

                          เทศกาลตรุษจีน เป็นวัฒนธรรมที่ดี  ที่เราได้รำลึกถึงบุณคุณของบรรพบุรุษ โดยเฉพาะบิดา - มารดา เพราะถ้าไม่มีท่านทั้งสอง เราก็ไม่สามารถเกิดเป็นมนุษย์ได้ และดำรงชีวิตมาจนถึงทุกวันนี้ได้

                          และนอกจากนี้ยังจะต้องมีความกตัญญูต่อชาติ  บ้านเมือง พระมหากษัตริย์ และพุทธศาสนา ด้วย

                          สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8229 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2556, 10:06:33 »

หิริ-โอตตัปปะ



โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

วัดหินหมากเป้ง
ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย


                     วันนี้จะเทศน์ถึงเรื่อง “ความละอายและความกลัวต่อบาป” ให้เข้าใจ เราเคยได้ยินได้ฟัง แต่ฟังเฉยๆ ไม่ค่อยเข้าใจลึกซึ้งถึงธรรมะ ฟังไปๆ ก็เบื่อ แท้ที่จริงธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละบทแต่ละบาทมีความหมายลึกซึ้ง เพราะเกิดจากหทัยวัตถุของพระองค์ เป็นเรื่องที่จะให้สำเร็จประโยชน์อย่างยิ่งในธรรมนั้นๆ

                      ฉะนั้นจงพากันตั้งใจฟังให้ดี ถ้าฟังไม่ดีจิตวอกแวกไปมันก็เลยจะไม่เข้าใจเสีย ถ้าตั้งใจเด็ดเดี่ยวฟังจริงๆ คงจะรู้ คงจะเข้าใจ เมื่อเกิดความรู้ ความเข้าใจแล้ว จงตั้งใจเอาไปปฏิบัติทดลองดู ถ้าหากว่าไม่ทดลองปฏิบัติดูก็จะไม่สำเร็จประโยชน์ ธรรมจึงเป็นข้อละเอียด

                      คำว่า หิริ คือ ความละอายใจ อายมิใช่อายอย่างธรรมดา ที่หนุ่มสาวอายกัน มันอายซึ้งเข้าถึงใจจริงๆ ไม่ใช่อายผิวเผินภายนอก หนุ่มสาวมักอายรูปร่างภายนอก เราคิดจะทำสิ่งใดที่ชั่ว มันละอายขึ้นมาในใจ เพียงแต่คิดเท่านั้น คนอื่นยังไม่เห็นเลยมันเกิดความละอายขึ้นมาแล้ว คิดทำชั่วคืออย่างไร สิ่งใดที่เป็นไปเพื่อความเลวทรามไม่ถูกต้องทางธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอัน นั้นเป็นความเลว

                       อะไรที่มันวัดว่ามันถูกหรือไม่ถูก อันนี้ง่ายนิดเดียว คนที่ไม่เคยรู้ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็อาจจะเข้าใจได้ คือถ้าเราทำอะไรลงไป ถ้าหากว่ามันไม่ถูกต้องแล้วมันรู้สึกละอายกระดากในใจตนเอง แต่ตามหลักท่านบอกว่านักปราชญ์ทั้งหลายไม่สรรเสริญ ไม่นิยม นั่นเรียกว่า ผิดจากธรรม

                        เราไม่ใช่นักปราชญ์ ไม่ใช่นักรู้ แต่เรารู้ภายในของเราเอง อย่างฆ่าสัตว์ มันคิดกระดากในใจ คือเราไม่ฆ่าสัตว์เพียงคิดจะฆ่าก็กระดากในใจ แต่ผู้ที่เขาฆ่าสัตว์มาจนชินแล้วก็ไม่กระดากเท่าไร เรียกว่า มันไม่มีธรรมในตัว เราคิดจะฆ่าเท่านั้นแหละ มันนึกกระเดียมกระดากในตัว เรียกว่า ของไม่ดีคือบาป คนทั้งหลายไม่นิยม นักปราชญ์ไม่นิยม

                         บรรดาคนทั้งหลายย่อมกลัวความชั่ว คนอื่นก็กลัว ตัวของเราก็กระดาก สัตว์ทั้งหลายแม้เดียรฉานไม่รู้เดียงสา เห็นเราทำท่าทางกิริยาอาการลงมือฆ่าให้เห็นมันก็กลัวแล้ว อันนั้นแหละความชั่ว ถ้าหากเราทำดี อันนี้ตรงกันข้าม เป็นมิตรเป็นสหายพวกพ้อง อย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้แต่สัตว์เดียรฉานก็ขุนเขืองไม่คิดกระดากเป็นมิตรกับเรา เข้าไปในป่ารกมีเสือ หมี ผีร้าย ซึ่งเป็นของดุที่สุด คนกลัวที่สุด ถ้าหากมีเมตตา ไม่ปรารถนาจะทำชั่วช้าแล้ว เขาก็มาสนิทสนมกับเรา ไม่เห็นมีกลัวอะไร นั่นแหละความดี คือความละอายในใจของเรา ไม่กล้าทำชั่ว

                          ความละอายนี่แหละเป็นต้นเหตุให้ทำความดี ความดีทั้งหมดเกิดจากความละอายนี้ทั้งนั้น ความไม่ดีเกิดจากความไม่ละอายนั่นเอง ศีล ๕ ข้อมีความละอายเป็นเบื้องต้น เป็นสมุฏฐาน หากว่ามีความละอายในใจแล้วไม่กล้าทำ ศีลข้อนั้นก็งดเว้นได้หมด ลักทรัพย์ก็เหมือนกัน ถ้าหากของตกอยู่ในป่า ไม่มีเจ้าของแต่เราไปหยิบเอา เกิดสงสัยว่าจะมีเจ้าของหรือไม่หนอ แล้วก็คิดกระดากในใจยังไม่กล้าที่จะเอา จนแน่ใจตนเองเสียก่อนว่าไม่มีเจ้าของ

                           อย่างลูกไม้ ผลไม้ มันเกิดในป่าไม่มีเจ้าของหวงแหน แน่แก่ใจแล้วว่าไม่มีเจ้าของจึงถือเอาด้วยความสนิทใจ ถ้าหากของที่ตกเช่นเป็นของในบ้านมาตกในป่า เอ๊ะ นี่มันของคนเขาเอามานี่ มันก็ไม่เอา เอาก็ไม่สนิท นั่นแหละมันจะไปลักไป ขโมยได้อย่างไร การประพฤติผิดมิจฉาจาร มุสาวาท ดื่มสุราเมรัย เหมือนกันหมดทุกอย่าง ศีล ๘ ก็เหมือนกัน ถ้ามีหิริอยู่ในใจละอายใจแล้วไม่กล้าทำทั้งนั้น แม้ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ก็เหมือนกันหมด

                            พูดถึงเรื่อง “ธรรม” ความรู้ตัว ความละอายในตัวนั้นแหละเป็นธรรม ความละอายในตัวเกิดรู้สึกขึ้นมามันเป็นธรรมแล้ว ธรรมเกิดพร้อมกันกับศีล เกิดในที่เดียวกันนั่นแหละ คือเกิดจากหัวใจของคนเรา ไม่ใช่เกิดจากที่อื่น ศีลก็เกิดที่หัวใจนั่นแหละ ที่ละอายแล้วไม่กล้าทำ ธรรมก็เกิดที่หัวใจ ความรู้สึกละอายเกิดขึ้นในที่นั่นเรียกว่า หิริ โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัว เมื่อรู้สึกมีความละอายในใจแล้วเกิดความกลัว กลัวความชั่ว กลัวเขาจะรู้ จะเห็น กลัวจะอับอายขายขี้หน้า กลัวผู้ใหญ่ เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชาท่านจะรู้จะเห็นเอาโทษเอาทัณฑ์ มีความละอาย มีความกลัวละคราวนี้ก็ไม่กล้าทำเท่านั้นเอง

                             เมื่อมีหิริ-โอตตัปปะอย่างนี้แล้ว กฎหมายบ้านเมืองทุกมาตราไม่มีใครกล้าทำผิดหรอก อย่าว่าแต่ธรรมเลย การอยู่ด้วยกันเป็นหมู่คณะ เป็นพรรคเป็นพวกหลายคนด้วยกัน ถ้ามีหิริ-โอตตัปปะแล้ว ไม่มีอิจฉาริษยาเบียดเบียนซึ่งกันและกันมันก็เป็นสุขเท่านั้น หากคิดผิดประทุษร้ายเกิดความละอายและกลัวขึ้นมา นั่นธรรมเตือนขึ้นมาแล้ว เลยไม่กล้าทำความชั่ว ครั้นทำลงไปก็เป็นเหตุให้เดือดร้อนวุ่นวาย ตนเองเดือดร้อนเพราะทำชั่ว คิดชั่ว แล้วก็เป็นเหตุให้คนอื่นเดือดร้อนอีกด้วย

                              เรียกว่า ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ผู้ประพฤติสุจริตก็มี หิริ-โอตตัปปะ อยู่ในตัวนั่นแหละ เรียกว่า ประพฤติธรรมสุจริต ผู้ประพฤติธรรมดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ มันก็สวมหัวใจของเรามาแต่เบื้องต้นนั่นน่ะซี จะสุขที่ไหน สุขแต่เบื้องต้นที่เราประพฤติดี ประพฤติชอบ มันไม่เดือดร้อนวุ่นวาย คนอื่นก็สุข อยู่หมู่มากด้วยกันก็สุข หมู่น้อยก็เป็นสุขด้วยกันทั้งหมด ไม่มีเดือดร้อนวุ่นวาย จึงว่าธรรมอันนี้เป็นของดี

                               ธรรมของพระพุทธเจ้าสอน ไม่ใช่เป็นของตื้นๆ ต่ำๆ มีความลึกซึ้งสุดเข้าถึงหัวใจของบุคคล ถ้าปฏิบัติเป็นธรรมแล้วจะอยู่เย็นเป็นสุขด้วยกันหมดทุกคน ฉะนั้นให้ฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าฟังไม่เข้าใจฟังแล้วก็หายไปเลยไม่สนใจถึงเรื่องธรรมนั้นๆ บางทีเข้าใจว่าธรรมอันนี้เป็นของตื้นต่ำ เลยไม่อยากฟังซ้ำ แท้ที่จริงเราน่ะเป็นคนตื้นฟังไม่ลึกซึ้งถึงธรรมนั้นต่างหาก จึงไม่ซาบซึ้งถึงอรรถธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

                               ถ้าปฏิบัติธรรมซึ้งถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงแล้ว มันไม่ใช่แต่เพียงแค่นั้น มันซึ้งเข้าไปอีกจนเหลือที่จะพูดให้คนฟัง ท่านพูดให้คนอื่นฟังแต่เพียงตื้นๆ แล้ว แต่ความลึกซึ้งของธรรมจริงๆ ในหัวใจของผู้ที่เห็นธรรมปฏิบัติธรรมนั้น ไม่สามารถพูดออกมาได้เมื่อฟังแล้ว เข้าใจแล้ว จงตั้งใจฝึกปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน เมื่อยังไม่เข้าใจก็ให้ตั้งใจสนใจในเรื่องนั้นๆ หากจะค่อยซาบซึ้งเข้าไปเองหรอก เรื่องเหล่านี้มันอยู่ที่ความสนใจและตั้งใจปฏิบัติตาม

                               สาธุ มันเป็นความจริงทุกประการ พระคุณเจ้า หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8230 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2556, 20:08:08 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มีเกียรติ ที่รักทุกท่าน

                         พี่สิงห์ อยู่นครศรีธรรมราช วันนี้ Nok Air บินตรงเวลา

                         อากาศที่นครคศรีธรรมราช ท้องฟ้าแจ่มใส่ ไม่มีเมฆ ตอนลงจากเครื่องแสงแดดจ้า มีร่มให้ใช้ แต่พี่สิงห์ ไม่ได้ใช้

                         และตอนเย็น อากาศเย็นสบายมีลมพัดอ่อน ๆ จึงได้ฝึกชิกง  โยคะ และเข้าไปอบซาวน่า เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย

                         วันนี้หลานสาวได้นำกระดูกแม่ กลับไปสิงห์บุรี  ภายหลังจากที่ผมได้กราบไหว้ตามประเพณีตรุษจีน เพื่อจะได้นำไปทำบุญครบ ๑๐๐ วัน ให้แม่ ในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธิ์ ผมคงไม่มีโอกาสร่วมทำบุญให้แม่ ร่วมกับพี่-น้องได้ 

                         แต่ได้ตั้งใจเอาไว้แล้วว่า  จะให้หลวงพ่อ ดร.พระมหาสุเทพ  ท่านทำพิธีให้ เพราะพี่สิงห์ เอารูป และกระดูกแม่ ทำเป็นพระคล้องคอ ติดตัวตลอดเวลา เพื่อเป็นกำลังใจในการรักษาศีล ๘  ปฏิบัติธรรม ให้มีวิริยะในการสร้างกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เจริญกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป  ป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น และละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป

                         ถ้านับเวลาตอนหกโมงครึ่งตอนเย็นที่แม่จากไป  พี่สิงห์  จะอยู่ที่มกุพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงของพระพุทธองค์  หรือไม่ก็อยู่ที่ สถานที่พระพุทธองค์ปรินิพพาน ที่เมืองกุสินารา พอดี และตั้งใจจะถวายปัจจัย จำนวนหนึ่ง เพื่อร่วมสร้างพระพุทธเมตตา จำลอง และอุโบสถ ที่วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา ที่หลวงพ่อจะจัดสร้างขึ้น  เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แม่

                         และได้บอกแม่ แล้วว่า จะพาแม่ไปยังดินแดนพุทธภูมิ สถานที่ประสูต  ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน ของพระพุทธองค์ ซึ่งแม่ยังไม่เคยได้ไป  ได้ไปในครั้งนี้ ด้วย

                         ตอนนี้เสื้อผ้าต่าง ๆ ในการไปอินเดีย ได้ซักเรียบร้อนหมดแล้ว แต่ยังไม่ได้รีดและจัดใส่กระเป๋า มีแต่ชุดขาว ชุดปฏิบัติธรรมทั้งหมด  ยกเว้นหมวกเป็นสีเทาดำ ที่แม่เคยใส่เวลานอน และผ้าเช็ดตัวของแม่ ที่ยังใช้ได้  พี่สิงห์ ก็เอามาใช้ รวมทั้งถุงมือด้วย เพราะอากาศยังคงหนาวมากโดยเฉพาะที่วัดพระเชตุวันฯ ของท่านอณาบิณฑิกเศรษฐี  จะหนาวมากแบบนอนไม่หลับเลย  อย่างเมื่อเมื่อปีที่แล้ว

                          คราวนี้หลานชายนายแพทย์พีร์  ให้เอาถุงนอนไปด้วย น้ำหนักเบา ก็ดีเหมือนกัน  จะได้ป้องกันยุง อบอุ่นแทนผ้าห่ม และสามารถไปนอนปฏิบัติธรรม ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในเวลากลางคืนได้ อีกด้วย  ไม่เป็นภาระมากนักในการเดินทาง

                          ได้เวลาขึ้นห้องปฏิบัติธรรม  ทำวัตรเย็นแล้วครับ

                           ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8231 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2556, 08:13:56 »

สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                          บรรยากาศที่โรงแรม ตกแต่ง เปิดเพลง พนักงานแต่งตัวแบบเทศกาลตรุษจีน

                          เช้านี้อากาศที่นครศรีธรรมราช ดีมาก ๆ ท้องฟ้าไม่มีเมฆ มีลมเย็นสะบาย เห็นแสงเงิน แสงทอง ยามเช้า  ได้เดินจงกรมออกกำลังกาย ฝึกชิกง  โยคะท่านมัสการพระอาทิตย์ และท่าต้นไม้สำหรับฝึกสมาธิ

                         รับประทานอาหารเช้าเสร็จแล้ว ได้พบเพื่อนต่างชาติเป็นชาวนิวยอค แต่มาอยู่ที่นครศรีธรรมราช และจะมาพักที่โรงแรม พอ ๆ กับผม ได้ทักทายกัน แบบนี้มาหลายปีมาก ๆ แล้ว คือ นายบ๊อบ  ทำให้ได้มีโอกาสฝึกพูดภาษาอังกฤษ

                         อย่าลืม พระพุทธองค์ทรงสอนว่า "ผู้ใดชื่นชม ยินดี พอใจ หรือเพลิดเพลินใน ตา  หู  จมูก  ลิ้น กาย และใจ ผู้นั้นได้ชื่อว่า ได้ชี่นชม ยินดี พอใจ หรือเพลิดเพลินในทุกข์"

                          ถ้าท่านต้องการพ้นทุกข์ ท่านต้องอย่าขาด หรือไม่หลงยินดี หรือไม่หลงเพลินเพลินในตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย และใจ ด้วยการปฏิบัติตามกรรมฐานของเณรที่สอนพระใบลาน

                          ต้องขึ้นไปอาบน้ำ แล้วครับ เมื่อถึงโรงงานเรามาต่อกันด้วย ธรรมว่าด้วยการแจงแจงอายตนะ ๖ จำนวน ๖ หมวด เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสอนพระราหุล  จนได้ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุรี มีจิตหลุดพ้น  คลายความยึดมั่นถือมั่น สำเร็จเป็นพระอรหันต์ และครั้งที่พระพุทธองค์ทรงแจกแจงธรรม ๖ อย่างนี้ พระภิกษุผู้พิจารณาตาม ในธรรมนั้น สามารถบรรลุ คลายความยึดมั่นถือมั่นเป็นพระอรหันต์ ๖๐ องค์ และธรรมนี้ยังเป็นธรรมที่ พระภิกษุ จำนวน ๑๒๕๐ รูป (เป็นชฎิลมาก่อน) มีใจไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตน สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จึงนับได้ว่าเป็นธรรมที่สำคัญ

                          คอยติดตาม นะครับ

                          สวัสดี
      บันทึกการเข้า
อ้อย17
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,908

« ตอบ #8232 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2556, 08:47:51 »



                สวัสดีค่ะ พี่สิงห์...

                         อ้อยไปหามุ้งมาให้ได้แล้วนะคะ แต่ได้สีฟ้าน้ำเงิน ไม่มีสีขาว

                วันนี้เห็นมี2 สีคือชมพูกับน้ำเงินเลยเลือกสีน้ำเงินให้ พอได้ไหมคะ

                ราคา200 บาทค่ะ พี่สิงห์จะให้ส่งของอย่างไรคะ?..

       อ้อ...ที่รองนั่งสมาธิ วันนี้ไม่มีค่ะ...
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8233 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2556, 10:06:45 »

อ้างถึง
ข้อความของ อ้อย17 เมื่อ 08 กุมภาพันธ์ 2556, 08:47:51


                สวัสดีค่ะ พี่สิงห์...

                         อ้อยไปหามุ้งมาให้ได้แล้วนะคะ แต่ได้สีฟ้าน้ำเงิน ไม่มีสีขาว

                วันนี้เห็นมี2 สีคือชมพูกับน้ำเงินเลยเลือกสีน้ำเงินให้ พอได้ไหมคะ

                ราคา200 บาทค่ะ พี่สิงห์จะให้ส่งของอย่างไรคะ?..

       อ้อ...ที่รองนั่งสมาธิ วันนี้ไม่มีค่ะ...

สวัสดีค่ะ คุณน้องอ้อย17 ที่รัก

                             ขอสีชมพูได้ไหม? ต้องเอาไว้นัดกัน เพราะพี่สิงห์ ยังหาเวลาไม่ได้

                              มุ้งนี้ ไม่ได้เอาไปอินเดีย  เพราะที่วัดมีอยู่แล้ว  เอาไว้ที่บ้าน

                               พี่สิงห์ กำลังรอวิศวกรของ Posten เนื่องจากจะทำการ Load Test ระบบพื้น เพราะทำไว้ไม่ดี ลองทดสอบไปครั้งหนึ่งแล้ว ไม่ผ่าน คือทำงานแย่มากๆ ดร.สุริยา  ต้องระวังเอาไว้ด้วย

                               สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8234 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2556, 10:10:32 »



                    เชิญทุกท่านรับประทานอาหารเช้้ากันครับ

                    นี่คือ อาหารเช้าสำหรับพี่สิงห์  ต้องกินอย่างราชา

                   เสียดายส่วนใหญ่ เพียงกาแฟถ้วยเดียว เท่านั้น เช่น ดร.สุริยา  ดร.กุศล  และเลยเวลากิน เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีเลย

                          สวัสดี
      บันทึกการเข้า
อ้อย17
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,908

« ตอบ #8235 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2556, 11:03:28 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 08 กุมภาพันธ์ 2556, 10:06:45
อ้างถึง
ข้อความของ อ้อย17 เมื่อ 08 กุมภาพันธ์ 2556, 08:47:51


                สวัสดีค่ะ พี่สิงห์...

                         อ้อยไปหามุ้งมาให้ได้แล้วนะคะ แต่ได้สีฟ้าน้ำเงิน ไม่มีสีขาว

                วันนี้เห็นมี2 สีคือชมพูกับน้ำเงินเลยเลือกสีน้ำเงินให้ พอได้ไหมคะ

                ราคา200 บาทค่ะ พี่สิงห์จะให้ส่งของอย่างไรคะ?..

       อ้อ...ที่รองนั่งสมาธิ วันนี้ไม่มีค่ะ...

สวัสดีค่ะ คุณน้องอ้อย17 ที่รัก

                             ขอสีชมพูได้ไหม? ต้องเอาไว้นัดกัน เพราะพี่สิงห์ ยังหาเวลาไม่ได้

                              มุ้งนี้ ไม่ได้เอาไปอินเดีย  เพราะที่วัดมีอยู่แล้ว  เอาไว้ที่บ้าน

                               พี่สิงห์ กำลังรอวิศวกรของ Posten เนื่องจากจะทำการ Load Test ระบบพื้น เพราะทำไว้ไม่ดี ลองทดสอบไปครั้งหนึ่งแล้ว ไม่ผ่าน คือทำงานแย่มากๆ ดร.สุริยา  ต้องระวังเอาไว้ด้วย

                               สวัสดี

   ได้ค่ะ...ประเดี๋ยวจะเอาไปเปลี่ยนเป็นสีชมพูให้ค่ะ..
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8236 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2556, 13:50:17 »

อ้างถึง
ข้อความของ อ้อย17 เมื่อ 08 กุมภาพันธ์ 2556, 11:03:28
อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 08 กุมภาพันธ์ 2556, 10:06:45
อ้างถึง
ข้อความของ อ้อย17 เมื่อ 08 กุมภาพันธ์ 2556, 08:47:51


                สวัสดีค่ะ พี่สิงห์...

                         อ้อยไปหามุ้งมาให้ได้แล้วนะคะ แต่ได้สีฟ้าน้ำเงิน ไม่มีสีขาว

                วันนี้เห็นมี2 สีคือชมพูกับน้ำเงินเลยเลือกสีน้ำเงินให้ พอได้ไหมคะ

                ราคา200 บาทค่ะ พี่สิงห์จะให้ส่งของอย่างไรคะ?..

       อ้อ...ที่รองนั่งสมาธิ วันนี้ไม่มีค่ะ...

สวัสดีค่ะ คุณน้องอ้อย17 ที่รัก

                             ขอสีชมพูได้ไหม? ต้องเอาไว้นัดกัน เพราะพี่สิงห์ ยังหาเวลาไม่ได้

                              มุ้งนี้ ไม่ได้เอาไปอินเดีย  เพราะที่วัดมีอยู่แล้ว  เอาไว้ที่บ้าน

                               พี่สิงห์ กำลังรอวิศวกรของ Posten เนื่องจากจะทำการ Load Test ระบบพื้น เพราะทำไว้ไม่ดี ลองทดสอบไปครั้งหนึ่งแล้ว ไม่ผ่าน คือทำงานแย่มากๆ ดร.สุริยา  ต้องระวังเอาไว้ด้วย

                               สวัสดี

   ได้ค่ะ...ประเดี๋ยวจะเอาไปเปลี่ยนเป็นสีชมพูให้ค่ะ..

                     ขอบคุณมากค่ะ

                     สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8237 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2556, 13:57:13 »

ดร.สุริยา

                       วันนี้เพิ่งจบเรื่องการทดสอบพื้น Post- tension คือว่า ฝีมือการวาง Lay out สาย cable ของ Posten ก็ห่วย ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะมาทราบเรื่องก็ปลายเหตุทั้งนั้น  ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อความสะบายใจทุกฝ่าย ก็ต้องทำการทดสอบการรับน้ำหนักตาม ACI code ดีที่สุด เพราะตัวเลขที่ทดสอบมาครั้งแรก มันใช้ไม่ได้  ก็ต้องทดสอบเพื่อยืนยัน ใหม่ มันก็ง่าย ๆ ทำตามความเป็นจริง เพราะทุกข์มันเกิดขึ้นแล้ว กับทางเจ้าของโครงการเรื่องความปลอดภัย

                       นี่ละบทเรียนแห่งการเกรงใจ  มันจึงเป็นเช่นนี้เอง

                       สวัสดี


                           
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8238 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2556, 14:34:41 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มีเกียรติ ที่รักทุกท่าน

                                  วันนี้อาจารย์ถาวร  โชติชื่นได้โทรศัพท์ มาสั่งการว่า "ให้ผมบอกเบอร์บัญชีธนาคาร  เพื่อผู้มีใจบุญ  อยากจะฝากร่วมทำบุญกับผมด้วย ในการจาริกแสวงบุญที่อินเดียครั้งนี้  ตามแต่ว่าผมจะเอาเงินไปทำบุญที่ไหน วัดไหน เช่น ทำบุญใส่ตู้ที่หลวงพ่อพระเมตตา สถานที่ตรัสรู้ หรือทำบุญสร้างหลวงพ่อเมตตาและอุโบสถ ที่วัดไทยพุทธวิปัสสนา หรือที่ป่าอิสิปัตน ฯ สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา หรือที่ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติ หรือที่กุสินารา สถานที่ปรินิพพาน เพราะหลายท่านไม่ได้มีโอกาสไปอินเดีย หรือบางท่านเคยไปมาแล้วแต่อยากร่วมทำบุญด้วย  จะได้โอนเงินเข้าบัญชี และให้ผมไปถอนเงินเอาไปทำบุญที่อินเดียในครั้งนี้ด้วย"

                                   ผมก็จะไม่ปิดกั้นความคิดอันนี้  จึงขอแจ้งให้ทุกท่านทราบ ใครอยากจะฝากเงินให้ผมไปร่วมทำบุญให้ที่อินเดีย ในการไปปฏิบัติธรรม  จาริกแสวงบุญครั้งนี้ของผม ก็โอนเงินเข้าบัญชีมา และแจ้งให้ผมทราบด้วยจักขอบคุณยิ่ง

                                   ชื่อบัญชี นายมานพ  กลับดี  บัญชีเลขที่ 1450396146 บัญชีสะสมทรัพย์  ธนาคารกรุงเทพ  สาขามีนบุรี เมื่อโอนเงินมาแล้วโปรดแจ้งทาง SMS มาที่เบอร์ 0817000760 ภายในวันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ เพื่อว่าวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ผมจะได้ไปเบิกเงินที่โอนมานั้น นำไปทำบุญที่อินเดียให้ตามวัตถุประสงค์ของท่าน เป็นการทำบุญร่วมกัน  จะมาก  จะน้อยไม่สำคัญ ทั้งสิ้น

                                   ผมไปอินเดียเช้าวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ อยู่ที่พุทธคยา ๓ คืน คงได้มีโอกาสไปนั่งปฏิบัติธรรมค้างคืนที่ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์

                                   เรียนเชิญทุกท่านครับ

                                   สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8239 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2556, 19:42:46 »

สวัสดียามค่ำครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                         ผมยังติดค้างเรื่องการแจกแจงอายตนะ ๖ ด้วยธรรม ๖ ข้ออยู่ แต่นี่ก็เป็นตัวอย่างของธรรมนั้น

                         ผมเสียดายที่ว่า  ตอนที่แม่ยังมีชีวิตอยู่ ทำไม  ผมไม่เข้าใจในธรรม ๕ หมวดนี้แจ่มแจ้งนัก จึงไม่ได้มีโอกาส บอกให้แม่ทราบ ได้แต่สอนแม่ให้รู้ถึงกฏไตรลักษณ์ และความตายเป็นเรื่องธรรมดา  ไม่ต้องกลัวอะไรทั้งนั้น และมันก็เป็นความจริง  แม่จากไปแบบธรรมดาของสังขาร ไม่ได้ทุกข์ทรมารใด ๆ เลย

                          ตอนนี้ผมเพิ่งเข้าใจอายตนะ ๖ อย่างแจ่มแจ้ง ว่าอายตนะ ๖ นี้เอง ไม่น่าชื่นชม  ไม่น่ายินดี  ไม่น่าเพลินเพลินเลย เพราะเป็นประตูรับมาร  นำความทุกข์มาให้ ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น ตามด้วยภพ มิรู้สิ้น หาที่สุดมิได้

                          แต่ถ้าเราเข้าใจมันอย่างถ่องแท้แล้ว จะทำให้ความยึดมั่นถือมั่นมันคลายลงไปได้

                           ใครที่มีคุณพ่อ-คุณแม่ หรือญาติผู้ใหญ่  ควรให้ท่านได้ศึกษาธรรม ๖ หมวดนี้ดู ท่านจะจากไปด้วยความไม่ยึดมั่น  ถือมั่น ในร่างและวิญญาณเสียได้

                           ขอให้ทุกท่านใช้ปัญญาพิจารณาแบบโยนิโสมนสิการ ท่านก็จะเข้าใจได้เหมือนอย่างผม  จะได้ไม่เกิดความเสียดายครับ

                           ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ


อนาถปิณฑิโกวาทสูตร (๑๔๓)

             [๗๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วยทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก จึงเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า มาเถิดพ่อมหาจำเริญ พ่อจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วจงถวายบังคมพระบาทพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา แล้วจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอถวายบังคมพระบาทพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า อนึ่ง จงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่อยู่ แล้วจงกราบเท้าท่านพระสารีบุตรตามคำของเรา และเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่านพระ-*สารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และเรียนอย่างนี้อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาสเหมาะแล้ว ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถ-*บิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำอนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

             [๗๒๑] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอถวายบังคมพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ต่อนั้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่อยู่ กราบท่านพระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้วจึงเรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าและสั่งมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาสเหมาะแล้ว ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรนุ่งสบงทรงบาตรจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ ฯ

             [๗๒๒] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีดังนี้ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านพอทน พอเป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบ ปรากฏความทุเลาเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความกำเริบละหรือ ฯ

             อ. ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ กระผมทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหวทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ

             [๗๒๓] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณกระทบขม่อมของกระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังเอาของแหลมคมทิ่มขม่อมฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ

             [๗๒๔] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณเวียนศีรษะกระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังให้การขันศีรษะด้วยชะเนาะมั่นฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏมีความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ

             [๗๒๕] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณปั่นป่วนท้องของกระผมอยู่ เหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ฉลาดเอามีดแล่โคอันคมคว้านท้อง ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนักกำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ

             [๗๒๖] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ความร้อนในกายของกระผมเหลือประมาณ เหมือนบุรุษมีกำลัง ๒ คน จับบุรุษมีกำลังน้อยกว่าที่อวัยวะป้องกันตัวต่างๆ แล้ว นาบ ย่าง ในหลุมถ่านเพลิง ฉะนั้นกระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ

             [๗๒๗] สา. ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุ และวิญญาณที่อาศัยจักษุจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสต และวิญญาณที่อาศัยโสตจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานะ และวิญญาณที่อาศัยฆานะจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหา และวิญญาณที่อาศัยชิวหาจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกาย และวิญญาณที่อาศัยกายจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโน และวิญญาณที่อาศัยมโนจักไม่มีแก่เรา
             ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

             [๗๒๘] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่าเราจักไม่ยึดมั่นรูป และวิญญาณที่อาศัยรูปจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเสียง และวิญญาณที่อาศัยเสียงจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกลิ่น และวิญญาณที่อาศัยกลิ่นจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นรส และวิญญาณที่อาศัยรสจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโผฏฐัพพะ และวิญญาณที่อาศัยโผฏฐัพพะจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นธรรมารมณ์ และวิญญาณที่อาศัยธรรมารมณ์จักไม่มีแก่เรา
             ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

             [๗๒๙] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่าเราจักไม่ยึดมั่นจักษุวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยจักษุวิญญาณจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยโสตวิญญาณจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยฆานวิญญาณจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหาวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยชิวหาวิญญาณจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกายวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยกายวิญญาณจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโนวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยมโนวิญญาณจักไม่มีแก่เรา
             ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

             [๗๓๐] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยจักษุสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยโสตสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยฆานสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหาสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยชิวหาสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกายสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยกายสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยมโนสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
             ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

             [๗๓๑] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่โสตสัมผัสและวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่โสตสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่ฆานสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่ฆานสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่กายสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่กายสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่มโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่มโนสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
             ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

             [๗๓๒] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่าเราจักไม่ยึดมั่นปฐวีธาตุ และวิญญาณที่อาศัยปฐวีธาตุจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอาโปธาตุ และวิญญาณที่อาศัยอาโปธาตุจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเตโชธาตุ และวิญญาณที่อาศัยเตโชธาตุจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวาโยธาตุ และวิญญาณที่อาศัยวาโยธาตุจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากาสธาตุ และวิญญาณที่อาศัยอากาสธาตุจักไม่มีแก่เรา
             ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

             [๗๓๓] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นรูป และวิญญาณที่อาศัยรูปจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนา และวิญญาณที่อาศัยเวทนาจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นสัญญา และวิญญาณที่อาศัยสัญญาจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นสังขาร และวิญญาณที่อาศัยสังขารจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยวิญญาณจักไม่มีแก่เรา
             ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

             [๗๓๔] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากาสานัญจายตนฌาน และวิญญาณที่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณัญจายตนฌานและวิญญาณที่อาศัยวิญญาณัญจายตนฌานจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากิญจัญญายตนฌานและวิญญาณที่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานจักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และวิญญาณที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานจักไม่มีแก่เรา
             ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

             [๗๓๕] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโลกนี้ และวิญญาณที่อาศัยโลกนี้จักไม่มีแก่เรา
             พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโลกหน้า และวิญญาณที่อาศัยโลกหน้าจักไม่มีแก่เรา
             ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

             [๗๓๖] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่าอารมณ์ใดที่เราได้เห็น ได้ฟัง ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้แสวงหา ได้พิจารณาด้วยใจแล้ว เราจักไม่ยึดมั่นอารมณ์แม้นั้น และวิญญาณที่อาศัยอารมณ์นั้นจักไม่มีแก่เรา
              ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

             [๗๓๗] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวแล้วอย่างนี้ อนาถบิณฑิกคฤหบดีร้องไห้ น้ำตาไหล ขณะนั้นท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีดังนี้ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านยังอาลัยใจจดใจจ่ออยู่หรือ ฯ

             อ. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ กระผมมิได้อาลัย มิได้ใจจดใจจ่อ แต่ว่ากระผมได้นั่งใกล้พระศาสดาและหมู่ภิกษุที่น่าเจริญใจมาแล้วนาน ไม่เคยได้สดับธรรมีกถาเห็นปานนี้ ฯ

             อา. ดูกรคฤหบดี ธรรมีกถาเห็นปานนี้ มิได้แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวแต่แจ่มแจ้งแก่บรรพชิต ฯ

             อ. ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอธรรมีกถาเห็นปานนี้ จงแจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวบ้างเถิด เพราะมีกุลบุตรผู้เกิดมามีกิเลสธุลีในดวงตาน้อย จะเสื่อมคลายจากธรรม จะเป็นผู้ไม่รู้ธรรม โดยมิได้สดับ ฯ

             ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์กล่าวสอนอนาถบิณฑิกคฤหบดีด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป ฯ

             [๗๓๘] ต่อนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเมื่อท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์หลีกไปแล้วไม่นาน ก็ได้ทำกาลกิริยาเข้าถึงชั้นดุสิตแล ครั้งนั้น ล่วงปฐมยามไปแล้ว อนาถบิณฑิกเทพบุตรมีรัศมีงามส่องพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ยืน ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

                          พระเชตวันนี้มีประโยชน์ อันสงฆ์ผู้แสวงบุญอยู่อาศัยแล้ว อัน
                          พระองค์ผู้เป็นธรรมราชาประทับ เป็นที่เกิดปีติแก่ข้าพระองค์
                          สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕ อย่างนี้ คือ กรรม ๑
                          วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอุดม ๑ ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตร
                          หรือด้วยทรัพย์ เพราะฉะนั้นแล บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็ง
                          เห็นประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะ
                          บริสุทธิ์ในธรรมนั้นได้ด้วยอาการนี้ พระสารีบุตรนั้นแล ย่อม
                          บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ด้วยศีล และด้วยความสงบ ความจริง
                          ภิกษุผู้ถึงฝั่งแล้ว จะอย่างยิ่งก็เท่าพระสารีบุตรนี้ ฯ

             อนาถบิณฑิกเทวบุตรกล่าวดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ต่อนั้นอนาถบิณฑิกเทวบุตรทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วกระทำประทักษิณ หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง ฯ

             [๗๓๙] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไปแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ล่วงปฐมยามไปแล้ว มีเทวบุตรตนหนึ่ง มีรัศมีงาม ส่องพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่ว เข้ามาหาเรายังที่อยู่ อภิวาทเราแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะเราด้วยคาถานี้ว่า

                          พระวิหารเชตวันนี้มีประโยชน์ อันสงฆ์ผู้แสวงบุญอยู่อาศัยแล้ว
                          อันพระองค์ผู้เป็นธรรมราชาประทับอยู่ เป็นที่เกิดปีติแก่ข้าพระองค์
                          สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยธรรม ๕ อย่างนี้ คือ กรรม ๑
                          วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอุดม ๑ ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตร
                          หรือด้วยทรัพย์ เพราะฉะนั้นแล บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็น
                          ประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะบริสุทธิ์
                          ในธรรมนั้นได้ด้วยอาการนี้ พระสารีบุตรนั้นแล ย่อมบริสุทธิ์
                          ได้ด้วยปัญญา ด้วยศีล และด้วยความสงบ ความจริง ภิกษุผู้
                          ถึงฝั่งแล้วจะอย่างยิ่งก็เท่าพระสารีบุตรนี้ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรนั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว รู้ว่าพระศาสดาทรงพอพระทัย จึงอภิวาทเรา แล้วกระทำประทักษิณ หายตัวไป ณ ที่นั้นแล ฯ

             [๗๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทวบุตรนั้น คงจักเป็นอนาถบิณฑิกเทวบุตรแน่ เพราะอนาถบิณฑิกคฤหบดีได้เป็นผู้เลื่อมใสแล้วในท่านพระสารีบุตร ฯ

             พ. ดูกรอานนท์ ถูกแล้วๆ เท่าที่คาดคะเนนั้นแล เธอลำดับเรื่องถูกแล้ว เทวบุตรนั้นคืออนาถบิณฑิกเทวบุตร มิใช่อื่น ฯ

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ


จบ อนาถปิณฑิโกวาทสูตร ที่ ๑
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8240 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2556, 08:19:36 »

สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มีเกียรติ ที่รักทุกท่าน

                           เช้านี้อากาศที่นครศรีธรรมราชดี เหมาะแก่การเดินจงกรมออกกำลังกาย ฝึกชิกง และโยคะ

                           วันนี้เป็นวันไหว้บรรพบุรุษ  เนื่องในเทศกาลตรุษจัน ปีนี้ครับ

                           เช้านี้ได้ไปร่วมไหว้บรรพบุรุษ รำลึกถึงบุญคุณ พระพรหม  เจ้าที่ ตามประเพณีจีน กับพนักงานของโรงแรมทวินโลตัส เพื่อเป็นมงคลแด่ชีวิต เนื่องในเทศกาลตรุษจีน

                           ความกตัญญู ถือเป็นมงคลสูงสุดอย่างหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน

                           เราผู้ใหญ่ ควรทำเป็นตัวอย่างให้ลูก หลาน เหลน ได้กระทำตาม เพราะเป็นสิ่งที่ดี  ไม่ได้งมงาย เพราะไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ยกเว้นสัตว์ที่เอามาเซ่น ไหว้ แต่เราก็ไม่ได้รู้ ไม่ได้เห็น และยังเป็นอาหารรับประทาน

                          อย่าลืมท่านที่มีเชื้อสายจีน ขอให้ไหว้บรรพบุรุษ  รำลึกในบุญคุณของท่าน เพื่อเป็นมงคลแด่ตัวเราครับ

                          สวัสดี 
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8241 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2556, 12:45:12 »

กราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคล เนื่องในเทศกาลตรุษจีน























      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8242 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2556, 13:18:44 »

สวัสดีตอนบ่ายครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                         อย่าลืมวันนี้เป็นวันไหว้ ของเทศกาลตรุษจีน และแต๊ะเอีย ครับ

                         วันนี้ผมนำพระสูตรว่าด้วยการแจกแจงอายตนะ ๖ หมวด มาให้ทุกท่านพิจารณา เดิมทีผมจะเขียนเอง แต่พอทบทวนดูแล้ว ขอใช้พระสูตรดีกว่า เพื่อว่าไม่ต้องตู่คำสอนของพระพุทธองค์

                         เข้าใจไม่ยากเลยครับ คือ ธรรม ๖ หมวดประกอบด้วย อายตนะภาใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖ และตัณหา ๖

                         ความเกี่ยวเนื่องกันคือ เมื่ออายตนะภายใน ๖ อาตยนะภายนอก ๖ และวิญญาณ ๖ เป็นปัจจัย จึงเกิดการผัสสะ ๖ และเพราะมีผัสสะ ๖ เป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา ๖ เพราะมีเวทนา ๖ เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ๖ เป็นแบบนี้

                         เมื่อท่านเข้าใจแล้ว จะพบว่าอายตนะภายใน ๖  อายตนะภายนอก ๖ ไม่น่ายินดี  ไม่น่าเพลินเพลินเลย เพราะเป็นเหตุให้เกิดความยึดมั่น ถือมั่น เกิดความทยานอยาก ไม่มีที่สิ้นสุด  ล้วนก่อทุกข์ทั้งสิ้น

                         จะเห็นได้ว่า อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖และตัณหา ๖ ล้วนเกิดขึ้นชั่วคราว ไม่จิรังยังยืน คือ ไม่เที่ยงทั้งสิ้น มันจึงเป็นทุกข์ มันเกิดขึ้น  ตั้งอยู่เพียงชั่วคราว ถ้าท่านไม่เพลินเพลิน  ไม่ยินดี กับอารมณ์ที่เกิดขึ้น มันก้ดับของมันไปเอง เพราะ สิ่งที่กล่าวมานั้น ล้วนไม่มีตัวตนทั้งสิ้น  มันเป็นเช่นนั้นแล              

                        ขอให้ทุกท่านได้เห็นความจริง นี้ด้วยตัวของท่านเอง

                        สวัสดี


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

 

๖. ฉฉักกสูตร (๑๔๘)


            [๘๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ-*อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มี-*พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย อันไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คือ ธรรมหมวดหก ๖ หมวด พวกเธอจงฟัง ธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

             [๘๑๑] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ หมวดเวทนา ๖ หมวดตัณหา ๖ ฯ

             [๘๑๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสตะ อายตนะคือฆานะ อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๑ ฯ

             [๘๑๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือกลิ่น อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์ ข้อที่เรากล่าว ดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๒ ฯ

             [๘๑๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักษุวิญญาณ อาศัยโสตะและเสียง จึงเกิดโสตวิญญาณ อาศัยฆานะและกลิ่น จึงเกิดฆานวิญญาณ อาศัยชิวหาและรส จึงเกิดชิวหาวิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะ จึงเกิดกายวิญญาณ อาศัยมโนและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยวิญญาณดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๓ ฯ

             [๘๑๕] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยผัสสะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๔ ฯ

             [๘๑๖] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดเวทนา ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
             อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ...
             อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ...
             อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ...
             อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ...
             อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดเวทนา ๖ นั่น เราอาศัยเวทนาดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๕ ฯ

             [๘๑๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
             อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ...
             อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ...
             อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ...
             อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ...
             อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัยตัณหาดังนี้ กล่าวแล้วนี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๖ ฯ

             [๘๑๘] ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า จักษุเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา
             ผู้ใดกล่าวว่า รูปเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร รูปย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า รูปเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา
             ผู้ใดกล่าวว่า จักษุวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุวิญญาณย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้นคำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุวิญญาณเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา
             ผู้ใดกล่าวว่า จักษุสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุสัมผัสย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นแลเสื่อมไป เพราะฉะนั้นคำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุสัมผัสเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา
             ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อมสิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าเวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็น อนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา
             ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา ฯ

             [๘๑๙] ผู้ใดกล่าวว่า โสตะเป็นอัตตา ...
             ผู้ใดกล่าวว่า ฆานะเป็นอัตตา ...
             ผู้ใดกล่าวว่า ชิวหาเป็นอัตตา ...
             ผู้ใดกล่าวว่า กายเป็นอัตตา ...
             ผู้ใดกล่าวว่า มโนเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา
             ผู้ใดกล่าวว่า ธรรมารมณ์เป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ธรรมารมณ์ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าธรรมารมณ์เป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา ฯ
             ผู้ใดกล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนวิญญาณย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้นคำของผู้ที่กล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา
             ผู้ใดกล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนสัมผัสย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโน-*สัมผัสจึงเป็นอนัตตา
             ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อมปรากฏ แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา
             ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็น อนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา ฯ

             [๘๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความตั้งขึ้นแห่งสักกายะ ดังต่อไปนี้แล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นรูปว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นโสตะว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็นฆานะว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็นชิวหาว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็นกายว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็นมโนว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นธรรมารมณ์ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นมโนวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ

             [๘๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความดับสักกายะ ดังต่อไปนี้แล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นโสตะว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นฆานะว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นชิวหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นกายว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นมโนว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นธรรมารมณ์ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นมโน-*วิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัสว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ

             [๘๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงมีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุ-*สัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำวิช-*ชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย และจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงมีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา ยังไม่บรรเทาปฏิฆา-*นุสัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำวิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ

             [๘๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุ-*บันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

             [๘๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา
             ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ...
             ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ...
             ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ...
             ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ...
             ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ


จบ ฉฉักกสูตร ที่ ๖
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8243 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2556, 21:31:46 »

สวัสดียามค่ำครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                       ผมอยู่กรุงเทพฯ วันนี้ Nok Air ตรงเวลา

                       กลับถึงบ้านก็ไปออกกำลังกายซ้อมกอล์ฟ ที่ All Star ได้รับแจกอั่งเปา เป็นส้ม ๔ ผล และเขียนขื่อจับสลากผู้โชคดี ในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์

                       กลับมาถึงบ้าน พี่ตุ๊ มาหาเอาขนมเทียนมาให้  ต้องขอขอบคุณครอบครัวพี่ตุ๊ ด้วยอย่างยิ่ง

                       วันอาทิตย์ เป็นวันตรุษจีน พรุ่งนี้ใส่กางเกงสีเหลือง  เสื้อสีแดงไปตีกอล์ฟ เช้ามืดที่สนาม President

                       วันจันทร์ที่ ๑๑ ไปสระบุรี ไปตีกอล์ฟกับพี่พงษ์ศักดิ์ คุณดิเรก ที่สนามกอล์ฟ Sir Jame ปากช่อง นอนที่โรงงานสระบุรี

                       วันอังคารที่ ๑๒ บ่ายมีประชุมคุณภาพที่โรงงาน PSTC กลับกรุงเทพฯ ค่ำ

                        วันพุธที่ ๑๓ ไปสุรินทร์ Boarding 12:10 น. ลงเครื่องบินที่บุรีรัมย์ ไปตรวจโรงงานที่กำลังก่อสร้าง

                        วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ เช้าไปทำบุญที่วัดบูรพาราม (วัดหลวงปู่ดุลย์  อตุโล) หลังจากนั้นไปทำงานต่อจากเมื่อวาน กลับถึงกรุงเทพฯ หกโมงครึ่ง  โดยไปขึ้นเครื่องบินที่ อุบลราชธานี Boarding 17:25 น.

                        วันศุกร์ที่ ๑๕ อยู่บ้าน หุงข้าวใส่บาตรพระที่หน้าบ้าน

                        วันเสาร์ที่ ๑๖ เวลา 15:30 น. เดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิ และBoarding 06:25 น. ออกเดินทางไปเมืองกัลกะตา ประเทศอินเดีย ไปแสวงบุญ ปฏิบัติธรรมที่ ๔ สังเวชนีย์ และชมถ้ารลอล่า และถ้ำอจันตา

                        กลับวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ จากเมืองบอมใบ มาถึงกรุงเทพฯ

                         ก็เรียนให้ทุกท่านได้ทราบ

                         ผมนำธรรมหกบท ๖ หมวด มาแจกแจงให้ทุกท่านได้ทราบ ไม่ยากเลยใช่ไหม เพราะมันก็เป็นจริงตามนั้น ธรรมล้วนเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นอนัตตา ทั้งสิ้น ไม่น่ายินดี  ไม่น่าเพลินเพลินใน อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖  เวทนา ๖ และตัณหา ๖  นั่นเลย ขอให้ทุกท่านมอง ดู ให้ออกครับ  ดร.สุริยา  อาจารย์รุ่งศักดิ์  รู้อยู่แล้ว ผมไม่กังวลเลย

                         ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ

                   
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #8244 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2556, 21:56:39 »

สวัสดีวันตรุษจีน ค่ะ พีสิงห์
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8245 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556, 04:38:44 »

สวัสดียามเช้าครับ คุณเอมอร ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มีเกียรติที่รักทุกท่าน

                        วันนี้เป็นวันตรุษจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่

                        ขอให้ทุกท่านและครอบครัว มีความสุข  มีจิตที่ผ่องใส  มีสุขภาพแข็งแรง (แต่ท่านต้องดูแลเอาเอง ให้กันไม่ได้) ขอให้ค้าขายร่ำรวย และทำงานประสบความสำเร็จ จงทุกประการ เทอญ

                        สวัสดีครับ
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #8246 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556, 07:43:17 »


...ซินเจียยู่อี่...ซินนี้ฮวดไช้...ค่ะ...พี่สิงห์...

...มีสุขภาพแข็งแรง...และร่ำรวยเงินทองค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #8247 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556, 07:52:47 »


...เมื่อวานพอไหว้เสร็จ...ก็ไปช่วยงานที่วัดเลยค่ะ...

...กลับตอนหนึ่งทุ่ม...

...วันนี้ก็ต้องไปค่ะ...9 วัน 9 คืน...ที่วัดถ้ำประทุนค่ะ...

      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8248 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556, 21:02:12 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องตู่ ที่รัก

                         ซินเจีนยู่อี่  ซินนี่ฮวดใช้  ร่ำรวยเงินทอง และมีสุขภาพแข็งแรง

                         ดีแล้วที่เธอมีงานทำ ทั้งที่สนามฟุตบอล และว่างก็ไปช่วยทางวัด  การมีพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา  ถึงจะมีเพียงข้อเดียว ก็ถือว่าเป็นมงคลชีวิตแล้ว จงทำไปเลยครับ 

                         ชีวิตของเรา ยังมีค่าต่อตนเอง  ต่อครอบครัว สังคมและคนที่เรารัก เสมอ

                         ขอยินดีด้วย  ที่ไปช่วยทางวัด  พี่สิงห์  เคยตั้งใจไว้แต่ยังไม่ได้ทำเลย คือเป็นมัคทายก และสัปเร่อ เมื่อต้องเลิกทำงานเด็ดขาด

                         ราตรีสวัสดิ์ค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #8249 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556, 21:25:18 »

สวัสดียามค่ำ ครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                        วันนี้เป็นวันตรุษจีน เป็นวันพระแรม ๑๕ ค่ำ พระจันทร์มืดเต็มดวง

                        ผมขอนำ อายตนะหกหมวด ๖ ข้อ ที่พระพุทธองค์ ทรงสอนภิกษุ อย่างสมบูรณ์ มาให้ทุกท่านได้ทบทวน เพื่อให้จิตของท่านเห็นจริงตามนั้น  ความยึดมั่นใน อายตนะ จะได้สิ้นไป

                        เลยเวลาสวดมนต์ทำวัตรเย็นมาพอสมควรแล้ว

                        ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๓๗)

            [๖๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มี-*พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสฬายตนวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสฬายตนวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

             [๖๑๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ ความนึก
หน่วงของใจ ๑๘ ทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ ใน ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ อันเราเรียกว่า สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นี้เป็นอุเทศแห่งสฬายตนวิภังค์ ฯ

             [๖๑๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสต อายตนะคือฆานะ อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

             [๖๒๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือกลิ่น อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

             [๖๒๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่นเราอาศัยวิญญาณดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

             [๖๒๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยสัมผัสดังนี้กล่าวแล้ว ฯ

             [๖๒๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ใจย่อมนึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
             เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
             เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
             เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
             เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
             เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ใจย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฉะนี้ เป็นความนึกหน่วงฝ่ายโสมนัส ๖ ฝ่ายโทมนัส ๖ ฝ่าย อุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความนึกหน่วงดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

             [๖๒๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ โสมนัสอาศัยเรือน ๖ โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ โทมนัสอาศัยเรือน ๖ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ

             [๖๒๕] ใน ๓๖ ประการนั้น โสมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิสโดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่เคยได้เฉพาะในก่อนอันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัส
เช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้โสมนัสอาศัยเรือน ๖ ฯ

             [๖๒๖] ใน ๓๖ ประการนั้น โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ฯ

             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรสทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ

             [๖๒๗] ใน ๓๖ ประการนั้น โทมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งเสียง ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งกลิ่น ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรส ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะ ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้โทมนัสอาศัยเรือน ๖ ฯ

             [๖๒๘] ใน ๓๖ ประการนั้น โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาใน อนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ

             บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรสทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ

             [๖๒๙] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน

             เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
             เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
             เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
             เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
             เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน เหล่านี้ อุเบกขาอาศัยเรือน ฯ

             [๖๓๐] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่าอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ

             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรสทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น เราอาศัยทางดำเนินดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

             [๖๓๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโสมนัสนั้นๆ ได้  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานั้นๆ ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัส อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโสมนัสนั้นๆ ได้ ฯ

             [๖๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ ก็มี อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งก็มี  ก็อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ เป็นไฉน คือ อุเบกขา ที่มีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ
             ก็อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นไฉน คือ อุเบกขาที่มีอาศัยอากาสานัญจายตนะ อาศัยวิญญาณัญจายตนะ อาศัยอากิญจัญญายตนะ อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอุเบกขา ๒ อย่าง พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอาศัย คืออิงความเป็นผู้ไม่มีตัณหา แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยการละ การล่วง ดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

             [๖๓๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ฯ

             [๖๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงประโยชน์ เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าการ ตั้งสติประการที่ ๑ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ ฯ

             [๖๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น บางพวกย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา บางพวกย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ชื่นชม ไม่เสวยความไม่ชื่นชม เว้นทั้งความชื่นชมและความไม่ชื่นชมทั้งสองอย่างนั้นแล้ว เป็นผู้วางเฉย ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๒ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ ฯ

             [๖๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตเป็นผู้ชื่นชม เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๓ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น เราอาศัยเหตุนี้ กล่าวแล้ว ฯ

             [๖๓๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่า สารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกช้างไสให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเท่านั้น คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ ม้าที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกม้าขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ โคที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกโคขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศ คือ ผู้ที่มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้นี้ทิศที่ ๑ ผู้ที่มีสัญญาในอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายภายนอกได้ นี้ทิศที่ ๒ ย่อมเป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้ทิศที่ ๓ ย่อมเข้าอากาสานัญจายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๔ ย่อมเข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๕ ย่อมเข้าอากิญจัญญายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า ไม่มีสักน้อยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๖ ย่อมเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๗ ย่อมเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่ง
ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศดังนี้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่าสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่นเราอาศัยเหตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ


จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗
-----------------------------------------------------
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 328 329 [330] 331 332 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><