เหยง 16
|
|
« ตอบ #9575 เมื่อ: 22 กันยายน 2556, 21:11:05 » |
|
สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ค่ำวันนี้... กรุงเก่าท่วมแล้ว 8 อำเภอ 1.2 หมื่นครัวเรือนอ่วม"สุพรรณบุรี"เตือนปชช.ย้ายของขึ้นที่สูง วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 14:05:42 น. ท่าจีนเอ่อท่วมบ้านริมน้ำสุพรรณบุรี ห่วงน้ำเหนือเข้า เตือนปชช.ขนของขึ้นที่สูง
เมื่อวันที่ 22 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากฝนตกต่อเนื่องหลายวันส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำท่าจีนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำท่าจีนเอ่อท่วมบ้านเรือนริมแม่น้ำท่าจีนบางส่วนแล้ว เจ้าหน้าที่เร่งช่วยเหลือหวั่นน้ำเหนือสมทบมาเพิ่มปริมาณอีก
นายเอกพันธ์ อินทร์ใจเอื้อ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี เปิดเผยว่า ปริมาณน้ำในแม่น้ำท่าจีนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และวัดปริมาณน้ำล่าสุดพบว่าน้ำสูงกว่า 6 เมตรแล้ว สูงกว่าถนนพระพันวษา ถนนสายหลักของเขตเทศบาลเมืองกว่า 50 เซนติเมตร แต่เราก็ยังสามารถรับน้ำได้อีกเพราะที่ผ่านมาเราเคยรับน้ำสูงสุด 6.50 เมตร ตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 6 นิ้ว 8 นิ้ว และ 12 นิ้วไปแล้วกว่า 18 เครื่องตามจุดต่างๆ
ถ้าถามว่าจุดไหนเสี่ยง ตอบได้คือเสี่ยงในทุกๆ จุด เพราะเป็นน้ำในพื้นที่ทั้งหมดยังไม่มีน้ำเหนือเข้ามาเลย ถ้าระบายน้ำในพื้นที่ไม่หมดน้ำเหนือลงมาอีกก็แย่ โดยเตรียมพร้อมป้องกันเต็มที่และมีการประกาศเตือนประชาชนริมน้ำตั้งแต่วันที่ 16 กันยายนให้ย้ายของขึ้นที่สูงไว้ก่อน
เผยอยุธยาท่วมแล้ว 8 อำเภอ 1.2 หมื่นหลังคาเรือนอ่วม
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 22 กันยายน นายอุดมศักดิ์ ขาวหนูนา หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ล่าสุดระดับน้ำได้ล้นตลิ่งท่วมชุมชนใน 4 ลุ่มแม่น้ำที่ไหลผ่านพื้นแล้ว ได้แก่แม่น้ำเจ้าพระยา ท่วมสูงสุด 150 เซนติเมตร เพิ่มขึ้นวันละ 30 เซนติเมตร, แม่น้ำน้อย ท่วมสูงสุด 170 เซนติเมตร เพิ่มขึ้นวันละ 20 เซนติเมตร, แม่น้ำป่าสัก ท่วมสูงสุด 50 เซนติเมตร เพิ่มขึ้นวันละ 20 เซนติเมตร และแม่น้ำลพบุรี ท่วมสูงสุด 50 เซนติเมตร เพิ่มขึ้นวันละ 20 เซนติเมตร
โดยพบว่า มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมแล้ว 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบาล อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางไทร อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะอิน อำเภอท่าเรือ และอำเภอนครหลวง
รวมพื้นที่ 80 ตำบล 405 หมู่บ้าน บ้านเรือนริมน้ำถูกน้ำท่วม 12,000 หลังคาเรือน วัด 7 แห่ง และยังมีอีก 2 อำเภอ ที่เริ่มได้รับผลกระทบ จากภาวะน้ำล้นตลิ่งแล้วคือ อำเภอบางปะหันและอำเภอมหาราช อยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย
ศรีสะเกษน้ำป่าทะลักท่วม4อำเภอ-เตือนจระเข้หลุดยังจับไม่ได้อีก 26 ตัว
เมื่อวันที่ 22 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มวลน้ำจำนวนมหาศาลจากเทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาชายแดนไทย-กัมพูชา ที่ล้นเขื่อนห้วยติ๊กชู เขื่อนห้วยศาลา และเขื่อนห้วยตาจู ไหลทะลักลงมาตามลำห้วยสำราญ เข้าท่วมบ้านเรือนและไร่นาของชาวบ้าน 4 อำเภอ คือ อ.ขุขันธ์ อ.ปรางค์กู่ อ.วังหิน และ อ.อุทุมพรพิสัย ประมาณ 500 หลังคาเรือน ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก โดยหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วมหนัก ได้แก่ หมู่บ้านในเขต ต.โคกจาน อ.อุทุมพรพิสัย หมู่บ้านในเขต ต.บุสูง ต.ธาตุ และ ต.ศรีสำราญ อ.วังหิน ต.ใจดี อ.ขุขันธ์ ต.ตูม อ.ปรางค์กู่ บริเวณที่ถูกน้ำท่วมจะกระจายเป็นวงกว้าง
นายสุริยันต์ ศรีผุย ผู้อำนวยการศูนย์บำรุงทางหลวงชนบท อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เปิดเผยว่า กำลังนำเจ้าหน้าที่ดูแลถนนที่ถูกน้ำท่วมในเขต ต.ตูม อ.ปรางค์กู่ ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า จระเข้ 30 ตัว หลุดออกมาจากฟาร์มในเขต ต.ตูม อ.ปรางค์กู่ ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน เนื่องจากน้ำท่วมฟาร์ม โดยจระเข้แต่ละตัวจะมีความยาวประมาณ 2-3 เมตร ชาวบ้านและเจ้าของฟาร์มได้ช่วยกันจับจระเข้ได้แล้ว 4 ตัว คงเหลือจระเข้ที่ยังจับไม่ได้อีก 26 ตัว เจ้าของฟาร์มกำลังเร่งออกตามล่าจับจระเข้
"ขอเตือนประชาชนและเจ้าหน้าที่ว่าให้ระมัดระวังอันตรายจากจระเข้ที่ยังจับไม่ได้อีก 26 ตัวด้วย หากพบที่ใด ให้แจ้งกำนัน และผู้ใหญ่บ้านที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ เพื่อจะได้ดำเนินการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาจับจระเข้ เพื่อไม่ให้เป็นอันตราย"
น้ำป่าเทือกเขารังไหลบ่า อ.ชนแดง บ้านพัก-สถานที่ราชการจม เมื่อวันที่ 22 กันยายน หลังจากมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องติดต่อกันตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา ทำให้คลองบุษบงและคลองหินเหล็กไฟที่รับน้ำมาจากเทือกเขารัง เกิดการเอ่อทะลักออกจากตลิ่งในเขต อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ เข้าท่วมพื้นที่หมู่ 1, 2, 3 ของ ต.ชนแดน ยังท่วมพื้นที่เขตชุมชนเทศบาลตำบลชนแดนอีกด้วย
ไม่เพียงบ้านพักอาศัยของราษฎรที่ถูกน้ำท่วมเท่านั้น แต่สถานที่ราชการ อาทิ บริเวณสถานีตำรวจภูธรชนแดน อาคารที่พักตำรวจ รวมทั้งที่ทำการไปรษณีย์ชนแดน ก็ตกอยู่ในสภาพจมน้ำโดยระดับน้ำสูงราว 50 เซนติเมตร นาข้าวหลายสิบไร่ที่อยู่ระหว่างรอเก็บเกี่ยวก็ถูกน้ำท่วมไม่เหลือ
นอกจากนั้นถนนหลวงหมายเลข 113 สายวังชมภู-ตะพานหิน บริเวณหน้าขนส่งอำเภอชนแดน มีกระแสน้ำไหลข้ามถนน ระดับน้ำสูงราว 30 เซนติเมตร http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1379826126&grpid=00&catid=&subcatid=
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9576 เมื่อ: 22 กันยายน 2556, 21:42:20 » |
|
วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 11:23 น. ข่าวสดออนไลน์ โผงเผงอ่วมน้ำทะลักเข้าหลายจุด-ชาวบ้านเริ่มโวยปล่อยน้ำท่วมบ้าน สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดอ่างทองยังน่าเป็นห่วงเนื่องจากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ในหลายพื้นที่น้ำเกิดล้นตลิ่ง ล้นถนนหมู่บ้านเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและทุ่งนา
ล่าสุดเมื่อเวลา 06.00 น.ของวันที่ 22 ก.ย. 56 ผู้สื่อข่าวรับแจ้งว่าในพื้นที่ตำบลโผงเผง อำเภอป่าโมก จ.อ่างทอง ได้มีน้ำเกิดทะลักข้ามถนนไหลเข้าบ้านเรือนประชาชน หลังจากรับแจ้งจึงไปตรวจสอบพบว่าบริเวณหมู่ที่ 5 ตำบลโผงเผง น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่นั้นได้ล้นถนนปูนในหมู่บ้านไหลพุ่งเข้าบ้านของนางบังอร กุลศิริ อายุ 53 ปี อยู่บ้านเลขที 204 หมู่ที่ 5 ตำบลโผงเผง อย่างแรง ทำให้คนในบ้านต้องเร่งเก็บของกันอย่างโกลาหล โดยมีทหารจาก กองพันทหารปืนใหญ่ ที่ 11 รักษาพระองค์ จังหวัดลพบุรี ต้องเร่งเข้าช่วยเหลือ
นอกจากนั้นในบริเวณหมู่ที่ 4 ต.โผงเผง น้ำที่ล้นตลิ่งยังมีปริมาณสูงบางจุดสูงกว่า 1 เมตร ชาวบ้านต่างได้รับความเดือนร้อนเป็นจำนวนมากต้องเก็บข้าวของ ตัดต้นไม้ที่โค่นล้ม เร่งเก็บพืชพักกันจ้าระหวั่น ที่สำคัญบริเวณถนนหมู่บ้านเชื่อมต่อกับพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา น้ำเกิดล้นถนนข้ามฝั่งลงพื้นที่ไรนากระแสน้ำไหลแรงจนกัดเซาะถนนพังกว่า 20 เมตรเด็กๆต่างมาเล่นน้ำกันสนุกสนาน
ในส่วนระดับน้ำนั้นวันนี้ทางเขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำมาทีระดับ 1919 ลบ.ม/วินาที ทำให้ระดับน้ำในพื้นที่จังหวัดอ่างทองสูงขึ้นทันทีกว่า 30 ซ.ม.โดยที่ อ.ไชโยระดับน้ำอยู่ที่ 8.15 เมตร ที่ อ.เมืองระดับน้ำอยู่ที่ 7.55 เมตร และที่ อ.ป่าโมก ระดับน้ำอยู่ที่ 6.83 เมตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าตอนนี้ชาวบ้านได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การระบายน้ำของทางราชการที่ปล่อยน้ำลงมาให้ท่วมบ้านเรือนประชาชนเป็นจำนวนมากโดยก่อนหน้านี้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณน้อยมากชาวนาขอน้ำทำนาก็ยังไม่มีน้ำแต่ทำไมตอนนี้น้ำกับมามากจนล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09UZ3lNemt5TWc9PQ==&subcatid=
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9577 เมื่อ: 23 กันยายน 2556, 07:26:24 » |
|
เกาะฮ่องกงรอดตัวไปอย่างเฉียดฉิว เมื่อพายุไต้ฝุ่น"อูซางิ" พัดขึ้นเหนือเกาะฮ่องกงไปเล็กน้อยและเข้าสู่ประเทศจีน เวียตนามก็รอดตัวไปเช่นกัน พายุโซนร้อนลูกใหม่ "ปลาบึก หรือ ปาบึก" พัดไปสู่เกาะญี่ปุ่น ส่วนประเทศไทย ภาคใต้ทั้งสองฝั่งฝนมากขึ้น คลื่นสูง ลมแรง ชาวเรือต้องระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้พยากรณ์อากาศ ประจำวันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556 ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "คลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน" ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 23 กันยายน 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กที่มีความยาวน้อยกว่า 10 เมตร หรือ 5 วา ควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 23-25 กันยายน 2556 อนึ่ง เมื่อเวลา 04.00 น.วันนี้ (23 ก.ย. 56) พายุโซนร้อน “อุซางิ” (USAGI) มีศูนย์กลางอยู่บริเวณมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน กำลังเคลื่อนตัวไปทางมณฑลกวางสี คาดว่าพายุนี้จะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำในระยะต่อไป สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปมณฑลกวางตุ้ง และมณฑลกวางสี ประเทศจีน รวมทั้งเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ควรตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทาง ส่วนพายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกจะเคลื่อนที่ไปทางประเทศญี่ปุ่น โดยไม่เคลื่อนมาทางประเทศไทย พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้. ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัด น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี และกาญจนบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดจันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดระนอง และพังงา อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 70 ส่วนมากในช่วงบ่ายถึงค่ำ โดยกลุ่มฝนจะเคลื่อนจากทางด้านตะวันตกไปทางตะวันออก อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9578 เมื่อ: 23 กันยายน 2556, 07:43:53 » |
|
"อูซางิ" ลดระดับเป็นพายุโซนร้อนไปจีน "ปลาบึก" เกิดเป็นพายุโซนร้อน แต่ไปญี่ปุ่น ครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #9579 เมื่อ: 23 กันยายน 2556, 07:44:33 » |
|
ภาคกลางคงรอดด้วย เหมือนฮ่องกง
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #9580 เมื่อ: 23 กันยายน 2556, 11:39:48 » |
|
กราบสวัสดีครับพี่เหยง ... ใต้ฝุ่น เที่ยวนี้ เล่นเอา ยกเลิกเที่ยวบินกันไปหลายเที่ยว ...
ตั้งใจมาติดตาม สรุปรายงานพยากรณ์อากาศ ... ขอบคุณมากครับพี่ ...
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9581 เมื่อ: 23 กันยายน 2556, 17:32:40 » |
|
สวัสดี น้อง ดร. มนตรี
ญี่ปุ่นยังเจอพายุโซนร้อน "ปลาบึก" อีก 1 พัดจากใต้ขึ้นเหนือครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9582 เมื่อ: 23 กันยายน 2556, 17:41:16 » |
|
"อุซางิ"ถล่มกรุงมะนิลา ส่งผลน้ำท่วม-ดินถล่ม 6 จว.23 กันยายน 2556 16:12 น. ผู้คนในกรุงมะนิลาต้องเดินลุยน้ำที่ท่วมสูงถึงระดับเอว หลังจากเกิดฝนตกหนักจากอิทธิพลของไต้ฝุ่นอุซางิ และคาดว่าในสัปดาห์นี้จะมีฝนตกหนักอีกระลอก จากอิทธิพลของพายุโซนร้อนปาบึก ที่เตรียมจะพัดถล่ม หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีคนจมน้ำเสียชีวิตไป 2 คน และสูญหายอีก 2 คน จากเหตุเรือโดยสารล่มนอกชายฝั่ง จ.ออโรรา นอกจากนี้ ไต้ฝุ่นอุซางิยังทำให้เกิดน้ำท่วม และดินถล่มอีกหลายพื้นที่ใน 6 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบ แต่ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับความเสียหายอื่นๆ เพิ่มเติม จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9560000120002
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9583 เมื่อ: 23 กันยายน 2556, 18:17:12 » |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9588 เมื่อ: 23 กันยายน 2556, 18:35:26 » |
|
เสาที่ติดตั้ง CCTV ยังอยู่ครับ แต่ค่อนข้างจะเอียงไปหน่อย ??
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9589 เมื่อ: 23 กันยายน 2556, 18:42:45 » |
|
จากสายตา
ยังเหลืออีกประมาณ 6 เมตร จึงจะถึงระดับผิวพื้นการจราจรของเทศบาลนครนครสวรรค์ครับ..ดูไม่น่ากลัวสำหรับปีนี้อ่าน..การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ ปี 2556 ได้ครับhttp://nsm.go.th/pdf/Flood%20protection.pdf
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #9590 เมื่อ: 23 กันยายน 2556, 20:36:54 » |
|
ขอบพระคุณครับ พี่เหยง ...
ริมเขื่อน นครสวรรค์ บ้านเรา ดูสวย สะอาด และเป็นระเบียบ ขึ้นมาก
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9591 เมื่อ: 23 กันยายน 2556, 21:30:51 » |
|
น้อง ดร.มนตรี
ต้องถือว่า เป็นความพยายามร่วมของทุกส่วนราชการในจังหวัด รวมทั้งภาคประชาชน ที่ใส่ใจกับการพัฒนาเขตตัวเมืองนครสวรรค์ ให้มีศักยภาพในการป้องกันน้ำท่วม ถนนเรียบแม่น้ำช่วยบรรเทารถติดไปได้มากทีเดียว
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9592 เมื่อ: 23 กันยายน 2556, 21:34:29 » |
|
ยังไม่ทันไร มีหลาจจังหวัดจนน้ำซะแล้ว รวมทั้งบางอำเภอของนครสวรรค์ด้วย มท.สั่งทุก จว.ตั้งศูนย์ฯรับมืออุทกภัย "รอยล"ชี้ปริมาณน้ำมากกว่าปี′55 ปภ.เผยท่วม 21 จว.วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 18:00:31 น. เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 23 กันยายน ที่กระทรวงมหาดไทย นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย เป็นประธานประชุมเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล โดยมีผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ภาคกลาง กทม. กรมชลประธาน รวมทั้งนายรอยล จิตรดอน ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรเข้าร่วมประเมินสถานการณ์ ให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะการเตรียมความพร้อมรับมืออุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล
นายจารุพงศ์กล่าวว่า ได้กำชับให้จังหวัดบูรณาการความร่วมมือ เตรียมพร้อมรับมือและป้องกันอุทกภัยล่วงหน้าในทุกรูปแบบ วางแผนการบริหารจัดการน้ำและการระบายน้ำร่วมกับจังหวัดในพื้นที่ใกล้เคียง ครอบคลุมพื้นที่ต้น กลาง และปลายน้ำ เพื่อไม่ให้ประชาชนในพื้นที่ท้ายเขื่อน ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและลำน้ำสาขาได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำ ขอให้เน้นการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทุกภาคส่วน ระดมกำลังเจ้าหน้าที่จัดวางกระสอบทราย จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องสูบน้ำติดตั้งในพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ย่านชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ทั้งนี้ ทางกระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้ทุกจังหวัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้า มี ผวจ.เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์
ด้านนายรอยลกล่าวสรุปสถานการณ์ว่า ปริมาณน้ำโดยรวมในปีนี้มากกว่าปี 55 แต่ยังน้อยกว่าปี 54 ในวันที่ 25-29 ก.ย. จะมีร่องมรสุมพาดผ่านเข้ามาทางภาคกลางอีกรอบ จะทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคกลาง กทม. ปริมณฑล และภาคตะวันออก จุดที่ต้องเฝ้าระวังใกล้ชิดคือ เขื่อนขุนด่านปราการชล ขณะนี้มีน้ำอยู่ 92% ของความจุ สามารถรับได้อีกแค่ 17 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนลำนางรองมีน้ำอยู่ 81% ของความจุ หากฝนตกลงมาอย่างหนักอีกรอบ น้ำจากเขื่อนลำนางรองจะทะลักออกไปทาง จ.บุรีรัมย์ แนวทางหลังจากนี้ คือ การระบายน้ำผ่านแม่น้ำสายหลัก ซึ่งยังสามารถรับน้ำได้อยู่ ยังไม่จำเป็นต้องผันน้ำเข้าทุ่ง เพราะจะกระทบกับเกษตรกรที่อยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยจะเริ่มพร่องน้ำออกจากเขื่อนขุนด่านปราการชลและเขื่อนลำนางรอง 30 ลบ.ม.ต่อวินาที หรือ 30 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน เช่นเดียวกับเขื่อนเจ้าพระยาที่ขณะนี้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นวันละ 1 เซนติเมตร จำเป็นต้องระบายน้ำออกอย่างน้อยที่สุด 200 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งจะทำให้น้ำในเจ้าพระยาที่สิงห์บุรีเพิ่มขึ้น 20 เซนติเมตร และที่พระนครศรีอยุธยา 30-40 เซนติเมตร
นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ขณะนี้ระดับน้ำใน กทม.ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ที่ห่วงคือ ปัญหาถนนใน กทม.ที่ทรุดลงเรื่อยๆ ในหลายพื้นที่ และกำลังเริ่มเป็นแอ่งกระทะ
ด้านนายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานว่า ขณะนี้มีสถานการณ์อุทกภัยใน 21 จังหวัด 114 อำเภอ 496 ตำบล 4,025 หมู่บ้าน 164,551 ครัวเรือน 604,788 คน ประกอบด้วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา สุรินทร์ กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ และบุรีรัมย์ ภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์
ภาคกลาง 7 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ สระบุรี ลพบุรี กาญจนบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง ภาคตะวันออก 2 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรีและสระแก้ว ภาคใต้ 1 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร โดย 19 จังหวัดมีสาเหตุเกิดจากฝนตก น้ำป่าไหลหลาก ส่วน จ.อ่างทองและพระนครศรีอยุธยาเกิดจากน้ำล้นตลิ่ง http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1379933822&grpid=00&catid=&subcatid=
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #9593 เมื่อ: 23 กันยายน 2556, 21:40:01 » |
|
ชักใจไม่ดี ยังไม่ลืมปี ๕๔
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9594 เมื่อ: 23 กันยายน 2556, 21:47:31 » |
|
วันที่ 25 จะมีร่องมรสุมผ่านภาคกลาง อีสานกลาง มีแนวโน้มที่ฝนจะมากขึ้นอีกรอบ
แต่คาดว่า เขื่อนจะไม่ได้รับน้ำเช่นเดิมยกเว้นเขื่อนขุนด่านปราการชลและเขื่อนลำนางรองในอีสาน
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9595 เมื่อ: 24 กันยายน 2556, 09:33:14 » |
|
วันนี้ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑล ภาตใต้ทั้งสองฝั่ง ฝนมาก คลื่นสูง ลมแรง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง พรุ่งนี้ 25-27 กันยายน มีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน ภาคอีสาน ฝนจะมากขึ้น ส่วน"อูซางิ" หรือ"กระต่ายน้อย" แปรสภาพเป็นดีเปรสชั่น และหย่อมความกดอากาสต่ำ และจะสลายตัวไปในที่สุด ส่วน"ปลาบึก" จะพัดผ่านทิศตะวันออกของเกาะญี่ปุ่นขึ้นไปทางเหนือ
พยากรณ์อากาศ ประจำวันอังคารที่ 24 กันยายน 2556 ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กที่มีความยาวน้อยกว่า 10 เมตร หรือ 5 วา ควรงดออกจากฝั่งในวันนี้ ไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 25-27 กันยายน 2556 ร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง อนึ่ง พายุดีเปรสชัน “อุซางิ” (USAGI) บริเวณมณฑลกวางสี ประเทศจีน ได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำแล้ว ส่วนพายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกจะเคลื่อนตัวไปทางประเทศญี่ปุ่น โดยไม่เคลื่อนมาทางประเทศไทย พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้. ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดราชบุรี และกาญจนบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง และพังงา อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 70 โดยกลุ่มฝนจะเคลื่อนจากทางด้านตะวันตกไปทางตะวันออก อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9596 เมื่อ: 24 กันยายน 2556, 12:52:27 » |
|
ต้องขอบคุณ “ปลาบึก” ไต้ฝุ่นลูกใหม่ที่ช่วยไล่ “อูซางิ”23 กันยายน 2556 21:14 น. ภาพดาวเทียม MTSAT โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติฟิลิปปินส์ แสดงตำแหน่งพายุโซนร้อนอูซางิ (Usagi) กับตำแหน่งของปลาบึก หรือ "ปาบึก" (Pabuk) ใต้ฝุ่นชื่อลาวเมื่อเวลา 03.32 UTC หรือ 12.32 น.วันจันทร์ 23 ก.ย.2556 ตามเวลาในฟิลิปปินส์ และแสดงให้เห็นทิศทางการไหลเทของมวลไอน้ำตามแรงดึงดูดมหาศาลของไต้ฝุ่นระดับ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิก ปาบึกช่วยทำให้พายุอูซางิมีอายุหดสั้นลง 24-48 ชั่วโมงทีเดียว โปรดชม Satellite Loop (ตามลิงค์ในย่อหน้าที่ 5 ของข่าว) ประกอบ. [หรือ..คลิกที่นี่ http://www.goes.noaa.gov/sohemi/sohemiloops/vsmtsatw.html ] ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ธรรมชาติบางทีก็สร้างสิ่งที่คาดไม่ถึงขึ้นมาให้ปรากฏ เช่นเดียวกันกับการก่อเกิดของไต้ฝุ่นลูกใหม่ที่โผล่ขึ้นมากลางคัน ในขณะที่อูซางิใต้ฝุ่นลูกใหญ่กำลังทำลายล้างอยู่ทางแถบตอนใต้ของจีนวันจันทร์ 23 ก.ย.หลังจากมีชาวจีนตกเป็นเหยื่อไปอย่างน้อย 25 ชีวิต สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวง พายุที่สุดอันตรายลูกนี้ฉับพลันก็สลายตัวไปอย่างรวดเร็วเกินคาด อูซางิ อ่อนตัวลงเป็นพายุโซนร้อนคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ในบริเวณมณฑลกวางตุ้ง-มณฑลกว่างซี ของจีน และอ่อนตัวลงเป็นดีเปรสชันเมื่อเวลาประมาณบ่ายโมงวันจันทร์นี้ และคาดว่าจะมลายเป็นหย่อมความกดอากาศสูงในช่วงเย็นใกล้ชายแดนเวียดนาม ทำให้ไปไม่ถึงชายแดนไทย-ลาวที่หลายท้องถิ่นกำลังประสบอุทกภัยอยู่ในขณะนี้ แต่การเกิดปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ หากนำภาพอินฟราเรดโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา MTSAT ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาปะติดปะต่อกันก็จะสามารถอธิบายเรื่องนี้ได้ “ปลาบึก” หรือ “ปา-บึก” (Pabuk) ไต้ฝุ่นชื่อลาว ก่อเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 48 ชั่วโมงก่อนในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกเฉียงเหนือของหมูเกาะฟิลิปปินส์ และทิศใต้ของเกาะญี่ปุ่น ในตอนสายวันจันทร์นี้ ได้ปั่นความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางขึ้นเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 ภาพดาวเทียมแสดงให้เห็นไต้ฝุ่นลูกใหญ่หมุนคว้างทวนเข็มนาฬิกาอยู่กลางมหาสมุทร และดูดเอามวลไอน้ำเป็นทางยาวจนถึงย่านทะเลจีนใต้ ภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่องโดยใช้ภาพจากดาวเทียม (Satellite Loop) หลายสิบภาพเรียงเวลากันตั้งแต่ 22.00 น.วันอาทิตย์ จนถึงบ่ายวันจันทร์นี้ แสดงให้เห็นการดึงดูด และแก่งแย่งพลังงานกันระหว่างไต้ฝุ่นทั้ง 2 ลูก ก่อนจะลงเอยด้วย “ชัยชนะ” ของปลาบึก ซึ่งได้ให้คำตอบคำถามที่ว่าเพราะเหตุใดอูซางิ จึงสลายตัวไปเร็วกว่าที่สำนักอุตุนิยมวิทยาแห่งต่างๆ พยากรณ์ก่อนหน้านี้ถึง 24-48 ชั่วโมง สำหรับเวียดนาม แม้ว่า อูซางิ จะเคลื่อนไปไม่ถึง แต่ขนาดอันมหึมาของมันได้สร้างแรงกดดันอย่างใหญ่หลวงทำให้ภูมิอากาศทางตอนเหนือแปรปรวนอย่างหนัก เกิดฝนตกหนักในหลายจังหวัด ทั้งในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋รายงานในเว็บไซต์ข่าวภาษาเวียดนาม ในหลายย่านของกรุงฮานอย น้ำเพิ่งหายไปจากท้องถนนได้เพียงไม่กี่วัน ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์กลางได้ออกเตือนในบ่ายวันจันทร์นี้ให้ท้องถิ่นต่างๆ ในเมืองหลวงเตรียมรับมือฝนตกหนัก และน้ำท่วมอีกครั้งตั้งแต่คืนนี้เป็นต้นไป ทั้งหมดเป็นอิทธิพลจากดีเปรสชันที่ปกคลุมอาณาบริเวณกว้าง ตั้งแต่มณฑลกว่างซีของจีน หลังจากพายุโซนร้อนอูซางิสลายตัวไปในบ่ายวันเดียวกัน แต่ชาวเวียดนามจะต้องมี่ลืมขอบคุณไต้ฝุ่นปลาบึก ไม่เช่นนั้นสถานการณ์ก็อาจจะเลวร้ายอย่างคาดไม่ถึง. . การ "แย่งพลังงาน" ลงเอยด้วยชัยชนะของไต้ฝุ่นปลาบึกในภาพอินฟราเรดจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา MTSAT เวลา 03.32 UTC โดย Tropical Storm Risk ในกรุงลอนดอน หรือ 10.32 น.วันจันทน์ 23 ก.ย.2556 เวลาในประเทศไทย ปลาบึกก่อเกิดขึ้นมาในช่วงวิกฤติและช่วยทำให้ไต้ฝุ่นอูซางิซึ่งมีศักยภาพในการทำลายล้างสูงยิ่งต้องอายุหดสั้นลงเร็วกว่ากำหนด หลายฝ่ายจะต้องขอบคุณไต้ฝุ่นชื่อลาวลูกนี้และขอบคุณพระแม่แห่งธรรมชาติผู้ยิ่งใหญ่. แผนภูมิโดยศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับพายุรุนแรง (SWIC) ซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization) แสดงให้เห็นชัดๆ ตำแหน่งของพายุโซนร้อนอูซางิกับไต้ฝุ่นปลาบึกเมื่อเวลา 14.25 UTC หรือ 21.25 น.วันที่ 23 ก.ย.ตามเวลาในประเทศไทย ไต้ฝุ่นชื่อลาวก่อเกิดขึ้นมาถูกที่ถูกเวลาในยามที่ทั้งภูมิภาคแม่น้ำโขงกำลังต้องการความช่วยเหลือ. จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9560000120175
|
|
|
|
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์
คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927
|
|
« ตอบ #9597 เมื่อ: 25 กันยายน 2556, 08:52:37 » |
|
สวัสดีครับพี่เหยง วันก่อนกลับจากแพร่ แวะที่ร้าน โกยี นครสวรรค์ รสชาติอาหาร ยังอร่อยครับ ...
|
“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้ อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9598 เมื่อ: 25 กันยายน 2556, 09:12:23 » |
|
หนุน
วันหลังผ่านมา แจ้งบอกด้วย
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9599 เมื่อ: 25 กันยายน 2556, 09:19:27 » |
|
25-29 กันยายน ร่องมรสุมผ่านผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคอีสาน แล้วจะค่อยๆ เขยื้อนลงตอนล่าง ฝนตกหนาตา ลมกระโชกแรง ระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำจากเชิ่งเขา ดินโคลนถล่ม และช่วงสิ้นเดือนต่อต้นเดือนหน้า มีหย่อมความกดอากาศต่ำพัดจากเวียตนามเข้าภาคอีสาน จะมีฝนมรภาคนี้เพิ่มขึ้น
พยากรณ์อากาศ ประจำวันพุธที่ 25 กันยายน 2556 ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ร่องมรสุมมีกำลังแรงขึ้นและพาดผ่านประเทศไทยดังนี้ ในวันที่ 25 กันยายน 2556 จะพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา น่าน แพร่ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี บึงกาฬ และนครพนม ในช่วงวันที่ 26-27 กันยายน 2556 จะพาดผ่านภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัด ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม มุกดาหาร และยโสธร ส่วนในช่วงวันที่ 28-29 กันยายน 2556 จะพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างบริเวณจังหวัด กาญจนบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี นครนายก ปราจีนบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ฝนเพิ่มมากขึ้นกับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงได้บางพื้นที่ ตามแนวร่องมรสุม จึงขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้จะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันและเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งประเทศเวียดนามในช่วงวันที่ 30 กันยายน ถึง 1 ตุลาคม 2556 นี้ ซึ่งจะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีฝนเพิ่มมากขึ้นอีกครั้ง พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้. ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน ตาก สุโขทัยพิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ สระบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง และพังงา อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 60 โดยกลุ่มฝนจะเคลื่อนจากทางด้านตะวันตกไปทางตะวันออก อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
|
|
|
|
|