เหยง 16
|
|
« ตอบ #4650 เมื่อ: 05 ธันวาคม 2554, 16:26:43 » |
|
“ในหลวง” ขอทุกฝ่ายร่วมแรงร่วมใจแก้น้ำท่วม 5 ธันวาคม 2554 12:20 น. “ในหลวง” ตรัสขอบใจทุกฝ่ายร่วมอวยพรวันเกิด ทรงแนะความมั่นคงในชาติ เกิดได้ด้วยประชาชนอยู่ดีมีสุข ขอทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้เต็มกำลัง หวังพัฒนาโครงการบริหารจัดการน้ำให้ยั่งยืน ขออย่าขัดแย้ง แตกแยก แต่ควรให้กำลังใจกันทำงานให้สำเร็จลุล่วง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกมหาสมาคม ณ มุขเด็จ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานพระบรมราชโอกาส ให้พระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา คณะทูตานุทูต ข้าราชการ ตลอดจนพสกนิกรทุกหมู่เหล่าเฝ้าฯ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้ที่มาเฝ้าฯ ความว่า “ขอขอบพระทัย และขอบใจท่านทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง ที่มีไมตรีจิตพรั่งพร้อมกัน มาให้พรวันเกิด รวมทั้งให้คำมั่นสัญญา โดยประการต่างๆ ข้าพเจ้าขอสนองต่อพรและไมตรีจิตทั้งนั้นด้วยใจจริงเช่นกัน ท่านทั้งหลายในที่นี้ ผู้อยู่ในตำแหน่งหน้าที่สำคัญ ทั้งฝ่ายพลเรือนและทหาร ย่อมทราบแก่ใจอยู่ทั่วกันว่า ความมั่นคงของประเทศชาตินั้น จะเกิดมีขึ้นได้ ก็ด้วยประชาชนในชาติอยู่ดีมีสุข ไม่มีทุกข์ยากเข็ญ ทั้งนั้นการได้อ่านใดที่เป็นความทุกข์เดือดร้อนของประชาชน ทุกคน ทุกฝ่ายจึงต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องร่วมมือกัน ปฏิบัติแก้ไขให้เต็มกำลัง โดยเฉพาะขณะนี้ ประชาชนกำลังเดือดร้อนลำบากจากน้ำท่วม จึงขอจึงชอบที่จะร่วมมือกัน ปัดเป่าแก้ไขให้ผ่านพ้นไปโดยเร็ว และจัดทำโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน อย่างเช่น โครงการต่างๆ ที่เคยพูดไปนั้นเป็นการแนะนำไม่ได้สั่งการ แต่ถ้าเป็นการปรึกษากันแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ คุ้มค่า และทำได้ก็ทำ ข้อสำคัญจะต้องไม่ขัดแย้ง แตกแยกกัน หากจะต้องให้กำลังใจ ซึ่งกันและกันเพื่อให้งานที่ทำบรรลุผลที่มีประโยชน์ เพื่อความผาสุกของประชาชน และความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติ ขออำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงคุ้มครองรักษาท่านให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากภัย และอำนวยความสุข ความเจริญแก่ท่านทั่วกัน” จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯด้วยรถพระที่นั่งกลับโรงพยาบาลศิริราช โดยประชาชนตลอดสองฝั่งเส้นทางที่เสร็จกลับต่างเปล่งเสียงทรงพระเจริญไปตลอดเส้นทางกลับ จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000154743
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4651 เมื่อ: 05 ธันวาคม 2554, 18:13:46 » |
|
Happy Father's Day kul kul ถึง Pichaste Chuamwarasart, PaPa
ป๊า ขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บไม่ไข้น้า รักป๊าน้า
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4652 เมื่อ: 05 ธันวาคม 2554, 22:10:27 » |
|
RCU และทุกท่าน เก็บความทรงจำดีๆ ในวันนี้ไว้ครับ
ราตรีสวัสดิ์ครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4653 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2554, 22:28:13 » |
|
มาสวัสดีทุกท่านเอาตอนสี่ทุ่มครึ่งครับ วันนี้มีงานค่อนข้างมาก แทบหาเวลาเข้าเว็ปไม่ได้เลย
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4654 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2554, 22:40:14 » |
|
วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2554 ช่วงเวลาระหว่าง 21.06 ถึง 21.57 น. จะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง รวม 51 นาที สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทยและเห็นด้วยตาเปล่า โดยดวงจันทร์จะเป็นสีแดงอิฐไปทั้งดวง ในทิศตะวันออก
หากพลาดโอกาสในปีนี้ จะเห็นครั้งต่อไป คืนวันที่ 8 ตุลาคม 2557 เป็นจันทรุปราคาเต็มดวง และครั้งต่อไปในคืนวันที่ 4 เมษายน 2558ลักษณะสีของดวงจันทร์ในวันที่ 10 นี้
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4655 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2554, 22:47:02 » |
|
มหาวิทยาลัยระดับจังหวัดในภูมิภาคครม.เห็นชอบยุบสถาบันวิทยาเขต ตั้งเป็นมหา'ลัยประจำพื้นที่ 6 ธันวาคม 2554 16:54 น. รองโฆษกรัฐ เผย ครม.เห็นชอบหลักการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรัฐ แบบยุบรวมสถาบัน หลัง ศธ.คาด อีก 30 ปี คนจะเรียนของรัฐน้อยลง หวังสร้างสถานศึกษาเข้มแข็ง อาทิ ตั้ง ม.ชุมพร, ม.ภาคใต้ตอนบนสุราษฎร์ธานี, ม.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, ม.กาฬสินธุ์, ม.ระยอง และ ม.ฝั่งทะเลอันดามัน วันนี้ (6 ธ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบหลักการข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยการยุบรวมสถาบันอุดมศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอมา ตามที่คณะกรรมการอุดมศึกษาได้มีการประชุมครั้งที่ 3 ประจำปี 2554 และได้มีการคาดการณ์ว่า จากนี้ไป 30 ปี ผู้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐจะลดน้อยลงไป หัวใจจึงไม่ได้อยู่ที่การเปิดสถาบันการศึกษา หรือจัดตั้งมหาวิทยาลัย แต่อยู่ที่ประสิทธิภาพของการเรียนการสอนมากกว่า ดังนั้น จึงมีการเตรียมการเสนอให้ยุบรวมสถาบันอุดมศึกษา และเนื่องจาก ศธ.โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รับมอบหมายให้พิจารณาข้อเสนอจัดตั้ง มหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ทั้งจากจังหวัด และนักการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการศึกษาและอุดมศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพมีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่น และสังคมอย่างแท้จริง นายอนุสรณ์ กล่าวต่อว่า ความหมายของการหลอมรวม หรือยุบรวมนั้น หมายความว่า ในพื้นที่หนึ่งๆ นั้น จะเป็นจังหวัดก็ตาม หากมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งกระจัดกระจายกันอยู่ ก็จะยุบรวมเป็นเพียงหนึ่งแห่ง เช่น 1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดชุมพร เสนอโดย จังหวัดชุมพร เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร เมื่อยุบรวมแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 1 แห่ง 2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เสนอโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เมื่อยุบรวมแล้วไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย 3.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสนอโดยจังหวัดตาก เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตตาก กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด ซึ่งในปัจจุบันได้มีการขอเปลี่ยนเป็นการยกฐานะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลล้านนา วิทยาเขตตาก ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อจัดตั้งแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 1 แห่ง 4.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เสนอโดยจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เมื่อยุบรวมแล้วจะไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย 5.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยระยอง เสนอโดยจังหวัดระยอง เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย และวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด เมื่อยุบรวมแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 1 แห่ง ซึ่งปัจจุบันรูปแบบการจัดตั้งเปลี่ยนเป็นการจัดตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 6.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน เสนอโดยจังหวัดกระบี่ เป็นการหลอมรวมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิทยบริการกระบี่ กับสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ ซึ่ง ปัจจุบันขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน โดยไม่ใช้รูปแบบการหลอมรวม ยุบรวม อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งจะทำให้เกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 1 แห่ง จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000155341
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4656 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2554, 23:31:39 » |
|
ภาพล้อ "อดีต นรม.อภิสิทธิ์" ในมติชนครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4657 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2554, 17:16:23 » |
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4658 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2554, 17:21:29 » |
|
"อานนท์"แจงกมธ.งบฯเหลือน้ำขังในฝั่งตะวันตก พื้นที่ 1 ล้านไร่ ชี้ระบบระบายน้ำห่วย เล็งปรับโครงสร้างใหม่รับมืออนาคต วันที่ 07 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 15:59:28 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ในส่วนของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วงเงินงบประมาณจำนวน 324,200,700 บาท โดยมีนายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สทอภ.มาชี้แจงถึงการบริหารจัดการน้ำในช่วงวิกฤตน้ำท่วม
นายอานนท์ กล่าวว่า มวลน้ำล่าสุดโดยประมาณเมื่อ 1-2 วันที่ผ่านมาพบว่ามีน้ำคงค้างทั้งหมดตั้งแต่ภาคกลางตอนบนจนถึงกทม.ประมาณ 8,000 ล้าน ลบ.ม. โดยครึ่งหนึ่งค้างอยู่ในทุ่งที่ต้องเก็บไว้ในการทำการเกษตร และอีกส่วนไหลลงมาตามลำคลองในระบบ ดังนั้น น้ำเหล่านี้จะไม่ใช่น้ำที่หลากเข้ามา ซึ่งน้ำที่จะหลากเข้ามานั้นแทบจะไม่มีแล้ว ในการคำนวณมวลน้ำใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเป็นหลักและคาดการณ์ความลึกของน้ำจากสถานีวัดระดับน้ำของกรมชลประทาน ยอมรับว่าอาจมีความผิดพลาดบ้างและเราได้รับบทเรียนจากการทำงานในครั้งนี้ ซึ่งได้มีการพูดคุยกับกรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน เพื่อให้ในปี 2555 มีการทำงานร่วมกันเพื่อให้มีการประเมินได้ดีขึ้น
นายอานนท์ กล่าวว่า ล่าสุด ตอนนี้น้ำส่วนใหญ่ในฝั่งตะวันออกของ กทม.ลดลงเกือบทั้งหมดแล้ว และเมื่อวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมาเรามีพื้นที่น้ำท่วม 2.7 ล้านไร่ แต่ตอนนี้เหลือเพียงประมาณ 1 ล้านไร่ เท่ากับว่าผ่านไปประมาณ 1 เดือนสามารถลดปริมาณน้ำออกไปได้เป็นจำนวนมาก และ 1 ล้านไร่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาและทุ่งโดยเฉพาะฝั่งตะวันตก ด้านฝั่งตะวันออกเหลือพื้นที่น้ำท่วมน้อยมากแล้วเพราะสามารถระบายน้ำออกทางแม่น้ำบางปะกงได้เร็วกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ และเลี้ยงน้ำไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ลาดกระบังและสนามบินสุวรรณภูมิ
"คาดว่าในระยะยาว ดังนั้น ทางคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ต้องมีการจัดวางโครงสร้างการจัดการทำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกใหม่ และคาดว่าในระยะยาวหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมได้คลี่คลายแล้วจะทำให้เกิดกรณีที่ประชาชนจำนวนมากต่างคนต่างสร้างพนังกั้นน้ำและถมที่ดินให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันน้ำท่วม ซึ่งในส่วนนี้ กยน.กำลังจะมีมาตรการระยะเร่งด่วนเพื่อให้การดำเนินการที่มีมาตรฐานเพื่อมากำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินการโดยจะยึดตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมเป็นหลัก" นายอานนท์กล่าว http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323247196&grpid=00&catid=&subcatid=
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4660 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2554, 17:26:05 » |
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4661 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2554, 21:47:11 » |
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4662 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2554, 21:48:50 » |
|
จากนั้นปล่อยน้ำเข้า และได้น้ำพุคืนมา
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4664 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2554, 21:56:37 » |
|
|
|
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4668 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2554, 22:21:17 » |
|
สำหรับบ้านในพื้นที่รอบๆ กทม. ที่น้ำยังไม่แห้ง มท.1 ลั่นสูบน้ำปทุมธานี-นนทบุรี-นครปฐมให้แห้งตามกำหนดวันที่ 07 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 12:36:33 น. เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า จะเร่งสูบน้ำในพื้นที่ที่น้ำยังท่วมขัง โดยเฉพาะใน 3 จังหวัด ให้แห้งตามกำหนดการ ปทุมธานี ภายในวันที่ 15 ธันวาคม นนทบุรี 16 ธันวาคม และนครปฐม ในวันที่ 20 ธันวาคม โดยจะระดมเครื่องสูบน้ำมาทำงานอย่างเต็มที่ ขณะที่การจ่ายเงินชดเชยอยู่ ระหว่างการเร่งดำเนินการ ยอมรับว่ามีจำนวนผู้ประภัยจำนวนมาก และต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ แต่ยืนยันไม่ได้มีการจ่ายเงินเยียวยาล่าช้า เนื่องจากการทำงานทุกอย่างเข้าสู่ระบบแล้ว http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323236209&grpid=&catid=19&subcatid=1906
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4669 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2554, 16:50:21 » |
|
สวัสดีทุกท่านครับ
วันนี้ต้องเร่งออกไปติดต่อส่วนราชการครับ พรุ่งนี้ เขาบอกว่า บ่ายๆ จะออกเดินทางไปพักผ่อนกันแล้ว เพราะหยุดวันรัฐธรรมนูญ 3 วัน ปีใหม่นี้ รัฐบาลปูไม่มีวันหยุดยาว สำหรับพักผ่อนยาว 5 วันให้คลายเครียดเลย
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4670 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2554, 16:53:06 » |
|
อู่-เต๊นท์แย่งซื้อซ่อมฟันกำไร รถจมน้ำฮิต! ตั้งราคาถูก50-70% จำใจขาย′ฟื้นฟูบ้าน′ วันที่ 08 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 11:14:11 น. แหล่งข่าวจากธุรกิจรับซื้อรถยนต์มือสอง เปิดเผยว่า ขณะนี้รถยนต์ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยได้รับความนิยมรับซื้อเป็นอย่างมากจากอู่ซ่อมรถ เนื่องจากระดับความเสียหายจากรถยนต์ที่จมน้ำกับรถยนต์ที่ประสบอุบัติเหตุ ระดับความรุนแรงต่างกัน โดยรถที่จมน้ำ โครงสร้างของรถยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แบบกว่า แต่เพียงบางส่วนเสียหายจากน้ำท่วม โดยอู่รถยนต์ที่รับซื้อไปจะนำรถเหล่านี้ไปปรับสภาพใหม่ทั้งหมดและตรวจสอบอุปกรณ์ที่ยังพอสามารถใช้ได้ อาทิ เปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนระบบแอร์ ขัดล้างภายใน รวมถึงเปลี่ยนเบาะ พรม ส่วนระบบไฟฟ้าภายในรถจะมีการตรวจสอบสภาพอย่างดี โดยชิ้นส่วนใดที่สามารถใช้ได้จะใช้ต่อ อาทิ สายไฟ เป็นต้น แต่หากไม่สามารถใช้ได้จะเปลี่ยนใหม่ และดูดไล่ความชื้นออก
"รถยนต์ที่ถูกน้ำท่วมถือเป็นทางเลือกใหม่ของตลาดรถยนต์มือสอง และอู่ซ่อมปรับสภาพ เพราะการปรับสภาพและทำให้ดูดีจะง่ายกว่า รวมถึงสามารถทำกำไรได้ดีกว่าปกติเพราะคนที่เอารถที่ถูกน้ำท่วมมาขายก็ต้องการขายให้เร็วที่สุด เพราะกังวลว่าจะไม่มีเงินซ่อมรถ และต้องการใช้เงินอย่างเร่งด่วนเพื่อเอาไปซ่อมบ้าน หรือหาซื้อรถใหม่แทน" แหล่งข่าวกล่าว และว่า ตลาดรถยนต์มือสอง เป็นตลาดรถยนต์ของชนชั้นกลางถึงชั้นล่าง เพราะฉะนั้นจะเป็นตลาดที่ใหญ่มาก
แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับราคารับซื้อรถยนต์ที่ถูกน้ำท่วมจะขึ้นอยู่กับสภาพ รุ่น และปีของรถยนต์คันนั้นๆ หากรถยนต์ที่อยู่ในรุ่นที่อยู่ในความต้องการของตลาดจะมีราคาที่ดีกว่ารถยนต์รุ่นเก่าทั่วไป โดยจะมีเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการประเมินราคาไปตรวจสอบ และบางรุ่นที่เป็นรถเก่ามากบางแห่งจะไม่รับซื้อ เนื่องจากไม่คุ้มค่าที่จะปรับสภาพและขายต่อยาก การซื้อรถและนำมาปรับสภาพจะต้องมีกำไรและคุ้มค่า เช่น ซื้อรถจมน้ำมาราคาคันละ 1 แสนบาท นำมาปรับสภาพใหม่ทั้งหมด จะต้องขายได้ 2-3 แสนบาท หรือกำไร 1-2 เท่า
"การรับซื้อรถยนต์ถูกน้ำท่วมโดยทั่วไปจะประเมินจากความรุนแรง หากระดับน้ำอยู่ในระดับถึงพวงมาลัย ถือว่ารุนแรงมาก ราคาที่รับซื้อก็จะถูกกว่ารถคันที่ความรุนแรงน้อยกว่า การซื้อมาปรับสภาพต้องมีกำไร ดังนั้น ถ้าคุยราคากันแล้วซื้อไหวก็สามารถซื้อได้ แต่ยังไงรถจมน้ำจะมีราคาถูกกว่ารถที่เสียหายเพราะประสบอุบัติเหตุแน่ ซึ่งช่วงที่ผ่านมามีคนที่รถจมน้ำเยอะมาก ขณะนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงต้น ที่สถานการณ์น้ำท่วมเพิ่งเริ่มคลี่คลาย แต่ในบางจุดน้ำยังไม่ลด เชื่อว่าหลังจากนี้อีกสักพัก ราคารถน้ำท่วมจะถูกกว่าขณะนี้อีก" แหล่งข่าวกล่าวและว่า นอกจากการรับซื้อรถยนต์จมน้ำไปปรับสภาพขายต่อแล้ว ยังมีการรับซื้อรถยนต์ที่จมน้ำเพื่อนำไปแยกชิ้นส่วนจำหน่ายเป็นอะไหล่ได้อีกเช่นกัน
แหล่งข่าวกล่าวว่า การแข่งขันในธุรกิจการซื้อรถยนต์จมน้ำ มีการแข่งขันเข้มข้นผ่านสังคมออนไลน์ อาทิ เฟซบุ๊ก เว็บบอร์ด และส่วนหนึ่งมาจากฐานข้อมูลการซื้อขายของลูกค้าเดิม รวมทั้งมีการลงพื้นที่สำรวจหารถเป้าหมายในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันอีกหลายวิธี เช่น การจ้างรถจักรยานยนต์รับจ้างให้ติดประกาศรับซื้อ และการจ้างให้จดทะเบียนรถที่ถูกน้ำท่วม เพื่อนำมาสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ถึงการทำธุรกรรมการซื้อขายหรือสืบค้นประวัติผ่านเว็บไซต์กูเกิล
ทั้งนี้ ราคาที่รับซื้อรถยนต์ที่จมน้ำเมื่อเทียบกับรถยนต์ปกติ ราคาจะลดลงประมาณ 50-70% เนื่องจากปกติรถยนต์ใหม่ที่นำมาขายต่อเป็นรถยนต์มือสอง ปกติราคาจะลดลง 20-30% ยิ่งเป็นรถยนต์ที่ถูกน้ำท่วมมาแล้ว ราคายิ่งลดลงกว่ารถมือสองปกติ และพิจารณาจากรุ่นรถยนต์ ปีจดทะเบียน ราคายิ่งลดลงตามรุ่นรถที่ตกรุ่น http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323317701&grpid=00&catid=&subcatid=
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4671 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2554, 18:09:59 » |
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4672 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2554, 18:49:28 » |
|
ปัญหาอยู่ที่กระทรวงคมนาคม กระทรวงที่ได้ชื่อว่า เก็บเงินสดไว้ที่บ้าน อ้างงาบเงินทอน ครม.เบรกฟื้นฟู!ข่าวหน้า 17 ธันวาคม 2554 - 00:00 รัฐมนตรีซี 130 อ่วม “ครม.” เบรกหัวทิ่มขอเค้กฟื้นฟู 2 หมื่นล้านบาท “ดร.เหลิม” นำทีมค้าน อ้างไร้รายละเอียด ขืนอนุมัติถูกชยันโตอ่วมแน่ “ยิ่งลักษณ์” เห็นพ้องให้ประชุมนัดพิเศษถกเงินเยียวยาโดยเฉพาะ “สุกำพล” สะดุดอีก ข้อเสนอแพ็กเกจใช้ที่ดินทางด่วนทำมาหากินถูกเมิน “ปู” สั่งหารือ ”กฤษฎีกา-สศช.” รายโครงการก่อน
เมื่อวันอังคาร ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ประชุมได้พิจารณาวาระจรเรื่องที่ 2 เรื่องสรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานของคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) ที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน เสนอจำนวน 19,786 ล้านบาท แบ่งเป็นการฟื้นฟูเยียวยาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 12,983 ล้านบาท และคุณภาพชีวิต 6,803 ล้านบาท โดยโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานนั้น เป็นข้อเสนอของคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน (กคฐ.) ที่มี พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานจัดทำมา มีวงเงิน 12,983.629 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ 1.คมนาคมขนส่ง 4,444.523 ล้านบาท 2.สถานที่ราชการและระบบสาธารณูปโภค 384.909 ล้านบาท 3.ศาสนสถานและโบราณสถาน 1,593.468 ล้านบาท 4.สถานศึกษา 1,462.447 ล้านบาท และ 5.แหล่งน้ำและระบบชลประทาน 5,098.282 ล้านบาท ข้อเสนอดังกล่าวได้ถูก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ท้วงติงว่าเป็นการเสนอโครงการขาดรายละเอียด ต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ โดยเสนอให้ประชุม ครม.นัดพิเศษ และเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องมาร่วมพิจารณารายละเอียดโครงการด้วย “ผมมีประสบการณ์มาแล้วสมัยตอนทำโครงการพายุเกย์ ผมเชื่อในความบริสุทธิ์ใจของท่านรัฐมนตรี แต่เจ้าหน้าที่มันรอรับเงินทอนอยู่ ซึ่งการเสนอโครงการมารวมกันทีเดียวไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน มันเหมือนกดดัน ครม.ทั้ง 36 คนกันเกินไป เพราะดูยังไงก็ดูไม่ทัน และถ้าไม่ดูกันให้รอบคอบเราจะถูกครหาได้” รายงานอ้างคำกล่าวของ ร.ต.อ.เฉลิม ด้าน พล.อ.อ.สุกำพลพยายามชี้แจงว่า โครงการไม่มีเรื่องซ้ำซ้อนและผ่านการพิจารณามาแล้ว รวมทั้งได้ส่งเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายลงสำรวจความเสียหายแล้ว ถึงแม้เอาผู้ว่าฯ มาหารืออีกก็จะได้คำตอบเหมือนกัน ในขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแสดงความเห็นคล้อยตาม ร.ต.อ.เฉลิม โดยระบุว่า เรื่องใดเร่งด่วนก็ให้ทำเลย แต่เรื่องไหนรอได้ก็ให้รอ เพราะอย่างไรสัปดาห์หน้างบประมาณเยียวยาก็ออกมาแล้ว “ขอให้สำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปช่วยกันดูไม่ให้ซ้ำซ้อน” น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวในที่ประชุม นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ ครม. ได้เสริมว่า นี่เหมือนการพิจารณางบประมาณที่ให้ ครม.มาหักล้างกัน เพราะมีรัฐมนตรีดูแลแต่ละพื้นที่อยู่แล้ว ซึ่งการประชุม ครม.นัดพิเศษแค่ครึ่งวันก็น่าจะเสร็จ ทำให้ พล.อ.อ.สุกำพลต้องจำยอม แล้วหันมาถามนายอำพนว่าจะประชุมวันไหน ซึ่งนายอำพนระบุว่าคงประมาณต้นสัปดาห์หน้า แต่ยังไม่ได้นัดวันที่แน่นอน
รายงานแจ้งอีกว่า ครม.ยังได้เบรกข้อเสนอของ พล.อ.อ.สุกำพลในเรื่องแนวทางการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษเชิงพาณิชย์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) โดยขอยกเว้นไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. 7 ก.ย. 2547 ข้อ (2) ที่ห้าม กทพ.นำพื้นที่บริเวณทางด่วนไปใช้ในกิจการเชิงพาณิชย์ โดย กทพ.เสนอแนวทางการพัฒนาให้มีการใช้พื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะและเชิงพาณิชย์ควบคู่กันไป ซึ่ง กทพ.ได้กำหนดโครงการนำร่องไว้ 5 บริเวณ คือ บริเวณ ถ.สุขุมวิท ด้านทิศใต้ เนื้อที่ 4.4 ไร่, ถ.สีลม เนื้อที่ 8.4 ไร่, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ซอยศาสนา ถ.ประดิษฐ์มนูธรรม 200 ไร่ และบริเวณทางเข้าด่านฯ จตุโชติ ทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ เนื้อที่ 50 ไร่ การเสนอโครงการดังกล่าวก็ถูกนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ท้วงติงว่าการเวนคืนที่ดินมาทำทางด่วนแล้วกลับไม่ทำ แต่ไปสร้างสนามฟุตบอลหรือสวนหย่อมหรืออื่นๆ ถ้าเกิดมีการฟ้องร้องศาลแล้วจะมีปัญหาเวนคืนที่แล้วนำมาใช้ผิดวัตถุประสงค์ได้ ซึ่ง พล.อ.อ.สุกำพลพยายามชี้แจงด้วยน้ำเสียงหงุดหงิด และสุดท้าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็เห็นด้วยกับนายอัชพร โดยระบุว่าเรื่องนี้ควรนำมาเสนอต่อ ครม.พิจารณาเป็นรายกรณีไป ไม่ใช่มาเสนอทีเดียว และให้กระทรวงไปหารือกับ สศช.และกฤษฎีกาก่อนเป็นรายโครงการไป กระแสความไม่ลงรอยในการทำงานของรัฐมนตรีในกระทรวงคมนาคมยังคงถูกจับตา ซึ่งในระหว่างการประชุม ครม.ช่วงไม่ได้พิจารณาเรื่องที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ปรากฏว่า พล.อ.อ.สุกำพล กับ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม มีการพูดจาในลักษณะถกเถียงกันเป็นระยะๆ ด้วยสีหน้าเคร่งเครียด แต่ไม่แน่ชัดว่าถกเถียงเรื่องใด
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงหลังประชุม ครม.ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้มอบหมายให้ สศช.และสำนักงบประมาณไปทบทวนรายละเอียดการขออนุมัติงบประมาณฟื้นฟูด้านโครงสร้างพื้นฐานและสังคมที่เสนอมาวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อน และเน้นย้ำให้จ่ายเงินไปที่การทำงานในระยะเร่งด่วน “ นายกฯ ต้องการให้การฟื้นฟูมีรูปธรรมมากที่สุด โดยเฉพาะงานที่ควรเร่งแก้ไข เช่น งานซ่อมแซมถนน ฟื้นฟูสนามบินดอนเมือง ซ่อมแซมประตูน้ำบางโฉมศรี ซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะหน้า ส่วนการลงทุนโครงการใหม่ในรายจังหวัดก็ควรประสานงานกับ กยน.เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อน” นางฐิติมากล่าว นายวรวิทย์ จำปีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ครม.ได้อนุมัติงบประมาณแก้ไขปัญหาไว้ 1.2 แสนล้านบาท และได้อนุมัติไปแล้ว 50,000 ล้านบาท แต่ขณะนี้ยังมีหน่วยงานต่างๆ ของบประมาณเข้ามามาก ทำให้งบที่เตรียมไว้อาจไม่พอ สำนักงบประมาณและ สศช.จึงต้องไปดูว่ามีโครงการไหนจำเป็นหรือไม่บ้าง เพื่อให้ใช้งบในกรอบวงเงินที่กำหนดไว้ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ระบุว่า ที่ ครม.ให้ไปทบทวน เพราะก่อนหน้านี้ ครม.ได้อนุมัติกรอบไว้ 1.2 แสนล้านบาท โดยให้แยกเป็นงบที่ต้องใช้เร่งด่วน เพื่อให้เบิกจ่ายงบได้ภายใน 1-2 สัปดาห์
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักฯ กล่าวว่า การประชุม ครม.นัดพิเศษเพื่อพิจารณางบฟื้นฟู 19,786 ล้านบาทนั้น จะเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 25 จังหวัด ที่ได้รับผลมาร่วมตอบข้อซักถามต่อ ครม.ด้วย ซึ่งการประชุมจะเกิดขึ้นเมื่อใด ต้องดูกำหนดการและตารางงานของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ก่อนอีกทีว่าจะว่างเมื่อใด นางฐิติมากล่าวอีกว่า ครม.ยังเห็นชอบตามข้อเสนอของ กยอ.ที่ให้มีการจัดตั้งสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (สกยอ.) เป็นหน่วยงานภายใน สศช. ทำหน้าที่เป็นเลขานุการของ กยอ. และอนุมัติงบจำนวน 120 ล้านบาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย นางฐิติมากล่าวอีกว่า ครม.ยังรับทราบผลกระทบด้านเกษตรจากอุทกภัยใน 17 จังหวัดว่า มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ 1.2 ล้านราย พื้นที่การเกษตรเสียหาย 12.59 ล้านไร่ การประมง 1.3 แสนราย วันเดียวกัน นางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย ส.ว.ภูเก็ต ประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา กล่าวว่า ประเมินว่าปัญหาอุทกภัยทำให้สูญเสียรายได้ 30% ซึ่งปีที่แล้วภาคการท่องเที่ยวทำเงินได้ถึง 6-8 แสนล้านบาท เมื่อคำนวณแล้วจะสูญเสียรายได้ประมาณ 3 แสนล้านบาท.http://www.thaipost.net/news/071211/49274
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4673 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2554, 21:02:39 » |
|
วันนี้ อจ.ทราย เข้าบ้านและทำความสะอาดบ้านเป็นวันแรก พุทธมณฑล จะเริ่ม Big Cleaning Day ในวันอาทิตย์ที่ 11 นี้จัดบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ พุทธมณฑล 11 ธ.ค.นี้8 ธันวาคม 2554 16:54 น. จัดบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ พุทธมณฑล 11 ธ.ค.นี้ ผอ.พศ.เผยต้องเร่งฟื้นฟูส่วนที่ทำได้ก่อน ชวนจิตอาสาร่วมลงมือทำความสะอาด วันนี้ (8 ธ.ค.) นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า ขณะนี้ พศ.จะดำเนินการจัดบิ๊กคลีนนิ่ง ทำความสะอาดพุทธมณฑล ในวันที่ 11 ธันวาคม นี้ โดยจะค่อยๆ เริ่มทำความสะอาดในส่วนที่ดำเนินการได้ก่อน และจะทำเป็นระยะต่อเนื่องไป ในขณะเดียวกันจะรอให้พื้นที่โดยรอบพุทธมณฑลระดับน้ำลดลงก่อน จึงจะดำเนินการสูบน้ำออกจากพื้นที่ ทั้งนี้ การดำเนินการทำความสะอาดที่ทำแบบค่อยเป็นค่อยไปจะช่วยให้การฟื้นฟูทำง่ายขึ้นกว่าการมาทำครั้งเดียว ดังนั้น หากหน่วยงานใดหรือประชาชนจะมาร่วมทำความสะอาดเราก็ยินดี นายนพรัตน์ กล่าวต่อไปว่า ส่วนการสำรวจความเสียหายของวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย ว่า ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับจำนวนวัดที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ขณะนี้จาการสำรวจเบื้องต้นพบว่าเสียหาย จำนวน 2, 200 วัด ใน 31 จังหวัด ส่วนโรงเรียนพระปริยัติธรรม ได้รับผลกระทบ 25 แห่ง อย่างไรก็ตามได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด (พศจ.) แต่ละแห่งเร่งสำรวจความเสียหายคัดแยก รวมทั้งประเมินความเสียอย่างละเอียดว่าแต่ละวัดเสียหายกี่เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากทั้ง 2,200 วัด บางแห่งได้รับรับความเสียหายไม่มากนัก ดังนั้นจึงต้องคัดแยกอีกครั้ง ผอ.พศ.กล่าวอีกว่า สำหรับแผนของบประมาณ เพื่อของบมาบูรณะซ่อมแซมวัดนั้น ได้ประเมินและจัดทำแผนไว้เบื้องต้นจากจำนวนวัดที่แจ้งเข้ามา จำนวน 950 ล้านบาท โดยได้ส่งขอคำงบและแผนไปยังคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ (กฟย.) และคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาด้านโครงสร้างพื้นฐาน (กคฐ.) แล้ว โดยภายในเร็วๆนี้จะสามารถนำแผนดังกล่าว นำต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบงบ อย่างไรก็ตามวัดที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานนั้น เป็นหน้าที่ของกรมศิลปากร ในการสนับสนุนงบประมาณการซ่อมแซม จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000156501
|
|
|
|
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562
|
|
« ตอบ #4674 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2554, 09:11:34 » |
|
สวัสดี ตอนสายๆค่ะ น้องเหยง มาดุการทำความสะอาดบ้านค่ะ
|
|
|
|
|