เหยง 16
|
|
« ตอบ #4500 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 12:39:15 » |
|
กลับจากในเมืองแล้วครับ
เดี๋ยวขอเวลารีไซส์ภาพสักพักด้วยครับ
|
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #4501 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 13:34:32 » |
|
สวัสดี ครับ น้องเหยง น้องเข้า เดี๋ยว พี่ออก ครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4502 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 14:19:27 » |
|
พี่ปี๊ด
ชางนนทบุรีเยื่อนเงื่อนไขแล้วครับ ??ชาวนนท์กว่า500คนขู่พังเขื่อนกั้นน้ำทุกจุด หากถูกเมินเฉย22 พฤศจิกายน 2554 13:54 น. ชาวบ้านในหลายอำเภอของจังหวัดนนทบุรีเกือบ 500 คน ร่วมตัวกันมาฟังคำตอบจากผู้ว่านนท์หลังจากเรียกร้องไปก่อนหน้านี้ พร้อมทั้งขู่จะร่วมตัวกันไปพังเขื่อนกั้นน้ำในหลายพื้นที่แต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 22 พ.ย. 54 ที่หน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรีได้มีประชาชนจากหลายอำเภอในจังหวัดนนทบุรีร่วมตัวกันเกือบ 500 คน มาฟังคำตอบที่ได้ยืนข้อเสนอเรียกร้องไปก่อนหน้านี้ให้มีการแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในหลายอำเภอของจังหวัดนนทบุรีจากนายวิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี พร้อมชูป้ายนนทบุรีไม่ใช้เขื่อนเก็บน้ำ ไม่อยากมีชายแดนติดกทม. คนนนท์เป็นพลเมืองชั้น 2 ใช่มั่ย โจมตีการแก้ปัญหาน้ำของทางกทม.พร้อมทั้งขู่ว่าหากเวลาบ่ายโมงยังไม่ได้รับคำตอบจนเป็นที่พอใจแล้วจะร่วมตัวกันขึ้นไปยังที่ประชุมชั้น 5 ก่อนจะเดินทางไปรื้อแนวเขื่อนที่ประตูระบายน้ำทุกจุดแต่จะไม่มีการปิดถนนเหมือนที่ผ่านมา เพราะไม่อยากให้คนนนท์เดือนร้อนเพิ่มขึ้นอีกแต่จะแก้ปัญหาจากต้นเหตุแทน เวลาต่อมาทางผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีได้เปิดห้องประชุมชั้น 5 เพื่อให้ตัวแทนชาวบ้านอำเภอละ 10 คนร่วมถึงชาวบ้านจากกทม.ขึ้นไปทำการหารือเพื่อหาทางออกร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งผู้แทนจากกระทรวงคมนาคม ผู้แทนจากกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เวลากว่า 1 ชม.ก็ไม่สามารถหาข้อสรุปได้เนื่องจากตัวแทนชาวบ้านแต่ละอำเภอมีการเรียกร้องเพิ่มเติมอีกหลายข้อและเริ่มมีความคิดเห็นไม่ตรงกันจนเกิดการโต้เถียงกันเองอย่างรุนแรง ซึ่งในที่ประชุมยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000148807
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4503 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 14:29:51 » |
|
เงิน 2,000 บาทซึ่งหากได้มา ก็จะจ่ายให้คนงานทุกคนที่ส่งชื่อไป ไม่มีการเก็บไว้แม้แต่บาทเดียว.....
แกนนำ รง.โวย รัฐช่วยนายจ้างจ่ายค่าแรง 2 พันแก้ปัญหาไม่ตรงจุด 22 พฤศจิกายน 2554 13:17 น. แกนนำแรงงานชี้ มาตรการช่วยนายจ้างจ่ายค่าแรง 2 พัน ไม่ตรงจุด เผยนายจ้างเลิกจ้างคุ้มกว่า ไม่ต้องแบกภาระจ่ายเงินเดือน 75% แนะ ให้จ่ายกับแรงงานโดยตรง เอางบฯประชานิยมช่วยอุ้ม เหมือนจำนำแรงงานแทนจำนำข้าว ด้านก.แรงงานขู่ มาตรการทางสังคมสำคัญกว่ากม. ทอดทิ้งแรงงาน ระวัง! ไม่มีลูกจ้าง แนะลูกจ้างเรียกค่าชดเชยเต็มจำนวนหากถูกไล่ออก แจงรัฐจ่ายตรงแรงงานไม่ได้ เหตุต้องอุ้มนายจ้าง-ลูกจ้างร่วมกัน นายชาลี ลอยสูง ประธาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึง กรณีที่กระทรวงแรงงานได้ออกมาตรการช่วยจ่ายค่าจ้างให้แก่แรงงานที่เดือดร้อน น้ำท่วมแทนนายจ้างรายละ 2,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน โดยมีเงื่อนไขให้สถานประกอบการที่จะร่วมโครงการต้องอยู่ในพื้นที่ประสบภัย น้ำท่วมตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ และต้องเซ็นลงนามเอ็มโอยู ด้วยเงื่อนไขในการจ่ายค่าจ้างให้แก่แรงงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และยังคงสภาพการจ้างงานอยู่ เพื่อ ชะลอการเลิกจ้างและเป็นการช่วยรักษาสภาพการจ้าง ว่า มาตรการนี้มีเจตนาการช่วยเหลือที่ดี แต่ในทางปฏิบัตินั้นผู้ที่รับผลประโยชน์โดยตรงคือสถานประกอบการมากกว่า แทนที่จะเป็นลูกจ้าง นายชาลี กล่าวว่า อยากเสนอให้ทางกระทรวงแรงงานไปคุยกับทางสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบว่ามี แรงงานจำนวนเท่าไหร่ที่เดือนร้อน แล้วให้จ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่แรงงานโดยตรง ไม่ต้องผ่านทางนายจ้าง โดยมีเงื่อนไขให้นายจ้างต้องรักษาสภาพการจ้างงานของลูกจ้างไว้ เพราะตอนนี้มาตรการนี้ช่วยเหลือเงิน 2,000 บาท ได้ประโยชน์ในระดับหนึ่ง แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นคือสถานประกอบการที่คิดว่าการคงสภาพการจ้างงาน พร้อมกับต้องจ่ายค่าจ้าง 75 % ของเงินเดือน เพื่อรักษาสภาพการจ้างงานไว้ และรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล 2,000 บาทนั้น ไม่คุ้มค่า เท่ากับการเลิกจ้าง ที่สถานประกอบการไม่ต้องแบกรับต้นทุนเงินเดือนในขณะที่โรงงานไม่มีการผลิต “มาตรการ นี้ทำให้ลูกจ้างที่เดือนร้อน ไม่สามารถเข้าถึงเงินช่วยเหลือได้ด้วยตนเอง เพราะต้องขึ้นกับนายจ้างหรือสถานประกอบการว่าจะยอมทำตามเงื่อนไข เพื่อรับเงินช่วยเหลือ 2,000 บาท จากรัฐบาลหรือไม่ หากนายจ้างคิดว่าไม่คุ้มค่าและไม่ต้องการเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล ก็เท่ากับว่าลูกจ้างถูกตัดสิทธิ์จากเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลไปโดยปริยาย”นาย ชาลีกล่าว นายชาลี กล่าวอีกว่า การที่รัฐให้เงินช่วยเหลือตรงนี้ก็เหมือนกับการจำนำข้าว แต่ตอนนี้เราเกิดปัญหาเฉพาะหน้าจากวิกฤตน้ำท่วม ก็อยากให้นำงบฯของประชานิยม มาใช้ในส่วนนี้ ซึ่งเหมือนเป็นการจำนำแรงงานแทน ด้าน นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า หากนายจ้างคิดว่าการที่เลิกจ้างลูกจ้างคุ้มค่ากว่าการรับมาตรการช่วยเหลือ 2,000 บาท นั้น คิดว่าไม่คุ้ม เพราะต่อไปลูกจ้างก็จะไม่เข้ามาสมัครงานกับโรงงานนั้นอีก มาตรการทางสังคมนั้นสำคัญมากกว่ามาตรการทางกฎหมาย ส่วนสถานประกอบการไหนที่ให้เงินเดือนลูกจ้างเต็ม 100% ทาง ก.แรงงานก็มอบเกียรติบัตรยกย่อง แต่ถ้าสถานประกอบการใดเลิกจ้าง ก็ขอให้ลูกจ้างเรียกร้องให้ทางนายจ้างจ่ายค่าชดเชยเต็มจำนวนแก่แรงงานด้วย และยังมีในส่วนของประกันสังคมที่จะช่วยประกันการว่างงานด้วยการให้เงิน 50% เงินเดือน จำนวน 6 เดือน “ส่วนข้อเสนอที่จะให้กระทรวงแรงงานจ่ายตรงให้กับแรงงานเลยนั้น คิดว่าไม่สามารถทำได้ เพราะจุดประสงค์ของมาตรการนี้คืออยากให้นายจ้างกับลูกจ้างไปร่วมกัน เพราะไม่อย่างนั้นทางกระทรวงแรงงานก็ไม่สามารถต่อรองหรือบังคับนายจ้างให้คง สภาพการจ้างได้ เพราะการช่วยเหลือเงิน 2,000 บาท ในระยะเวลา 3 เดือน เป็นการช่วยให้สถานประกอบการจ่ายเงินให้ครบตามกฎหมายคือ 75% ในกรณีที่สถานประกอบการต้องมีเหตุให้ต้องหยุดการผลิตหรือปิดกิจการชั่วคราว ตามมาตรา 75 ของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน” นายอาทิตย์กล่าว ทั้งนี้ จากมาตรการช่วยจ่ายค่าจ้าง 2,000 บาท ให้แก่แรงงาน ที่ได้ประกาศเมื่อ 17 พ.ย. ที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 21 พ.ย. มีสถานประกอบการจำนวน 198 แห่ง ใน 6 จังหวัด ที่ประสบภัยน้ำท่วม มีลูกจ้างกว่า 132,022 คน ที่แจ้งเข้ามาเพื่อขอเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือนี้ จากเดิมที่ได้มีการกำหนดจำนวนลูกจ้างไว้ที่ 1 แสนคน จากงบประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งจะมีการเสนอขอเพิ่มงบฯต่อคณะรัฐมนตรีต่อไ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4504 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 16:04:06 » |
|
ป้องกันเชื้อโรคเชื้อราขณะล้างบ้านหลังน้ำลด วันอังคาร ที่ 22 พฤศจิกายน 2554 เวลา 0:00 น หลังจากน้ำลดลง บางพื้นที่เจ้าของบ้านสามารถเดินทางกลับเข้าบ้านอันแสนรักของตนเองได้แล้ว โดยหลังจากสำรวจความเสียหายของโครงสร้างและเฟอร์นิเจอร์ชิ้นน้อยใหญ่แล้ว งานช้างที่ต้องทำก็คือ การทำความสะอาดบ้าน หรือ บิ๊กคลีนนิ่งเดย์
นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่และโฆษกกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนผู้ที่จะทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลด ควรระวังเชื้อโรค เชื้อรา ที่อาจมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งเชื้อราที่เกาะตามส่วนต่างๆ ของบ้าน อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อหรือมีอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือผู้ที่มีภูมิต้านทานไม่ดี
ทั้งนี้ หลังน้ำลด อาคารและบ้านจะมีเชื้อราเกาะตามบริเวณที่ชื้นอับ เชื้อราเหล่านี้จะปล่อยละอองสารบางอย่างล่องลอยในอากาศทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา จมูก ภูมิแพ้ หรือโรคระบบทางเดินหายใจในคนได้โดยเฉพาะผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ
กรมควบคุมโรคจึงแนะนำหลักการทำความสะอาดเชื้อราในบ้านหลังน้ำลด โดยผู้ที่ร่างกายอ่อนแอหรือมีภูมิต้านทานไม่ดี เช่น ป่วยเบาหวาน กินยาสเตียร์ลอยด์ ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ทานยากดภูมิต้านทาน ผู้ป่วยที่รักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัดหรือยา หรือมีโรคหอบ หืด ประจำตัว รวมถึงเด็กและผู้สูงอายุ ไม่ควรเข้าไปในบ้านก่อนที่จะมีการทำความสะอาดจนเรียบร้อย
ก่อนทำควรเปิดหน้าต่างให้มีอากาศถ่ายเทดีอย่างน้อย 30 นาที สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ แว่นตาครอบ รองเท้ายาง เพื่อมิให้สัมผัสกับเชื้อราที่ล่องลอยในอากาศหรือตามพื้น ให้หยุดพักออกมาหายใจอากาศบริสุทธิ์ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง เพื่อลดการสูดดมเชื้อรา
การทำความสะอาดควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำแรงดันสูงฉีด เพราะจะทำให้เชื้อราฟุ้งกระจาย ควรใช้ผ้าชุบน้ำสบู่เช็ดไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อออกดีแล้วควรเช็ดตามด้วยน้ำผสมคลอรีนหรือน้ำยาฟอกผ้าขาวที่มีขายทั่วไป
ข้าวของเครื่องใช้ที่ทำความสะอาดแล้วควรนำมาตากแดดให้แห้งสนิท ควรให้แดดส่องเข้าบ้าน เพื่อไล่ความชื้นให้หมด
ส่วนเครื่องปรับอากาศไม่ควรเปิดก่อนการทำความสะอาดโดยเด็ดขาด เพราะเชื้อโรคจะถูกดูดเข้าไปในระบบปรับอากาศ และกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อได้ และควรจะเปลี่ยน filter ของเครื่องปรับอากาศด้วย
ภายหลังกิจกรรมทำความสะอาดหรือเข้าอยู่อาศัยแล้ว หากมีสมาชิกในบ้านโดยเฉพาะเด็ก คนชรา คนที่มีโรคประจำตัว มีอากาศระบบทางเดินหายใจ มีอาการแพ้ไอ หอบ เหนื่อย หรือโรคประจำเดิมกำเริบ ควรปรึกษาสถานบริการสุขภาพใกล้บ้าน.
ทีมเดลินิวส์ออนไลน์http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=424&contentID=177332
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4505 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 17:09:03 » |
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4506 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 17:43:46 » |
|
ข้อมูลน้ำจังหวัดนครสวรรค์ในวันอังคารที่ 22 พ.ย. 2554
มวลน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ในวันนี้ 1,950 ลบ.ม./วินาที หรือ 168.5 ล้าน ลบ.ม./วัน ลดลงจากเมื่อวาน 65 ลบ.ม./วินาที หรือ 5.6 ล้าน ลบ.ม./วัน
ระดับน้ำยังลดลงต่อเนื่องคือวันนี้ ลดลง 13 ซ.ม. โดย 37 วันที่ผ่านมา ลดลงสะสม 327 ซ.ม. รวมวันนี้เป็น 38 วัน ลดลงรวมทั้งสิ้น 340 ซ.ม.หมายเหตุ; วันนี้มีรายงานว่า เมื่อวานนี้มีฝนตกเฉพาะในภาคใต้คือ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก อำเภอเมือง สงขลา 148.4 มม., ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่อำเภอเมือง ตรัง 47.6 มม.
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4508 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 22:31:10 » |
|
คนงานชาวพม่าหายไปทีเดียว 120,000 คน จึงมีผลกระทบต่อแรงงานในประเทสไทยอย่างมาก.......แรงงานต่างด้าวหนีน้ำท่วมกลับ ปท.กว่า 1 แสนคน 22 พฤศจิกายน 2554 17:26 น. ปลัดแรงงาน หวั่นขาดแคลนแรงงาน หลังน้ำท่วมส่งผลต่างด้าวแห่กลับประเทศกว่า 1.2 แสนคน หนุนกลับเข้าไทยอย่างถูกกฎหมาย นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้สถานประกอบการในจังหวัดต่างๆ ต้องปิดกิจการลงชั่วคราวและทำให้แรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะแรงงานสัญชาติพม่าเดินทางกลับประเทศกว่า 1.2 แสนคน ว่า เมื่อถึงเวลาที่นายจ้างสามารถเปิดกิจการได้ กระทรวงแรงงานกังวล ว่า แรงงานในส่วนนี้จะขาดแคลน รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อระบบการพิสูจน์สัญชาติที่ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 “ผมคิดว่าคงไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดระบบแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย เพราะแรงงานส่วนหนึ่งที่เดินทางกลับประเทศ ทางกระทรวงแรงงานได้รับความร่วมมือจากทางสถานทูตพม่าออกหนังสือรับรองสถานะตัวบุคคล และเมื่อจะเดินทางกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยอีกครั้งก็จะทำได้ง่ายขึ้น และอาจจะส่งผลดีทำให้มีแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายเพิ่มมากขึ้น” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000148975
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4509 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 22:34:43 » |
|
ธนาคารโลก ประเมินว่า ภายหลังน้ำท่วม GDP ของประเทศไทยปี 2554 จะโตเพียง 2.4% และมีผลที่จะฉุดเศรษฐกิจโลกด้านอิเลคโทรนิค และ ชิ้นส่วนในการประกอบรถยนต์ เนื่องจากประเทศไทยเป็นที่ตั้งของโรงงานที่ผลิตชิ้นส่วนดังกล่าวมากที่สุด และบรรดาโรงงานส่วนใหญ่ จมน้ำไปเพราะนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งจมน้ำนั่นเอง
|
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #4510 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 06:50:19 » |
|
สวัสดี เช้าวัน พุธ ครับ น้องเหยง
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4511 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 08:46:08 » |
|
สวัสดีครับ พี่ปี๊ด และ RCU ทุกท่านครับ
อัพเดทข่าว............น้ำท่วมฉุดจีดีพีปี54โตแค่1.5% นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) กล่าวว่า สศช.ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี)ของไทยในปีนี้เหลือเติบโต 1.5% จากเดิมคาดไว้ที่ 3.5-4% เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมหนัก แต่ในปี 2555 คาดว่าจีดีพีจะกลับมาขยายตัวได้สูงถึง 4.5-5.5%
ขณะที่ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3ปีนี้ขยายตัวที่ระดับ 3.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และได้ปรับจีดีพีไตรมาส 2 มาเป็นเติบโต 2.7% จากเดิมประกาศไว้ที่ 2.6% โดยการขยายตัวของจีดีพีไตรมาส 3 สืบเนื่องมาจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมส่งออก อุตสาหกรรมยานยนต์ฟื้นตัวจากผลกระทบสึนามิ ค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนชะลอตัวลงจากรายได้เกษตรที่มีแนวโน้มชะลอตัว และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว
ส่วนในไตรมาส 4 คาดว่าเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งใหญ่ที่ขยายวงกว้าง ซึ่งจะทำให้จีดีพีทั้งปี2554 ชะลอตัวลงจากคาดการณ์เดิมด้วย
"ในปีหน้าเศรษฐกิจน่าจะเติบโตได้ดี โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากการปรับตัวดีขึ้นทั้งอุปสงค์ภายในและต่างประเทศ การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากการเร่งรัดการลงทุนเพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม"นายอาคมกล่าว
นอกจากนี้ยังมีมาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อ มาตรการภาษีที่มีส่วนสำคัญต่อการฟื้นฟูภาคเกษตร อุตสาหกรรมและภาคการบริการ ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการสร้างงานเพิ่มขึ้น รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่เน้นการเพิ่มรายได้ ทำให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์ในประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง http://money.impaqmsn.com/content.aspx?id=28665&ch=227
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4512 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 08:56:01 » |
|
ป.ป.ช.ตั้งคณะอนุฯ ไต่สวน แก้น้ำท่วมเหลว-โกงซื้อถุงยังชีพ "รบ.มาร์ค" ไม่รอดโดนสอบย้อนด้วยวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 16:19:33 น. เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 22 พฤศจิกายน ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) นายอภินันทน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เลขาธิการ ป.ป.ช.เปิดเผยว่า ที่ประชุม ป.ป.ช.มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรณีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมา โดยกรรมการ ป.ป.ช.ทั้ง 9 คน เป็นองค์คณะในการไต่สวน ทั้งนี้ มีการมอบหมายให้นายเมธี ครองแก้ว และนายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช.เป็นผู้รับผิดชอบสำนวนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ ให้นายประสาท พงษ์ศิวาภัย และนายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช.เป็นผู้รับผิดชอบสำนวนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตจัดซื้อถุงยังชีพ และให้นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช.เป็นผู้รับผิดชอบสำนวนกรณีที่เกี่ยวข้องกับถอดถอน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะผู้อำนวยการ ศปภ. และจะสอบย้อนไปถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วย เพราะมีการร้องเรียนเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมาตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321953667&grpid=00&catid=&subcatid=
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4513 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 09:28:44 » |
|
ฟังสาเหตุน้ำท่วม..................สาเหตุน้ำท่วม ถูกทุกข้อ 23 พฤศจิกายน 2554 - 00:00 เรียน คุณสามวา สองศอก ที่นับถือ จากการเฝ้าติดตามรับฟังเหตุการณ์ กรณีอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ที่สุดที่เคยเห็นในชีวิตของผู้เขียน ทั้งจากทีวี หนังสือพิมพ์ พอที่จะสรุปถึงสาเหตุและการแก้ปัญหา โดยไม่ต้องอาศัยปัญญาของฝรั่งตาน้ำข้าว ซึ่งภูมิประเทศต่างกับประเทศไทยอย่างฟ้ากับดินได้ ดังนี้ 1.สาเหตุของปัญหาทั้งหมดมาจาก "คน" โดยเฉพาะคนที่มี "อวิชชา ตัณหา มานะ ทิฏฐิ (ทิฐิ)" ซึ่งเป็นบ่อเกิดของความชั่วร้ายทุกชนิด บุคคลชนิดนี้มีค่อนข้างมากในประเทศไทย หาได้ง่ายโดยให้ดูในสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี รวมทั้งพวกข้าราชการ นายทุนผู้สนับสนุนทั้งหลาย รวมทั้งราษฎรผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง บุคคลกลุ่มนี้ได้ร่วมมือกันทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งบนดิน ใต้ดิน รวมถึงใต้ทะเล ไว้มากมายเหลือที่จะคณานับ ที่จริงคำว่า "อวิชชา ตัณหา มานะ ทิฏฐิ" นั้น ความหมายของมันก็คือ "ความเห็นแก่ตัว" นั่นเอง มีคำที่ชาวบ้านชอบพูดกัน เช่นคำว่า ธุระไม่ใช่ ไม่ใช่หน้าที่ ปล่อยปละละเลย ไม่เอาใจใส่ คำเหล่านี้สื่อความหมายที่ผู้พูดแสดงออกซึ่งธาตุแท้ของความเห็นแก่ตัวทั้งนั้น น่าเสียดายที่ท่านพุทธทาสได้ใช้เวลา 15-20 ปีช่วงสุดท้ายของชีวิตท่าน เพื่อสอนเรื่องความไม่เห็นแก่ตัว ท่านยังได้กล่าวว่า "คนดีสำคัญที่สุด" และท่านยังสอนเรื่อง "ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาวินาศ ศีลธรรมกลับมาโลกาสงบเย็น" ความหมายก็คือ ความเห็นแก่ตัวเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ยากทุกชนิด ความเห็นแก่ผู้อื่นทำให้สังคมสงบเย็น มีสันติภาพถาวร" 2.การแก้ปัญหาประการแรกก็คือ การแก้ที่คน คือสร้างคนให้มีความเห็นแก่ตัวน้อยลง กระทรวงศึกษาธิการเป็นต้นตอในการสร้างคนให้เห็นแก่ตัว ไม่ว่าจะเป็นหนึ่งตำบล หนึ่งโรงเรียน, หนึ่งอำเภอ หนึ่งทุน แม้แต่โรงเรียนพิเศษมหิดลวรานุสรณ์ (อาจจะสะกดผิด ผมจำชื่อไม่ได้เพราะไม่เคยสนใจที่จะส่งลูกหลานให้เข้าเรียน) เมื่อกระทรวงศึกษาฯ เริ่มต้นตามก้นฝรั่ง นับตั้งแต่มีการตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาขึ้นมา ก็ได้เริ่มยกเลิกตำราต่างๆ ที่บุคคลรุ่นก่อนๆ ได้สร้างสมไว้ให้ลูกหลาน ตัวอย่างสมัยผู้เขียนชั้นประถมมีหนังสือเรียนเล่มหนึ่ง ที่กล่าวถึงมีเทพารักษ์รักษาประจำต้นไม้ เพื่อคอยปกป้องคุ้มครองป่า และมีหนังสือเรื่องอุดมเด็กดี ชลอหลังยาว ไม่เป็นไรลืมเสียเถิด ออมไว้ไม่ขัดสน ผู้เขียนยังนำมาปฏิบัติจนถึงทุกวันนี้ อีกอย่างหนึ่งที่อยากเล่าให้ฟังคือ การสอบประโยคประถมสี่ ใช้ข้อสอบรวมของจังหวัด ประโยคมัธยมหกและเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 2 ก็ใช้ข้อสอบรวมของประเทศคือของกระทรวง ใครจบจังหวัดไหนก็มีความรู้เท่าๆ กัน ผิดกันกับสมัยนี้ที่โรงเรียนแต่ละแห่งต่างออกข้อสอบเอง จึงทำให้เด็กที่จบมาอ่านหนังสือไม่ค่อยออก สะกดการันต์ผิดๆ ถูกๆ แม้แต่ที่จบปริญญาบางคนยังเขียนผิดๆ ถูกๆ อ่านไม่ออกก็มีเป็นอันมาก ถึงเวลาแล้วที่จะต้องอาศัยบุคคลผู้ทรงความรู้ เป็นชาวบ้านก็ได้ ครูเก่าๆ ที่มีชีวิตอยู่ก็ได้ หรือบุคคลใดก็ได้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิต เข้าใจว่าชีวิตนี้จะต้องพึ่งพาอาศัยกันไม่ใช่อยู่โดดๆ แต่ทุกชีวิตต่างมีปฏิสัมพันธ์กัน ไม่ว่าคน สัตว์ ต้นไม้ ล้วนแต่เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันทั้งนั้น เรื่องเทคโนโลยีเราก็ต้องอาศัยต่างชาติ แต่เลือกที่เราไม่สันทัด เมื่อไปเรียนมาแล้วต้องทำได้อย่างเขาดูแต่ญี่ปุ่นซิทำได้เองทุกอย่าง เมืองไทยเรามีดอกเตอร์จำนวนมากดูจะพอๆ กับนายพล แต่ยังผลิตเครื่องยนต์เองไม่ได้เลย สู้มาเลเซียก็ไม่ได้ 3.การแก้ปัญหาต่อไปก็คือ ปัญหาที่เกี่ยวกับนิเวศน์หรือปัญหาที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นพื้นดิน ป่าไม้ ภูเขา แม่น้ำลำคลอง ห้วย หนอง คลอง บึงต่างๆ จะต้องช่วยกันรักษา ไม่ทำลายบุกรุกให้สิ่งเหล่านั้นเสื่อมสภาพลง ที่เห็นในทีวีลำคลองและแม่น้ำต่างๆ เต็มไปด้วยขยะ วัชพืช ผักตบชวา เป็นคอขวดเพราะถูกบุกรุกหรือถูกทำให้ตื้นเขิน เป็นต้น เพราะฉะนั้น การแก้ไขประการแรกก็คือ การทำความสะอาดลำน้ำต่างๆ ให้สะอาดสะอ้านแบบในต่างประเทศ แบบญี่ปุ่นเป็นต้น เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก ธรรมชาติของน้ำเมื่อไหลไม่สะดวกก็จะมีพลังขับดันมากขึ้น เมื่อไม่มีทางไปก็ล้นฝั่ง เกิดปัญหาน้ำท่วมตามมาอย่างที่เห็นๆ พร้อมกันนี้ก็ทำการขุดลอกสันดอนในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงต่างๆ ที่ตื้นเขิน ขยายคอขวดริมตลิ่งก็กำจัดวัชพืชออกให้หมด แล้วปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันตลิ่งพัง การขุดลอกสันดอนและลำคลองต่างๆ ต้องให้ลึกพอสมควร ผู้เขียนคิดว่า น่าจะไม่น้อยกว่าสามเมตรเพื่อจะได้เป็นแก้มลิงธรรมชาติ ถ้าทำกันทั้งประเทศรวมทั้งบึงใหญ่อีกหลายแห่ง ไม่ว่าในจังหวัดพิจิตร สกลนคร เป็นตัวอย่าง ก็จะเป็นแก้มลิงธรรมชาติกักเก็บน้ำได้หลายพันล้านลูกบาศก์เมตร และยังสามารถเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในฤดูแล้งได้ด้วย เคยดูในทีวี ปิง วัง ยม น่าน หน้าแล้งน้ำแห้งสันดินยาวเหยียด การขุดลอกจะได้ทรายไว้ใช้ในการก่อสร้าง โดยไม่ต้องไปดูดทรายซึ่งทำให้ตลิ่งพัง ถือเป็นการป้องกันตลิ่งพังชั้นดี โครงการนี้ต้องทำเป็นระดับชาติ โดยมอบหมายให้จังหวัด อำเภอ ตำบล ที่แม่น้ำลำคลองเหล่านั้นไหลผ่านเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง โดยให้รัฐเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประเมินผล ผู้สอบบัญชีเพื่อให้มีความถูกต้องโปร่งใส โครงการนี้ต้องทำติดต่อกันทุกๆ ปี โดยเริ่มต้นทุกๆ หน้าแล้ง โดยให้ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นเป็นผู้ทำงาน เป็นการขจัดความว่างงานในช่วงแล้งไปในตัว คิดว่าทำทุกๆ ปีติดต่อกันน่าจะแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 หรือ 3 ปี 4.เรื่องเขื่อนนั้นป้องกันน้ำท่วมไม่ได้ มีหลายประเทศได้ทำลายเขื่อนทิ้งไปแล้วก็มี จริงๆ แล้วเขื่อนมีประโยชน์เฉพาะการชลประทานเท่านั้น ประโยชน์ที่สองก็คือการผลิตไฟฟ้า โดยปกติการสร้างเขื่อนทุกเขื่อนไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ต้องมี spillway ทางระบายน้ำอัตโนมัติ เมื่อน้ำเต็มก็จะระบายออกเพื่อป้องกันไม่ให้เขื่อนพัง ปัญหาน้ำท่วมครั้งนี้เขื่อนและเจ้าหน้าที่เขื่อนก็ถือเป็น "CULPRIT" ด้วยเหมือนกัน จะแก้ตัวอย่างไรก็ไม่พ้นอยู่ดี พูดถึงเขื่อนกับชาวนา เขื่อนถือว่าเป็นหัวใจของชาวนาที่ทำนาปรัง แต่การทำนาปรังไม่ว่าปีละกี่ครั้ง ก็ไม่ช่วยให้ชาวนาพ้นจากความยากจนไปได้ เพราะการทำนาปรังแต่ละครั้งใช้ต้นทุนสูง ทั้งค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าศัตรูพืชต่างๆ เพราะการทำนาปรังนั้นเป็นการหล่อเลี้ยงวงจรชีวิตของเพลี้ยและศัตรูของข้าวอื่นๆอีกหลายชนิด ถ้าจะช่วยให้ชาวนาหายจากความยากจน กระทรวงเกษตรฯ ต้องสอนให้ชาวนาเลิกทำนาปรังปีละหลายครั้ง โดยให้ทำปีละครั้งเดียว ช่วงเวลาที่เหลือให้ปลูกพืชชนิดอื่นๆที่ไม่ต้องใช้น้ำ เช่น จำพวกถั่วต่างๆ ก็จะเป็นการบำรุงดินไปในตัว และเป็นการกำจัดวงจรชีวิตของเพลี้ยต่างๆ ได้ด้วย เขื่อนก็ไม่ต้องกักเก็บน้ำเกินความจำเป็น ถ้าทำแบบนี้คือ ทำความสะอาดแม่น้ำลำคลองต่างๆ ขุดสันดอนที่ตื้นเขิน ผลที่ได้ก็คือแม่น้ำลำคลองต่างๆ จะสะอาดสะอ้าน น้ำใสไหลเย็น การลอกขุดสันดอนต่างๆ จะได้แก้มลิงธรรมชาติ และยังได้ทรายไว้ใช้ในการก่อสร้าง การเดินทางในแม่น้ำต่างๆ ก็สะดวก เพราะน้ำลึกมากขึ้นไม่มีสันดอนให้ต้องคอยระวัง ดีกว่าการทำ spillway ตามแนวคิดของฝรั่ง ซึ่งจะต้องมีกฎหมายเวนคืนและทำความเข้าใจกับประชาชน การทำแบบนี้ทำได้เลย ไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก อาจจะมีข้อขัดแย้งบ้างก็ได้แก่ การขุดลอกสันดอนต่างๆ ในบึงใหญ่ เช่น บึงบอระเพ็ด ที่มีเกาะกลางบึงซึ่งเป็นของบุคคลกลุ่มเล็กๆ ที่เอาเปรียบประชาชนส่วนใหญ่และกรมประมงเท่านั้น คิดว่าน่าจะจัดการได้โดยไม่ต้องทำประชาพิจารณ์แต่อย่างใด ด้วยความนับถืออย่างสูง ส.ประทับแก้ว ตอบ คุณ ส.ประทับแก้ว ช่วงนี้จดหมายผู้อ่านเขียนเรื่องน้ำท่วมยังหลั่งไหลมาไม่ขาดสาย ฉบับนี้มีข้อคิดเห็นที่เป็นข้อสรุปและแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นความรู้ที่มาจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทย แต่รัฐบาลปู-ยิ่งลักษณ์ กลับมองข้ามและหันไปให้ความสำคัญกับต่างชาติ เห็นแล้วสงสารประเทศไทยจริงๆ http://www.thaipost.net/news/231111/48541
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4515 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 10:14:10 » |
|
ฟังข่าวล่าสุด..............
บรรษัทผู้รับประกันภัยต่อ Re-insurance ของฝรั่งเศส ประกาศงดรับการประกันภัยน้ำจากประเทศไทย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ในปี 2012 (ปีหน้า) เนื่องจากคาดการณ์ว่า สถานการณ์น้ำท่วมยังคงมีอยู่และไม่คุ้มกับค่าเบี้ยประกันที่รับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4516 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 15:57:25 » |
|
คนเลี้ยงกุ้งงง 'ปู' เมินเช่าเครื่องสูบน้ำปธ.ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลาฯงง"ยิ่งลักษณ์"ไม่สนข้อเสนอเช่าเครื่องสูบ น้ำ 1,000 เครื่อง รอซื้อจากจีนทำคนไทยอ่วมจมน้ำนานกว่าปกติ อัดรัฐบาลขาดความริงใจในการระบายน้ำ เผยมีเอกชนเช่าป้องนิคมอุตสาหกรรมแล้ว
22 พ.ย.2554 นายชัยธวัช ศรีม่วง ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลาภาคตะวันออก กล่าวว่า ทางสมาคมพร้อมที่จะนำเครื่องสูบน้ำจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลาจำนวน 1,000 เครื่อง ให้รัฐบาลเช่าในราคาถูก เพื่อช่วยในการระบายน้ำ แต่นายกรัฐมนตรืกลับนิ่งเฉยและใช้วิธีการจัดซื้อเครื่องสูบน้ำจากจีนแทน ทำให้การระบายน้ำขาดประสิทธิภาพจนประชาชนต้องจมน้ำนานขึ้น "ผมยื่นข้อเสนอกับนายกรัฐมนตรีด้วยตัวเองเมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่ามา โดยนายกรัฐมนตรีมอบให้นายวิม รุ่งวัฒนะจินดา โฆษก ศปภ.ไปดำเนินการ จากนั้นมีการส่งเรื่องไปยัง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผอ.ศปภ. แต่เรื่องก็เงียบหายไป เครื่องสูบน้ำเหล่านี้เป็นของเกษตรกรอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยเราเสนอให้รัฐบาลเช่าในราคา3,000 บาทต่อวัน ถูกกว่าท้องตลาดที่เช่ากันในราคา 5,000 บาทถึง 2,000 บาท แต่รัฐบาลกลับเลือก ที่จะรอซื้อเครื่องสูบน้ำจากจีน ทำให้เสียโอกาสในการระบายน้ำ เพื่อบรรเทาความทุกข์ให้กับประชาชนอย่างน่าเสียดาย เพราะเครื่องสูบน้ำเหล่านี้สามารถระบายน้ำได้เครื่องละ 30,000 คิวต่อวัน เมื่อรัฐบาลปฏิเสธก็ทำให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างล่าช้ามากขึ้น ทำให้ผมสงสัยว่ารัฐบาลอาจไม่มีความจริงใจที่จะระบายน้ำลงทะเล" นายชัยธวัช กล่าว การที่รัฐบาลปฏิเสธเรื่องนี้ไม่ได้สร้างปัญหาอะไร ให้กับตนและเกษตรกรเจ้าของเครื่องสูบน้ำ แต่ผลกระทบอยู่กับประชาชนที่ยังต้องทุกข์ทรมานกับภาวะน้ำท่วม เพราะเราให้เช่าในราคาถูกเนื่องจากอยากมีส่วนร่วมในการช่วยพี่น้องประชาชน แต่เมื่อรัฐบาลไม่สนใจเราก็จะนำเครื่องสูบน้ำเหล่านี้ ไปช่วยเอกชนระบายน้ำแทน โดยมีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งให้ความสนใจ มาเช่าเครื่องสูบน้ำไปใช้แล้ว เช่น ลาดกระบัง บางชัน บางพลี เป็นต้น โดยเรื่องนี้ทางชมรมไม่ได้คิดในเชิงผลประโยชน์ แต่เป็นการช่วยเหลือเพื่อนร่วมชาติ ขณะเดียวกันเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลาก็มีรายได้เป็นการเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันในฐานะคนไทยยามที่ประเทศประสบกับวิกฤตhttp://www.komchadluek.net/detail/20111122/115789/คนเลี้ยงกุ้งงงปูเมินเช่าเครื่องสูบน้ำ.html
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4517 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 18:08:46 » |
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4518 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 19:09:28 » |
|
วันนี้มี 3 เหตุการณ์คือ
1.ช่วง 12.00 -15.00 น. หน้า คปอ. (กรมควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ กองทัพอากาศ) ถนนพหลโยธิน ชาวบ้านรื้อทำลาย Big bag ที่วางกั้นถนนออกได้ทั้งหมด ส่งผลให้ระดับน้ำภายในแนว Big bag สูงขึ้นทันที 20-30 ซ.ม. และอาจมีผลต่อระดับน้ำซึ่งเทคยท่วมห้าแยกลาดพร้าว ม.เกษตร และขณะนี้น้ำคงท่วมเฉพาะที่ ม.เกษตร จะมีผลให้น้ำไหลกลับไปท่วมอีกครั้งหรือไม่ ??
2.ช่วง 14.00 น. ชาวบ้านหมู่บ้านวังทอง วังทองพาร์ค บุกขึ้นโทลเวย์ หน้าเซียร์ รังสิต ประท้วงการระบายน้ำของ คปภ. ซึ่งที่สุดตกลงกันได้คือ คปภ.จะระบายน้ำลงคลอง 2 เพิ่มขึ้น เพื่อให้ระดับน้ำลดลงจากเดินที่ท่วมอีกประมาณ 20-30 ซ.ม.
3.กรณีชาวบ้านนนทบุรี บางกรวย ประท้วงผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ขอให้เร่งระบายน้ำด้วยการเปิดประตูระบายน้ำในคลองมหาสวัสดิ์เพิ่มจากเดิม 50 ซ.ม. นั้น กทม. ยินยอมเปิดเพิ่มเป็น 1 เมตรแล้ว และหากมีผลกระทบต่อ กทม.ชั้นในมากนัก สามารถปรับความสูงของประตูน้ำได้ใหม่ ??
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4519 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 19:56:21 » |
|
“ประชา” ปัดเอี่ยว “ถุงยังชีพ” รอง อธ.ปภ.ปูด “ปู-ยงยุทธ” เซ็นอนุมัติซื้อไม่จำกัดวงเงิน23 พฤศจิกายน 2554 18:38 น. “ประชา” แจง กมธ.งบลอยตัวไม่มีเอี่ยว “เงินบริจาค-ถุงยังชีพ” โยน “ยงยุทธ” คุมงาน พร้อมอ้างแค่สู้กับน้ำก็ยุ่งพอแล้ว ดูแลทุกเรื่องไม่ได้ ด้านรองอธิบดี ปภ.ปูด “ยิ่งลักษณ์-ยงยุทธ” เซ็นอนุมัติซื้อถุงยังชีพไม่จำกัดวงเงิน ส่วนที่สั่งซื้อราคาต่างกัน เหตุเกรง ปชช.ได้ของไม่พอ ส่วนถุงแพงสุด 800 บาท มีแต่ของพร้อมกิน วันนี้ (23 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ติดตามงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี นางธนิตพล ไชยนันท์ ส.ส.ตาก พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธาน มีวาระพิจารณาติดตามการบริหารงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 ของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) และจังหวัดที่ประสบอุทกภัย โดยได้เชิญ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้อำนวยการ ศปภ.นายจำเริญ ยุติธรรมสกุล ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการบริหารจัดการถุงยังชีพและเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย นายฉัตรป้อง ฉัตรภูมิ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย และ น.ส.ปภัสมน อัมราลิขิต ผู้อำนวยการกองคลัง สำนักนายกรัฐมนตรี มาชี้แจง โดยก่อนที่ กมธ.จะได้เรียก พล.ต.อ.ประชา เข้าชี้แจง ได้มีการซักถามฝ่ายข้าราชการประจำเกี่ยวกับระเบียบและหลักเกณฑ์การใช้เงินที่ได้รับบริจาคของประชาชน ที่นำไปจัดซื้อถุงยังชีพและอุปกรณ์อื่นที่มีความจำเป็นต่อผู้ประสบภัย รวมทั้งประเด็นราคาจัดซื้อต่อถุง ซึ่ง น.ส.ปภัสมน ชี้แจงว่า บัญชีเงินบริจาคดังกล่าวนั้น เป็นบัญชีที่สำนักนายกฯ ได้เปิดมาตั้งแต่ปี 2538 ดังนั้น จึงมียอดยกมาจากยอดที่ค้างเดิม 66 ล้านบาท และเมื่อ ศปภ.เปิดรับบริจาคตั้งแต่เดือน ส.ค.54 ทำให้มียอดเงินบริจาคจำนวน 932 ล้านบาท รวมยอดสุทธิจะมีทั้งสิ้น 998 ล้านบาท ซึ่งเป็นยอดบริจาคที่ได้จากในประเทศทั้งหมด โดยที่การใช้จ่ายเงินส่วนดังกล่าวนั้น ต้องเป็นไปตามมติของคณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกฯ ซึ่งมี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน และมีตัวแทนของหน่วยงานต่างๆ อีก 13 คน เป็นกรรมการ ด้าน นายฉัตรป้อง ชี้แจงเกี่ยวกับการจัดซื้อถุงยังชีพที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดจึงมีราคาไม่เท่ากัน 3 ราคา ว่า โดยปกติแล้วหากจัดซื้อโดยที่เป็นเงินงบประมาณแผ่นดิน โดยระเบียบของกระทรวงการคลัง จะให้จัดซื้อไม่เกินถุงละ 500 บาท แต่ส่วนถุงยังชีพที่จัดซื้อราคาถุงละ 800 บาทนั้น ได้ใช้ระเบียบของสำนักนายกฯ และตามมติของคณะกรรมการกองทุนฯ ส่วนเหตุที่ต้องจัดซื้อถุงยังชีพราคา 800 บาทนั้น เพราะทางคณะกรมการกองทุนฯ เห็นว่า ภัยที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุนแรง หากจัดซื้อถุงยังชีพราคา 500 บาทอาจจะไม่เพียงพอต่อการยังชีพของประชาชน อีกทั้งสิ่งของในถุงยังชีพที่ราคา 800 บาทนั้น เป็นสินค้าที่สามารถเปิดทานได้ทันที เป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน ทั้งนี้การใช้งบประมาณในส่วนของเงินบริจาคนั้น ผู้ที่มีอำนาจอนุมัติใช้จ่าย คือ นายยงยุทธ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ โดยไม่จำกัดวงเงิน จากนั้น กมธ.ได้เชิญ พล.ต.อ.ประชา เข้าชี้แจง โดยได้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องในส่วนของการจัดซื้อถุงยังชีพ เพราะงานส่วนดังกล่าวนั้นเป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ที่มี นายยงยุทธ เป็นประธาน ทั้งนี้ นายยงยุทธ ได้ลงนามตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อให้รับผิดชอบอีกคณะหนึ่ง โดยมี นายจำเริญ เป็นผู้ที่ดูแลอยู่ อย่างไรก็ตามภายหลังจากที่ปรากฏเป็นข่าวตามสื่อมวลชนต่อกรณีทุจริตจัดซื้อถุงยังชีพนั้น ตนจึงได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ โดยมอบหมายให้นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน เบื้องต้นทราบว่าได้มีการแบ่งตรวจสอบถุงยังชีพเป็น 2 ส่วน คือ การจัดซื้อโดยรัฐบาล และถูงที่ผู้มีจิตอาสาช่วยบรรจุของบริจาค ส่วนข้อสังเกตของ นายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธาน กมธ.คนที่ 1 ที่ว่ามีรายงานข่าวว่ามีการอนุมัติงบประมาณจำนวน 80 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อถุงยังชีพ 1 แสนชุดๆ ละ 800 บาท ถึง 2 ครั้ง สรุปแล้วในการจัดซื้อถุงยังชีพได้ใช้งบประมาณไป 160 ล้านบาท โดยที่ไม่ใช้ระเบียบการจัดซื้อของกระทรวงการคลัง และได้มีการแจกจ่ายถุงยังชีพดังกล่าวไปยังพื้นที่ใดบ้าง พล.ต.อ.ประชา ปฏิเสธความเกี่ยวข้องในกรณีนี้เช่นกัน โดยอ้างว่า กรณีดังกล่าวมีบุคคลอื่นรับผิดชอบโดยเฉพาะอยู่ อีกทั้งยังมีการบูรณาการ 12 กระทรวงเข้ามาทำงาน ขณะเดียวกัน งานในความรับผิดชอบของตนเอง มีทั้งเรื่องบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาน้ำ การวางแผนอพยพประชาชน จึงไม่สามารถรับทราบ หรือติดตามงานได้ทั้งหมด โดยส่วนงานการจัดหาถุงยังชีพนั้น ผู้ที่ดูแล คือ นายจำเริญ อย่างไรก็ตาม ตนไม่ได้ปฏิเสธความรับผิดชอบ “ยอมรับว่า ในส่วนของการตั้งบุคคลเพื่อดูแลของบริจาคนั้น ผมเคยลงนามคำสั่งแต่งตั้งให้นักการเมืองเข้ามีส่วนในการบริหารจัดการเรื่องของบริจาค แต่เพราะความไม่รู้และไม่ได้ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย แต่เมื่อได้รับคำปรึกษาจากฝ่ายกฎหมาย ก็ได้มีคำสั่งยกเลิกการแต่งตั้งนักการเมืองดังกล่าว ทั้งนี้อยากชี้แจงว่าผมไม่มีเจตนา เมื่อพบว่าผิดจึงแก้ไข” พล.ต.อ.ประชา กล่าว ขณะที่ นายจำเริญ ได้ขอใช้สิทธิ์ชี้แจงว่า ในส่วนงานต่างๆ นั้น มีนายกฯเป็นผู้ที่ดูแล ศปภ. และกองทุนเงินบริจาคฯ โดยในส่วนของงานดูแลเรื่องสิ่งของบริจาคนั้น ตนได้รับมอบหมายภายหลังจากที่ ศปภ.ได้ย้ายศูนย์รับบริจาคมาอยู่ที่สนามศุภชลาศัย โดยในรายละเอียดของงานนั้นมีคณะอนุกรรมการอีก 4 คณะ เข้ามาร่วมดูแล รวมไปถึง 13 หน่วยงานที่เข้ามาช่วยดูแล จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000149557
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4520 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 20:22:42 » |
|
กทม.หวั่นรื้อบิ๊กแบ็กแยก คปอ.กระทบแยกเกษตร-เสนา-ลาดพร้าว 23 พฤศจิกายน 2554 18:06 น. กทม.หวั่นรื้อบิ๊กแบ็กแยก คปอ.เพิ่มอีก อาจทำแยกเกษตร เสนา และลาดพร้าว ระดับน้ำเพิ่มขึ้น พร้อมประสานกรมชลฯ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มที่ด้านใต้คลองรังสิต นายจุมพล สำเภาพล รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า การเข้ารื้อคันบิ๊กแบ็กของชาวดอนเมืองที่บริเวณสี่แยกกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ (คปอ.) จะส่งผลให้การระบายน้ำทำได้ช้าลง และทำให้พื้นที่ที่น้ำท่วมขังอยู่เดิมมีระยะเวลานานมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ขีดความสามารถการระบายน้ำคลองสายหลักต่างๆ ในกรุงเทพฯ ยังรับได้ เนื่องจากปริมาณน้ำในคลองลดระดับลงจากการเร่งระบายน้ำออก รวมถึงสามารถลดปริมาณน้ำในคูน้ำข้างทางได้แล้วเป็นจำนวนมาก แต่การรื้อบิ๊กแบ็กครั้งนี้อาจทำให้มีปริมาณน้ำในพื้นที่ต่างๆ เช่น แยกเกษตร เสนา ลาดพร้าว ต้องเพิ่มระยะเวลาการระบายน้ำนานขึ้นอีก 4-5 วัน รวมทั้งพื้นที่สายไหมตอนใต้ที่อาจได้รับผลกระทบจากน้ำในคลองหมอน 40 เพราะเป็นจุดที่อยู่ใต้ประตูระบายน้ำคลองสอง โดยจะมีระดับสูงขึ้นอีกประมาณ 1-2 เซนติเมตร ล่าสุด กทม.ได้ประสานไปที่กรมชลประทานเพื่อติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมที่บริเวณด้านใต้คลองรังสิต ซึ่งอยู่ระหว่างการหาพื้นที่ติดตั้งทั้งนี้ เพื่อเร่งสูบน้ำทางตอนเหนือของเขตดอนเมือง ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาโดยเร็ว จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000149480
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4521 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 20:24:26 » |
|
พี่ปี๊ด
ได้ยินว่าพี่ป๋องไปอยู่ร่วม Off ด้วยแล้ว
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4523 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 21:39:38 » |
|
ดูญี่ปุ่นกู้กิจการของพวกพ้องครับ...........ทูตญี่ปุ่นขนทีมผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเครื่องสูบน้ำกำลังสูง ร่วมกู้นิคมโรจนะวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 17:36:42 น. นายเซอิจิ โคะจิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย พร้อมด้วย สมาชิกทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หน่วยช่วยเหลือแบบเร่งด่วนระหว่างประเทศ ด้านการระบายน้ำ มีนายโคอิจิ ฟุนะยะมะ เป็นหัวหน้าทีม และเจ้าหน้าที่จากกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและท่องเที่ยว (MLIT) ประเทศญี่ปุ่น องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) รวมถึงเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำเครื่องสูบน้ำประสิทธิภาพสูงด้วยกำลังไฟฟ้าระบบปั่น จากประเทศญี่ปุ่นจำนวน 15 เครื่อง มาช่วยสูบน้ำออกจากนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ เฟส 2 ในเขต ต.คานหาม อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ถูกน้ำท่วมสูง http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322042822&grpid=02&catid=&subcatid=
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4524 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2554, 10:02:00 » |
|
สวัสดีในเช้าวันพฤหัสบดีที่ 24 พ.ย. 54 ตรงกับ"วันขอบคุณพระเจ้า" ซึ่งชางตะวันตกจะเฉลิมฉลองวันนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวผลผลิตในไร่นา และเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวสำหรับประเทศไทย ในปีนี้เป็นหนังคนละม้วมกับปีก่อนๆ เนื่องจากมีจังหวัดมากกว่า 53 จังหวัดประสบภัยน้ำท่วมขังอย่างยาวนาน และน้ำยังท่วมขังในหลายๆจังหวัด ในขณะที่จังหวัดภาคใต้ของไทย กำลังเจอพายุฝน คลื่นลมแรงในทะเล ซึ่งมีโอกาสน้ำท่วม ชายทะเลถูกลมพัดอย่างรุรแรง และประการสำคัญ อากาศหนาวจากหย่อมความกดอากาศสูงจากประเทศจีนไหลเข้ามาสร้างความหนาวเย็นในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานแล้ว
รับ"ถุงยังชีพ" ช่วยภัยน้ำท่วม ยังไม่ทันเสร็จ แถมมีเรื่อง-มีราวจนกลายเป็น"ถุงปลิดชีพ"กันไปแล้ว จะต้องมารับ"ผ้าห่มกันหนาว" ต่ออีกรอบ จะมีเรื่องราวเกิดต่ออีกหรือไม่ ?ท คงต้องติดตาม !!‘ภัยพิบัติหนาว’ 'หนาวเร็ว' + 'หนาวลึก' + 'หนาวนาน' 23 พฤศจิกายน 2554 17:28 น. ทุกวันนี้ คำว่า 'ภัยพิบัติ' ได้กลายเป็นคำอินเทรนด์ ฮิตติดปากชาวบ้านร้านตลาดไปเสียแล้ว นั่นก็เนื่องมาจากสถานการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่ที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่คนไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน กระนั้น ภัยพิบัติน้ำท่วมก็เป็นเพียงภัยที่นานๆ จะมาแบบใหญ่ใหญ่สักครั้ง ทว่าในความเป็นจริง ประเทศไทยยังต้องประสบกับภัยธรรมชาติในรูปแบบอื่นๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้งหรือภัยหนาว ซึ่งภัยเหล่านี้ เป็นภัยธรรมชาติซึ่งวนเวียนมาสร้างความเดือดร้อนบ่อยกว่าภัยน้ำท่วมเป็นไหนๆ ในปัจจุบัน เหตุการณ์น้ำท่วมยังไม่ทันจะผ่านพ้นไปดี คนไทยในบางพื้นที่ก็ต้องเริ่มต้นเผชิญกับภัยหนาวเสียแล้ว แต่ครั้งนี้ภัยหนาวดูจะไม่ค่อยเป็นที่สนใจเท่าใดนัก ค่าที่ว่ามันถูกภัยน้ำท่วมแย่งซีนไปเสียหมด แม้ว่าในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในอำเภออมก๋อย, อำเภอสะเมิง และจังหวัดน่านในอำเภอเมือง, อำเภอเฉลิมพระเกียรติ, อำเภอบ้านหลวงและอำเภอนาน้อย จะได้รับการประกาศเป็นเขตที่ประสบภัยหนาวเป็น 2 จังหวัดแรกแล้วก็ตาม และคาดว่าในอีกไม่นานหลายๆ อำเภอของจังหวัดที่อยู่ทางภาคเหนือและภาคอีสานของไทย ก็กำลังจะต้องเผชิญกับภัยหนาวในเร็ววัน ถึงตอนนั้น ประชาชนคนไทยในพื้นที่ดังกล่าวก็จะต้องเดือดร้อนกันถ้วนหน้า และพวกเขาเหล่านั้นก็จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเยียวยาไม่แตกต่างจากผู้ประสบภัยน้ำท่วมเช่นกัน ‘ลานีญา’ คือสาเหตุของภัยหนาว ภัยหนาวกับอากาศหนาว แม้ว่ามันจะดูคล้ายๆ กัน แต่ในความเป็นจริงแล้วภัยหนาวมันน่ากลัวกว่านั้นมาก ในประเด็นนี้ ผศ.ดร.จิรพล สินธุนาวา อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอุปนายกสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม อธิบายถึงลักษณะของภัยหนาวที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยว่า เป็นผลสืบเนื่องมาจากปรากฏการณ์ลานีญา ซึ่งยังคงมีอิทธิพลปกคลุมประเทศไทยอยู่ เพราะฉะนั้นผลก็คือจะมีฝนเยอะ และพอหมดฝนความหนาวเย็นเข้าแทนที่อย่างรวดเร็ว โดยองค์ประกอบของภัยหนาวที่สำคัญคือ 'หนาวเร็ว' 'หนาวลึก' และ 'หนาวนาน' หรือพูดง่ายๆ คืออากาศจะหนาวเย็นอย่างกะทันหัน และมีความนานมากเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นผลมาจากลมมรสุมซึ่งจะพัดพาความหนาวมาให้ ที่สำคัญอากาศที่อุณหภูมิเช่นนี้จะปกคลุมพื้นที่นานกว่าช่วงที่ไม่มีปรากฏการณ์ใดๆ "ถ้าเราสังเกตช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา ฤดูหนาวมันหดสั้นลง เป็นจำนวนวันที่ร้อนมากขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าเกิดกรณีแบบนี้ จำนวนวันที่หนาวมันก็จะยืดออกไป และอุณหภูมิมันก็ลดลงเรื่อยๆ อย่างปีที่ผ่านมา ลมหนาวมาถึงปลายเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นผลจากลานีญาเช่นเดียวกัน และปีนี้ก็เช่นกัน เมื่อลานีญายังอยู่ในกรอบอิทธิพลอยู่ เราก็พอเข้าใจว่าความหนาวก็คงปกคลุมอยู่แน่ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ปกติ” ซึ่งพื้นที่ที่คาดว่ามีโอกาสสูงเป็นพิเศษก็คือพื้นที่สูง อย่างภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้ รวมไปถึงพื้นที่ในจังหวัดราชบุรีลงไป อาจจะไม่ต้องกังวลอะไรมาก เพราะโอกาสที่เจอภัยหนาวมีค่อนข้างน้อย แต่อย่างว่า เมื่อเรื่องเหล่านี้มีผลมาจากอิทธิพลของลมฟ้าอากาศ โอกาสที่จะหาแนวทางป้องกันหรือยับยั้งก็คงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นทางที่ดีที่สุด ก็คือเตรียมรับสภาพ และปรับตัวให้ได้ เพราะรู้กันอยู่แล้วว่า โดยทั่วไปช่วงปลายฝนต้นหนาว คนที่ร่างกายไม่สมบูรณ์เพียงพอ ก็อาจจะเจ็บป่วยได้ง่าย ซึ่งตรงนี้จะเป็นมากที่สุด กับเด็กและผู้สูงอายุ รวมไปถึงคนที่ต้องเผชิญกับอุทกภัย ซึ่งหากน้ำยังไม่ลดระดับลง ก็เท่ากับได้รับผลกระทบแบบทวีคูณเลย “เรื่องพวกนี้เราต้องเตรียมตัวให้ร่างกายรับได้ต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่ลงต่ำอย่างรวดเร็ว ปัญหาจะเกิดขึ้นมาก ถ้าลมพัดแรง แบบนี้จะทำให้คนมันสะท้าน ถ้าเผื่อไม่มีเสื้อผ้าที่เพียงพอ หรืออยู่ในที่บังลมได้เพียงพอ ลมหนาวก็จะดึงพลังจากร่างกายออกเยอะ มันก็จะวีค (รู้สึกอ่อนแอ) แล้วก็ตามมาด้วยปัญหาเรื่องโรคทางเดินหายใจ หวัด และถ้าคนไหนไม่ฟื้นจากภาวะน้ำท่วม ขายังแช่น้ำอยู่ ก็ยิ่งทุกข์ระทม เพราะสภาพจิตใจก็ยังไม่ฟื้นจากการแก้ไขปัญหาเดิม แล้วยังต้องมาเจอปัญหาใหม่อีก “เพราะฉะนั้นตอนนี้ไม่ต้องรอพึ่งรัฐบาลหรอก ขอเตรียมเนื้อเตรียมตัวให้ร่างกายแข็งแรงไว้ พักผ่อนให้เพียงพอ รวมไปถึงความเครียดที่เป็นด้วย ไม่ใช่พอภัยหนาวมาก็ไปรอรับแต่ถุงยังชีพ เพราะมันไม่ได้ช่วยทำอะไรให้ดี และถ้าเกิดเขาไม่มาเราก็จะแย่ ดังนั้นก่อนอื่นต้องพึ่งพาตัวเอง ไม่มีถุงยังชีพเราก็อยู่ได้ เพราะเมื่อเราไม่หวังก็ยังไม่ผิดหวัง และมันจะยังทำให้สังคมเราแข็งแรงขึ้นอีกด้วย” ‘ภัยหนาว’ ไม่ใช่แค่ ‘ฤดูหนาว’ หลายๆ คนคงจินตนาการถึงความร้ายแรงของภัยหนาวไม่ออก ซึ่งไม่น่าแปลกอะไรเพราะอากาศหนาวๆ แบบเย็นสบายนั้น เป็นสิ่งที่คนเมืองใฝ่ฝันถึงอยู่แล้ว แต่ก็อย่างที่บอกว่าภัยหนาว มันไม่ใช่แค่อากาศหนาวธรรมดา 24 องศาเซลเซียสเท่าห้องแอร์ แต่มันทั้ง 'หนาวเร็ว' 'หนาวลึก' และ 'หนาวนาน' และมันก็คงไม่ใช่เรื่องที่น่าสนุกหากมนุษย์ต้องไปอยู่ท่ามกลางภูมิอากาศแบบนั้น ไม่เชื่อลองไปฟังปากคำของพวกเขากันดู ประดิษฐ์ เพชรแสนอนันต์ ผู้เคยใช้ชีวิตอยู่ในอำเภอบ่อเกลือ อำเภอที่หนาวเย็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่าน เล่าว่า เขาต้องเผชิญกับความหนาวเย็น และเนื่องจากพื้นที่ที่เขาอยู่นั้นห่างไกลจากโรงพยาบาล เมื่อเจ็บไข้จึงทำให้รักษาอย่างลำบาก และในบางปีคนเฒ่าคนแก่ก็ต้องจากโลกไปด้วยพิษจากลมหนาวที่แสนยาวนาน “บ่อเกลือเป็นพื้นที่ที่ฤดูหนาวค่อนข้างจะยาว หมายถึงว่าโน่นแหละเดือนกุมภาพันธ์ถึงจะหมดฤดูหนาว คนในพื้นที่บ่อเกลือก็จะมีปัญหาสุขภาพจากอากาศหนาว เช่น เป็นหวัด ปอดบวม เป็นประจำ แล้วโรงพยาบาลก็จะเป็นโรงพยาบาลเล็กๆ แบบโรงพยาบาลสิบเตียงถ้าจะไปที่โรงพยาบาลจังหวัดก็ไกล เพราะว่าที่บ่อเกลือเนี่ย ห่างจากที่ที่จังหวัดน่านประมาณร่วมร้อยกิโลเมตร ที่นี่ขาดแคลนในเรื่องของเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มก็อยู่ตามสภาพ ต้องนั่งผิงไฟกันที่ผ่านมาก็มีคนเฒ่าคนแก่เสียชีวิตเพราะหนาวตายอยู่บ้าง” ส่วนในเรื่องของความช่วยเหลือจากภาคส่วนต่างๆ ที่ผ่านมานั้น เขาบอกว่าก็มีมาอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ไม่น่าจะทั่วถึง ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เข้าถึงยาก ในบางพื้นที่ถึงกับต้องเดินเท้ากันเป็นวันๆ “ก็มีนะ จังหวัดก็มีโครงการช่วยภัยหนาวอะไรแบบนี้ ก็เป็นการแจกเสื้อผ้า พวกเอกชนก็ที่เห็นเมื่อก่อนก็เป็นผ้าห่มของช้าง แต่คิดว่าก็คงไม่ทั่วถึง เพราะพื้นที่บ่อเกลืออยู่ห่างไกล บางหมู่บ้านต้องเดินทางด้วยเท้าเป็นครึ่งวันเป็นวัน เพราะการแจกก็จะแจกในที่ไปถึงไปได้ ในพื้นที่ไกลๆ คงไปไม่ได้” ส่วนคนในฝั่งพื้นที่ที่กลายเป็นพื้นที่ภัยพิบัติไปแล้วอย่างอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้กล่าวถึงสถานการณ์ภัยหนาวที่ต้องเผชิญว่า “ตอนนี้มันไม่ถึงขั้นวิกฤต แต่ถามว่าเดือดร้อนไหม...เดือดร้อน ในส่วนของอากาศหนาวเย็นของอำเภอสะเมิงเป็นทุกปีอยู่แล้ว เพียงแต่ปีก่อนๆ ไม่ถึงขั้นเป็นพื้นที่ประกาศภัย พื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนกันมากๆ ก็เป็นบ้านบนดอยทั้งหมด บ้านบ่อแก้ว, หยั้งเมิน, สะเมิงเหนือ เพราะสะเมิงเป็นพื้นที่ภูเขามี คนพื้นเมืองกับคนชาวดอยจะได้รับผลกระทบมาก ขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม” สุพัตรา เกษศิริ ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครอง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ก็เปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยหนาวของอำเภอสะเมิง “ส่วนมากจะเป็นผ้าห่มที่นำมาบริจาค ก็ยอมรับว่าแจกไม่ทั่วถึงนะ ครัวเรือนหนึ่งไม่ได้ทุกคนได้แค่ครัวเรือนละหนึ่งผืน บางทีบ้านหนึ่งมีกันเป็นสิบคนแต่ปีหนึ่งได้ผืนหนึ่งมันก็ไม่พอ แล้วหมู่บ้านหนึ่งมันก็ไม่ได้ทุกบ้าน ก็ต้องสำรวจกันอีกว่าใครเดือดร้อนจริงๆ แล้วมาดูผ้าห่มที่ได้รับบริจาคว่ามีกี่พันผืนแล้วก็กระจายให้หมู่บ้านที่เขาเดือดร้อนตามจำนวนที่สำรวจมา แล้วถึงเวลาก็จะให้คูปองมารับตอนที่เข้าไปแจก” ปัญหาที่แก้ได้เพียงเฉพาะหน้า จริงอยู่ ที่ภัยหนาวนั้น เป็นภัยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนั้น จึงแทบจะไม่มีทางเลย ที่มนุษย์ตัวเล็กๆ อย่างเราจะไปฝืนห้ามปรามไม่ให้มันเกิด อย่างดีที่สุดเราก็ทำได้เพียงแค่การป้องกันรับมือเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่า เมื่อภัยหนาวเวียนมาถึงในแต่ละทีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ก็จะออกมาระดมทุนแจกผ้าห่มและเสื้อผ้ากันทีหนึ่ง นั่นทำให้หลายคนสงสัยว่า แท้จริงแล้ว มันไม่มีหนทางในการจัดการกับภัยหนาวแบบที่ยั่งยืนกว่านี้เลยหรือ ในประเด็นนี้ ภาณุ แย้มศรี ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กล่าวถึงแนวทางป้องกันภัยหนาวของภาครัฐว่า ได้มีการจัดตั้งศูนย์เฉพาะเพื่อดูแลรับผิดชอบงาน ตั้งแต่การประชาสัมพันธ์แจ้งเตือน เตรียมตัวบุคลากรของภาครัฐให้พร้อมเพื่อลงช่วยเหลือ จนถึงร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ในการแจกจ่ายเครื่องกันหนาว “ภัยหนาวเป็นภัยธรรมชาติที่ป้องกันได้ยากมาก สิ่งที่ชาวบ้านควรทำในการป้องกันนั้น คือการซ่อมแซมบ้านตัวเองเพื่อไม่ให้อากาศหนาวแทรกเข้ามาในบ้าน จัดเตรียมเครื่องกันหนาว และอีกสิ่งหนึ่งที่ตามมากับภัยหนาวคือ ความแห้งของอากาศ ที่อาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย จึงมีการทำแนวป้องกันอัคคีภัยไว้ด้วย” โดยเขายอมรับว่า จุดอ่อนอยู่ที่การทำงานด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่อาจจะยังไม่ทั่วถึง กับชาวบ้านที่อยู่บนดอย หรืออยู่ห่างไกล ทั้งนี้ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัยมั่นใจว่า ภัยหนาวยังคงอยู่ในวิสัยที่ป้องกันได้อยู่ ด้วยเพราะเมืองไทยไม่ได้เจอภัยหนาวในระดับที่เท่ากับประเทศที่เป็นเมืองหนาวจริงๆ “ปัจจุบันภัยหนาวสำหรับเมืองไทยแล้ว ยังอยู่ในวิสัยที่เราดูแลควบคุมได้” ส่วนคำตอบของคำถามที่ว่าเหตุใดจึงต้องนำผ้าห่มมาแจกจ่ายชาวบ้านทุกปีโดยไม่สามารถทำอย่างอื่นได้มากกว่านั้น ภาณุมองว่า ทั้งหมดมันเกิดจากปัญหาของโครงสร้างทางเศรษฐกิจนั่นเอง “สำหรับชาวบ้านที่ด้อยโอกาสในการหาเครื่องกันหนาว แน่นอนว่ารัฐจำเป็นต้องเยียวยาในส่วนนี้ เพื่อช่วยเหลือ ซึ่งว่ากันง่ายๆ หากเขาหาเครื่องกันหนาวกันเองได้ การลงมาแจกเครื่องกันหนาวทุกปีก็คงไม่จำเป็น แต่โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ มันไม่สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และทำให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ให้ประชาชนมีความพร้อมซึ่งปัจจัยสี่ที่เขาจะหาเองได้” ……… กล่าวโดยสรุป ภัยหนาวที่พี่น้องประชาชนไทยในที่สูงต้องประสบนั้น เป็นภัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างสมบูรณ์เพราะมันมีสาเหตุมาจากธรรมชาติ ซึ่งสิ่งที่สามารถทำได้ ก็เป็นเพียงการเตรียมการให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการซ่อมแซมบ้าน หรือจัดหาเครื่องนุ่งห่มเครื่องกันหนาว แต่กระนั้น ตัวผู้ประสบภัยเอง บางครั้งก็ไม่สามารถเตรียมการได้อย่างพอเพียง เนื่องมาจากฐานะทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอเกินกว่าจะจัดซื้อปัจจัยพื้นฐานได้อย่างพอเพียง ดังนั้น การออกมาแจกผ้าห่มของภาครัฐและเอกชน ก็คงยังจะเป็นวัฏจักรที่ดำเนินต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด ตราบใดที่โครงสร้างของสังคมไทยยังไม่อนุญาตให้คนยากคนจนลืมตาอ้าปากและยืนอยู่ได้บนลำแข้งของตัวเอง >>>>>>>>>> ………. เรื่อง : ทีมข่าว CLICK ภาพ : ทีมภาพ CLICK จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000149517
|
|
|
|
|