28 มิถุนายน 2567, 12:44:40
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3330341 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #575 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 08:59:03 »

...เข้ามาอ่านของทุกท่านแล้วนะคะ...ให้ความรู้ดีมากๆค่ะ...
...เหยง...เมื่อก่อนพี่ตู่อยากเป็นเจ้าของโรงสี...เพราะอยากรวยอย่างเค้าบ้าง...
...แต่ฟังเหยงพูดแล้ว...คงไม่ต้องเสียดายแล้วเนอะ...
...เป็นอย่างทุกวันนี้ดีแล้วหล่ะ...
...ฟังพี่สิงห์คุยเรื่องบ้านสมัยก่อน...ตู่ก็อยากใช้ชีวิตแบบนั้นค่ะ...
...ทุกวันนี้ก็บ่นกับหมอเรื่อยว่าที่โลกมันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม...
...ก็เพราะมนุษย์ใช้ชีวิตแบบผิดธรรมชาติ...
...โลกมันไฮเทค...มีตึกสูงเยอะๆ...มีแอร์เยอะๆ...ขยะเยอะๆ...
...มันก็เป็นสาเหตุที่ทำให้โลกร้อน...และน้ำท่วมตามมา...
...อยากกลับไปมีชีวิตแบบปู่ย่าตายายเรา...
...ทำนา..เลี้ยงควาย..หาปู..หาปลา...แบบสมัยก่อนนี้ก็ไม่ได้แล้ว...
...ทุกวันนี้นั่งอยู่ในบ้านก็ต้องติดสัญญานกันขโมย...
...อึดอัดพอดูค่ะ...
...วันนี้ขอบ่นแค่นี้ค่ะ...
...พี่สิงห์คะ...วีนคงหมายความว่าบ่นน่ะค่ะ...แต่อาการคงหนักกว่า...
...คืออาจมีการโล้งเล้งออกมาด้วย...ไม่แน่ใจว่าถูกหรือเปล่าค่ะ...
...คิดว่าตัวเองก็วีนคนบ่อยเหมือนกันค่ะ...เวลาอารมณ์ไม่ดีๆ...
...และพยายามจะไม่วีนใครค่ะ...เพราะหลังจากวีนแล้ว...เราจะมีศัตรูเพิ่มขึ้นค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #576 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 14:10:06 »

พี่ตู่ครับ

มันเป็นยุดสมัยครับ ตั้งแต่ปี 2542 โรงสีมีโอกาสรับใช้สังคมไทยในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล
โดยทำการรับข้าวเปลือกจากชาวนา เพื่อแปรรูปเป็นข้าวสารชนิดต่างๆ แล้วรับค่าจ้างเป็น"รำและปลายข้าว"
ไปในมูลค่า 450 บาทตือ 1 ตันข้าวเปลือก(หรือ 1 เกวียนข้าวเปลือกนั่นแหละ) ให้ไปขายเอาเอง หากได้น้อยกว่านี้
รัฐเพิ่มให้เป็น 450 บาท และยังแถมแกลบซึ่งแต่เดิมต้องเผาทิ้ง แต่เมื่อมีโรงไฟฟ้าพลังความร้อน และโรงกระดาษดับเบิ้ลเอ
ซึีงใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงช่วยได้ โรงสีก็ถูกหวย ขายแกลบ 1 คันรถสิบล้อในราคา 5,000 บาท หรือพ่วงละ 10,000 บาท

โรงสีจึงตั้งขึ้นมาเกลื่อนเมือง จากคนที่ไม่รู้เรื่องโรงสี แต่มองออกว่า โรงสีหากินกับรัฐบาลในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกได้
จึงมองหาที่ดินอย่างน้อย 200 ไร่ ติดถนนดำ(ถนนลาดยางมะตอย) โดยมีด้านหน้าไม่น้อยกว่า 200 เมตรติดถนน
สร้างตัวอาคารโรงสี พร้อมเครื่องสีข้าว สำนักงานพร้อมบ้านอย่างหรู ลานตากขนาด 50-100 ไร่(ส่วนที่เหลือจากอาคาร)
โดยธนาคารให้วงเงิน 200-300 ล้าน Make asset จากมูลค่าที่ดิน อาคาร เครื่องจักรสีข้าว ซึ่งอยู่ประมาณ 80-120 ล้าน
รับส่วนต่างจาก 200 ล้านไป โดยจ่ายค่าทำคำเสนอกู้ให้ฝ่ายสินเชื่อ 5-10% ของวงเงิน
ส่วนต่างที่ได้แทนที่จะเอาไว้เป็นทุนซื้อข้าวเปลือกเพื่อสีและหมุนเวียน กลับนำไปซื้อรถยนต์นั่งสุดหรู ไปทัวร์ ไปช๊อปปิ้ง
แล้วรอเข้าโครงการรัฐบาล ไม่คิดจะค้าขายเอง และเอาเปรียบเกษตรกรด้วยการโกงน้ำหนัก โกงความชื้นอีกต่างหาก
ดังจะได้ยินเสมอว่า ชาวนาบ่นเรื่องน้ำหนักขาด เมื่อเอาข้าวไปเข้าโครงการ เจ้าหน้าที่ของรัฐเฉยเพราะมีส่วนแบ่งให้
กลับกัน รัฐให้สีข้าวเปลือกเพื่อส่งข้าวสาร ซึ่งโรงสีได้"รำและปลายข้าว"เป็นค่าจ้าง แถม"แกลบ"เอาไว้ขายอีกต่างหาก
ก็โกงข้าวสารด้วยการสีข้าวสารผิดชนิดส่ง เช่นให้ส่งข้าว 5% ก็สีข้าว 25% ส่งให้แทน ด้วยรู้เห็นเป็นใจกับ จนท.
10 กว่าปีไม่คิดพัฒนาโครงสร้างและการค้า และเชื่อว่า โครงการจำนำข้าวจะต้องอยู่คู่ประเทศไทยไปจนฟ้าดินสลาย !!
แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง แผลมันเกิดฝีแตก เมื่อคนที่อิงการเมืองตั้งบริษัทค้าข้าวสารขึ้นมารองรับเพื่อซื้อข้าวในโครงการจำนำ
ไปขายต่อเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับพรรคพวกและครอบครัวตัวเอง ชื่อบริษัทเปรสซิเด้นท์ (ชื่อในทำนองนี้)
ประมูลได้ทุกล๊อต ทุกโกดังของรัฐ ในราคาถูก เพื่อนำเงินกำไรไปเป็นต้นทุนในการเล่นการเมืองของพรรครัฐบาลในช่วงนั้น
พบว่า ข้าวสารผิดสเปคมาก ได้ไปทำกำไรไม่คุ้ม จึงอาศัยอำนาจรัฐรื้อระบบการรับจำนำ ซึ่งดำเนินมานานนับสิบปี
เงินลงทุนในโครงการกว่า 4 แสนล้านบาทของรัฐ เพื่อรับจำนำข้าว แล้วขายให้เอกชนถูกๆ ผ่านไปสิบกว่าปี
เหลือไม่ถึง 2 หมื่นล้านบาท นี่แหละสุภาษิต "ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน ของหลวงกินตั้งนานก็ไม่หมด" กินได้ทุกปีเลย !!
จนรัฐบาลนี้ซึ่งเข้ามารับมรดกต้องยอมเลิก เพราะหาเงินป้อนเข้าระบบต่อไปไม่ไหวอีกแล้ว และมีหนี้ต้องกู้ต่างประเทศ
จึงเปลี่ยนระบบเป็น"โครงการประกันราคา" ด้วยการให้เกษตรกรนำไปขายยังแหล่งการค้า หากได้ราคาผิดไปจากราคาที่รัฐประกัน รัฐจะจ่ายส่วนต่างให้แทน ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็ใช้วิธีนี้ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 (ย้ำ ปี พ.ศ. 2459 ตรงกับรัชกาลที่ 7)
แต่เราไม่ทำตามเขา ทั้งๆที่คนไทยเดินตามตูดสหรัฐอเมริกามาโดยตลอด เพราะมันหาเศษ-หาเลยไม่ได้นั่นเอง

มีอีกตัวหนึ่งที่สร้างความเสียหายให้กับรัฐฐาลเป็นอย่างมากในโครงการรับจำนำ และตราหน้าคนไทยว่า "โครตโกง ไว้ใจไม่ได้"
คือ โกดังรับฝากสินค้าในโครงการรับจำนำ ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาร ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันเส้น แป้งมันสำปะหลัง เมล็ดกาแฟ ฯ
คนไทยเป็นพวกแมวขโมย คือรับฝากของเพื่อรับสินจ้าง แล้วยังขโมยของที่ฝาก รวมทั้งสับเปลี่ยนของฝากนั้นด้วย
ตัวอย่างเช่น ข้าวสาร ฝากในโกดังเป็นข้าวขาว 5% ก็แอบเปลี่ยนของเป็นข้าวปลาย 25% ซึ่งภาระจะตกกับผู้ประมูลซื้อ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เกรด 2 ก็แอบเอาออกไปขาย แล้วหาข้าวโพดเกรดส่งออก ซึ่งคุรภาพต่ำและราคาถูกกว่าเข้ามาเก็บแทนที่
ลำใยอบแห้ง เกรด AA จาำกเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ใส่กล่องเข้าโกดังรับค่าฝากทุกเดือน รอผู้ประมูลมาประมูลซื้อไป
ผู้ประมูลเปิดกล่องเจอลำใยอบแห้ง เม็ดขนาดเล็ก เกรด C อยู่ในกล่อง, บางรายโชคดีเปิดมาเจอแต่กล่องเปล่า ไม่มีลำใย
ผีหลอกกันในเวลากลางวัน อคส. หรือ อตก. ในฐานะผู้ทำโครงการของรัฐ รับเงินค่าประมูลซื้อแล้ว บอกแต่ แบ๊ะ แบ๊ะ ไม่รู้
เรื่องมันจึงเกิด แบบเดียวกับสัปรดกระป๋อง เก็บไว้ในโกดัง ผู้ประมูลได้เปิดกล่องมา มีแต่กล่องกับกระป๋องเปล่า
ลูกใครหว่า !! ?? ทำได้ขนาดนี้..โครงเก่งเลย
เจ็บกว่านี้คือ เจ้าของโกดังรับฝาก ขโมยเปิดโกดังเอาข้าวสารทั้งหมดออกขาย โดยไม่รู้ไม่ชี้ทั้งสิ้น
ดังที่เคยเป็นข่าวในจังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา คดียังอยู่ในชั้นสอบสวน ไม่ขยับไปไหน ไม่ทราบเพราะอะไร
รัฐสูญเสียเงินซื้อข้าวและสินค้าเกษตรอื่นๆในโครงการรับจำนำ ฝากไว้กับโกดังโดยจ่ายค่าฝากรายเดือน
แต่เมื่อออกสินค้ามีแต่ลมหรือสินค้าถูกเปลี่ยน มีแต่ของเสื่อคุณภาพ ความเสียหายมากมาย แต่จับมือใครดมไม่ได้
เกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย ผู้ผลิตสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลก เกิดอะไรกับเกษตรกรชาวไทย
เพลงที่เราเคยฟังมาในช่วงเป็นเด็กว่า "..ไทยจะเรืองอำนาจ เพราะเราเป็นชาติเกษตรกรรม.."  เป็นจริงหรือ ??

 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #577 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 15:39:14 »

เมื่อสักครู่ออกไปตลาดด่วนครับ

เนื่องจากมีตัวแทนชาวบ้านจาก ตำบลหัวดงเหนือ ลุยน้ำออกไปที่ตลาดเพื่อขอความช่วยเหลือ เนื่องจากเมื่อคืนฝนตกหนัก
บวกกับน้ำที่ท่วมขังอยู่เดิมจนน้ำท่วมอยู่ระดับอก ทั้งหมู่บ้านขัดสนมาก ไม่มีใครไปมอบสิ่งของช่วยเหลือ จึงลุยน้ำออกมา
ทราบว่า ส่วนราชการจะเข้าไปในวันพรุ่งนนี้ แต่อาจไม่เพียงพอ จึงระดมเพื่อช่วยกันครับ

ผมเลยออกไปซื้อข้าวสาร "ข้าวเสาไห้" ถุงละ 5 กก.สมทบไปด้วย 20 ถุง เสร็จก็กลับมาโพสต์ต่อนี่แหละ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #578 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 16:36:47 »

สวัสดีคุณเหยง
                       ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลโรงสี่ข้าว ครับ ผมก็สงสัยเหมือนกันทำไมโรงสีเกิดขึ้นแยะมาก ผมจำได้ว่าสมัยพ่อผมการจะมีโรงสีข้าวได้ต้องขออณนุญาติและจำกัดจำนวนคือไม่ให้มีมากเกินไป
                       พ่อ-แม่ผมภายหลังจากเที่ยวสุกท้ายที่แจวเรือเอี้ยมจุ้นนำกรวดไปขายที่กรุงเทพฯ พ่อฝันว่าหลวงพ่อหินที่วัดซึ่งพ่อผมเป็นคนสร้างโบสถ์กับศาลาวัดมาเข้าฝัน ให้เลิกอาชีพ ขนกรวดไปขายกรุงเทพฯเพราะลูกๆจะไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะต้องตะลอนไปกับเรือ ดังนั้นขากลับพอพ่อผมได้เงินจากการขายกรวดก็ซื้อโรงสีเล็กเครื่องรัสตันหนึ่งกระบอกสูบแนวตั่งกลับมา โดยที่แม่ผมซึ่งดูแลลูกๆ ทำขนมไทยขายในตลาดไม่ว่าอะไร พ่อเลิกเรือโดยเด็ดขายและได้ขายให้กับน้องสาวแม่ ผลคือน้องสาวแม่ยังรับจ้างขนสินค้าทางเรือเอี้ยวจุ้น ลูกๆไม่มีโอกาสเรียนหนังสือเลย ต้องมาฝากที่บ้านหรือก็ให้บวชเณรเพื่อเรียนนักธรรม สำหรับลูกผู้ชายสองคนส่วนลูกผู้หญิงอยู่กับพ่อแม่ในเรือ พอโลกเปลี่ยนภายหลังจากสร้างเขื่อนเจ้าพระยาและมีถนนอาชีพรับจ้างขนสินค้าทางเรือไปกรุงเทพฯ ซึ่งส่วนใหญ่คือข้าวสาร จบเห่รวมทั้งร่อนกรวดในแม่น้ำเจ้าพระยาอาชีพพ่อ-แม่ผมก็จบสิ้นเพราะมีโรงโม่หินเกิดขึ้นแล้ว ส่วนพ่อผมก็ทำโรงสีตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา รับจ้างสีข้าวให้ชาวบ้านในหมู่บ้าน คือข้างเปลือกสิบถังจะสีเป็นข้าวสารได้สี่ถัง หรือข้าวเปลือกร้อยกิโลจะสีได้ข้าวสารหกสิบกิโล ที่เหลือเป็นของโรงสี รวมทั้งแกลบ ลำข้าวปลายข้าว แม่บอกว่าทำโรงสีก็ดีกว่าเดิม คือมีรายได้โดยเฉลี่ย 300 บาทต่อวัน และทำให้ไม่ต้องมีชีวิตในเรือ มีบ้านเป็นหลักแหล่ง ต่อมาพ่อผมก็เพิ่มรับจ้างหีบอ้อยด้วย และมีโรงต้มน้ำอ้อยให้เป็นน้ำตาลปีป และน้ำอ้อยงบเวลาน่าอ้อย ตอนนั้นผมจำได้เพราะผมไปเรียนโรงเรียนก่อนวัยเรียนที่บ้านครูนา-ยายเนียมเพื่อเรียน ก.กา เขียนตัวหนังสือจากกระดานชนวน ก่อนที่จะเข้าโรงเรียน แม่ไม่เคยซื้อของกินเลย เพราะมีแม่เป็นแม่ค้าขนมไทย ทำเองหมด บ้านริมแม่น้ำเจ้าพระยาสบาย อาบน้ำก็แก่ผ้ากระโดดลงแม่น้ำเลย น้ำใช้ก็ใช้แม่น้ำส่วนน้ำกินต้องไปตักจากบ่อที่วัดลึกยี่สิบเมตรใสแจ๋ว ริมแม่น้ำพ่อปลูกมะขามเทศเรียงเป็นแนวกันตลิ่งพัง มะขามเทศอร่อยมาก ผมจึงขึ้นต้นไม้เก่งมาแต่เล็ก
                           จบก่อนครับรีบไปงานศพที่ชลบุรี สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Kaimook
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,132

« ตอบ #579 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 17:12:41 »

 สวัสดีค่ะพี่สิงห์...ตามอ่านเรื่องดีๆจากพี่สิงห์  พี่เหยง พี่ป๋อง น้องดร.มนตรีค่ะ ...
ดีใจที่พี่สิงห์สุขภาพดีขึ้นค่ะแต่อย่่าพึ่งหักโหมงานมากนะคะให้หายดีก่อนค่ะ...
ไปเมืองชล เดินทางปลอดภัยนะคะ...
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #580 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 17:17:37 »

สวัสดีจ๊ะ น้องน้ำอ้อย

อย่าอ่านจนเพลิน ลืมงาน-ลืมการไปเสียล่ะ
      บันทึกการเข้า
Kaimook
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,132

« ตอบ #581 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 17:42:20 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 26 ตุลาคม 2553, 17:17:37
สวัสดีจ๊ะ น้องน้ำอ้อย

อย่าอ่านจนเพลิน ลืมงาน-ลืมการไปเสียล่ะ
ขอบคุณค่ะพี่เหยง   ......ว่าแล้วน้ำอ้อยขอตัวก่อนค่ะไปเป็นแจ๋วเตรียมอาหารให้คุณลูกก่อนนะคะ...
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #582 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 18:02:59 »


พี่สิงห์ครับ

แต่ก่อน โรงสีจะจำกัดไว้ที่ 10 บ้าง 20 บ้าง ใหญ่สุด 50 เกวียนต่อวัน ก็โอ่โถง ใหญ่โตแล้ว
เดี๋ยวนี้ 1000 เกวียนต่อวัน ก็มีครับ โดยมีเหตุผลประกอบคือ
โรงสีที่มีกำลังสีสูง เช่น 500 เกวียนต่อวัน ก็จะเข้าร่วมโครงการรับจำนำได้มากกว่าโรงสี 100 เกวียนต่อวันเป็นที่แน่นอน
โดยรัฐให้รับข้าวเปลือกได้ 3 เท่าของกำลังสีแปรรูป 500 เกวียนต่อวัน ก็รับได้ 1500 เกวียนนั่นเอง
1 เกวียนข้างเปลือกสีได้ข้าว 11 หาบ(660 กก.) ที่เหลือเป็น"รำและปลาย" มีมูลค่า 450 บาท ไม่รวมแกลบ
500 เกวียนสีเป็นข้าวสารส่งโกดัง ที่เหลือเป็น"รำและปลายข้าว"ไปขายได้ถึง 500 X 450 = 225,000 บาท(ตัวเลขสวยจัง)
แล้วใครมันจะไม่ลงทุนละครับ ปีหนึ่งปลูก 3 ฤดู คือเป็น 3 นาปรัง, หากเป็น 2 ฤดู จะเป็น 1 นาปีและ 1 นาปรัง
กระทรวงเกษตรสหรัฐ หรือ USDA พยากรณ์ว่า ไทยปลูกข้าวเป็นข้าวเปลือก 26 ล้านตัน(เกวียน)
หากเข้าระบบทั้งหมด 26 ล้านตัน ๆ ละ 450 บาท ค่าสีคือ 11,700 ล้านบาท ตัวเลขไม่น้อยครับ-ปากมันเชียว !! ??

มีข้อแตกต่างเรื่องพันธุ์ข้าวไทยกับสหรัฐครับ คือ
ของไทย โคนรวงข้าวจะแก่และสุก ส่วนปลายรวง ข้าวยังไม่เข้าเม็ดและอ่อน ผิดกับข้าวสหรัฐที่จะเสมอกันทั้งรวง
อัตราสีข้าวไทย 1 เกวียนได้เนื้อข้าว 11 หาบหรือ 660 กก.; ของสหรัฐจะได้ 720 กก.ครับ ต่างกันถึง 1 หาบหรือ 60 กก.

ในระบบจำนำข้าว มีหลายๆโรงสี ตั้งโกดังรับฝากข้าวสารด้วย เรียกว่า สีเอง-ส่งเข้าโกดังของตัวเองเพื่อเก็บ
เรียกว่า ได้รายได้  2 ต่อทั้งจากการสีแปรรูปและค่าเช่าเก็บ กระสอบละ 2 บาทต่อเดือน
ยกตัวอย่าง โกดังหลังเล็กๆ หลังหนึ่งใส่ข้าวสารได้ 50,000 กระสอบ จะได้ค่าฝากเดือนละ 100,000 บาท ปีละ 1,200,000 บาท
แต่่มีโกดังที่สามารถใส่ข้าวสารได้มากกว่า 200,000 กระสอบต่อหลัง ถามว่าได้ค่าฝากเดือนละเท่าใด ปีละเท่าใด
และส่วนใหญ่ข้าวสารจะอยู่ในโกดังมากกว่า 2 ปี จึงจะมีการขายออกไป และปัจจุบันมีข้าวสารปี 2548 อยู่ในโกดังครับ
บางรายมีโกดัง 2-3 หลัง บางรายมากกว่านั้น รับทรัพย์กันปากมัน-ตีนบวมไปเลย

ยังไม่จบครับ มี 3 เด้งด้วย ไม่ลืมนะครับว่าเด้งแรกคือ ค่าสีแปรสภาพเป็นข้าวสาร 450 บาทต่อตันข้าวเปลือก ไม่รวมแกลบ(ของฟรี)
เด้งที่สองคือ ค่าฝากเก็บข้าวสาร กระสอบละ 2 บาทต่อเดือน จนกว่าจะถึงวันขนย้ายออกไป
เด้งสามคือ เป็นผู้ส่งออกหรือผู้ค้าข้าว ที่ประมูลซื้อข้าวสารในโกดังนี่แหละ ตัวเงิน-ตัวทองเลยครับ
ทุกครั้งที่มีการประมูล จะมีการโวยวายและใส่ความกันแหกราญ เพราะผลประโยชน์ในการประมูลซื้อข้าวสารนี่แหละ
เมื่อเดือนมีนาคม 2553 ที่ผ่านมา รัฐบาลชุุดนี่้จะขายข้าวสารในโครงการออกไป โดยระบุว่าจะขายข้าวสารปี 2552 ที่เพิ่งเก็บปีที่แล้ว
ส่วนที่เก็บเข้าในปีก่อนๆ ยังไม่ขาย ไม่ทราบเพราะเหตุใด ไม่ใช้กฎ first in first out จะปล่อยให้ของเข้าปีก่อนไเสื่อสภาพหรือไร ??
ก็เพราะ ของปี 2552 สดใหม่และราคาดี จึงขอซื้อแบบเหมาทุกชนิดคือ ข้าวสารตันละ 13,500 บาท หรือ กก.ละ 13.50 บาทนั่นแหละ
ซึ่งในเดือนมีนาคม 53 ข้าวหอมมะลิ กก.ละ 36.00 บาท, ข้าวขาว 5% กก.ละ 24.00 บาท ส่วนข้าวสารเหนียว 40.00 บาท
เห็นราคาแตกต่างไหม ?? ว่าพรรคการเมืองที่คุมกระทรวงพาณิชย์จะได้ส่วนต่างเท่าไร จึงมีเหตุการณืทะเลาะกับ รองนายกฯพรรคประชาธิปัตย์ไง
ขายข้าวสารถูก ไม่ใช้ว่าพวกเราจะได้กินของถูกนะครับ ราคาซื้อข้าวในตลาด เราก็จ่ายเท่าเดิม
รัฐรับจำนำ(ซื้อ)ข้าวเปลือกจากชาวนา เกวียนละประมาณ 12,000 บาท เพื่อนำไปสีแปรสภาพ ซึ่งได้ข้าวเพียง 11 หาบ
แต่รัฐขายข้าวสารออกแบบเหมาในราคาตันละ 13,500 บาท คิดเป็นคณิตศาสตร์คือ รัฐบาลเจ๊งแบบไม่ต้องคิดมาก แล้วใครรวย??
หรือประชาชนได้ซื้อข้าวสารราคาถูกบริโภค.......คงต้องรอรัฐบาลยุคพระศรีอารย์นั่นแล

เห็นไหนล่ะ คิดจะมีโรงสีเมื่อ่ 10 ปีก่อน ต้องมีโกดังรองรับข้าวสาร และเป็นผู้ค้าหรือส่งออกข้าวสารด้วย มันจึงจะครบสูตร ร่ำรวย ร่ำรวย

นี่คือระบบโครงการรับจำนำข้าวของไทยที่ผ่านมา เชื่อหรือยัง "ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน ของหลวงกินตั้งนานก็ไม่หมด"

ยังไม่จบนะครับ เพราะผม"หิวข้าว"แล้ว

  
      บันทึกการเข้า
Khun28
Full Member
**


ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2528
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์
กระทู้: 784

« ตอบ #583 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 18:53:27 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 26 ตุลาคม 2553, 16:36:47
สวัสดีคุณเหยง
                       ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลโรงสี่ข้าว ครับ ผมก็สงสัยเหมือนกันทำไมโรงสีเกิดขึ้นแยะมาก ผมจำได้ว่าสมัยพ่อผมการจะมีโรงสีข้าวได้ต้องขออณนุญาติและจำกัดจำนวนคือไม่ให้มีมากเกินไป
                       พ่อ-แม่ผมภายหลังจากเที่ยวสุกท้ายที่แจวเรือเอี้ยมจุ้นนำกรวดไปขายที่กรุงเทพฯ พ่อฝันว่าหลวงพ่อหินที่วัดซึ่งพ่อผมเป็นคนสร้างโบสถ์กับศาลาวัดมาเข้าฝัน ให้เลิกอาชีพ ขนกรวดไปขายกรุงเทพฯเพราะลูกๆจะไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะต้องตะลอนไปกับเรือ ดังนั้นขากลับพอพ่อผมได้เงินจากการขายกรวดก็ซื้อโรงสีเล็กเครื่องรัสตันหนึ่งกระบอกสูบแนวตั่งกลับมา โดยที่แม่ผมซึ่งดูแลลูกๆ ทำขนมไทยขายในตลาดไม่ว่าอะไร พ่อเลิกเรือโดยเด็ดขายและได้ขายให้กับน้องสาวแม่ ผลคือน้องสาวแม่ยังรับจ้างขนสินค้าทางเรือเอี้ยวจุ้น ลูกๆไม่มีโอกาสเรียนหนังสือเลย ต้องมาฝากที่บ้านหรือก็ให้บวชเณรเพื่อเรียนนักธรรม สำหรับลูกผู้ชายสองคนส่วนลูกผู้หญิงอยู่กับพ่อแม่ในเรือ พอโลกเปลี่ยนภายหลังจากสร้างเขื่อนเจ้าพระยาและมีถนนอาชีพรับจ้างขนสินค้าทางเรือไปกรุงเทพฯ ซึ่งส่วนใหญ่คือข้าวสาร จบเห่รวมทั้งร่อนกรวดในแม่น้ำเจ้าพระยาอาชีพพ่อ-แม่ผมก็จบสิ้นเพราะมีโรงโม่หินเกิดขึ้นแล้ว ส่วนพ่อผมก็ทำโรงสีตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา รับจ้างสีข้าวให้ชาวบ้านในหมู่บ้าน คือข้างเปลือกสิบถังจะสีเป็นข้าวสารได้สี่ถัง หรือข้าวเปลือกร้อยกิโลจะสีได้ข้าวสารหกสิบกิโล ที่เหลือเป็นของโรงสี รวมทั้งแกลบ ลำข้าวปลายข้าว แม่บอกว่าทำโรงสีก็ดีกว่าเดิม คือมีรายได้โดยเฉลี่ย 300 บาทต่อวัน และทำให้ไม่ต้องมีชีวิตในเรือ มีบ้านเป็นหลักแหล่ง ต่อมาพ่อผมก็เพิ่มรับจ้างหีบอ้อยด้วย และมีโรงต้มน้ำอ้อยให้เป็นน้ำตาลปีป และน้ำอ้อยงบเวลาน่าอ้อย ตอนนั้นผมจำได้เพราะผมไปเรียนโรงเรียนก่อนวัยเรียนที่บ้านครูนา-ยายเนียมเพื่อเรียน ก.กา เขียนตัวหนังสือจากกระดานชนวน ก่อนที่จะเข้าโรงเรียน แม่ไม่เคยซื้อของกินเลย เพราะมีแม่เป็นแม่ค้าขนมไทย ทำเองหมด บ้านริมแม่น้ำเจ้าพระยาสบาย อาบน้ำก็แก่ผ้ากระโดดลงแม่น้ำเลย น้ำใช้ก็ใช้แม่น้ำส่วนน้ำกินต้องไปตักจากบ่อที่วัดลึกยี่สิบเมตรใสแจ๋ว ริมแม่น้ำพ่อปลูกมะขามเทศเรียงเป็นแนวกันตลิ่งพัง มะขามเทศอร่อยมาก ผมจึงขึ้นต้นไม้เก่งมาแต่เล็ก
                           จบก่อนครับรีบไปงานศพที่ชลบุรี สวัสดี

ต้นมะขามเทศ หนามเยอะนะครับ 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #584 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 19:58:38 »

ฝึกโยคะ หลังทานข้าวครับ...เดี๋ยวจะกลับมาต่อ

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=2dPJgTICq8E" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=2dPJgTICq8E</a>
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #585 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 21:48:23 »

มาต่อครับกับโครงการจำนำข้าว ฉบับคนขายชาติ

เพื่อให้ตัวเองร่ำรวยจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล

โรงสี   ก็จะพยายามทำเรื่องกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อขยายโรงงาน หรือกำลังสีให้ได้จำนำเกวียนต่อวันเพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่ง
          จำนวนข้าวเปลือกที่จะรับเข้าโรงสี พร้อมวิ่งให้ อคส. และ อตก. กำหนดสเปคโรงสีเพิ่มเติมเช่น ต้องมีเครื่องอบลดความชื้น
          เพิ่มจากการมีลานตากข้าวอย่างเดียว ซึ่งเป็นกลยุทธกันโรงสีข้างเคียงเข้าร่วมโครงการ เพื่อสร้างรายได้เพียงคนเดียว สารพัด
          นำมาตั้งหลักเกณฑ์ โดยอ้างว่า เครื่องอบช่วยอบข้าวเปลือกได้ทุกฤดู ซึ่งชาวนามักเก็บเกี่ยวสดมีความชื้นสูง ทำงานได้ตลอดเวลา
          เป็นข้อดีหากรับโรงสีประเภทนี้เข้าโครงการ ดีกว่าโรงสีเก่าซึ่งมีขนาดเล็ก บริเวณไม่กว้างขวาง มีแต่ลานเล็กๆ ไม่สามารถตั้งเครื่อง
          อบลดความชื้น เข้าโครงการก็รับข้าวเปลือกไม่ได้มาก ข้าวเปลือกชื้นก็รับเข้าโรงสีไม่ได้มาก ต้องหาโรงสีจำนวนมากมารองรับ
          โครงการ อันเป็นเรื่องยุ่งยาก

โกดัง  ก็เช่นกัน เจ้าของโกดังก็ขอให้ อคส. และ อตก. กำหนดสเปคเพิ่มเติมเช่น อาคารโกดังต้องเป็นอาคาร คสล. หลังคาเป็นแผ่น
          เมตัลชีทมุง ห้ามใช้สังกะสีหรือกระเบื้อง และไม่รับอาคารโกดังที่เป็นไม้ โดยให้เหตุผลว่า อาคารเป็นไม้จะเกิดไฟไหม้ ส่วนหลัง
          คากระเบื้องมักแตกหรือสังกะสีจะเก่าและผุ น้ำรั่วลงในโกดัง ผิดกับแผ่นเมตัลชีทซึ่งเป็นเหล็กอาบสังกะสีแผ่นยาว ไม่มีรอยรั่ว
          และไม่ผุ ดังนั้น โกดังเก่าซึ่งเป็นอาคารสร้างด้วยไม้ มีขนาดเล็กจุสินค้าได้ไม่มาก อาจเกิดไฟไหม้ หรือน้ำฝนรั่วไหลลงในโกดัง
          สร้างความเสียหายให้สินค้าในโกดังได้ ในขณะที่โกดังสร้างใหม่อยู่ในสเปคร้อยเปอร์เซ็นต์
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #586 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 22:20:46 »

โรงสี โกดัง มีส่วนในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกแล้ว ยังมีเกษตรกร ที่มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

เกษตรกรชาวนาเป็นหนึ่งในโครงการฯ ซึ่งหากไม่มีเกษตรกรชาวนาผู้ปลูกข้าวแล้ว โครงการรับจำนำข้าว ฉบับคนขายชาติ ย่อมไม่เกิด

รัฐบาลยุคประชานิยม เอาใจเกษตรกรชาวนาเนื่องจากเป็นผู้ลงคะแนนหลักในการเลือกตั้ง อีกทั้งคนของรัฐเองก็ตั้งบริษัททำการส่งออกข้าวสารไว้เพื่อรอประมูลข้าวสารในโครงการฯออกมาขายทำกำไร เอารายได้ไว้เกื้อหนุนการเมือง ส่งผลให้เกษตรกรชาวนาผู้ปลูกข้าว พากันปลูกข้าวอย่างไม่มีข้อจำกัด (ในอดีตเกษตรกรจะปลูกข้าวนาปีในเดือนสิงหาคม และเก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไปจนเสร็จ และพื้นที่ใดมีน้ำก็จะปลูกข้าวนาปรังในเดือนพฤศจิกายน และไปเก็บเกี่ยวในเดือนมีนาคม ปีถัดไป นั่นคือ ปีหนึ่งได้นาปี 1 ครั้ง และนาปรังอีกหนึ่งครั้ง-ในกรณีมีแหล่งน้ำ) ปลูกกันปีละ 3 ครั้ง ชนิดปลูกหน้าแล้ง ไปเก็บเกี่ยวกลางฝน โดยไม่เกรงกลัวฟ้าฝน เพราะโรงสีใหม่ๆ มีเครื่องอบลดความชื้นนั่นเอง ขอเพียงปลูกข้าวและเก็บเกี่ยวให้ได้เท่านั้นเป็นพอ ที่เหลือให้นำข้าวเปลือกไปเข้าโครงการรับจำนำที่โรงสี ไม่เกิน 15 วันก็ไปรับเงินที่ ธกส. ได้แล้ว

รัฐบาลในขณะนั้น ยังให้เกษตรกรสามารถปลูกและนำ(ขาย)ข้าวเปลือกเข้าโครงการรับจำนำ ได้ฤดูละ 500,000 บาท ส่งผลให้เกษตรกรเร่งเพาะปลูกข้าวแบบ unlimitted ซึ่งรายได้ฤดูละ 500,000 บาท ก็เกินรายได้ขั้นต่ำที่ต้องแสดงแบบเสียภาษีอากร ตาม ภงด.9 แล้ว และถ้าปลูกข้าวและเข้าโครงการปีละ 3 หน ย่อมเกินยอดขั้นต่ำของรายได้พึ่งประเมิน แต่รัฐก็ห้ามกรมสรรพากรเข้ามายุ่งกับโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรทุกตัว โดยอ้างว่าเป็นโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร แต่ลึกๆ มันเป็นแหล่งรายได้ของใครก็ไม่รู้ ดังนั้นเงินต้นนับแสนล้านใช้ไปใม่นาน เหลือเงินเพียงสองหมื่นล้านกว่าเท่านั้น

เกษตรกรชาวนาผู้ปลูกมีเพียงใบรับรองความเป็นเกษตรกร ก็สามารถนำข้าวเปลือกจำนวนเท่าใดก็ได้ไปส่งโรงสี มีเพียงว่า ให้รับจำนำรายละไม่เกิน 500,000 บาทเท่านั้น ดังนั้น ต้นฤดูของการปลูกข้าวแต่ละครั้ง เกษตรกรจะไปขอใบรับรองความเป็นเกษตรกรไว้เป็นเบื้องต้น และนี่เป็นช่องว่างใหญ่ที่ไม่มีใครมองเห็นมาก่อนนั่นคือ เกษตรกรชาวนาอาจจะไม่ปลูกข้าวในฤดูนั้นจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม แต่สามารถใช้ใบรับรองนั้นนำข้าวเปลือกซึ่งตัวเองไม่ใช่เป็นคนปลูก เข้าโครงการรับจำนำได้ เป็นการสวมใบรับรองนั่นเอง ผลจากกรณีนี้คือ บรรดาโรงสีใหม่ๆนั่นแหละ ที่ออกหาซื้อข้าวเปลือกที่ปลูกในประเทศลาว เขมร พม่า เข้ามาแล้วซื้อใบรับรองความเป็นเกษตรกรและให้ชาวนาเป็นคนนำข้าวเปลือกไปเข้าโครงการ และรับเงินให้โรงสีซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง นี่คือสิ่งที่ไปกระตุ้นให้เกษตรกรชาวนาในประเทศเพื่อนบ้านพากันปลูกข้าว เพื่อขายเข้ามาในประเทศไทย เพราะจะได้ราคาดีเนื่องจากมีราคารับซื้ออย่างชัดเจนในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนั่นเอง

โดยสรุป เกษตรกรชาวนา ก็เป็นเหมือนดาบสองคมเช่นกัน หาใช่คนโง่ไม่รู้เรื่อง ดังที่หลายๆคนคิด
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #587 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 22:29:08 »

ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ฉบับคนขายชาตินั้น จะไม่กล่าวถึงรัฐวิสาหกิจ 3 แห่งที่เกี่ยวข้อง ย่อมไม่เห็นภาพ

อคส. หรือที่เรียกกันว่า องค์การค้าข้าวเสื่อม เป็นหนึ่งในองค์กรที่ทำหน้าที่แทนรัฐบาลในการรับจำนำ(ซื้อ)ข้าวเปลือกจากเกษตรกรชาวนา โดยผ่านโรงสี รวมทั้งเป็นผู้ควบคุมโกดังรับฝากข้าวสารที่ผ่านการแปรสภาพจากโรงสีแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ของ อคส.ย่อมต้องอยู่ในอิทธิพลของข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมรัฐวิสาหกิจนี้ และอยู่ในอิทธิพลของข้าราชการการเมืองอีกชั้นหนึ่ง โลเลหรือยอมเข้ากับอำนาจที่สั่งการ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #588 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 22:30:42 »

อตก. หรือที่เรียกว่า เอาแต่กิน มีหน้าที่เดียวกับ อคส. แต่สังกัดกระทรวงเกษตรกร
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #589 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 22:43:06 »

ธกส. หรือเรียกกันตามแบบชาวบ้านว่า ธรณีกันแสง เป็นรัฐวิสาหกิจจับจ่ายเงินให้เกษตรกรที่เข้าโครงการ และให้สินเชื่อแก่เกษตรกร

ปกติ เกษตรกรจะมีนายทุนอยู่ 2 คน
หนึ่ง   ก็คือพ่อค้า นายทุนประจำตำบลหรืออำเภอ ที่เกษตรกรสามารถหยิบยืมเงิน สัตว์ สิ่งของ ได้ตลอดเวลา ไม่มีจำกัดโดยอาจไม่ต้องมี
         หลักประกันหรือหลักทรัพย์ แต่เงินย่อมมีน้อยกว่า ธกส.แน่นอน
สอง   ก็ ธกส. นี่แหละ ทำงาน 08.30 - 15.30 น. เว้นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดประเพณี กู้หรือยืมต้องใช้หลักทรัพย์หรือหลักประกัน

เกษตรกรต้องสมัครเป็นลูกค้าของ ธกส. เสียก่อนจึงจะมีสิทธิเข้าโครงการรับจำนำ, มิฉะนั้นไม่มีสิทธิ ถือได้ว่า ธกส.ใหญ่มากๆ
และที่สำคัญคือ ในโครงการรับจำนำ กำหนดให้ ธกส. เป็นใหญ่สุด(เพราะเป็นคนจ่ายเงินนั่นเอง)
เกษตรกรรับเงินค่า(ขาย)นำข้าวเปลือกเข้าโครงการ ก็ผ่าน ธกส.นี่แหละ
โกดัง รับค่าฝากข้าวสารก็ผ่าน ธกส. เช่นกัน

ที่ชาวบ้านเรียก ธรณีกันแสง ก็เพราะ เวลาจะกู้-จะยืม ต้องใช้หลักทรัพย์หรือหลักประกัน ซึ่งก็คือ โฉนด นส. 3 หรือ นส. 3 ก.ที่เกษตรกรใช้วาง
เป็นหลักประกันในการกู้ยืม แต่เมื่อผิดนัด-ผิดสัญญา เอกสารสิทธิเหล่านั้นก็ถูก ธกส.ยึดไปนั่นเอง ธรณีก็คือโฉนด นส. 3 หรือ นส. 3 ก. นั่นเอง
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #590 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 23:00:17 »

ใบรับรองความเป็นเกษตรกร เป็นเอกสารที่ส่วนราชการออกให้เกษตรกร โดยผู้มีสิทธิออกคือ เกษตรอำเภอ-ข้าราชการสังกัดกระทรวงเกษตร และ เจ้าหน้าที่ของ ธกส.ที่เกษตรกรสมัครเป็นลูกค้า แต่ยังมีการกำหนดให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำการรับรองความเป็นเกษตรกรในชั้นแรกก่อน แล้วจึงให้เกษตรอำเภอรับรองต่อในภายหลัง ดังเช่นในโครงการรับจำนำลำใย ในภาคเหนือ ในหลายปีก่อน

ใบรับรองความเป็นเกษตรกร นี้ไม่ค่อยมีการตรวจสอบความถูกต้อง จะเอาจริงก็ตอนมีเรื่องเกิดขึ้น และมักจะเป็นความจริงที่พบคือ เกษตรกรในใบรับรองความเป็นเกษตรกรนั้น เป็นเกษตรกรประเภท"ทำนาบนหลังคน" จนเกิดเรื่อง ดังเช่น โครงการรับจำนำผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2551 ที่พบว่า เกษตรกรที่นำหัวมันสำปะหลังเข้าโครงการที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพ่อค้าผู้ปล่อยหนี้ให้ชาวไร่และเก็บหนี้เป็นหัวมัน แล้วเอาไปเข้าโครงการ แต่ส่วนราชการตรวจพบนั่นเอง
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #591 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 23:30:19 »

ตัวละครเยอะขึ้นตามลำดับ จะขายชาติได้ ต้องมีตัวเล่นเยอะ ไม่งั้นมันจะหมดไปเป็นแสนล้านได้ยังไง

เกษตรกรผู้ปลูกข้าว- เสาหลักของประเทศ ประชากรผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงจำนวนมากที่สุดของประเทศไทย ผู้ปลูกข้าวเลี้ยงคนไทยและชาวโลก ลงทุนปลูกข้าวเพราะรัฐบาลรับจำนำข้าวทุกฤดู ไม่ต้องไปมองว่า ราคาข้าวในตลาดโลกจะเป็นอย่างไร เพราะไม่ว่าข้าวจะเก็บเกี่ยวเมื่อใด ความชื้นสูงแค่ไหนก็ได้ รัฐบาลไทยโดยกระทรวงพาณิชย์ผ่านกลไกของ อคส. อตก. และธกส.รับจำนำทั้งหมด แต่เมื่อรัฐบาลเปลี่ยนกลไกเป็นโครงการรับประกัยราคา โดยเกษตรกรผู้ปลูกต้องนำข้าวไปขายเอง หากได้ราคาต่ำกว่าราคาที่รัฐประกาศ ก็ไปขอส่วนต่างจากรัฐผ่าน ธกส. ซึ่งลำบากยากเย็น ต่อไปยังไม่ทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น หากถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์- อีกพืชหนึ่งที่นานๆ จะมีปัญหามาจากฟ้าฝนที่อุดมสมบูรณ์ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ได้ผลผลิตมากกว่าที่คิดในพื้นที่ปลูกเท่าเดิม ส่งผลให้ราคาตกต่ำ

เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง- เช่นเดียวกับผู้ปลูกข้าวโพด นานๆ เกิดปัญหาขึ้นทีหนึ่ง พื้นที่เท่าเดิมแต่ผลผลิตต่อไร่ได้มากขึ้น ส่งผลให้ราคาตกต่ำ

เกษตรกรผู้ปลูกลำใย- เป็นชาวเหนือซะส่วนใหญ่ เพราะรัฐบาลประชานิยมมีฐานอยู่ในภาคเหนือ สนับสนุนการปลูกเต็มที่ เกษตรกรไม่มีความรู้ทางการตลาด ปลูกอย่างเดียวเพื่อให้รัฐรับจำนำ

เกษตรกรผู้ปลูกสัปปะรด- เป็นเกษตรกรผู้โชคไม่ค่อยดีนัก ขณะปลูกก็มีช้างป่าเข้าแย่งกัดกิน ได้ผลผลิตต่อไร่ดีก็มีปัญหาเรื่องราคาตกต่ำ ในขณะที่ตลาดโลกก็มีการจำกัดการนำเข้า เพื่อปกป้องเกษตรกรของตัวเอง

เกษตรกรผู้ปลูกเมล็ดกาแฟ- ปลูกแบบไม่มีการตลาดเช่นกัน

เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง- เช่นกัน ตลาดโลกจำกัดการนำเข้า เพื่อปกป้องเกษตรกรของตัวเอง แต่เกษตรกรชาวไทยเร่งเลี้ยงโดยไม่ดูว่า คนไทยเองก็ไม่กล้ากินกุ้งเพราะแพงจับใจ ส่งขายนอกก็ถูกกีดกัน รัฐต้องรับจำนำเข้าฝากในห้องเย็น แต่แปลก เมื่อประมูลขายออก ผู้ซื้อตกใจ กุ้งใหญ่ตอนรับเข้าจำนำ-ตอนรับกลับตัวใหญ่กว่ากุ้งแห้งนิดเดียว !! ??

ฯลฯ

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #592 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 23:31:26 »

แล้วค่อยมาต่อนะครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #593 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2553, 08:32:12 »

ขอบคุณ คุณเหยงเป็นอย่างมากครับ ที่นำความจริงมาตีแผ่ให่ทราบกัน ขอ
ขอบคุณ
วันนี้ผมมีเวลาน้อยครับ ได้แต่อ่านที่คุณเหยงโพสต์จบ หมดเวลา ต้องไปประชุมที่สระบุรีแล้วครับ
สวัสดีทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
Khun28
Full Member
**


ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2528
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์
กระทู้: 784

« ตอบ #594 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2553, 09:31:38 »

ความจริง ทีโหดร้ายครับ
      บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #595 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2553, 10:52:11 »

พี่ เหยง  เป็นผู้ที่อยู่วงในของวงการ พืชผลการเกษตรตัวจริง เสียงจริง ปิ๊งๆ
และเป็นความจริงที่โหดร้าย แบบที่น้องขุน ว่าไว้ เหนื่อย
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #596 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2553, 11:25:34 »

...เข้ามาอ่านที่เหยงโพสท์ไว้เกี่ยวกับโรงสีแล้วค่ะ...
...รู้ลึกจริงนะ...เชื่อถือๆ...พี่ตู่ไม่เคยรู้มาก่อน...
...อ่านแล้วประดับสติปัญญาดีค่ะ...
...แล้วเมื่อไรประเทศไทยจะเจริญ...
...เอาแค่เพื่อนบ้านเราอย่างมาเลย์...
...พี่ตู่เคยคุยให้ชาวหอบางคนฟัง...
...บางคนไปทำงานที่ใต้...แต่มาเลย์อยู่ใกล้ๆไม่เคยไปเที่ยว...
...เราไปแล้วทึ่ง...เอาแค่บ้านเมืองเค้าสะอาดสะอ้าน...
...คุยไปเรื่องอื่นๆ...เหมือนเว่อร์...
...เค้าบอกขนาดนั้นเชียวเหรอ...
...ช่างเป็นประเภทใกล้เกลือกินด่าง...
...เราไม่ได้หลงใหลจนลืมบ้านเกิดเมืองนอนค่ะ...
...ประเทศไทยเราก็เที่ยว...เที่ยวจนหมอบอกให้ไปทำงานกับ ททท...
...แต่บ้านเมืองเค้ามีดี...เราก็ชื่นชม...อยากให้บ้านเมืองเราเป็นอย่างเค้าบ้างในบางแง่...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #597 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2553, 11:48:00 »

อ้างถึง
ข้อความของ too_ploenpit เมื่อ 27 ตุลาคม 2553, 11:25:34
...เข้ามาอ่านที่เหยงโพสท์ไว้เกี่ยวกับโรงสีแล้วค่ะ...
...รู้ลึกจริงนะ...เชื่อถือๆ...พี่ตู่ไม่เคยรู้มาก่อน...
...อ่านแล้วประดับสติปัญญาดีค่ะ...
...แล้วเมื่อไรประเทศไทยจะเจริญ...
...เอาแค่เพื่อนบ้านเราอย่างมาเลย์...
...พี่ตู่เคยคุยให้ชาวหอบางคนฟัง...
...บางคนไปทำงานที่ใต้...แต่มาเลย์อยู่ใกล้ๆไม่เคยไปเที่ยว...
...เราไปแล้วทึ่ง...เอาแค่บ้านเมืองเค้าสะอาดสะอ้าน...
...คุยไปเรื่องอื่นๆ...เหมือนเว่อร์...
...เค้าบอกขนาดนั้นเชียวเหรอ...
...ช่างเป็นประเภทใกล้เกลือกินด่าง...
...เราไม่ได้หลงใหลจนลืมบ้านเกิดเมืองนอนค่ะ...
...ประเทศไทยเราก็เที่ยว...เที่ยวจนหมอบอกให้ไปทำงานกับ ททท...
...แต่บ้านเมืองเค้ามีดี...เราก็ชื่นชม...อยากให้บ้านเมืองเราเป็นอย่างเค้าบ้างในบางแง่...


เมื่อสักประมาณ 10 กว่าปีมาแล้ว สมัยผมหนุ่มๆ มาเลย์ เคยขอมาดูงานระบบ Waste Water Treatment และการ Recycle ของบ้านเรา ... เนื่องจากตอนนั้นเราได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก UK - Thame Water โดยการร่วมทุนกับกลุ่ม เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ในนาม BJT Water ...

จากนั้น Thame Water ได้เข้าไปร่วมทุนกับมาเลย์ ภายหลังจากที่ได้ลงทุนในประเทศไทย

ปัจจุบันงานด้าน Water Treatment ของมาเลย์ ก้าวหน้ากว่าไทยมาก ...ด้วยการสนับสนุนที่ดียิ่ง จาก รัฐบาล มาเลย์ ตั้งแต่สมัย นายก ดร.มหาเธร์ เป็นต้นมา


      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #598 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2553, 12:01:26 »

ปี 2008 เราเริ่มทดสอบเทคโนโลยีไวแมกซ์ (เทคโนโลยีที่จะพัฒนาไปเป็น 4G) เป็นแห่งแรกใน เอเซียแปซิฟิก และเริ่มใช้งานจริง (ณ จ.เชียงราย) พร้อมๆกับมาเลย์

ปี 2009 เรา และมาเลย์ ได้รับเชิญไปบรรยาย พร้อมๆกันที่ สิงคโปร์








      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #599 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2553, 12:01:59 »

แต่ ปี 2010 - 18 พ.ย. นี้ มาเลย์จะเปิดให้บริการ "4G" แล้ว แต่ "3G" เมืองไทย ยังล้มลุกคลุกคลานอยู่เลยครับ รัฐยังไม่สามารถออกใบอนุญาตคลื่นความถี่ได้ แว่วๆว่าต้องรอกันจนถึงปี 2555 จนกว่าจะมี กสทช. ถึงจะได้เริ่มประมูล 3G กัน  เหนื่อย


หมายเหตุ: รัฐบาลมาเลย์ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีเยี่ยมเช่นเคย ครับ การประชุม WiMAX Forum ที่จะจัดขึ้นระหว่าง 22-25 พ.ย. นอกจาก นายกรัฐมนตรี ของมาเลย์ จะเป็นประธานเปิดการประชุมแล้ว ... รัฐมนตรี ด้านไอซีที ยังอาสาเป็นไกด์นำผู้เข้าร่วมการบรรยายจาก นานาชาติ เข้าชมเมือง ไซเบอร์ จายา และปุตราจายา ด้วยตนเอง ... ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ในเฟสที่ 2 ในปีนี้พอดี (2553)



http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/113598.html

บริษัทมาเลเซียเตรียมเปิดให้บริการ 4 จีเดือนหน้า
วันจันทร์ ที่ 11 ต.ค. 2553


กัวลาลัมเปอร์ 11 ต.ค. - บริษัทวายทีแอล เจ้าของโครงการด้านสาธารณูปโภครายใหญ่ของมาเลเซียเตรียมให้บริการเครือข่าย ไร้สายความเร็วสูง 4 จี ในวันที่ 18 พฤศจิกายนนี้ พร้อมเผยแผนจับมือกับบริษัทสหรัฐให้บริการทีวีอินเทอร์เน็ต

บริษัทวายทีแอล คอมมิวนิเคชัน ในเครือของบริษัทวายทีแอล ประกาศใช้เงินลงทุน 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการวางระบบ 4 จี เพื่อให้บริการด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วกว่าระบบ 3 จี นอกจากนี้ นายฟรานซิส โหยว กรรมการผู้จัดการบริษัทวายทีแอล กล่าวว่า การจับมือระหว่างบริษัทวายทีแอลกับบริษัทเซสมีของสหรัฐจะให้บริการระบบทีวี ลูกผสมที่สามารถบันทึก ชมรายการโทรทัศน์ และเคเบิลทีวี รวมทั้งการเลือกชมภาพยนตร์ได้ และรับบริการอินเทอร์เน็ตวิดีโอในเครือข่าย 4 จี ภายในปี 2554.


-สำนักข่าวไทย

      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><