เหยง 16
|
|
« ตอบ #9600 เมื่อ: 25 กันยายน 2556, 23:10:59 » |
|
วันนี้ที่นครสวรรค์แดดดีทั้งวันครับ คาดว่าร่องมรสุมจะค่อยๆ ขยับลงมาจากภาคเหนือตอนบน ช่วงนี้มีแต่ข่าวน้ำท่วม กับการกระตุ้นให้สร้างเขื่อนแม่วงก์
|
|
|
|
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562
|
|
« ตอบ #9601 เมื่อ: 26 กันยายน 2556, 07:26:19 » |
|
มาตามฟังว่าน้องเหยงมีความเห็นเรื่องเขื่อนแม่วงค์อย่างไรค่ะ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9602 เมื่อ: 26 กันยายน 2556, 10:49:41 » |
|
สวัสดีครับพี่'อร
คนในพื้นที่แม่วงก์จริงๆ กลับไม่ค่อยรู้เรื่องราวมากเท่ากับคนนอกพื้นที่ จึงถูกชักจูงจาก อปท. ว่า ไม่อยากให้คนนอกพื้นที่เข้ามายุ่งย่าม แต่คนในพื้นที่ก็สงสัยเช่นกันว่า ไม้สัก ไม้ตะเคียน ไม่ปรพดู่ ไม้ยาง สารพัดๆไม้อย่างดี จะถูกโค่นไปนับหมื่นไร่ แต่กลับไม่มีคำตอบว่า เอาไม้เหล่านี้ไปทำอะไร ทราบแต่ว่า ไม้จมน้ำจะทำให้น้ำเน่าเสีย จึงต้องโค่น ส่วนใครกินไม้เหล่านนี้ ไม่มีใครรู้ครับ สรุปว่า เสียป่าไม้พร้อมสัตว์ป่าไปโดยไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า หายไปไหน ใครจับเสือไป แต่ได้เขื่อนซีเมนต์มา ส่วนจะมีน้ำในเขื่อนหรือไม่ ไม่รู้, ได้ใช้น้ำในเขื่อนมั้ย ไม่รู้เช่นกัน
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9603 เมื่อ: 26 กันยายน 2556, 11:03:41 » |
|
ฝนจะตกหนักและตกหนาแน่นในพื้นที่ตอนบนของประทศไทย จากนั้นจะขยับลงมาตกในภาคเหนือตอนล่าง-ภาคกลางตอนบน รวมทั้งภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน 2556 ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักบริเวณประเทศไทย" ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 26 กันยายน 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ส่งผลให้ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 26-27 กันยายน 2556 ประเทศไทยตอนบน จะมีฝนตกหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ปราจีนบุรี นครนายก จันทบุรี และตราด หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 28-29 กันยายน 2556 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้มีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี สระบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย อนึ่ง เมื่อเวลา 0100 น. วันนี้ (26 ก.ย.) หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้บริเวณด้านตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว คาดว่าจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 30 กันยายน ถึง 1 ตุลาคม 2556 ซึ่งจะส่งผลให้ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักได้ในระยะนี้
ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 05.00 น. พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้. ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี สระบุรี และกาญจนบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง และพังงา อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 70 อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #9604 เมื่อ: 26 กันยายน 2556, 13:57:11 » |
|
ฝนตกภาคเหนือตอนบน จะได้มีน้ำลงเขื่อนเนาะ
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9606 เมื่อ: 26 กันยายน 2556, 14:50:16 » |
|
ตามข่าวจากไทยรัฐครับ.....วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ.2556 ป่าเมืองไทยเหลือน้อยจนไม่มีให้ทำลายเพื่อสร้างเขื่อนอีกแล้ว! เป็นข่าวฮือฮาขึ้นมาอีกครั้งใน Social Media ถึงกระแสการคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ที่จังหวัดนครสวรรค์ เนื่องจากพบว่า รัฐบาลได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้ว ทั้งที่ผลการทำ EHIA (Environmental Health Impact Assessment) หรือการศึกษาและประเมินผลกระทบต้อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนใน ชุมชน ยังไม่สมบูรณ์และยังไม่ผ่านการการอนุมัติจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตามกฎหมายความจริงแล้ว องค์กรพัฒนาเอกชน หรือเอ็นจีโอทางด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร และมูลนิธิโลกสีเขียว ฯลฯ ต่างออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์มาอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งกรมชลประทานพยายามที่จะผลักดันโครงการนี้มาตลอด แต่ไม่ได้ความสนใจจากสาธารณชนจนกระทั่งเมื่อนายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ได้ตัดสินใจนำทีมกลุ่มผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์เดิน เท้ารณรงค์เป็นระยะทาง 388 กิโลเมตร จากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์เมื่อวันที่ 10 กันยายนและมาสิ้นสุดที่หอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพฯ กทม.เมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา ก่อให้เกิดกระแสตื่นตัวคัดค้านเขื่อนแม่วงก์อย่างกว้างขวางจนกระทั่งล่าสุด นายกรัฐมนตรี “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ได้ออกมาให้สัมภาษณ์แล้วว่า ยินดีที่จะรับฟังเหตุผลของฝ่ายที่คัดค้านและพร้อมจะทบทวนโครงการหากพบว่า เกิดผลกระทบในด้านลบมากกว่าทางบวก อย่าง ไรก็ตาม ล่าสุด เมื่อเย็นวันนี้ (25 ก.ย.) นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ที่กลับลำมาเดินหน้าผลักดันโครงการเขื่อนแม่วงก์อย่างเต็มสูบ ได้ลงทุนนั่งเฮลิคอปเตอร์ไปยืนยันกับกลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุนการสร้างเขื่อน แม่วงก์ที่ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ ว่าจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไปอย่างแน่นอนทั้งๆ ที่นายปลอดประสพเอง สมัยที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้ ในปี 2542 เป็นผู้สั่งห้ามไม่ให้กรมชลประทานเข้าศึกษาพื้นที่ป่าบริเวณแนวก่อสร้าง เขื่อนแม่วงก์ ซึ่งการกระทำครั้งนั้น ส่งผลให้องค์กรพัฒนาเอกชย กลุ่มศิลปิน และภาคส่วนต่างๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการ ต่างออกมาแสดงความชื่นชมในการตัดสินใจของนายปลอดประสพที่กล่าวว่า"การ ตัดสินใจไม่อนุญาตให้เข้าไปสร้างเขื่อน ในป่าแม่วงก์นั้น เป็นการตัดสินใจของผมเพียงคนเดียวในฐานะอธิบดีกรมป่าไม้ หลังจากพิจารณาข้อมูลรอบคอบแล้ว ทั้งนี้ ก็เพื่อต้องการรักษาผืนป่าไว้ หากปล่อยให้ใช้อย่างฟุ่มเฟือยไปเรื่อยต่อไปคงไม่มีป่าเหลืออย่างแน่นอน...." แต่เมื่อวานนี้ (24 ก.ย.2556) นายปลอดประสพ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ได้พลิกลิ้นมาสนับสนุนการสร้างเขื่อนแม่วงก์โดยอ้างว่า การออกแบบเขื่อนเปลี่ยนไปจากการสร้างเพื่อการชลประทาน มาเป็นการสร้างเพื่อป้องกันน้ำท่วม จึงจำเป็นต้องสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ความ จริงแล้ว โครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ไม่ใช่โครงการสร้างเขื่อนโครงการแรกที่ถูกคัดค้านจากองค์กรพัฒนาเอกชนด้าน สิ่งแวดล้อมและประชาชนผู้มีความห่วงใยในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ยังมีโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นอีกแห่งที่มักถูกนำมาอ้างว่า จะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน และช่วยแก้ปัญหาน้ำแล้งในฤดูแล้งได้ ซึ่งในที่สุดก็ต้องยอมจำนนต่อเหตุผลในด้านผลกระทบที่จะมีต่อสภาพแวดล้อมจน ต้องพับโครงการไปครั้งแล้วครั้งเล่าหากจะย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ การคัดค้านการสร้างเขื่อนในประเทศไทย เกิดขึ้นครั้งแรกในราวปี 2530 ที่รัฐบาลในสมัยนั้น มีแนวคิดที่จะอนุญาตให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินโครงการสร้างเขื่อนน้ำโจนขึ้นในบริเวณป่าทุ่งใหญ่นเรศวรที่มีความอุดม สมบูรณ์อย่างมาก เพื่อผลิตไฟฟ้าและเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการชลประทาน แต่ก็ได้รับการคัดค้านอย่างกว้างขวางจนในที่สุดต้องล้มเลิกโครงการไปต่อ มา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ยังไม่ละความพยายามที่จะสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า และสามารถผลักดันโครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้าแห่งสุดท้ายได้สำเร็จในปี 2537 กับโครงการเขื่อนปากมูลที่ จ.อุบลราชธานี ที่ได้รับการคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่จนยังมีปัญหายืดเยื้อมาถึงทุกวันนี้หลัง จากนั้นเป็นต้นมา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จึงยุติความพยายามที่จะสร้างแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังน้ำด้วยการสร้างเขื่อนเพราะ ทราบดีถึงกระแสความตื่นตัวในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประชาชนคนไทย แต่ก็ยังไม่วายที่จะแอบไปขอมีเอี่ยวอยู่เบื้องหลังโดยการผลักดันให้กรมชล ประทานเป็นหัวหอกในการผลักดันโครงการสร้างเขื่อนต่างๆแทน ภายในแนวคิดใหม่ที่ว่า “สร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานเป็นหลัก และผลิตไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้” แต่ หลายครั้งก็ถูกจับได้ ทำให้กรมชลประทานต้องปรับเปลี่ยนแบบของเขื่อนที่จะสร้างหลายครั้ง ซึ่งโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ เพราะมีการปรับเปลี่ยนแบบการก่อสร้างเขื่อนหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่มีรัฐบาลใดที่กล้าจะผลักดันโครงการนี้ให้ถึงขึ้นที่คณะรัฐมนตรี อนุมัติเหมือนกับโครงการเขื่อนแม่วงก์นั่นอาจเป็นเพราะว่า โครงการเขื่อนแม่วงก์เป็นโครงการที่มีขนาดเล็กกว่าและอยู่ในบริเวณที่ผืนป่า มีความอุดมสมบูรณ์น้อยกว่า อีกทั้งยังสามารถจัดการอพยพราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่จะถูกน้ำท่วมออกมา ได้ก่อนแล้ว ทำให้กระแสการคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่มีน้อยกว่าอย่าง ไรก็ตาม สิ่งที่เหมือนกันระหว่างการผลักดันโครงการเขื่อนแม่วงก์และเขื่อนแก่งเสือ เต้นคือ การระดมชาวบ้านในพื้นที่ใต้เขื่อนที่ได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียวจากทาง ราชการและนักการเมืองในพื้นที่ว่าจะได้รับประโยชน์ทั้งจากการป้องกันน้ำท่วม และมีน้ำใช้ในฤดูแล้ง ออกมาชุมนุมสนับสนุนการสร้างเขื่อนเป็นระยะๆ จนทำให้ดูเหมือนว่า คนที่คัดค้านเป็นคนเมืองที่ไม่เข้าใจความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ใน ความเป็นจริงแล้ว หากมีการศึกษาลงไปในรายละเอียดของโครงการสร้างเขื่อนต่างๆ นั้นจะพบว่า มีปัญหาในเรื่องการศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพหรือ EHIA เกือบทั้งสิ้น เพราะเป็นที่ชัดเจนกันอยู่แล้วว่า การสร้างเขื่อนแต่ละแห่ง จะต้องสูญเสียพื้นที่ป่าเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของผืนป่าแห่งนั้น หาก จะมองในภาพรวมของพื้นที่ป่าในประเทศไทยแล้ว รายงานของมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ระบุว่า ในปี 2555 พื้นที่ป่าประเทศไทยน่าจะเหลืออยู่ 171,586 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณร้อยละ 33 ของพื้นที่ที่ดินประเทศไทย เมื่อเทียบกับเนื้อที่ป่าเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมาจะมีเนื้อป่าลดลงไปถึงร้อยละ 50 ของที่เคยมีอยู่การลดลงของพื้นที่ป่าในประเทศไทยน่าจะมีผลกระทบ ต่อสภาพความแปรปรวนของภูมิอากาศ ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ ฤดูหนาวที่หายไปเขตพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร และสภาพฝนฟ้าที่ตกไม่ตามฤดูกาล การขาดพื้นที่ป่าในการอุ้มน้ำเมื่อมีฝนตกติดต่อกันในปริมาณมากๆ ทำให้เกิดปัญหาดินโคลนถล่มและน้ำท่วมตามมาอย่างที่เป็นอยู่หากเรา ยังคิดที่จะแก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยการทำลายพื้นที่ป่า ซึ่งเป็นเครื่องมือตามธรรมชาติในการป้องกันน้ำท่วมอยู่แล้ว อนาคตข้างหน้าก็พอจะคาดการณ์ได้ว่า สภาพปัญหาน้ำท่วมอาจจะมีความรุนแรงมากขึ้น เพราะในที่สุดตัวเขื่อนก็ไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำจำนวนมากได้ดัง นั้น เหตุผลง่ายๆที่คงจะไม่สามารถเห็นด้วยกับการปล่อยให้รัฐบาลดำเนินการโครงการ ทำลายป่าเพื่อสร้างเขื่อนโดยใช้เงินงบประมาณถึง 13,000 ล้านบาทก็คือ วันนี้ประเทศไทยเราเหลือพื้นที่ป่าน้อยเกินกว่าจะยอมให้ใครมาทำลายได้ง่ายๆ เช่นในอดีตที่ผ่านมาอีกแล้ว...
ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี www.twitter.com/chavarongchavarong@thairath.co.th ไทยรัฐออนไลน์ โดย ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี 26 กันยายน 2556, 01:51 น. มีภาพเพิ่มเติมที่.... http://www.thairath.co.th/column/tech/socialmediathink/372120
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9607 เมื่อ: 26 กันยายน 2556, 20:10:36 » |
|
สวัสดี ทุกท่านครับ
วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน ซึ่งขณะนี้มืดแล้ว ม้อบข้าวโพดที่ปิดถนนสายแพร่-น่าน ที่ห้วยน้ำอุ่น ยุติลงแล้ว หลังจากใช้เวลา 2 วัน 1 คืน เพื่อกดดันรัฐบาลให้เข้าแก้ไขปัญหาปากท้อง เกษตรกรใช้บริการของรัฐ เนื่องจากราคาข้าวโพดตกต่ำจาการที่รัฐฐาลโดยผู้บริหารเลวๆ อนุญาตให้ผุ้ผลิตอาหารสัตว์นำเข้าข้าวโพดจากลาวเขมร โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า เพื่อใช้ในระบบ รวมถึงการนำเข้ากากถั่วเหลือง เมล็ดถั่วเหลือง โดยไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน
เกษตรกรไม่ได้ใช้บริการความช่วยเหลือจากรัฐทั้งปีเช่นข้าวเปลือก ไม่เดือดร้อน ไม่มาหา แต่รัฐบาลไม่จริงใจในการแก้ไขปัญหา ทั้งที่ส่งเรื่องร้องขอมาตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม ออกมาตรการฯ ในวันที่ 3 กันยายน แต่วิธีการในนั้นไม่เวิร์ค เดินขบวนซ้ำแล้ว-ซ้ำอีก...แสดงถึงภูมิปัญญาของข้าราชการที่ไม่เอาอ่าว..จริงๆ
ต้องดูต่อไปอีกสัก 7 วันว่า ข้อเสนอที่รับและจะนำไปแก้ไขใช้ได้หรือไม่ ??
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9608 เมื่อ: 27 กันยายน 2556, 08:33:23 » |
|
ฝนยังตกในตอนบนของประเทศ และมีพายุลูกใหม่เข้ามาพยากรณ์อากาศ ประจำวันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2556 ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ทำให้ ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในช่วงวันที่ 28-29 กันยายน 2556 ร่องมรสุมนี้จะเลื่อนลงมาผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก จันทบุรี และตราด จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย อนึ่ง เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (27 ก.ย.) พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ ยังคงมีศูนย์กลางอยู่บริเวณ ด้านตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ คาดว่า พายุนี้จะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในระยะต่อไป และมีแนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 30 กันยายน ถึง 1 ตุลาคม 2556 ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทยมีฝนตกหนักได้
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้. ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณจังหวัดตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนัก และลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี และสระบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 70 อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #9609 เมื่อ: 27 กันยายน 2556, 08:40:07 » |
|
แล้วจะมีน้ำลงเขื่อนไหมนี่
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9610 เมื่อ: 27 กันยายน 2556, 14:15:01 » |
|
น้องเริง
น้อยมาก และกำลังมาดีเปรสชั่นลูกใหม่ในทะเลจีนใต้ กำลังสะสมน้ำและความเร็วเพื่อพัฒนาความรุนแรงอยู่ 1 ลูก เป้าหมายคือเวียตนามกลาง ลาว และภาคอีสานของไทย กำลังจับตาดูอยู่ครับ
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9612 เมื่อ: 27 กันยายน 2556, 18:47:55 » |
|
ลูกนี้มาแน่ๆ ครับ หวู่ตึ๊บ Wutip ผีเสื้อ ในภาษามาเก๊า พายุโซนร้อนลูกใหม่ตั้งเค้าในทะเลจีนใต้ เวียดนามจับตาหวั่นซ้ำเติม26 กันยายน 2556 23:26 น. มีลุ้นอีกแล้ว.. ภาพที่ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา MTSAT โดยหอสังเกตการณ์ฮ่องกงที่เผยแพร่เมื่อ 21.03 น.เวลาในประเทศไทยแสดงให้เห็นการก่อตัวของดีเปรสชั่นในทะเลจีนใต้ที่คาดว่าจะทวีความหนาแน่นขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในอีก 24 ชั่วโมงข้างหน้าขณะเคลื่อนเข้าฝั่งภาคกลางซ้ำทางเดิมกับดีเปรสชั่นลูกก่อนเมื่อวันที่ 18 ก.ย. เวียดนามกำลังจับตาอย่างใกล้ชิด. ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เวียดนามที่เพิ่งจะเก็บศพผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยได้ครบ อันเป็นอิทธิพลจากดีเปรสชัน กับไต้ฝุ่นอูซางิในสัปดาห์ที่ผ่านมา กำลังเฝ้าติดตามการก่อตัวของดีเปรสชันในทะเลจีนใต้ที่อาจจะทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนลูกใหม่ได้ใน 24 ชั่งโมงข้างหน้า ขณะเคลื่อนตัวในแนวตะวันตก-ตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่ฝั่งทะเลภาคกลาง ถ้าหากเป็นไปตามคาด พายุก็กำลังจะทำให้เกิดฝนตกหนักในแนวเดิมคือ ตั้งแต่นครด่าหนัง เข้าสู่จังหวัดในเขตที่ราบสูงภาคกลางที่มีผู้เสียชีวิต 3 คนสัปดาห์ที่แล้ว ไปจนถึงภาคกลางตอนบนของประเทศ หย่อมความกดอากาศต่ำทวีความหนาแน่นยิ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี 26 ก.ย.นี้ และกลายเป็นดีเปรสชันในค่ำวันเดียวกัน ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์กลางในกรุงฮานอย ได้ออกเตือนเมื่อเวลา 21.30 น. ให้ชาวเรือเตรียมรับมือกับคลื่นลมแรงใน “ทะเลตะวันออก” ระหว่างหมู่เกาะพาราเซลทางตอนเหนือ กับหมู่เกาะสแปร็ตลีทางตอนใต้ลงไป ขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำอยู่ห่างจากฝั่งกว่า 600 กิโลเมตร ดีเปรสชันลูกหนึ่งที่ก่อตัวจากแหล่งเดียวกันนี้พัดเข้าฝั่งเมื่อวันที่ 18 ก.ย.ทำให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลันในหลายจังหวัด มีผู้เสียชีวิต 3 รายใน จ.ดั๊กลัก อีก 5 รายใน จ.เหงะอาน และทำให้เกิดในตกหนักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา และแขวงทางตอนใต้สุดของลาว ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการระยะที่ผ่านมานับตั้งแต่ดีเปรสชันลูกดังกล่าวพัดเข้าจนถึงการเปลี่ยนทิศทางของไต้ฝุ่นอูซางิเมือสัปดาห์ที่แล้ว ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้วเกือบ 40 ราย ในเวียดนาม กัมพูชา และลาว.
แผนภูมิพยากรณ์ของศูนย์อุตุนิยทวิทยาและอุทกศาสตร์กลางในกรุงฮานอยเมื่อเวลา 21.30 น. แสดงให้เห็นดีเปรสชั่นที่ทวีความหนาแน่นในแถบหมู่เกาะพาราเซลใกล้จะกลายเป็นพายุโซนร้อนในค่ำวันพฤหัสบดี 26 ก.ย. ถ้าหากเป็นเช่นนั้นเวียดนาม ลาวใต้และอีสานใต้ของไทยก็จะได้ฉ่ำฝนกันอีกรอบ. ดูภาพได้ที่ http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9560000121760
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9613 เมื่อ: 27 กันยายน 2556, 18:50:33 » |
|
ส่วน""ปลาบึก Pabug" เป็น Final warning ไปแล้วครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9614 เมื่อ: 27 กันยายน 2556, 21:44:40 » |
|
เพิ่มเติมข้อมูลจากไทยโพสต์ครับ....‘เขื่อนแม่วงก์’ ที่รัฐบาลชี้แจงไม่ได้บทบรรณาธิการ 26 September 2556 - 00:00 การเดินเท้า 388 กิโลเมตร จากเขื่อนแม่วงก์ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ สู่กรุงเทพมหานครของนายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธีสืบนาคะเสถียร เพื่อคัดค้านการอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการ หรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ในโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ จากวันแรกที่ความสนใจของประชาชนยังกระจุกตัวเป็นจุดเล็กๆ มาวันนี้การเดินเท้าของนายศศินกำลังได้รับความสนใจจากสังคมเป็นวงกว้างและมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ได้จำกัดอยู่ในแวดวงของนักอนุรักษ์เท่านั้น แต่ได้แพร่กระจายไปยังแวดวงบันเทิงที่ตื่นตัวกับเรื่องดังกล่าว จนมีหลายคนออกมาแสดงความเห็นต่อต้านกันอย่างมากมายในหลายวันที่ผ่านมา เช่นเดียวกับข้อคิดเห็น ข้อท้วงติง และข้อเสนอแนะจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และเอ็นจีโอ ที่มีการแสดงความกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนแม่วงก์ในครั้งนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง มีการจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางวิชาการเกิดขึ้นมากมายในสังคมต่อประเด็นดังกล่าว แต่ดูเหมือนรัฐบาล โดยเฉพาะผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงอย่างนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) กลับมีท่าทีตอบรับในเชิงลบกับกลุ่มคนที่ออกมาเรียกร้องและคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ พร้อมทั้งยืนยันที่จะเดินหน้าสร้างเขื่อนแม่วงก์ต่อ แม้จะสามารถป้องกันน้ำท่วมได้เพียง 1 เปอร์เซ็นต์ คำแถลงการณ์ 8 ข้อ ของนายศศินและคณะที่คัดค้านการอนุมัติการทำอีเอชไอเอของรัฐบาล อาทิ ข้อ1.รายงานฉบับนี้ไม่ได้ให้ความจริงใจในการศึกษาทางเลือกในการพัฒนาแหล่งน้ำโดยวิธีอื่นๆ โดยใช้วิธีคำนวณเทคนิคทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมให้ไม่คุ้มค่าในการเลือกทางเลือกอื่นๆ หรือเทคนิคกำหนดตัวแปรที่เบี่ยงเบนน้ำหนักของการเลือกที่ตั้งให้มาก่อสร้างในป่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ หรือ ข้อ 3.รายงานฉบับนี้ได้ระบุข้อมูลผลประโยชน์จากการสร้างเขื่อนว่า ในพื้นที่ชลประทานทั้งหมด 291,900 ไร่ จะเป็นพื้นที่ชลประทานในฤดูฝนถึง 175,355 ไร่ จึงได้พื้นที่ชลประทานฤดูแล้งเพียง 116,545 ไร่ ดังนั้น พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จึงน้อยกว่าสิ่งที่ชาวบ้านเข้าใจว่า น้ำจะไปทั่งถึงทั้ง 23 ตำบลที่ได้ระบุในรายงาน หากพิจารณาเหตุผลที่ต้องสูญเสียพื้นที่ป่าและงบประมาณในการก่อสร้าง ข้อเรียกร้องหรือการตั้งคำถามเหล่านี้ไม่เคยได้รับคำชี้แจงอย่างเป็นกิจจะลักษณะจากรัฐบาลเลย ทั้งที่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ที่สำคัญก่อนจะเกิดกระแสการคัดค้านเหมือนในปัจจุบัน หลายฝ่ายพยายามหาทางลงเรื่องนี้ด้วยการเปิดเวทีให้มีการหักล้างเหตุผลกันทางวิชาการ ด้วยการพยายามเชื้อเชิญนายปลอดประสพ และบุคลากรใน กบอ.มาชี้แจงเพื่อหาทางออกหรือสร้างความเข้าใจในเรื่องนี้แล้วให้สังคมตัดสิน แต่ปรากฏว่า ไม่เคยได้รับความร่วมมือใดๆ จากรัฐบาล หรือ กบอ.กลับมาเลย จากพฤติกรรมดังกล่าวของรัฐบาลและนายปลอดประสพ จึงไม่แปลกที่วันนี้แนวโน้มของผู้ที่ออกมาคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะรัฐบาลไม่สามารถให้ตอบคำถามใดๆ ได้เลย ทั้งที่โครงการขนาดใหญ่ระดับนี้ ผู้ที่จะดำเนินการย่อมต้องมีข้อมูลต่างๆ ที่เพียบพร้อมจะตอบให้สังคมหายคลางแคลงใจ และแน่นอนว่า เมื่อไม่มีคำตอบให้ รัฐบาลก็ไม่มีสิทธิ์จะโวยวายหากสังคมจะตั้งคำถามหรือโจมตีว่า โครงการดังกล่าวไม่โปร่งใส และขาดความรัดกุม. .http://www.thaipost.net/news/260913/79850
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9615 เมื่อ: 28 กันยายน 2556, 10:06:29 » |
|
หวู่ติ๊บ พัฒนาเป็นพายุโซนร้อนแล้ว ภาคตะวันออก ภาคกลาง กทม.และปริมณฑล น่าจะได้รับผลกระทบมากสุด โดยฝนตกร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ผลโดยตรงน่าจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1-2 ตุลาคม ที่จะถึงนี้พยากรณ์อากาศ ประจำวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2556 ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุ “หวู่ติ๊บ” (WUTIP)" ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 28 กันยายน 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (28 ก.ย. 56) พายุโซนร้อน “หวู่ติ๊บ” (WUTIP) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 650 กิโลเมตรทางตะวันออกของชายฝั่งประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 16.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 113.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากนั้นจะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางเหนือมากยิ่งขึ้น คาดว่าจะขึ้นฝั่งที่ประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับ ร่องมรสุมได้เลื่อนลงมาผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนหนาแน่นเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่เกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้. ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัด แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัด บริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี และสระบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 80 อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9616 เมื่อ: 28 กันยายน 2556, 18:18:41 » |
|
หวูติ๊บ Wutip ผีเสื้อจากมาเก๊า พัฒนาเป็นพายุไต้ฝุ่น ระดับ 1 แล้วครับ มันมาจนได้.. ไต้ฝุ่น "หวูติ๊บ" อีสาน-น่าน-พิษณุโลกมีลุ้น28 กันยายน 2556 12:54 น. ภาพดาวเทียมขององค์การนาซ่าโดยสำนักงานวิจัยชั้นบรรยากาศกองทัพเรือสหรัฐที่เผยแพร่ตอนเช้าตรู่วันเสาร์ 28 ก.ย.นี้ตามเวลาในประเทศไทย แสดงให้เห็นไต้ฝุ่นระดับ 1 ลูกใหญ่กำลังพัดไอน้ำขึ้นคละคลุ้งในย่านกึ่งกลางทะเลจีนใต้ เมื่อเวลา 7 น.วันนี้ไต้ฝุ่นหวูติ๊บ (Wutip) อยู่ห่างจากฝั่งทะเลภาคกลางเวียดนามราว 340 กิโลเมตร และกำลังเคลื่อนตัวช้าๆ ในทิศทางตะวันตก-ตะวันตกเฉียงเหนือจนยากจะพยากรณ์ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาฯ เวียดนามคาดว่าไต้ฝุ่นจะเข้าฝั่งในคืนวันจันทร์ 30 ก.ย. ขณะที่หน่วยพยากรณ์อากาศของกองทัพเรือสหรัฐกับ TSR ในกรุงลอนดอนออกแผนภูมิชี้ปลายทางของไต้ฝุ่นลูกนี้ที่ชายแดนลาวไทยหรือแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลางตอนบนของไทย.. โปรดอย่ากระพริบตา. [หรือ..คลิกที่นี่เพื่อชม Satellite Loop] http://www.ssd.noaa.gov/PS/TROP/floaters/20W/imagery/rgb-animated.gif ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- เวียดนามสั่งรับมือไต้ฝุ่นลูกใหม่เต็มพิกัดในวันเสาร์ 28 ก.ย.นี้ในขณะที่ท้องทะเลกำลังปั่นป่วนหนักด้วยอิทธิฤทธิ์ของพายุลูกใหญ่ที่คาดว่าจะพัดเข้าถึงฝั่งในอีก 48 ชั่วโมงข้างหน้า ภาพจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา MTSAT ทีเผยแพร่โดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาหลายแห่งในย่านนี้แสดงให้เห็นไต้ฝุ่นระดับ 1 กำลังปั่นไอน้ำขึ้นคละคลุ้งบรรยากาศในย่านกลางทะเลจีนใต้ และศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่นของกองทัพเรือสหรัฐพยากรณ์ว่าปลายทางของมันต้นสัปดาห์หน้าอาจจะอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยหรืออาจไปได้ไกลถึงแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อกลายเป็นดีเปรสชั่นและหย่อมความกดอากาศต่ำตามลำดับ สำนักพยากรณ์เตือนภัยพายุในเขตร้อน (Tropical Storm Risk) ในกรุงลอนดอนก็ได้ออกแผนภูมิพยากรณ์คล้ายกันชี้ให้เห็นปลายทางของไต้ฝุ่นหวูติ๊บ (Wutip) ในแถบภาคกลางตอนบนของไทยในต้นสัปดาห์หน้า ซึ่งถ้าหากเป็นไปตามนี้ก็จะเป็นความโชคร้ายอย่างยิ่งขณะที่ประชาชนหลายล้านในจังหวัดแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาของไทยกำลังประสบอุทก “หวูติ๊บ” เป็นเสียงเรียกชื่อพายุรุนแรงในเขตร้อนลูกนี้ที่บันทึกเสียงไว้โดยหอสังเกตการณ์ฮ่องกง (Hong Kong Observatory) คำๆ นี้มีความหมายว่า "ผีเสื้อ" ตามภาษาท้องถิ่นมาเก๊าที่มีแมลงปีกสวยงามชนิดนี้หลากหลายพันธุ์ในช่วงหน้าหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ หวูติ๊บนับเป็นพายุลูกที่ 10 ที่ก่อเกิดหรือพัดเข้าสู่ทะเลจีนใต้ในปีนี้ตามระบบนับของเวียดนามเริ่มต้นเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ เมื่อ 72 ชั่วโมงที่แล้วทางทิศตะวันตกหมู่เกาะฟิลิปปินส์และเพิ่มความหนาแน่นของมวลกลายเป็นดีเปรสชั่น-พายุโซนร้อนอย่างรวดเร็ว ก่อนจะทวีความเร็วลมใกล้ศูนย์เป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 (119-153 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ตอนเช้าตรู่วันเสาร์ ตามรายงานของศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์กลางในกรุงฮานอย หวูติ๊บเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 10-15 กม./ชม. และเมื่อเวลา 07.00 น.วันเสาร์นี้อยู่ห่างจากฝั่งทะเลภาคกลางราว 340 กม. โดยมีทิศทางเคลื่อนตัวขึ้นลงระหว่างแนวตะวันตกกับตะวันตกเฉียงเหนือ คาดว่าจะเข้าถึงฝั่งระหว่างนครด่าหนังกับ จ.เหงะอาน (Nge An) ในวันอังคาร 1 ต.ค. ก่อนอ่อนตัวลงเป็นพายุโซนร้อนขณะพัดเข้าลาวซึ่งจะอ่อนตัวลงเป็นดีเปรสชั่น อย่างไรก็ตามแผนภูมิพยากรณ์โดยศูนย์ร่วมแจ้งเตือนภัยไต้ฝุ่น หรือ JTWC (Joint Typhoon Warning Center) ซึ่งเป็นหน่วยงานของกองทัพเรือสหรัฐในนครโฮโนลูลู มลรัฐฮาวายตอนเช้าตรู่วันเสาร์ ได้ชี้ให้เห็นปลายทางของหวูติ๊บที่อยู่ไกลถึงชายแดนลาวติดกับ จ.น่านและอุตรดิตถ์ของไทย และถ้าหากพายุพัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็อาจจะไปสิ้นสุดลงในแถบ จ.พิษณุโลก เมื่ออ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ สัปดาห์นี้เวียดนามยังอยู่ระหว่างฟื้นฟูหลายพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยและน้ำป่าไหลหลากปลายสัปดาห์ที่แล้วตั้งแต่จังหวัดในเขตที่ราบสูงตอนกลางขึ้นไปจนถึง จ.เหงะอานในภาคกลางบางตอนบน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 10 คน บ้านเรือนและทรัพย์สินของราษรเสียหายเป็นจำนวนมาก แต่อุณหภูมิในกรุงฮานอยกับจังหวัดทางตอนเหนือของเวียดนามเริ่มลดลงต่ำในช่วงไม่กี่วันมานี้ เด็กๆ ในเมืองหลวงของเวียดนามต้องสวมเสื้อกันหนาวไปเรียน ประชาชนทั่วไปสวมเสื้อผ้าที่อบอุ่นขึ้น ราษฎรในหายหมู่บ้านในย่านรอบนอกของเมืองหลวงต้องก่อไฟผิงในยามเช้าตรู่ ถ้าหากมวลอากาศจากทางเหนือแผ่ลงปกคลุมอนุภูมิภาคนี้เร็วขึ้นก็อาจจะช่วยลดระดับความรุนแรงและทำให้อายุของไต้ฝุ่นหวูติ๊บหดสั้นลง ซึ่งดูจะเป็นความหวังเดียวสำหรับประชาชนเวียดนาม ลาวและไทยที่จะรอดพ้นภัยพิบัติจากพายุชื่อสวยงามลูกนี้ ชื่อ “หวูติ๊บ” ถูกนำออกใช้เป็นครั้งแรกในเดือน ส.ค.2544 ซึ่งในช่วงรุนแรงที่สุดเป็นไต้ฝุ่นระดับ 4 โดยกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกพัดผ่านบริเวณหมู่เกาะมารินา (Marina Islands) ก่อนไปสิ้นฤทธิ์ที่บริเวณชายฝั่งตอนใต้ของจีนโดยไม่ได้สร้างความเสียหายร้ายแรง ตามประวัติไต้ฝุ่นในแปซิฟิกที่ราบรวมโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาแห่งญี่ปุ่น หรือ JMT (Japan Meteorological Agency) ชื่อหวูติ๊บถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่งในต้นเดือน ส.ค.2550 เป็นพายุโซนร้อนลูกเล็กๆ ก่อเกิดในบริเวณใกล้เคียงกันกับลูกปัจจุบัน แต่สลายตัวไปก่อนจะเข้าถึงฝั่งในภาคกลางตอนบนเวียดนามเนื่องจากอิทธิพลของไต้ฝุ่นปลาบึก (Pabuk) ลูกที่ใหญ่กว่าที่กำลังพัดผ่านเกาะไต้หวันในช่วงเดียวกัน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วไต้ฝุ่นชื่อ “ปลาบึก” อีกลูกหนึ่ง ได้ช่วยกดดันทำให้ไต้ฝุ่นอูซางิ (Usagi) อ่อนตัวลงอย่างรวดเร็วหลังจากทำให้ชาวจีนเสียชีวิตไปอย่างน้อย 25 คน แต่ไม่สามารถเข้าถึงเวียดนาม ลาวและไทยได้. . แผนภูมิโดยสถาบัน SSEC มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐ ที่ออกเผยแพร่เช้าตรู่วันเสาร 28 ก.ย. ตามเวลาในประเทศไทยแสดงเส้นทางเคลื่อนที่ของไต้ฝุ่นหวูติ๊บ (Wutip) โดยใช้ข้อมูลของ JTWC พร้อมแสดงให้เห็นอาณาบริเวณที่จะได้รับผลกระทบขณะพายุเคลื่อนตัวผ่านตลอดสุดสัปดาห์นี้ถึงต้นสัปดาห์หน้า อนุภูมิภาคนี้กำลังรอโชคช่วยอีกครั้ง. 2 แผนภูมิพยากรณ์โดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์กลางเวียดนามเวลา 09.30 น.วันเสาร์ 28 ก.ย.นี้ แสดงให้เห็นการเดินทางของไต้ฝุ่นหวูติ๊บ (Wutip) ที่หดสั้นลงในดินแดนลาววันที่ 1 ต.ค. ก่อนมลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ แต่จะทำให้เกิดฝนตกหนักในช่วงก่อนหน้านั้น ศูนย์อุตุนิยมฯ เวียดนามคาดว่ามวลอากาศเย็นจากตอนเหนือจะเคลื่อนลงปกคลุมอนุภูมิภาคและกดดันให้ไต้ฝุ่นสิ้นฤทธิ์เร็วขึ้น. 3 แผนภูมิพยากรณ์โดยสำนัก TSR ในกรุงลอนดอนสอดคล้องกับของ JTWC ซึ่งถ้าหากไม่มีอะไรในระหว่างทาง ไต้ฝุ่นหวูติ๊บก็จะเคลื่อนผ่านภาคอีสานตอนบนของไทยทะลุไปจนถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา .. ตอนนี้เวียดนาม ลาวและไทย กำลังรอโชคช่วย.. มวลอากาศเย็นจากตอนเหนือที่เคลื่อนลงมาในช่วงเดียวกัน. 4 จะนับเป็นความโชคร้ายยิ่งถ้าหากไต้ฝุ่นหวูติ๊บ (Wutip) อยู่รอดปลอดภัยไปจนถึงต้นสัปดาห์หน้าและกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำทำให้เกิดฝนตกซ้ำเติมสภาวะน้ำท่วมในแถบจังหวัดอีสานตอนเหนือกับลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่ประชาชนไทยหลายล้านกำลังเดือดร้อนในสัปดาห์นี้. 5 แผนภูมิพยากรณ์โดยศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่นหรือ JTWC ของกองทัพเรือสหรัฐในนครโฮโนลูลู อิงตามข้อมูลดาวเทียมในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา แสดงแนวเคลื่อนตัวของหวูติ๊บ (Wutip) ไต้ฝุ่นระดับ 1 ซึ่งคาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนเมื่อเข้าฝั่งเวียดนามและเป็นดีเปรสชั่นในดินแดนลาวกับภาคอีสานตอนบนของไทยก่อนมลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำต้นสัปดาห์หน้าซึ่งอาจส่งผลกระทบถึงแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลางตอนบนของไทยที่กำลังเจอปัญหาอุทกภัยในขณะนี้. 6 หนาวแล้ว .. พื้นถนนยังไม่ทันแห้งหลังจากน้ำเพิ่งลด เด็กๆ ในกรุงฮานอยเริ่มสวมเสื้อกันหนาวไปเรียนในวันที่ 26 ก.ย. ประชาชนในหลายหมู่บ้านย่านชานกรุงต้องก่อไฟผิงในตอนเช้าตรู่ ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวทางการ มวลอากาศเย็นที่เริ่มเคลื่อนตัวลงสู่อนุภูมิภาคเป็นเพียงความหวังเดียวที่จะช่วยให้รอดพ้นภัยพิบัติจากไต้ฝุ่นหวูติ๊บ (Wutip) สุดสัปดาห์นี้และต้นสัปดาห์หน้า. -- ภาพ: GDVN "ข่าวการศึกษาเวียดนาม. 7 จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9560000122303
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9617 เมื่อ: 28 กันยายน 2556, 18:28:17 » |
|
ปี 2554 น้ำท่วมในภาคกลาง ภาคเหนือ ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก สะแกกรัง รวมทั้งท่าจีน นิคมอุตสาหกรรม 5 แห่งไม่เหลือรอด บริษัทในนิคมอุตสาหกรรมเสียหายทั้งหมด โดยเฉพาะพวกญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเลยย้ายตัวเองไปภาคอีสาน เพื่อหนีน้ำท่วม
วันนี้ภาคอีสานอาทิ โคราช ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ สระแก้ว ปราจีนบุรี จมน้ำเป็นแถว-เป็นเทิือก พายุไต้ฝุ่นหวูติ๊บ Wutip มาเที่ยวนี้ อีสานคงจมน้ำรอบสอง คงต้องบอกญี่ปุ่น ไม่ต้อง"หนีเสือ ไปปะจรเข้" หรอกครับ อยู่ตรงไหน ก็ปรับปรุงตรงนั้นนั่นแหละ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9618 เมื่อ: 29 กันยายน 2556, 08:42:43 » |
|
พายุไต้ฝุ่น “หวู่ติ๊บ” (WUTIP) มีความเร็วลมเพิ่มขึ้น ทำให้ถึงประเทศไทยเร็วขึ้น 1 วัน จากเดิมจะถึงวันที่ 2 ตุลาคม แต่ร่นเร็วขึ้นมา 1 วัน โดยถึงวันที่ 1 ตุลาคม พายุอยู่แถบเหนือเมืองเว้ ซึ่งน่าจะพัดเข้าไทยบริเวณเหนือมุกดาหาร อุบลราชธานี คงมีผลให้ภาคอีสานตอนบนเจอน้ำฝนเต็มๆ ในครั้งนี้ น่าจะเลยไปตกเหนือเขื่อนหลักทั้งเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์และเขื่อนสิรินธร ?? ครับพยากรณ์อากาศ ประจำวันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2556 ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุ “หวู่ติ๊บ” (WUTIP)" ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 29 กันยายน 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (29 ก.ย. 56) พายุไต้ฝุ่น “หวู่ติ๊บ” (WUTIP) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 550 กิโลเมตรทางตะวันออกของเมืองเว้ (HUE) ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 16.7 องศาเหนือ ลองจิจูด 112.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะขึ้นฝั่งที่ประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง อนึ่ง ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุก และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดอุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่เกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้. ] ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี และสระบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 70 อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9619 เมื่อ: 29 กันยายน 2556, 11:20:54 » |
|
ขณะนี้ นครสวรรค์ ตีนฟ้าฝั่งทิศตะวันออก (คือทิศของภาคอีสาน)-ฟ้ามืดมาก
ฝนลงแบบพรมน้ำมนต์อย่างไง-อย่างงั้น ลงมาตลอดชั่วโมงที่ผ่านมา
|
|
|
|
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562
|
|
« ตอบ #9620 เมื่อ: 29 กันยายน 2556, 16:42:55 » |
|
สวัสดีค่ะ น้องเหยง สบายดีนะคะ ตามพยากรณ์อากาศช่วงนี่เหนื่อยค่ะ มีแต่ข่าวเศร้าทั้งนั้นค่ะที่บ้านพี่เตรียมตัวเตรียมใจหากอยุธยาท่วมมาก มาปทุมเมื่อไหร่เตรียมขนของค่ะ ตามเรื่องเขีื่อนแม่วงษ์ไปถึงไหนแล้วคะ
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #9621 เมื่อ: 29 กันยายน 2556, 19:36:29 » |
|
สวัสดีค่ะพี่อร คุณเหยง ไหงบ้าน เราฝนตก ทั้งวี่ทั้งวันเทมายังกับพายุไม่เคยหนักเท่า วันนี้แต่แปลกพวกที่เที่ยวทะเลกลับมายังมาโดดน้ำสระต่อ หรือวันที่1ต.คจะเบากว่าที่อื่นหือ?
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9622 เมื่อ: 29 กันยายน 2556, 21:24:06 » |
|
พี่'อร คุณต้อย
โมเดิร์นไนท์ไม่ยอมให้รายการกบนอกกะลา นำสารคดีการเดินทางแม่วงก์ไป กทม.ออกอากาศ ครับ อ้างข้อมูลฝ่ายเดียว ??!!!~
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9623 เมื่อ: 29 กันยายน 2556, 21:25:54 » |
|
พายุหวูติ๊บ Wutip อ่อนแรงลง
โอกาสไปสลายตัวที่จังหวัดพิษณุโลก-เพชรบูรณ์-กำแพงเพชร-ตาก-ลำปาง ลดลงไปแล้วครับ
อาจจะไม่มีน้ำเติมเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิต์แล้วครับภาพกราฟิคพยากรณ์เมื่อบ่ายสามโมงที่ผ่านมา
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #9624 เมื่อ: 29 กันยายน 2556, 21:55:38 » |
|
|
|
|
|
|