เหยง 16
|
|
« ตอบ #5050 เมื่อ: 15 มกราคม 2555, 17:53:38 » |
|
เรียน สมาชิกทราบ
ช่วงนี้เดินทางออกต่างจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ที่ปลูกหัวมันสำปะหลัง อาจจะไม่สะดวกเพราะถูกปิดถนน เนื่องจากราคาหัวมันสำปะหลังตกต่ำลง นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นมา เนื่องจากสาธารณรัฐประชาชนจีนปฎิเสธและไล่เรือที่บรรทุกมันเส้นออกจากท่าเรือ ด้วยเหตุที่การขนถ่ายไม่เป็นไปตามแบบสากลมาตราฐาน มีการกองมันเส้นไว้บนลานท่าเรือ, สินค้ามีฝุ่นแป้ง ดิน ทรายปนไปมาก หลายปีที่ผ่านมา พ่อค้าผู้ส่งออกของไทย หลงระเริงกับการทำอะไรตามใจชอบ ผิดกฎของเขาอยู่ประจำ มาเจอเอากับ จนท. ที่เข้มงวด ปัญหาจึงเกิด ทันทีที่จีนไล่เรือไทยออกจากท่า ผู้ส่งออกในไทยก็หยุดรับซื้อมันเส้นทันที ส่งผลร้ายตามมา เนื่องจากไม่เคยคิดแก้ไขปัญหามาก่อน
ชาวบ้านเองไม่รู้กลไก และเป็นผู้รับปัญหาราคาหัวมันสำปะหลังตกต่ำเข้า จึงรับไม่ได้
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5051 เมื่อ: 15 มกราคม 2555, 21:07:06 » |
|
วัดที่หก พระอุโบสถกำลังมีการซ่อมแซมใหม่ โดยถูกเข้าเฝือกทั้งหลัง วัดซึ่งโด่งดังของจังหวัดน่าน และเป็นหนึ่งในวัดที่อยู่ในธนบัตร ฉบับราคา 1 บาท
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5052 เมื่อ: 15 มกราคม 2555, 21:08:58 » |
|
วัดภูมินทร์ วัดภูมินทร์ น่าน วัดภูมินทร์ เป็นวัดที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง ที่ประชาชนชาวน่านและจังหวัดใกล้เคียงนิยมเดินทางมาทำบุญสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล ที่ทรงคุณค่าความงดงามทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองน่านมาช้านาน
ประวัติของวัดปรากฏในจารึกพงศาวดารของเมืองน่านว่า สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้สร้างวัดขึ้นหลังจากที่ท่านครองนครน่านได้ 6 ปี ในคัมภีร์เมืองเหนือยังระบุถึงชื่อวัดแห่งนี้ว่าเดิมนั้นชื่อ “วัดพรหมมินทร์” ซึ่งเป็นชื่ของพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ผุ้สร้างวัดแห่งนี้ ต่อมาได้เพี้ยนจากเดิมกลายเป็นวัดภูมินทร์ในภายหลัง
วัดภูมินทร์นั้นมีกิตติศัพท์ในด้านความงามที่เป็นเอกลักษณ์ และถือว่ามีพระอุโบสถจัตุรมุขหลังแรกของเมืองไทย ภายในพระอุโบสถหลังนี้ได้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์ ประทับนั่งหันเบื้องพระปฤษฎางค์ชนกันประทับบนฐานชุกชีหันพระพักตร์สู่ประตูทั้งสี่ทิศ มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ คือ พระกกุสันโท พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระสมนโคดม ดังนั้นไม่ว่าผู้ที่มาสักการะจะเข้ามาทางประตูทิศใด ก็จะพบพระพักตร์ของพระพุทธรูปทุกด้าน
นอกจากนั้นยังมีงานจิตรกรรมฝาผนังศิลปะไทยลื้อที่เลื่องลือเรื่องความงามว่าด้วยเรื่องราวของพุทธชาดกเรื่องคันธกุมาร และเนมีราชชาดก รวมทั้งปรากฏภาพบุคคลสำคัญของเมืองน่านและตำนานพื้นบ้าน ที่จิตรกรได้ถ่ายทอดวิถีชีวิตและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีตเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชมอีกด้วย ความเชื่อและวิธีการบูชา : วัดภูมินทร์นั้นเป็นวัดที่เคารพศรัทธาของชาวน่าน และชาวจังหวัดใกล้เคียง มีความเชื่อว่าหากได้มาสักการะที่หน้าพระพักตร์แห่งประธานทั้งสี่ทิศแล้ว จะเป็นสิริมงคล บุญกุศลจะส่งให้มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตปลอดภัยในทุกทิศทางที่ก้าวย่างไป
เทศกาลงานประเพณี : งานประจำปีของวัดภูมินทร์ จัดขึ้นในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ของทุกปี เพราะเป็นงานวันคล้ายวันเกิดของหลวงพ่อ
วันและเวลาเปิด - ปิด : เป็นให้สักการะทุกวัน ตั้งแต่ 06.00 - 18.00 น http://www.moohin.com/108tripsboon/108trips037c003.shtml
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5054 เมื่อ: 15 มกราคม 2555, 21:50:13 » |
|
เทียบกับภาพที่โพสต์ไว้ในเน็ต ซึ่งเป็นภาพเดิมก่อนการเปลี่ยนกระเบื้องปูหลังคาใหม่
|
|
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5058 เมื่อ: 15 มกราคม 2555, 22:05:59 » |
|
เริ่มเดินเข้าในพระอุโบสถของวัดภูมินทร์ ตรงปากประตูทางเข้าพระอุโบสถ มีตราสัญญลักษณ์.......ประจำปี พ.ศ. 2545
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5060 เมื่อ: 15 มกราคม 2555, 22:13:49 » |
|
เทียบกับภาพเดิมที่โพสต์ไว้ในเน็ต
|
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5063 เมื่อ: 15 มกราคม 2555, 22:22:30 » |
|
ด้านหลัง เป็นอาคารทรงไทย เพื่อให้บูชาสิ่่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5065 เมื่อ: 15 มกราคม 2555, 22:31:07 » |
|
ฝั่งตรงข้ามของวันภูมินทร์ และวัดช้างค้ำ คือ ที่ทำการของศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เทศบาลเมืองน่าน ซึ่งมีสถานที่ตั้งเตนท์ให้ค้างแรมได้ด้วย
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5067 เมื่อ: 15 มกราคม 2555, 22:44:22 » |
|
พระประธาน ภายในพระอุโบสถ วัดช้างค้ำ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5068 เมื่อ: 15 มกราคม 2555, 22:50:33 » |
|
ประวัติวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร พระอารามหลวง อ.เมืองน่าน วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร (วัดหลวงกลางเวียง) นมัสการเจดีย์ช้างล้อมทรงสุโขทัย อิ่มไหว้พระทองคำปางลีลา อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เดิมชื่อ วัดหลวงกลางเวียง เจ้าผู้ครองนครน่าน พญาภูเข่ง เป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1949 พระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่ รูปทรง สร้างตามสถาปัตยกรรม ทางภาคเหนือ ลักษณะภายในโอ่โถง ด้านหน้ามีสิงห์คู่ ยืนตรงเชิงบันได ด้านละตัว มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลาง ทำเป็นประตูใหญ่ และประตูเล็ก อยู่ด้านซ้ายและด้านขวา มีทางขึ้นเป็นประตูเล็ก ๆ ตรงข้ามพระประธาน ด้านทิศตะวันออกและตะวันตกอีก 2 ข้าง ทำหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มุขลดด้านหน้า และด้านหลัง หน้าบัน ตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อกัน แล้วประดับที่ขอบเสา ด้านหน้าทุกต้น ตามลักษณะ สถาปัตยกรรมล้านนาไทย ภายในพระวิหารกว้างขวาง มีเสาปูนกลมขนาดใหญ่ ขนาด 2 คนโอบรอบ จำหลัก ลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้ เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร 1.50 เมตร เป็นลวดลาย กนกระย้าย้อย เหมือนลวดลาย ที่เสาในวิหารวัดภูมินทร์
ภายในวัดประดิษฐาน เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์ มีรูปปั้นช้างปูนปั้น เพียงครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำปางลีลา คือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นทองคำ 65 % สูง 145 เซ็นติเมตร ยอดพระโมฬีทำเสริมเมื่อ พ.ศ. 2442 หนัก 69 บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 แห่งราชวงค์ภูคา เป็นผู้สร้าง เมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 1969 เป็นศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฎก ใหญ่ที่สุดในประเทศ
พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีลิกธาตุไว้ภายใน นับเป็น ปูชนียสถาน สำคัญ เป็นเจดีย์ ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะสุโขทัย จากเจดีย์ทรงลังกา คือเจดีย์วัดช้างล้อมนั่นเอง พระธาตุเจดีย์ สร้างด้วยอิฐถือปูน มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลื่ยมจัตุรัส ซ้อนกัน 3 ชั้น กว้างด้านละ 9 วา ฐานจากชั้นแรกสูงถึงชั้นสอง มีรูปช้างค้ำอยู่ในลักษณะ เหมือนฐานรองรับไว้ด้านละ 6 เชือก รวมทั้งหมด 24 เชือก ช้างแต่ละตัว โผล่ส่วนหัว ลอยออกมาครึ่งตัว ขาหน้าทั้งคู่ ยื่นพ้นออกมาจากเหลี่ยมฐาน เหนือขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ (ฐานบัว) ซ้อนกัน 3 ชัน และเป็นองค์ระฆังแบบลังกา ต่อจากองค์ระฆัง ทำเป็นฐานเขียง รองรับมาลัยลูกแก้ว ลดหลั่นกันไป เป็นส่วนยอด ปัจจุบันพระธาตุเจดีย์ช้างค้ำ ได้รับการบูรณะซ่อมแซม และหุ้นด้วยแผ่นทองเหลืองทั้งองค์ มีความสวยงามมาก
หอไตรวัดช้างค้ำวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ดังปรากฏในพระประวัติ ของพระองค์ว่า "ร.ศ. 127 พ.ศ. 2453 ก่อสร้างหอพระไตรปิฏก ในบริเวณวัดช้างค้ำ 1 หลัง 8 ห้อง ยาว 16 วา 1 ศอก กว้าง 5 วา 2 ศอก สูงตั้งแต่ดินถึงอกไก่ 13 วา หลังคาทำเป็นชั้น ๆ ก่ออิฐทาสี เครื่องบนไม้สัก มุงกระเบื้องไม้สัก ทำอย่างแน่นหนา มีเพดานจั่ว 2 ข้าง และเพดาน ทำด้วยลวดลายต่าง ๆ พระสมุห์อิน เจ้าอาวาสวัดหัวข่วง กับจีนอิ๋วจีนซาง เป็นสล่าสิ้นเงิน 12,558 บาท
ลักษณะ โครงสร้างสถาปัตยกรรมมีลักษณะอย่างเดียวกับวิหารและโบสถ์ ตั้งอยู่ด้านหน้า คู่กับ พระวิหารหลวง อาคารก่ออิฐโบกปูน ยกพื้นสูงมีสิงห์ยืนอยู่ด้านหน้า ตรงเชิงบันใดด้านละ 1 ตัว ตั้งเสาราย รับหลังคาเชิงชายแทนผนัง และก่อผนังปิด ทำเป็นห้องไว้พระธรรม และพระไตรปิฏก ตรงแนวเสาที่รับคาน มีทางเข้าด้านหน้าเป็นประตูทางเดียว บานประตูสลักเป็นรูปเทวดา 2 องค์ และมีลายปูนปั้น เป็นรูปยอดปราสาท ทำเป็นชั้นติดหน้าต่างด้านละ 3 บาน ผนังด้านหลังปิดทึบ ด้านนอกสองข้างทาง ระหว่างเสารายและผนัง เป็นทางเดินถึงกันได้ตลอดโดยรอบ อาคารสูงหลังคาช้อน 3 ชั้น ไม่มีมุขลด ที่หน้าบัน ใช้แผ่นไม้เรียงต่อกัน เป็นแผ่นๆ ประดับลายปูนปั้น เป็นรูปกนกล้อพระยาครุฑ ระหว่างช่วงเสาประดับด้วยแผ่นไม้จำหลัก ลายกนก เป็นรูปสามเหลี่ยม สลับลายพุ่มข้าวบิณฑ์คว่ำ และรูปพระยาครุฑห้อยลงมาตามแบบสถาปัตยกรรมของล้านนา ภายในมีลักษณะส่วนกว้างแคบ ส่วนยาวลึก เข้าไปภายใน และส่วนสูงชะลูดขึ้นไปมาก ใช้เป็นที่เก็บ พระไตรปิฏก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นใบลาน จารอักษรตัวธรรมมีอยู่เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นวิหาร ใช้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมนี http://www.nan.go.th/webjo/index.php?option=com_content&view=article&id=19:2009-07-02-14-19-23&catid=7:2009-07-01-03-16-09&Itemid=6
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5069 เมื่อ: 15 มกราคม 2555, 23:09:13 » |
|
พระวิหารซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับพระอุโบสถ (ภาพจากในเน็ตครับ)ได้เพียงภาพเดียวครับ เน็ตเริ่มมีปัญหาครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5070 เมื่อ: 15 มกราคม 2555, 23:23:13 » |
|
โหลดภาพไม่ขึ้นครับ ขออนุญาตหยุดไว้ก่อนครับ
|
|
|
|
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์
คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927
|
|
« ตอบ #5071 เมื่อ: 15 มกราคม 2555, 23:28:34 » |
|
สวัสดีตอนดึกครับพี่เหยง เข้ามาอัพเดทข้อมูล และตามพี่เหยงกับครอบครัว ตระเวนทำบุญอย่างอิ่มอกอิ่มใจครับ
|
“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้ อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5072 เมื่อ: 16 มกราคม 2555, 07:55:20 » |
|
สวัสดี หนุน
ยังเหลืออีก 3 วัด พร้อมไปชมต้นชมพู ภูคา, บ่อเกลือบนเขา, อำเภอภูฟ้า ครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5073 เมื่อ: 16 มกราคม 2555, 07:56:48 » |
|
อย่างไรก็ตามห่วงน้ำท่วมชาวใต้ ซึ่ง 1 - 2 วันนี้น้ำป่าจะไหลหลากลงมาจากเขา สู่ที่ราบ คลอง แม่น้ำ ชาวบ้านใน 8 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย คงลำบากต่อไปอีกหลายวัน
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5074 เมื่อ: 16 มกราคม 2555, 08:01:27 » |
|
พยากรณ์อากาศของอุตุนิยมวิทยา ที่ลดระดับความรุนแรงของสถานการณ์ของพายุ คลื่นลมลงแล้ว แต่ผลคงปรากฎต่ออีก 1 - 2 วัน ซึ่งคงต้องระมัดระวังภัยต่อไปอีก
พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 16 มกราคม 2555 ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลงประกอบกับมีลมตะวันออกพัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเกิดขึ้นได้ ในระยะนี้
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.
ภาคเหนือ ตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศา อุณหภูมิสูงสุด 29-30 องศา ตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศา อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศา สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศา ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็น กับมีฝนเล็กน้อยเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตะวันออกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศา สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ภาคกลาง อากาศเย็น กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศา อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศา สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศา ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคตะวันออก มีฝนเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศา อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศา สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศา ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนเล็กน้อยเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศา อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศา ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
|
|
|
|
|