28 มิถุนายน 2567, 07:44:51
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 377 378 [379] 380 381 ... 472   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุยกับ เหยง 16 - พิเชษฐ์ เชื่อมฯ-เตรียมฉลอง 100 ปี หอซีมะโด่ง จุฬาฯ  (อ่าน 2420953 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9450 เมื่อ: 03 กันยายน 2556, 10:04:29 »

น้องเริง


อากาศแบบนี้ ต้องไปหาเห็นโคนทานแล้วครับ
แดดดี แต่ร้อนอบอ้าว เห็ดโคนกำลังออก เดี่ยวนี้ 1 โล 300 บาท ราคาในพื้นที่
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9451 เมื่อ: 03 กันยายน 2556, 10:07:19 »

สำหรับผู้ที่ไม่ทันได้ชม อดีตนายกฯ อังกฤษพูด........
อ่านเอาพอเข้าใจนะครับ อย่าถึงขนาดอินเกินไป เดี๋ยวจะมีอารมณ์


แบลร์แนะฟังคอป. ชูปรองดองต้องทำโปร่งใสอย่ากีดกันเสียงส่วนน้อย
ข่าวหน้า 13 September 2556 - 00:00

    "โทนี แบลร์" ชู 5 หลักการสู่การสร้างความปรองดอง ระบุประชาธิปไตยไม่ใช่คนส่วนใหญ่เข้าไปมีอำนาจหรือชนะทุกอย่าง เพราะจะทำให้คนกลุ่มน้อยรู้สึกถูกกีดกัน และการปรองดองจะง่ายหากรัฐบาลมีประสิทธิภาพดูแลประชาชน โปร่งใสตรวจสอบได้ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านความยุติธรรมชี้ ปรองดองด้วยการบังคับขู่เข็ญ แค่เริ่มต้นก็ล้มเหลวแล้ว แนะไม่ควรเร่งรีบนิรโทษกรรม ต้องค้นหาความจริงตามข้อเสนอ คอป. แต่นายกฯ ยิ่งลักษณ์บอกเวทีนี้แค่แลกเปลี่ยนความเห็นส่วนตัว ยันร่าง พรบ.นิรโทษยังเป็นแนวทางสำคัญ
    เมื่อวันจันทร์ เวลา 08.50 น. ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี   กรุงเทพฯ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ร่วมปาฐกถาพิเศษ "ผนึกกำลังสู่อนาคต: เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์" จัดโดยสถาบันความมั่นคงและนานาชาติศึกษา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ

    โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ความตั้งใจในการจัดปาฐกถาพิเศษ เพื่อเป็นเวทีเสวนาให้ทุกท่านและทุกฝ่ายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องของส่วนตัว เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้จากกันและกัน และผนึกกำลังสู่อนาคต เพื่อสันติภาพและความมั่นคงของประชากรของเรา เชื่อว่าจะมีการปาฐกถาต่อไปอีกเรื่อยๆ เพื่อพัฒนาความเข้าใจในแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และเป็นเหมือนเครื่องมือทั่วไปที่นำมาใช้งานได้  ซึ่งท้ายที่สุดจะต้องสามารถนำเอาคำแนะนำเหล่านั้นไปเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน 

   
    น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวต่อว่า เราอยู่ในช่วงเวลาที่ประชาธิปไตยเป็นทางแยก ซึ่งมีความพยายามที่จะทำให้ประชาธิปไตยเดินไปไม่ได้ในหลายส่วนของโลก หลายท่านที่อยู่ที่นี่ได้ทำงานเพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด และประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า เราจะสามารถมีสิทธิเสรีภาพ ทำให้แต่ละท่านพัฒนาศักยภาพของแต่คนออกมา  และมีการเคารพความแตกต่างซึ่งกันและกัน และความแตกต่างสามารถทำให้การทำงานมีสันติภาพ     

 
    นายกฯ กล่าวว่า เรามีความตั้งใจที่จะให้มีการผนึกกำลังกัน เพื่อสันติภาพอันถาวร เพราะว่าประชาธิปไตยและสันติภาพเป็นพื้นฐานของทุกด้าน ความท้าทายของเราคือ   อนาคตเราต้องสร้างความมั่นคงทางการเมืองให้กับลูกหลาน  และต้องมีสภาวะแวดล้อมที่เท่าเทียมกัน การที่เราสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เรามีประชาธิปไตยอย่างถาวร  และประชาธิปไตยก็ไม่ได้เพียงหมายความว่า รัฐบาลเป็นเสียงส่วนมาก และผู้ที่ตรงข้ามเป็นผู้ที่คัดค้าน แต่เป็นเรื่องของแต่ละฝ่ายที่เคารพซึ่งกันและกัน มีหลักนิติธรรม   

    ในตอนท้ายนายกฯ ระบุว่า นอกจากเรียนรู้ความสำเร็จจากทุกท่านแล้ว เราต้องเรียนรู้จากความล้มเหลวและความแตกต่าง รวมถึงจะทำอย่างไรเมื่อเราไม่สามารถมีเอกภาพได้  เมื่อมีความขัดแย้งทางการเมือง และไม่สามารถที่จะปรองดองได้ ก็หวังว่าบทเรียนที่เรียนรู้มาจากประเทศอื่นๆ ที่จะได้รับฟังในวันนี้ จะทำให้เรามีแรงบันดาลใจและแรงกระตุ้น ว่าสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประเทศของเราคืออะไร เราก็หวังที่จะก้าวไปร่วมกันในแง่ของประชาธิปไตย และสามารถที่จะทำงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพในคนรุ่นต่อไปได้" นายกฯ กล่าว

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้เดินทางไปยังโรงแรมพลาซ่า แอทธินี เวลา 08.00 น. ซึ่งเป็นเวลาก่อนเริ่มเวทีปาฐกถาพิเศษ "ผนึกกำลังสู่อนาคต: เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์" โดยได้พบหารือเป็นการส่วนตัวกับนายโทนี  แบลร์ เป็นเวลา 20 นาที จากนั้นเวลา 08.50 น. นายกฯ  เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยใช้เวลา 10 นาที จากนั้นนายกฯ เดินลงจากเวทีและออกจากห้องประชุม ไปยังห้องแต่งตัวภายในโรงแรมเพื่อเปลี่ยนชุด จากนั้นเดินทางออกจากโรงแรมทันที

'แบลร์' ถามถึงข้อเสนอ คอป.     
    นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เปิดเผยถึงการหารือระหว่างนายโทนี แบลร์ กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า นายโทนี แบลร์ ได้สอบถามถึงการดำเนินการตามผลการศึกษาของ คอป. และผู้ได้รับผลกระทบทางการเมืองเป็น ว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยนายกฯ ได้ตอบไปว่า รัฐบาลอยู่ระหว่างการรวบรวมผลการศึกษาวิจัยจากหลายหน่วยงาน เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันว่า แนวทางใดสามารถเดินหน้าเพื่อนำไปสู่ความปรองดองได้ทันที ก็จะเริ่มดำเนินการ
นายธีรัตถ์กล่าวต่อว่า นายกฯ ยังบอกว่าส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเมืองนั้น ขณะนี้ยังมีนักโทษทางการเมืองจากทุกฝ่ายอยู่ในเรือนจำ ดังนั้น พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาฯ จะเป็นแนวทางสำคัญในการช่วยเหลือนักโทษเหล่านั้น ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้มีการจัดตั้งเวทีเพื่อร่วมหาทางออกในการปฏิรูปประเทศ ที่มีทุกภาคส่วนเข้าร่วมยกเว้นฝ่ายค้าน ซึ่งนายโทนี แบลร์ บอกว่า จะได้มีโอกาสพบปะกับผู้นำฝ่ายค้าน และจะนำความตั้งใจของรัฐบาลในการสร้างความปรองดองไปให้ฝ่ายค้านทราบ
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวเปิดงานแล้วเสร็จ นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันความมั่นคงและนานาชาติศึกษา ในฐานะผู้ดำเนินงาน ได้เชิญนายโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร, นายมาร์ตติ อะห์ติซาริ อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ปี 2551 และนางพริสซิลลา เฮย์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน และเป็นที่ปรึกษาอาวุโสขององค์กร Center for Humanitarian Dialogue (CHD) ขึ้นเวทีเพื่อร่วมเสวนา
    นายฐิตินันท์กล่าวว่า สถาบันความมั่นคงฯ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐบาล โดยงานปาฐกถานี้ได้เตรียมการมา 3 เดือนกว่า แต่บังเอิญว่าไปตรงกับเวทีปฏิรูปของรัฐบาล งานนี้อาจเสริมได้บางส่วน แต่การจัดงานแยกกันมาโดยตลอด ขณะเดียวกันหากมีเวทีการปรองดองอีกก็ยินดี
    ต่อมา นายโทนี แบลร์ ได้กล่าวว่า ผู้จัดงานเชิญมา ไม่ได้รับเงินรับทองอะไร มาที่นี่เพราะเชื่อในกระบวนการสมานฉันท์และปรองดอง วันนี้ตนใส่เน็กไทสีฟ้าเพื่อจะได้ปลอดภัย แต่หากเป็นในประเทศของตนอาจไม่ปลอดภัย เรามาอยู่ที่นี่ไม่ใช่มาเพื่อบรรยาย แต่มาเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วจะแก้ไขปัญหาอย่างไรเป็นหน้าที่ของคนไทย
    นายโทนี แบลร์ กล่าวต่อว่า อยากบอกหลักการ 5 ประการ จากการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการปรองดอง  หลักการที่ 1 คือ การปรองดองเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสังคมมีความรู้สึกอยากแบ่งปัน มากกว่าแบ่งแยก สิ่งที่สำคัญคือ  การเจรจาต่อรองสันติภาพและการผนึกกำลังร่วมกันที่จะแบ่งปันโอกาส
    ประการที่สอง คือ สังคมจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่พูดถึงเรื่องการปรองดอง หมายความว่าเป็นความขัดแย้งที่มีการปรองดอง อดีตสามารถที่จะวิเคราะห์ได้ แต่ไม่ควรตัดสิน  ดังนั้น ความปรองดองจะไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความคิดในอดีต แต่เป็นความคิดที่จะนำไปสู่อนาคต
    เขากล่าวด้วยว่า หลักการที่ 3 คือ เราไม่สามารถลบล้างความอยุติธรรมได้ แต่สาระที่แท้จริงคือ สามารถตั้งกรอบการทำงานที่ทุกคนเห็นว่ายุติธรรมได้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ซึ่งประเทศไทยมีกรอบอยู่แล้ว คุณสามารถลงรายละเอียดเพิ่มเติมในผลลัพธ์ที่ถูกต้อง สำหรับประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือประเด็นว่าใครขึ้นมายึดอำนาจ ประเด็นเหล่านั้นเป็นประเด็นแค่พื้นผิว แต่ลึกลงไปคือความไม่เห็นชอบของแต่ละฝ่าย การปรองดองจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุยในประเด็นที่ลึกลงไป ในแง่ของความยุติธรรมและความสมดุล ไม่ว่าจะเห็นขัดแย้งอย่างไร ก็ต้องทำให้เห็นว่ามีทางเดินไปสู่อนาคต
    อดีตนายกฯ แห่งสหราชอาณาจักรกล่าวเพิ่มเติมว่า  หลักการที่ 4 คือ ประชาธิปไตยที่แท้จริงและใช้งานได้หมายความว่า ในแต่ละประเทศมีการแบ่งแยกกัน มีพรรค ชนชั้น ศาสนา เชื้อชาติ และสีผิว ในประเทศไทยมีการแบ่งแยกมากมาย แต่เป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตาม มีสองสามอย่างที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ปชต.ไม่ใช่ลงคะแนนเสียง
    "คือ 4.1. ประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องลงคะแนนเสียงเฉยๆ ไม่ใช่เรื่องว่าคนส่วนใหญ่เข้าไปมีอำนาจ แต่ประชาธิปไตยเป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวคิด ที่ว่าคนส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กับคนกลุ่มน้อยอย่างไร หากคิดว่าประชาธิปไตยคือการชนะทุกอย่าง จะทำให้คนกลุ่มน้อยรู้สึกว่าถูกกีดกันในทุกเรื่อง  ผมเห็นว่าประชาธิปไตยคือพหุภาคี ไม่ใช่อำนาจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นเรื่องการมีพื้นที่แบ่งปันทำงานกันได้ แบ่งปันค่านิยมบางอย่างร่วมกัน ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของความคิด  นี่คือแกนของประชาธิปไตย" นายโทนี แบลร์กล่าว และ 4.2. เรื่องหลักนิติธรรม ต้องดำเนินไปโดยไม่เอนเอียง ไม่ว่าจะเป็นตุลาการหรือรัฐบาล ต้องตรวจสอบได้ ความยุติธรรมต้องมีความอิสระ ปราศจากการแทรกแซงและอคติ นี่คือกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง
    นายโทนี แบลร์ กล่าวว่า ส่วนหลักการที่ 5 คือ หลักการที่นำไปปฏิบัติได้จริง แต่ปัจจุบันหลงลืมไป การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ง่าย ถ้ารัฐบาลมีประสิทธิภาพในการดูแลประชาชน โปรงใส ตรวจสอบได้ ทั้งนี้ การปรองดองจะง่ายขึ้นถ้ารัฐบาลกำลังทำงานเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ให้ประชาชนรู้สึกดีขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือ ให้ประชาชนรู้สึกว่ากระบวนการสันติภาพทำความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ดังนั้น ประเด็นที่รัฐบาลจะเดินเข้าหาประชาชน ทำให้เขาเป็นอยู่ดีขึ้น คือประเด็นที่สำคัญ และเป็นสิ่งที่ท้าทายของรัฐบาล
     ขณะที่นายมาร์ตติกล่าวว่า การจะสร้างความปรองดองได้นั้น อยู่ที่พฤติกรรมของประชาชน ทั้งนักการเมืองและคนทั่วไป นอกจากนี้ ต้องทำให้ประชาชนมีการศึกษาและสุขภาวะที่ดี รวมถึงต้องหาวิธีการดูแลเรื่องความยุติธรรมและความเศร้าโศกในอดีต อีกทั้งต้องมีการสานเสวนาเพื่อสร้างความปรองดอง
    "รวมถึงผู้นำรัฐบาลต้องมีความมุ่งมั่นในการทำงาน เพื่อแก้ไขความขัดแย้งได้ในอดีต และต้องมีประชาชนสนับสนุน ตลอดจนก้าวไปพร้อมกันด้วย ปัญหาในบ้านเมืองไม่สามารถแบ่งแยกประเทศได้ ซึ่งถ้าเรามองตรงนี้และมีความมุ่งมั่นตั้งใจ การปรองดองย่อมประสบความสำเร็จ และจะนำมาซึ่งประโยชน์ของประชาชนอย่างมหาศาล แต่จะเป็นเรื่องน่าเสียดายถ้าไม่สามารถก้าวไปสู่โอกาสนี้" นายมาร์ตติกล่าว
    จากนั้น นางพริสซิลลาได้กล่าวตอนหนึ่งว่า ความผิดอย่างหนึ่งคือ เรื่องที่บอกว่ายกโทษให้ทุกเรื่อง นิรโทษกรรมทุกอย่างเคยเกิดขึ้นที่ประเทศอาร์เจนตินาเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมาแล้ว สิ่งต่างๆ เหล่านี้คนอาร์เจนตินาส่วนใหญ่ปฏิเสธ  และคำว่านิรโทษกรรมก็เป็นคำลบ บางครั้งผู้ที่เคราะห์ร้ายไม่ยอมรับ และตนก็คิดว่าไม่ถูกต้องเช่นกัน
    นางพริสซิลลากล่าวว่า การใช้กำลังข่มขู่เพื่อปรองดอง   เริ่มต้นก็ล้มเหลวแล้ว ยกตัวอย่างเช่น เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่อียิปต์ฝ่ายทหารยึดอำนาจ ปิดปากพวกที่ล้มประธานาธิบดี   ชาวโลกก็เห็นแล้วว่าผลเป็นอย่างไร เรื่องนี้เป็นการคุกคามข่มขู่ อีกเรื่องหนึ่งที่ใช้แล้วผิด คือการนำสิ่งต่างๆ ปิดบังแก่นแท้ โดยเฉพาะในประเทศที่ต้องมีการตระหนักรู้ ทั้งนี้ การปรองดองไม่ใช่เรื่องการบังคับขู่เข็ญหรือปกปิด
     "การปรองดองไม่ใช่การเร่งรีบ เราเร่งไม่ได้ เมื่อเริ่มกระบวนการแล้วจะต้องดูแลและเคารพในเรื่องการสื่อสาร และรับฟังความเห็นที่แตกต่างทางการเมือง คอป.เสนอในหลายด้าน เราควรมองว่าข้อเสนอเน้นเรื่องอะไร ก่อนที่จะสรุปนี้ ดิฉันขอหันไปในประเด็นนิรโทษกรรม ดิฉันทราบว่าประเด็นนี้อาจมีความผิดพลาดหากตีความแคบมากเกินไป หากใช้แนวทางสากลมากเกินไป อาจนำไปใช้ในบริบทท้องถิ่นไม่ได้ หลักการคือต้องมีการเคารพผู้ประสบเคราะห์ ไม่ควรมองว่าเป็นไปเพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมือง ควรมีการเสวนา และมองว่ากระบวนการปรองดองควรจะทำอย่างไรต่อไป" นางพริสซิลลากล่าว
ต้องค้นหาความจริง
    เธอกล่าวต่อว่า แม้จะมีการยกโทษให้อาชญากรรมบางอย่าง แต่ไม่ควรลบกระบวนการค้นหาความจริง แม้จะนิรโทษก็ต้องมีกระบวนการว่า อดีตเกิดอะไรขึ้นบ้าง ขอเน้นจุดสุดท้าย กรอบทุกอย่างที่พูดในวันนี้ควรมีหลักการประชาธิปไตยรองรับอยู่ ควรมีพื้นที่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง สิ่งที่ตนพยายามพูดมีสิ่งที่น่าสนใจคือ ขณะที่เราหาผลประโยชน์ให้กับชาติ พรรคการเมืองก็จะมีความเห็นที่แตกต่างกัน เราควรปล่อยให้มีสานเสวนา และเคารพความคิดที่แตกต่าง เพื่อให้ถกเถียงกันและเพื่อธรรมมาภิบาลที่ดี แต่ใจกลางความขัดแย้งต้องยอมรับว่า ต้องให้ประชาธิปไตยนำทาง เป็นภาพรวมวิสัยทัศน์ที่ควรนำมาใช้เพื่อประเทศชาติเป็นหลัก
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังกล่าวปาฐกถาเรียบร้อยแล้ว  วงเสวนาได้เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานถามคำถาม โดยนางนิชา ธุวธรรม หิรัญบูรณะ ภรรยาของ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ถามนายโทนี แบลร์ ว่า บทบาทของรัฐบาลจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศได้อย่างไร เพราะรัฐบาลเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ความขัดแย้ง และตนขอถามนางพริสซิลลาว่า ถ้ารัฐบาลจะนิรโทษกรรมโดยไม่ฟังเสียงคนไม่เห็นด้วย จะเกิดผลอย่างไรในอนาคต
    นายโทนี แบลร์ ตอบว่า เราไม่สามารถที่จะลืมอดีตได้  แต่เราต้องรับฟังจากผู้เคราะห์ร้าย ขณะที่ตนทำงานในไอร์แลนด์เหนือ เราพยายามหาวิธีที่จะไม่ทำให้เหตุการณ์ในอดีตเกิดขึ้นในอนาคต โดยหาทางจากผู้ที่เคราะห์ร้าย
    ด้านนางพริสซิลลาตอบว่า จะให้ตนคาดเดาคงเป็นเรื่องลำบาก เพราะขึ้นอยู่กับเนื้อหาของกฎหมายนิรโทษกรรม และกระบวนการนำเนื้อหามาใช้ ตนทราบว่ามีการนำมาตีความมากมาย โดยเฉพาะฝ่ายค้านมีการพยายามหาวิธีที่ดีกว่าในการดำเนินการนิรโทษกรรม สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าสำคัญมากๆ อย่างไรก็ตาม เห็นว่าตนไม่ใช่คนที่จะตอบคำถามนี้  แต่ควรจะเป็นตัวแทนฝ่ายค้านที่มาร่วมงานเป็นผู้ตอบคำถาม
    จากนั้น นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า ขอเอ่ยถึงประเด็นนิรโทษกรรม ในความคิดส่วนตัวการขอให้ถอนกฎหมายนิรโทษกรรมออกจากสภาฯ เป็นการทดสอบเจตจำนงของรัฐบาล และคิดว่าเป็นแนวทางที่จะสามารถสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจได้ และเห็นว่าควรมีกรอบประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ อันนั้นเป็นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์มองหาอยู่
    "การปรองดองไม่ใช่มองแต่จุดมุ่งหมาย แต่เป็นเรื่องของกระบวนการ และทุกคนควรมีสิทธิ์มีเสียง กระบวนการแรกคือ ต้องยอมและให้อะไรบางอย่าง ทั้งนี้ ผู้ปาฐกถาทั้งสามท่านพูดถึงเรื่องให้ทุกคนมีส่วนร่วม แต่สำหรับประเทศไทยของเรา ไม่ได้แบ่งอำนาจออกเป็นสามฝ่ายเท่านั้น แต่ยังได้มีการส่งอำนาจผ่านทางสไกป์เกี่ยวกับอนาคตประเทศ มีการแทรกแซงจากภายนอก ซึ่งถือว่าเป็นการกระทบเจตจำนงของเรา" นายสุรินทร์กล่าว
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่นายสุรินทร์กล่าวจบ  ผู้ดำเนินรายการไม่ได้เปิดโอกาสให้วิทยากรทั้ง 3 ท่านได้แสดงความคิดเห็น โดยระบุว่าเป็นคำถามที่สุ่มเสี่ยงก่อให้เกิดความขัดแย้ง ก่อนที่จะสรุปเนื้อหาการปาฐกถาในช่วงเช้า และเชิญผู้ร่วมงานรับประทานอาหารกลางวัน
    วันเดียวกัน ช่วงเวลา 12.30 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เดินทางเข้าร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับนายโทนี แบลร์ ที่บ้านพักเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ โดยภายหลังการหารือ นายอภิสิทธิ์กล่าวเพียงว่า ในการพูดคุยกับนายโทนี แบลร์ พูดคล้ายกับที่ได้กล่าวบนเวทีปาฐกถาพิเศษ ส่วนรายละเอียดตนจะเล่าให้ฟังในวันที่ 3 กันยายน  เนื่องจากติดภารกิจเดินทางไปจังหวัดสุราษฎร์ธานี.

http://www.thaipost.net/news/030913/78751
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9452 เมื่อ: 03 กันยายน 2556, 10:09:18 »

โปรดปรองดองกับประชาชน
บทบรรณาธิการ3 September 2556 - 00:00

    นางพริสซิลลา เฮย์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน นำเสนอมุมปรองดองในปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ ผนึกกำลังสู่อนาคต : เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์ ครั้งที่ 1 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ มุมมองปรองดองอันน่าสนใจที่นางพริสซิลลาเสนอนั้น คือ 1.การให้ความหมาย/ความเข้าใจกับคำว่า "ปรองดอง" ของคนยังแตกต่างกัน และอาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด 2.การปรองดองจะไม่มีวันสำเร็จหากมีวาระซ่อนเร้น (hidden agenda) 3.ต้องไม่เร่งรีบ 4.ทำตามขั้นตอน กระบวนการ ที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของประเทศ 5.ให้ความสำคัญกับการดำเนินมาตรการที่เป็นรูปธรรม ที่ได้มีการเสนอแนะ 6.สอดคล้องหลักการประชาธิปไตย
    ขณะที่นายโทนี แบลร์ อดีตนายกฯ แห่งสหราชอาณาจักร ระบุในงานปาฐกถาเดียวกันว่า ปัญหาของประเทศไทยต้องแก้ด้วยคนไทยเท่านั้น คนนอกไม่เกี่ยว ตนเพียงแค่มาเล่าประสบการณ์กระบวนการว่าเคยทำอย่างไร  ทั้งนี้ การสร้างความปรองดองจะต้องสร้างโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้กับทุกคน ได้ร่วมแบ่งปันเพื่อทำให้ละทิ้งผลประโยชน์ส่วนตนไว้ก่อน ทั้งนี้ การทำให้คนเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับอดีต เป็นสิ่งที่ยาก ดังนั้น จะต้องให้ทุกคนหันมาสร้างอนาคตใหม่ร่วมกันแทน นั่นคือหนทางออกจากความขัดแย้ง คือต้องมองอนาคตร่วมกัน
    กระบวนการที่น่าจะนับได้ว่าเป็นการปรองดองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไล่มาตั้งแต่คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ หรือ กอส. ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน   เป็นประธาน และนายแพทย์ประเวศ วะสี ในฐานะคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ได้พยายามสร้างเครือข่ายประชาชนปฏิรูปการเมือง โดยให้ประชาชนทั้งประเทศได้เข้ามามีส่วนร่วม ขณะเดียวกัน ภายหลังสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองครั้งใหญ่ในช่วงปี 2549-2553 เหตุการณ์ความไม่สงบจากการเมืองที่สร้างบาดแผลความขัดแย้งในประเทศ ก็ได้ก่อเกิดคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ โดยมีอาจารย์คณิต ณ นคร  เป็นประธาน รวมทั้งคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ตามมาติดๆ โดยมีนายอุกฤษ มงคลนาวิน นั่งเป็นประธาน โดยที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์เซ็นคำสั่งตั้งเองกับมือ
    แต่น่าเศร้าที่รัฐบาลไทยแต่ละยุคสมัย ไม่เคยให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับคณะกรรมการอิสระที่มีผลประโยชน์ เป็นกลางกับประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ผูกติดกับกลไกทางการเมืองเหล่านี้มากนัก ส่วนใหญ่มักหยิบฉวยเพื่อสร้างภาพ ประคองสถานะ หรือใช้เป็นทางออกทางการเมือง เมื่อตกอยู่ในสภาวะคับขันเสียเป็นส่วนใหญ่
    โดยเฉพาะรัฐบาลที่ไม่ได้ให้ความสำคัญในเวทีปฏิรูปนี้อย่างจริงจัง คณะกรรมการต่างๆ ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นโดยรัฐบาลแต่ละยุคสมัย ต่างกลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์  เพราะน้อยครั้งนักที่จะถูกหยิบยกมาดำเนินการ ให้สอดคล้องกับความต้องการของคนในสังคมและปัญหาของยุคสมัย
    ในขณะที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำหน้าที่เพียงหยิบฉวย สร้างโอกาสจากคณะกรรมการต่างๆ ไม่ได้มีความคิดหรือจริงใจในการสนับสนุนให้สามารถดำเนินการเดินหน้าต่อไปได้  หากข้อเสนอแนะผิดแผกไปจากความต้องการของฝ่ายการเมืองก็จะถูกปัดทิ้ง โดยรัฐบาลมีเป้าหมายผลประโยชน์ทางการเมืองซ่อนไว้ข้างหลัง ซึ่งแทบไม่เกิดผลประโยชน์ไปสู่การสร้างสรรค์ หรือหาทางออกความขัดแย้งให้หลุดไปได้เลยสักเปลาะ
    ขณะที่เรื่องสำคัญคือ เรื่องปากท้อง ที่รัฐบาลควรต้องรีบปรองดอง อย่างปัญหาการเรียกร้องราคายาง ที่ทวีความรุนแรงความขัดแย้งในพื้นที่จนต้องสูญเสียชีวิต ขณะที่รัฐบาลยังไม่มีท่าทีชัดเจนในการแก้ไขปัญหา
 ปล่อยให้คาราคาซัง ปล่อยข่าวสร้างความเสียหาย ปลุกปั่นความรุนแรง ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่ง หรือปัญหาคอรัปชั่นมโหฬารของโครงการรับจำนำข้าว หรือความไม่ชอบมาพากลของโครงการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบของประเทศ ที่ใช้งบประมาณเงินกู้กว่าสามแสนล้านบาท
    ประชาชนคนไทยยังรอให้รัฐบาลมาปรองดองอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องสำคัญที่รัฐบาลต้องเร่งรีบปรองดองนั้น คือ เรื่องปากท้องของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ภาวะข้าวยากหมากแพง สภาพปัญหาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม  ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ที่กระจายไปทุกหย่อมหญ้าในสังคมไทย ปัญหาผลพวงที่เกิดมาจากนโยบายผิดพลาดของรัฐบาล ที่กลายเป็นซ้ำเติมสภาพชีวิตของประชาชนให้ย่ำแย่
    รัฐบาลยิ่งลักษณ์ควรรีบทำให้เป้าหมายเรื่องปรองดอง ระหว่างรัฐบาลกับประชาชนเป็นเรื่องเดียวกัน หาใช่พยายามทุกวิถีทางเพื่อสร้างความปรองดองเอื้อผลประโยชน์ให้กับบุคคลเพียงคนเดียวอย่างทักษิณ ชินวัตร พี่ชายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์เอง ขณะที่ความเดือดร้อนของประชาชนกลับไม่ได้ถูกมุ่งเป้าไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนอย่างแท้จริง
    มิฉะนั้นแล้ว ความปรองดองก็จะถูกทำให้กลายเป็นเพียงเรื่องทางการเมือง ที่เพียงแค่หมายถึงการนิรโทษกรรมทางการเมือง และการปรองดองก็ไม่มีวันสำเร็จหากมีวาระซ่อนเร้น (hidden agenda)
    รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องทำทุกวิถีทาง เพื่อสร้างความจริงใจอย่างไม่มีวาระซ่อนเร้น การเดินหน้าโดยมีเป้าหมายที่สำคัญที่สุดนั้นคือ เดินเข้าหา ปรองดองกับประชาชน แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะปัญหาประเด็นปากท้อง หยุดหากินโฆษณาชวนเชื่ออ้างความปรองดอง เพื่อเป้าหมายสนองผลประโยชน์ทางการเมือง หรือเพื่อทักษิณ ชินวัตร.

http://www.thaipost.net/news/030913/78745
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9453 เมื่อ: 03 กันยายน 2556, 12:15:05 »

ประเทศไทยในภาวะยางตก-เลือดออก
ท่านขุนน้อย3 September 2556 - 00:00

                                                                                              ฯลฯ

ปิดท้ายด้วยวาทะวันนี้ จาก J. Donald Walters ... Leadership is an opportunity to serve. It is not a trumpet call to self-importance.- ความเป็นผู้นำคือการมีโอกาสได้รับใช้ผู้อื่น มิใช่เสียงแตรที่ป่าวประกาศความสำคัญของตนเอง...
อ่านฉบับเต็มได้ที่.....
http://www.thaipost.net/news/030913/78742

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9454 เมื่อ: 03 กันยายน 2556, 18:52:16 »

เทียบกับข้อมูลของ มติชนออนไลน์ครับ......

"แบลร์-อาร์ติซารี-เฮย์เนอร์" 3มุมมอง "ปรองดอง"
วันที่ 03 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 13:07:21 น.
 

หมายเหตุ - สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติศึกษา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดปาฐกถาพิเศษ "ผนึกกำลังสู่อนาคต : เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์" เมื่อวันที่ 2 กันยายน ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน โดยมีองค์ปาฐกเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับโลก 3 ท่าน สะท้อนมุมมองและประสบการณ์เรื่องการสร้างความปรองดองในชาติ

โทนี่ แบลร์

อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ

ผมมาที่นี่เพราะได้รับเชิญ ไม่ได้รับเงิน แต่มาเพราะเชื่อเรื่องกระบวนการสมานฉันท์และการปรองดอง ซึ่งเป็นความท้าทายที่ใหญ่แต่คุ้มค่าที่จะเข้ามามีส่วนด้วย ปัญหาของไทยที่สุดแล้วจะแก้ไขได้ด้วยคนไทยเท่านั้น ไม่ใช่คนข้างนอก สิ่งที่ผมพูดวันนี้เป็นการแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์โดยมีหลักการ 5 ประการ ที่ได้เรียนรู้จากการมีส่วนร่วมกับขบวนการปรองดองสมานฉันท์ในหลายปีที่ผ่านมา

ประการแรก การสมานฉันท์จะเกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกว่ามันเป็นการแบ่งปันโอกาสมากกว่าที่จะแบ่งแยกกัน แน่นอนว่าจะมีสถานการณ์ที่เรามีความไม่พอใจ มีประเด็นที่เถียงกันเรื่องการปรองดอง แต่บริบทของการทำงานเพื่อสร้างการปรองดองจะเป็นเรื่องความรู้สึกและการแบ่งปันโอกาสที่มีความสำคัญกับผู้คน มากกว่าที่จะมาไม่พอใจกับสิ่งที่เกิดในอดีต

ประเทศไทยมีศักยภาพมาก มีเศรษฐกิจที่เติบโต และเป็นผู้นำเรื่องต่างๆ อาทิ การท่องเที่ยว มีประชากร 67 ล้านคน มีความรุ่มรวยทางประวัติศาสตร์ มีความท้าทายเรื่องการพัฒนาในชนบทและเรื่องสุขอนามัย แต่เรามีความปรารถนาที่จะก้าวไปถึงการพัฒนาอีกขั้นหนึ่ง เราจะไปถึงจุดที่เราต้องการได้ก็ด้วยการผนึกกำลังในการแบ่งปันโอกาส และทำให้เกิดความรู้สึกว่าเราต้องการจะก้าวไปถึงจุดนั้น

ในไอร์แลนด์เหนือการปรองดองเกิดขึ้นได้เมื่อคนตระหนักว่าไอร์แลนด์เหนือและไอร์แลนด์ใต้สามารถทำงานร่วมกันได้ เมื่อคนรู้สึกว่ามีโอกาสมากมาย เราจึงจะต้องสมานฉันท์ปรองดองเพื่อจะได้มีแนวทางในการนำพาประเทศไปข้างหน้า ในอิสราเอลและปาเลสไตน์ แม้เราจะมีบริบทในการเจรจาสันติภาพมาก แต่ขณะนี้ความรู้สึกเช่นนี้ของคนยังไม่เกิด เพราะผู้คนต้องรู้สึกอย่างแรงกล้าถึงอนาคตแทนที่จะไม่พอใจกับสิ่งที่ผ่านมาในอดีต

ประการที่สอง ในการสร้างความปรองดองสิ่งที่เราพูดกันคือเรื่องความขัดแย้งที่ทำให้ต้องมีการปรองดองกัน สิ่งที่ผมเรียนรู้คือเราสามารถนำสิ่งเหล่านี้มาวิเคราะห์ไตร่ตรองได้ แต่ไม่ควรตัดสินว่าจะนำมาซึ่งความพอใจของทุกฝ่ายได้ เราต้องยอมรับว่า อย่างไรก็ตามจะมีสองฝ่ายในการอธิบายถึงอดีตที่ผ่านมาซึ่งเราไม่สามารถข้ามพ้นไปได้ แต่เราตรวจตราอดีตในลักษณะที่จะทำให้เราสามารถเดินไปสู่อนาคตได้ด้วย

สิ่งที่ยากที่สุดคือการยอมรับเรื่องความไม่พอใจที่จะสกัดกั้นไม่ให้เราก้าวไปสู่อนาคต โดยเฉพาะเรื่องการปล่อยนักโทษ เพราะมันย่อมมีสองฝ่าย กรณีไอร์แลนด์เหนือ ด้านหนึ่งมองว่าไออาร์เอเป็นผู้ก่อการร้ายที่เข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์ ขณะที่อีกด้านมองว่าคนเหล่านี้ต่อสู้เพื่อปลดแอก ความปรองดองสมานฉันท์ไม่ใช่การเปลี่ยนความคิดในอดีตที่ประสบมา แต่สิ่งที่จะเปลี่ยนคือการเปลี่ยนแปลงความคิดที่จะมุ่งไปสู่อนาคต

ข้อตกลงสันติภาพในไอร์แลนด์เหนือที่เกิดขึ้นในสมัยผมเป็นนายกฯ หนึ่งในนั้นคือการปล่อยตัวนักโทษไออาร์เอ ถ้าเรามองจากมุมของคนเป็นเหยื่อของการก่อการร้าย คนเหล่านี้คือผู้รับผิดชอบกับการสูญเสียคนในครอบครัวที่เรารัก แต่วันนี้พวกเขากลับมาเดินบนท้องถนน แน่นอนว่าเราย่อมรู้สึกโกรธแค้น โศกเศร้า และยากจะหลุดพ้นไปได้ ผมมีโอกาสได้พบกับครอบครัวของผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์เหล่านี้ แต่สิ่งที่เขาพูดกับผมซึ่งทำให้ผมสะเทือนใจคือ เราต้องเดินหน้าต่อไปเพราะไม่อยากเห็นเหตุการณ์และความสูญเสียเหล่านี้เกิดขึ้นอีก

ถ้ามองสถานการณ์ในไทยจากการศึกษารายงานต่างๆ ก็จะเห็นประเด็นที่คล้ายคลึงกัน

เราสามารถมองทุกอย่างตามความจริงที่เกิดขึ้น ความโศกเศร้ายังมีอยู่ ภารกิจปรองดองไม่ใช่ให้ลบล้างมัน แต่ให้ก้าวข้ามมันไปเพื่อไปทำสิ่งอื่่น

ประการต่อมา หากเป็นไปไม่ได้ที่จะลบล้างความอยุติธรรมในอดีตเพื่อก่อให้เกิดความปรองดอง เราก็ต้องทำให้เกิดกรอบในการทำงานต่อไปได้ สิ่งที่เกิดในอดีตนั้นผู้คนต้องถกเถียงกันต่อไป รวมถึงใครจะต้องรับผิดชอบ แต่เราสามารถตั้งกรอบการทำงานในอนาคตที่เห็นว่ายุติธรรมและสามารถทำให้เราทำงานต่อไปได้ รากฐานของความขัดแย้งก็สามารถนำมาพูดคุยได้ แม้จะเป็นเรื่องยากแต่เป็นเรื่องที่เราจะต้องทำ

กรณีไอร์แลนด์ถ้าไม่มีการเจรจา "กู้ด ฟรายเดย์" เราก็จะทำอะไรไม่ได้เลย เพราะการเจรจานี้ ทำให้เรามีกรอบในการทำงานต่อไป สาระของการเจรจาคือเป็นการปรองดองในระดับหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับ เราต้องยอมในบางเรื่องเพราะคนส่วนใหญ่ควรมีสิทธิ แต่ถ้าใช้เสียงส่วนใหญ่ก็อาจไม่เกิดสันติภาพขึ้นได้เลย เราจึงต้องสร้างกรอบขึ้นเพื่อให้มีการแบ่งปันอำนาจในไอร์แลนด์เหนือ โดยที่ทำให้คนไม่รู้สึกว่าเขาถูก ปิดกั้นจากการแบ่งปันการปกครอง  ไทยมีกรอบอยู่แล้ว แต่หากไม่สามารถลงรายละเอียดเพิ่มเติมได้ก็จะไม่สามรถแก้ไขปัญหาได้

ดังนั้น วิธีที่จะสร้างสันติสุขได้คือรับว่าเรามีความขัดแย้งในอดีต แต่ก็มีกรอบที่จะทำให้มันเดินหน้าต่อไปได้

มันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรัฐธรรมนูญหรือใครมายึดอำนาจ สิ่งเหล่านี้เป็นแค่ผิว เพราะลึกลงไปมันจะมีรากของความขัดแย้ง แต่การปรองดองจะเกิดได้เมื่อเราพูดถึงเหตุผลที่ลึกลงไปเหล่านี้ ซึ่งจะทำได้จริงเมื่อมีกรอบที่จะก้าวต่อไป โดยพูดถึงปัญหาที่หยั่งรากลึกเหล่านี้ในแง่ความยุติธรรมเพื่อสร้างความปรองดอง เราต้องทำให้เขาเห็นว่าอนาตตมีทางไป

อีกประการหนึ่ง หลักการที่สำคัญยิ่งคือประชาธิปไตยที่แท้จริงเท่านั้นจึงจะใช้งานได้ แต่ละประเทศแม้จะเป็นประเทศเดียวแต่ก็มีการแบ่งแยกแตกต่างอยู่ภายใน มีพรรคการเมือง ชนชั้น ศาสนา เชื้อชาติ และสีผิว ในไทยการแบ่งแยกมีมากมายแต่ก็เป็นเรื่องปกติคล้ายคลึงที่ทุกประเทศมี เพียงแต่สถานการณ์มีความพิเศษไม่เหมือนกัน

ประชาธิปไตยทั่วโลกมีมากมาย แต่มีสองสามอย่างที่สำคัญสำหรับประชาธิปไตยที่แท้จริงนั่นคือ

ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การลงคะแนนเลือกตั้งเท่านั้น แต่เป็นวิถีแห่งความคิดที่ว่าไม่ใช่แค่คนส่วนใหญ่ที่มีอำนาจ หรือผู้ชนะจะได้ทุกอย่าง ทำให้คนกลุ่มน้อยรู้สึกว่าถูกกีดกัน ในความคิดของผม ประชาธิปไตยไม่ใช่การยึดครองโดยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ต้องมีพื้นที่แบ่งปันที่ทุกคนจะสามารถทำงานร่วมกันได้ มีพื้นที่ให้คนกลุ่มใหญ่ทำงานร่วมกับคนกลุ่มน้อยเพื่อแบ่งปันคุณค่าหรือค่านิยมบางอย่างร่วมกัน เพราะประชาธิปไตยเป็นเรื่องของแนวคิด ไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง

ที่สำค้ญคือต้องมีหลักนิติธรรม ต้องดำเนินไปโดยไม่มีความโน้มเอียง ไม่ใช่แค่รัฐบาลหรือศาล หลักนิติธรรมยังมีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำหรับผู้ที่จะเข้ามาลงทุน ต้องสามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้กระบวนการตุลาการที่เป็นอิสระก็มีความสำคัญ

เมื่อผมเป็นนายกฯ ผมนำกฎหมายสิทธิมนุษยชนเข้ามา เป็นครั้งแรกที่ศาลสูงสามารถคว่ำมติของรัฐบาลได้หากเห็นว่าขัดแย้งกับหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเดิมอังกฤษไม่มีเรื่องเช่นนี้ แต่สิ่งนี้เป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล บางครั้งนายกฯเสนอกฎหมายที่เห็นว่ามีความสำคัญ แต่ศาลก็สามารถยกเลิกได้ แน่นอนว่าเป็นเรื่องน่าขัดใจ แต่เมื่อเราให้สิทธิเขาแล้วเราก็ต้องยอมรับ แต่สิ่งเหล่านี้จะทำได้ต่อเมื่อความยุติธรรมต้องเป็นอิสระ ไม่มีการแทรกแซงใดๆ ทั้งสิ้น เพราะการเป็นอิสระและปราศจากอคติจึงเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง ผมชื่อว่าประชาธิปไตยที่ีแท้ในสังคมแบบพหุต้องขับเคลื่อนด้วยหลักนิติธรรม เราจึงจะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างชัดเจน

ประการที่ 5 การปรองดองจะทำได้ง่ายขึ้นถ้าการเมืองของประเทศนั้นๆ รัฐบาลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และจัดการปัญหาการ

ทุจริตคอร์รัปชั่นได้ เพราะรัฐบาลคือความคาดหวังของประชาชนและมีหน้าที่ดูแลประชาชนของตน

บทเรียนหนึ่งในการดูแลประชาชน คือการยื่นมือออกไปสู่กลุ่มที่แตกต่าง การปรองดองจะง่ายขึ้นถ้ารัฐบาลทำงานเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประชาชน ให้เขารู้สึกว่าชีวิตของเขาดีขึ้น รู้สึกว่ากระบวนการสันติภาพจะนำสิ่งที่ดีมาสู่ตนเอง ถ้าเขาไม่รู้สึกเช่นนั้นเขาก็จะไม่อยากวางความแตกต่างและสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น

เป็นเรื่องท้าทายมากสำหรับรัฐบาลว่าจะหลุดพ้นจากนโยบายที่วางไว้ได้อย่างไร ถ้าต้องการสร้างสิ่งที่ดีขึ้นและสามารถก้าวข้ามผ่านการแบ่งแยกโดยนโยบายของพรรคการเมืองไปได้ ก็จะทำให้เราสามารถทำสิ่งที่ดีขึ้นสำหรับอนาคต

บทเรียนของผมจากการทำงานที่ผ่านมาคือกระบวนการนี้ไม่ง่าย เราจะเจอความแตกต่างมากมายจนเหมือนไม่สามารถจะสร้างความปรองดองได้เลย สิ่งสำคัญสำหรับปรองดองสมานฉันท์คืออย่ายอมแพ้ แม้มันจะดูยากแค่ไหน หรือช่องว่างจะดูกว้างแค่ไหน เพราะมันเป็นอนาคตของประเทศ  มันเป็นเรื่องจำเป็นและคุ้มค่า ทุกประสบการณ์ที่ผมเคยทำมาในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ผู้นำต้องนำ แต่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมและก้าวตามหลัง การปรองดองที่ปราศจากการสนับสนุนจากประชาชนจะก้าวไปไม่ได้ มันเป็นโอกาสที่จะแบ่งปันร่วมกันและเป็นเรื่องน่าเสียดายยิ่งถ้าเราไม่ก้าวไปสู่โอกาสนั้น  แม้จะแตกต่างกันมาก แต่หากสามารถทำงานร่วมกันได้ ประโยชน์มหาศาลจะตกอยู่กับประชาชน

มาร์ตี อาร์ติซารี

อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์

เจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพ เมื่อปี 2551

ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศผมที่ความขัดแย้งลุกลามกลายเป็นสงครามกลางเมือง มีผู้เสียชีวิตมากถึง 37,000 คน แต่การปรองดองก็เกิดขึ้นได้ ไม่เพียงส่งผลทางการเมือง ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

แผลลึกของสงครามกลางเมืองที่ทิ้งไว้ ต้องใช้เวลาในการรักษา ถึงแม้ 10 ปีที่ผ่านมา จะมีการพูดคุยกัน มีการพูดคุยถึงสงครามครั้งนั้น เราพูดคุยกัน พูดเรื่องปรองดอง การยอมรับอดีตเป็นเรื่องยาก แต่เป็นไปได้

แม้สถานการณ์ต่างกัน ทวีปต่างกัน แต่ความท้าทายในเชิงของการปรองดองมีลักษณะเหมือนกัน และบอกเล่าประสบการณ์การทำงานในสังคมที่เปราะบาง เพื่อสร้างความปรองดอง ในนามิเบีย, จังหวัดอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย และในโคโซโว

กรณีนามิเบีย มีประวัติศาสตร์ของความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันสูงมาก ผู้นำจะทำอย่างไร การเสริมสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ไม่สามารถให้ใครอื่นรับผิดชอบได้ แต่ความรับผิดชอบต่ออนาคตนั้น ขึ้นอยู่กับประชาชนและผู้นำนามิเบียเท่านั้น สมาชิกสภา 72 คนของนามิเบีย ร่วมกันทำงานอย่างรับผิดชอบ โดยมีแรงส่งจากประชาชนผู้สูญเสีย ที่ทำให้การกำหนดกรอบรัฐธรรมนูญไม่ใช่เรื่องทางการเมือง แต่เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน

กรณีของอาเจะห์ มีลักษณะสำคัญคือการให้ความเคารพต่อทุกฝ่าย สิ่งแรกที่ผมแนะนำคือ การบอกทุกฝ่ายว่า แต่ละพรรคไม่สามารถไปบอกคนอื่นว่าตัวเองชนะทุกประเด็น จะบอกออกไปต่อเมื่อมีการตกลงกันแล้ว เป็นข้อตกลงที่มีการตีพิมพ์แล้ว เป็นเรื่องของการสร้างสันติ เหมือนบททดสอบว่าจะยอมทำตามเราหรือเปล่า ทั้งสองฝ่ายต้องการจริงๆ จึงเกิดขึ้นได้ บทเรียนจากอาเจะห์คือ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ทำตาม สัญญาก็ไม่เกิดขึ้นได้ ทั้งสองฝ่ายต้องเข้าใจ ความยุติธรรมต่างๆ เกิดขึ้นได้ เมื่อแต่ละฝ่ายต้องการอย่างแท้จริง

ส่วนกรณีโคโซโว เป็นการทำงานที่ได้ผลภาคภูมิใจอย่างมาก กรณีโคโซโวก็เช่นเดียวกับนามิเบียและอาเจะห์ การที่จะเดินทางสู่สันติภาพ ต้องมีการสูญเสียมากมาย มีคนสูญเสีย 13,000 คน กระบวนการสันติภาพได้มีความสงบเกิดขึ้นแล้ว แต่ปัญหาสำคัญที่เผชิญอยู่คือ การที่จะรักษาความสงบตั้งแต่ระดับรากฐาน เวลาพูดกันเรื่องการเมืองสภาพูดได้ แต่ภายนอกเมื่อพูดกันแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ในอดีตจะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ทำร้ายประเทศ ต้องทำให้เห็นว่า การปรองดองไม่ใช่การลืมอดีต กรณีโคโซโว ทำให้เห็นว่าการปรองดองต้องทำให้เกิดจากการมีเพื่อน มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน สำคัญที่สุด

คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ของไทย เสนอแนะแล้วว่า ผลลัพธ์ไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ แต่ที่ต้องการเป็นกระบวนการสร้างความไว้วางใจ คือให้เครื่องมือแก่ประชาชน ผู้นำในรัฐบาลต้องให้อำนาจทั้งกลุ่มใหญ่และเล็กเพื่อผลักดันประเทศไปได้ ประเทศใดจะสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นได้ ต้องเปิดกว้างให้ทุกคนเข้ามาร่วม ความปรองดองสมานฉันท์ต้องได้รับการสนับสนุน ทั้งจากฝ่ายการเมืองและจากสังคม

พริซิลลา เฮย์เนอร์

ที่ปรึกษาศูนย์เสวนาเพื่อมนุษยธรรม (เอชดีซี)

กระบวนการเพื่อการปรองดอง ต้องเปิดกว้างให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม เปิดพื้นที่ให้แสดงความคิดเห็นอย่างเป็นประชาธิปไตย และไม่ใช้ความปรองดองเป็นเครื่องมือในลักษณะยัดเยียด ข่มขู่ให้กับอีกฝ่าย หรือใช้การปรองดองเป็นเครื่องมือในการปกปิด ทั้งในการกระทำผิดที่ผ่านมาหรือในแง่การปกปิดความแตกต่างระหว่างกัน

แต่ที่ดิฉันไม่กระจ่างก็คือ อะไรคือความปรองดอง เวลาพูดนั้นพูดเรื่องเดียวกันหรือไม่ จากประสบการณ์ คำว่าปรองดอง บางครั้งอาจหมายถึงสิ่งที่ต่างกัน บางครั้งเราอาจไม่ตระหนักในการใช้คำ บางครั้งประเทศตึงเครียดทางการเมือง เราก็เอามาใช้ แต่กระจ่างหรือเปล่าว่า ปรองดองในเชิงปฏิบัติคืออะไร มีเรื่องวิสัยทัศน์ที่ต่างกันในอนาคต

การใช้คำปรองดองในวัตถุประสงค์ที่ผิด คือนำมาใช้คะยั้นคะยอ แต่ขณะเดียวกันมีความหมายเชิงบวกแบบผิดๆ ด้วย ความผิดอย่างหนึ่งคือ การใช้ความพยายามหาความปรองดองเพื่อการนิรโทษกรรม สิ่งที่ผิดให้ยกเลิกหมด ซึ่งไม่ใช่ เป็นการนิรโทษกรรมกับผู้ที่ทำเรื่องเหี้ยมโหดในอดีต กรณีนี้เกิดกับอาร์เจนตินามาแล้ว มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม โดยใช้ข้อว่าสิ่งเหล่านี้เพื่อความปรองดอง แต่คนอาร์เจนตินาปฏิเสธ ทำให้คำว่าการปรองดองกลายเป็นคำในทางลบ เพราะโยงไปถึงกฎหมายนิรโทษกรรม บางครั้งผู้สูญเสียไม่ยอมรับ ดิฉันไม่เห็นด้วยกับการใช้คำปรองดองในลักษณะนั้น

การใช้คำว่าปรองดอง เพื่อคะยั้นคะยอหรือข่มขู่ เริ่มต้นก็ล้มเหลวแล้ว เมื่อไม่กี่สัปดาห์นี้ที่อียิปต์หลังทหารยึดอำนาจแล้ว และปิดปากผู้ที่ล้มประธานาธิบดี เราก็ได้เห็นการประท้วงยึดกรุงไคโร ขณะที่ทหารจะยึดเมืองโดยอ้างว่าฝ่ายตรงข้ามมีเวลา 48 ชั่วโมงในการเข้าร่วมขบวนการปรองดอง ถือเป็นการคุกคามข่มขู่จากรัฐบาล

ความท้าทายต่างๆ ที่ตามมาในเรื่องของการปรองดอง นั่นคือ การปรองดองไม่ใช่การลืม ไม่ใช่การบังคับ หรือเพื่อปกปิด คำคำนี้ หมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นการปรองดองรูปแบบไหน ถ้าต้องการไปให้ถึงการปรองดองนั้น ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ การหันมาเน้นเรื่องกระบวนการที่เป็นไปได้ ไม่ใช่สิ่งที่จะก้าวไปให้ถึง แต่เป็นเรื่องของเส้นทางเดินที่จะเดินต่อไปตามเส้นทางนี้ เดินไปด้วยความคิดริเริ่ม ความคิดสร้างสรรค์ เจตนารมณ์ทางการเมืองของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ขึ้นกับบริบทของแต่ละประเทศ ไม่สามารถนำเข้าจากประเทศอื่นใดได้

การปรองดองเร่งไม่ได้ นอกจากนั้นเมื่อเริ่มแล้ว กระบวนการจำต้องมีการดูแลด้วยความเคารพ เอาใจใส่ ต้องมีการสื่อสาร มีการรับฟัง เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบของผลประโยชน์ของชาติ

หลักของการนิรโทษกรรม ควรมีการเคารพต่อผู้ที่เป็นเหยื่อ ไม่ควรมองว่าเป็นไปเพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมือง ควรมีการเสวนา สร้างแนวทางนิรโทษกรรม ดูกระบวนการนิรโทษกรรมว่าจะทำอย่างไร แม้จะมีการยกโทษให้อาชญากรรมบางอย่างได้ แต่ไม่ควรลบกระบวนการเพื่อให้เกิดความจริงออกมาไปเสีย แม้จะมีการนิรโทษกรรมแต่ก็ควรศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้น ในกระบวนการระดับชาติอาจมีเงื่อนไขบางอย่างแลกกับการได้รับการนิรโทษ

การปรองดองควรมีหลักการของประชาธิปไตยรองรับ ต้องมีพื้นที่ในแง่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ต้องคำนึงว่าขณะนี้เรากำลังหาผลประโยชน์ของชาติร่วมกัน แต่ละพรรคการเมืองมีมุมมองที่ต่างๆ ไปควรปล่อยให้มีการเสวนา เคารพที่จะแตกต่างกัน ให้เปิดพื้นที่ที่จะคุยกัน เพื่อล็อบบี้ เพื่อถก เพื่อธรรมาภิบาลที่ดี

ในความขัดแย้งทางการเมือง ต้องยอมรับกันว่า จะให้ประเทศที่มีประชาธิปไตยเป็นหัวใจเป็นเครื่องนำทาง เป็นภาพรวมวิสัยทัศน์ที่ควรนำมาใช้เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก

หน้า 11 มติชนรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 3 กันยายน 2556

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1378181477&grpid=&catid=01&subcatid=0100
 

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9455 เมื่อ: 03 กันยายน 2556, 22:05:50 »

อ่านดีๆ กลายเป็นว่า รัฐบาลถูกแขกที่เชิญมา ยำเอาอย่างสนุกสนาน

เพราะทำทุกอย่างขัดกับที่แขกบรรยายไปทั้งสิ้น

แบบนี้จะทำการปรองดองต่อไปได้อย่างไร ?

นายกฯยิ่งลักษณ์ เองก็ไม่อยู่ฟังการบรรยาย หลังทำพิธีเปิดแล้ว

ที่แสบสุดๆ คือ โทนี่ แบลร์ ไม่อยู่ทานเที่ยงกับคณะผู้จัด

แต่กลับเชิญผู้นำฝ่ายค้านและอดีต รมต.คลัง กรณ์ จาติกวณิก

ไปทานข้าวเที่ยงที่สถานฑูตอังกฤษ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9456 เมื่อ: 04 กันยายน 2556, 08:17:49 »

ฝนจะเริ่มมากขึ้นในวันพรุ่งนี้

พยากรณ์อากาศ ประจำวันพุธที่ 4 กันยายน 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศพม่าและประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนน้อยในวันนี้
สำหรับในช่วงวันที่ 5-7 ก.ย. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.


ภาคเหนือ  มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัด
แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน ตาก และเพชรบูรณ์

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัด
หนองคาย บึงกาฬ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร และนครพนม

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 30
โดยกลุ่มฝนจะเคลื่อนจากทิศใต้ขึ้นไปทางเหนือ

อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9457 เมื่อ: 04 กันยายน 2556, 21:52:55 »

ข้ามาหาตามข่าว ผลการประชุมกรรมการสมาคมฯหอ
หาไม่มี ไม่ทราบว่าจะเป็นอย่างนี้ไปอีกนานเท่าไหร่
เรียกประชุม แต่ไม่แจ้งให้สมาชิกทราบผล
ผลก็คือ เว็ปเงียบลงเรื่อยๆ สมาชิกตีจากไปอยู่แอพพิเคชั่นอื่นหมด
เซ็งแม่มันจริงๆ...ขอบอกตรงๆ
      บันทึกการเข้า
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
*****


ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927

« ตอบ #9458 เมื่อ: 05 กันยายน 2556, 08:15:46 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 04 กันยายน 2556, 21:52:55
ข้ามาหาตามข่าว ผลการประชุมกรรมการสมาคมฯหอ
หาไม่มี ไม่ทราบว่าจะเป็นอย่างนี้ไปอีกนานเท่าไหร่
เรียกประชุม แต่ไม่แจ้งให้สมาชิกทราบผล
ผลก็คือ เว็ปเงียบลงเรื่อยๆ สมาชิกตีจากไปอยู่แอพพิเคชั่นอื่นหมด
เซ็งแม่มันจริงๆ...ขอบอกตรงๆ


ผมรายงานหัวข้อประเด็นที่ประชุมก่อนครับพี่
รายละเอียด กรรมการคงต้องสรุปให้อีกครั้งต่อไป...

ผมเองน่ะ ถ้าไม่ติดภารกิจ ก็จะไปร่วมตามที่ทราบข่าวจากเว็ป
และเมล์ ที่ได้รับ ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้เปิดเมล์
ต่อไม่ค่อยติดเหมือนกันครับ


 เหนื่อย รักนะ

อ้างถึง
ข้อความของ หนุน'21 เมื่อ 05 กันยายน 2556, 08:00:19
อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 04 กันยายน 2556, 21:44:14

เมื่อคืนมีสาระจากการประชุมออกมาอย่างไรบ้าง ?? ล่ะ

เดี๋ยวทั่นเลขา ป๋าทู คงแถลงรายละเอียดกันต่อไปครับพี่เหยง
แต่เท่าที่นึกออก ก็มีเรื่ิอง กรรมการหาทุนโครงการรินน้ำใจ...สร้างหอใหม่...ตามงาน
งานคืนสู่เหย้า รายงานความคืบหน้า
การจัดโบว์ลิ่ง หาทุนซื้อโต๊ะอาหาร
และพี่ป๋องปรารภเรื่องเว็ปหอ...

นอกจากนั้นก็มีการพูดถึงความคืบหน้าการก่อสร้าง หอใหม่
ซึ่ง อ.เผ่า ก็สรุปให้ที่ประชุมเห็นความคืบหน้าในด้านต่างๆ
รอรายละเอียดนะครับ...


 รักนะ รักนะ
      บันทึกการเข้า

“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้
อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9459 เมื่อ: 05 กันยายน 2556, 08:23:34 »

หนุน


ขอบคุณสำหรับข้อมูลการประชุม
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9460 เมื่อ: 05 กันยายน 2556, 08:31:13 »

ฝนเพิ่มขึ้นในภาคเหนือ ภาคอีสาน
มรสุมเริ่มพาดผ่านตอนกลางของประเทศแล้ว นั่นคือโอกาสที่ฝนจะตกใส่เขื่อนหลักลดน้อยลงแล้ว
ปริมาณน้ำในเขื่อนคาดว่าจะน้อย และไม่พอใช้ในหน้าแล้งของปีหน้า


พยากรณ์อากาศ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในระยะ 2-3 วันนี้
 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้. 

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ น่าน แพร่ และอุตรดิตถ์

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ เลย อุดรธานี สกลนคร และนครพนม

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์
กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดสระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฏร์ธานี และ นครศรีธรรมราช

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  มีเมฆเป็นส่วนมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 40
อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
[/size]
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9461 เมื่อ: 05 กันยายน 2556, 09:07:21 »

เช้านี้ต้องไปอำเภอบรรพตพิสัยครับ

บ่ายๆ พบกัน
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9462 เมื่อ: 05 กันยายน 2556, 21:10:46 »



      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9463 เมื่อ: 05 กันยายน 2556, 21:11:49 »

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9464 เมื่อ: 05 กันยายน 2556, 21:13:52 »

ประธานจุดเทียน ธูป บูชาพระรัตนตรัย ก่อนเปิดการประชุม





 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9465 เมื่อ: 05 กันยายน 2556, 21:14:37 »

ตัวแทนอำเภอบรรพตพิสัยกล่าวต้อนรับ




      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9466 เมื่อ: 05 กันยายน 2556, 21:18:44 »

แนะนำผู้บริหารของ ที่ว่าการอำเภอบรรพตพิสัย และเทศบาลตำบลบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์



      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9467 เมื่อ: 05 กันยายน 2556, 21:22:16 »

ประชุมคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 3 ปีงบประมาณ 2556






      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9468 เมื่อ: 05 กันยายน 2556, 21:25:28 »

ปิดท้ายด้วยการมอบผลไม้พื้นเมือง เป็นที่ระลึก



ก่อนทานอาหารเที่ยงแบบเร่งรีบ เพื่อเตรียมออกพื้นที่ตอนเที่ยงตรง




      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9469 เมื่อ: 05 กันยายน 2556, 21:25:50 »

ภาพออกพื้นที่ ขอเป็นวันพรุ่งนี้ครับ
      บันทึกการเข้า
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
*****


ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927

« ตอบ #9470 เมื่อ: 06 กันยายน 2556, 07:16:47 »

สวัสดีเช้าวันศุกร์ครับพี่เหยง
ตามอ่าน ตามชมครับ
      บันทึกการเข้า

“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้
อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9471 เมื่อ: 06 กันยายน 2556, 09:22:50 »

สวัสดี หนุน


เดี๋ยวจะโพสต์ภาพที่ออกไปดูพื้นที่ก่อสร้างมาให้ชมครับ

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9472 เมื่อ: 06 กันยายน 2556, 09:23:28 »

ฝนตกเพิ่มขึ้นอีกในวันนี้
ทะเลในส่วนที่มีฝน คลื่นจะสูงถึง 2 เมตร โปรดระมัดระวัง

พยากรณ์อากาศ ประจำวันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  ร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักในระยะนี้ไว้ด้วย
 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ และนครราชสีมา
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคกลาง  มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท
ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี และกาญจนบุรี

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก
ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่
และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร 

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 70
อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.  [/size]


19600  win
      บันทึกการเข้า
เจตน์
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ใครๆเรียกผมว่า "กุ๊ปปิ๊"
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2534
คณะ: ครุฯ พลศึกษา
กระทู้: 6,520

« ตอบ #9473 เมื่อ: 06 กันยายน 2556, 09:50:54 »

สวัสดีครับพี่เหยง.... มาครับ  บ่ฮู้บ่หัน บ่ฮู้บ่หัน
      บันทึกการเข้า

ชีวิตผมเป็นดั่งวงกลม จึงได้แต่ดอมดมความสุขจากคนอื่นๆ
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9474 เมื่อ: 06 กันยายน 2556, 10:19:21 »

เจตน์


รับทราบ...มาทีเดียว 2 คนเลย
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 377 378 [379] 380 381 ... 472   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><