02 กรกฎาคม 2567, 12:25:25
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 183 184 [185] 186 187 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3341252 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 19 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4600 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 05:35:05 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องหนุ๋งหนิ๋ง ที่รัก

                พี่สิงห์ ขอบพระคุณมากครับ วันอาทิตย์บ่ายๆ พี่สิงห์จะไปที่หน้าโรงพยาบาลราชวิถี ไปเดินดูและถามประสิทธิภาพจากคนขาย และจะจำกล่องที่เธอโพสต์ไว้เอาไปเทียบ ครับ

                จุดประสงค์รองนอน แล้วไม่ให้เกิดแผลที่หลังของผู้ป่วย เป็นหลัก เพราะถ้าเกิดแผลแล้วรักษาอยาก ครับ

                อรุณสวัสดิ์ค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4601 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 05:49:30 »

วันที่ ๑๐ ธันวาคม เป็น วันรัฐธรรมนูญ




                วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี


ความหมายของรัฐธรรมนูญ

                รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ

                วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย


ประวัติความเป็นมา

                 การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ


สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

                  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

                  หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

                  อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

                  รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

                   จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

                    วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

                    ๑. พระมหากษัตริย์

                    ๒. สภาผู้แทนราษฎร

                    ๓. คณะกรรมการราษฎร

                    ๔ .ศาล

                    ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 18 ฉบับ

                    รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้

           1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475)

           2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
 
           3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

           4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)

           5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

           6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

           7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)

           8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

           9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)

         10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

         11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)

         12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)

         13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.

         14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)

         15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

         16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
 
         17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)

         18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - ปัจจุบัน)


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ฉบับปัจจุบัน)

                รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในปี 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ" (คมช.) โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

                 โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว มีการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ลงประชามติว่าจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอบ

                  อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการเผชิญหน้าทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ และฝ่ายที่ต่อต้าน รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นขั้นตอนการร่าง เช่น ประชานไม่ได้มีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ การที่ คมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. และในเนื้อหาสาระของร่างก็มีประเด็น เช่น มีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่งของจำนวนมาจากการแต่งตั้ง รวมถึงการนิรโทษกรรม คมช. เองสำหรับการก่อรัฐประหาร เป็นต้น

                  ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และข้อกำหนดในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีทั้งหมด 309 หมวด โดยมีเนื้อหาสาระตามหมวดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

                   คำปรารภ

                   หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1-7)

                   หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8-25)

                   หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26-69)

                   หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70-74)

                   หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75-87)

                   หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88-162)

                   หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165)

                   หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170)

                   หมวด 9 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 171-196)

                   หมวด 10 ศาล (มาตรา 197-228)

                   หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229-258)

                   หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา 259-278)

                   หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279-280)

                   หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281-290)

                   หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291)

                   บทเฉพาะกาล (มาตรา 292-309)


วันรัฐธรรมนูญ

                 สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

                  กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี

                  ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้

                   หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้

                    รัฐ ธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ


กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ

                    มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน

                    มีการจัดงาน "เด็กไทย รักรัฐสภา" พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4602 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 06:05:40 »


สวัสดีตอนเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                วันนี้เป็นวันรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม เราลองมาหาสิ่งดีๆ ให้กับนักการเมืองไทย กันครับ

                สำหรับผมแล้ว สิ่งที่อยากจะให้นักการเมืองไทย สำนึก และนำไปปฏิบัติคือ

                     - นักการเมืองไทยทุกคน ในฐานะที่เกิดในประเทศไทย เป็นแหล่งพุทธศาสนา ดังนั้น นักการเมืองไทยทุกคน ควรจะได้รักษาศ๊ล ๕ ที่เป็นมหาศีลที่จะทำให้บุคคลไม่วิวาทกัน และสังคมเป็นสุข โดยเฉพาะข้อที่ "มุสาวาทาเวระมะณี" คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พุดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดแล้วทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือสังคมแตกแยก หรือเข้าใจง่ายๆ คือ นักการเมืองต้องไม่พูดโกหกตัวเอง พระพุทธองค์ทรงสอนว่า "บุคคลใดที่โกหกตัวเองได้ อย่านึกเลยว่าจะไม่กระทำบาป" มันก็เป็นความจริง "ถ้าคนเราโกหกแม้กระทั้งตัวเองได้ อย่านึกเลยว่าคนนั้นจะทำชั่ว หรือคดโก่งไม่ได้" ดังนั้น ถ้านักการเมืองไทยเพียงรักษา ศีล ๕ เอาไว้ให้มั่น ประเทศเจริญ สังคมเป็นสุข มากกว่านี้แยะ ครับ

                     - อย่าส่งเสริม หรือให้โอกาสนักการเมืองไทยที่กินสินบน หาเศษหาเลยกับงบประมาณ หรือนโยบายรัฐบาล เราต้องใช้กฏของสังคม ต่อต้าน อย่าให้เกียรติ เช่นไม่ยกมือไหว้ เพราะมีสิทธิเท่าเทียมกัน เขาไม่ได้ดีไปกว่าเราเลย ตาสีตาสาที่นับถือศีล ๕ อยู่เป็นนิจ ยังดีกว่านักการเมืองไทยเกือบจะทุกคนครับ ในสายตาของผม

                     - นักการเมืองไทย เขาถือว่าเขามีเกียรติที่ได้รับคัดเลือกจากประชาชน แต่ในความเห็นของผม เป็นคนไร้เกียรติ ไร้ศักดิ์ศรี เพราะทุศีล ๕ เกือบทั้งนั้น ไม่ประพฤติตัว ตามที่ได้ปฏิญาณตนก่อนรับตำแหน่งเลยสักคนเดียว

                       สวัสดี
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #4603 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 06:13:04 »

อรุณสวัสดิ์คะพี่สิงห์,
วันรัฐธรรมนูญเหรอคะ?
เอ๋า,คิดว่าวันพระจันทรุปราคา
วันนี้ล่ะพี่มนุษย์หมาป่า(werwolf)
จาแปลงร่างจากคนหล่อๆ
กลายเป็นหมาป่าตาแดงดุร้ายกัดไม่ปล่อยค่ะ.


nn.
(พันธุ์หมาบ้าวันพระจันทน์ full moon)
      บันทึกการเข้า


Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4604 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 07:50:24 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

              วันนี้เป็นวันพระ หรือวันธรรมสวนะ ครับ ผมขอนำพระสูตร ที่เป็นประโยชน์ คือ "ธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งบุรุษ" เป็นธรรมของพระอรหันต์ ท่านอยู่กับจิตที่ไม่มีการปรุงแต่ง หรือไม่คิด หรือจิตว่างเปล่า เป็นจิตของพระอรหันต์

              มีเพียงความรู้สึกตัว ณ ปัจจุบัน จิตท่านอยู่เหนือ ขันธ์ ๕ มีแต่ความสงบ ว่างเปล่า ครับ

              สวัสดี


๕๑. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

สูตรว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งบิณฑบาต

             
                ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์. เวลาเย็นพระสารีบุตรออกจากที่เร้นมาเฝ้าถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง จึงตรัสถามพระสารีบุตรว่า “อินทรีย์ของท่านผ่องใส ฉวีวรรณของท่านบริสุทธิ์ ท่านอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไรมาก” เมื่อพระสารีบุตรกราบทูลว่า “อยู่ด้วยสุญญตาวิหาร” (ธรรมเป็นเครื่องอยู่มีความว่างเปล่าเป็นอารมณ์) จึงตรัสว่า ดีแล้วที่อยู่ด้วย “ธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งบุรุษ”.

                ๒. ครั้นแล้ว ตรัสถึงการที่ภิกษุผู้หวังจะอยู่มากด้วยสุญญตาวิหาร  พิจารณาว่า เราเข้าสู่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เที่ยวไปในที่ใด กลับจากบิณฑบาตโดยทางใด ในทางนั้น ที่นั้น เรามีความพอใจ มีความกำหนัดยินดี มีความคิดประทุษร้าย ความหลง ความขัดข้องแห่งจิตในรูป เสียง เป็นต้นหรือไม่ เมื่อพิจารณารู้ว่าเรายังมีความพอใจในรูป เสียง เป็นต้น ก็พึงพยายามเพื่อละอกุศลบาปธรรมเหล่านั้น  ถ้าพิจารณาเห็นว่า เราไม่มีความพอใจในรูป เสียง เป็นต้น  ก็พึงอยู่ด้วยปีติปราโมทย์นั้น  ศึกษาอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันกลางคืน.

                ๓. ต่อจากนั้น พึงพิจารณาว่า เราละกามคุณ ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปราถนารักใคร่พอใจ) และนิวรณ์ ๕ (กิเลสอันกั้นจิตมิให้บรรลุความดี) ได้แล้วหรือยัง  เมื่อพิจารณาเห็นว่ายังละไม่ได้ ก็พึงพยายามเพื่อละ  เมื่อพิจารณาเห็นว่าละได้แล้ว ก็พึงอยู่ด้วยปีติปราโมทย์นั้น  ศึกษาอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันกลางคืน.

                ๔. ครั้นแล้ว ทรงแสดงการพิจารณาข้อธรรมอื่นอีก คือ อุปาทานขันธ์ ๕ กำหนดรู้แล้วหรือยัง ; สติปัฏฐาน ๔ เจริญแล้วหรือยัง ; ความเพียรชอบ ๔ เจริญแล้วหรือยัง ; ธรรมะอันให้บรรลุความสำเร็จ ๔ อย่าง, ธรรมะอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ๕ อย่าง, ธรรมะอันเป็นกำลัง ๕ อย่าง, ธรรมะอันเป็นองค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ ๗ อย่าง, ทางมีองค์ ๘ อันประเสริฐ, สมถะ (การทำจิตให้สงบ) และวิปัสสนา (การทำปัญญาให้เห็นแจ้ง) เจริญแล้วหรือยัง ; วิชชา (ความรู้อริยสัจจ์ ๔), วิมุติ (ความหลุดพ้น) ทำให้แจ้งแล้วหรือยัง.  เมื่อพิจารณาเห็นว่าอะไรยัง  ก็พึงพยายามเพื่อทำการนั้นๆ  เมื่อเห็นว่าทำเสร็จแล้ว ก็พึงอยู่ด้วยปีติปราโมทย์นั้น  ศึกษาอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันกลางคืน.

                ๕. ตรัสสรุปในที่สุดว่า สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาล  อนาคตกาลไกล หรือในบัดนี้ที่ทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ ก็พิจารณาแล้วอย่างนี้ ทำให้บิณฑบาตบริสุทธิ์อย่างนี้.
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4605 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 07:57:53 »

รู้ประวัติพุทธสาวก อรหันต์ เอตทัคคะ

ลำดับที่ ๔๑ ลำดับสุดท้ายของฝ่ายพระภิกษุ

พระปิลินทวัจฉเถระ

เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา

                พระปิลินทวัจฉะ เป็นบุตรของพราหมณ์ ตระกูลวัจฉโคตร เดิมชื่อว่า “ปิลินทะ” แต่คนทั่วไปมักเรียกว่า “ปิลินทวัจฉะ” ตามชื่อตระกูลของท่านเมื่อเจริญวัยได้รับการศึกษาจบไตรเพทตามลัทธินิยม

               • เบื่อโลกจึงออกบวช

                ต่อมาเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตการครองเรือน จึงออกบวชเป็นปริพาชกเที่ยวแสวงหาสำนักอาจารย์เพื่อศึกษาศิลปวิทยาขั้นสูง ๆ ต่อไป และได้ศึกษาวิชา จูฬคันธาระ ในสำนักของอาจารย์แห่งหนึ่ง จนสำเร็จสามารถแสดงฤทธิ์เหาะได้ และสามารถล่วงรู้ความ รู้สึกนึกคิดจิตใจของผู้อื่นได้ด้วย ทำให้ชื่อเสียงของท่านร่ำลือระบือปรากฏไปทั่งกรุงสาวัตถีบ้านเกิดของท่าน ลาภสักการะก็เกิดขึ้นมากมาย แต่วิชานี้มีข้อจำกัดว่า ถ้าเข้าไปในเขตแดนที่มีวิชา มหาคันธาระ อยู่ด้วย วิชาจูฬคันธาระ นี้ก็จะเสื่อมลงไม่สามารถแสดงฤทธิ์เหาะได้ และไม่สามารถล่วงรู้จิตใจผู้อื่นได้

                ปิลินทวัจฉปริพาชก ท่องเที่ยวแสดงฤทธิ์ แสดงความสามารถแก่ประชาชนทั้งหลายไปยังเมืองต่าง ๆ จนมาถึงเมืองราชคฤห์ ชาวเมืองให้ความเคารพยกย่องนับถือเป็นจำนวนมาก และท่านก็ได้พักอยู่ในเมืองราชคฤห์นั้นครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว ทรงประกาศเผยแผ่หลักธรรมคำสอนไปยังคามนิคมต่าง ๆ จนมาถึงเมืองราชคฤห์ จากนั้นวิชาจูฬคันธาระ ของปิลินทวัจฉะก็เสื่อมลง ท่านรู้ได้ทันทีว่าในเมืองนี้จะต้องมีวิชามหาคันธาระเกิดขึ้นแล้ว จึงสืบเสาะแสวงหาจนพบพระบรมศาสดา และทราบว่าพระองค์มีวิชามหาคันธาระ จึงกราบทูลขอศึกษาวิชานี้ พระผู้มีพระภาคก็ทรงยินดีที่จะสอนให้ แต่ว่าผู้เรียนต้องบวชในพระพุทธศาสนาก่อน เพราะวิชานี้จะสอนให้เฉพาะผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ท่านจึงกราบทูลขอบวชในวันนั้นเพื่อที่จะเรียนวิชามหาคันธาระตามที่ตนต้องการ

                เมื่อปิลินทวัจฉะ บวชแล้ว ได้พยายามศึกษาวิชามหาคันธาระ ตามที่พระบรมศาสดาประทานสอนให้ โดยให้ท่านพิจารณาพระกรรมฐานตามสมควร แก่อัธยาศัย ท่านได้พยายามอยู่ไม่นานก็ได้สำเร็จวิชามหาคันธาระ ซึ่งก็นับว่าสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนา

              • มีปกติเรียกคนอื่นว่า “คนถ่อย”

                พระปิลินทวัจฉะ เป็นผู้มีปกติเรียกภิกษุด้วยกัน และคฤหัสถ์ทั้งหลายด้วยถ้อยคำว่า “วสละ” ซึ่งเป็นคำหยาบ หมายถึง “คนถ่อย” โดยมีเรื่องเล่าดังต่อไปนี้:-

                วันหนึ่ง ท่านเข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ เห็นชายคนหนึ่งถือถาดใส่ดีปรีเต็มถาด กำลังเข้าไปในเมือง ท่านจึงถามว่า “แนะเจ้าคนถ่อย ในถาดของท่านนั้นถืออะไร ?” ชายคนนั้นได้ฟังแล้วก็รู้สึกไม่พอใจขึ้นมาทันที จึงตอบไปว่า “ขี้หนู ครับท่าน” พระปิลินทวัจฉะ ก็พูดเป็นการรับทราบตามคำของชายคนนั้นว่า “อ้อ เจ้าคนถ่อย ของนั้นเป็นขี้หนู"

                 ด้วยอำนาจแห่งคุณความเป็นพระอรหันต์ของพระเถระ และคำพูดไม่ดีอันเกิดจากอกุศล จิตของชายคนนั้น ทำให้ดีปรีในถาดของเขากลายเป็นขี้หนูไปเสียทั้งหมด เขาตกใจมาก เพราะคิดขึ้นได้ว่ายังมีดีปรีอยู่ในเกวียนนอกเมืองอีก เมื่อเขากลับไปดูก็พบว่าดีปรีกลายเป็นขี้หนูไปทั้งหมด จริง ๆ เขาเสียใจเป็นอย่างยิ่งเพราะดีปรีเหล่านั้นเป็นของมีค่ามาก และเขาเตรียมเพื่อจะนำมาขาย ขณะที่เขาแสดงอาการเสียใจและกำลังโกรธพระเถระอยู่นั้น มีอุบาสกคนหนึ่งเดินผ่านมา สอบถามได้ทราบความแล้วก็เข้าใจเหตุการณ์โดยตลอด จึงแนะนำขึ้นว่า:- “ดูก่อนสหาย ท่านจงถือถาดขี้หนูนี้ไปยืนรอที่หนทาง ซึ่งพระเถระผ่านมา เมื่อพระเถระผ่านมาเห็นแล้วก็จะถามว่า “แน่เจ้าคนถ่อย ในถาดของท่านนั้นคืออะไร ?” ท่านก็จงตอบว่า “ดีปรี ครับท่าน” พระเถระก็จะกล่าวว่า “อ้อ เจ้าคนถ่อย ของนั้นเป็นดีปรี” อย่างนี้แล้ว ท่านก็จะได้ดีปรีกลับคืนมาชายคนนั้นทำตามคำแนะนำของอุบาสก และในที่สุดขี้หนูก็กลับกลายเป็นดีปรีดังเดิม

               • พระเถระถูกเพื่อภิกษุฟ้องพระพุทธเจ้า

                 สมัยหนึ่ง เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ภิกษุทั้งหลายพากันเข้าเฝ้าแล้วกราบทูลกล่าวโทษพระปิลินทวัจฉเถระว่า:- “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระปิลินทวัจฉเถระ มักเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยคำว่า วสละ พระเจ้าข้า” พระบรมศาสดา จึงรับสั่งให้พระภิกษุรูปหนึ่งไปเรียกท่านมาแล้วตรัสถามว่า “ดูก่อนปิลินทวัจฉะ ได้ทราบว่าเธอมักเรียกภิกษุทั้งหลาย ด้วยคำว่า วสละ จริงหรือ ?” “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นจริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า” พระบรมศาสดา ครั้นได้สดับแล้ว จึงตรัสเล่าถึงบุพกรรมในอดีตชาติอันยาวนานของ ท่านให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้ถือโทษโกรธปิลินทวัจฉะเลย ท่านมิได้มีความโกรธแค้น ในตัวเธอทั้งหลายเลย แต่ที่ท่านมักเรียกพวกเธอว่า วสละ นั้น เป็นเพราะในอดีตชาติย้อนหลังไป  ๕๐๐ ชาติ ท่านก็มักกล่าวอย่างนั้นมาตลอดกาลช้านาน คำนั้นจึงเป็นอุปนิสัยที่ติดตัวท่านมาตั้งแต่ อดีตชาติ”

               • ได้รับยกย่องว่าเป็นที่รักของเทวดา

                พระปิลินทวัจฉเถระ นั้น เป็นผู้มีความสามารถแสดงธรรมแก่เทพยดา ทั้งหลาย ด้วยในอดีตชาติท่านกับสหายเป็นจำนวนมาก ได้รักษาศีลปฏิบัติธรรมร่วมกัน เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนตัวท่านเมื่อสิ้นบุญจากสวรรค์แล้วได้จุติลงมาเกิดในอัตภาพนี้ ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์เหล่าเทพยดาทั้งหลายผู้เป็นอดีตสหายก็พากันลงมาอาราธนาให้ท่านแสดงธรรมให้ฟัง จนทำให้ท่านเป็นที่รักใคร่ของเทพยดาทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา ฯ

                 ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #4606 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 08:00:04 »

Kunchit Phiu-Nual (รศ.ดร. ครรชิต ผิวนวล โพสท์ใน FB)
อยากให้อ่านจริงๆครับ

จดหมายถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

6 ตุลาคม 2547
พระราชนิพนธ์: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชหัตถเลขาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีไปถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำมาเผยแพร่

ลูกพ่อ
ในพื้นแผ่นดินนี้ทุกสิ่งเป็นของคู่กันมาโดยตลอด มีความมืดและความสว่าง ความดีและความชั่ว ถ้าให้เลือกในสิ่งที่ตนชอบแล้วทุกคนปรารถนาความสว่างปรารถนาความดีด้วยกันทุกคน แต่ความปรารถนานั้นจักสำเร็จลงได้ จักต้องมีวิธีที่จักดำเนินให้ไปถึงความสว่าง หรือ ความดีนั้น ทางที่จักต้องไปให้ถึงความดีก็คือรักผู้อื่น
เพราะความรักผู้อื่น สามารถแก้ปัญหาได้ทุกปัญหา ถ้าให้มีแต่ความสุขและเกิดสันติภาพ ความรักผู้อื่นจักเกิดขึ้นได้

พ่อขอบอกลูกดังนี้...
1. ขอให้ลูกมองผู้อื่นว่า เป็นเพื่อนเกิด เพื่อนแก่ เพื่อนเจ็บ เพื่อนตายด้วยกัน ทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ว่าอดีต...ปัจจุบัน...อนาคต

2. มองโลกในแง่ดี และจะให้ดียิ่งขึ้น ควรมองโลกจากความเป็นจริง อันจักเป็นทางแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง และเหมาะสม

3. มีความสันโดษ คือ
-มีความพอใจเป็นพื้นฐานของจิตใจ พอใจตามมีตามได้ คือได้อย่างไร ก็เอาอย่างนั้น ไม่ยึดติด ขอให้คิดว่ามีก็ดี ไม่มีก็ได้ พอใจตามกำลัง คือมีน้อยก็พอใจตามที่ได้น้อย
-ไม่เป็นอึ่งอ่างพองลมจะเกิดความเดือดร้อนในภายหลัง
-พอใจตามสมควร คือทำงานให้มีความพอใจเหมาะสมแก่งาน
-ให้ดำรงชีพให้เหมาะสมแก่ฐานะของตน

4. มีความมั่นคงแห่งจิต
คือให้มองเห็นโทษของความเกียจคร้าน และมองเห็นคุณประโยชน์ของความเพียร และเมื่อเกิดสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาให้ภาวนาว่า.มีลาภ มียศ สุขทุกข์ปรากฏ สรรเสริญนินทา เสื่อมลาภ เสื่อมยศ เป็นกฎธรรมดา อย่ามัวโศกานึกว่า 'ชั่งมัน'

พ่อ 6/10/2547
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงมีพระราชปรารถทิ้งท้าย
***ฉันหวังว่า คำสอนพ่อที่ฉันได้ประมวลมานี้ จะเกิดประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ที่ได้พบเห็น และลูกอันเป็นที่รักของพ่อทุกคน
ฉันรัก พ่อฉันจัง
สิรินธร
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4607 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 08:11:19 »






สังขาร  ทั้งหลาย  เป็นอนิจจัง

สังขาร   ทั้งหลาย   เป็นทุกข์

ธรรม ทั้งหลาย    เป็นอนัตตา

            
          วันอาทิตย์ที่ ๑๑ ธันวาคม ศกนี้ เวลา ๑๘:๓๐ น. ณ ศาลา ๑ ศาลาธนาคารทหารไทย วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน

                     ชมรมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาฯ เป็นเจ้าภาพ สวดพระอภิธรรมศพ คุณพ่อบัญญัติ   อิสดุลย์

                     ซึ่งเป็นคุณพ่อของ ดร.กุศล  อิสดุลย์

                     ผมขอเรียนเชิญทุกท่าน ไปร่วมระลึกถึง ด้วยครับ

                     สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4608 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 09:04:35 »

สวัสดี ดร.สุริยา               

                 พระพุทธองค์ทรงสอนว่า "ปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์"

                 ถ้าบุคคลใดสามารถปฏิบัติได้ตามนี้ แสดงว่าบุคคลนั้น มีพรหมวิหาร ๔ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) อยู่ในจิตใจ จะเป็นผู้ที่มีจิตรัก ในบุคคลอื่นเสมอ บุคคลที่มีคุณสมบัตินี้ จะเป็นบุคคลที่กลัวการกระทำบาปทั้งปวง คิดแต่ในทางกุศลธรรม เท่านั้น ถือเป็นสัตตบุรุษ ที่พึงเคารพ ให้เกียรติ
 
                 แต่เสียดาย นักการเมืองประเทศไทย ไม่รู้จักการให้ความรักต่อบุคคลอื่น ไม่รู้จักพรหมวิหาร ๔ ไม่เข้าถึงธรรมที่แท้จริง มีแต่เห็นประโยชน์ส่วนตน และพรรคพวกเป็นนิจ ลืมคำว่า "กุศลธรรม" แต่บุคคลเหล่านั้น อย่างน้อยเคยได้ยินได้ฟัง เรื่องศีล ๕ มาบ่อยมาก ผมถึงบอกว่า "ขอเพียงนักการเมืองประเทศไทย ปฏิบัติตามศีล ๕ เท่านั้น ประเทศไทยจะเจริญมากกว่านี้ ประชาชนจะเป็นสุข"

                 ถ้าพูดเรื่องศีล ๕ นักการเมืองประเทศไทยสามารถเข้าใจได้ แต่พูดเรื่องต้องมีความรักต่อบุคคลอื่น ต้องรู้จักพรหมวิหาร ๔ นักการเมืองประเทศไทย ปัญญาน้อย ท่านไม่เข้าใจหรอก เพราะท่านมีแต่ความรักตัวเองเท่านั้น ส่วนความรักที่มีให้ผู้อื่นนั้น ท่านมีแต่ความรักในทางกามมารมณ์ ประเทศไทยถึงพัฒนาประชาธิปไตย ไม่ถึงไหน ครับ

                 สวัสดี
                 
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4609 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 09:12:51 »

โลกธรรม 8

ความหมายของโลกธรรม 8

           โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องของ โลกมีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบ ด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ข้อแตกต่างคือ ใครประสบมาก ประสบน้อยช้าหรือเร็ว โลกธรรมแบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กันและมีความหมายตรงข้ามกัน คือ

1. โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ

          - ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา
          - ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
          - ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ
          - ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ

2. โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ

          - เสียลาภ หมายความว่า ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป
          - เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ
          - ถูกนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี มีใครพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา
          - ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #4610 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 09:38:13 »

สวัสดีครับพี่สิงห์ พี่กุศล และพี่ๆ ทุกท่าน ...

ขอแสดงความเสียใจ กับพี่กุศล ด้วยครับ


ปล.

พี่สิงห์ครับ ... ภาพที่ 2 ข้างบนนั้น น่าจะผิดภาพ  อาจเกิดจากการที่ Web Error ทำให้ภาพผิดไปครับ ...
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4611 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 11:20:00 »

อ้างถึง
ข้อความของ ดร.มนตรี เมื่อ 10 ธันวาคม 2554, 09:38:13
สวัสดีครับพี่สิงห์ พี่กุศล และพี่ๆ ทุกท่าน ...

ขอแสดงความเสียใจ กับพี่กุศล ด้วยครับ


ปล.

พี่สิงห์ครับ ... ภาพที่ 2 ข้างบนนั้น น่าจะผิดภาพ  อาจเกิดจากการที่ Web Error ทำให้ภาพผิดไปครับ ...

                 สงสัย....... มาจัดการครับ ดร.มนตรี

                 ขอบคุณมาก ที่เรียนให้ทราบ

                 สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4612 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 14:50:42 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                นครศรีธรรมราชวันนี้ท้องฟ้าเกือบปิด ฝนตกทั้งวัน เมื่อช่วงเช้าสายการบิน Air Asia กำหนดถึงนครศรีธรรมราช 08:00 น. เครื่องไม่สามารถลงได้ ต้องไปลงที่หาดใหญ่เต็มน้ำมัน แล้วจึงกลับมาลงที่นครศรีธรรมราชได้

                ผมกำลังภาวนาให้ท้องฟ้าเปิด Nok Air จะได้ลงได้ ครับ ผม boarding 15:55 น. วันนี้ครับ ผมคาดว่าอากาศที่กรุงเทพฯคงเย็นมาก ถึงรู้ว่าหนาว นครศรีธรรมราช จึงมีฝนตกทั้งวัน ไม่มีแสงแดดเลยวันนี้เป็นวันที่สองแล้ว

                สวัสดีครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4613 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 19:21:29 »

พี่สิงห์

ตั้งแต่สองทุ่นเศษเป็นต้นไป จะเริมเกิดจันทคราส
จนเวลาช่วง 21...น.ไปแล้วจะเกิดคราสเต็มดวง และคลายออกก่อน 22 น.ครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4614 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 19:24:26 »

๑๐ ธันวา 'ราหูอมรัฐธรรมนูญ'
เปลว สีเงิน                                                                                                                    10 ธันวาคม 2554 - 00:00

    วันนี้-๑๐ ธันวาคม เป็นวันรัฐธรรมนูญ นอกจากรู้ว่าเป็นวัน "หยุดราชการ" แล้ว เราอาจไม่ชัดเจนในความเป็นมา ฉะนั้น วันนี้เคาะสนิมเป็นการปลุกจิตสำนึกกันหน่อย ผมเห็นเว็บไซต์ TIC Edu Park เก็บความ-จับประเด็นไว้ครอบคลุมและกระชับดี ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อตรงนี้ ดังนี้
    วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้เสด็จออกประทับพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งโปรดเกล้าฯให้จัดเป็นที่ประชุมรัฐสภา ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชทานเป็นกฎหมายสูงสุดเพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศ จึงได้ถือเป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติ
    เพื่อระลึกถึงวันที่ "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว" รัชกาลที่ 7 พระราชทานรัฐธรรมนูญ “ฉบับแรกอันเป็นฉบับถาวร” ให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 ซึ่งมีพระราชดำรัสในวันพระราชทานรัฐธรรมนูญดังนี้     
    “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”
    ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นประชาธิปไตย โดยผู้ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้นคือ คณะราษฎร์
    ความจำฟื้นแล้วนะครับ สำหรับผมก็จะบอกว่า วันรัฐธรรมนูญปีนี้ "พิเศษ" กว่าทุกปี เพราะครบรอบวันเกิดปุ๊บก็ถูกราหูอมปั๊บพอดี มันอมอย่างไรกัน...วันนี้ "อาจารย์วิโรจน์ กรดนิยมชัย" ท่านจะมาให้ความรู้ทางวิชาการ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์-ดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ยูเรเนียน เชิญอ่าน
                จันทรุปราคาเต็มดวง 10 ธันวาคม 2554
                ราหูอมรัฐธรรมนูญ
                                                วิโรจน์ กรดนิยมชัย

    ปี 2554 มีปรากฏการณ์การเกิด (คราสอุปราคา) รวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง ซึ่งนับได้ว่ามากกว่าปกติ (ปกติจะเกิดปีละ 4 ครั้ง) เป็นสุริยุปราคาบางส่วน 4 ครั้ง และ จันทรุปราคาเต็มดวง 2 ครั้ง ได้แก่
    ครั้งที่ 1 วันที่ 4 มกราคม ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse)
    ครั้งที่ 2 วันที่ 1 มิถุนายน ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse)
    ครั้งที่ 3 วันที่ 15 มิถุนายน ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง (Total Lunar Eclipse)
    ครั้งที่ 4 วันที่ 1 กรกฎาคม ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse)
    ครั้งที่ 5 วันที่ 25 พฤศจิกายน ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse)
    ครั้งที่ 6 วันที่ 10 ธันวาคม ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง (Total Lunar Eclipse)
    การเกิดคราส (อุปราคา) ทุกครั้งจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ เหตุการณ์ และอุบัติการณ์ทางธรรมชาติแตกต่างกัน ความรุนแรงเหตุการณ์แตกต่างกันขึ้นอยู่กับระยะเชิงมุมของการเกิดคราส ว่าแนวเส้นผ่านศูนย์กลางของการเกิดคราสอยู่ใกล้กันเพียงใด ถ้าอยู่ใกล้กันมาก อิทธิพลก็จะรุนแรงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดคราสชนิดเต็มดวง (Total Eclipse) จะให้อิทธิพลมากที่สุด เพราะเส้นผ่านศูนย์กลางการเกิดคราสแทบจะทับสนิทองศากันเลย (บทความนี้จะไม่กล่าวถึงการเกิดสุริยุปราคาบางส่วนจำนวน 4 ครั้ง เพราะมีอิทธิพลไม่มาก) เช่น เมื่อวันที่ 3, วันที่ 15 มิถุนายน 2554 เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (Total Lunar Eclipse) เส้นผ่านศูนย์กลางการเกิดคราสเกือบจะอยู่กลางดวงอาทิตย์เลย
    โดยมีระยะเวลาการเกิดคราสจนถึงสิ้นสุดตั้งแต่เวลา 17.22.56-23.00.45 G.M.T. รวมเวลาการเกิดคราส 5.33.49 ชั่วโมง ซึ่งจะเห็นได้ตั้งแต่ทวีปเอเชีย, ออสเตรเลีย, แอฟริกา, ยุโรป และอเมริกาใต้โดยปกติแล้วตามที่ทราบกันทั่วไปว่าการโคจรของดวงจันทร์นั้น มีผลต่อการขึ้น-ลงของกระแสน้ำในแต่ละวันและแต่ละเดือน ในทางโหราศาสตร์อธิบายว่า
    1.ประเทศที่สามารถมองเห็นการเกิดคราส จะได้รับอิทธิพลทำให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ
    2.ระยะเวลาความนานของการเกิดจันทรุปราคา จะมีอิทธิพลนานชั่วโมงละเดือน
    3.เป็นการเกิดคราสในราศีธนู ธาตุไฟ ทางทิศตะวันออก
    ดังนั้น การเกิดคราสครั้งนี้จะมีอิทธิพลนาน ก่อนและหลังการเกิดคราส  5 เดือนเศษ ซึ่งจะพบว่า
    1.ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเกิดการเปลี่ยนแปลง ที่มีผลต่อตัวผู้นำในหลายประเทศในแอฟริกาและตะวันออกกลาง ได้แก่ อียิปต์, อิรัก และแม้แต่ประเทศไทยก็ยังเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี
    2.เกิดวิกฤติการณ์ความไม่มีเสถียรภาพทางการเงินในทวีปยุโรป
    3.เกิดแผ่นดินไหวและอุทกภัยในสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในอเมริกาใต้
    4.เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ยังผลให้เกิดความเสียหายอย่างมากกับประเทศญี่ปุ่น
    5.เกิดพายุไต้ฝุ่นหลายลูกในทวีปเอเชีย ทำให้เกิดความเสียหายในหลายประเทศ
    6.ล่าสุดเกิดวิกฤติมหาอุทกภัยที่ประเทศไทยเป็นระยะเวลายาวนานหลายเดือน ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากที่ยังไม่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายได้ว่าจะเป็นเท่าไหร่
    วันที่ 10 ธันวาคม 2554 จะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (Total Lunar Eclipse) โดยมีระยะเวลาการเกิดคราสจนถึงสิ้นสุดตั้งแต่เวลา 18.34-00.30 น. รวมเวลาการเกิดคราสประมาณ 6 ชั่วโมง ซึ่งจะเห็นได้ตั้งแต่ในมหาสมุทรแปซิฟิก, ทวีปเอเชีย, ออสเตรเลีย, แอฟริกาตะวันออก และยุโรป
    จันทรุปราคาเต็มดวง วันที่ 10 ธันวาคม 2554 ตรงกับวันรัฐธรรมนูญของไทย หากจะเทียบว่าวันรัฐธรรมนูญคือดวงชะตาของบุคคลคนหนึ่ง ในทางโหราศาสตร์ให้ความสำคัญว่า ในวันครบรอบวันเกิดปีใดที่ตรงกับการเกิดคราส แสดงว่าปีนั้นชีวิตจะไม่มีเสถียรภาพ
    ดังนั้นจึงอนุมานได้ว่า วันรัฐธรรมนูญที่ 10 ธันวาคม 2554 ย่อมมีเหตุการณ์ที่จะมีผลกระทบทำให้เกิดความไม่มีเสถียรภาพต่อรัฐธรรมนูญ หรือระบบรัฐสภาของประเทศไทยอย่างแน่นอน
    การเกิดคราสครั้งนี้ อธิบายทางโหราศาสตร์ยูเรเนียนได้ว่า
    1.การเกิดคราสขึ้นตรงกึ่งกลางศีรษะ Ptolemy กล่าวว่า การเกิดคราสตรงกึ่งกลางศีรษะ จะมีอิทธิพลยาวนาน 4-8 เดือน ทั้งก่อนและหลังการเกิดคราส แสดงว่า เหตุการณ์ทางการเมือง และอุทกภัยที่เกิดขึ้นมาแล้วก่อนการเกิดคราส จะเกิดขึ้นได้อีกใน 6 เดือนแรกของปี 2555 และเหตุการณ์สำคัญมักจะเกิดขึ้นในระยะ 40 วันนับจากการเกิดคราส
    2.เกิดคราสในเรือนที่ 11 ซึ่งหมายถึงรัฐสภา จะเกิดการเปลี่ยนแปลง สะท้อนดาวอังคารในเรือนที่ 2 ซึ่งเป็นเรื่องความขัดแย้งของผลประโยชน์ มีความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีความขัดแย้งอย่างรุนแรง และมีผลทำให้อายุของสภาผู้แทนฯ ไม่น่าเกินเดือนพฤษภาคม 2555
    3.ตำแหน่งจันทร์ของการเกิดคราส ทำมุมเล็งจันทร์ของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ 18 องศา ราศีธนู แสดงว่า ตัวของยิ่งลักษณ์จะได้รับอิทธิพลของการเกิดคราสครั้งนี้อย่างไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้เลย ซึ่งจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ยิ่งลักษณ์มารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบ่งบอกถึงความไร้สำนึก (Unconscious) ตามอิทธิพลของดวงจันทร์
    4.ดาวพฤหัสบดีในเรือนที่ 9 แสดงถึงความสำเร็จและความเข้มแข็งของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งสะท้อนเรือนที่ 4 แสดงว่า บทบาทของฝ่ายค้านมีความเข้มแข็ง
    5.ดวงอาทิตย์ ราหูและดาวคิวปิโด ในราศีธนูเรือนที่ 5 สะท้อนดาวมฤตยู ในราศีเมษเรือนที่ 8 หมายถึง ปัญญาชน นักวิชาการ จะรวมตัวกันหรือมีกิจกรรมที่มีผลทำให้รัฐบาลต้องนับหนึ่งใหม่
    6.ดาวเนปจูนราศีกุมภ์เรือนที่ 7 การไม่ได้รับความร่วมมือจากมิตรประเทศ แสดงว่า การติดต่อใดๆของรัฐบาลกับประเทศคู่เจรจาจะล้มเหลว ยกเว้นการเจรจาแบ่งผลประโยชน์ในทางลับ หรือการจัดสรรผลประโยชน์ที่ผิดจริยธรรม
    7.คราสในราศีเมถุนซึ่งเป็นธาตุลม มีผลทำให้เกิดข้าวยากหมากแพง การป่วยไข้ โรคระบาด ความเสียหายของสัตว์ปีก และผู้ที่อยู่อาศัยตามชายทะเล
    บทสรุป
    การเกิดคราสในครั้งนี้เป็นสิ่งบอกเหตุให้เรารู้ว่า เหตุการณ์ทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับระบบรัฐสภาประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสำเร็จหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะบริบทของประเทศไทยนั้น การข่มขืนกระทำชำเราเพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการนั้น คือการถูกปรับแพ้ ซึ่งเท่ากับว่าไม่มีผลในทางปฏิบัติ คนที่เขียนกฎหมายขึ้นมาหลายคน ถูกกฎหมายที่เขียนขึ้นลงโทษตนเองมาหลายคนแล้ว
    นอกจากการเกิดคราสที่บ่งบอกเหตุการณ์แล้ว ดวงชะตาของประเทศไทยประจำปี 2555 ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ ยังมีสิ่งที่บอกถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตที่มั่นคง และอยู่ในกรอบปฏิบัติที่ถูกที่ควร
    ปรัชญาโหราศาสตร์ที่สำคัญจะฝากเอาไว้ คือ
    อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ล้วนเป็นสิ่งเดียวกัน นักการเมืองในอดีตที่ถูกคำพิพากษาลงโทษ และหลบหนีคดีไปอยู่ต่างประเทศ ไม่เคยมีใครได้กลับประเทศไทยขณะที่ยังมีลมหายใจแม้สักคนเดียว.


    -ข้อมูล : http://eclipse.gsfc.nasa.gov/eclipse.html

http://www.thaipost.net/news/101211/49419
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4615 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 20:37:33 »

              
                - ขอบคุณมากครับ คุณเหยง ที่เอามาลงให้ได้รับรู้ ครับ

                - ผมเองไม่ทราบว่าวันนี้จะเกิดจันทรุปราคาแต่อย่างใด พอกลับถึงบ้าน ช่างเล้กก็มาบอกว่าอาจารย์อย่าลืมดูจันทคราส คืนนี้เวลาสามทุ่มนะครับ เมื่อสักครู่ตอนที่เกิดจันทคราส ผมก็ไปดูกับข้างๆ บ้าน ได้อธิบายปรากฏการที่เกิดขึ้นให้เด็กๆ รับทราบว่าเงาดำที่เห็นบนดวงจันทร์นั้น คือเงาของโลก ที่เรายืนอยู่นี่ละ อาจจะมีเงาของเราปรากฏก็ได้แต่ระยะมันไกล และเงาตัวเราเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโลก จึงมองไม่เห็น คือโลกอยู่ระหว่างพระอาทิตย์และพระจันทร์ ผมแถบไม่เชื่อว่าเด็กนักเรียน ป.๖ ไม่ทราบเรื่องนี้ครับ

                 - วันนี้ผมเดินทางลำบากนิดหน่อยตอนเครื่องบินขึ้น เครื่องต้องบินเจาะทะลุเมฆขึ้นมานานหน่อยครับ เครื่องสั่นมาก และยกตัวเร็วมากด้วย จนรู้สึกได้ชัดเจน และเมื่อถึงสุวรรณภูมิก็ต้องบินวนไปชมพัทยา มาบตาพุด ชลบุรี จึงมาบินลงได้ แต่ถึงอย่างไรก็ปลอดภัยครับ

                 - พรุ่งนี้เช้าก็คงไปออกกำลังกาย ตีกอล์ฟที่สนาม President Country Club เวลา 06:00 น. บ่ายไปหาซื้อเจลสำหรับนอนให้แม่ ครับ

                   ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #4616 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2554, 22:28:29 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 10 ธันวาคม 2554, 19:24:26
๑๐ ธันวา 'ราหูอมรัฐธรรมนูญ'
เปลว สีเงิน                                                                                                                    10 ธันวาคม 2554 - 00:00

อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ล้วนเป็นสิ่งเดียวกัน นักการเมืองในอดีตที่ถูกคำพิพากษาลงโทษ และหลบหนีคดีไปอยู่ต่างประเทศ ไม่เคยมีใครได้กลับประเทศไทยขณะที่ยังมีลมหายใจแม้สักคนเดียว.

อดีตนายก ทักษิณ จะทำให้ดูเป็นคนแรก คุณเปลว สีเงิน อย่ากระพริบตา
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4617 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2554, 14:05:27 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

              ผมได้นำเสนอประวัติพุทธสาวก อรหันต์ เอตทัคคะ ฝ่ายภิกษุ ครบไปแล้วจำนวน ๔๑ องค์ ดังนั้นจึงขอนำเสนอทางฝ่ายภิกษุณี ให้ทราบ ในฐานะที่เราเป็นพุทธสานิกชน ก็ควรจะได้รับรู้เอาไว้บ้างครับ

              สวัสดี



รู้ประวัติพุทธสาวก อรหันต์ เอตทัคคะ ฝ่ายภิกษุณี

ลำดับที่ ๑

พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี

เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู

               พระมหาปชาบดีเถรี เป็นราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งพระนครเทวทหะ เป็นพระกนิษฐภคินีของพระนางสิริมหามายา (พุทธมารดา) พระประยูรญาตถวายพระนามว่า “โคตมี”

        •   เป็นทั้งพระน้านางและพระมารดาเลี้ยง

               พระนางสิริมหามายาทรงอภิเษก เป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะศากยราช แห่งพระนครกบิลพัสดุ์ ต่อมาพระบรมโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสิริมหามายาราชเทวี พอประสูติพระราชโอรส คือเจ้าชายสิทธัตถะได้เพียง ๗ วัน พระนางสิริมหามายาราชเทวี ก็สวรรคตไปบังเกิดเป็นเทพบุตรสวรรค์ชั้นดุสิตพระเจ้าสุทโธทนะ ทรงมอบให้การเลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะแก่พระนางมหาปชาบดีโคตรมี ผู้ศักดิ์เป็นพระมาตุจฉา (พระน้านาง) ซึ่งต่อมาได้สถาปนาพระนางไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี และได้ประสูติพระราชโอรสนามว่า “นันทกุมาร” และพระราชธิดานามว่า “รูปนันทา” ครั้นเมื่อพระบรมโพธิสัตว์เสด็จออกผนวชได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว เสด็จไปโปรดพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร และทรงแสดงธรรมกถาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ในระหว่างถนน ให้ดำรงอยู่ในอริยภูมิชั้นพระโสดาบัน ครั้นวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในถนน ให้ดำรงอยู่ในอริยภูมิชั้นพระสดาบัน ครั้น วันที่ ๓ เสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา และพระน้านางยังพระบิดาให้ดำรงอยู่ในพระสกทาคามี ยังพระน้านางให้บรรลุพระโสดาปัตติผล และในวันรุ่งขึ้น ทรงแสดงมหาปาลชาดกโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พอจบลง พระพุทธบิดา ทรงบรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี

        •   ขอบวชแต่ผิดหวัง

              ในวันที่ ๔ แห่งการเสด็จโปรดพระประยูรญาติ พระพุทธองค์เสด็จไปในพิธีอาวาหมงคลอภิเษกสมรส นันทกุมารพระอนุชาต่างพระมารดา กับพระนางชนปทกัลยาณี เมื่อเสร็จพิธีอาวาหมงคล พระพุทธองค์ได้นำนัทกุมาร ไปบวชในวันนั้น ครั้นถึงวันที่ ๗ แห่งการเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ทรงพาราหุลกุมารออกบรรพชาเป็นสามเณรอีก จึงยังความเศร้าโศกให้บังเกิดแก่พระเจ้าสุทโธทนะยิ่งนักเพราะเกรงว่าจะขาดรัชทายาทสืบสันติวงศ์ ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุพระอรหัตผลแล้วเข้าสู่ปรินิพพาน เมื่อการถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จสิ้นลงแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตรมีรู้สึกว้าเหว่พระทัย มีพระประสงค์จะทรงผนวชในพระพุทธศาสนาจึงเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่นิโครธารามกราบทูลขออุปสมบท แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา พระนางกราบทูลอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่เป็นผล รู้สึกผิดหวังเศร้าโศกโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงกราบทูลลาเสด็จกลับพระราชนิเวศน์พระบรมศาสดาประทับ ณ นิโครธาราม กรุงบิลพัสดุ์ โดยสมควรแก่พระอัธยาศัยแล้ว พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์บริวาร เสด็จไปยังพระนครเวสาลีประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวันพระอานนท์ช่วยกราบทูลจึงได้บวชขณะนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้มีพระทัยเปี่ยมด้วยศรัทธา รับสั่งให้ช่างกัลบกมาปลงกระเกศา แล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ นำพาศากิยนารีเป็นบริวารประมาณ ๕๐๐ พระองค์(นางกษัตริย์เหล่านี้สวามีออกบวชไปก่อนแล้ว) เสด็จมุ่งตรงไปยังเมืองเวสาลีแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลอ้อนวอนของอุปสมบท ถึงอย่างนั้น พระพุทธองค์ก็ยังไม่ทรงอนุญาต จึงเสด็จออกมายืนร้องไห้อยู่ที่ซุ้มประตู ขณะนั้น พระอานนท์ผ่านมาพบจึงสอบถามทราบความโดยตลอดแล้ว พระเถระรู้สึกสงสารคิดจะช่วยพระนาง จึงเข้าเฝ้ากราบทูลถามพระพุทธองค์ว่า:- “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าสตรีบวชในพระศาสนาแล้ว อาจทำให้แจ้งซึ่งพระโสดาปัตติผล สะกทาคามิผล อนาคามิผล และพระอรหัตผลได้หรือไม่ พระเจ้าข้า ?” “ดูก่อนอานนท์ อาจทำให้แจ้งได้เหมือนบุรุษเพศทุกประการ” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นควรจะอนุญาตเพื่ออนุเคราะห์แก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้มีคุณูปการบำรุงเลี้ยงดูพระองค์มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ให้สมปรารถนาด้วยเถิด พระเจ้าข้า” “ดูก่อนอานนท์ ถ้าปชาบดีโคตรมีรับประพฤติครุธรรม ๘ จากพระผู้มีพระภาคโดยลำดับ คือ:-

          ๑.   ภิกษุณีแม้อุปสมบทแล้วได้ ๑๐๐ พรรษา ก็พึงเคารพกราบไว้ พระภิกษุ แม้อุปสมบทได้วันเดียว
          ๒.   ภิกษุณี จะอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีพระภิกษุนั้นไม่ได้ ต้องอยู่ในอาวาสที่มีพระภิกษุ
          ๓.   ภิกษุณี จะต้องทำอุโบสถกรรม และรับฟังโอวาทจากสำนักภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน
          ๔.   ภิกษุณี อยู่จำพรรษาแล้ว วันออกพรรษาต้องทำปวารณาในสำนักสงฆ์ทั้งสองฝ่าย (ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์)
          ๕.   ภิกษุณี ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส อยู่ปริวาสกรรม ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สองฝ่าย
          ๖.   ภิกษุณี ต้องอุปสมบทในสำนักสงฆ์สองฝ่าย หลังจากเป็นนางสิกขมานารักษาสิกขาบท ๖ ประการ คือ ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. เว้นจากการลักขโมย ๓. เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๔.เว้นจากการพูดเท็จ ๕. เว้นจาการดื่มสุราเมรัยและของมึนเมา ๖. เว้นจากการรับประทานอาหารในเวลาวิกาล ทั้ง ๖ ประการนี้มิให้ขาดตกบกพร่องเป็นเวลา ๒ ปี ถ้าบกพร่องในระหว่าง ๒ ปี ต้องเริ่มปฏิบัติใหม่
          ๗.   ภิกษุณี จะกล่าวอักโกสกถาคือ ด่าบริพาษภิกษุ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้
          ๘.   ภิกษุณี ตั้งแต่วันอุปสมบทเป็นต้นไป พึงฟังโอวาทจากภิกษุเพียงฝ่ายเดียว จะให้โอวาทภิกษุมิได้

              พระเถระจดจำนำเอาครุธรรมทั้ง ๘ ประการนี้มาแจ้งแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านางได้สดับแล้วมีพระทัยผ่องใสโสมนัส ยอมรับปฏิบัติได้ทุกประการ พระพุทธองค์จึงประทานการอุปสมบทให้แก่พระน้านางสมเจตนาพร้อมศากยขัดติยนารีที่ติดตามมาด้วยทั้งหมดเมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้อุปสมบทสำเร็จเป็นนางภิกษุณีแล้วเรียนพระกรรมฐานในสำนักพระบรมศาสดา อุตสาห์บำเพ็ญเพียรด้วยความไม่ประมาทไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยภิกษุณีบริวารทั้ง ๕๐๐ รูป และได้จำเริญกิจพระศาสนาเต็มกำลังความสามารถ

               ลำดับต่อมา เมื่อพระศาสดาประทับ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ทรงสถาปนาภิกษุณีในตำแหน่งเอตทัคคะ หลายตำแหน่ง พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นผู้มีวัยวุฒิสูง คือรู้กาลนาน มีประสบการณ์มาก รู้เหตุการณ์ต่าง ๆ มาตั้งแต่ต้น จึงทรงสถาปนาพระนางตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้รัตตัญญู คือ ผู้รู้ราตรีนาน
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4618 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2554, 20:42:32 »












               วันอาทิตย์ที่ ๑๑ ธันวาคม ชมรมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาฯ เป็นเจ้าภาพสวาดพระอภิธรรมศพ "คุณพ่อบัญญัติ   อิสดุลย์" ซึ่งเป็นคุณพ่อของ ดร.กุศล  อิสดุลย์ ครุ2515 ผมไปถึงวัดพระศรีฯห้าโมงเย็น ประมาณห้าโมงครึ่ง คุณหลิว คุณมิ้ง ก็มาถึงตามด้วย รศ.พินิจ-พี่ติ๋ว ก่อนเวาล 18:30 น.เล็กน้อยพวกเราก็มากันหลายท่านด้วยกัน วันนี้แขกเต็มศาลา พอดีครับ

                ทาง ดร.กุศล  ได้เรียนเชิญ รศ.พินิจ  เพิ่มพงษ์พันธ์ เป็นประธานจุดธูป-เทียน หน้าพระพุทธ พระธรรม และหน้าหีบศพ

                เชิญชมภาพครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4619 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2554, 20:59:22 »
































              - สำหรับตัวแทนชมรมฯ ที่ทำหน้าที่ถวายดอกไม้ธูปเทียน ปัจจัยและทอดผ้าบังสุกุล คือ พี่ชรินทร์  หาญสืบสาย สว.ตาก และอาจารย์เผ่า  สุวรรณศักดิ์ศรี  ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรมไทย ปี ๒๕๕๔

               - รศ.พินิจ  เพิ่มพงษ์พันธ์  กราบพระพุทธ เป็นอันเสริจพิธี การเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมศพ คุณพ่อบัญญัติ   อิสดุลย์ คุณพ่อของ ดร.กุศล  อิสดุลย์  ของชมรมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาฯ ในวันนี้ครับ

                 เชิญชมภาพ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4620 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2554, 07:50:03 »












              
               ตามธรรมเนียมของพวกเราชาวซีมะโด่ง ครับ ภายหลังจากถ่ายภาพหมู่หน้าศพ ก็ยืนคุยกันอยู่หน้าศพนั่นแหละ จนศาลาปิดก็ยังมายืนคุยกันที่นอกศาลา และยังไม่พอกับความคิดถึง ก็ชวนกันไปนั่งคุย นั่งกินข้าวต้มกุ้ย ข้างวัดกันต่อ (ส่วนผม เห็นแก่ตัว ขอกลับบ้าน ครับ)

               เรื่องที่คุยส่วนใหญ่ เป็นเรื่องน้ำท้วม การทำความสะอาดบ้าน ความเสียหายที่เกิดขึ้น และมันเกิดขึ้นได้อย่างไร? ผมเองได้คุยกับอาจารย์ ดร.พงษ์ธร - ชนิกุล บอกว่า สิ่งของที่เสียหายนั้น มันเป็นของนอกกายทั้งนั้น เมื่อมันเปียกน้ำไปแล้ว(บ้าน ดร.พงษ์ธร อยู่รังสิต น้ำท้วมเกือบสองเดือน ท้วมก่อนเขา และแห้งภายหลัง วันเสาร์ที่ผ่านมาเพิ่งเข้าไปทำความสะอาดบ้านได้) ก็ถือว่าทำ ๕ส. ครั้งใหญ่ ทิ้งให้หมดในส่วนที่เสียหายไม่ต้องเสียดาย น้ำมาตัดสินใจแทนให้แล้ว และหาซื้อใหม่เท่าที่จำเป็นในการดำรงชีพ อย่าไปสะสมอีกเลย  บ้าน ดร.พงษ์ธร  เสียหายแยะมากครับ

               เช่นเดียวกัน พี่สิงห์ทราบข่าวมาว่า บ้านของคุณน้องเอมอร ก็เสียหายอย่างหนักเหมือนกัน  พี่สิงห์ ก็หวังว่า คุณน้องเอมอร ปฏิบัติธรรม มาพอสมควร  จะทำใจได้ เราปฏิบัติธรรมานั้น ก็เพื่อเอามาแก้จิตตัวเอง ในเวลาที่ประสพกับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบ พลัดพรากจากสิ่งที่รัก(เสียหาย) นี้ละครับ พี่สิงห์ พร้อมที่จะช่วยเหลือทุกสิ่ง ขอให้บอกมาครับ ยินดีเสมอ

               เชิญชมภาพครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4621 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2554, 07:58:43 »



คุณเหยง คุณน้องหนุ๋งหนิ๋ง
พี่สิงห์ ซื้อที่ที่นอนลม ที่ทำมาโดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ไปให้แม่ ราคา 6,500 บาท
เพราะสงสารแม่มาก เป็นแผลที่หลัง เจ็บที่นอนทับแผล ซื้อมาเสร็จ หลานสาวอาสาเอาไปให้ยายทันทีครับ



ชุดอาหารใส่บาตเณร เช้าวันนี้ครับ



และอาหารเช้าสำหรับผมวันนี้ครับ ส่วนอาหารกลางวันไปกินที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ กับ ดร.กุศล ครับ

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4622 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2554, 08:33:11 »






๑๐:๐๐ น. มีพิธีทำบุญเลี้ยงพระเพล

๑๑:๓๐ น. เชิญรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓:๐๐ น. พระราชทานเพลิงศพ

 ดร.กุศล  อิสดุลย์ เรียนเชิญทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4623 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2554, 10:10:03 »

พี่สิงห์

ดูแล้วน่าใช้ คงเป็นประโยชน์ให้คุณแม่ได้ใช้ครับ

ส่วนงานพระราชทานเพลิง"คุณพ่อบัญญัติ อิศดุลย์"เย็นนี้ คงไม่ได้ไปร่วมงานครับ ยังติดการซ่อมบำรุง
ที่สำคัญ ยังไม่มั่นใจเส้นทางคมนาคม ฝากบอก"พี่กุศล"ด้วยครับ



      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #4624 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2554, 19:40:49 »


















               วันนี้ผมไปถึงวัด 09:30 น. พิธีทำบุญกุศลอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้วายชนม์ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 10:00 น. ดร.กุศล  ยังไม่มา มีแต่ญาติ แขกยังไม่มา มีผมคนเดียวที่ดูท่าทางอาวุโสและเป็นแขก พี่สาว ดร.กุศล คนกลาง เลยมาเชิญผมให้เป็นประธานในพิธี จุดธูป-เทียนหน้าโต๊ะหมู่บูชา และหน้าศพ และนั่งเป็นประธานจนจบพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้วายชนม์

                มีการเทศน์หน้าศพ โดยพระภิกษุจากภาคเหนือ จบการเทศน์ พระสวดมาติกาบังสุกุล ถวายภัตตาหารเพล และเชิญแขกรับประทานอาหาร ซึ่ง ดร.กุศล  สั่งมาจากร้านบัว

                ส่วนอาจารย์พินิจ-พี่ติ๋ว มาถึงขณะพระกำลังสวดมาติกา ครับ

                เชิญชมภาพ
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 183 184 [185] 186 187 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><