|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #6629 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2555, 09:13:13 » |
|
ที่สุด จากยอดที่คณะกรรมการจัดทอดผ้าป่าอยากได้ปัจจัยในเบื้องต้นคือ 250,000.00 บาท ยอดเงินที่ได้จริงจากการทอดผ้าป่าในวันนั้นคือ 512,209.25 บาทครับ คณะสงฆ์วัดไดตามุ่ย สาธุ รับอานิสงฆ์ พร้อมเจริญพระพุทธมนต์ เจ้าอาวาสประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้บรรดาญาติโยมที่ไปร่วมงาน
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #6630 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2555, 09:17:49 » |
|
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #6632 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2555, 09:26:01 » |
|
ขออนุญาต เข้าตลาดปากน้ำโพ ไปทำธุระสัก 3 ชั่วโมงครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #6633 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2555, 18:21:05 » |
|
เล่นเอาท่าน ตามราวีประชาธิปปัตย์ทุกแห่งหน มีหรือจะไม่เกิดสงครามกลางเมือง"ธนินท์ เจียรวนนท์" เสียงเตือนที่ต้องน้อมฟังวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 21:47:43 น. คอลัมน์ โครงสร้างตำนานคน โดย การ์ตอง (ที่มา : มติชนรายวัน 15 ก.ค.2555) บรรยากาศของประเทศคล้ายจะเดินหน้าสู่การเกิด "สงครามกลางเมือง"
"พรรคการเมือง" เดินสายตั้งเวทีไฮด์ปาร์กปลุกระดมมวลชนกันเอาเป็นเอาตาย- "สื่อเลือกข้างที่ต่างฝ่ายต่างก่อตั้งขึ้นมา" โหมกระพือโจมตีคู่ต่อสู้- ประชาชนสองฝ่ายเปิดฉากถล่มกันแหลกใน "สังคมออนไลน์"
ต่างฝ่ายต่างมุ่งไปที่สร้างความเกลียดชังฝ่ายตรงกันข้าม
เนื้อหารุนแรงกล่าวหาถึงขั้นไม่ยอมให้อยู่ร่วมแผ่นดินเดียวกัน
ต่างฝ่ายต่างโหยหาที่จะเปิดฉากต่อสู้แบบแตกหัก ใครไม่ใครต้องพังไปข้างเท่านั้น
เชื่อว่าชัยชนะอย่างเด็ดขาด สลายฝ่ายตรงกันข้ามให้สิ้นซากเท่านั้นจึงจะนำความสงบมาสู่บ้านเมืองได้
ในโลกยุคใหม่
"สงครามกลางเมือง" จะเกิดก็ด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่อดอยากยากแค้น ขณะที่บางกลุ่มฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อให้เห็นเป็นการต่อสู้เพื่อปากท้อง
การต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจนั้น ก่อสงครามการเมืองได้ แต่นั่นเป็นเรื่องของโลกยุคเก่า
ทว่า ทั้งที่ประเทศไทยน่าจะพ้นจากโลกยุคเก่ามานมนาน และไม่มีปัญหาในเรื่องปัจจัยทางเศรษฐกิจ แต่การแย่งชิงอำนาจกลับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองรุนแรง
ในงานครบรอบ "36 ปีหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ" ซึ่งจัดที่ห้องนภาลัย โรงแรมดุสิตธานี ที่มีนักธุรกิจทุกระดับนับพันคนเข้าฟัง
คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ในฐานะองค์ปาฐกเสนอแง่คิดประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับประเทศไทยเรา ใจความโดยรวมชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยเรานี้ปัจจัยด้านเศรษฐกิจดีทุกด้าน เสียดายที่การเมืองไม่นิ่ง
"เจ้าสัวซีพี มหาเศรษฐีติดอันดับโลก" ชี้ให้เห็นว่า เรากำลังเข้าสู่การรวมตัวเป็นชุมชนเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยปัจจัยด้านเศรษฐกิจของเราสามารถเป็นผู้นำอาเซียนได้
แต่เสียดายที่การเมืองไม่นิ่ง
"คุณธนินท์" ขอให้ทุกฝ่ายช่วยกันทำการเมืองให้นิ่ง เพื่อใช้ความได้เปรียบทางปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ก้าวขึ้นสู่ผู้นำเป็นที่พึ่งของประเทศในอาเซียน
แม้ในตอนหนึ่ง "ประธานซีพี" จะปลอบใจว่า "รัฐบาลยิ่งลักษณ์เข้าใจเศรษฐกิจดี แม้การเมืองไม่นิ่ง เศรษฐกิจประเทศเราก็แค่โตช้า"
แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอยู่ดี
เราควรจะก้าวไปไกลกว่านี้ หากนักการเมืองทั้งที่เล่นอยู่ในระบบ และเคลื่อนไหวต่อสู้อยู่นอกระบบ จะมีสำนึกไม่นำพาประเทศไปสู่ "สงครามกลางเมือง" ด้วยความขัดแย้งแบบโลกยุคเก่า คือแค่ "การช่วงชิงอำนาจทางการเมือง"
เพื่อประเทศชาติ และผลประโยชน์ของประชาชนไทยโดยรวม เลยไปถึงการพัฒนาอาเซียน
ทำอย่างไรจึงจะช่วยกันทำให้เสียงเตือนของ "คุณธนินท์ เจียรวนนท์" ส่งผลต่อสติปัญญาของนักการเมืองทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ทั้งในระบบและนอกระบบ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342363506&grpid=&catid=02&subcatid=0207
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #6634 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2555, 18:29:21 » |
|
มาแล้วครับ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 2 ว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ มีผลบังคับใช้วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 17:23:59 น วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อให้การดำเนินการวางระบบการจัดการน้ำและแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศ สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องกำหนดวิธีการดำเนินงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของข้อ ๑๖ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕
“กบอ. อาจมีมติกำหนดให้ใช้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหรือแนวทางการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยอื่นใดที่ กบอ. เห็นสมควรให้ดำเนินการและคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับแผนปฏิบัติการตามวรรคหนึ่งได้ ในกรณีดังกล่าวถ้าข้อกำหนดในระเบียบนี้หรือระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้องกล่าวถึงแผนปฏิบัติการให้หมายถึง มติ กบอ. ดังกล่าวด้วย”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๑๗ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕
“เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและสอดคล้องกันกบอ. อาจกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเสนอโครงการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ กบอ. พิจารณากลั่นกรองก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ หรือ กบอ. อาจพิจารณาจัดทำโครงการบริหารจัดการน้ำหรือป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยอย่างเป็นระบบ หรือโครงการที่มีความจำเป็นอื่นใดเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติได้
ทั้งนี้ ไม่ว่าการดำเนินการนั้นจะดำเนินการก่อนมีแผนปฏิบัติการหรือแตกต่างจากแผนปฏิบัติการก็ตาม”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๙ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๑๙ ให้ กบอ. มีอำนาจหน้าที่กำกับและติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐเพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการหรือการปฏิบัติงานใด ๆ ตามมติของ กนอช. หรือ กบอ. ในการนี้ กบอ.อาจกำหนดวิธีดำเนินการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติด้วยก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนงานโครงการ หรือการดำเนินการ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการหรือมติของ กนอช. หรือ กบอ.โดยประสานกับ สบอช. เกี่ยวกับรายละเอียดในการดำเนินการ แล้วแจ้งให้ กบอ. ทราบ หรืออนุมัติแล้วแต่กรณี
ถ้าหน่วยงานของรัฐมีแผนงาน โครงการ หรือการดำเนินการที่จัดทำขึ้นก่อนแผนปฏิบัติการมีผลใช้บังคับและสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการหรือมติของ กนอช. ให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยให้แจ้งกบอ. ทราบด้วย
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐมีความจำเป็นต้องจัดทำแผนงาน โครงการ หรือการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการหรือมติของ กนอช. หรือ กบอ. ให้เสนอขออนุมัติต่อ กบอ. ก่อน จึงจะดำเนินการต่อไปได้ เว้นแต่ กบอ. จะมีมติเป็นอย่างอื่น
ให้ กบอ. มีอำนาจสั่งการให้หน่วยงานของรัฐแก้ไขหรือปรับปรุงแผนงาน โครงการหรือการดำเนินการ ให้เป็นไปโดยสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ แผนงาน หรือโครงการ หรือการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น หรือตามที่เห็นเหมาะสมได้”
ประกาศ ณ วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342430921&grpid=03&catid=&subcatid=
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #6635 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2555, 18:34:34 » |
|
ตามด้วยความเห็นของผู้เป็นกรรมการใน กยอ."กิจจา ผลภาษี" ส่งสัญญาณเตือน "เรื่องน้ำ...ไม่มีใครรู้ดีกว่าคนไทย"updated: 16 ก.ค. 2555 เวลา 09:53:07 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.4 แสนล้านบาทของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ที่มี นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธาน กำลังเดินหน้าเต็มสูบ หลังออกประกาศเชิญชวนบริษัทที่ปรึกษาเสนอกรอบแนวคิด (Conceptual Plan) ออกแบบก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย (TOR) ท่ามกลางข้อสงสัยและเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่าย
ขณะที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) เพื่อวางแผนบริหารจัดการน้ำทั้งระยะเร่งด่วนและระยะยั่งยืน มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำหลายท่านเป็นคณะกรรมการ
วันนี้แผนน้ำของ กยน.เสร็จแล้ว คำถามคือได้นำไปใช้หรือยัง ทำอะไรบ้าง หรือจะถูกรื้อทิ้ง ? "กิจจา ผลภาษี" กรรมการ กยน. ที่ปรึกษากรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) ไขคำตอบผ่าน "ประชาชาติธุรกิจ" ในหลายประเด็น ล้วนน่าสนใจ
- แผนงานแก้ปัญหาเรื่องน้ำตามแผน กยน.คืบหน้าอย่างไรบ้าง
จริง ๆ งานในส่วนของ กยน.วางแผนไว้ครบหมดแล้ว หลังจากนั้นท่านนายกฯยิ่งลักษณ์ (ชินวัตร) ก็ตั้ง กบอ.ขึ้นมา โดยมีรัฐมนตรีปลอดประสพเป็นประธาน
- กบอ.ทำงานร่วมกับ กยน.อย่างไรบ้าง
ท่านนายกฯก็ขอให้ผมไปช่วย แต่ผมบอกท่านว่า ผมคงไปทำหน้าที่ไม่ได้ เพราะดูจะเป็นเรื่องการเมืองไปแล้ว แต่ท่านก็ให้ผมไปเป็นที่ปรึกษา
- ไม่เห็นด้วยกับแนวทาง กบอ.หรือ
ผมเข้าไปร่วมประชุม 1-2 หน ผมดูแนวทางแล้ว ผมไม่ชอบใจ คือผมไม่ชอบวิธีการในการบริหารจัดการ ถ้าผมยังไปประชุมอยู่ ผมอาจมีข้อขัดแย้งหลายเรื่อง เลยถอยห่างออกมา
- กยน.ทั้งคณะวันนี้ยังทำงานอยู่
คณะกรรมการยังมีอยู่ ยังไม่ได้ยุบ แต่ก็ไม่ได้มีการใช้งาน
- แผน กบอ.ซ้ำซ้อนกับที่ กยน.วางไว้
คงไม่ซ้ำซ้อนกัน เพราะ กยน.เป็นผู้วางแผน แต่ กบอ.เป็นหน่วยปฏิบัติ แต่หน่วยปฏิบัติจะทำตามแผน กยน.หรือไม่ ผมไม่ทราบ
- แผน กบอ.เหมือนจะให้บริษัทที่ปรึกษาเสนอแผนใหม่หมด
ผมไม่รู้รายละเอียดเรื่องทีโออาร์เลย แต่ถ้าถามผมส่วนตัวเรื่องน้ำ ผมมองว่า เรื่องน้ำไม่มีใครรู้ดีกว่าคนไทย เพราะเรามีนักวิชาการและคนที่มีความรู้เรื่องน้ำเยอะมาก แผนงานที่ กยน.วางไว้ เป็นแผนงานที่ได้รับการยอมรับ ต่างชาติเองก็ยอมรับ ไม่ว่าแผนระยะเร่งด่วน หรือแผนยั่งยืน
ผมมั่นใจแผนของ กยน.ว่า อย่างน้อยที่สุด โอกาสเกิดน้ำท่วมแบบปี 2554 จะน้อยมาก หรือมีก็จะเบากว่า ผมไปดูงานศึกษาเรื่องน้ำต่างประเทศกับท่านนายกฯ ทั้งที่จีน เกาหลี ก็ได้เข้าร่วมประชุมด้วย โอเค เขาเก่งและมีความรู้ แต่ผมฟังแล้ว ยังไงเรื่องน้ำในเมืองไทย ไม่มีใครรู้ดีกว่าคนไทย
ฉะนั้น ความเห็นผมในฐานะที่ทำงานเรื่องน้ำ ผมคิดว่า ในการตั้งทีมงานบริษัทที่ปรึกษาเข้ามา อย่างแรกสุด เรายอมรับกรอบน้ำของ กยน.หรือไม่ ถ้ายอมรับก็เดินตามแนวนี้ ส่วนต่างชาติถ้าจะจ้างเขามา ควรจะจ้างเขามาในฐานะผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา ไม่ใช่ผู้ที่จะลงมาทำงาน แต่หากคัดเลือกจากบริษัทคนไทยด้วยกัน แล้วคัดเลือกต่างชาติมาร่วมดูแล อย่างนั้นผมเห็นด้วย มาช่วยกันดูแผนงานของ กยน.ว่ามีจุดบอด หรือควรแก้ไขตรงไหน ถ้าต่างชาติมีข้อเสนอที่ดีกว่า เสนอได้เลย แต่งานที่ทำควรเป็นงานของคนไทย
- ถึงวันนี้ปัญหาเรื่องน้ำยังน่าห่วง เบาใจไม่ได้
ใช่ น่าห่วงมาก เพราะแผนที่ กยน.วางไว้ ไม่ใช่ทำกันได้ง่าย ๆ อย่างเรื่องทำคันกั้นน้ำ ชาวบ้านเข้าใจมั้ย ยอมรับมั้ย หรือการขุดลอกคูคลองปัญหาเยอะมาก เพราะมีปัญหาเรื่องมวลชน
- สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือเรื่องอะไร
เรื่องงานเร่งด่วนจากหลายส่วนที่จะทำในปีนี้ ยังทำได้ช้ามาก ที่โอเคหน่อยก็จะมีงานของ กทม. กรมโยธาธิการฯ กรมชลประทาน ส่วนทหารก็ช่วยได้ดี อย่างในส่วนท้องถิ่น เหมือนต่างคนต่างทำ เช่น ที่ จ.อ่างทอง พยายามสร้างคัน
กั้นน้ำ ดึงน้ำเจ้าพระยาเพื่อป้องกันจังหวัด ซึ่งจังหวัดอื่นก็ทำ ถามว่า น้ำที่เคยเข้าท่วมทุ่ง วันนี้ไปกั้นหมดแล้ว น้ำก้อนนี้จะลงไปไหน ก็ลงมากรุงเทพฯ ซึ่งผมไม่มั่นใจว่า ถ้าน้ำทั้งก้อนที่กั้นไว้ ลงมาถึงกรุงเทพฯ จะเอาอยู่หรือไม่
นอกจากนี้ ปัญหาน้ำที่เราจะเอาออก ทั้งด้านตะวันตก ตะวันออก ยังมีปัญหาอีกเยอะมาก ว่าจะดึงออกได้มั้ย เพราะปี 2554 ดึงไม่ไป เพราะเจอปัญหาทั้งเรื่องการเมือง มี ส.ส.การบังคับไม่ให้ปล่อยน้ำเข้าพื้นที่ รวมทั้งการปล่อยปละละเลยในการสร้างสิ่งก่อสร้างเยอะแยะไปหมด ทั้งหมู่บ้านจัดสรร นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งต้องรีบแก้ไข
- สุดท้าย แผนของ กยน.จะถูกนำไปใช้หรือเปล่า
ขึ้นอยู่กับว่า คุณเชื่อแผน กยน.ที่ทำกันมาหรือเปล่า ผมเห็นว่า สิ่งที่ กยน.ทำไว้ พระเอกที่จะกันน้ำท่วมได้ คือแก้มลิง และพื้นที่รับน้ำนอง แต่ถึงวันนี้ยังมีปัญหาด้านสังคมและมวลชน ซึ่งรัฐบาลเองก็ยังไม่ชัดเจน สิ่งที่ชัดเจนที่ผมมองเห็น คือเอาแผน กยน.มาใช้ให้เร็วที่สุด
- การบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลมาถูกทิศทางหรือเปล่า
ความเห็นแต่ละคนไม่ตรงกัน แต่เท่าที่ผมติดตามคณะทำงานที่ติดตามงบประมาณ หรือคณะทำงานชุดต่าง ๆ ผมยังไม่เห็นด้วย
- มีข้อเสนออะไรถึงท่านนายกฯยิ่งลักษณ์มั้ย
อย่างที่ผมบอก การจ้างบริษัทที่ปรึกษา มันดูมากเกินไป หากให้ที่ปรึกษาจากเมืองนอกเข้ามา ก็อาจจะเริ่มต้นใหม่ในการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ หากไม่เริ่มต้นใหม่ ต่างชาติคงจ้างคนไทยต่อ เพราะเขาไม่มีข้อมูล นอกจากคนไทย ขนาดบริษัท ที่ปรึกษาจากคนไทย ก็ใช้ข้อมูลจากกรมชลประทาน หรือกรมอุตุนิยมวิทยา ฯลฯ
แต่หากคุณมีข้อเสนอ มาคอมเมนต์ มาดูแผน แล้วมีอะไรเพิ่มเติม บอกมาได้เลย อย่างนี้ผมว่าจะเปอร์เฟ็กต์ สิ่งที่ กยน.ทำ อาจจะไม่ดี 100% แต่ในฐานะที่คุณเป็นผู้เชี่ยวชาญของโลก ผ่านงานมาเยอะ มาคอมเมนต์เราได้ เรายอมรับ แต่ถ้าคุณมาเริ่มใหม่ ผมท้าเลยว่า ไม่มีทางสู้คนไทยได้ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1342407176&grpid=09&catid=04&subcatid=0402
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #6636 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2555, 18:40:37 » |
|
ดูญี่ปุ่น จีน เป็นตัวอย่าง สำหรับน้ำท่วมในปีนี้ ??วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 7900 ข่าวสดรายวัน ฝนถล่มหนัก'ญี่ปุ่น-จีน'ตายนับสิบ
ท่วมญี่ปุ่น - ชาวเมืองโทสึ จ.ซางะ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น ยืนมองพื้นที่เกษตรกรรมของคนในหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วมเสียหายยับเยิน ขณะที่วิกฤตในภูมิภาคยังรุนแรง ล่าสุดมีคนตาย 24 ราย สูญหายอีก 8 คน เมื่อ 15 ก.ค. (เอเอฟพี) เมื่อ 15 ก.ค. เอเอฟพีรายงานว่า ประชาชนในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่นกว่า 5,000 คนถูกตัดขาดจากโลกภายนอกหลังเกิดแผ่นดินถล่มและต้นไม้หักโค่นกีดขวางท้องถนนและระบบประปา หลังฝนตกหนักและน้ำท่วม โดยประกาศปฏิบัติการกู้ภัยเต็มรูปแบบแล้ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 24 ราย สูญหาย 8 คน
ด้านเอ็นเอชเคแพร่ภาพกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นลำเลียงสิ่งของบรรเทาทุกข์ ทั้งอาหาร น้ำดื่มและยาขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเมืองยาเมะ จังหวัดฟูกูชิมะ ทางเหนือของเกาะคิวชู ด้านเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นใช้เฮลิคอปเตอร์นำผู้ป่วยและผู้สูงอายุในพื้นที่ถูกตัดขาดออกมาส่งยังโรงพยาบาล ทั้งนี้ ทางการท้องถิ่นยกเลิกคำเตือนให้ประชาชน 400,000 คนอพยพออกจากบ้านเรือน แต่ยังคงแนะนำประชาชน 3,600 คนให้ย้ายออกมา โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นพยากรณ์ว่าจะมีฝนตกหนัก ดินถล่มและน้ำท่วมต่อไปอีกในแถบตอนใต้ของเกาะคิวชู หลังจากฝนที่ตกหนักทางตอนเหนือผ่านพ้นไปแล้ว
วันเดียวกัน ซินหัวรายงานว่า พายุฝนตกหนักในมณฑลกุ้ยโจวของจีน ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 11 ราย และสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนและประชาชนกว่า 980,000 คน ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก ดินถล่มและหิมะถล่ม
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ต้องช่วยกันปฏิบัติการกู้ภัยและบรรเทาทุกข์ด้วยการแจกจ่ายสิ่งของ ที่นอน ข้าวและน้ำมัน แก่ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย ศูนย์พยากรณ์อากาศท้องถิ่นคาดว่าฝนจะตกหนักลงมาอีกในบางพื้นที่ของมณฑลกุ้ยโจวจนถึงช่วงต้นสัปดาห์ที่จะถึง เจ้าหน้าที่ต้องอพยพประชาชนนับพันคนออกจากพื้นที่เสี่ยง
นอกจากนี้พายุฝนยังสร้างความเสียหายในมณฑลอานฮุย และหูหนาน ทางภาคกลางและภาคตะวันออกด้วย สถานีพยากรณ์อากาศกลางคาดว่าจะมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ เช่น ที่มณฑลเจียงซู หูเป่ย เจียงซี เสฉวน ยูนนาน และกุ้ยโจว รวมทั้งที่นครเซี่ยงไฮ้ในระยะนี้
หน้า 7 http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObWIzSXdNVEUyTURjMU5RPT0=§ionid=TURNd05nPT0=&day=TWpBeE1pMHdOeTB4Tmc9PQ==
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #6637 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2555, 18:49:11 » |
|
คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ใหม่สุด มาพร้อมงบประมาณ 3.4 แสนล้านบาทและมีระเบียบสำนักนายก ฉบับที่ 2 ที่เพิ่งออกมาในวันที่ 5 กรกฎาคมและมีผลในวันพรุ่งนี้ (17 ก.ค. 2555) รองรับ
แล้วคณะกรรมการฯ 2 ชุดที่ตั้งมาก่อนหน้านี้ ทำหน้าที่ต่อ หรืออย่างไร ์์
-คณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.)
-คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.)
|
|
|
|
ti2521
|
|
« ตอบ #6638 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2555, 06:54:53 » |
|
.....สวัสดีครับ พี่เหยง ดูน้ำท่วมจากจีน ญี่ปุ่น อีกเดือนหรือเดือนกว่า เราเจอะศึกหนักแน่
ทางเหนือช่วงนี้ ข้าวโพดเริ่มออก ความชื้น ๓๐% แย้งซื้อกัน ๘ บาทราคาดีจัง
ถั่วมันฝนน่าจะหมดจากเกษตรกรแล้วครับปริมาณไม่มากช่วงออก สวยๆขายกัน ๒๒ บาท ทั่วไป ๑๘ ถึง ๒๐ บาทครับ
ทั้งสองตัวผมไม่ได้ซื้อครับ ซื้อแต่ถั่วเหลือง กับ ถั่วแขกครับ.....
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
|
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562
|
|
« ตอบ #6640 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2555, 13:18:28 » |
|
สวัสดีค่ะ น้องเหยง น้องตี๋ ฟังที่น้องตี๋ทำนายแล้วรู้สึกหนาวค่ะ แต่รับ 20,000 บาทมาแล้วค่ะ รับเต็มไม่มีตัด ยังเก็บไว้เป็นอย่างดี อาจจะต้องใข้ล้างบ้านปีนี้อีกหรือเปล่าก็ไม่รู้
|
|
|
|
ประทาน14
Full Member
ออฟไลน์
รุ่น: 2514
คณะ: เภสัชศาสตร์
กระทู้: 999
|
|
« ตอบ #6641 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2555, 17:37:47 » |
|
ท่านปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ พูดในรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ เวลา 17.30 น. วันนี้ว่าท่านค่อนข้างจะมั่นใจว่าปีนี้น้ำจะไม่เข้าท่วมจังหวัดนครสวรรค์
น้องเหยงน่าจะเบาใจได้ในระดับหนึ่งนะครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #6642 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2555, 20:01:55 » |
|
สวัสดีครับพี่'ทาน
ผมไม่กลัวเรื่องน้ำท่วมสักเท่าใดครับ มันเคยและสามารถอยู่ได้แล้ว วิธีคือ ต้องเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ แบบไม่หวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากใคร
ชาว กทม.และปริมณฑลต่างหากที่ต้องกลัว เพราะคลองซอยฝั่งธนบุรี ยังแทบไม่ได้ทำอะไรเลยครับ ผมหวังว่าช่วงนี้ ทุกคนน่าจะเริ่มหาแนวทางว่า รถยนต์ควรไปจอดที่ไหนดี จำเป็นจะต้องย้ายหนีไปอยู่ตรงไหน ?? และเมื่อเข้าช่วงน้ำมา แล้วน้ำไม่ท่วม ถือว่าได้มีการเตรียมตัวไว้แล้วครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #6643 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2555, 20:02:51 » |
|
พี่'อร
บ้านผมได้เพียง 10,000 บาทเท่านั้นครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #6644 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2555, 20:27:36 » |
|
วันรับปริญญา 19 - 20 กรกฎาคมนี้ มีที่จอดรถยนต์ ดังต่อไปนี้ครับ.......จุฬาฯแจ้งลานจอดรถที่สามารถนำรถไปจอดได้ช่วงรับปริญญา 19-20 ก.ค.วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 07:47:09 น บก.จร.แจ้งว่า ระหว่างวันที่ 19 – 20 ก.ค. 2555 มีพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยแจ้งสถานที่ลานจอดรถที่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถนำรถไปจอดได้ มีดังนี้
ลานจอดรถที่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถนำรถไปจอดได้ มีดังนี้ P1 อาคารจัตุรัสจามจุรี ที่จอดรถ ๗๕๐ คัน ค่าบริการฟรี ๒ ชั่วโมงแรก จากนั้นชั่วโมงละ ๑๐ บาท, P2 อาคารจามจุรี ๙ ที่จอดรถ ๖๕๐ คัน ค่าบริการชั่วโมงละ ๕ บาท, P3 อาคารวิทยกิตติ์ ที่จอดรถ ๖๔๐ คัน ค่าบริการชั่วโมงละ ๑๐ บาท, P4 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ที่จอดรถ ๖๐ คัน ค่าบริการ ๕๐ บาทต่อวัน, P5 สยามสแควร์ ที่จอดรถ ๖๕๐ คัน ค่าบริการชั่วโมงละ ๑๐ บาท, P6 สยามพารากอน ที่จอดรถ ๔,๐๐๐ คัน ค่าบริการชั่วโมงละ ๒๐ บาท เกิน ๖ ชั่วโมง ค่าบริการ ๓๐๐ บาท ต่อวัน, P7 มาบุญครอง ที่จอดรถ ๑,๙๐๐ คัน ค่าบริการ ๔ ชั่วโมงแรก ๔๐ บาท ชั่วโมงถัดไปชั่วโมงละ ๒๐ บาท, P8 อาคารสยามกิตติ์ ที่จอดรถ ๖๕๐ คัน ค่าบริการชั่วโมงละ ๒๐ บาท, P9 อาคารมหาจักรีสิรินธร ที่จอดรถ ๖๑๒ คัน ค่าบริการชั่วโมงละ ๑๐ บาท http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342658219&grpid=&catid=19&subcatid=1903
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #6646 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2555, 21:31:40 » |
|
ทานข้าวเสร็จ และไปอาบน้ำ จากนั้นคุณแม่ก็นั่งเพื่อรอส่งให้ผมเดินทางกลับนครสวรรค์...... หลังจากผมออกไปทำธุระในตัวเมืองนครปฐมเสร็จแล้ว
|
|
|
|
|
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562
|
|
« ตอบ #6648 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2555, 07:08:34 » |
|
สวัสดีค่ะ น้องเหยง วันนี้ที่กรุงเทพ อากาศดีค่ะ
|
|
|
|
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562
|
|
« ตอบ #6649 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2555, 07:11:09 » |
|
เอ อย่างนี้คงต้องยกความดีให้ อบต. บางรักพัฒนาแล้ว พราะเขาคงเห็นว่า เสียหายมากน้ำสูงและนานเกิน แต่พี่ว่า เพราะตัวที่ทำการ อบต. เอง น้ำก็สูงมาก จนเข้าไปทำงานไม่ได้จึงเห็นใจ
|
|
|
|
|