23 พฤศจิกายน 2567, 04:03:28
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 444 445 [446] 447 448 ... 472   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุยกับ เหยง 16 - พิเชษฐ์ เชื่อมฯ-เตรียมฉลอง 100 ปี หอซีมะโด่ง จุฬาฯ  (อ่าน 2591238 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 45 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11125 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2557, 19:58:50 »

ไปชมเหรียญปัณณาสมวาร
ในโอกาสบำเพ็ญพระกุศล 50 วันพระศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,18438.msg683827/topicseen.html#msg683827
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11126 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2557, 09:55:06 »

วันนี้ 8 ธันวาคม ครบรอบ 73 ปีที่กองทัพเรือญี่ปุ่นบุกอ่าวเพิร์ลฮาเบอร์
ดึงสหรัฐอเมริกาสู่สงครามโลก ครั้งที่ 2


เพิร์ลฮาร์เบอร์รำลึก 73 ปี เหตุญี่ปุ่นโจมตี ชนวนสงครามโลกครั้งที่ 2
8 ธันวาคม 2557 06:47 น.

 
       สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากท่าเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ รัฐฮาวาย ประเทศหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ว่า เหล่าทหารผ่านศึกราว 100 คน ที่รอดชีวิตจากเหตุโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ และสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมตัวกันเพื่อในพิธีรำลึกครบรอบ 73 ปี เหตุโจมตีท่าเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ เมื่อช่วงเช้าของวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ที่จัดขึ้นเหนืออนุสรณ์สถานเรือรบยูเอสเอส แอริโซนา ที่อัปปาง ซึ่งพบว่าเหล่าทหารผ่านศึกหลายนายได้เดินทางมาถึงที่หมายก่อนพระอาทิตย์จะขึ้นเสียอีก
       
       ด้านนายกิลเบิร์ท เมเยอร์ วัย 91 ปี หนึ่งในทหารผ่านศึกที่ร่วมในพิธี โดยในปีนี้เป็นปีที่10ของเขาที่มีโอกาสได้ร่วมงาน และเป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตจากเหตุโจมตีเรือรบยูเอสเอส ยูทาห์ เผยว่า สำหรับตัวเขาเริ่มรู้สึกว่าการเดินทางจากเมืองแซนแอนโตนิโอ รัฐเทกซัส มารัฐฮาวาย เป็นการเดินทางที่ลำบากขึ้นเรื่อยๆ
       
       ขณะที่เพื่อนของนายเมเยอร์ ที่ร่วมเป็นร่วมตายในสมรภูมิรบเดียวกัน บางคนต้องใช้เครนช่วยยก ส่วนบางคนยังเดินทางมาแม้จะต้องนั่งรถเข็นหรือรถสกู๊ตเตอร์ก็ตาม โดยทั้งหมดได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นด้วยการคล้องพวงมาลัยกล้วยไม้สีม่วง
       
       สำหรับพิธียืนสงบนิ่งไว้อาลัยให้แก่ทหารหาญที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น ได้เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 07.55 น.ตามเวลาท้องถิ่น (00.55น.ตามเวลาประเทศไทย) ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่กองทัพญี่ปุ่นทิ้งระเบิดท่าเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.2484 เป็นเหตุให้ทหารเรือ นาวิกโยธิน และทหารเสียชีวิตราว 2,400 นาย และนำไปสู่การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ของสหรัฐ


 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9570000140932
 
กำลังสอบหาว่า มีการจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก หรือเหรียญกษาปณ์เพื่อใช้จ่ายในการนี้หรือไม่??
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11127 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2557, 10:00:13 »

พายุไต้ฝุ่นอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน และยังอยู่ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์
พรุ่งนี้จะออกจากฟิลิปปินส์ มุ่งสู่ประเทศเวียตนามตอนใต้ ในวันศุกร์ที่ 12
และเข้าสู่ภาคใต้ของประเทศไทยในวันเสาร์ที่ 13 โดยเป็นพายุดีเปรสชั่น

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11128 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2557, 10:01:08 »

ภาพดาวเทียม



      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11129 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2557, 10:03:27 »

                                    พยากรณ์อากาศ ประจำวันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม 2557
ลักษณะอากาศทั่วไป  บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบน มีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนอยู่ในเกณฑ์กระจายในระยะนี้

อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “ฮากูปิต”(HAGUPIT) บริเวณประเทศฟิลิปปินส์ มีทิศทางการเคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลางในช่วงวันที่ 8-9 ธันวาคม 2557 ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปประเทศฟิลิปปินส์ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทางด้วย
 
               พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้. 

ภาคเหนือ  อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
 
ภาคกลาง  อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  มีเมฆบางส่วน กับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  มีเมฆบางส่วน กับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11130 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2557, 10:05:10 »

ไต้ฝุ่น”ฮากูปิต”ถล่มฟิลิปปินส์ ดับแล้ว 3 ราย
7 ธันวาคม 2557 23:30 น.

 
       สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมะนิลาประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่7ธ.ค.ว่าสำนักงานอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่าพายุไต้ฝุ่น “ฮากูปิต”ได้พัดขึ้นฝั่งที่จังหวัดอีสเทิร์นซามาร์ เมื่อค่ำวันเสาร์ที่ผ่านมาสร้างความเสียหายให้กับฟิลิปปินส์ทั้งจากน้ำท่วมแม้ระดับน้ำจะไม่สูงมากนักอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในสภาพไม่แข็งแรงได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมากแต่ไม่มีรายงานเสียหายรุนแรงรวมทั้งที่จังหวัดอื่นๆจากอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่นลูกนี้ซึ่งมีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางสูงถึง140กม.ต่อชั่วโมงและลมกระโชกแรงสูงถึง 170กม.ต่อชั่วโมงเมื่อวันอาทิตย์ก่อนที่พายุไต้ฝุ่นลูกนี้จะอ่อนกำลังลงแต่ก็ยังถือว่าเป็นพายุที่อันตราย
       
       รายงานข่าวระบวุ่าช่วงที่พายุไต้ฝุ่น“ฮากูปิต”พัดขึ้นฝั่งนั้นเคลื่อนตัวอย่างช้าๆทำให้เกิดฝนตกหนักและยังอาจทำให้เกิดดินถล่มกับน้ำท่วมฉับพลัน
       
       แม้จะเทียบกันไม่ได้กับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่น”ไห่เยี่ยน”พัดถล่มฟิลิปปินส์เมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้วแต่พายุไต้ฝุ่น”ฮากูปิต”ก็ทำให้ประชาชนเกือบ900,000คนต้องอพยพไปอยู่ศูนย์พักพิงชั่วคราว1,000แห่งเพื่อความปลอดภัยรวมทั้งรัฐบาลได้ระดมกำลังทหาร120,000คนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์โดยตั้งเป้าความเสียหายให้เป็นศูนย์ให้ได้แต่ก็มีรายงานผู้เสียชีวิต2ศพหนึ่งในนั้นเป็นเด็กทารกเพศหญิงเสียชีวิตเพราะภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติในจังหวัดอิโลอิโลทางตอนกลางของฟิลิปปินส์จุดที่เป็นศูนย์กลางของพายุเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาและอีก 1ศพเพราะถูกต้นไม้หักโค่นในเมืองโดโลเรสจุดแรกที่พายุพัดขึ้นฝั่งนอกจากนั้นก็ยังมีบาดเจ็บอีก2คนเพราะรถรับจ้างสามล้อถูกต้นไม้หักโค่นลงมาทับในจังหวัดเนกรอสทางตอนกลางของฟิลิปปินส์

http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9570000140905
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11131 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2557, 18:31:02 »

พายุฮากูปี๊ด อ่อนแรงลงเป็นพายุดีเปรสชั่นแล้ว และจะออกจากฟิลิปปินส์ในวันนี้




      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11132 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2557, 18:36:20 »

พายุน่าจะสลายตัวเมื่อขึ้นฝั่งเวียตนามใต้ ณ นครโฮจิมินต์ หรือ ไซ่ง่อน
ไม่มีกำลังผ่านอ่าวไทย ไปสู่ภาคใต้ของไทย
ทำให้ประเทศไทย ไม่ได้รับการเติมน้ำฝนในเขื่อนใหญ่ เช่น เขื่อนรัชชประภา

มองโลกในแง่ดี
ฟิลิปปินส์เจอเข้ากับพายุฮากูปิ๊ด ในระดับ 2 เทียบพายุไฮ่เยี่ยน ในเดือนพฤศจิกายนของปีที่แล้ว ที่ระดับ 5
ทำให้ฟิลิปปินส์ไม่ชอกช้ำ ไม่ต้องซื้อข้าวสารเพิ่ม ไม่ต้องซื้อข้าวโพดไปเลี้ยงสัตว์
หลังจากพื้นที่ปลูกเสียหายไปอย่างหนักเมื่อปีที่แล้ว

ส่วนเวียตนาม
น่าจะได้รับผลดีมากกว่าผลเสียจากพายุฮากูปิ๊ด ที่ได้เติมน้ำลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ

ประเทศไทยสูญเสียทั้งหมด แทบไม่ได้อะไรจากฝนในปีนี้เท่าใด
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11133 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2557, 18:37:32 »

In Pics : ปินส์ตายแล้ว 27 สังเวยไต้ฝุ่น “ฮากูปิ๊ต” แต่มะนิลาไม่เสียหายรุนแรง
9 ธันวาคม 2557 08:59 น.

 
       เอเจนซีส์ – สภากาชาดฟิลิปปินส์รายงานยอดผู้เสียชีวิตจากไต้ฝุ่น “ฮากูปิ๊ต” เพิ่มเป็นอย่างน้อย 27 รายวันนี้ (9) ขณะที่ชาวกรุงมะนิลาต่างโล่งอกที่พายุลูกนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายรุนแรงต่อเมืองหลวงอย่างที่คาด
      
       ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนเกาะซามาร์ทางตะวันออก ซึ่งไต้ฝุ่นฮากูปิ๊ตได้พัดขึ้นฝั่งด้วยความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อสุดสัปดาห์ หลังจากนั้นพายุได้อ่อนกำลังลงและเคลื่อนตัวต่อไปทางตะวันตกอย่างช้าๆ เฉียดใกล้กรุงมะนิลาเมื่อช่วงค่ำวันจันทร์ (ที่ 8 ) จนถึงเช้าวันนี้ (9) โดยไม่ได้ทำให้เกิดฝนตกหนัก
      
       ประชาชนหลายหมื่นคนในกรุงมะนิลา โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจนที่อาศัยอยู่ในบ้านเก่าๆ ซ่อมซ่อตลอดแนวชายฝั่งและริมแม่น้ำ ต่างพากันอพยพไปอยู่ศูนย์พักพิงชั่วคราวเพื่อป้องกันความเสี่ยง และเริ่มเดินทางกลับบ้านในวันจันทร์ (ที่ 8 ) หลังพบว่ามีฝนตกปานกลางและไม่ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่อย่างที่เกรงกลัวกัน
      
       ริชาร์ด กอร์ดอน ประธานสภากาชาดฟิลิปปินส์ ให้สัมภาษณ์วันนี้ (9) ว่า ยอดผู้เสียชีวิตซึ่งยืนยันแล้วอยู่ที่ 27 ราย แต่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากเจ้าหน้าที่ยังอยู่ระหว่างประเมินความเสียหายบนเกาะซามาร์และพื้นที่ใกล้เคียง
      
       ฮากูปิ๊ตลดระดับจากพายุโซนร้อนลงมาเป็นพายุดีเปรสชันในวันนี้ โดยได้เคลื่อนผ่านหมู่เกาะทาวตะวันตกของฟิลิปปินส์ และกำลังมุ่งหน้าออกสู่ทะเลจีนใต้


 
 
 
 http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9570000141412

 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11134 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2557, 18:42:18 »

                                            พยากรณ์อากาศ  ประจำวันอังคารที่ 9 ธันวาคม 2557

ลักษณะอากาศทั่วไป  บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบน มีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงได้อีกเล็กน้อย
สำหรับในช่วงวันที่ 12-14 ธันวาคม 2557 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าว มีอากาศเย็นลงและอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และบริเวณอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป มีคลื่นสูง 2-3 เมตร

อนึ่ง พายุโซนร้อน “ฮากูปิต”(HAGUPIT) บริเวณประเทศฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ และจะอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่า พายุนี้จะสลายตัวบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนาม โดยไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย
 
                       พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 17:00 วันนี้ ถึง 17:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ  อากาศเย็น อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย
กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อากาศเย็น อุณหภูมิลดลงเล็กน้อยกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
 
ภาคกลาง  อากาศเย็น อุณหภูมิลดลงเล็กน้อยกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  อากาศเย็น อุณหภูมิลดลงเล็กน้อยกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  มีเมฆบางส่วน กับมีอากาศเย็น
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11135 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2557, 14:10:15 »

คลิกที่นี่ .. ดูมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ ไต้ฝุ่นฮากูปี๊ตฝ่าลมหนาวเข้าทะเลจีนใต้
9 ธันวาคม 2557 17:53 น.

 
       [คลิกที่นี่.. ติดตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสลมโลก]
       ASTVผู้จัดการออนไลน์ - วันอังคาร 9 ธ.ค.2557 ไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต ได้เคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้อย่างเต็มตัว ในขณะที่เริ่มอ่อนแรงลงสู่ระดับพายุโซนร้อน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางลดลง และเคลื่อนตัวเร็วขึ้นในแนวตะวันตก-ตะวันตกเฉียงใต้ ในขณะกระแสลมหนาวกับกระแสน้ำเย็นจากตอนบนเคลื่อนตัวลงสู่ตอนล่างของทะเลใหญ่อย่างรวดเร็ว และการไหลบ่าแรงขึ้นเรื่อยๆ ตามข้อมูลในเช้าวันนี้เชื่อกันว่า ฮากูปี๊ต จะยังห้อข้ามทะเลใหญ่ต่อไปอีกตลอด 2 วันข้างหน้า จนอ่อนลงกลายเป็นดีเปรสชันลูกหนึ่ง ขณะพัดขึ้นฝั่งเวียดนามทางตะวันออกของนครโฮจิมินห์สุดสัปดาห์นี้
       
       ฮากูปี๊ต (Hagupit) พายุชื่อภาษาตากาล็อกได้กลายเป็นไต้ฝุ่นจากทะเลแปซิฟิกตะวันตกลูกแรกของปีนี้ ที่เดินทางไกลแสนไกล และพุ่งดิ่งลงใต้ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปตามกฎแห่งธรรมชาติ
       
       ตามความเห็นของนักอุตุนิยมวิทยาในเวียดนาม ถ้าหากฮากูปี๊ต ก่อเกิดขึ้นมาในฤดูปกติแห่งพายุ คือ ในช่วงเดือน มิ.ย.-พ.ย. ฮากูปี๊ต ก็อาจจะเป็นไต้ฝุ่นใหญ่ที่สุดอีกลูกหนึ่ง มีพลานุภาพในการทำลายล้างรุนแรงที่สุด และอาจจะเดินทางไปไกลที่สุด เท่าๆ หรือไม่น้อยกว่าไต้ฝุ่นไห่แย่น (Haiyan) ในเดือน พ.ย.2556 ทิศทางเคลื่อนตัวของมันอาจจะเป็นแนวเดียวกันกับซูเปอร์ไต้ฝุ่นลูกนั้น ที่เข่นฆ่าชาวฟิลิปปินส์ไปกว่า 6,000 คน ชาวจีน ชาวเวียดนาม กับชาวลาวเสียชีวิตอีกจำนวนมาก
       
       สัปดาห์ที่แล้ว เมื่อฮากูปี๊ต เริ่มปั่นความเร็วขึ้นเป็น “ซูเปอร์ไต้ฝุ่น” ระดับ 5 สำนักอุตุนิยมวิทยาในย่านนี้หลายแห่ง กล่าวว่า พายุลูกมหึมากำลังจะบ่ายหน้าเฉียดเกาะลูกซอนของฟิลิปปินส์ ขึ้นสู่ย่านเอเชียตะวันออก คือ ญี่ปุ่น กับเกาหลี เช่นเดียวกับไต้ฝุ่น และพายุโซนร้อนอีกนับสิบลูกที่ “พัดขึ้นเหนือ” ในปีนี้ แต่ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปในชั่วเวลาเพียงข้ามวัน เมื่อกระแสลมเย็นจากจีนพัดลงใต้ และพุ่งออกไปทุกทิศทุกทางในสัปดาห์เดียวกัน ในฤดูกาลที่ “กระแสลมโลก” (Earth Wind) เริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามการเอนเอียงของโลกขณะหมุนรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งทำให้ซีกเหนือเริ่มเข้าสู่หน้่าหนาว และซีกใต้กลายเป็นหน้าร้อน
       
       นี่คืออิทธิพลที่ยิ่งใหญ่เหนืออิทธิพลใดๆ ในการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศบนดาวเคราะห์โลกของเรา
       
       กระแสลมหนาว-กระแสน้ำเย็นอีกสายหนึ่ง เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วผ่านหมู่เกาะญี่ปุ่น-คาบสมุทรเกาหลี พัดพากระแสน้ำเย็นจากทะเลจีนตะวันออก เลียบชายฝั่งทวีปใหญ่ ลงสู่ทะเลจีนใต้ ในขณะที่อีกกระแสหนึ่งได้พัดวนขึ้นจากขั้วโลกใต้ เข้าใกล้เส้นศูนย์สูตร บางส่วนเลยสู่มหาสทุรอินเดียทางหนึ่ง ทะเลอ่าวไทยกับทะเลจีนใต้อีกทางหนึ่ง ซึ่งได้ทำให้ “กระสวน” หรือ “แพตเทิร์น” การเคลื่อนตัวของมวลอากาศในทั่วทั้งย่านเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
       
       เว็บไซต์ http://earth.nullschool.net/ ที่เฝ้าติดตามความเป็นไปของกระแสลมพื้นผิวโลก กับกระแสน้ำในมหาสมุทร ได้แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 1 สัปดาห์ พร้อมๆ กับการก่อตัวที่ผิดกาลเวลาของไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต
       .

 
       [คลิกที่นี่.. ติดตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสลมโลก]
       
       ตอนบ่ายวันศุกร์ที่ 5 ธ.ค. ดาวเทียมซูโอมิ (Suomi NPP) ขององค์การนาซ่า ที่โคจรทำมุมอย่างเหมาะเจาะกับซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต ได้ส่ง ภาพถ่ายเจาะนัยน์ตา ของมันลงมาให้ชาวโลกได้เห็นความน่าอัศจรรย์แห่งธรรมชาติอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงที่ผ่านมา ก็ยังมีดาวเทียมอีกหลายดวง ทั้งของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ได้ถ่ายภาพพายุเอาไว้จำนวนมาก รวมทั้งภาพอินฟราเรดอีกจำนวนหนึ่งที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเบื้องล่าง
       
       ภาพถ่ายจากอวกาศโดยดาวเทียมของนาซา และดาวเทียมขององค์การอุตุนิยมวิทยาแห่งญี่ปุ่น ที่เผยแพร่ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นการไหลวนอย่างน่าอัศจรรย์ของมวลไอน้ำที่พาดเป็นทางยาวจากหมู่เกาะญี่ปุ่นเข้าถึงทะเลฟิลิปปินส์ และทะลจีนใต้ ซึ่งได้ช่วยอธิบาย “แพตเทิร์น” ใหม่ในการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในย่านแปซิฟิกตะวันตก
       
       ภาพถ่ายเหล่านั้นแสดงให้เห็นการบรรจบพบกันอย่างลงตัวระหว่างกระแสลมเย็นจากตอนบน กับแรงดึงดูดมหาศาลของซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต ซึ่งได้ช่วยสยบความดุดันของพายุใหญ่มาเป็นลำดับ กดหัวพายุให้ต่ำลงสู่เส้นรุ้งต่ำ กดศูนย์กลางของพายุให้ลดระดับลงต่ำ ลดความพลุ่งพล่าน จนช่วงหนึ่งทำให้ยากแก่การพยากรณ์ เช่น ที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาฯ ของเวียดนามว่าเอาไว้ แต่.. ยิ่งดูดเอามวลอากาศเย็นมหึมหามหาศาลเข้าไปมากเท่าไร อายุของไต้ฝุ่นก็ยิ่งหดสั้นลงตามนั้น ..
       
       บ่ายวันที่ 8 ธ.ค. JTWC ในนครโฮโนลูลู ได้แสดงแผนภูมิพยากรณ์เป็นภาพเคลื่อนไหวสามมิติสั้นๆ แสดงให้เห็นรูปลักษณ์ของฮากูปี๊ต ซึ่งในขณะนั้นอ่อนลงเป็นไต้ฝุ่นระดับ 4 พร้อมเขียนข้อความกำกับเอาไว้ 1 ย่อหน้า แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของ “กระแสลมโลก” ที่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ของซูเปอร์ไต้ฝุ่นเคราะห์ร้ายอย่างมหาศาล ซึ่งเข้าใจได้ไม่ยาก
       
       "Tropical Storm Hagupit's low level circulation center is being obscured by its deep central convection and intensities are hard to pinpoint as the storm interacts with land. Once clear over the waters of the South China Sea, Hagupit is forecast to continue weakening as it approaches the southern coast of Vietnam."
       
       ย่อหน้าข้างบนอธิบายรูปลักษณ์ของฮากูปี๊ตที่ เป็น “พายุหมุนต่ำ” .. อาจจะต่ำกว่าความสูงโดยทั่วไปของไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ลูกอื่นๆ ในฤดูปกติ ซึ่งการหมุนแบบ “โลว์แพตเทิร์น” ได้ส่งผลต่อการกระจายแรงลม ทำให้ยากต่อการคำนวณความแน่นหนาของมวลพายุ ในขณะที่มันเคลื่อนตัวเข้าสู่แผ่นดินของหมู่เกาะฟิลิปปินส์.. “แต่เมื่อผ่านเข้าสู่น่านน้ำทะเลจีนใต้เต็มตัว คาดว่าฮากูปี๊ตจะอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ ในขณะที่เข้าสู่ฝั่งทะเลภาคใต้เวียดนาม”
       .
       ภาพสามมิติจากคอมพิวเตอร์ จำลองรูปลักษณ์ของพายุจากข้อมูลดาวเทียม ซึ่งจะทำให้สามารถเตรียมการรับมือได้อย่างถูกต้อง ช่วยชีวิตของผู้คนเอาไว้ได้เป็นจำนวนมาก.
       ภาพถ่ายรวมทั้งข้อมูลจากดาวเทียมช่วยชีวิตมนุษย์ได้เป็นจำนวนมาก ทุกครั้งที่มีพายุใหญ่ก่อตัวขึ้นในทะเลแปซิฟิก แต่ตัวแปรทื่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ “พระแม่ธรรมชาติ”.
       .
       ซูเปอร์ไต้ฝุ่นที่เกิดมาผิดกาลเวลา .. ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่เพียงไรก็ไม่ได้อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ และอิทธิพลของ “กระแสลมโลก” และก็ด้วยสาเหตุเดียวกันนี้ ที่ทำให้ย่านทะเลอ่าวไทย รอดพ้นจากอิทธิพลในบั้นปลายของไต้ฝุ่นลูกใหญ่อย่างหวุดหวิด และอาจจะด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ที่ทำให้เห็นความลังเลอย่างยิ่งของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติเวียดนามในการพยากรณ์ทิศทางการเคลื่อนตัว “อันสลับซับซ้อน” ของมัน
       
       เวียดนาม เป็นอีกประเทศหนึ่งที่เผชิญต่อพายุรุนแรงไม่แพ้ชาติอื่นใดในย่านนี้ โดยมีศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์กลางในกรุงฮานอย เป็นหน่วยงานหลักในการเฝ้าจับตา และเตือนภัยพายุทุกลูกที่เคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ ซึ่งโดยปกติทุกปีจะมีทั้งไต้ฝุ่น และพายุโซนร้อนพัดเข้าฝั่งปีละ 8-10 ลูก งานอุตุนิมวิทยาจึงมีความสำคัญยิ่งต่อชีวิตประจำวันของชาวเวียดนาม 90 ล้าน การพยากรณ์ที่ผิดพลาด หรือล่าช้าไม่ทันการเคยกดดันให้รัฐมนตรีคนหนึ่งต้องลาออกจากตำแหน่งเมื่อหลายปีก่อน
       
       หลังเฝ้าจับตาอย่างใกล้ชิดมาหลายวัน สัปดาห์นี้ทางการเวียดนามจังหวัดต่างๆ ได้เรียกเรือประมงใหญ่น้อยกว่า 32,500 ลำ กับลูกเรือกว่า 140,000 คนในทะเลหลวง กลับเข้าฝั่ง หรือรีบเข้าหลบในที่กำบังเพื่อให้ปลอดภัยจากคลื่นสูง 3-4 เมตร กับลมแรงที่พัดครอบคลุมตั้งแต่สุดปลายแหลมญวน ขึ้นไปจนถึง จ.บี่งดิง (Binh Dinh) ในภาคใต้ตอนบน และไกลออกไปจนถึงนครด่าหนัง ในภาคกลาง กับ จ.กว๋างนาม ที่อยู่สูงขึ้นไปอีกในภาคกลางตอนบน
       
       พายุโซนร้อนลูกใหญ่ได้ข้ามพ้นเกาะฟิลิปปินส์ออกไปในเช้าวันอังคารนี้ มุ่งหน้าเข้าย่านใจกลางของทะเลจีนใต้ เฉียดหมู่เกาะสแปรตลีย์ไป เช้าวันเดียวกัน ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชั้นนำทั่วภูมิภาค ต่างชี้ไปยังปลายทางใหม่ของพายุโซนร้อนฮากูปี๊ต ที่ฝั่งทะเลภาคใต้เวียดนามในศุกร์วันที่ 12 ธ.ค.นี้ ก่อนสลายตัวเป็นดีเปรสชันที่จะทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายจังหวัดชายฝั่ง และอาจจะเลยเข้าสู่ภาคตะวันตกกัมพูชา เมื่อมลายกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ
       
       วันจันทร์ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมา ศูนย์อุตุนิยมวิทยาในภูมิภาคนี้จำนวนหนึ่ง รวมทั้งศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center - JTWC) ซึ่งเป็นหน่วยงานของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในนครโฮโนลูลู รัฐฮาวาย ได้ขีดเส้นปลายสุดชีวิตของซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต.. ในอ่าวไทย (โปรดดูภาพที่ 13)
       
       โชคร้ายยิ่งสำหรับฮากูปี๊ต .. อากาศในทั่วทั้งย่านนี้กำลังเย็นลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะสัมผัสได้ทั่วไปในอีก 3-4 วันข้างหน้า ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณ Earth Wind กับพระแม่ธรรมชาติผู้ยิ่งใหญ่.
       .
       ดาวเทียมขององค์การนาซาหลายดวงที่โคจรผ่านย่านนี้ในช่วงที่ผ่านมา ได้ถ่ายภาพ และส่งข้อมูลเกี่ยวกับไต้ฝุ่ยฮากูปี๊ตสู่เบื้องล่างจำนวนมาก รวมทั้งภาพอินฟราเรดจำนวนหนึ่ง ที่องค์การนาซากับองค์การสมุทรศาสตร์และชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ (NOAAA) เผยแพร่ในช่วงวันสองวันมานี้ แสดงให้เห็นไต้ฝุ่นลูกใหญ่ดูดกลืนไอน้ำกับมวลอากาศเย็นปริมาณมากมายมหาศาลเข้าสู่ศูนย์กลาง .. เห็นเป็นทางยาวจากทะเลจีนตะวันออกถึงทะเลจีนใต้ ซึ่งทำให้พายุลูกใหญ่อ่อนล้าลงเรื่อยๆ ยิ่งเร่งก็ยิ่งเร็ว..

 
       3

 
       4

 
       5

 
       6

 
       7
       ดาวเทียม Suomi NPP ของ NASA-NOAA ดาวเทียม TRMM, ดาวเทียม TERRA ของนาซา และดาวเทียม MTSAT 1-2 ของญี่ปุ่น ส่งทั้งภาพถ่ายทั้งข้อมูลจำนวนมากสู่สถานีเบื้องล่าง ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้รู้รายละเอียดต่างๆ ของพายุใหญ่แต่ละลูก เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการป้องกันอุบัติภัยสำหรับคนจำนวนหลายล้าน แต่เบื้องหลังของปรากฏการณ์เหล่านี้ ล้วนเป็นฝีมือพระหัตถ์แห่ง “พระแม่ธรรมชาติ” ไม่ว่าจะบวกหรือลบ ดีหรือร้าย. .

 
       8

 
       9

 
       10

 
       11

 
       12
       เพียงแค่ 24 ชั่วโมงก่อนหน้านี้ ทะเลอ่าวไทยยังเป็นปลายทางสุดท้ายของพายุโซนร้อนลูกใหญ่ แผนภูมิพยากรณ์โดย JTWC ของกองทัพเรือสหรัฐฯ แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของ Earth Wind ที่แปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็วในช่วงวันสองวันมานี้ กดหัวไต้ฝุ่นฮากูปี๊ตจนไม่สามารถเงยขึ้นได้ อายุของมันหดสั้นลง และการเดินทางไกล 10 วัน ใกล้จะสิ้นสุดลงไม่เกิน 48-70 ชั่วโมงข้างหน้า แผนภูมิฯ ของสำนักต่างๆ ที่ออกในบ่ายวันอังคาร 9 ธ.ค.นี้ชี้ไปยังฝั่งทะเลภาคใต้เวียดนาม.

 
       13

 
       14

 
       15

 
       16

 
       17

 
       18

 
 
 
http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9570000141710
 
      บันทึกการเข้า
Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #11136 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2557, 16:08:41 »

  คุณเหยง ฮากูบิต มาทักทายนักเรียนทั่วภาคใต้มาแข่งทัก
ษะ แค่เบาะๆชอบกับเด็กจริง พระพิรุณนี่
      บันทึกการเข้า

Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #11137 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2557, 21:29:52 »

       แข่งที่กระบี่ค่ะ มีตั้งแต่ป.1ถึงม.6 มีอยู่รายการหนึ่งน่าสนใจ การแข่งขันมายากล กับการแสดงตลก
        ไม่นึกว่าจะมี เดี๋ยวนี้เด็กมีทักษะรอบด้าน
      บันทึกการเข้า

เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11138 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2557, 09:43:47 »

ตามภาพ พายุลูกที่ 24 ของภูมิภาคนี้ ลดความรุนแรงและลดพื้นที่ลงไปเรื่อยๆ
จากอากาศหนาวที่ลงมาจากจีน ช่วยสยบความรุนแรงของพายุลูกนี้ลง


ภาพเมื่อวานนี้


วันนี้


      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11139 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2557, 09:45:43 »

                                       พยากรณ์อากาศ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม 2557
ลักษณะอากาศทั่วไป  บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งได้ปกคลุมประเทศจีนตอนใต้แล้ว และจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 12-14 ธันวาคม 2557 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลง และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และบริเวณอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป มีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย
อนึ่ง พายุโซนร้อน “ฮากูปิต”(HAGUPIT) บริเวณทะเลจีนใต้ มีแนวโน้มอ่อนกำลังลง คาดว่า พายุนี้จะสลายตัวบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนาม
โดยไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย
 
                          พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.
 
ภาคเหนือ  อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 17-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
 
ภาคกลาง  อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา
ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ
ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ
ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  ท้องฟ้าโปร่งเป็นส่วนมาก กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11140 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2557, 09:46:42 »

คุณต้อย


หมดพายุลูกนี่แล้ว
ภาคใต้คงเริ่มมาอากาศเย็นลง ฝนก็ลดลงด้วยครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11141 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2557, 21:45:33 »

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
"คลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย"

ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2557
 
       
บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งได้ปกคลุมประเทศจีนตอนใต้แล้ว และจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 12-14 ธันวาคม 2557 ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฏร์ธานี ควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
       สำหรับ ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลงกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย

       ประกาศ ณ วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เวลา 16.00 น.

 
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11142 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2557, 21:48:30 »



ความกดอากาศสูง (อากาศหนาวเย็น) ที่แผ่ลงมา มีผลให้ "พายุฮากูปี๊ด" อ่อนแรงลง นั่นเอง
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11143 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2557, 20:04:12 »

พยากรณ์อากาศวันนี้

                                                  พยากรณ์อากาศ ประจำวันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม 2557
                                                                       ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
                                                                    "คลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย"

                                                               ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2557

ลักษณะอากาศทั่วไป  บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งที่ปกคลุมประเทศเวียดนามและลาว ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนแล้ว ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฏร์ธานี ควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 12-14 ธันวาคม 2557 ไว้ด้วย
สำหรับ ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลงกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย
 
                              พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 17:00 วันนี้ ถึง 17:00 วันพรุ่งนี้.
 
ภาคเหนือ  มีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส
ตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-14 องศาเซลเซียส
ส่วนทางตอนล่างอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-18 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-9 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง
ตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-15 องศาเซลเซียส
ส่วนทางตอนล่างอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-18 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
 
ภาคกลาง  อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง
อุณหภูมิต่ำสุด 19-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง
อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา
อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-45 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง
อุณหภูมิต่ำสุด 21-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
 
 


      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11144 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2557, 20:06:20 »

พรุ่งนี้ พายุฮากูปี๊ด จะสลายตัวกลางอ่าวไทย
ซึ่งจะมีฝน ลมในอ่าวไทยและอาจเข้ามาถึงภาคใต้
เนื่องจากความกดอากาศสูงพาลมหนาวลงมากดดันพายุลูกนี้


      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11145 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2557, 12:49:03 »

วาระสุดท้าย .. ลมหนาวไล่กุดหัว “ฮากูปี๊ต” ดีเปรสชันลูกใหญ่เตลิดเข้าอ่าวไทยเฉย
12 ธันวาคม 2557 15:38 น.



แผนภูมิจากเว็บไซต์ MeteoGroup กับ WeatherFoundation Philippines นำเอาภาพถ่ายโดยดาวเทียมขององค์การสมุทรศาสตร์และชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ (NOAA) มาเสริมแต่งด้วยข้อมูล แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกในย่านนี้ ซึ่งจะเห็นมวลอากาศเย็นปริมาณมหึมามหาศาล เคลื่อนจากตอนเหนือลงใต้ รวมทั้งมวลใหญ่ที่เคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ .. ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมาแล้ว มาไล่พายุฮากูปี๊ต และ ทั่วอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง เตรียมพบกับความหนาวเย็นตั้งแต่สุดสัปดาห์นี้เป็นต้นไป.  

 
       ASTVผู้จัดการออนไลน์ - พายุโซนร้อนฮากูปี๊ต (Hagupit) พัดขึ้นฝั่งทางภาคตะวันออกของเวียดนามคืนวันพฤหัสบดี 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา และอ่อนตัวลงเป็นดีเปรสชัน ท่ามกลางแรงกดดันจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แต่พายุที่เคยมีความรุนแรงเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 เมื่อ 1 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ ยังไม่หมดฤทธิ์ลงง่ายๆ เช้าวันนี้ สำนักพยากรณ์อากาศหลายแห่งได้ออกแผนภูมิแสดงปลายทางล่าสุดของมันในย่านใจกลางทะเลอ่าวไทย แหล่งที่ฮากูปี๊ตจะยุติการเดินทางไกลเป็นเวลา 10 วัน ระยะทางกว่า 3,000 กิโลเมตร แต่ขณะเดียวกัน ก็กำลังจะแผ่พิษสงครั้งสุดท้าย
      
       ตามข้อมูลของศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในนครโฮโนลูลู ฮากูปี๊ต กำลังจะกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในอ่าวไทย และมลายหายไปในเช้าตรู่วันเสาร์ 13 ธ.ค.นี้ ซึ่งเมื่อ 3 วันก่อน JTWC เคยออกแผนภูมิชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นอ่าวไทยเป็นปลายทางของฮากูปี๊ต ในฐานะดีเปรสชันลูกใหญ่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพดังกล่าว นักพยากรณ์อากาศหรือผู้ติดตามสภาพ การเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศโลก ในช่วงนี้สามารถเข้าใจได้
      
       ทั่วทั้งภูมิภาคกำลังย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ..
      
       ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังพัดแรงเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย รวมทั้งเหนือขึ้นไปในผืนแผ่นดินใหญ่ของทั่วอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง กรมอุตุนิยมวิทยาของไทยได้ออกแจ้งเรื่องนี้ในตอนเช้า ระบุว่า ทั่วภาคเหนือของไทยอากาศจะเย็นลงอีกในไม่ช้า ซึ่งเป็นการย่างเข้าสู่หน้าหนาวในประเทศนี้ สภาพการเคลื่อนตัวในช่วงปลายของพายุโซนร้อนฮากูปี๊ต ได้ทำให้กรมอุตุฯ ออกคำเตือนในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เกี่ยวกับฝนตกทั่วไปจนถึงตกหนัก ตามแนวชายฝั่งใต้ตะวันออกของประเทศ
      
       สำหรับเวียดนาม ฮากูปี๊ต เป็นพายุรุนแรงลูกที่ 5 ที่เคลื่อนตัวเข้าถึงฝั่งในปีนี้ แต่ก็เล่นเอาเถิดอยู่หลายวัน ก่อนที่สำนักพยากรณ์อากาศในกรุงฮานอย จะสามารถจับทิศทางได้ และออกแจ้งเตือนให้เรือประมงกว่า 35,000 ลำใน “ทะเลตะวันออก” รีบกลับเข้าฝั่ง หรือหลบหาที่กำบังให้ปลอดภัยจากคลื่นสูง 3-4 เมตร นอกจากนั้น ฮากูปี๊ตก็ยังเป็นพายุลูกแรกในปีนี้ที่ดิ่งหัวลงใต้เนื่องจากแรงกดดันจากมวลอากาศเย็นปริมาณมหึมามหาศาลที่เคลื่อนตัวลงมาจากตอนเหนือของทวีปเอเชียในช่วงเดียวกัน
      
       เช้าวันศุกร์นี้ สำนักอุตุนิยมวิทยาของหลายประเทศ และดินแดนในย่านนี้ได้ออกข่าวสุดท้ายเกี่ยวกับพายุฮากูปี๊ต หลายแห่งได้แสดงภาพถ่ายดาวเทียม อันเป็นนาทีสุดท้ายของพายุ ขณะพัดเข้าฝั่งเวียดนาม.

       .



พายุฮากูปี๊ตบน Google Earth เช้าวันศุกร์ 12 ธ.ค.นี้ พายุโซนร้อนลูกใหญ่เข้าไม่ถึงแผ่นดินเวียดนามดี ก่อนจะอ่อนตัวลงเป็นดีเปรสชั่น ท่ามกลางแรงกดดันมหาศาลจากมวลอากาศเย็นที่เข้าสู่ภูมิภาคนี้กับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ "พายุร้อนๆ" อย่างฮากูปี๊ตต้องหนีตะเลิดลงใต้ เข้าสู่ทะเลอ่าวไทยเป็นวาระสุดท้าย ก่อนจะสิ้นสุดการเดินทาง 10 วันรวมระยะทางกว่า 3,000 กิโลเมตรจากแปซิฟิกตะวันตก.

       2



ไกลออกไปในกรุงลอนดอน ศูนย์เตือนความเสี่ยงจากพายุเขตร้อน TSR ออกแผนภูมิวันศุกร์นี้เช่นกัน แสดงปลายทางอันชัดเจนของดีเปรสชั่นฮากูปี๊ตในทะเลอ่าวไทย มันกำลังจะมลายไปในวันรุ่ง สิ้นสุดการเดินทางไกลของซูเปอร์ไต้ฝุ่นจากทะเลแปซิฟิกตะวันตกอีกลูกหนึ่ง.  

       3



มองจากพื้นล่างไม่เห็นอะไร แต่เมื่อมองจากดาวเทียมจะเห็นสิ่งนี้ ... มวลไอน้ำมหึมามหาศาลที่เคลื่อนลงมากับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภาพที่ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม MTSAT หอสังเกตการณ์ฮ่องกงเผยแพร่ตอนเช้าวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา นี่คือแรงกดดันสำคัญที่กดหัวพายุโซนร้อนฮากูปี๊ต.  

       4



แผนภูมิสุดท้ายโดย JTWC ชี้ปลายทางของดีเปรสชั่นฮากูปี๊ต.

       5



ฉากแรกๆ เมื่อพายุโซนร้อนฮากูปี๊ต อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชั่นลูกใหญ่ ปกคลุมฝั่งทะเลเวียดนามทางตะวันออกนครโฮจิมินห์ เป็นภาพจากดาวเทียม MTSAT เมื่อเวลา 3 น. เศษ วันศุกร์ 12 ธ.ค. นี้.  

       6




       7


อีกภาพหนึ่งจากดาวเทียม MTSAT แสดงให้เห็นฉากแรกๆ เมื่อพายุโซนร้อนฮากูปี๊ต อ่อนแรงลงเป็นดีเปรสชั่นลูกใหญ่ใกล้ฝั่งทะเลเวียดนาม ตอนเช้ามืดวันศุกร์ 12 ธ.ค.นี้ ก่อนเตลิดลงใต้เข้าทะเลอ่าวไทย.

       8



เวลา 4 น.วันศุกร์ 12 ธ.ค.2557 ภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT แสดงให้เห็นไอน้ำคละคลุ้งเหนือดินแดนตอนใต้สุดของเวียดนาม ขณะดีเปรสชั่นฮากูปี๊ต ถูกกดดันให้เตลิดลงใต้ เคลื่อนเข้าสู่ทะเลอ่าวไทย ในวาระสุดท้ายของมัน.

       9



หอสังเกตุการณ์ฮ่องกง (Hong Kong Observatory) หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาของเขตปกครองพิเศษแห่งนี้ ฟันธงตั้งแต่เช้าวันพฤหัสบดี แสดงให้เห็นดีเปรสชั่นฮากูปี๊ตบ่ายหน้าลงใต้ แต่สถานการณ์ก็เปลี่ยนไปมากมายนับตั้งแต่นั้น ด้วยพลังแห่ง "พระแม่ธรรมชาติ" ที่ยิ่งใหญ่.

 
 
พิมพ์จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9570000142845
 
      บันทึกการเข้า
Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #11146 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2557, 09:33:01 »


เช้านี้อ่าวนางอากาศเย็นหมอกเต็มภูเขา แล้วหางฮากูปี๊ด ก็มาโปรยละอองฝนเบาๆแล้วก็ไป
      บันทึกการเข้า

Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #11147 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2557, 09:33:59 »

ขาดตัวอักษรอะไรอีก เอาใหม่
      บันทึกการเข้า

เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11148 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2557, 18:07:18 »

คุณต้อย

มีตัว [  และ ตัวนี้  ] ครับ
ตัววงเล็กปิดหน้า-ปิดหลัง ต้องครบครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11149 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2557, 18:08:47 »

"รอยล"ชี้ใต้ฝนตกหนัก 15-16 ธ.ค. เตือนระวังพายุช่วงปีใหม่ คาดปีนี้หนาวไม่มาก ห่วงเหนือ-กลางแล้งหนัก
วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เวลา 17:53:59 น


เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สสนก.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลรายงานว่าสถานการณ์ฝนตกในภาคใต้จะยังคงหนักอีกประมาณ 2 วัน คือระหว่างวันที่ 15-16 ธันวาคม ตั้งแต่จ.พัทลุงลงไป รวมทั้งจ.นครศรีธรรมราช ปริมาณฝนยังคงสูงเกิน 100 มิลลิเมตร ซึ่งเกิดจากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่นฮากุปิตและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นฝนจะเริ่มเบาบางลง เนื่องจากกลุ่มฝนจะเคลื่อนออกไปประเทศมาเลเซีย อย่างไรก็ตามในช่วงปลายปีถึงเทศกาลปีใหม่ ภาคใต้ยังคงเฝ้าระวังพายุและฝนตกหนักอีกครั้ง เนื่องจากในระยะนี้มักเกิดพายุเป็นประจำทุกปี สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งถือว่าปีนี้ค่อนข้างหนัก ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง ซึ่งเกษตรกรและประชาชนควรใช้น้ำอย่างระมัดระวัง

ผู้สื่อข่าวถามว่า อากาศหนาวเย็นในช่วงนี้เกี่ยวข้องกับภัยแล้งหรือไม่ นายรอยล กล่าวว่า ปีนี้หนาวไม่มาก จึงไม่ส่งผลทำให้เกิดภัยแล้ง สังเกตได้จากหลายพื้นที่ยังมีฝนตกอยู่ แต่สาเหตุที่แล้งเนื่องจากฝนไม่ตกเหนือเขื่อนหลัก อาทิ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ อย่างไรก็ตามคาดว่าปีนี้หนาวไม่มากเหมือนปีที่ผ่านมา ซึ่งหากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน จะเห็นได้ว่าปีนี้หนาวไม่มาก อย่างในพื้นที่กรุงเทพฯ ในช่วงเวลานี้ ปีที่แล้วอากาศหนาวเย็นกว่านี้มาก ส่วนอากาศจะหนาวเย็นไปถึงเมื่อไรนั้น สสนก.ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้

 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1418552592
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 444 445 [446] 447 448 ... 472   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><