23 พฤศจิกายน 2567, 04:08:31
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 209 210 [211] 212 213 ... 472   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุยกับ เหยง 16 - พิเชษฐ์ เชื่อมฯ-เตรียมฉลอง 100 ปี หอซีมะโด่ง จุฬาฯ  (อ่าน 2591363 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 78 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5250 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 22:13:54 »

ค่อนข้างชัดเจนครับว่า ถนนที่เสียหายจากน้ำป่าไหลบ่าจากเขาลงมา ทำความเสียหายให้แก่ถนนเป็นอันมาก









      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5251 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 22:16:18 »

ก่อนเข้าโรงแรมป่าปัว ภูคา ได้แวะ "ร้านลำดวนผ้าทอ"



      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5252 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 22:24:29 »






      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5253 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 22:30:20 »

ถึงโรงแรมป่าปัว ภูคา พระอาทิตย์ก็เริ่มจะตกดินแล้ว และทราบว่า เหลือคณะของเราเพียงคณะเดียว
นักท่องเที่ยวท่านอื่นๆ เช็คเอ๊าท์ออกไปหมดแล้ว โดยกลับไปพักและเที่ยวในตัวเมืองน่าน
ส่วนรถตู้ที่จอดคู่กันอยู่นั้น เป็นรถของโีรงแรมครับ






      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5254 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 22:32:18 »

เราจึงตัดสินใจพักต่อที่โรงแรมป่าปัว ภูคา ซึ่งได้ชำระค่าห้องไปตั้งแต่วันจองแล้ว
ค่าห้องที่นี่ราคาคืนละ 900 บาทครับ
ทั้งที่ใจอยากจะกลับไปพักที่น่าน แต่เพราะใกล้ค่ำมาก เกรงการขับรถ"ช่วงหัวค่ำหรือโพล้เพล้"นั่นเอง
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5255 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 22:33:59 »

เช้าวันอังคารที่ 32 มกราคม 2555 ออกจากโรงแรมป่าปัว ภูคา ก็เดินทางกลับนครสวรรค์ตั้งแต่ 08.30 น.
ถึงนครสวรรค์ ประมาณ 16.20 น.ครับ
จบทริ๊ปท่องเที่ยวปีใหม่ครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5256 เมื่อ: 27 มกราคม 2555, 18:51:31 »

บทสัมภาษณ์ รมช. คมนาคม อดีตอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์


เปิดใจรัฐมนตรีใหม่ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ผมพร้อมลาออก ถ้ามีเรื่องคอร์รัปชั่น
วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:00:00 น.
 

เป็นที่จับตาในการตัดสินใจเปลี่ยนบทบาทจากอาจารย์นักวิชาการ จากรั้วจามจุรีของ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” มารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมใหม่ถอดด้าม ในวัย 46 ปี กับภารกิจในกระทรวงที่มีแต่เรื่องอื้อฉาวมากมายเกี่ยวกับผลประโยชน์อันมหาศาลของโครงการระดับหมื่นล้านแสนล้านบาท

และเรื่องราวที่ไม่ชอบมาพากลมากมายที่ยังคงเป็นปริศนาค้างคาไขกันไม่ออกอยู่ในทุกวันนี้  เขาจะมีเกราะในการป้องกันตัวอย่างไรติดตามได้ผ่านหน้าจอ”มติชนทีวี”

Q: อยากให้แนะนำประวัติส่วนตัวเล็กน้อย

ผมเรียนจบปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าเรียนเมื่อปี 2526 ตอนจบได้เกียรตินิยม ได้รับพระราชทานทุนมูลมิธิอานันทมหิดล ไปศึกษาต่อปริญญาโท ที่ MIT  และปริญญาเอก มหาวิทยาลัยอิลินอย ที่สหรัฐอเมริกา ในสาขาวิศวกรรมโครงสร้าง หลังจากเรียนจบทำงานที่สหรัฐอเมริกา 2 ปี กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ  ทำงานวิชาการมา 16 ปี เป็นรองศาสตราจารย์ เป็นผู้ช่วยอธิการบดี ทำงานดูแลทรัพย์สิน ของจุฬาฯ ก่อนลาออก และเปลี่ยนวิถีชีวิตมารับตำแหน่งทางการเมือง

Q: การตัดสินใจเข้ามารับตำแหน่งทางการเมือง ใครทาบทาม

ตื่นเต้นดีครับ ได้รับการทาบทามจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีโดยตรง ท่านถามว่า เป็นรัฐมนตรีมั๊ย โดยท่านนายกฯ บอกจะให้มารับผิดชอบงานที่กระทรวงคมนาคม ผมก็ตัดสินใจทันที คิดว่า ถึงจังหวะมีโอกาสทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติต้องไป  สมัยก่อนตอนได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล ผมไปกราบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านมีรับสั่งเว่า ทุนอานันทมหิดลไม่ได้กำหนดว่า กลับมาแล้วต้องรับราชการ พระองค์ท่านคิดว่า อยู่ในส่วนไหนสามารถช่วยประเทศชาติได้เหมือนกัน ผมคิดว่า มันขึ้นอยู่ที่เรามีปณิธาน มีแนวทางในการดำรงตนอย่างไร

Q: มองเรื่องโลจิสติกส์ของไทยมีจุดอ่อนอย่างไร

คำว่า”คมนาคม”กับ”โลจิสติกส์”ไม่ใช่อันเดียวกัน คือ คำว่า”โลจิสติกส์”คือ “ห่วงโซ่อุปทาน” ”การคมนาคมขนส่ง”เป็นหนึ่งข้อที่สำคัญในห่วงโซ่ของโลจิสติกส์ เพราะส่วนอื่นเอกชนบริหารลดต้นทุนของตัวเองได้เรื่อย ๆ แต่ถ้าไปดูต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยที่ผ่านมาประมาณ 50% ขึ้นอยู่กับการคมนาคมขนส่ง ซึ่งรัฐจัดการ เอกชนไม่มีทางเลือก ไม่สามารถลดต้นทุนลงได้

การคมนาคมมีปัญหา เพราะเราพึ่งถนนมากเกินไป สมัยรัชกาลที่ 5 พัฒนาระบบรางรถไฟดีมาก มีราง 3,000 กิโลเมตร แต่พอถึงจังหวะที่เรามีโอนจากกรมรถไฟหลวงมาเป็นรัฐวิสาหกิจ ต้นทุนการก่อสร้างทุกอย่างถูกโอนมาเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เป็นภาระที่หนัก ต่างกับกรมทางหลวง ซึ่งรัฐบาลจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมด

ต่อมารัฐบาลพยายามพัฒนาถนน เพราะมีปัญหาเรื่องคอมมิวนิสต์ด้วยให้เข้าสู่พื้นที่จะได้มีการพัฒนาให้เจริญ แต่ถนนคือตัวปัญหา เราควบคุมผังเมืองลำบาก พอตัดถนนผ่านตรงไหน มีการขยายตัวของเมืองไปตามแนวถนนสายหลัก (Ribbon Development) ผังเมืองของเรากระจายมาก ถ้าดูตัวเลขประมาณ 30% อยู่ในเมือง 70% กระจายไปทั่ว พอปัจจุบันน้ำมันแพงเราต้องมาเน้นระบบขนส่งมวลชน(Mass Transit System) มากขึ้น ปรากฎว่า เราไม่มีการวางระบบที่จะเอารถไฟไปลง เพราะเมืองกระจายหมด ทำให้การพัฒนายากขึ้น แต่ต่างประเทศพัฒนารถไฟ มีการขึ้น-ลงที่สถานีเท่านั้น เพราะฉะนั้นเส้นทางรถไฟจะเป็นตัวควบคุมทิศทางการขยายตัวของเมือง จะมีผังเมืองชัดเจน

วิธีแก้มี 2 วิธี  1)นำรถไฟไปลุยตรงที่ว่าง ๆ ไปสร้างเมืองใหม่ เหมือนที่ฮ่องกงทำ คือ เอารถไฟวิ่งไปตามที่ว่าง แล้วมีการพัฒนาเมืองที่สถานี จะต้องขาดทุนในช่วงแรก เริ่มมีเมืองมา จะมีดีมานต์มา ก็พัฒนาเป็นเมือง 2) สร้างล้อเมืองเดิมที่มีอยู่แล้วเหมือน BTS ช่วยสนับสนุนสิ่งที่เป็นอยู่ สิ่งสำคัญต้องมีระบบการขนส่งสนับสนุน (Feeder) ต้องนำคนกระจายไปที่เมืองที่มีอยู่แล้ว อย่างที่กทม.ทำทางเท้าลอยฟ้า(Sky walk) ผมเห็นด้วย ทำให้คนไปได้สะดวก โดยไม่ต้องขึ้นมอเตอร์ไซด์ ทางเดินเท้ามีหาบเร่แผงลอยวางกันเต็มไปหมด ทางเท้าลอยฟ้าจึงเป็นตัวช่วย เป็น Feeder อันหนึ่ง ต้องในราคาที่เหมาะสม

Q: นโยบายตอนนี้จะเน้นเรื่องระบบรางมากขึ้น

การแก้ปัญหาของถนนไปแก้ปัญหาในเรื่อง”คอขวด” เช่น เส้นไปสระบุรี-โคราช ความสามารถในการรองรับเต็มที่แล้วต้องไป หลังจากนั้นจะมาเน้นระบบรางวิธีแก้จะให้ระบบรางใช้งานได้ ต้องวางแผนร่วมกับผังเมืองเป็นหลัก ปัจจุบันหน่วยงานกรุงเทพมหานครเริ่มทำแล้ว มีข้อดี เช่น สัดส่วนการก่อสร้างอาคารต่อพื้นที่ดินที่มี(Floor Area Ratio-FAR) มีแรงจูงใจให้คนมาสร้างเมืองสร้างตึกสูงรอบสถานีมากขึ้น ผังเมืองต้องไปคู่กับรถไฟ

Q: ระบบโครงสร้างการคมนาคมปัจจุบันยังไม่ไหลคล่องตัว

คีย์หลักที่ผมมองเรื่องการผนึกกำลัง(Synergy) กระทรวงคมนาคมมีจุดแข็ง คือ หลายหน่วยงานอยู่ด้วยกัน มีทั้งกรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กพท.) แต่เวลาเราดูแผนที่ดูเป็นส่วน แยกแต่ละกรมไป สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำแผนของ 11 หน่วยงานมาเย็บเล่ม แต่ไม่มีแผนที่รวมอันเดียวเห็นหมด รถไฟฟ้าทางหลวง รถไฟ บขส. สนามบิน เพราะฉะนั้นนโยบายที่นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อยากจะทำ คือ การนำแต่ละหน่วยงานมาร้อยในแนวนอนให้เกิดการผนึกกำลังกันขึ้น

ยกตัวอย่างสถานีขนส่งหมอชิต ไม่มีรถไฟฟ้าไปลงเป็นไปได้อย่างไร สายใต้ใหม่ไกลมาก ไม่มีทางด่วนไปลง มันควรจะมีทางด่วนไปลง จากสถานีรถบัสวิ่งขึ้นทางด่วนออกไปเลย หรืออย่างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ไม่มีส่วนต่อนักท่องเที่ยวเดินเก้ ๆ กัง ๆ อยู่บนถนน เราต้องพยายามมองแนวนอนให้มากขึ้น จากปัจจุบันการทำงานเป็นแนวตั้ง มันก็จะผนึกกำลังกันได้

Q: นโยบายจะเริ่มแก้ปัญหาตรงไหนเป็นลำดับแรก

เวลาพูดถึงกระทรวงคมนาคม มักจะคิดถึงแต่โครงการก่อสร้างระดับ 10,000 ล้านบาทขึ้นไปถึง 100,000 ล้านบาท แต่จริง ๆ เราคือ ธุรกิจการให้บริการ ( Service Industry) อย่างโครงการขนาดใหญ่ก็ทำไปต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี  แต่อย่าลืมคุณภาพการบริการ เรื่องง่าย ๆ ที่ให้บริการประชาชนเราไม่ได้สนใจ รถติดหน้าด่านทำไมแก้ไม่ได้ รถตู้ที่จอดเกะกะทั่วเมือง รถติดทั้งเมือง บริการของพนักงานของขสมก.ผมว่า เรื่องพวกนี้ต้องใส่ใจด้วย ต้องมาขันน๊อตโครงการต่าง ๆ ที่ประชาชนเดือดร้อนอยู่คิดว่า ต้องทำคู่ขนานไป การผนึกกำลังของหน่วยงานต่าง ๆ ต้องทำ

Q: รฟท.มีทั้งเรื่องหนี้สิน และงานบริการที่ต้องแก้ไข

ตอนน้ำท่วมได้ประสานงานกับรฟท.มาก ผมว่าคนของรฟท.เป็นคอนที่มีสปิริต ตัวพนักงานมีจิตใจรักรถไฟ แต่ผมว่ามันอาจจะมีกรอบ หรือเรื่องการแบ่งส่วนงานที่ยังไม่ค่อยลงตัว เราเอาหนี้การก่อสร้างทุกอย่างไปให้รฟท. แต่การก่อสร้างถนน กรมทางหลวงใช้งบประมาณสร้าง นโยบายอาจไปดูโครงสร้างส่วนนี้ใหม่ ต้องแยกส่วน เหนือราง กับใต้ราง  ส่วนที่เป็นรางถือเป็นทรัพย์สินของรัฐไป เรื่องหนี้คงค้างต้องจัดการให้รฟท. แต่การทำงานของพนักงานต้องเหมือนเดิม

Q: แอร์พอร์ตลิงค์จะแก้อย่างไร

แอร์พอร์ตลิงค์คือ กลยุทธ์ (Strategic)ของประเทศ  เราวิ่งรถไฟเอง ขณะที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม) .มีหน้าที่สร้าง แต่คนปฏิบัติเป็นเอกชน มีข้อจำกัดเรื่องค่าตั๋ว ต่อไปเราจะมีการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น แต่เสียดายตอนนี้การบริหารแอร์พอร์ตลิงค์ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าไหร่ เท่าที่ได้รับรายงานในเบื้องต้น พวกชิ้นส่วนยังได้ไม่ค่อยครบ การเชื่อมต่อผู้โดยสาร ทางเชื่อม ซึ่งที่ผ่านมารฟท.ก็ได้งบแล้ว แต่ยังไม่ลงมือ ก็ต้องเร่งรัด

ต้องทำแบบเอกชน เหมือนในฮ่องกง พอมาถึงมีรถบัสขับเวียนส่งไปตามโรงแรม ซึ่งแถวสถานีแอร์พอร์ตลิงค์มีโรงแรมหลายแห่ง ออกมาทางประตูน้ำ การทำทางเชื่อมต่อต้องทำให้ดี อาจใช้เวลาสร้างประมาณ 6 เดือนก็เสร็จ ปรับปรุงเอารถเมล์เข้ามา จัดเส้นทางรถเมล์ให้เข้ามาง่ายขึ้น จัดเดินสายมีรถตู้ ตัวสถานีสามารถจัดพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีรถไฟมักกะสัน ผมคิดว่า แอร์พอร์ตลิงค์เป็นตัวอย่างที่เราต้องทำให้ได้ ไม่อย่างนั้นอนาคตเราเหนื่อยในการปฏิบัติต่อไป

Q: โครงการรถไฟรางคู่ และรถไฟความเร็วสูง

รางคู่เริ่มดำเนินการไปแล้ว ระบบรางเป็นที่ถกเถียงกันเรื่องขนาดความกว้างของรางรถไฟ (Railway Gauge) ระหว่างขยายขนาดรางรถไฟความกว้าง 1 เมตร(Meter gauge) กับรางรถไฟขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร( Standard Gauge) ความเห็นส่วนตัวผมยังไม่ได้เรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ผมเห็นว่า ควรจะมีทั้ง 2 ระบบ หลายประเทศก็มี รางรถไฟความกว้าง 1 เมตรของเดิมทั่วประเทศมีประมาณ 4,000 กม.ต้องบำรุงรักษา หัวรถจักรที่มีเป็น Meter gauge แต่จะแบ่งเป็นประเภทของรถที่วิ่ง รถโดยสารวิ่งด้วยความเร็วน้อย วิ่งสถานีถี่หน่อย และมีรถไฟความเร็วสูงวิ่งเชื่อมเมืองใหญ่ 250 กม.ต่อชม. มี Feeder เข้าสู่ระบบใหญ่

เช่น รถไฟความเร็วสูงให้วิ่งกทม.-เชียงใหม่ ,กทม.-โคราช อย่างน้อยที่สุดระยะทางที่เหมาะสม 700 กม.ถ้าหากสั้นเกินไป ขับรถง่ายกว่า อีกโหมดจะเชื่อมจากหนองคาย-ลาว-จีน อันนี้ต้องคิดให้ดี เพราะจีนหวังเราเป็นเส้นทาง(Corridor)เชื่อมออกไปทางด้านใต้ ปัจจุบันทางรถไฟในลาวแถบจะไม่มี มีเส้นทางรถไฟของไทยเพียง 2 กม.ไปบ้านท่านาแล้ง ส่วนอื่นจีนยังไม่ได้พัฒนา คงไม่ใช่เรื่องง่าย คงต้องดูดี ๆ ว่า จีนเอาแน่แค่ไหนกับเส้นทางนี้  ส่วนเส้นอื่น เชียงใหม่มีโอกาสสูงสุด และมีต่อไประยองใช้แอร์พอร์ตลิงค์เชื่อมต่อ และมีต่อหัวหิน ที่อยู่ในนโยบายพรรค เป็นเรื่องที่สนข.กำลังศึกษาอยู่   

Q: รถไฟความเร็วสูงลงทุนสูง

เส้นกทม.-เชียงใหม่ ถ้าเรามองเฉพาะเส้นทางรถไฟ มีแต่เสียเงิน แต่ต้องมองการพัฒนาอย่างอื่นประกอบไปด้วย เช่นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาเมืองใหม่ เหล่านี้ ถ้าเกิดเรามองภาพรวมอย่างนี้มันจะมีเม็ดเงินเข้ามาช่วยในการลงทุนได้ ต้องมองการพัฒนาเมือง อาจจะต้องดูร่วมกับนิคมอุตสาหกรรม ร่วมกับการเคหะแห่งชาติ ตลอดเส้นทางต้องพยายามผนึกกำลังหลาย ๆ องค์กรมาร่วมกัน

ที่ผ่านมาเราพัฒนาระบบราง  รถไฟใต้ดิน ผลประโยชน์อยู่กับรัฐน้อย ผลประโยชน์ตกอยู่กับเอกชน เพราะราคาที่ดินปรับขึ้นมาก แต่รัฐไม่สามารถได้ประโยชน์ส่วนนี้กลับคืนมาสู่ประชาชนได้ ผมว่าแนวคิดต่อไปต้องมองประเด็นนี้ แต่เนื่องจากพรบ.รถไฟฟ้าใต้ดิน เราไม่สามารถนำที่ดินมาพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้ เพราะว่ามันผิดวัตถุประสงค์

Q: นโยบายพรรคบอกจะจัดหาให้คนมีรายได้น้อยมีบ้านอยู่ในเมืองได้

จะเริ่มแล้ว ต้องไปคุยกับการเคหะเรื่องนี้ ปัจจุบันคนมีรายได้ปานกลาง ถึงสูงที่จะใช้รถไฟฟ้า คนมีรายได้น้อยยาก ที่อยู่ไม่มี เพราะแพง หลักการต้องไปหาที่ดิน ในเส้น”สีเขียว”ไปสมุทรปราการ ที่ไหนเป็นที่ราชพัสดุ หรือที่ดินของกรมธนารักษ์ มีที่ว่างต้องสร้าง 20,000 ยูนิตเลย ให้คนมาซื้อบ้านแถมการ์ดขึ้นรถไฟฟ้า ที่ดินที่ใช้อาจจะเป็นที่ดินของรัฐ อาจจะเป็นลักษณะการเช่าระยะยาว  หรือการเคหะต้องไปซื้อที่ดิน เพราะรฟม.ทำไม่ได้ติดเรื่องพรบ.ที่ดินเวรคืนมา จะให้รฟม.ไปซื้อที่ดินก็ทำไม่ได้  ผมว่า หลายคนอาจจะเช่าบ้านอยู่ เป็นทางเลือกให้กับประชาชน

Q: การแบ่งงานในกระทรวงจะรับผิดชอบด้านไหน

ยังไม่ได้แบ่งงานกัน  แต่อย่างที่บอกดูในแนวนอน เพราะฉะนั้นในแต่ละแท่งอาจจะมีโครงการยุทธศาสตร์ กระจายกระจายอยู่ ท่านอาจจะให้ผมมาช่วยในด้านวิชาการของแต่ละโครงการ เหมือนช่วยดูด้านเทคนิคแต่ละอัน เพื่อให้ร้อยเป็นเรื่องเดียวกัน มาช่วยทางด้านวิชาการผลักดัน ดูปัญหาว่า ควรจะทำวิธีไหน ในแต่ละแห่งจะมีโครงการยุทธศาสตร์แฝงอยู่ทุกอัน เช่น  โครงการท่าเรือปากบารา , โครงการสุวรรณภูมิเฟด 2 ,ขสมก.มีการซื้อรถเมล์ใหม่ พวกนี้เป็นโครงการซึ่งต้องพยายามเอานำร้อย แล้วดูด้านเทคนิคว่า ตามหลักวิชาการควรจะเป็นแบบไหนถึงจะได้ประโยชน์สูงสุด

Q: ผลงานระยะช่วง 3-4 เดือนที่จะเห็นเป็นรูปธรรม

โครงการขนาดใหญ่คงไม่เห็นผลทันที แต่โครงการที่ขันน็อต พวกที่ทำความเดือดร้อนให้ประชาชนคงต้องเร่ง เช่น รถตู้จอดเกะกะ ,รถติดหน้าด่านทางด่วน  ,รถเมล์จอดไม่ตรงป้าย ,พนักงานบริการไม่ดี หรือตม.ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบินสุวรรณภูมิต่อคิวกันยาว เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ทำได้ โดยไม่ต้องลงทุนด้วย หรือกรมทางหลวงก่อสร้างแล้วไม่ปลอดภัย วางของเกะกะกีดขวาง ไม่มีไฟจราจร เรื่องพวกนี้ไม่ต้องลงทุน ถ้าเราขันน๊อตควบคุมจริง ๆ ผมว่า 2 เดือนเห็นผล ทุกหน่วยต้องไปพร้อมกัน รวมทั้งโครงการขนาดใหญ่ แผนยุทธศาสตร์ก็ต้องทำ แต่ทุกอย่างต้องทำคู่ขนานกันไปได้ เพราะใน 1 หน่วยงานมีทั้งแผน ทำพร้อมกันได้หมด

Q: ปรับปรุงบริการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)

ปัจจุบันคนนั่งรถเมล์ต่อวัน 3,400,000 เที่ยวต่อวัน รถไฟฟ้า BTS แค่ 6 แสนเที่ยว รถไฟฟ้าใต้ดิน 2 แสนเที่ยว ที่ผ่านมาเราไปทุ่มหลายหมื่นล้าน แสนล้านบาทให้รถไฟฟ้า แต่รถเมล์ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ใช้ คุณภาพแย่มาก คิดว่าเราต้องทำปรับปรุงบริการของรถเมล์ แต่ต้องให้โปร่งใส่ราคาต้องตรวจสอบได้  ขณะเดียวกันต้องจัดระเบียบรถตู้  คงต้องเชิญทางกทม.มาคุยเรื่องการทำป้ายรถเมล์ใหม่ให้คุ้มแดดคุ้มฝนได้

Q: การแก้ปัญหาน้ำท่วมในส่วนที่กระทรวงคมนาคมรับผิดชอบ

เรื่องน้ำท่วมเป็นงบประมาณฉุกเฉินที่กระทรวงคมนาคมได้มา จะซ่อมแซมส่วนที่เสียหายมี 6 หน่วยงานที่ร่วมกันรับผิดชอบกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย บริษัท ขนส่ง จำกัด(บขส.) ,องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) และกรมเจ้าท่า  ได้งบประมาณ 20,000 กว่า ล้านบาท เรื่องนี้หลักสำคัญคือความโปร่งใส และรวดเร็ว แต่ถ้าไม่โปร่งใส ผมก็อยู่ไม่ได้โครงการนี้ ผมเรียนกับท่านหัวหน้าหน่วยงานไปว่า มันเป็นงบที่มาช่วยเหลือประเทศชาติแล้วถ้ามีข้อครหาเรื่องไม่โปร่งใสมันอยู่ไม่ได้ทุกคน

วันนี้ได้สั่งการว่า ผมจะไปตรวจงานเองทุกวันเสาร์ ทุกพื้นที่ เราจะไปดู“ซุ้มตรวจ”เลยว่า จะเป็นอย่างไร ต้องดูทั้งก่อน และหลัง ประเด็นคือ การซ่อมต้องดูว่า เสียหายจริงหรือเปล่า และซ่อมแล้วดีหรือเปล่า  และได้สั่งการให้นำขึ้นเว็ปไซด์ทั้งหมดให้เสร็จภายใน 1 สัปดาห์ ทุกโครงการมีกรมทางหลวงมี 1000 กว่าโครงการ ทช.มี 600 โครงการ ก่อนก่อสร้างเป็นอย่างไร หลังการก่อสร้างเป็นอย่างไร ระหว่างการก่อสร้าง ราคาเท่าไหร่ อยากให้พี่น้องประชาชนเข้ามาช่วยกันตรวจสอบ ถ้าทำไม่จริงให้แจ้งมา มอบหมายให้รักษาการปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นคนรับผิดชอบ การทำงานเราไม่พยายามจัดจ้างพิเศษ ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ถ้าเป็นโครงการกลยุทธ์จำเป็นจริง ๆ ต้องจัดจ้างพิเศษ ทางหน่วยงานที่ทำโครงการรายงานล่าสุดจะแล้วเสร็จทั้งหมดเดือนกันยายน 2555 แต่ว่าต้องลงไปกำกับอีกที

Q: AEC มีอะไรที่กระทรวงคมนาคมต้องเตรียมรองรับในอีก 3 ปี

ผมต้องไปดูอีกทีจะเปิดการบินทางอากาศ เรื่องกฎ ระเบียบ การผ่านแดน สินค้าผ่านแดน รถวิ่งผ่านกันอย่างไร รถยนต์คนละประเทศวิ่งอย่างไร การเข้ามาของผู้โดยสารต่างประเทศที่อยู่ในสมาชิก 10 ประเทศที่ตกลงกันจะมีระเบียบวิธีปฏิบัติอย่างไร เพราะจะมีเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานคนด้วย ในอาชีพบางสาขาที่จะเปิดอิสระ ต้องไปดูเรื่องวีซ่าเป็นอย่างไร มันคงมีหลายมิติที่ต้องไปดู ผมยังไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ต้องดูระบบถนนที่มาเชื่อมต่อกัน เช่น ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) R9 และ R3 ด้านบน ต้องพัฒนาให้เข้มแข็งชึ้น ขณะเดียวกันรถไฟเชื่อมโยงไปต่างประเทศต้องทำให้ดีขึ้น อย่างรถไฟความเร็วสูงที่จะไปเชื่อมจีนคงไม่ทัน

Q: โครงการ”ท่าเรือปากบารา”

โครงการนี้ที่ผ่านมามีการต่อต้านเยอะ เป็นปัญหาที่เรากังวล อนาคตต้องมีหน่วยงานในการเจรจากับมวลชนขึ้นมาต่างหากเลย ผมคิดว่าทุกอย่างเลยมันไม่ใช่ง่าย ๆ แล้ว มันเป็นเรื่องสำคัญกับประเทศชาติ แต่เวลาอยู่ใกล้ ๆ เราก็ไม่ชอบ เป็นธรรมดา เหมือนโรงผลิตกระแสไฟฟ้า เรารู้ว่ามันจำเป็น แต่มาอยู่ใกล้บ้านเรา เราก็ไม่เอา มันเป็นเรื่องทัศนคติ เป็นเรื่องที่ต้องคุยกัน

Q: โครงการทวาย

โครงการทวายคงดูประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก ในแง่การเชื่อมต่อ คือ ถนนที่จะไปเชื่อมสายบางใหญ่-บ้านโป่ง ต่อทางกาญจนบุรี ต่อจากนั้นไปคงไม่ใช่ของเราแล้ว คงต้องดู มันมีหลายแฟคเตอร์เรื่องความเสี่ยง เรื่องที่มันไม่ใช่ที่ดินของเรา 100% ตอนนี้กรมทางหลวงมีโครงการก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์อยู่ อันนี้คงต้องดูให้ดี เพราะเราเป็นแค่ทางผ่าน ผมยังไม่ได้ดูรายละเอียดของโครงการทวายมาก สุดท้ายแล้วเงื่อนไขทางออกจะเป็นอย่างไร

Q: โครงการขนาดใหญ่ปี 2555 เปิดประมูลรถไฟฟ้า

เป็นไปตามแผน สีเขียวเซ็นไปแล้วเมื่อปลายปี 2554  ปี  2555 สายสีแดง บางซื่อ-รังสิตอยู่ในกระบวนการประมูล แต่ยังมีปัญหายังต่อรองกันไม่เสร็จจากนั้นเส้นทางต้องต่อไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่รังสิตอีก 10 กม.
เส้นสีชมพู เส้นสีเขียว ส่วนบน เส้นนี้ก็น่าสนใจ เพราะคนเยอะ

Q: รถไฟรางคู่สายที่ 3

ที่จำเป็นจากฉะเชิงเทรา ขึ้นไปทางแก่งคอย  เพราะจะช่วยเป็นเส้นทางลัดตู้คอนเทรนเนอร์ขนส่งไปทางอีสาน คงต้องดูเรื่องสินค้าเป็นหลักก่อน จะต้องมีสถานี ICD หลักการต้องพยายามทำให้เป็น Door-to-Door  ต้องมีศูนย์กระจายสินค้า หลักการของโลจิสติกส์การขนส่งคือ Door-to-Door  ต้องพยายามเชื่อมโยงยังไงให้ไปถึงจุดมุ่งหมายได้ ต้นทาง-ปลายทาง หรือการขนส่งทางรถยนต์ก็ได้ แล้วใช้ฟีดเดอร์ เหมือนรถไฟฟ้า สายสีม่วงจะฟีดอย่างไร ไม่อย่างนั้นคนก็มาขึ้นรถลำบาก สีม่วงน่าเป็นห่วงเหมือนกัน

Q: นโยบายพรรค 20 บาทตลอดสายทุกเส้นทาง

ต้องรอนิดหนึ่ง ต้องทำระบบตั๋วร่วมที่ใช้ด้วยกันหมด

Q: การคมนาคมทางน้ำ

การเดินทาง”ทางเรือ” ทางน้ำ อย่างคลองแสนแสบ มีคนใช้บริการต่อวันสูงถึง 40,000 คน แต่เรือมันไม่ค่อยชวนนั่งเท่าไหร่ ต้องมีผ้าใบ เรือต้องกันน้ำหน่อย รวมถึงเรือด่วนในแม่น้ำเจ้าพระยา คนจะมาขึ้นเรือด่วนอย่างไร มันไม่มีที่สะดวกเท่าไหร่ ต้องทำลานจอดรถกว้าง ๆ อาจจะไปหาที่ดินของหลวงสักแห่ง อาจจะแถวบางใหญ่ที่มีหมู่บ้านคนเยอะ ๆ ให้รถจอดแล้วมีท่าเรือใหญ่ ๆ นำคนเข้ามา แต่ต้องตรงเวลา  เรือเป็นสิ่งที่ทำได้เร็ว และไม่ต้องลงทุน มันมีทางอยู่แล้ว เราจะไปดูให้ครบวงจร ต้องดูพฤติกรรมผู้บริโภคว่า เขาอยากได้อะไร  จะเพิ่มให้เขาได้อย่างไร คงต้องไปดูรายละเอียด แต่พยายามดูตรงนี้จะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างไร เพราะแถวบางบัวทอง บางใหญ่ที่น้ำท่วมมาก ๆ บริเวณนั้นคนอยู่มาก ปัจจุบันรถค่อนข้างติด

Q: Easy Pass ที่มีปัญหามาก ๆ  จะแก้อย่างไร

วันก่อนก็เชิญการทางมานั่งคุย ต้องไปดูก่อนว่า ทำไมคนถึงไม่ซื้อ ผมว่า พูดถึงเงินล่วงหน้า อันนี้ก็เป็นปัญหา ผมถามว่า ทำไมไม่ทำเหมือนเครดิตการ์ด ใช้ไปก่อน แล้ว แล้วมาตัดสิ้นเดือน อย่างนี้คนชอบ คิดง่าย ๆ ต้องเสนอให้การทาง เรารู้อยู่แล้วว่ารถคันไหน อาจต้องไปคิดวิธีควบคุมจะทำได้อย่างไร

Q: ทางด่วนใหม่จะตัดเพิ่มหรือไม่

ต้องดูการผนึกกำลังระหว่าง กรมทางหลวงจะไปทางไหน แล้วกทพ.จะไปทางไหน 2 หน่วยงานนี้ วางแผนไปเหมือนกัน บางทีวางแผนขีดแนวต่างคนต่างทำ พอมาทาบเป็นเส้นเดียวกันเลย ต้องมาคุยกันว่า ใครจะทำอย่างไร แต่เราเห็นประโยชน์แล้ว แต่เราเห็นประโยชน์ของทางด่วนแล้ว ตอนน้ำท่วม ต้องจัดลำดับความสำคัญจะไปเส้นไหน เพราะทรัพยากรเราจำกัด

Q: เงินลงทุนในโครงการต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคม

ปัจจุบันรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคมมีหนี้สาธารณะมากที่สุด 200,000 ล้านบาท คงต้องดูว่า มีวิธีการไหนที่จะไฟแนนซ์โปรเจ็คช่วยประเทศชาติได้บ้าง

Q: มอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราชจะได้เกิดหรือไม่

กำลังคุยอยู่ บางปะอิน-โคราชน่าสนใจ ปัจจุบันเรามีเงินค่าผ่านทางจะเก็บเข้ากองทุนต่างหาก เกือบ 10,000 ล้านบาท มีเงินสดเข้ามาวันละเกือบ 10 ล้านบาท ถามว่า หากเรานำตรงนี้เข้ามาทำ”ซีเคียวริไทซ์”ได้หรือไม่ ถ้าเรามาคิดแบบนอกกรอบ นำเงินก้อนมาพัฒนา ได้เส้นนี้ เงินเข้ามา ไป”ซีเคียวริไทด์”อีกก้อน เราคิดแบบนี้ได้หรือไม่ จากเดิมเป็นแนวคิดแบบ PPP ซึ่งผมว่า พอเอกชนเข้าไปเราก็ควบคุมอะไรยาก จะไปปรับลดค่าผ่านทางช่วยประชาชนครั้งหนึ่งก็เหนื่อยเหมือนกัน แต่คงต้องดูให้รอบคอบว่า อย่างไหนดี ปัจจุบันมีเครื่องมือมากที่เราไม่ต้องพึ่งงบประมาณ อาจต้องคิดให้นอกกรอบนิดหนึ่ง เราต้องหารือ

Q: นอกจากการซีเคียวริไทต์ น่าจะมีวิธีการระดมเงินด้วยวิธีอื่นอย่างไร

อาจจะต้องไปคู่กับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือไม่ เช่น เราไปร่วมกับการเคหะแห่งชาติ การนิคมอุตสาหกรรมพัฒนาโนตเส้นทางผ่านทำให้ที่ดินมีมูลค่า มีรายได้กลับคืนมา บางส่วนเอามาส่งเสริมการลงทุนได้หรือไม่

Q: ถ้าให้สัมปทานกับเอกชน และได้สิทธิในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ก็อาจจะเป็นรูปแบบหนึ่ง เหมือนกับที่รถไฟฟ้าฮ่องกง จะเห็นว่า รายได้ 60% มาจากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 40% มาจากการเดินรถ เขาถือว่า สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่ดิน รัฐก็ช่วยเรื่องการเวนคืนที่ดิน ค่าก่อสร้าง ชำระภายหลัง แต่อันนี้เป็นแค่แนวคิด อาจจะมีกรอบเรื่องความเหมาะสม วันนี้ก็เรียนผู้บริหารกระทรวงว่า ต้องคิดนอกกรอบ ไม่ใช่ไปขอแต่เงินงบประมาณ เป็นหนี้สาธารณะ มันง่าย แต่มันไม่ท้าทาย

Q: ฝันอยากทำอะไรสิ่งแรกเมื่อได้เข้ามาเป็นรัฐมนตรีในแง่ของงาน

สิ่งแรกผมคงมาดูแผนยุทธศาสตร์ภาพรวมทั้งหมด ถ้าเกิดแผน มันไม่ตรงใจก็ขับเคลื่อนลำบาก สิ่งแรกคงต้องดูแผนนิดหนึ่งว่า โครงการไหนควรทำก่อนหลังอย่างไร พอแผนนิ่งก็เริ่มขับเคลื่อน พอเราดูแผนจะเห็นภาพรวมว่า อะไร ตรงไหน อย่างไร สุดท้ายต้องดูที่ประชาชนต้องคุณภาพชีวิตดีขึ้น ทำในกรอบที่จะทำได้ อย่างที่ผมบอกบางทีเราไปเน้นโครงการขนาดใหญ่มากเกินไป เน้นแต่อีก 10 ปีกว่าจะเห็น แต่ปัจจุบันมีหลายอย่างที่ประชาชนต้องทนดำเนินชีวิตอยู่ ต้องทำควบคู่ไป

Q: เรื่องการรั่วไหลจะทำอย่างไร เพราะงบประมาณมาก

อันนี้คือสิ่งที่ผมกลัว เรื่องทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่ มีปัจจัยเดียว ราคาที่จ่ายกับสิ่งที่ทำมันมีช่องว่างมากที่จะไปจ่ายได้ ถามว่าทำอย่างไรจะให้ช่องว่างอยู่ในภาวะที่เหมาะสม ราคาต้องถูกต้อง คุณภาพต้องดี ไม่ใช่ราคากลางถูกต้องแต่ไปทำของห่วย แนวคิดของผมคือ จะจัดตรวจสอบคุณภาพงาน สมมุติคุณไปรับงานก่อสร้างของกรมทางหลวง 1 ปีต้องมีการประเมินว่า ที่สร้างไปแตกร้าว เสียหายมีการจัดเกรดผู้รับเหมา ทีผ่านมาลักษณะงานของหน่วยงานหลวง คือ จะจัดลำดับผลงานที่เสร็จที่ใช้อยู่ปัจจุบันที่ผมเข้าใจ แต่ไม่ได้จัดคุณภาพของงานที่แล้วเสร็จ ไม่เหมือนเอกชน

อีกอย่างคือ เรื่องที่ปรึกษาทำราคากลาง ถ้าที่ปรึกษาทำราคากลางผิด ทำให้มีช่องว่างเยอะ คือ กลัดกระดุม ถ้าคุณกลัดกระดุ้มเม็ดแรกผิด ก็ไล่ไม่มีทางกลัดถูกได้ ผมก็ต้องมอนิเตอร์ที่ปรึกษาต่าง ๆ กับคุณภาพของผู้รับเหมา พยายามเอาส่วนต่างให้น้อยที่สุด เหมือนธุรกิจ  พออย่างนี้แล้วโอกาสที่จะไปให้เบี้ยใบ้รายทางจะไม่มี ผมถึงบอกที่ปรึกษาต้องดูให้ดี ถ้าทำผิดพลาดต้องปรับที่ปรึกษา ที่ผมบอกเป็นเรื่องคุณภาพ ทำแล้วต้องแก้แบบเยอะหรือไม่ เป็นเรื่องของคุณภาพ

Q: กรมทางหลวงบอกเวลาคิดราคากลางยึดตามราคาของกระทรวงพาณิชย์

ถ้าราคากลางเขาแม่นก็ต้องมาดูคุณภาพ ว่ามันสมราคาหรือไม่ ไม่ใช่ราคานี้ใส่เหล็กครึ่งหนึ่ง พอผ่านไป 1 ปีร้าว ต้องไปดูคุณภาพกันในอนาคต มันอาจจะเป็นความฝัน แต่ต้องพยายามคิดว่า จะทำอย่างไร

Q: การตรวจสอบคุณภาพควรมีหน่วยงานอิสระ

ก็อาจจะต้องเอาองค์กรวิชาชีพมาช่วยกันดู เช่น เอาทริสเรตติ้งมาช่วยดูได้หรือไม่ อันนี้เป็นไอเดีย แค่ฝัน นี่มาเล่าความฝันให้ฟังก่อน อาจจะถามหน่วยงานก่อนว่า เขาคิดยังไง

Q: กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบทจะมีการแบ่งเกรดแบ่งชั้นผู้รับเหมาอยู่แล้ว ต้องโละใหม่หรือไม่

อันนี้เป็นแค่ไอเดีย คงไม่โละ แต่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาบ้าง ยกตัวอย่างง่าย ๆ เราอยู่ในภาคเอกชนเวลาดูผู้รับเหมาต้องดูคุณภาพ เจ้าไหนผลงานดี ไม่ดี ของราชการดูแค่ว่า เคยทำงานก่อสร้างถนนขนาดนี้มาแล้ว ดูแค่ผลงาน หากเราไปจัดคุณภาพคงจะคึกคักกัน ปรับปรุงบ้าง

Q: ถ้ามีสัญญาณจากข้างบนหรือใบสั่งจากข้างบนลงมาว่าจะเอาโครงการนี้ท่านจะทำอย่างไร

ถ้าทนไม่ได้ ก็ทนไม่ได้ รอดูก่อน เรื่องใต้โต๊ะต้องไปแก้ที่ต้นเหตุว่า ให้ได้เพราะอะไร เพราะมีส่วนต่างเยอะ ถ้าส่วนต่างน้อยเขาอยู่รอดได้แค่ธุรกิจมันก็จะลดลง แต่ปัจจุบันช่องว่างอยู่เยอะก็มีใต้โต๊ะพวกนี้

Q: ถ้ามีสัญญาณหรือใบสั่งจากข้างบนลงมาว่าจะเอาโครงการนี้ท่านจะทำอย่างไร

เรื่องคอร์รัปชั่น ผมคิดว่าเรามีจุดยืนที่มั่นคง ถ้าทนไม่ได้ เราก็ลาออก

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327638523&grpid=01&catid=05&subcatid=0504

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=hy0PR_gUJvM" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=hy0PR_gUJvM</a>
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5257 เมื่อ: 27 มกราคม 2555, 18:56:34 »

ตามข่าว เลือกอธิการบดี ท่านใหม่.....


สภาจุฬาฯ เสนอ “หมอประเวศ” เป็นประธาน กก.สรรหาอธิการบดีฯ
26 มกราคม 2555 19:37 น.


       มติที่ประชุมสภาจุฬาฯเสนอ ตั้่ง “หมอประเวศ” เป็นประธาน ย้ำ ต้องรอว่า ตอบรับหรือไม่ เชื่อกระแสข่าวด้านลบ อาจเกิดจากผู้ไม่หวังดี
       
       ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวภายหลังการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 741 โดยได้มีวาระการพิจารณาการคัดเลือกประธานคณะกรรมการกรรมการสรรหาอธิการบดี ภายหลังที่ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ประธานที่ประชุมฯ ได้มีมติเสนอ ตั้ง ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ของสภาฯ โดยจะต้องรอว่า ศ.นพ.ประเวศ จะรับตำแหน่งหรือไม่
       
       "สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น จากการสอบถามข้อเท็จจริงจากกรรมการสรรหาอธิการบดีฯ พบว่า มีความเห็นไม่ตรงกัน มีความแตกต่างกันในกรรมการสรรหา จนหาข้อสรุปไม่ได้ เมื่อเป็นอย่างนั้น ประธานกรรมการสรรหาฯจึงลาออก ดังนั้น ที่มีกระแสข่าวว่าเป็นความแตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่ายในจุฬาฯ นั้น ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะบุคลากรของจุฬาฯ มีวุฒิภาวะ เรื่องการสรรหาอธิการบดีฯ เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในเรื่องมหาวิทยาลัย มีคนเหมาะสมเป็นได้หลายคน หน้าที่กรรมการสรรหา คือ เลือกคนที่ดีที่สุดแก่จุฬาฯ ทั้งนี้ เชื่อว่า ศ.นพ.ประเวศ จะรับตำแหน่งประธานคณะกรรมการสรรหาฯ คนต่อไป เพราะท่านเป็นคนอะลุ่มอล่วย และรักษาความยุติธรรมได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม อยาก ฝากให้กรรมการสรรหา จัดดำเนินการอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม หาข้อสรุปร่วมกันให้ได้” ศ.นพ.จรัส กล่าว
       
       ทั้งนี้ กรรมการสภามหาวิทยาลัยชุดปัจจุบัน จะหมดวาระในวันที่ 6 ก.พ.นี้ ซึ่งหากเรื่องนี้ยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้น กรรมการสภาฯ ชุดใหม่ สามารถดำเนินการต่อได้ เพราะไม่ว่าชุดใหม่ก็ดำเนินการได้เช่นเดียวกัน

 
 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9550000011994
 

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5258 เมื่อ: 27 มกราคม 2555, 19:46:52 »

จาก "บรรหาร" ถึง "มังกรไฟ" เมื่อ "พลุระเบิด" คือสัญญาณเตือน หรือแค่ลางร้าย?
วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 21:21:21 น.

วิศิษฎ์ เตชะเกษม


ภาพจากสนุกดอทคอม

ภายหลังที่เกิดเหตุการณ์พลุระเบิดในงาน "ตรุษจีนสุพรรณบุรี ปีทองมังกรสวรรค์" ที่จ.สุพรรณบุรีนั้น ถือว่าเป็นข่าวใหญ่พอสมควร

ล่าสุด เทเลกราฟ สื่อชื่อดังของอังกฤษ ได้นำคลิปนาทีอันน่าตื่นตาตื่นใจท่ามกลางคนในหมู่บ้าน เมื่อช่วงค่ำวันของวันที่ 24 ม.ค.ที่ผ่านมา เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักข่าวเทเลกราฟ และถูกนำไปโพสต์ลงบนยูทูป

ส่วนความคืบหน้าล่าสุดนั้น นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ระบุว่า แรงระเบิดทำให้ประชาชนเสียชีวิต 4 คน ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายหลายร้อยหลังคาเรือนจากเหตุเพลิงไหม้ และพลุที่ระเบิดนั้นขยายเป็นวงกว้างในรัศมีราว 4 กิโลเมตร

เบื้องต้นคณะกรรมการการจัดงานจะรับผิดชอบในส่วนค้าเสียหาย พร้อมกับดูแลญาติผู้เสียชีวิต และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทุกราย ส่วนรายละเอียดของสาเหตุพลุระเบิดอยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าเกิดจากการผิดพลาดจาการประมาทของเจ้าหน้าที่ควบคุมการจุดพลุ หรือขัดข้องจากวัสดุอุปกรณ์

จนถึงขณะนี้ ยังมีพลุที่เตรียมไว้จุดในงานคืนต่อไปอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้อายัดไว้ และห้ามเคลื่อนย้ายพลุออกจากพื้นที่อย่างเด็ดขาด โดยจะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการให้ประชนได้รับทราบรายละเอียดต่อไป

ทว่าสิ่งดังกล่าวเกิดจากความประมาท ก็ต้องมีการดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

ขณะที่อีกมุมหนึ่ง หลายคนอาจจะมองว่าเป็นความโชคร้าย โดยเฉพาะปี "มังกร"

แต่ความเชื่อทางด้าน "ซินแส" หรือทางด้านโหราศาตร์จีน ไม่ว่าจะเป็นมังกรพ่นน้ำ หรือพ่นไฟ คงจะเป็นเรื่องของตำแหน่งแห่งหน ที่มองว่าไม่ถูกตาม "ฮวงจุ้ย" อยู่ดี

เป็นที่ทราบกันก็คือว่า หัวมังกรสวรรค์ในงานตรุษจีนที่สุพรรณบุรีจะหันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และหางมังกรจะชี้ไปทางทิศตะวันออก และตั้งอยู่ด้านซ้ายของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองหรือทางด้านทิศใต้

ขณะที่ "มาโนช  ประภาษานนท์" ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูฮวงจุ้ย เปิดเผยผ่าน "มติชนออนไลน์" ถึงอุบัติเหตุพลุระเบิดในงานพิธีเปิดงานฉลองเทศการตรุษจีนว่า เรื่องดังกล่าว มองได้ 2 แบบ แบบแรก เป็นเรื่องอุบัติเหตุทั่วๆ ไปที่เกิดจากความประมาท  อีกแบบหนึ่งคือ มีประเด็นของการทำผิดข้อห้ามในวันตรุษจีน  เนื่องจากวันตรุษจีนปีนี้มาเร็วกว่ากำหนด ปีจะเปลี่ยนไป และดาวประจำทิศต่างๆ ก็เปลี่ยนไปด้วย คือในเดือนมกราคมนี้ทิศใต้เป็นทิศอสูร มีข้อห้ามเกี่ยวกับการเคลื่อนย้าย ขุดเจาะ ทุบ เคาะ ต่อเติมใดๆ ทั้งสิ้น หากกำลังผู้ประกอบพิธีกำลังไม่ดี ก็จะเกิดเรื่องรุนแรงขึ้นได้อย่างทันทีทันใด

จากข้อมูลที่ระบุว่า มีการไปตั้งจุดปล่อยพลุตรงทิศใต้พอดีนั้น ซึ่งปกติพื้นที่ตรงบริเวณนั้นใกล้กับชุมชน หากมองในแง่ทั่วๆ ไปก็ไม่ควรจะใช้เป็นที่จุดพลุอยู่แล้ว อีกทิศที่ไม่ดีคือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปีนี้ตรงกับตำแหน่งดาว 5 ภูต เป็นทิศที่ห้ามทุบ เคาะ เจาะ ย้าย ตั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์   โต๊ะทำงาน เตียงนอน ทำบุญบ้าน เช่นกัน  ส่วนทิศที่เป็นมงคลอย่างยิ่งคือทิศตะวันออก สังเกตุได้ว่าคนจีนจะตั้งโต๊ะไหว้เจ้าหันทิศไปทางตะวันออก แต่ทั้งนี้ตำแหน่งดาว 9 ยุคก็จะเปลี่ยนไปทุกๆ ปี

เมื่อถามว่าการที่พลุระเบิดนั้น อาจจะเป็นการส่งสัญญาณเตือนอะไรบางอย่างหรือไม่นั้น คงไม่อาจจะมีใครฟันธงได้

แต่ตามความเชื่อของโหราศาตร์จีน หรือ ฮวงจุ้ย แล้ว "วิศิษฎ์ เตชะเกษม" ผู้มีชื่อเสียงในแวดวงผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปในเรื่องศาสตร์แห่งฮวงจุ้ยในการดำเนินธุรกิจและดำเนินชีวิต แสดงความเห็นผ่าน "มติชนออนไลน์" ว่า เราอย่าไปมองในเรื่องของเคราะห์กรรม แต่ต้องมองในเรื่องของความประมาท เพราะต้องการจัดให้ยิ่งใหญ่ ผมไม่อยากให้คนไปมองในเรื่องของความเชื่อ มิเช่นนั้นทุกคนจะวิ่งเข้าหาความเชื่อ กลายเป็นว่าคนไทยจะหันไปพึ่งพิงในสิ่งที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เป็นการเสียจริตของคนไทยเสียเอง

ก่อนจะเข้าเรื่องฮวงจุ้ย อยากให้มองในเรื่องของความประมาท เพราะการที่จะทำพลุ มันมีวิธีการคำนวณว่าความแรงของพลุจะพุ่งไปได้เท่าไหร่ แรงอัดเท่าไหร่ กระบอกที่ใช้อัดสามารถรองรับแรงได้เท่าไหร่ เช่นเดียวกับประเทศจีนที่พยายามจะยิงจรวจแล้วอัดดินปืนมากเกินไปก็ระเบิด ซึ่งเรื่องนี้เคยเกิดขึ้นมาเป็นพันๆ ปี คนจีนก็เล่นพลุตั้งแต่เมื่อค้นพบเรื่องวัตถุระเบิด

ส่วนการที่บางคนไปตีความว่า ตอนที่ไปสร้างมังกรเป็นการไปลบหลู่ท่านหรือไม่ เอาไฟไปแหย่กับมังกร ซึ่งปีมังกรปีนี้ต้องบอกว่า ตามที่ชินแสหลายๆ คนพยายามพูดว่าเป็นปีมังกรทองนั้น ลวนแล้วเพื่อพยายามให้เกิดความรู้สึกให้กำลังใจ มังกรทองมาแล้วจะดี แต่ต้องบอกตรงๆ ว่า คนจีนมีระบบนักษัตรอยู่ 60 นักษัตร กล่าวคือทั้ง 12 นักษัตรมีธาตุอยู่ 5 ธาตุ ประกอบด้วย ดิน ทอง น้ำ ไม้ และไฟ โดยแต่ละปีนักษัตรก็จะเปลี่ยนรอบไปเรื่อยๆ และจะเวียนจนครบ 60 ปี

ประเด็นต่อมาก็คือว่า มังกรในรอบปี 2555 นั้น เป็นมังกรน้ำ เป็นพญามังกรใหญ่ เล่นน้ำแรง เพราะฉะนั้นก่อนที่มังกรจะมาถึงเราจะเห็นว่า มังกรได้เตือนภัยมาตั้งแต่ปีก่อนแล้วว่าน้ำมาแรง และต่อไปทุกๆ ปี น้ำก็จะท่วมเหมือนกัน ไม่มีทางปฏิเสธได้เลย ซึ่งคนจีนก็จะทราบเรื่องนี้อยู่ทั่วกัน และเตรียมมือรับกับน้ำ เพราะจีนเองก็เจอเรื่องน้ำท่วมใหญ่เยอะมาก ตายปีละหลายพันคน

เพราะฉะนั้น เตือนๆ ไว้ก่อนว่า การที่ไปเล่นกับพญามังกรน้ำ โดยการใช้ไฟไปล่อก็จะเกิดอันตราย แต่นั้นเป็นเพียงความเชื่อ แต่ท้ายที่สุดแล้วก็หนีไม่พ้นความประมาทหรือวิธีการจัดการที่ผิดอยู่ดี

อย่างน้อยการจัดสถานที่ยิงพลุก็ควรเป็นสถานที่โล่ง ที่ไม่ใช่ใกล้บ้านของชาวบ้าน เพราะเวลาสะเก็ดพลุที่ตกลงมาเป็นเสมือนไฟก้อนๆ ฉะนั้น การไปจุดแถวบ้านเรือนประชาชน มันอันตรายอยู่แล้ว สะเก็ดไฟที่ตกลงมาย่อมเป็นเชื้อไฟอย่างดี ยิ่งบ้านแถวนั้นประดับกระดาษหรือผ้าก็ยิ่งไปใหญ่

ถ้าคนมองในเรื่องของเคราะห์กรรมว่า ก่อนที่น้ำจะท่วมได้ไปสร้างวีรกรรมน้ำท่วมไว้ มองเป็นเรื่องของผลกรรม ก็อย่าไปมองอย่างนั้น เรื่องที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป แต่เราจะจัดการปัญหากับมันอย่างไร หรือจัดการกับอนาคตที่จะต้องเจออย่างนี้อีกอย่างไร เพราะมังกรน้ำจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดพายุใหญ่ ปริมาณน้ำจะมาจำนวนมาก เพราะทั่วโลกโดนหมด ไม่ใช่แค่ประเทศไทย

เมื่อพูดถึงคุณบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 แล้วนั้น เป็นคนธาตุดิน ซึ่งเป็นดินที่แน่นมาก ปกติดินจะต้านน้ำหรือคุมน้ำ เมื่อน้ำมาแรงดินก็เอาไม่อยู่ ทุกอย่างย่อมมีความสมดุล เมื่อการที่คุณบรรหารเป็นธาตุดินแล้วเอาไฟไปใส่มากๆ ก็ย่อมเปราะ พอน้ำเข้ามาระหว่างที่ดินกำลังร้อนก็ยิ่งไปใหญ่

ท้ายที่สุดก็คือว่า พอเกิดเหตุการณ์แล้วมีการออกมายอมรับความผิดพลาดแล้วแก้ไข อย่างนี้ถือเป็นลูกผู้ชาย เพราะคนธาตุดินจะหนักแน่นอยู่แล้ว ชอบใครก็ชอบ ไม่ชอบใครก็คือไม่ชอบเลย ซึ่งต่างจากนักการเมืองทั่วไปที่เกิดปัญหาแล้วปัดความรับผิดชอบเป็นส่วนใหญ่

 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327580857&grpid=01&catid=&subcatid=
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5259 เมื่อ: 27 มกราคม 2555, 20:30:23 »

เสวนา “ถอดบทเรียนสิทธิในมหาอุทกภัย...ภาพสะท้อน CSR” 31 ม.ค.
วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:50:42 น.
  
    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติร่วมกับคณะกรรมการความรับผิดชอบต่อสังคม หอการค้าไทย ขอเชิญร่วมงานเสวนา “ถอดบทเรียนสิทธิในมหาอุทกภัย...ภาพสะท้อน CSR” ในวันอังคารที่ 31 มกราคม 2555 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้อง Meeting Room 1-2 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีคุณวีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการสำนักงานสื่อสารองค์กร เอสซีจี คุณพิพิธ หงษ์จินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาศักยภาพองค์กร บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ศ.ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร. ปริญญา ศิริสารการ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติร่วมเสวนา ดำเนินการเสวนาโดยคุณพีระพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด DTAC

    การจัดเสวนาในครั้งนี้ เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสม (Best Practice) จากการถอดบทเรียนวิกฤติมหาอุทกภัย 2554 ทั้งนี้เพื่อให้ภาคธุรกิจเอกชนนำไปใช้เป็นแนวทางการเตรียมตัวรับมือวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้ประสบภัย และมุ่งหมายให้ความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนเกิดพลังประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และทั่วถึง นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้เกิดแนวทางป้องปราบไม่ให้เกิดการล่วงละเมิดสิทธิ เป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในขณะที่เกิดภัยพิบัติต่าง ๆ อย่างแท้จริงและยั่งยืน

    สำหรับบุคคลภายนอกที่สนใจเข้าร่วมเสวนา สามารถสำรองที่นั่งได้ที่ สำนักส่งเสริมและประสานงานเครือข่าย โทร 02-141-3924 หรือ 081-922-6514


e-mail phattajt@scg.co.th
 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327567916&grpid=&catid=09&subcatid=0907
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5260 เมื่อ: 28 มกราคม 2555, 17:47:22 »

มาสวัสดีตอนเย็น ของวันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2555 ครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5261 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 07:38:46 »

สวัสดีในเช้าวันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2555
พยากรณ์อากาศจากอุตุนิยมวิทยาในเช้านี้ครับ
ภาคใต้ในวันที่ 29-30 มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและบางแห่งมีฝนตกหนัก
ตั้งแต่สุราษฎร์ธานีลงไป คลื่นในทะเลเริ่มสูงขึ้นอีก ชาวเรือต้องระมัดระวัง
ภาคเหนืออากาศหนาวเย็นและมีหมอกในตอนเช้า ขับรถยังต้องระมัดระวังเช่นเดิมครับ


                     
           พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 29 มกราคม 2555
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศหนาวเย็นต่อไปกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ในระยะนี้
คลื่นกระแสลมตะวันออกเคลื่อนเข้ามาปกคลุมภาคใต้ตอนล่างแล้ว ทำให้ ในช่วงวันที่ 29-30 ม.ค. ตั้งแต่บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป มีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่
 
                                       พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ  ตอนบนของภาคอากาศหนาว กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 11-14 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 2-8 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
ภาคกลาง  มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัด กระบี่ ตรัง และ สตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.



      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5262 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 07:42:21 »

จากการพยากรณ์ของอุตุนิยมวิทยา ซึ่งจะเห็นความแปรปรวนของอากาศในบ้านเรามากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อวานนี้ ที่ กทม. จากเหตุการที่ อดีตรองเลขาธิการนายกฯ จิตต์ภัทร ภิรมย์ภักดี นำขบวนคนไปต้านการแก้ไข ม.112 ที่ลานพระรูป พบอากาศ 3 ฤดูให้เห็น โดยมีฝนตกลงมาอย่างหนัก และแดดออกแรงและร้อนมากในช่วงสายจนถึงบ่าย ในช่วงการประท้วงที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่ช่วงเช้า อากาศเย็นสบาย
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5263 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 07:46:54 »

วันนี้ วันชิวชิก หรือวันเจ็ดค่ำ คนจีนมีการต้มผัก 7 อย่าง "ชิกฉ่าย" เหมือนกับการต้ม"จับช่าย"
ทานแล้วเฮง รวย ตลอดปีมังกรทอง (จริงๆ เป็นปีมังกรน้ำ ครับ)
ท่านที่สนใจ ก็สามารถปรุงได้เอง โดยการหาผักมาต้นรวมกันแบบจับฉ่าย เป็นอาหาร ทานได้เลย
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5264 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 07:55:47 »

อนึ่ง ท่านที่ยังมีเวลาในวันหยุดนี้ ต้องการไปไหว้เจ้า ในเทศกาลตรุษจีน
วันนี้ขอเชิญที่ศาลเจ้าแม่กวนอิม ตำบลทุ่งพิชัย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

ท่านที่เดินทางไปไหว้วัดมังกรกมลาวาส 2 ที่ นนทบุรี สามารถเดินทางต่อไปโดยเข้าอำเภอบางเลน
จากนั้นเดินทางไปอำเภอดอนตูม และต่อไปทางอำเภอเมืองนครปฐม ประมาณไม่เกิน 5 ก.ม. ก็ถึงแล้วครับ
ไหว้เจ้าได้ 2 ที่เลย เพราะพรุ่งนี้จะเป็นวันสุดท้ายของงานเทศกาลตรุษจีนแล้ว
ไหว้เสร็จ ท่านอาจเดินทางต่อไปยัง "ตลาดบางหลวง" ซึ่งอยู่ไม่ไกลนักจากที่นั่น ก็ได้


ศาลเจ้าแม่กวนอิม หน้าวัดทุ่งพิชัย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ครับ




      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5265 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 12:58:46 »

ข่าวกำลังออกมาคือ
กรมชลประทานเริ่มพร่องน้ำในเขื่อนต่างๆ ที่มีมากว่า 90% ลง เพื่อรองรับสถานการณ์น้ำในอีก 5 เดือนข้างหน้า
อย่างไรก้ตาม ขอเตือนในช่วงเวลาที่จะเก็บเกี่ยว จะเจอฝนฟ้าคะนอง และลูกเห็บตก
หากเจอพายุลูกเห็บ จะไม่เหลือรวงข้าวในนาให้เก็บเกี่ยว รวมทั้งฝนจะสร้างความชื้นสูงจนข้าวเปลือกราคาตกต่ำครับ


4 จว.อีสานล่างเฮ ! กรมชลฯ ปล่อยน้ำให้ปลูกข้าวเร็วขึ้น

เกษตรกร 4 จังหวัดอีสานล่างเฮ! ชลประทานที่ 8 นครราชสีมา เร่งพร่องน้ำให้เกษตรกรปลูกข้าวนาปรังเร็วขึ้น 1 เืดอน หลังน้ำภายในอ่างเก็บน้ำยังเต็ม หวังรับมือฤดูน้ำหลาก แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ...

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 29 ม.ค. ม.ล.อนุมาศ ทองแถม ผอ.สำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา กล่าวถึงสถานการณ์น้ำภายในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา รวมถึงแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ จ.นครราชสีมา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำภายในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของ 4 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ ทั้ง 6 แห่ง ขณะนี้มีปริมาณน้ำกักเก็บเฉลี่ยอยู่ที่ 955.057 ล้าน ลบ.ม. จากความจุกักเก็บทั้งหมด 1,059.52 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 90.14% ของความจุทั้งหมด ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่มากกว่าช่วงเดียวกันของปี 2554 กว่า 20% ดังนั้น สำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา จึงได้ปรับแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทานเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ได้กำหนดแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งไว้ที่ 20% ของพื้นที่เพาะปลูกภายในเขตชลประทานทั้งหมดที่มีอยู่กว่า 1,160,000 ไร่ เพิ่มเป็น 40% หรือประมาณ 425,000 ไร่ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชได้มากขึ้น และมีรายได้ชดเชยจากผลผลิตที่เคยเสียหายจากอุทุกภัยในช่วงฤดูฝนของปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ เพื่อให้เกษตรกรได้ผลผลิตสมบูรณ์สำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา ได้เร่งประชาสัมพันธ์ไปยังผู้นำชุมชนภายในเขตชลประทานแต่ละพื้นที่ ให้เริ่มฤดูกาลเพาะปลูกเร็วขึ้นจากฤดูกาลเพาะปลูกของทุกปีขึ้นมาอีก 1 เดือน โดยให้เริ่มการเพาะปลูกได้ตั้งแต่เดือน ม.ค. เป็นต้นไป เนื่องจากสำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา จะเร่งทำการพร่องน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำ ทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่มีอยู่ในพื้นที่ 4 จังหวัด เพื่อเตรียมแผนการรับมือกับปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่อ่างในช่วงหน้าฝนของปีนี้ ประมาณช่วงเดือน ต.ค.- พ.ย.  โดยจะทำการพร่องน้ำเพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ได้ใช้ทำการเกษตรปลูกข้าวนาปรัง และการอุปโภคบริโภคช่วงหน้าแล้งจนสิ้นสุดฤดูกาลเพาะปลูกประมาณกลางเดือน พ.ค. เพื่อให้ปริมาณน้ำภายในอ่างเก็บน้ำต่างๆ เหลืออยู่ที่ 50% ของความจุ
 
ม.ล.อนุมาศ กล่าวต่อว่า จากนั้น จะเริ่มให้เกษตรกรเริ่มฤดูกาลเพาะปลูกพืชช่วงหน้าฝนรวมถึงข้าวนาปี ขยับมาจากช่วงฤดูกาลเพาะปลูก ปกติที่จะเริ่มในเดือนกรกฎาคม มาเป็นตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย. ไป จนถึงปลายเดือน ก.ย. เพื่อจะได้พร่องน้ำออกจากอ่าง และเพื่อเป็นการเตรียมรับปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่อ่างในช่วงหน้าฝน ที่คาดการณ์ว่า จะเริ่มต้นตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป เพื่อรับมือในช่วงหน้าฝนที่จะเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งจะเกิดผลดีต่อทั้งเกษตรกรที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น และไม่ต้องเผชิญกับปัญหาผลผลิตเสียหายในช่วงน้ำหลากที่เคยประสบมาเป็นประจำทุกปีอีกด้วย.


ไทยรัฐออนไลน์
โดย ทีมข่าวภูมิภาค
29 มกราคม 2555, 11:08 น.
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5266 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 13:36:37 »

ชัดเจนขึ้นน่ะครับ.....ว่า ใคร?? จะต้องจมน้ำในวิกฤติน้ำท่วมครั้งต่อไป

กรมชลฯ มีแผนผันน้ำเข้าทุ่งนาภาคกลาง หากเกิดวิกฤตน้ำท่วม
29 มกราคม 2555 12:59 น.

 
       อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ทุ่งเชียงราก จ.ปทุมธานี อ.บ้านแพรก และอ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา และ อ.ดอนพุด จ.สระบุรี คือพื้นที่รับน้ำตามแผนของกรมชลประทาน หากเกิดวิกฤตน้ำท่วม
        นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน อธิบายว่า เนื่องจากปีนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศให้ชาวนาเร่งทำนาเร็วขึ้น และต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตรอบสองให้เสร็จภายในสิ้นเดือนสิงหาคม หรืออย่างช้าต้นเดือนกันยายน ซึ่งนาที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วน่าจะเป็นพื้นที่รับน้ำได้
        แม้ว่ารองอธิบดีกรมชลประทานจะยืนยันว่า พื้นที่เหล่านี้สามารถช่วยรับน้ำในฤดูน้ำหลากได้ แต่การใช้ประโยชน์ที่ดินหลายพื้นที่ในที่ราบลุ่มภาคกลางเปลี่ยนไปแล้ว เช่น ทุ่งเชียงราก จ.ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา แต่เดิมเคยเป็นทุ่งนารับน้ำ ปัจจุบันเปลี่ยนสภาพเป็นเขตเมืองที่มีทั้งหมู่บ้านจัดสรร สถานศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ตั้งอยู่ ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้ตามแผน

 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9550000012886
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5267 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 14:18:34 »

ภาพและข่าวที่เป็นมงคงในช่วงเทศกาลตรุษจีนครับ

คณะสิงโต มังกรทอง ศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จากจังหวัดราชบุรี

     แสดง ‘ระบำ 9 พญามังกรถวายพระพรเทิดไท้องค์ราชัน’ เพื่อถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2555


http://www.thaipost.net/node/51770

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5268 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 14:22:51 »

ทัศนของคุณเปลว สีเงิน จากไทยโพสต์ ออนไลน์

ตรองสักนิด "ชีวิตไม่ยาก" อย่างที่เป็น

เปลว สีเงิน                                                                                                                     28 มกราคม 2555 - 00:00

    หมดเรื่องหรือหมดอารมณ์จะคุยก็ไม่ทราบ นั่งจ้องจอจนตาเขม่นก็ยังไม่รู้จะจิ้มอะไร สงสัยเป็นเพราะฝนฟ้า "ผิดฤดูกาล" ตกแบบถล่มลงมา  ๒-๓ วันติด ดินปืนในหัวกะโหลกผมเลยชื้น ไม่จุดบึ้ม..จุดบึ้ม..เหมือนพลุตรุษจีนเมืองสุพรรณฯ พาลหายใจ-หายคอเหมือนท่อไอเสียรถยนต์สำลัก  นี่ขนาดต้นปี น้ำก้อนใหญ่ยังไม่มา มีเพียงฝนหยดเล็กๆ เป็นกองหน้ามาก่อน ผมยังมีอาการขนาดนี้ แล้วกลางปี-ปลายปี
    จะไหวมั้ยเนี่ย?
    ลำพังน้ำ ผมคิดว่า "เอาอยู่" แต่สังคมเมืองที่นับวัน "ขิงรา-ข่าแรง" ขึ้นเรื่อยๆ ผมดูแล้ว...ใครก็เอาอยู่ยาก เพราะมองทางไหน ไม่ว่าจากฝ่ายไหน ล้วนกระฟืด-กระฟาด พร้อมกระชากเชือกขาดเข้าประสานเขา
    ใครดี-ใครอยู่, ใครชนะ-เอาบ้านเมืองไป อะไรประมาณนั้น!
    ไม่ใช่ประเด็น "สังคมขาดข้อมูล" หรือขาดความเข้าใจต่อเรื่องนั้นๆ ต่อปัญหานั้นๆ ต่อบุคคลนั้นๆ ทุกวันนี้ "ไม่มีอะไรขาด" รู้ทั้งนั้น รู้กันหมดทุกเรื่อง-ทุกประเด็น มันโกง-ไม่โกง มันหลอกใช้ หรือจริงใจกับพวกกู ก็รู้ทั้งรู้นั่นแหละ  แต่พวกกูพอใจซะอย่าง
    แล้วมึงจะเอาไงกะกู...ก็ว่ามา?!
    มันเป็นเส้นทางที่ชาวบ้านส่วนหนึ่ง "เลือกแล้ว" ไม่สนเรื่องผิด-เรื่องถูก, เรื่องใช่-เรื่องไม่ใช่, หากแต่เป็นเรื่อง "กูต้องไป-กูต้องการ" ด้วยเหตุผลว่า...
    ยังไงก็ดีกว่าจนจ่อแบบไม่เห็นอนาคตกับสภาพเดิมๆ และเบื่อหน่ายกับพวกเจ้าขุนมูลนายที่ใช้ต้นทุนสังคมโดยไม่คิดจะปรับตัว กินทั้งเนื้อที่สังคมรวม สร้างผลกระทบภาพลักษณ์โครงสร้างสังคมชาติไปทุกวัน
    จะว่า ความสับสนในการเลือก "สู่เส้นทางใหม่" ของคนไทยวันนี้ สภาพเหมือน "กบเลือกนาย" ก่อนตอบว่าใช่ หรือไม่ใช่ ต้องตอบคำถามนี้ก่อนว่า
    "นายของกบฝูงไหน"?
    นายของกบ "แดงทั้งแผ่นดิน" เขาเลือกแล้ว และมีของเขาแล้ว!
    กบฝูงอื่นๆ ล่ะ มันทุเรศกว่ามั้ย ทั้งพารา...จะหาขอนไม้มาเป็นนายให้เกาะซักดุ้นก็ไม่ได้..ไม่มี..ไม่ปรากฏ!?
    ก็มาถึงคำถามต่อไป นั่นเป็นเพราะ "กบเลือกมากไป" หรือ ไม่มีขอนไม้ลอยมาให้เลือก หรือมี แต่กบบอกว่าไม่มีคุณสมบัติพอให้เกาะ"?
    ตรงนี้ ก็ลองคิด "ด้วยแยกแยะ" กันดู คำสอนทางศาสนาบอกว่า "จงช่วยตัวเองก่อน คนอื่นจึงจะช่วยเรา" และหลักของประชาธิปไตยก็มีอยู่ว่า ถ้าอยากได้อะไร จงรวมตัวกัน แล้วเรียกร้อง
    จะเห็นว่า ทั้งสองหลักนี้หลักการตรงกัน พูดเฉพาะด้านบริหารและปกครอง ไม่มีอะไรที่ถูกตลอดไป และไม่มีอะไรที่ผิดตลอดไป
    ที่ถูกวันนี้ กลายเป็นผิดพรุ่งนี้ก็ได้ และที่ผิดวานนี้ กลับมาถูกวันนี้อีกก็ได้  ขึ้นอยู่กับว่า เวลานั้น สถานการณ์นั้น ยุคสมัยนั้น "มหาชนคนส่วนใหญ่" พอใจด้วย "ต้องการ" แบบไหน
    ถ้าพอใจ...
    ที่ผิด-กลับถูกได้
    ถ้าไม่พอใจ....
    ที่ถูก-กลับผิดได้!
    นี่คือด้านบริหารและปกครอง อันไม่พูดถึง "คุณธรรม-ศีลธรรม" เจือปน  สังคมดิบๆ สุกๆ มันก็ง่ายๆ แบบนี้ ที่มันยากเพราะเราไปตั้งค่ามันผิด เมื่อตั้งค่าผิด การทำมันก็พลาด
    ตั้งค่ายังไง?
    ก็เราตั้งค่าว่า สังคมเราทุกวันนี้ เจริญขั้นอารยะแล้ว มาตรฐานการศึกษา  มาตรฐานชีวิตคน อัตราเฉลี่ยทั่วถึงเป็นมาตรฐานเดียวกันแล้ว จึงไปลอกระบอบการปกครองที่เรียกว่า "ประชาธิปไตย" จากชาติตะวันตก ที่ประชาชนของเขาได้มาตรฐานเกิน ๗๕% มาใช้กับบ้านเรา
    ดังนั้น จึงไม่แปลกที่ใครจะว่าสังคมไทยเป็น "สังคมกบเลือกนาย" แต่เผาเมืองได้ ๗.๗๕ ล้าน คนถูกเผาไม่ได้ซักบาท แบบนี้ กบยินดีเลือกนายตลอดไป...แต่นัยที่จริงก็คือ เขาไม่ได้ว่า หากแต่พูดตรงๆ และเราไม่ยอมรับความจริงสภาพตัวเองเท่านั้น
    ก็ลองไปดูประเทศ "ภูฏาน" ซิ เห็นคนไทยไม่ว่าสีไหน ทั้งเคยไปและไม่เคยไป ดูแต่รูป อ่านแค่หนังสือ ก็อิจฉา และอยากมีชีวิตอย่างคนภูฏาน
     แล้วมีใครซักคนข้องใจ หรือเกี่ยงมั้ยว่า ภูฏานปกครองด้วยระบอบไหน  ระบอบประชาธิปไตย หรือแบบราชาธิปไตย หรือแบบภูฏานธิปไตย?
    พื้นสภาพแบบไหน ธรรมชาติแบบไหน รากฐานมาจากแบบไหน เมื่อเขาสามารถดำรงวิถีแบบนั้นผสมผสานกลมกลืนสู่สมดุลกันได้ มันจะปกครองด้วยระบบ-ระบอบไหน ต้องสนใจด้วยหรือ?
    บอกว่าไทยเจริญกว่าภูฏาน สหรัฐเจริญกว่าภูฏาน ก็ลองตอบซิว่า แล้วประชาชนพลเมืองของภูฏาน หรือของไทย หรือของสหรัฐ มีความสุขที่ทุกคนพอใจมากกว่ากัน?
    คำตอบคือภูฏาน จนสังคมโลกยอมรับใช้ GDH คือ Gross Domestic  Happiness วัดอัตรามวลรวมแทน GDP คือ Gross Domestic Product ที่ใช้กับทุกประเทศในโลก และผลที่ออกมา ภูฏานเป็นประเทศที่ประชาชนมีความสุขมากที่สุดในโลก!
    คำว่า "การศึกษา" ในที่นี้ ค่าสำคัญอยู่ที่ "ศึกษารู้เพื่ออยู่ร่วมกับสิ่งรอบตัว" ไม่ใช่ศึกษาตำรับ-ตำราต่างประเทศ ชิงทุนหลวง-ทุนราษฎร์ไปทำปริญญาจากนอกบ้าน-นอกเมือง จบกลับมาเรียกว่าคนมีการศึกษาสูง มีการศึกษาสูงแล้วทำอะไร?
    เนรคุณเจ้าของทุน ล้มบ้าน-ล้มเมือง!?
    ส่วนคนที่ศึกษารู้เพื่ออยู่ร่วมกับสิ่งรอบตัว เขาจะเห็นค่า ป่าทุกผืน ดินทุกก้อน หญ้าทุกต้น คนทุกคน ฝนทุกเม็ด กรวดทรายใต้ฝ่าเท้าบรรพบุรุษทุกอณู คือสิ่งมีคุณ ต้องรู้ค่า ใช้แบบถนอมรักษา พัฒนาด้วยเกื้อกูล ไม่ใช่กอบโกย แค่เรียนใต้ต้นไม้ ถ้าเข้าถึงสิ่งนี้
    นี่แหละผู้มีการศึกษาสูงของแท้ เป็นประชาธิปไตยน่ะ แค่ไปลอกเขามา แล้วชู GDP หลอกพวกงั่ง งั่งตัวไหนก็ทำได้แค่หยิบความรวยกระจุก มาโอ้อวดแทน "ความจน" ที่กระจาย และทั้งรวย-ทั้งจน มีแต่ทุกข์ ไม่มีใครสุขเลย
    และมีซักกี่คนล่ะที่ไม่ต้องลอก-ไม่ต้องหลอก เพียงแต่ดำรงวิถีล้อไปกับสิ่งรอบตัวด้วยศึกษารู้ ก็สามารถสร้าง GDH คือความสุขมวลรวมประชาชาติให้กระจายทั่ว ส่วนความจนกระเจิดกระเจิง จนชาวบ้านไม่รู้จักด้วยซ้ำว่า
    "อะไรคือความจน"?
    ในเมื่อวิถีชีวิต ความสุขมันล้นประจำ!
    ประชาธิปไตย-เผด็จการ-ราชาธิปไตย-คอมมิวนิสต์ ทั้งหลาย-ทั้งปวง มันแค่ "สมมุติเรียก" เท่านั้น อย่าไปติดหล่มอยู่แค่คำจนขยับทำอะไรไม่ได้เลย
    สังคมได้มาตรฐาน มันก็เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่ง
    สังคมด้อยมาตรฐาน มันก็เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่ง
    สังคมต่างมาตรฐาน มันก็เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่ง
    สังคมไม่มีมาตรฐาน มันก็เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่ง
    ความดี-ความไม่ดีของคน มันเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่ง
    เราอย่าเอาตรงนั้นมาเป็นเงื่อนไข แต่จงเอาตรงนั้นเป็นมาตรฐานเพื่อจัดรูปแบบ "บริหาร-จัดการ" ในการปกครองที่สอดคล้อง และสอดคล้องต้องมาก่อนคำว่า "เหมาะสม"
    ในสังคมบริหารและปกครอง ไม่มีประชาชนคนไหน-ส่วนไหนน่ารังเกียจ  ทุกส่วน-ทุกคน ทั้งมีการศึกษา ไม่มีการศึกษา ทั้งรวย ทั้งจน ทั้งคนดี คนไม่ดี  ล้วนน่ารัก น่าสมัครสมานอยู่ร่วมด้วยกันทุกคน ก็บอกแล้วไงว่า ทุกอย่างในความเป็นคนร่วมสังคมนั้น
    มันคือ "คุณสมบัติ" สำหรับใช้ร่วมสร้างสังคมชาติในแต่ละส่วนได้ทั้งนั้น  ไม่มีใคร ไม่มีตรงไหนเป็นส่วนเกิน สำคัญที่ว่า "ช่างผู้มีศิลปะในการจัดแจกัน" จัดสรรความหลากหลายของพรรณไม้ต่างดอก-ต่างสีได้กลมกลืนขนาดไหน
    รัฐบาลเขาจะแจกคนละ ๗ ล้าน ๑๐ ล้านคนเผาเมือง มองมุมหนึ่ง เขาก็คิดดี ที่ยังคิดให้ชาวบ้าน การแก้ไขก็คือเอา "ความคิดดี" ของรัฐบาลนั้น มาตบแต่งเพิ่มเติมแทนการหักล้างทำลายไปเลย เอามาขยายแล้วจัดแนว-จัดกรอบให้มันทั่วถึงกับคนที่ควรได้
    ง่ายๆ อย่างเช่น คนเผาเมืองยังคิดจะให้ตั้ง ๗.๗๕ ล้าน
    ก็แล้วทำไม ชาวบ้านที่สุพรรณฯ ถูกเผา โดนพลุระเบิดตาย-เจ็บ-บ้านพัง  ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่ได้รับเยียวยา ๗.๗๕ ล้านบ้าง?
    รัฐบาลเพื่อไทยเขาต่อสู้กับ ๒ มาตรฐานมามากมาย อย่างนี้ "ด้วยความเป็นคน" เขาก็ต้องรู้ว่า แล้วอย่างที่เขาปฏิบัติขณะนี้มัน ๒ มาตรฐาน หรือมาตรฐานเดียว?
    หรืออย่างแนวคิด-แนวนำเสนอของคณะนิติราษฎร์ เราใช้หลักการมองทุกอย่างคือคุณสมบัติ เราจะเห็นทันทีว่า ในข้อเสนอเรื่องมาตรา ๑๑๒ นั้น ในกรอบหลักการใหญ่...มันใช่!
    ใช่...ตรงว่า ทุกอย่างหมุนด้วยเอื้อต่อกาลสมัย ไม่มีอะไรคงที่นิรันดร์ เมื่อถึงเวลาหนึ่ง บางสิ่ง-บางอย่างย่อมปรับปรุง แก้ไขได้ ข้อสำคัญการแก้ไขนั้นต้องด้วย "กุศลเจตนา" ถ้าแก้ไขด้วยกุศลเจตนาแล้ว สามารถสร้าง GDH ให้สังคมชาติได้แน่นอน
    ไม่ใช่อะไรหรอก ผมเห็นสังคมใกล้จะแยกฝ่ายห้ำหั่นกันอยู่รอมร่อ ก็ไม่ว่าอะไร พอใจอย่างไรด้วยเห็นว่าเป็นทางออก ก็เอากันไป ผมเพียงแต่บอกว่า  ก่อนจะห้ำ-จะหั่น ลองปลดเปลื้องตัวเองจากทุกรูปแบบ แล้วมองด้วยสำรวจ "สิ่งรอบตัว" คือบ้านเมืองไทยเราในความเป็น "คุณสมบัติ"
    นั่นอาจทำให้หันมา "คุยภาษาเดียวกันได้" โดยไม่ต้องใช้รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งสร้างประชาธิปไตยเปลือกชนิดไม่สิ้นสุดมิใช่หรือ?. 


http://www.thaipost.net/news/280112/51738
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5269 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 18:25:32 »

ตามข่าวการสรรหาอธิการบดีของเราต่อครับ..........


ศึกสายเลือดสีชมพู ...ชิงเก้าอี้อธิการบดีจุฬาฯ ไฉน นพ.เกษม ต้องทิ้งเก้าอี้!!!
วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 14:03:09 น.


ทันทีที่ "นพ.เกษม วัฒนชัย" องคมนตรี ลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชาชนก็พุ่งเป้าความสนใจไปที่ขั้นตอนการสรรหาอธิการบดีจุฬาฯ ที่เกิดสงครามแย่งชิงอำนาจ จนเป็นต้นเหตุที่ทำให้นพ.เกษมทิ้งเก้าอี้
การสรรหาอธิการบดีจุฬาฯครั้งนี้ เนื่องจาก "นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล"อธิการบดีจุฬาฯคนปัจจุบันที่จะหมดวาระในวันที่ 31 มีนาคมนี้ และถือเป็นปีแรกของการสรรหาอธิการบดี นับแต่จุฬาฯเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ และเป็นปีแรกที่มีการใช้ข้อบังคับจุฬาฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาอธิการบดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554

ตามข้อบังคับระบุให้มีคณะกรรมการสรรหา 7 คน โดยสภามหาวิทยาลัยจะคัดเลือกมาจากผู้แทนคณาจารย์ ผู้แทนผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ นายกสมาคมนิสิตเก่าโดยตำแหน่ง ประธานสภาคณาจารย์โดยตำแหน่ง และบุคคลภายนอก ส่วนผู้ที่เป็นประธานนั้นจะคัดเลือกจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภาจุฬาฯ แต่การสรรหาอธิการบดีครั้งนี้มีคณะกรรมการสรรหาเพียง 6 คน เพราะอีก 1 ตำแหน่งยังไม่มีการแต่งตั้ง

สภาคณาจารย์เปิดโอกาสให้ประชาคมจุฬาฯ ประกอบด้วย คณาจารย์ และบุคลากร เสนอรายชื่อผู้เหมาะสมเข้ารับการสรรหา โดยรอบแรกในวันที่ 27 ธันวาคม 2554 นพ.ภิรมย์ได้รับการเสนอชื่อด้วยคะแนนความถี่สูงสุด 1,600 กว่าคะแนน จาก 3,000 คะแนน ตามด้วย "นายศุภชัย ยาวะประภาษ" คณบดีคณะรัฐศาสตร์ "นายสุพจน์ หารหนองบัว" คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ "นายบุญสม เลิศหิรัญวงศ์" คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

จากนั้นสภาคณาจารย์จะเชิญผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อด้วยคะแนนความถี่สูงสุด 6 คน ได้แก่ นพ.ภิรมย์ นายศุภชัย นายบุญสม นายสุพจน์ นายตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และนายเกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดี มาแสดงวิสัยทัศน์ต่อประชาคมจุฬาฯ ในวันที่ 9 มกราคม ซึ่งขั้นตอนนี้คณะกรรมการสภาจุฬาฯ 30 กว่าคนมีสิทธิเสนอรายชื่ออธิการบดีเพียง 1 รายชื่อ รวมถึง คณะ/สำนักวิชา/วิทยาลัย/สถาบัน และส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีคณะกรรมการบริหารส่วนงาน รวม 30 กว่าคณะ ก็มีสิทธิเสนอรายชื่อคณะละ 3 รายชื่อ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารแล้ว ไปยังคณะกรรมการสรรหาเช่นกัน ก่อนจะเปิดซองรายชื่อในวันที่ 13 มกราคม โดยกระบวนการทั้งหมดถือเป็นความลับ

ก่อนการเปิดซองรายชื่อเพื่อแสดงวิสัยทัศน์นั้น คณะกรรมการสรรหาทั้ง 6 คนจะกำหนดกติการ่วมกัน โดยข้อตกลงที่ได้กำหนดร่วมกันคือ หากผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 1 จากประชาคมจุฬาฯ และคะแนนหยั่งเสียงเกิน 2 เท่าของผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 2 ก็จะเรียกผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดเพียงคนเดียวมาแสดงวิสัยทัศน์ แต่ถ้าได้คะแนนอันดับ 1 มากกว่าอันดับ 2 ไม่ถึงครึ่ง และอันดับ 2 มากกว่าอันดับ 3 ไม่ถึงครึ่ง จะเรียกทั้ง 3 คนมาแสดงวิสัยทัศน์ โดยผู้ที่มาแสดงวิสัยทัศน์ และจะได้รับการเสนอชื่อเป็นอธิการบดี ก็ต่อเมื่อจะต้องได้คะแนนจากกรรมการสรรหาแต่ละคน คนละ 100 คะแนน โดยกรรมการแต่ละคนจะมีคะแนนเต็มคนละ 150 คะแนน ฉะนั้น ผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อจะต้องได้ไม่ต่ำกว่า 600 คะแนน จาก 900 คะแนนเต็ม

ผลปรากฏว่า นพ.ภิรมย์ได้คะแนนสูงสุด และมากกว่าผู้ได้คะแนนอันดับที่ 2 ถึง 2 เท่าตัว ทำให้ นพ.ภิรมย์เป็นเพียงคนเดียวที่ถูกเชิญมาแสดงวิสัยทัศน์ในวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา

แต่การแสดงวิสัยทัศน์ยังไม่ทันเริ่ม ก็มีเหตุให้ต้องล้มกระดานเสียก่อน เนื่องจากกรรมการสรรหา 2 คน ได้แก่ ผู้แทนจากสภาคณาจารย์ และสภาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ไม่ยอมรับกติกานี้ โดยอ้างว่าไม่ทราบมติที่ตกลงกัน ขณะที่กรรมการสรรหาที่เหลือยืนยันว่ากรรมการทุกคนรับทราบมติดังกล่าว

ปัญหาการตีรวนครั้งนี้ทำให้ นพ.เกษมตัดสินใจวอล์กเอาต์ และขอลาออก ส่งผลให้การสรรหาชะงักชั่วคราว

ล่าสุด ในการประชุมสภาจุฬาฯมีมติให้ทาบทาม "นพ.ประเวศ วะสี" กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานคณะกรรมการสรรหา ส่วนกรรมการสรรหาให้เป็นคนเดิมทั้งหมด ส่วนกระบวนการสรรหาจะเริ่มนับหนึ่งใหม่ หรือจะเดินหน้าต่อคงต้องรอดู

ปัญหาความขัดแย้งครั้งนี้ เกิดขึ้นเนื่องจาก 2 ขั้วอำนาจ ซึ่งฝ่ายแรกพยายามผลักดันให้ นพ.ภิรมย์เป็นอธิการบดีมาแล้ว 1 สมัย ให้เป็นอธิการบดีจุฬาฯสมัยที่ 2 เพราะมองว่า นพ.ภิรมย์เป็นคนที่อัธยาศัยดี สามารถทำงานเข้ากับทุกคนได้ และรับฟังเสียงของประชาคม จนได้คะแนนหยั่งเสียงที่สูงมาก

ส่วนอีกขั้วหนึ่งที่สนับสนุนนายบุญสม และพยายามผลักดันให้เป็นอธิการบดีจุฬาฯคนใหม่ เนื่องจากนายบุญสมเคยเป็นรองอธิการบดีจุฬาฯ ในยุคที่ "คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์" เป็นอธิการบดี หากนายบุญสมได้เป็นอธิการบดี จะทำให้รองรับการทำงานของสภามหาวิทยาลัยชุดใหม่ ที่มีอดีตผู้บริหารคนหนึ่งจะมาทำหน้าที่นายกสภาคนใหม่ สานต่อนโยบายได้ราบรื่นมากกว่า

ในขณะที่ยังไม่ได้ข้อยุติว่า "ใคร" จะมาเป็นอธิการบดีคนใหม่ของรั้วจามจุรี การต่อสู้ระหว่าง 2 ขั้วอำนาจ ก็ยังคงเป็นไปอย่างดุเดือด...

จนอาจกลายเป็น "ศึกสายเลือด (สีชมพู)" ครั้งรุนแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์

มติชน 29 มกราคม 2555

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327817160&grpid=&catid=19&subcatid=1903

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5270 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 21:18:21 »

ขำได้อย่างเดียวครับ
ดู Fashion Show by Kate Upton ซูเปอร์โมเดลของ Victorias Secrets

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=cxEujZdBORs" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=cxEujZdBORs</a>

 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5271 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 21:28:45 »

โฆษณา "กระดาษ ดับเบิ้ล เอ"

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=YXBst_r6cNw" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=YXBst_r6cNw</a>
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #5272 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 21:41:49 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 19 มกราคม 2555, 21:25:00
มองขึ้นไปบนต้น พบจัดที่น่าจะเป็นดอกอยู่ 1 จุด ซึ่งจุดนี้ ถูกนักถ่ายภาพ จับภาพกันไปทั้งสิ้น








สวัสดีครับพี่เหยง ...  

เก็บ นางพญาเสือโคร่ง หรือ ซากุระ เมืองไทย จากดอยแม่สลอง จ.เชียงราย มาฝากครับ ...














      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5273 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 21:52:18 »

ดร. มนตรี

รูปสวยมาก ดอกอยู่ในช่วงกำลังบานทีเดียว
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5274 เมื่อ: 30 มกราคม 2555, 07:47:27 »

พยากรณ์อากาศในวันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2555...........
ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยอีกละลอกหนึ่ง ส่งผลให้มีฝนตกในหลายๆ พื้นที่ ในเกณฑ์ 30-40 ของแต่ละพื้นที่และอากาศจะหนาวเย็นลงอีก 3-5 องศา ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ฝนตกถึงตกหนัก คลื่นสูง 1 - 2 เมตร ลมแปรปรวนถึงพัดแรงในบางพื้นที่ ขับรถในตอนเช้าระวังหมอกจัด


พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 30 มกราคม 2555
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศา ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนเป็นแห่งๆ ในระยะนี้
อนึ่ง คลื่นกระแสลมตะวันออกเคลื่อนเข้ามาปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ทำให้บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป มีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่


                            พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.  

ภาคเหนือ ตอนบนของภาคอากาศหนาว กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-8 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.  

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศา อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-30 กม./ชม.  

ภาคกลาง  มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.  

ภาคตะวันออก  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
  
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร  

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัด กระบี่ ตรัง และ สตูล อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.  


      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 209 210 [211] 212 213 ... 472   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><