เหยง 16
|
|
« ตอบ #1375 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 20:17:34 » |
|
ต้องก้าวให้พ้นจุดนี้ให้ได้ครับ ทุกควรควรมีสิทธิครอบครองที่ดิน อย่างไรก็ตาม การรักษาที่ดินให้อยู่รอดไปถึงรุ่นลูก-รุ่นหลานก็มีความยากเย็นเช่นกัน มีจุดอ่อนในตัวเกษตรกรครับ วิธีการเพาะปลูกไม่เหมือนเดิม เอาแต่จ้างคนอื่นทำ เป็นเรื่องยากแก่การแก้ไข 1.เกษตรกรไม่ใช้วิธีของปู่ย่าตายาย หันไปจ้างเครื่องมือเครื่องจักร เป็นการสร้างรายจ่ายเพิ่มขึ้น การออกแรงทำการไถ หว่าน หรือเกี่ยวข้าว ทำให้คนไทยมีสุขภาพดี เพราะได้ออกกำลัง แต่เดี๋ยวนี้ไม่ทำแล้ว จ้างทุกอย่าง 2.ไม่มีเงิน ไม่ยอมทำเอง จึงต้องกู้เพื่อนำมาใช้จ่าย ภาระจึงเพิ่มขึ้น 3.ไม่มีมาตรการช่วยเหลือมารองรับ เช่น การประกันราคา การประกันภัยผลผลิต ทำให้เกษตรกรรับเคราะห์เมื่อมีภัยมา 4.เพาะปลูกแบบเฮฮา คือ เห็นราคาดีก็แห่ปลูกกันจนล้นตลาด ขาดหลักวิชา เช่น ไม่รู้ข่าวพยากรณ์อากาศ เช่น แล้ง-แต่ก็จะปลูก หรือเก็บเกี่ยวกลางฝน ข้าวจะเสียคุณภาพ ราคาตก แต่ก็ปลูก 5.ไม่รู้ราคาตลาดล่วงหน้า ปลูกแบบคิดว่าจะได้ราคาดีตลอดเวลา ผมเคยโดนสมาชิกสหกรณ์การเกษตรโห่ไล่ เมื่อไปบอกเขาเมื่อปี 2551 ว่า ราคาข้าวโพดจะตกต่ำเพราะปลูกกันเยอะมาก และฝนดีตลอดฤดู ได้ข้าวโพดมากเกินกว่าที่จะใช้ เขาไม่เชื่อ โห่ใส่ แต่ก็เป็นจริงครับ ปีนั้นราคาข้าวโพด มันเส้น ข้าว ตกต่ำทั้งหมด เพราะแห่ปลูกตามตลาดโลก
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #1376 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 21:23:15 » |
|
หลายเรื่องจนเบรอคะพี่เหยง! แต่เห็นแว้บๆว่าพี่คุยเรื่องที่ดิน, หนิงเคยเปรียบเทียบให้ฟัง ถึงระบบที่โน่นที่ระวัง-ป้องกัน ไม่ให้ใครถือครองโดยไม่ทำกิน การปกป้องไม่ให้มีการกว้านซื้อ ที่ใครคนใดคนหนึ่งถือเป็นพันเป็นแสนไร่ ส่วนใหญ่ของคนมากๆไม่ได้ถือครอง.
ครอบครัว-บรรพบุรุษทางพ่อแม่แฟนหนิง เป็นชาวนา ชาวไร่มาก่อน ปลูกมันฝรั่ง ปลูกป่า ปลูกผัก เพิ่งมาเปลี่ยนแปลง สมัยพ่อแฟนหนิงที่ได้ไปฝึก-เรียนอาชีพ ป่าแกยังดูอยู่ แต่ที่นาน่ะให้เค้าเช่าทำคะ หลายผืนทางเมืองกว้านซื้อเข้าเป็นของ ส่วนกลาง จัดสรรเป็นหมู่บ้าน Wohngebiet ที่พ่อแฟนหนิง แม่แฟนหนิงจะได้รับสิทธิ์ คำนวณ มูลค่าออกมาเป็นราคาประเมิน ได้เป็นที่ดินปลูกบ้านที่ค่าเพิ่มหลายเท่า แต่เหลือไม่กี่ผืนเล็กๆคะ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1377 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 21:23:44 » |
|
พี่อรครับ พูดคุยกันเรื่องรถยนต์หรู ไม่ทันไร ไทยรัฐออนไลน์วันนี้ก็มีข่าวมาลงเลย ลัมเบอร์กีนีกัลลาร์โดใหม่มาแล้ว คาร์แมกซ์พระราม9จัดหนักยั่วใจราคาคันละ 21.5 ล้านบาท อ่านข่าวได้ใน... http://www.thairath.co.th/content/life/151892
|
|
|
|
pusadee sitthiphong
|
|
« ตอบ #1378 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 21:24:09 » |
|
วันนี้มาแรง โพสท์เยอะ คุณแม่สบายดีหายห่วงแล้วใช่ไหม ติ๋มบอกว่าจะอยู่เชียงใหม่ 28มีนา-3เมษา ป้อมไม่รู้ว่าจะบินตรงมาเชียงใหม่เลยหรือลงกรุงเทพฯก่อน ถามแล้วยังไม่ได้รับคำตอบค่ะ
|
pom shi 2516
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #1379 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 21:34:03 » |
|
ฟังแล้วนึกภาพคะ, สมมติว่ารัฐหรือเมืองเวนคืนที่ เพื่อทำ Wohngebiet เจอะที่นา ของผู้ใดกี่ไร่ กี่งานก็ตามแต่ เวนคืนซื้อด้วยrateที่นา ตารางเมตรละ 1-2-3-€ถูกมากๆคะ คำนวณที่นาที่เวนคืน ได้เป็นราคาที่ดินปลูกสร้างบ้าน... ตารางเมตรละ (ราคาประเมินท้องที่)500-600 € พ่อ-แม่แฟนหนิงจะเหลือที่ปลูกบ้าน 2-3ผืน ผืนละ700-800 ตารางเมตร! ผืนไหนที่ยังไม่เวน....ต้องแสดงให้เค้าเห็นคะ ว่า"bewirtschaftet"ทำกินบนที่ผืนนั้น! แม่แฟนหนิง ลงปลูกมันฝรั่งมาชั่วชีวิต เพิ่งมาหยุดเมื่อผ่าตัด สะโพก เมื่อปี1997นี่เอง ก็ให้ญาติๆกันนั้นทำคนเดียว นำมันฝรั่งมาส่งเป็นค่าเช่าทุกปีครึ่งห้องใต้ดินได้คะ.
ยังมีระบบเกื้อกูลกันอยู่พี่.
|
|
|
|
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562
|
|
« ตอบ #1380 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2554, 09:51:18 » |
|
ขอบคุณค่ะ น้องเหยง ที่ส่งมาให้ดูนี่ ชอบรถ หรือชอบนางแบบประกอบกันคะ
|
|
|
|
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562
|
|
« ตอบ #1381 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2554, 09:57:52 » |
|
ที่เยอรมัน เขา ใช้ ระบบรังวัดที่ดิน เป็น hectare ใช่ไหมคะน้องหนิง แล้วหากไม่มีการเวนคืน จำกัดการถือครองหรือไม่ หากจำกัดเป็นบุคคล หรือเป็นครอบครัว แล้วส่วนที่เกินรัฐจัดการอย่างไร พี่เข้าใจว่าเมื่อไทยกำหนดการจำกัดการถือครองก็เป็นไปตามแนวทางของยุโรป เช่นของอังกฤษประกอบกันด้วย ของเยอรมัน พี่ยังไม่เคยศึกษาจริงๆจังๆ อ่านของอังกฤษมากว่า เนื่องจากเราใช้ ระบบเดิมของอังกฤษเป็นต้นแบบของทะเบียนที่ดิน
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1382 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2554, 23:33:39 » |
|
ยังไม่ดีมากนักครับ แม่คงดื้อกับผู้ช่วยฯ ไม่ยอมทำกายภาพตามคำแนะนำ แต่ที่ได้โพสต์เพราะมีโอกาสเข้าเว็ปได้นานครับ แต่วันนี้เวลาไม่มีเลย เพราะไปต่อภาษีรถยนต์ เสียเวลานานมาก นานกว่า 2 ชั่วโมง เมื่อเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ตรวจสภาพเขียนผิด อีกคนเลยไม่ยอมรับต่ออายุภาษี ทั้งๆที่ไม่ใช่ความผิดของเรา ต้องไปให้ จนท.เซ็นรับรองให้ว่าเขียนผิด...??
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1383 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2554, 23:37:20 » |
|
แล้วติ๋มบอกหรือเปล่าว่า จะมาเมืองไทยกี่วัน ช่วงต้นเมษายน เป็นช่วงวันเช็งเม้งซะด้วยซี 28 มี.ค. - 3 เมย. ก็ 8 วันเข้าไปแล้ว
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1384 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2554, 23:39:57 » |
|
จะส่งแต่ภาพรถอย่างเดียวก็ไม่ได้ครับ ทุกภาพมีนางแบบประกบหมด ไทยรัฐมีระบบห้าม copy & paste ด้วยครับ ต้องใช้วิธี save webpage complete แล้วจึงเข้าไป copy ภาพมาวาง
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1385 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2554, 23:45:19 » |
|
เมืองไทยใช้วิธีเวรคืนแบบนี้คงยาก อย่างขณะนี้จะสร้าง ม.มหิดล ขึ้นใหม่ในจังหวัดนครสวรรค์พร้อมโรงพยาบาล 300 เตียง ปรากฎว่า บริเวณที่ดินมีคนไปซื้อเอาไว้แล้ว ทั้งที่จะเป็นที่ตั้งมหา'ลัย โรงพยาบาลและรอบๆ ส่วนที่เวรคืนก็คิดค่าต้นไม้ใหญ่ ต้นกล้วย สารพัด ในขณะที่บริเวณรอบนอกมหาวิทยาลัย ก็แบ่งที่ขายกันเป็นแปลงๆไป ติดถนนใหญ่ก็มีคนสร้างห้องแถวกันแล้ว ขณะที่มหาวิทยาลัยยังเพิ่งเกรดที่ดินและรังวัดอยู่เลย
|
|
|
|
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562
|
|
« ตอบ #1386 เมื่อ: 01 มีนาคม 2554, 16:22:05 » |
|
คนมีสตางค์และมีอำนาจ เส้นสาย มักจะหูไวตาไวค่ะ ไปซื้อเก็บไว้ก่อนถูกๆ พอโครงการขึ้น หลวงก็ไปซื้อต่อแพงๆ กระจายรายได้ ในกลุ่มกันไป ตาสีตาสาไม่รู้เรื่องก็ขายมาถูกๆ พอโครงการขึ้นก็เสียดายกัน เป็นอย่างนี้ตลอดกาล
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1387 เมื่อ: 01 มีนาคม 2554, 17:14:16 » |
|
ฉ้อราษฎร์ คือโกงประชาชน ปกปิดไม่ให้รู้เรื่อง โดย insider บังหลวง ปกปิดข้อเท็จจริง แม้จะเป็นข้าราชการ ก็ยังทำซะเอง
ชาวบ้านจึงตามไม่ทัน ขนาดพวกเรายังไม่ทราบเลย
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1388 เมื่อ: 01 มีนาคม 2554, 17:21:46 » |
|
วันนี้ไปรษณีย์นำส่งไปให้ที่บ้านครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1389 เมื่อ: 01 มีนาคม 2554, 17:22:06 » |
|
เปิดออกดู พบหนังสือ 1 เล่ม
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1390 เมื่อ: 01 มีนาคม 2554, 17:25:23 » |
|
สารบัญบอกว่ามี อาเศียรวาท บทความ ภาพงามปิยมหาราชานุสรณ์ 2553 รายชื่อคณะกรรมการ สนจ.
หากมีสาระสำคัญ จะนำมาเล่าในภายหลังครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1391 เมื่อ: 01 มีนาคม 2554, 18:22:53 » |
|
บทความนี้เป็นของ อจ.นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ น่าสนใจครับเป็นเรื่อง"เขื่อนปากมูล" ความแตกต่างระหว่างเขื่อนและรถเมล์ฟรีวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เวลา 21:10:00 น. โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ 22 ปีมาแล้วที่เริ่มก่อสร้างเขื่อนปากมูล ชาวบ้านต่อต้านคัดค้านโครงการนี้อย่างหนัก ถึงขนาดลงไปนั่งประท้วงตรงที่จะระเบิดหินก้นแม่น้ำ แต่ก็ถูกตำรวจขับไล่จับกุม เข้าร่วมประชาพิจารณ์ในจังหวัด ก็ถูกนักเลงไล่ชก แถมยังถูกตำรวจจับเสียอีก
การใช้อำนาจเถื่อนของผู้ต้องการก่อสร้าง ไม่ได้เกิดจากความต้องการไฟฟ้า แต่เกิดจากผลประโยชน์จำนวนมหึมาที่ได้จากการก่อสร้างโครงการ แบ่งปันกันในหมู่นักการเมือง, ข้าราชการ และผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น
แล้วโครงการนี้ก็ดำเนินไปจนสำเร็จ ท่ามกลางความเดือดร้อนแสนสาหัส และการประท้วงต่อต้านของชาวบ้าน โดยมีกำลังผลิตติดตั้งเพียง 136 เมกะวัตต์ (กำลังผลิตติดตั้งพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ "ตามแผน" ไม่ใช่ผลิตได้จริง) ไฟฟ้าจำนวนน้อยนิดนี้มีไว้เพื่อประกันความมั่นคงด้านไฟฟ้าของอีสานใต้ ทั้งๆ ที่มีทางเลือกได้อีกหลายอย่าง แต่ที่เลือกทางนี้เพราะคาดว่าจะมีราคาถูกสุดแก่ผู้ผลิต
แลกกับแม่น้ำสายที่ยาวสุดของอีสานไปหนึ่งสาย รวมถึงชีวิตของผู้คนที่เกาะเกี่ยวกับแม่น้ำสายนี้ไปตลอดเส้นทาง
แต่ในความเป็นจริง เขื่อนปากมูลให้ "กำไร" น้อยมาก ระหว่าง 2547-2552 เขื่อนปากมูลผลิตไฟฟ้าได้มีมูลค่าเท่ากับ 324 ล้านบาทต่อปี แต่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยถึงปีละ 225 ล้านบาท ปีหนึ่งจึงทำ "กำไร" ได้เพียง 99 ล้านบาทเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ของเขื่อนปากมูลจากการคำนวณใน พ.ศ.2543 อยู่ในระดับ 7.88 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ของประเทศไทย
กฟผ.อาจได้ "กำไร" แต่ประเทศไทย "ขาดทุน"
ผู้ที่ขาดทุนที่สุดคือชาวบ้าน โดยเฉพาะชาวบ้านปากมูล เพราะเขื่อนทำลายระบบนิเวศของแม่น้ำมูลบริเวณนี้ลงอย่างย่อยยับ พันธุ์ปลาจำนวนมากหายไป ทั้งๆ ที่บริเวณนี้คือแหล่งเพาะพันธุ์ปลาที่ใหญ่มากของระบบแม่น้ำโขง พืชอีกหลากหลายชนิดไม่อาจขึ้นได้เมื่อน้ำท่วมหลังเขื่อนตลอดปี ที่บุ่งทามซึ่งชาวบ้านเคยใช้ปลูกพืชระยะสั้นอันตรธานไป พร้อมกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของวัชพืชเช่นไมยราบยักษ์ เขื่อนดันน้ำให้เอ่อล้นไปท่วมจนถึงอำเภอวารินชำราบและบางส่วนของอำเภอเมืองอุบลราชธานีในปลายฤดูฝนทุกปี โดยสรุปก็คือ เขื่อนได้ยึดเอาทรัพยากรทุกอย่างของชาวบ้านไปผลิตกำไรให้ กฟผ.เพียงปีละ 99 ล้านบาท
ฝ่ายชาวบ้านหรือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบกลับยิ่งประสบเคราะห์กรรมหนักกว่านั้นขึ้นไปอีก ในปี 2537 รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนคือกว่า 6 หมื่นบาทต่อปี ครั้นถึง พ.ศ.2542 ลดลงเหลือเพียงกว่า 4 หมื่นบาท ใน พ.ศ.2533 ภาวะความยากจนของชาวบ้านคิดเป็นร้อยละ 32.7 ก่อนการสร้างเขื่อน ครั้นถึง พ.ศ.2543 ความยากจนของชาวบ้านกลับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 62.51 จึงไม่แปลกอะไรที่ก่อนการสร้างเขื่อน ชาวบ้านออกไปหางานทำนอกพื้นที่เพียง 14.2% แต่หลังการสร้างเขื่อนเพิ่มเป็น 63.3% พูดอีกอย่างหนึ่งคือเขื่อนปากมูลทำให้ผู้คนบ้านแตกสาแหรกขาดกว่า 4 เท่าตัว ทั้งหมดนี้เอาไปแลกกับไฟฟ้า ก็ได้ไฟฟ้ากลับมาอย่างไม่คุ้มทุนดังที่กล่าวแล้ว (ทั้งๆ ที่ไม่ได้นำเอาต้นทุนทางนิเวศและสังคมเข้าไปคำนวณด้วย)
เพื่อจะให้ กฟผ.ดึงดันปิดประตูเขื่อนต่อไป กรมชลประทานจึงลงทุนสร้างระบบชลประทานขึ้นด้วยเงินถึง 1,162 ล้านบาท แต่ระบบชลประทานสูบน้ำแต่ละสถานีก็สูบน้ำปริมาณที่ต่ำมาก เพราะพื้นที่ของประชาชนที่ได้รับผลกระทบไม่ได้ต้องการน้ำมากอย่างนั้น พลังงานไฟฟ้าที่ต้องใช้ในการสูบน้ำมีราคาแพงกว่าที่ผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่จะจ่ายได้
ต้นทุนของเขื่อนปากมูลนับวันก็ยิ่งสูงขึ้นเป็นภาระแก่คนทั้งประเทศไม่สิ้นสุด เพื่อสังเวยความดึงดันของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจที่จะปิดประตูเขื่อนให้ได้ นับตั้งแต่บันไดปลาโจนซึ่งไม่มีปลาโจน ไปจนถึงการปล่อยกุ้งก้ามกราม ซึ่งขยายพันธุ์ได้ในน้ำกร่อยเท่านั้น จึงเป็นภาระต้องปล่อยลูกกุ้งทุกปี ด้วยปริมาณผลตอบแทนที่น้อยมากเพราะปริมาณของลูกกุ้งที่จะอยู่รอดมีน้อย ในระบบนิเวศที่ผิดแปลกนี้ จนมาถึงการชลประทานที่ทำงานได้ไม่คุ้ม และเงินจ้างนักเลงอันธพาลบ้าง ม็อบบ้าง เพื่อยกกำลังมาสู้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ (และก็คงต้องจ้างกันต่อไปทุกครั้งที่ชาวบ้านปากมูลเคลื่อนไหวให้เปิดเขื่อน)
ชาวบ้านได้เสนอให้เปิดเขื่อนถาวรมานานแล้ว หลายรัฐบาลที่ผ่านมาและรัฐบาลปัจจุบันได้ตั้งคณะกรรมการวิชาการขึ้นศึกษาหาทางออก และคณะศึกษาไม่รู้จะกี่ชุดมาแล้ว ก็เสนอตรงกันว่าให้เปิดเขื่อนถาวร แต่ทุกรัฐบาลและรัฐบาลนี้ก็หาทางผัดผ่อนไม่ทำตามข้อเสนอตลอดมา ศึกษาแล้วศึกษาอีก ถึงได้ผลตรงกันอย่างไร ก็ไม่มีรัฐบาลใดกล้าตัดสินใจตามการศึกษาสักรัฐบาลเดียว
อย่างเก่งสุดคือรัฐบาลทักษิณ ที่ประนีประนอมด้วยการให้ปิดประตูเขื่อน 8 เดือน และเปิด 4 เดือน ซึ่งเป็นมาตรการที่ไม่ตอบสนองอะไรสักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือฟื้นฟูระบบนิเวศ แต่อาจตอบสนองทางการเมืองบ้างเท่านั้น ใน พ.ศ.2544 รัฐบาลยอมเปิดเขื่อนเป็นการทดลองเพื่อศึกษา 1 ปี
การศึกษาที่ตามมาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก็ชี้ให้เห็นว่า ควรเปิดเขื่อนถาวร เพราะมีผลดีมากกว่าผลเสียในทุกทาง แต่แล้วรัฐบาลก็หันมาปิด 8 เปิด 4 เหมือนเดิม
ผมพยายามหาคำอธิบายว่า เหตุใดความรู้และเหตุผลที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเลขจึงไม่มีพลานุภาพแก่การตัดสินใจของรัฐบาลไทยเลย? หลังคิดและเรียนรู้มาหลายวัน ผมคิดว่ามีเหตุผลอยู่ 3 ประการ
1.หลายปีมานี้ เราพูดกันว่า ระบบราชการ (รวมรัฐวิสาหกิจ) เสื่อมอำนาจลง จนเราไม่อาจพูดถึงการเมืองของรัฐราชการได้อีกแล้ว นี่ก็เป็นวิธีมองอย่างหนึ่ง แต่เราสามารถมองอีกอย่างหนึ่งก็ได้ว่า ระบบราชการไทยได้เปลี่ยนไปจากเดิม กล่าวคือมีความจำเป็นต้องผนวกเอาชนชั้นนำอื่นๆ นอกราชการมาไว้ใน "ระบบ" เดียวกัน ได้แก่ ทุน, คนชั้นกลางระดับกลางขึ้นไป, (หรือรวมแม้แต่คนชั้นกลางระดับล่างอีกจำนวนมากด้วย), คนชั้นกลางที่มีการศึกษาและนักวิชาชีพซึ่งเรียกว่าคนชั้นกลาง "ใหม่", อิทธิพลท้องถิ่น, นักการเมือง ฯลฯ
ภาวะการนำไม่รวมศูนย์กับราชการต่อไปก็จริง แต่ดูเหมือนจะกระจายด้วยการ "เกี้ยเซี้ย" ระหว่างกัน ทั้งหน้าฉากและหลังฉาก ทั้งโดยเปิดเผย และทั้งโดยนัยยะ โดยราชการยังเป็นศูนย์ของการ "เกี้ยเซี้ย" อยู่ เพราะราชการมีอำนาจที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามการ "เกี้ยเซี้ย"
นักการเมือง (ทั้งที่ได้อำนาจผ่านหีบบัตรเลือกตั้งและปากกระบอกปืน) มีอำนาจในทางทฤษฎี แต่เอาอำนาจนี้ไปบริหารให้เป็นไปตามนโยบายหรืออุดมคติอะไรในทางปฏิบัติไม่ได้ ฉะนั้น แทนที่นักการเมืองจะกลายเป็นอัศวินรบกับกังหันลมให้เหนื่อยเปล่าๆ นักการเมืองจึงเข้ามาขอแบ่งปันผลประโยชน์ หรือทำให้การ "เกี้ยเซี้ย" มีประโยชน์ตกถึงนักการเมืองในสัดส่วนที่น่าพอใจ เช่นโครงการสร้างเขื่อน (เล่น) นี้ นักการเมืองก็ได้ส่วนหนึ่งเพราะเป็นผู้อุดหนุนให้สร้างตามคำแนะนำของราชการ คนในราชการก็ได้ (โดยตรงหรือโดยผ่าน กฟผ.หรือนักการเมืองก็ตาม) พ่อค้าผู้สร้างก็ได้ แม้แต่ผู้เจรจาขอกู้เงินมาสร้างยังได้ด้วยเลย
การที่ราชการ "ผนวก" คนอื่นเข้ามา จึงไม่ได้ทำให้ราชการเสื่อมลง อย่างน้อยก็ยังรักษาสัดส่วนของผลประโยชน์ที่ตนพึงได้รับไว้ในความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจนี้ แม้อาจเสื่อม "อำนาจ" ไปบ้าง เพราะต้องมีคนอื่นๆ เข้ามาร่วม "อนุมัติ" ด้วยอีกมาก
การตัดสินใจเปิดเขื่อนถาวร จึงไม่ใช่แค่ตัวเขื่อนซังกะบ๊วยอันหนึ่งจะถูกเปิดหรือเลิกใช้ไปเท่านั้น แต่หมายถึงการสั่นคลอนระบบอำนาจและผลประโยชน์ที่มีการจัดสรรกันอย่างลงตัว จะทำโครงการขนาดใหญ่อื่นๆ ได้ยากขึ้น เพราะจะถูกตรวจสอบมากขึ้นจากกรณีปากมูล
2.อำนาจในทางปฏิบัติของราชการนั้นยังมีมากอยู่ทีเดียว ราชการสามารถต่อต้านทัดทานนักการเมืองที่เข้ามาบริหารหน่วยงาน ในโครงการที่ไม่ได้ "เกี้ยเซี้ย" กันทุกฝ่ายได้ด้วยวิธีการอันหลากหลาย นับตั้งแต่แต่งดำไปทำงานพร้อมกันทั้งกระทรวง ไปจนถึงโกนหัว เกียร์ว่าง (แต่กรณีรัฐบาลสุรยุทธ์นั้น ผมไม่แน่ใจว่าราชการเกียร์ว่าง หรือรัฐบาลเข้าเกียร์ไม่เป็น) หรือแม้แต่ดื้อแพ่ง คือไม่ปฏิบัติตามมติ ครม.เสียเฉยๆ (ซึ่งมีกรณีตัวอย่างให้ยกได้เป็นหนังสือทั้งเล่มยังไม่พอ)
ดังนั้น นักการเมืองจึงต้องกลัวราชการ และดังที่กล่าวแล้วว่า แทนที่จะขี่ม้ารบกับกังหันลม สู้แบ่งปันผลประโยชน์กันกับราชการและส่วนอื่นๆ ที่ถูก "ผนวก" อยู่ในระบบราชการไม่ได้หรอก
3.ลึกลงไปกว่าเหตุผลที่กล่าวข้างต้นก็คือ ใครกันที่จะให้เปิดเขื่อนปากมูลเป็นการถาวร ไอ๊หยา คนเล็กๆ กระจอกงอกง่อยที่เรียกว่า "ชาวบ้าน" นี่น่ะหรือ ที่สะเออะเข้ามาเสนอในเชิงนโยบายได้ มันจะมากไปหน่อยไหมที่ล่วงล้ำเข้ามาในพื้นที่หวงห้ามขนาดนี้ ยอมเปิดเขื่อนถาวร ก็คือยอมให้มีคนนอกเข้ามาในวง "เกี้ยเซี้ย" เกินกว่าที่ราชการจะ "ผนวก" ไว้ได้เต็มคอ ระบบทั้งระบบ (หรือระบอบกันหว่า) ก็จะพังลงโดยสิ้นเชิง เพราะพวกมันกำลังเรียกร้องให้ทุกฝ่าย "เกี้ยเซี้ย" กันได้อย่างเสมอภาค นับเป็นการเรียกร้องเกินระบอบ "ประชาธิปไตย" ซึ่งแปลว่า การปกครองของประชาชน, โดยประชาชน, และเพื่อประชาชน อันเป็นคำนิยามที่ไม่มีความหมายอะไรเลย
ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องเดียวกับสี่แยกราชประสงค์แหละครับ เพียงแต่เสื้อแดงไม่ได้เรียกร้องให้เปิดเขื่อน แต่ให้ยุบสภา อันเป็นพื้นที่ "เกี้ยเซี้ย" ซึ่งจำกัดให้ชนชั้นนำเท่านั้นเข้ามาต่อรองและใช้เดินเกมส์การเมือง ไม่ใช่พื้นที่ซึ่ง "ชาวบ้าน" จะมาเรียกร้องอะไรได้ ทำไมไม่เรียกร้องให้ประกันราคาข้าวเปลือก, นั่งรถไฟฟรี, หรือผ่อนผันหนี้สิน ฯลฯ ล่ะ เรื่อง "ขอ" อย่างนี้แหละที่อยู่ในพื้นที่ของมึงhttp://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1298902044&grpid=&catid=02&subcatid=0207
|
|
|
|
อ้อย17
|
|
« ตอบ #1392 เมื่อ: 02 มีนาคม 2554, 08:49:14 » |
|
พี่เหยง...... อ่านแล้วเศร้าจริง...นี่ประเทศไทยจะอยู่รอดไหม? ในอนาคตอันใกล้นี้.... มันน่าจะจริงอย่างที่อ.นิธิว่าไว้... ราชการปัจจุบันอ่อนแอ อย่าว่าแต่เกี้ยเซี้ย...ไม่มีหรอก มีแต่ว่าตามเขา เขาบอกให้หมกเม็ดก็ทำ เพื่อประโยชน์ตน..... อีกอย่างระดับผู้นำองค์กรรัฐทั้งหมดเป็นคนที่นักการเมืองเลือกมา แล้วใครที่ไหนมันจะกล้าหืออือ..เขาสั่งยังไงก็ต้องทำอย่างนั้น...ตัวเองอาจได้เศษเงิน.... แต่ที่สำคัญกว่าคือ..ตัวเองรับนโยบายหาส่วนต่างจากโครงการที่บางครั้งเสี่ยงคุกมากๆ รับมาแล้วสั่งให้ลิ่วล้อทำโครงการเน่าๆ เสร็จแล้วให้ข้าราชการที่ไม่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ จัดซื้อจัดจ้างและตรวจรับ รับความเสี่ยง ปฏิเสธก็ไม่ได้....เพราะเดี๋ยวโดนข้อหาขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา อยากรู้จริงๆว่าจะแก้ไขยังไง?.....
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1393 เมื่อ: 03 มีนาคม 2554, 11:47:00 » |
|
อ้อย..ดีใจที่ติดตาม เรื่องของชาวบ้านซึ่งเป็นคนรากหญ้าของประเทศ
ข้าราชการไทยเริ่มเชื่อฟังและยอมทำตามคำสั่งของข้าราชการการเมืองอย่างเต็มใจ ทั้งๆที่รู้ว่าผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม แต่เพราะไปขอให้เขาแต่งตั้ง ทั้งแบบย้ายข้ามหัว ผิดหลักอาวุโส จึงต้องทอดตัวเป็นข้ารับใช้ จริงๆ ที่สำคัญคือ การหัมมารบกับพี่น้องประชาชนแทนนักการเมืองซึ่งเป็นคู่กรณี
ดังเช่นเขื่อนราศีไศล นักการเมืองเล็งต้นไม้สักในป่า จึงสร้างเขื่อนนี้ขึ้นมา ทั้งที่รู้ว่าไม่คุ้มค่า แต่ต้องการตัดไม้สักออกไป เพราะน้ำท่วมไม้จะมีปัญหาน้ำเป็นพิษ ซึ่งเป็นมาตรการร่วมในการสร้างเขื่อนที่ต้องตัดไม้ เมื่อความไม่คุ้มค่าปรากฎ ก็หาเหตุติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อเบนประเด็นว่า มีความจำเป็นต้องใช้เขื่อนนี้ต่อไป เพื่อป้องกัน การเมืองฝ่ายตรงข้ามนำไปอภิปรายในสภา หาข้าราชการประจำทำตามหน้าที่และหลักวิชาการ ก็จะมีผลตามที่ ม.อุบลราชธานีวิจัยว่า เขื่อนนี้สร้างขึ้นมาไม่คุ้มค่า
ขนาดผลวิจัยออกมา ฝ่ายการเมืองก็ยังไม่ยอมรับ.....แล้วจะทำอย่างไรกันดี ??
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1394 เมื่อ: 03 มีนาคม 2554, 11:49:29 » |
|
ประการสำคัญ งบประมาณต้องตั้งเรื่องขึ้นมาจากข้าราชประจำ นี่เป็นจุดที่ก่อให้เกิดปัญหา เมื่อต้องทดแทนบุญคุณฝ่ายการเมืองที่แต่งตั้งขึ้นมา ก็ต้องเขียนโครงการสร้างเขื่อน ทั้งที่ไม่จำเป็นและประชาชนไม่ได้อยากได้ แต่ฝ่ายการเมืองต้องการไม้สักจากป่าไปขาย อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะจะใช้พื้นที่ป่าสร้างเขื่อน เรื่องจึงเดินได้ตลอดโดยไม่ฟังเสียงประชาชนเจ้าของลุ่มน้ำ และผืนป่าที่เคยพักอาศัย
เมื่อปัญหาเพิ่มขึ้น แทนการแก้ไขโครงการ ก็เพิ่มวัตถุประสงค์ของเขื่อน ด้วยการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ(แม้จะตัวเล็ก)เข้าไป เพื่อให้มันยากต่อการที่ประชาชนจะแก้ไข เพราะวัตถุประสงค์เพิ่มจากเป็นแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการชลประทาน ก็เพิ่มการผลิตกระแสไฟฟ้า เข้าไปอีกหนึ่งวัตถุประสงค์
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1395 เมื่อ: 03 มีนาคม 2554, 11:50:03 » |
|
ช่วง 2-3 วันนี้ อาจเข้าเว็ปน้อยครับ เพราะสายโทรศัพท์ ที โอ ที ถูกตัดอีกแล้ว เป็นครั้งที่ 3 นับแต่เดือนกุมภาพันธ์ เป็นต้นมา
แจ้งไปแล้ว ที โอ ที บอกว่า ต้องรอซื้อสายชุดใหม่มาต่อให้ เพราะใน 2 ครั้งที่ผ่านมา เอาสายที่มีต่อให้จนหมดสตีอกแล้ว
คาดว่า สัปดาห์หน้าจึงจะสะดวก เน๊ตจะเร็วขึ้นเท่าปกติ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1396 เมื่อ: 03 มีนาคม 2554, 11:59:23 » |
|
เผลอแป๊ปเดียว นาย GlobyXZStar เข้ามาเสนอขายหนัง 13 กระทู้ในห้องสนทนาประสาพี่น้อง
น้องสน ช่วยที
|
|
|
|
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562
|
|
« ตอบ #1397 เมื่อ: 03 มีนาคม 2554, 12:04:13 » |
|
น้องเหยง น้องอ้อย พอจะเริ่มเขียนก็รู้สึกเหนื่อย เพราะมันยุ่งเหยิงพัวพันกันไปหมด ระหว่างนักการเมือง ข้าราขการ และระบบ ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นแก้ไขที่จุดไหน พี่ว่าเพราะคนที่เป็นข้าราชการไม่เกาะกันอย่าวเหนียวแน่น อยากได้ใคร่ดีเกินคนอื่น จึงทั้งเหยียบนาย เหยียบพี่ เพื่อน เพื่อให้ตัวเองได้เป็นใหญ่ แล้วทำทุกอย่างที่เขาสั่ง เราจึงเป็นกันอย่างทุกวันนี้ หากข้าราชการไม่ชิงดีชิงเด่นกัน นักการเมืองก็แทรกไม่ได้ เพราะว่าแม้ว่าตั้งใครก็ทำไม่ได้อยุ่ดี ตั้งสักกี่หนก็เหมือนเดิม นักการเมืองก็ครอบไม่ได้ ตอนแรกที่มีศาลปกครองพี่คิดว่าระบบจะเข้มแข็งขึ้น แต่ก็ไม่เป็นอย่างที่คิด ข้าราชการดีๆ ไปขัดเขา ก็ไม่โต ที่โตแล้วก็ย้ายเข้ากรุ หรือที่ทนไม่ได้ ก็ออกไปเลย ที่ยังเด็กอยู่ พอรู้ว่าหากโตตรงนี้ แล้วต้องซ้ายหัน ขวาหันอย่างไร ก็หนี ไปที่อื่น วงราชการก็เลยยิ่งจะเหลือแต่คนที่ซ้ายหัน ขวาหันได้ อนาคตก็ยิงจะแย่ลง แล้วเดี๋ยวนี้คนเก่งๆ ไม่มารับราชการเหมือนสมัยก่อนแล้ว พี่เคยเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ เด็กเข้าใหม่ สามร้อยกว่าคน ไม่เจอจุฬาฯ สักคน พี่ว่า ก็เหมือนกับระบบครูที่เขากำลังปฏฺรูปอยู่ให้คนเก่งและดี ไปเป็นครูสร้างแรงจูงใจให้ คนที่ไม่เก่งเป็นคนสอน ลูกศิษย์จะเก่งมากได้หรือ ระบบราชการต่อไปก็เช่นกัน ต่อไปก็คงแย่กว่ามากนัก
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1398 เมื่อ: 03 มีนาคม 2554, 13:38:35 » |
|
ระบบของศาลยุติธรรม เขาเรียงอาวุโสตามลำดับการสอบเข้า ถ้าเบอร์ 1 ไม่ขยับ เบอร์อื่นก็ต้องรอ ถือเป็นกฎที่เคร่งครัด เขาขยับตามกันไปเรื่อยๆ จนที่สุดคือ ต้องหยุดเพราะครบอายุเกษียณ ปล่อยให้คนที่ยังไม่ครบเกษียณเติบโตต่อไป ในรุ่นที่สอบได้พร้อมกัน หากได้ทุนไปเรียนต่อ กลับมาเขาจะใส่ชื่อเป็นคนสุดท้ายของรุ่นนั้นแทน ซึ่งก็จะได้เลื่อนขึ้นก่อนคนที่ได้ที่หนึ่งของรุ่นต่อไป ดังนั้นหากเรารู้ว่า เป็นคนในรุ่นนั้นแต่ไม่ได้รับการเลื่อนขึ้น แสดงว่ามีปัญหา, หากทำผิดมาก อาจถึงขั้นถูกไล่ออกดังที่เป็นข่าว
ข้อดีของระบบศาลอย่างหนึ่งคือ หากมีตำแหน่งที่เท่ากัน ที่สามารถแลกกันได้ เพราะมีกฎตายตัวว่า ห้ามกลับบ้านเกิดหรือบ้านพ่อบ้านแม่, บ้านของคู่สมรส และห้ามกลับศาลที่เคยอยู่มาก่อน เว้น กทม.และปริมณฑล
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1399 เมื่อ: 03 มีนาคม 2554, 13:53:10 » |
|
สำหรับผมซึ่งเป็นเอกชนตัวจริง ยังค่อนข้างงงกับระบบราชการ ในระบบซี(อดีต) กับระบบแท่งปัจจุบัน ผมว่าไม่ได้ต่างกัน เพราะยังเกี่ยวกับ"ซี"อยู่ มีคำว่า"ชำนาญการ, ชำนาญการพิเศษ" หรือ "เชี่ยวชาญ, เชี่ยวชาญพิเศษ" มาแบ่งซี 4 5 6 7 8 แล้วมีคำว่า"อำนวยการ"แบ่ง ซี 9 และ 10 แต่เดิม มี ว. หรือ วช. เติมท้าย ซี เช่น 7ว. หรือ 7 วช. แต่ใหญ่แพ้ 7 ที่ไม่มีอะไรต่อท้าย (อะไรจะปานนั้น ??)
|
|
|
|
|