20 กันยายน 2567, 05:32:06
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 180 181 [182] 183 184 ... 472   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุยกับ เหยง 16 - พิเชษฐ์ เชื่อมฯ-เตรียมฉลอง 100 ปี หอซีมะโด่ง จุฬาฯ  (อ่าน 2516840 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 38 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4525 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2554, 11:27:19 »

ปภ.ประกาศ น้ำยังท่วม 16 จังหวัดในภาคเหนือและภาคกลาง, ไม่รวมถึงจังหวัดพัทลุง ในภาคใต้, และมีการประกาศภัยหนาว 1 จังหวัดที่เชียงใหม่

ปภ.สรุป 16 จังหวัดยังผญจภัยน้ำท่วม เสียชีวิตแล้ว 610 คน
24 พฤศจิกายน 2554 10:46 น.

 
       กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์อุทกภัย ยังคงมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 16 จังหวัด ประชาชนเดือดร้อนกว่า 5 ล้านคน เสียชีวิต 610 คน ขณะที่ภัยหนาวเริ่มคุกคาม ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติแล้วที่ อ.อมก๋อย สะเมิง จ.เชียงใหม่
       
       กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งว่า สรุปสถานการณ์สาธารณภัยปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 16 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ 118 อำเภอ 937 ตำบล 5,645 หมู่บ้าน ส่งผลให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,884,182 ครัวเรือน 5,042,415 คน โดยมียอดผู้เสียชีวิต 610 ราย และสูญหาย 3 คน (จ.แม่ฮ่องสอน 2 ราย จ.อุตรดิตถ์ 1 ราย)
       
       สำหรับพื้นที่ที่ยังประสบอุทกภัย ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ นครนายก ฉะเชิงเทรา กรุงเทพมหานคร และจังหวัดร้อยเอ็ด
       
       ทั้งนี้ ประเทศไทยประสบอุทกภัยตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2554 จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “นกเตน” (NOCK-TEN) ร่องมรสุมกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงพาดผ่านประเทศไทย และน้ำล้นตลิ่งมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวมทั้งสิ้น 64 จังหวัด และขณะนี้มีจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างฟื้นฟู 48 จังหวัด
       
       ส่วนสถานการณ์อุทกภัยตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ มีพื้นที่ได้รับผลกระทบและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ครอบคลุมพื้นที่ 11 อำเภอ 47 ตำบล 340 หมู่บ้าน ส่งผลให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 23,082 ครัวเรือน 75,253 คน
       
       ขณะที่ สถานการณ์ภัยหนาว มีพื้นที่ได้ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยหนาว) ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 ถึงปัจจุบัน จำนวน 1 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ อำเภออมก๋อย และสะเมิง ครอบคลุมพื้นที่ 11 ตำบล 140 หมู่บ้าน


จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000149768
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4526 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2554, 12:00:54 »

เมื่อคืนมีข่าวเศรษฐกิจโลกออกมาในแนวลบคือ

1.เยอรมัน ขายพันธบัตรมูลค่า 6,000 ล้านยูโร ได้เพียงร้อยละ 65 แสดงถึงความไม่เชื่อมั่นที่มีต่อประเทศยักษ์ใหญ่ลำดับที่ 1 ของกลุ่มสหภาพยูโรป หรือ Euro Zone, ซึ่งก่อนหน้านี้ สเปน ขายพันธบัตรออกไปด้วยดอกเบี้ยมากกว่าร้อยละ 10 ซึ่งสูงมากและเป็นภาระในการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าการได้เงินไปสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ, ส่วนประเทศกรีซ ประเทศต้นเหตุวิกฤติหนี้เน่านั้น แม้จะมีการเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีไปทั้งชุดแล้ว แนวโน้มทางเศรษฐกิจยังลูกผี-ลูกคน เช่นเดียวกับประเทศอิตาลี ที่เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีจอมเจ้าชู้ไปแล้ว ก็ยังคงต้องจับตาด้านเศรษฐกิจอยู่

2.สหรัฐอเมริกา มีปัญหาการเพิ่มหนี้สาธารณะเป็น 13.7 ล้านล้านดอลล่าร์ เกินเพดานหนี้ตามกฎหมายไปจากเดิมที่มีอยู่ 11 ล้านล้านดอลล่าร์เศษ และต้องจัดงบประมาณขาดดุลลง 1.2 ล้านล้านดอลล่าร์ภายใน 10 ปี ซึ่งมีการประชุมร่วมของ 2 พรรคใหญ่ไปแล้ว พบว่า การลดลงบเป็นไปได้ยาก เพราะมือเติบ-ดีแต่ใช้เงินไปซะแล้ว อีกทั้งอัตราการว่างงานยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยขณะนี้เกินร้อยละ 8 ของประชากรไปแล้ว

3.จีน ซึ่งหลายคนมองว่า เศรษฐกิจแข็งแกร่ง มีแต่อัตราการเจริญเติบโตนั้น ล่าสุด HSBC ออกรายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หรือ The Puschasing Manager Index หรือ PMI ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการสั่งซื้อสินค้าวัตถุดิบเข้าโรงงานเพื่อแปรรูปเป็นสินค้ารายเดือนนั้น เกิดอาการขึ้นมาคือ ในเดือนพฤศจิกายน 54 นี้ ดัชนีออกมาที่ 48 จุด ซึ่งต่ำกว่า 50 จุดเป็นครั้งแรกในรอบ 30 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2009 เป็นต้นมา โดยดัชนีเกิน 50 จุดแสดงถึงการขยายตัวของการผลิต มีการจ้างงาน มีสินค้าออกมาขายเพิ่มขึ้น ซึ่งเดือนตุลาคม ดัชนี PMI อยู่ที่ 51 จุด ซึ่งการที่ดัชนี PMI ต่ำกว่า 50 จุดเป็นครั้งแรก แสดงถึงอาการที่จีนติดไข้เศรษฐกิจตกต่ำเข้ามาในวงจรเศรษฐกิจแล้ว

4.หลายๆประเทศมีตะวันออกกลางยังติดภาระสงคราม เช่น อิรัค ลิเบีย ซีเรีย ซึ่งเป็นชาติผลิตน้ำมันรายใหญ่ ซึ่งการติดภาระสงสรามทำให้การผลักดันเศรษฐกิจให้ขยายตัว ด้วยการส่งน้ำมันดิบเข้าระบบ ยังคงอยู่ในฐานะที่ลำบากอยู่ เพราะต้องใช้เงินในการก่อสร้าง ในขณะที่หลายๆ ประเทศติดกับของสาธารณภัย อาทิ ญี่ปุ่น ไทย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ซึ่งต้องใช้เวลาและปัจจัยในการฟื้นฟูอีกระยะหนึ่ง


คำต่อคำ ผู้ว่าธปท. ส่งสัญญาณรับวิกฤติรอบใหม่ศก.โลกล่ม เตือนรัฐบาลเตรียมกระสุนให้พร้อม
วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 20:40:52 น.
 

ผู้ว่าแบงก์ชาติฟันธงเศรษฐกิจไทยเตรียมรับวิกฤตรอบใหม่ เศรษฐกิจยุโรป-สหรัฐ ส่อเค้าลางล้มทั้งกระดานทั่วโลก ชี้น้ำท่วมอาจกระทบเศรษฐกิจไทยหดตัวแค่ระยะสั้นสิ้นปีขยายตัวต่ำกว่า 2.6 %  ส่งสัญญาณรัฐบาลเตรียมเม็ดเงินบริหารใช้นโยบายการคลังรับมือ พร้อมเร่งรัฐบาลทำแผนบริหารจัดการน้ำท่วมให้ชัดเจน เร่งเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติย้ายฐานจากยุโรป-อเมริกามาภูมิภาคเอเชีย


นายชาติศิริ  โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนาประจำปี 2554 ซึ่งธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) และชมรมบัวหลวงเอสเอ็มอี จัดขึ้นในหัวข้อ“ทิศทางเศรษฐกิจและธุรกิจไทยหลังวิกฤตน้ำท่วม”ว่า ปีนี้วิกฤติอุทกภัยครั้งใหญ่ได้ส่งผลกระทบได้สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อชีวิต สังคม เศรษฐกิจของประเทศอย่างกว้างขวางในทุกระดับชั้นครอบคลุมไปกว้างขวาง โดยมีประชาชนได้รับความเดือนร้อนมากกว่า 1 ล้านครัวเรือน กระทบต่อภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และการจ้างงานนับล้านคนทั้งโดยตรง และโดยอ้อม ทำให้การส่งออกที่เคยขยายตัวได้ดีในช่วงต้นปี แต่ในเดือนตุลาคมขยายตัวได้เพียง 3%


น้ำท่วมครั้งนี้จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ทำให้เศรษฐกิจไทย ซึ่งกำลังขยายตัวได้ดี และมีหลายคนเคยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยกำลังจะเข้าสู่ช่วงการขยายตัวรอบใหม่ เข้าสู่วัฎจักรการลงทุนรอบใหม่ ที่ได้อานิสงค์จาก 1.ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ยังคงดำเนินอย่างเนื่องในสหรัฐอเมริกา และยุโรป และอาจลุกลามขึ้นเป็นวิกฤตรอบใหม่ทำให้บริษัทข้ามชาติจำนวนมากคิดย้ายฐานการผลิตมาสู่เอเชีย ประเทศไทย 2.จากการที่ผู้ประกอบการบางส่วนจากญี่ปุ่นบางส่วนย้ายฐานการผลิตออกจากญี่ปุ่นมายังเอเชีย และประเทศไทย เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น 3.จากการหลอมรวมกันของเอเชียทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การค้า และการลงทุนรอบใหม่ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้โดยสะดุดลงชั่วคราว
 

ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์)ได้ออกมาประเมินว่า ปีนี้เศรษฐกิจของประเทศไทยจะขยายตัวลดลงเหลือเพียงร้อยละ 1.5 จากเป้าหมายเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4-5
 

นอกจากนี้ ในระยะยาวน้ำท่วมครั้งนี้ยังมีนัยไปถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งนักลงทุนเหล่านี้คำนึงถึงความเสี่ยงของภัยธรรมชาติในประเทศไทยที่มีเพิ่มมากขึ้น ความเสี่ยงต่อห่วงโซ่การผลิตของโลกที่มีอยู่ในประเทศไทย และมีนัยไปถึงธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น
 

จากมาตรการเยียวยาต่าง ๆ มาตรการสินเชื่อ เพื่อช่วยในการฟื้นฟูประเทศ จากมาตรการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) จากการดำเนินนโยบายของภาครัฐที่จำเป็นจะต้องเร่งดำเนินสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ๆ การบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้ทุกคนมั่นใจว่า ปัญหาการดำเนินธุรกิจจะไม่สะดุดเช่นนี้บ่อยจนเกินไปนัก



ดร.ประสาร  ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ“ทิศทางเศรษฐกิจไทย”ว่า ปัญหาน้ำท่วมทำให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 หดตัวลง แต่ผลกระทบเป็นเพียงระยะสั้น และทุกภาคส่วนสามารถฟื้นตัวได้ไม่นาน แต่ระยะข้างหน้าสิ่งที่น่าเป็นห่วงสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มว่าจะยืดเยื้อ และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงจะส่งผลมากระทบต่อประเทศไทย ดังนั้น การที่ภาครัฐจะลงทุนเงินจำนวนมากในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนแล้ว  ภาครัฐควรจะแบ่งเม็ดเงินบางส่วนไว้บ้าง เพื่อเตรียมการรองรับผลกระทบดังกล่าว  เพราะอาจมีความจำเป็นต้องนำการบริหารจัดการด้านการคลังของประเทศมาช่วย


ปี 2554 มีเหตุการณ์ต่าง ๆเกิดขึ้นมากมาย มีส่วนทำให้เศรษฐกิจมีความผันผวน หากพิจารณาในช่วง 8 เดือนแรกก่อนเกิดภาวะน้ำท่วมใหญ่ เศรษฐกิจไทยโดยรวมมีการขยายตัวได้ค่อนข้างดี และมีการขยายตัวในฐานที่ค่อนข้างกว้าง พอเดือนกันยายนมีน้ำท่วม ปัญหาน้ำท่วมส่งผลกระทบค่อนข้างรุนแรง และมีวงกว้างต่อเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน ถือเป็นปัจจัยลบที่มีความสำคัญต่อภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2554โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมกระทบทั้งด้านการผลิต และอุปสงค์(Demand)


เท่าที่ธปท.ประเมินขณะนี้ปัญหาน้ำท่วมคาดว่าจะเป็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยในระยะสั้น จะทำให้เศรษฐกิจในไตรมาส 4 หดตัวค่อนข้างชัดเจน ภาพรวมจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากเมื่อวันที่ 19 ตุลาคมธปท.แถลงตัวเลขเศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวลดลงเหลือเพียง 2.6% ในช่วงปลายเดือนจะมีการเปิดภาพรวมตัวเลขปี 2554 คาดว่าจะลดตัวลงอีก

 
น้ำท่วมกระทบทั้งทางด้านการผลิต กระทบในเขตพื้นที่น้ำท่วม เป็นแหล่งผลิตสินค้าสำคัญหลายประการ และเป็นสินค้าที่มีบทบาทในเวทีโลก ทั้งอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และกระทบไปถึงห่วงโซ่การผลิตนอกพื้นที่น้ำท่วม การขนส่งสินค้าไม่สะดวก การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอลงจากรายได้ถูกกระทบลดลง กระทบต่อความเชื่อมั่น ส่วนการลงทุนลดลงกระทบต่อการลงทุน บรรยาการการลงทุนไม่เอื้ออำนวย  กระทบต่อการค้า การส่งออก

นอกจากเรื่องน้ำท่วมแล้ว สี่งที่ไม่ควรมองข้ามคือเรื่องพัฒนาการของเศรษฐกิจต่างประเทศยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง ทั้งในยุโรปและอเมริกา แม้ล่าสุดยุโรปจะมีข้อสรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซ จะมีการเพิ่มทุนให้ธนาคารพาณิชย์หลายธนาคาร และมีข้อสรุปรักษาเสถียรภาพของกองทุน
 

แต่ขณะนี้ยังไม่มีใครสามารถยืนยันว่า ปัญหาต่าง ๆ จะสามารถแก้ไขให้สิ้นสุดลงได้ โดยรวมปัญหาหนี้สาธารณในยุโรป ทำให้รัฐบาลจะต้องดำเนินการมาตราการรัดเข็มขัดภายในประเทศ ต่อกำลังซื้อจากลูกค้าในยุโรปลดลง ในภาคธนาคารพาณิชย์มีความจำเป็นต้องเพิ่มุทน เพราะหลายธนาคารไปถือพันธบัตรในยุโรป หลายธนาคารอยู่ในฐานะไม่สามารชำระหนี้ได้ตามกำหนด จึงต้องมีการสำรองในส่วนสูญเสียไว้ ต้องเพิ่มทุน
 

ความหมายคือ ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์เหล่านั้นจำเป็นอาจต้องจำกัดตัวเองในการขยายสินเชื่อ ปัญหาในวงกว้างคือ ความเชื่อมั่นในการให้สินเชื่อระหว่างธนาคารจะถูกกระทบไปด้วย หมายถึงสภาพคล่องในตลาดการเงินระหว่างประเทศ ทั้งสองเรื่องส่งผลกระทบผ่านมายังประเทศไทยไม่มากก็น้อย ทั้งภาพรวมเศรษฐกิจใหญ่ของโลก 2-3 ช่องทาง รวมถึงการส่งออกไม่มากก็น้อย

2.ตลาดการเงิน ความจริงสภาพคล่องในตลาดยูโรไม่กระทบมาก แต่การที่ธนาคารพาณิชย์ไม่เชื่อในเครดิตซึ่งกันและกันได้ส่งผลให้สภาพคล่องทางการเงินลดลง และกระทบต่อตลาดเครดิตระหว่างประเทศได้

3.ผลกระทบต่อประเทศไทยน้อยสุดคือ สถาบันการเงิน ประชาชนไปถือหลักทรัพย์ของต่างประเทศแต่คงไม่มาก

ส่วนปัญหาของสหรัฐอเมริกาเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ในเวลาสั้น เช่น ปัญหาเรื่องสินเชื่อบ้าน ตลาดแรงงาน มีการว่างงานค่อนข้างสูงเกิน 9% และแก้ไขได้ยาก ต้องใช้ระยะเวลา นอกจากนี้ ความพยายามที่จะลดการขาดดุลการคลัง ไม่สามาราถผลักดันข้อเสนอให้ผ่านความเห็นชอบในรัฐสภาได้ น่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของสหรัฐ และตลาดการเงิน


“มีคนถามผมว่า ปัญหาน้ำท่วม กับปัญหาเศรษฐกิจในยุโรป และสหรัฐอะไรนักกว่ากันในเบื้องต้นผมคิดว่า เรื่องน้ำท่วมเป็นเรื่องใกล้ตัว  และแรง แต่เป็นเพียงระยะสั้น น้ำท่วมน่าจะแรงในไตรมาส 4 แต่อีก 4-5 เดือนจากนี้ไปประมาณไตรมาส 2 ของปี 2555 ช่วงนั้นเวลานั้นเราอาจไม่มีผลกระทบในเรื่องน้ำท่วม

 
แต่เวลานั้นเมฆหมอกจากต่างประเทศ ซึ่งเวลานี้สีเทา ๆ มันมีโอกาสที่จะเป็นสีดำได้ เพราะฉะนั้นด้านหนึ่งต้องระวังปัญหาภายในประเทศ อีกด้านหนึ่งต้องระวังความเสี่ยงจากต่างประเทศ เหตุการณ์ในต่างประเทศทำให้หลายคนในระยะหลังจึงมีการฝากความหวังไว้กับเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเซีย ในการที่จะประคองเศรษฐกิจโลก ขณะนี้โดยรวมค่อนข้างจะดีกว่ายุโรปและอเมริกา แต่เศรษฐกิจในทุกภูมิภาคของโลกมีการเชื่อมโยงกันมาก หากว่าเศรษฐกิจยุโร ปและอเมริกามีการชะลอลงมาก จะกระทบต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียด้วย”ดร.ประสารกล่าวและว่า


สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2555 ของไทย หากพิจารณาเรื่องน้ำท่วมกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ช่วงที่ผ่านมา เหตุการณ์ต่าง ๆ ค่อนข้างคล้ายกันมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกิดขึ้นในระยะสั้น และมีโอกาสจะเกิดผลบวก เกิดการลงทุน เพื่อฟื้นฟู ดังนั้น น้ำท่วมคงกระทบในไตรมาส 4 เท่าที่ประเมินน้ำท่วมครั้งนี้ไม่ได้กระทบต่อศักยภาพการผลิตของประเทศไทยในระยะยาว เทียบกับผลกระทบทางเศรษฐกิจในปี 2540 มีผลกระทบมากกว่าปัจจุบัน


ภาคเกษตรน่าจะฟื้นตัวได้ในระยะเวลาอันใกล้ เพราะไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่การผลิต น้ำท่วมได้ปุ๋ย ตะกอนดินปลูกพืชได้ดีด้วย ขณะเดียวกันราคาพืชผลน่าจะสูง มีความต้องการในประเทศ และตลาดโลก ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมอาจต้องใช้เวลาในการฟื้นฟู คลัสเตอร์การผลิตภายในประเทศค่อนข้างเข้มแข็ง การผลิตหลายอย่างมีเครือข่ายในต่างประเทศมีความเข้มแข็ง ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีการปรับตัวได้ดีพอสมควร มีการนำเข้าเครื่องจักร ชิ้นส่วนจากต่างประเทศเข้ามาชดเชย มีการปรับกำลังการผลิต ย้ายกำลังการผลิตไปยังจุดที่เหมาะสม  ที่สำคัญยังมีความต้องการสินค้าจากประเทศไทย โดยบางส่วนน่าจะฟื้นตัวได้ภายในไตรมาส 4 นี้ต่อเนื่องถึงช่วงไตรมาส 1 ของปีหน้า และคาดว่าน่าจะเข้าสู่ภาวะปกติตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นไป


ส่วนภาคการท่องเที่ยวน่าจะฟื้นตัวได้ภายใน 1-2 เดือนหลังน้ำลดเข้าสู่ภาวะปกติ ในด้านกายภาพผลกระทบน้อยกว่าด้านอุตส่าหกรรม
 

ด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนนั้น ด้านการบริโภคจะฟื้นตัวภายในไตรมาส 1 ของปีหน้า เนื่องจากเกิดการจับจ่ายใช้สอย เพื่อชดเชยความเสียหายเนื่องจากน้ำท่วม มีการซ่อมแซมบ้าน รถยนต์ยอดขายหน้าจะสูง สินเชื่อรถยนต์น่าจะเติบโตในอัตราที่สูง ส่วนเรื่องการลงทุนด้านเครื่องจักรอุปกรณ์ แรงกระตุ้นจากภาครัฐก็มีส่วนกระตุ้นการลงุทน การบริโภคให้ฟื้นตัว โดยธปท.เองที่พยายามดูสภาพคล่องทางการเงินให้เพียงพอ ระบบการชำระเงินให้เพียงพอ  และการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ให้มีการผ่อนคลายกฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้ลูกค้า ในกรอบวินัยทางการเงินกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม รวมถึงเครดิตการ์ด
 

มีคำถามว่า ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นมีความท้าทายที่สำคัญมากที่สุดต่อเศรษฐกิจไทยคืออะไร ความเห็นผมคือ  เรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระยะยาว ผมคิดว่า ถือเป็นความท้าทายที่สุดยอด ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งใน และต่างประเทศ ส่วนเรื่องอื่นแก้ไขไม่ยาก เพราะผู้ลงทุนของไทย และต่างชาติต้องการความเชื่อมั่นว่า จะนำเงินจำนวนมากมาลงทุน ในอนาคตจะประสบอุทกภัยอย่างนี้อีกหรือไม่ โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติมีทางเลือกจะไปลงทุนในต่างประเทศต่าง ๆ ซึ่งโดยทั่วไปใช้แนวทางการบริหารกระจายความเสี่ยงอยู่แล้ว แล้วจะบริหารความเสี่ยงในอนาคตอย่างไร


อีกประการหนึ่ง เนื่องจากเศรษฐกิจในยุโรป และสหรัฐอเมริกาไม่ค่อยดี คนพร้อมอยากมาลงทุนในตลาดภูมิภาคเอเซีย เพราะเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตค่อนข้างสูง แต่เราจะบริหารเรื่องนี้ให้สอดคล้องกับโอกาสสำคัญที่มาอย่างไร เพราะฉะนั้นผมคิดว่า เรื่องการลงทุนของภาครัฐเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อสร้างความมั่นใจ เป็นเรื่องที่สำคัญและท้าทายที่สุด แต่ถึงแม้จะได้พูดเรื่องนี้ไว้
 

แต่ผมยังอยากพูดเพิ่มเติมว่า ยังมีความจำเป็นต้องเก็บกระสุนไว้บ้าง เพราะการใช้จ่ายเรื่องการลงทุนทรัพยากรน้ำ คิดว่าต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่ขณะเดียวกันเพื่อความรอบคอบจำเป็นต้องเพื่อกระสุนไว้บ้าง เพราะอีกด้านหนึ่งเมฆหมอกต่าง ๆ จากต่างประเทศอาจจะหนักขึ้นมาจากเศรษฐกิจโลก และส่งผลมากระทบต่อประเทศไทย ยังมีเค้าลางความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง และหากว่าเป็นอย่างนั้น ก็มีความจำเป็นต้องอาศัยมาตรการของภาครัฐ เข้าประคองสถานการณ์ จึงเป็นความท้าทาย เพิ่มเติมเข้าไปอีกในการบริหารจัดการด้านการคลังของประเทศ
 

สำหรับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจข้างหน้า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในขณะนี้ยังมีความจำเป็นต้องตามอย่างใกล้ชิดทั้งทางตรงต่อเศรษฐกิจ และทางอ้อมที่มากระทบลูกค้า ในต่างประเทศ ขอให้พยายามกระจายตลาดส่งออกไปมากกว่าตลาดยุโรป และอเมริกา


เหตุการณ์อย่างนี้จะมีผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน มีความผันผวนได้ 2 ทิศทาง ค่าเงินบาทจะผันผวน และมีโอกาสแนวโน้มแข็งค่าขึ้นด้วย
 

การที่ตลาดในยุโรป และสหรัฐประสบปัญหาอย่างนี้ ศักยภาพการเติบโตต่ำไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ขณะที่เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียมีศักยภาพการเติบโตสูงกว่า นักลงทุนจะเคลื่อนย้ายเงินทุน เแต่การที่สกุลเงินสำคัญ มีสภาพคล่องที่สูงกว่าคือ ดอลลาร์สหรัฐ และยูโร มีความผันผวนค่อนข้างสูง จึงมีการเคลื่อนย้ายเงินมา ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนไม่น้อย เพราะฉะนั้นหากเป็นนักธุรกิจที่ต้องเผชิญกับปัญหา โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินต้องตระหนักถึงความจำเป็นในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ต้องใช้เครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ


อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญแต่หลายคนอาจให้ความสำคัญน้อย แรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ซึ่งขณะนี้ยังส่งผลในระดับสูงจากของใช้ที่จำเป็นมีการปรับราคาสูงขึ้น และเงินเฟ้อจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงในช่วงไตรมาส 4 แต่ปีหน้าอาจมีปัจจัยช่วยจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ความต้องการด้านการใช้พลังงานลดลง แต่การใช้จ่ายของภาครัฐและภาคเอกชนยังมาก ต้องมีการดูแลในเรื่องปัญหาเงินเฟ้ออย่างระมัดระวัง


สถานการณ์ที่เกิดขึ้นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องปรับตัว 3 ประการ ได้แก่ 1.ต้องมีการพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพ เพื่อให้สามารถแข่งขันเชิงคุณภาพได้มากกว่าด้านราคา เมื่อตลาดเปิดกว้างมากขึ้น สามารถเลือกฐานการผลิต เลือกวัตถุดิบได้ โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดเสรี การแข่งขันต้องแข่งขันให้ได้ทั้งในและต่างประเทศในระยะยาว ต้องมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนามาตราฐาน ทำให้สินค้ามีความแตกต่าง มีเครื่องมือในการสร้างเอกลักษณ์ให้สินค้า สินค้าต้องมีแบรนด์ที่แตกต่างจากแบรนด์คนอื่น  2.ต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจที่ดี มีการวางแผนระยะยาว มีระบบบัญชีธุรกิจที่ดี เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กิจการ 3.การพัฒนาแรงงานให้มีทักษะและประสิทธิภาพสูง เพื่อลดต้นทุนทางธุรกิจ และสร้างมูลค่าของผลผลิต และรับมือกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีการกดดันในเรื่องค่าจ้างในอนาคต
 

สรุปปัญหาน้ำท่วมทำให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 หดตัวลง แต่ผลกระทบเป็นเพียงระยะสั้น และทุกภาคส่วนสามารถฟื้นตัวได้ไม่นาน และระยะข้างหน้าการ การรับมือต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโฃลกที่มีแนวโน้มว่าจะยืดเยื้อ ในวิกฤตต่าง ๆ จะผ่านพ้นไป ในส่วนเอสเอ็มอีควรตระหนักถึงความจำเป็นรับมือกับความท้าทายของเศรษฐกิจโลกที่มี่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว


 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322053320&grpid=00&catid=&subcatid=
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4527 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2554, 12:54:15 »

ไข่ไก่แพงกับความอดอยาก
วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 16:06:08 น.
โลกทรรศน์
อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์


ระหว่างที่เรายังสรุปผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งใหญ่นี้ไม่ได้ทั่วถึง แต่ภาพที่ค่อยๆ เผยตัวออกมาคือ การยื้อแย่งข้าวปลาอาหาร และของบริจาคต่างๆ

ข้าวปลาอาหารมีความสำคัญ ในขณะที่รัฐบาลเพิ่งจะปล่อยคาราวานส่งข้าวปลาอาหาร หลังจากที่ประชาชนคอยกันมายาวนาน หลังจากข้อถกเถียงมากมายเรื่อง ใครเป็นคนผิดที่ปล่อยให้น้ำท่วมใหญ่ นักการเมืองจำนวนไม่น้อยจีบปากจีบคอแสดงวาทศิลป์ในรัฐสภาอันทรงเกียรติ แต่คนเหล่านั้น ไม่เคยย่างกรายเข้าไปใกล้เขตน้ำท่วม แม้ว่าตัวเองจะเป็นผู้แทนฯ ที่ประชาชนเลือกเขาเข้ามา

ให้สังเกตว่า เรากำลังประสบกับภาวะอาหารขาดแคลน ข้าวไม่มีจะกิน ดังนั้น หลายหน่วยงาน หลายองค์กรจึงเร่งระดมจัดหาอาหาร ส่งอาหารและสิ่งจำเป็นเร่งด่วน แต่ทำโดยเงียบๆ ไม่ได้หวังคะแนนเสียง ทั้งนี้ หลายคนเริ่มตระหนักแล้วว่า น้ำท่วมคราวนี้ได้นำพาสิ่งต่างๆ ที่เราไม่เคยเจอ กลับได้มาเจอ ความอดอยากและภาวะอาหารขาดแคลนกำลังเกิดขึ้นโดยที่คนในสภาหินอ่อนไม่ได้ใส่ใจ

อารมณ์ของมวลชนที่แสดงออกด้วยความเกรี้ยวกราด เพราะพวกเขาเองได้รับผลกระทบจากจัดการน้ำ นับเป็นสิ่งที่เริ่มสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พอใจรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ อารมณ์ที่ว่านี้ ไม่มีทางหายไป แม้ได้เงินก้อนหนึ่งจากรัฐ แต่อารมณ์ที่โกรธแค้นที่มากเป็นพันเท่า เราได้เห็นมาแล้ว เมื่อชาวบ้านแย่งอาหารกัน

อย่ามัวแต่ป้อนคำหวาน เยียวยา ชาวบ้านไม่รู้จักหรอก พอๆ กับ บางระกำ โมเดล คืออะไรชาวบ้านยังไม่รู้เลย

เมื่อชาวบ้านอดอยาก อะไรก็เกิดขึ้นได้

ที่บ้านนอก

ที่จังหวัดนครราชสีมา ชาวบ้านกำลังประสบปัญหาราคาไข่ไก่แพง ไข่ไก่ทุกขนาดราคาสูงขึ้น เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วม ทำให้ฟาร์มไก่ไข่บางแห่งจมน้ำ ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย อีกทั้งการคมนาคมขนส่งลำบาก

คำกล่าวข้างต้น เป็นคำรำพึงรำพันของพ่อค้าขายไข่ไก่ภายในตลาดย่าโม จังหวัดนครราชสีมา

เขาบอกว่า ปัจจุบันไข่ไก่มีปริมาณน้อย เพราะฟาร์มไก่ถูกน้ำท่วม ราคาไข่ไก่หน้าฟาร์มก็ปรับขึ้น ไข่ไก่ที่นำมาจำหน่ายก็รับผ่านมาจากพ่อค้าคนกลาง ประกอบกับเส้นทางการคมนาคมถูกน้ำท่วม ทำให้ต้นทุนขยับสูงขึ้นอีก

ผู้บริโภคต่างก็บ่นว่าไข่แพงมาก และที่ตลาดย่าโมนั้น แม่ค้าที่นำไข่ไก่มาขายต่างก็ได้กำไรน้อย แต่ก็ต้องขาย เพราะไข่เป็นอาหารที่ผู้บริโภคนิยมโดยเฉพาะในภาวะที่สินค้าขาดแคลน

เหตุที่เกิดขึ้นที่นครราชสีมาไม่ใช่สิ่งที่แตกต่างจากที่อื่นๆ ในประเทศไทย แต่ไข่ไก่ที่ราคาแพงและหาได้ยากขึ้นที่นั่น กำลังสะท้อนถึงผลกระทบโดยรากฐานของน้ำท่วม การจัดการของรัฐ ชาวบ้าน และความอดอยากที่กำลังติดตามมา สิ่งเหล่านี้แยกกันไม่ออก และกำลังเผยตัวให้เราเห็น

แม้น้ำท่วมที่กรุงเทพฯ และภาคกลาง เราไม่ควรลืมว่าชีวิตคนที่โคราชได้เชื่อมต่อกับกรุงเทพฯ และภาคกลางไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

เมื่อน้ำท่วมกรุงเทพฯ และภาคกลาง โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เมืองโคราชก็ได้รับผลที่สืบเนื่องมา มีรายงานจากสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดนครราชสีมา ว่า เฉพาะกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์จำนวน 8 แห่ง อันเป็นโรงงานที่รับจ้างผลิตชิ้นส่วนจากโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม จำเป็นต้องหยุดการผลิตไปด้วย

เมื่อน้ำท่วมกรุงเทพฯ และภาคกลาง โรงงานอุตสาหกรรมจมน้ำ แต่โรงงานที่โคราชย่อมกระทบไปด้วย ปรากฏว่า ลูกจ้างที่โคราชต้องว่างงานชั่วคราวจำนวน 9,478 คน หรือเรียกอีกอย่างว่า เกือบหมื่นคนทีเดียว

ด้วยเหตุดังนี้ โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งที่โคราช แม้จะสามารถดำเนินการผลิตต่อไปได้ไม่หยุดงาน แต่ขณะนี้ไม่มีงานล่วงเวลาหรือโอทีในห้วงเวลานี้จนถึงสิ้นปีแล้ว เท่ากับว่า รายได้ของลูกจ้างที่เป็นรายได้หลักของครอบครัวจะลดน้อยลงเป็นสถานเบา แต่หากสถานหนักคือ เลิกจ้าง ตกงานไปเลย

ไข่ไก่ที่ว่าแพงแล้ว ยังหาซื้อได้พอประทังชีวิต ต่อไปชาวบ้านที่นั่นจะไม่มีเงินซื้อ เมื่อนั้น ความอดอยากจะเกิดขึ้น แล้วอะไรต่างๆ ก็เกิดขึ้นได้

จากบ้านนอกสู่กรุงเทพฯ และครัวโลก

เหตุที่เกิดขึ้นที่โคราชไม่ใช่สิ่งสมมุติ ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่โคราชที่เดียวและอาจจะบานปลายมากไปกว่าที่เราคาดคิด น้ำท่วม โรงงานอุตสาหกรรม แรงงาน ชาวบ้าน ความไม่พอใจและความอดอยากเป็นสิ่งที่ร้อยรัดกันอยู่ เป็น "ห่วงโซ่ของความโกรธแค้น" ได้ง่ายๆ

เราไม่ควรหลงลืมว่า โรงงานจำนวนนับหมื่นๆ แห่งจมน้ำและหยุดเครื่องไปแล้วเมื่อคราวน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง โรงงานเหล่านี้ไม่ได้เป็นที่มาของการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและบริษัทเอกชนอย่างเดียว แต่ยังเป็นแหล่งรายได้หลักของแรงงานทั้งในและนอกระบบนับเป็นล้านๆ คน เมื่อรวมครอบครัว พี่น้องและญาติของพวกเขา เราอาจจะนับจำนวนไม่ทั่วถึงก็ได้

คนพวกนี้กระจายอยู่ทั่วประเทศ ไข่ไก่ที่ว่าแพง อาจจะไม่มีเงินซื้อเพราะตกงาน แล้วอาหารอะไรอีกตั้งหลายอย่างที่พวกเขาต้องใช้ประทังชีวิต

เราควรย้อนกลับไปดูด้วยว่า บริเวณรอบๆ กรุงเทพฯ มีโรงงานขนาดเล็กรายล้อมกรุงเทพฯ อีกเป็นจำนวนมาก โรงงานพวกนี้ประสบชะตากรรมเดียวกันกับโรงงานขนาดใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรม คือหยุดการผลิต แต่อาจจะยุ่งยากกว่าเพราะแรงงานนอกระบบเป็นจำนวนอีกไม่รู้เท่าไร รวมถึงครอบครัวของพวกเขา

เราควรหันกลับไปดูด้วยว่า รอบๆ กรุงเทพฯ มีโรงงานผลิตอาหารอีกเป็นจำนวนมาก พวกหนึ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่ โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ทั้งในนิคมอุตสาหกรรมและภายนอกนิคมอุตสาหกรรมทางฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งผลิตอาหารสำคัญของประเทศไม่ว่าจะเป็นอาหารทะเล อาหารกระป๋อง ผลไม้แปรรูป

ผมดูข่าวจากทีวีสาธารณะ ไทยพีบีเอส ที่นั่นเป็นที่ตั้งของโรงงานแปรรูปอาหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีโรงงานมากกว่า 5,000 แห่ง แน่นอน ครัวโลกย่อมสั่นสะเทือน หากน้ำท่วม รายได้เข้าประเทศย่อมลดลง แรงงานว่างงานหรือชะลอการจ้าง

ถึงเวลานี้ เราไม่ควรกลัวเสียหน้า หรืออับอายที่จะไม่ได้เป็นครัวโลกอีกต่อไป เราจะเป็นครัวโลกต่อไป เพื่อนำเงินตราต่างประเทศเข้ามา เพื่อสร้างงานให้แรงงาน เพื่อให้ชาวบ้านสามารถมีชีวิตอยู่ได้ หาเงินซื้ออาหารเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้

ถ้าเราไม่มีอาหาร ไม่มีงานทำ ห่วงโซ่ของความโกรธแค้น ย่อมเกิดขึ้นได้ทั่วทุกทิศ

ง่ายนิดเดียว


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321952788&grpid=no&catid=&subcatid=
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4528 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2554, 13:22:05 »

หากน้ำท่วมลดลงจนแห้งสนิท คงได้มีตัวเลขน่าตกใจออกมาเป็นชุดๆ
เพราะขณะนี้ นักลงทุนและผู้ส่งออกชาวญี่ปุ่นบ่นเสียงดังๆ ว่า เมื่อไหร่นิคมอุตสาหกรรมน้ำจะลดลงสักที
พาณิชย์ตอบไม่ได้ แต่จัดงบไปโรด์โชว์ต่างประเทศแทน ??

ส่งออกต.ค.ต่ำสุด 2 ปีพลิกขาดดุล พิษท่วม!ผลิตสินค้าไม่ทัน คาดไตรมาส4ติดลบ15%
เศรษฐกิจ 23 พฤศจิกายน 2554 - 00:00

       น้องน้ำพ่นพิษแล้ว ส่งออกเดือน ต.ค.ขยายตัวแค่ 0.3% ต่ำสุดในรอบ 2 ปี แถมพลิกขาดดุลการค้า 3.7 หมื่นล้านบาท "ศิริวัฒน์" แจง ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบ ผลิตสินค้าป้อนไม่ทัน คาดไตรมาส 4 ติดลบ 15% เผยถกแผนเยียวยา ภาคเอกชนร้องรัฐอัดฉีดเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพิ่ม ลดภาษีวัตถุดิบนำเข้า พาณิชย์ลุยจัดทีมโรดโชว์ต่างประเทศเรียกเชื่อมั่น
      นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือน ต.ค.54 มีมูลค่า 17,192 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.3% เทียบเดือนเดียวกันปีก่อน เป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี ตั้งแต่ต.ค.2552 ที่ส่งออกขยายตัวลดลง 2.98% การนำเข้ามีมูลค่า 18,200.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.50% ขาดดุลการค้า 1,009.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 37,450 ล้านบาท
      สำหรับช่วง 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.) การส่งออกมีมูลค่า 196,768.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.80% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน การนำเข้ามีมูลค่า 192,498.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 29.14% ไทยยังเกินดุลการค้า 4,270 ล้านเหรียญสหรัฐ
      “การส่งออกในเดือน ต.ค.ที่ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี เนื่องจากผู้ประกอบการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกของไทยได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าเพื่อส่งออกได้ โดยเฉพาะสินค้าหลักประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า จึงทำให้ยอดการส่งออกลดลงอย่างมาก และคาดว่าจะส่งผลกระทบไปจนถึงไตรมาส 1 ปีหน้า โดยคาดว่าในไตรมาส 4 การส่งออกโดยรวมจะขยายตัวติดลบ 15% โดยขณะนี้กรมส่งเสริมการส่งออกได้รวบรวมข้อมูลเพื่อออกมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกแล้ว” นายศิริวัฒน์กล่าว
      นายศิริวัฒน์ กล่าวภายหลังหารือร่วมกับผู้ส่งออก ผู้ประกอบการการค้าในประเทศ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการฟื้นฟูเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ว่า ในการหารือครั้งนี้ ภาคเอกชนได้ชี้แจงถึงสิ่งที่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ โดยเฉพาะด้านเงินทุนในการทำธุรกิจ ที่ต้องการให้มีการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้มากขึ้น เพื่อใช้ฟื้นฟูกิจการ และต้องผ่อนคลายเงื่อนไขเพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น
      รวมถึงความช่วยเหลือในการลดหย่อนภาษีด้านต่างๆ เช่น การนำเข้าเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิต ซึ่งกระทรวงพาณิชย์รับจะประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ดำเนินการต่อไป
      สำหรับความช่วยเหลือที่กระทรวงพาณิชย์สามารถดำเนินการทันที ซึ่งขณะนี้ได้กำหนดเป็นมาตรการฟื้นฟูผู้ส่งออกภายหลังน้ำลดแล้ว ได้แก่ การเร่งสร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้นำเข้าในต่างประเทศ โดยการจัดโรดโชว์ สร้างความเชื่อมั่นด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว นำโดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
      จัดคณะผู้แทนการค้าเยือนต่างประเทศเป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรม แสวงหาแหล่งวัตถุดิบ/เครื่องจักรในการผลิต แสวงหาช่องทางในการรักษาตลาดหลัก และเจาะตลาดใหม่ โดยกำหนดเป้าหมายตลาด ได้แก่ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สหรัฐ อาเซียน จีน อินเดีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง เป็นต้น
      นอกจากนี้ จะเป็นแกนกลางในการประสานและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยในด้านการจัดหาวัตถุดิบและเครื่องจักร สนับสนุนเพื่อเยียวยาผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัยเป็นกรณีพิเศษในการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกของกรมส่งเสริมการส่งออก เช่น การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ การฝึกอบรมต่างๆ เป็นต้น รวมถึงจะจัดงานระบายสินค้าในสต็อกของผู้ส่งออก.


http://www.thaipost.net/news/231111/48553
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4529 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2554, 13:34:10 »

วันนี้ จัดหนัก ให้อ่านกันเพลิน ?? !!

หัวอกของชาวบ้าน"หลังบิ๊กแบ็ก"
เปลว สีเงิน24 พฤศจิกายน 2554 - 00:00

       วันนี้-พฤหัสบดีที่ ๒๔ พฤศจิกา Thanksgiving Day "วันขอบคุณพระเจ้า" และพรุ่งนี้-ศุกร์ที่ ๒๕ พฤศจิกา Black Friday "วันเทกระเป๋า" โลกซีกตะวันตกคงสนุกน่าดู แต่บ้านเราโลกซีกตะวันออกเฉียงใต้ กระนั้น ศุกร์ที่ ๒๕ เราก็มีแบล็กฟรายเดย์กับเขาเหมือนกัน มีเป็นพิเศษ "เฉพาะปีนี้" นั่นคือตอน ๑๓.๑๐ น.จะเกิดสุริยคราสในราศีพิจิก ธาตุน้ำ
      ระวัง...ต่อจากนี้ เหตุฉับพลันทันด่วน เหตุมิคาดหมาย ทั้งภัยวิบัติ และมนุษย์วิบัติ มาจากด้านเศรษฐกิจการเงิน การเมืองระบบรัฐสภา กิจการงานสัมพันธ์ระหว่างประเทศ น้ำท่า-พายุ คืออะไรๆ ที่เกี่ยวกับของเหลวนับเนื่องตระกูลน้ำ ทั้งน้ำใต้ดิน น้ำบนดิน จะนำมาซึ่งความตื่นตระหนก
      น่าสะพรึงกลัว!
      ใครที่รู้ว่าตัวเองเป็นคนใหญ่โต ต่อจากนี้ควรเข้าใจความจริงอย่างหนึ่งว่า ต่อให้ใหญ่ขนาดไหน สุดท้ายก็ยังย่อมกว่าโลงนิดหนึ่งเสมอ!!!
      เมื่อสุริยคราสในราศีธาตุน้ำพรุ่งนี้แล้ว อีก ๑๕ วันก็จะจันทรคราสในราศีธาตุดิน มากันเป็นลำดับ "ครบธาตุ" ทั้งพระอาทิตย์ ทั้งพระจันทร์ ทั้งพื้นพสุธา และทั้งท้องมหานที
      เผลอๆ มหานทีจะมีรีเทิร์น ภาค ๒!?
      ผมเคยบอกไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่เห็นอีนุงตุงนังกันเรื่องรื้อบิ๊กแบ็ก เรื่องปิด-ไม่ปิด, เปิด-ไม่เปิดประตูน้ำ จนริมๆ เกิดสงครามระหว่างชาวบ้านด้วยกัน กลัวจะลืมเลยนำมาเอิ้นอีกครั้ง
      บอกตรงๆ ผมเห็นใจ ด้วยเข้าใจพี่น้องประชาชนที่แห้งอยู่หน้าบิ๊กแบ็ก และท่วมอยู่หลังบิ๊กแบ็ก ลองผมเป็นชาวบางบัวทอง ชาวนนทบุรี ชาวฝั่งธนฯ ชาวคลองมหาสวัสดิ์ ชาวดอนเมือง-หลักสี่ ชาวคูคต ชาวลำลูกกา ที่อยู่หลังบิ๊กแบ็ก หลังคัน-หลังประตูกั้นน้ำเข้ากรุง
      เจอนโยบายบริหารน้ำแบบไร้สำนึกของ ศปภ.อย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้ รื้อก็ต้องรื้อ พังก็ต้องพัง เพราะมันบ้าสิ้นดี ไหนรัฐบาลเพื่อไทยคุยว่านิยม "มาตรฐานเดียว" ไงล่ะ?
      แล้วที่จัดการปัญหาน้ำท่วมอยู่ตอนนี้ "ชั้นนอกปล่อยให้จมตาย-ชั้นในห้ามท่วม" นั่นน่ะมัน ๒ มาตรฐานไม่ใช่เรอะ...ที่ผมพูดนี่ อย่าเข้าใจว่าผมต้องการให้บริหารแบบ...ปล่อยให้ท่วมเหมือนกันหมด!
      และผมก็เชื่อพี่น้องที่รื้อบิ๊กแบ็ก เขาไม่ได้รื้อด้วยความอิจฉากรุงเทพฯ ชั้นใน หรือคนที่แห้งแกร๊กอยู่หน้าบิ๊กแบ็ก ส่วนพวกเขาจมน้ำเน่าเหม็นอยู่หลังบิ๊กแบ็ก
      ผมเคยได้ยินคนชั้นในกรุงเขาสนทนากันบ่อยๆ ว่า.....
      "เอออ...พวกนี้เห็นแก่ตัวนะ รื้อบิ๊กแบ็ก รื้อคันกั้นน้ำ เค้าไม่นึกเลยนะว่าถ้าท่วมหมดทุกที่ในกรุงเทพฯ ประเทศก็เจ๊ง แล้วจะเหลือใครคอยช่วยเหลือกัน จะเอาถนนที่ไหนบรรทุกข้าวของไปแจกกัน?"
      ก็จริงอยู่...เขาพูดเป็นเหตุ-เป็นผลอยู่!
      แต่ลองฟังคนหลังบิ๊กแบ็ก หลังคันกั้นน้ำเขาพูดกันบ้าง...
      "เห็นพวกผมเป็นประชาชนชั้นสองหรือยังไง ต้องทนอยู่กับน้ำท่วมขังจนเน่ามาเป็นเดือนแล้ว ไม่ได้อิจฉาคนชั้นใน ไม่ได้ต้องการให้ผันจากตรงนี้ไปท่วมตรงโน้นหรอก แต่เพียงอยากให้ระบายออกไปบ้าง ให้พวกเราพออยู่กันได้ ทุกวันนี้มันอยู่ไม่ได้ น้ำไม่ไหลไปทางไหนเลย สูงมิดไหล่ ท่วมคอ เน่าหมด ขยะ สิ่งปฏิกูล อุจจาระ-ปัสสาวะ หมักหมมกันอยู่อย่างนี้ แล้วจะให้พวกผมทนไปถึงไหน?"
      ที่ฟังแล้วใจหายหนักขึ้นก็สำหรับชาวสวนทุเรียนนนทบุรี ชาวสวนส้มโอนครชัยศรี รัฐบาลไม่เคยอินังขังขอบในจุดนี้ ปล่อยน้ำท่วมทุเรียน-ส้มโอตายเรียบ ไม่เสียหายเฉพาะชาวสวน แต่เสียหายถึงพืชสัญลักษณ์หลักที่สร้างเงิน-สร้างชื่อเสียงคู่ประเทศมาเป็นศตวรรษ
      อีกสิบ-ยี่สิบปี จะปลูกทดแทนจนมี "ทุเรียนพันธุ์นนทบุรี" เชิดหน้า-ชูตาตลาดสินค้าเกษตรไทยอย่างอดีตหรือไม่ ผมไม่แน่ใจเสียแล้วสำหรับรัฐบาลนี้ ที่ขึ้นต้นแห่งลมหายใจฟื้นฟู ก็มีแต่โรงงานอุตสาหกรรม
       นายโกร่งนำคณะบินไปกราบ... ขอโทษขอโพยบริษัทต่างชาติที่ได้รับยกเว้นภาษีในการเข้ามาตั้งโรงงาน ยังกะว่าน้ำท่วมนี้เป็นความผิดรัฐบาล แผ่นดินนี้เป็นแผ่นดินเพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรเป็นพ่อ
      ไม่เคยได้ยินและไม่ปรากฏเลยว่า นายโกร่งและคณะ กยอ.จะไปกราบตีนชาวสวนทุเรียนนนทบุรี ชาวสวนส้มโอนครชัยศรี ทั้งที่เขาเป็นคนไทย เจ้าของประเทศไทย แต่ไม่ได้ยกเว้นภาษีจากรัฐบาลเหมือนต่างชาติเลย
      ๕ หมื่นล้าน "ขั้นต้น" ฟื้นฟูเหล็กตามโรงงาน
      ซัก ๕ บาท ก็ไม่เคยได้ยินว่าจะช่วยฟื้นฟูชาวสวนนนทบุรี นครชัยศรี กระทั่งแหล่งกล้วยไม้ตัดดอกดำเนินสะดวกที่พินาศยับ!
      โรงงานนั้นฟื้นฟูได้ในเดือน-ครึ่งเดือน!
      แต่ "พืชมรดกประจำชาติ" อย่างทุเรียนนนท์ ส้มโอนครชัยศรี กล้วยไม้ตัดดอกส่งตลาดโลก ที่ดำเนินสะดวก อีก ๑๐-๒๐ ปี ก็ไม่แน่จะพลิกฟื้นขึ้นได้เหมือนเดิม
      New Thailand ในคราบ กยอ.มันอินังขังขอบซะที่ไหน!?
      การรื้อบิ๊กแบ็ก รื้อคันกั้นน้ำนั้น เราต้องทำความเข้าใจด้วย "แยกแยะประเด็น" ให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะบริหารปัญหาไม่ถูก ที่คนชั้นในพูดก็มีเหตุผล และคนหลังบิ๊กแบ็กที่ปล่อยให้เขาแช่น้ำเน่าแบบไม่เห็นอนาคตพูดก็มีเหตุผล สรุปก็คือ คนแห้งหน้าบิ๊กแบ็ก กับคนจมน้ำหลังบิ๊กแบ็ก
      ไม่มีใครผิด...
      ต่างรับกรรมที่ "รัฐบาลไร้เดียงสา" ก่อให้เหมือนๆ กันนั่นแหละ!
      เป็นผลพวงจากความล้มเหลวด้านการ "บริหาร-จัดการ" ของรัฐบาลในภาพ ศปภ.และ กทม.โดยตรง ในหลักการที่ควรทำแต่ไม่ทำ
      ๑.ต้องไม่กั้นน้ำด้วยความคิดว่า...ไม่ให้ไหลไปท่วมตรงนี้..ตรงนั้น
      ๒.ยอมให้ท่วมทุกที่แบบมีเป้าหมาย ไหลไปลงคลอง-แม่น้ำ-ทะเล
      ๓.กรมชลฯ คือเจ้าภาพพาน้ำลงทะเล กทม.แค่เจ้าของทางผ่าน
      ๔.กรมชลฯ ต้องประสาน กทม. ไม่ใช่พาน้ำไหลตามการเมือง
      ๕.กทม.ต้องยอมให้ท่วมชั้นในบ้าง แต่ต้องไม่ให้ขังนาน
      ๖.ชั้นนอกต้องยอมรับสภาพ แต่ต้องไม่ให้แช่ขังนานเป็นเดือน
      ๗.ต้องพูดจากัน ดูแลขณะน้ำท่วม และชดเชยหลังน้ำลด
      ๘.ศปภ.-กทม.ต้องพร้อมเผชิญชาวบ้าน ไม่ใช่หนีหน้าชาวบ้าน
      ที่เห็นๆ อยู่เป็นอย่างนี้ เอาบิ๊กแบ็กไปกั้น พอน้ำไม่ไหลเข้าชั้นในก็แจ๊ดแจ๋..เราเอาอยู่แล้ว..เราชนะแล้ว..รับรองกรุงเทพฯ รอดแล้ว
      ขณะเอาหน้าคนชั้นใน พี่น้องชั้นนอกลอยคอในน้ำเน่า และต้องให้ความเป็นธรรมเขา เขายอมให้น้ำท่วมตั้งเดือน-ครึ่งเดือน แต่แทนที่ ศปภ.-กทม.จะบริหาร-จัดการให้น้ำเคลื่อนไหว พอให้ชาวบ้านเขาอุ่นใจได้บ้างว่า...เอออ...มันค่อยๆ ลดบ้างแล้วนะ
      แต่นี่เฉยเลย กั้นบิ๊กแบ็กข้างในแห้ง แต่คนข้างนอกก็แช่อยู่อย่างนั้น ประเด็นมันไม่ใช่จะต้องรื้อบิ๊กแบ็กให้น้ำไหลมาท่วมเหมือนๆ กัน
      ประเด็นมันคือ จะท่วมเหมือนหรือไม่เหมือนไม่สำคัญ สำคัญที่ ศปภ.-กทม.ต้องประสานแผนด้วยการ "หาเส้นทาง" และวิธีระบายมวลน้ำนั้นให้ไหลไปปลายทางได้บ้าง
      ไม่ใช่นอนรอพระอาทิตย์เผาน้ำให้ระเหิด-ระเหยกลายเป็นไอแห้งไปเอง แล้วมาบอกให้อดทน..ให้ทำใจ..อีกเดือน-สองเดือนก็จะแห้งไปเอง!
      ไอ้คนบนหอคอยมันก็พูดได้ ไม่รู้หัวอกคนถูกน้ำท่วมหรอกว่ามันทุกข์ มันเครียด มันอึดอัดขัดข้องขนาดไหน อุจจาระห่อกระดาษใส่ถุงโยนน้ำ แล้วมันก็ลอยอยู่กับเรา ทั้งของเขา-ของเรา เน่าเหม็นอยู่ด้วยกันอย่างนั้น กินอย่างนั้น อยู่อย่างนั้น นอนอย่างนั้น
      แล้วผู้เฒ่า-ผู้แก่ ลูกเล็กเด็กแดงล่ะ จะทำยังไง?
      เพราะบริหาร-จัดการแบบ "ไม่เห็นอนาคต" นั่นแหละ ชาวบ้านจึงทนไม่ไหว และผมเห็นใจ รื้อเถอะ...ถึงรื้อแล้วมันก็ไม่ช่วยให้น้ำลด แต่ช่วยทลายกำแพงแห่งความเก็บกดจากการบริหารห่วยๆ ได้บ้างหรอก
      พวกกลุ่มประกันภัยทั้งใน-นอกประเทศเขามาประชุมกัน ๒ สัปดาห์ก่อน เขาบอกว่า...สบายมาก ยหป. แปลว่าอย่าห่วงประกัน โรงงานอุตสาหกรรมเสียหายแค่นี้เรื่องจิ๊บๆ แต่ที่เขาต้อง หป.คือห่วงประกัน ต่อจากนี้ ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากประสิทธิภาพในการบริหาร-จัดการปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลนั่นแหละ
      สรุป ต่อจากนี้ เบี้ยประกันภัยสำหรับเมืองไทยจะต้อง "ราคาพิเศษ" คือแพงขึ้น เพราะเขาไม่เชื่อใจ ไม่ให้เครดิตฝีมือบริหารของรัฐบาลปูนั่นเอง!
      เขายกตัวอย่าง น้ำไหลจากนครสวรรค์กว่าจะท่วมโรงงานที่อยุธยาร่วมครึ่งเดือน แต่รัฐบาลไร้ประสิทธิภาพในการบริหาร-จัดการ และที่เขาให้ความสำคัญด้วยเพ่งเล็งเป็นพิเศษ รัฐบาลไม่มีความรับผิดชอบ ไม่กล้าเผชิญปัญหา
      นี่คือประเด็นทำให้ "ราคาประกันแพง"!?
      การรับมือ "ชาวบ้านพังประตูน้ำ" นั่นคือกรณีศึกษา เขาบอกว่า...ทำไมนายกฯ หรือรองนายกฯ ที่รับผิดชอบไม่ไปเผชิญหน้าเพื่อตกลงกับชาวบ้าน กลับส่งเด็กๆ นักการเมืองพื้นที่ไปพูดจา แล้วก็ตกลงอะไรกันไม่ได้ เรื่องแทนที่จะจบกลับลุกลาม
      บริษัทประกันต่างชาติเขาคงไม่รู้ ระดับนายกฯ มีสำหรับแจกของ ระดับรัฐมนตรีมีสำหรับอมของ ส่วนปัญหา...ก็ต้องดูว่า เบิกงบได้มั้ย?


http://www.thaipost.net/news/241111/48629
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4530 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2554, 13:52:49 »

วิจารณ์น้ำแบบคนเคยถูกน้ำท่วม และเข้าใจวิถีแห่งน้ำ............

อย่าบังคับน้องน้ำ
ถูกทุกข้อ                                                                                                              24 พฤศจิกายน 2554 - 00:00

เรียน คุณสามวา สองศอก ที่นับถือ
       จดหมายฉบับนี้นับเป็นฉบับที่ 3 ที่เขียนส่งมา หลังจาก 2 ฉบับก่อนหน้านี้ได้จัดส่งโดยฉบับแรกส่งประมาณปลาย ก.ย. เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้สวมรองเท้าเข้าสภาฯ ซึ่งคงจะเป็นเรื่องที่ไม่สุภาพ ฉบับต่อมาเขียนเมื่อวันที่ 1/11/54 เป็นเรื่องเกี่ยวกับความหมายของนิ้วมือ โดยให้หลานอายุประมาณ 11 ปี (เนื่องจากดิฉันใช้ไม่เป็น) ส่งเข้า thaiposteconomic@hotmail.com
       จดหมายฉบับที่ผ่านมา ดิฉันเขียนว่าอยากจะคุยเกี่ยวกับเรื่อง "น้ำ" แต่มีเรื่องของบริจาคเลยเขียนมาก่อน มาฉบับนี้ขอคุยเรื่องน้ำบ้าง ในความคิด ความรู้ตามธรรมชาติของคนธรรมดาจะคิดได้ ตั้งแต่ช่วงเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา เรามีข่าวเกี่ยวกับน้ำท่วมมากมหาศาลอันเกิดจากพายุใหญ่หลายๆ ลูก (ทำไมจึงใช้ลักษณนามของพายุว่าลูก) ผ่านมา ทำให้ปริมาณของน้ำท่วมที่เพิ่มมากขึ้นตามปริมาณของฝนที่ตกลงมา (ซึ่งใครๆ ก็ทราบอยู่แล้ว)
       ตามปริมาณของน้ำที่ท่วมขังจากตอนบนของประเทศมาจนสุดท้าย ณ วัน/เดือน/เวลานี้ ส่วนใหญ่กล่าวว่า น้องน้ำ โจมตีไหลผ่านมาไม่หยุด เหมือนกับน้องน้ำเป็น แม่ทัพน้ำ นำทัพเข้าโจมตีประเทศไทย โดยเฉพาะช่วงสุดท้ายนี้ เป้าหมาย คือ กรุงเทพฯ และจะเดินทางต่อไป โดยยึดเข้าแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อหาทางออกไปสู่อ่าวไทย มองๆ อ่านๆ ดูแล้วเหมือนว่าเป็น การกระทำ ของน้องน้ำที่ทำให้ประชาชนทุกข์ยากเดือดร้อนอยู่จนถึงปัจจุบันนี้.....อยากถามว่า ปัจจุบันแต่ละคนรู้จักน้ำมากน้อยแค่ไหน?? น้ำให้อะไรแก่สิ่งมีชีวิตบ้าง?? ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน??
       ทั่วทั้งโลก...ทุกประเทศ...ทุกเขตแดน...เคยขาดน้ำบ้างหรือไม่???
       น้ำ คือ ธรรมชาติ น้ำนำมาซึ่งความสุขแห่งชีวิต...น้ำ คือ สิ่งที่ชำระล้างความสกปรกออกไปจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนตั้งแต่โบราณกาลที่ผ่านมา...ให้เป็นที่อยู่อาศัย (เรือนแพ)...ให้อาหาร...ในน้ำมีปลา...ในนามีข้าว (ข้าวเกิดจากน้ำที่มีอยู่ในนา) เราก็ได้อาบชำระร่างกาย ได้ทำกับข้าว ได้ล้างถ้วยจานชาม ได้ขับถ่ายสิ่งโสโครกออกจากร่างกาย รวมทั้งได้เททิ้งขยะสิ่งปฏิกูลลงในน้ำ โดยที่น้ำไม่มีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธ เพราะ น้ำมีหน้าที่ นำสิ่งเหล่านั้นให้ไหลผ่านเลยไป...แต่คน...คนทำอะไร...คนมีแต่เรียกร้องใช้ประโยชน์จากน้ำ...แต่คน.....ไม่เคย...รักษ์น้ำ แต่เมื่อเกิดปัญหาจากน้ำต่างพากันกล่าวหาว่า....ถูกน้ำรังแก
       อยากถามว่าในปัจจุบันนี้ มีใคร...สักกี่คน...รู้จักน้ำบ้าง? ธรรมชาติของน้ำคืออะไร?
       1.น้ำ คือ สายน้ำเอื่อยเรื่อยไหลไปไม่หยุด ใครจะฉุดรั้งไว้จะไหวหรือ?
       2.กระแสน้ำ คืออะไร....คือ เมื่อน้ำไหลเชี่ยวเป็นเกลียวไป ไฉนเลยจะไหลคืนมา
       3.แรงดันน้ำ คืออะไร...คือ สิ่งที่เมื่อน้ำถูกบังคับเต็มที่ ทำให้เกิดแรงดันขึ้นมาเพื่อก่อให้        เกิดอะไร
       4.พลังน้ำ คืออะไร....เมื่อถูกบังคับให้เกิดแรงดันเต็มที่ ย่อมทำให้เกิดพลังงานที่จะทำให้ตนเองพ้นจากการที่ถูกบังคับ
        ...ฉันใด...ก็ฉันนั้น...มองภาพตามความเป็นจริง เช่น เมื่อเราต้องการ อุ่นแกง พอร้อนน้ำแกงเดือด...แต่ยังไม่ปิดไฟ...ความร้อนยังมี...น้ำแกงเดือดพลุ่งพล่าน-เป็นไอ-ทำให้ฝาหม้อเผยอเพื่อไล่ไอ-น้ำเดือดขึ้นมาถึงปากหม้อ-ไอระเหยไม่ทัน แรงดันไอน้ำดันฝาหม้อ ทำให้น้ำที่เดือดนั้นไหลล้นออกจากหม้อเกิดการไหม้ทั้งอาหารในหม้อและหม้อ ผลสุดท้ายคือเสียทั้งหมด
       ดิฉันขออนุญาตยกตัวอย่างอีก 2 ตัวอย่าง สำหรับประชาชนชาวบ้านธรรมดาๆ อย่างดิฉัน ใครที่เคยรดน้ำต้นไม้ในบ้านโดยใช้ท่อน้ำพลาสติกลากสายยางจากก๊อกไปถึงปลายสาย เราจะต้องบีบปลายสายเพื่อให้น้ำพุ่งแรง เพื่อให้น้ำกระจายไปรดน้ำได้ทั่วถึง หรือมิฉะนั้นก็ใช้ถังฝักบัวรดเพื่อให้น้ำกระจายไปทั่วๆ ในบริเวณที่ต้องการ แต่การรดน้ำจากถังฝักบัวนี้มิได้รุนแรงเท่ากระแสน้ำจากท่อน้ำ เพราะน้ำจากถังฝักบัวมีปริมาณน้ำจำกัด เวลารดเมื่อยกขึ้นสูงแล้วเทลงมา สายน้ำที่ออกมาจะกระจายอ่อนไม่รุนแรง แต่น้ำที่จะใช้รดน้ำต้นไม้จากท่อยาง จะไหลลงมาตามสายยางแล้วถูกบังคับด้วยนิ้วมือ จะแรงบ้างค่อยบ้างแล้วแต่คนบังคับ...ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้ดิฉันไม่เข้าใจว่า ทำไม คนเรา จึงคิดว่าจะบังคับ ธรรมชาติ ได้
       ถึงปัจจุบันนี้ดิฉันจะไม่ขอพูดถึงสิ่งที่ผ่านมาตั้งแต่น้ำไหล ซึ่งไหลมาจากภาคเหนือลงมา แต่จะขอพูดถึงปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้นกับภาคกลางตอนล่าง ซึ่งน้ำกำลังไหลไปสู่อ่าวไทยต่อไป
       ขณะนี้ดิฉันมีโอกาสได้อยู่ในที่น้ำยังไม่มา แต่มีพี่สาว-หลาน-คนรู้จักที่ถูกน้ำท่วมแล้วประมาณครึ่งเอว ขาอ่อน หน้าแข้ง ฯลฯ คุยกันว่าถ้าเป็นไปได้ช่วยกรุณา อย่าปิดทางน้ำ เลย ค่อยๆ ทยอยปล่อยให้ผ่านทุกเส้นทางที่สายน้ำจะผ่านได้ เราพร้อมจะร่วมทุกข์ได้ น้ำท่วมพร้อมกันโดยไม่ต้องคอยประสาทผวาว่าจะ เอาอยู่ หรือ เอาไม่อยู่ พร้อมทั้งขอให้ชี้แจงว่าถ้าเปิดทางน้ำโดยเส้นทางของน้ำจะต้องไป แล้วจะให้น้ำหมดไปได้ภายในระยะเวลาเท่าใด เนื่องจากว่าพวกเราต้องมีงานและทำงานทุกวัน ถ้ามีแต่ความไม่แน่นอนเราไม่สามารถจะกำหนดเวลาการทำงานของเราได้อีกเลย ไม่ใช่ว่าอีก 36 ชม.ถึง.... อีก 48 ชม.ถึง....
       แต่ละคนแต่ละส่วนต้องนั่งระวังกันโดยหาความแน่นอนไม่ได้เลย...หรือแม้แต่ต้องรอว่า กทม.จะท่วมอีก 1 เดือน โดยไม่รู้ว่าตั้งแต่เมื่อไหร่...ถึงวันไหน...ขอได้โปรดกรุณาอีกครั้ง ช่วยจัดเส้นทางให้น้ำผ่านในทุกเส้นทางที่น้ำควรจะผ่านไปได้ อย่าปิดอย่ากั้นอีกเลย...
       รู้บ้างไหมว่าน้ำที่ไหลมาตลอดเวลานั้น ไม่ใช่เฉพาะตอนบนแต่น้ำจะมาพร้อมกันทั้งช่วงบนและช่วงล่าง และถ้าด้านบนถูกปิดกั้น น้ำไหลมากระทบส่วนที่ถูกกั้นจะตีกระทบตัวกั้นแล้วม้วนลงกลายเป็นคลื่นใต้น้ำ ซึ่งจะมีสายน้ำไหลมาอยู่แล้ว เมื่อมีคลื่นจากส่วนบนผิวน้ำก็จะตลบม้วนลงรวมเป็นคลื่นใต้น้ำ และสายน้ำที่อยู่ภายใต้นั้นจะรวมตัวกันเป็นสายน้ำเดียวกันไหลผ่านเป็นสายน้ำใต้ดิน เชื่อหรือไม่ว่าปัจจุบันนี้ใต้พื้นแผ่นดินในเขตปริมณฑล รวมทั้งกรุงเทพฯ ซึ่งรวมถึงจังหวัดต่อจากกรุงเทพฯ ไปถึงอ่าวไทย มีน้ำเต็มชุ่มชื้นไปหมดแล้วเพราะรับน้ำใต้ดินจากเหนือลงใต้มากี่เดือน เมื่อไรถ้าน้ำด้านบนจาก กทม.ไหลหลุดลงมาจะมีน้ำผุดขึ้นมาได้ตลอดทุกจังหวัด เนื่องจากวิถีของน้ำดังกล่าว
       ณ ช่วงเวลานี้ ดิฉันค่อนข้างจะเชื่อว่าคนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลทั้งปวง น่าจะมีความพร้อมใจ ร่วมใจกัน คิดว่าอะไรจะต้องเกิดก็เกิด อะไรจะเป็นก็ต้องเป็น ถ้าน้ำจะท่วม กทม.และปริมณฑลก็ต้องเป็นไปโดยทั่วถึงกัน เพียงแต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะใช้ระยะเวลายาวนานแค่ไหน คำตอบ นั่นแหละจะทำให้ประชาชนที่ทุกข์ทนอยู่ในขณะนี้มีความสบายใจขึ้นมาได้บ้าง เพราะพวกเราจะสามารถจัดการกับชีวิตต่อไปข้างหน้าของพวกเราได้ อย่างมีกำหนดที่แน่นอน ด้วยตัวของพวกเราเอง ไม่ต้องรอตะแคงหูฟังว่าจะเอาอยู่ ได้เมื่อไร แล้วก็เลื่อนเวลาต่อไปเรื่อยๆ และอีกครั้งโปรด!!! คิดถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนธรรมดาบ้างว่า "ลูกจะได้ไปเรียนเมื่อไร...จะได้ไปทำงานเมื่อไร...จะได้รับเงินค่าจ้างเมื่อไร...ถ้าไม่มีงานก็ไม่มีเงิน เมื่อไม่มีเงินก็ไม่มีอาหาร ไม่มีค่าเล่าเรียน ไม่มีค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า....." ฯลฯ จิปาถะ จะให้รอแต่ของบริจาคอย่างนั้นหรือ
       ถ้าคิดอย่างนั้น..คงจะทำให้ประชาชนคนไทยกลายเป็น...ขอทาน...ไปเกือบครึ่งค่อนประเทศกระมัง...หรือท่านต้องการให้มีแต่ประชาชนเป็นผู้ขอ...เพื่อให้พวกคุณกลายเป็นผู้ให้...ซึ่งจะทำให้ผู้รับต้องสำนึกในบุญคุณนั้นไม่รู้จักจบสิ้น......!!!!
                            ด้วยความขอบคุณ
                            ส.สุฤทธิ์       
ตอบ คุณ ส.สุฤทธิ์
       น้องน้ำไม่ชอบให้มีใครมาบังคับ ปิดกั้นหรือกีดขวางเส้นทางที่เคยไหลผ่าน น้องน้ำก็ไม่ชอบให้มนุษย์หน้าไหนๆ มาบอกว่า "เอาอยู่" หรือ "ยันได้" เพราะแต่ไหนแต่ไรมาน้องน้ำก็คือ แม่พระคงคาผู้เป็นสายใยแห่งชีวิต ดุจดั่งเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงร่างกายพวกเราทุกคน


http://www.thaipost.net/news/241111/48599
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4531 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2554, 14:07:23 »

อย่าบริหารน้ำแบบเห็นแก่ตัว ลลิตเพท ทรัพย์เมือง
กระจกไร้เงา                                                                                                                23 พฤศจิกายน 2554 - 00:00

      เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ได้เห็นกลุ่มตัวแทนชาวนนทบุรี ออกมารวมตัวเรียกร้องหน่วยงานภาครัฐให้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ หลังตลอด 1 เดือนเต็มที่ผ่านมา ทั้งพื้นที่ไทรน้อย บางกรวย บางบัวทอง และบางใหญ่ ระดับน้ำในพื้นที่แทบจะไม่ลดลงเลย
      ผิดกับคนด้านล่าง อย่างชาว กทม. ทั้งเขตทวีวัฒนา ตลิ่งชัน  บางพลัด บางแค หนองแขม บางขุนเทียน ที่จมน้ำเหมือนกัน แต่ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง วันละ 2-3 เซนติเมตร บางแห่งถนนแห้งรถราวิ่งสัญจร ปกติแล้ว
      มันอดที่จะเปรียบเทียบไม่ได้ว่า ชาวนนทบุรีกลายเป็นพลเมืองชั้นสองของกรุงเทพฯ ที่ต้องยอมกลายเป็นผู้เสียสละแบบไม่เต็มใจ ทั้งๆ ที่น้ำท่วมก่อน ทั้งรุนแรง ฉับพลัน แต่การลดลงของน้ำกลับช้าซะยิ่งกว่าช้า ทุกครั้งที่เห็นพื้นที่ กทม.ประกาศ Big Cleaning day มันช่างเสียดแทงไปถึงหัวใจ เพราะลึกๆ แล้วเชื่อว่าชาวนนทบุรีทุกคนก็อยากกลับบ้าน อยากที่จะจัดกิจกรรมทำความสะอาดครั้งใหญ่เหมือนกัน แต่ตอนนี้ดูเหมือนจะไม่เห็นอนาคต
      เคยมีการแซวกันเล่นๆ จากคนในกองบัญชาการไทยโพสต์ว่า บางที "อดีตนายกฯ ทักษิณจะได้กลับบ้านก่อนคนนนทบุรีด้วยซ้ำ" อันนี้ขำๆ อย่าคิดมาก
      ที่เขียนถึงตรงนี้ ขอออกตัวว่าผมไม่ใช่คนนนทบุรี ผมเป็นคนบางแค  แต่ก็มีเพื่อนสนิท คนรู้จัก เพื่อนร่วมงาน ญาติพี่น้องที่รู้จักหลายคนพักอาศัยอยู่แถวนั้น ผมเข้าใจความเดือดร้อน เพราะผมเองก็ได้รับความเดือดร้อน และเป็นผู้ประสบภัยเหมือนกับเพื่อนๆ พี่น้องชาวนนทบุรีทุกคน
      ผมยอมรับว่าลึกๆ แล้วต้องการให้น้ำลดเร็วๆ จะได้ขัดบ้าน ซ่อมบ้าน กับเขาบ้าง แต่ก็รู้ว่ามันเป็นความเห็นแก่ตัว รู้ทั้งรู้ว่าสาเหตุที่น้ำลดเร็ว เพราะคน กทม.เอาเปรียบเขา ด้วยการแอบไปทำแนวบิ๊กแบ็กกั้นคลองมหาสวัสดิ์เอาไว้ โดยอ้างว่าเป็นการซ่อมแนวคั้นกั้นน้ำเดิม ซึ่งเรื่องนี้เป็นการแอบทำอย่างเงียบๆ ไม่โฉ่งฉางเหมือนฝั่งตะวันออก
      ผลที่ออกมาคนนนท์เหมือนถูกลอยแผ น้ำตาตกใน แต่คนในกรุงเริ่มยิ้มออก...
      ผมว่าเรื่องนี้ฝ่ายจัดการ ทั้งกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) ควรจะต้องลงมาดูและบริหารจัดการพื้นที่ และให้ความช่วยเหลือคนในพื้นที่มากกว่านี้ โดยเฉพาะควรจะมีแนวทางบริหารน้ำให้ชัดเจน และไม่ปล่อยสะเปะสะปะ บริหารตามมีตามเกิด ผมว่าคนในพื้นที่ 4 อำเภอนี้น่าสงสารที่สุด เพราะนอกจากรับน้ำจากด้านบนแล้ว พื้นที่ฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำเจ้าพระยายังเป็นพื้นที่ลาดต่ำ ยังต้องรับน้ำที่ไหลมาจากจังหวัดปทุมธานีอีกต่างหาก นับว่าเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนยาวนาน ไม่แพ้คนในพื้นที่ลำลูกกาและรังสิตเลยทีเดียว
      จังหวะนี้ทุกฝ่ายจะต้องหาทางออกให้กับคนในพื้นที่ทางเหนือของกทม. ไม่ใช่เฉพาะทางฝั่งตะวันตก แต่ทางฝั่งตะวันออกด้วย อะไรที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพวกเขาได้ ก็ควรช่วย เพราะผมเชื่อว่าโดยเนื้อแท้ของคนนนทบุรีและปทุมธานี ก็ไม่ได้มีความต้องการที่จะให้พื้นที่ภายในกทม.น้ำท่วม และโดยความบริสุทธิ์ใจของคนใน กทม.ก็พร้อมที่จะเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข กับคนด้านบน
      ผมว่าการเอาแต่กั้นมันจะยิ่งไปสะสมอารมณ์โกรธแค้น และอาจจะทำคนในพื้นที่ที่เขาเดือดร้อนทำอะไรไม่คาดฝันได้ ฉะนั้นภาครัฐจะต้องเข้าไปบริหารอารมณ์ การเยียวยา การเข้าไปอธิบายถึงแผนการที่ชัดเจน รวมถึงการระบุช่วงเวลาน้ำลดคร่าวๆ ให้ชาวบ้านเขารู้แบบเปิดอก ยังดีกว่าการไปแอบเข้าไปทำอะไรโดยไม่บอกกล่าว เพราะเรื่องแบบนี้ยิ่งจะเป็นชนวนที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง และอาจจะเกิดสถานการณ์เลวร้ายขึ้นได้
      ขณะเดียวกัน ทาง ศปภ.และ ครม. ควรจะต้องมีมาตรการเยียวยาชดเชยให้กับบ้านและที่อยู่อาศัยที่มีน้ำขังเกิน 1 เดือน หรือจะช่วยจ่ายเงินพิเศษสำหรับที่อยู่อาศัยที่อยู่เหนือคันกั้นน้ำ รวมถึงจัดอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และอาหารแบบสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะคนในพื้นที่เหล่านี้จัดเป็นกลุ่มคนที่ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
      ที่เสนอทั้งหมดก็เพราะเห็นใจและเป็นห่วงคนที่อาศัยในพื้นที่ทางเหนือของกรุงเทพฯ ซึ่งนับว่ากลายเป็นเหยื่อผู้รับเคราะห์เต็มรูปแบบ และไม่อยากให้คนกรุงหลอกตัวเอง เพราะความเป็นจริงแล้วน้ำมหาศาลจากจังหวัดด้านบน ยังมีน้ำค้างทุ่งจำนวนมหาศาลที่พร้อมจะไล่ลงมาเติม ซึ่งไม่ได้มีการการันตีว่า กทม.จะปลอดภัย โดยใช้การบริหารจัดการน้ำแบบเห็นแก่ตัวแบบนี้
      จุดนี้ต้องหาจุดสมดุลให้ได้ ให้ทุกฝ่ายพอใจและยอมรับ เพื่อร่วมกันฝ่าวิกฤติมหาอุทกภัยด้วยดี อย่าทำแบบเห็นแก่ตัว จนทำให้เกิดความแตกแยกไปมากกว่านี้เลย ทุกวันนี้ชาติ บ้านเมือง เราก็มีรอยร้าวกันพอสมควรแล้ว
      ท่วมก็ท่วมด้วยกัน แห้งก็แห้งด้วยกัน ผมว่าคนไทยให้กันได้ครับ. 


http://www.thaipost.net/news/231111/48547
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4532 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2554, 14:11:14 »

โออิชิ ที่ไม่ใช่จองคุณตันแล้ว ??................

โออิชิจมเจ๊ง 300 ล้าน RSบ่นสปอนเซอร์หาย
กระจกไร้เงา                                                                                                                23 พฤศจิกายน 2554 - 00:00

       โออิชิเผยพิษน้ำท่วมฉุดธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นวูบ 15-20% คาดต้นปีหน้าถึงฟื้นตัว พร้อมรับอุทกภัยครั้งนี้ทำเครื่องจักรเสียหาย 200-300 ล้านบาท “เฮียฮ้อ” ทำใจ น้ำท่วมพัด รายได้ไตรมาสสี่ร่วง 200 ล้านบาท

      นายไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บมจ.โออิชิ กรุ๊ป ผู้บริหารร้านอาหารญี่ปุ่นโออิชิ เปิดเผยว่า จากข้อมูลศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในเมืองไทยปีนี้ จะมีอัตราการเติบโตลดลง 15-20% จากมูลค่าตลาดรวมกว่า 10,000 ล้านบาท เพราะจากปัจจัยลบจากสถานการณ์น้ำท่วมหนักในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ลูกค้าลดการบริโภค ขณะที่ผู้ประกอบการร้านอาหารญี่ปุ่นเองก็ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ส่งผลให้ต้องปิดให้บริการและโรงงานผลิต จึงทำให้ภาพรวมร้านอาหารญี่ปุ่นจนถึงขณะนี้ชะลอตัว แต่คาดว่าภาพรวมร้านอาหารญี่ปุ่นจะกลับมาเติบโตอีกครั้งในปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า     สำหรับในส่วนของบริษัทเองได้รับผลกระทบจากวิกฤติน้ำท่วม ทั้งในส่วนของธุรกิจเครื่องดื่มและอาหารพอสมควร โดยในส่วนของธุรกิจอาหารครัวกลางถูกน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร ทำให้เครื่องจักรและสายการผลิตทั้งหมดเสียหาย มีมูลค่า 200-300 ล้านบาท และการสูญเสียโอกาสด้านการขายอีก 200-400 ล้านบาท จากธุรกิจร้านอาหารและอาหารโฟรเซ่น ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะต้องใช้เวลาในการกู้คืนโรงงานอย่างน้อย 2-6 เดือน

      นายสุรชัย เชษฐ์โชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อาร์เอส เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ถือเป็นวิกฤติที่ส่งผลกระทบหนักที่สุดครั้งประวัติการณ์ให้กับอาร์เอส ตั้งแต่เปิดดำเนินธุรกิจมา โดยได้ส่งผลให้ต้องมีการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องของสปอนเซอร์ โฆษณาที่หายไปเกือบหมด ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้
      "ปกติ ไตรมาสสี่ ถือเป็นช่วงพีกสุดของธุรกิจเพลงและเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ รวมถึงรายได้จากสปอนเซอร์ที่จะเข้ามาด้วย โดยทางบริษัทเตรียมปล่อยซิงเกิ้ลเพลงไว้หลายเพลง รวมถึงจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งของตนเองและรับจ้างผลิต เช่น คอนเสิร์ตต่างๆ แต่ทั้งหมดนี้ต้องถูกเลื่อนออกไป ส่งผลให้สูญเสียรายได้ไปกว่า 200 ล้านบาท" นายสุรชัย กล่าว.

.
http://www.thaipost.net/news/231111/48548
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4533 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2554, 15:37:46 »

ระบบระบายน้ำของ กทม. ใช้สำหรับระบายน้ำฝน ไม่ใช่ระบายน้ำท่วม
ดังนั้น เมื่อเกิดน้ำท่วม...คิดเอาเอง....ต้องอ่านครับ เผื่อจะต้องช่วยกันหาวิธีแก้ไชในอนาคต....


ดร.รอยล จิตรดอน ถอดบทเรียนน้ำท่วมประเทศไทย
วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 12:00:45 น.
 
 
ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ได้พูดคุยแนวคิด มุมมอง ปัญหา เรื่องการบริการจัดการน้ำให้กลุ่มนักข่าวสิ่งแวดล้อมฟัง ที่สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ซ.รางน้ำ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

มุมมองของผม อย่างแรกสุดคือการฟื้นของเดิมขึ้นมาก่อน อย่างแนวคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริทั้งหลายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) พบว่าที่แล้วมาการบำรุงรักษาไม่ดีพอ เมื่อถนนหลายเส้นเกิดการทรุดตัวลง เช่น ถนนกิ่งแก้ว ทรุดมาก เหลือแค่ 1.4 เมตร ในขณะที่บางช่วงสูง 2.4 เมตร อันที่ 2 เรื่องคลองที่มีอยู่เดิม ที่พระองค์ท่านวางเอาไว้ตั้งแต่ปี 2526 พบว่าค่อนข้างทรุดโทรม ไม่สามารถส่งน้ำไปปลายทางได้ เพราะคลองมันทรุด ไม่ใช่แค่ตื้น แต่แผ่นดินทรุด ตรงกลางมันทรุดด้วย นอกจากนี้ก็ยังพบการรุกล้ำลำคลอง เช่น คลองเปรม คลองบางซื่อ คลองในฝั่งธนบุรี รุกล้ำกันเยอะ ทั้งสร้างบ้าน และเอาไปใช้ทำถนนก็มี

พื้นที่ฝั่งตะวันออก เนื่องจากเป็นคลองขนาดใหญ่จึงโดนรุกล้ำไม่เยอะ แต่คลองฝั่งตะวันตกเป็นคลองขนาดกลางและคลองขนาดเล็กมาก เช่น คลองบางซื่อ โดนรุกล้ำเยอะมาก ที่เจออีกอันคือ คลองที่ลอดใต้ถนน จากเดิมที่เราเคยมองว่าท่อไม่พอ แต่ตอนนี้เรารู้ว่าปัญหาส่วนใหญ่การขุดลอกไม่ค่อยดีเท่าที่ควร ไม่ค่อยได้ทำ เมื่อน้ำส่งออกไปน้ำก็จะถูกล็อกเป็นช่วงๆ ตอนนี้เรามีเครื่องมือสแกนความลึกของคลอง คลองตรงไหนไม่ลึกพอ เราก็ไล่ขุดเป็นช่วงๆ แทนที่จะขุดลอกทั้งเส้น เราก็เลือกขุดลอกเฉพาะพื้นที่ได้ เช่น คลองลาดพร้าว บางช่วงก็ลึกเลย บางช่วงก็ตื้น แต่เมื่อเรามีเอ็กโค่ซาวเดอร์ หรือเครื่องมือตรวจสอบความตื้นลึก เราก็สามารถแก้ปัญหาได้ การตรวจสอบก็ง่ายขึ้น

ปัญหาเรื่องคลองที่เราเจอก็คือ คลองมันหายไป สมัยก่อนมันมี แต่วันนี้มันกลายเป็นถนน อย่างเช่นที่ถนนอังรีดูนังต์ พวกคุณเคยรู้ไหมว่าเดิมมีคลองอรชร แล้ววันดีคืนดีมันก็หายไป กลายเป็นท่อน้ำแทนที่ เราพบว่าข้างล่างถนนอังรีดูนังต์มันเป็นคลอง 2-3 คลอง มีคลองแสนแสบ ลอดใต้ออกมาไปบรรจบถนนพระราม 4 เป็นอุโมงค์ออกแม่น้ำเจ้าพระยา วางทิศเพื่อระบายน้ำฝนเพื่อสูบออกคลองแสนแสบ แต่ระบบสูบของเขา คือ คลองแสนแสบเข้าคลองอรชรเดิม ซึ่งตอนนี้กลายเป็นท่อ เข้าคลองแสนแสบ ออกเจ้าพระยาตอนล่าง แต่ปรากฏว่าผังเดิม คลองแสนแสบวิ่งออกไปข้างนอกด้านภูเขาทอง การไปออกเจ้าพระยาตอนบน ซึ่งออกยาก

ปรากฏว่าง่ายๆ เลยทดลองเปิดประตูน้ำตรงนี้ น้ำไปออกคลองแสนแสบ ไปดูท่อระบายน้ำในสระ ประตูน้ำที่มีอยู่เดิมรอบศาลาแดง ไม่เคยรู้ว่ามีอุโมงค์ข้างล่าง การสูบจะสูบไปยังคลองแสนแสบด้านบน ระบบสูบ สูบอย่างเดียว เอาจากน้ำฝนวิ่งออกไปในคลอง แต่เขาลืมไปว่า ถ้าเป็นน้ำท่วมบ่าเข้าไปในเมือง จะต้องผลักออกเจ้าพระยา คลองพวกนี้มองอย่างเดียวถ้าฝนตกที่อังรีดูนังต์จะต้องปั๊มออก

เหมือนที่คลองบางซื่อแทนที่น้ำจะเข้ามาที่คลองบางซื่อ เสร็จจากคลองบางซื่อเสร็จจะวิ่งต่อ ถ้ารับไม่ไหวจะวิ่งต่อไปที่สถานีดินแดงได้อย่างไร กทม.วางรูปแบบไว้เฉพาะน้ำฝน แต่ไม่ได้วางเพื่อรับน้ำบ่า ถามว่าเครื่องสูบพอไหม พอ แต่ทิศทางการสูบไม่ได้รองรับน้ำบ่าเท่านั้นเอง ไม่ทำผังเชื่อมระบบ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ก็ไม่ได้คิดเผื่อเอาไว้ว่าจะต้องทำงานกรณีน้ำบ่าเยอะๆ จะเห็นว่ากรณีสถานีสูบบางซื่อตัดถนนวิภาวดี กับที่คลองบางเขนตัดถนนวิภาวดี ทิศทางการสูบจะเป็นจากเหนือคลองด้านเหนือถนนวิภาวดีสู่คลองบางเขน ด้านใต้ถนนวิภาวดีก็สู่คลองบางเขน แทนที่จะส่งต่อไปทางคลองเปรมประชากร แทนที่จะส่งต่อไปที่ประตูน้ำตรงหอวัง ที่รัชโยธิน เขาไม่ได้มองอย่างนั้น มองแก้น้ำฝน แก้น้ำขังอย่างเดียวเท่านั้น

- ทำไมจึงคิดอย่างนั้น

เกิดจากการที่คิดว่าอุดอยู่ น้ำไม่เข้าแน่นอน คิดว่าคันพระราชดำริเอาอยู่ ซึ่งคันพระราชดำริก็ไม่ได้ดูแลดีเท่าที่ควร ที่ต้องฟื้นแนวคัน เพราะมันทรุด

- เปลี่ยนระบบเปิดปิดประตูน้ำโดยควบคุมผ่านคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ จะต้องรื้อระบบทั้งหมดหรือเปล่า

ไม่จำเป็นต้องรื้อหมด การพัฒนาระบบที่ดี คือ ต้องต่อยอดของเดิม ที่มีอยู่เดิมมันถูก มีบางอย่างเท่านั้นที่ต้องแก้ไข อีกอย่างการแก้ไขพัฒนานั้นต้องพัฒนาที่คน พัฒนาที่ความคิด อย่าพัฒนาที่เครื่อง เช่น ที่เชื่อว่าทำอย่างไรก็ได้ให้กันอย่าให้น้ำเข้ามา คิดแบบนี้คนข้างนอกก็ทะเลาะกับคนข้างในตาย แต่ต้องคิดว่าทำอย่างไรที่จะกันน้ำเอาไว้บางส่วน และต้องผ่านน้ำออกไปให้ได้เร็วที่สุด

- ความผิดพลาดของ กทม.คือคิดจะกันแต่น้ำฝนใช่ไหม

เขาคิดแต่จะกันน้ำ กับระบายน้ำฝน ทั้งที่มีศักยภาพที่จะทำได้มากกว่านั้น ถ้าจัดระบบใหม่ คือ ถ้า กทม.ทำมาทั้งหมดอย่างที่บอกคือจัดการเรื่องท่อน้ำ ปรับปรุงคันกั้นน้ำ จะระบายน้ำได้วันละ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร จากตัวเลขที่มีคือ 25 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน และถ้าคลองด่านทำงานเต็มที่ได้ 35 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ออกบางปะกงได้อีกประมาณ 6-7 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ออกเจ้าพระยาได้ประมาณ 200-300 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน น้ำจะอยู่กับเราไม่นาน เวลานี้จากเครื่องมือและวิธีการที่ กทม.ทำอยู่ทั้งหมดได้เกือบ 40% ผมไม่ใช้คำว่าแค่ ผมใช้ว่าเกือบ

- กทม.จำเป็นต้องหาเครื่องสูบน้ำเพิ่มขึ้นหรือไม่ แค่เคลียร์ระบบที่มีปัญหา พอหรือเปล่า

เครื่องสูบน้ำก็ยังต้องใช้ ต้องมีเพิ่มบ้าง แต่ต้องมีระบบการส่งน้ำไปยังเครื่องสูบน้ำ ก็เห็นว่าคลองลาดพร้าวส่งน้ำไม่ได้ น้ำจึงท่วมที่พหลโยธินกับที่ถนนวิภาวดี

- บรรดากูรูใน กยน.คุยอะไร อย่างไรกันบ้าง

เราเห็นว่าทุกอย่างขึ้นกับการบริหารจัดการ การบำรุงรักษา และเครื่องมือที่ไม่พร้อม ไม่พร้อมไม่ใช่ว่าไม่มี แต่เพราะเราวางทิศเครื่องมือไม่ตรงกับปัญหา ถามว่าเป็นความผิดพลาดไหม ก็ไม่ได้ผิดพลาดหรอก เพราะเขาคิดแบบนั้น ถามว่าเครื่องมือทำงานตามที่เขาคิดไหม ที่ผ่านมาก็เป็นไปตามที่เขาคิด แต่คราวนี้ไม่ใช่

ถามเรื่องกรรมการใน กยน. ตอนนี้กรรมการไม่ได้ประชุม แต่คุยกัน ท่านสุเมธ (ตันติเวชกุล) ก็พูด ท่านว่า ถ้ามองโครงการพระราชดำริทั้งหมด ไม่ใช่มองแค่ เฉพาะในส่วน กทม.เท่านั้น ก็อยากจะแบ่ง คือ ต้นน้ำจะแก้อย่างไร ต้นน้ำคือเหนือนครสวรรค์ขึ้นไป ระบบเขื่อน ระบบป่า ระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน และระบบหน่วงน้ำ คือ แก้มลิง เช่น บึงบอระเพ็ด บึงสีไฟ หน่วงน้ำเสร็จมาถึงพื้นที่เมือง ท่านก็มองเรื่องการระบายฟลัดเวย์ (Flood way) ท่านมองสองส่วนหลัก

ระบบที่มีอยู่ระบายน้ำฝนและกันน้ำไม่ให้เข้า ตอนแรกที่ทำคันกัน กันแค่สองสามเมืองก็อยู่ แต่พอกันทั้งระบบก็เอาไม่อยู่ เพราะฉะนั้นตอนแรกที่เริ่มทำคันและบอกว่าชนะแล้ว และทุกคนทำคันหมด ตั้งแต่นครสวรรค์ ลพบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ไม่ได้ทำแค่กั้นเมือง กั้นที่นาด้วย ทุกคนก็เจ๊งหมด แทนที่น้ำจะแผ่ กลับถูกบีบและน้ำก็สูงมาก ผมว่ากรมโยธาธิการและผังเมืองจะต้องกำหนดความสูงของคันและพื้นที่ป้องกัน ใครป้องกันต้องระบาย ถ้าบล็อกไว้เท่าไร ต้องมีช่องระบายออกมาเท่านั้น หรือไม่ต้องหาพื้นที่รับน้ำไว้ด้วย เช่น ถ้า กทม.จะกัน 20 ล้าน ลบ.ม. ก็ต้องการันตีได้ว่าสามารถผ่านน้ำได้ 20 ล้าน ลบ.ม.ด้วย

หน้า 7, มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2554


 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322105623&grpid=01&catid=&subcatid=
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4534 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2554, 16:05:25 »

ตรวจสอบบ้านหลัง 'น้ำ' ลด ทำความสะอาดหรือต้อง รื้อ!
วันพฤหัสบดี ที่ 24 พฤศจิกายน 2554 เวลา 0:00 น

 
หลังเกิดมหาอุทกภัย เป็นเหตุให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบต้องอพยพออกจากบ้าน เนื่องด้วยมวลน้ำครั้งนี้ ไม่ได้ท่วมเพียงระดับพื้นชั้นล่างเท่านั้น หากยังเข้าสู่ตัวบ้าน ซึ่งบางพื้นที่อ่วมตั้งแต่ชั้นหนึ่งกระทั่งเกือบถึงชั้นสอง คำถามที่ตามมาคือ บ้านที่ทิ้งไปในขณะน้ำท่วมเป็นเวลานานนั้น จะกลับเข้าไปอยู่ได้หรือไม่ และต้องถึงกับรื้อหรือเปล่า? วันนี้ Special Report จะพาไปไขคำตอบกับผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเรียนรู้ “วิธีตรวจสอบความผิดปกติของโครงสร้างหลักในบ้าน” รวมถึง “สิ่งที่ควรทำ และต้องห้าม! หลังน้ำลด

อาจารย์ธเนศ วีระศิริ เลขาธิการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ หรือ วสท. และ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยกับเดลินิวส์ออนไลน์ว่า จากประสบการณ์การลงพื้นที่ตรวจสอบน้ำท่วมขังอาคารต่าง ๆ พบว่าอาคารไม้ หรือ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กส่วนใหญ่ ไม่ได้รับความเสียหายถึงขนาดรื้อทิ้ง แต่ถามว่ามีหรือไม่ที่พบความเสียหายก็คือมี

ดังนั้นวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ หรือ วสท. จึงมีนโยบายที่จะใช้ความรู้ ความสามารถ และระดมวิศวกรอาสา ซึ่งปัจจุบันได้ 173 ท่านแล้ว เตรียมจะเข้าไปช่วยประชาชนตรวจบ้าน ทางด้านวิศวกรรม ไฟฟ้า สุขาภิบาล รวมทั้งโครงสร้าง ฐานราก เพื่อให้ประชาชนมีความสบายใจ หมดความกังวลใจ โดยจะบริการฟรี ตรวจฟรี ภายใต้ “ศูนย์ตรวจสอบอาคารด้านวิศวกรรมหลังอุทกภัย” ทั้งนี้ ขั้นตอนดังกล่าวอยู่ระหว่างรอเวลา ให้เป็นไปตามลำดับ ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ที่ 080-812-3733 หรือ 080-812-3743 และจะมีการเพิ่มหมายเลขในภายหลัง

“สำหรับกรณีน้ำลดแล้ว มีคำแนะนำคือ ก่อนเข้าบ้านควรเตรียมถุงเท้า บู๊ทยาง ถุงมือยาง รวมทั้งหน้ากากป้องกันมลภาวะ เพราะน้ำท่วมขังจะมีการปนเปื้อน เตรียมแว่นตาในลักษณะป้องกันไว้ด้วย รวมทั้งอุปกรณ์ตรวจวัดไฟ เช่น ไขควงวัดไฟ จากนั้น ทำความสะอาดรอบนอกบ้าน กำจัดตะไคร่ ส่วนน้ำที่ยังขังต้องหาทางระบายออก แม้จะเป็นลักษณะท่วมติดพื้น

นอกจากนั้น สิ่งสำคัญคือ เมื่อเข้าไปในตัวบ้านแล้ว อย่าแตะสวิทซ์ไฟโดยเด็ดขาด ยังไม่ควรสับคัทเอาท์เชื่อมต่อแม้จะเห็นว่าแห้ง หรือ พยายามทำความสะอาดผิวภายนอกแล้วก็ตาม อย่ามั่นใจว่าข้างในไม่มีน้ำอยู่ ควรตามช่างมาถอดดู เช็ดทำความสะอาดเต้าปลั๊กไฟต่าง ๆ เพราะหากสับคัทเอาท์จะเกิดการลัดวงจร ทำให้ระบบไฟฟ้าเสียทั้งบ้าน” อาจารย์ธเนศ กล่าว

อาจารย์ธเนศ กล่าวต่อถึง หลักทำความสะอาดห้องน้ำ โดยต้องตรวจดูการอุดตัน ล้างท่อระบายน้ำ กำจัดถุงขยะ เศษพลาสติก รวมถึงถุงทรายที่เคยอัดไว้ก่อนออกจากบ้าน จากนั้น กดชักโครกดูว่าน้ำไหลดีหรือไม่ ถัดมา เช็คมิเตอร์น้ำ หากปิดวาล์วแล้วมิเตอร์ยังหมุนแสดงว่าท่อรั่ว อาจมีอะไรกดทับทำให้แตกร้าว หรือ หากเปิดวาวว์แล้วมิเตอร์ไม่ทำงานก็ผิดปกติเช่นกัน

พรม ผ้า หรือ โซฟาที่วางอยู่ชั้นล่างถูกน้ำท่วมถึง จะอุ้มน้ำ ต้องนำออกนอกบ้านผึ่งแดด แต่การทำความสะอาดพรมค่อนข้างลำบาก หากไม่มั่นใจควรทิ้ง อย่าปล่อยเป็นแหล่งกักเก็บเชื้อโรค ต่อมา สังเกตการบวมตัวของฝ้าเพดาน หากบวมให้ตามช่างมาถอดออก ป้องกันเหตุร่วงหล่น จากนั้น ทำความสะอาดพื้น ผนัง เสา แล้วเช็ดให้แห้ง

อย่าลืมตรวจคาน พื้น และผนัง แอ่นหรือไม่ มีรอยร้าวที่ผิดปกติไปจากเดิมก่อนจะออกจากบ้านหรือเปล่า เสาโย้ไหม หากเป็นไม้อาจเกิดลักษณะบวม ปล่อยทิ้งไว้นานเสี่ยงแตกได้ ส่วนกรณีบ้านอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง ให้สังเกตแนวรั้วด้านที่อยู่ชิดแม่น้ำลำคลองว่าโน้มเอียงเข้าหาบ้าน หรือ เอียงออกฝั่งลำคลองหรือไม่ เพราะรั้วมีแนวโน้มจะล้ม จากนั้น สังเกตว่ามีรอยแยกของดินขนานคลองหรือเปล่า เป็นข้อบ่งชี้ว่าดินอาจจะสไลด์ แต่ไม่เสมอไป สำหรับ กรณีบ้านวางอยู่บนเสาเข็ม ให้ตรวจว่าดินฐานรากยุบตัวลง หรือ มีรอยแตกไหม ถ้าไม่มีแสดงว่าเสาเข็มยังรับแรงได้ ดังนั้น หากพบสิ่งผิดปกติข้างต้น ควรติดต่อวิศวกรเข้าตรวจสอบ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน” อาจารย์ธเนศ ให้คำแนะนำ

การตรวจสอบความผิดปกติหลังจากทิ้งบ้านไปนานช่วงน้ำท่วม ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำเป็นอันดับต้นๆที่ทุกคนควรทำ เพราะโครงสร้างของบ้านอาจได้รับผลกระทบร้ายแรงกว่าที่เราคิดจากปัญหาน้ำท่วม การตรวจสอบอย่างจริงจังและไม่ประมาทจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้บ้านของทุกครอบครัวกลับมาอยู่ได้อย่างปลอดภัยอีกครั้ง

ทีมเดลินิวส์ออนไลน์


http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=656&contentID=177680
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4535 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2554, 16:20:38 »

อีก 5 ปีโลกเสี่ยงร้อนขึ้นถาวร ระวัง'น้ำท่วม'ใหญ่กว่าเดิม!?
วันศุกร์ ที่ 11 พฤศจิกายน 2554 เวลา 0:00 น
 
 
ผู้เชี่ยวชาญชี้โลกถึงขั้นวิกฤติ หากไม่ลดการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์อย่างรวดเร็วใน 5 ปี สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล

สถานการณ์โลกในปัจจุบัน อากาศตามภูมิภาคต่างๆ ของโลกเกิดความแปรปรวน เป็นเหตุให้ดินฟ้าอากาศทุกมุมโลกวิปริตผิดจากเดิมและทำให้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงเล่นงานมนุษยชาติหนักหน่วงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในโลกยุคดิจิตอล ทุกประเทศทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศของโลกทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยที่กำลังเผชิญมหาอุทกภัยในเวลานี้

อย่างไรก็ดี ดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปและสาเหตุที่ทำให้โลกร้อนขึ้นถึงขั้นวิกฤติที่อาจส่งผลให้ความร้ายแรงของภัยธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นเกิดจากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นมาจากการที่ทั่วโลกใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์อย่างไม่บันยะบันยัง ซึ่งจะทำให้สภาพอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล

นายฟาติธ์ บิโรล หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ(ไออีเอ)เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์ของไออีเอพบว่า หากทั่วโลกไม่ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เช่น น้ำมันดิบ แก๊สธรรมชาติ และถ่านหินอย่างสิ้นเปลืองในภาคส่วนต่างๆ ภายใน 5 ปี จะเป็นการปิดกั้นความเป็นไปได้ที่จะหยุดภาวะโลกร้อนให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย และหากไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงานอย่างรวดเร็วจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกตลอดไปและไม่สามารถแก้ไขได้

นายฟาติธ์ เปิดเผยอีกว่า หากโลกยังคงมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นไม่แต่เกิน 2 องศาเซลเซียส ยังจัดอยู่ในระดับปลอดภัย เพราะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศต้องไม่เกิน 450 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งในปัจจุบันมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศอยู่ที่ 390 ส่วนในล้านส่วน หรือร้อยละ 80 ของจำนวนคาร์บอนที่ปล่อยในชั้นบรรยากาศได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อโลก และในอนาคตก็จะมีใช้พลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไออีเอคำนวณว่าในปี 2015 จะมีการปล่อยคาร์บอนอย่างน้อยร้อยละ 90 จากการใช้พลังงานในภาคส่วนต่างๆ และโรงงานอุตสาหกรรม และในปี 2017 ทั่วโลกจะปล่อยคาร์บอนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศจนถึงระดับที่เป็นอันตรายต่อโลกและทำให้โลกร้อนขึ้น

“อนุสัญญาเกียวโตซึ่งเป็นข้อตกลงให้ประเทศที่ร่ำรวยยอมลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะสิ้นสุดในปี 2012 แม้ทั้งรัสเซียและญี่ปุ่นต่างมีข้อตกลงกันเมื่อเร็วๆ นี้ ที่จะทำข้อตกลงเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2018หรือ2020 แต่จะช้าเกินไป หากไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศในเร็วๆ นี้ ผลกระทบจากการปล่อยคาร์บอนในชั้นบรรยากาศมากเกินไปจะเกิดขึ้นในปี 2017 และเราจะหมดโอกาสในการกลับมาเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกตลอดไป” หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ไออีเอกล่าว
 
นันท์นภัส ศรีตะกูลรัตน์
ทีมเดลินิวส์ ออนไลน์


http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=175286&categoryID=656
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4536 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2554, 16:27:32 »

“ไจก้า”ให้200ล้านสร้างแนวกั้นน้ำนิคมฯ
วันพฤหัสบดี ที่ 24 พฤศจิกายน 2554 เวลา 13:26 น
   .
ไจก้าให้เงิน 200 ล้านบาท สร้างแนวกั้นน้ำนิคมฯต้นแบบ เพื่อเป็นโครงการนำร่องให้นิคมฯอื่น

เมื่อวันที่ 24 ก.ย. นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม กล่าวภายหลังการหารือกับนายอิซูมิ อาไร รองประธานองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(ไจก้า) ว่าไจก้ายืนยันว่าต้องการช่วยเหลือกู้นิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วม โดยเบื้องต้นสนับสนุนงบประมาณกว่า 500 ล้านเยน หรือประมาณ 200 ล้านบาท ลงทุนสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมให้นิคมอุตสาหกรรม 1 แห่ง เพื่อเป็นโครงการนำร่อง และเป็นต้นแบบสำหรับการก่อสร้างแนวกั้นน้ำในนิคมอุตสาหกรรมที่เหลือ

ทั้งนี้ จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ชุดที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เป็นประธาน และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เพื่อสรุปว่าเงินลงทุนดังกล่าวจะใช้กับนิคมอุตสาหกรรมใดที่มีความเหมาะสมมากที่สุด จาก 7 นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจมน้ำไปก่อนหน้านี้ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆนี้ เพื่อนำไปหารือร่วมกับไจก้าต่อไป.

.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=310&contentID=177809
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4537 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2554, 17:28:39 »

ข่าวจากไทยรัฐ ออนไลน์......

"ศูนย์พักพิงชลบุรี" ระบุปชช.เริ่มเดินทางกลับเหตุน้ำลดแล้ว

 

http://www.thairath.co.th/content/region/218899
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4538 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2554, 21:24:09 »

เชิญแจ้งความประสงค์ที่ห้องพี่สิงห์-มานพ กลับดี ครับ

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2554, 21:16:41
อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2554, 21:06:34
ข่าวดี ข่าวด่วน!

              ชาวซีมะโด่งท่านใดที่น้ำท้วมบ้าน และน้ำได้แห้งแล้ว ยังไม่ได้ทำความสะอาดบ้าน โปรดแจ้งอาจารย์เผ่า   สุวรรณศักดิ์ศรี  ศิลปินแห่งชาติ ทางอาจารย์เผ่า จะจัดนิสิตอาสาสมัคร และแม่บ้านของหอพัก กับเครื่องมือทำความสะอาด เครื่องฉีดยาฆ่าเชื้อ จากชมรมฯ ไปบริการล้างบ้านให้ท่านฟรี  ขอเพียงให้ท่านแจ้งมายังกระทู้นี้ ที่นี่พร้อมทั้งเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ ผมจะช่วยประสานกับทางอาจารย์เผ่าให้ครับ

               เช่น บ้านอาจารย์ถาวร  ดร.สุริยา คุณน้องเอมอร เป็นต้น อย่าลืมท่านทำไม่ไหวหรอกครับ ต้องหาคนมาช่วยทำความสะอาดครับ

               สวัสดี

               อาจารย์เผ่า ได้โทรศัพท์มาหาผม ขณะนั่งรถไฟฟ้ากลับบ้านจากการไปงานสพที่วัดธาตุทอง
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4539 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2554, 21:31:10 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 23 พฤศจิกายน 2554, 18:08:46
อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2554, 17:43:46
อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2554, 20:47:31
อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2554, 14:54:32
ข้อมูลน้ำในวันจันทร์ที่ 21 พ.ย. 2554

มวลน้ำไหลผ่านนครสวรรค์วันนี้ 2,015 ลบ.ม./วินาที (หรือ 174.0 ล้าน ลบ.ม./วัน) ลดลงจากเมื่อวานนี้ 55 ลบ.ม./วินาที

ระดับน้ำลดลงในวันนี้ 11 ซ.ม. โดย 276 วันที่ผ่านมาลดลงสะสม 316 ซ.ม.

รวมวันนี้เป็น 37 วัน ระดับน้ำลดลงรวม 327 ซ.ม.


หมายเหตุ: มีรายงานว่า เมื่อวานนี้ เขื่อนปาสักชลสิืทธิ์ ระบายน้ำออก 1.79 ล้าน ลบ.ม. ทำให้มีน้ำในเขื่อนร้อยละ 127 ลดลงร้อยละ 1 จากเมื่อวานนี้, ส่วนเขื่อนอื่นระดับน้ำยังเท่ากับเมื่อวานนี้

ข้อมูลน้ำจังหวัดนครสวรรค์ในวันอังคารที่ 22 พ.ย. 2554

มวลน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ในวันนี้ 1,950 ลบ.ม./วินาที หรือ 168.5 ล้าน ลบ.ม./วัน
ลดลงจากเมื่อวาน 65 ลบ.ม./วินาที หรือ 5.6 ล้าน ลบ.ม./วัน

ระดับน้ำยังลดลงต่อเนื่องคือวันนี้ ลดลง 13 ซ.ม. โดย 37 วันที่ผ่านมา ลดลงสะสม 327 ซ.ม.
รวมวันนี้เป็น 38 วัน ลดลงรวมทั้งสิ้น 340 ซ.ม.


หมายเหตุ; วันนี้มีรายงานว่า เมื่อวานนี้มีฝนตกเฉพาะในภาคใต้คือ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก อำเภอเมือง สงขลา 148.4 มม., ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่อำเภอเมือง ตรัง 47.6 มม.

ข้อมูลน้ำจังหวัดนครสวรรค์ วันพุธที่ 23 พ.ย. 2554

มวลน้ำผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 1,880 ลบ.ม./วินาที (หรือ 162 ล้าน ลบ.ม./วัน) ลดลงจากเมื่อวานนี้ 70 ลบ.ม./วัน

ระดับน้ำวันนี้ลดลง 14 ซ.ม. โดย 38 วันที่ผ่านมาสะสม 340 ซ.ม.

รวม 39 วันระดับน้ำลดลงรวม 354 ซ.ม.


หมายเหตุ: เมื่อวานนี้มีฝนตกที่อำเภอเมือง ลพบุรี 1.7  มม. และอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา 7.5 มม.
แต่มีฝนตกหนังมากในฝั่งทะเลตะวันออกคือที่ อำเภอเมือง นราธิวาส 240.0  มม., ฝั่งทะเลตะวันตกที่อำเภอเมือง ตรัง 26.4 มม.


ข้อมูลน้ำจังหวัดนครสวรรค์ วันพฤหัสบดีที่ 24 พ.ย. 2554

มวลน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์วันนี้ 1,792 ลบ.ม./วินาที (หรือ 155 ล้าน ลบ.ม./วัน)
ลดลงจากเมื่อวานนี้ 88 ลบ.ม./วินาที (หรือ 7.6 ล้าน ลบ.ม./วัน)

ระดับน้ำลดลง 19 ซ.ม. โดย 39 วันที่ผ่านมา น้ำลดลงสะสม 354 ซ.ม.
รวมวันนี้เป็น 40 วันระดับน้ำลดลงรวม 373 ซ.ม.



หมายเหตุ; วันนี้จังหวัดนครสวรรค์จัดแข่งเรือชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนฯ ซึ่งเลื่อนมาจากกลางเดือนตุลาคม 54 ที่ผ่านมา โดยจัดงาน 4 วัน เป็นการแข่งขันเรือพื้นบ้าน 2 วัน และเสาร์-อาทิตย์เป็นการแข่งเรือรอบประชาชน ที่ยิ่งใหญ่คือ เรือ 55 ฝีพาย
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4540 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2554, 21:56:22 »

ชมเพลินๆ ขำๆ นะครับ อย่าเพ่งจนเกินเหตุ

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=6eCZkyBeU20" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=6eCZkyBeU20</a>

http://www.youtube.com/watch?v=6eCZkyBeU20&feature=player_embedded

จาก ผู้จัดการออนไลน์  http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9540000149832
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4541 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2554, 08:08:43 »

ประกาศเตือนภัย
"ฝนตกหนักและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ "

ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554
 
     มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไป ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มริมน้ำ บริเวณจังหวัดสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล ระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง สำหรับประชาชนที่อาศัยตามแนวชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก ให้ระวังอันตรายจากคลื่นสูงที่ซัดเข้าหาฝั่ง
อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยประกอบกับคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือของประเทศไทยแล้ว ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนืออุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดเร็ว โดยมีอากาศหนาวเย็นลงอย่างต่อเนื่อง และจะมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้ในบริเวณภูเขาสูงของภาคเหนือ
ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ออกประกาศ เวลา 04.30 น.



สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4542 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2554, 08:14:10 »

ความคืบหน้า..ของคุณชำนาญ Rx & RCU 2516 และคุณม้า-ศรัญญา Rx 2516 เช่นกัน
ซึ่งมีบ้านและโรงงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมนวนครว่า..ยังอยู่ในช่วงเตรียมการเพื่อสูบน้ำออกจากตัวนิคมฯ
เนื่องจากทุกโรงงานใช้การป้องกันของนิคมฯ เมื่อน้ำท่วมเข้าไป ทุกโรงงานจึงถูกท่วมหมด
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4543 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2554, 08:15:33 »

สวัสดีพี่ปี๊ด

น้องที่อยู่ร้านทวียนต์ ผมยังไม่เจอตัวเลยครับ ??
      บันทึกการเข้า
pusadee sitthiphong
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
กระทู้: 4,689

« ตอบ #4544 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2554, 13:48:38 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2554, 08:14:10
ความคืบหน้า..ของคุณชำนาญ Rx & RCU 2516 และคุณม้า-ศรัญญา Rx 2516 เช่นกัน
ซึ่งมีบ้านและโรงงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมนวนครว่า..ยังอยู่ในช่วงเตรียมการเพื่อสูบน้ำออกจากตัวนิคมฯ
เนื่องจากทุกโรงงานใช้การป้องกันของนิคมฯ เมื่อน้ำท่วมเข้าไป ทุกโรงงานจึงถูกท่วมหมด


ขอบคุณเหยงที่ช่วยส่งข่าวชำนาญให้ทราบเป็นระยะๆ
ยังไม่กล้าโทรฯถามไถ่เลยเนี่ย เสียหายเยอะเหลือเกิน
      บันทึกการเข้า

pom shi 2516
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4545 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2554, 17:32:51 »

คุณป้อม

ติดต่อผ่านเพื่อนเภสัชฯ คุณอ้วน-วรรณี ตัวแทนคณะของรุ่น 16
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4546 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2554, 19:13:50 »

เปิดตัว "คุณพ่อ" ของ "น้องน้ำ" และไขปริศนาทำไมน้ำไม่ท่วม "ดินแดง
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 20:30:00 น.
"หนุ่มเมืองจันท์"

สงสัยไหมครับว่าทำไม "น้องน้ำ" ที่เคยโลดโผนโจนทะยาน  ไปทุกที่ที่อยากไป

แต่วันนี้กลับไหลอย่างช้าๆ

ไม่ยอมไป "ดินแดง" เสียที

ในอีกด้านหนึ่งก็ไปหยุดอยู่แค่ตลาดอตก.  ไม่เลยไป "สะพานควาย"

ตามหลักไสยศาสตร์เบื้องต้น ส.001  วิเคราะห์ว่า 2 ที่นี้น่าจะมีบางสิ่งที่ "น้องน้ำ" หวาดหวั่น  ไม่กล้าผ่านไป

อย่าลืมว่า "น้องน้ำ" ไม่เคยกลัว "กระสอบทราย"

ไม่เคยกลัว "ดินเหนียว" ที่ทำคันดินตามนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ

...แต่ "น้องน้ำ" กลับกลัว "ดินแดง"

คงเหมือน"ผีไทย"กลัว"ใบหนาด"

"ผีฝรั่ง"กลัว"กระเทียม"

"น้องน้ำ"กลัว"ดินแดง"

ในขณะเดียวกัน"น้องน้ำ" ไม่เคยกลัวคันกั้นน้ำอะไรเลย

"บางโฉมศรี" ก็ไม่กลัว

...แต่กลับกลัว "สะพานควาย"

จากบทวิเคราะห์ดังกล่าว  นักไสยศาสตร์จึงเสนอให้นิคมอุตสาหกรรมบางชันและลาดกระบังเปลี่ยนวิธีทำคันกั้นน้ำใหม่

เปลี่ยน "คัน" เป็น "สะพาน"

และเพื่อความขลังต้องเอา "ควาย" มาเดินบนสะพานด้วย

ส่วน "ดินเหนียว" เลิกใช้ไปเลย

ให้ใช้ "ดินแดง"

นี่คือ  ทางรอดเดียวของ 2 นิคมฯนี้ 
 

"นักไสยศาสตร์" ยืนยัน
 

นอกจากนั้นเคล็ดลับนี้อาจนำไปใช้กับพื้นที่ต่างๆ ได้
 
เช่น บ้านต่างๆ ที่เจอน้ำท่วมขังอาจแก้เคล็ดด้วยการเปลี่ยนกระสอบ "ทราย"

เป็นกระสอบ "ดินแดง"
 
หรือบางพื้นที่แถบ "สะพานใหม่"  ให้ลองเอา "ควาย" มาเดิน
 

หลอก "น้องน้ำ" ว่าเป็น "สะพานควาย" สาขา 2

หรือ "สะพานควายใหม่"
 
บางทีน้ำอาจจะลด!!!!


.....................
 
อีกด้านหนึ่ง  "น้องน้ำ" ไหลไปทางถนนรัชดาภิเษกอย่างรวดเร็ว

หลายคนสงสัยว่า "น้องน้ำ" มาที่นี่ทำไม
 
แต่พอเหลือบขึ้นไปมองป้ายด้านบน

"โรงแรมเจ้าพระยา ปาร์ก"

ใช่แล้ว  "น้องน้ำ" จะมาหา "แม่"

"แม่น้ำ" ชื่อ "เจ้าพระยา"

พอเห็นป้ายปั๊บ  "น้องน้ำ" ก็รี่เข้ามาเลย
 
...คิดถึงแม่..
 
ถ้า "น้องน้ำ" หยุดแค่โรงแรมเจ้าพระยา ปาร์ก  แสดงว่า "น้องน้ำ" ต้องการมาหา "คุณแม่"

แต่ถ้าเลยกว่านั้นมาประมาณ 200 เมตร  แล้วหยุดนิ่ง ก็แสดงว่า "น้องน้ำ" น่าจะแวะมาหาใครบางคนที่คิดถึงมานาน

และเป็นการคลายปริศนาที่สงสัยกันมานาน
 

"คุณพ่อ" ของ "น้องน้ำ" คือใคร
 
เพราะตรงนั้นมีอาคารใหญ่แห่งหนึ่ง 

"โพไซดอน"

ครับ... "เทพโพไซดอน" คือ  เทพเจ้าแห่งท้องทะเลและมหาสมุทร  เป็นผู้ปกครองดินแดนแห่งท้องน้ำ 
   
ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ ลำคลอง หรือมหาสมทุร
 
ถ้าจริงแสดงว่า "น้องน้ำ" ไม่ธรรมดา
 
มี"คุณแม่"เป็น "เจ้าพระยา"

มี"คุณพ่อ"เป็น "เทพ"


 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320992580&grpid=01&catid=02&subcatid=0207
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4547 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2554, 20:29:42 »

ประกาศฉบับที่ 17 ยังเตือนภัยอยู่ นครศรีธรรมราชกำลังหนักสุดครับ

 
ประกาศเตือนภัย
"ฝนตกหนักและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้"

ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554
 
     มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้ ฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไป มีฝนตกอยู่ในเกณฑ์กระจายถึงเกือบทั่วไปและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มริมน้ำ บริเวณจังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล ระวังอันตรายจากสภาวะ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไปมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง สำหรับประชาชนที่อาศัยตามแนวชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก ให้ระวังอันตรายจากคลื่นสูงที่ซัดเข้าหาฝั่งในระยะ 1-2 วันนี้
อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับคลื่นกระแสลมตะวันตกพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวอากาศหนาวเย็นลงอย่างต่อเนื่อง และ อุณหภูมิจะลดลงอีก 2-4 องศา กับมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้ในบริเวณภูเขาสูงของภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 26-28 พ.ย. 2554

ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ออกประกาศ เวลา 16.30 น.
 

สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 
 

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4548 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2554, 21:30:43 »

"ธนาคารโลก" ประเมิน ศก.ไทยจมน้ำเสียหาย 1.4 ล้านล้านบาท ดึงจีดีพีปี 2554 หดเหลือ 2.4 %
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 17:40:24 น.

 
นางแอนเน็ต ดิกสัน ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมเพื่อประเมินความเสียหายจากเหตุอุทกภัยรวมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่กระทรวงการคลังว่า จากการประมาณการผลกระทบรอบแรกในช่วงระหว่างน้ำท่วม โดยใช้ระยะเวลาสำรวจข้อมูล 3 อาทิตย์ พบว่าเศรษฐกิจไทยได้รับความเสียหายแล้ว 1.4 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นความเสียหายเช่น บ้าน โรงงาน ทรัพย์สินคงที่ต่างๆ ได้รับความเสียหาย 6.6 แสนล้านบาท ขณะที่ความสูญเสีย เช่นการผลิตที่ไม่สามารถผลิตได้เพราะโรงงานปิด ส่วนนี้มีความเสียหายมากถึง 7 แสนล้านบาท
 
น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย กล่าวต่อว่า ผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยครั้งนี้ส่งผลให้ธนาคารโลกประกาศลดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2554 จาก 3.6 %  เหลือ 2.4 %  หรือลดลง 1.2 %  เนื่องจากน้ำท่วมนอกจากจะมีความเสียหายขึ้น แต่ในมุมกลับกันก็จะมีหลายโรงงาน หลายครัวเรือนที่จับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เช่น การอพยบไปอยู่ในต่างจังหวัด มีการซ่อมแซมโรงงาน

ทั้งนี้ เชื่อว่าผลจากกิจกรรมดังกล่าวจะทำให้อัตราการขยายตัวของจีดีพีปีหน้าเป็นบวกได้อย่างน้อย 0.1 %  เพราะจะมีการจับจ่ายใช้สอยในเรื่องการก่อสร้างและซ่อมแซมเพิ่มขึ้น โดยเชิ่อว่ากำลังการผลิตจะกลับมาผลิตได้ตามปกติในปี 2555 และคาดว่าในปี 2556 จะไม่มีผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งนี้อีก

 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322217465&grpid=00&catid=&subcatid=
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #4549 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2554, 22:11:25 »


สวัสดียามดึกครับ..... พี่เหยง และพี่น้องทุกท่าน

ตามอ่านเพลินเลยครับ...
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 180 181 [182] 183 184 ... 472   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><