04 กรกฎาคม 2567, 06:22:22
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 248 249 [250] 251 252 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3348089 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 30 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6225 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2555, 17:43:04 »

พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้



                              พุทธชยันตี หรือ สัมพุทธชยันตี (อังกฤษ: Sambuddha jayanthi) เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา คำว่า พุทธชยันตี มาจากศัพท์ พุทธ+ชยันตี (สันสกฤต: जयंती) ที่แปลว่า วันครบรอบ (อังกฤษ: Anniversary) ในภาษาสันสกฤต พุทธชยันตีจึงแปลว่า การครบรอบวันเกิดของพระพุทธเจ้า หรือวันครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้าก็ได้

                              โดยคำนี้ใช้เรียกการจัดกิจกรรมในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้า เช่น ครบรอบ 2500 ปี แห่งปรินิพพาน หรือ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ โดยอาจใช้ชื่อต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ เช่น ศรีสัมพุทธชันตี สัมพุทธชยันตี แต่ทั้งหมดก็คือการจัดกิจกรรมพุทธชยันตี เพื่อมุ่งหมายการถวายเป็นพุทธบูชาในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้านั่นเอง

                               พุทธชยันตี เป็นคำที่ใช้ทั่วไปในประเทศ ศรีลังกา อินเดีย พม่า และผู้นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศอื่น ๆ บางประเทศ โดยใช้คำนี้ในการจัดกิจกรรมวิสาขบูชา โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปีนั้น เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชานั่นเอง



                               พุทธชยันตี 2600 ปี หรือ พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ (อังกฤษ: Buddhajanti: The Celebration of 2,600 Years of the Buddha’s Enlithenment) เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในวันวิสาขบูชา พ.ศ. 2555

                               การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ จัดขึ้นพร้อมกันในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา พม่า และประเทศไทย

                               โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปี เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองรำลึกในโอกาสครบรอบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช (พุทธปรินิพพาน)

                                ในประเทศไทย มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า งานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ระยะเวลาจัดงานตั้งแต่ เทศกาลวิสาขบูชา วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2555


๒๙  พฤษภาคม - ๔ มิถุนายน

แต่งชุดขาว

รักษาศีล ๕ หรือ ๘ หรือ รักษากาย  วาจา  ใจ ให้เป็นปกติ

ปฏิบัติธรรม

นำคำสอนของพระพุทธองค์มาปฏิบัติโดยเฉพาะ มรรค ๘
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6226 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2555, 18:20:42 »

ประวัติศาสนาพุทธ



                            ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจาก ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือ เถรวาทและมหายาน

                             นิกายมหายานได้แพร่หลายไปทั่วเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก เมื่อศาสนาพุทธในอินเดียเสื่อมลง พุทธศาสนามหายานในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เสื่อมตามไปด้วย ยังคงเหลือในจีน ทิเบต ญี่ปุ่น เวียดนาม ส่วนนิกายเถรวาทได้เฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งในศรีลังกา และแพร่หลายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พุทธศาสนาได้แพร่หลายไปยังโลกตะวันตกตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่ชาวตะวันตกหันมาสนใจพุทธศาสนามากขึ้นในยุคจักรวรรดินิยมและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
   
ชาติกำเนิดของพระพุทธเจ้า

                              พระโคตมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และ พระนางสิริมหามายา ประสูติในราชตระกูลศากยวงศ์ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ พระองค์ทรงออกผนวชเมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา บำเพ็ญเพียรอยู่ 6 ปี จึงตรัสรู้เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา และทรงประกาศพระศาสนาอยู่ 45 ปี จึงเสด็จปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการนับปีพุทธศักราช

                               หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปโปรดพระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี พระองค์ตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อจบพระธรรมเทศนา ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีมลทิน จึงเกิดขึ้นแก่พระโกณฑัญญะ จนทำให้บรรลุเป็นพระโสดาบัน พระโกณฑัญญะจึงกราบทูลขออุปสมบทในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งนับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก และพระรัตนตรัยจึงเกิดขึ้นในโลกเช่นกันในวันนั้น ต่อมา พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอื่น ๆ เพื่อโปรดพระปัญจวัคคีย์ที่เหลืออีก 4 องค์ จนบรรลุเป็นพระโสดาบันทั้งหมด หลังจากพระปัญจวัคคีย์บรรลุเป็นพระโสดาบันหมดแล้ว พระองค์ทรงแสดงธรรมอนัตตลักขณสูตร ซึ่งทำให้พระปัญจวัคคีย์บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น

                             ต่อจากนั้น พระองค์ได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระยสะและพวกอีก 54 ท่าน จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ในครั้งนั้นจึงมีพระอรหันต์รวมทั้งพระองค์ด้วยทั้งสิ้น 61 พระองค์ พระพุทธเจ้าจึงพระดำริให้พระสาวกออกประกาศศาสนา โดยมีพระปฐมวาจาในการส่งพระสาวกออกประกาศศาสนาว่า

                 ดูกรพระภิกษุทั้งหลาย เราหลุดพ้นจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ และของมนุษย์ แม้พวกเธอได้หลุดพ้นจากบ่วงทั้งปวงทั้งของทิพย์และของมนุษย์เช่นกัน พวกเธอจงเที่ยวไปเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ พวกเธออย่าไปทางเดียวกัน 2 รูป จงแสดงธรรมให้งามในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะให้ครบถ้วนบริบูรณ์ สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลี คือ กิเลส ในจักษุเพียงเล็กน้อยมีอยู่ แต่เพราะโทษที่ยังไม่ได้สดับธรรม จึงต้องเสื่อมจากคุณที่พึงจะได้รับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้รู้ทั่วถึงธรรมมีอยู่ แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม

                            จึงทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง และแผ่ขยายไปในชมพูทวีปอย่างรวดเร็ว ชาวชมพูทวีปพากันละทิ้งลัทธิเดิม แล้วหันมานับถือเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้นโดยลำดับและเผยแผ่ต่อมาจนถึงปัจจุบัน

พุทธศาสนาหลังพุทธปรินิพาน

                             เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว พระพุทธศาสนายังเจริญในอินเดียสืบมา ความเจริญของพุทธศาสนาขึ้นกับว่าได้รับการส่งเสริมจากผู้มีอำนาจในสมัยนั้นหรือไม่ ถ้ามีก็มีความรุ่งเรืองมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลากาลล่วงไป ความขัดแย้งอันเกิดจากการตีความพระธรรมคำสอนและพระวินัยไม่ตรงกันได้เกิดขึ้นในหมู่พระสงฆ์ จึงมีการแก้ไขโดยมีการจัดทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยที่ถูกต้องไว้เป็นหลักฐานสำหรับยึดถือเป็นแบบแผนต่อไป

การสังคายนาครั้งที่ 1

                             การสังคายนาครั้งที่ 1 กระทำขึ้น หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ โดยพระมหากัสสปะเป็นประธาน พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ พระอานนท์เป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระธรรม และพระอุบาลีเป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระวินัย มีพระอรหันต์เข้าร่วมในการสังคายนา 500 รูป กระทำ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ

                             การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะพระสุภัททะกล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยหลังพุทธปรินิพพานเพียง 7 วัน ทำให้พระมหากัสสปะ ดำริจัดสังคายนาขึ้น ในการสังคายนาครั้งนี้ พระอานนท์ได้กล่าวถึงพุทธานุญาตให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ แต่ที่ประชุมตกลงกันไม่ได้ว่าสิกขาบทเล็กน้อยคืออะไร พระมหากัสสปะจึงให้คงไว้อย่างเดิม

                             เมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว พระปุราณะพร้อมบริวาร 500 รูป จาริกมายังแคว้นราชคฤห์ ภิกษุที่เข้าร่วมสังคายนาได้แจ้งเรื่องสังคายนาให้พระปุราณะทราบ พระปุราณะแสดงความเห็นคัดค้านเกี่ยวกับสิกขาบทบางข้อและยืนยันปฏิบัติตามเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นเค้าความแตกแยกในคณะสงฆ์ แต่ไม่ถือว่าเป็นสังฆเภท เนื่องจากพระปุราณะยึดถือตามพุทธานุญาตที่ทรงให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้

การสังคายนาครั้งที่ 2 : การแตกนิกาย

                             เมื่อพุทธปรินิพพานล่วงไป 100 ปี ภิกษุชาววัชชี เมืองเวสาลี ได้ตั้งวัตถุ 10 ประการ ซึ่งผิดไปจากพระวินัย ทำให้มีทั้งภิกษุที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จนเกิดการแตกแยกในหมู่สงฆ์ พระยสกากัณฑบุตร ได้จาริกมาเมืองเวสาลี และทราบเรื่องนี้ ได้พยายามคัดค้าน แต่ภิกษุชาววัชชีไม่เชื่อฟัง ภิกษุที่สนับสนุนพระยสกากัณฑบุตรจึงนำเรื่องไปปรึกษาพระเถระผู้ใหญ่ในขณะนั้นได้แก่ พระเรวตะ พระสัพกามีเถระ เป็นต้น จึงตกลงให้ทำการสังคายนาขึ้นอีกครั้ง

                             ภิกษุชาววัชชีไม่ยอมรับและไม่เข้าร่วมการสังคายนานี้ แต่ไปรวบรวมภิกษุฝ่ายตนประชุมทำสังคายนาต่างหาก เรียกว่า มหาสังคีติ และเรียกพวกของตนว่า มหาสังฆิกะ ทำให้พุทธศาสนาในขณะนั้นแตกเป็น 2 นิกาย คือ ฝ่ายที่นับถือมติของพระเถระครั้งปฐมสังคายนาเรียก เถรวาท ฝ่ายที่ถือตามมติของอาจารย์ของตนเรียก อาจาริยวาท

                             อีกราว 100 ปีต่อมา สงฆ์ทั้ง 2 ฝ่ายมีการแตกนิกายออกไปอีก หลักฐานฝ่ายภาษาบาลีว่าแตกไป 18 นิกาย หลักฐานฝ่ายภาษาสันสกฤตว่า แตกไป 20 นิกาย
   
การสังคายนาครั้งที่ 3

                             เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อกำจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา มีพระโมคคัลลีบุรติสสะเป็นประธาน ใช้เวลา 9 เดือนจึงสำเร็จในการสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคัลลีบุรติสสะ ได้แต่งกถาวัตถุขึ้น เพื่ออธิบายธรรมให้แจ่มแจ้ง

หลังจากการสังคายนาสิ้นสุดลง พระเจ้าอโศกฯได้ส่งสมณทูต 9 สายออกเผยแผ่พุทธศาสนา คือ

                             1. คณะพระมัชฌันติกเถระ ไปแคว้นแคชเมียร์และแคว้นคันธาระ
                             2. คณะพระมหาเทวะ ไป มหิสกมณฑล ซึ่งคือ แคว้นไมซอร์และดินแดนลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ในอินเดียใต้ปัจจุบัน
                             3. คณะพระรักขิตะ ไปวนวาสีประเทศ ได้แก่ แคว้นบอมเบย์ในปัจจุบัน
                             4. คณะพระธรรมรักขิต ไป อปรันตกชนบท แถบทะเลอาหรับทางเหนือของบอมเบย์
                             5. คณะพระมหาธรรมรักขิต ไปแคว้นมหาราษฎร์
                             6. คณะพระมหารักขิต ไปโยนกประเทศ ได้แก่แคว้นกรีกในเอเชียกลาง อิหร่าน และเตอร์กิสถาน
                             7. คณะพระมัชฌิมเถระ ไปแถบเทือกเขาหิมาลัย คือ เนปาลปัจจุบัน
                             8. คณะพระโสณะ และพระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไทย พม่า มอญ
                             9. คณะพระมหินทระ ไปลังกา

กำเนิดมหายาน

                             พระพุทธศาสนามหายานเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 6-7 โดยเป็นคณะสงฆ์ที่มีความเห็นต่างจากนิกายเดิมที่มีอยู่ 18 - 20 นิกายในขณะนั้น แนวคิดของมหายานพัฒนามาจากแนวคิดของนิกายมหาสังฆิกะและนิกายที่แยกไปจากนิกายนี้ จุดต่างจากนิกายดั้งเดิมคือคณะสงฆ์กลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการเป็นพระโพธิสัตว์และเน้นบทบาทของคฤหัสถ์มากกว่าเดิม จึงแยกออกมาตั้งนิกายใหม่ เหตุที่มีการพัฒนาลัทธิมหายานขึ้นนั้นเนื่องจาก

                             1. แรงผลักดันจากการปรับปรุงศาสนาพราหมณ์ มีการแต่งมหากาพย์รามายณะและมหาภารตะเพื่อดึงดูดใจผู้อ่านให้ภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า กำหนดให้มีพระเจ้าสูงสุด 3 องค์ คือพระพรหม พระนารายณ์ พระอิศวร ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์ ศาสนาพราหมณ์จึงฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ฝ่ายพุทธศาสนาจึงจำเป็นต้องปรับตัว

                             2. แรงบันดาลใจจากบุคลิกภาพของพระพุทธองค์ ฝ่ายมหายานเห็นว่าพระพุทธองค์เป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ ไม่ควรสิ้นสุดหลังจากปรินิพพาน ทำให้เหมือนกับว่าชาวพุทธขาดที่พึ่ง จึงเน้นคุณความดีของพระองค์ ในฐานะที่เป็นพระโพธิสัตว์ เน้นให้ชาวพุทธปรารถนาพุทธภูมิ บำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ช่วยเหลือผู้อื่น ภายหลังจึงเกิดแนวคิดตรีกายของพระพุทธเจ้า

                             3. เกิดจากบทบาทของพุทธบริษัทที่เป็นคฤหัสถ์ เพราะลัทธิมหายานเน้นที่การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ ซึ่งพระโพธิสัตว์เป็นคฤหัสถ์ได้ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้คฤหัสถ์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น

                              คณาจารย์ที่สำคัญของนิกายมหายานคือ พระอัศวโฆษ พระนาคารชุน พระอสังคะ พระวสุพันธุ เป็นต้น หลังจากการก่อตัว พุทธศาสนามหายานซึ่งมีจุดเด่นคือสามารถปรับตัวให้เข้ากับความเชื่อดั้งเดิมที่แตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่นได้ง่ายกว่าพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งเป็นแบบดั้งเดิมได้แพร่กระจายออกจากอินเดียไปในทวีปเอเชียหลายประเทศ


การแผ่ขยายของมหายาน

อินเดียและความเสื่อมของพุทธศาสนา

                              พุทธศาสนามหายานในอินเดียได้รับการสนับสนุนโดยราชวงศ์กุษาณ เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์กุษาณ พุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์โดยราชวงศ์คุปตะ มีการสร้างศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนา คือ มหาวิทยาลัยนาลันทาและมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา ในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เช่น พระนาคารชุน พุทธศาสนาในสมัยนี้ได้แพร่หลายไปยังจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกระทั่ง การสิ้นสุดอำนาจของราชวงศ์คุปตะจากการรุกรานของชาวฮั่นในพุทธศตวรรษที่ 11

                              บันทึกของหลวงจีนอี้จิงที่มาถึงอินเดียในพุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวว่า พุทธศาสนารุ่งเรืองในอันธระ ธันยกตกะ และ ฑราวิฑ ปัจจุบัน คือรัฐอันธรประเทศและทมิฬนาดู ยังมีชาวพุทธในเนปาล และสสันภะ ในอาณาจักรคังทา (รัฐเบงกอลตะวันตกในปัจจุบัน) และ หรรษวรรธนะ เมื่อสิ้นสุดยุคอาณาจักรหรรษวรรธนะ เกิดอาณาจักรเล็กๆขึ้นมากมาย โดยมีแคว้นราชปุตให้การอุปถัมภ์พุทธศาสนา

                              จนกระทั่ง ยุคจักรวรรดิปาละในเบงกอล พุทธศาสนามหายานรุ่งเรืองอีกครั้ง และได้แพร่หลายไปยังสิกขิมและภูฏาน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-17 เมื่อจักรวรรดิปาละปกรองด้วยกษัตริย์ราชวงศ์เสนะที่นับถือศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธจึงเสื่อมลง

                              ศาสนาพุทธในอินเดียเริ่มเสื่อมลงอย่างช้า ๆ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ความเสื่อมในอินเดียตะวันออกเริ่มตั้งแต่จักรวรรดิปาละหันไปส่งเสริมศาสนาฮินดูไวษณพนิกาย ส่วนในอินเดียเหนือเริ่มเสื่อมตั้งแต่ พ.ศ. 1736 เมื่อชาวเติร์กที่นับถือศาสนาอิสลาม นำโดยมูฮัมหมัด คิลญี บุกอินเดียและเผามหาวิทยาลัยนาลันทา ตั้งแต่ พ.ศ. 1742 เป็นต้นไป ศาสนาอิสลามแพร่เข้าสู่พิหาร ทำให้ชาวพุทธโยกย้ายไปทางเหนือเข้าสู่เทือกเขาหิมาลัยหรือลงใต้ไปที่ศรีลังกา นอกจากนั้น ความเสื่อมของศาสนาพุทธยังเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของศาสนาฮินดู ภายใต้การนำของขบวนการต่าง ๆ เช่น อัธไวตะ ภักติ และการเผยแผ่ศาสนาของนักบวชลัทธิซูฟี

พุทธศาสนาในเอเชียกลาง

                             ดินแดนเอเชียกลางได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีกล่าวในเอกสารของฝ่ายเถรวาทว่าพ่อค้าสองคนจากแบกเทรีย คือ ตปุสสะและภัลลิกะ ได้พบพระพุทธเจ้าและปฏิญาณตนเป็นอุบาสก เมื่อกลับไปบ้านเมืองของตนได้สร้างวัดในพุทธศาสนาขึ้น

                             เอเชียกลางเป็นดินแดนสำคัญในการติดต่อระหว่างจีน อินเดีย และเปอร์เซีย การุกรานของชาวฮั่นโบราณใน พ.ศ. 343 ไปทางตะวันตกเข้าสู่ดินแดนที่ได้รับอารยธรรมจากกรีกโดยเฉพาะอาณาจักรแบกเทรียทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมขึ้น การขยายตัวของพุทธศาสนาขึ้นสู่ทางเหนือทำให้เกิดอาณาจักรพุทธในเอเชียกลาง เมืองบนเส้นทางสายไหมหลายเมืองเป็นเมืองพุทธที่ต้อนรับนักเดินทางทั้งจากตะวันตกและตะวันออก

                              พุทธศาสนาเถรวาทแพร่หลายเข้าสู่ดินแดนของชาวเติร์กก่อนที่จะผสมผสานกับนิกายมหายานที่แพร่หลายเข้ามาภายหลัง ดินแดนดังกล่าว คือ บริเวณที่เป็นประเทศปากีสถาน รัฐแคชเมียร์ อัฟกานิสถาน อิหร่านตะวันออกและแนวชายฝั่ง อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และทาจิกิสถาน อาณาจักรโบราณในสมัยนั้น คือ แคว้นคันธาระ แบกเทรีย พาร์เทีย และซอกเดีย ศาสนาพุทธในบริเวณนี้ได้แพร่ต่อไปยังจีน อิทธิพลของความเชื่อท้องถิ่นทำให้ศาสนาพุทธในบริเวณนี้แตกเป็นหลายนิกาย นิกายที่โดดเด่น คือ นิกายธรรมคุปตวาทและนิกายสรวาสติวาทิน

                              ศาสนาพุทธในเอเชียกลางเสื่อมลงเมื่อศาสนาอิสลามแพร่หลายเข้ามาในบริเวณนี้ มีการทำลายสถูปจำนวนมากในสงครามในพุทธศตวรรษที่ 12 ศาสนาพุทธมีท่าทีว่าจะฟื้นตัวขึ้นอีกเมื่อเจงกีสข่านรุกรานเข้ามาในบริเวณนี้ มีการจัดตั้งดินแดนของอิลข่านและชะกะไตข่าน เมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 แต่อีก 100 ปีต่อมา ชาวมองโกลส่วนใหญ่หันไปนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้ศาสนาอิสลามแพร่หลายไปทั่วเอเชียกลาง

พุทธศาสนาในพาร์เทีย

                             ศาสนาพุทธแพร่ไปทางตะวันตกถึงพาร์เทียอย่างน้อยถึงบริเวณเมิร์บในมาร์เกียนาโบราณ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเติร์กเมนิสถาน ชาวพาร์เทียจำนวนมากมีบทบาทในการแพร่กระจายของพุทธศาสนาโดยนักแปลคัมภีร์ชาวพาร์เทียจำนวนมากแปลคัมภีร์พุทธศาสนาเป็นภาษาจีน

พุทธศาสนาในที่ราบตาริม

                             บริเวณตะวันออกของเอเชียกลาง (เตอร์เกสถานของจีน ที่ราบตาริม และเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์) พบศิลปะทางพุทธศาสนาจำนวนมาก ซึ่งแสดงอิทธิพลของอินเดียและกรีก ศิลปะเป็นแบบคันธาระ และจารึกเขียนด้วยอักษรขโรษฐี

                             ดินแดนเอเชียกลาง เป็นตัวเชื่อมสำคัญในการเผยแผ่ศาสนาพุทธไปทางตะวันออก ผู้แปลคัมภีร์เป็นภาษาจีนรุ่นแรกๆ เป็นชาวพาร์เทีย ชาวกุษาณ หรือชาวซอกเดีย การติดต่อแลกเปลี่ยนพุทธศาสนาระหว่างเอเชียกลางกับเอเชียตะวันออกพบมากในพุทธศตวรรษที่ 15 ทำให้ศาสนาพุทธเข้าไปตั้งมั่นในจีนจนปัจจุบัน

พุทธศาสนาในจีน

                           คาดว่าพุทธศาสนาเข้าสู่จีนเมื่อพุทธศตวรรษที่ 6 โดยผ่านเอเชียกลาง (แม้จะมีเรื่องเล่าว่ามีพระภิกษุเข้าไปถึงประเทศจีนตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช) จนในพุทธศตวรรษที่ 13 จีนจึงกลายเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของพุทธศาสนา

                           ใน พ.ศ. 610 มีการก่อตั้งศูนย์กลางการเผยแผ่พุทธศาสนาในจีนโดยพระภิกษุสององค์ คือพระกาศยปะมาตังคะ และ และพระธรรมรักษ์ ใน พ.ศ. 611 พระเจ้าหมิงตี้แห่งราชวงศ์ตงฮั่นได้สร้างวัดม้าขาวซึ่งยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน อยู่ใกล้กับเมืองหลวง คือ เมืองลั่วหยาง คัมภีร์ทางพุทธศาสนามหายานแปลเป็นภาษาจีนครั้งแรกโดยพระภิกษุจากกุษาณ โลก๊กเสมา ในเมืองลั่วหยาง ระหว่าง พ.ศ. 721- 732ศิลปะทางพุทธศาสนายุคแรก ๆ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบคันธาระ

                               พุทธศาสนาในจีนรุ่งเรืองมากในยุคราชวงศ์ถัง ราชวงศ์นี้ได้เปิดกว้างต่อการรับอิทธิพลจากต่างชาติ และมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับอินเดีย มีพระภิกษุจีนเดินทางไปอินเดียมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-16 เมืองหลวงในสมัยราชวงศ์ถัง คือ ฉางอาน กลายเป็นศูนย์กลางสำคัญของพุทธศาสนาและเป็นแหล่งเผยแผ่ศาสนาต่อไปยังเกาหลีและญี่ปุ่น

                               อย่างไรก็ตาม อิทธิพลจากต่างชาติกลายเป็นผลลบในตอนปลายของราชวงศ์ถัง ใน พ.ศ. 1388 จักรพรรดิหวู่ซุง ประกาศให้ศาสนาจากต่างชาติ ได้แก่ ศาสนาคริสต์ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ และศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่ผิดกฎหมาย หันไปสับสนุนลัทธิเต๋าแทน ในสมัยของพระองค์มีการทำลายวัด คัมภีร์และบังคับให้พระภิกษุสึก ความรุ่งโรจน์ของพุทธศาสนาจึงสิ้นสุดลง พุทธศาสนานิกายสุขาวดีและนิกายฌานยังคงรุ่งเรืองต่อมา และกลายเป็นนิกายเซนในญี่ปุ่น นิกายฌานในจีนมีอิทธิพลในสมัยราชวงศ์ซ้อง

พุทธศาสนาในเกาหลี

                            พุทธศาสนาเข้าสู่เกาหลีเมื่อราว พ.ศ. 915 เมื่อราชทูตจากจีนนำคัมภีร์และภาพวาดไปยังอาณาจักรโคกูรยอ ศาสนาพุทธรุ่งเรืองในเกาหลีโดยเฉพาะนิกายเซนในพุทธศตวรรษที่ 12 จนกระทั่ง ถึงยุคของการฟื้นฟูลัทธิขงจื๊อในสมัยราชวงศ์โชซอนตั้งแต่ พ.ศ. 1935 ศาสนาพุทธจึงเสื่อมลง


พุทธศาสนาในญี่ปุ่น

                             ญี่ปุ่นได้รับพุทธศาสนาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 11 โดยพระภิกษุชาวเกาหลีนำคัมภีร์และศิลปะทางพุทธศาสนาเข้าสู่ญี่ปุ่น เมื่อสิ้นสุดยุคของเส้นทางสายไหม พร้อมๆกับการเสื่อมของพุทธศาสนาในอินเดีย เอเชียกลางและจีน ญี่ปุ่นยังคงรักษาความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาไว้ได้ ตั้งแต่ พ.ศ. 1253 เป็นต้นมา มีการสร้างวัดและรูปเคารพจำนวนมากในเมืองหลวงคือเมืองนารา โดยการนำแบบแผนทางวัฒนธรรมจีนเข้ามาผสมผสานในศิลปะแบบญี่ปุ่นจากการเดินทางมาของหลวงจีนเจี้ยนเจิน พุทธศิลป์แบบญี่ปุ่นรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 – 18 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 – 18 พุทธศาสนานิกายเซนรุ่งเรือง รวมทั้งศิลปะที่สืบเนื่องจากนิกายเซนด้วย พุทธศาสนายังคงรุ่งเรืองในญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบัน

พุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

                              ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6 การค้าทางบกผ่านเส้นทางสายไหมถูกจำกัดเนื่องจากการขยายตัวในตะวันออกกลางของจักรวรรดิเปอร์เซีย และการเป็นศัตรูกับโรม ชาวโรมันที่ต้องการสินค้าจากตะวันออกไกลจึงทำการค้าทางทะเล ติดต่อระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับจีน ผ่านอินเดีย ในช่วงเวลานี้เองอินเดียมีอิทธิพลเหนือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก ตั้งแต่ภาคใต้ของพม่า ภาคกลางและภาคใต้ของไทย กัมพูชาตอนล่างและภาคใต้ของเวียดนาม การค้าชายฝั่งเจริญขึ้นมาก

                              ผลจาการเผยแผ่อารยธรรมอินเดียเข้าสู่บริเวณนี้ ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตแพร่เข้ามาพร้อมกับศาสนาพุทธทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน ศาสนาพราหมณ์ได้เผยแผ่เข้ามาในบริเวณนี้เช่นกัน พร้อมกับวรรณคดีสำคัญ คือ รามายณะและมหาภารตะ

                              ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 – 18 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจักรวรรดิที่รุ่งเรืองทางด้านพุทธศาสนาและศิลปะอยู่สองแห่ง ความเชื่อสำคัญในยุคนี้เป็นแบบมหายาน จักรวรรดิที่มีอิทธิพลทางใต้บริเวณหมู่เกาะ คือ อาณาจักรศรีวิชัย ส่วนทางเหนือ คือ อาณาจักรขอมหรือเขมรโบราณ ที่มีการสร้างรูปพระโพธิสัตว์มาก

อาณาจักรศรีวิชัย

                              นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าอาณาจักรศรีวิชัยมีศูนย์กลางอยู่มี่ปาเล็มบัง บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย นับถือพุทธมหายานหรือวัชรยานภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ หลวงจีนอี้จิงบันทึกไว้ว่าที่ปาเล็มบังมีภิกษุมากกว่า 10,000 รูป ท่านอตีศะเคยมาศึกษาที่นี่ ก่อนเข้าไปเผยแผ่พุทธศาสนาในทิเบต

                              ศิลปะทางพุทธศาสนาของศรีวิชัยแพร่หลายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า ศิลปะศรีวิชัย ส่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ คือ บุโรพุทโธ (สร้างเมื่อราว พ.ศ. 1323) ในเกาะชวา อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมลงเนื่องจากความขัดแย้งกับราชวงศ์โจฬะในอินเดีย ก่อนจะรับอิทธิพลอารยธรรมอิสลามในพุทธศตวรรษที่ 18


อาณาจักรขอม

                              ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 - 18 พุทธศาสนามหายานและศาสนาฮินดูรุ่งเรืองในอาณาจักรขอม มีการสร้างศาสนสถานมากมายทั้งในไทยและกัมพูชา รวมทั้งนครวัด มหายานรุ่งเรืองที่สุดในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผู้สร้างนครธม มหายานเสื่อมลงในพุทธศตวรรษที่ 16 ไล่เลี่ยกับความเสื่อมของมหายานในอินเดีย จากนั้น พุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์เข้ามามีอิทธิพลแทนที่

กำเนิดวัชรยาน

                             พุทธศาสนานิกายวัชรยาน หรือ พุทธศาสนาลัทธิตันตระ กำเนิดขึ้นครั้งแรกทางตะวันออกของอินเดีย เมื่อราว พ.ศ. 700 - 1200 บางครั้งจัดเป็นส่วนหนึ่งของมหายานแต่บางครั้งก็แยกตัวเองออกมาต่างหาก หลักปรัชญาของวัชรยานเป็นแบบเดียวกับมหายาน แต่มีวิธีการหรือ "อุปาย" ต่างไป โดยมีการใช้ญาณทัศน์และโยคะอื่น ๆ เข้ามา การฝึกเหล่านี้ได้อิทธิพลจากลัทธิตันตระของศาสนาฮินดู วัชรยานในทิเบต ก่อตั้งโดยท่านปัทมสัมภวะ

                             วัชรยานยุคแรก ผู้ฝึก เรียกว่า มหาสิทธา มักอยู่ตามป่า จนกระทั่งราว พ.ศ. 1400 วัชรยานจึงแพร่เข้าสู่มหาวิทยาลัยทางพุทธศาสนาในยุคนั้น คือ มหาวิทยาลัยนาลันทาและมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา วัชรยานเสื่อมจากอินเดียเมื่อราว พ.ศ. 1700 ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการรุกรานอินเดียของชาวมุสลิม ทำให้ขาดผู้อุปถัมภ์พุทธศาสนา วัชยานได้แพร่หลายไปสู่ทิเบตและกลายเป็นพุทธศาสนานิกายหลักที่นั่น บางส่วนได้แพร่หลายต่อไปยังจีนและญี่ปุ่นเกิดเป็นนิกายเชนเหยน หรือมี่จุงในจีน และนิกายชินกอนในญี่ปุ่น

การฟื้นฟูนิกายเถรวาท

                             ศาสนาพุทธในอินเดียเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่ราว พ.ศ. 1600 - 1700 เนื่องมาจากการทำสงครามกับชาวมุสลิมที่เข้ามารุกรานอินเดีย ซึ่งทำให้การนับถือพุทธศาสนามหายานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เสื่อมลงด้วย ในช่วงเวลานั้น การค้าขายทางทะเลระหว่างตะวันออกกลางไปยังจีนผ่านทางศรีลังกาเริ่มเฟื่องฟูขึ้น และเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่มีการฟื้นฟูนิกายเถรวาทที่ใช้ภาษาบาลีที่ศรีลังกาอีกครั้ง นิกายนี้จึงแพร่หลายไปสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

                             พระเจ้าอโนรธามังช่อ กษัตริย์ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิพม่าครั้งแรกเป็นผู้รับพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์นี้เข้าสู่พม่า มีการสร้างเจดีย์ในเมืองหลวงมากมาย แม้ในกาลต่อมา อำนาจของพม่าเสื่อมถอยลงเพราะถูกมองโกลรุกราน และไทยมีอำนาจขึ้นแทน พุทธศาสนานิกายเถรวาทก็ยังคงเป็นนิกายหลักในพม่า

                             พุทธศาสนานิกายเถรวาทจากลังกาแพร่หลายเข้าสู่ประเทศไทยที่นครศรีธรรมราชและสุโขทัยเมื่อราว พ.ศ. 1800 และยังคงนับถือสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน พุทธศาสนานิกายเถรวาทได้แพร่หลายจากไทยไปยังลาวและกัมพูชา ที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของไทยมาก่อน ส่วนดินแดนในเขตหมู่เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยนับถือนิกายมหายานเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามเกือบทั้งหมด

พุทธศาสนาในโลกตะวันตก
 
                              มีหลักฐานว่าพุทธศาสนาแพร่หลายไปถึงตะวันตกมานาน ชาดก ซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนา มีผู้แปลเป็นภาษาซีเรียค และภาษาอาหรับ เช่น Kalilag and Dammag พุทธประวัติแปลเป็นภาษากรีกโดย จอห์นแห่งดามัสกัส ได้เป็นที่แพร่หลายในหมู่ชาวคริสต์ในนามของบาร์ลาอัมและโยซาฟัต เรื่องนี้เป็นที่นิยมของชาวคริสต์ จนกระทั่ง เมื่อประมาณ พ.ศ. 1800 ชาวคริสต์ยกย่องโยซาฟัตให้เป็นนักบุญแห่งนิกายคาทอลิก

                               ความสนใจในพุทธศาสนาเริ่มขึ้นอีกครั้งในยุคอาณานิคม เมื่อมหาอำนาจตะวันตกได้มีโอกาสศึกษาศาสนาในรายละเอียดมากขึ้น ปรัชญาในยุโรปสมัยนั้นได้รับอิทธิพลจากศาสนาในตะวันออกมาก การเปิดประเทศของญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2396 ทำให้มีการยอมรับศิลปวัฒนธรรมญี่ปุ่น รวมทั้งวัฒนธรรมเกี่ยวกับศาสนาพุทธด้วย งานแปลคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเป็นภาษาตะวันตกเริ่มขึ้นโดย Max Muller ผู้จัดพิมพ์ Scared Books of the East "คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งตะวันออก" มีการจัดตั้งสมาคมบาลีปกรณ์เพื่อจัดพิมพ์พระไตรปิฎกและคัมภีร์ทางพุทธศาสนาอื่นๆ แต่ความสนใจยังจำกัดในหมู่ปัญญาชน

                               ศาสนาพุทธเริ่มเป็นที่สนใจของชาวยุโรปอย่างกว้างขวาง ในพุทธศตวรรษที่ 25 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2เป็นต้นมา ความเชื่อทางศาสนาของชาวตะวันตกเปลี่ยนไปเน้นที่ความเชื่อของปัจเจกบุคคลมากขึ้น ทำให้ศาสนาพุทธเป็นที่ดึงดูดใจ จากการที่มีข้อพิสูจน์ให้พิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติด้วยตนเอง มีการตั้งองค์กรทางพุทธศาสนาระดับโลกโดยชาวพุทธจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือรวม 27 ประเทศที่ศรีลังกาเมื่อ พ.ศ. 2493 ในชื่อองค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก

ประเทศอังกฤษ

                         พุทธศาสนาเข้าสู่อังกฤษครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2448 โดย J.R. Jackson เป็นผู้ก่อตั้งพุทธสมาคมในอังกฤษ และ Charls Henry Allen Bernett ผู้ซึ่งต่อมาบวชเป็นพระภิกษุในพม่า มีฉายาว่า "อานันทเมตเตยยะ" เป็นพระภิกษุชาวอังกฤษคนแรก คณะสงฆ์ไทยส่งคณะทูตไปเผยแผ่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2507 และได้สร้างวัดไทยชื่อวัดพุทธปทีปในลอนดอน

ประเทศเยอรมนี

                         มีการตั้งสมาคมเผยแผ่พระพุทธศาสนาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2446 ต่อมามีชาวเยอรมันไปบวชเป็นพระภิกษุที่ศรีลังกา การเผยแผ่พุทธศาสนาในเยอรมันชะงักไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และถูกห้ามในสมัยของฮิตเลอร์ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีการฟื้นฟูพุทธศาสนาโดยพระภิกษุจากพม่า และมีการติดต่อกับพุทธสมาคมในศรีลังกา มีวัดไทยในเบอร์ลินเช่นกัน

สหรัฐอเมริกา

                         พุทธศาสนาเข้าสู่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่ พ.ศ. 2448 โดยเป็นพุทธศาสนาจากจีนและญี่ปุ่น ในยุคต่อมาจึงเป็นพุทธศาสนาแบบทิเบต ใน พ.ศ. 2504 มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเปิดสอนปริญญาเอกสาขาพุทธศาสตร์เป็นแห่งแรกในสหรัฐ คณะสงฆ์ไทยสร้างวัดไทยแห่งแรกในสหรัฐเมื่อ พ.ศ. 2515
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6227 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2555, 19:04:16 »


สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                              ผมเองในฐานะพุทธศาสนิกชนม์ ขอมีส่วนร่วมในการเฉลิมฉลอง พุทธยันตี ๒๖๐๐ ปี ในครั้งนี้ด้วยการรวบรวมธรรม คำสอนของพระพุทธองค์ที่สำคัญ ที่เป็นแก่นของพุทธศาสนา มานำเสนอต่อท่าน ตามภูมิของตัวเอง จะจำได้

                              เชิญติดตามอ่านครับ

                              สวัสดี



“พุทธอุทาน แรกตรัสรู้”


                             พุทธอุทานคาถาที่ ๑ เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งพิจารณาอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไปเพราะ รู้ธรรมที่มีเหตุ

                             พุทธอุทานคาถาที่ ๒ เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งพิจารณาอยู่   เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะ ได้รู้ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย

                              พุทธอุทานคาถาที่ ๓ เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งพิจารณาอยู่   เมื่อนั้น พราหมณ์ย่อมกำจัดมารและเสนามารได้ ดุจพระอาทิตย์ส่องสว่างอยู่บนท้องฟ้า ฉะนั้น



นั่นคือ ทรงแสดงหลักความจริงแห่งธรรมชาติ

หลักการ “อิททัปปัจจยตา”


เมื่อเหตุนี้มี     ผลนี้จึงมี

เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น     ผลนี้จึงเกิดขึ้น

เมื่อเหตุนี้ไม่มี     ผลนี้จึงไม่มี

เพราะเหตุนี้ดับ     ผลนี้จึงดับ

สรุป

ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น   ล้วนมีเหตุเป็นปัจจัยทั้งสิ้น

ถ้าเหตุดับ   ปัจจัยจึงดับ

  
ดังนั้น

ต้องดับที่ “ต้นเหตุ”


                            หลักธรรม นี้แสดงว่า ศาสนาพุทธไม่ใช่พวกเทวนิยม ไม่เชื่อหรือรอคอย ให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์บันดาลให้  ทุกอย่างล้วนเกิดจากเหตุ-ปัจจัย ทั้งสิ้น ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้

                            ดังนั้น หลักธรรมนี้ จึงสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาทุกชนิดได้หมด เพียงแต่หาสาเหตุนั้นให้พบ แล้วแก้ไข โดยการกระทำตรงกันข้ามกับสาเหตุ

                            ตัวอย่าง  ทุกวันนี้เราเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จำนวนมาก คือ ความดัน  เบาหวาน โรคหลอดเลือด และหัวใจ สาเหตุมาจาก
อาหารที่กิน  ไม่ออกกำลังกาย  พักผ่อนไม่เพียงพอ  เครียด  ทางแก้คือ กระทำตรงกันข้าม  ท่านก็จะห่างไกลโรคเรื้อรังครับ

                            สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6228 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2555, 20:43:34 »




ระเบียบปฏิบัติ วัดปลายนา



กำหนดเวลา

                        04.00 น. ระฆังปลุก
                        04.30 น. ทำวัตรเช้า-ภาวนา
                        06.30 น. ทำความสะอาดบริเวณวัดและที่พัก
                        08.30 น. พิจารณาอาหารเช้า
                        09.30 น. ภาวนา ยืน เดิน นั่ง
                        11.30 น. พิจารณาอาหารกลางวัน
                        13.00 น. ภาวนา ยืน เดิน นั่ง
                        15.30 น. ทำความสะอาดบริเวณวัดและที่พัก
                        16.00 น. น้ำปานะ
                        18.00 น. ทำวัตรเย็น-ภาวนา
                        20.00 น. ทำความเพียรโดยส่วนตัว

รักษาศีล ๘ ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติ
                         ๑. เว้นจากทำลายชีวิต
                         ๒. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
                         ๓. เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี
                         ๔. เว้นจากพูดเท็จ
                         ๕. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
                         ๖. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
                         ๗. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
                              การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเคลื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
                         ๘. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย


               เสื้อผ้า ชุดปฏิบัติธรรมสีขาว เสื้อ กางเกง หรือ ผ้าถุง
               หากเป็นเสื้อยืดสีขาว ต้องไม่มีลาย ไม่คอกว้าง - รัดรูป - แขนกุด - เอวลอย
               ผ้าถุงขาว กางเกงขายาวหรือกะโปรงยาวสีขาวหรือดำเท่านั้น (ไม่อนุญาตให้นุ่งกางเกงรัดรูป ขาสั้น)

สิ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องเตรียมมา

                        ๑. เครื่องใช้ส่วนตัวในห้องน้ำ (ผ้าเช็ดตัว สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม ฯลฯ)
                        ๒. ใช้รองเท้าแตะ รองเท้าฟองน้ำ
                        ๓. ไฟฉาย ยาทากันยุง
                        ๔. ขวดน้ำส่วนตัวสำหรับดื่ม มีไว้ประจำตัวในที่พัก
                        ๕. ผ้าขี้ริ้วผืนเล็กส่วนตัว (สำหรับเช็ดเสื่อ หรือทำความสะอาดที่พักของท่านเอง)
                        ๖. อุปกรณ์อื่น ๆ ประจำแต่ละฤดูกาล
                                 - ฤดูร้อน ผ้าขนหนูสำหรับชุบน้ำเช็ดหน้า
                                 - ฤดูฝน ร่มหรือเสื้อกันฝน
                                 - ฤดูหนาว ชุดกันหนาว


แผนที่ การเดินทาง และติดต่อเรา
 
                                    สถานปฏิบัติธรรมเสวตสมบูรณ์ (วัดปลายนา)
                                    ซอยเทพกุญชร 44/1 ตำบลคลองหนึ่ง
                                    อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

                          สอบถามรายละเอียดการเข้าพักเพื่อฝึกเจริญสติ
                          ได้ที่ E-mail : info.watplaina@gmail.com
                          คุณสุมลมานล์(อั๋น) โทร 081-202-1323 , คุณลลยา โทร 081-642-7928


                                   การเดินทางโดยรถประจำทาง :
                                   สามารถขึ้นรถเมล์จากรังสิต(ตรงข้ามฟิวเจอร์ปาร์ค )
                                   สาย 338 (รังสิต- ประตูน้ำพระอินทร์) และ สาย กรุงเทพ-อยุธยา
                                   ลงที่ประตูน้ำพระอินทร์ แล้วข้ามสะพานลอยไปฝั่งตรงข้าม
                                   นั่งมอเตอร์ไซค์ 20 บาทถึงวัดปลายนา
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6229 เมื่อ: 30 พฤษภาคม 2555, 10:32:17 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                               เช้านี้มาสาย เพราะต้องรอหลานสาวเปิด Wifi internet

                               อย่าลืมวันนี้เป็นวันที่ ๒ ของสัปดาห์ ฉลองพุทธชยันตี อายุพุทธศาสนาครบ ๒๖๐๐ ปี ด้วยการทำกุศล  น้อมนำคำสอนของพระพุทะองค์มาใข้ทำงาน และกิจวัตรประจำวัน

                                ผมเองตื่นเช้ามือช่วงอมฤติกาล มานั่งเจริญสติ หุงข้าวใส่บาตรพระที่หน้าบ้าน  วันนี้ได้อาราธนารับอุโบสถศีล อย่างเป็นทางการ  แต่งชุดขาว สำหรับตัวเอง ในช่วงเฉลิมฉลอง พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี ครับ

                                ผมเอากำหนดการปฏิบัติธรรมของวัดปลายนา มานำเสนอต่อตนเอง และท่านที่สนใจปฏิบัติธรรม ตามแนวทางหลวงพ่อเทียน  จิตตฺสุโภ ต่อท่านที่มีเวลาอยากจะหาสถานที่ปฏิบัติธรรม เช่นเดียวกับผม ที่อยู่ในพื้นที่ไม่ไกลนักต่อการเดินทาง

                                วันนี้เที่ยงผมมีธุระกับพนักงาน SIW ที่ร้านอาหาร Fuji พูดคุยกันเกี่ยวกับเขาจะให้ผมไปเป็นวิทยากรบรรยายความรู้ทางวิชาการให้กับลุกค้า และเขียนบทความทางวิชาการลงในวาระสาร SIW แต่เนื่องจากผมรับอุโบสถศีล คงต้องไปก่อนเที่ยง

                                สำหรับทุกท่านที่ติดตามแก่นพุทธศาสนา ที่ผมจะเอามานำเสนอเนื่องในวาระฉลอง พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี นั้นก็ติดตามกันได้ครับ

                                สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6230 เมื่อ: 30 พฤษภาคม 2555, 11:03:30 »

ปฐมพุทธภาสิตคาถา

                       อะเนกะชาติสังสารัง        สันธาวิสสัง  อะนิพพิสัง,  
                                  เมื่อเรายังไม่พบญาณ,  ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นเอนกชาติ;

                       คะหะการัง  คะเวสันโต        ทุกขา ชาติ  ปุนัปปุนัง,
                                  แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน, คือตัณหาผู้สร้างภพ,
                                  การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป;

                       คะหะการะกะ  ทิฏโฐสิ        ปุนะ เคหัง  นะ  กาหะสิ,  
                                  นี่แน่ะ  นายช่างปลูกเรือน,  เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว,
                                  เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป;

                       สัพพา  เต  ผาสุกา  ภัคคา       คะหะกูฏัง วิสังขะตัง,
                                  โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว, ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว;

                       วิสังขาระคะตัง  จิตตัง        ตัณหานัง  ขะยะมัชฌะคา.
                                  จิตของเราถึงแล้ว ซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป,
                                  มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา, ( คือถึงนิพพาน ) .



                           หมายความว่า ตัวที่เราทุกข์อยู่นั้นมีสาเหตุมาจาก "ตัณหา" คือ "ความอยาก" ที่อยาก.....ไปหมด  และอยากได้อีกเสมอ จึงต้องหาภพ เกิดชาติ ชรา มรณธ ร่ำไป ไม่มีสิ้นสุด  การเกิดทุกครั้งมีแต่ทุกข์

                           บัดนี้พระองค์ได้รู้วิธีเอาชนะ ตัณหาได้แล้ว ตัณหาไม่บังเกิดกับพระองค์อีกแล้ว  จิตของท่านไม่กำเริบอีกแล้ว คือจิตของพระองค์ไม่ปรุงแต่งทั้งสิ้น เป็นจิตพระอรหันต์ (เป็นจิตที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้ ไม่มีตัณหา)
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6231 เมื่อ: 30 พฤษภาคม 2555, 20:06:52 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                              มีคนจำนวนมากพุดว่า "คนไทยเราเป็นชาวพุทธ แต่เพียงทะเบียนบ้านเท่านั้น" มันคงจะเป็นความจริงครับ วันนี้ผมไปรับประทานข้าวกลางวันที่ร้าน Fuji ลาดพร้าว ไม่มีใครใส่ชุดขาว ตามที่ทางรัฐบาลเชิญชวนเลยสักคน ยกเว้นผม

                              ขึ้นไปที่สำนักงานของ SIW ทุกคนถามว่า อาจารย์มานพ  ทำไมใส่ชุดขาววันนี้ ทั้งสำนักงานไม่มีใครทราบเรื่องเลยว่า รัฐบาลเชิญชวนให้แต่งชุดขาวสำหรับสัปดาห์แห่งการเฉลิมฉลอง พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี

                              เป็นไปได้ที่ทางรัฐบาล ไม่ประชาสัมพันธืให้ทราบ หรือไม่สนใจจริง เป็นแต่ชาวพุทธตามทะเบียนบ้าน 

                              ดังนั้น การโน้มนำคำสอนของพระพุทธองค์ มาใช้ในชีวิตประจำวัน คงไม่ต้องพูดถึง ผมเลยไม่แปลกใจทำไม รัฐบาล  ฝ่ายค้าน ทะเลาะกันไม่เลิกเรื่องประชุม เพราะทุกคนไม่ใช่ชาวพุทธ  แท้จริง เป็นแต่เปลือก  ทั้งที่คำสอนนั้น เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อชาติ  บ้านเมือง  สังคมเป็นสุข  จริงๆ

                               ไม่เป็นไร ไม่ใช่เรื่องของเรา  เราระวังกาย  วาจา  ใจ  ของเราให้เป็นปกติเอาไว้ เป็นแบบอย่างๆ ก็พอแล้วครับ

                               สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6232 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2555, 08:28:06 »

ทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปาทปาฐะ


           กะตะโม จะ ภิกขะเว ปะฏิจจะสมุปปาโท,                 
                                  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็ปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างไรเล่า?

           (๑) ชาติปัจจะยา ภิกขะเว ชะรามะระณัง,   
                                  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะย่อมมี.

           อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง,
                                  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้น ก็ตาม,

          ฐิตาวะ สา ธาตุ,      ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้ว นั่นเทียว,

          ธัมมัฏฐิตะตา,           คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา,

          ธัมมะนิยามะตา,      คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา,

          อิทัปปัจจะยะตา,      คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น.

          ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ,   
                      ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ,  ซึ่งธรรมธาตุนั้น,

         อะภิสัมพุชฌิตะวา อะภิสะเมตะวา,    
                      ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว

          อาจิกขะติ เทเสติ,      ย่อมบอก ย่อมแสดง,

          ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ,                  ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้,

          วิวะระติ วิภะชะติ,      ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง,

          อุตตานีกะโรติ,         ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ

          ปัสสะถาติ จาหะ, ชาติปัจจะยา ภิกขะเว ชะรามะระณัง,
                     และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู, เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะย่อมมี.

           อิติ โข ภิกขะเว,      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้แล,

           ยา ตัตระตะถะตา,      ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น,อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,

           อะวิตะถะตา,                                เป็นอวิตถตา, คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น,

           อะนัญญะถะตา,      เป็นอนัญญถตา, คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,

           อิทัปปัจจะยะตา,      เป็นอิทัปปัจจยตา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น.

           อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท,
                    ดูก่อนภิกษุทั้งหมาย, ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท,


          (๒) ภะวะปัจจะยา ภิกขะเว ชาติ,      
                 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะภพเป็นปัจจัย, ชาติย่อมมี.

                ปัสสะถาติ จาหะ, ภะวะปัจจะยา ภิกขะเว ชาติ,   
                 และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู, เพราะภพเป็นปัจจัย, ชาติย่อมมี.


          (๓) อุปาทานะปัจจะยา ภิกขะเว ภะโว,
                 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย, ภพย่อมมี.

                ปัสสะถาติ จาหะ, อุปาทานะปัจจะยา ภิกขะเว ภะโว,
                 และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมา   ดูเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย, ภพย่อมมี.

   
          (๔) ตัณหาปัจจะยา ภิกขะเว อุปาทานัง,
                  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,เพราะตัณหาเป็นปัจจัย,อุปาทานย่อมมี.  

                ปัสสะถาติ จาหะ, ตัณหาปัจจะยา ภิกขะเว อุปาทานัง,
                  และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดูเพราะตัณหาเป็นปัจจัย, อุปาทานย่อมมี.


          (๕) เวทะนาปัจจะยา ภิกขะเว ตัณหา,
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเวทนาเป็นปัจจัย, ตัณหาย่อมมี.

                ปัสสะถาติ จาหะ, เวทะนาปัจจะยา ภิกขะเว ตัณหา,
                 และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมา   ดูเพราะเวทนาเป็นปัจจัย, ตัณหาย่อมมี.


           (๖) ผัสสะปัจจะยา ภิกขะเว เวทะนา,
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย, เวทนาย่อมมี.

                 ปัสสะถาติ จาหะ, ผัสสะปัจจะยา ภิกขะเว เวทะนา,
      และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดูเพราะผัสสะเป็นปัจจัย, เวทนาย่อมมี.


           (๗) สะฬายะตะนะปัจจะยา ภิกขะเว ผัสโส,
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย,ผัสสะย่อมมี.

                 ปัสสะถาติ จาหะ, สะฬายะตะนะปัจจะยา ภิกขะเว ผัสโส,
                    และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย, ผัสสะย่อมมี.


            (๘) นามะรูปะปัจจะยา ภิกขะเว สะฬายะตะนัง,
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะนามรูปเป็นปัจจัย, สฬายตนะย่อมมี.

                  ปัสสะถาติ จาหะ, นามะรูปะปัจจะยา ภิกขะเว สะฬายะตะนัง,
                  และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมา   ดู เพราะนามรูปเป็นปัจจัย, สฬายตนะย่อมมี.


           (๙) วิญญาณะปัจจะยา ภิกขะเว นามะรูปัง,
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย,นามรูปย่อมมี.

                  ปัสสะถาติ จาหะ, วิญญาณะปัจจะยา ภิกขะเว นามะรูปัง,
                  และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมา   ดูเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย, นามรูปย่อมมี.


           (๑๐) สังขาระปัจจะยา ภิกขะเว วิญญาณัง
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะสังขารเป็นปัจจัย, วิญญาณย่อมมี.

                  ปัสสะถาติ จาหะ, สังขาระปัจจะยา ภิกขะเว วิญญาณัง,
                  และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมา   ดูเพราะสังขารเป็นปัจจัย, วิญญาณย่อมมี.


           (๑๑) อะวิชชาปัจจะยา ภิกขะเว สังขารา,
                  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย, สังขารทั้งหลายย่อมมี.

                    อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง,
                  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้น    ก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม,

                    ฐิตาวะ สา ธาตุ,       ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้ว นั่นเทียว,

                    ธัมมัฏฐิตะตา,      คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา,

                    ธัมมะนิยามะตา,      คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา,

                    อิทัปปัจจะยะตา,      คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

                    ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ,   
                  ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ,  ซึ่งธรรมธาตุนั้น,

                   อะภิสัมพุชฺฌิตฺวา อะภิสะเมตฺวา,   
                   ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว,

                    อาจิกขะติ เทเสติ,      ย่อมบอก ย่อมแสดง,

                    ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ,   ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้,

                    วิวะระติ วิภะชะติ,      ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง,

                    อุตตานีกะโรติ,      ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ

                    ปัสสะถาติ จาหะ, อะวิชชาปัจจะยา ภิกขะเว สังขารา,
                   และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,ท่านทั้งหลาย จงมาดู, เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย, สังขารทั้งหลายย่อมมี.
 
                    อิติ โข ภิกขะเว,                ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้แล,

                    ยา ตัตระตะถะตา,      ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น, อันเป็นตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,

                    อะวิตะถะตา,      เป็นอวิตถตา, คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น,

                    อะนัญญะถะตา,      เป็นอนัญญถตา, คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,

                    อิทัปปัจจะยะตา,      เป็นอิทัปปัจจยตา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย, สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น.

                    อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท,
                   ดูก่อนภิกษุทั้งหมาย, ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท,
                   (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).


                    อิติ.         ดังนี้แล.
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6233 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2555, 08:51:47 »


" ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปาบาท  ผู้นั้นเห็นธรรม "

" ผู้ใดเห็นธรรม   ผู้นั้นเห็นตถาคต "


                           นี่คือ ธรรมที่พระพุทธองค์ ทรงกล่าวไว้กับพระอานนท์

                            ถ้าเราพิจารณาด้วย โยนิโสมนสิการ แล้วจะพบว่า ในวงจรปฏิจจสมุปบาท หรือวงจรทุกข์ นั้น ทุกสิ่งล้วนมีเหตุ - ปัจจัย ซึ่งกันและกันทั้งสิ้น  จะเห็นว่าถ้าจะให้วงจรทุกข์นี้ตัดขาด ไม่เกิดขึ้นกับเรานั้น คือ ตัณหา คือความอยาก เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

                            ดังนั้น ตัวที่เราตัดได้ คือ "ตัณหา หรือ ความอยาก" เพราะเป็นเรื่องของการเอาชนะจิตตนเอง ที่สามารถกระทำได้ ซึ่งพระพุทะองค์ทรงค้นพบ และได้ทำเป็นแบบอย่าง จนสามารถตัดกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง ไม่กลับมากำเริบอีก

                            ตัณหา ประกอบด้วย
                                     - กามตัณหา คือความอยากที่เกิดจาก ตาเห็นรุป หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้สัมผัส เพราะความติดใจอยากได้อีกเสมอ หรือความไม่ชอบ ไม่อยากได้หรือประสบอีก ทางอายตนะ ๕
                                     - ภวตัณหา คือความอยากที่เกิดจากใจ ที่ปราถนาจะได้อีก หรือไม่ปราถนาจะประสบอีก
                                     - วิภวตัณหา คือความไม่อยากของจิตที่จะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง

                            สวัสดีครับ
                           
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6234 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2555, 09:20:20 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                               เช้ามืดวันนี้ ผมได้ตื่นขึ้นมาปฏิบัติธรรม เจริญสติ สวดมนต์ทำวัตรเช้า เดินจงกรมออกกำลังกาย หุงข้าว ใส่บาตรพระที่หน้าบ้าน  วัดนี้ เมื่อก่อนพระท่านเป็นสามเณร คือเณรอาม มีภรรยาของคุณปัญญา  นิรันดร์กุล เป็นโยมอุปัฏฐาก ให้เรียนหนังสือ เมื่่อต้นเดือนที่ผ่านมาสามเณรอาม อายุครับ ๒๐ ปี ได้บวชเป็นพระ ที่วัดลาดพร้าว วันนี้มาบิณฑบาตร ผมเลยเอาหนังสือ กาลานุกรมถวายท่านไปพร้อมกับอาหาร ครับ

                                วันนี้ผมเดินทางไปนครศรีธรรมราช มีสอนชิกงและโยคะท่านมัสการพระอาทิตย์ตอน 18:30 - 19:30 น. แต่งชุดขาว ถือศีล ๘ เดินทางไปนครศรีธรรมราช (คงเป็นตัวตลก ที่แต่งตัวไม่เหมือนคนอื่น) Boarding  14:15 น. โดย Nok Air

                                วันเสาร์นี้ ที่นครศรีธรรมราชจัดงาน พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี โดยนิมนต์พระสงฆ์จาก ๑๔ จังหวัดภาคใต้ จำนวน ๑๒,๖๐๐ รูป มาบิณฑบาตร ตอนเช้าเวลา 06:00 น. บนถนนราชดำเนิน เส้นที่ผ่านหน้าวัดพระธาตู

                                 ผมได้ตัดสินใจแล้ว จะไปร่วมใส่บาตรพระด้วย แต่ขอใส่เป็นเงิน องค์ละ ๒๐ บาท จำนวน ๑๐๐ รูป เพราะไม่สามารถหาอาหารแห้งได้ เพราะไม่มีรถยนต์เดินทาง ต้องเดินทางไปโดยรถมอร์เตอร์ไซด์ สะดวกที่สุด เพราะคาดว่าคนจะมาก รถติด และปิดถนนด้วย

                                 แล้วจะเอารูปมาฝาก ครับ

                                 สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6235 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2555, 09:36:09 »

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #6236 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2555, 12:02:13 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 30 พฤษภาคม 2555, 20:06:52
สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                              มีคนจำนวนมากพุดว่า "คนไทยเราเป็นชาวพุทธ แต่เพียงทะเบียนบ้านเท่านั้น" มันคงจะเป็นความจริงครับ วันนี้ผมไปรับประทานข้าวกลางวันที่ร้าน Fuji ลาดพร้าว ไม่มีใครใส่ชุดขาว ตามที่ทางรัฐบาลเชิญชวนเลยสักคน ยกเว้นผม

                              ขึ้นไปที่สำนักงานของ SIW ทุกคนถามว่า อาจารย์มานพ  ทำไมใส่ชุดขาววันนี้ ทั้งสำนักงานไม่มีใครทราบเรื่องเลยว่า รัฐบาลเชิญชวนให้แต่งชุดขาวสำหรับสัปดาห์แห่งการเฉลิมฉลอง พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี

                              เป็นไปได้ที่ทางรัฐบาล ไม่ประชาสัมพันธืให้ทราบ หรือไม่สนใจจริง เป็นแต่ชาวพุทธตามทะเบียนบ้าน  

                              ดังนั้น การโน้มนำคำสอนของพระพุทธองค์ มาใช้ในชีวิตประจำวัน คงไม่ต้องพูดถึง ผมเลยไม่แปลกใจทำไม รัฐบาล  ฝ่ายค้าน ทะเลาะกันไม่เลิกเรื่องประชุม เพราะทุกคนไม่ใช่ชาวพุทธ  แท้จริง เป็นแต่เปลือก  ทั้งที่คำสอนนั้น เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อชาติ  บ้านเมือง  สังคมเป็นสุข  จริงๆ

                               ไม่เป็นไร ไม่ใช่เรื่องของเรา  เราระวังกาย  วาจา  ใจ  ของเราให้เป็นปกติเอาไว้ เป็นแบบอย่างๆ ก็พอแล้วครับ

                               สวัสดี


พี่สิงห์ครับ

ผมไม่ได้แอนตี้การสวนชุดขาวไปทำบุญ หรือเข้าวัดร่วมงานบุญนะครับ
ผมอ่านเรื่องนี้ไปหลายเที่ยว โดยเบื้องต้นว่าจะไม่ตอบ แต่เพราะมีบางข้อมูลที่ได้รับมา ทำให้ผมต้องขอตอบ
และคำตอบอาจจะไม่ถูกใจนัก

เบื้องต้น "การแต่งชุดขาว" ก็ดี "การไม่แต่งชุดขาว" ก็ดีครับ ของมีจิตเป็นกุศลเป็นพอ
ที่เห็นและไม่อยากพบเห็น คือ แต่งโป๊ ไปอวดพระและญาติโยม !!!!!
อีกทั้งชุดขาวที่สวมใส่ อาจบอกนัยเป็นเรื่องอื่นได้ด้วยเช่นกัน คือ การไว้ทุกข์ ดังเช่นที่เห็นในงานศพของคุณแม่พี่แววตา

เมื่อเช้าวานนี้ (30 พ.ค.) ผมออกไปตักบาตรพระที่ปากน้ำโพ พบว่ามีคนใส่บาตรมากขึ้น ทั้งที่ไม่ใช่เทศกาลเข้าพรรษา
ในส่วนของผม คาดว่าตักบาตรได้ประมาณ 40 องค์ทั้งพระ เณร แม่ชี จากนั้นจึงไปปล่อยปลาที่ริมแม่น้ำ

เพล ไปวัดบ้านมะเกลือ เพื่อถวายปัจจัยอันได้แก่ ข้าวสาร 100 กก. น้ำตาลทราย น้ำปลา 1 ลัง น้ำมันพืช 1 ลัง
เนื่องจากยังมีสามเณรบวชเรียนอยู่เป็นจำนวนมาก และน่าจะสึกไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนได้แล้ว
แต่ยังต้องรอ เพื่อไปร่วมงานวิสาขบูชา 4 มิ.ย..นี้ ที่สนามหลวง เนื่องจากต้องใช้พระเณรในพิธีจำนวนมาก ?? ?? ?? !!!

ทั้ง 2 ช่วง ผมไม่พบผู้คนใส่ชุดขาวเลยครับ แต่ทั้งสองแห่งมีคนร่วมทำบุญ-ทำกุศลกันเป็นจำนวนมาก น่าปลื้มใจครับ
ใส่ชุดอะไรก็ได้ ขอให้มีจิตเป็นกุศลเป็นพอ เพราะเราก็เคยรู้ เคยเห็นว่า มีคนแต่งตัวเป็นพระไปหลอกลวงชาวบ้านก็มาก

ความคิดของผม-รัฐบาลชุดนี้มันสมคบกับวัดธรรมกายในเรื่องการทำบุญทุกรูปแบบ ที่ให้ทายกทายิกาใส่ชุดขาว ไปแห่แหน
                        หากผมต้องใส่ชุดขาวแล้ว ตามคำเชิญชวน ถึงจะทำบุญได้ ผมคิดว่า-ผมจะเลิกทำบุญครับ ด้วยเหตุผลดังนี้
1.ไม่มีในพุทธบัญญัติว่า พุทธบริษัททั้งหลายต้องใส่ชุดขาว
2.ผมเชื่อว่าหลายบ้าน หลายคน ไม่มีชุดขาวเพื่อใส่ไปปฎิบัติธรรม หากจะใส่-ต้องซื้อครับ มันเป็นภาระ
   ผมเองยังไม่มีชุดขาวเลย เสื้อขาวนะมีครับ-สำหรับใช้ใส่ไปงานศพเท่านั้น และไม่ใช่งานศพ ก็แขวนเอาไว้
   กางเกงส่วนใหญ่เป็นสีดำ สีขาวมี 1 ตัวเป็นชุดข้าราชการ
   ไม่มีความคิดว่าจะต้องเอากางเกงตัวนี้ไปใส่กับเสื้อขาว เพื่อไปทำบุญหรือไปรับพระแบบพวกธรรมกายแน่นอนครับ
3.ที่ผมเห็น ซึ่งเป็นช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา พวกธรรมกายจัดพระออกมาเดิน รถติดจนปั่นป่วนแทบทุกจังหวัดนั้น
   สาวกที่แต่งชุดขาวไปร่วมงาน กับถึงบ้านมันก็เปลี่ยนชุดทันทีเช่นกัน ผมไม่เห็นมันใส่ชุดขาวทั้งวันเลยครับ-เรื่องจริง
4.สองวันที่ผ่านมา ผมไปส่วนราชการ พบว่าข้าราชการใส่ชุดขาวกันสลอน แต่ไม่ใช่ชุดขาวแบบไปวัด
   เสื้อขาว บวกกางเกงขาว หรือกระโปรงขาว ซึ่งใส่ไปเที่ยวห้างได้ด้วย ผมถืว่า ใส่แบบไม่มีสาระหรือไม่ได้ตั้งใจครับ

มาขยายความอีกเรื่องหนึ่งครับ ฟังแล้วควันออกหูครับ (ข้อมูลไม่ได้รับการยืนยัน แต่มาจาก จนท.ที่เกี่ยวข้อง)
เณรยังไม่สึกไปเรียนหนังสือ เพราะจะต้องไปกับพระเพื่อไปร่วมงานพุทธยันตี ที่สนามหลวง และสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
เนื่องจากมีการออกข่าวว่าใช้พระเณร ครั้งละเป็นหมื่นรูป (ไม่ทราบว่ามีการสำรวจกันหรือไม่ว่า พระทั่วประเทศมีกี่รูป ?)
เขาว่า (จนท.ท่านหนึ่ง) พระไปร่วมงานที่สนามหลวงจะได้ปัจจัยรูปละ 5,000 บาท/วัน จากผู้จัด (หรือรัฐบาลนั่นเอง)
ถ้าวันนั้นพระเณรรวมกันเป็นแสนรูป เงินเฉพาะส่วนที่ถวายเป็นปัจจัยแก่พระเณรที่ไปร่วมงานจะตก 500 ล้านบาท/วัน
ไม่รวมค่าใช้จ่ายอย่างอื่นครับ อาทิ ค่าเช่าเตนท์ ดอกไม้ตกแต่งและถวายพระ ไฟฟ้าและแสงสว่างตอลอดงาน
ค่าออแกนไนซ์เซอร์ ค่าแรงตำรวจ เจ้าหน้าที่ ฯลฯ

นี่เป็นตัวบอกว่า ทำไม่คนไทยถึงชอบจัดงาน เพราะได้เงินค่าจัดครับ
บอกให้คนไทยปฎิบัติธรรมอยู่ที่บ้าน หรือทำตัวเป็นคนดีกับสังคม คนจัดไม่ได้ตังส์ครับ
คนไทยอยากจัดบอลโลก ทั้งที่ฝีเท้าห่วยแตก ไม่ติด 1 ใน 50 ทีมของโลก
คนไทยอยากจัดโอลิมปิด ทั้งที่อันดับยังอยู่แถบบ้วยๆ ของตาราง
คนไทยอยากจัด งานพรมแดงหรือ Film Festival และก็ได้จัดแล้ว แต่ข่าวคอรัปชั่นหึ่งและยังหาตัวคนจัดไปดำเนินคดีไม่ได้
คนไทยอยากจัดทุกอย่าง เพื่อให้ได้ใช้เงินครับ
รวมทั้งงานพุทธยันตี นี้ด้วย โดยยังไม่รวมงานฉลองใหญ่ๆอีก 2 งานในปีนี้ครับ

พวกเราอาจจะตั้งใจนุ่งขาว-ทำบุญเพื่อพระศาสนาจริง แต่กับคนจัดงานนั้น-ไม่ใช่ เขาจัดเพราะเขาได้ตังส์
และเขา ปชส. อยู่ตลอดครับในเรื่อง พุทธยันตี โดยเฉพาะงานวันที่ 4 มิ.ย. ที่จะถึงนี้
ตามหลัก งานจะจัดได้ ต้องมีปัจจัยเกื้อหนุนครับ


หมายเหตุ:
ตอนนี้ประเทศชาติเริ่มจะไม่เป็นสุขแล้วครับ สีเสื้อมันเริ่มชัดเจนอีกครั้งหนึ่งแล้ว โดยรัฐบาลเป็นคนเริ่มเอง ทำเอง
ออกข่าวพระมาเป็นหมื่น เบิกจ่ายจริงเท่าไร-ไม่รู้ เำพราะไม่มีคนนับยอด, แต่เบิกกับรัฐตามตัวเลขที่ประกาศครับ
      บันทึกการเข้า
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #6237 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2555, 16:48:32 »

เหย็งครับ
พิธีใส่บาตรพระจำนวนมากๆผมเห็นด้วยกับเหย็ง
เพราะตอนผมตั้งใจใส่บาตรพระจำนวนมากๆที่จังหวัดตรังเมื่อต้นปี
ผมได้ยินพระรูปหนึ่งท่านเดินกระหืดกระหอบถามกรรมการว่า
ท่านต้องเดินทางมาใกลเพราะได้รับหนังสือจากจังหวัดให้มาร่วมพิธีที่นี่จะให้ไปลงทะเบียนที่ใหน
กรรมการบอกว่าไม่ต้องลงทะเบียนแล้วให้ไปรับบิณทบาตรได้เลย
พระรูปนั้นท่านตอบว่าอย่างนี้เท่ากับหลอกให้ท่านมาร่วมพิธีใช่ใหม
แต่กรรมการกลับเงียบ ไม่อธิบายให้กระจ่าง
หลังใส่บาตรเสร็จผมคิดเหมือนที่เหย็งเขียนมาด้านบนครับ.....พระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องปัญญาอย่าเชื่ออะไรง่ายๆ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #6238 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2555, 19:47:59 »

พี่กุศลครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ผมได้รับข้อมูลจาก จนท.ที่เป็นผู้ส่งหนังสือเชิญไปตามวัดต่างๆ ครับ
ซึ่งครั้งเทศกาลสงกรานต์ก็ได้ข่าวมา และเมื่อวานนี้ก็ยังเจออีก
ระดมพระเณรเข้า กทม. มีทั้งค่าพาหนะไป/กลับ ค่าสถานที่จำวัด ค่าอาหารระหว่างเดินทาง
และได้ของที่บิณฑบาตรซึ่งเป็นอาหารแห้งกลับไปด้วยเป็นเสมือนรางวัลที่ไปร่วมงานครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6239 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2555, 20:27:03 »

สวัสดีครับ คุณเหยง

                                 ผมจะไปเกลียดใคร  จะไม่พอใจใครได้ ครับ ผมปล่อยวางมันหมดแล้ว เพราะรู้ความจริงในพฤติกรรมของจิตคนแล้ว

                                 ผมก็แต่งชุดขาวตามที่รัฐบาลเขาเชิญชวน  ไม่ได้คิดมากอะไร  มันเป็นสิ่งที่ดีงาม เพราะมันก็ดีเหมือนกัน ผมเองมีชุดขาวเอาไว้ใส่นอน  ใส่ไปทำบุญเพื่อภาพลักษณ์ที่สะอาดตา ผมยังชอบเลย ชุดหนึ่งไม่เกิน 180 บาททั้งเสื้อและกางเกง ซื้อมาจากวันอำพวัน 5-6 ชุดใส่มาสองปีแล้วเพราะใส่ไปอินเดียมา และตอนไปอยู่วัดป่าสุคะโต ก็ใส่ชุดขาว  ถูกสตางค์ดี ใส่สบายดี ใส่อยู่บ้านก็ได้

                                 ใครให้ผมทำดี ผมก็ทำ  ใครไม่ทำผมก็ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้น เพราะคนคิดไม่เหมือนกัน ผมทำตัวของผมไม่ให้คนรอบข้างทุกข์เพราะผม และผมไม่ทุกข์ ก็พอใจแล้ว ไม่สนใจคนอื่นทั้งสิ้น ไม่ว่าจะทำดีหรือไม่ดี ก็ปล่อยไป มันไม่ใช่เรื่องของผม

                                 วันนี้ผมเดินทางจากบ้าน มาสนามบินดอนเมือง มาถึงนครศรีธรรมราช ถึงโรงแรม พบคนแต่งขาวแบบผมหนึ่งคนเท่านั้น มันก็ดีเหมือนกัน เพราะมีแต่คนถาม  คนมอง เพราะเป็นตัวปลาด ทำให้เราหน้าด้านขึ้น เป็นสิ่งที่ดี ครับ

                                  ตื่นลึก หนาบางจากรัฐบาล ผมไม่ทราบทั้งสิ้น เพราะไม่ได้ดูข่าว  ฟังข่าว อะไรดิคว่าดีก็ทำ ไม่คิดมากเหมือนคนอื่น  ระวังตัวเองอย่างเดียว ครับ

                                   สวัสดี


                                 
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6240 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2555, 20:33:57 »


                                  วันนี้มีสาวๆ มาเรียน ชิกง โยคะ ท่านมัสการพระอาทิตย์กับผม ตั้งสองคน สอนเสร็จก็นั่งคุยเรื่องการดูแลสุขภาพ และธรรมะในการทำงานให้ฟัง  เพราะทั้งสองท่านทำงานธนาคาร

                                   การทำบุญ นั้นดีเมื่อทำแล้วสบายใจ  อย่าไปคิดมาก เรารู้สึกว่าทำแล้วดี หยุดคิด เพราะมันเป็นอดีตไปแล้ว ส่วนพระท่านจะเอาไปทำอะไรปล่อยไป ไม่ใช่เรื่องของเรา เรารู้อารมณ์ว่าเป็นผู้ให้  ได้รู้แล้วก็ลืม มันจะทำใหเรามีสุขภาพจิตที่ดีครับ ดีกว่าเป็นผู้รับมากมายนัก

                                   ราตรีสวัสดิ์ ครับ
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #6241 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2555, 09:32:55 »


...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์และสมาชิกทุกท่าน...

...บังเอิญได้เข้ามาอ่านค่ะ...เลยอยากจะแสดงความเห็นบ้าง...

...เรื่องการแต่งชุดขาวเข้าวัด...โดยปกติรุ่นปู่ย่าตายายเค้าทำกันมาตั้งนานแล้ว...ได้เห็นเป็นประจำ...

...คงเป็นเพราะว่าสีขาวเป็นสีซึ่งแสดงถึงความบริสุทธิ์...สะอาด...สงบ...

...ทำให้ใจไม่เร่าร้อนมากกว่าสีอื่นๆ...คนส่วนใหญ่จึงนิยมใช้สีขาวมากกว่าสีอื่นๆ...

...จนกลายมาเป็นวัฒนธรรมและเจาะจงเห็นสมควรว่าให้ใส่เสื้อผ้าสีขาวดีกว่าค่ะ...

...เป็นการเชิญชวน...ขอร้อง...แต่คงไม่ใช่บังคับ...

...ถ้าใครไม่มีสีขาว...ก็อาจใช้สีอื่นที่เป็นสีอ่อนๆ...

...อาจเป็นสีครีม...เหลืองอ่อน...ชมพูอ่อน...ฟ้าอ่อน...เขียวอ่อน...ก็ถือว่าสุภาพแล้ว...

...และให้ระวังเรื่องการแต่งตัวโป๊...เช่น...นุ่งกางเกงขาสั้นเข้าวัด...ถือว่าไม่สุภาพ...

...บางวัดเช่นวัดญานสังวราราม...ผู้ถือศีลที่อยู่ประจำวัดที่เป็นหญิงจะนิยมนุ่งผ้าถุงสีดำ...ใส่เสื้อสีขาว...

...ถ้าเป็นชายก็ขาวทั้งชุดแบบพี่สิงห์...

...เพราะบางทีต้องช่วยงานการต่างๆในวัด...ลุกนั่งกับพื้นจะได้ไม่สกปรกง่าย...

...ส่วนผู้ที่มาบวชชีพราหมณ์ก็ต้องแต่งแบบแม่ชี...คือขาวทั้งชุดและห่มสไบเวลาเข้าทำวัตรที่ศาลา...

...สำหรับผู้ที่นำชุดขาวไปแต่งไว้ทุกข์นั่นก็เป็นอีกกรณีนึง...ซึ่งงานศพปัจจุบันใช้ได้ทั้งสีขาวและสีดำค่ะ...

...ส่วนวัดที่มีเครื่องแบบให้ซื้อไปแต่ง...จุดประสงค์เพื่อให้ดูเรียบร้อยและสวยงาม...

...แต่ถ้าไม่อยากซื้อก็แต่งตัวสุภาพดังที่กล่าวข้างต้นไปก็ได้ค่ะ...ใช้ได้ทุกวัด...

...หรือจะใส่สีๆก็ไม่มีใครว่า...แต่มันจะเป็นจุดเด่นเท่านั้นเอง...

...กรณีนี้ขึ้นอยู่กับผู้นั้นว่าเป็นคนที่มีกาลเทศะเพียงใด...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6242 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2555, 10:14:26 »


                              ขออนุโมทนา กับคุณน้องตู่  เป็นอย่างยิ่ง ที่เข้ามาตอบ ได้ถูกต้อง ตามวัฒนธรรมไทยทีสืบทอดกันมา

                              วันนี้พี่สิงห์ ก็แต่งชุดขาวมาทำงาน เพราะอยู่ในเทศกาล ที่ทางรัฐบาลเขาเชิญชวนให้แต่ง และพี่สิงห์ดูแล้วมันก็ดี  ไม่ยุ่งยาก ไม่ได้ซื้อ และพี่สิงห์ก็ถืออุโบสถศีล ด้วย  มันเป็นการชำระจิต ที่ให้ระวัง กาย วาจา  ใจ  ของเราให้ปกติ เป็นเครื่องเตือนตัวเอง ให้ระลึกถึงว่าเราตั้งใจทำอะไร ต้องมีวิริยะ อดทนอดกลั้น ไม่ให้กิเลสเข้าครอบงำจิตใจ  ยกตัวอย่าง ตอนเย็นมันนึกหิวข้าวขึ้นมา  ชุดขาวมันก็เตือนเราว่าเราถือศีล ๘ อยู่ เอาชนะใจตนเองให้ได้  ความอยากกินข้าวมันเป็นอารมณ์ เป็นความเคยชิน  ไม่กินก็ไม่ตาย มีวิริยะเข้าไว้ มันก็มีอุเบกขา ไม่หิวข้าวเย็นได้

                               ในสมัยพุทธกาลนั้น สิ่งไหนที่เป็นวัฒนธรรม ที่เคยทำกันมา เป็นสิ่งดี  ไม่ก่อโทษ ไม่ขัดกับหลักคำสอนของพระพุทธองค์  พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงห้ามทั้งสิ้น  แม้กระทั้งข้อปฏิบัติทางปาฏิโมกข์ ก่อนที่พระพุทธองค์ จะปรินิพพาน ได้สั่งพระอานนท์ว่า หลังจากพระพุทธองค์ได้ปรินิพพานไปแล้ว ให้ทำสังคายนา และข้อสิกขาบางข้อสามารถถอนออกเสียได้เพื่อให้เข้ากับสภาวะการณ์ (แต่การสังคายนา ครั้งที่ ๑ ไม่ได้แก้สิกขา แต่ครั้งหลังแก้  จึงเกิดนิกายต่างๆ ตามมา จนถึงปัจจุบัน)

                               การแต่งชุดขาวก็ไม่ขัดหลักคำสอนของพุทธศาสนา เป็นสิ่งดี เป็นวัฒนธรรมที่ผู้รู้ก็รู้ว่าดี มันก็น่าที่จะแต่ง แล้วแต่บุคคลพิจารณาเอาเอง ก็แล้วกันไม่มีใครว่า

                               อย่างที่บอกจิตคนคิดไม่เหมือนกัน  อะไรๆ ที่เขาคิดไม่เหมือนเราจะบอกว่าดีหรือไม่ดี มันก็ไม่สมควร เพราะเป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่ของเรา   เราไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนก็เพียงพอแล้ว

                                ณ ปัจจุบัน ดร.กุศล  เวลาเราพบเราเห็น เป็นคนแต่งตัวดี น่านับถือ แต่บางเวลาในที่รโหฐาน เช่นการอาบน้ำ ดร.กุศล ก็เป็นชีเปลือย  เราอย่าไปมองว่า ครั้งนี้เขาไปกะเกณฑ์พระมา หรือเห็นอะไร ที่ไม่ดีไม่งาม มันก็เรื่องของคนอื่น ไม่ใช่เรื่องของเรา เวลาเราใสบาตรพระ  เราใส่แล้วเราไม่เดือนร้อนตนเอง  ใส่เพื่อให้เรารู้อารมณ์ของการให้เป็นดี เป็นการฝึกจิตของเรา แล้วก็ลืมมันให้หมด อย่าไปสนใจว่าพระท่านจะเป็นอย่างไร เอาข้าวของของเราไปทำอะไร  มันไม่ใช่เรื่องของเรา  เราได้รู้อารมณ์ของการให้แล้ว เป็นยุติสำหรับเรา  พระท่านจะเอาของไปทิ้งก็เรื่องของท่าน ! อย่าไปคิดมาก  ถ้าคิดมากแล้ว สิ่งไหนไม่ถูกใจเรา เป็นไม่ชอบหมด มันจะมีแต่ความวุ่นวายทางอารมณ์ ครับ

                               สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6243 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2555, 10:44:04 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และผู้ที่เข้ามาเยี่ยมอ่าน ที่รักทุกท่าน

                               เมื่อวันพุธ ที่ผ่านมาผมได้ไปรับประทานอาหารกลางวันกับทางฝ่ายการตลาด SIW ที่เขาขอให้ผมเขียนเรื่องราวทางคอนกรีตอัดแรงลงในวารสาร SIW อีกครั้ง และขอให้ผมเป็นวิทยากร ไปบรรยายให้ลูกค้าฟัง ตามภูมิภาคให้ครบทั้งหมด ผมก็ตอบรับไปว่ายินดี

                               ผมได้นำบทความที่ผมเขียนมาลงให้ทุกท่านได้อ่านเล่นๆ ครับ

                               และถ้าใครสนใจ วันที่ ๑๘-๑๙ กรกฎาคม ผมจะไปบรรยายที่โรงแรมทวินโลตัส สำหรับลูกค้าภาคใต้ หัวข้อ การผลิต ผลิตภัณฑ์โครงสร้างคอนกรีตอัดแรงอย่างมืออาชีพ ตั้งแต่ 09:00 น.- 15:00 น. ตอนเย็นพาลูกค้าลงเรื่องศึกษาความเป็นอยู่ของชาวปากพนัง ที่แม่น้ำปากพนัง ครับ
                              
                               สวัสดี




บทนำ


                  สวัสดีครับ ทุกท่านที่กำลังอ่าน วาระสาร SIW  ฉบับปฐมฤกษ์ ฉบับนี้อยู่  หวังว่า ทุกท่านยังระลึกถึงกันอยู่ วาระสาร SIW จากหายไปเสียนาน จนผมเองลืมไปหมดแล้วว่า เคยได้เขียนอะไรเอาไว้บ้าง ประกอบกับในช่วงมหาน้ำท้วม กรุงเทพมหานคร ปีที่ผ่านมา ก็ได้สะสางเอกสารทิ้งไปเกือบหมด รวมทั้งวาระสาร SIW ฉบับเก่า ๆ และเอกสารทางวิชาการที่ได้รวบรวมเอาไว้จำนวนหนึ่ง  เพื่อหนีน้ำ ประกอบกับอายุย่างเข้า ๖๒ ปี แล้ว เอกสารต่างๆนั้นเก็บเอาไว้ก็รกบ้าน ไม่มีที่เก็บ ไม่ก่อประโยชน์ เลยสะสางทิ้ง ก่อนที่น้ำจะท้วมบ้าน ทิ้งไปให้มากที่สุด ผลคือพอทาง SIW อยากจะทำวาระสาร SIW ขึ้นมาใหม่ จึงต้องเขียนใหม่หมดทั้งสิ้น

                  ฉบับปฐมฤกษ์ มันก็เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ คือต้องเขียนเรื่องทั่วๆ ไปก่อน  ในขณะเดียวกัน ผมเองอยากให้ทุกท่านได้มีส่วนร่วมในการเขียน และทำวาระสาร SIW นั้นให้มีประโยชน์มากที่สุด มันก็ต้องหาเรื่องมาเขียนให้ตรงกับใจของทุกท่านที่อยากรู้  อยากทราบ อยากแก้ปัญหา และอยากถาม  

                              ดังนั้น ผมขอเรียนเชิญให้ทุกท่าน ส่งคำถาม หรือปัญหาที่ท่านอยากทราบ มายังกองบรรณาธิการของวาระสาร SIW  หรือฝากผ่านพนักงานขายของ SIW  มาให้ ผมก็จะไปหาคำตอบ มาตอบท่าน  ตรงที่ท่านอยากรู้ เป็นหนทางที่ดีที่สุด ครับ

                   ณ ปัจจุบัน  ผมเองเชื่อว่า ทุกท่านมีคำถามมากมาย ที่อยากจะถามใครสักคนหนึ่ง เกี่ยวกับปัญหาทางด้านการออกแบบก็ดี หรือการผลิตก็ดี หรือการควบคุมโรงงานก็ดี  เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์โครงสร้างคอนกรีตอัดแรง  แต่ไม่รู้จะไปถามกับใคร ? เพราะผู้รู้ทั้งหลายนั้นมีมากก็จริง แต่ท่านเหล่านั้น ระวังตัวเกินไป  จึงไม่อยากแสดงตนออกมา  

                               สำหรับผมนั้น เป็นผู้อยากรู้  เพราะตนเองไม่รู้  จึงกล้าที่จะแสดงตนว่าเป็นผู้รู้ มาตอบคำถามให้ท่านที่อยากรู้ เท่าที่ภูมิ หรือปัญญาตนเองพึงมี
  
                                ถามมาเถอะครับ จะรวมทั้งปัญหาทางด้านการดูแลสุขภาพ ทำอย่างไร? ให้อยู่อย่างไร้โรคเรื้อรัง และธรรมะเพื่อทำจิตตนเองให้ขาวรอบ  แต่มีข้อแม้ว่า ท่านต้องเขียนคำถามมาเป็นลายลักษณ์อักษร  จะได้สื่อสารกันได้ถูกต้องไม่ตกหล่นระหว่างทาง  บางคำถาม ผมจะตอบท่านเป็นการส่วนตัว  บางคำถาม ผมจะขออนุญาติท่านนำมาตอบลงในวาระสาร SIW  แต่จะสงวนสิทธิ์บางเรื่องให้ผู้ถาม คือไม่เอ่ยนาม หรือโรงงาน หรือบริษัท ฯ

                                 และหลายปีที่ผ่านมา ผมได้เฝ้าดู ติดตาม การวิวัฒนาการผลิตภัณฑ์โครงสร้างคอนกรีตอัดแรงอย่างเงียบๆ มาตลอด ยังคลุกคลีกับมัน เพราะรักมัน มันเป็นอาชีพของผม  แต่ในพื้นที่กรุงเทพฯนั้น  ได้ทำตัวออกห่างสิ้นเชิง ไม่รับรู้หรือช่วยเหลือใครเลย  จะไม่มีชื่ออยู่ให้เห็นทั้งสิ้น เพื่อแสดงถึงความบริสุทธิ์ใจ ในการทำงาน ที่ตนเองรักงานทางด้านวิชาการคอนกรีตอัดแรง ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และประเทศไทย  มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่ตกอยู่ใต้อำนาจเงิน หรือใครเลย เป็นตัวของตัวเอง ด้วยจิตที่เป็นกลาง

                                  ณ ปัจจุบัน ผมเองยังตั้งคำถามกับตนเอง วิศวกร  บุคคลากร หรือผู้ลงทุน หรือเจ้าของกิจการ ทางด้านนี้  ล้วนมีความรู้  มีความเข้าใจเป็นอย่างดี มีประสบการณ์ แต่ทำไม? ผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรง ที่ผลิตกันมานั้น ยังคงมีปัญหาเดิมๆ สร้างความเสียหายในทางธุระกิจอยู่เสมอ  ไม่ลดลงเลย  ซึ่งถ้าดูบุคคลกรแต่ละโรงงานที่มีอยู่แล้ว ผู้ลงทุนหรือเจ้าของกิจการ ควรจะมีชีวิตที่สุขสบายมากกว่านี้  แต่ทำไม ท่านเหล่านี้  ยังต้องมารับทราบปัญหา  ลงมาแก้ไขปัญหา และบางครั้งมีผลเสียหายที่เกิดขึ้น คือ เก็บเงินไม่ได้ หรือถูกลูกค้าลดมูลค่าสินค้าลง  จากความเสียหายที่เกิดขึ้น มันเป็นเพราะอะไร ?  จะแก้ได้อย่างไร !

                                  จริงอยู่เจ้าของกิจการบางกลุ่ม อาจจะยังไม่รู้  ไม่มีประสบการณ์ แต่ก็เชื่อได้ว่า ต้องศึกษา ดูงาน พูดคุยกับช่าง หรือวิศวกรจนมั่นใจแล้วว่า สามารถทำได้   จึงกล้าลงทุน  แต่ปัจจุบันก็ยังเห็นความเสียหายของผลิตภัณฑ์ทางด้านคอนกรีตอัดแรง เช่น เสาเข็ม  แผ่นพื้น ยังเสียหายอยู่เป็นจำนวนมาก  ท่านตั้งใจ หรือปล่อยปละละเลยไม่ดูแลมัน หรือไร?

                                   บางครั้งผมพิจารณาดู  อาจจะเป็นเพราะ ท่านต้องการขายสินค้าให้ได้  จึงลดราคาลงมามากเพื่อให้มีงานทำ เมื่อลดราคาลงแล้ว  คงไม่มีใครยอมขาดทุนเป็นแน่  ท่านเหล่านั้นก็ลดคุณภาพลง โดยเฉพาะต้นทุนทางด้านคอนกรีต จะเป็นตัวหลักที่ถูกพิจารณาก่อน เป็นอันดับแรก  และมักจะคุยข่มกันว่าตนเองสามารถใส่ปริมาณปูนซีเมนต์ในหนึ่งลูกบาสก์เมตร น้อยกว่ากัน

                                   ผมเองเคยได้รับปัญหา  มีผู้ถามอยู่บ่อยๆ ในเรื่องนี้ “อาจารย์มานพ ครับ ผมก็ใส่ปูนเท่ากับที่คนอื่นเขาใส่  ไปลอกสูตรส่วนผสมเขามาเลย แต่ทำไม? คุณภาพคอนกรีตมันไม่ได้เหมือนของเขา ?”

                                    ผมก็ตอบว่า ผมเองไม่สนใจว่าใครสามารถจะลดต้นทุนในการใส่ปูนซีเมนต์ให้น้อยที่สุดในหนึ่งลูกบาศก์เมตรคอนกรีต   ผมสนใจของจริงที่แต่ละโรงงานผลิตคอนกรีตว่า กำลังรับแรงอัดประลัยที่กำหนดออกแบบไว้ ได้ตามที่ระบุที่อายุการตัดลวดอัดแรง และที่อายุการใช้งานที่ ๗  วัน อย่างน้อยต้องได้ตามที่กำหนด ไม่สนใจว่าจะใสปูนเท่าไรในหนึ่งลูกบาศก์เมตร เพราะสภาพแต่ละโรงงานไม่เหมือนกันทั้งคุณภาพของวัสดุ เครื่องจักร และบุคคลากร มันต่างกัน ทุกโรงงานควรจะออกแบบส่วนผสมของคอนกรีตให้เป็นจริงตามสภาพของตนเอง และที่สำคัญที่สุด ผลิตภัณฑ์นั้น ต้องไม่มีปัญหาที่หน้างานกับลูกค้า คือไม่มีความเสียหายที่หน้างาน หรือมีความเสียหายไม่เกินมาตรฐาน

                                     อีกปัญหาหนึ่งที่พบมาก คือผู้ผลิตส่วนใหญ่ละเลย รู้ แต่ไม่สนใจ โดยเฉพาะวิธีควบคุมการผลิตนั้น นิสัยคนไทยยังไม่มีการปรับปรุงขึ้นเลย  ไม่มีความรับผิดชอบในการผลิต ยังไม่ให้ความสำคัญในการบ่มคอนกรีต และไม่ให้ความสำคัญในอีกหลายๆ เรื่องของการผลิต ผลคือ ท่านยังมีปัญหาเหมือนเดิม ไม่มีอะไรที่ก้าวหน้าขึ้นเลย หลายสิบปีที่ผ่านมานี้ น่าเสียดายมาก !

                                      ยิ่งปัจจุบัน ท่านที่มีโรงงานกลางแจ้ง  จะมีปัญหาแรงงานเข้ามาอีก คือคนงานไม่ยอมทำงาน หาคนงานไม่ได้  เป็นปัญหาใหญ่เสียด้วย ดีไม่ดี หลายท่านคงคิดอยากเลิกกิจการ  แล้วท่านจะทำอย่างไรดี  ตอนนี้ก็พอมีเงินแล้ว  รวยแล้ว จะทำธุระกิจทางด้านนี้ ด้วยความสุขที่มากกว่านี้ไม่ได้เชียวหรือ ?  จะมีวิธีการ หรือทำอย่างไร ให้ดีขึ้นกว่าเดิม ? มีไหม !

                                      ผมขอทิ้งคำถามเอาไว้ให้ท่านคิด ผมจะมาเฉลยในฉบับหน้าครับ

                                       หลายปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปเข้ารับการฝึกอบรม สร้างความเป็นหนุ่มเป็นสาว  การเป็นหนุ่มเป็นสาวนั้น หมายถึง กล้ามเนื้อ ข้อต่อต่างๆ ขอร่างกาย ไม่ติด ไม่ขัด สามารถเคลื่อนไหวเดิน  ยืน  นั่ง นอน ได้ไม่ลำบากมากนัก ถึงแม้อายุจะมากขึ้น  โดยได้ไปเข้ารับการฝึกอบรมที่แผนกแพทย์ทางเลือก โดยนายแพทย์อุดม และคณะพยาบาล โรงพยาบาลจอมทอง อำเภอจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนสองครั้งด้วยกัน เพื่อเอาความรู้ที่ได้ มาดูแลตัวเอง ได้นำมาทดลองกับตัวเอง จนเชื่อใจได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดี ที่สอนให้เราเป็นหมอดูแลตัวเอง  รู้สาเหตุแห่งโรค  รู้วิธีปฏิบัติ  รู้วิธีออกกำลังกายแบบตะวันออกคือ ชิกง - โยคะ และได้ทดลองปฏิบัติดูด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่อง ได้รับผลดี  จึงกล้าที่จะเอามานำเสนอให้ท่านที่มีความสนใจดูแลสุขภาพตัวเองเอาไปทดลองทำดู โยเฉพาะถ้าท่านเป็นโรคเรื้อรังความดัน  เบาหวาน  หลอดเลือดอุดตัน  โรคหัวใจ  การปวดที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือท่านที่เคยผ่านการผ่าตัดมะเร็งทิ้ง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะภายใน ร่างกาย
 
                                        นอกจากนี้ ผมยังได้ศึกษาพระไตรปิฎก  ไปนมัสการสังเวชนีย์สถาน ๔ แห่ง ที่อินเดีย ๒ ครั้ง ได้ไปปฏิบัติธรรมเจริญสติ  วิปัสสนา ตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน  จิตฺตสุโภ ที่วัดป่าสุคะโต อำเภอแกร่งคล้อ  จังหวัดชัยภูมิ และได้ปฏิบัติเจริญสติอย่างต่อเนื่องตลอดมา  พอที่จะเล่าสู่กันฟังได้ตามภูมิ ตนเองที่ทราบ

                                        ดังนั้น ใครจะสนทนากับผม ยินดีเสมอ ครับ  สวัสดี
      บันทึกการเข้า
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #6244 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2555, 11:31:57 »

สวัสดีครับพี่สิงห์ พี่ตู่และเหย็ง
การเข้ามาเขียนในปัจจุบันผมเลือกเฉพาะคนที่รู้จักสนิทสนมและรู้ใจกันเท่านั้น
ผมเห็นด้วยในเรื่องการแต่งกายที่ถูกต้องและถูกกาละเทศะ ดังนั้นเรื่องแต่งกายผมไม่ตำหนิใคร
แต่ที่มาแสดงความคิดเห็นเรื่องการใส่บาตรนั้นความจริงการทำบุญเป็นสิ่งที่ผมเห็นด้วยเพราะทำเป็นกิจวัตรประจำวันอยู่แล้ว
ที่มาเล่าเหตุการที่ตรังเพราะคิดว่า การใส่บาตรทำที่ใหนก็ได้ที่เราอยากทำ ที่ตรังผมดีใจที่ได้ใส่บาตรพระจำนวนมากแต่กิจกรรมที่เห็นทำให้ผมคิดว่าคงเป็นความมุ่งหมายเฉพาะกลุ่มเท่านั้นครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6245 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2555, 11:38:24 »

อริยมรรคมีองค์แปด

(มรรคมีองค์ ๘)

            อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,  
                        หนทางนี้แล,  เป็นหนทางอันประเสริฐ,  ซึ่งประกอบด้วยองค์แปด;

            เสยยะถีทัง.         ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-

            สัมมาทิฏฐิ          ความเห็นชอบ,

            สัมมาสังกัปโป       ความดำริชอบ,
 
            สัมมาวาจา          การพูดจาชอบ,
  
            สัมมากัมมันโต       การทำการงานชอบ,  

            สัมมาอาชีโว          การเลี้ยงชีวิตชอบ,
 
            สัมมาวายาโม       ความพากเพียรชอบ,  

            สัมมาสะติ          ความระลึกชอบ,
 
            สัมมาสมาธิ          ความตั้งใจมั่นชอบ.


            (องค์มรรคที่ ๑)

             กะตะมา  จะ  ภิกขะเว  สัมมาทิฏฐิ,
                                 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความเห็นชอบ  เป็นอย่างไรเล่า

             ยัง  โข  ภิกขะเว ทุกเข ญาณัง,     
                         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความรู้อันใด, เป็นความรู้ในทุกข์,
  
             ทุกขะสะมุทะเย  ญาณัง,
                                     เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์,

             ทุกขะนีโรโธ  ญาณัง,
                                     เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์,
  
             ทุกขะนิโรธะคามินิยา  ปะฏิปะทายะ  ญาณัง.
                          เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์,  

              อะยัง  วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมาทิฏฐิ ,
                          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า  ความเห็นชอบ.


            (องค์มรรคที่ ๒)

             กะตะโม  จะ  ภิกขะเว  สัมมาสังกัปโป,  
                          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความดำริชอบเป็นอย่างไรเล่า

              เนกขัมมะสังกัปโป,
                                      ความดำริในการออกจากกาม,

    
          อะพฺยาปาทะสังกัปโป,
                                       ความดำริในการไม่มุ่งร้าย,
 
               อะวิหิงสาสังกัปโป.
                                       ความดำริในการไม่เบียดเบียน,

                อะยัง  วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมาสังกัปโป,
                            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความดำริชอบ.

            (องค์มรรคที่ ๓)

             กะตะมา  จะ  ภิกขะเว  สัมมาวาจา,
                                       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การพูดจาชอบเป็นอย่างไรเล่า

              มุสาวาทา  เวระมะณี,       
                            เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง,
 
              ปิสุณายะ วาจายะ  เวระมะณี,
                            เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด,

              ผะรุสายะ วาจายะ  เวระมะณี,
                            เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ,

              สัมผัปปะลาปา  เวระมะณี,      
                            เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
  
               อะยัง  วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมาวาจา.  
                             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า การพูดจาชอบ.


               (องค์มรรคที่ ๔)
 
                กะตะโม  จะ  ภิกขะเว  สัมมากัมมันโต,
                                         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การทำการงานชอบเป็นอย่างไรเล่า

                 ปาณาติปาตา  เวระมะณี,    
                              เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า,

                 อะทินนาทานา  เวระมะณี,   
                              เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว

                 กาเมสุ  มิจฉาจารา  เวระมะณี.    
                               เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย.

                 อะยัง  วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมากัมมันโต.
                                ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า การทำการงานชอบ.

                 (องค์มรรคที่ ๕)

                  กะตะโม จะ  ภิกขะเว  สัมมาอาชีโว,
                                ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การเลี้ยงชีวิตชอบเป็นอย่างไรเล่า

                  อิธะ  ภิกขะเว  อะริยะสาวะโก,    
                                 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,  สาวกของพระอริยเจ้า  ในธรรมวินัยนี้,
 
                  มิจฉาอาชีวัง  ปะหายะ,
                                       ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย,
    
                สัมมาอาชีเวนะ  ชีวิกัง   กัปเปติ.    
                                  ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ.

                   อะยัง  วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมาอาชีโว.
                            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย , อันนี้เรากล่าวว่า  การเลี้ยงชีวิตชอบ.

                 (องค์มรรคที่ ๖)

                  กะตะโม  จะ  ภิกขะเว  สัมมาวายาโม,  
                             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย , ความพากเพียรชอบเป็นอย่างไรเล่า

                   อิธะ  ภิกขะเว  ภิกขุ,
                                        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้,
 
                    อะนุปปันนานัง  ปาปะกานัง  อะกุสะลานัง ธัมมานัง   อะนุปปาทายะ, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง  อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณฺหาติ  ปะทะหะติ;  
                              ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร,
                                    ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังอกุศลธรรม  อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น,

      
                     อุปปันนานัง  ปาปะกานัง  อะกุสะลานัง  ธัมมานัง  ปะหานายะ,
                     ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง  ปัคคัณฺหาติ  ปะทะหะติ;
                              ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร,
                                     ระคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะละอกุศลธรรม  อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว,


                      อะนุปปันนานัง  กุสะลานัง  ธัมมานัง อุปปาทายะ,  ฉันทัง  ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ,  จิตตัง ปัคคัณฺหาติ ปะทะหะติ;   
                               ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร,
                                         ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น,
 

                       อุปปันนานัง  กุสะลานัง  ธัมมานัง  ฐิติยา,   อะสัมโมสายะ,ภิยโยภาวายะ, เวปุลลายะ,  ภาวะนายะ,  ปาริปูริยา,  ฉันทัง ชะเนติ,  วายะมะติ,  วิริยัง  อาระภะติ, จิตตัง  ปัคคัณฺหาติ  ปะทะหะติ.     
                                 ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น,  ย่อมพยายาม,  ปรารภความเพียร,      
                                          ประคองตั้งจิตไว้,  เพื่อความตั้งอยู่, ความไม่เลอะเลือน, ความงอกงามยิ่งขึ้น,  
                                          ความไพบูลย์,  ความเจริญ,  ความเต็มรอบ,  แห่งกุศลธรรมที่ เกิดขึ้นแล้ว.


                       อะยัง  วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมาวายาโม.    
                                ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความพากเพียรชอบ.

               (องค์มรรคที่ ๗)

                 กะตะมา  จะ  ภิกขะเว  สัมมาสะติ,
                          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความระลึกชอบเป็นอย่างไรเล่า

                  อิธะ  ภิกขะเว  ภิกขุ,        
                           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,  ภิกษุในธรรมวินัยนี้,
 
                  กาเย  กายานุปัสสี  วิหะระติ,    
                            ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ,
  
                   อาตาปี  สัมปะชาโน  สะติมา, วิเนยยะ  โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,    
                            มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,
  
                    เวทะนาสุ  เวทะนานุปัสสี  วิหะระติ,
                       ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ

                    อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา,  วิเนยยะ  โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
                       มีความเพียรเครื่องเผากิเลส,  มีสัมปชัญญะ มีสติ,  ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,
  
                    จิตเต  จิตตานุปัสสี  วิหะระติ,  
                       ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ,

                     อาตาปี  สัมปะชาโน  สะติมา, วิเนยยะ  โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,  
                       มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปะชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,

                     ธัมเมสุ  ธัมมานุปัสสี  วิหะระติ,
                        ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,
  
                     อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,  
                         มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปะชัญญะ  มีสติ,
                         ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,  


                      อะยัง  วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมาสะติ.  
                          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า  ความระลึกชอบ.

              (องค์มรรคที่ ๘)

                กะตะโม  จะ   ภิกขะเว  สัมมาสมาธิ,
                           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความตั้งใจมั่นชอบเป็นอย่างไรเล่า

                 อิธะ  ภิกขะเว  ภิกขุ,        
                            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้,

                 วิวิจเจวะ  กาเมหิ,
                                        สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย,  

                 วิวิจจะ  อะกุสะเลหิ  ธัมเมหิ,    
                             สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย,
 
                 สะวิตักกัง  สะวิจารัง, วิเวกะชัง  ปีติสุขัง  ปะฐะมัง  ฌานัง  อุปะสัมปัชชะ  วิหะระติ,     
                             เข้าถึงปฐมฌาน, ประกอบด้วยวิตกวิจาร, มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่,  

                  วิตักกะวิจารานัง  วูปะสะมา,         
                             เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง,  
 
                   อัชฌัตตัง  สัมปะสาทะนัง เจตะโส,  เอโกทิภาวัง,  อะวิตักกัง อะวิจารัง,  สะมาธิชัง ปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,                             เข้าถึงทุติยฌาน, เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน,ให้สมาธิเป็นธรรม
                         อันเอกผุดมีขึ้น, ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร, มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่,

 
                   ปีติยา  จะ  วิราคา,
                                         อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ,
  
                    อุเปกขะโก  จะ  วิหะระติ,  สะโต  จะ  สัมปะชาโน,
                              ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา,  มีสติและสัมปชัญญะ,  

                    สุขัญจะ  กาเยนะ  ปะฏิสังเวเทติ,    
                              และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย,
 
                    ยันตัง  อะริยา  อาจิกขันติ,  อุเปกขะโก  สะติมา  สุขะวิหารีติ,
                               ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย, ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า,
                              “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้,


                    ตะติยัง  ฌานัง  อุปะสัมปัชชะ  วิหะระติ,    
                                เข้าถึงตติยฌาน, แล้วแลอยู่,  

                    สุขัสสะ  จะ  ปะหานา,
                                    เพราะละสุขเสียได้,
 
                     ทุกขัสสะ  จะ  ปะหานา,
                             และเพราะละทุกข์เสียได้,
 
                     ปุพเพวะ  โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง  อัตถังคะมา,  
                                เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน,
 
                      อะทุกขะมะสุขัง  อุเปกขาสะติปาริสุทธิง, จะตุตถัง  ฌานัง  อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ.      
                                เข้าถึงจตุตถฌาน, ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข, มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่.
  
                      อะยัง  วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมาสมาธิ.    
                               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความตั้งใจมั่นชอบ.
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6246 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2555, 12:30:42 »


                              การเป็นอาจารย์ที่ดี  ที่ต้องการสอนลูกศิษย์ให้ได้ดี  แต่ตัวเองต้องรับกรรม นั้น มันดีจริงหรือ !

                              มันผิดศีล หรือไม่สำรวมกาย วาจา  ใจ หรือเปล่า  มันก็ไม่ผิด

                              แต่สันดานเรามันเป็นอย่างนี้  อยากสอนให้เขามีบทเรียนที่จำไปตลอด  จะได้ไม่ทำนอกคำสั่งอย่างนี้อีก มันเกิดขึ้นบ่อยมากเป็นแบบนี้ หลายครั้งแล้ว ยิ่งการทำงานแล้วทำนอกคำสั่งทุกที  มีแต่ผลเสียเพราะดื้อรั้นคิดว่า....ทำดีที่สุดแล้ว  ทั้งๆ ที่มีวิธีที่ดีกว่า  งายกว่า ประหยัดกว่าอีก  แต่ไม่ทำอยากทำตามความคิดตัวเอง เป็นกบอยู่ในกะลา

                              ผลคือ ผมต้องกินข้าวเปล่า เป็นอาหารกลางวัน วันนี้ ไม่กินก็ไม่ได้ เพราะถือศีล ๘ เป็นการประชดลูกศิษย์ ที่ไม่ทำตามคำสั่ง เพราะอาจารย์ก็กินง่ายๆ ได้  เราทำร้ายจิตใจลูกศิษย์หรือเปล่า  มันก็ไม่ เพราะไม่ทำตามคำสั่งหลายครั้งแล้ว  ผลที่ตามมาคือ ถ้าทุกคนเป็นอย่างนี้ ก็ไม่ต้องมีระเบียบ คำสั่งกัน  อยู่อย่างเสรี  ทำงานตามใจชอบ  เราจึงถอยหลังลงคลองทุกวัน เศร้าสิ้นดีเรา

                              ลืมๆๆๆๆๆ เป็นอดีตไปแล้ว

                              สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6247 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2555, 13:32:03 »

เรื่องของ ดร. บาบาสาเหบ อัมเบดการ์

เรื่องของดร. บาบาสาเหบ อัมเบดการ์ หรือดร. อัมเบดการ์นั้น ผมได้ค้นคว้า และเขียนไว้นานแล้ว เพระประทับใจในประวัติชีวิตของท่าน ในฐานะที่เป็นคนวรรณะจัณฑาล วรรณะต่ำสุดของอินเดีย แต่ต่อสู้ชีวิตจนกระทั่งได้เป็นถึงรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมแห่งอินเดีย และเป็นผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญอินเดีย เมื่ออินเดียได้รับเอกราช

ท่านได้ปฏิญาณตนนับถือพระพุทธศาสนา เพราะซาบซึ้งในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และแนวปฏิบัติแห่งความเสมอภาค ไม่ยึดถือเรื่องชั้นวรรณะ
ประวัติของท่านทั้งในด้านการต่อสู้ชีวิต ในด้านผู้นำชาวพุทธยุคใหม่ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ และทำให้มีการนำประวัติของท่าน มาศึกษาในหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมปลาย ในเรื่องชาวพุทธตัวอย่าง
ประวัติชีวิต

ดร. อัมเบดการ์ หรือชื่อเต็มของท่าน คือ บาบาสาเหบ พิมเรา รามจิ อัมเบดการ์(Dr. Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar)เกิดในวรรณจัณฑาล ที่ยากจนที่สุดตระกูลหนึ่งของอินเดีย ในเมืองนาคปูร์ รัฐมหาราษฏร์ ทางตอนกลางของอินเดีย เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๔๓๔ ท่านเกิดในหมู่บ้านคนอธิศูทร (คนวรรณะจัณฑาล มีชื่อเรียกมากมาย เช่น หริจันทร์ จัณฑาล อธิศูทร ในที่นี้จะใช้คำว่า อธิศูทร) ชื่อว่า อัมพาวดี เป็นบุตรชายคนสุดท้อง คนที่ ๑๔ ของ รามจิ สักปาล และนางพิมมาไบ สักปาล ก่อนที่ท่านอัมเบดการ์จะเกิดนั้น มีเรื่องเล่าว่า ลุงของพ่อเขา ซึ่งไปบวชเป็นสันยาสี(ผู้ถือสันโดษ ตามแนวคิดเรื่องอาศรม ๔ ของฮินดู) อาศัยอยู่ตามป่าเขา ได้มาพำนักในแถบละแวกบ้านของเขา รามจิได้ทราบจากญาติคนหนึ่ง ว่าหลวงลุงของตนมาพำนักอยู่ใกล้ๆ จึงไปนิมนต์ให้มารับอาหารที่บ้าน นักบวชสันยาสันยาสีนั้นปฏิเสธ แต่ได้ให้พรแก่รามจิว่า "ขอให้มีบุตรชาย และบุตรชายของเธอจงมีชื่อเสียง เกียรติในอนาคต ได้จารึกชื่อไว้ในประวัติศาสตร์ชาติอินเดีย" ซึ่งพรนั้นก็มาสำเร็จสมปรารถนา เมื่อวันที่ท่านอัมเบดการ์เกิดนั้นเอง บิดามารดาได้ตั้งชื่อให้ว่า "พิม"

แม้จะเกิดมาในครอบครัวอธิศุทรที่ยากจน แต่บิดาก็พยายามส่งเสียจนเด็กชายพิม สามารถเรียนจนจบประถม ๖ ได้ เมื่อจบแล้ว บิดาก็ไม่ได้หยุด ที่จะให้บุตร ได้รับความรู้ พยายามอดมื้อกินมื้อ เงินที่ได้รับจากการรับจ้างแบกหาม ก็เอามาส่งเสียเป็นค่าเล่าเรียนให้กับเด็กชายพิม จนกระทั่ง สามารถส่งให้เรียนจนจบ มัธยมได้สำเร็จ แต่ในระหว่างการเรียนนั้น พิมจะต้องเผชิญหน้ากับความดูหมิ่นเหยีดหยามของทั้งครูอาจารย์ และนักเรียนซึ่งเป็นคนในวรรณะสูงกว่า

เรื่องบางเรื่องที่กลายเป็นความช้ำใจในความทรงจำของพิม เช่นว่า เมื่อเขาเข้าไปในห้องเรียน ทั้งครู และเพื่อนร่วมชั้นต่างก็แสดงอาการขยะแขยง รังเกียจ ในความเป็นคนวรรณะต่ำของเขา เขาไม่ได้รับอนุญาตแม้แต่การที่จะไปนั่งบนเก้าอี้ในห้องเรียน เขาต้องเลือกเอาที่มุมห้อง แล้วปูกระสอบ นั่งเรียนอยุ่อย่างนั้น แม้แต่เวลาจะส่งงานต่ออาจารย์ อาจารย์ก็มีทีท่ารังเกียจ ไม่อยากจะรับสมุดของเขา

เวลาที่เขาถูกสั่งให้มาทำแบบทดสอบหน้าชั้นเรียน นักเรียนในห้องที่เอาปิ่นโต ห่ออาหารที่ห่อมากินที่โรงเรียน วางไว้บนกระดานดำ จะเร่งกรูกันไปเอามาไว้ก่อน เพราะกลัวว่าความเป็นเสนียดของพิม ขะไปติดห่ออาหารของพวกเขาที่วางอยู่บนกระดานดำ

แม้แต่เวลาที่เขาจะไปดื่มน้ำที่ทางโรงเรียนจัดไว้ เขาก็ถูกห้ามอย่างเด็ดขาดที่จะไปจับต้องแท๊งค์น้ำ หรือแก้วที่วางอยุ่ เพราะทุกคนรังเกียจว่าเสนียดของเขา จะไปติดที่แก้วน้ำ เขาต้องขอร้องเพื่อนๆ ที่พอมีความเมตตาอยู่บ้าง ให้ตักน้ำแล้วให้พิมคอยแหงนหน้า อ้าปาก ให้เพื่อนเทน้ำลงในปากของพิม เพื่อป้องกันเสนียด ในความเป็นคน ต่างวรรณะของเขา ซึ่งเป็นความน่าเจ็บช้ำใจยิ่งนัก

อย่างไรก็ตาม ในโลกนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะมีแต่ยักษ์มาร ครูคนหนึ่ง ซึ่งเป็นวรรณะพราหมณ์ แต่เป็นผู้มีเมตตาผิดกับคนในวรรณะเดียวกัน บางครั้งครูท่านนี้ก็จะแบ่งอาหาร ของตนให้กับพิม แต่เขาก็แสดงออกมากไม่ได้ เพราะอาจจะถูกคนในวรรณะเดียวกันเกลียดชังไปด้วย ครูท่านนี้คิดว่า เหตุที่พิมถูกรังเกียจ เพราะความที่นามสกุลของเขา บ่งชัดความเป็นอธิศูทร คือนามสกุล "สักปาล"(นามสกุลของคนอินเดีย เป็นตัวบอกวรรณะด้วย) ครูท่านนั้นได้เอานามสกุลของตน เปลี่ยนให้กับพิม โดยแก้ที่ทะเบียนโรงเรียน ให้เขาใช้นามสกุลว่า "อัมเบดการ์" พิมจึงได้ใช้นามสกุลใหม่นั้นเป็นต้นมา (จากนามสกุลอัมเบดการ์นี้เอง ทำให้หลายๆคนคิดว่าพิม เป็นคน ในวรรณะพราหมณ์ )

หลังจากอดทนต่อความยากลำบาก การถูกรังเกียจจากคนรอบข้าง ที่รู้ว่าเขาเป็นคนอธิศูทรแล้ว เขาก็ได้สำเร็จการศึกษาจบมัธยม ๖ ซึ่งนับว่าสุงมาก สำหรับคนวรรณะ อย่างพิม แต่มาถึงขั้นนี้ พ่อของเขาก็ไม่สามารถที่จะส่งเสียให้เรียนต่อไปได้อีก จนจบปริญญาตรี เคราะห์ดีที่ ในขณะนั้น มหาราชาแห่งเมืองบาโรดา ซึ่งเป็นมหาราชา ผุ้มีเมตตา พระองค์ไม่มีความรังเกียจในคนต่างวรรณะ ปรารถนาจะยกระดับการศึกษาแม้คนระดับอธิศูทร ได้มีนักสังคมสงเคราะห์พาพิม อัมเบดการ์ เข้าเฝ้ามหาราชา พระองค์ได้ทรงพระราชทานเงินทุนในการศึกษาต่อของพิม โดยให้เป็นเงินทุนเดือนละ ๒๔ รูปี ทำให้พิม สามารถเรียนจบปริญญาตรีได้ ต่อมา มหาราชาแห่งบาโรดา ได้ทรงคัดเลือกนักศึกษาอินเดีย เพื่อจะทรงส่งให้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศอเมริกา ซึ่งพิมได้รับคัดเลือกด้วย เขาได้พบกับสิ่งที่เรียกว่า อิสรภาพ และความเสมอภาค เพราะที่อเมริกานั้นไม่มีคนแสดงอาการรังเกียจเขา ในความเป็นคนอธิศูทร เหมือนอย่างในประเทศอินเดีย หลังจากจบการศึกษา ถึงขั้นปริญญาเอก แล้ว เรียกว่ามีชื่อนำหน้าว่า ดร. พิม อัมเบดการ์ ได้เดินทางกลับมาอินเดีย เขาได้พยายามต่อสู้เพื่อคนในวรรณะเดียวกัน ไม่ใช่แต่เท่านั้น เขาพยายามต่อสู้ กับความอยุติธรรมที่สังคมฮินดู ยัดเยียดให้กับคนในวรรณะต่ำกว่า

ดร. อัมเบดการ์ ได้ทำงานในหลายๆเรื่อง หลังจากจบการศึกษาที่อเมริกาแล้ว เขาได้เป็นอาจารย์สอนในวิทยาลัยซิดนาห์ม ในบอมเบย์ ในปี ๒๔๖๑ ต่อมาได้รับการ พระราชทานอุปถัมภ์จากเจ้าชายแห่งเมืองโครักขปูร์ ซึ่งเป็นผู้มีพระทัยเมตตาเช่นเดียวกับมหาราชาแห่งบาโรด้า ในปรารถนาที่จะถอนรากถอนโคนความอยุติธรรม ที่สังคมฮินดู กีดกันคนในวรรณะอื่นๆ ได้ทรงอุปถัมภ์ให้คนอธิศุทร มารับราชการในเมืองโครักขปุร์ แม้นายควาญช้าง พระองค์ก็เลือกจากคนอธิศูทร เจ้าชายแห่งโครักขปุร์ ได้ทรงอุปถัมภ์ในการจัดทำหนังสือพิมพ์ มุขนายก หรือ "ผู้นำคนใบ้" ของดร.อัมเบดการ์ เช่นอุปถัมภ์ค่ากระดาษพิมพ์ และอื่นๆ ซึ่งอัมเบดการ์ไม่ได้เป็นบรรณาธิการเอง แต่อยู่เบื้องหลัง และเขียนบความลงหนังสือพิมพ์ ในบทความครั้งหนึ่ง มีคำพูดที่คมคายน่าสนใจ ว่า

"อินเดียเป็นดินแดนแห่งความเหลื่อมล้ำต่ำสูง สังคมฮินดูนั้นช่างสูงส่งประดุจหอคอยอันสูงตระหง่าน มีหลายชั้นหลายตอน แต่ไม่มีบันไดหรือช่องทาง ที่จะเข้าไปสู่หอคอยอันนั้นได้ คนที่อยู่ในหอคอยนั้นไม่มีโอกาสที่จะลงมาได้ และจะติดต่อกับคนในหอคอยเดียวกันในอีกชั้นหนึ่งก็ทำไม่ได้ ใครเกิดในชั้นใดก็ตายในชั้นนั้น" เขาได้กล่าวถึงว่า สังคมฮินดูมีส่วนประกอบอยู่สามประการ คือ พราหมณ์ มิใช่พราหมณ์ และอธิศูทร พราหมณ์ผู้สอนศาสนามักกล่าวว่า พระเจ้ามีอยู่ในทุกหนแห่ง ถ้าเช่นนั้น พระเจ้าก็ต้องมีอยู่ในอธิศูทร แต่พราหมณ์กลับรังเกียจคนอธิศูทร เห็นเป็นตัวราคี นั่นแสดงว่าเขากำลังเห็นพระเจ้าเป็นตัวราคีใช่หรือไม่

ดร. อัมเบดการ์ มีผลต่อความเคลื่อนไหวหลายๆอย่างในอินเดียขณะนั้น เขาเป็นอธิศูทรคนแรก ที่ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรมของอินเดีย หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราช เป็นผู้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญของอินเดีย เขาเป็นผู้ที่ชี้แจง ต่อที่ประชุม ในโลกสภา โดยการอนุมัติของดร.ราเชนทรประสาท ให้ชี้แจงอธิบายต่อผู้ซักถาม ถึงบางข้อบางประเด็นในรัฐธรรมนูญ หนังสือพิมพ์บางฉบับลงเหตุการ์ตอนนี้ว่า ดร.อัมเบดการ์ ทำหน้าที่ชี้แจงอธิบาย เรื่องร่างรัฐธรรมนูญต่อผู้ร่วมประชุม ประดุจพระอุบาลีเถรเจ้า วิสัชชนาข้อวินัยบัญญัติ ในที่ประชุมปฐมสังคายนา ต่อพระสงฆ์ ๕๐๐ มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ฉะนั้น และเขาเป็นผู้ต่อสู้เพื่อทำลาย ความอยุติธรรม ที่คนในชาติเดียวกัน หยิบยื่นให้กับคนในชาติเดียวกัน แต่ต่างวรรณะกันเท่านั้น
การปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ

ดร.อัมเบดการ์ แต่งงานมีครอบครัว สองครั้ง ครั้งแรกแต่งกับคนในวรรณะเดียวกัน ชื่อว่านางรามาไบ ครั้งที่สอง เขาได้พบรักกับแพทย์หญิงในวรรณะพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อว่า ชาดา คาไบ ในโรงพยาบาลที่เขาไปรับการรักษาอาการป่วย เขาได้แต่งงานครั้งที่สอง และเป็นครั้งแรกที่คนในวรรณะต่ำเช่นเขา ได้แต่งงานกับคนในวรรณะสูง คือวรรณะพราหมณ์ เมื่ออายุเขาได้ ๕๖ ปี และมีคนใหญ่คนโต นักการเมือง พ่อค้า คนในวรรณะต่างๆมาร่วมงานแต่งงานของเขามากมาย ต่างจากครั้งแรก ที่เขาแต่งงานในตลาดสด

หลังจากนั้น ด.ร.อัมเบดการ์ ได้ลงจากเก้าอี้ทางการเมือง เขาถือว่าเขาไม่ได้พิศวาสตำแหน่งทางการเมืองอะไรนัก ที่เขาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ก็เพราะเขาต้องการ ทำงานเพื่อเรียกร้องความถูกต้องให้กับคนที่อยู่ในวรรณะต่ำ ที่ได้รับการข่มเหงรังแกเท่านั้น

เหตุการณ์สำคัญประการหนึ่ง ที่ดร.อัมเบดการ์ได้กระทำ และเป็นสิ่งที่มีคุณูปการมากต่อพระพุทธศาสนา ในประเทศอินเดีย คือการเป็นผู้นำชาวพุทธศูทรกว่า๕ แสนคน ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ เหตุการณ์ตอนนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก จึงขอกล่าวถึงอย่างละเอียดสักหน่อย

ความจริง อัมเบดการ์ สนใจพระพุทธศาสนามานานแล้ว โดยเฉพาะจากการได้อ่านหนังสือพระประวัติของพระพุทธเจ้า ซึ่งเขียนโดยท่านพระธัมมานันทะ โกสัมพี ชื่อว่า "ภควาน บุดดา"(พระผู้มีพระภาคเจ้า) เขาได้ศึกษาแล้วว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่มีข้อรังเกียจในเรื่องวรรณะ ไม่ปิดกั้นการศึกษาพระธรรม ให้ความเสมอภาค และภราดรภาพแก่คนรทุกชั้น ในจิตใจของดร.อัมเบดการ์ เป็นชาวพุทธอยู่ก่อนแล้ว แต่เขาตั้งใจจะทำให้เป็นรูปเป็นร่างยิ่งขึ้น สิ่งที่ปรารถนาก็คือ การปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ พร้อมกับพี่น้องชาวอธิศูทร ใน งานฉลองพุทธชยันตี (Buddhajayanti)

ท่านดร.อัมเบดการ์ ๆได้กล่าวสดุดีพระพุทธศาสนา เขียนหนังสือเผยแผ่พระพุทธธรรมหลายเล่ม เช่น "พุทธธรรม "(Buddha and His Dhamma) "ลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา" (The Essential of Buddhism) และคำปาฐกถาอื่นๆ ที่ได้รับการตีพิมพ์ภายหลัง เช่น "การที่พระพุทธศาสนาหมดไปจากอินเดีย" (The down fall of Buddhism in india) เป็นต้น

ก่อนหน้าที่จะมีงานฉลองพุทธชยันตี เป็นที่ทราบกันดีว่า อินเดียในขณะนั้น มีชาวพุทธอยู่ แทบจะเรียกได้ว่าเป็นอัพโภหาริก คือน้อยจนเรียกไม่ได้ว่ามี แต่เหตุใดจึงมีงานฉลองนี้ขึ้น คำตอบนี้น่าจะอยุ่กับท่านยวาห์ ราล เนรูห์ ซึ่งท่านได้กล่าวคำปราศรัยไว้ในที่ประชุมโลกสภา (รัฐสภาของอินเดีย เรียกว่า โลกสภา) เรื่องการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ว่า

"พระพุทธเจ้า เป็นบุตรที่ปราดเปรื่องยิ่งใหญ่ และรอบรู้ที่สุดของอินเดีย ในโลกนี้ซึ่งเต็มไปด้วยความวุ่นวาย เคียดแค้น และรุนแรง คำสอนของพระพุทธเจ้า ส่องแสงเหมือนดวงอาทิตย์ที่รุ่งโรจน์ ไม่มีคนอินเดียคนใด ที่จะนำเกียรติยศ เกียรติภุมิ กลับมาสู่อินเดียได้เท่ากับพระพุทธองค์ หากเราไม่จัดงานฉลองท่านผู้นี้แล้ว เราจะไปฉลองวันสำคัญของใคร" และได้กล่าวอีกตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้าไม่นับถือศาสนาใดๆในโลกทั้งนั้น แต่หากจะต้องเลือกนับถือแล้ว ข้าพเจ้าขอเลือกนับถือ พระพุทธศาสนา"

ในงานฉลองพุทธชยันตีนั้น รัฐบาลอินเดียได้จัดสรรงบประมาณการจัดงาน ฉลองตลอด ๑ ปี เต็มๆ โดยวนเวียนฉลองกันไปตามรัฐต่างๆ รัฐบาลได้อนุมัติ งบประมาณต่างๆ เช่น ทำตัดถนนเข้าสุ่พุทธสังเวชนียสถานต่างๆให้ดีขึ้น สร้างธรรมศาลา ทำการอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาร่วมงานพุทธชยันตีจาก ประเทศต่าง จัดพิมพ์หนังสือสดุดี พระพุทธศาสนา จัดทำหนังสือวิชาการพระพุทธศาสนา โดยนักปราชญ์หลายท่านเขียนขึ้น ประธานาธิบดีราธ กฤษนัน เขียนคำนำสดุดีพุทธคุณ ให้ชื่อว่า "2500 years of Buddhism" (๒๕๐๐ ปีแห่งพระพุทธศาสนา) ทั่วทั้งอินเดีย ก้องไปด้วยเสียง พุทธัง สรณัง คจฺฉามิ



พิธีพุทธชยันตีที่เดลี กับการสังเกตการณ์กิจการพระพุทธศาสนาในศรีลังกา


ในปีพ.ศ. ๒๔๙๓ เรื่องการจะเปลี่ยนมาสมาทานนับถือพระพุทธศาสนาของ ดร.อัมเบดการ์ชัดเจนแน่นอนยิ่งขึ้น เพียงแต่รอจังหวะเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น ในปีเดียวกันนี้ ท่านได้แนะนำให้บริวารชนของท่านจัดเฉลิมฉลองวันพุทธชยันตี ๗ มีการจัดงานดังกล่าวขึ้นในกรุงนิวเดลี ท่านเองก็ได้ไปร่วมงานนี้ด้วย

วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ชาวอินเดียในกรุงนิวเดลีก็ได้ชื่นชมกับขบวนแห่ของชาวพุทธเป็นครั้งแรกในรอบพันปีแต่พระพุทธสาสนาอันตรธานไปจากอินเดีย
 
ในช่วงปีนั้นเช่นกัน ดร.อัมเบดการ์ได้เขียนบทความชื่อ “พระพุทธเจ้ากับอนาคตของพระพุทธศาสนา (Buddha and the Future of His Religion)" ตีพิมพ์ในวารสาร “มหาโพธิ” ฉบับวิสาขบูชาของสมาคมมหาโพธิ เมืองกัลกัตตา(โกลกาตา) ในบทความนี้ท่านได้สรุปแนวคิดเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไว้ว่า “พระพุทธศาสนาเป็นเพียงศาสนาเดียวเท่านั้นที่ชาวโลกควรยอมรับนับถือเพราะพระพุทธศาสนาสอนทั้งหลักศีลธรรม อิสรภาพ สมภาพ และภราดรภาพ”

และในเดือนพฤษภาคมของปีนั้น(พ.ศ.๒๔๙๓) ดร.อัมเบดการ์ ได้รับเชิญให้เดินทางไปร่วมประชุมใหญ่ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ครั้งแรก ซึ่งจัดขึ้นในประเทศศรีลังกา ขณะพำนักอยู่ในศรีลังกา เป้าหมายหลักของท่านก็คือการเฝ้าสังเกตการณ์เรื่องการประกอบพิธีกรรม ได้ไปศึกษาวิธีการเผยแผ่พระศาสนาและการรักษาประทีปธรรมของพระพุทธเจ้าให้โชติช่วงมาจนถึงปัจจุบันโดยพระเถระชาวสิงหลและชาวพุทธสิงหล หลังกลับจากศรีลังกาแล้วดร.อัมเบดการ์จะเดินทางไป ณ สถานที่ใดก็ตามมักจะพูดถึงพระพุทธศาสนา ซึ่งมีทั้งอดีตอันรุ่งเรืองและมีอนาคตอันสดใสอยู่เนืองๆในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ดร.อัมเบดการ์ได้ประกาศว่า “ท่านจะอุทิศช่วงสุดท้ายของชีวิตเพื่อการฟื้นฟูและเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอินเดีย”

 
พิธีพุทธชยันตีกับปรัชญาสังคม

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นอีกครั้งหนึ่งที่มีการเฉลิมฉลองวันพุทธชยันตีกันด้วยความกระตือรือร้นและเลื่อมใสศรัทธาภายใต้การอุปถัมภ์ของ ดร.อัมเบดการ์นั่นเอง ขณะกล่าวปราศรัย ณ กรุงนิวเดลีซึ่งจัดโดยสมาคมมหาโพธิแห่งอินเดีย ท่านได้ประกาศว่า “แม้ว่าศาสนิกของสังคมฮินดูจะไม่ร่วมมือด้วย พวกเราสมาชิกของสังคมจัณฑาลทั้งมวล ก็จะเลือกทางเดินของตนเอง คือจะพยายามนำความรุ่งเรืองและเกียรติภูมิสูงส่งกลับมาสู่พระพุทธศาสนาในประเทศนี้อีกครั้งหนึ่ง”
 
ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ แจ่มแจ้งแน่นอนว่า การประกาศเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะอย่างเป็นทางการของ ดร.อัมเบดการ์นั้น เป็นแต่เพียงรอเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น บ่อยครั้งขึ้นที่มีผู้พบท่านเดินทางไปไหนมาไหนกับพระภิกษุและนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา ในบรรดาท่านเหล่านั้น ท่านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี ก็มีพระคุณเจ้า ดร.เอช.สัพธาติสสมหาเถระ๘พระคุณเจ้าภทันตะอานันทะ เกาศัลยายานมหาเถระ๙ พระคุณเจ้า แอลงอริยวังสมหาเถระ พระคุณเจ้าชคฑิศกัศปยมหาเถระ๑๐ และท่านมหาบัณฑิตราหุล สังกฤตยายัน๑๑ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้นี่เองพระพุทธศาสนาจึงกลายมาเป็นพื้นฐานปรัชญาชีวิตของท่าน

ดังที่ ดร.อัมเบดการ์ได้พูดถึง “ปรัชญาส่วนตัวของข้าพเจ้า” ออกอากาศ (ทางสถานีวิทยุ บี.บี.ซี) ไปเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่า
“ ทุกคนควรมีปรัชญาชีวิตสำหรับตนเอง เพราะทุกคนจะต้องมีมาตรฐานเป็นเครื่องมือสำหรับวัดเฉพาะตน และปรัชญาก็มิใช่อะไรอื่น ที่แท้ก็คือมาตรฐานซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับวัดสิ่งต่างๆนี่เอง”

ในแง่ลบ ข้าพเจ้าขอปฏิเสธปรัชญาทางสังคมของฮินดูตามที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ภควัทคีตาในเรื่อง “ตรีคุณ”๑๒ของปรัชญาสางขยะ ในข้อพิจารณาของข้าพเจ้าแล้วถือว่าปรัชญาเรื่องนี้ของท่านกปิละเป็นทัศนะวิปริตหยาบโลนที่สุด เพราะมันก่อให้เกิดการแบ่งชั้นวรรณะและระบบแห่งความไม่เท่าเทียมอย่างเรียงลำดับ เป็นกฎชีวิตทางสังคมของชาวฮินดู
 
ในแง่บวก ปรัชญาทางสังคมของข้าพเจ้าอาจสรุปรวมอยู่ในคำพูดเพียง ๓ คำ คืออิสรภาพ สมภาพ และภราดรภาพ ปรัชญาของข้าพเจ้านี้มีศาสนาเป็นฐาน มิใช่รัฐศาสตร์ ข้าพเจ้าได้ศึกษามาจากคำสั่งสอนของพระบรมครูของข้าพเจ้า คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #6248 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2555, 20:31:43 »

สวัสดีครับ คุณน้องหนุ๋งหนิ๋ง และชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                                เมื่อเย็นที่ผ่านมา พี่สิงห์มีลูกศิษย์มาเรียนโยคะ  ชิกง  อีกห้าท่าน  ทั้งห้าท่านนั้นน้ำหนักหนึ่งร้อยกว่ากิโลกรัม เป็นโรคอ้วน   เบาหวาน  ความดันและหลอดเลือดหัวใจ  เจ็บเข่า

                                 กรรมจริงๆ แต่ก็ดีใจครับ ภายหลังสอนรำชิกง  แต่ละคนได้เหงื่อพอสมควร  จึงสอนโยคะต่อ  ทำได้บ้าง  ไม่ได้บ้าง ไม่เป็นไรค่อยๆเริ่มต้น  พี่สิงห์ดีใจตรงที่ทุกคนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย

                                 ภายหลังสอนเสร็จก็ได้พูดคุย  ให้ฟังเรื่องสาเหตุแห่งการอ้วนมาจาก การกิน  ไม่ออกกำลังกาย  พักผ่อนน้อย และเครียด เลยสอนให้รู้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะขนมหวาน  น้ำอัดลม ผัดน้ำมัน  นอกจากนี้ได้สอนให้เจริญสติ

                                 ผมขอให้ทุกท่านเอาชนะใจตนเองเรื่องการกิน  ออกกำลังกายให้ได้  ขอให้ลดน้ำหนักแบบธรรมชาติ และรู้จักประมาณในการกิน และให้งดการกินข้าวมื้อเย็น ที่เป็นมื้ออันตรายต่อสุขภาพ  และขอให้มาว่ายน้ำทุกวันได้  จะขอบคุณมาก เพราะเดินมากคงไม่ไหว

                                 ทุกคนตั้งใจจริง และรู้ตัวว่าต้องพยายามทำให้ได้  และพรุ่งนี้เช้าจะมารำชิกง  โยคะ ต่อครับ

                                 ถ้าผมสามารถลดน้ำหนัดพวกเธอได้  คงจะดีไม่น้อยครับ

                                  ราตรีสวัสดิ์ทุกท่าน ครับ
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #6249 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2555, 21:27:36 »

พี่สิงห์คะ,
เวียนนาฝนตกคะ อากาศเย็นลง
วันนี้ทั่วทุกโบสถ์เค้าเปิดถึงเที่ยงคืนมีดนตรีในโบสถ์ด้วย
หนิงกะแฟนว่าจะแยกตัวไปชมตอนสี่ทุ่มคะ

พรุ่งนี้หลังทานเช้าเสร็จก็จะcheck outคะ
ขับรถกลับบ้าน 6 ชม.ค่ะ


ps.เค้าให้ใช้แค่ 15 นาทีคะ พิมพ์ช้าไม่ได้
เครื่องมันlock outเฉยคะพี่!

nn.
      บันทึกการเข้า


  หน้า: 1 ... 248 249 [250] 251 252 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><