23 มิถุนายน 2567, 09:32:45
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 563 564 [565] 566 567 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3320791 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14100 เมื่อ: 11 มีนาคม 2558, 06:35:51 »


แม่น้ำคงคา เมืองพาราณาสี

อรุณสวัสดิ์ ทุกท่านครับ

เช้านี้ อาการแผลผ่าตัดดีขึ้นมาก คือสามารถเดินจงกรมติดต่อกัน เป็นชั่วโมง ได้ไม่รู้สึกเจ็บแผลภายในแต่ประดารใด  มีความรู้สึกดีขึ้น

ตอนนนี้ มีมันปัญหาเพียง ผลของการกินยา มีผลข้างเคียงคือ ระบบอุจจาระแย่ มันปวดถ่าย  แต่ไม่ถ่าย ทั้ง ๆ ดื่มน้ำลูกพรุน กินส้มโอ กินกล้วย กินผักสด ผักต้มมาก ไม่รับประทานเนื้อสัตว์  ก็พยายามปล่อยให้เป็นธรรมชาติ  ขอรักษาใจไม่ไปวิตกกังวลกับมัน เอาชนะใจตนเองให้ได้

คงอีกสักห้าวัน ครบสิบห้าวันจะลองขับรถดู  ว่าเป็นอย่างไรบ้าง  จะได้กลับ กทม.ได้  รวมถึงไปทำงานด้วย  รู้สึกว่าพักมานานทีเดียว ครั้งนี้

สวัสดีครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14101 เมื่อ: 11 มีนาคม 2558, 06:41:57 »


พระพุทธเมตตา

โพชฌงค์ ๗

โพชฌงค์ ๗ เป็นองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ (โพธิ) จึงได้ชื่อว่า โพชฌงค์
พระพุทธองค์ ทรงแสดงว่า ก่อนที่พระพุทธองค์ จะตรัสรู้นั้น พระองค์ใช้โพชฌงค์ธรรม เป็นอย่างมาก จึงเอาชนะจิตตนเองได้จนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ดังนั้นเราเอง นักปฏิบัติธรรม พุทธศาสนิกชนม์ ทั้งหลายควรศึกษาธรรมนี้ให้เข้าใจ  จะได้นำธรรมนี้มาปฏิบัติในการเจริญภาวนาเอาชนะจิตตนเอง และในชีวิตประจำวัน

โพชฌงค์ ๗ ประกอบไปด้วย
- สติสัมโพชฌงค์
- ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์
- วิริยสัมโพชฌงค์
- ปีติสัมโพชฌงค์
- ปัตสัทธิสัมโพชฌงค์
- สมาธิสัมโพชฌงค์
- อุเบกขาสัมโพชฌงค์

โพขฌงค์ ๗ เพราะเป็นธรรมที่สามารถปฏิบัติโดยลำดับแล้วสามารถเอาชนะจิตตนเองได้ จนบรรลุธรรม  
ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงให้สามเณรจุณฑะ เทศนาให้ฟังเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย ของพระองค์
พระมหากัสสปะ  ป่วยหนัก พระพุทธองค์ก็ได้ใช้ธรรม นี้เทศนาให้ฟังให้พิจารณาในการรักษาอาการไข้ จนหายได้
พระโมคคัลลานะได้รับบาทเจ็บสาหัสปางตายจากกลุ่มคนร้าย เมื่อได้รับฟังธรรมนี้แล้วสามารถเอาชนะใจตนเองล่วงพ้นเวทนาลงได้

ปัจจุบัน คนจึงนิยมสวดโะชฌงค์ ๗ เพื่อให้จิตมันได้ศึกษาในธรรมนี้ พิจารณาให้เห็นจริงในธรรมที่ละองค์ธรรมไปตามลำดับ จนอุเบกขาลงได้ เพื่อเอามารักษาใจตนเอง ให้เอาชนะใจตนเอง ป่วยแต่กาย แต่ใจไม่ป่วย ได้

สติสัมโพชฌงค์ คือการตั้งสติปัฏฐาน ๔ ให้อยู่ที่กาย เวทนา จิต ธรรม นั่นเองเพื่อให้จิต อยู่ ณ ปัจจุบัน ที่กำลังเป็นอยู่ จนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ  เราก็จะเห็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นกับทั้งรูป ทั้งนาม เห็นเจตสิกที่มาปรุงแต่งจิต และถึงซึ่งพระนิพพาน ได้
แต่อย่างที่บอก จิตมันเป็นอนัตตา ไม่สามารถสั่งมันให้ทำตามคำสั่งเราได้ เราบังคับมันไม่ได้ มันคอยจะปรุงแต่ง คอยที่จะคิดตามผัสสะที่เกิดจากอายตนะภายนอก - อายตนะภายใน หรือเกิดเจตสิกมาปรุงแต่งจิต ได้ ทำให้ สติหลุดจาก ปัจจุบัน ไม่ตั้งเป็นสมาธิ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นเพราะความคิด หลงไปกับความคิด ไหลไปกับความคิด
เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำอย่างไร ? ให้จิตกลับมามีสติ ณ ปัจจุบันได้ ก็ต้องใช้องค์ธรรมที่ สอง คือ ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์

ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ คือการเฟ้นธรรม  การเลือกธรรม มาพิจารณาโดยจิต เพื่อให้จิตมันกลับมามีสติ หลุดจากความคิดลงได้

ธรรมชาติของจิต มันชอบอิสสระ มันชอบสอดส่ายไปโน่น มานี้ ชอบคิด สั่งให้หยุดคิด ก็สั่งไม่ได้ เมื่อคิดจิตยิ่งฟุ้งขาดสติ สติไม่สามารถจะตั้งเป็นสมาธิได้
ดังนั้น ต้องหาวิธีมาช่วยให้จิตมีสติคือ การเฟ้นธรรม มาให้จิตมันได้ศึกษา ได้พิจารณา ได้ คิด ไม่ให้มันคิดเอง
ธรรมที่ควรนำมาให้จิตมันคิดคือ ปฏิจจสมุปาบาท ไตรลักษณ์ รูป-นาม มหาธาตุทั้ง ๔ อริยสัจ ๔ เป็นต้น เมื่อจิตมาพิจารณาธรรมซึ่งเราสามารถสั่งได้ จิตมันจะสงบ สามารถกลับมามีสติได้อีกครั้ง จนเป็นสมาธิได้

อย่าลืมว่าเมื่อใดจิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบ ไม่มีสติ เมื่อนั้น ต้องใช้ธัมมวิจยะ เฟ้นธรรมเอามาให้จิตมันคิด เพราะธรรมของพระพุทธองค์ไม่มีทุกข์คิดได้  พิจารณาให้จิตมันเห็นจริงได้ในธรรมนั้น เมื่อจิตมันคิด มีที่เกาะ จิตจะสงบ สามารถกลับมาดำรงสติ อยู่ ณ ปัจจุบันได้อีกครั้งหนึ่ง

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14102 เมื่อ: 11 มีนาคม 2558, 08:39:04 »



วิริยสัมโพชฌงค์

ในการบำเพ็ญเพียรทางจิตนั้น ต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะยิ่ง จึงจะเอาชนะจิตตนเอง ไม่ให้ไหล ไม่ให้หลงไปกับความคิด เวทนา เจตสิก กิเลสทั้งหลาย ที่มารุมเร้าเล่นงานทั้งกาย และจิต เราต้องรวบรวมทั้งอินทรีย์ ๕ พละ ๕ ให้ยิ่งขึ้นไปอีก รวมทั้ง สัมมัปทาน ๔ โดยเฉาะจิต ให้ดำเนินไปแต่กุศล คิดในทางดีว่า เราสามารถใช้ความเพียรเอาชนะจิตตนเองได้

วิริยสัมโพชฌงค์  จึงมีความสำคัญมาก ส่วนใหญ่พ่ายแพ้ตนเองเรียบ เพราะขาดวิริยสัมโพชฌงค์นี่เอง ที่คนทั้งหลายเรียกว่า กิเลสมาก หรือยังมากอยู่ นั่นเองเลยขาดความเพียร ล้มเลิกกลางคัน กลับโทษตัวเองว่าไม่มีวาสนา

เมื่อสามารถเอาชนะจิตตนเองด้วยวิริยะ คือ สติผ่านความฟุ้งซ่านด้วยธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ ผ่านเจตสิก เวทนา ด้วยวิริยสัมโพชฌงค์  ธรรมชาติก็จะให้รางวัล แห่งผลการปฏิบิตนั้น คือ ปีติ

ปีติสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมที่ ๔ ที่เกิดขึ้นกับจิต คือความสุขที่เกิดขึ้นจากจิตสงบระงับ มีแต่สติล้วน ๆ เกิดความสุขใจเกิดขึ้น ชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จิตมันจะได้รู้จักอารมณ์ที่เกิดจากปีติ คือสงบ เย็น โลง โปร่ง เบาแจ่มใสในจิต เบิกบาน ในจิตแบบที่ไม่เคยประสพมาก่อน

แต่ต้องระวังเป็น อย่างมาก ไม่หลง ไม่ไหล ไม่ยินดี ไม่เพลินเพลินไปกับสุขที่เกิดจากปีตินี้ หรือหลงคิดว่าเราบรรลุธรรมแล้ว  มันไม่ใช่  ท่านต้องออกมาจากอารมณ์ปีตินี้ ด้วย ปัตสัทธิสัมโพชฌงค์

ปัตสัทธิสัมโพชฌงค์ คือองค์ธรรมแห่งความสงบ ระงับ จิตไม่ให้พลอยยินดี เพลินเพลิง หลง ไหล ไปกับปีติที่เกิดขึ้น เพียงให้รู้จักอารมณ์ปีติเฉย ๆ เท่านั้น ต้องผ่านปีติด้วย ความสงบระงับทางกาย ทางใจให้ได้

โดยเฉพาะทางใจ  ต้องผ่านมันไป ไม่ติดใจไปกับปีตินั้น

เมื่อจิตเกิดความสงบระงับลงได้ จะมีแต่สติ-สัมปชัญญะ จิตตั้งมั่น เป็นสมาธิ ที่เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์

สมาธิสัมโพชฌงค์
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14103 เมื่อ: 11 มีนาคม 2558, 10:00:44 »



สมาธิสัมโพชฌงค์

สมาธิสัมโพชฌงค์ คือการเจริญสติ จนเป็นสมาธิที่หยั่งลึกเป็นอัปมาสมาธิ อยู่ในญาณ ที่ ๔ เอกคตาจิต มีสติ-สัมปชัญญะสมบูรณ์ ที่พระพุทธองค์ ทรงให้กระทำ ให้อยู่ได้นาน ๆ เมื่อนานนั่นหมายความว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์จะเกิดขึ้นทันที

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือ จิตตั้งมั่นเป็นเอกคตาจิต จิตจะสามารถวางเฉย ทั้งสิ้น ไม่มีอะไรที่จะมากระทำให้จิต เป็นไปได้อีก มีแต่สติ-สัมปชัญญะ ล้วน ๆ

การนำโพชฌงค์ ๗ มารักษาโรคนั้น
เป็นการักษาจิต ให้จิตอยู่ในความเป็นจริง เป็นผู้ดู  ไม่ไปเป็นผู้เป็น นั่นเอง  ส่วนโรคทางกายนั้น ธรรมชาติมันเยียวยาเองได้  แต่บางอย่างก็ไม่ได้ต้องพึ่งหมอ
เราก็ต้องรักษามันไป

ถ้าเรารู้หลัก โพชฌงค์จิตอย่างนี้ เราก็เอามาใช้ในการเจริญภาวนาของเรา เมื่อใดจิตมันหลงคิด ไหลไปกับความคิด หรือความเพียรหมดไป ก็จงนำโพชฌงค์ ๗ มาใช้  จนเอาชนะจิตตนเองได้ นั่นแล

วิสัสชนามา ก็ด้วยประการฉะนี้ ตามการพิจารณาของตนเอง ขอทุกท่านจงใช้ปัญญตามหลักกาลามสูตรพิจารณาเทอญ  เอวัง

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14104 เมื่อ: 11 มีนาคม 2558, 11:11:47 »


ดร.กุศล  ส่งมาให้  มีสมาชิกซีมะโด่งทัวร์มาเสริม นำโดยคุณราเมศวร์  ศิลปพรหม  อดีตนายกสมาคมฯ


การท่องเที่ยว สำหรับพี่สิงห์  มันหมดไปแล้ว
ไม่ก่อประโยชน์อันใด  มีแต่สร้างความอยาก ไม่รู้จบ  
ตอนนี้ มีแต่ความเบื่อหน่าย ไม่มีจิตใจ นึกสนุกเลยในการท่องเที่ยว
ทั้งที่มีเวลา  มีคนอยากให้ไป  แต่จิตมันเบื่อหน่าย ถามกลับมาว่า "มันได้อะไรบ้าง มีแต่สะสมความอยากเพิ่มขึ้น"

วันนี้สาย ๆ ได้แก้ปัญหาตนเอง จากผลข้างเคียงของยา ทำให้เราถ่ายไม่ได้  พาลจะเป็นริษสีดวงทวารเอา ก็เลย สวนลำไส้  ผล คือสบายตัวเกิดขึ้น กับเรา ทันที ไม่ต้องอยู่ด้วยเวทนา

ก็ต้องทนไปอีกห้าวัน  จนกว่ายาแก้อักเสบจะหมด
พยายามกินกล้วยก่อนกินข้าว  กินผักให้มาก  กินส้มโอให้มาก ดื่มน้ำให้มาก เข้าไว้

ได้เวลาฉันเพลแล้ว  

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14105 เมื่อ: 11 มีนาคม 2558, 12:16:02 »



"วิธี ที่จะทำให้ไม่ทุกข์ ก็คือ
การปล่อยวาง สิ่งที่เกิดขึ้น
ในอดีตไปแล้ว ไม่ว่าจะดี หรือร้าย
ก็ปล่อยวางไป ไม่ต้องเอามา
ทิ่มแทงใจ หรือห่วงหาอาลัย
แล้วก็ยอมรับความจริง
หรือสิ่งที่มีอยู่ ในปัจจุบัน"

เสียงธรรมจาก พระไพศาล  วิสาโล
วัดป่าสุคะโต


      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14106 เมื่อ: 11 มีนาคม 2558, 14:30:16 »



พรุ่งนี้ เป็นวัดสุดท้ายของการเรียน ระดับประถมของโรงเรียนอินทร์โมลีประทาน
มีเด็กนักเรียนประมาณ ร่วม ๒ พันคน

คราวนี้ ไม่มีเสียงนักเรียน เป็นเพื่อน แล้วครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14107 เมื่อ: 11 มีนาคม 2558, 19:28:23 »


รูป ปัจจุบันของอาจารย์กำพล  ทองบุญนุ่ม
ป่วยมะเร็งตับขั้นสุดท้าย นอนรอความตาย
ดูท่านไม่ได้ป่วยเลย !

"อุบายของ หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ คือ
ให้เราเป็นผู้ดู  อย่าเข้าไปเป็น
ให้รู้ซื่อ ๆ  ไม่หาคำตอบ จากความคิด
ไม่เอาถูก  ไม่เอาผิด
ไม่เอาเหตุ  ไม่เอาผล
ให้ทำเล่น ๆ  
ไม่เป็นอะไร กับอะไร
ไม่ทำตามความคิด
ให้ปฏิบัติเอาเอง ไม่ต้องไปเชื่อใคร"

สาธุ

ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14108 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 06:17:57 »



อรุณสวัสดิ์ ทุกท่านครับ

วันนี้ เป็นวันพระ

พี่สิงห์ ไม่ได้ไปวัด แต่ก็ได้ตั้งใจสวดมนต์ทำวัตรเช้า และเจริญจิตภาวนา เช้าวันนี้แทน เพราะทำได้เพียงเท่านี้

การมีชีวิตอยู่นั้น  ต้องรู้ตัวเองว่า  เราสามารถทำอะไรได้แค่ไหน ยิ่งเป็นคนป่วยแล้วต้องยอมรับสภาพตามความเป็นจริง อย่าไปต้องการมาก  อย่าเรียกร้อง อย่าโวยววาย ทำตัวให้ว่าง่าย สอนง่าย ก็จะมีคนคอยดูแล  แต่นั่นหมายความว่า ท่านต้องสะสมความดี ช่วยเหลือ เกื้อกูรเขามามากเช่นกัน

ดังนั้น การสะสมความดี อนุเคราะห์ ช่วยเหลือ แบ่งปัน การให้ต่าง ๆ นั้น จึงมีความจำเป็น ต้องสะสมมาเรื่อย ๆ ให้มาก เพราะสักวันหนึ่ง ยามเจ็บป่วย ช่วยตัวเองไม่ได้  จะได้รับความเมตตากลับมาบ้าง

พระพุทธองค์ จึงได้สอน คุณของการเป็นผู้ให้ อนุเคราะห์ เป็นอันดับแรก เพราะจะเข้าใจได้ง่่าย จิตจะเห็นความจริงในการทำทาน

แต่ถ้าเราเห็นประโยชน์ส่วนตน ไม่เกื้อกูรใครเลย  เมื่อยามเราเจ็บป่วย จะไม่มีคนดูแล  ต้องระวัง นะครับ

สุขบ้าง  ทุกข์บ้าง  เฉย ๆ บ้าง  ชีวิตมันก็เป็นอย่างนี้

ไม่มีสุขตลอดไป  ไม่มีทุกข์ตลอดไป  ไม่มีเฉย ๆ ตลอดไป
ทุกสิ่งที่ประสพล้วนมีเหตุ-ปัจจัยในแดนเกิด เมื่อรู้ความจริง มีสติ-สัมปชัญญะ  รู้ทันความคิดตนเอง เราก็จะวางจิตของเรา ให้ถูกที่ ถูกทาง ได้ เราก็จะมีแต่ความสงบสุข

เป็นผู้้ดู  ไม่เป็นผู้เป็น ไม่เป็นอะไร กับอะไร?

สวัสดีครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14109 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 06:27:56 »



สติ เปรียบได้กับ รอยเท้าช้าง !

ช้างเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุด ที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน และรอยเท้าของช้างนั้น ก็ใหญ่กว่ารอยเท้าของสัตว์ทั้งปวง

ดังนั้น รอยเท้าของสัตว์ทุกชนิด สามารถเข้ากับรอยเท้าช้างได้ คือสามารถไปวางได้ในรอยเท้าช้าง เพราะรอยเท้าเล็กกว่านั่นเอง ฉันใด

สติ ก็เช่นกัน
สติเปรียบได้ด้วยรอยเท้าช้าง
อารมณ์ต่าง ๆ ที่มาปรุงจิต  แต่งจิต รวมทั้งความคิด ก็เปรียบได้ กับรอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย เพราะเล็กกว่า ฉันนั้น

สรุป สติ ใหญ่กว่าอารมณ์ทั้งหลายที่มาปรุงแต่งจิต มาประกอบจิต เช่นความโลภ  ความโกรธ  ความหลง และความคิดเป็นต้น

เมื่อสติ อยู่เหนือ อารมณ์ อยู่เหนือความคิด

จงฝึกสติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เถิด มีแต่ผลดีทั้งสิ้น

สติ นั้น ฝึกได้ ขึ้นอยู่ที่ตัวของท่านในการบำเพ็ญความเพียร ในการตั้ง สติปัฏฐาน ๔ ครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14110 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 07:37:21 »



อาหารเช้าวันนี้

ตอนนี้ต้องระวัง ไม่รับประทานมาก เพราะไม่ได้ออกกำลังกาย

และต้องระวังท้องผูก เพราะะต้องกินยาแก้อักเสบ ทำให้ท้องผูก  อดทนอีกหนึ่งวัน ยาก็ไม่ต้องกินแล้ว

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14111 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 07:42:47 »



ถ้าเป็นสมัยโบราณ
หน้านี้เป็นหน้านวดข้าว ตามหัวคันนา ตามริมคลอง จะมีพุทธทรา  มะข้ามเทศ  ที่ชาวบ้านปลูกเอาไว้รับประทาน แบบธรรมชาติ ให้กิน ใคร ๆ ก็สามารถสอย หรือขึ้นได้ เอาไปรับประทาน ไม่มีใครหวง ยกเว้นห้วม เอาไปขายเท่านั้น

วันนี้เลยอยากกินมะขามเทศบ้าง

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14112 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 08:01:59 »



เมื่อวานได้นั่งดู สารคดีเกี่ยวกับพระพุทธองค์

มีข้อที่น่าคิด ฝรั่งเขาบอกว่า  "พระพุทธเจ้า ปฏิเสธการสวด อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ช่วยเหลือ แต่พุทธศาสนิกชนม์ ปัจจุบัน กลับทำตรงกันข้ามกับคำสอนของพระพุทธองค์ เชื่อการสวดอ้อนวอน เชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์"

มันก็เป็นจริง เพราะการอ้อนวอนสิ่่งศักดิ์สิทธิ์ มันทำง่าย คนจึงนิยม
การปฏิบัติมันอยาก  จึงไม่กระทำ และส่วนใหญ่ ไม่รู้คำสอนของพระพุทธองค์ที่แท้จริง เป็นพุทธศาสนิกชนม์เพียงใบทะเบียนบ้าน


ยิ่งคำพูดที่ว่า "ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่" ด้วยแล้ว
นั่นละตัวทำลายพุทธศาสนาเลย เพราะมันตรงกันข้ามกับคำสอน ของพระพุทธองค์

พระพุทธองค์ ท่านสอนให้เชื่อเรื่อง "กรรม"
กรรม คือการกระทำ
ใครทำกรรมดีเอาไว้  ย่อมได้ผลดีตอบแทน
ใครทำกรรมชั่วเอาไว้  ย่อมต้องได้รับผลไม่ดีตอบแทน

ทุกสรรพสิ่ง ล้วนเกิดจากเหตุ-ปัจจัย
เมื่อเหตุ-ปัจจัยดับ ผลจึงไม่มี

นี้คือ ทุกข์
นี้คือ เหตุ-ปัจจัย ที่ทำให้เกิดทุกข์ คือตัณหา
ถ้าจะดับทุกข์ ต้องดับที่เหตุ-ปัจจัยในการเกิดทุกข์ นั่นคือ อุปาทาน
และนี่คือ แนวทางปฏิบัติทางสายกลางแห่งการพ้นทุกข์ คือดำเนินชีวิต ตาม มรรคมีองค์ ๘ ประการ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14113 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 08:30:22 »


รอยพระบาทของพระพุทธองค์ ที่รัตนจงกรม
สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช

อริยะมรรคมีองค์ ๘ ประการ

อริยะมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือหนทางอันประเสริฐ ๘ ประการ เป็นหนทางที่พระอริยะสงฆ์ใช้ประกอบความเพียรในการดำรงค์ชีวิต ที่เป็นทางสายเอกอันอุดม ที่ผู้ปฏิบัติสามารถ ถึงซึ่งพระนิพพานได้  แต่ถ้ายังไม่ถึง ก็จะประสพแด่ความสุข ความเจริญ เป็นทางสายกลางในการดำรงค์ชีวิต ที่พระพุทธองค์ ทรงตรัสรู้

พระพุทธองค์ ตอนเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ พระองค์มีประสาท ๓ ฤดู เพรียบพร้อมด้วยนางกำนัล บริวาร และปัจจัย ๔ บริบูรณ์ แต่ก็ยังต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย คือได้รับทุกข์ อยู่ดี หนีไม่พ้น  เมื่อตายไปแล้วก็กลับมาเกิดอีก ทนทุกข์อีก ตามคติของพราหมณ์ สมัยนั้น มิรู้จบ

เมื่อทรงเสด็จออกบวช ท่านได้ลองทรมารพระวรกาย ให้ทนทุกข์สาหัส ตามความเชื่อในสมัยนั้นว่า ความทุกข์ทรมารทางกาย จะทำให้บรรลุธรรมอันวิเศษได้(ยังไม่รู้จัก พระนิพพาน) พระองค์ได้ทรมารกายยิ่งกว่าผู้ใดจะเสมอเหมือนไม่ พระองค์ก็ยังไม่บรรลุธรรมอันใด ยังต้องแก่ ต้องเจ็บ แถมเกือบจะสิ้นชีวิต ถ้ายังฝืนกระทำต่อไป

พระองค์ได้ยินคนสอนพิณ มาสอนว่าสายพิณนั้น ตึงเกินไป เสียงก็ไม่ไพเราะ ถ้าตึงมากๆ สายขาดได้ หย่อนเกินไป เสียงก็ไม่ไพเราะ   ต้องตึงพอดี ๆ จึงจะมีเสียงเพราะ

คำสอนง่าย ๆ เช่นนี้เอง  และ

พระองค์จึงได้คิด ชีวิตที่มีความสุขเกินไป เปรียบได้ด้วยพิณสายหย่อนยาน เสียงไม่ไพเราะฉันใด ก็ย่อมไม่บรรลุธรรม เพราะมีแต่สุขเกินไป ฉันนั้น

ชีวิตที่อยู่ด้วยการทรมารกายยิ่ง เปรียบได้ด้วยพิณขันตึงมาก เสียงไม่ไพเราะ และอาจขาดได้ถ้าตึงเกินไป เปรียบได้กับชีวิตกายลำบากมาก จะบรรลุธรรมได้อย่างไร และอาจตายได้  ก็เสียชาติเกิด

ทางสายกลางเท่านั้น ไม่ตึง ไม่หย่อน คือ อยู่ด้วยปัจจัย พอเพียง จึงมีคุุณสมบัติที่จะบรรลุธรรมได้ คือตรัสรู้นั่นเอง

และก็เป็นจริง ตามนั้น ในเวลาต่อมา

ทางสายกลางที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ประกอบไปด้วย

อริยะมรรค มีองค์ ๘ ประการ
- สัมมามิฏฐิ  ความเห็นชอบ
- สัมมาสังกัปปะ  ความดำหริชอบ
- สัมมาวาจา  การพูดจาชอบ
- สัมมากัมมันตะ  การประพฤติทางกายชอบ
- สัมมาอาชีวะ  การมีอาชีพที่ชอบ
- สัมมาวายามะ  ความเพียรชอบ
- สัมมาสติ  การตั้งสติชอบ หรือการระลึกชอบ
- สัมมาสมาธิ  การตั้งใจมั่นชอบ

หรือ สรุป ให้ได้ใจความสั้น ๆ คือ
ดำรงชีวิตอยู่ด้วย ศีล  สมาธิ  ปัญญา  นั่นเอง

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14114 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 11:25:18 »



อาหารเพล วันนี้ครับ

กระทู้นี้ เขียนสับเพเหระไปเรื่อย ๆ เพราะบางวันก็ไม่รู้จะเขียนอะไร  ก็วกไป  เวียนมา  แล้วแต่ใจมันอยากจะเขียนอะไร

แต่มีข้อดี คือได้ทบทวนธรรม
เขียนตามความรู้สึกของเรา ที่สัญญา มันยังจะพอทำงานอยู่
(สัญญา แปลว่า การจำได้หมายรู้้)

ถ้าไม่เขียน กระทู้มันก็ตาย  ก็ถึงจุดจบกัน

ดร.สุริยา  โต้โผใหญ่  ยังหายหน้า  หายตา ไปเลย

ดร.กุศล  ไม่ต้องห่วง  มีแต่มีข้ออ้างเสมอ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14115 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 11:34:52 »


พระนพ  ธีรวโร กับ รัตนจงกรม

สัมมาทิฏฐิ - ความเห็นชอบ

สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ คือเป็นเรื่องของการปรับทัศนคติให้เห็นตามความเป็นจริงในธรรม ตามปฏิจจสมุปบาท  ไตรลักษณ์ อริยสัจ ๔ รูป-นาม
ท่านสามารถเจริญสติปัฏฐาน ๔ จนพบความจริงในธรรมที่กล่าวมาแล้วได้ จากจิตของท่าน หรือ
ท่านพิจารณาแบบแยบคาย(โยนิโสมนสิการ)ทำความเข้าใจในธรรมที่กล่าวมาแล้ว  ท่านก็จะพบได้ว่า มันเป็นความจริง อย่างนั้น และท่านยอมรับในความเป็นจริงแห่งธรรมนั้น

อาจจะเข้าใจยาก สักหน่อย แต่ไม่ยากเกินไป สรุป คือ
ท่านเห็นด้วยว่า
ทุกสิ่งล้วนเกิดขึ้นจากเหตุ-ปัจจัย
ทุกสิ่งล้วนดับไปเมื่อเหตุ-ปัจจัยดับ
จะดับเหตุ-ปัจจัย ต่องดับที่ต้นเหตุ
และวิธีปฏิบัติทางสายกลาง คือ มรรค ๘ นั่นเอง

ท่านจะเห็นว่ามันก็เป็นจริง ตามนี้ไม่เปลี่ยนแปลง  ง่าย ๆ แบบนี้ละครับ ขอให้ท่านนำไปใช้ในการดำรงชีวิต ให้ติดเป็นนิสัย แล้วท่านจะไม่ทุกข์เลย (ผู้ปฏิบัติธรรมต้องเห็นความจริงอันนี้)

นี่คือการเห็นชอบในปฏิจจสมุปบาท-อริยะสัจ ๔

นอกจากนี้ท่านต้องเห็นจริง ในไตรลักษณ์ และร่างกาย-จิต ท่านเป็นเพียง รูป-นามเท่านั้น ไม่มีตัวตน ไม่มีเรา ไม่มีของเรา

หรืออย่างน้อยสุด ในชีวิตนี้ ค้นพบสัมมาทิฏฐิให้พบจากการเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี่ละ ท่านจะลบสักกายะทิฏฐิลงได้ ท่านจะลบสีลพตปรามาสลงได้ และท่านจะลดวิจิกิจฉาลงได้  จากจิตท่าน ด้วยตัวของท่านเอง

ลืมไปเลยเรื่องการวิงวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะท่านรู้ว่า มันเป็นจริงไปไม่ได้
ท่านจะมีศรัทธายิ่งในพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และ
ท่านจะไม่ยึดมั่นในตัวกู ของกู เพราะท่านรู้แล้วว่า ร่างกาย-จิต เป็นเพียง รูป-นาม เท่านั้น


ขอกล่าวคำว่า สาธุ  สาธุ  สาธุ  เมื่อท่านพบแล้ว
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14116 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 12:31:38 »


พระนพ  ธีวโร กับ ต้นพระศรีมหาโพธิ์

สัมมาสังกัปปะ - ความดำหริชอบ

ความดำหริชอบ ในที่นี้ คือดำหริที่จะออกจากกามคุณที่เกิดจาก รูป เสียง กลิ่น  รส โผฏทัฏพะ หรือ คือการออกบวช รักษาศีล โดยเชื่อว่าแนวทางนี้ เป็นแนวทางอันประเสริญ เป็นทางสายเอก มุ่งสู่ พระนิพพาน

นอกจากนี้ ยังหมายถึง มโนกรรม ๓ คือ
- ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
- ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น
- เป็นสัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม

นอกจากนี้ ยังมี หิริ-โอตัปปะ คือ มีความละอาย-เกรงกลัวการทำบาป

ความดำหริชอบ เป็นการระวังใจตนเอง  ที่ระวังยากที่สุด มันต้องประกอบไปด้วยศรัทธา อย่างมาก ๆ

หรือ ความดำหริชอบ ยังจะหมายถึง การยึดเอา ศีล  สมาธิ  ปัญญา มาใช้ในการดำรงค์ชีวิต  ของเราก็ได้ อีกเหมือนกัน

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14117 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 15:38:21 »


เหล่าพระธุดง เดินทางถึง สถานที่ประสูติ  สวนลุมพินีวัน  เนปาล

สัมมาวาจา - การพูดจาชอบ

การพูดจาชอบ คือการพูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ ชัดถ้อยชัดคำ ได้ใจความ ไม่ขัดใจคนฟัง คำพูดประกอบไปด้วยประโยชน์ เป็นกุศล ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และ
- งดเว้นจาก การพูดคำเท็จ
- งดเว้นจาก การพูดส่อเสียด
- งดเว้นจาก การพูดคำหยาบ
- งดเว้นจาก การพูดเพ้อเจ้อเหลวไหล
- งดเว้นจาก การพูดที่ทำให้คนแตกแยก วิวาทกัน

หรือหมายถึง วจีกรรม ๔ นั่นเอง
วจีกรรม ๔ ประกอบด้ว
- งดเว้นจาก การพูดเท็จ
- งดเว้นจาก  การพูดส่อเสียด
- งดเว้นจาก การพูดคำหยาบ
- งดเว้นจาก การพูดเพ้อเจ้อเหลวไหล

อย่าลืมคำโบราญ ที่ว่า
"พูดดี เป็นศรีแก่ปาก  แต่ถ้าพูดมาก ปากมีสี"

การสำรวมวาจา จึงเป็นคุณสมบัติของผู้ประพฤติธรรม และเป็นเครื่องหมายของคนดี

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14118 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 15:59:15 »


คณะพระธุดงค์ ชมพระมหาเทวีวิหาร

สัมมากัมมันตะ - การประพฤติทางกายชอบ หรือการงานชอบ

สัมมากัมมันตะ คือการประพฤติทางกายชอบ หรือการงานชอบ หรือการกระทำทางกายชอบ นั่นเอง

ในที่นี้พระพุทธองค์ทรงเน้นไปที่การกระทำทางกาย ที่ประกอบไปด้วยประโยชน์  เป็นกุศล  ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน แม้กระทั่งสัตว์เดรฉาร

นอกจากนี้ ยังหมายถึง กายกรรม ๓ อีกด้วย

กายกรรม ๓ ประกอบด้วย
- งดเว้นจาก การฆ่าสัตว์
- งดเว้นจาก การลักทรัพย์
- งดเว้นจาก การประพฤติผิดในกาม

หรือจะหมายความถึง การอยู่ด้วย ศีล  สมาธิ  ปัญญา ก็ได้ครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14119 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 16:09:44 »


มหาวิหารมายาเทวี  ตรงเสาอโศก คือสถานที่ประสูติ และเดินไปทางทิศเหนือ ในมายาเทวี

สัมมาอาชีวะ - การมีอาชีพที่ชอบ

การมีอาชีพที่ชอบ คือการทำมาหาเลี้ยงชีพ ที่สุจริต ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ประกอบไปด้วย สัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัปปะ  สัมมาวาจามะ และสัมมากัมมันตะ เป็นเบื้องต้น

อย่างพระภิกษุสงฆ์ ท่านหาเลี้ยงชีพด้วยการบิณฑบาตร ให้ชาวบ้านเลี้ยง อาหาร ปัจจัย ๔  ท่านก็ต้องทำการบิณฑบาตรนั้นให้บริสุทธิ์ อยู่ด้วย โพธิปักขิยะธรรม ๓๗ ประการ

ดร.สุริยา  อาจจะแย้งว่า  ถ้าผมมีอาชีพในการจับปลาเอามาขาย จะเป็น อาชีพที่ช อบไหม  ผมไม่ได้ขโมย จากใครหาเลี้ยงชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเหมือนกัน

ดร.กุศล  อาจจะแย้งว่า  ถ้าผมมีอาชีพรับจ้าง ฆ่าสัตว์ เป็นอาชีพสุจริต เป็นอาหารของมนุษย์ พระก็ฉัน ผมจะบาปไหม  จะเป็น สัมมาอาชีวะ ได้ไหม?

และทุกท่านอาจจะมีคำถามอีกมาก

ผมถึงต้องยกว่า อาชีพที่ชอบ นอกจากเป็นอาชีพที่สุจริต แล้วยังต้องประกอบไปด้วย สัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัปปะ  สัมมาวาจามะ  สัมมากัมมันตะ คือ องค์มรรคก่อนหน้านั้นด้วย

จริงอยู่ อาชีพจับปลา  ฆ่าสัตว์... เป็นอาชีพที่สุจริต จริง

แต่เมื่อท่านรักที่จะดำเนินชีวิต ตามมรรคมีองค์ ๘  ท่านก็ต้องทำให้ครบทุกค์องค์  คำตอบคือ ท่านควรจะเลิกอาชีพนั้นเสีย  ไปทำอาชีพอื่นได้  มันก็เท่านั้นเอง  อย่าไปดื้อแพ่งเลยครับ ไม่ถูกต้อง แสดงว่าท่านยังมี "วิจิกิจฉา" ไง !

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14120 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 16:11:38 »


สวนลุมพินีวัน  สระอโนดาษ

สัมมาวายามะ - ความเพียรชอบ

ความเพียรชอบ ในที่นี้ ประกอบด้วย
- เพียรที่จะทำ กุศลที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น
- เพียรที่จะละ อกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น
- เพียรที่จะละ อกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้หมดไป
- เพียรที่ทำ กุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

หรือความเพียร จะทำ ศีล  สมาธิ  ปัญญา ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปนั่นเอง

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14121 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 16:57:14 »


ท่านเจ้าคุณพระวิเทศ  โพธิคุณ (ดร.พระมหาสุเทพ  อากิณจโณ  กำลังบรรยาย ประวัติปฐมเทศนา)

สัมมาสติ - ความระลึกชอบ

ความระลึกชอบ คือการระลึก ณ ปัจจุบันที่ฐานกาย ฐานเวทนา ฐานจิต และฐานธรรม ในการตั้งสติปัฏฐาน ๔  ตามที่ได้บรรยายเอาไว้ใน โพธิปักขยะธรรม ๓๗ ประการ ก่อนหน้านั้น นั่นเอง

ท่านจะเริ่มต้น ครูบาอาจารย์ ท่านไหน สำนักไหน ได้ทั่งนั้น ขอเพียงให้ท่านระลึกได้ ณ ปัจจุบัน ในฐานทั้ง ๔ นั้น ถูกต้องหมด

เลือกวิธีการปฏิบัติให้ถูกต้องกับจริตของท่าน เพราะถ้าไม่มีฉันทะ  จิตมันก็จะไม่มีความเพียร และอดทนในการปฏิบัติ

อย่าลืมมันยังมีองค์ประกอบ อื่น ๆ อีก เช่น
- สถานที่ต้องสัปปายะ เอื้ออำนวยในการปฏิบัติธรรม
- อาหารต้องสัปปายะ คือมีข้าวกิน อย่างน้อย ๒ มื้อ
- มีเพื่อนสัปปายะ  ที่จะคอยเตือนให้เกิดความเพียรซึ่งกันและกัน
- มีครูอาจารย์ คอยให้คำแนะนำสั่งสอน

นอกจากนี้ยังต้อง
- มีศรัทธา
- มีศีล
- อยู่อย่างพอเพียงในปัจจัย ๔
- ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น
- มีสติ - สัมปชัญญะ เป็นปัจจุบัน รู้ถึงสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นกับกาย-ใจ

นอกจากนี้ยังต้องรู้เกี่ยวกับ
- การเปลี่ยนอิริบาบถ
- สภาวะธรรมที่เกิดขึ้นกับกาย-ใจ
- แยกอันไหนเป็นบัญญัติ
- แยกอันไหนเป็นปรมัตถธรรม
- ต้องปฏิบัติให้เป็นลูกโซ่ ต่อเนื่อง ทั้งวัน ทั้งคืน
- ต้องรู้ว่า ความฝัน ก็คือ การหลงคิดนั่นเอง ฯลฯ

แต่จริง ๆ แล้ว ท่านคอยตามกาย ตามใจของท่านให้ทันในสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นที่กาย เกิดขึ้นที่ใจ  ถึงจุด ๆ หนึ่ง ท่านจะทราบได้เองทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือมาก่อนเลย เพราะสิ่งเหล่านี้ มันเกิดขึ้นกับผม มาแล้วทั้งสิ้น

ขออนุโมทนา  ในการตั้งสติปัฏฐาน ๔ ของท่านครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14122 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 17:27:58 »



บ้านที่พี่สิงห์  พักฟื้น อยู่ในโรงเรียนอินทร์โมลีประธาน

ถ่ายภาพจาก เก้าอี้ที่นั่งเขียน อยู่ในกระทู้นี้
เป็นการพักผ่อนยามเย็น ในบ้านมันร้อน  ตรงนี้เป็นโรงยิมเอนกประสงค์ ใช้ในการประชุมนักเรียน  มีลมพัดผ่าน ในบ้านมันอบอ้าว และจำเจ

เมื่อสักครู่ได้รับรายงานจากคุณหมอวิฑิต  ว่า
ได้รับผลการตรวจสุขภาพประจำปีจากโรงพยาบาลรามาธิบดีแล้ว  พยาบาลจิ้มมั่ว ผลตรวจโดยรวมไม่เป็น อะไรเลยสักอย่าง  เหตุที่บอกอย่างนั้น จนน่ากลัว เพราะต้องการให้ไปตรวจซ้ำใหม่อีกครั้ง ให้เสียสตางค์ นั้นเอง

หมดความเชื่อถือไปแยะเลย  เป็นการค้ามากเกินงาม  ขอไม่ไปอีกแล้ว แพงก็แพง  ผลไม่น่าเชื่อถือเลย ตามที่ได้ประสพมาในครั้งนี้

และผลที่ตรวจซ้ำเรื่องพยาธิในอุจจาระ ที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี ก็ไม่มีอะไร

ตรวจคลื่นหัวใจ  บอกว่าเราเป็นโรคหัวใจ  ตรวจซ้ำก่อนผ่าตัดที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี ผลก็ไม่มีอะไร

กำลังจะนัดคุณหมอที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี ทำ อัลตร้าซาวด์ถุงน้ำดี อีกครั้ง
(คุณหมอวิฑิต ดูรูป และรายงานจากคุณหมอ ผู้ตรวจแล้ว ก็ไม่พบก้อนเนื้อแต่อย่างใด พยาบาลมั่วเอง ทำให้เราตกใจเล่นเสียนี่  ทั้ง ๆ ที่ตอนสะแกน คุณหมอก็เรียนให้ทราบแล้วว่า อวัยยวะภายในทุกระบบปกติดี)

แต่ก็จะยังคำดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาทต่อไป คือ
- คุมอาหาร กินเนื้อ เท่าที่จำเป็น กินผักเป็นส่วนใหญ่
- กินผัดน้ำมันให้น้อย
- กิน ๒ มื้อ อยู่ด้วย ศีล ๘
- ออกกำลังกายชิกง-โยคะ
- นอนหัวค่ำ
- เจริญสติ

ก็เรียนให้ทราบทุกท่านครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14123 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 17:45:39 »


เจดีย์พุทธคยา  ยามเมื่อพระจันทร์เต็มดวง

สัมมาสมาธิ - การตั้งใจมั่นชอบ

การตั้งใจมั่นชอบ นั้น ขอให้ทุกท่านกลับไปเปิดอ่าน ในโพธิปักขิยะธรรม ๓๗ ประการ ที่ได้เขียนเอาไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว

สรุป ในการตั้งสติปัฏฐาน ๔ ทุกครั้ง
- ท่านต้องทำให้นาน จนเอาชนะนิวรณ ๕ ได้ เป็นจิตตั้งมั่น เป็น "สัมมาสมาธิ"
- ดำรงสติมั่น เป็นสัมมาสมาธิ อยู่ในญาณ ที่ ๑
- ดำรงสติมั่น เป็นสัมมาสมาธิ อยู่ในญาณ ที่ ๒
- ดำรงสติมั่น เป็นสัมมาสมาธิ อยู่ในญาณ ที่ ๓
- ดำรงสติมั่น เป็นสัมมาสมาธิ อยู่ในญาณ ที่ ๔ เป็น "เอกคตาจิต"

นอกจากนี้ ท่านต้องรู้จัก "รูปฌาน" และ "อรูปฌาน" ที่เกิดขึ้นด้วย

ทุกสิ่ง ท่านจะรู้ด้วยตัวของท่านเอง เพราะ
- มันเป็น ปัตจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน
- มันเป็น อกาลิโก  ไม่จำกัดกาลเวลา

ขออนุโมทนากับทุกท่านที่ เจริญจิตภาวนา ทำองค์มรรคให้เกิดขึ้น
"เมื่อใดท่านเจริญสติ จนเป็นสมาธิ  เมื่อนั้น ท่านก็ได้ชื่อว่า ได้ทำองค์มรรคทั้ง ๘ ให้เกิดขึ้นแล้ว" ครับ

สาธุ  สาธุ  สาธุ

เป็นอันว่า วันนี้ วันพระ  พี่สิงห์  ได้เขียน อริยะมรรคมีองค์ ๘ ประการ ครบแล้ว

ได้เวลาเข้าบ้าน อาบน้ำ สวดมนต์ทำวัตรเย็น

วันนี้ ต้องสวด อริยะมรรคมีองค์ ๘ เพราะเป็น วันพระ

หกโมงเย็นพอดี  

พี่สิงห์  ยังเป็นคนแก่ เป็นคนเจ็บ ที่พอจะมีประโยชน์อยู่บ้าง วันนี้

สวัสดีทุกท่านครับ


พระอาทิตย์อัศดง ที่อินเดีย ใกล้วัด 960 ด่านชายแดนอินเดีย-เนปาล
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #14124 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 20:59:34 »



ราตรีสวัสดิ์ ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 563 564 [565] 566 567 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><