28 มิถุนายน 2567, 07:42:49
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 378 379 [380] 381 382 ... 472   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุยกับ เหยง 16 - พิเชษฐ์ เชื่อมฯ-เตรียมฉลอง 100 ปี หอซีมะโด่ง จุฬาฯ  (อ่าน 2420951 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9475 เมื่อ: 06 กันยายน 2556, 12:12:00 »

วันที่ 05 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 00:01 น.  ข่าวสดออนไลน์

"ผีจำนำข้าว"หลอน

ทวี มีเงิน

ความล่าช้าในการชาร์จปัญหาราคายางตกต่ำของรัฐบาลทำให้ "ม็อบชาว สวนยาง" น้อยเนื้อต่ำใจว่ารัฐบาลเอาใจชาวนามากกว่า โดยยอมจำนำข้าวราคา สูงกว่าตลาดโลก แต่กับยางพารายืนยันว่าต้องอิงราคาตลาดโลกแม้หลายคนเชียร์ ให้รัฐบาลยืนกรานไม่ตอบรับข้อเสนอชาวสวนยางอาจจะเห็นว่ารัฐบาลเอาภาษี ประชาชนไปทุ่มเทเอาใจเกษตรกร มากพอแล้ว เฉพาะข้าวอย่างเดียวเฉียดๆ 6 แสนล้านบาท

แต่ลึกๆ แล้วเป็นไปได้ว่าที่รัฐบาลยืนกระต่ายขาเดียวไม่ยอมเข้าแทรกแซงราคารับซื้อ ยางตามข้อเสนอม็อบเพราะกลัวว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยโครงการรับจำนำข้าว ที่ยังหาทางออกไม่ได้

อย่างไรก็ตามหากมองด้วยความรอบคอบและ ชอบธรรม ระหว่างข้าวกับยางแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง รัฐบาลกลับใช้นโยบายพืชทั้งสองชนิดผิดฝาผิดตัว ความจริง"ข้าว"ไม่ควรใช้นโยบาย"จำนำ" แต่ควร"อุดหนุน"แทน"ยาง"ต่างหากที่ควร "รับจำนำ"

ทั้งนี้เนื่องจากเราไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตข้าวราย ใหญ่ โดยอยู่อันดับ 6 ของโลก เหลือจากการบริโภคจึงส่งออกเป็นอันดับ 1 ปีไหนจีน อินเดีย ไม่เจอปัญหาภัยธรรมชาติ ผลผลิตเหลือส่งออกเหมือนไทย ราคาข้าวตลาดโลกก็จะต่ำลง

อย่างสองปีมานี้ราคาข้าวของไทย สูงกว่าราคาในตลาดโลกเกือบเท่าตัว ผู้ค้าต่างประเทศจึงหันไปซื้อข้าวจากคู่แข่งแทน สิ่งที่รัฐบาลคิดจะ "ดึงข้าวออกจากตลาด" มาเก็บไว้หวังช่วยดึงราคาในตลาดโลกขึ้น จึงเป็นแค่จินตนาการ เราไม่ขาย คนอื่น เขาก็ขาย

ตีโจทย์ไม่แตกจึงทำให้ใช้นโยบาย ผิดพลาดเหมือนกรณีจำนำข้าว

ขณะ ที่ "ยางพารา" ตรงกันข้ามกับข้าวอย่างสิ้นเชิง ไทยเป็นผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ของโลก 19 ล้านไร่ ส่งออกอันดับ 1 มูลค่า 4 แสนล้านบาท/ปี ขณะที่ข้าวราวๆ 2 แสนล้านบาท/ปียางพาราไทยครองแชมป์ทั้ง 2 ขาคือ "ผลิตและส่งออก" จึงเหมาะสมที่จะใช้นโยบาย "รับจำนำ" มากกว่า ต้นทุนการเก็บและดูแลรักษาง่ายกว่าข้าว ไม่ต้องฉีดยาฆ่าแมลง รมยา ไม่มีเสื่อมสภาพ ไม่มีเน่ามีเสีย พื้นที่จัดเก็บ ก็น้อยกว่า

ฉะนั้น นโยบายรับจำนำเพื่อ "ดึงปริมาณยาง"ออกจากตลาดเพื่อดึงราคาตลาดโลกจึงง่ายกว่าข้าวยิ่งช่วงนี้ ราคายางเริ่มขยับตัวขึ้นยิ่งดึงได้ง่าย ตรงกันข้ามสำหรับข้าวรัฐควรใช้มาตรการอุดหนุนโดยตรง เพื่อแก้ปัญหาทุจริต และค่าบริหารจัดการ สูญเสียเปล่าๆ ปีละ 5 หมื่นกว่าล้านบาท

หรือเป็นเพราะ "ผีจำนำข้าวหลอน" รัฐบาลก็เลยไม่กล้าเอามาใช้กับยางพารา

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09ETXdOek15Tnc9PQ==&sectionid=
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9476 เมื่อ: 06 กันยายน 2556, 17:27:26 »

อนาคตของยางพารา โดย วีรพงษ์ รามางกูร
วันที่ 06 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 09:10:02 น.
 
(ที่มา:มติชนรายวัน 5 ก.ย.2556)

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ราคาน้ำมัน ราคาสินแร่ เงิน ทองแดง อะลูมิเนียม รวมทั้งยางพาราได้ถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเศรษฐกิจประเทศจีนขยายตัวในอัตราเลข 2 หลักมานานหลายปี

เคยเดินทางไปมณฑลยูนนานของจีน มองลงไปจากเครื่องบินเห็นพื้นที่จำนวนมากมายกลายเป็นสวนยางพารา เนินเขาเป็นลูกๆ ปลูกกันแต่ยางพารา
 

ที่ประเทศลาว แขวงทางเหนือตั้งแต่แขวงหลวงพระบาง หลวงน้ำทา พงสาลี ไซยะบุลี ลงมาจนถึงแขวงเวียงจันทน์ บอริคำไซย ก็เห็นสวนยางพาราเต็มไปหมด

ประเทศไทยในรอบ 5-6 ปีที่ผ่านมาก็นิยมปลูกยางพารากัน ทั้งภาคอีสานและภาคเหนือ ยังนึกในใจว่ายางพารานั้นปลูกได้แต่ที่ภาคใต้ของไทย ที่มาเลเซียและอินโดนีเซีย เพราะยางพาราต้องการภูมิอากาศที่ฝนชุก ความชื้นสูง ที่เมืองไทยนอกจากภาคใต้ ก็มีภาคตะวันออก เช่น จันทบุรี ระยอง และตราด

เมื่อไปเห็นสวนยางที่ภาคอีสาน ภาคเหนือ ที่ประเทศลาว และที่ยูนนาน ประเทศจีน ก็นึกในใจอยู่แล้วว่า เมื่อต้นยางพาราที่ปลูกใหม่นี้ สามารถกรีดเอาน้ำยางได้ ปริมาณน้ำยางก็คงจะล้นตลาด นึกเช่นนั้นอยู่ตลอดเวลา แต่คิดว่าเศรษฐกิจของจีน อินเดีย และรัสเซีย คงจะขยายตัวต่อไป ขณะเดียวกันราคาน้ำมัน ก็คงจะไม่อ่อนตัวลงเพราะถ้าราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลง ราคายางเทียมหรือยางสังเคราะห์ ก็จะอ่อนตัวด้วย ทำให้ราคายางธรรมชาติ อ่อนตัวตามลงไปตามกัน

เหตุการณ์ก็เป็นเช่นนั้น เมื่อเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง เศรษฐกิจรัสเซียและจีนมีปัญหา สหรัฐอเมริกาและยุโรปก็ยังไม่ฟื้นตัว ความต้องการซื้อยางรถยนต์และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ยางพาราก็ลดลง ราคายางพาราก็พลอยร่วงลงไปอย่างรวดเร็วด้วย

ปัญหาของสินค้าเกษตรกรรมที่เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นพืชล้มลุกอย่าง ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง หรือพืชยืนต้น เช่น ผลไม้ต่างๆ รวมทั้งยางพารา และการเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ สุกร ล้วนเป็นไปตามกฎหรือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์

กฎหรือทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ว่าก็คือ เมื่อราคาสินค้าประเภทนี้สูงขึ้น เกษตรกรก็หันมาปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ที่มีราคาสูงขึ้นพร้อมๆ กัน เพราะเห็นเป็นโอกาสที่จะสร้างรายได้ให้มากขึ้น

เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว ปริมาณสินค้าก็จะออกมาพร้อมๆ กัน ทำให้มีสินค้าล้นตลาด เมื่อสินค้าล้นตลาดราคาก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับเกษตรกรผู้ผลิตอย่างมาก

เมื่อราคาลดลงติดต่อกันสักพัก เกษตรกรก็ลดการปลูกหรือปริมาณสัตว์ที่เลี้ยงลง สินค้าก็จะเริ่มขาดตลาดราคาก็จะเริ่มสูงขึ้นหรือเกิดกรณีที่เศรษฐกิจของภูมิภาคหรือของโลกฟื้นตัวขึ้น ความต้องการสินค้าก็เริ่มสูงขึ้น ราคาก็ถีบตัวสูงขึ้น

แต่เศรษฐกิจภูมิภาคและเศรษฐกิจของโลกก็มีวัฏจักร เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวเฟื่องฟูขึ้น การลงทุนก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ตลาดอิ่มตัว การลงทุนมากเกินตัว เศรษฐกิจก็ชะลอตัวแล้วก็กลายเป็นเศรษฐกิจขาลง

ดังนั้น วัฏจักรทางด้านการผลิต วัฏจักรทางด้านความต้องการของตลาด จึงเป็นปัจจัยสำคัญทั้ง 2 ด้าน ที่ทำให้ราคามีขึ้นมีลงเป็นวัฏจักร สร้างความเดือดร้อนให้เกษตรผู้ผลิตอยู่เป็นประจำ เป็นปรากฏการณ์ที่เราจะพบเห็นอยู่เสมอถ้าเราสังเกต

ยางพาราก็เป็นพืชที่ไม่พ้นไปจากกฎทางเศรษฐศาสตร์เช่นว่านี้ เราเคยเห็นราคายางตกต่ำมาแล้วหลายรอบในช่วง 20 ปีมานี้ ราคายางพาราตกต่ำจนประเทศมาเลเซียสนับสนุนให้เกษตรกรของเราเปลี่ยนสวนยางมาเป็นสวนปาล์มน้ำมันแทน ไทยเราก็ทำบ้างบางส่วน

สำหรับสินค้าเกษตรอย่างอื่น เกษตรกรอาจจะปรับตัวได้ง่าย เช่น สุกร ไก่ วัฏจักรราคาอาจจะไม่ยาว 2-3 ปีมีครั้งหนึ่งเพราะการเพิ่มการผลิตทำได้เร็ว สำหรับไก่ก็ไม่กี่เดือน สำหรับสุกรก็ไม่นาน แต่สำหรับไม้ยืนต้นอาจจะนาน

ยางพาราตั้งแต่เริ่มปลูกจนสามารถกรีดเอาน้ำยางต้องใช้เวลาถึง 6 ปี เมื่อต้นยางโตพอที่จะกรีดน้ำยางได้ก็พอดีถึงวัฏจักรราคา อยู่ในช่วงขาลงพอดี การปรับตัวก็อาจจะทำได้ยากเพราะเกษตรกรได้ลงทุนมาแล้วเป็นเวลานาน

กิจการสวนยางเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก เมื่อปลูกจนโตแล้วก็ต้องใช้แรงงานกรีดยาง ลำพังตัวเกษตรกรเองไม่สามารถจะกรีดยางในสวนของตนได้หมด อีกทั้งบุตรหลานที่มีการศึกษาสูงๆ ก็ไม่นิยมกลับบ้านไปกรีดยาง ดังนั้น การกรีดยางจึงต้องอาศัยแรงงานจากภายนอก และวิธีจ้างก็ไม่มีอะไรดีกว่าการแบ่งผลผลิตกัน เช่น 60-40 หรือ 50-50 แทนที่จะจ้างด้วยการออกค่าจ้าง เช่น การจ้างเกี่ยวข้าว หรือหักข้าวโพด

การปรับตัวต่อราคาจึงมีเพียงจะกรีดยางมากหรือน้อยเท่านั้นในระยะแรก เมื่อเศรษฐกิจภาคใต้เจริญขึ้น แรงงานที่เข้ามากรีดยางก็มักจะเป็นแรงงานจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจของประเทศเจริญขึ้น แรงงานจากภาคอีสานมีน้อยลง แรงงานจากประเทศพม่าและอินโดนีเซียก็มาแทนที่

ขณะนี้แรงงานในภาคอีสานและภาคเหนือก็กลับไปปลูกยางพาราที่บ้าน เมื่อต้นยางโตพอจะกรีดได้ก็คงมีปัญหาอย่างเดียวกัน จะหาแรงงานจากที่ไหนมากรีด ถ้าราคายางพาราอยู่ในระดับเกินกว่า 100 บาท รายได้จากการรับจ้างกรีดก็คงจะพอเป็นแรงจูงใจให้มีคนทำ แต่ถ้าราคายางพาราในตลาดโลกตกต่ำลงมาอยู่ในระดับ 60-70 บาทต่อกิโลกรัม ปัญหาก็คงจะเกิดขึ้นทันที

สวนยางที่ประเทศลาวจำนวนมากก็ไม่มีแรงงานเพียงพอที่จะกรีด คงต้องใช้แรงงานต่างชาติเข้ามาทำการกรีดเช่นเดียวกับประเทศไทย

การกรีดยางก็ไม่สามารถใช้เครื่องจักรได้ ยังต้องใช้คนเดินกรีด และเดินเก็บน้ำยางไปทีละต้น ไม่เหมือนการปลูกข้าว ข้าวโพดและมันสำปะหลังรวมทั้งถั่วเหลือง ที่สามารถใช้เครื่องจักรมาแทนแรงงานได้มากขึ้นเรื่อยๆ

ยังคิดไม่ออกเหมือนกันว่าประเทศไทยของเรา ซึ่งเป็นประเทศที่ขาดแคลนแรงงานแล้วในขณะนี้ มีแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในภาคเศรษฐกิจใช้แรงงานมาก ในอนาคตจะทำอย่างไร

ถ้าพม่าประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศหลังจากที่ได้เปิดประเทศ และแรงงานจากพม่ากลับบ้าน ไปทำงานที่บ้าน ซึ่งขณะนี้ก็ได้เริ่มขึ้นแล้ว เราจะยังสามารถรักษากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้แรงงานมากๆ เช่น การทำสวนยางไว้ได้หรือไม่ หรือถ้าพม่าเริ่มปลูกยางพาราบ้างเช่นเดียวกับ สปป.ลาว เวียดนาม กัมพูชา และจีน ทำและดูดแรงงานไว้ที่บ้านเขา เราจะทำอย่างไร

สถานการณ์ที่ว่าจะมีทั้งวัฏจักรราคา อันเกิดจากการขึ้นลงของเศรษฐกิจในภูมิภาคและเศรษฐกิจโลก การเพิ่มขึ้นของค่าแรงงานในประเทศ ในขณะที่ระยะยาวราคาที่แท้จริงของสินค้าเกษตร กล่าวคือราคาของสินค้าปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อไม่เพิ่มแต่กลับตกลง รวมทั้งค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งขึ้นในระยะยาว อนาคตของยางพาราซึ่งเป็นต้นไม้ยืนต้น มีวัฏจักรปรับตัวจากปริมาณน้อยหรือช้ากว่าสินค้าอื่นๆ น่าจะมีปัญหาอย่างแน่นอน

เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดขึ้นในปี 2558 ที่จะมีการเปิดตลาดสินค้าเกษตรหลายๆ อย่าง สินค้าทุกอย่างถ้าจะไปรอดคงต้องปล่อยให้การผลิต การส่งออกและราคาเป็นไปตามกลไกตลาด รัฐบาลจะเข้าไปแทรกแซงคงต้องใช้งบประมาณมากและอาจจะไม่ได้ผลอย่างที่เห็นอยู่ ควรจะคิดล่วงหน้าเอาไว้ เพราะปัญหานี้คงจะเกิดขึ้นแน่ในอนาคต

ยางพาราก็เป็นสินค้าอีกตัวที่จะเป็นปัญหา

 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1378380415&grpid=01&catid=&subcatid=

 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9477 เมื่อ: 06 กันยายน 2556, 17:36:04 »

"ธีรภัทร เจริญสุข"เขียน"ปัญหาราคากับยางพาราลุ่มน้ำโขง"
วันที่ 06 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 11:24:07 น.

ที่มา : คอลัมน์ เดือนหงายที่ชายโขง มติชนรายวัน

โดย ธีรภัทร เจริญสุข

ในอดีต เชื่อกันว่ายางพาราปลูกได้เฉพาะในภาคใต้เท่านั้น แต่จากการศึกษาของกรมส่งเสริมการเกษตร เริ่มมีการสนับสนุนการปลูกยางพาราเชิงพาณิชย์ในภาคอื่น โดยเฉพาะภาคอีสานอย่างต่อเนื่องเมื่อ พ.ศ. 2547 โดยเฉพาะในแถบจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงที่มีสภาพ

ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ แหล่งน้ำและความชื้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง ซึ่งในจังหวัดเกิดใหม่อย่างบึงกาฬ ยางพาราได้กลายเป็นสินค้า

สำคัญของจังหวัด มีพื้นที่ปลูกกว่า 8 แสนไร่ คิดเป็นกว่าหนึ่งในสี่ของพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งภาคอีสาน 3.2 ล้านไร่ มีการจัดงานประจำปีในชื่องานวันยางพาราบึงกาฬ ชาวสวนยางมีรายได้สูงเป็นกำลังซื้อสำคัญของธุรกิจในท้องถิ่น ชนิดที่ว่าบริษัทรถสั่งรถโฟร์วีล รถ SUV มาขายไม่ทันความต้องการ

จากนั้นราคายางที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากถึงกิโลกรัมละ 150-160 บาทใน พ.ศ. 2554 เป็นแรงดึงดูดให้เกษตรกรภาคอีสานหันมาปลูกยางพารามากขึ้น โดยเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมอย่างอื่นเป็นสวนยางพารา และได้ความรู้ แรงงานในการทำสวนยาง มาจากกลุ่มแรงงานชาวอีสานที่เคยไปรับจ้างกรีดยางอยู่ภาคใต้ รวมถึงกลุ่มชาวสวนยางบางส่วนที่อพยพหนีความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนขึ้นมาซื้อที่ดินทำสวนยางพารา ซึ่งสวนยางพาราร้อยละ 80 ของประเทศไทย เป็นสวนยางของเกษตรกรเอกชนรายย่อย โดยสิ่งสำคัญในการปลูกยางคือกล้าพันธุ์ยางนั้นหายากจนราคาดีดตัวขึ้นสูง เป็นที่จับตาของบรรดาโจร

ขนาดสวนยางของนายตำรวจท่านหนึ่งของ สภ.อ.เมืองหนองคาย ลงกล้ายางไว้หนึ่งเดือน กลับมาดูอีกที ถูกมือดีลักขุดเอาไปจนหมดสวนก็มี

ต่างจากฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศกัมพูชาที่มีการให้สัมปทานทำสวนยางพาราขนาดใหญ่ระดับอุตสาหกรรม โดยบริษัทสัญชาติจีน เวียดนาม และไทย เพื่อส่งผลผลิตยางพาราป้อนสู่อุตสาหกรรมที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบ

ตั้งต้น เช่น ถุงมือยาง ยางรถยนต์ และของเล่น ส่วนเกษตรกรรายย่อยนั้นไม่สามารถทำสวนยางพาราได้เอง เนื่องจากขาดภูมิความรู้ในการทำสวนยาง อีกทั้งยังขาดกล้าพันธุ์ยางพาราที่จะนำมาปลูก

การทำสวนยางแบบอุตสาหกรรมในลาวและกัมพูชา ยังส่งผลต่อการรุกล้ำพื้นที่ป่า เนื่องจากทางรัฐบาลได้ให้สัมปทานทำสวนยางในเขตพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมติดกับเขตป่าสงวน โดยเฉพาะในแขวงหลวงน้ำทา และแขวงสาละวันของลาว ที่ได้รับสัมปทานสวนยางกว่า 11,000 เฮกตาร์ (ประมาณ 70,000 ไร่) บ่อยครั้งที่บริษัทที่ได้รับสัมปทาน จะรุกเข้าไปตัดไม้จากป่าไม้สมบูรณ์เพื่อนำไม้ซุงออกมาส่งขาย บริษัท "ขุนนางยางพารา" (Rubber Barons) เหล่านี้ มักประดับประดาสำนักงานและบ้านพักผู้บริหารด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้แท้ๆ จำพวกไม้สัก ประดู่ ชิงชัน พะยูง จากป่าไม้ในเขตที่ตนได้รับสัมปทาน เปลี่ยนป่าไม้เนื้อแข็งเขตร้อนให้กลายเป็นป่ายางพารา ทำลายระบบนิเวศพื้นถิ่นโดยสิ้นเชิง

เมื่อราคาน้ำมันโลกเริ่มตก ส่งผลต่อราคายางพาราในฐานะสินค้าทดแทน เหลือเพียงกิโลกรัมละ 70-80 บาท กระแสนิยมในการทำสวนยางก็เริ่มซาลง ในขณะที่ชาวสวนยางในภาคอีสานผู้ที่ลงทุนปลูกไปแล้วก็ยังพอเก็บผลผลิตขายในระดับพอกินพออยู่ได้ ไม่ร่ำรวยอู้ฟู่อย่างที่เคยเป็น

มาก่อน เพราะกรีดได้ตลอดทั้งปี ไม่ต้องรอพักฤดูฝนเหมือนสวนยางภาคใต้ แม้จะมีเสียงบ่นอยู่พอสมควรจากรายได้ที่ลดลงบ้างก็ตาม

ในขณะเดียวกัน ลาวและกัมพูชาก็เริ่มระงับโครงการให้สัมปทานสวนยางพาราใหม่ โดยจากแผนการให้สัมปทานยางพารา 181,480 เฮกตาร์ ( ประมาณ 1,134,000 ไร่) ได้ถูกระงับไปกว่า 70% เนื่องจากบริษัทที่มาขอสัมปทานเห็นว่าราคายางไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน รวมถึงทางรัฐบาลได้รับการร้องเรียนเรื่องการทำลายป่าไม้ของบริษัทเหล่านั้นจากชาวบ้านในพื้นที่ และกลุ่มองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติที่เป็นห่วงว่าป่าไม้ของชาติจะกลายเป็นป่ายางพาราเสียหมด

ปัญหาราคายางตกต่ำ ด้านหนึ่งจึงเป็นเรื่องเดือดร้อนของเกษตรกรไทย แต่สัตว์ป่าในลาวและเขมรคงถอนหายใจด้วยความโล่งอก

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1378441531&grpid=&catid=02&subcatid=0200

 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9478 เมื่อ: 07 กันยายน 2556, 09:17:50 »

ฝนยังคงหนาแน่นและตกหนักเป็นบางแห่ง เช่นเมื่อวานนี้ ซึ่งจังหวัดน่าน เชียงรายมีน้ำท่วมขังบางแห่ง
แต่ฝนไม่ตกลงในบริเวณที่เก็บน้ำเหนือเขื่อน
ทะเลมีคลื่มสูง-ลมแรง ต้องระมัดระวัง


พยากรณ์อากาศ ประจำวันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  ร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักในระยะนี้ไว้ด้วย
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8-9 กันยายน 2556 คลื่นกระแสลมตะวันออกจะพัดเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้
 
ภาคเหนือ  มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่
ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค

อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส
แปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี

อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัด
นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่
และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฏร์ธานี และนครศรีธรรมราช

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่
และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง

อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  มีเมฆเป็นส่วนมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 70
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

[/size]
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9479 เมื่อ: 07 กันยายน 2556, 10:15:31 »

ฝนทิ้งช่วงทำน้ำเขื่อนหลักน้อย อาจไม่พอใช้หน้าแล้งปีหน้า


รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เผย น้ำในเขื่อนหลักทั่วประเทศยังมีน้อย ยันมีหลายพื้นที่ฝนทิ้งช่วง ระบุอาจไม่พอใช้ช่วงหน้าแล้งปีหน้า…

เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2556 ที่โรงแรมโกลเด้นแลนด์ รีสอร์ท ต.ด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา นายวราวุธ ขันติยานันท์ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตรเป็นประธานเปิดการฝึกอบรม อาสาสมัครฝนหลวง เพื่อการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการฝนหลวง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามโครงการจิตอาสาช่วยพระบิดาปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปี 2556 โดยมี นายปนิธิ เสมอวงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำอาสาสมัครฝนหลวงจากอำเภอต่างๆ ในพื้นที่ขอนแก่น, นครราชสีมา, ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ ให้ความสนใจเข้ารับการอบรม อำเภอละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 200 คน

นาย วราวุธ ขันติยานันท์ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งว่า สถานการณ์ภัยแล้งหลายพื้นที่ยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสานที่ยังมีประชาชน และเกษตรกรต้องการน้ำฝน เพื่อทำการเกษตร ขณะที่น้ำในเขื่อนหลักทั่วประเทศที่ยังมีน้อย เกรงจะไม่พอใช้ช่วงหน้าแล้งปีหน้า ซึ่งได้สั่งการให้หน่วยบินทำฝนหลวงขึ้นทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และเติมน้ำลงอ่างเก็บน้ำให้มากที่สุด
อย่าง ไรก็ตาม ปัจจุบันสถานการณ์ภัยแล้งในหลายพื้นที่ของประเทศไทยเริ่มคลี่คลายลง เนื่องจากมีฝนตกลงมา แต่ขณะเดียวกัน ก็ยังมีอีกหลายพื้นที่พี่น้องประชาชนและเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง เนื่องจากฝนทิ้งช่วง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ยังมีอีกหลายจังหวัด ที่ยังร้องขอให้ทางฝนหลวงนำเครื่องบินขึ้นปฏิบัติการทำฝนหลวงทุกวัน ซึ่งในส่วนของหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง มีเจ้าหน้าที่และเครื่องบินปฏิบัติการประจำอยู่ทุกภาค พร้อมจะขึ้นบินทำฝนหลวงทุกวัน
โดยช่วงนี้จะเน้นขึ้นบินในพื้นที่ทาง การเกษตรที่ต้องการน้ำฝนในการทำนา และบางช่วงที่สภาพอากาศเหมาะสม ก็จะขึ้นบินเหนืออ่างเก็บน้ำสำคัญๆ ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ เพื่อต้องการให้น้ำฝนตกในเขื่อน เพื่อที่จะได้กักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งปีหน้า สำหรับในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง อยู่ที่ จ.ขอนแก่น แต่จะมีหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 3 หน่วย ประกอบด้วย หน่วยฝนหลวงจังหวัดนครราชสีมา, หน่วยฝนหลวงจังหวัดขอนแก่น และหน่วยฝนหลวงจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจะตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จนถึงวันที่ 15 ต.ค. 2556 นี้.


ไทยรัฐออนไลน์


http://www.thairath.co.th/content/region/368303
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9480 เมื่อ: 07 กันยายน 2556, 11:12:21 »

ฟังการประเมินผลกระทบจากผู้มีอาชีพที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 07 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 10:09 น.  ข่าวสดออนไลน์
ม็อบยาง-ผลกระทบทางเศรษฐกิจ

รายงานพิเศษ

การชุมนุมของเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์มน้ำมัน ที่ต่อเนื่องมานับแต่วันที่ 23 ส.ค.

ขยับมาตรการกดดันรัฐบาล จากการชุมนุมประกาศข้อเรียกร้อง ไปสู่การปิดถนน รางรถไฟ และขยายพื้นที่กดดัน เป็นปกติของการชุมนุมทั่วไป

ขณะที่รัฐบาลยึดหลักการเจรจาโดยไม่ใช้ความรุนแรง มีการพูดคุยระหว่างรัฐมนตรีที่รับผิดชอบกับแกนนำผู้ชุมนุมเป็นระยะ

อย่างไรก็ตาม การชุมนุมที่ยืดเยื้อ การปิดถนน ปิดทางรถไฟกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งภาคการผลิต การจ้างงาน และนำเข้า-ส่งออก

โดยมีความเห็นจากหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวของ

ปริญญา ศิริสารการ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


การปิดถนนและเส้นทางเดินรถไฟ ทำให้การขนส่งสินค้าทั้งภาคอุตสาหกรรมและการเกษตรต้องหยุดชะงัก

ซึ่งเส้นทางนี้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าที่สำคัญ เนื่องจากสินค้าภายในประเทศและสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศต้องส่งผ่านไปยังท่าเรือแคลง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นท่าเรือขนาดใหญ่ที่ส่งต่อสินค้าไปยังทวีปยุโรป

การปิดเส้นทางคมนาคมดังกล่าว นอกจากทำให้การขนส่งสินค้าต้องหยุดชะงักแล้ว ผู้ส่งต้องหลีกเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นหรือขนส่งโดยวิธีอื่น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มต้นทุนและเสียค่าใช้จ่ายอย่างสิ้นเปลือง

นอกจากนั้นการชุมนุมยังเริ่มส่งผลกระทบถึง ผู้ประกอบอาชีพอื่น ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาราคายางแต่ต้องประสบปัญหาเรื่องการเดินทาง

ส่วนด้านการท่องเที่ยวยังถือว่าการชุมนุมไม่ค่อยสร้างปัญหาเท่าไร เนื่องจากยังไม่ถึงฤดูท่องเที่ยวหรือช่วงไฮซีซั่น

อย่างไรก็ตาม การชุมนุมภายใต้กรอบความขัดแย้งทางการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย เพราะประเทศมหาอำนาจที่มีกำลังส่งนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลกำลังจับตามองสถานการณ์ในไทย

หากการชุมนุมเริ่มบานปลายไปกว่านี้ประเทศเหล่านั้นก็จะประกาศห้ามนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา ถือว่าสร้างความเสียหายอย่างมากต่อภาพลักษณ์และเศรษฐกิจของประเทศ

การชุมนุมในลักษณะที่เข้าไปปิดกั้นหรือยึดครองสถานที่สำคัญเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลสนใจนั้นกำลังสร้างปัญหาให้ประเทศไทยอย่างมาก เพราะการชุมนุมลักษณะนี้เริ่มถูกทำให้เป็นบรรทัดฐาน เป็นธรรมเนียม

เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องเร่งดำเนินการในการแก้ปัญหาเบื้องต้น ด้วยการเจรจากับผู้ชุมนุมจากนั้นค่อยวางแผนแก้ปัญหาในระยะยาว หากรัฐบาลปล่อยให้การชุมนุมมีไปอย่างยืดเยื้อ ก็เสี่ยงต่อการที่ระดับการชุมนุมจะเพิ่มขึ้น

แม้ว่าการชุมนุมของเกษตรกรชาวสวนยางขณะนี้ยังไม่ถือว่าสร้างปัญหาหรือส่งผลกระทบในขั้นเสียหายร้ายแรง แต่รัฐบาลควรรีบดำเนินการเจรจาหาข้อยุติ โดยหลีกเลี่ยงการใช้กำลังสลายการชุมนุม เพราะจะยิ่งทำให้สถานการณ์ไม่ดีร้ายลง

และหากรัฐบาลสามารถทำให้การชุมนุมยุติโดยเร็วก็ไม่จำเป็นต้องออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการชุมนุมนี้ เพราะการชุมนุมยังไม่ได้ทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจติดด้านลบ

หลังจากนี้เชื่ออีกว่ากลไกทางเศรษฐกิจจะไหลกลับไปอยู่ในสภาพเดิม ถ้ารัฐบาลทำความเข้าใจกับผู้ชุมุนมโดยเร็ว

ภูเบศ จันทนิมิ
ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย


แม้จะมีม็อบปิดถนนหรือมีการชุมนุมกันยืดเยื้อ ระบบการขนส่งก็ยังมีเส้นทางอื่นๆ ให้ไป จึงไม่ได้กระทบมากนัก

แม้ต้องขับรถอ้อมหรือระยะทางเพิ่มขึ้นแต่ไม่ได้ทำให้ต้นทุนในการขนส่งเพิ่มขึ้นแบบมีนัยยะ จนต้องปรับราคาสินค้าประมงหรืออาหารทะเลเพิ่มขึ้น จนส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค

ราคาสินค้าประมงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่ได้เกิดจากม็อบปิดถนน ดังนั้น ไม่ต้องกลัวสินค้าขาดตลาด หรือราคาแพง ยกเว้นมีลมมรสุม เรือประมงจอดกันมากทำต่อไปไม่ได้เพราะแรงงานมีปัญหา

ในฐานะเกษตรกรเช่นกัน ม็อบคือเกษตรกรชาวสวนยาง ประมงก็เป็นเกษตรกรอีกกลุ่ม เราเห็นใจชาวสวนยางเพราะมีปัญหาจริงๆ ถ้าไม่เดือดร้อนคงไม่มาชุมนุม

การปิดถนน ยอมรับภาคประมงได้รับผลกระทบบ้างแต่กระทบเพียงชาวประมงในนราธิวาส สงขลา ปัตตานี ที่ทำให้การขนส่งล่าช้าบ้าง แต่ไม่ถึงกับก่อให้เกิดความเสียหายกับอุตสาหกรรมประมง

ชำนาญ ศรีสวัสดิ์
นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่


ขณะนี้การท่องเที่ยวของภาคใต้ไม่ใช่ เฉพาะจ.กระบี่ กำลังมีปัญหา ปริมาณนักท่องเที่ยวลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนๆ ช่วงโลว์ซีซั่นนักท่องเที่ยวจะลดลง 30% จากสถานการณ์ปกติ

แต่ภายหลังที่มีม็อบชาวสวนยางและเคลื่อน ไหวจะปิดสนามบิน มีการสอบถามจากนักท่องเที่ยวทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนามและลาว รวมถึงออสเตรเลียว่าภาคใต้เที่ยวได้หรือไม่ ม็อบยุติหรือยัง

ทางสมาคมไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ เพราะการปิดถนน หรือเผาบ้านเผาเมือง ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ที่ทำให้นักท่องเที่ยวกลัวและเป็นภาพติดตามาแล้ว นักท่องเที่ยวจึงชะลอเที่ยวไทย ที่จะมาก็ยกเลิก

ส่งผลให้ขณะนี้นักท่องเที่ยวหายไปจากภาคใต้ประมาณ 50% ของสถานการณ์ปกติ

ช่วงวันที่ 5-8 ก.ย.นี้ มีการจัดงานโปรโมตการท่องเที่ยว บูธที่จัดงานโปรโมตการท่องเที่ยวภาคใต้จะได้รับคำถามในเรื่องของความสงบ ปัญหาม็อบจากนักท่องเที่ยวคนไทยจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวคนไทยยังไม่เชื่อมั่น

หากปิดต่อเนื่องอีกสัก 3 วัน นักท่องเที่ยวภาคใต้เป็นศูนย์แน่นอน

อยากให้การชุมนุมอยู่ในที่ตั้ง อยากให้ชาวสวนนึกถึงภาพรวมของประเทศชาติบ้าง โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวที่เปราะบางมาก และเป็นธุรกิจเดียวที่ยังทำเงินให้ประเทศได้ตอนนี้

ยู เจียรยืนยงพงศ์
ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย


การชุมนุมประท้วงที่ต่อเนื่องกว่า 10 วัน ส่งผลกระทบทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถขนส่งสินค้าไปจำหน่ายยังพื้นที่ภาคใต้ได้ ล่าสุด สร้างความเสียหาย ต่อธุรกิจภาพรวมคิดเป็นมูลค่าประมาณ 3,000 ล้านบาทแล้ว

สินค้าที่ได้รับผลกระทบแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก คือ 1.สินค้าพลังงาน ซึ่งได้แก่น้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซ ในพื้นที่ภาคใต้เริ่มขาด แคลน ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นเกาะและเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ

2.สินค้าเกษตร โดยเฉพาะยางพาราแผ่นไม่สามารถส่งออกไปยังมาเลเซียเพราะรถไม่สามารถขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือปีนังได้ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยวันละ 70 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าความเสียหายรวม 10 วัน ประมาณ 700 ล้านบาท

3.สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม เริ่มขาดแคลนเช่นกัน รวมทั้งผู้ประกอบการขนส่งยังมีภาระต้นทุนค่าขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1,500 บาท/เที่ยว เพราะต้องหันไปใช้ทางเลี่ยง

ปัจจุบันมีการขนส่งสินค้าดังกล่าวไปยังภาคใต้เฉลี่ยวันละ 1 พันเที่ยว หากต้นทุนเพิ่มวันละ 1,500 บาท ก็เท่ากับผู้ประกอบการมีต้นทุนขนส่งเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 1.5 ล้านบาท ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าอุปโภค บริโภคให้ปรับเพิ่มขึ้น

4.สินค้าอุตสาหกรรม เช่น อุปกรณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนคอมพิเตอร์ และชิ้นส่วนยานยนต์ กลุ่มนี้ได้รับผลกระทบหนักที่สุดเพราะเป็นสินค้าที่มีมูลค่าการผลิตสูง

ประชาชนในภาคใต้เป็นกลุ่มคนได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนผู้ประกอบการขนส่งต้องช่วยตัวเอง เราไม่ได้ต้องการเรียกร้องให้รัฐเข้ามาจ่ายเงินชดเชย หรือรับภาระความเสียหาย เพราะเป็นไปไม่ได้ที่รัฐจะช่วยเหลือคนทุกกลุ่ม

สิ่งที่รัฐต้องรีบทำคือเร่งเจรจา หาข้อสรุปให้ได้ข้อยุติเร็วที่สุด และเตรียมมาตรการแก้ปัญหาระยะยาว

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09EVXlNell6Tmc9PQ==&sectionid=
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9481 เมื่อ: 07 กันยายน 2556, 11:28:01 »

วันที่ 07 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 00:01 น.  ข่าวสดออนไลน์
"ไต้หวัน"โมเดล ข้ามชั้นเมืองรายได้สูง

ทวี มีเงิน

มี คำกล่าวว่าแค่เรา "หยุดนิ่ง" เท่ากับเรากำลังถอยหลังสัก 50-60 ปีกว่าๆ ความเจริญระหว่างไทยกับญี่ปุ่นไม่แตกต่างกัน แต่ตอนนี้แซงหน้าเราไม่น้อยกว่า 100 ปี 40 ปีก่อนเกาหลีใต้ต้องส่งข้าราชการ ผู้เชี่ยวชาญดูงานเมืองไทยเอาไปพัฒนาประเทศ วันนี้เราต้องไปดูงานเกาหลี 30 ปีก่อนเราเป็นต้นแบบให้ไต้หวันศึกษางาน แต่วันนี้ไต้หวันทิ้งเราไปไกล รวมทั้งสิงคโปร์ที่เราเคยเจริญมาก่อน มาเลเซียเมื่อเกือบ 20 กว่าปีที่แล้วเรายังนำหน้าตอนนี้เราต้องวิ่งไล่

หลายๆ คนเริ่มตั้งคำถามแล้วเราจะไปทางไหน จะเอาใครเป็นต้นแบบ ญี่ปุ่นทิ้งเราไปไกลโข "เกาหลีใต้" กับ "ไต้หวัน" ที่อาจจะเดินตามได้ จนบางคนบอกว่า หากใครคิดจะทำธุรกิจขนาดเล็กประเภท SMEs ให้ไปดูโมเดล เกาหลี ไต้หวันก็พอ ไม่ต้องไปไกลถึงยุโรป

นั่นเป็นเพราะกระแสธุรกิจจะเคลื่อนจากยุโรปเข้ามายังญี่ปุ่น เกาหลีและไต้หวันตามลำดับ

แต่ ไส้ในรายละเอียดแล้วมีความแตกต่าง เกาหลีใต้สร้างประเทศด้วยอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อาจไม่เหมาะกับประเทศไทย ธุรกิจของคนไทยเรายังเป็นธุรกิจขนาดเล็ก หากเทียบเคียงน่าจะใกล้เคียงกับ "ไต้หวัน" มากกว่าไต้หวันสร้างตัวด้วยเอสเอ็มอีเติบโตจากธุรกิจห้องแถว

แต่ บริษัทขนาดเล็กๆ ของเขาสามารถไปแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ เขามีสินค้าที่เป็น "แบรนด์ระดับโลก" เฉพาะอย่างยิ่งสินค้าไฮเทคทั้งหลายที่คุ้นชื่อกันดีในบ้านเรา หากเราจะสร้างชาติแล้วมองหาต้นแบบ ไต้หวันจึงเหมาะที่สุด ทำแบบ "จิ๋วแต่แจ๋ว" และธุรกิจเหล่านี้เป็นของคนไทย ไม่เหมือนบริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นของต่างชาติ

ที่สำคัญไทย ต่างจากไต้หวัน ตรงที่เขาเอาใจใส่เรื่องการศึกษาสูงมาก พยายามสร้างชนชั้นกลาง สังคมไหนที่ชนชั้นกลางเข้มแข็งประเทศนั้นก็จะไปได้ดี ชนชั้นกลางสามารถช่วยในเรื่อง "ความน่าเชื่อถือ"


ฉะนั้น หากจะให้สังคมไปได้ดีต้องเร่งสร้างคนชั้นกลางให้เข้มแข็งก่อน แล้วทุกอย่างจะตามมาไม่ว่าจะเป็นความน่าเชื่อถือหรือว่าการศึกษา ตรงนี้เป็นโจทย์สำคัญที่สุด แต่ที่ไทยกับไต้หวันไม่ต่างกันคือนักการเมือง เมื่อก่อนจะเห็นข่าวในทีวี ส.ส.ฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลยกพวกตีกันในสภา แต่ตอนนี้นักการเมืองไทยกำลังเลียนแบบนักการเมืองไต้หวันชนิดที่ไม่ใช่ก็ ใกล้เคียง

ภาพเพิ่มเติมที่...

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09EUTRNVFl6TkE9PQ==&sectionid=
      บันทึกการเข้า
Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #9482 เมื่อ: 07 กันยายน 2556, 20:05:49 »

            หวัดดีค่ะคุณเหยง     มาดูรายงานอากาศมั่งว่าจะตรงมั้ยที่กระบี่แดดดีฟ้าโปร่งมาเทซู่ๆเอาตอน5โมงเย็น
                                      อ้อเมื่อเช้าคุยกับคนมีสวนยางบอก90ก็ไหวน่ะแต่ที่ยังดึงราคาไม่ถึง95นี่รอให้แน่ใจก่อน
                                      การเมืองหน่อยหน่อยว่าขอคะแนนเสียงคนใต้ให้เพื่อไทย   เรื่องเดินทางขึ้นล่อง
                                      ขนาดน้องอยู่นคร ตรัง จะไปหาดใหญ่ ยังกลัวๆแต่ก็โล่งน่ะไม่เจอม๊อบปิดถนน
                                     
      บันทึกการเข้า

เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9483 เมื่อ: 08 กันยายน 2556, 09:46:11 »

คุณต้อย


ผมว่าอาการแปรปรวนเอามากๆ จากเหตุที่ประเทศไทยไม่นิ่ง (เขาว่าดวงเมืองยังไม่นิ่ง??)
รบในสภาฯ และต้องรบนอกสภาฯ ด้วย
เพราะเอาชนะเสียงในสภาฯ ไม่ได้, แถมเขาเอาเสียงส่วนใหญ่ชนะโดยไม่ฟังเสียงส่วนน้อย
เรื่องจึงยาว แบบไม่มีวันจบ
วิชา Risk Managenent ต้องเรียนรู้ ซึ่งไม่มีการสอนวิชานี้กัน
เขาจึงเอาชนะด้วยการใช้กำลังเขาย่ำยีแทน
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9484 เมื่อ: 08 กันยายน 2556, 09:46:17 »

ฝนตกหนาตาในแทบทุกภาคของประเทศ
แต่มักไม่ตกลงในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน
ทะเลมีคลื่นสูง ลมแรง เทีี่ยวทะเลต้องระมัดระวัง


พยากรณ์อากาศ ประจำวันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับคลื่นกระแสลมตะวันออกได้เคลื่อนเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนหนาแน่น และมีฝนตกหนัก
บางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางด้านตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักในระยะนี้ไว้ด้วย
 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ  มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดชัยภูมิ และนครราชสีมา

อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคกลาง  มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา

อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก
ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช และนราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่
และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดระนอง และพังงา

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  มีเมฆมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 80
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9485 เมื่อ: 08 กันยายน 2556, 15:45:46 »

ทุกท่าน


นครสวรรค์, พอเข้าเวลาเที่ยง แดดออก ร้อนจัดอยู่ในขณะนี้ครับ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #9486 เมื่อ: 08 กันยายน 2556, 17:49:48 »

อากาศแปรปรวนจากเหนือชุมแพถึงดอนเมือง ไม่มีการขายสืนค้าทีระลึก อดซื้อปากกา
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9487 เมื่อ: 08 กันยายน 2556, 20:46:38 »

น้องเริง


ถือว่า เขาให้ไปซื้อเที่ยวหน้า..แสดงว่าเรายังมีโอกาสไปอีก
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9488 เมื่อ: 08 กันยายน 2556, 21:02:22 »

วันที่ 08 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 01:54 น.  ข่าวสดออนไลน์
2 ล้านล้านต้องเดินหน้า - มุมมองฝรั่งวิเคราะห์ไทย

รายงานพิเศษ
สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทย ยังเป็นที่จับตาของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเด็นว่า อาจเข้าสู่สภาวะถดถอย


ประเด็นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ในงานเสวนาหัวข้อ "การจัดการความเสี่ยงในระดับสากล" จัดโดยบริษัทประเมินความเสี่ยงด้านการลงทุน MBMG ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมามี สก๊อต แคมป์เบลล์ ผู้บริหารฝ่ายการลงทุนของบริษัท MiltonOptimal เป็นวิทยากร


พอล แกมเบิลส์ ผู้จัดการร่วมบริหารของบริษัท MBMG ให้สัมภาษณ์ "ข่าวสด" ถึงทัศนะต่อทิศทางและอนาคตทางการเงินของไทย ในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่คร่ำหวอดในวงการและคุ้นเคยกับประเทศไทยมาหลายสิบปี ว่า ไทยมีศักยภาพในการพัฒนาอย่างมาก เนื่องจากมีจุดแข็งหลายประการ


เช่น การมีประชากรที่รู้หนังสือถึงร้อยละ 92.5 มีแรงงาน ราคาถูก และมีภาคอุตสาหกรรมที่สามารถพัฒนาเพิ่มได้ อีกทั้งยังเป็นแหล่งเงินลงทุนที่สำคัญของต่างชาติ นอกจากนี้ ไทยยังมีสินค้าส่งออกที่สำคัญเช่น ข้าว และยางพารา ซึ่งเป็นสินค้าพื้นฐานตั้งต้นที่นำไปใช้ในการผลิตขั้นต่อๆ ไป


หัวใจสำคัญของการพัฒนานั้น คือการส่งเสริมด้านระบบสาธารณูปโภค มาเลเซียมีจีดีพีต่อหัวแซงไทย โดยค่าเฉลี่ย รายได้ต่อหัวของประชากรของไทยอยู่ที่ราว 170,000 บาทต่อปี แต่มาเลเซียอยู่ที่ราว 300,000 บาทต่อปี ทั้งที่มีระบบเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน เพราะมาเลเซียมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและการขนส่งที่ดีกว่าไทย


"ถ้าหากไทยส่งเสริมด้านสาธารณูปโภค ไทยจะก้าวไปในจุดเดียวกับมาเลเซียได้ แต่ถ้าไม่มีการลงทุนในด้านนี้เพิ่มเติม ก็อาจถอยหลังไปอยู่กับอินโดนีเซียในปัจจุบัน ที่มีจีดีพีต่อหัวน้อยกว่าไทย" นาย แกมเบิลส์เตือน


ผู้บริหารอาวุโสของ MBMG จึงสนับสนุนการลงทุนด้านสาธารณูปโภคและการขนส่งครั้งใหญ่ของรัฐบาลไทย เพราะมองว่าการชะลอการตัดสินใจในด้านนี้ จะไม่เป็นประโยชน์ระยะยาว พร้อมระบุว่า แทนที่จะเถียงกันว่าจะกู้หรือไม่กู้ จะกู้แบบไหน ควรไปให้ความสำคัญกับประสิทธิผล ความน่าเชื่อถือ และความโปร่งใสของโครงการจะดีกว่า


"รัฐบาลไทยต้องไม่ก่อหนี้มากเกินไป แต่ขณะเดียวกันก็ต้องเริ่มขยับตัวในด้านสาธารณูปโภคตามกรอบการลงทุน 2 ล้านล้านให้เร็วที่สุด" นายแกมเบิลส์กล่าวพร้อมเสริมว่า การลงทุนด้านนี้ก็ต้องไปควบคู่กันกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเพื่อเตรียมเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558


"ไทยอาจสูญเสียศักยภาพในการแข่งขันการผลิตสินค้าขั้นพื้นฐาน ดังนั้นการปรับตัวสู่การผลิตสินค้าที่เพิ่มมูลค่า เช่น สินค้าด้านเทคโนโลยีจะช่วยให้ไทยมีจุดแข็งทางเศรษฐกิจ และค้าขายกับคู่ค้าในภูมิภาคได้มากขึ้น"


ถึงแม้นายแกมเบิลส์ไม่เห็นด้วยกับบางโครงการของรัฐบาลไทย เช่น โครงการรับจำนำข้าวที่รัฐสูญเงินจำนวนมาก แต่ก็สนับสนุนนโยบายประชานิยมอื่นๆ เช่น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ และนโยบายรถคันแรก เพราะมองว่าเป็นการกระตุ้นธุรกิจด้านรถยนต์หลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ แม้พักหลังๆ จะเริ่มล้นตลาด


สําหรับสถานการณ์เงินไหลออกนั้น นายแกมเบิลส์วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะฟื้นตัว เห็นได้จากอัตราการจ้างงานของสหรัฐที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งสหรัฐส่งสัญญาณหยุดคิวอี (มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ เป็นการนำเงินเข้าสู่ระบบ) ทำให้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่หลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย อินเดีย และจีน ประสบกับภาวะความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากนักลงทุนกลับไปถือครองค่าเงินในสกุลดอลลาร์อีกครั้ง


อย่างไรก็ดี นายแกมเบิลส์ไม่เห็นด้วยกับนักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักที่มองว่าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวแล้วจริงๆ เพราะอาจมีการถดถอยอีกครั้ง ไทยเองก็ยังต้องระวังผลกระทบทางอ้อมที่เกิดจากการไหลออกของเงินทุนทั้งในประเทศ และในภูมิภาคด้วย


ต่อคำถามว่า ประเทศไทยจะเกิดฟองสบู่แตกอีกรอบเหมือนในปี 2540 หรือไม่ นายแกมเบิลส์อธิบายว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้มีเสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์ดี นโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยในการควบคุมวินัยทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ก็ไม่หละหลวมเหมือนในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง


แต่ขอเตือนว่ารัฐบาลและสถาบันการเงินของรัฐบาลจะต้องไม่ก่อหนี้มากเกินไป ขณะที่การกระจายรายได้ของไทยยังไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการลงทุนแบบกระจุกตัวในบางกลุ่มอุตสาหกรรม และในบางพื้นที่ซึ่งเป็นฟองสบู่ เพราะฉะนั้น ความเสี่ยงเกิดฟองสบู่แตก ยังมีอยู่ แต่ถ้าจะแตกก็แตกแค่บางอุตสาหกรรมเท่านั้น


เมื่อถามว่าเสถียรภาพการเมืองไทยจะกระทบต่อเศรษฐกิจด้วยหรือไม่ นายแกมเบิลส์หัวเราะและตอบว่า "ไม่หรอกครับ เพราะมีรัฐประหารมาเกือบ 30 ครั้ง เศรษฐกิจไทยไม่เคยเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกฝ่ามือเลย"

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09EVTRNREV5T1E9PQ==&sectionid=
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9489 เมื่อ: 08 กันยายน 2556, 22:03:08 »

วันนี้ไปช่วยจัดสวนหน้าบ้าน แดดร้อนในช่วงบ่าย ตามด้วยฝนตกในช่วงเย็น

ขอพักก่อนครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9490 เมื่อ: 09 กันยายน 2556, 08:03:20 »

ฝนตกเฉลี่ยทั่วประเทศร้อยละ 70 เกือบทุกพื้นที่
ในทะเล บริเวณที่ฝนตกมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร


พยากรณ์อากาศ ประจำวันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  ร่องมรสุมเลื่อนพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับคลื่นกระแสลมตะวันออกได้เคลื่อนผ่านภาคเหนือเข้าสู่ประเทศพม่าแล้ว ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักในระยะนี้ไว้ด้วย
 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ  มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย ชัยภูมิ และนครราชสีมา

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. 

ภาคกลาง  มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช และนราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่
และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดระนอง และพังงา

อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร 

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  มีเมฆมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 70
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
      บันทึกการเข้า
เจตน์
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ใครๆเรียกผมว่า "กุ๊ปปิ๊"
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2534
คณะ: ครุฯ พลศึกษา
กระทู้: 6,520

« ตอบ #9491 เมื่อ: 09 กันยายน 2556, 11:45:04 »

ฝนมาอีกแล้วเหรอครับพี่เหยง...

ยางกำลังจะได้ราคา ฝนก็มาตัดหน้าซะงั้น  so sad so sad
      บันทึกการเข้า

ชีวิตผมเป็นดั่งวงกลม จึงได้แต่ดอมดมความสุขจากคนอื่นๆ
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #9492 เมื่อ: 09 กันยายน 2556, 21:03:47 »

จะคุยอะไรนะ รออยู่ครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9493 เมื่อ: 10 กันยายน 2556, 08:53:44 »

อ้างถึง
ข้อความของ เจตน์ เมื่อ 09 กันยายน 2556, 11:45:04
ฝนมาอีกแล้วเหรอครับพี่เหยง...

ยางกำลังจะได้ราคา ฝนก็มาตัดหน้าซะงั้น  so sad so sad

น้องเจตน์

นับแต่นี้ไป ร่องมรสุมจะพาดต่ำลงจากภาคเหนือ สู่ภาคกลางและขยับลงไปภาคใต้ ตามลำดับ
ฝนก็จะเริ่มตกลงพื้นที่ดังกล่าวตามไปด้วย แต่การเขยื้อนลงไปนั้นใช้เวลาเป็นเดือนเช่นกัน

ขอให้ชาวใต้มีวาสนา ได้ราคายางที่แพงขึ้น เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นด้วย
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9494 เมื่อ: 10 กันยายน 2556, 08:53:52 »

ฝนลดลงเทียบจากเมื่อวานนี้ แต่ก็ยังคงมากอยู่
ต้องระวังเรื่องดินโคลนถล่มจากชายเขา สะพานขาด
ทะเลในส่วนที่มีฝนจะยังมีคลื่นสูง ลมพัดแรง ท่องทะเลต้องระวัง


พยากรณ์อากาศ ประจำวันอังคารที่ 10 กันยายน 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตก และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักในระยะนี้ไว้ด้วย
 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ  มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก และเพชรบูรณ์

อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดยโสธร
อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคกลาง  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และสระบุรี

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช และนราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่
และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และสตูล

อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 70
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
      บันทึกการเข้า
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
*****


ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927

« ตอบ #9495 เมื่อ: 10 กันยายน 2556, 19:14:13 »


รายงานตัวครับพี่เหยง
เมื่อเย็นกว่าจะออกจากที่ทำงานได้
เจอฝนถล่ม ไฟฟ้าดับ ต้องเดินลงจากตึก 10 ชั้น
ดีนะที่ไม่ได้อยูั้นบนสุด ไม่มีใครกล้าใช้ลิฟต์
กลัวลิฟต์ค้าง...แล้วต้องค้างในลิฟต์ เหอ เหอ เหอ


 เหอๆๆ เหนื่อย


      บันทึกการเข้า

“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้
อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9496 เมื่อ: 10 กันยายน 2556, 22:12:00 »

หนุน


ยังดีที่ได้เดินจากชั้น 10 ลงมา
แบบว่าดีกว่าค้างในลิฟต์ แล้วรอคนเดินขึ้นไปช่วย
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9497 เมื่อ: 11 กันยายน 2556, 09:43:31 »

ฝนยังตกใกล้เคียงกับเมื่อวานนี้
เชิงเขา ต้องระวังดินโคลนถล่ม
ในทะเลที่มีฝน คลื่นจะสูง ลมแรง ชาวเรือและนักท่องเที่ยวทะเลต้องระวัง


พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 11 กันยายน 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนตัวเข้ามาในแนวร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งโดยเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักในระยะนี้ไว้ด้วย

 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย สกลนคร มุกดาหาร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคกลาง  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และสระบุรี

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และนราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่
และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และสตูล

อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  มีเมฆมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 70
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
 
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #9498 เมื่อ: 11 กันยายน 2556, 09:47:51 »

เช้านี้อากาศดี บ่ายอาจจะมีฝนอีกเนาะ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9499 เมื่อ: 11 กันยายน 2556, 10:04:33 »

น้องเริง


ฝนต้องเพิ่มขึ้นในช่วงนี้
ไมาเช่นนั้นปีหน้า แล้งหนักเป็นแน่
น่ำในเขื่อนหลักมีเพียงร้อยละ 55 เท่านั้น
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 378 379 [380] 381 382 ... 472   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><