27 พฤศจิกายน 2567, 04:59:57
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: เหตุที่ผมต้องทำพรรคการเมือง  (อ่าน 8354 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 7 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2553, 11:15:05 »

ความจริงที่ไม่อาจปฎิเสธ ก็ คือ

มีคนเก่งกว่าผมมากมาย
มีคนดีกว่าผมมากมายเช่นกัน
และยิ่งกว่านั้น คนที่เก่งและดีจำนวนมากนั้น มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าผมด้วย

แต่ที่ผมจำเป็นต้องทำพรรคการเมือง ก็เพราะ
คนเก่งและดีทั้งหลายนั้น อาจไม่สนใจการเมือง
หรือสนใจการเมือง แต่ ไม่อยากเปลืองตัว

เพราะปฎิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่า  การเมืองของไทย ไม่ใช่ การเพื่อเมือง  แต่เป็นการเพื่่อตัวเอง


      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2553, 11:40:30 »

การเมืองแรกที่ผมจำได้ เป็นข่าวจากวิทยุ  เกี่ยวกับการรัฐประหารตนเองของจอมพลถนอม กิตติขจร ในปี 2514

ผมได้รับอิทธิพลความสนใจการเมืองจาก อาซึ่งเข้ามาเรียนในกรุงเทพ
และตื่นเต้นอีกครั้งตอนอยู่ ม.ศ.2 กับเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และม.ศ.5 กับ 6 ตุลา 19

เกือบสี่สิบปี ที่เก็บเกี่ยวสาระ และรับรู้พฤติกรรมของการเมือง
ไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับอายุตนเอง
(มีช่วงเวลาที่ไม่ค่อยสนใจบ้านเมือง ก็คือช่วงเลวร้ายในการทำธุรกิจของผม 2534-2537)

เคยเข้าไปเตร็ดเตร่กับพรรคพลังธรรมสมัย คุณชัยวัฒน์ สินสุวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค
เข้าไปเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยเลขที่ีสมาชิกหมื่นต้นๆ
และลาออกไปเป็นสมาชิกพรรคถิ่นไทย ซึ่งมี ดร.พิจิตร รัตตกุล เป็นหัวหน้าพรรค
สอบตก ที่สมุทรสงคราม ในนามพรรคถิ่นไทย
และไม่ได้เป็นสมาชิพรรคการเมืองใดอีกเลย หลังพรรคถิ่นไทยถูกยุบ

      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #2 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2553, 11:55:09 »

สวัสดีครับ......พี่ยังชิน

คิดถึง........

เคยคุยเรื่องนี้กับพี่ที่ร้านริมคลองสมุทรสงครามเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว.........ยังจำได้

มีโอกาสคงได้จับเข่าคุยกันอีกครับ.
      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #3 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2553, 17:00:42 »

อ้างถึง
ข้อความของ yc เมื่อ 12 พฤษภาคม 2553, 11:15:05
คนเก่งและดีทั้งหลายนั้น อาจไม่สนใจการเมืองหรือสนใจการเมือง แต่ ไม่อยากเปลืองตัว

เพราะปฎิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่า  การเมืองของไทย ไม่ใช่ การเพื่อเมือง  แต่เป็นการเพื่่อตัวเอง



ขอร่วมเสริมกระทู้ เกี่ยวกับการเมือง โดย ค้นคำว่า

การเมือง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87

การเมือง (อังกฤษ: Politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน

คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปใน

ทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และ ในวงการศาสนา

ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ นักทฤษฎีการเมืองคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า

"ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร"

วิชารัฐศาสตร์ คือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและ

การนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใจ

OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO



หรือ ผมขอเปรียบได้ง่าย ๆ กับ การหาระบอบ มาปกครองกลุ่มคนให้

อยู่ได้อย่างสงบสุข และ พึงพอใจ ต่อ ทุก ๆ ระดับชั้นในกลุ่ม ได้ไหมพวกเรา


 gek gek gek
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2553, 08:53:46 »

อ้างถึง
ข้อความของ Leam เมื่อ 12 พฤษภาคม 2553, 11:55:09
สวัสดีครับ......พี่ยังชิน

คิดถึง........

เคยคุยเรื่องนี้กับพี่ที่ร้านริมคลองสมุทรสงครามเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว.........ยังจำได้

มีโอกาสคงได้จับเข่าคุยกันอีกครับ.


สวัสดีแหลม

 
อ้างถึง   
หรือ ผมขอเปรียบได้ง่าย ๆ กับ การหาระบอบ มาปกครองกลุ่มคนให้

อยู่ได้ อย่างสงบสุข และ พึงพอใจ ต่อ ทุก ๆ ระดับชั้นในกลุ่ม ได้ไหมพวกเรา

ขอบคุณครับพี่หมอสำเริง
      บันทึกการเข้า
EdDy_Smart81
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 654

« ตอบ #5 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2553, 09:31:10 »

ให้กำลังใจครับพี่ยังชิน...
      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2553, 09:35:13 »

ต้นปี 2549
หลังสมาชิกวุฒิสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญ 2540 หมดอายุลง
ผมได้สอบถามเพื่อนๆในสมุทรสงครามที่คิดว่าน่าจะลงสมัครฯ
รวมทั้ง คุณสุรจิต ชิรเวทย์ (ปัจจุบัน คือ สมาชิกวุฒิสภา จากสมุทรสงคราม)
คุณสุรจิต เป็นรุ่นพี่ที่ผมให้ความนับถือในความดีและความสามารถ
ท่านบอกว่าไม่คิดลงสมัคร

ผมได้ไตร่ตรองทางการเมืองดูแล้ว
คิดว่าการเมืองขณะนั้น  มีเพียงวุฒิสภาเท่านั้น ที่จะช่วยประคองบ้านเมืองไว้ได้
เมื่อ คนดีๆที่ผมอยากให้ลงสมัครบอกว่าไม่ลง
คิดไปคิดมา จึงตัดสินใจอาสา

เมื่อผมตัดสินใจแล้ว ผมมักไม่ถอย
วัีนแรกของการเปิดรับสมัคร ผมต้องไปทำหน้าที่นายกสโมสรไลออนส์แม่กลอง ที่พัทยา2วัน
และได้รับแจ้งจากพี่ที่ใกล้ชิดคุณสุรจิตว่า คุณสุรจิตจะลงสมัคร
เอา..ครับ..เอา...เลยตามเลย
กลับจากพัทยา..ผมก็สมัครตามการตัดสินใจเดิม

ผลการเลือกตั้งครั้งนั้น  อดีต ส.ส.ของสมุทรสงคราม ได้รับเลือกตั้ง
แต่ถูกปฎิวัติ 19 กันยา 2549 หมดสมาชิกภาพไป


      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2553, 09:38:34 »

อ้างถึง
ข้อความของ EdDy_Smart81 เมื่อ 13 พฤษภาคม 2553, 09:31:10
ให้กำลังใจครับพี่ยังชิน...

สวัสดีครับ น้องเอ็ดดี้  ชีวิตหลังแต่งงานมีความสุขสดชื่นนะครับ
      บันทึกการเข้า
EdDy_Smart81
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 654

« ตอบ #8 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2553, 09:39:45 »

สุขกาย สุขใจ ครับ อายจัง
      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2553, 09:55:40 »

ความรู้สึกขณะออกแนะนำตัวกับชาวบ้านในการเลือก สว.
สับสนตัวเองพอควร
ด้านหนึ่ง คือ ต้องแข่งขันกันเองกับ เพื่่อนรุ่นพี่ที่นับถือ
อีกด้าน ถามตัวเองว่า  เป็นคนชอบตรวจสอบคนอื่นหรือ

สำหรับการแข่งขัน ผมก็พยายามตามปัจจัยที่มี
แต่เรื่อง ความเป็นตัวตนของตนเองนี่
ผมรู้สึกว่า ยังไง ผมก็ไม่ใชผู้คอยตรวจสอบ

แล้วผม ก็คิดไกลไปถึงว่า
ปัจจุบัน ประเทศเรา ก็มีเพียงพรรคประชาธิปัตย์ เท่านั้น
ที่นับเป็นสถาบันพรรคการเมือง
พรรคไทยรักไทย (ขณะปี2549) แม้จะยิ่งใหญ่ แต่ก็ห่างไกลกับความเป็นสถาบันพรรคการเมือง

ประเทศเรา ต้องมีพรรคการเมือง อีกสักหนึ่งพรรค ที่ต้องเป็นสถาบันพรรคการเมือง

แล้วชื่อ "พรรคไทยทัีนทุน"  ก็แวบเข้ามา



      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2553, 10:01:21 »

อ้างถึง
ข้อความของ EdDy_Smart81 เมื่อ 13 พฤษภาคม 2553, 09:39:45
สุขกาย สุขใจ ครับ อายจัง

แล้วมาช่วยแบ่งความสุขกาย สุขใจ ให้ผู้อื่น ร่วมกันนะครับ
      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2553, 10:13:36 »

ไทยทันทุน

เป็นชื่อที่โดนใจผมมาก

เหตุเพราะ ทุกวันนี้ โลกได้พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกัน ด้วย ทุน

เหตุเพราะ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ระบอบการปกครองที่ต่อสู้กันหลักๆก็คือ  ระบอบคอมมิวนิสต์ กับ ระบอบประชาธิปไตย   แล้วในที่สุด แม้แต่ระบอบคอมมิวนิสต์เอง ก็ต้องปรับตัวเองเพื่อรองรับกับ ทุน

เหตุเพราะ ชื่อพรรคการเมือง ควรสะท้อนแนวคิดของพรรคได้



      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2553, 10:19:51 »

พรรคไทยทันทุน

ทัน  หมายถึง   รู้เท่าทัน

ทัน  หมายถึง   ตามทัน

ทัน   หมายถึง  เทียมทัน


......................................

และ สามสี่ปีที่ผ่านมา ผมก็ทบทวนตนเองกลับไปกลับมา
ระหว่างจะทำ หรือ ไม่ทำ




      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2553, 10:16:06 »

และแล้ว...

พรรคไทยทันทุน

ก็ได้รับการจัดตั้งในวันที่

9 มิถุนายน 2553

      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2553, 13:15:32 »

ผมเกิดมาเป็นลูกคนขายกาแฟ

สิ่งที่พ่อและแม่ให้ผมมาและมีค่ายิ่งสำหรับผม ก็คือ  ชีวิต ความคิด และจิตใจ

เพราะเป็นคนชั้นกลางตอนล่าง จึงไม่มี "ทุน"  มากนัก

แต่ก็หาญกล้าที่จะ ทำ "พรรคการเมือง"

ในโลกทุนนิยม  "ทุน"  เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

แต่พรรคไทยทันทุน ไม่มี "ทุน" ทางการเงิน
มีแต่ ทุนทางความคิด และจิตใจ
จึงอาจต้องเริ่มต้นด้วยการเป็น "หนี้"
เป็นหนี้  เช่นเดียวกับที่ผมเริ่มต้นธุรกิจ

      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2553, 13:21:14 »

จากไทยรัฐออนไลน์ 14 ก.ค.53
http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/95853

 
อ้างถึง   
บัณฑูร ล่ำซำ นักบริหารมือทองหัวสมัยใหม่ ผู้ที่กล้าคิด กล้าทำ กล้าปรับปรุง ยกระดับระบบบริหารธนาคารกสิกรไทยด้วยการ..."รีเอ็นจิเนียริ่ง" ให้ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจยุคฟองสบู่แตกปี 2540 จนสำเร็จอย่าง งดงามมาแล้ว

วันนี้...เหตุ บ้านการเมือง รวมไปถึงเศรษฐกิจเมืองไทยทำท่าไม่สู้ดีนัก เจ้าสัวซีอีโออย่างบัณฑูร มีมุมมองอย่างไรกับการนำพาประเทศไทยไปสู่ทางออก

ถาม ถึงเรื่องเศรษฐกิจ ประโยคแรกที่บัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย ตอบออกมาคือ..."ก็...เห็นว่าไปได้ตลอด"

เพียงแต่รอบนี้ยังดี สถาบันการเงินไม่ได้ล้ม ก็เลยไม่กระทบเสียหายเป็นลูกโซ่ เหมือนวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 40

ที่น่าสนใจ...คนยังมาเที่ยว เมืองไทยน้อยลงไป แต่ก็น่าจะน้อยเพียงชั่วคราวเท่านั้น ผ่านไปแป๊บเดียวก็มาเที่ยวกันมากขึ้น

เมืองไทยโชคดีอยู่อย่างหนึ่ง แม้ว่าจะดูไม่ดียังไงในหน้าจอทีวี แต่สักพัก คนต่างชาติก็มาเที่ยวเมืองไทยกันแล้ว สะดุด...ก็เพียงชั่วคราว การท่องเที่ยวสำหรับเมืองไทย ช่วยทำให้ประเทศคึกคัก กระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีทีเดียว

ในภาพใหญ่ การผลิตในระยะสั้น ดูแล้วก็พอไปได้ ก็จะมีระยะยาว ความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวของประเทศ เป็นประเด็นที่บางคนบอกว่า... เราก็ถอยลงทุกที ถ้าเทียบกับประเทศแถบเดียวกันนี้

"ตัวผมเองก็เชื่อว่าจะเป็นอย่าง นั้น" บัณฑูรว่า

"มันถอยเพราะว่าในที่สุดแล้วมนุษย์ก็จะใช้ฝีมือสู้ กัน ใช้ความสามารถ ใช้ความรู้สู้กัน ดังนั้น ถ้าระบบการศึกษาสู้กับคนอื่นไม่ได้ จะยิ่งลำบาก ซึ่งก็ดูเหมือนว่าจะมีหลักฐานมากขึ้นว่าเป็นอย่างนั้น"
นับรวมไปถึงระบบ โครงสร้างพื้นฐานอันอื่นของประเทศ ระบบโทรคมนาคม ระบบขนส่งไม่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงระบบของกฎหมาย

บัณฑูร บอกว่า การศึกษา...ระบบกฎหมายที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ความเป็นจริงของโลก ทั้งโลกมนุษย์...โลกธุรกิจ รวมถึงด้านอื่นๆ...ระบบโทรคมนาคมและคมนาคม เชื่อมโยงไปถึงความสามารถในการทำงาน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ต้องทันโลก

ถ้า ไม่ได้คุณภาพก็จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันสู้คนอื่นไม่ได้

สกู๊ป หน้า 1 ถามต่อไปว่า ให้น้ำหนักไปที่ด้านไหน...เร่งด่วนมากน้อยกว่ากัน บัณฑูร บอกว่า ไม่มีอย่างใดอย่างหนึ่งเด่นชัด ที่ควรจะเป็นควรต้องไปด้วยกัน เพียงแต่ว่าด้านการศึกษา จะเป็นความสามารถโดยรวมที่จะแก้ระบบอื่นๆให้ทันสมัย สู้กับโลกได้

ขาด โครงสร้างพื้นฐาน 3 ตัวนี้ อย่างหนึ่งอย่างใด เป็นสิ่งที่น่ากลัวสำหรับประเทศไทยแน่นอน

"เอาเรื่องปัจจุบันที่ติด ตาคนไทยทั้งประเทศ สมัยเด็กๆเรายังได้เห็นทีมฟุตบอลไทยเตะชนะ...เกาหลีใต้ มาถึงยุคนี้ไม่มีทางที่จะพูดอย่างนั้นได้ นี่คือสิ่งสะท้อนการพัฒนาประเทศที่ไปคนละขั้น สักพักเราก็เตรียมตัวแพ้เวียดนาม"

และนี่คือภาพสะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนาอย่างไม่เป็นระบบ ก็จะทำให้ประเทศค่อยๆถอยไปทีละนิด

เมื่อ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นในอดีต ญี่ปุ่นยุคหลังสงครามโลกก็ยังเตะ ฟุตบอลไม่เป็น วันนี้เป็นอย่างไร...ญี่ปุ่นไปเตะฟุตบอลโลกแล้ว เหลียวมองทีมชาติไทยเอาแค่ชนะเวียดนามให้ได้ยังหืดขึ้นคอ
"แต่เราก็ฝัน ทุกทีจะไปบอลโลก" บัณฑูรพูดขำๆ...คนไทยก็ชอบฝันทุกที เราชอบฝันกันอยู่แล้ว นี่คืออุปมาอุปไมยที่ทุกคนจะได้เห็นว่าการพัฒนาที่ไม่ ต่อเนื่อง ไม่ช้าไม่นาน...ก็ถดถอย

"ขณะที่เราถอย คนอื่นทำ เขาก็พัฒนาขึ้นมาได้"

วิธีของเราที่จะทำได้ ก็มีเพียงว่า ลงต่ำลง...ต่ำลง ไปแข่งในกลุ่มที่ต่ำลงมากขึ้นทุกที คนอื่นไปบอลโลกกัน เราอย่างมากก็เตะกันอยู่ในบ้าน...แถบอาเซียน ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะได้รับชัยชนะมากน้อยแค่ไหน

ถามว่า...น่าเป็นห่วง ไหม? บัณฑูรบอกว่า เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากๆ เพราะว่าถ้าสมมติประเทศไทยทำมาค้าขายสู้เขาไม่ได้ มันก็ไม่มีพลังชีวิต ความกินดีอยู่ดีก็จะไม่เกิดขึ้น

พูดง่ายๆก็คือว่า คนมีกำลังซื้อน้อย ซื้อของกิน ของใช้ มีอย่างจำกัด ความกินดีอยู่ดีของคนทั้งประเทศก็จะถดถอย

มุม มองเหล่านี้ใช่ว่าจะเลวร้ายไปทั้งหมด ณ ขณะนี้...เพียงแต่ไม่ใช่ว่าอนาคตจะสดใส ถ้าไม่มีประเด็นต่อไปนี้ เราเสร็จไปนานแล้ว

หนึ่ง...คนชอบมาเที่ยว

สอง...บังเอิญเรา อยู่ในจุดภูมิศาสตร์ที่คนมาตั้งโรงงาน เพราะส่งออกทะเลไปได้

บริษัท รถยนต์ก็ไม่ทิ้งที่จะย้ายมาเมืองไทย พอมีบริษัทรถยนต์ บริษัททำอะไหล่ต่างๆก็ตามมา มีการลงทุนเกิดขึ้น และก็คงไม่เปลี่ยนทิศทางของ การลงทุน เพียงแต่บางครั้งอาจจะสะอึกไปบ้าง ในช่วงที่เกิดความไม่สงบขึ้นในบ้านเมือง

"ไม่มีสองเรื่องนี้ ความกินดีอยู่ดีของประเทศนี้คงถดถอยเป็นหน้ามือหลังมือ"

แต่ถามว่า จะเปลี่ยนความคิดกับเมืองไทยไหม ที่จะมาเที่ยว หรือลงทุน ต้องบอกว่า..."ยังไม่เปลี่ยน"

แต่โดยรวมความสามารถในการแข่งขันของคน ไทย ประเทศไทย จะถดถอยลงไปเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับการพัฒนาอันก้าวหน้าของประเทศอื่นๆ

ถามอีกว่า ถ้ามีปัจจัยที่ทำให้สะอึกบ่อยๆจะเปลี่ยนหรือเปล่า?

บัณฑูร บอกว่า ความคิดก็คงเปลี่ยน แต่ไม่เชื่อว่าจะเป็นอย่างนั้น...โอ้โหคนไม่อยากจะมาเมืองไทยเลย แต่ที่กลัว...ผมกลัวว่าความสามารถในการทำงาน เมื่อเทียบกับโลกมันจะถอยลงไปทุกที เช่นเดียวกับความสามารถในการเตะฟุตบอล

"ถึง แม้ว่าทีมฟุตบอลไทยวันนี้จะเตะเก่งกว่าทีมฟุตบอลไทยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว แต่ถ้าเทียบกับโลกมันถอยลงมาเรื่อยๆ เพราะระบบการพัฒนาสู้กันไม่ได้...

แล้ว โดยวัฒนธรรมไทยไม่ชอบพัฒนาอย่างเป็นระบบ ไม่มีหรอกการสร้างอะไรที่เป็นระบบ...ไม่มี และไม่อยู่ในความรู้สึกแบบไทยๆ"

ไทย ก็ทำกันแบบอย่างโน้นที...อย่างนี้ที เช่นระบบคมนาคม ก็ไม่ต่อเป็นระบบเดียวกัน ขึ้นจากบีทีเอส...จะลงใต้ดินไปต่อรถ...ก็ไม่เป็นระบบ จะต้องเดิน ต้องไปขึ้นรถแท็กซี่ ขึ้นมอเตอร์ไซค์ซ้อนท้ายต่อไป

"เวลาคิดไม่ได้ คิดเป็นระบบ คิดเป็นชิ้นๆๆๆ ตอนจบมันก็ต่อกันไม่ง่าย"

ถ้าไปที่อื่นๆ ประเทศที่มีการพัฒนาขนส่งมวลชนที่ดี จะเดินทางไปไหนจะไม่เจอฝนเลย เชื่อมต่อไปได้เรื่อยๆ ลงจากนี้ก็ต่อไปอันนี้ ลงอันนี้แล้วก็ต่ออันนี้

แม้ กระทั่งว่าการขนส่งมวลชนที่เป็นพื้นฐานที่สุดของโลกมนุษย์ ก็คือ "รถไฟ"...รถไฟไทยยังไม่ได้ไปทุกจังหวัด

"แล้วก็ไม่เคยมีใครออกมาชี้ แจง...ก็ไม่เคยมีรัฐบาลไหนออกมาชี้แจงว่า ทำไมรถไฟไทยถึงไม่สามารถไปทุกจังหวัดได้"

น่าสนใจที่ว่า...แล้วทำไม รถไฟจีนถึงได้ไปทุกอำเภอได้ คนของเขาไม่ต้องใช้วิธีอื่นเลย นั่งรถไฟไปอย่างเดียวก็ไปถึงทุกจุดในประเทศจีนได้

"ยิ่งในยุโรปไม่ ต้องพูดถึง มันมีมานานแล้ว ญี่ปุ่นยิ่งแล้วใหญ่วิ่งกันฉิวๆๆ 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง"

บัณฑูรตั้งคำถาม ทำไม? สิ่งเหล่านี้ถึงไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทำไม? ถึงไม่มีใครมาชี้แจง มันก็แบะๆกันไปอย่างนี้ เราเป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่งก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร

สิ่ง เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการไม่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เราก็ด้อยลง และสะท้อนอีกว่า...ระบบมันไม่มีการทำให้เป็นระบบเหมือนประเทศอื่นได้...ทำไม ไทยแค่คิดเป็นระบบยังทำไม่ได้ คิดได้แค่เป็นชิ้นๆ ของใครของมัน จะไปเตะอะไรใคร...เพื่อจะให้เกิดการปฏิรูปขั้นพื้นฐานของการพัฒนาก็ทำไม่ได้

สอง ตัวที่สะกิดใจบัณฑูรมากที่สุด คือ ฟุตบอล กับรถไฟ

"ในชั่วชีวิต นี้...ผมว่าไม่มีทางที่จะได้เห็นฟุตบอลไทยไปบอลโลก คงต้องใช้เวลาเป็นอีกหนึ่งชั่วคน และคงไม่มีทางที่จะได้เห็นรถไฟไทยไปทุกจังหวัด...ยังไม่ต้องพูดถึงอำเภอ ใหญ่ๆ แค่ทุกจังหวัดก็ยังไม่สามารถฝันได้"

เพราะไม่มีใครทำ หรือพอทำ...ก็จะมีคนมาสกัดกั้นด้วยเหตุผลต่างๆนานา

นี่คือมุมมองฝ่า วิกฤติเมืองไทย แค่บทนำของเจ้าสัวซีอีโอ บัณฑูร ล่ำซำ แห่งธนาคารกสิกรไทย ที่ก็ไม่รู้ว่า...อีกนานเท่าใดเมืองไทยจะก้าวเดินไปได้อย่างที่คิดเอาไว้.

ยิ่งอ่านความคิดเห็นของคุณบัณฑูร

ยิ่งรู้สึกว่า..ผมคงคิดไม่ผิด ที่ตัดสินใจทำพรรคการเมือง


พรรคไทยทันทุน
      บันทึกการเข้า
naiamphureak
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #16 เมื่อ: 15 กรกฎาคม 2553, 09:36:19 »

แนวคิดดีครับ แต่ชื่อพรรคทันสมัยมากไปหน่อย
      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2553, 07:46:54 »

อ้างถึง
ข้อความของ naiamphureak เมื่อ 15 กรกฎาคม 2553, 09:36:19
แนวคิดดีครับ แต่ชื่อพรรคทันสมัยมากไปหน่อย

ผมเชื่อลึกๆว่า..จะต้องมีคนมองออก

หากเราไม่รู้ทันทุนนิยม เมืองไทยก็คงไม่อาจเป็นสยามเมืองยิ้มเช่นในอดีตครับ

และก็มีจริงๆ..ขอบคุณน้องนายอำเภอเอกนะครับ
      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2553, 16:11:06 »

 
อ้างถึง   
จากไทยรัฐออนไลน์ 22 กค.53

ธนินท์ เจียรวนนท์ คลี่ปม!วิกฤติไทย

ธนินท์ เจียรวนนท์ ชื่อนี้การันตีความเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใครในชั้นเชิงบริหารธุรกิจการค้า แต่ถ้าจะให้ฟันธงเรื่องบ้านเมือง...ฝ่าวิกฤติไทยในช่วงเวลานี้ เจ้าสัวซีอีโอผู้ยิ่งใหญ่แห่งซีพีคนนี้...จะมีมุมมองเช่นใด

"ย้อนดูประวัติศาสตร์ น่าจะทุกครั้งที่มีสงคราม โดยเฉพาะสงครามโลก ครั้งที่หนึ่ง...ครั้งที่สอง มาจากเศรษฐกิจวิกฤติทั้งนั้น"

เจ้าสัวธนินท์ บอกว่า เศรษฐกิจวิกฤติประเทศมหาอำนาจก็หาทางรบ อเมริกาทุกๆครั้ง หลังจากรบแล้วก็ได้ประโยชน์...แล้วเศรษฐกิจก็ฟื้น

ถ้าเศรษฐกิจไปไม่ได้ ประเทศก็ต้องวุ่นวายแน่

อย่าว่าแต่ประเทศเลย โลกก็ต้องวุ่นวาย

เศรษฐกิจ ถ้ามันไปถึงจุดติดแล้ว วิธีแก้ปัญหาก็มีแต่รบกัน ไม่ต่างกับสมัยก่อน ที่รบกันก็เพื่อเศรษฐกิจทั้งนั้น...ต่างกันเพียงแค่รูปแบบ

"สมัย โบราณรบกันเพื่อต้องการไปจับมนุษย์มาเป็นทาส เพื่ออะไร...ก็เพื่อเศรษฐกิจ ไปเพาะปลูกทำอะไรต่างๆทำให้ประเทศมั่นคงมีอาหารอุดมสมบูรณ์

ท้ายที่สุด...เพื่อผู้ปกครองจะได้ปกครองง่าย"

ถ้าหากปล่อยให้ประชาชนอดอยาก ก็จะลุกฮือขึ้นมาล้มสถาบัน ประวัติศาสตร์เป็นอย่างนี้ ที่รบกันก็เพื่อเอาแรงงาน

ถึงวันนี้ "มนุษย์"...ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าทุกอย่าง

คำ ว่า "มนุษย์" เคยพูดไปบ้างแล้วว่า ประเทศไทยวันนี้เราต้องใช้ประโยชน์ กับแรงงานพม่าให้เต็มที่ อย่าคิดว่าคนไทยต้องขายแรงงาน ทำไม...ไม่คิดว่าเราต้องซื้อแรงงานล่ะ เพื่อมาพัฒนาประเทศ

เจ้าสัว ธนินท์ตั้งคำถามทำไมเราคิดอย่างเดียวจะให้ค่าแรงแรงงานต่ำๆ เพื่อไปขายแรงงาน ต้องคิดกลับ...เห็นไหมว่าประเทศที่เจริญแล้วล้วนแต่ซื้อแรงงาน

จิ๊กซอว์สำคัญเริ่มตั้งแต่ชิ้นแรก...ถ้าวันนี้จะแก้เรื่องการเมือง คิดว่าควรแก้ความยากจน แก้ความเสมอภาค อย่าให้ห่างกันไกลเกินไปนัก

แล้ว...ถ้าทุกคนอยู่ดีกินดี มีเงินใช้ ไม่มีหนี้นอกระบบ ไม่ติดหนี้รุงรัง ก็ไม่เดือดร้อน

"ถ้า มีหนี้ก็ต้องคืน ไม่มีเงินก็ต้องขายที่ดิน แล้วเมื่อถึงวันหนึ่งถ้าที่ไม่มีแล้วจะทำยังไง ก็ต้องไปหากินต่างประเทศ...แล้วก็ยังมีทางออกอีก เราถึงจะไม่มีปัญหา

รัฐบาล ที่ผ่านๆมาก็ส่งเสริมการลงทุน ดึงเงินต่างชาติเข้ามาลงทุน สร้างโรงงานอุตสาหกรรม ก็มาใช้แรงงานของไทย รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยว"

เหล่านี้ถามว่าถูกต้องไหม ต้องบอกว่าถูกต้อง แต่ขาดอะไรรู้ไหม?

"ขาดสิ่งที่จะทำยังไงให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น เทียบเท่ากับคนในเมือง"

เจ้า สัวธนินท์ ย้ำว่า คนในเมืองรัฐบาลให้สวัสดิการรองรับหลายเรื่อง นั่งรถเมล์ก็ถูก รถไฟใต้ดินก็ถูก ถนนก็ดี ต่างจังหวัดยังไม่ได้พูดถึงเลยว่า... รายได้ขั้นต่ำของเกษตรกรควรจะอยู่ที่สักเท่าไหร่

ตรงนี้คือปัญหา เพราะเวลายากจน จะตามด้วยเพื่อนอีกสองคน คือ เจ็บ แล้วก็ โง่

"จน" "เจ็บ" "โง่" เพราะอาหารการกินไม่สมบูรณ์ ซ้ำงานก็หนัก ชีวิตไม่มีความหมาย โอ้โฮ...มองไปแล้วหนี้ขนาดนี้จะคืนได้ยังไง

"แล้วหนี้มาจากไหน ก็มาจากนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา และไม่ใช่ว่าทุกรัฐบาลนะที่วางนโยบายผิดพลาด"

เหมือน กับเที่ยวนี้กระแสไข่แพง ทำไม? ไม่คิดล่ะว่าทำอย่างไรให้ ประชาชนมีรายได้สูงขึ้น ไข่แพงก็ไม่มีความหมายแล้ว เจ้าสัวธนินท์จึงอยากจะให้ไปศึกษาในประเทศที่เจริญแล้ว วันนี้เขาเจริญขึ้นมาได้อย่างไร

"จากที่เขาเคยยากจนกว่าเรา แล้วพัฒนากระทั่งเจริญมากกว่าเรา ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น...ผ่านการแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง จนกว่าไทย เป็นหนี้รุงรัง แล้วทำไมเขาในวันนี้ถึงร่ำรวย..."

ทำไม? ไต้หวันใช้เวลา 20 ปีเท่านั้น เกษตรกรบ้านเมืองเขาไปเที่ยวทั่วโลกได้ ทำไมเกาหลีใต้ใช้เวลา 27 ปี...ญี่ปุ่นไม่ต้องพูดถึงเลย ตั้งแต่ไหนมาก็ยกย่องเกษตรกรเทียบเท่าซามูไร

"เกษตรกรญี่ปุ่นเขาร่ำรวย ไปเที่ยว พักโรงแรม 5 ดาว เที่ยวทั่วโลกเป็นเรื่องปกติ ผมว่านะเกษตรกรญี่ปุ่นรวยกว่าเกษตรกรอเมริกาอีก"

ที่ดิน ก็มีนิดเดียว ตามกลไกตลาดที่น้อยก็ต้องขายแพง เมื่อขายแพงแล้วคนในเมืองจะทำอย่างไร ก็ต้องยกระดับคนในเมืองให้มีรายได้สูงขึ้น ทำไมเราต้องไปกดให้มันต่ำล่ะ

การกดให้ต่ำ นี่คือไปสู่...ความยากจน

ราคาสินค้าการเกษตร คือทรัพย์สมบัติของชาติ เป็นน้ำมันบนดิน ถ้าประเทศไหนกดน้ำมันของประเทศเขาให้ต่ำก็จน ถ้าปล่อยให้สูงก็รวย

"เมืองไทยเราพยายามกดน้ำมันบนดินให้ต่ำ ทั้งที่ค่าของมันยิ่งกว่าน้ำมันเสียอีก แล้วผู้ปลูกน้ำมันจะรวยได้อย่างไร"

ประเทศ ที่มีน้ำมัน ถ้ากดราคาน้ำมันต่ำ ประเทศนั้นจนแน่ น้ำมันเมืองไทย สำคัญกว่า เพราะสินค้าเกษตรเลี้ยงมนุษย์ ต่างกับน้ำมันที่เอาไว้เลี้ยงเครื่องจักร

"ผู้ผลิตอาหารเลี้ยงมนุษย์จะจนได้อย่างไร มีเหตุผลที่ไหน ถ้าไม่ใช่ฝีมือของรัฐบาล"

เจ้า สัวธนินท์ บอกอีกว่า เหมือนสมัยเหมา...ทำให้เมืองจีนจนทั่วถึงกัน ก็เป็นเพราะนโยบายผิด ผลัดใบมาถึงสมัยเติ้ง...นโยบายถูกก็ทำให้คนจีนร่ำรวยขึ้น แต่สถานการณ์วันนี้ เขาก็ปวดหัวเหมือนกัน เป็นพี่ๆเรานิดหน่อย เอาเกษตรกร คนจนมารองรับ...แบกภาระคนจนในเมือง แล้วแถมยังต้องรองรับคนรวยในเมือง

แต่เขายังดีกว่าเรา ให้อย่างอื่นทดแทน คนไหนจนถ้าเป็นเกษตรกรก็จะจ่ายเงินเดือนให้ทุกเดือน...ขณะที่เมืองไทยเรายังไม่มี

การ แก้ปัญหาแบบนี้ เขารู้แล้วว่าไม่ได้ เพราะถ้าจะให้มีกำลังซื้อใน 700 ล้านคนทั่วถึงกัน สินค้าเกษตรต้องดี...ต้องยกราคาให้ดีขึ้นสูงขึ้น

"ต้อง ใช้สองสูง" เจ้าสัวธนินท์ ย้ำ "สมัยเหมาใช้สองต่ำ จนหมดเนื้อหมดตัว เงินเดือนก็ไม่ต้องขึ้น สินค้าเกษตรก็ไม่ต้องขึ้น สุดท้ายภาษีก็ไม่มี... เงินจับจ่ายก็ไม่มี เครื่องจักรเก่าแล้วก็ไม่มีเงินไปเปลี่ยน"

เข้าสู่สมัยโบราณที่ต้องเอาของมาแลกกัน...เงินไม่มีประโยชน์

เจ้า สัวธนินท์ บอกว่า อันที่จริงแล้ว เงินเดือนต้องขึ้นตามราคาสินค้า สองตัวนี้ต้องให้สมดุลกัน แต่พูดกับนักวิชาการยาก เพราะว่าคนละยุคคนละสมัย คนละสิ่งแวดล้อม

เช่นวันนี้...ไม่ใช่กลัวเงินเฟ้อ สินค้ามีน้อยกว่าเงิน มีเงินแต่ไม่มีของให้ซื้อ แต่กลัวที่สุดคือเงินฝืด...สินค้ามีมากแต่ไม่มีเงินให้ซื้อ

วันข้างหน้าเชื่อว่าจะเข้าใจ และเชื่อมั่นว่านักวิชาการไม่ใช่ทุกคนที่ไม่เข้าใจ

"ถาม ว่าทำไมวันนี้ถึงต้องกลัวเงินฝืด ลองดูประเทศญี่ปุ่น สินค้าแพงลิ่ว เงินเฟ้อเขาเท่าไหร่ เงินเฟ้อก็ต้องมาดูว่าเรามีเงินเท่าไหร่ มีสินค้าเท่าไหร่ ถ้าสินค้ากับเงินสมดุลกัน ก็ไม่ถือว่านี่คือเงินเฟ้อ...สิ่งสำคัญคือการปรับโครงสร้าง ปรับเงินเดือนกับราคาสินค้าให้สอดคล้องกัน ซึ่งต้องใช้สองสูง"

ในโลก นี้เขาใช้ 3 สูงกันแล้ว ญี่ปุ่น...ที่ดินราคาสูงที่สุดในโลก ที่อยู่อาศัยเหลือพื้นที่เป็นแค่รังหนู บ้านนิดเดียว โต๊ะเก้าอี้ ทุกอย่างนิดเดียวหมด แล้วก็เงินเดือนสูง สินค้าราคาสูง

นี่คือ 3 สูง แต่ผลสะท้อนที่เกิดขึ้น ไม่เห็นญี่ปุ่นมีเงินเฟ้ออะไร

ไม่ มีประเทศไหนหรอกที่ใช้สองต่ำแล้วจะร่ำรวย เพียงแต่ว่าเวลาใช้ต้องเข้าใจด้วยว่า ต้องผลิตสินค้าเกษตร...ให้สินค้าเกษตรมีราคาสูงตามผลผลิต

สมมติว่า ผมมีที่ดินน้อย ผมปลูกได้น้อย ก็ต้องขายราคาสูง จะเห็นว่าข้าวญี่ปุ่น กิโลกรัมละเป็น 100 บาท ตั้งนานแล้ว เราเอาข้าวไทยไปขายให้เขา 10 บาท เขาไม่ซื้อเรา ทำไม...แค่นี้เราต้องรู้แล้ว

ข้าวกิโลกรัมละเป็นร้อย แพงกว่าข้าวไทย 10 เท่า ไปดูเงินเดือนเขา ก็สูงกว่าเรา 10 เท่าเหมือนกัน เรียกว่าเจ๊ากัน คนมีเงินแล้ว น้ำมันแพงขนาดนี้ก็เป็นเรื่องเล็ก

"เรา ไปพัวพันกับโลก แต่เราไม่พัวพันกันอย่างจริงๆจังๆ เราไปใช้สินค้าทุกอย่างตามโลก...โทรศัพท์ ทีวี คนอเมริกามีเราก็มีเหมือนหมด รถยนต์... ไฮเวย์...รถใต้ดิน แต่ขอถามว่า แล้วเงินเดือนเรากับเขาผิดกันเท่าไหร่

แล้วจะไม่ยากจนให้มันรู้ไป...ก็ต้องจนไปอย่างนี้ต่อไป"

เหล่า นี้คือมุมมองของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์...ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยจะปรับฐาน ลงเสาหลักให้มั่นคงเพื่อรับมือกับวิกฤติความโกลาหลที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง ของเรา.

ข้างบนนั้น คือ แนวนโยบายพรรคไทนทันทุน ทั้งนั้นครับ

ทำได้ ไม่เพ้อฝัน

เครื่่องมือที่ใช้คือ ระบบเงินคู่ แล้วระบบสองสูงก็จะเกิด

      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2553, 15:13:24 »

 
อ้างถึง   
เศรษฐกิจนำการเมืองและนักการเมืองต้องเล่นการเมืองเพื่อประเทศ เป็นสิ่งที่ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์...คาดหวัง

นักการเมืองคอรัปชันชื่อเสียง ถ้าเทียบกับนักการเมืองที่คอรัปชันเงิน เจ้าสัวธนินท์ บอกว่า เขาคอรัปชันเงินแล้วทำ ประเทศชาติยังได้ประโยชน์ดีกว่าไม่ทำแล้วมีแต่เสีย

"นี่ความเห็นผมนะ ถ้าสองอย่างให้ผมเลือก ผมยังเลือกคนที่คอรัปชันเงิน เพราะเขาทำ"

สมมติ ว่า...เขาเอาไป 10 ก็ยังทำให้ประเทศ 90 ส่วนคนที่ไม่เอาอะไรเลย แต่ไม่ได้ทำ แล้วจะทำอีกทีหนึ่งก็ไม่ใช่ 10 แล้ว...เพิ่มขึ้นมาอีกเท่าตัว

ตอนนั้นทำเสีย 10 ไม่ทำ พอถึงทำจริงอาจจะเสียมากกว่า

ประเทศจะถอยหลังไปอีก ไม่ใช่ต้องมาเสียมากกว่าเท่านั้น แต่จะทำให้ทุกอย่างล้าหลังไป ตามเขาไม่ทัน ก้าวไม่ทันโลก

เป็นคำพูดของคุณธนินท์ เจียรวนนท์
คัดมาจาก "ทางออกวิกฤติไทย ปลดล็อกข้าวกับไข่"
ไทยรัฐออนไลน์ 24 กค.53  http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/98377
................................

ชื่อพรรค "ไทยทันทุน" รวมปรัชญาความคิดและเป้าหมายดังกล่าวไว้ในชื่อพรรคแล้ว
เหมือนกับที่ น้องนายอำเภอเอก ได้เล็งเห็นและกล่าวไว้

อ้างถึง
ข้อความของ naiamphureak เมื่อ 15 กรกฎาคม 2553, 09:36:19
แนวคิดดีครับ แต่ชื่อพรรคทันสมัยมากไปหน่อย
      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2553, 08:15:26 »

รู้สึกอึดอัดจริงๆครับ

ยอมรับครับว่า นักการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ เกือบทั้งหมดเป็นคนดี
แต่ความอยู่ดีมีสุขของบ้านเมือง ต้องใช้คนเก่งด้่วย

ในช่วงรัฐบาลประชาธิปัตย์ ต้นทศวรรษ 2540
มีคำกล่าว "บริหารประเทศ แบบไม่บริหาร"

ผมรู้สึกว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์ ต้นทศวรรษ 2550
"บริหารประเทศ แบบไม่เข้าใจกลไก"
      บันทึกการเข้า
อ้อย17
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,908

« ตอบ #21 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2553, 08:24:56 »

พี่มีความรู้สึกเช่นเดียวกัน...
      วันก่อน  ช.เชื่องช้า มาวันนี้อ.ยังเชื่องช้าอีก..เฮอ...น่าหน่าย..ที่สำคัญการคอร์รับชั่นก็ยังรุนแรง..พี่นะมองไม่เห็นทางออกประเทศไทย
       เขาไม่เอาจริงในทุกสิ่งที่จะทำให้ประเทศอยู่รอด เอาแค่พวกตัวอยู่รอดเท่านั้น อยากมีโอกาสได้นั่งคุยกันยาวๆน่าจะได้อรรถรสกว่านี้นะ yc
      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><