khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4625 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2554, 19:51:57 » |
|
พี่สิงห์คะ, ชมรูปงานแล้ว,คิดถึงพี่กุศลคะ ได้เห็นชาวหอคับคั่ง น่าชื่นชม ในการผนึกกำลังและให้กำลังใจพี่กุศล พี่เค้าไม่ได้ตัวคนเดียวจริงๆด้วย.
ขอขอบพระคุณพี่ที่นำบรรยากาศมาให้ชมค่ะ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4626 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2554, 20:01:34 » |
|
เวลา 12:00 น. นำศพลงจากศาลา เวียนรอบเมรุสามรอบ ผมก็ไปร่วมกับขบวน เวลา 12:30 น. ข้าราชการนำไฟพระราชทานมาถึงวัด ญาติตั้งแถวต้อนรับ เวลา 13:00 น. พระราชทานเพลิงสพ
ส่วนพวกเราชาวซีมะโด่งนั้นใครมาบ้างดุกันเองครับและ ดร.กุศล เรียนเชิญ รศ.พินิจ เพิ่มพงษ์พันธ์ ขึ้นทอดผ้าบังสุกุล
เชิญชมภาพ และขอขอบคุณทุกท่านที่ไปร่วมงาน และแวะมาชมภาพ ครับ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4627 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2554, 20:07:02 » |
|
สวัสดีค่ะ คุณน้องหนุ๋งหนิ๋ง ที่รัก
มันเป็นหน้าที่ของพี่สิงห์ ที่จะต้องกระทำอยู่แล้วครับ แต่ก็ขอบคุณเธอมาก ที่ขอบคุณพี่สิงห์
อากาศเป็นใจเย็นสบาย ตอนนี้ กทม. เย็น ถึงหนาว ไม่ต้องเปิดแอร์เลย ครับ
สวัสดีค่ะ
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4628 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2554, 20:09:09 » |
|
งานสมเกียรติ สมฐานะมากคะ ได้ชมครบครัน..ทั้งพี่สิงห์ พี่กุศล
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4629 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2554, 20:13:54 » |
|
พี่สิงห์คะ, หนิงยังติดใจถุงนอนที่พี่ซื้อมา ว่าคือ"Luftmatratze"ที่พวกแค้มปิ้งใช้กัน เดี๋ยวจะลองค้นต่อคะว่าในทางการแพทย์ การพยาบาลที่โน่น มีใช้มั้ย.
ตอนนี้ขอดื่มด่ำบรรยากาศงานเพลิง ร่วมกับพี่และพี่กุศลก่อนคะ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4630 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2554, 20:14:29 » |
|
อาจารย์พินิจ ยังชมเลย ไม่เอาไว้นาน ไม่เรื่องมาก คนนครศรีธรรมราช มากันมากครับ
งานนี้ ดร.กุศล กลัวเสียสตางค์ เลยไม่ได้จ้างช่างมาถ่ายภาพ จะมีก็พี่สิงห์นี่ละที่ถ่ายภาพเอาไว้มากหน่อย ภาพดีไม่ดีไม่รู้ทั้งนั้น กะว่าจะอัดลงแผ่นไปให้ ดร.กุศล ครับ
สวัสดีค่ะ
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #4631 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2554, 20:30:43 » |
|
หนังสือแจกงานศพเป็นไง โพสท์หรือยังครับ
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4632 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2554, 20:43:57 » |
|
ต้องวาน ดร.สุริยา ดำเนินการให้ ผมลืมคิด คือ คิดไม่ถึงครับ
นอกจากนี้ พระท่านเอาหนังสือมาให้สามเล่ม อย่างละยี่สิบเล่ม ผมได้รับแจกหนังสือมาสองเล่ม คือ หนังสือสวดมนต์ และ "กรณีธรรมกาย" บทเรียนเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาและสร้างสรรค์สังคมไทย โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. ปยุตฺโต) เล่มหลังนี่ถูกใจมาก เพราะเคยอ่านมานิดหน่อยจากร้านคุณหมอกัลยาณี ที่นครศรีธรรมราช ขณะนั่งรอทำฟัน นานมาแล้ว ยังไม่รู้เรื่องทั้งหมดว่ามันเกิดอะไรขึ้น จะได้อ่านจริงๆ เสียที
สวัสดี
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4633 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2554, 20:46:51 » |
|
พี่สิงห์แบ่งให้หนิงอ่านด้วยคะ. ก๊อปมาลงที่นี่ได้มั้ยคะ?
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #4634 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2554, 20:52:29 » |
|
ไม่โพสท์จะดีกว่าครับ เพราะเท่ากับเป็นการหักหน้า อ.ดร.กุศล อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยี่ทางการศึกษา... ก็เพื่อนเล่นถ่ายเอกสารกระดาษ A4 มาสองแผ่นรวมเป็น 4 หน้า แล้วเย็บแม๊กซ์ (ดีที่ใช้กระดาษสีฟ้า ไม่ใช้สีขาว)
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4635 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2554, 08:19:12 » |
|
สวัสดีค่ะ คุณน้องหนุ๋งหนิ๋ง และชาวซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
หนังสือ "กรณีธรรมกาย" บทเรียนเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาและสร้างสรรค์สังคมไทย เขียนโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. ปยุตฺโต) พี่สิงห์ คงไม่สามารถ เอามาลงได้เพราะเหมือนกับเป็นวิทยานิพนธ์ เล่มหน่า ๔๔๐ หน้า แต่อย่างไรก็ดี จะพยายามเอามาลงให้ตามที่ขอ เพียงแต่ขอให้ผมอ่านก่อน ตอนไหนที่มีประโยชน์ก้จะทะยอยเอามาลงให้อ่านกันไปเรื่อยๆ ก้แล้วกัน
เมื่อสักครู่ พี่สิงห์ โทรศัพท์ ไปหา ดร.กุศล ว่าหนุ๋งหนิ๋ง ขอหนังสือเล่มสีเหลืองหนึ่งเล่ม ดร.กุศล ยังไม่รู้เลยว่าเป็นหนังสือที่ดี แจกให้กับคนที่มาร่วมงานไปแล้ว ไม่ได้อ่านหน้าปกเลย หน้าเสียดายมาก หนังสือเล่มนี้ควรให้กับบุคคลที่ควรให้จริงๆ ครับ ไม่มีจำหน่ายตามร้านหนังสือ เลยบอก ดร.กุศล ว่าให้ไปขอจากหลวงพี่ เอามาให้หนุ๋งหนิ๋ง อีกเล่มหนึ่งครับ สวัสดีคำปรารภ หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นด้วยปรารภเหตุเฉพาะหน้า คือปลายปี ๒๕๔๑ เมื่อเกิดกรณีปัญหาวัดพระธรรมกายขึ้นมาไม่นาน ได้มีเอกสารของวัดพระธรรมกาย ที่พยายามสร้างความชอบธรรมแก่คำสอนและกิจกรรมของสำนัก เผยแพร่ออกไปจำนวนมากมายอย่างกว้างขวาง เมื่อได้อ่านแม้เพียงบางส่วน ก็เห็นเนื้อหาที่จะก่อความเข้าใจผิดพลาดสับสนแก่ประชาชนถึงขั้นทำให้พระศาสนาสั่นคลอนได้ จึงได้เร่งเขียนคำชี้แจงมาจนเสร็จไปขั้นหนึ่ง
นอกจากเหตุุเแพาะหน้านั้นก็มีเหตุผลระยะยาวว่าไม่ว่าจะเกิดกรณีปัญหาเช่นนี้ขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตาม การสร้างเสริมปัญญาด้วยการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ย่อมมีความสำคัญในตัวของมันเอง เพราะความรู้เห็นถูกต้องเป็นฐานของพฤติกรรม จิตใจ และกิจการทุกอย่าง ที่จะดำเนินไปได้โดยถูกต้องและปลอดดปร่งโล่งเบา เกื้อกูลต่อการแก้ปัยหา และการสร้างสรรค์ทั้งปวง
หลังจากงานเร่งเฉพาะหน้าเสร็จไปขั้นหนึ่งแล้ว จึงได้เขียนแทรกเสริมเพิ่มความต่อมาให้ชัดเจนและครอบคลุมยิ่งขึ้น ดังปรากฏเป็นหนังสือเล่มขยายในบัดนี้ ซึ่งแม้จะพยายามเขียนให้สั้นก็ยังยาวเกินคาดหมายไปมาก
แม้หากการแก้ปัญหาของส่วนรวมในบัดนี้ไม่ลุล่วง สาระที่จัดรวมไว้ก็อาจช่วยเอื้อแก่คนรุ่นหลัง หรือปัจฉิมาชนตา ผู้มีปัญญาที่จะมีโอกาสมาแก้ปัยหาหรือฟื้นฟูกู้พระศาสนา อย่างน้อยก็ช่วยให้รู้เข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้วครั้งหนึ่ง
เนื้อหาที่นำมาเสนอไว้ มุ่งที่ข้อมูลความรู้และหลักการตามหลักฐานที่ยอมรับกันว่าเป็นมาตรฐานสากลของพระพุทธศาสนาเถรวาท พร้อมทั้งคำอธิบายพอเชื่อมโยงระหว่างฐานข้อมูล โดยแยกทัศนะหรือความคิดเห็นออกไว้ต่างหาก และให้มีเพียงแต่น้อย
ด้วยเหตุที่เป็นหนังสือเล่มขยาย ซึ่งเขียนเพิ่มเติม โดยแทรกเข้าในหลายแห่งของเล่มเดิม มิใช่เขียนต่อเนื่องในคราวเดียว จึงอาจมีเนื้อความที่ลักลั่นและซ้ำซ้อนบ้าง
เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกรณีปัญหาเฉพาะ แม้มิจงใจให้กระทบกระทั่ง แม่เมื่อจะให้เกิดความชัดเจน ก็จำเป็นต้องมีคำและความบางส่วนที่พาดพิงถึงสำนักพระธรรมกาย และท่านผู้เกี่ยวข้อง จึงขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย โดยขอให้ถือว่ามาช่วยกันทำประโยชน์เพื่อพระศาสนาและสังคมส่วนรวม
หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป้นส่วนร่วมอย่างหนึ่ง ที่จะให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทัศนะ ที่จะเป็นฐานแห่งความมั่นคงยั่งยืนของพระธรรมวินัย และความเจริญแพร่หลายแห่งประโยชน์สุขของประชาชน สืบต่อไป
พระธรรมปิฎก ๑๐ เมษายน ๒๕๔๒ เท่าที่ทราบ สาเหตุมาจาก คำสอนของหลวงพ่อวัดพระธรรมกายท่านบอกว่า "ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น "อัตตา"" ซึ่งตรงกันข้ามกับคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ทรงสอนว่า "ขันธ์ ๕ เป็น อนัตตา" ดังที่ผมได้นำคำสนทนาระหว่างพระพุทธองค์กับสัจจกนิครนย์ ที่เคยลงให้อ่านกันแล้ว ซึ่งสุดท้าย สัจจกนิครนย์ ก็ยอมรับโดยดุจสดีว่า "ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา"
วัดพระธรรมกายขณะนั้น มีอิทธิพลต่อกรมการศาสนา และคณะสงฆ์ ชั้นผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก จนพระธรรมปิฎก โดนข้อหาต่างๆ มากมายที่ออกมาต่อต้าน จนท้ายที่สุด คุณชวน หลีกภัย ในฐานะนายกรัฐมนตรี ต้องออกมาปกป้องพระธรรมปิฎก อย่างเป็นทางการ จนสามารถพ้นภัย ไปได้
ปัจจุบันทางวัดพระธรรมกายท่านสอนว่า การทำบุญนั้น ถ้าจะให้ได้บุญมาก ๆ ต้องบริจาค มากๆ หมายความว่า บุญกุศล สามารถซื้อหาได้ด้วยเงิน นั่นเอง ซึ่งผิดกับคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า ถึงแม้จะเดินตามท่านทุกก้าว เกาะชายสังฆาฏิพระพุทธองค์ ก็ไม่สามารถบรรลุธรรม พ้นทุกข์ไปได้ ถ้ายังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่อยู่ในศีลธรรมอันดี ตรงกันข้าม ผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตาม มรรคมีองคฺ ๘ จนไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง สามารถบรรลุธรรม พ้นทุกข์ โดยที่อยู่ห่างไกล ไม่เคยเห็นพระพุทธองค์เลย ก็ชื่อได้ว่าใกล้ชิดพระองค์โดยแท้
ท่านอนาบิณฑิก ก็ดี นางสิสาขาก็ดี พระเจ้าพิมพิศาล ก็ดี ท่านบรรลุโสดาปฏิผล เป็นอริยบุคคลแล้ว ท่านจึงบริจาคทาน และสร้างวัดในพระพุทธศาสนา เป็นการสร้างพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน โดยที่ท่านเหล่านั้น ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทะองค์โดยเคร่งครัด พระพุทธองค์ได้ทรงบอกพระอานนท์ว่า คำสอนของพระพุทธองค์นั้น ไม่ขัดแย้งกันเลย ซึ่งก็เป็นความจริง อะไรที่ผิดไปจากคำสอนของพระองค์นั้น เป็นการตู่ตถาคต โดยแท้
แต่การทำบุญ บริจาคทรัพย์นั้น ก็เป็นปัจจัยพื้นฐานแห่งศาสนาพุทธ เพราะจะทำให้จิตใจเบิกบานด้วยอารมณ์ของผู้ให้ คือสุขใจที่ได้บริจาคทรัพย์เพื่อผู้อื่น หรือสร้างศาสนประโยชน์ สาธารณะ และการบริจาคนั้นก็ไม่ได้ทำให้ตัวเองหรือผู้อื่นได้รับทุกข์ แตไม่ใช่ว่า ที่บริจาคนั้นยิ่งมากยิ่งได้บุญมาก ตามค่าของเงิน มันไม่ใช่ทางธรรม
ดังคำกล่าว "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นพระพุทธองค์ หรืออยู้ใกล้พระพุทธองค์ โดยแท้" คือการบรรลุธรรม พ้นทุกข์ไม่สามารถซื้อหาได้ด้วยเงิน จากการบริจาคทำบุญ ต้องกระทำด้วยตัวเองตามมรรค ๘ เท่านั้น
แล้วจะเอามาลงให้อ่านกันครับ
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4636 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2554, 08:32:45 » |
|
วันนี้ผมอยู่บ้าน ดังนั้น เมื่อเช้ามืดได้ปฏิบัติธรรม หุงข้าวใส่บาตเณร เดินจงกรมออกกำลังกายยามเช้า เดินไปตลาดการบินไทยเพื่อซื้อกับข้าวมาใสบาตและรับประทาน สิ่งของใสาบาตประกอบด้วย ข้าวกล้อง ๔ ชนิด น้ำ นมกล่อง ผัดวุ้นเส้น และขนมฝอยทอง-ทองหยอด สำหรับใสบาตเณร ตอนเจ็ดโมงเช้า
วันนี้ทาง SIW จัดกอล์ฟสังสรรค์กับลูกค้าที่สนาม อัลไพล์กอล์ฟคลับ รังสิต ผมต้องไปช่วยจัดการแข่งขันและเล่นกอล์ฟด้วยครับ กลับบ้านสองทุ่ม
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4637 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2554, 08:37:08 » |
|
นโยบายประหยัด ของ ดร.กุศล แจกไปก็ไม่มีคนอ่าน ให้อ่านเฉพาะเป็นการฆ่าเวลา ขณะมาฟังพระสวดพระอภิธรรม และสวดมาติกา จะเห็นได้ว่าแจกก่อน เพื่อให้อ่านแล้วโยนทิ้งครับ
สำหรับเงินที่ทุกท่านทำบุญไปนั้น ดร.กุศล ได้เอาไปทำบุญถวายพระส่วนหนึ่ง และจะเอาไปซ่อมแซมพระพุทธรูปประจำตระกูลที่ศาลาราย วัดพระมหาธาตุนครศรีธรรมราช ครับ
สวัสดี
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4638 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2554, 12:48:34 » |
|
พี่สิงห์
เมื่อวันเฉลิมฯ ที่ผ่านมา.........
11. พระราชภาวนาวิสุทธิ์ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี เป็น พระเทพญาณมหามุนี วิ.
หมายเหตุ: แป๊กมานาน จากการถูกฟ้องคดี แต่ที่สุดอัยการถอนคำฟ้องก่อนฟังคำพิพากษา
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4639 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2554, 20:24:37 » |
|
ขอบคุณมากครับคุณเหยง ที่บอกกล่าวให้ทราบ ผมเองนั้นไม่ได้สนใจอะไรทั้งสิ้น และก็ไม่เคยไปวัดพระธรรมกายเลย เพราะโดยส่วนตัว ผมก็ไม่เห็นด้วย อยู่หลายประการ มันผิดไปจากพระไตรปิฎก ที่ผมได้อ่านถึงแม้จะเป็นภาษาไทย แต่ก็เป็นการสังคายนา ผ่านผู้รู้มาทั้งนั้น ก็ต้องเชื่อตามนั้น และมันก็เป็นจริงตามธรรมชาติ นั่นละศาสนาพุทธที่แท้จริง
ทุกวันนี้ถ้าจะทำบุญด้วยการบริจาคเงินมากๆ ผมก็ไม่ทำครับ ทำแบบพอเพียงเราไม่เดือดร้อน นั้นทำ สำหรับการเลือนสมณศักดิ์สงฆ์นั้น ผมคงไม่ล่วงเกิน เพราะไม่รู้ความจริง และตัวชี้วัดตำแหน่งนั้นคืออะไร? แต่ก็รู้มาว่าส่วนใหญ่ชอบเป็นวัตถุ คือสร้างวัด สร้างโรงเรียนสงฑ์ จะมีแต้มต่อสูง เพราะมันเห็นได้ชัดกว่า ศาสนาพุทธมันถึงเปลี่ยนแปลงไปมากจากของเดิม ก็ปล่อยไป ไม่ใช้กงการของผม ครับ
สวัสดี
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4640 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2554, 20:25:28 » |
|
เพิ่งสร้างได้ไม่นาน คือปี ค.ศ. 1994 ถึงปีนี้ สะพานมีอายุเพียง 17 ปี ทางการจีนระเบิดสะพานทิ้งแล้วครับ..กลัวความไม่ปลอดภัย ??ฮือฮา จีนระเบิดสะพานแขวนแห่งใหญ่ทิ้ง ป้องกันหลังเสี่ยงอันตราย รองรับรถยนต์เกินอัตรา(ชมคลิป)วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 11:07:47 น. สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ว่า ทางการจีนได้ระเบิดสะพานข้ามแม่น้ำ"หลิวหยาง"ยาว 760 เมตร ในมณฑลหูหนาน จนกลายเป็นกองหินจากปฎิบัติการระเบิดสะพานที่ทางการเห็นว่าไม่ปลอดภัยที่จะใช้อีกต่อไป โดยเหตุการณ์ดังกล่าวมีประชาชนหลายร้อยคนเข้ามาชมภาพการระเบิดสะพาน ที่เป็นเหตุการณ์ที่มีให้เห็นไม่บ่อยนัก
รายงานระบุว่า สะพานแห่งนี้ถือเป็นสะพานใหญ่ที่สุดของจีนที่ถูกทำลาย โดยถูกสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1994 และตอนแรก เจ้าหน้าที่วิศวกรประเมินว่าสะพานเหล่านี้จะสามารถรองรับรถยนต์ได้วันละไม่เกิน 39,000 คันต่อวัน แต่ปัจจุบันรถยนต์ที่ใช้สะพานแห่งนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนถึงกว่า 80.000 คัน ขณะที่สะพานแห่งใหม่จะถูกสร้างขึ้นในเดือนม.ค.ปี 2012 http://www.youtube.com/watch?v=NZzfx1McKlg&feature=player_embeddedจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323749283&grpid=01&catid=&subcatid=
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4641 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2554, 22:09:58 » |
|
พี่สิงห์ที่เคารพ, หนิงหมายถึงหากพี่จะเลือกเป็นบางกรณี มาลงในกระทู้นี้คะ แล้วชาวเวบอ่านหน้าจอเอา กลายเป็นว่าหนิงจะได้ 1 เล่มเหรอคะพี่?? เย้าาาาาาา... ยิ้ปปี้...
เดี๋ยวกลับมาน้อมรับจากมือท่านพี่กุศลคะ! ขอบพระคุณพี่สิงห์ พี่กุศลล่วงหน้ามา ณ ที่นี่ค่า
พี่สิงห์, วัดพระธรรมกายรึปล่าวคะ ที่มีผู้บริหารเบื้องหลังของ คนในครอบครัวนึง ที่เค้า ได้ชื่อว่าปั่นหุ้นอุตลุต รวยเละ บนความย่อยยับของแมงเม่า อีกไม่รู้เท่าไหร่...เค้าล่องหน หนีการจับกุม แล้วโผล่มาในชื่อใหม่ โฉมใหม่...ครอบครัวของเค้านี่แหละคะ บริหารการเงิน...เงินที่มาจากการเล่น ที่ไม่ได้มาจากproductivityที่แท้
สงสัยหนิงอ่านมากไปหน่อยคะ ทุกเรื่องที่อ่านโยงใยกันเหมือน networkคะพี่
เห็นด้วยกับพี่คะที่ว่าการทำบุญมาก บริจาคเงินมากแล้วจะได้บุญมาก เสียแนวปฏิบัติหมด! คดโกง ทำนาบนหลังเค้ามา แล้วจะ มาแก้คืนให้ถัวกันแบบนี้..แปลกๆอยู่ค่ะ หนิงว่า.
|
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4643 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2554, 23:23:58 » |
|
แบบนี้ที่นอนลม สำหรับแค๊มปิ้ง ประมาณ 50 €
|
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4645 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2554, 06:50:41 » |
|
หน้าตาก็ได้มาคร่าวๆคะ Anti-Decubitus-Matratzen ที่ที่โน่นใช้กัน
|
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4647 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2554, 08:19:03 » |
|
รู้ประวัติพุทธสาวก ภิกษุณี อรหันต์ เอตทัคคะ
ลำดับที่ ๒
พระเขมาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีปัญญา พระเขมาเถรี เกิดในราชสกุล กรุงสาคละ แคว้นมัททะ พระประยูรญาติ ได้ให้พระนามว่า “เขมา” เพราะพระนางมีผิวพรรณเลื่อมเรื่อดังสีน้ำทอง เมื่อเจริญพระชันษาแล้วได้อภิเษกสมรสเป็นมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารแห่งนครราชคฤห์เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้กรุงราชคฤห์นั้นพระนางได้สดับข่าวว่าพระพุทธองค์ ทรงแสดงโทษในรูปสมบัติและเพราะความที่พระนางเป็นผู้หลงมัวเมาในรูปโฉมของตนเอง จึงไม่กล้าไปเข้าเฝ้าพระทศพลด้วยเกรงว่าพระพุทธองค์จะแสดงโทษในรูปโฉมของพระนาง
• หลงอุบายถูกหลอกให้ไปวัด
ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสาร ก็ทรงดำริว่า “เราเป็นอัครอุปัฏฐากของพระศาสดา แต่อัครมเหสี ของอริยสาวกเช่นเรานี้กลับไม่ไปเฝ้าพระทศพล ข้อนี้เราไม่ชอบใจเลย” ดังนั้น พระองค์จึงคิดหาอุบายด้วยการให้พวกนักกวีผู้ฉลาด แต่บทกวีประพันธ์ถึงคุณสมบัติความงดงามของพระวิหารเวฬุวันราชอุทยานแล้ว รับสั่งให้นำไปขับร้องใกล้ ๆ ที่พระนางเขมาเทวีประทับ เพื่อให้ทราบสดับบทประพันธ์นั้นพระนางได้สดับคำพรรณนาความงดงามของพระราชอุทยานแล้ว ก็มีพระประสงค์จะเสด็จไปชม จึงเข้าไปกราบทูลพระราชาผู้สามี ซึ่งท้าวเธอก็ทรงยินดีให้เสด็จไปตามพระประสงค์ เมื่อพระนางได้เสด็จชมพระราชอุทยานจนสิ้นวันแล้วใคร่จะเสด็จกลับ พวกราชบุรุษทั้งหลายได้นำพระนางไปยังสำนักของพระบรมศาสดาทั้ง ๆ ที่พระนางไม่พอพระทัยเลย พระบรมศาสดาทอดพระเนตรเห็นพระนางกำลังเสด็จมา จึงทรงเนรมิตนางเทพอัปสรนางหนึ่ง ซึ่งกำลังถือพัดก้านใบตาลถวายงานพัดให้พระองค์อยู่เบื้องหลัง พระนางเขมาเทวี เห็นนางเทพอัปสรนั้นแล้วถึงกับตกพระทัยดำริว่า “แย่แล้วสิเรา สตรีที่งามปานเทพอัปสรเห็นปานนี้ยืนอยู่ใกล้ ๆ พระทศพล แม้เราจะเป็นปริจาริกา หญิงรับใช้ของนาง ก็ยังไม่คู่ควรเลย เพราะเหตุไร เราจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจจิตคิดชั่วหลงมัวเมาอยู่ในรูปเช่นนี้หนอ” พระนางยืนทอดพระเนตรเพ่งดูสตรีนั้นอยู่ ในขณะนั้นเอง พระบรมศาสดา ได้ทรงอธิษฐานให้สตรีนั้นมีสรีระเปลี่ยนแปลงล่วงเลยปฐมวัยแล้วย่างเข้าสู่มัชฌิมวัย ล่วงจากมัชฌิมวัยแล้วย่างเข้าสู่ปัจฉิมวัย เป็นผู้มีหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก ฟันหัก แก่หง่อม แล้วล้มลงกลิ้งพร้อมกับพัดใบตาลนั้นพระนางเขมาเทวี ได้ทอดพระเนตรเห็นรูปสตรีนั้นโดยตลอดแล้ว จึงดำริว่า “สรีระที่สวยงามเห็นปานนี้ยังถึงงามวิบัติอย่างนี้ได แม้สรีระของเราก็จักมีคติเป็นไปอย่างนี้เหมือนกัน”ขณะที่พระนางกำลังมีพระดำริอย่างนี้อยู่นั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาภาษิตว่า:- “ชนเหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกไปในกระแสราคาเหมือนแมลงมุมตกไปในข่ายใยที่ตนทำเองเมื่อชนเหล่านั้นตัดกระแสนั้นได้ โดยไม่มีเยื่อใยแล้วละกามสุขเสียได้ ย่อมออกบวช”เมื่อจบพระพุทธดำรัสคาถาภาษิตแล้ว พระนางเขมาเทวี ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในอิริยาบถที่ประทับยืนอยู่นั่นเอง
• พระอรหันต์ฆราวาสเป็นได้ไม่นาน
ธรรมดาผู้อยู่ครองเรือน เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้วจำต้องปรินิพพานหรือไม่ก็บวชเสียในวันนั้น เพราะเพศฆราวาสไม่สามารถจะรองรับความเป็นพระอรหัตถ์ได้ แต่พระนางรู้ว่าอายุสังขารของตนยังเป็นไปได้ จึงเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ให้พระเจ้าพิมพิสารพระสวามีทรงอนุญาตการบวชก่อน แม้พระราชาก็ทรงทราบโดยสัญญาณคืออาการที่พระนางแสดงว่าบรรลุอริยธรรมแล้ว ทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ให้พระนางประทับบนวอทองแล้วนำไปอุปสมบทในสำนักของภิกษุณีสงฆ์เมื่อพระนางบวชแล้วได้นามว่า “พระเขมาเถรี” เพราะอาศัยเหตุที่พระนางมีปัญญามาก บรรลุพระอรหัตผลทั้ง ๆ ที่อยู่ในเพศฆราวาส พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้มีปัญญา และทรงแต่งตั้งให้เป็น อัครสาวิกาฝ่ายขวา
• วิชชา ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ มี ๘ คือ
๑. วิปัสสนาญาณ ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา ๒. มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ ๓. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ ๔. ทิพพโสต หูทิพย์ ๕. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่นได้ ๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้ ๗. พิทพจักขุ ตาทิพย์ (จุตูปปาตญาณ) ๘. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น
|
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #4649 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2554, 07:40:52 » |
|
รู้ประวัติพุทธสาวก ภิกษุณี อรหันต์ เอตทัคคะ
ลำดับที่ ๓
พระอุบลวรรณาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีฤทธิ์
พระอุบลวรรณาเถรี เกิดในตระกูลเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี บิดามารดาได้ตั้งชื่อให้นางว่า “อุบลวรรณา” ตามนิมิตลักษณะที่นางมีผิวพรรณเหมือนกลับดอกอุบลเขียว
• เพราะสวยบาดใจจึงต้องให้บวช
เมื่อนางเจริญวัยเข้าสู่วัยสาว นอกจากจะมีผิวงามแล้วรูปร่างลักษณะยังงดงามสุดเท่าที่จะหาหญิงอื่นทัดเทียมได้ จึงเป็นที่หมายปองต้องการของพระราชาและมหาเศรษฐีทั่วทั้งชมพูทวีป ซึ่งต่างก็ส่งเครื่องบรรณาการอันมีค่า ไปมอบให้พร้อมกับสู่ขอเพื่ออภิเษกสมรสด้วย ฝ่ายเศรษฐีผู้บิดาของนางรู้สึกลำบากใจด้วยคิดว่า “เราไม่สามารถที่จะรักษาน้ำใจของคนทั้งหมดเหล่านี้ได้ เราควรจะหาอุบายทางออกสักอย่างหนึ่ง” แล้วจึงเรียกลูกสาวมาถามว่า:- “แม่อุบลวรรณา เจ้าจะสามารถบวชได้ไหม ?” นางได้ฟังคำของบิดาแล้วรูสึกร้อนทั่วสรรพางค์กายเหมือนกับมีคนนำเอาน้ำมันที่เคี่ยวให้เดือด ๑๐๐ ครั้ง ราดลงบนศีรษะของนาง ด้วยว่านางได้สั่งสมบุญมาแต่อดีตชาติ และการเกิดในชาตินี้ก็เป็นชาติสุดท้ายของนาง ดังนั้น นางจึงรับคำของบิดาด้วยความปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง เศรษฐีผู้บิดาจึงพานางไปยังสำนักของภิกษุสงฆ์แล้วให้บวชเป็นที่เรียบร้อย
เมื่อนางอุบลวรรณาบวชได้ไม่นาน ก็ถึงสาระที่จะต้องไปทำความสะอาดโรงอุโบสถ เธอได้จุดประทีปเพื่อขจัดความมืดแล้วกวาดโรงอุโบสถ เห็นเปลวไฟที่ดวงประทีปแล้วยึดถือเอาเป็นนิมิตร ขณะที่กำลังยืนอยู่นั้นได้เข้าฌานมีเตโช กสิณเป็นอารมณ์ แล้วกระทำฌานนั้นให้เป็นฐานเจริญวิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาและอภิญญาทั้งหลาย ณ ที่นั้นนั่นเอง
เมื่อพระเถรีสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เที่ยวจาริกไปยังชนบทต่าง ๆ แล้วกลับมาพักที่ป่าอันธวัน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคยังมิได้ทรงบัญญัติห้ามภิกษุณีอยู่ในป่าเพียงลำพัง ประชาชนได้ช่วยกันปลูกกระท่อมไว้ในป่าพร้อมทั้งเตียงตั่งกั้นม่านแล้วถวายเป็นที่พักแก่พระเถรีนั้น
• บวชแล้วยังถูกข่มขืน
ฝ่ายนันทมาณพ ผู้เป็นลูกชายของลุงของพระเถรีนั้น มีจิตหลงรักนางตั้งแต่ยังไม่บวชเมื่อทราบข่าวว่าพระเถรีมาพักที่ป่าอันธวันใกล้เมืองสาวัตถี จึงได้ถือโอกาสขณะที่พระเถรีเข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถีนั้น ได้เข้าไปในกระท่อมหลบซ่อนตัวอยู่ใต้เตียง เมื่อพระเถรีกลับมาแล้ว เข้าไปในกระท่อมปิดประตูแล้วนั่งลงบนเตียง ขณะที่สายตายังไม่ปรับเข้ากับความมืดในกระท่อม นันทมาณพก็ออกมาจากใต้เตียงตรงเข้าปลุกปล้ำข่มขืนพระเถรี ถึงแม้พระเถรีจะร้องห้ามว่า:-
“เจ้าคนพาล เจ้าอย่าพินาศฉิบหายเลย เจ้าคนพาล เจ้าอย่าพินาศฉิบหายเลย”
นันทมาณพ ก็ไม่ยอมเชื่อฟัง ได้ทำการข่มขืนพระเถรีสมปรารถนาแล้วก็หลีกหนีไป พอเขาหลบหนีไปได้ไม่ไกล แผ่นดินใหญ่ก็มีอาการประหนึ่งว่าไม่สามารถจะรองรับน้ำหนักของเขาเอาไว้ได้ จึงอ่อนตัวยุบลงแล้วนันทมาณพก็จมดิ่งลงในแผ่นดิน ไปเกิดในอเวจีมหานรก ฝ่ายพระอุบลวรรณาเถรี ก็มิได้ปิดบังเรื่องราวที่เกิดขึ้น ได้บอกแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นกับตนนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ต่อจากนั้นเรื่องราวของพระเถรีก็ทราบถึงพระบรมศาสดา พระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาภาษิตว่า:-
“คนพาล ย่อมร่าเริงยินดีในบาปกรรม ลามกที่ตนกระทำ ประดุจว่าดื่มน้ำผึ้งที่มีรสหวาน จนกว่าบาปกรรมนั้นจะให้ผลจึงจะได้ประสบกับความทุกข์ เพราะกรรมนั้น”
• พระขีณาสพเหมือนไม้แห้งไม้ผุ
เมื่อกาลเวลาล่วงไป ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรม เกี่ยวกับเหตุการณ์ของพระอุบลวรรณาเถรี นั้นว่า:-
“ท่านทั้งหลาย เห็นทีพระขีณาสพทั้งหลาย คงจะยังมีความยินดีในกามสุข คงจะยังจะพอใจในการเสพกาม ก็ทำไมจะไม่เสพเล่า เพราะท่านเหล่านั้นมิใช่ไม้ผุ มิใช่จอมปลวก อีกทั้งเนื้อหนังร่างกายทั่วทั้งสรีระก็ยังสดอยู่ ดังนั้น แม้จะเป็นพระขีณาสพก็ชื่อว่ายังยินดีในการเสพกาม”
พระบรมศาสดา เสด็จมาแล้วตรัสถาม ทรงทราบเนื้อความที่พวกภิกษุเหล่านั้นสนทนากัน แล้วจึงตรัสว่า:-
“ภิกษุทั้งหลาย พระขีณาสพทั้งหลายนั้นไม่ยินดีในกามสุข ไม่เสพกามเปรียบเสมือนหยาดน้ำตกลงในใบบัวแล้วไม่ติดอยู่ ย่อมกลิ้งตกลงไป และเหมือนกับเมล็ดพันธุ์ผักกาด ย่อมไม่ติดตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม ฉันใด ขึ้นชื่อว่ากามก็ย่อมไม่ซึมซาบ ไม่ติดอยู่ในจิตของพระขีณาสพ ฉันนั้น”
• ห้ามภิกษุณีอยู่ป่า
ต่อมาพระบรมศาสดา ทรงพิจารณาเห็นภัยอันจะเกิดแก่กุลธิดาผู้เข้ามาบวชแล้วพักอาศัยอยู่ในป่า อาจจะถูกคนพาลลามกเบียดเบียนประทุษร้าย ทำอันตรายต่อพรหมจรรย์ได้ จึงรับสั่งให้เชิญพระเจ้าปเสนทิโกศลมาเฝ้า ตรัสให้ทราบพระดำริแล้ว ขอให้สร้างที่อยู่อาศัยเพื่อนางภิกษุณีสงฆ์ในที่บริเวณใกล้ ๆ พระนคร และตั้งแต่นั้นมา ภิกษุณีก็มีอาวาสอยู่ในบ้านในเมืองเท่านั้น พระอุบลวรรณาเถรี ปรากฏว่าเป็นผู้ชำนาญในการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในวันที่ พระบรมศาสดาทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์นั้น พระเถรีก็กราบทูลอาสาขอแสดงฤทธิ์เพื่อต่อสู้กับพวกเดียรถีย์แทนพระพุทธองค์ด้วย และทรงอาศัยเหตุนี้จึงได้ทรงสถาปนาพระอุบลวรรณาเถรี นี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์ และเป็นอัครสาวิการฝ่ายซ้าย
|
|
|
|
|