Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4725 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2554, 21:30:42 » |
|
สวัสดีค่ะ คุณน้องหนุ๋งหนิ๋ง ที่รัก
วันนี้หลังจากใส่บาตเณร ตอนเช้าเสร็จ พี่สิงห์ ไปสิงห์บุรี ไปเยี่ยมแม่ ตอนนี้ขาแม่ไม่ค่อยดี คือเลือดไปเลี้ยงขาน้อยลง จนไม่สามารถกระดิกขาได้เหมือนอย่างแต่ก่อนแล้ว คนดูแลจึงไม่สามารถพาแม่นั่งรถเข็นออกไปข้างนอกบ้านได้ เพราะจะทำให้เส้นเลือดที่ขาพองโตเขียวหน้ากลัว แต่แม่ยังจำได้ คุยรู้เรื่อง
หลังจากนั้นก็ไปทำงาน ประชุมที่ PSTC สระบุรีเสร็จหนึ่งทุ่ม จึงขับรถกลับบ้านมาถึงกรุงเทพฯ สองทุ่มครึ่ง อาจารย์ถาวร โชติชื่น ได้โทรศัพท์ มาคุยด้วย เรื่องซ่อมบ้านและชวนไปดูบ้านตามที่ได้นัดกันไว้ ดูแล้วไม่มีเวลาเลยในปีนี้ ต้องไปปีหน้าแน่นอน เพราะพรุ่งนี้ว่าจะไปยื่นเรื่องน้ำท้วมขอรับเงิน 5,000 บาท และวันพุธ จะไปเสียเงินค่าไปอินเดีย วันพฤหัสบดีก็ไปนครศรีธรรมราช กลับวันเสาร์ วันอาทิตย์ไปโคราช และต่อไปปฏิบัติธรรมที่ชัยภูมิ หมดเวลาพอดีปีนี้ ครับ
สำหรับเรื่องความสุขที่เธอได้รับอยู่นั้น มันเป็นความสุขทางโลก ชั่วครู่ชั่วยาม ไม่จีรังยั่งยืนใดๆ ทั้งสิ้น ประสพในสิ่งทีารัก ก็เป็นสุข แต่พอประสพในสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบก็ทุกข์ เป็นอยู่อย่างนี้ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ดีมันก็ดีอยู่หรอก แต่ถ้ามีความสุขที่ถาวรรอเราอยู่ เราก็หน้าที่จะไปให้ถึงได้ ครับ แต่มันยากมากๆ ครับ เอาเป็นว่าให้ความทุกข์มันน้อยลงก็พอใจแล้วครับ
ราตรีสวัสดิ์ครับ
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4726 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2554, 21:41:16 » |
|
พี่สิงห์ขา, เวลาพี่ก็จวนตัวเต็มที ไหนจะเพื่อคุณแม่พี่ ไหนจะเพื่อที่นั่นที่นี่ อ่านแล้วเหนื่อยแทนค่ะ.
ว่าแต่...พี่ยัง"อยาก" รึพี่"ยาก"คะในเรื่อง... เรื่องที่คุณก็รู้ว่าเรื่องอะไร! (ยืมสำนวนharry potterมาใช้)
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4727 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2554, 21:41:17 » |
|
รู้ประวัติพุทธสาวก ภิกษุณี อรหันต์ เอตทัคคะ
ลำดับที่ ๗
พระโสณาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้ปรารถนาความเพียร พระโสณาเถรี เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี ได้ชื่อว่า “โสณา” เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้มีคู่ครองที่มีฐานะเสมอกัน อยู่ร่วมกันมามีบุตร ๗ คน มีธิดา ๗ คน
• จากเศรษฐีเป็นอนาถา
เมื่อบุตรธิดาทั้งหลายเจริญวัยแล้วได้แต่งงานมีคู่ครองเรือนแยกย้ายกันออกไปอยู่ตามลำพัง ต่างก็มีฐานะความเป็นอยู่สุขสบายตามสมควรแก่อัตภาพฆราวาสวิสัย ต่อมาสามีของนางถึงแก่กรรมลง นางได้ปกครองดูแลทรัพย์สมบัติทั้งหมดโดยยังมิได้จัดสรรแบ่งปันให้แก่บุตรธิดาเลย และต่อมา บุตรธิดาเหล่านั้นได้พากันมาพูดกับนางบ่อย ๆ ว่า:-
“คุณแม่ บิดาของพวกข้าพเจ้าก็ตายไปแล้ว ทรัพย์สมบัติเหล่านี้แม่จะเก็บเอาไว้ทำไม หรือแม่เกรงว่าพวกเราทั้ง ๑๔ คนนี้จะเลี้ยงแม่ไม่ได้”
นางโสณาได้ฟังคำของลูก ๆ มาพูดกันอยู่บ่อย ๆ ก็คิดว่า
“เมื่อเราแบ่งทรัพย์สมบัติให้แล้ว ลูก ๆ ก็คงจะเลี้ยงดูเราให้มีความสุขได้ ไม่ต้องลำบาก”
เมื่อคิดอย่างนี้แล้ว นางก็แบ่งทรัพย์สมบัติให้แก่ลูกชายหญิงทั้ง ๑๔ คน ๆ ละเท่า ๆ กันแล้วนางก็ไปอยู่อาศัยกลับลูกชายคนโต เมื่อไปอยู่ใหม่ ๆ ก็ได้รับการปฏิบัติ ดูแลอย่างดี แต่เมื่อนานไปลูกสะใภ้ก็เริ่มมีความรังเกียจ พูดจาเสียดสีขึ้นวันละเล็กวันละน้อย พร้อมทั้งไปยุแหย่ให้สามีรังเกียจแม่ของตนเอง เมื่อพูดบ่อย ๆ เข้า สามี ก็เห็นคล้อยตามด้วย จนกระทั่งวันหนึ่ง ลูกสะใภ้ได้พูดกับนางว่า:-
“คุณแม่ความจริงแม่ก็มีลูกชายลูกหญิงตั้งหลายคน ทรัพย์สมบัติทั้งหลายแม่ก็แบ่งให้เท่า ๆ กัน มิใช่ว่าฉันจะได้ ๒ ส่วนมากกว่าคนอื่น ๆ แต่ทำไมแม่จึงมาอยู่มากินแต่ที่บ้านฉันคนเดียว แม่ไม่รู้จักทางไปบ้านลูกคนอื่นเลยหรือ ?”
• ไร้ที่พึ่งพาจึงออกบวช
นางโสณา ได้ฟังคำของลูกสะใภ้แล้ว อีกทั้งลูกชายก็ดูท่าทีคล้อยตามภรรยาของตน นางจึงจำใจห่อของใช้ส่วนตัวไปอาศัยลูกคนต่อ ๆ ไป และเหตุการณ์ก็เป็นไปทำนองเดียวกัน นางไม่สามารถจะพึ่งพาอาศัยลูกชายและลูกหญิงทั้ง ๑๔ คนนั้นได้ จึงคิดว่า
“จะมีประโยชน์อะไรกับการอาศัยลูกเหล่านี้เราไปบวชเป็นภิกษุณีจะดีกว่า”
นางโสณา ได้ไปยังสำนักภิกษุณีสงฆ์ ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุณี เพราะความที่นางเป็นผู้มีลูกมาจึงได้ชื่อว่า “พหุปตติกาเถรี” นางเองก็คิดว่า “เราบวชในวัยชราไม่ควรที่จะอยู่ด้วยความประมาท” จงได้ช่วยนางภิกษุณีทั้งหลายทำวัตรปฏิบัติตามกิจของภิกษุณีสงฆ์ แต่ เพราะความเป็นผู้บวชใหม่ และอยู่ในวัยชราจึงทำกิจบกพร่อง นางภิกษุณีทั้งหลายจึงกระทำทัณฑกรรมลงโทษแก่เธอโดยให้เธอทำหน้าที่ ต้มน้ำอุ่นให้ภิกษุณีทั้งหลายสรง ทั้งเช้า-เย็นเป็นประจำ บุตรธิดาของเธอได้มาเห็น ก็พากันพูดจาเยาะเย้ยจนเธอรู้สึกสลดใจ
วันหนึ่ง พระโสณาเถรี ได้ไปหาฟืนและตักน้ำมาไว้ในโรงครัว แต่ยังมิได้ก่อไฟ พระเถรีก็คิดว่า
“เราไม่ควรประมาท ควรจะอาศัยเวลาและสถานที่อันสงบสงัดนี้ บำเพ็ญสมณธรรมทั้งกลางวันและกลางคืน”
คิดดังนี้แล้วก็ได้พิจารณาอาการ ๓๒ ท่องบ่นภาวนาไป เดินจงกรมไป โดยยึดเสาโรงครัวเป็นแกนกลางเดินวนรอบเสาสำรวมจิตเจริญวิปัสสนา
• สำเร็จอรหันต์แสดงอภินิหาริย์
ขณะนั้น สมเด็จพระบรมศาสดา ประทับอยู่ในพระคันธกุฎี ทรงทราบด้วยพระฌาณ จึงทรงเปล่งพระโอภาสรัศมีปานประหนึ่งว่าประทับอยู่ตรงหน้าพระเถรีนั้นแล้วตรัสสอนว่า:-
“ดูก่อนนพหุปุตติกา ชีวิตความเป็นอยู่เพียงวันเดียว ครู่เดียว ของผู้ที่เห็นธรรมอันสูงสุด ที่เราได้แสดงแล้ว ดีกว่า ประเสริฐกว่า ชีวิตความเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นธรรม”
พอสิ้นสุด พุทธดำรัส พระเถรีก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย และเมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว จึงคิดว่า
“เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นมาเพื่อต้องการน้ำอุ่น พอเห็นเราแล้วไม่ทันได้ใคร่ครวญ ก็จะพูดล่วงเกินดูหมิ่นเราเหมือนก่อน ก็จะได้รับบาปกรรมอันหนัก เราควรจะทำอะไรพอเห็นที่สังเกตให้พวกเขากำหนดรู้สักอย่างหนึ่ง”
แล้วนางก็ยกภาชนะต้มน้ำขึ้นตั้งบนเตาไฟ แต่มิได้ก่อไฟเพียงแต่ใส่ฟืนเข้าไว้ เมื่อนางภิกษุณีทั้งหลายมาที่โรงครัว เพื่อจะนำน้ำอุ่นไปสรง เห็นมีแต่ภาชนะต้มน้ำอยู่บนเตาไฟแต่ไม่เห็นไฟ จึงกล่าวว่า:-
“พวกเราบอกให้หญิงแก่คนนี้ต้มน้ำถวายภิกษุณีเพื่อนำไปสรง จนบัดนี้นางก็ยังไม่ได้ใส่ไฟในเตาเลย ไม่ทราบว่านางมัวทำอะไรอยู่” พระโสณาเถรี จึงกล่าวว่า:-
“ข้าแต่แม่เจ้า ถ้าท่านทั้งหลายต้องการน้ำอุ่นไปสรง ก็จงตักเอาจากภาชนะนั้นเถิด”
แล้วพระเถรี ก็อธิษฐานเตโชธาตุทำให้น้ำนั้นอุ่นขึ้นทันที ภิกษุณีทั้งหลายได้ฟังคำของนางแล้วก็คิดว่า
“คงจะมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่” จึงทดลองใช้มือจุ่มลงในภาชนะ ก็ทราบว่าเป็นน้ำอุ่น จึงตักเอาไปสรงทั่วกัน แต่ว่าตักสักเท่าใด น้ำก็ยังปรากฏเต็มภาชนะอยู่เช่นเดิม ภิกษุณีทั้งหลายจึงทราบชัดว่า พระเถรีนี้ สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ต่างก็พากันตกใจ นางภิกษุณี ผู้มีวัยอ่อนกว่า ก็ก้มกราบแทบเท้า กล่าวขอขมาโทษว่า
“ข้าแต่พระแม่เจ้า พวกข้าพเจ้าได้พูดจาดูหมิ่นล่วงเกินท่าน พระความเขลาเบาปัญญา มิได้พิจารณาให้รอบครอบตลอดกาลนานมาแล้ว ขอพระแม่เจ้าจงเมตตาอดโทษแก่พวกข้าพเจ้าด้วยเถิด”
ส่วนนางภิกษุณีผู้มีวัยแก่กว่าก็นั่งกระหย่ง (นั่งคุกเข่า) กล่าวขอขมาให้อดโทษานุโทษให้เช่นกัน โดยขอขมาโทษด้วยคำว่า
“ข้าแต่พระแม่เจ้า พวกข้าพเจ้าได้พูดจาดูหมิ่นล่วงเกินท่าน โดยมิได้พิจารณาให้รอบคอบตลอดกาลนานมาแล้ว ขอท่านจงอเมตตาอดโทษให้พวกข้าพเจ้าด้วยเถิด”
• ได้รับการยกย่องเป็นเลิศทางความเพียร
ตั้งแต่นั้นมา คุณงามความดีของพระโสณาเถรี ก็ปรากฏเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า
“พระเถรี ผู้แม้บวชในเวลาแก่เฒ่า ก็ยังสามารถดำรงอยู่ในพระอรหัตผลได้ในเวลาไม่นาน เพราะอาศัยความเป็นผู้ปรารภความเพียรไม่เกียจคร้าน”
พระบรมศาสดา ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลาย ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับแล้ว อาศัยความเป็นผู้ปรารภความเพียร ขยัน ไม่เกียจคร้านของพระเถรีนี้ จึงได้ทรงสถาปนาพระนางโสณาเถรี นี้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้เป็นผู้ปรารถนาความเพียร
• อภิญญา ปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่ง มี ๖ อย่าง
๑. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ ๒. ทิพพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้ ๔. ปุพเพนิวาสานุสสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ ๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป (๕ อย่างแรกเป็นโลกิยอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา)
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4728 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2554, 21:43:49 » |
|
ขอโทษที เขียนผิดอยู่เรื่อย ครับ เปลี่ยนจาก "อยาก" เป็น "ยาก"
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4729 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2554, 21:53:09 » |
|
พี่สิงห์, หนิงอ่านเรื่องข้างบน, พระโสณาเถรี
วางแผนไว้ล่วงหน้าเสร็จคะ! ว่าตอนหนิงเหี่ยว เหนียงยาน แลหงำเหงือก...จะไม่ไปอาศัย กะโรบิน หรือไก่ฟ้า..แต่จะอยู่ในบ้าน หลังนี้ มีเงินหม้ายรายเดือน(หากว่า แควนหนิงไม่อยู่)มีลูกๆเขยสะใภ้หลานๆ มาเยี่ยมถ้าอยากมา..ไม่มา เมื่อยุ่งๆงานเยอะ
อะไรก็แล้วแต่,สมบัติแบ่งเมื่อพ่อ/แม่เสียคะ อะไรที่ให้ตอนพ่อแม่ยังอยู่ ถือเป็น"ของขวัญ"คะพี่ ของขวัญที่พ่อ-แม่ให้ลูก แต่แบ่งให้หมดตัวเองเอาตัวไม่รอด... ไม่มีทาง.
ลงชื่อ หนุงหนิงเถรี ค่อนข้างเอาตัวรอด!
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4730 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2554, 21:59:52 » |
|
วันนี้ขณะนั่งรถไปรับประทานชาบูผัก ที่สระบุรี พนักงาน PSTC ท่านหนึ่งได้ถามว่า อาจารย์ทำไมปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้าเลย ไม่สามารถเห็นตามกฏไตรลักษณ์สักที (เขาเรียนมาสายวัดพระธรรมกาย) และเป็นคนที่รับปากเรื่องอะไรใครไว้ ไม่ทำสักทีจนทุกคนระอา แม้แต่คุณดิเรก (MD) ก็หาตำแหน่งให้ลงไม่ได้ ให้เป็นตำแหน่งลอยๆ เท่านั้น แต่มีประสพการณ์สูง
ผมก็บอกว่า ขั้นแรกในการปฏิบัติธรรมนั้น เราต้องรักษากาย วาจา ใจ ให้สุจริต ด้วยการรักษาศีล ๕ ให้เคร่งครัด โดยเฉพาะศีลข้อที่ว่าด้วย "มุสาวาทาเวรมณีสิกขาปะทังสมาธิยามิ" นอกจากห้ามพูดปดแล้ว ยังรวมพูดคำหยาบ ส่อเสียด พูดแล้วมีความเดือนร้อนเกิดขึ้น ยังรวมถึง เรารับปากใครไว้แล้วต้องกระทำตาม เพราะในเมื่อปฏิบัติธรรม มีสติ-สัมปชัญญะ แล้วมันควรที่จะมีความรับผิดชอบ ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ใช่ละเลยแบบนี้
ดังนั้นถ้าเราแก้นิสัยหรือสันดารเราไม่ได้แล้ว การปฏิบัติธรรม มันก็ติดอยู่แค่นั้น ไปไม่ถึงไหน เสียเวลาเป่ลา พระพุทธองค์ท่านจึงสอนให้สำรวมอินทรียอยู่เป็นนิจ ด้วยการรักษากาย วาจา ใจ ให้สุจริตในเบื้องต้นเพื่อแก้สันดารตัวเราให้ได้ ด้วยการรักษาศ๊ล ๕ ให้มั่นเป็นสิ่งแรกของการปฏิบัติธรรม
สวัสดีครับ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4731 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2554, 22:03:00 » |
|
โบราณจึงสอนนักสอนหนา ว่าเวลาแบ่งสมบัติให้ลูกให้หลาน อย่าแบ่งให้หมด เหลือไว้ให้ตัวเองบ้าง ถ้าให้หมดแล้ว หวังว่าลูกจะดูแลเรานั้น มันมีโอกาสน้อยมากๆ ครับ
พระโมคคัลลานะเถระ ก็เกือบจะฆ่าแม่ตัวเองเหมือนกันในภพก่อน เพราะลูกสะไภ้นี่ละ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายถึงแม่จะมีฤทธิ์มาก ก็ต้องยอมชดใช้กรรมนั้น
สวัสดี
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4732 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2554, 22:18:42 » |
|
พี่สิงห์, ที่โน่นมีปัญหาเรื่องนี้ด้วยที่ว่า.. แต่ละคนต้องดูแลตัวเอง เอาตัวรอดให้ได้ ไม่ฝึกให้รออะไรฟรีๆ. ข้อดีคือสร้างสมทรัพย์สมบัติเป็นลูกโซ่ ข้อเสียคืออ้างว้างว้าเหว่
มีด้วยนะคะ,สามีเขียนพินัยกรรม หากเค้าไปก่อน ลูกๆอาจท่านั้นท่านี้ แยบยลคมคายให้แม่จัดแบ่งทรัพย์แล้วไม่เลี้ยง แม่มักใจอ่อน...อย่ากระนั้นเลย,ผู้พ่อเขียนไว้เสร็จ ตัวเค้าเป็นอะไร ทรัพย์สมบัติ ทั้งหมด ให้ตกเป็นของ ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากแต่เพียงผู้เดียวไม่มีการแบ่ง จนกว่าภรรยาจะเสียชีวิต!! ลูกๆจึงได้แบ่ง หลานๆไม่เกี่ยว!
ปีนี้,เยอรมันมีทรัพย์สินที่รอให้มรดกnext generation ไม่รู้กี่พันล้านยูโร....เป็นความมั่งคั่งที่มองไม่เห็นคะ. คือเค้าสอนลูกให้สร้างเอง สร้างบ้าน สร้างทรัพย์สิน ไม่รอว่าเมื่อไหร่จะได้จากพ่อแม่...อยู่ไป ใช้ชีวิตไป ไม่ให้หวัง...แถมผู้คนเค้าอายุยืนคะยืนขึ้นเรื่อยๆ กว่าจะแบ่งมรดกโน่น...เกษียณไปแล้ว.
วิถีจึงไม่ปรองดองกะพุทธคำสอนคะ!
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4733 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2554, 12:46:27 » |
|
คุณน้องหนุ๋งหนิ๋ง บอกว่าวิถีจึงไม่ปรองดองกะพุทธคำสอนคะ ! - พระพุทธองค์ ทรงสอน นี่คือ "ทุกข์" นี่ "วิธีดับทุกข์" ดำนั้นคำสอนของพระพุทะองค์ จึงเป็นไปในลักษณะนี้ทั้งสิ้น นอกจากนี้พระพุทธองค์ ทรงสอนว่า ทุกสิ่งล้วนมีเหตุ-ปัจจัย ทั้งสิ้น ถ้าเหตุดับ ปัจจัยจึงไม่มี นอกจากนี้พระพุทะองค์ ยังสอนให้คนสามารถอยู่ในสังคมได้ด้วยความสุข สงบ ถ้ามีทรัพย์เหลือ ก็แบ่งปันให้ผู้ที่เดือดร้อน เช่นสังคหวัตถุ 4 สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่ 1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้
2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น 4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย กรณีทรัพย์สมบัติ อาชีพ นั้น อย่าลืม พระพุทธองค์ ไม่ให้เชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธ์ ไม่บนบานศาลกว่าว ไม่รอคอยกับลาภสักการะ ไม่คอยความหวัง พระองค์ ทรงสอนให้ "อัตตาหิ อัตโนนาโถ" คือ ตนแลแป็นที่พึ่งแห่งตน ในการทำมาหากินโดยสุจริต ท่านจึงสอนให้รู้จักยึดหลักอิทธิบาท ๔ ในการทำมาหากินคืออิทธิบาท 4 คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ ๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น ๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น ๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่ วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้พระพุทธองค์ยัง กลัวว่า ในสังคมยังมีบุคคลที่ควรเคารพบูชา และมีหน้าที่ต่อกัน ในสังคม ท่านจึงสอนเรื่องทิศหก ทิศหก บุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ดุจทิศที่อยู่รอบตัวจัดเป็น ๖ ทิศ ดังนี้ ๑. ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา ๒. ทักขิณทิสทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ ๓. ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา ๔. อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้ายได้แก่ มิตรสหาย ๕. อุปริมทิส ทิศเบื้องบนได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์ ๖. เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง
๑. ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา : (หัวข้อ)
มารดาบิดาอนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้ ๑. ห้ามปรามจากความชั่ว ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี ๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา ๔. หาคู่ครองที่สมควรให้ ๕. มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันสมควร
บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดา ดังนี้ ๑. ท่านเลี้ยงเรามาแล้วเลี้ยงท่านตอบ ๒. ช่วยทำกิจของท่าน ๓. ดำรงวงศ์สกุล ๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท ๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศให้ท่าน
๒. ทักขิณทิสทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ : (หัวข้อ)
ครูอาจารย์อนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้ ๑. ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี ๒. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ๓. สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง ๔. ยกย่องให้ปรากฏในหมู่เพื่อน ๕. สร้างเครื่องคุ้มกันภัยในสารทิศคือ สอนให้ศิษย์ปฏิบัติได้จริง นำวิชาไปเลี้ยงชีพทำการงานได้
ศิษย์พึงบำรุงครูอาจารย์ ดังนี้ ๑. ลุกต้อนรับแสดงความเคารพ ๒. เข้าไปหา ๓. ใฝ่ใจเรียน ๔. ปรนนิบัติ ๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ
๓. ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา : สามีพึงบำรุงภรรยา ดังนี้ ๑. ยกย่องสมฐานะภรรยา ๒. ไม่ดูหมิ่น ๓. ไม่นอกใจ ๔. มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้านให้ ๕. หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญ ตามโอกาส
ภรรยาอนุเคราะห์สามี ดังนี้ ๑. จัดงานบ้านให้เรียบร้อย ๒.สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี ๓. ไม่นอกใจ ๔. รักษาสมบัติที่หามาได้ ๕. ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง
๔. อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย :
พึงบำรุงมิตรสหาย ดังนี้ ๑. เผื่อแผ่แบ่งปัน ๒. พูดจามีน้ำใจ ๓. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ๔. มีตนเสมอร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย ๕. ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน
มิตรสหายอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้ ๑. เมื่อเพื่อนประมาทช่วยรักษาป้องกัน ๒. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน ๓. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้ ๔. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก ๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร
๕. อุปริมทิส ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์ :
คฤหัสถ์พึงบำรุงพระสงฆ์ ดังนี้ ๑. จะทำสิ่งใดก็ทำด้วยเมตตา ๒. จะพูดสิ่งใดก็พูดด้วยเมตตา ๓. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา ๔. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ ๕. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔
พระสงฆ์อนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้ ๑. ห้ามปรามจากความชั่ว ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี ๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี ๔. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๕. ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ๖. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขความเจริญ
๖. เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง :
นายจ้างพึงบำรุงลูกจ้าง ดังนี้ ๑. จัดการงานให้ทำตามกำลังความสามารถ ๒. ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและ ความเป็นอยู่ ๓. จัดสวัสดิการดีมีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น ๔. ได้ของแปลกๆ พิเศษมา ก็แบ่งปันให้ ๕. ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาส อันควร
ลูกจ้างอนุเคราะห์นายจ้าง ดังนี้ ๑. เริ่มทำงานก่อน ๒. เลิกงานทีหลัง ๓. เอาแต่ของที่นายให้ ๔. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น ๕. นำความดีของนายไปเผยแพร่ นอกจากนี้พระพุทธองค์ ยังรู้ว่าทุกสังคมย่อมมีผู้นำองค์กร หรือหัวหน้า ท่านจึงมัธรรมสำหรับผู้นำ ผู้ปกครัอง ให้ปฏิบัติ คือ พรหมวิหาร 4 ความหมายของพรหมวิหาร 4 - พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่ เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี อุเบกขา การรู้จักวางเฉย
คำอธิบายพรหมวิหาร 4 1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้ และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น 2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ - ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์ - ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์
3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง
4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม นอกจากนี้พระพุทธองค์ ยังกลัวว่ามนุษย์จะหลงระเริง อยู่ในสิ่งที่ได้รับ จึงทรงสอนให้รู้จักโลกธรรม 8 ความหมายของโลกธรรม 8
โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องของ โลกมีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบ ด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ข้อแตกต่างคือ ใครประสบมาก ประสบน้อย ช้าหรือเร็ว โลกธรรมแบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กันและมีความหมายตรงข้ามกัน คือ
1. โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ - ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา - ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต - ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ - ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ
2. โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ - เสียลาภ หมายความว่า ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป - เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ - ถูกนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี มีใครพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา - ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ นอกจากนี้พระพุทธองค์ทรงมองเห็นปัญหาของสังคมครอบครัว ท่านจึงทรงสอนให้มีความกตัญญู พระพุทธศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี คนดีย่อมเป็นที่ปราถนาที่ต้องการในที่ทุกหนทุกแห่งในทุกกิจการ และในทุกยุคทุกสมัย คนดีทำให้ครอบครัวเจริญ โรงเรียนเจริญ ชุมชนเจริญ สังคมและประเทศชาติเจริญ คนดีอยู่ในครอบครัวใด โรงเรียนใดและสังคมใด ครอบครัว โรงเรียน และสังคมนั้นๆ ย่อมมีความสุข ความกตัญญู คือ คุณสมบัติและสัญลักษณ์ของคนดี กตัญญูกับกตเวทีรวมเป็นกตัญญูกตเวที เป็นคุณธรรมคู่กันเสมอ เป็นหลักถือปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของสัตบุรุษ คือ คนดี หรือคนในอุดมคตินั่นเอง ในสังคมชาวพุทธ คนมีกตัญญูกตเวทีย่อมเป็นผู้ควรค่าแก่ความรัก เกียรติ ศักดิ์ศรี และการยกย่องสรรเสริญจากผู้อื่น เพราะได้ปฏิบัติธรรมอันถือเป็นมงคลยิ่ง ข้อหนึ่ง คือ ความกตัญญู บุคคลย่อมมีชีวิตประสบแต่ความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรือง
ความคิดและความเชื่อตามวัฒนธรรมไทยนั้น สรรเสริญผู้มีความกตัญญูและตำหนิผู้ที่ไม่รู้จักบุญคุณคนอื่นเป็นอย่างมาก คนไทยมีความเชื่อว่าผู้ที่มีความกตัญญูต่อพ่อแม่ ครูอาจารย์ จะมีความเจริญรุ่งเรืองประสบความสำเร็จในชีวิต ส่วนผู้ที่เนรคุณนั้นจะประสบความวิบัติเป็นที่รังเกียจในสังคม ได้มีการเปรียบเทียบว่า คนที่เนรคุณนั้น เป็นคนไร้ค่ามีจิตใจกระด้างดังเนื้อหิน เขาจะกรุณาคนอื่นได้อย่างไรในเมื่อคนที่มีบุญคุณต่อเขา ยังทำให้เขาสำนึกไม่ได้ กตัญญู เป็นธรรมอันเป็นมงคลที่ 25 ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้โดยเน้นให้นำไปพัฒนาคุณสมบัติของคนดีแปลตามตัวหนังสือคือผู้รู้ว่า คนอื่นทำความความดีอะไรไว้แก่ตนบ้าง เอาความหมายสั้นๆ ว่าา "ผู้รู้คุณคน" การรู้บุญคุณคน หรือรู้อุปการคุณที่ผู้อื่นทำให้ตนเองนับถือเป็นหลักแห่งความยุติธรรมและความเป็นธรรมอย่างหนึ่งในสังคมมนุษย์ เพราะเป็นการสอดคล้องกับหลักคำสอนว่า การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ มีคนทำดีให้กับเราแล้ว และเราได้รับผลประโยชน์จากการทำดีของเขา เป็นต้นว่า ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุข แต่เรารับรู้แต่ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่รับรู้คุณความดีของเขา ย่อมถือได้ว่าไม่ยุติธรรมต่อกัน สวัสดีครับ
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4734 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2554, 18:47:29 » |
|
พี่สิงห์คะ, ยาวจัง! ขอหนิงละเลียดก่อน.
อ้อ,ที่บอกไว้ว่า วิถีฝรั่งเยอรมัน ที่ว่าไม่ปรองดองกับพุทธคำสอนนั้น หนิงหมายถึง"ผู้ชาย" ผู้มีบทบาทที่จะ ดูแลเอาใจใส่ ภรรยา ลูกๆ หรือหลานๆ มีหน้าที่ต่อตัวเอง ต่อสังคม ต่อแวดล้อม จะละจากภาระหน้าที่นี้เพื่อไป...ไปไหนคะพี่? ไปเข้าวัด?ไปปฏิบัติเพื่อให้ตัวเค้าทุกข์พ้น? คนอื่นจะทุกข์เพราะเค้า...นั่นไม่ไช่ประเด็น? คือegoดีๆไม่ไช่เหรอคะ?ตัวเรา ใจเราจิตเราเป็นใหญ่ no compromise!หนิงหมายถึงcompromiseที่เค้าๆ ชายเหล่านั้นมีต่อครอบครัว(ไม่ต้องภรรยา-ลูกก็ได้คะ) การอยู่เพื่อบำเพ็ญประโยชน์ในรูปลักษณ์อื่นๆ
หนิงกำลังนึกภาพคะพี่สิงห์! ชายไทย...ไปกันหมด... ไปไหนไม่รู้...สงสัยไปสวรรค์ ตายล่ะ,แล้วจะทำยังไง? สังคมนี้มิต้องให้ผู้หญิงพยุงเหรอคะ? ถึงว่าสิคะ "ให้ผู้ชายใช้งาน"ที่พี่หมายถึง คงลักษณะนี้
ชักจะก้าวร้าวขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปวดเหงือกนี่! ใครบอกว่าปวดเหงือกเป็นทุกข์? สุขค่ะ สุขที่ได้ดื่มด่ำความเจ็บ ว่ามีสภาพยังไง.
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4735 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2554, 19:28:34 » |
|
สวัสดีค่ะ คุณน้องหนุ๋งหนิ๋ง และชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
มันยาวก็จริง แต่เป็นข้อธรรมะ ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติเจริญ เป็นคนดี ในครอบครัว ในสังคม ในประเทศชาติ และในโลกมนุษย์ พอดีมันจะปีใหม่แล้ว จึงอยากให้พวกเราได้ทบทวนข้อธรรมะ เหล่านี้ จะได้จำได้ นำไปปฏิบัติ จะพบแต่ความสำเร็จในการทำงาน ในการดำรงชีวิต ได้ครับ
เมื่อเช้าผมไปลงทะเบียนขอรับเงินสงเคราะห์น้ำท้วม เสียเวลาไปนานเหมือนกัน เพราะผมไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน จึงต้องขอแจ้งเป็นเจ้าบ้าน ต้องต่อรองกันนาน ผลสุดท้ายเจ้าหน้าที่ก็ทำให้ย้ายผมเป็นเจ้าบ้านตามหลักฐานเดิมที่ผมเคยเป็นเจ้าบ้าน (หลังจากนั้นน้องสาวผมเป็นเจ้าบ้านเพื่อใช้สิทธิให้หลานได้เข้าเรียนบดินทร์เดชา จนจบกันไปหมดแล้ว และน้องสาวย้ายไปสิงห์บุรีแล้ว แต่ไม่ได้แจ้งเจ้าบ้านกลับมาเป็นผม) และโฉนดที่ดิน ที่เอาไปแสดง พอผมเป็นเจ้าบ้านยื่นเรื่องเลยรวดเร็วครับ
นอกจากนี่เลยถือโอกาสไปขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุขอรับเงินสงเคราะห์ ตามสิทธิ กว่าจะได้ก็ต้องพฤศจิกายน ๒๕๕๕ นั่นละครับ
พรุ่งนี้ ผมนัด ดร.กุศล ไว้ 10:00 น. ที่สถานีวิทยุพล.ม๒ ไปจ่ายเงินค่าไปทัวร์อินเดีย ช่วง 8-17 กุมภาพันธ์
ช่วงนี้มารแยะมากครับ โดยเฉพาะข้างบ้าน มาสุมหัวดื่มเหล้ากันตั้งแต่ห้าโมงเย็น ถึงห้าทุ่มทุกวัน เสียงดัง ไม่มีคุณสมบัติผู้ดีเลย ครั้นเราจะไปเตือน ก็ไม่ดี ผมเองไม่เป็นไร ถือว่าเราต้องเอาชนะเสียงรบกวนให้ได้ แต่หลานสาวเขายังต้องดูหนังสือ นี่สิลำบาก แต่ถึงอย่างไร ให้มันรู้ไปว่า ความดีมันจะเอาชนะความเลวไม่ได้ให้รู้ไปครับ
วันนี้คุณเจี๊ยบได้โทรศัพท์มาเตือน เรื่องทางชมรมจะทำการมอบทุนค่าหอพักเทอมสองแก่นิสิตหอพัก ผมเป็นผู้หนึ่งที่ได้บริจาคทุนดังกล่าว ทั้งสองเทอม ก็คงหาโอกาสเอาสตางค์ไปให้ครับ
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4736 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2554, 19:42:49 » |
|
ประกาศ ใครมีความรู้ ใครมีความสามารถ กรุณาช่วย อาจารย์ถาวร โชติชื่น ด้วย ตอนนี้อาจารย์ถาวร กำลังจะปูกระเบื้องพื้นใหม่เพราะปาเก้ของเดิมหลุดหมดตอนน้ำท้วม แต่ด้วยมีเพื่อนฝูงมาก จึงมีคนแนะนำทำอย่างโน้น ทำอย่างนี้ จนเจ้าตัวตัดสินใจไม่ถูก ว่าจะปูกระเบื้องอย่างไรดี บนพื้นคอนกรีตเดิม และไม่ให้น้ำซึมผ่านขึ้นมาได้ ผมเองได้แนะนำไปแล้วครับ
ดร.สุริยา ในฐานะอดีตครูวิทยาลัยอาชีวะนครสวรรค์ หน้าจะแนะนำได้ดีกว่า ครับ
ขอบคุณมาก
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4737 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2554, 19:51:39 » |
|
วันอังคาร ที่ 20 ธันวาคม 2554 เวลา 19.45 น. สถานการณ์น้ำวันนี้
น้ำเหนือ - ระดับน้ำเจ้าพระยาที่ อ.บางไทร 1.58 ม.รทก. (ลดลงจากเมื่อวาน 5 ซม.) น้ำทะเลหนุนสูง - วันนี้เวลา 11.48 น. ระดับ +1.09 ม.
ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาตรวจวัดที่ปากคลองตลาด - ระดับน้ำสูงสุด เมื่อวานนี้ เวลา 11.00 น. ระดับ +1.51 ม.รทก. (ต่ำกว่าคันกั้นน้ำ 129 ซม.) - คาดการณ์จากกรมอุทกศาสตร์ วันนี้ เวลา 11.48 น. ระดับ +1.70 ม.รทก. น้ำทุ่ง - พื้นที่ดอนเมือง (24 ชม.ที่ผ่านมา) ระดับน้ำลดลง 4 ซม. - ระดับน้ำคลองหกวาสายล่าง ที่ประตูระบายน้ำคลองสอง (24 ชม.ที่ผ่านมา) ระดับน้ำลดลง 5 ซม. - ฝั่งธนบุรี ระดับน้ำคลองมหาสวัสดิ์ ที่ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา (24 ชม.ที่ผ่านมา) ระดับน้ำลดลง 3 ซม. ภาพรวมสถานการณ์ใน กทม. (24 ชั่วโมงที่ผ่านมา) โดยทั่วไปสถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ ถนนสายหลักทุกสายไม่มีปัญหาน้ำท่วม
พื้นที่ฝั่งพระนคร ยังคงมีปัญหาน้ำท่วมขังบางส่วน ในพื้นที่เขตสายไหม - คลองต่าง ๆ ฝั่งพระนคร โดยทั่วไป ระดับน้ำลดลง 2-4 ซม.
พื้นที่ฝั่งธนบุรี ยังคงมีปัญหาน้ำท่วมขังบางส่วน ในพื้นที่เขตทวีวัฒนา - คลองต่าง ๆ ฝั่งธนบุรี โดยทั่วไป ระดับน้ำลดลง 1-3 ซม.
เป็นข่าวเศร้าจริงๆ ที่น้ำยังท้วม กทม. และบางบัวทอง ทำไม? ไม่ไปสูบออกให้หมดเสียทีหนึ่ง ครับ
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #4738 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2554, 23:36:29 » |
|
ขายบ้านไปอยู่คอนโดฯ เจ้าของใหม่เขาจัดการซ่อมเอง...ไม่เห็นยาก
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4739 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2554, 07:37:16 » |
|
อยู่คอนโด กับอยู่บ้าน ความรู้สึกมันต่างกันเลย สำหรับคนที่ยังยึดติดกับอัตตาตัวเอง นอกจากนี้อยู่คอนโด ต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนกลางสูงมาก ถ้าไม่มีสตางค์เหลือใช้จริงๆ คอนโดโดนตัดน้ำ-ไฟฟ้า และในที่สุดก็โดนยึดแน่นอน
วันนี้หลังจากไปจ่ายสตางค์ค่าทัวร์อินเดียแล้ว ว่าจะแวะไปดูบ้านอาจารย์ถาวร ครับ
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4740 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2554, 07:52:55 » |
|
บ้านผม ผ่านมาเดือนกว่าแล้วภายหลังจากน้ำท้วม สิ่งที่ปรากฏคือ ตามเฟอร์นิเจอร์ถึงแม้จะเป็นไม่สัก เนื่องจากน้ำบางส่วนซึมอยู่ในเนื้อไม้ ผลปรากฏคือ มีราเต็มไปหมด ต้องเช็ดออก ส่วนผนังบ้านนั้น สีโดนความชื้น พอง ลอกออกเป็นแผ่นเพิ่มมากขึ้นทุกวันแสดงว่ามีความชื้นมาก ส่วนคราบน้ำนั้น บางแห่งมีเชื้อราขึ้น ดังนั้นคงต้องทำความสะอาดกันใหม่ วันอาทิตย์นี้ พี่เกษม เจริญพงษ์ แห่ง MICRO - NICE ซึ่งผลิตน้ำยาล้างคราบน้ำ คราบน้ำมันที่เป็นแบบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ปกติจะตีกอล์ฟด้วยกันวันอาทิตย์เป็นบางครั้ง แต่ภายหลังจากคุณ John เสียชีวิต ก็ต้องมาตีกับพี่เกษม นี่ละซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ทางด้านขจัดคราบน้ำมันโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จนบริษัทญี่ปุ่น อเมริกา ขอร่วมลงทุนด้วย แต่พี่เกษม ไม่เอาเพราะกลัว ความรู้ของคนไทยถูกขโมย จะเอาน้ำยาที่บริษัททำขึ้น มาให้ เพราะตอนนี้ผลิตไม่ทันจำหน่าย เพราะทุกโรงงานมาซื้อเอาไปล้างคราบน้ำ น้ำมันทุกนิคมอุตสาหกรรม จึงขาดตลาด
ที่ผ่านมารอน้ำยาจากคุณทรงเกียรติ อยู่ จึงไม่ได้ทำ ล้างพออยู่ได้เท่านั้น และตอนนี้เพื่อนฝูงที่ซื้อเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงก็ว่างแล้ว สามารถไปขอยืมเขามาได้ คงได้ฤกษ์เสียที กำลังพิจารณาว่าจะไปปฏิบัติธรรมวัดป่าสุคะโตดี หรือปฏิบัติธรรมที่บ้านด้วยการล้างบ้านให้เสร็จก่อนปีใหม่ และยังได้ใสบาตพระทุกวัน ดีครับ
ผมเองกะว่าจะค่อยๆ ทำ ล้างบ้านไปทีละจุด เหนื่อยก็พัก ส่วนสีนั้นจะแซะออก ปล่อยให้แห้ง แล้วค่อยๆ ทาสีทับใหม่เอง คือหางานให้ตัวเองทำเป็นการฆ่าเวลาและถือเสียว่าเป็นการปฏิบัติธรรม อยู่ที่บ้าน ถ้าไม่ทำ มันก็กะไรอยู่ครับ เรามันต้องอยู่บ้าน และอยู่อย่างพอเพียง อะไรทำด้วยตัวเองได้ก็ทำไป ทำบ่อยๆ มันก็เสร็จได้เหมือนกัน ส่วนการรบกวนเพื่อนฝูงพี่น้องนั้น ถ้าเรากระทำได้ควรที่จะทำก่อนเป็นเชื้องต้น ด้วยความเคารพและเกรงใจเป็นอย่างยิ่ง เช้าใส่บาตเสร็จก็ปฏิบัติธรรม บ่ายแดดดีก็ค่อยๆ ล้างไปทีละจุด มันเป็นทางเลือกที่หน้าสนใจ ครับ
วันนี้หลวงพ่อวัดลาดพร้าว มาบิณฑบาตเอง ครับ
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4741 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2554, 07:57:22 » |
|
รู้ประวัติพุทธสาวก ภิกษุณี อรหันต์ เอตทัคคะ
ลำดับที่ ๘
พระสกุลาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีทิพยจักษุ พระสกุลาเถรี เกิดในตระกูลพราหมณ์ ผู้มีฐานะอยู่ในขั้นมหาเศรษฐี บิดามารดาตั้งชื่อว่า “สกุลา” เป็นผู้มีจิตศรัทธาน้อมไปในการบรรพชาอันเป็นผลมาจากบุญกุศลเก่าในอดีตชาติอยู่แล้ว
• ออกบวชเพราะเบื่อโลก
ครั้นเมื่อ พระบรมศาสดา เสด็จเที่ยวจาริกเทศนาสั่งสอนเวไนยสัตว์ไปตามคามนิคมน้อยใหญ่ต่าง ๆ ยังหมู่สัตว์ทั้งหลายให้บรรลุมรรคผล ตามอุปนิสัยอำนาจวาสนาบารมีของแต่ละคนเสด็จมายังพระนครสาวัตถี ประทับ ณ พระมหาวิหารเชตวันที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย นางได้เห็นพระบรมศาสดาผู้สมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถีแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้แสดงตนเป็นอุบาสิกา ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะต่อมาภายหลัง ได้ฟังธรรมในสำนักของพระอรหันต์องค์หนึ่งแล้วเกิดความสลดใจในโลกสันนิวาส จึงได้ออกบรรพชาในสักของภิกษุณี อุตส่าห์บำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนาไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมทั้งวิชชา ๓ และอภิญญา ๖
• ได้รับการยกย่องเป็นเลิศทางทิพยจักษุ
พระสกุลาเถรี เมื่อได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ปรากฏว่าเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์ทั้งหลาย มีทิพพจักขุญาณ ทิพพโสตญาณ และบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นต้นทั้งนี้ ก็ด้วยอานิสงส์จากอดีตชาติ ครั้งพระศาสนาพระพุทธเจ้านามว่า กัสสปะ นางได้บวชเป็นปริพาชิกา คือ นักบวชนอกพระพุทธศาสนา นางได้จุดประทีบโคมไฟถวายบูชาพระเจดีย์ของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยศรัทธาเลื่อมใส จึงเป็นผลส่งให้นางมีความชำนาญในทิพพจักขุญาณ สามารถมองทะลุฝา ทะลุกำแพง และภูเขาได้ตามความปรารถนา
ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงประกาศยกย่องพระสกุลาเถรีนี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้มีทิพยจักษุ
• วิชชา ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ มี ๓ คือ
๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้ ๒. จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ๓. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4742 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2554, 08:15:54 » |
|
วันนี้กรรมการชมรมฯ ประชุมเรื่องการจัดงานคืนสู่เหย้า และแจกทุนนิสิตหอพัก เป็นค่าเทอม 4,000 บาท ผมเองรับไว้หนึ่งทุน ก็คงจะหาเวลาเอาเงินไปให้ครับ แต่คงไม่อยู่ร่วมประชุมเพราะอยากให้กรรมการชมรมฯ เขาทำกันด้วยความอิสสละที่อยากจะทำ ส่วนผมนั้นขอมีส่วนร่วมดีกว่า มันพ้นวาระของผมไปแล้ว ที่ไม่ควรยึดติดกับชมรมฯ เป็นเพียงผู้มีส่วนร่วม ดีที่สุด อยากจะให้ช่วยทำอะไรก็สั่งมา ทำให้เสมอ เพราะความคิดเห็นของคนเรามันไม่เหมือนกัน ทุกคนคิดเข้าข้างตนเองเสมอ โดยหาเหตุ-ผล มาเป็นตัวรับรอง ถ้าคนไหนยังยึดติดกับอัตตาตนเองมาก มีแต่วิวาททางคารมกัน หาประโยชน์มิได้ ห่างไกลไว้ดีกว่า ครับ
การแสดงความเห็น ออกความเห็นให้กระทำนั่น กระทำนี่ โดยที่ตัวเราเองไม่ได้กระทำ หรือทำไม่ได้ อย่าเลย ๆ ดีกว่า จะทำให้คนอื่นได้รับทุกข์ เปล่า ๆ อยู่แบบอุเบกขา นี่ละปล่อยให้เป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ ถ้าเขาอยากให้เราทำอะไรให้ เขาก็คงบอกมาเอง เราไม่เคยขัดเลยกระทำให้มาตลอด และนี่ไม่ใช่เป็นการเห็นแก่ตัว หรือขาดความรับผิดชอบ หรือขาดความกตัญญูกับน้องๆ ซีมะโด่งที่เคยร่วมทำงานกันมา แต่ประการใดไม่ ต้องการเพียงให้น้อง ๆ ทำงานกันอย่างเป็นอิสสละ ชมรมฯ มันอยู่ได้ด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว เพียงแต่จะถอยลง หรืออยู่กับที่ หรือพัฒนาให้ดีขึ้น เท่านั้น
สวัสดี
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #4743 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2554, 08:33:05 » |
|
ต้องระวังการใช้คำว่า "อุเบกขา" ให้จงหนัก มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง ไปเห็นพระหนุ่มเอาถังน้ำไปรองน้ำฝนที่หยดลงมาจากหลังคาเพราะกระเบื้องชำรุด จึงถามว่า ทำไมไม่ซ่อมแซมเสีย พระหนุ่มตอบว่า "ผมถืออุเบกขา" หลวงพ่อชาสวนกลับอย่างเปี่ยมเมตตาว่า "อุเบกขาควาย"
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #4744 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2554, 09:27:22 » |
|
ถ้า อุเบกขาหมู ... หลวงพ่อ คงเกรงว่า พระหนุ่ม ท่าน จะเป็นไขมันอุดตันในเส้นเลือด ... ด้วยความเปี่ยมในเมตตา จึงเป็นขาควาย แทน ^_^
ปล.
สวัสดี ครับ พี่ๆ ทุกท่าน
|
|
|
|
สมชาย17
|
|
« ตอบ #4745 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2554, 09:49:27 » |
|
พี่สิงห์ครับ อยู่ปฏิบัติธรรม ด้วยการล้างบ้าน น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี ไม่ต้องรีบร้อน ค่อยๆทำไป แบบที่พี่สิงห์คิดไว้ ผมว่าดีครับ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4746 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2554, 19:07:16 » |
|
สวัสดีครับ คุณสมชาย
ขอบคุณมากที่แนะนำ ครับ คงใช้วิถีไม่ให้เสียทั้งสองอย่าง คือเช้าไปปฏิบัติธรรมวัดปลายนาตามที่ได้ตั้งใจไว้ บ่ายกลับมาล้างบ้าน ค่อยๆ ทำไปที่ละจุด สักสาม-สี่วัน ก็เสร็จครับ ส่วนประตูคงต้องใส่เองทั้งสอนบาน โรงเรียนบ้านหนองหว้าทั้งหลังก็ยังใส่วงกบประตูหน้าต่างเองได้เลย บ้านเราสองบานต้องใส่ได้แน่ๆ ครับ
ล่าสุดผมไปตีกอล์ฟที่สนามอัลไพน์สังสรรค์กับลูกค้า ผมตีกับผู้ใหญ่ผลคือ 51- 41 ครับ พรุ่งนี้ทีแรกคิดไปคิดมาว่าจะไปตีกอล์ฟเช้าสักหน่อยเพราะไม่ได้ตี แต่คิดไปอีกที แล้วหลวงพ่อหรือเณร จะเอาอะไรฉัน จึงขออยู่บ้านใสบาตพระเช้าดีกว่าไปตีกอล์ฟเสียสตางค์ด้วยครับ
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4747 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2554, 19:13:38 » |
|
ผมมีแผ่น CD ที่พระฝรั่งได้ทำเป็นโน๊ต ที่หลวงพ่อชาได้ตอบคำถามในการปฏิบัติธรรม ๒๔ ข้อ นำไปเขียนเป็นหนังสือ ต่อมาแปลเป็นไทย หลวงพ่อชาท่านให้พระที่วัดตรวจทานแล้ว จึงให้พิมพ์หรือทำ CD ได้ อาจารย์ถาวร เอามาให้ ผมฟังมาแล้วครับ พระท่านนั้นท่านตอบว่า "ผมกำลังฝึกการปล่อยวาง" คือไม่ทำอะไรเลยทั้งนั้น หลวงพ่อชา ท่านนำเอามาจากท่านเว่ยหลาง อีกทีหนึ่งครับ และหลวงพ่อไพศาล ก็เอาไปเป็นตัวอย่างในการสอนเหมือนกัน แบบนั้นเขาไม่เรียกปล่อยวาง ครับ มันไม่ถูกกาละเทสะที่ควรจะกระทำ ครับ สวัสดี
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #4748 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2554, 19:29:06 » |
|
ต้องขอโทษที่จำมาเล่า เลยเพี้ยนไปหน่อยครับ
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4749 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2554, 19:40:22 » |
|
วันนี้ผมมีหลายสิ่งที่อยากทำแต่ไม่ได้ทำ แต่สิ่งที่ไม่ไดวางแผนว่าจะทำก้ได้ทำ
- สิ่งแรกคือ ผมสามารถเอาชนะใจตนเองได้ที่ไม่กระทำตามที่จิตมันอยากมากๆ ให้กระทำ แต่ตัวจิตแท้มันรู้ว่าถ้ากระทำ ตามนั้นหมดกันทั้งสิ้น มันจึงมีสิ่งบอกเหตุไม่ให้ผมกระทำตาม จนผมสามารถเอาชนะความอยากของตัวเองไม่กระทำตามมันได้เป็นผลสำเร็จ
- ได้ไปสถานีวิทยุยานเกราะ เพื่อไปจ่ายเงินค่าทัวร์ไปอินเดียกับ ดร.กุศล บังเอิญหลวงพ่อ ดร.มหาสุเทพ ท่านเพิ่งมาจากอินเดีย มาจัดรายการสด เลยได้โอกาสกราบท่าน และท่านก็ลดราคาค่าทัวร์ให้มาก แต่ผมกับ ดร.กุศล กลัวจะเสียราคาเลยบอกหลวงพ่อว่า ตอนนี้หลวงพ่อกำลังรับบริจาคผ้าห่มกันหนาว เอาไปบริจาคที่อินเดีย ผมสองคนของนำเงินในส่วนที่หลวงพ่อลดให้นั้นไปบริจาคเป็นค่าผ้าห่มกันหนาวแทนครับ
- ตั้งใจว่า หลังจากชำระเงินเสร็จจะไปบ้านอาจารย์ถาวร โชติชื่น ได้โทรศัพท์ไปเช็คว่า อาจารย์ถาวรอยู่หรือไม่ ปรากฏว่าอาจารย์ถาวร ไม่รับสาย ดร.กุศลเลยชวนให้ไปหาอาจารย์พินิจ-พี่ติ๋ว แทน ผมก็ตอบรับ อาจารย์ถาวรโทรศัพท์มาหา จึงปฏิเสธไป ว่า ดร.กุศล ชวนไปหาอาจารย์พินิจที่บ้าน ได้ไปนั่งกินอาหารกลางวันที่อาจารย์พินิจ ดร.กุศลไปซื้อกันมามากมายเป็นก๊วยเตี๋ยว และลาดหน้า แต่ก่อนหน้านั้น ดร.กุศล บอกว่า พ่อทิ้งหลวงพ่อทวดไว้ให้ลูกชาย มี ๒ องค์ ดร.กุศล คิดว่าพ่อคงจะตั้งใจให้พี่สิงห์ในฐานะลูกชายอีกคนหนึ่ง จึงได้แบ่งเอาไว้หนึ่งองค์และให้ผมหนึ่งองค์ เมื่อเย็นที่ผ่านมาผมเลยเอาไปเลี่ยมทองเสียเงินไป 7000 บาท เมื่อเขาตั้งใจให้ก็เลยต้องเอามาแขวนที่คอ คนให้จะได้ภูมิใจครับ
- เดิมทีเย็นนี้ตั้งใจจะไปที่หอพักนำเงินค่าหอพักไปให้ 4000 บาท ปรากฏว่า เอกวิทย์ได้โทรศัพท์มา บอกว่าขอสำเนาบัตรประจำตัวพร้อมที่อยู่ เพื่อไปเปิดบัญชี เพื่อโอนเงินให้ศาลเป็นค่าฟ้องถึงฎีกา มา ๑๔ ปี ที่ชนะคดี คงได้เงินคืนบางส่วนแต่ส่วนเงินลงทุน ๒๕๐,๐๐๐ บาท คงไม่ได้ ได้แต่เงินที่ขอยืมผมไปแทน ก็ต้องยอมรับสภาพครับ เพราะมันพลาดไปแล้ว แต่ก็ทำใจไว้ตั้งนานแล้วว่าเงินจำนวนนี้คงไม่ได้แน่นอน จะได้จบสิ้นเสียที ดังนั้น ผมจึงต้องไปนั่งคุยกับเอกวิทย์ และกินข้าวเย็นไปด้วย จึงไม่สามารถนำเงินค่าหอพักไปให้ได้ คงจะต้องเอาไปให้กับคุณกนกวรรณ วันหลังแทนแล้วครับ คงไม่ว่ากันนะ คุณน้องเจี๊ยบ
- ผมไม่รู้ว่าทางชมรมฯจัดงานคืนสู่เหย้าวันไหน แต่ผมไปอินเดีย 8 - 17 กุมภาพันธ์ ถ้าตรงกันก็ต้องขออภัยด้วยที่ไม่สามารถไปร่วมงานได้ครับ สำหรับงานหอนั้น ผมไม่ได้วางอุเบกขาใดๆทั้งสิ้น ไปร่วมกิจกรรมเป็นส่วนใหญ่เกือบทั้งสิ้น ไม่บกพร่องยกเว้นการไปประชุม ที่อยากปลีกตัวให้เขาเป็นอิสสละ ส่วนอื่นสั่งมาผมก็ไปร่วมทุกครั้ง ดร.สุริยา จะมาหาว่าผมเป็น "อุเบกขาควาย" มันก็ไม่ถูกต้องนัก เพราะผมไม่อยากไปขัดอะไรทั้งสิ้น มันพ้นวาระไปแล้ว ขอเป็นผู้ร่วมกิจกรรมต่างๆ หรือกรรมการให้ทำอะไรก็ทำให้ทุกครั้งไม่บกพร่อง ขอให้บอกมาเท่านั้นทำให้ทั้งหมด แล้วจะเอาอะไรกันอีก
สวัสดี
|
|
|
|
|