เมื่อใดที่เราปลีกหลีกเล้นเพื่อภาวนา !
ขอให้ทุกท่าน นำธรรมที่พระพุทธองค์ ทรงถามพระอานนท์ให้ตอบ นั้นภาวนาให้เห็นความจริงในธรรม นั้นเถิด
เรามีทวารทั้ง ๖ คอยรับรู้อารมณ์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราคอยระวังอายตนะเหล่านั้น อย่างหลงไปในอารมณ์ที่ผัสสะ ด้วยการมีสติ และเจริญสติให้ตัดนิวรณ์ทั้ง ๕ ให้ได้จนเกิดเป็นสมาธิ เข้าฌาณที่ ๑, ๒, ๓, ๔
วิธีเอาชนะนิวรณ์ ๕ เมื่อ
ทวารทางจักษุ(ตา) รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส(เห็น) สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดจากตาเห็นรูป เกิดความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา เกิดเวทนา นั้น จะพบว่า มันไม่เที่ง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิด-ดับ เพราะท่านบังคับมันไม่ได้ แต่ท่านสามารถทำเหตุ-ปัจจัยให้เกิดขึ้นได้ เมื่อใดมีสติมันก็ดับ เมื่อไรคิดตาม มันก็หลงปรุงแต่งไปในอารมณ์นั้น ขอเพียงมีสติ อุเบกขา ความคิดนั้น มันก็ดับไปแล้ว
ทวารทางโสต(หู) เสียง โสตวิญญาณ โสตสัมผัส(ได้ยิน) สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดจากหูได้ยินเสียง เกิดความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู เกิดเวทนานั้น จะพบว่า มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิด-ดับ เพราะท่านบังคับบัญชามันไม่ได้ แต่ท่านสามารถทำเหตุ-ปัจจัยให้เกิดขึ้นได้ เมื่อใดมีสติมันก็ดับ เมื่อไรคิดตาม มันก็หลงปรุงแต่งไปในอารมณ์นั้น ขอเพียงมีสติ อุเบกขา ความคิดนั้น มันก็ดับไปแล้ว
ทวารทางฆานะ(จมูก) กลิ่น ฆานะวิญญาณ ฆานะสัมผัส(ได้ดม) สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดจากจมูกได้ดมกลิ่น เกิดความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก เกิดเวทนานั้น จะพบว่า มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพระาท่านบังคับมันไม่ได้ แต่ท่านสามารถทำเหตุ-ปัจจัยให้มันดับได้ ด้วยการมีสติ เมื่อใดมีสติมันก็ดับ เมื่อไรคิดตาม มันก็หลงปรุงแต่งไปในอารมณ์นั้น ขอเพียงมีสติ อุเบกขา ความคิดนั้น มันก็ดับไปแล้ว
ทวารทางชิวหา(ลิ้น) ลิ้มรส ชิวหาวิญญาณ ชิวหาสัมผัส(ลิ้มรส) สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดจากลิ้นได้ลิ้มรสนั้น จะพบว่า มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพราะบังคับมันไม่ได้แต่ท่านสามารถทำเหตุ-ปัจจัยให้มันดับได้ด้วยการมีสติ เมื่อใดมีสติมันก็ดับ เมื่อไรคิดตาม มันก็หลงปรุงแต่งไปในอารมณ์นั้น ขอเพียงมีสติ อุเบกขา ความคิดนั้น มันก็ดับไปแล้ว
ทวารทางกาย โผฏฐัพพะ กายะวิญญาณ กายะสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดจากได้สัมผัสทางกาย นั้น จะพบว่า มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิด-ดับ เพราะท่านบังคับบัญชามันไม่ได้ แต่ท่านสามารถทำเหตุ-ปัจจัยให้เกิดขึ้นได้ เมื่อใดท่านมีสติ มันก็ดับ เมื่อใดคิดตาม มันก็หลงปรุงแต่งไปกับความคิดนั้น ขอเพียงมีสติ อุเบกขา ความคิดนั้น มันก็ดับไปแล้ว
ทวารทางมโน(จิต) ธัมมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดจากการปล่อยใจให้คิดปรุงแต่งตามอารมณ์นั้น มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิด-ดับ เพราะท่านบังคับบัญชามันไม่ได้ แต่ท่านสามารถทำเหตุ-ปัจจัยให้เกดขึ้นได้ เมื่อใดท่านมีสติ มันก็ดับ เมื่อใดท่านคิดตาม มันก็หลงปรุงแต่งไปตามความคิดนั้น ขอเพียงมีสติ อุเบกขา ความคิดนั้น มันก็ดับไปแล้ว
ท่านจะสอนให้พิจารณาว่า เห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินเสียงสักแต่ว่าได้ยินเสียง ได้ดมกลิ่นสักแต่ว่าได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรสสักแต่ว่าได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกายสักแต่ว่าสัมผัสทางกาย เมื่อใดคิดก็ให้รูว่าคิด นี่คือกรรมฐาน ที่ท่านต้งปฏิบัติด้วยการมีสติ รู้สึกตัวนั้นเอง
กรณีที่ท่สนภาวนาแล้วนั่งหลับ มาเหตุจาก ท่านเผลอ ขาดสติที่กาย หลงไปกับความคิด มันก็เลยหลับสัปหงก มันเป็นอาการของจิตอย่างหนึ่ง ที่ท่สนจะต้องเอาชนะมันให้ได้ ผ่านด่านนี้ให้ได้ แล้วท่านจะไม่นั่งหลับสัปหงกอีกเลย
สวัสดีครับ