20 กันยายน 2567, 11:07:50
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 223 224 [225] 226 227 ... 472   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุยกับ เหยง 16 - พิเชษฐ์ เชื่อมฯ-เตรียมฉลอง 100 ปี หอซีมะโด่ง จุฬาฯ  (อ่าน 2517828 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 24 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5600 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2555, 07:37:36 »

อ้างถึง
ข้อความของ pornchaiketlek เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2555, 21:01:00

เหยง รบกวนหน่อยซิ

สองเดือนก่อนมั้ง ผมอ่านเรื่องโรงพยาบาลหนึ่ง มีเภสัชกรฝีมือดีสู้กับน้ำท่วมทุกปี จนสามารถชนะน้ำได้โดยไม่ท่วมโรงพยาบาล
จำได้ว่าเหยงเอามาโพสต์  ผมกลับมาจะหาอ่านอีกที หาไม่เจอ  ผมจะเอาไปถ่ายทอดให้ลูกน้องในโครงการ
ปีนี้จะเตรียมวางแผนสู้กับน้ำแต่เนิ่นๆ  เผื่อจะชนะน้องน้ำบ้าง

                                                                                                       โด่ง


สวัสดีครับ โด่ง

เดี๋ยวจะหาให้ครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5601 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2555, 07:41:20 »

สวัสดีชาว RCU และทุกท่าน

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 วันนี้มีบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 68
ขอเรียนเชิญทุกท่านทั้งที่เป็นชาวจุฬาฯ, ชาวธรรมศาสตร์ และผู้สนใจกีฬาฟุตบอล ชมการแข่งขันในครั้งนี้
ท่านที่จะไปในนามของสมาคมนิสิตเก่าหอักฯ ติดต่อพี่หลิว-สุรศักดิ์, หมอตุ่น-กำพล
นัดพบที่ร้านอาหารในหอจุฬาฯ เวลาผมจำไม่ได้ครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5602 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2555, 08:02:14 »

สำหรับท่านที่จะไปเชียร์บอลประเพณีในช่วงบ่าย.......
กทม.และปริมณฑล อากาศร้อน มีฝนตกร้อยละ 10 ของพื้นที่ (แต่ไม่ทราบพื้นที่ครับ) รวมไปถึงภาคตะวันออก ภาคใต้ทั้งสองฝั่งด้วย
หมอกยังเป็นอุปสรรคในการเดินทางตอนเช้าๆ ของประเทสไทย


กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน

ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีหมอกบางในตอนเช้ากับมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าในระยะนี้

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเป็นแห่งๆ เกิดขึ้นในระยะแรก จากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส

                                พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ  มีหมอกในตอนเช้า ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ บริเวณทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคกลาง  มีหมอกบางในตอนเช้า อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  มีหมอกบางในตอนเช้า อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆบางส่วน มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีหมอกบางในตอนเช้า อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5603 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2555, 18:04:27 »

บอลจบก่อนเคารพธงชาติพอดี TU : CU = 0 : 1
พบกันปีหน้า TU เป็นเจ้าภาพ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5604 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2555, 18:34:57 »



วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 11:45 น.  ข่าวสดออนไลน์

ช่างภาพมะกันปลื้ม-ถ่ายภาพหายากลูกจระเข้เกาะหัวแม่จระเข้ว่ายน้ำ

     วันที่ 25 ก.พ. เว็บไซต์ข่าวเดลี่เมล์ นสพ.ฉบับดังของอังกฤษ เผยแพร่ภาพน่ารักหาดูยาก โดยเป็นภาพถ่ายขณะลูกจระเข้ตัวจิ๋ว เกาะอยู่บนหัวแม่จระเข้ที่กำลังว่ายน้ำอยู่ในบึงของอุทยานเบรซอส เบนด์ รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา

     นายเคลย์ตัน บาวส์ ช่างภาพวัย 40 ปี ผู้บันทึกภาพดังกล่าวเล่าด้วยความตื่นเต้นว่า ครั้งแรกที่เห็นลูกจระเข้เกาะอยู่บนหัวแม่จระเข้นั้น ตนเองแทบไม่อยากเชื่อสายตา เพราะไม่เห็นเห็นภาพ หรือได้ยินว่าเคยมีเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน

     "ดูเหมือนลูกจระเข้จะมีความสุขที่มันได้เกาะอยู่อย่างนั้น ผมเฝ้าดูอยู่ราวๆ ครึ่งชั่วโมงและมันก็เกาะอยู่ท่านั้นตลอดเลย" เคลย์ตัน กล่าว และว่า "บางจังหวะแม่จระเข้ก็ว่ายไปเรื่อยๆ โดยมีลูกเกาะอยู่บนหัว บางครั้งทั้งแม่ทั้งลูกก็หยุดนิ่งอย่างกับรูปปั้น"


http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNek1ERTBOVFUyTWc9PQ==&subcatid=
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #5605 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2555, 19:30:14 »


สวัสดียามค่ำครับ... พี่เหยง และพี่น้องทุกท่าน

พอจะดีใจหน่อยครับเมื่อทราบผลบอล..

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5606 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2555, 19:57:25 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2555, 07:37:36
อ้างถึง
ข้อความของ pornchaiketlek เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2555, 21:01:00

เหยง รบกวนหน่อยซิ

สองเดือนก่อนมั้ง ผมอ่านเรื่องโรงพยาบาลหนึ่ง มีเภสัชกรฝีมือดีสู้กับน้ำท่วมทุกปี จนสามารถชนะน้ำได้โดยไม่ท่วมโรงพยาบาล
จำได้ว่าเหยงเอามาโพสต์  ผมกลับมาจะหาอ่านอีกที หาไม่เจอ  ผมจะเอาไปถ่ายทอดให้ลูกน้องในโครงการ
ปีนี้จะเตรียมวางแผนสู้กับน้ำแต่เนิ่นๆ  เผื่อจะชนะน้องน้ำบ้าง

                                                                                                       โด่ง


สวัสดีครับ โด่ง

เดี๋ยวจะหาให้ครับ


โด่ง อยู่หน้า 193 ครับ

คลิ๊กที่.......  http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,5699.msg537907.html#msg537907

เฉลยคำตอบ! ทำไมน้ำไม่ท่วม "รพ.อินทร์บุรี" และที่มาของ "นักต่อสู้ชลประทาน" 2 เดือน 3 เทคนิค
วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 17:00:00 น.
 
จังหวัดสิงห์บุรีเป็นจังหวัดเล็กๆ ซึ่งทุกคนคงจำได้ดี เพราะสิงห์บุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่ถูกน้ำท่วมหนัก เกือบทุกพื้นที่

โดยเฉพาะข่าวใหญ่ นั่นก็คือประตูระบายน้ำบางโฉมศรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี

ขณะเดียวกัน ยังเป็นจังหวัดที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน

ขึ้นชื่อว่าอยู่ติดแม่น้ำ ก็คงเป็นเรื่องแกติที่สิ่งปลูกสร้างทั้งหลายจะถูกน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก

ทำให้ได้รับความเสียหายไม่น้อย

แต่จะมีซักกี่ที่ล่ะ ที่จะอยู่กับน้ำได้อย่างมีความสุข และไม่คิดว่า น้ำท่วมเป็นปัญหา หรือจะมีซักกี่ที่ล่ะ จะสามารถป้องกันน้ำท่วมได้

ก่อนจะได้รับฉายานามว่า "นักต่อสู่้น้ำชลประทาน"


เหตุที่ได้รับฉายานามดังกล่าว เจ้าตัวเล่าให้ฟังว่า น้ำจะท่วมหรือไม่ท่วมขึ้นอยู่กับกรมชลประทาน เพราะว่าอยู่ริมแม่น้ำ โดนน้ำจากชลประทานท่วม และอยู่ในแม่น้ำในสายตาชลประทาน น้ำขึ้นมาตรงนี้ไม่ถือว่าน้ำท่วม แต่ถือว่าน้ำล้นตลิ่ง


นี่คือเหตุผลง่ายๆ ก่อนจะเปรียบเทียบกับ "นักต่อสู้น้ำป่าไหลหลาก" และถามว่าทำไมถึงได้รับฉายานามนั้น
 

ก็เพราะว่า ต้องต่อสู้กับน้ำป่านั่นเอง


เห็นแบบนี้แล้ว ใครจะเชื่อว่านักต่อสู้น้ำชลประทานผู้นั้น คือ "เภสัชกร" ประจำโรงพยาบาลอินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
 

ซึ่งเป็นโรงพยาบาลหนึ่งที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา และผ่านเหตุการณ์น้ำท่วมมาหลายต่อหลายครั้ง หรือนับเป็นสิบๆ ปี แต่น้ำยังไม่เคยท่วมในโรงพยาบาล ในทั้งๆ พื้นที่อื่นแทบจะต้องหนีตายกันอย่างโกลาหล

คำถามก็คือว่า แล้วเป็นเพราะอะไร? "มติชนออนไลน์" มีคำตอบ และจะได้รู้เทคนิคว่ามีวิธีในการรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมอย่างไร

"ทิพย์พร สุคติพันธ์" ให้สัมภาษณ์กับ "มติชนออนไลน์" ไว้อย่างน่าสนใจว่า เรียนรู้ที่จะรับมือกับน้ำมาตั้งแต่เมื่อปี 2538 หรือเมื่อเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ และโรงพยาบาลนี้ มีจุดต่างจากที่อื่นคือ เวลาน้ำท่วมบุคลากรทุกคนจะออกมาช่วยกัน ไม่ว่าจะเป็นหมอ พยาบาล ทุกๆ คนจะช่วยกันป้องกันไม่ให้น้ำท่วม และโรงพยาบาลนี้การที่หมอหรือพยาบาลจะออกมากรอกทรายใส่กระสอบถือเป็นเรื่องปกติ ใครที่มีแรงพอก็จะออกมาช่วยกันทำ


เมื่อถามว่าการวางแผนป้องกันน้ำท่วมมีจุดเริ่มต้นอย่างไรนั้น ทิพย์พร บอกว่า เริ่มที่การศึกษาเรื่องน้ำท่วมว่าเกิดอะไรขึ้น คือ จะเริ่มดูจากแผนที่ทางอากาศประกอบกับการคาดเดาสถานการณ์ ไล่ตั้งแต่ภาคเหนือลงมาจนถึงจังหวัดพิจิตร ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงก่อนเข้าฤดูฝน และที่ จ.พิจิตร จะเป็นที่ราบกว้างใหญ่ น้ำจากแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านจะไหลลงมากองรวมกันและค่อยๆ เคลื่อนที่อย่างช้าๆ ลงมาที่ อ.ชุมแสง โดยจะอำเภอนี้เป็นจุดชี้ว่าน้ำจะท่วมโรงพยาบาลหรือไม่ พอหลังจากที่ชุมแสงท่วมแล้วนั้น น้ำก็จะค่อยๆ ไหลลงมาท่วมที่จ.นครสวรรค์ แล้วก็จะมาถึงเขื่อนเจ้าพระยา


ขณะเดียวกัน ก็ได้มีการหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตประกอบ โดยเฉพาะการใช้ข้อมูลของกรมชลประทาน ( http://water.rid.go.th/waterreport/ )โดยเว็บไซต์นี้จะมีหัวข้อสำคัญ ไม่าจะเป็นภาพถ่ายดาวเทียมของพายุ ปริมาณน้ำในเขื่อน รายงานสถานการณ์ทั่วประเทศ ซึ่งสิ่งนี้สำคัญที่สุด เพราะนายทิพย์พร บอกว่า จะสามารถเห็นได้เลยว่าน้ำที่ตรงจุดนั้นมีเท่าไรบ้าง


มีวิธีการเตรียมตัวป้องกันน้ำท่วมต่างจากที่อื่นอย่างไร?


นายทิพย์พร กล่าวว่า แผนของโรงพยาบาลอินทร์บุรีนั้น พอถึงเดือนมิถุนายนฝนเริ่มตก ก็จะเริ่มดูข้อมูลน้ำจากชลประทานถ้าหากช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม น้ำเริ่มท่วมพิจิตร ทีมงานก็จะเริ่มเฝ้าติดตามสถานการณ์ ถ้าหากว่าท่วมเยอะ ที่นี่ก็จะไม่รอดแน่ๆ เช่นเดียวกับปีนี้ แต่จะโดนหนักหรือโดนน้อยขึ้นอยู่กับว่าน้ำจะอยู่นานหรือไม่นาน ของแถมเพิ่มมาก็คือ น้ำจากเขื่อนสิริกิต์ ซึ่งในปีนี้มีน้ำเยอะมากถึง 70 - 80% ตั้งแต่ต้นปี ยิ่งพอเจอพายุไหหม่า พายุนกเตน น้ำก็ยิ่งเยอะ เราก็มองแล้วว่า เขื่อนนี้จะต้องปล่อยน้ำมาเพิ่มอีกแน่ๆ

หลังจากพอเรารู้ปริมาณน้ำแล้ว ก็เข้าสู่การต้องเริ่มเตรียมตัว โดยการเตรียมกระสอบทรายพร้อมๆ กับการเช็คอุปกรณ์ เครื่องสูบ ทางเดิน และอื่นๆ สิ่งสำคัญ เราต้องอ่านใจสำนักชลประทานที่ 12 ว่าจะมีการปล่อยน้ำอย่างไร ชลประทานทำอะไร ซึ่งปีนี้เดาใจถูก เพราะอย่าลืมว่าน้ำที่ท่วมนั้น เป็นน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะการสังเกตุถนนเลียบฝั่งแม่น้ำทั้ง 2 ข้าง ขณะเดียวกัน ก็มีการศึกษาเรื่องภาพถ่ายดาวเทียมต่างๆ ประกอบ แต่ตอนนี้ยังอ่านไม่ขาดว่า ถ้าน้ำท่วมจ.พิจิตรเท่านี้แล้ว จะรู้ได้ว่าจะท่วมโรงพยาบาลอินทร์บุรีขนาดไหน
 

คิดว่าในปีถัดๆ ไปจะพยายามศึกษาเรื่องนี้ให้มากขึ้น ซึ่งตอนนี้นั้นระยะเวลาจากเขื่อนเจ้าพระยามาถึงที่นี่จะใช้เวลาประมาณ 5 - 6 ชั่วโมง ถ้าจากนครสวรรค์จะมาถึงที่โรงพยาบาลอินทร์บุรี ภายใน 9 ชั่วโมง โดยจะรู้แค่ว่าจะท่วมสูงเท่าไร โดยการใช้จุดวัดที่นครสวรรค์ ก่อนจะสามารถยกของหนีน้ำล่วงหน้าได้ แต่หลังๆ มานี้สามารถตอบคำถามได้ว่า พรุ่งนี้น้ำจะขึ้นเท่าไร
 

จุดเด่นคือการเรียงกระสอบทราย

นายทิพย์พร ยังกล่าวอีกว่า ที่นี่เรียงกระสอบทรายไม่เหมือนที่อื่น คือที่อื่นเห็นนำมากองๆ กันไว้ เช่นเดียวกับทหารเรียงกระสอบแบบบังเกอร์ ซึ่งน้ำรั่วซึมได้ และจากประสบการณ์แล้ว จะเรียงกระสอบแบบบางๆ แบนๆ ทราย 2 พลั่วต่อกระสอบหนึ่งถุง ไม่ปิดปากถุงกระสอบแล้ววางลงไป แล้วใบที่ 2 ก็วางทับตรงปากถุงใบแรกไปเรื่อยๆ ชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 ก็จะมีคนเดินบนย่ำให้แนบติดกัน พอ 4 - 5 ชั้น ก็จะทำแถวสอง เมื่อถามว่าวิธีการนี้มาจากไหนนั้น ก็ยังไม่รู้ว่าใครเป็นคนเริ่มต้น และเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งกล้าบอกได้เลยว่าที่อื่นหรือที่ตามข่าวเรียงไม่เป็น


ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือ การเลี้ยงน้ำ ซึ่งน้ำที่ผุดจากใต้ดินก็จะมีการสร้างบ่อล้อมไว้ ความสูงเท่าน้ำข้างนอก แล้วปูผ้าพลาสติกไว้ข้างใน พอน้ำข้างในกับข้างนอกเท่ากัน น้ำก็จะหยุดซึม นอกจากนี้แล้วยังมีวิวัฒนาการในเรื่องของการสร้างทางเข้าออก สิ่งนี้ไม่เหมือนใครจริงๆ ซึ่งแต่เดิมนั้นในปี 2538 ใช้การพายเรือ ปี 2545 ใช้ไม้มาทำสะพานเหมือนที่ทำกันทั่วๆ ไป ลงทุนครั้งละ 4 - 5 หมื่นบาท พอน้ำแห้งไม้พวกนี้ก็จะเสียหายใช้การไม่ได้อีก พอปี 2549 ก็ใช้ขอบบ่อซีเมนต์รองไม้กระดานแทน แต่สิ่งที่ตามมาคือการยกหนีน้ำยาก ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้เหล็กนั่งร้านที่สามารถยกขึ้นหรือ โดยเชื่อว่าที่อื่นไม่ได้ทำ


มากกว่านั้น นายทิพย์พร กล่าวต่อว่ายังใช้รถอีแต๋นในการสัญจร คือ เวลาน้ำท่วมไม่สูงเรือยังวิ่งไม่ได้ รถก็ลุยน้ำลำบาก รถอีแต๋นจึงมีประโยชน์ รถอีแต๋นใช้ขนกระสอบทรายดีกว่ารถกระบะมาก
 

การรู้ล่วงหน้าคือหัวใจสำคัญในการรับมือน้ำท่วม


ส่วนการรับมือกับคนไข้นั้น เมื่อน้ำใกล้ถึงระดับ 80 เซนติเมตร จะมีการสั่งออกซิเจนมาสำรองไว้ ไม่ว่าที่โรงพยาบาลจะเหลือเท่าไหร่ ซึ่งปกติแล้วออกซิเจน 1 ถึงใช้ได้ 20 วัน ขระเดียวกันรถออกซิเจนจะวิ่งเข้ามาได้ที่น้ำลึกไม่เกิน 80 เซนติเมตร เมื่อนี้น้ำท่วม 70 วัน ทำให้ต้องย้ายผู้ป่วยหนักออกจากโรงพยาบาลช่วงตอนน้ำท่วมกลางๆ แต่ที่เหลือก็พออยู่ได้ เช่นเดียวกับยาและเวชภัณฑ์อื่นๆ


อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เมื่อระดับน้ำภายนอกท่วมสูงถึง 130 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเตียงคนไข้ในโรงพยาบาล ก็จะมีการอพยพทุกอย่างที่อยู่ต่ำกว่าระดับดังกล่าว เราจะไม่เสี่ยง ทั้งนี้ถือว่า คนไข้สำคัญที่สุด และเรื่องไฟก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ เพราะโรงพยาบาลต้องใช้ไฟกันทั้งโรงพยาบาล ฉะนั้น เมื่อคนยังอยู่ในพื้นที่จะเกิดความวุ่นวาย ซึ่งจะเห็นได้ว่า พอน้ำมาจะมุ่งแต่อพยพคนไข้โดยไม่ได้ย้ายอย่างอื่น จนได้รับความเสียหาย


เมื่อถามว่าอะไรลำบากที่สุด นายทิพย์พร กล่าวว่า ช่วงต้นหรือช่วงประมาณ 10 วันแรกของน้ำท่วม เพราะน้ำจะขึ้นเรื่อยๆ จะต้องต่อสู้ตลอด ต้องกรอกทราย เรียงกระสอบ สูบน้ำ ต้องทำสะพาน คือช่วงดังกล่าวจะเป็นภาคแรงงานทั้งหมด ต้องเฝ้าระดับน้ำจนถึงช่วงดึก

 
ฉะนั้น การสร้างสะพาน การเรียงกระสอบ และการพยากรณ์ล่วงหน้า คือจุดเด่นหรือเทคนิคสำคัญที่เชื่อว่าที่อื่นไม่มี ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา

คิดว่าชลประทานไม่ได้โกหก แต่ประชาชนไม่เข้าใจมากกว่า


ที่ผ่านมานั้นเป็นการแจ้งเตือนที่ผิด ข้อมูลบิดเบือน ซึ่งคิดว่าที่ผ่านมากรมชลประทานไม่ได้โกหก เพียงแต่ประชาชนไม่เข้าใจ เพราะมีการรายงานแบบนักวิชาการ อย่างเช่นน้ำจะไปที่นั่น 50 คิว แล้วประชาชนจะรู้ได้อย่างไรว่ามีปริมาณน้ำเท่าไหร่ จะทำอะไรกับบ้านได้บ้าง ซึ่งกรมชลประทานควรจะมีวิธีรายงานที่ทำให้ประชาชนเข้าใจได้ง่ายกว่านี้ เปลี่ยนจากภาษาวิชาการให้เป็นภาษาชาวบ้าน ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมานั้น เห็นความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับน้ำท่วมนั่นก็คือ น้ำมีเยอะขึ้น ฝนตกเยอะขึ้น และน้ำท่วมถี่มากขึ้น


เวลาน้ำจะท่วมไม่ได้เริ่มที่เขื่อนเจ้าพระยา แต่น้ำจะเริ่มก่อนถึงเขื่อนเจ้าพระยาก่อนจะมาท่วมในพื้นที่ไต้เขื่อนอีก 2 - 3 เดือน แต่คนจำนวนมากจะเริ่มขยับตัวก็ต่อเมื่อน้ำเริ่มมาอยู่ที่ปากเขื่อนเจ้าพระยาแล้ว แต่ทางเราจะเริ่มขยับตัวก่อน ดูง่ายๆ คือโรงพยาบาลจะซื้อกระสอบในราคา 4 บาท แต่คนกรุงเทพฯ จะซื้อกระสอบแพงกว่านี้หลายเท่าตัว


"เช่นเดียวกับชาวนา ภาคกลางจะทำนาปีละ 2 - 3 ครั้งๆ ละ 100 วัน และเมื่ออีก 3 เดือนน้ำจะท่วม ทำไมถึงไม่บอกชาวนาว่าไม่ต้องลงข้าว โดยชดเชยให้เท่าไรก็ว่าไป ไม่ได้ทำนาแต่ได้เงิน ดีกว่าการที่ชาวนาลงเมล็ดพันธุ์ไปแล้ว ก่อนจะถูกน้ำท่วมแล้วค่อยมาชดเชยให้ทีหลัง ซึ่งขาดทุน เช่น ปีนี้รัฐบาลจ่ายให้ 2 พันบาทต่อไร่ แต่ลงทุนมากกว่านั้น เมื่อบอกชาวนาว่าไม่ต้องลงทุนทำนาแต่จะจ่ายให้ 2 พันบาท จะดีกว่านี้เยอะ ควรจะบอกเขาได้ว่าที่ตรงนี้ของคุณท่วมแน่ๆ ไม่ต้องลงข้าว ก็ถือเป็นการเช่าที่นาแล้วแล้วระบายน้ำลงไปซะ ก็จะไม่ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนหนักไปกว่านี้" นายทิพย์พร อธิบาย


พอจะยกระดับเป็น "อินทร์บุรีโมเดล" ได้หรือไม่?


ก็พอได้นะ นายทิพย์พร ตอบอย่างไม่ลังเล อย่างน้อยที่สุดเรามีกลไก มีการวางระบบ มีแผน ซึ่งหลายๆ ส่วนนั้น กระทรวงสาธารณสุขก็นำไปเป็นแบบอย่าง เพราะในส่วนของเราคือแผนป้องกัน ที่สำคัญ คนไทยไม่เคยเรียนรู้การรับมือกับสถานการร์น้ำท่วม

ปีถัดไปวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมอย่างไรบ้าง?

นายทิพย์ กล่าวว่า ปีหน้า "ลานีญ่า" ยังอยู่ ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป พอเดือนพฤษภาคมก็ต้องเริ่มประชุมได้แล้วว่า จะปรับแก้อะไรบ้าง และปีนี้เองก็ไม่คิดว่าน้ำจะท่วมด้านหน้าโรงพยาบาลสูงถึง 160 เซนติเมตร แม้มีคนเสนอให้ทำถนนยกสูงเท่ากับความสูงถนนด้านหน้าโรงพยาบาลเพื่อให้ช่วงน้ำท่วมสามารถสัญจรไปมาได้ แต่ชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้น ก็ไม่ยอมอยู่ดี

ทั้งหมดนี้จึงอาจเรียกได้ว่าเขาคือ "นักสู้น้ำชลประทาน" ตัวจริง ก่อนจะสามารถรับมือกับสถานการณ์น้ำและป้องกันโรงพยาบาลแห่งนี้ไว้ได้สำเร็จ

ซึ่งน้อยนักที่สถานพยาบาลไม่กี่แห่งจะป้องกันน้ำท่วมได้

ขณะเดียวกัน คงจะเป็นคำตอบได้ว่า ทำไมโรงพยาบาลอินทร์บุรีน้ำถึงไม่ท่วม !



เรื่อง: วุฒิพงษ์ ภาชนนท์, ทิพาภรณ์ สุคติพันธ์
 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1324458028&grpid=&catid=09&subcatid=0905



นายทิพย์พร สุคติพันธ์ เภสัชกร รพ.อินทร์บุรี





สะพานปรับระดับได้







 วิธีเรียงกระสอบทราย





      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #5607 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2555, 21:51:04 »

สุดยอดเลยครับ เยียม เยี่ยมl
      บันทึกการเข้า
pornchaiketlek
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 134

« ตอบ #5608 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2555, 22:39:49 »

             

              ขอบคุณมากเหยง
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5609 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2555, 09:10:57 »

สวัสดี โด่ง ครูเริง

เงินช่วยเหลือน้ำท่วม 5,000 บาท เบิกผ่านธนาคารออมสิน ให้เบิกได้ถึงวันที่ 29 ก.พ.นี้เป็นวันสุดท้าย
บอกคนข้างเคียงด้วย สำหรับผู้ที่น้ำท่วมบ้านและยังไม่ไปเบิก ให้รีบดำเนินการด้วย
พ้นวันดังกล่าว เงินส่งคืนครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5610 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2555, 09:21:00 »

ส่วนเงินช่วยเหลือสำหรับบ้านพังเสียหายทั้งหลังเป็นเงิน 30,000 บาท
เสียหายแต่ยังสามารถอยู่ได้ 20,000 บาท, ค่าเครื่องมือวิชาชีพเสียหาย 10,000 บาท
ยังไม่มีออกมาให้เห็น นอกจากยอดแรกที่จังหวัดนครสวรรค์ที่จ่ายเป็นเงินสด แต่ไม่ทราบที่มา ?? !!




ขอบคุณภาพจากพี่ตะวัน
โพสต์เมือ่ 18 พ.ย. 2554
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5611 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2555, 09:24:10 »

ประกาศเตือนภัยพายุฤดร้อนครับ

ประกาศเตือนภัย
"พายุฤดูร้อน "

ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555
 
     บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนแล้วคาดว่า จะแผ่ลงมาปกคลุมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ในวันนี้
(26 ก.พ. 55) ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงเกิดขึ้น โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป

ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ออกประกาศ เวลา 05.30 น.


สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5612 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2555, 09:34:59 »

                                           พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนแล้วคาดว่า จะแผ่ลงมาปกคลุมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ในวันนี้
(26 ก.พ. 55) ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงเกิดขึ้น โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป

 
                           พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.
ภาคเหนือ  มีหมอกในตอนเช้า ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ บริเวณทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. 

ภาคกลาง  มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวันกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. 

ภาคตะวันออก  มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆบางส่วน มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร 

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. 

      บันทึกการเข้า
ทราย 16
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,838

« ตอบ #5613 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2555, 09:51:35 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2555, 07:37:36
อ้างถึง
ข้อความของ pornchaiketlek เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2555, 21:01:00
เหยง รบกวนหน่อยซิ
สองเดือนก่อนมั้ง ผมอ่านเรื่องโรงพยาบาลหนึ่ง มีเภสัชกรฝีมือดีสู้กับน้ำท่วมทุกปี จนสามารถชนะน้ำได้โดยไม่ท่วมโรงพยาบาล
จำได้ว่าเหยงเอามาโพสต์  ผมกลับมาจะหาอ่านอีกที หาไม่เจอ  ผมจะเอาไปถ่ายทอดให้ลูกน้องในโครงการ
ปีนี้จะเตรียมวางแผนสู้กับน้ำแต่เนิ่นๆ  เผื่อจะชนะน้องน้ำบ้าง
                                                                        โด่ง
สวัสดีครับ โด่ง
เดี๋ยวจะหาให้ครับ
โด่ง
ได้ผลยังไง เอาเรื่องมาเล่าให้ฟังด้วยน่ะ
ขอบคุณข้อมูลจากเหยง
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5614 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2555, 13:51:53 »

ประกาศเตือนภัย ฉบับที่ 3..........
ภาคอีสาน จะมีฝน ลมกระโชกแรงในลักษณะพายุฤดูร้อน ส่วนภาคอื่นจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของอากาศในลำดับต่อไป


ประกาศเตือนภัย
"พายุฤดูร้อน "

ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555
 
     บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ในวันนี้
(26 ก.พ. 55) ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้น โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป

ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ออกประกาศ เวลา 11.00 น.


สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสา
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5615 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2555, 14:46:30 »

ส่วนราชการกำลังรอฝนจากพายุลูกนี้ เพื่อบรรเทาหมอกควันในภาคเหนือ 8 จังหวัด
แต่ไม่ทราบว่า ที่สุดจะคุ้มค่า หรือไม่ ?? เพราะมันเป็นพายุฤดูร้อน มีให้ทั้งฝน ลม ลูกเห็บ และฟ้าคะนอง !!

 เค้าไม่ยอม

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5616 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2555, 16:04:52 »

ล่าสุด ลำปาง 279, ลำพูน 275 ไมโครกรัม/ 1 ลบ.เมตร

“ลำปาง-แม่เมาะ”อยู่ใต้หมอกควันพิษต่อ พบระดับฝุ่นพุ่งเกิน 200 ไมโครกรัม/ลบ.ม.แล้ว
25 กุมภาพันธ์ 2555 13:36 น.

 
        ลำปาง - หมอกควันยังปกคลุมลำปางขาวโพลนไปทั่ว โดยเฉพาะในตัวเมือง ขณะที่สถานีวัดคุณภาพอากาศ พบระดับฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศยังเกินมาตรฐาน
      
       วันนี้ (25 ก.พ.55) สภาพอากาศทั่วไปในตัวเมืองลำปาง และอำเภอรอบนอก ยังคงเต็มไปด้วยหมอกควันสีขาวปกคลุมไปทั่ว ทำให้ระยะมองเห็นในการขับขี่รถลดลงเหลือประมาณ 10 เมตรเท่านั้น ถนนบางสายยังต้องเปิดไฟเพื่อให้แสงสว่างอยู่ แม้จะเป็นช่วงเวลากลางวันแล้วก็ตาม ส่วนประชาชนที่ต้องออกนอกบ้านเริ่มรู้สึกแสบตามากขึ้น
      
       ขณะที่สถานีวัดคุณภาพอากาศในจังหวัดลำปาง คือ สถานีวัดคุณภาพอากาศที่ศาลหลักเมืองลำปาง วัดระดับฝุ่นละอองในอากาศเฉลี่ย 24 ชั่วโมงจนถึงวันที่ 24 ก.พ.55 ได้ 173.21 ไมโครกรัม/ลบ.ม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าสี อำเภอแม่เมาะ ระดับฝุ่นละออง
      
       จนถึงเช้าวันนี้ (25 ก.พ.55) วัดได้ 206.96 ไมโครกรัม/ลบ.ม. และสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคแม่เมาะวัดได้ 210.21 ไมโครกรัม/ลบ.ม. แต่สถานีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ ไม่มีการแสดงข้อมูล
      
       อย่างไรก็ตาม ระดับฝุ่นละอองในอากาศเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ที่วัดได้ทั้งหมด ยังเกินมาตรฐานค่า PM10 (ฝุ่นละอองขนาดเล็ก) ที่กำหนดไว้ว่า จะต้องไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร


จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9550000025529
 
      บันทึกการเข้า
pusadee sitthiphong
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
กระทู้: 4,689

« ตอบ #5617 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2555, 18:50:12 »

เชียงใหม่ก็ฝุ่นควันเยอะ ไอไม่ยอมหายเลย
      บันทึกการเข้า

pom shi 2516
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5618 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2555, 18:51:50 »

คุณป้อม

ต้องรอฝนมาช่วยชะล้างฝุ่น หมอกควัน ให้มีปริมาณลดลงครับ


แต่ก็ต้องระวัง ฝนจะพาลม พาลูกเห็บ พาฟ้ามาผ่าด้วย
      บันทึกการเข้า
pornchaiketlek
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 134

« ตอบ #5619 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2555, 21:18:04 »

 
         ทราย
   ผมจะเอาบทความนี้ให้พวกวิศวกรในโครงอ่านและวางแผนรับมือปีนี้ คาดว่าแผนรัฐบาลปีนี้คงคืบหน้าไม่มาก
   ต้องใช้กระสอบทราย ประสบการส่วนตัว   แก้ปัญหาไปก่อน  รู้ผลปลายๆปีแนะทราย 
   ว่าแต่โทรเข้ามือถือหน่อยจิ ว่าเซฟเบอร์ไว้แล้วแต่หาไม่เจอ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5620 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2555, 06:20:04 »

โด่ง

มีสมการ
1.ตั้งว่าน้ำมามาก เนื่องจากพายุเข้าติดต่อกัน ระบายไม่ทันจนน้ำท่วมเท่าปี 54 ในบางพื้นที่
2.ตั้งว่าน้ำมีมากเท่าปี 54 แต่มีการบริหารจัดการได้มากกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้น้ำท่วมแต่น้อยกว่าปีที่แล้ว
3.ตั้งว่าน้ำมาน้อยกว่าปี 54 มีการบริหารจัดการน้ำได้ดีพอสมควร แต่ยังเกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่ ที่เป็นพื้นที่รับน้ำเท่านั้น
4.ตั้งว่าน้ำมาน้อยกว่าปี 54 มาก จนอาจจะเกิดภัยแล้ง แต่ในพื้นที่รับน้ำยังมีน้ำท่วมบ้าง


ทีีมงานจะอาศัยพื้นที่จุดใด ของจังหวัดใด เป็นตัวบ่งบอกว่า เริ่มเกิดภัยน้ำท่วม
จะอาศัยข้อมูลของใคร กรมชลฯ หรือ ไทยฟลัด เป็นตัวบอก
เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ ในปี 2555
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5621 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2555, 06:20:36 »

ประกาศเตือนภัย
"พายุฤดูร้อน"

ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555
 
     บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้แล้ว ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ในระยะ 1-2 วันนี้ โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายจากพายุลมแรงที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย

ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ออกประกาศ เวลา 05.30 น.

สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5622 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2555, 06:35:04 »

อากาศร้อนสูงมาก รวมทั้งเกษตรกรเผาตอซังในนาข้าว รวมทั้งเผาวัชพืช เพื่อเตรียมไถที่ดิน เพื่อทำนาปรัง (ในพื้นที่ที่ยังมีน้ำหรือมีน้ำบาดาล) ปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย อาทิ ถั่วเขียว (ใช้น้ำรด 4-5 ครั้ง) ถั่วเหลือง (ใช้น้ำรดมากกว่าถั่วเขียวเล็กน้อย) แตงโม ทั้งแบบกินเนื้อและเก็บเม็ดขาย (ตอนปลูก ดินต้องมีความชื้นพอสมควร) และการเผาป่าเป็นการกระตุ้นให้พืชบางชนิด อาทิ ผักหวาน ผลิใบอ่อน-แตกยอด ให้ผลผลิตที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวออกมาขายได้ ทำให้คนไทยได้บริโภคผักหวาน แตงโม ถั่วเหลืองในรูปแบบต่างๆ ถั่วเขียวในรูปแบบของขนมไทย อาทิ เต้าส่วน เม็ดขนุน รวมทั้งวุ้นเส้น ซึ่งใช้แป้งถั่วเขียวเป็นวัตถุดิบ ไม่รวมไปถึง ถั่วงอก ที่เป็นเครื่องเคียงของก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ฯ รวมทั้งข้าวสารที่ได้จากการปลูกข้าวนาปรัง

แต่เนื่องจากเกิดภาวะโลกร้อน การเผาตอซัง วัชพืช จึงเป็นการเพิ่มความร้อนเข้าไปในบรรยากาศ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทยทุกคน ที่อยู่ในพื้นที่ไปด้วย แถมด้วยฝุ่นละออก หมอกควันที่เกิดจากการเผา ดังเช่น 8 จังหวัดภาคเหนือที่เกิดปัญหานี้อยู่

เกษตรกรจำเป็นต้องปลูกพืชในช่วงนี้ เพื่อเก็บเกี่ยวให้ทันก่อนฝนตกใหญ่ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มฤดูฝน แต่เกษตรกรจะต้องเสี่ยงกับภัยที่เกิดขึ้นจากพายุฤดูร้อน ซึ่งมีลูกเห็บตก ลมกระโชกแรง (กรณีนี้เกิดในปลายเดือนมีนาคม-ตลอดเดือนเมษายน ของทุกปี) ซึ่งหากเกิดกรณีนี้ เกษตรกรจะสูญเสียผลผลิตไปเนื่องจากลมกระโชกจนต้นพืนที่ปลูกล้มจมน้ำฝน หรือลูกเห็บกระทบจนผลของแตงโมแตกเสียหาย ถั่วรวมทั้งเมล็ดข้าวเปลือกที่ร่วงออกจากรวงจมดิน กู้เก็บคืนไม่ได้
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5623 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2555, 08:01:53 »

พยากรณ์เต็มฉบับ ณ เวลา 06.00 น.ของวันนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน มีฝนตกร้อยละ 40 ของพื้นที่พร้อมฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่


พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้แล้ว ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ในระยะ 1-2 วันนี้ โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายจากพายุลมแรงที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย 

                                พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.


ภาคเหนือ มีหมอกในตอนเช้า ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีฝนฟ้าคะนองเป็นกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคกลาง  มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีเมฆบางส่วนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆบางส่วนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.


      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5624 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2555, 10:06:23 »

ข่าวเพิ่มเติมในเช้านี้

ผู้บริหารของอุตุนิยมวิทยา เสริมว่า พายุฤดูร้อนในครั้งนี้ เกิดประมาณ 1-2 วันและในพื้นที่ภาคอีสานเป็นหลัก
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 223 224 [225] 226 227 ... 472   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><