20 กันยายน 2567, 05:29:43
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 183 184 [185] 186 187 ... 472   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุยกับ เหยง 16 - พิเชษฐ์ เชื่อมฯ-เตรียมฉลอง 100 ปี หอซีมะโด่ง จุฬาฯ  (อ่าน 2516817 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 45 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #4600 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2554, 23:13:03 »

“เสงี่ยม” เอาอีก ลดประตูน้ำพระยาสุเรนทร์เอง เมินผู้ว่าฯ-ศปภ.

ตัวอย่างของการให้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย ..
ฮ่า ฮ่า ฮ่า .. ใครมาสั่งก็ไม่สน
ผมจะทำเอง  ผมจะประเิมินสถานการณ์น้ำเอง

ฮ่า ฮ่า ฮ่า ..
   เหอๆๆ
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4601 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2554, 16:57:06 »

น้องหยี

เขากลัวไปเปิดบานประตูเพิ่ม จะมีผลให้น้ำท่วมเข้ามาในพื้นที่ชั้นในมากขึ้น
แต่พวกกลับไปลดบานประตูน้ำลง...ปล่อยเขาทำไปเถอะ

 งง งง
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4602 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2554, 17:04:32 »

‘นาแล้งน้ำเมืองสุพรรณ’ อาเพศสั่งได้...นัยมหานทีวิปโยค 54 ?!?
30 พฤศจิกายน 2554 18:00 น.


       กลายเป็นพื้นที่ที่ถูกจับจ้องอย่างเลี่ยงเสียไม่ได้ ก็เมืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็น ‘อู่ข้าวอู่น้ำ’ อย่างจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีรายได้หลักมาจากการเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกข้าวที่กินอาณาบริเวณนับล้านไร่ กลับกลายเป็นพื้นที่แล้งน้ำขั้นวิกฤต ขาดแคลนน้ำในการทำนาอย่างหนัก!
       
       แน่นอนว่าการทำนาปลูกข้าว ‘น้ำ’ นั้น ถือเป็นหัวใจหลักที่ทำให้เกิดผลิตผลทางการเกษตร สุพรรณฯ เองก็เป็นพื้นที่การผลิตข้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่ง ฉะนั้นการขาดแคลนน้ำในการทำนาของทั้ง 5 อำเภอ ซึ่งได้แก่ อ.อู่ทอง อ.ดอนเจดีย์ อ.เดิมบางนางบวช อ.ศรีประจันต์ และอ.เมือง จึงก่อความเดือดร้อนแก่ชาวนาอย่างยิ่งยวด
       
       งานนี้ร้อนถึงอดีต รมว.เกษตรฯ ‘ประภัตร โพธสุธน’ ที่ขึ้นแท่นเป็นแกนนำ พาม็อบชาวนานับพันลุกฮือออกมาเรียกร้องให้กรมชลประทานปล่อย ‘น้ำ’ สู่ทั้ง 5 อำเภอที่ประสบภัยขาดแคลนน้ำในการทำกิน
       
       น่าแปลก…ขณะที่หลายอำเภอในจังหวัดสุพรรณฯ ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ แต่ทำไมที่พื้นที่ใกล้เคียงอย่าง อุทัยธานี, ชัยนาท, นครสวรรค์, กรุงเทพฯ (รวมถึงบางอ.ในสุพรรณฯ เช่น อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง อ.สามชุก) ฯลฯ กลับจำต้องเผชิญภัยพิบัติน้ำท่วมขั้นวิกฤติสร้างความเสียหายโดยไม่ได้นัดหมายไปตามๆ กัน
       
       ซึ่งข้อสงสัยตรงนี้ก็คงสะท้อนกลับไปยังข่าวลือที่ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองสั่งปิดประตูระบายน้ำพลเทพ ซึ่งเป็นประตูน้ำที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำท่าจีนในจังหวัดสุพรรณฯ อันส่งผลให้แม่น้ำเจ้าพระยาจำต้องระบายน้ำเพียงสายเดียว และมวลน้ำมหาศาลก็เข้าท่วมจังหวัดที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ สิงห์บุรี, อ่างทอง, อยุธยา, ปทุมธานี, นนทบุรี ฯลฯ ตามลำดับ
       
       เมื่อ ‘น้ำ’ เดินทางมาไม่ถึง ‘นา’
       อนึ่ง การที่ที่นาทั้ง 5 อำเภอของเมืองสุพรรณฯ กลับกลายเป็นพื้นที่ขากแคลนน้ำ ก็คงต้องย้อนกลับมามองกันที่ต้นสายปลายเหตุว่า แท้จริงแล้วเกิดเหตุเภทภัยอะไรกับเมืองสุพรรณฯ ถึงได้มีปริมาณน้ำขาดๆ เกินๆ สร้างความเดือดร้อนแก่กลุ่มชาวนา
       
       “แต่เดิมสุพรรณฯ มีน้ำทำนาทั้งปี จะมีปีนี้ที่ขาด สาเหตุจากกรมชลประทานเขาบอกมาว่าเรานั้นใช้น้ำเปลือง และทำให้เกิดโรคเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด ดังนั้นจึงต้องทำลายวงจรของมันซะ ซึ่งในข้อนี้ชาวบ้านไม่เห็นด้วย เพราะชาวบ้านเขาก็ปลูกแบบนี้มาตลอดก็ไม่เห็นเป็นอะไร ถ้าห้ามทำไมไม่ไปห้ามสนามกอล์ฟ ห้ามรีสอร์ตด้วยล่ะ ทำไมชาวนาต้องมารับกรรมฝ่ายเดียว”
       
       เดชา ศิริภัทร ผู้อำนวยการมูลนิธิข้าวขวัญ จ.สุพรรณบุรี สะท้อนถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำของสุพรรณฯ ในปีนี้ ซึ่งเกิดจากการทำงานของกรมชลประทาน และนโยบายด้านเขื่อนของ กฟผ.
       
       “คือเขื่อนของบ้านเรานั้น อยู่ในความควบคุมของ กฟผ. ไม่ว่าจะเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ ทีนี้เขาก็ต้องการเอาน้ำไปทำไฟฟ้า เพราะต้นทุนมันถูก ยิ่งเก็บน้ำไว้มากเท่าไหร่เขาก็ทำไฟได้มากเท่านั้น น้ำท่วมที่ผ่านมาก็เนื่องมาจากเขื่อนด้วยเหมือนกัน”
       
       ตามสภาพทางภูมิศาสตร์แล้ว พื้นที่ที่ขาดน้ำในการทำนาทั้ง 5 อำเภอนั้น ล้วนเป็นที่ดอนทั้งสิ้น ส่วนพื้นที่ที่ต่ำมากๆ ก็ยังคงอยู่ในภาวะน้ำท่วมเช่นเดิม เดชา กล่างเพิ่มเติมว่าชล ประทานส่วนหนึ่งก็สร้างมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ชาวนาทำนาหน้าแล้งกันอยู่แล้ว ปกติในพื้นที่เมืองสุพรรณฯ ก็จะปลูกข้าวนาปีและข้าวนาปรัง ซึ่งข้าวนาปีนั้นจะเป็นพวกข้าวพื้นเมือง ส่วนข้าวนาปรังจะเป็นพันธุ์ข้าวที่ส่งเสริมมาตั้งแต่ปี 2512 อาทิ กข 31 หรือ ปทุม 80 ซึ่งจะได้ผลผลิตที่สูง
       
       ด้าน มาลี น้อมระวี ชาวนา อ.ดอนเจดีย์ พื้นที่ดอนของเมืองสุพรรณฯ ที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ กล่าวสะท้อนภาพความเป็นจริงที่กำลังเกิดกับชาวนาบางส่วนในสุพรรณฯ
       
       “เป็นอะไรไม่ปล่อยน้ำมาให้ เราก็ไม่รู้เหมือนกัน ปกติเราก็ทำนาได้โดยไม่ต้องไปวิดจากคลองขึ้นมา เขาคงไม่ได้ปล่อยน้ำมาล่ะมั้ง ส่วนมากยิ่งบนๆ ของอำเภอ เขาก็ต้องใช้น้ำวิดน้ำมาเข้านา เพราะน้ำชลประทานไม่ยอมไหลมาทางท่อ นี่ก็เพิ่งจะดำนามา โชคดีตรงที่ยังไม่ต้องใช้น้ำมาก ยังพอมีน้ำให้ตีเครื่อง (ตีเครื่อง เป็นภาษาของชาวบ้าน หมายถึงขั้นตอนการเตรียมดินในนาข้าวที่ต้องเอารถไถพรวนดิน ซึ่งต้องอาศัยน้ำเพื่อให้ปั่นดินได้)”
       
       มาลีกล่าวเพิ่มเติมว่า การทำนาในจังหวัดสุพรรณฯ นั้นจะมีรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งทำให้การทำนาที่นี่ (โดยเฉพาะหลักๆ อ.ดอนเจดีย์) ไม่ได้แบ่งออกเป็นนาปี และนาปรัง แต่จะเริ่มทำการปักดำทันที่หลังเก็บเกี่ยว ซึ่งมีระยะเวลาที่กระจัดกระจายไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม เธอได้ให้ข้อเสนอแนะสำหรับชาวนาในพื้นที่ขาดแคลนว่าปีนี้น้ำน้อยกว่าปกติคงต้องใช้วิธีวิดน้ำจากแหล่งธรรมชาติ จะมามัวรอการไหลของน้ำตามท่อของระบบชลประทานไม่ได้
       
       ว่าด้วยระบบชลประทานในสุพรรณฯ
       
       ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าถึงแม้สุพรรณฯ จะมีพื้นที่ของระบบชลประทานอยู่มาก แต่ก็ไม่ได้ครอบคลุมทุกตารางนิ้ว เพราะนั้นหมายถึงจำนวนเงินมหาศาลที่ต้องนำไปลงทุน ซึ่งก็คงต้องกลับมาดูว่ามันคุ้มค่าหรือไม่ สำหรับ 5 อำเภอที่ประสบภัยแล้งท่ามกลางปัญหาน้ำท่วมรุมเร้าคนไทยทั่วประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำอย่าง หาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการ บริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ แสดงทัศนะว่า
       
       “สุพรรณฯ มีพื้นที่เยอะมากกว่าระบบชลประทาน ต้องเข้าใจก่อนว่ามันไม่ได้มีน้ำใช้ทุกพื้นที่ เรื่องการใช้น้ำในพื้นที่การเกษตรอาจจะไม่มีศักยภาพมากพอที่จะส่งน้ำไปถึงได้ ประเทศเราเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว เรามีพื้นที่ระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพยังไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ จากพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 15 ล้านไร่ แต่มีพื้นที่ชลประทานไม่เกิน 4 ล้านไร่ ยกตัวอย่างหลายๆ จังหวัดที่มีเขื่อนเยอะแยะไปหมด แต่ระบบชลประทานมันก็ไม่สามารถส่งถึงได้ คือมันมีทั้งพื้นที่ที่อยู่ในชลประทาน กับพื้นที่ที่อยู่นอกชลประทาน
       
       “ฉะนั้น ถ้าถามว่าจังหวัดสุพรรณฯ มีพื้นที่อยู่นอกชลประทานไหม...มี เพราะว่า 5 อำเภอไม่ใช่ว่าทุกอำเภอจะมีระบบชลประทาน พื้นที่ส่วนใหญ่ของทั้ง 5 อำเภอตามปกติจะเป็นพื้นที่ที่ไม่มีน้ำเพียงพอในช่วงรอยต่อระหว่างหน้าฝนกับหน้าแล้งอยู่แล้ว บางส่วนยังเป็นพื้นที่อับฝนด้วยซ้ำ”
       
       หาญณรงค์อธิบายขยายภาพเส้นทางเดินของน้ำในจังหวัดสุพรรณฯ ว่า สุพรรณฯ เป็นพื้นที่รับน้ำจากแม่น้ำท่าจีน จากประตูระบายน้ำพลเทพ จ.ชัยนาท ที่ผันมายังแม่น้ำท่าจีน ซึ่งพื้นที่บางส่วนนั้นรับน้ำจากชลประทานแม่น้ำท่าจีน ส่วนอีกด้านหนึ่งคือลุ่มน้ำห้วยกระเสียวที่อยู่ในจังหวัดสุพรรณฯ เอง นอกจากนี้ยังมีส่วนที่มาจากโครงการชลประทานของแม่กลอง คือผันน้ำมาจากทางจังหวัดของทางฝั่งของกาญจนบุรี
       
       อย่างไรก็ตาม พื้นที่ทั้ง 5 อำเภอของสุพรรณฯ แล้งน้ำ นั้นย่อมเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำโดยตรง ยิ่งในช่วงสภาวการณ์น้ำท่วม ก็เลยมีข้อกังขาในเรื่องการปิดประตูน้ำที่จะส่งไปยังระบบชลประทานบางส่วน
       
       “กรณีของจังวัดสุพรรณฯ ที่เห็นในภาพข่าว มันก็คือในคลองระบบชลประทานน้ำไม่เต็ม ตามความเข้าใจผมมันก็คือว่าน้ำในระบบมันอาจไม่สามารถส่งไปถึงปลายน้ำเหมือนกับที่เคยเป็นอย่างที่ผ่านมา เพราะคำว่าน้ำท่วมมันไม่ได้ท่วมทั้งจังหวัด บางพื้นที่มันก็แล้ง เพราะหนึ่ง-แรงดันน้ำไม่พอ สอง-ต้นน้ำอาจจะใช้น้ำมาเกินไป แล้วก็มีการใช้น้ำไปก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งเคยมีงานวิจัยว่าแม้คจะมีระบบชลประทานก็จริง แต่ปริมาณน้ำที่จะส่งไปผลสำเร็จถึงที่มีไม่ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งระบบ ช่วงหลังก็มีความขัดแย้งไม่ต่างกับบิ๊กแบ๊กเท่าไหร่”
       
       หาญณรงค์แสดงทัศนะทิ้งท้ายถึงการปิดประตูระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วมในบางส่วนว่า หากไม่ทำการศึกษาอย่างรอบคอบ อาจกระทบระบบชลประทาน และก่อความเสียหายต่อเกษตรกรรมอย่างที่ชาวนาสุพรรณฯ กำลังเผชิญ
       
       “การปิดประตูน้ำเพื่อจะแก้ไขปัญหาน้ำไม่ให้ท่วมในบางส่วน มันทำให้ประตูในระบบบางอันถูกปิดหรือเปล่า มันต้องแบ่งน้ำในพื้นที่น้ำท่วมไปสู่พื้นที่ชลประทานบางส่วนเพื่อลงนา ส่วนที่เป็นคลองที่สามารถแบ่งน้ำได้ ไม่ใช่ปิดประตูตายตามคำสั่งของผู้ใหญ่บางคนที่ไม่ได้ดูว่ามันจะเป็นอย่างไร จังหวัดนี้มันมีผู้มีอำนาจเหนือรัฐมนตรี เวลาเขาสั่งอะไรมาก็ปิดเลย ไม่ได้มาดูว่ากระทบกับระบบชลประทานคนอื่นหรือเปล่า”
       
       ทางด้านประชาชาชนที่ติดตามข่าวสารบ้านเมือง บุญชู ภู่ผึ้ง ก็ร่วมแสดงความคิดว่าทั้ง 5 อำเภอนั้นอาจเป็นที่ดอน ซึ่งตามธรรมชาติของน้ำจะไหลจากที่สูงลงที่ต่ำเสมอ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็เป็นเรื่องที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบต้องวางแผนชัดเจนตั้งแต่แรก
       
       “การที่ 5 อำเภอนี้แห้งแล้งไม่มีน้ำมาทำนา อาจจะเป็นเพราะการบริการน้ำไม่ดีมาตั้งแต่แรก จึงทำให้มีสภาพเป็นอยู่อย่างทุกวันนี้ เราจะต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร มันไม่ใช่หน้าที่ใครคนใดคนหนึ่ง มันคือสิ่งที่ต้องช่วยกัน เริ่มตั้งแต่ผู้ว่าฯ ลงมา จนถึงผู้ใหญ่บ้าน กำนัน คนในชุมชน ว่าเรามีความคิดเห็นอย่างไร จะช่วยกันแก้ปัญหานี้อย่างไร”
       
       ขณะที่ คนึงนิจ นาคมงคล พนักงานบริษัทเอกชน ก็แสดงความสงสัยในการบริหารจัดการน้ำในปีนี้ของจังหวัดสุพรรณฯ
       
       “มันก็แปลกนะ ตรงอื่นเขาท่วมกัน แต่มีสุพรรณฯ นี่แหละที่แห้งจนไม่มีน้ำปลูกข้าว เพราะปกติทุกปีจังหวัดสุพรรณบุรีท่วมตลอด คือท่วมเยอะกว่านี้ เพราะพื้นที่ตรงนั้นเป็นที่ราบลุ่ม เป็นที่สำหรับปลูกข้าว ทำไร่ทำสวน ซึ่งปีนี้น้ำมันก็ยังท่วมแต่ท่วมน้อยกว่าเดิม ทั้งๆ ที่แม่น้ำที่ไหลผ่านก็เป็นแม่น้ำสายเดียวกันคือแม่น้ำท่าจีน แต่ตลกดีที่แม่น้ำท่าจีนตอนบนแถวสุพรรณฯ มันไม่ท่วม มันกลับมาท่วมตรงแม่น้ำท่าจีนตอนล่างก็คิดว่าน่าจะเกิดจากการที่คนตั้งใจจะไปกั้นน้ำหรือเปล่า กลายเป็นว่าจังหวัดอื่นๆ ตอนล่างลงไป ทั้งปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่รับน้ำไปแทน”
       ..........
       
       ท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าพื้นที่เกษตรกรรมใดจะประสบภัยแล้ง หรือภัยน้ำท่วม ก็สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศทั้งสิ้น ซึ่งตัวเลข ณ ขณะนี้ผลผลิตข้าวนาปีก็หายไปทันที 5 ล้านตัน ประมาณความเสียหายเฉพาะนาข้าวก็กว่า 72,000 ล้านบาท ซึ่งเรื่องนี้คงกลายเป็นโจทย์ใหญ่ระดับประเทศที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไขอย่างบูรณาการ มิเช่นนั้นวิกฤตการณ์สลับขั้ว น้ำท่วม-ขาดน้ำ ก็จะกลับมาสร้างความคลางแคลงใจแก่ชาวไทยอย่างไม่จบสิ้น
       >>>>>>>>>>
       ………
       
       เรื่อง : ทีมข่าว CLICK
[/b][/color][/i]

 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000152764
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4603 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2554, 17:16:40 »

อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 30 พฤศจิกายน 2554, 23:13:03
“เสงี่ยม” เอาอีก ลดประตูน้ำพระยาสุเรนทร์เอง เมินผู้ว่าฯ-ศปภ.

ตัวอย่างของการให้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย ..
ฮ่า ฮ่า ฮ่า .. ใครมาสั่งก็ไม่สน
ผมจะทำเอง  ผมจะประเิมินสถานการณ์น้ำเอง

ฮ่า ฮ่า ฮ่า ..
  เหอๆๆ

กทม.เปิด ปตร.คลองพระยาสุเรนทร์เพิ่มเป็น 1.40 เมตร
1 ธันวาคม 2554 11:59 น.

 
       กทม.เปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์เพิ่มเป็น 1.40 เมตรหลังประเมินสถานการณ์น้ำช่วง 24 ชม. พบระดับน้ำทรงตัว เร่งกำจัดขยะให้หมดก่อนวันที่ 5 ธ.ค.นี้ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
       เมื่อเวลา 10.30 น.วันนี้ (1 ธ.ค.) ที่ศาลาว่าการ กทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงผลการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำและการแก้ไขในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ว่า ในวันนี้ กทม.จะเพิ่มระดับประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ อีก 10 ซม. จากเดิม 1.30 เมตร เป็น 1.40 เมตร หลังประเมินสถานการณ์น้ำในช่วง 24 ชม. พบว่าระดับน้ำทรงตัว และในวันพรุ่งนี้หากสถานการณ์น้ำยังทรงตัวเช่นเดิม กทม.จะพิจารณาเพิ่มระดับประตูระบายน้ำเป็น 1.50 เมตรต่อไป
      
       นอกจากนี้ ผู้ว่าฯ กทม. ได้ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันกำจัดขยะตกค้างในพื้นที่ต่างๆ ให้หมดไป ก่อนวันที่ 5 ธ.ค.นี้ เพื่อให้กรุงเทพฯ ปลอดขยะ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนี้มีภาคเอกชนหลายรายเสนอตัวเข้าร่วมโครงการดังกล่าวแล้ว คาดว่าจะสามารถกำจัดขยะตกค้างได้ภายในเวลาดังกล่าว
      
       สำหรับการจัดเก็บขยะในวันที่ 29 พ.ย.54 ที่ผ่านมา กทม.สามารถจัดเก็บขยะได้สูงถึง 11,610 ตัน คิดเป็นร้อยละ 131 ของขยะในช่วงเวลาปกติ โดยเฉพาะในพื้นที่ 25 เขตน้ำท่วม สามารถจัดเก็บขยะได้ถึง 5,644 ตัน โดยมีปริมาณขยะสูงกว่าปกติทุกพื้นที่


 
 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000153105
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4604 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2554, 20:50:32 »

เรื่องเดียวกัน (เปิดประตูน้ำ) โดยท่านขุนน้อย จากไทย์โพสต์ออนไลน์.............

ขออนุญาตไปขี้!!!
ท่านขุนน้อย 1 ธันวาคม 2554 - 00:00

    เห็นข่าวคราวความเป็นไปในบ้านเมืองแต่ละวัน...ต้องเรียกว่า หมดเรี่ยว หมดแรง ยิ่งกว่ารับประทานหอยย่างผสมน้ำมะนาว ไม่รู้ต่อกี่จาน กี่แก้ว แทบไม่น่าเชื่อว่า ประเทศไทยแลนด์แดนสยามของหมู่เฮา...อะไรมันจะตกต่ำ เสื่อมทรุด เสื่อมทรามเท่านี้ ย่อมไม่มีอีกแล้ว...
                                                    ------------------------------------------------------
    เอาเป็นว่า...ลองไปดูข่าวแรกจากเว็บไซต์ เอสทีวี ผู้จัดการ ก็แล้วกัน ตามข่าวว่าเอาไว้ดังนี้ พ.ต.ต.เสงี่ยม-สั่งลดประตูน้ำพระยาสุเรนทร์เหลือ 97 ซม. อ้างช่วยชาวสายไหม แต่ช่วงสายจะเปิดเป็น 1.50 ม.อีกครั้ง ลั่นไม่สนผู้ว่าฯ กทม.-ศปภ. จ่อเปิดประตูระบายน้ำจุดอื่นด้วย วันนี้ (30 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำที่ประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ล่าสุด ประตูระบายน้ำได้ถูกปรับลดระดับความสูงลงมาอยู่ที่ 97 ซม. จึงทำให้ระดับน้ำด้านเหนือประตูระบายน้ำอยู่ที่ 1.95 ม. ลดลงจากเมื่อวาน 3 ซม. ขณะที่ระดับน้ำด้านท้ายประตูอยู่ที่ 1.75 ซม. ลดลงจากเมื่อวานนี้ 3 ซม.เช่นกัน ซึ่งระดับน้ำทั้ง 2 ฝั่ง ยังคงต่างกันอยู่ที่ 20 ซม. โดย พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการ สำนักนายกรัฐมนตรี ที่เป็นแกนนำชาวบ้านย่านลำลูกกามาเปิดประตูระบายน้ำ ได้เปิดเผยว่า ตนเป็นผู้ลดระดับบานประตูน้ำลงมาในเวลาตี 02.00 น.ที่ผ่านมา เนื่องจากมีความเห็นใจชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ด้านใต้ถัดจากประตูระบายน้ำ เช่น สายไหม และสุขาภิบาล 5 โดยในช่วงสายจะกลับมาเปิดประตูระบายน้ำที่ระดับ 1.50 ม.อีกครั้ง โดยย้ำว่าหลังจากนี้ตนจะเป็นผู้กำหนดระดับการเปิดประตูระบายน้ำด้วยตนเอง เนื่องจากเห็นว่า กทม.มีความล้มเหลวในการระบายน้ำ โดยกล่าวว่าตนเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเงา พ.ต.ต.เสงี่ยม ยังกล่าวอีกว่า จากนี้ไปจะไม่ยอมเจรจาทั้ง ศปภ.และ กทม. เนื่องจากเห็นว่าตนมีวุฒิภาวะมากกว่า รวมถึงจะเดินทางออกไปสำรวจประตูระบายน้ำในจุดต่างๆ ว่าหากประเมินแล้วไม่มีผลกระทบก็อาจจะทำการเปิดเพิ่ม...
                                 --------------------------------
    ตามด้วยข่าวจากเว็บไซต์ ไอเอ็นเอ็น ที่บรรยายถึงบทบาทของผู้อำนวยการ ศปภ. ซึ่งเพิ่งจะได้รับความไว้วางใจจากตัวแทนปวงชนในสภาผู้แทนราษฎร อย่างชนิดถล่มทลายถึง 273 เสียง รวมทั้งนายกฯ ปู-ยิ่งลักษณ์ ที่ยืนหยัดยืนยันอยู่เคียงข้าง ชนิดพร้อมจะฉิบหายไปด้วยกันทั้งยวง โดยระบุเอาไว้ดังนี้ ผู้อำนวยการ ศปภ.ลงพื้นที่ประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ ย้ำอำนาจตัดสินใจอยู่ที่ กทม. ขณะแกนนำพร้อมคุย ศปภ. ไม่เอา กทม. พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการ ศปภ.ลงพื้นที่ประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ ซึ่งล่าสุดชาวบ้านลำลูกกายังคงเปิดที่ระดับความสูง 97 ซม. ซึ่ง พล.ต.อ.ประชาได้กล่าวแสดงความเห็นใจในความเดือดร้อนของประชาชน ที่อยู่ในพื้นที่ด้านเหนือและใต้ประตูระบายน้ำทั้ง 2 ฝั่ง พร้อมยืนยันว่า ศปภ.ไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ไขปัญหา แต่อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจเปิดและปิดประตูระบายน้ำอยู่ในอำนาจการตัดสินใจของ กทม. ซึ่งในขณะนี้ตนก็พยายามพูดคุยกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยล่าสุดเจ้าหน้าที่ของ กทม.ได้เดินทางไปให้ข้อมูลกับ ศปภ.แล้ว นอกจากนี้ พล.ต.อ.ประชาได้กล่าวให้ พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ซึ่งเป็นแกนนำชาวบ้าน ให้มีความใจเย็นและใช้เหตุผลในการเจรจา ขณะที่ พ.ต.ต.เสงี่ยม ได้กล่าวกับ พล.ต.อ.ประชาว่า ยินดีที่จะพูดคุยกับ ศปภ. แต่ก็ปฏิเสธที่จะพูดคุยกับ กทม.ในทุกกรณี พร้อมยืนยันว่า ตนจะเป็นผู้กำหนดการเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ด้วยตนเอง โดยหลังจากนี้ก็จะดำเนินการยกขึ้นที่ระดับ 1.50 เมตร
                                                    ----------------------------------------------------------------
    เพียงเท่านี้...ก็ถือว่า หมดแล้ว...ประเทศไทย ถ้ายังไม่คิดจะเรียกว่า รัฐล้มเหลว ก็เรียกว่า รัฐเป็นลม หรือ รัฐเป็นอัมพาต คงไม่ต่างอะไรไปจากกันซักเท่าไหร่ แค่อดีตตำรวจรายหนึ่งที่อ้างตัวว่าเป็น เสื้อแดงพันเปอร์เซ็นต์ แถมยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองประจำสำนักนายกฯ ทั้งๆ ที่มีคดีติดตัวแดงเถือก โดดลงมาชักลากประชาชนแค่ไม่กี่สิบ กี่ร้อย อดีตผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ปัจจุบันมีฐานะเป็นถึงรัฐมนตรียุติธรรมและผู้อำนวยการ ศปภ. ก็หันไปอมสากกะเบือเอาดื้อๆ!!! ส่วนตำรวจปัจจุบันผู้ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการบังคับใช้กฎหมาย ก็ไม่คิดจะปฏิบัติตามหน้าที่ซะยังงั้น จะเป็นเพราะเกรงอก เกรงใจ อดีตตำรวจระดับพันตำรวจตรี หรือพันตำรวจโท ก็ยังมิอาจสรุปได้...
                                                    -----------------------------------------------------------------
    ขณะที่ อำนาจรัฐ และ กลไกรัฐ แสดงอาการล้มเหลว และเป็นลม อย่างเห็นได้ชัด แต่ครั้นเมื่อลองหันไปดูข่าวคราวเกี่ยวกับประชาชน ก็แทบต้องเอาหน้าทิ่มดิน มุดฝุ่น มุดทราย แบบนกกระจอกเทศให้สิ้นเรื่องสิ้นราว ไม่ต้องถูกใครต่อใครชี้นิ้วตั้งคำถามว่าเป็นคนไทยอ๊ะป่าวว์ว์ว์ ข่าวที่ว่ามาจากเว็บไซต์ ไทยรัฐ ซึ่งได้พาดหัวเอาไว้ว่า ยิ่งลักษณ์ซม-นอน รพ. ชาวบ้านโทรจิก ขอเลขห้องแทงหวย โดยในรายละเอียดช่วงท้ายระบุเอาไว้ดังนี้... ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางแพทย์และประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลพระรามเก้าเปิดเผยว่า หลังจากประชาชนทราบข่าวว่านายกฯ ป่วย เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลพระรามเก้า ได้มีประชาชนโทรศัพท์เข้ามาสอบถามอาการป่วย ที่สำคัญทุกรายจะสอบถามว่านายกฯ พักอยู่ห้องหมายเลขอะไร เพื่อจะนำไปซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวย เฉลี่ยชั่วโมงละกว่า 70 ราย แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยอมเปิดเผยหมายเลขห้อง เพื่อความปลอดภัยและต้องการให้ผู้ป่วยพักผ่อนเต็มที่ ไม่ต้องการให้ใครมารบกวน...
                                                     ---------------------------------------------------------------
    สรุปเอาเป็นว่าทั้ง อำนาจรัฐ-กลไกรัฐ-และประชาชน หมดสภาพไปด้วยกันทั้งสิ้น แล้วยังงี้ประเทศชาติบ้านเมืองมันจะไปเหลืออะไร ถึงยังไม่ฉิบหายแบบเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ในวันนี้ แต่ถ้าหากปล่อยไปเรื่อยๆ อยู่ไปเรื่อยๆ ไม่วันหนึ่ง วันใด มันคงไม่เหลือซาก เหลือกากใดๆ เอาไว้พอทำยาได้อีกแน่ๆ!!! ใครที่ยังรัก ยังหวงแหน ต่อความเป็นชาติ บ้านเมือง ก็จงคิดไป ทำไปเถิด แต่วันนี้ ท่านขุนน้อย ต้องขออนุญาตไปจู๊ดๆ ไปเบ่งขี้ ถ่ายท้อง ให้อะไรต่อมิอะไรที่มันค้างๆ อยู่ในลำไส้ ถูกระบายลงไปในส้วมมือถือซะก่อน พรุ่งนี้ถ้าพอมีเรี่ยว มีแรง ค่อยมาว่ากันอีกที...
                                                    -----------------------------------------------------------------
    ปิดท้ายด้วยวาทะวันนี้ จาก วิลเลียมที่ 3 กษัตริย์อังกฤษ... "มีอยู่วิธีหนึ่งที่แน่นอน โดยที่ข้าพเจ้าแน่ใจว่าจะไม่มีวันต้องเห็นความย่อยยับของประเทศข้าพเจ้า นั่นก็คือ...ข้าพเจ้าจะขอตายอยู่ในคูรบแห่งสุดท้าย..."
                                                     ----------------------------------------------------------------

http://www.thaipost.net/news/011211/48990
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4605 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2554, 20:53:23 »

อ่านข่าวนี้ดีกว่าครับ...........

"สายน้ำจากสายพระทัยพระองค์"
เปลว สีเงิน1 ธันวาคม 2554 - 00:00

    วันนี้-วันที่ ๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔ ตรงกับวันขึ้น ๖ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ ขอนำท่านเข้าเขตงาน "เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔"
    ขอเริ่มบรรยากาศมงคลด้วยเรื่อง In Thailand, a battle royal with water  จากสำนักข่าว AP เขียนโดย Danis D.Gray และคุณนพนันท์ อรุณวงศ์ ณ อยุธยา แปลไว้ ฟอร์เวิร์ดกันแพร่หลายขณะนี้
    ผมขอนำบันทึกไว้ตรงนี้ด้วย เพื่อความชุ่มชื่นแห่งหัวใจตระหนักรู้ร่วมกันในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงทำทุกอย่างเพื่อสุขนิราศภัยของพสกไทยทุกคนโดยแท้
                 "สงครามแห่งสายน้ำ สงครามแห่งพระมหากษัตริย์"   
    ขณะที่พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระประชวร ทรงกำลังสำรวจภาพแห่งความหายนะจากหน้าต่างโรงพยาบาลชั้น ๑๖ ของพระองค์ พระมหากษัตริย์พระชนมายุ ๘๓ พรรษาทรงพบกับบางสิ่งที่ท้าทายพระองค์ อย่างฝังรากลึกมานานแทบตลอดพระชนม์ชีพนั่นคือ "น้ำ” ระดับน้ำได้เพิ่มขึ้นรอบๆ พระองค์ กระแสน้ำไหลท่วมท้นกรุงเทพมหานครและเอ่อล้นตลิ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา
    "แม่น้ำของกษัตริย์" ไหลเชี่ยวผ่านโรงพยาบาลศิริราชที่ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ในรถเข็นพระที่นั่งมานานตลอดระยะเวลา ๒ ปี เหตุการณ์น้ำท่วมที่ร้ายแรงที่สุดในรอบครึ่งศตวรรษ คือสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเพียรพยายามอย่างอุตสาหะมานะ และอาจมากกว่าผู้หนึ่งผู้ใดที่เคยพยายามป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น
    พระองค์ได้ทรงส่งสัญญาณเตือนภัยแม้ว่าอาจไม่มีใครใส่ใจในทุกครั้งก็ตาม พระองค์ทรงคัดค้านการพัฒนาที่เกินพอดี และทรงเสนอแนวคิดที่จะทุเลาความเสียหายอย่างใหญ่หลวงจากการขึ้นลงของน้ำประจำปี ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของน้ำจากพายุมรสุม
    ความทุกข์ของประเทศด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตเกือบ ๔๐๐ คน และอีก ๑๑๐,๐๐๐ คนไม่มีที่อยู่ คือภาพที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงการเพิกเฉยต่อคำเตือนของพระองค์ รวมถึงข้อจำกัดในความสามารถของมนุษย์ที่พยายามควบคุมธรรมชาติ ซึ่งในบางครั้งนั้นมีความรุนแรงเกินกำลัง
    นักวิเคราะห์กล่าวไว้เช่นกันว่า ในการรับมือกับปัญหาที่ซับซ้อนดังกล่าวนั้น ไม่มีคนหนึ่งคนใดเพียงคนเดียวสามารถทดแทนแผนงานที่ผ่านการประสานงานอย่างรัดกุมและดำเนินการโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีหน้าที่ แต่ในบางครั้งนั่นก็คือสิ่งที่นักวิจารณ์มองว่าประเทศไทยกำลังขาดแคลนเช่นกัน
    แม้กระทั่งปัจจุบัน ขณะที่เมืองหลวงของประเทศไทยและบริเวณโดยรอบกำลังต่อสู้กับความเชี่ยวกราก พระมหากษัตริย์ผู้ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก ก็ทรงกำลังเสนอข้อแนะนำถึงวิธีที่ดีที่สุดในการหาเส้นทางระบายน้ำจากที่ราบทางตอนเหนือเพื่อลงสู่ทะเล แต่ไม่เหมือนกับในอดีต
    พระมหาษัตริย์ผู้ทรงมีพระบารมีภายใต้รัฐธรรมนูญไม่สามารถทรงทำหน้าที่ตรวจสอบ, ชักจูง หรือในบางครั้งไม่อาจทรงตำหนิติเตียนเหล่าข้าราชการที่ทำงานอย่างไร้ประสิทธิภาพได้ ในฐานะผู้ทรงสืบเชื้อสายจากบรรดาพระมหากษัตริย์ทั้งปวงของไทยในอดีต ซึ่งต่างล้วนทรงถือว่า การควบคุมน้ำคือพระราชกรณียกิจในพระองค์
    เริ่มจากหนึ่งในโครงการพัฒนาตามพระราชดำริโครงการแรก คือ อ่างเก็บน้ำในปี ๑๙๖๓ เพื่อกักเก็บน้ำและป้องกันน้ำทะเลเข้าท่วมพื้นที่ตากอากาศชายทะเลหัวหิน จนกระทั่งปัจจุบัน โครงการพระราชดำริมีจำนวนมากกว่า ๔,๓๐๐ โครงการ และกว่า ๔๐% ของจำนวนโครงการทั้งหมดนั้น ล้วนเกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ
    "พระราชดำริและข้อเสนอแนะของพระองค์นั้น มีปรากฏอยู่อย่างแจ้งชัด โดยปราศจากข้อสงสัย ตลอดในนโยบายและการจัดการแหล่งน้ำต่างๆ ของประเทศไทยมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๔๐ ปี”
    เดวิด เบลค ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำจากมหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลียแห่งอังกฤษ ซึ่งทำการศึกษาเรื่องนี้ในประเทศไทยกล่าว แม้ว่าจะไม่ทรงผ่านการศึกษาในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ แต่พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระราชสมภพในสหรัฐอเมริกาพระองค์นี้ ได้ทรงแสดงให้เห็นพระอัฉริยภาพด้านวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ โดยในช่วงทศวรรษ ๑๙๙๐ นั้น พระองค์ได้ทรงใส่พระราชหฤทัยกับเมืองหลวงอันแสนเปราะบางของประเทศไทย "ในลักษณะที่ดูเหมือนประหนึ่งผู้ทำลายบรรยากาศแห่งความสุข กับช่วงเวลาแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเตือนประชาชนเรื่องน้ำท่วม การจราจรที่เลวร้าย และความทุกข์ยากแร้นแค้นต่างๆ นานาที่กำลังจะเกิดขึ้น”
    โดมินิค ฟาวเดอร์ บรรณาธิการอาวุโสของหนังสือเกี่ยวกับพระองค์ที่ใกล้วางจำหน่าย ชื่อ "การมองโลกในแง่ร้ายและคำเตือนต่างๆ คือสิ่งที่คนไทยไม่อยากได้ยิน” ฟาวเดอร์กล่าวเพิ่มเติมว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเพียรพยายามที่จะแก้ปัญหา ดังเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงไม่ยอมรับ "ข้าราชการ (บางกลุ่ม) ที่โต้แย้งและไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริงในขณะนี้"
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกยุทธศาสตร์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระองค์ว่า "แก้มลิง” โดยมีที่มาจากลิงทรงเลี้ยงเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ซึ่งมักเก็บกล้วยไว้ข้างแก้มจำนวนมาก จากนั้นจึงทยอยนำออกมากลืนกินในภายหลัง กระแสน้ำประจำปีที่ไหลผ่านจากเหนือลงใต้ ตามเส้นทางที่มุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเทพมหานครนั้น ถูกหันเหให้ลงสู่ "แก้ม” หลังจากนั้นจึงถูกผันลงสู่ทะเล หรือถูกส่งเข้าสู่ระบบชลประทานต่อไป มีการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบไปด้วยทำนบ คลองและประตูระบายน้ำ ตลอดจนพัฒนาระบบระบายน้ำในเมืองหลวง ซึ่งทำให้เกิดผลงานในการบรรเทาปัญหาน้ำท่วม ตลอดช่วงทศวรรษ ๑๙๙๐ จนถึงทศวรรษที่ผ่านมา
    "เราต้องถือเอาความกราดเกรี้ยวของสายน้ำไว้เป็นครู ถ้าเราสามารถหาหนทางเก็บน้ำที่ไหลท่วมไว้ในแหล่งกักเก็บน้ำก่อน จากนั้นจึงนำออกมาใช้เมื่อเราต้องการได้ก็จะเป็นประโยชน์ ๒ ชั้น” กระแสพระราชดำรัสในปี ๑๙๙๐
    อย่างไรก็ตาม เบลคกล่าวว่าแผนการณ์ดังกล่าวนั้น มีผลทำให้ชุมชนโดยรอบกรุงเทพมหานคร ต้องเสียสละเพื่อรักษาใจกลางเมืองหลวงไว้ และนั่นคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ ซึ่งรวมถึงกลุ่มข้าราชการที่รู้ดีเกินควรและทำการผันน้ำลงสู่ทุ่งนา แทนที่จะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำตามที่วางแผนไว้ นับแต่นั้น แหล่งกักเก็บน้ำหลักถูกย้ายไปสู่ฝั่งตะวันตก พื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันออกถูกแทนที่ด้วยนิคมอุตสาหกรรม บ้านจัดสรร สนามกอล์ฟและสนามบินนานาชาติ
    "สาเหตุสำคัญของน้ำท่วมคือข้อเท็จจริงที่ว่า พวกเราสร้างบ้านเรือนอยู่บนหนองน้ำ ประเด็นของข้าพเจ้าคือว่า มนุษย์ทำการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติมากเกินไปจากสิ่งที่เคยเป็น”
    กระแสพระราชดำรัสในช่วงแรกเมื่อปี ๑๙๗๑ นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเตือนถึงการตัดไม้ทำลายป่าอย่างมโหฬารในภาคเหนือว่าจะนำมาสู่การเกิดอุทกภัย การตัดไม้ทำลายป่าจะลดความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน และนั่นได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญของอุทกภัยในปัจจุบัน ตลอดระยะเวลา ๒ ทศวรรษครึ่งที่ผ่านมา ด้วยการเสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกหัวระแหงของประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ภาคใต้ ตลอดจนสร้างระบบชลประทานบนเทือกเขาสูง สำหรับชาวเขาในภาคเหนือ พระองค์ทรงให้การสนับสนุนการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งแต่ละแห่งมีชื่อตามพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงพระนามของพระองค์เอง แม้ว่าหลังจากนั้นพระองค์จะทรงตระหนักถึงภยันตรายและโปรดการสร้างเขื่อนขนาดเล็ก และทำนบกั้นน้ำแทนก็ตาม
    พระองค์ทรงแก้ปัญหาความแห้งแล้งด้วยการเลี้ยงเมฆให้เกิดฝน ด้วยวิธีโปรยสารเคมีจากเครื่องบิน ซึ่งเป็นวิธีที่ต้องใช้ทั้งความพยายามและโชคช่วยด้วยเช่นกัน
    "ไม่ใช่ทุกโครงการพระราชดำริล้วนประสบความสำเร็จ มีหลายๆ กรณีที่การคิดค้นหรือหลักการของพระองค์ ถูกนำไปปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสมเช่นกัน” เบลคกล่าว
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า พระองค์ทรงเป็นเพียงแค่ผู้เสนอ "แนวคิดที่อาจเป็นไปได้ แต่การนำไปใช้นั้นขึ้นอยู่กับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ถ้าพวกเขาแปลความผิดหรือจัดการในทางที่ผิด แนวคิดเหล่านั้นก็ไม่เป็นผล”
    สุเมธ ตันติเวชกุล ผู้ดูแลมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งทำหน้าที่สนองงานตามโครงการพระราชดำริ กล่าวว่า ในบรรดาสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทำเพื่อส่วนรวมนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การตั้งพระราชหฤทัยในการพัฒนาแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน พระองค์ได้ทรงใช้พระราชฐานะของพระองค์เพื่อผลักดันเรื่องนี้ให้เดินหน้าเป็นวาระแห่งชาติ สิ่งที่พระองค์ทรงคิดค้นบางอย่างนั้น นำมาซึ่งความประหลาดใจเช่นกัน เพื่อช่วยขจัดน้ำเน่าเสียอย่างรุนแรงในใจกลางกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำอย่างง่ายด้วยผักตบชวา ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณสมบัติดูดซับสารพิษ หลังจากนั้นจึงทำการสลายพิษในพืชชนิดนี้และนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง รวมถึงใช้ถักทอในงานหัตถกรรม พระองค์ได้ทรงอธิบายถึงเมืองหลวงที่แผ่ขยายอาณาบริเวณออกไปใหญ่โต และเต็มไปด้วยน้ำเน่าเสีย ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเต็มไปด้วยคูคลองมากมายว่า “กรุงเทพมหานครเปรียบเสมือนห้องสุขาที่ไม่มีระบบชักโครก”
    พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์กังหันน้ำต้นทุนต่ำ ซึ่งประกอบด้วยวงล้อใบพายอย่างในเรือกลไฟสมัยก่อน และทรงได้รับสิทธิบัตรนานาชาติ ซึ่งถือเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกและพระองค์เดียว ในบรรดาพระมหากษัตริย์ทั้งหลายทั้งปวงของโลกใบนี้.
    -สำนักข่าวเอพี, “ประเทศไทย-สงครามแห่งสายน้ำสงครามแห่งพระมหากษัตริย์”, 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 แปลโดย Noppanan Arunvongse Na Ayudhaya จาก “In Thailand, a battle royal with water”, Associated Press, November 2, 2011

[1]http://www.google.com/hostednews/ap/article/ALeqM5gxR3Au1FmxVR30Dp6l5MgcEoOpaQ?docId=887294e76ae847e2b85f27f3d64e4eba [2]

http://www.thaipost.net/news/011211/48996
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #4606 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2554, 08:06:49 »

สวัสดีค่ะ น้องเหยง
 ได้อ่านข้อมูลนี้แล้ว
 ประเทศนี้ เกิดอะไรขึ้น กับการบริหารงาน ของผู้บริหารประเทศหนอ
 อีกฝั่งน้ำท่วม อีกฝั่งน้ำแล้ง
 ไม่ได้ดูในภาพรวมทั้งหมดเลยหรือ
 คนที่รับผิดชอบ นอนหลับสาบายดีหรืออย่างไร
 ขอบ่นหน่อยนะคะ
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #4607 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2554, 09:39:40 »

สวัสดีครับพี่เหยง ...

มารายงานตัว ... ติดตามอ่าน ต่อครับ ^_^
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4608 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2554, 16:41:40 »

สวัสดี ดร. มนตรี

เที่ยวสนุกไหม ??
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4609 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2554, 16:45:15 »

๕๔ นองน้ำ ๕๕ อะไรล่ะ..จะนอง?
เปลว สีเงิน2 ธันวาคม 2554 - 00:00

      ก็อยากบอกรัฐบาลซักนิด อย่านำ "กรุงเทพฯ แห้ง" เป็นสินค้าตัวอย่างไปโฆษณาบิดเบือนให้ผู้คนหลงเข้าใจว่า "แห้งหมดแล้วทุกที่"....ยังหรอกครับ ยังอีกหลายพื้นที่ ทั้งธนบุรี นนทบุรี ปทุมธานี และชายขอบเมืองกรุง ที่ชาวบ้านและถนนหนทางยังจมอยู่ใต้น้ำ อาทรและเอาใจใส่คนที่ "ท่วมก่อน-แห้งทีหลัง" ให้มากเข้าไว้ ไม่อย่างนั้นจุดเครียดกับจุดแค้นของคนมันจะ...ระเบิดตูม!
      ให้กำลังใจ "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร" ครับ ในฐานะ กทม.เป็นพื้นที่จัดงาน "มหกรรมน้ำท่วม" อะไรๆ มันก็มาสุมลงที่ กทม.และผู้ว่าฯ กทม.ทั้งหมด ยิ่งงานเลิกด้วยแล้ว กทม.นอกจากเป็นพื้นที่รับมวลน้ำก้อนใหญ่ นับจากนี้ทั้งภูเขาขยะ และภูเขาปัญหา
      ทั้งมนุษย์ ทั้งหมู-หมา-กา-ไก่ จะรุมนำมาสุมทิ้งให้สะสาง!
      ตั้งสติให้ดี สมาธิให้มั่น ลุยงานไป ท่องคาถา..อโกธะ..อโกธะ..คือไม่โกรธไว้ อย่าลงไปกัดกะหมา เพราะท่านเป็นผู้ว่าฯ กทม.จงบริหารบุคลิกภาพ "นักการเมืองผู้มีวุฒิภาวะ" ยกจิตเป็นบัวเหนือตม ให้สังคมได้อาศัยเป็นหน้า-เป็นตา ว่าบ้านเมืองนี้ยังมีอารยชนเป็นคนการเมืองอยู่
      เอ้า..นี่...คุณ Hollland อีเมล์ข้อความนี้มา น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย อ่านดูนะครับ
      ใครที่จะรื้อกระสอบทราย ไม่มีที่ทิ้ง ทำบุญบริจาคให้ "วัดพระศรีมหาธาตุฯ" ได้ นำไปถมที่สร้างวัด มีรถขน ติดต่อ 0-2521-7300
      นี่ผมก็ตั้งใจว่าจะไปวัดเหมือนกัน ไม่ได้เอาทรายไปถวายวัดหรอก แต่ตั้งใจจะไป "วัดพระแก้ว" ไปกราบหลวงพ่อพระแก้ว จะพยายามตั้งจิตให้สงบ แล้วสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ เท่าที่จำได้-นึกได้ เสร็จแล้วก็อยากดูรอบๆ พระบรมมหาราชวัง และท้องสนามหลวงว่า ปีนี้เขาจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ กันสวยงามขนาดไหน
      เพราะที่เห็นตัวอย่างตามสื่อต่างๆ น่าจะตื่นตา-ตื่นใจมาก และท้องสนามหลวงนับตั้งแต่ กทม.แปลงโฉมใหม่ก็ยังไม่เคยไป จากข่าวการเตรียมงานวันก่อน มีต้นไม้เงิน-ต้นไม้ทองกลางสนามหลวงด้วย แค่เห็นภาพก็ดื่มด่ำเข้าสู่อีกมิติหนึ่งประมาณว่า บ้านเมืองสู่ยุคพระศรีอริยเมตไตรย เป็นแผ่นดินธรรม-แผ่นดินทอง ผู้คนเปี่ยมศีล-เปี่ยมทาน คลาไคลคล้ายนางฟ้า-นางสวรรค์ รุ่งเรืองเฟื่องฟุ้งจรุงด้วยดัชนีวัดความสุข
      และมีต้นกัลปพฤกษ์ผุดขึ้น ๔ มุมเมือง!
      คุยด้วยเรื่องดีๆ แล้วมีความสุขนะครับ แต่มีเรื่องเพื่อความไม่ประมาทกันอยู่เรื่อง ไม่ใช่เรื่องจากผมหรอก แต่จากคุณ chanpinawan albert ถึงตัวอยู่ต่างประเทศ ก็ยังมีเรื่องราวข่าวสารดีๆ ในเมืองไทยฟอร์เวิร์ดกลับมาให้คนไทยอย่างผมที่ไม่มีที่ไป และไม่รู้จะไปไหนได้อ่านอยู่บ่อยๆ อย่างเรื่องที่ท่านจะได้อ่านต่อจากนี้ ผมก็สองจิต-สองใจอยู่เหมือนกันว่าจะนำลงดีมั้ย แต่เมื่อมองในด้านที่เตือนสติ กระตุ้นให้ผู้คนยึดมั่นใน ทาน ศีล ภาวนา จะเป็นประโยชน์มาก ดังนั้น ท่านก็อ่านและไตร่ตรองตามด้วยสติ ให้เป็นไปดังพระพุทธวจนะก็แล้วกันนะครับว่า "ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา"

      จากฟอร์เวิร์ดคุณ chanpinawan albert มีดังต่อไปนี้
      นองน้ำแลเลือดจะนอง 'ญาณ' ของพระพรหมวชิรญาณ
      เรื่อง ไตรเทพ ไกรงู / ภาพ ศูนย์ภาพเนชั่น
      โหราศาสตร์เป็นวิชาที่ใช้ทายกาลล่วงหน้าหรือดูการล่วงหน้า ใช้สำหรับพยากรณ์ผลกรรมของมนุษย์โดยอาศัยดวงดาวเป็นเครื่องพยากรณ์ แสดงเหตุและผลของดวงดาว ทำให้สามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าของวิถีทางของมนุษย์และเหตุการณ์ของโลกทั่วๆ ไป
      ทั้งนี้ตามหลักพุทธศาสนา ตามที่แสดงไว้ในกัมมวิภังคสูตร ๑๔ ประการ คือ บางคนอายุยืน บางคนอายุสั้น บางคนมีโรคน้อย บางคนมีโรคมาก บางคนมีผิวพรรณดี บางคนมีผิวพรรณทราม บางคนมีศักดามาก บางคนมีศักดาน้อย บางคนมีทรัพย์สมบัติมาก บางคนมีทรัพย์สมบัติน้อย บางคนมีตระกูลสูง บางคนมีตระกูลต่ำ บางคนมีปัญญามาก บางคนมีปัญญาน้อย ในทางพระพุทธศาสนาได้มีพุทธานุญาตให้พระภิกษุสงฆ์เรียนรู้วิชาโหราศาสตร์ในเรื่องฤกษ์ยาม เพื่อจะได้รู้เวลาทำอุโบสถสังฆกรรม อันเป็นกิจในพระพุทธศาสนา จึงได้มีชื่อ วัน/เดือน/ปี และฤกษ์แสดงไว้ท้ายบอกวัตรพระเป็นประเพณีสืบต่อมา
    ปัจจุบันมีพระสงฆ์ที่ขึ้นชื่อว่า "ดูหมอแม่น” หลายสิบรูป และหนึ่งในจำนวนนี้คือ พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมังกโร) หรือเจ้าคุณพรหมฯ กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) และเจ้าอาวาสวัดยานนาวา ซึ่งที่ผ่านมามีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นักธุรกิจ นักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล แวะเวียนไปหาไม่เคยขาด
      เจ้าคุณพรหมบอกว่า โหราศาสตร์ไม่ใช่ศาสตร์แห่งความหลุดพ้น พระพุทธเจ้าใช้คำว่า "เดรัจฉานวิชา” หรือ "โลกิยวิชา” ด้วยซ้ำ เพียงแต่สามารถเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์บรรเทาทุกข์ในระดับโลกิยชนที่ยังอยู่ในโลกนี้ได้ เพียงแต่ไม่ควรเชื่ออย่างงมงายเท่านั้น สิ่งที่ประเสริฐที่สุดก็คือ การประพฤติธรรม ทุกศาสตร์มีประโยชน์ ผู้ที่ฉลาดหรือผู้ที่มีปัญญาต้องรู้จักนำความรู้จากโหราศาสตร์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เหมือนการพยากรณ์อากาศ เขาไม่ได้พยากรณ์ให้ฟังแค่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นที่นั่นที่นี่ แต่ต้องการให้คนฟังวางแผนล่วงหน้า โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นเรื่องของหลักสถิติที่มีการบันทึกกันมาอย่างต่อเนื่อง ในอดีตเราใช้ดวงดาวในการคำนวณเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทุกวันนี้แม้ว่าเราจะมีดาวเทียมในการพยากรณ์อากาศ แต่ดวงดาวบนท้องฟ้ายังคงใช้ได้อยู่ ไม่ว่าศาสตร์อะไร ถ้าเราใช้เป็นย่อมเกิดประโยชน์
      การที่เรารู้เรื่องโหราศาสตร์ เรารู้เอาไว้เพื่อที่จะป้องกันเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ถ้าใช้ไม่เป็นย่อมเกิดโทษ ถ้าบอกว่าดวงไม่ดีแล้วนอนอยู่บ้านเฉยๆ คงไม่ใช่ ยังต้องทำงานปฏิบัติหน้าที่เหมือนเดิม เพียงแต่ว่าต้องทำด้วยความระมัดระวัง
    ทั้งนี้ เจ้าคุณพรหมจะเน้นย้ำเสมอๆ ว่าอย่ามงายเชื่อสิ่งใดโดยไม่มีเหตุผล ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีเหตุปัจจัย คนหวังปกติสุขก็ต้องทำความดีเป็นปกติ โหราศาสตร์เป็นเพียงศาสตร์สื่อชี้ให้เห็นแนวทางกว้างๆ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แล้วเตรียมตัวรับกับสถานการณ์นั้นด้วยความไม่ประมาท เช่น มีการพยากรณ์ล่วงหน้าว่ากรุงเทพฯ น้ำจะท่วมมาตั้งแต่ต้นปี ๒๕๕๔ หากเราหาวิธีป้องกันแต่เนิ่นๆ ความเสียหายคงไม่มากอย่างที่เป็นอยู่ อย่างที่วัดได้หากระสอบทรายมาทำแนวป้องกันตั้งแต่น้ำเข้าอยุธยา รัฐบาลชุดนี้ในช่วงเข้ามารับตำแหน่งใหม่ๆ สนใจแต่เรื่องอื่น ไม่ได้สนใจเรื่องภัยธรรมชาติเท่าที่ควร คิดว่าการบริหารงานตามปกติจะเอาอยู่ แต่สุดท้ายก็เอาไม่อยู่เพราะน้ำมามากกว่าปกติ
      อย่างไรก็ตาม เท่าที่ได้ศึกษาด้านโหราศาสตร์ในปี ๒๕๕๔ นี้เป็นเพียงแค่การทดสอบ ความเสียหายที่ปรากฏยังถือว่าไม่มาก เมื่อเปรียบกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปี ๒๕๕๕ ซึ่งจะหนักว่าปีนี้ทุกด้าน ไม่เฉพาะเรื่องธรรมชาติเพียงอย่างเดียว เรื่องเหตุบ้านการเมืองก็สาหัสไม่แพ้ พ.ศ.๒๕๕๔ โดยเฉพาะในช่วงรอยต่อระหว่าง พ.ศ.๒๕๕๔ กับ พ.ศ.๒๕๕๕ ก็ต้องระวังในเรื่องความแตกแยกทางความคิด
      "ตั้งแต่ต้นปี ๒๕๕๕ จะมีปัญหาหลายอย่างเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคมความวุ่นวายของประเทศชาติจะไม่ธรรมดา หนักและร้ายแรงยิ่งกว่าเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กลางปีนองเลือด พอปลายปีน้ำก็นอง และจะอยู่ต่อเนื่องไปอีก ๒ ปี คือ พ.ศ. ๒๕๕๖ และ พ.ศ.๒๕๕๗ เมื่อขึ้น พ.ศ.๒๕๕๘ บ้านเมืองจะสงบสุข เศรษฐกิจจะรุ่งเรือง" เจ้าคุณพรหมกล่าว
      เมื่อถามถึง "รัฐบาลนี้จะอยู่ครบวาระหรือไม่?" เจ้าคุณพรหมตอบว่า "ถ้าดวงอย่างนี้แล้วบวกกับขาดความสามัคคี ไม่ประสานประโยชน์ต่อกันให้ดี ต่างคนต่างจะเอาประโยชน์ใส่ตัว ไม่ตกลงกันให้ดี ถ้าจะเกิดอะไรขึ้นก็เกิดขึ้นง่าย อุบัติเหตุทางการเมืองเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะเรารักชาติ รักศาสนา รวมทั้งรักสถาบันพระมหากษัตริย์แต่ปาก ไม่ได้รักเพราะจิตสำนึกของความเป็นคนไทย”
ยุติทุกปัญหาด้วยธรรม
      "ความแม่นยำเป็นสิ่งที่หมอดูปรารถนามากที่สุด แต่คราวนี้อาตมาได้แต่สวดมนต์ภาวนาขออย่าให้เป็นตามที่ดูไว้เลย” นี้เป็นคำยืนยันของเจ้าคุณพรหม พร้อมกันนี้เจ้าคุณพรหมแนะนำว่า เมื่อเรารู้ว่าในอนาคตอาจจะเกิดอะไรขึ้น เราสามารถป้องกันสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ สามารถผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ และทุกอย่างที่พยากรณ์ไว้จะไม่เกิดขึ้นเลย หากเราตั้งตัวอยู่บนความไม่ประมาท เอาหลักของพระพุทธเจ้ามาใช้ มีหลักปฏิบัติเพื่อป้องกัน คือ ทาน ศีล และภาวนา
      ทาน แปลว่า การให้, การแบ่งปัน, การเสียสละ, การเอื้อเฟื้อ หมายถึง การให้ทานด้วยจิตใจที่ดีงาม การคลายความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ความโลภในจิตใจมนุษย์ ส่งผลให้เกิดความใส สว่าง สะอาดของจิตใจขึ้นมา
      ศีล เป็นข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา คือทำให้กาย วาจา ใจ สงบ ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจา ให้ตั้งอยู่ในความดีงาม มีความปกติสุข เพื่อประโยชน์ขั้นพื้นฐาน คือความสุขและไม่มีการเบียดเบียนกันในสังคม
      ภาวนา แปลว่า การเจริญ การอบรม การทำให้มีให้เป็นขึ้น หมายถึง การทำจิตใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้น ด้วยการฝึกฝนอบรมจิตไปตามแบบที่ท่านกำหนดไว้ ซึ่งเรียกชื่อไปต่างๆ เช่น การบำเพ็ญกรรมฐาน การทำสมาธิ การเจริญภาวนา การเจริญจิตภาวนา
      "ความไม่สงบ ไม่ว่าจะที่หนใดในโลกมีอยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราลดความเห็นแก่ตัวลงมา มีความพอเพียง ไม่ให้แก่ตัวเกินไป นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมของบ้านเมือง ยึดพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมานฉันท์ ประนีประนอม ปัญหาย่อมไม่เกิดขึ้น
      เรามีปัญญาชนจำนวนมาก แต่เป็นมิจฉาปัญญา ปัญญาดิบที่ขาดสติ ทุกวันนี้สถาบันการศึกษามุ่งเน้นแต่จะสอนวิชาชีพโดยละทิ้งวิชาชีวิต" เจ้าคุณพรหมกล่าวทิ้งท้าย. [/size]

http://www.thaipost.net/news/021211/49053
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4610 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2554, 19:39:44 »

ยอดตาย 657 คน เป็นชาวอยุธยาตาย 139 คน ตามด้วย นครสวรรค์ 72 คน ยังสูญหายอีก 3 คน

สื่อนอกตีข่าวน้ำท่วมไทย สังเวยอย่างน้อย 657 ศพ อยุธยาตายเยอะสุด
 

สื่อต่างประเทศรายงานยอดผ฿้เสียชีวิตจากเหตุอุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุด ในรอบมากกว่าครึ่งศตวรรษของไทย ได้เพิ่มจำนวนเป็นอย่างน้อย 657 รายแล้ว โดยพบข้อมูลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมืองหลวงเก่าของไทย ถือเป็นจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด ขณะที่ "เดวิส แม็คดอลี่ย์" ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ประจำธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ระบุ ถึงเวลาแล้วที่ประเทศในเอเชีย จะต้องเตรียมแผนรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในระยะยาว แทนการคอยแก้ปัญหาแบบปีต่อปี.......

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ว่า ยอดผ฿้เสียชีวิตจากเหตุอุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบมากกว่าครึ่งศตวรรษของไทย ได้เพิ่มจำนวนเป็นอย่างน้อย 657 รายแล้ว โดบพบข้อมูลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมืองหลวงเก่าของไทย ถือเป็นจัังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด

รายงานข่าวของสื่ิต่างประเทศหลายสำนักระบุว่า จำนวนผู้เสียชีวติจากภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่กินระยะเวลานานกว่า 4 เดือนและสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ 64 จาก 77 จังหวัดในประเทสไทย ได้เพิ่มเป็นอย่างน้อย 657 รายแล้ว และยังมีผู้สูญหายอีกอย่างน้อย 3 ราย โดยในจำนวนนี้เป็นผู้เสียชีวิตในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มากที่สุดถึง 139 คน รองลงมาคือ จังหวัดนครสวรรค์ ที่มีผู้เสียชีวิต 72 คน

ขณะที่ "เดวิส แม็คดอลี่ย์" ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ประจำธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ออกมาระบุว่า เหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทสไทยถือเป็นการส่งสัญญานเตือนทั้งรัฐบาลไทยและรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคให้หันมาตระหนักถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและภัยธรรมชาติให้มากยิ่งขึ้น และถึงเวลาแล้วที่ประเทศในเอเชีย จะต้องเตรียมแผนรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในระยะยาว แทนการคอยแก้ปัญหาแบบปีต่อปี.....


ชมภาพเพิ่มเติมที่......
http://www.thairath.co.th/content/oversea/220821
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4611 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2554, 21:48:49 »

อำเภอบางกรวยหลายพื้นที่เริ่มแห้งแล้ว
วันศุกร์ที่ 02 ธันวาคม 2011 เวลา 18:06 น. สุวิภา บุษยบัณฑูร ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ

นายวิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี กล่าวว่าจากการที่กรมชลประทานได้เข้ามาติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดต่าง ๆ เพื่อระบายน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาจังหวัดนนทบุรีนั้น ขณะนี้พื้นที่อำเภอบางกรวย หลายพื้นที่เข้าสู่ภาวะน้ำแห้งแล้ว เช่น ถนนเทิดพระเกียรติ ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ,หมู่บ้านนารารมย์ หมู่บ้านธนากรวิลล่า 4 หมู่บ้านธนากร 2 วัดชะลอ หน้าเทศบาลเมืองบางกรวย และบริเวณปากซอยประมวลสุข ส่วนพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขังเช่นที่หมู่บ้านประมวลสุข2 สูง 30 ซม. ที่บริเวณวัดพิกุลสูง 5 ซม. สำหรับพื้นที่ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตั้งแต่แยกถนนกาญจนาภิเษก – เทศบางเมืองบางบัวทอง น้ำแห้งแล้ว คงเหลือเฉพาะบริเวณหน้าเทศบาล ที่ยังคงมีน้ำท่วมขังอยู่ประมาณ 30 ซม. ส่วนบริเวณตลาดบางบัวทอง ระดับน้ำลดลงเหลือ 30 ซม.
ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี กล่าวต่อไปว่า ในภาพรวมของจังหวัดนนทบุรีขณะนี้น้ำลดลงแล้วประมาณ 50 ซม. – 1 เมตร แต่ละวันระดับน้ำลดลงในพื้นที่ต่าง ๆ ประมาณ 50-70  ซม.คาดว่าประมาณกลางเดือนธันวาคมนี้จะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=95914:2011-12-02-11-16-55&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4612 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2554, 21:52:56 »

666 รายที่เสียชีวิต ซึ่งยอดนี้รวมภาคใต้แล้ว 9 ราย

ศปภ.สรุปน้ำท่วม 21 จว. ยอดตายพุ่ง 666 ราย
วันศุกร์ที่ 02 ธันวาคม 2011 เวลา 19:41 น. สุวิภา บุษยบัณฑูร ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ   
 
ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) รายงานสถานการณ์อุทกภัย และประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ใน 2 พื้นที่ รวม 21 จังหวัด โดยประเทศไทยตอนบนปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 15 จังหวัด 102 อำเภอ 751 ตำบล 4,678 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,781,806 ครัวเรือน 4,783,961 ราย มีผู้เสียชีวิต 657 ราย สูญหาย 3 ราย

ในส่วนของภาคใต้ ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 6 จังหวัด 43 อำเภอ 239 ตำบล 1,460 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 101,170 ครัวเรือน 337,116 ราย ได้แก่ จ.พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา และ ปัตตานี มีผู้เสียชีวิต 9 ราย


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=95928:-21---666-&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4613 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2554, 23:25:48 »

ปัญหาของนายจ้างคนไทย ที่ต้องจ่ายเป็นค่านำแรงงานต่างด้าวกลับจากชายแดน เพื่อใช้งานต่อ หลังน้ำลด

ทหารสกัดแรงงานเถื่อนทะลักเข้ากรุง
ข่าวภูมิภาค2 ธันวาคม 2554 - 00:00

    จากการที่เกิดอุทกภัยน้ำท่วมในกรุงเทพฯ และปริมณฑล บรรดาแรงงานพม่าได้กลับภูมิลำเนาจำนวนมาก แต่พอระดับน้ำเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ แรงงานพม่าเหล่านั้นจึงพยายามหลบหนีเข้าเมืองมาอีก พ.อ.นพดล วัชรจิตบวร ผบ.ฉก.ทหารพราน จึงส่งให้กำลังทหารพรานตรวจเข้มตลอดแนวชายแดนไทย-พม่า ด้าน อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ จ.เมียวดีของพม่า
    โดย พ.ท.สุพร เรือศรีจันทร์ รอง ผบ.ฉก. ได้ตั้งด่านที่ทางแยกเข้าบ้านห้วยแม่ปะ ต.แม่ปะ อ.แม่สอด ซึ่งมีถนนเลียบชายแดนบ้านวังตะเคียน-บ้านวังแก้ว พบรถเก๋งโตโยต้า วีออส สีบรอนซ์ ทะเบียน กท 3353 พิษณุโลก ผ่านมา โดยมีตำรวจยศ จ.ส.ต. สังกัดงานสืบสวน กองกำกับการตำรวจภูธร จ.ตาก เป็นผู้ขับนำหน้าคอยเคลียร์เจ้าหน้าที่ และมีรถปิกอัพโตโยต้า วีโก้ สีบรอนซ์ ตามมาอีก 3 คัน
    จากการตรวจในรถโดยละเอียด พบรถปิกอัพทั้ง 3 คันมีการดัดแปลงเจาะพื้นให้ต่ำลงไปแล้วมีพลาสติกปิดไว้ เมื่อเปิดออกดูก็พบแรงงานพม่าซุกซ่อนอยู่ทั้งหมด 21 คน เป็นหญิง 17 คน ชาย 4 คน จึงจับกุมนายจำรัส เสนแก้ว นายวิบูลย์ โพธิมงคล นางสุภาพร กันปี้ และ จ.ส.ต.สราวุธ จินดา คนขับรถทั้ง 4 คันไว้สอบสวน ซึ่ง น.ส.มะแด หนึ่งในแรงงานที่ถูกจับกุม รับว่า เสียค่าใช้จ่ายคนละ 14,000 บาท เพื่อพาหลบหนีเข้ากรุงเทพฯ มาหางานทำ ขณะที่นายจำรัส คนขับรถ รับว่า ลักลอบขนมาหลายครั้งแล้ว โดยใช้เส้นทางแม่ระมาด-บ้านตาก ครั้งนี้นึกไม่ถึงว่าทหารจะมาตั้งด่านจึงถูกจับได้.


http://www.thaipost.net/x-cite/021211/49028
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4614 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2554, 23:29:42 »

จัดการบ้าน หลังน้ำลด ระบบสุขาภิบาล
เรื่องปก1 ธันวาคม 2554 - 00:00

    รางระบายน้ำรอบบ้าน
    ให้เริ่มจากทำความสะอาดระบบระบายน้ำภายนอกก่อน โดยไล่จากจุดต่อระหว่างท่อระบายน้ำทิ้งของบ้านที่ต่อกับท่อน้ำทิ้งภายนอก ให้โกยสิ่งสกปรกต่างๆ ออกเพื่อให้น้ำไหลได้ จากนั้นให้เปิดฝาท่อระบายน้ำบริเวณบ้านทุกจุดที่มี  แล้วตัดดินโคลนและเศษขยะออกให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยใส่ในถุงขยะนำไปทิ้งต่อไป อย่าพยายามดันขยะออกทางน้ำสาธารณะ เพราะจะทำให้ท่อระบายน้ำสาธารณะตันและทำให้น้ำไม่มีทางระบาย ก่อปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมและเพื่อนบ้าน
    ถ้าท่อระบายน้ำบริเวณบ้านตัน ให้ใช้ไม่ไผ่ยาวๆ ทะลวงท่อ ไม่แนะนำให้ใช้น้ำฉีด เพราะเปลืองน้ำและมักไม่ค่อยได้ผล เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้วให้ตรวจดูว่าน้ำไหลได้ดีหรือไม่

ระบบสุขาภิบาล
    ส้วม
    ให้ตรวจสอบว่าท่อส้วมตันหรือไม่ โดยกดน้ำที่โถส้วมหลายๆ ครั้ง ถ้ากดน้ำไม่ลงให้ใช้ที่ปั๊มส้วมลองกดอีกหลายๆ ครั้ง ถ้าน้ำยังไม่ไหลลงไปอีกให้ลองใช้ที่ฉีดน้ำแรงดันสูงดันสิ่งสกปรกออก แต่ถ้ายังไม่ไหลอีกคงต้องให้ช่างมาช่วยทะลวงท่อด้วยงูเหล็กต่อไป
    ถ้าระบบท่อส้วมมีสิ่งสกปรกอุดตันมากให้ลองเปิดถังบำบัดดูว่าสภาพภายในมีขยะหรือสิ่งของที่มาตามน้ำท่วมเข้าไปในบ่อมากน้อยเพียงใด ถ้าพบว่ามีมากแนะนำให้ท่านสูบน้ำและสิ่งปฏิกูลที่อยู่ในบ่อส้วมออกให้หมดเพื่อระบบบำบัดน้ำเสียทำงานได้อย่างสมบูรณ์อีกครั้ง ถ้าเป็นระบบบ่อซึมควรดูดน้ำในบ่อซึมออกทั้งหมดเพื่อให้ระบบทำงานได้อีกครั้ง
    ท่อระบายน้ำในบ้าน
    ดำเนินการเหมือนระบบท่อส้วม โดยเริ่มจากเปิดฝาปิดช่องระบายน้ำที่พื้นออกก่อน แล้วลองลาดน้ำลงไปตามจุดระบายน้ำทุกจุดดูว่าน้ำไหลหรือไม่ ถ้าน้ำไม่ไหลใช้ที่ปั๊ม ถ้าไม่ไหลอีก คงต้องตามช่างมาแก้ไขต่อไป
    ระบบประปา
    เริ่มต้นจากสูบหรือระบายน้ำในถังเก็บน้ำใช้ออกให้หมดอย่าเสียดายน้ำ  ล้างบ่อน้ำใช้หรือถังน้ำใช้ให้สะอาด แล้วรองน้ำใหม่ลงในถังเพื่อให้พร้อมใช้งาน  จากนั้นเปิดจุดน้ำประปาทุกจุดเพื่อให้ระบายน้ำออกจากท่อให้หมดเพื่อให้ท่อสะอาด   
    ประตูหน้าต่าง
    ปัญหาที่เจอบ่อยคือ บานประตูและหน้าต่างตกและบวม เนื่องจากแช่น้ำเป็นเวลานาน ให้รอจนกว่าความชื้นระเหยออกให้หมด ถ้าอาการยังไม่หายคงต้องเปลี่ยนประตูหน้าต่างที่ชำรุดเหล่านั้น
    อุปกรณ์ของประตูหน้าต่าง เช่น บานพับ ลูกบิด กุญแจที่ทำด้วยโลหะให้เช็ดให้แห้งสนิท จากนั้นพ่นด้วยสเปรย์ไล่ความชื้น เพื่อหล่อลื่นและกำจัดสนิม  ให้ลองเสียบและไขกุญแจทุกดอกเพื่อให้อุปรณ์ต่างๆ เคลื่อนไหว เป็นการทำให้น้ำยาหล่อลื่นเข้าได้อย่างทั่วถึง ชิ้นส่วนใดเป็นสนิมให้ขัดออกและทาสีกันสนิมทับ
    ส่วนเหล็กดัดนั้นให้ดูว่าส่วนใดมีสนิมให้ขัดออกให้เรียบร้อย เช็ดให้แห้งแล้วทาสีกันสนิมทับ ส่วนประตูหน้าต่างไม้นั้นต้องดูว่าเมื่อแห้งแล้วบิดตัวมากเพียงใด ถ้าบิดตัวมากจนปิดเปิดไม่ได้อาจจะต้องเปลี่ยนประตูหน้าต่างใหม่
พื้น
    พื้นหินธรรมชาติ
    ถ้าเป็นพื้นหินธรรมชาติอาจจะมีปัญหามากที่สุด เพราะน้ำท่วมจะทำให้พื้นเป็นรอยคราบน้ำที่กำจัดไม่ได้ คงต้องปล่อยเลยตามเลย ถ้าท่านทำใจไม่ได้คงต้องรื้อหินแผ่นที่เสียหายแล้วปูหินแผ่นใหม่แทน แต่ก่อนปูต้องแน่ใจว่าพื้นคอนกรีตด้านล่างสนิทแล้วจริงๆ ก่อนเสมอ
    พื้นไม้ปาเก้ พื้นไม้จริง
    สำหรับพื้นไม้ปาเก้ที่หลุดออกให้นำไปผึ่งลมอย่าตากแดด เมื่อไม้แห้งแล้วจึงนำมาประกอบกลับด้วยกาวปูไม้อีกครั้ง ส่วนไม้ปาเก้ที่ติดอยู่ แต่มีอาการปูดบวม ให้เลาะไม้นั้นๆ ออกให้หมด โดยเฉพาะเศษกาวของเดิมโดยต้องขูดจนถึงเนื้อพื้นปูน ถ้าจะปูไม้กลับเข้าไปใหม่ต้องรอให้พื้นแห้งสนิทจริงๆ ก่อน ซึ่งน่าจะกินเวลามากกว่า 1 เดือนเลยทีเดียว
    สำหรับพื้นไม้จริง ตรวจสอบว่าไม้แผ่นใดโก่งงอให้ถอดไม้นั้นออกเพื่อเปิดโอกาสให้พื้นนั้นมีช่องระบายความชื้นออกได้ง่ายขึ้น เมื่อพื้นข้างใต้นั้นแห้งสนิทแล้วจึงติดตั้งพื้นไม้ใหม่ใกล้เข้าไปแทนพื้นไม้ที่เสียหายนั้น ก่อนที่จะทากาวด้วยน้ำยาย้อมไม้หรือน้ำยาเคลือบไม้ตามแบบเดิมให้ขัดผิวไม้นั้นออกให้หมดก่อน  เพื่อให้สีของไม้สม่ำเสมอหลังจากทำผิวไม้แล้ว
    พื้นไม้เทียม
    สำหรับพื้นที่ปูด้วยไม้เทียมที่ถูกน้ำท่วมนั้น โอกาสที่จะเสียหายจนซ่อมแซมไม่ได้นั้นมีมากกว่าวัสดุปูพื้นชนิดอื่นๆ เพราะตัวไม้ด้านหลังเป็นแผ่นไม้อัด  ซึ่งไม่ทนน้ำมักจะบวมเมื่อถูกความชื้น ให้ท่านรื้อแผ่นพื้นทั้งหมดออกไปก่อน  เพื่อให้ความชื้นที่พื้นคอนกรีตด้านล่างระเหยออกไปได้หมด จากนั้นจึงปูพื้นลงไปใหม่ แต่ถ้าแผ่นพื้นเดิมเสียหายอาจจะต้องสั่งแผ่นพื้นใหม่มาทดแทนของเดิม  หรือเปลี่ยนเป็นวัสดุปูพื้นชนิดอื่นๆ แทน   
    พื้นกระเบื้อง
    พื้นกระเบื้องเซรามิกที่แช่น้ำนานๆ ถ้าเป็นเซรามิกที่มีคุณภาพดีมักไม่ค่อยพบปัญหามากนัก แต่ปัญหาส่วนใหญ่นั้นจะเกิดที่ร่องยาแนวกระเบื้องทั้งบริเวณพื้นและผนังที่สกปรก เนื่องจากเศษดินโคลนที่มากับน้ำท่วม แนวทางการแก้ปัญหาด้วยตนเองในเบื้องต้นคือ
    ควรทำความสะอาดทันทีหลังน้ำลด ถ้าปล่อยให้พื้นแห้งจะทำความสะอาดยาก ให้เริ่มจากกวาดขยะและทำความสะอาดด้วยไม้กวาดทางมะพร้าวและขัดด้วยแปรง จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วตรวจสอบบริเวณยาแนวที่มีคราบสกปรกฝังแน่น รวมทั้งความเสียหายของกระเบื้องและยาแนวที่หลุดล่อน
    การจัดการคราบสกปรกที่ยาแนวกระเบื้องให้ลาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ บริเวณคราบดำ โดยแบ่งการทำความสะอาดเป็นห้องๆ ควรสวมถุงมือยางและใส่หน้ากากหรือผ้าปิดจมูกเพื่อป้องกันการสัมผัสและสูดดมน้ำยาทำความสะอาดโดยตรงและระวังน้ำยากระเด็นเข้าตาหรือปาก
    ทิ้งให้น้ำยาทำปฏิกิริยากับคราบสกปรกประมาณ 5 นาที จากนั้นใช้แปรงพลาสติกขัดทำความสะอาดที่บริเวณนั้น โดยให้ออกแรงกดตอนขัดเพื่อให้คราบสกปรกหลุดออก ลาดด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ใช้พัดลมเป่าบริเวณทำความสะอาดให้แห้ง ถ้าคราบสกปรกไม่ออกจะต้องขูดยาแนวนั้นทิ้งและลงยาแนวใหม่
    การซ่อมยาแนวที่มีคราบดำหรือหลุดล่อน ให้ขูดร่องยาแนวเก่าด้วยเหล็กขูดร่องยาแนวหรือไขควง ล้างทำความสะอาดยาแนวเดิมให้สะอาดแล้วเช็ดด้วยผ้าแห้ง ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง ผสมปูนยาแนวโดยดูจากคำแนะนำของผู้ผลิตที่แสดงไว้ที่หีบห่อ ผสมปูนยาแนวสำเร็จรูปในแก้วหรือถ้วยพลาสติกที่ใช้แล้ว โดยทำตามคำแนะนำของผู้ผลิตที่แสดงอยู่ข้างถุง
    ยาแนวด้วยนิ้วโดยกดให้ปูนยาแนวเต็มร่อง จากนั้นใช้นิ้วปาดยาแนวให้เรียบ เช็ดทำความสะอาดด้วยฟองน้ำทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง ใช้ฟองน้ำชุบน้ำให้หมาดๆ แล้วเช็ดร่องยาแนวให้เรียบ ทำความสะอาดคราบปูนยาแนวที่เลอะบริเวณผิวกระเบื้องด้วยผ้าแห้งเช็ดอีกครั้ง ต้องทิ้งไว้ 12 ชั่วโมงก่อนใช้งานพื้นที่นั้น
    การซ่อมกระเบื้องแตกร้าวและหลุดล่อน ให้รื้อกระเบื้องที่แตกหรือร้าวออก จากนั้นสกัดพื้นผิวซีเมนต์ที่เรารื้อกระเบื้องนั้นออก สกัดปูนออกให้เท่ากับความหนาของกระเบื้องรวมกับความหนาของกาวซีเมนต์ ซึ่งจะหนาประมาณ 1.5 เซนติเมตร และทำความสะอาดเศษซีเมนต์ออกให้หมด
    ผสมกาวซีเมนต์สำเร็จรูปที่ใช้ปูกระเบื้องโดยเฉพาะ ใช้เกรียงตักกาวซีเมนต์ทาลงบริเวณผิวซีเมนต์ที่สกัดไว้ นำกระเบื้องที่ลวดลายและสีเดียวกันหรือใกล้เคียงกับกระเบื้องที่เสียหายมาติดบนกาวซีเมนต์ เคาะให้แน่นด้วยด้ามเกรียงจนระดับกระเบื้องเรียบเท่ากันกับกระเบื้องเดิม โดยต้องจัดให้ร่องยาแนวกระเบื้องเท่ากันทุกด้าน อาจใช้เศษกระดาษแข็งคั่นเป็นแนวไว้
    ปาดกาวซีเมนต์ที่ล้นจากร่องยาแนวโดยใช้เกรียงไม้หรือไม้ชิ้นเล็กๆ ทิ้งให้ปูนแห้ง 12 ชั่วโมงก่อนใช้งาน จากนั้นทำการยาแนวกระเบื้องตามวิธีที่แสดงไว้ก่อนหน้านี้
    การซ่อมแซมกระเบื้องและร่องยาแนวให้ระวังขอบกระเบื้องบาดมือ เมื่อใช้ปูนกาวซีเมนต์และปูนยาแนวเสร็จให้ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง อย่าปล่อยทิ้งไว้  ส่วนน้ำยาทำความสะอาดถ้าถูกผิวหนังอาจเกิดการระคายเคือง ต้องล้างออกทุกครั้งที่สัมผัสโดยตรง
    พื้นพรม
    พื้นพรมต้องลอกออกให้หมดเพื่อส่งไปซัก ตากแดดให้แห้ง ก่อนนำกลับมาปูใหม่ โดยต้องตรวจสอบว่าพื้นคอนกรีตแห้งสนิทก่อน
    แต้ถ้าพื้นที่ปูพรมจมอยู่ใต้น้ำท่วมเป็นน้ำเสีย แนะนำว่าควรทิ้งไปไม่ควรเสียดาย เพราะพรมที่ชื้นนั้นเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี น่าจะถือโอกาสนี้เปลี่ยนวัสดุปูพื้นเป็นอย่างอื่นๆ เช่น กระเบื้องเคลือบหรือวัสดุที่ทนความชื้นได้ดี จะส่งผลดีกับท่านในระยะยาว
ผนัง
    ผนังก่ออิฐ
    ผนังอาคารส่วนที่เป็นผนังก่ออิฐหรือคอนกรีตบล็อกฉาบปูนทาสีแนะนำว่าให้ทำความสะอาด ขัดด้วยแปรงพลาสติก ไม่ใช้แปรงลวด แล้วทิ้งไว้โดยยังไม่ต้องทาสี เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1-2 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าผนังนั้นแห้งสนิทจริงๆ การทาสีก่อนเวลาความชื้นในผนังไม่สามารถระเหยออก ทำให้ความชื้นค้างอยู่ภายในและจะก่อปัญหาได้มากในภายหลัง
    ผนังเบา
    ผนังเบาพวกยิปซั่มบอร์ด ให้กรีดส่วนที่แช่น้ำและบวมน้ำออกให้หมด ซ่อมแซมด้วยแผ่นยิปซั่มบอร์ดแผ่นใหม่ แต่ก่อนซ่อมต้องแน่ใจว่าโครงภายในแห้งสนิทดีแล้ว สำหรับผนังเบาอื่นๆ เช่น แผ่นซีเมนต์บอร์ด หรือกระเบื้องแผ่นเรียบ ควรเจาะรูให้น้ำที่ขังอยู่ภายในไหลออกจากช่องด้านในให้หมด ถ้าสามารถเปิดผนังออกเพื่อให้โครงภายในระบายน้ำออกได้จะทำให้โครงภายในผนังแห้งเร็วยิ่งขึ้น
    วอลเปเปอร์
    สำหรับผนังบุวอลเปเปอร์นั้นคงต้องลอกส่วนที่โดนน้ำท่วมออก เพื่อให้ความชื้นในผนังระเหยออกได้สะดวก เมื่อแห้งแล้วจึงนำวอลเปเปอร์แผ่นใหม่มาปิดทับให้สวยงามต่อไป ถ้าผนังโดนความชื้นมากๆ ต้องลอกวอลเปเปอร์ออกให้หมดเพื่อให้ผนังที่ชื้นสามารถระเหยออกได้ดี โดยต้องรอให้ผนังแห้งจริงๆ อย่างน้อย 1 อาทิตย์ แล้วจึงจะปิดวอลเปเปอร์ใหม่ลงไป
    ผ้าม่าน
    สำหรับผ้าม่านต้องส่งซักทำความสะอาดให้เรียบร้อย แต่ผ้าม่านส่วนใหญ่หลังจากซักแล้วมักจะไม่ได้รูปทรงของเดิม ท่านต้องตัดสินใจว่าจะส่งซักหรือซื้อใหม่ อย่างไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน
    ฝ้าเพดาน
    ฝ้าเพดานที่ถูกน้ำท่วมถึง ถ้าเป็นฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ดต้องรื้อส่วนที่ชื้นออกทั้งหมดแล้วทำใหม่ เพราะซ่อมแซมไม่ได้ แต่ถ้าเป็นฝ้าเพดานท้องพื้นคอนกรีต ให้ทำความสะอาดและปล่อยให้แห้งจึงค่อยทาสีในภายหลังต่อไป
    ส่วนฝ้าแผ่นโลหะและโครงโลหะให้เช็ดทำความสะอาดให้แห้ง ขัดสนิมออกด้วยกระดาษทรายแล้วจึงทาสีทับ
    สำหรับโครงฝ้าเพดานที่เป็นไม้ ต้องตรวจสอบว่าน้ำทำให้โครงแอ่นหรือไม่ ต้องปรับระดับแก้ไขก่อนจึงจะติดตั้งแผ่นฝ้าแผ่นใหม่.


http://www.thaipost.net/x-cite/011211/48972
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4615 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2554, 23:32:33 »

เครื่องใช้ไฟฟ้า
เรื่องปก 2 ธันวาคม 2554 - 00:00

    เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่จมน้ำหรืออยู่ใกล้น้ำท่วมที่ความชื้นอาจจะซึมเข้าไปในอุปกรณ์ต่างๆ ต้องตรวจสอบก่อนนำไปใช้งาน เพราะอาจเกิดอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร การทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายนอกตัวเครื่องนั้นทำได้เอง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องเสียง วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ แต่ถ้าเป็นระบบภายในจำเป็นต้องใช้ช่างมาตรวจเช็กดูข้างในก่อนใช้งาน มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้
    แนวทางการตรวจสอบอาการเบื้องต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มีดังนี้
    มอเตอร์
    มอเตอร์เป็นชิ้นส่วนที่มีในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทุกชนิด โดยทำหน้าที่ปั่นหรือหมุนกลไกของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องซักผ้า พัดลม เครื่องปรับอากาศ และอื่นๆ มอเตอร์นั้นจะเสียหายได้ง่ายมากเมื่อถูกน้ำ เพราะว่ากลไกซับซ้อนทำให้เสียและเป็นอันตรายกับผู้ใช้งาน ไม่ควรเอาน้ำฉีดทำความสะอาดแล้วนำไปใช้ใหม่ เพราะน้ำจะไปทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ภายในมีความเสียหายมากยิ่งขึ้น
    แนะนำให้ส่งช่างเพื่อซ่อมแซม ถ้ามอเตอร์ยังไม่เสียหาย ช่างจะถอดรื้อชิ้นส่วนมอเตอร์ออกมาทำความสะอาด อบให้แห้ง เปลี่ยนลูกปืน ใส่น้ำมันหล่อลื่น แล้วประกอบกลับมาใช้ใหม่
    แผงวงจร
    เครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันมักมีแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ทั้งในมือถือ วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เหล่านี้จะมีซับซ้อน เมื่อถูกน้ำท่วมจะแห้งช้า ถ้าใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ทั้งๆ ที่ชื้นจะทำให้เกิดการลัดวงจรของกระแสไฟฟ้าได้ ดังนั้นถ้าน้ำโดนแผงวงจรไปแล้วลองให้ช่างตรวจสอบก่อนการใช้งานจะดีกว่า
    ตู้เย็น
    ตู้เย็นมีคอมเพรสเซอร์ที่มีมอเตอร์และมีแผงวงจรอยู่ด้านในนั้น มักถูกติดตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของตู้เย็น ปกติตู้เย็นที่โดนน้ำท่วมมักจะคว่ำหน้าลงทำให้ชิ้นส่วนเหล่านี้ลอยพ้นน้ำ จึงมีโอกาสให้นำกลับมาใช้งานได้ แต่ถ้าตู้เย็นเก่าและมีรูรั่วแนะนำว่าอย่าเสี่ยงนำมาใช้งานอีก เพราะน้ำสกปรกจะซึมเข้าไปขังอยู่ตามซอกเหลือบภายในที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคจึงไม่เหมาะเป็นที่เก็บอาหาร
    ถ้าน้ำท่วมโดนคอมเพรสเซอร์ มอเตอร์ และแผงวงจร ให้ลองเอาน้ำฉีดล้างพอให้สกปรกไหลออก ตากลมให้แห้ง จากนั้นเช็ดด้วยผ้าแห้งจนไม่มีน้ำยาเปียกมือ ใช้ไดร์เป่าผมมาเป่าตามอุปกรณ์และท่อต่างๆ จนท่อโลหะอุ่นขึ้น ให้ทำต่ออีกหลายๆ รอบ จากนั้นทิ้งไว้ให้เย็นและแห้ง อีกสักพักให้ลองเสียบปลั๊กไฟฟ้าทดสอบว่างานได้หรือไม่ นอกจากนั้นให้ตรวจสอบไฟฟ้ารั่วด้วยไขควงตรวจสอบไฟรั่ว ถ้าใช้งานได้ให้ทำความสะอาดในขั้นต่อไป แต่ไม่สามารถรับประกันว่าวิธีการนี้จะใช้ได้ผลในทุกกรณี ถ้าลองแล้วตู้เย็นยังไม่ทำงานต้องส่งช่างเพื่อซ่อมแซมต่อไป
    ก่อนทำความสะอาดให้ดึงปลั๊กไฟฟ้าออก เปิดประตูและหน้าต่าง แล้วเปิดประตูตู้เย็นและถอดชิ้นส่วนต่างๆ ออกให้หมด ห้ามนำตู้เย็นไปตากแดด การผึ่งให้แห้งนี้อาจต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะแห้งสนิท จากนั้นเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำยาล้างจานหมาดๆ ทั้งด้านในและด้านนอก เพื่อขจัดคราบต่างๆ ออกไป แต่อย่าพยายามล้วงเข้าไปในเครื่องด้านใน เพราะอาจทำให้อุปกรณ์เสียหาย
    จากนั้นเช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคแล้วเช็ดให้แห้ง ผึ่งลมอีกครั้ง โดยอาจจะใช้สารดูดความชื้นใส่ทิ้งไว้ก่อนใช้งานเพื่อไล่ความชื้นด้านใน และอาจใส่ถ่านเพื่อดูดกลิ่นที่หลงเหลืออยู่ก็ได้
    พัดลม
    ถ้าน้ำท่วมไม่ถึงมอเตอร์หรือแผงวงจรบริเวณปุ่มปิด-เปิดปรับความเร็วน่าจะไม่มีความเสียหายมาก ให้ตากหรือเป่าลมให้แห้งก่อนจะนำมาใช้งาน แต่ถ้าท่วมถึงมอเตอร์ให้ดำเนินการตามข้อแนะนำข้างต้น
    ส่วนพัดลมเพดานถ้าไม่เปียกน้ำ ก่อนใช้งานต้องให้แน่ใจว่าวงจรต่างๆ แห้งสนิทก่อนที่เปิดสวิตช์ไฟฟ้าใช้งาน ถ้าเช็ดแผ่นใบพัดทั้งหมดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนใช้จะช่วยให้ท่านรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น
    เครื่องปรับอากาศ
    เครื่องปรับอากาศทั้งตัวเครื่องแฟนคอยที่อยู่ภายในบ้านและเครื่องคอนเดนซึ่งที่อยู่นอกบ้าน ถ้าโดนน้ำท่วมแนะนำว่าให้ตามช่างระบบปรับอากาศเข้ามาซ่อมแซมและตรวจสอบ ไม่ควรซ่อมเอง เพราะอุปกรณ์ภายในซับซ้อนเกินกว่าคนทั่วไปจะเข้าใจวิธีการทำงาน ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่มีสามารถคาดคะเนหรือตรวจสอบความเสียหายโดยมองจากภายนอกได้
    นอกจากให้ช่างมาตรวจเช็กระบบเครื่องปรับอากาศภายในบ้านทั้งหมดแล้ว ควรทำความสะอาดท่อต่างๆ ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ และเปลี่ยนฉนวนกันความร้อนที่จมน้ำหรือเสียหาย เมื่อช่างแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เอาแผ่นพลาสติกห่อเครื่องไว้ก่อนจนกว่าจะทำความสะอาดบ้านแล้วเสร็จทั้งหมด ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศในระหว่างการทำความสะอาดบ้าน เพราะฝุ่น สิ่งสกปรก เชื้อโรคจะค้างอยู่ในเครื่องปรับอากาศ
    โทรทัศน์ เครื่องเล่นดีวีดี วิทยุ เครื่องเสียงต่างๆ
    เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ถ้าโดนน้ำท่วมมักเสียหายหนัก เนื่องจากเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ควรเสี่ยงเสียบปลั๊กไฟฟ้าเด็ดขาด ให้ส่งศูนย์ซ่อมเท่านั้น
    หมายเหตุ
    อุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนต่างๆ ถ้าพยายามซ่อมแซมด้วยตนเองแล้วยังใช้งานไม่ได้ แนะนำว่าส่งให้ช่างที่ชำนาญซ่อมแซมเท่านั้น เพื่อให้รู้สึกปลอดภัยและสบายใจถ้านำกลับมาใช้ใหม่
    เฟอร์นิเจอร์
    เฟอร์นิเจอร์ติดตายที่เรียกว่าบิลต์อินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตู้ หรือเคาน์เตอร์ ให้ตรวจสอบว่าโครงด้านในยังมีสภาพดีหรือไม่ ที่สำคัญคือเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้มักมีซอกมุมภายในที่มองไม่เห็นจากภายนอก ให้ลองใช้ด้ามไขควงเคาะตามฐานของตู้และเคาน์เตอร์ฟังว่ามีเสียงสะท้อนที่แสดงว่ามีน้ำอยู่ภายในหรือไม่ เราอาจจะต้องเจาะรูที่บริเวณใต้ฐานตู้หรือเคาน์เตอร์เหล่านี้เป็นระยะๆ เพื่อให้น้ำและความชื้นที่ขังอยู่ไหลหรือระเหยออก
    ตู้และเคาน์เตอร์ครัวบิลต์อินสำเร็จรูปจะสามารถถอดแผ่นที่บริเวณตู้หรือฐานเคาน์เตอร์ด้านล่างออกได้ เพราะส่วนใหญ่ยึดด้วยระบบตัวหนึบ ให้ท่านถอดแผ่นฐานเหล่านี้ออกเพื่อตรวจสอบและทำความสะอาดด้านใน รวมทั้งเพื่อให้น้ำและความชื้นที่อยู่ด้านในและด้านนอกไหลหรือระเหยออก จึงนำสิ่งของเครื่องใช้เข้าไปเก็บในตู้เหล่านั้น
    ส่วนเฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัวให้นำออกมาทำความสะอาดในที่โล่ง โดยทำความสะอาดแบบเดียวกันกับเฟอร์นิเจอร์บิลต์อิน โดยให้ตากและผึ่งลมให้แห้งสนิทก่อนนำกลับมาใช้งานต่อไป
    เฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัว เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง ที่ทำจากไม้ประดิษฐ์ เช่น ปาร์ติเคอร์บอร์ด หรือแผ่นเอ็มดีเอฟ ไม้เนื้ออ่อน ไม้วิเนียร์ ไม้อัด ไม่คุ้มค่าจะซ่อมเแซม เฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้จริง เช่น ไม้เนื้อแข็ง หรือไม้สัก พอจะซ่อมแซมได้ไม่ยากนัก โดยให้นำเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นออกมาตากลมและเช็ดทำความสะอาดที่ด้านนอกบ้าน เพื่อให้ความชื้นที่สะสมอยู่ออกโดยเร็ว
    ห้ามนำเฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้ไปตากแดด เพราะจะทำให้ไม้บิดงอ เมื่อไม้แห้งสนิทแล้วจึงลงสีหรือน้ำยาย้อมไม้ต่อไปตามรูปแบบเดิม เฟอร์นิเจอร์ไม้บางชิ้นอาจขึ้นเชื้อราในภายหลังต้องคอยดูแล โดยอาจจะต้องทำความสะอาดต่อไปอีกระยะหนึ่ง
    ส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากเหล็กหรือโลหะให้ตากลมจนกว่าจะแห้งสนิท แล้วขัดส่วนที่เป็นสนิมหรือสีที่เสียหาย แล้วจึงทาสีในบริเวณนั้นต่อไป
    แต่ถ้าเป็นเฟอร์นิเจอร์ประเภทหุ้มด้วยหนังหรือหุ้มด้วยผ้าที่บุฟองน้ำ หรือนุ่นด้านใน ให้ตรวจดูว่าโครงภายในยังมีสภาพที่ดีอยู่หรือไม่ ถ้าโครงต่างๆ ยังดีอยู่ให้นำไปหุ้มผ้าหรือหนัง และใส่ฟองน้ำหรือนุ่นใหม่ จึงนำกลับมาใช้ใหม่ได้
    ส่วนสิ่งของประเภทผ้ายัดนุ่นต่างๆ เช่น ที่นอน ฟูก หมอน หรือของเล่นเด็กยัดนุ่น ตุ๊กตายัดนุ่น ฯลฯ เมื่อแช่อยู่ในน้ำท่วมแล้ว แนะนำให้ทิ้งไปไม่คุ้มค่าความเสี่ยงในการนำกลับมาใช้งาน ควรตัดใจกำจัดไปอย่านำไปบริจาค เพราะท่านจะทำบาปมากกว่าทำบุญ
    ต้นไม้
    เพื่อให้สวนและต้นไม้ที่ถูกแช่น้ำเป็นเวลานานฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แนะนำให้ขุดหลุมขนาดประมาณ 1 คูณ 1 เมตร ลึกอย่างน้อยครึ่งเมตร ที่บริเวณที่ต่ำที่สุดของสวน แล้วสูบน้ำหรือตักน้ำออกจนกว่าจะหมด เพื่อให้ระดับน้ำใต้ดินลดลงให้เร็วที่สุด ทำให้ดินโดยรอบแห้งเร็วยิ่งขึ้น
    ต้นไม้ที่เอียงให้นำไม้มาค้ำเพื่อไม่ให้ต้นไม้ล้ม อย่าอัดดินบริเวณรอบต้นไม้ ต้องปล่อยให้น้ำระบายออกจากดินให้เร็วที่สุด ตัดแต่งต้นไม้ให้เล็กลงเท่าที่ทำได้ เพื่อให้ต้นไม้ฟื้นตัวให้เร็วขึ้น ลดภาระของรากในการรับน้ำหนักลำต้น
    ห้ามใช้ปุ๋ยต้นไม้ในช่วงนี้ รอจนกว่าต้นไม้นั้นจะฟื้นตัวได้จริง ถ้ารอจนแน่ใจว่าต้นไม้ฟื้นแล้วควรขุดต้นไม้นั้นทิ้งไป เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุต้นไม้ล้มในภายหลัง
    บทส่งท้าย
    ข้อมูลที่ได้นำเสนอไปแล้วนั้นคงจะเป็นประโยชน์กับท่านเจ้าของบ้านในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากอุทกภัย ทั้งนี้ เรื่องที่ท่านเจ้าของบ้านต้องพิจารณาต่อๆ ไปคือ เราจะทำอย่างไรที่จะเตรียมตัวและจะเตรียมบ้านของท่านเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้ถ้าจะต้องพบกับภัยพิบัติน้ำท่วมเช่นนี้ หรือรุนแรงยิ่งกว่านี้อีกในอนาคต.



http://www.thaipost.net/x-cite/021211/49020
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4616 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2554, 23:37:50 »

อุทหรณ์...........


วิสามัญบันเทิง
บันเทิงไทย   2 ธันวาคม 2554 - 00:00
ขยะทางอากาศ

    จงทำดี แต่อย่าเด่น จะเป็นภัย..เข้าใจว่าสุภาษิตไทยสำนวนนี้ คุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา คงจะท่องได้ จำได้ และก็ขยายความได้เป็นอย่างดี แต่ด้วยในหน้าที่ของ “คนสื่อ”กับบทบาทการนำเสนอข่าวอุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ ที่ต้องเกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ไปพร้อมๆ กับความเป็น “มนุษย์” ที่มีใจโอบอ้อมอารีช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก “ภาพ” ของคุณสรยุทธจึงดูจะโดดเด่น จนเป็นที่เขม่นของบางคนบางกลุ่ม ที่น้อยด้วย “จิตอาสา” แต่มากด้วย “จิตริษยา” อยู่ในตน
    ลำพังแค่บางคนบางกลุ่มยังพอทำเนา ที่ไม่จำเป็นที่คุณสรยุทธจะต้องไปถือสาหาความ แต่เวลานี้แอบได้ยินมาว่า ในสายตาผู้บริหารบ้านเมืองไม่ค่อยพอใจนักกับ “บทบาท” ของนักเล่าข่าวกับสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้
    และไม่เฉพาะแต่บุคคลอย่างคุณสรยุทธเท่านั้น องค์กรอย่างสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ก็ดูจะถูกเหมารวมในสายตานั้นด้วย..แต่นี่ก็แค่ได้ยินมา อาจเป็นแค่เสียงนินทาลมพัดลมเพก็ได้ ซึ่งก็ขอภาวนาให้เป็นเช่นนั้น อย่าเป็นจริงเป็นจังเลย
    รู้สึกเห็นใจและสงสารคนที่เขาทุ่มเททำงานหามรุ่งหามค่ำ บางครั้งก็เสียงแหบเสียงหาย ผมเชื่อช่อง 3 ก็ดี คุณสรยุทธก็ดี ไม่ได้คิดใหญ่ ที่จะทำงานในสถานการณ์น้ำท่วมให้เกินหน้าเกินตารัฐบาล หรือ “บลัฟรัฐบาล” อย่างที่ฝ่ายการเมืองกำลังเขม็งจ้อง
    เพียงแต่ความเป็นสื่อ และเป็นสื่อที่ไม่ได้นั่งรายงานข่าวอยู่ในห้องแอร์ หากแต่ได้ลงลุยในทุกพื้นที่ที่จมน้ำ ภาพของคุณสรยุทธจึงได้ออกจออยู่ทุกสายบ่ายเย็น และไม่ใช่แค่ไปพูดไปถ่ายภาพคนน้ำท่วมเท่านั้น
    ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ทุกข์จมอยู่กลางน้ำ ก็ดูเหมือนคุณสรยุทธจะช่วยปัดเป่าแก้ไขให้บรรเทาทุเลาลงได้ไปเสียทุกแห่ง จึงไม่แปลก และอย่าอิจฉาที่ชาวบ้านจะชะเง้อคอเพรียกหาแต่คุณสรยุทธ ที่เปรียบเสมือน “เทพเจ้า” ของพวกเขา
    เคยสักครั้งไหม? ตั้งแต่น้ำท่วมภาคใต้มาแล้ว ที่จะมีข่าว “สรยุทธอมของบริจาค” ..นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ชาวบ้านผู้ประสบภัยต่างเรียกหาความช่วยเหลือจากคุณสรยุทธ เพราะเขาวางใจ มั่นใจในความช่วยเหลือที่บริสุทธิ์
    การทำดี ก็เลยกลายเป็นเด่น แล้วที่สุดคุณสรยุทธก็กำลังจะมีภัย ตามสุภาษิตไทยนั่นแล..แต่ก็อย่าหวั่นวิตกอะไรไป เพราะ “คนดีผีย่อมคุ้ม” แม้จะมีใครบางคนบอกว่า “ไม่จริง ยุคสมัยนี้ผีไร้คุณธรรม ไม่ว่าดี-ชั่ว ถ้ามีเงินได้ผลประโยชน์ ผีก็พร้อมที่จะปกป้องคุ้มภัย” ก็เถอะ!
    และไหนๆ ก็พูดเรื่องผีแล้ว ก็ต่อท้ายด้วยเรื่องผีๆ อีกสัก 4-5 บรรทัด..บังเอิญไม่กี่วันก่อนเปิดโทรทัศน์ดาวเทียมช่องหนึ่ง เห็นผู้หญิงหน้าตาพอไปวัดไปวา ชื่อเสียงก็พอเป็นที่รู้จัก นั่งอ่านจดหมายสลับกับการโทรศัพท์ตอบปัญหา
    ยินเสียงคนทางบ้าน ถามถึงการช่วยเหลือตัวเอง ต้องทำอย่างไร..พิธีกรหน้าจอก็ได้อธิบายขั้นตอนวิธีการเสียอย่างละเอียดลออ ด้วยคำพูดตรงไปตรงมา ฟังแล้วนอกจากอึ้งทึ่งในความไร้ยางอายของเธอ ยังสงสัยว่าทีวีดาวเทียมปล่อยให้มีรายการผีๆ ยังงี้ได้ด้วยเหรอ?
    ก็อยากฝากถามไปถึง กสทช. ถ้าเผื่อจะได้จัดทัพกระบวนองค์กรเสร็จสรรพแล้ว ก็น่าจะลองส่องกล้องดู “ขยะทางอากาศ” สักหน่อยจะดีไหม?
                                                  สันต์ สะตอแมน

                                  Satorman_1@yahoo.co.th
   
http://www.thaipost.net/x-cite/021211/49041
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #4617 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2554, 07:56:04 »

ผมก็มั่นใจ ว่าความช่วยเหลือ ของคุณสรยุทธ เป็นความช่วยเหลือที่บริสุทธิ์...


อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 02 ธันวาคม 2554, 23:37:50
อุทหรณ์...........


วิสามัญบันเทิง
บันเทิงไทย   2 ธันวาคม 2554 - 00:00
ขยะทางอากาศ

    จงทำดี แต่อย่าเด่น จะเป็นภัย..เข้าใจว่าสุภาษิตไทยสำนวนนี้ คุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา คงจะท่องได้ จำได้ และก็ขยายความได้เป็นอย่างดี แต่ด้วยในหน้าที่ของ “คนสื่อ”กับบทบาทการนำเสนอข่าวอุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ ที่ต้องเกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ไปพร้อมๆ กับความเป็น “มนุษย์” ที่มีใจโอบอ้อมอารีช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก “ภาพ” ของคุณสรยุทธจึงดูจะโดดเด่น จนเป็นที่เขม่นของบางคนบางกลุ่ม ที่น้อยด้วย “จิตอาสา” แต่มากด้วย “จิตริษยา” อยู่ในตน
    ลำพังแค่บางคนบางกลุ่มยังพอทำเนา ที่ไม่จำเป็นที่คุณสรยุทธจะต้องไปถือสาหาความ แต่เวลานี้แอบได้ยินมาว่า ในสายตาผู้บริหารบ้านเมืองไม่ค่อยพอใจนักกับ “บทบาท” ของนักเล่าข่าวกับสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้
    และไม่เฉพาะแต่บุคคลอย่างคุณสรยุทธเท่านั้น องค์กรอย่างสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ก็ดูจะถูกเหมารวมในสายตานั้นด้วย..แต่นี่ก็แค่ได้ยินมา อาจเป็นแค่เสียงนินทาลมพัดลมเพก็ได้ ซึ่งก็ขอภาวนาให้เป็นเช่นนั้น อย่าเป็นจริงเป็นจังเลย
    รู้สึกเห็นใจและสงสารคนที่เขาทุ่มเททำงานหามรุ่งหามค่ำ บางครั้งก็เสียงแหบเสียงหาย ผมเชื่อช่อง 3 ก็ดี คุณสรยุทธก็ดี ไม่ได้คิดใหญ่ ที่จะทำงานในสถานการณ์น้ำท่วมให้เกินหน้าเกินตารัฐบาล หรือ “บลัฟรัฐบาล” อย่างที่ฝ่ายการเมืองกำลังเขม็งจ้อง
    เพียงแต่ความเป็นสื่อ และเป็นสื่อที่ไม่ได้นั่งรายงานข่าวอยู่ในห้องแอร์ หากแต่ได้ลงลุยในทุกพื้นที่ที่จมน้ำ ภาพของคุณสรยุทธจึงได้ออกจออยู่ทุกสายบ่ายเย็น และไม่ใช่แค่ไปพูดไปถ่ายภาพคนน้ำท่วมเท่านั้น
    ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ทุกข์จมอยู่กลางน้ำ ก็ดูเหมือนคุณสรยุทธจะช่วยปัดเป่าแก้ไขให้บรรเทาทุเลาลงได้ไปเสียทุกแห่ง จึงไม่แปลก และอย่าอิจฉาที่ชาวบ้านจะชะเง้อคอเพรียกหาแต่คุณสรยุทธ ที่เปรียบเสมือน “เทพเจ้า” ของพวกเขา
    เคยสักครั้งไหม? ตั้งแต่น้ำท่วมภาคใต้มาแล้ว ที่จะมีข่าว “สรยุทธอมของบริจาค” ..นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ชาวบ้านผู้ประสบภัยต่างเรียกหาความช่วยเหลือจากคุณสรยุทธ เพราะเขาวางใจ มั่นใจในความช่วยเหลือที่บริสุทธิ์
    การทำดี ก็เลยกลายเป็นเด่น แล้วที่สุดคุณสรยุทธก็กำลังจะมีภัย ตามสุภาษิตไทยนั่นแล..แต่ก็อย่าหวั่นวิตกอะไรไป เพราะ “คนดีผีย่อมคุ้ม” แม้จะมีใครบางคนบอกว่า “ไม่จริง ยุคสมัยนี้ผีไร้คุณธรรม ไม่ว่าดี-ชั่ว ถ้ามีเงินได้ผลประโยชน์ ผีก็พร้อมที่จะปกป้องคุ้มภัย” ก็เถอะ!
    และไหนๆ ก็พูดเรื่องผีแล้ว ก็ต่อท้ายด้วยเรื่องผีๆ อีกสัก 4-5 บรรทัด..บังเอิญไม่กี่วันก่อนเปิดโทรทัศน์ดาวเทียมช่องหนึ่ง เห็นผู้หญิงหน้าตาพอไปวัดไปวา ชื่อเสียงก็พอเป็นที่รู้จัก นั่งอ่านจดหมายสลับกับการโทรศัพท์ตอบปัญหา
    ยินเสียงคนทางบ้าน ถามถึงการช่วยเหลือตัวเอง ต้องทำอย่างไร..พิธีกรหน้าจอก็ได้อธิบายขั้นตอนวิธีการเสียอย่างละเอียดลออ ด้วยคำพูดตรงไปตรงมา ฟังแล้วนอกจากอึ้งทึ่งในความไร้ยางอายของเธอ ยังสงสัยว่าทีวีดาวเทียมปล่อยให้มีรายการผีๆ ยังงี้ได้ด้วยเหรอ?
    ก็อยากฝากถามไปถึง กสทช. ถ้าเผื่อจะได้จัดทัพกระบวนองค์กรเสร็จสรรพแล้ว ก็น่าจะลองส่องกล้องดู “ขยะทางอากาศ” สักหน่อยจะดีไหม?
                                                  สันต์ สะตอแมน

                                  Satorman_1@yahoo.co.th
    
http://www.thaipost.net/x-cite/021211/49041

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4618 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2554, 11:31:29 »

สวัสดี ดร.มนตรี

จากเดือนมีนาคม 54 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เราก็ไม่เคยได้ข่าว"สรยุทธ"ในมุมลบ
ช่วง นรม.อภิสิทธิ์ ก็โดนจับตามอง หาว่าแข่งบารมี
นรม.ปู ก็หาว่าเสนอข่าวประจาน เอาหน้ากับประชาชน
ทองแท้ ควรพิสูจน์ตัวเอง ว่า ทำได้ เอาอยู่ จริงๆ
ชาวบ้านก็มีศรัทธาขึ้นมาเอง
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4619 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2554, 11:37:39 »

และ ครม. ชุดนี้ เริ่มเดือนกันยายน ถึงวันนี้ได้ทำงานเพียง 3 เดือน
มีข่าวจะปรับ ครม.ชุดแรกแล้ว
1.รองนายกฯ และ รมต.มหาดไทย
2.รมต.การพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์
3.รมต.คมนาคม
4.รมต.เกษตร
5.รมต.ศึกษาธิการ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4620 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2554, 11:39:13 »

ส่วน รมต.ที่มีผลงานดีเด่น เข้าตา และน่าจะอยู่ยาว
1.รองนายกฯ คนที่ 3
2.รมต.ต่างประเทศ
3.รมต.เทคโนโลยี่และสารสนเทศ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4621 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2554, 12:08:32 »

ข่าวจาก ม้า-ศรัญญา และ ชำนาญ ไตรรัตน์เกยูร RCU & Rx 2516

เพื่อนเภสัชค่ะ
*วันนี้ได้รับน้ำใจความช่วยเหลือจากคณะและท่านคณบดีพิณทิพย์/เปิ้ล
อนุเคราะห์ให้ยาทาน้ำกัดเท้าและสเปรย์ตะไคร้หอมกันยุง รายการละ100ตลับและขวดสำหรับบริษัทเราที่นวนคร ซึ่งน้ำท่วม 2-3 เมตรมาเดือนกว่า ตอนนี้พนักงานเข้าไปเฝ้าและทำความสะอาดได้บ้าง คาดการณ์ว่าคงแห้งปลายสัปดาห์หน้า
จึงขอแชร์รูป&ส่งข่าวรุ่นให้เพื่อนๆค่ะ
*ส่วนที่องค์การเภสัชมี GPO Klean ที่ได้นำไปใช้บำบัดน้ำที่เน่าเหม็น ได้ผลดีค่ะ
ก็ได้ความช่วยเหลือจากเฮียง/นิภาพร เพื่อนเราด้วย
*เพื่อนอีกคนที่ต้องขอบคุณด้วยคือ นวลนิตย์ ที่มอบชูชีพที่ออกแบบตัดเย็บเองให้ตั้งแต่น้ำท่วมวันแรกเมื่อ17ต.ค. ซึ่งได้ใช้ทันการณ์ยามวิกฤติ
                Cheesy   บทพิสูจน์ความหมายของคำว่า "เพื่อน" ก็ในยามยากนั่นเอง  Cheesy
                         A friend in need is a friend indeed.
โชคดีมีสุขทุกท่านนะค่ะ
ม้า-ชำนาญ



ส่งอีเมล์เมื่อ 2 ธันวาคม 2554 0:43
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4622 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2554, 13:11:00 »

เมื่อเช้า ได้โทรศัพท์สอบถาม คุณถาวร เกี่ยวกับสถานการณ์ในบ้านพัก
พบว่า เสียหายมากกว่าที่คิด เนื่องจากน้ำไหลซึมเข้าไปในชั้นล่าง(ใต้ดิน) และท่วมพื้นชั้นหนึ่ง 75 ซ.ม.
น้ำที่ท่วมขังนานกว่า 1 เดือน ทำให้ฟอร์นิเจอร์เสียหาย มีเชื้อราขึ้น ส่งกลิ่นเหม็น
แต่อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้ายังใช้ได้ตามปกติ
แต่การเก็บ รื้อทิ้ง ยังคงต้องใช้เวลาอีกนาน รวมทั้งการทำความสะอาด
ส่วนชั้นสอง ไม่ได้รับผลกระทบ
ขณะนี้ยังต้องพักอยู่คอนโดฯ


ทราบว่า วันนี้ ทีมของน้องหมอตุ่น 25 จะไปทำความสะอาดที่บ้านพี่ชรินทร์ 2507 เพียงแห่งเดียวและพรุ่งนี้จะไปทำความสะอาดบ้านพี่จุก 2512 ย่านฝั่งธน-พุทธมณฑล
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4623 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2554, 16:46:03 »

น้ำท่วมทุ่ง ท่วมไร่-ท่วมนา ไม่นับเป็นน้ำท่วมตามภาษาราชการครับ...........

ปภ.สรุปอุทกภัยล่าสุด น้ำยังท่วม 16 จังหวัด เสียชีวิตแล้ว 666 ราย
3 ธันวาคม 2554 11:24 น.

 
        กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์อุทกภัยล่าสุด ยังมีน้ำท่วม ภาคกลางและใต้รวม 16 จังหวัด เสียชีวิตแล้ว 666 ราย ส่วนพื้นที่ประสบภัยหนาวมี 6 อำเภอ ในเชียงใหม่
       
        กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปสถานการณ์สาธารณภัยล่าสุด มีสถานการณ์อุทกภัยและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ใน 2 พื้นที่ คือ ประเทศไทยตอนบน 13 จังหวัด และภาคใต้อีก 3 จังหวัด รวมเป็น 16 จังหวัด และสถานการณ์ภัยหนาวและประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยหนาว) ที่อำเภออมก๋อย และสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
       
       สำหรับ สถานการณ์อุทกภัยในประเทศไทยตอนบน ยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 13 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ 91 อำเภอ 672 ตำบล 4,376 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,717,440 ครัวเรือน 4,616,900 คน ได้แก่ จังหวัดชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร นครนายก ฉะเชิงเทรา และกรุงเทพฯ โดยมีผู้เสียชีวิต 657 ราย สูญหาย 3 คน (จ.แม่ฮ่องสอน 2 ราย จ.อุตรดิตถ์ 1 ราย) นับตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค.54 จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “นกเตน" (NOCK-TEN) ร่องมรสุมกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงพาดผ่านประเทศไทย และน้ำล้นตลิ่งมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวมทั้งสิ้น 65 จังหวัด ทั้งนี้ มีจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างฟื้นฟู 52 จังหวัด
       
       ส่วนสถานการณ์อุทกภัยในภาคใต้ ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 3 จังหวัด 14 อำเภอ 69 ตำบล 368 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 42,171 ครัวเรือน 124,082 คน ได้แก่ จังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา มีผู้เสียชีวิต 9 ราย(พัทลุง 2 ราย สงขลา 2 ราย ยะลา 2 ราย นราธิวาส 3 ราย) จากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ได้รับผลกระทบและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวม 8 จังหวัด ทั้งนี้มีจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างฟื้นฟู 5 จังหวัด(นราธิวาส สุราษฎร์ธานี ยะลา ปัตตานี และตรัง)
       
       ขณะที่สถานการณ์ภัยหนาวมีพื้นที่ได้ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยหนาว) ตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย.54 ถึงปัจจุบัน คือ จังหวัดเชียงใหม่ ในอำเภออมก๋อย และสะเมิง


จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000154151
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4624 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2554, 17:01:35 »

เจอเข้ากับ จนท.ตร. สภ.ชุมแสง

บอกว่า ช้วน-พตอ.ราชันย์ อินทร์สิงห์ รัฐ 16 ผกก.สภ.ชุมแสง เข้าบ้านพักได้แล้ว หลังจากถนนจมน้ำกว่า 1 เมตร
ส่วน สภ.ชุมแสง จมน้ำนาน 2 เดือน ขณะนี้แห้งหมดแล้ว
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 183 184 [185] 186 187 ... 472   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><