Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 14:20:59 » |
|
ลำน้ำโขง จะมี 17 เขื่อนยักษ์ ดักอยู่ ประเทศใต้ลำน้ำจะมีอะไรเหลือ???จีน มีโครงการสร้างเขื่อนอีกหลายแห่ง เพื่อกั้นแม่น้ำโขง หลังจาก 4 เขื่อนยักษ์เปิดใช้การไปแล้ว กะทู้ข้อนี้ ไม่เล่นตลกแบบเชิญยิ้มอย่างแน่นอน เพราะความหายนะ เกิดขึ้นแน่ ถ้ารัฐบาลอีก 3 ประเทศ ไทย-เขมร-เวียตนาม บริเวณลุ่มน้ำโขง นิ่งเฉยดูดาย ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่ร่วมมือกัน ประท้วงรัฐบาลจีน- รัฐบาลลาว ต่อองค์การสหประชาชาติ
แม่น้ำโขง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน และบริเวณที่ราบสูงธิเบต ไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ ผ่านประเทศจีน ประเทศลาว ประเทศพม่า ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชางเจียง หรือ แม่น้ำล้านช้าง และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่า และประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ ในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ยังเป็นเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาวด้วย
ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ ทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก
สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก ในอนาคตสูญพันธุ์ค่อนข้างแน่นอน เพราะวันนี้ ในประเทศจีน ที่สร้างเสร็จ 4 แห่ง คือ เขื่อนเสี่ยววาน ,เขื่อนม่านวาน,เขื่อนต้าเฉาซาน ,เขื่อนจิ่งหง และจีนยังมีโครงการสร้างเพิ่มอีก 4 แห่ง
แล้ว ในแม่น้ำโขงตอนล่าง – แม่น้ำสาขา ยังมีโครงการ สร้างเขื่อนเพิ่มเติมอีกไม่น้อยกว่า 9 แห่ง ได้แก่
1.เขื่อนปากแบ่ง เหนือลำน้ำทา ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่ปากแบ่ง แขวงอุดมไชย สปป.ลาว ระดับเก็บกักน้ำ 345 เมตร กำลังผลิตกระแสไฟฟ้า 1,350 เมกะวัตต์ เมื่อสิงหาคม 2550 มีการลงนามความร่วมมือระหว่างบริษัทต้าถัง อินเตอร์เนชั่นแนล พาวเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด กับรัฐบาลลาวแล้ว
2.เขื่อนหลวงพระบาง บริเวณแก่งออย - แก่งธนู ห่างจากปากแม่น้ำอู ประมาณ 20 กิโลเมตร ในแขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว ระดับเก็บกักน้ำ 320 เมตร ผลิตกระแสไฟฟ้า 1,300 เมกะวัตต์ มีการศึกษาและก่อสร้างโดยบริษัทปิโตรเวียดนาม จำกัด ปัจจุบันได้มีการสำรวจเพื่อเตรียมก่อสร้าง
3.เขื่อนไชยะบุรีบริเวณแก่งหลวง บ้านปากเนิน แขวงไชยะบุรี ระดับเก็บกักน้ำ 270 เมตร กำลังผลิตไฟฟ้า 1,260 เมกะวัตต์ พฤษภาคม 2550 มีการลงนามความร่วมมือระหว่างบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)กับรัฐบาล สปป.ลาว เพื่อศึกษาความเป็นไปได้
4.เขื่อนปากกลาย ตั้งอยู่เมืองปากกลาย แขวงไชยะบุรี สปป.ลาว ระดับกักเก็บน้ำ 250 เมตร กำลังผลิตกระแสไฟฟ้า 1,320 เมกะวัตต์ มิถุนายน 2550 ลาว ได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัทซีโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น และบริษัทไชน่า เนชั่นแนล อิเลคโทรนิคส์ อิมพอร์ต จำกัด เพื่อศึกษา ทำให้บริษัทจากจีนเข้าไปสำรวจแนวสันเขื่อนแล้ว
5.เขื่อนปากชม ตั้งอยู่ระหว่างบ้านห้วยขอบ -บ้านคกเว้า ต.หาดคัมภีร์ อ.ปากชม จ.เลย กับบ้านห้วยหาง เมืองสังข์ทอง แขวงนครหลวงนครเวียงจันทร์ ระดับกักเก็บน้ำ 192 เมตร กำลังผลิตกระแสไฟฟ้า 1,097 เมกะวัตต์ โครงการนี้ต้องใช้เงินลงทุนกว่า 69,614 ล้านบาท เมื่อเร็วๆ นี้บริษัทปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด ได้รับมอบหมายให้ประชุมประชาคมชาวบ้านที่ อ.ปากชม - อ.เชียงคาน รวมทั้งลงพื้นที่ศึกษาความเหมาะสมเพื่อการก่อสร้างด้วย
6.เขื่อนบ้านกุ่ม ตั้งอยู่ระหว่างหมู่บ้านท่าล้ง ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี กับหมู่บ้านกุ่มน้อย เมืองชะนะสมบูน แขวงจำปาสัก ลาว มีระดับกักเก็บปกติ 115 เมตร กำลังผลิตกระแสไฟฟ้า 1,872 เมกะวัตต์กระทรวงพลังงาน ได้ว่าจ้างบริษัทปัญญาคอนซัลแตนท์ จำกัด -บริษัทแมคโคร คอนซัลแตนท์ จำกัด ศึกษาโครงการ ปัจจุบันได้มอบหมายให้เครืออิตัลไทย สำรวจความเหมาะสม โดยใช้เงินลงทุน 120,390 ล้านบาท
7.เขื่อนลาดเสือ ตั้งอยู่ที่บ้านลาดเสือ เมืองชะนะสมบูน กับบ้านคันยาง เมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว มีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้า 800 เมกะวัตต์ ถือเป็นเขื่อนแห่งที่ 3 ที่จะใช้กั้นแม่น้ำโขง ในแขวงจำปาสัก รัฐบาล สปป.ลาว ได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัทเจริญเอ็นเนอร์ยี แอนด์วอเตอร์เอเชีย จำกัด เพื่อศึกษา
8.เขื่อนดอยสะฮอง ตั้งอยู่เมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ระดับกักเก็บน้ำ 70-72 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง กำลังผลิตกระแสไฟฟ้า 240 เมกะวัตต์ มีนาคม 2549 ลาว ลงนามกับบริษัทเมกะเฟิร์สท คอร์ปอเรชั่น จำกัด จากมาเลเซีย เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
9.เขื่อนซำบอ ตั้งอยู่ อ.ซำบอ จ.กระแจ ประเทศกัมพูชา ระดับกักเก็บน้ำ 40 เมตร กำลังผลิตกระแสไฟฟ้า 3,300 เมกะวัตต์ ตุลาคม 2550 รัฐบาลกัมพูชาได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัทไชน่า เซาเทิร์น พาวเวอร์กริด จำกัด เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/ ที่มา: http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9530000029366
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 14:25:03 » |
|
ศูนย์ข่าวภูมิภาค – พิสูจน์ชะตากรรมคนลุ่มน้ำโขง ใต้เงาเขื่อนยักษ์ สุดท้ายมีแต่เหี่ยวแห้งตามระดับน้ำ ที่เริ่มส่งสัญญาณเตือนถึงวิกฤตร้ายแรงกำลังมาเยือนคนท้ายเขื่อนกั้นแม่โขงในทุกมิติ ทั้งธุรกิจเดินเรือ ยันเกษตร-ประมง ของ 5 ชาติ “พม่า – ลาว – ไทย – กัมพูชา-เวียดนาม” สื่อจีนฟันธง แล้งนี้หมดหวังน้ำจากเหนือเขื่อน หลังหยุนหนันเจอแล้งหนักรอบ 6 ทศวรรษ
เพียงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ระดับน้ำในแม่น้ำโขง จากการตรวจวัดระดับน้ำที่ ต.เวียง อ.เชียงของ จ.เชียงราย มีระดับต่ำสุดที่ 0.37 เมตร นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบชั่วอายุคนที่เคยเห็นกับตา ทั้งที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้ง จากปกติน้ำโขงจะเริ่มแห้งในเดือนเมษายน
ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่น่าหวาดหวั่นยิ่งของคนลุ่มน้ำโขงทั้งพม่า ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม
บรรดาผู้เฒ่าผู้แก่ ที่อาศัยอยู่ริมน้ำตามพรมแดนเชียงราย ทั้งที่ อ.เชียงแสน อ.เชียงของ และ อ.เวียงแก่น ตลอดแนว 90 กิโลเมตร ต่างก็ระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาไม่เคยพบเคยเห็นแม่น้ำโขงเหือดแห้งมากเท่านี้มาก่อน เพราะเหลือความลึกเฉลี่ยไม่ถึง 1 เมตร จนเห็นเกาะแก่ง ผาหิน ใหม่ๆ ซึ่งไม่เคยเห็นโผล่พ้นน้ำทั่วบริเวณ
ทั้งนี้ เพราะเมื่อปี 2541 ระดับน้ำต่ำสุด ณ จุดเดียวกันนี้ วัดได้ที่ 0.83 เมตร ,ปี 2542 วัดได้ 0.83 เมตร , ปี 2543 วัดได้ 1.12 เมตร , ปี 2544 วัดได้ 1.08 เมตร , ปี 2545 วัดได้ 1.39 เมตร , ปี 2546 วัดได้ 1.26 เมตร , ปี 2547 วัดได้ 0.70 เมตร , กุมภาพันธ์ 2551 วัดได้ 0.97 เมตร , ปี 2552 ต่ำสุดที่ 1.06 เมตร
นอกจากนี้ เว็บไซต์ http://society.yunnan.cn/html/2010-02/23/content_1081592.htm ยังเผยแพร่ข้อมูลของกองทัพเรือสิบสองปันนาอีกว่า ตั้งแต่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นมา น้ำที่ไหลในแม่น้ำโขงเหลือเพียง 260-280 ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)/วินาที ทำให้มีเรือติดอยู่ตามชายแดนพม่า – ลาว หลายลำ แต่ด้วยภัยแล้งในจีน ทำให้ไม่สามารถพึ่งพาการปล่อยน้ำจากเขื่อนจิ่งหง อันเป็นเขื่อนที่อยู่ใต้สุดของจีนที่กั้นน้ำโขงอยู่ เพื่อช่วยเหลือเรือสินค้าที่อยู่ใต้น้ำได้
ขณะที่ นสพ.ไชน่าเดลี่ 9 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ตีพิมพ์ข่าวสารระบุว่า นับตั้งแต่ปลายปี 2552 เป็นต้นมาได้มีความพยายามกักเก็บน้ำไว้ในเขื่อน เพราะได้เกิดความแห้งแล้งในพื้นที่มณฑลหยุนหนัน สาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างหนักและร้ายแรงที่สุดในรอบ 60 ปี
รวมถึงเจ้าหน้าที่ของบริษัทหัวเหนิงลานซางไฮโดรพาวเวอร์ จำกัด เอกชนที่เข้าไปก่อสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงทั้ง 4 แห่ง ก็ยังระบุว่า ภัยแล้งที่เกิดขึ้นอาจจะส่งผลกระทบต่อระดับน้ำในเขื่อน จนกระทบต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าในมณฑลหยุนหนันได้เช่นกัน
เช่นเดียวกับ นสพ.หนานฟ่างเดลี่ ของจีน ซึ่งรายงานในทำนองเดียวกันว่า ได้เกิดความแห้งแล้งในหยุนหนัน อย่างหนัก ทำให้เขื่อนเสี่ยววาน ต้องการน้ำอย่างมาก เพราะเป็นเขื่อนสำคัญสำหรับหล่อเลี้ยงเขื่อนอื่นๆ
นี่คือ ดัชนีบ่งชี้ชะตากรรมของคนในลุ่มน้ำโขงตอนใต้ตลอดแนวในแล้งนี้
คนเดินเรือสินค้า – เรือโดยสาร ไม่ว่าเล็ก หรือใหญ่ ที่ใช้แม่น้ำโขงทำมาหากินหล่อเลี้ยงชีวิต นอกจากต้องหยุดเดินเรือกันถ้วนหน้าในแล้งนี้แล้ว พวกเขายังมองไกลไปอีกว่า เรื่องปริมาณน้ำที่แห้งเหือด ไม่ใช่ปัญหาเดียวของแม่น้ำโขง แต่ยังมีปัญหาอื่น ที่เป็นเรื่องใหญ่เกิดขึ้นอีก นั่นคือ ตะกอนทราย ในแม่น้ำโขงที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ใต้ท้องน้ำ เต็มไปด้วยทราย ซึ่งพร้อมจะทำให้เรือเกยตื้นหรือใบพัดเรือตีจนเสียหายได้ทุกเมื่อ
ปัจจุบันจึงเหลือเพียงเรือยนต์ช้า -เรือโดยสารสำหรับคนลาวข้ามมาซื้อสินค้าหรือรักษาพยาบาลในฝั่งไทยที่นานๆ ครั้งจะแล่นเข้าออกฝั่ง แต่บรรทุกผู้โดยสารได้คราวละ 1-2 คนเท่านั้น รอวันที่แม่น้ำจะกลับมาเจิ่งนองช่วงต้นฤดูฝน หรือไม่ก็ต้องคอยอานิสงส์ การปล่อยน้ำจากเขื่อนในเขตจีน ซึ่งอยู่ห่างจาก อ.เชียงแสน ไปทางเหนือประมาณ 300 กิโลเมตร
นิวัฒน์ ร้อยแก้ว ที่ปรึกษาเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา ตั้งประเด็นว่า ดูอย่างนี้แล้ว ทำไมคนของรัฐไทย ยังออกมาบอกว่า น้ำโขงแห้ง ไม่ได้เกิดจากเขื่อนจีน !?
สมเกียรติ เขื่อนเชียงสา ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ กล่าวว่า ได้ร่วมกับภาคประชาชนลุ่มแม่น้ำโขง และแม่น้ำสาขา เฝ้าติดตามความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำมาตลอด ทั้งจัดทำข้อมูลและวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติของพืช-สัตว์ในแม่น้ำโขง วิถีชีวิตของชาวบ้านริมฝั่งซึ่งใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขง แม่น้ำสาขา ฯลฯ กระทั่งพบว่าแม่น้ำโขงกำลังจะได้รับผลกระทบ หลังจากมีเขื่อนกั้นในมณฑลหยุนหนัน ตั้งแต่ปี 36 คือเขื่อนม่านวาน
จากนั้นในปี 2544 ก็มีการใช้ข้อตกลงการเดินพาณิชย์ในแม่น้ำโขงตอนบน 4 ชาติคือไทย พม่า สปป.ลาว และจีนตอนใต้ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจของจีนเริ่มขยายตัว ต้องการใช้ทรัพยากรสูงขึ้นโดยเฉพาะกระแสไฟฟ้าและน้ำ ขณะเดียวกันมีเรือสินค้าในแม่น้ำโขงแล่นระหว่างจีน - อ.เชียงแสน อ.เชียงของ มากขึ้นด้วย
“เรามองว่า ทั้งหมดไม่ได้เป็นไปตาม รธน.ของไทย เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่โครงการเหล่านี้ก็ยังเดินหน้า ทั้งเรื่องเขื่อนที่สร้างขึ้นแล้วทั้ง 4 แห่งในหยุนหนัน การระเบิดเกาะแก่งเปิดทางให้เรือสินค้าบรรทุกสินค้าใน 4 ชาติ”
เขามองว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะผลของแม่น้ำโขงแห้งขอดจนเกือบจะเท่าปีนี้เริ่มเกิดขึ้นในปี 2539-2540 ซึ่งเขื่อนแห่งแรก เริ่มเปิดและกักเก็บน้ำพอดี โดยเกิดผลกระทบหนักในเขต สปป.ลาว กระทั่งปีนี้เขื่อนแห่งที่ 4 ในแม่น้ำโขงเริ่มกักเก็บน้ำเมื่อปลายปี 2552 ผลกระทบก็ออกมาอย่างที่เห็น
ปรีชา ร้อยแก้ว แกนนำกลุ่มรักษ์เชียงของ อีกคน บอกว่า วิกฤตน้ำโขง ทำให้คนสองฝั่งน้ำที่อยู่ใต้เขื่อนจีนลงมา กระทบกันถ้วนหน้า เช่น คนหาไก (สาหร่ายน้ำจืด) ที่ต้องใช้อุณหภูมิ-ความลึก ที่เหมาะสม รวมทั้งเติบโตอยู่บนโขดหินตามริมฝั่งแม่น้ำที่ตื้นพอเหมาะ แต่เมื่อน้ำโขงแห้ง ไกเกาะติดอยู่บนหินเขียวขจี ก็ค่อยๆ ตายเพราะถูกแสงแดดแผดเผา
“ปีนี้คิดว่า แทบจะไม่มีไกให้ชาวบ้านได้บริโภคหรือนำมาแปรรูปขาย”
ส่วนภาคเกษตรริมโขง (พื้นที่เกษตรหน้าหมู่) ซึ่งชาวบ้านใช้พื้นที่ริมฝั่งเพาะปลูกพืชผักสวนครัว ก็ได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ปี 2540 หรือ 1 ปีหลังเขื่อนแห่งแรกของจีนเปิดใช้งาน เพราะบางครั้งน้ำก็ท่วม บางครั้งก็เหือดแห้ง ทั้งยังมีปัญหาตลิ่งพังทลาย ทำให้หลายรายสูญเสียที่ทำกิน ที่ธรรมชาติเคยให้มาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายไปอย่างน่าเสียดาย
ศรีนวล สมพันธ์ อายุ 56 ปี คนขับเรือหางยาวรับนักท่องเที่ยวในแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย สะท้อนว่า เขาขับเรือรับจ้างมานานกว่า 20 ปีไม่เคยเห็นน้ำโขงแห้งมากเท่าปีนี้มาก่อน จนแม้แต่เรือเร็วยังแล่นไม่ได้ เพราะใบพัดจะโดนทรายหรือหิน ซึ่งถือว่าช่วงนี้ได้รับผลกระทบอย่างมาก เดิมจะมีรายได้วันละ 1,000-2,000 บาท วันนี้แทบจะไม่มีรายได้เลย
เช่นเดียวกับนายอัศกร ธรรมรัตน์ อายุ 36 ปี ชาวประมงที่หมู่บ้านปงโขง ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน กล่าวว่า เขาออกหาปลาในแม่น้ำโขงด้วยอุปกรณ์ต่างๆ เช่น มอง อวนเล็ก ไซ ฯลฯ เลี้ยงชีพมานาน แต่รอบหลายปีที่ผ่านมาแม่น้ำโขงขึ้น 3 วัน ลด 3 วัน ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ทำให้อุปกรณ์หาปลาที่ดักปลาริมฝั่งแทบใช้การไม่ได้ ส่วนการหาปลาด้วยมอง ตามปกติก็ได้แค่ปลาซิว หรือปลากระตักขนาดเล็ก จากอดีตเคยจับได้ปลาแค้ ปลาคัง ฯลฯ
“ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ปลาในน้ำโขงหายไปหมด” ที่มา: http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9530000029352
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 14:40:45 » |
|
สภาพแม่น้ำโขงที่เมืองปากแบ่ง สปป.ลาว เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ยังพอมีน้ำบริเวณร่องน้ำลึกให้พอเดินเรือได้บ้าง
ภาพบน อดีตความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติที่แก่งช้างหมอบ บ้านห้วยยาง ต.เขมราฐ อ.เขมราฐ ภาพล่างคือ ปัจจุบัน ที่แก่งช้างหมอบ บ้านห้วยยาง ต.เขมราฐ อ.เขมราฐ
ศูนย์ข่าวภูมิภาค – เปิดบันทึกวิถีคนลุ่มน้ำโขง พบตั้งแต่สามเหลี่ยมทองคำ-แก่งช้างหมอบ ยันทะเลสาบเขมร-ที่ราบลุ่มน้ำโขงเวียดนาม ตกที่นั่งเดียวกันทั้งแถบ กระชังปลาหนองคายนับพันเสี่ยงเจ๊ง พื้นที่เกษตรหน้าหมู่ ไร้อนาคต หลังมหานทีใหญ่ที่เคยกว้างร่วมกิโลฯ วันนี้บางจุดกลายเป็นลำห้วยสายน้อยเท่านั้น
แม้รัฐบาลในประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ไม่มีใครส่งเสียงออกมาดัง ๆ ว่า เขื่อนกั้นน้ำโขงของจีน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้วิกฤติแม่น้ำโขงรุนแรงขึ้น หรือเป็นเพราะปริมาณน้ำสะสมทั้งน้ำโขง – แม่น้ำสาขา ปีที่ผ่านมามีน้อย เหลือปริมาณน้ำต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 40 ปี ก็ตาม
แต่การเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง ก็ทำให้ “คนลุ่มน้ำ” ตลอดแนวรับรู้ – รับผล อย่างเลี่ยงไม่พ้น
หลายสิบปีก่อน ชาวบ้านหาดไคร้ ต.เวียง อ.เชียงของ จับปลาบึกได้ปีละหลายสิบตัว เช่น ปี 2529 จับได้ 18 ตัว ปี 2533 จับได้ถึง 69 ตัว แต่หลังจากนั้นก็จับได้น้อยลงเรื่อย ๆ จนถึงปี 2544-2546 หลังมีเขื่อนจีนเกิดขึ้น-มีการระเบิดเกาะแก่งกลางน้ำ เพื่อเปิดเส้นทางเดินเรือพาณิชย์ ก็จับไม่ได้แม้แต่ตัวเดียว กระทั่งปี 2547 จึงจับได้ 7 ตัว และนับแต่นั้นมา สถิติการจับปลาบึกที่หาดไคร้ก็เหลือปีละ 1-2 ตัวเท่านั้น
สุดท้ายอาชีพจับปลาบึกในน้ำโขง ก็เหลือเพียงพิธีกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเท่านั้น
ไล่เลาะลงไปที่ “บ้านหม้อ – บ้านป่าสัก” ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ที่มีคุ้งน้ำโขงอยู่ โดยมี “ดอนชิงชู้” สันดอนทรายของ สปป.ลาว อยู่กลางน้ำโขง วันนี้ เมื่อน้ำโขงแห้งเหือดลง ทำให้ดอนชิงชู้ กลายเป็นคันกั้นน้ำธรรมชาติ ทำให้เกิดหาดทรายกว้างใหญ่ขึ้น แม้แต่แอ่งกระทะ ก็แห้งเหือดไม่เหลือน้ำให้เห็น เรือที่ชาวบ้านเคยใช้สัญจรไปมา – เรือหาปลา ต้องจอดนิ่งสนิท
ต่างจากแล้งก่อน ๆ อย่างสิ้นเชิง
ผอง ดวงดี ชาวบ้านหม้อ บอกว่า น้ำโขงปีนี้ลดเร็วมาก ตั้งแต่ธันวาฯปีที่แล้ว จนถึงต้นกุมภาพันธ์ 2553 ก็แห้งขอด ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
เธอบอกว่า ในอดีตก่อนที่จีนจะสร้างเขื่อน หน้าแล้ง ยังพอมีน้ำโขงไหลมาอยู่บ้าง แม้จะไม่ลึกมากนัก แต่ก็มีน้ำขังอยู่บริเวณแอ่งกระทะกลางลำน้ำ ให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ทั้งจับปลา สูบน้ำ หาบน้ำรดสวนผัก บน “พื้นที่เกษตรหน้าหมู่” และสวนผักริมฝั่งโขง แม้กระทั่งสงกรานต์ แอ่งกระทะเหล่านี้ยังเป็นที่พักผ่อนท่องเที่ยว – เล่นน้ำคลายร้อน พอให้คึกคักชุ่มชื่นกันบ้าง
“แต่น้ำโขงปีนี้ ทำให้คนลาวเดินข้ามมาฝั่งไทยเพื่อเยี่ยมญาติหรือซื้อข้าวของจากฝั่งไทยได้สบาย”
ขณะที่ พรมลิน อ่วมกลาง ชาวประมงบ้านหม้อ สะท้อนว่า เขาจับปลาในแม่น้ำโขงมาตั้งแต่เด็ก จนวันนี้ อายุ 43 ปีแล้ว เห็นแม่น้ำโขงเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน เดิมไม่ว่าจะเป็นช่วงน้ำหลาก น้ำแล้ง ปลาในน้ำโขงก็ยังอุดมสมบูรณ์ หาได้มากบ้าง น้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับฝีมือ-โชคของพรานปลาแต่ละคน
แต่ปีนี้ ปลาที่จับได้ล้วนแต่เป็นปลาเล็ก – ขนาดกลาง เช่น ปลาเนื้ออ่อน, ปลาแข้, ปลาคัง, ปลาเผาะ, ปลาขาว เป็นต้น และยังต้องออกเรือไปให้ถึงร่องน้ำลึก เพื่อให้ปล่อยอวน ลากอวน ได้ อีกทั้งเมื่อน้ำโขงลด ร่องน้ำลึกก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย เราก็ต้องเปลี่ยนที่หาปลาใหม่ไปเรื่อย ๆ
เช่นเดียวกับเกษตรกรเลี้ยงปลากระชังในน้ำโขง ที่บ้านเจริญสุข ต.หินโงม อ.เมืองหนองคาย ที่มีกว่า 100 ราย หรือประมาณ 1,000 กระชังปลา วันนี้พวกเขาต่างเฝ้ามองน้ำโขงด้วยสายตาที่กังวล
สุเทพ หินต์วัน ผญบ.บ้านเจริญสุข บอกว่า ตั้งแต่ต้นกุมภาฯปีนี้ ชาวบ้านที่เลี้ยงปลากระชิงแถบนี้ ต้องคอยสังเกตระดับน้ำโขงทุกวัน เพราะกระชังปลา สูง 1.5 เมตร แต่ล่าสุดระดับน้ำบริเวณนี้อยู่ที่ประมาณ 2 เมตร หากน้ำโขงยังลดลงอีก เชื่อว่าเมษายนปีนี้ น้ำโขงจะต่ำกว่าความสูงของกระชังปลา และเมื่อนั้นก็คงต้องดันกระชังไปอยู่ร่องน้ำลึก เพื่อให้ปลาอยู่รอดได้
“ปี 50 ชาวบ้านต้องดันกระชังปลาออกห่างจากตลิ่งไปนับ 10 เมตร ทั้งที่น้ำโขงมีมากกว่าแล้งนี้มาก”
แต่สิ่งที่พวกเขากังวลมากกว่านี้ก็คือ ถ้าน้ำโขงยังแห้งต่อเนื่องไปอีก และภาวะภัยแล้งที่ยาวไปจนถึงเดือนพฤษภาคม พื้นที่เกษตรของหนองคาย ที่เคยใช้น้ำโขงหล่อเลี้ยงมาตลอด จะตกอยู่ในสภาพไหน !?
ไม่ผิดกับน้ำโขง แถบ อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ เรื่อยไปถึง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ที่กล่าวได้ว่า ใครคิดว่าแม่น้ำโขง จะเป็นเหมือนที่เคยเห็นหลายๆปีก่อน ต้องผิดคาดอย่างสิ้นเชิงแน่นอน
เพราะจากมหานที ที่กว้างเกือบกิโลเมตร เหลือแค่ร่องน้ำเล็ก ๆ ที่ผ่านได้เฉพาะเรือเล็กเท่านั้น
ยิ่งเมื่อเทียบกับภาพเก่าที่เคยถ่ายไว้ ณ จุดเดียวกัน ยิ่งยืนยันกับ สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำนานาชาติสายนี้ เพราะมีสภาพผิดกันราว “ฟ้ากับดิน”
เช่น ที่ “แก่งช้างหมอบ บ้านห้วยยาง ต.เขมราฐ อ.เขมราฐ” เมื่อปี 2549 แม้เป็นหน้าแล้ง หินโสโครก – ไม้น้ำ จะโผล่ให้เห็นเพียงเล็กน้อย แม้บางส่วนจะเป็นร่องน้ำตื้น แต่ก็มีน้ำไหลแรง พอให้ผู้คนใช้เป็นที่พักผ่อน-เล่นน้ำสงกรานต์กันหนาตา
แต่ปีนี้ สายน้ำจุดเดียวกัน กลับขาดช่วง ท้องน้ำแห้งสนิท บางแห่งผืนดินที่อยู่ท้องน้ำมาหลายชั่วอายุคน วันนี้ กลับแตกระแหง
แน่นอนว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ย่อมทำให้ “ชุมชนคนลุ่มน้ำ” ไม่ว่าจะเป็น พม่า ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม ต้องปรับตัวกันขนานใหญ่ทีเดียว จากที่เคยล่องเรือจับปลาตามคุ้งน้ำใหญ่ ต้องหันมาเดินถือแห เดินไปตามท้องน้ำโขง เหมือนลำน้ำขนาดเล็กแทน
บรรดาลูกเด็ก เล็กแดง เดินลัดเลาะตามโขดหิน จับปูปลาขนาดเล็กที่หลบซ่อนอยู่ตามโขดหินน้อยใหญ่ที่น้ำกำลังเหือดแห้งลงทุกขณะ
ระหว่างที่ผู้สื่อข่าวนั่งเรือล่องดูสภาพแม่น้ำโขง โดยมี “บุญชู ศรีบานเย็น” พรานปลา ทำหน้าที่เป็นนายท้ายบังคับเรือ มี“สวัสดิ์ วระบุญญา” มัคคุเทศก์ประจำแก่งช้างหมอบ ทำหน้าที่ผู้นำร่อง คอยสอดส่ายตาไม่ให้ท้องเรือชนโขดหิน เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่น้ำโขงลดลง มุมหนึ่งส่งผลดีกับผู้ประกอบอาชีพประมงริมแม่น้ำ เพราะลำน้ำที่แคบลงมาก ทำให้ชาวประมงสามารถจับปลาได้มากกว่าปกติ ราคาปลาแม่น้ำโขงขณะนี้ จึงปรับตัวลดลงตามปริมาณปลาที่ไหลเข้าสู่ตลาด
ปลาเศรษฐกิจ ทั้งกลุ่มปลาเนื้ออ่อน เช่น ปลานางแดง , ปลาหนัง /กลุ่มปลาเคิง ปลาคัง ปลากดที่นักกินปลานิยมนำไปทำลาบ ลวกจิ้ม และต้มยำ มีราคาถูกลงเฉลี่ยขายกันที่กิโลกรัมละ 130-160 บาท /กลุ่มปลามีเกล็ด ทั้งปลาก่ำ ปลานกแก้ว และอีกหลายสายพันธุ์ นิยมนำไปทำก้อย ทำลาบ หรือยำ มีราคาไม่เกินกิโลกรัมละ 130 บาท ทั้งที่อดีตปลาเหล่านี้ มีราคาเฉลี่ยต่อกิโลกรัมไม่ต่ำกว่า 150 บาท และบางฤดูมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละเกือบ 250 บาท
บุญชู มองว่า ลำน้ำที่แห้งขอดขณะนี้ ไม่น่าส่งผลกระทบต่อการขยายพันธุ์ เพราะช่วงน้ำลดไม่ใช่ฤดูวางไข่ แต่จะกระทบถึงถิ่นฐานที่อยู่ของปลาในอนาคตหรือไม่ ตอบไม่ได้ เพราะปรากฏการณ์แม่น้ำโขงแห้งขนาดนี้ เกิดขึ้นเป็นปีแรก
“แต่จากลำแม่น้ำที่เคยกว้างกว่าหนึ่งกิโลเมตร เหลือแค่ร่องน้ำลึก ซึ่งมีระดับน้ำระหว่าง 1-3 เมตร ทำให้ง่ายต่อการจับปลาของชาวประมงริมแม่น้ำแน่นอน”
แต่สำหรับ มัคคุเทศก์สวัสดิ์ ให้ความเห็นต่างว่า น้ำที่ลดลง ส่งผลต่อเนื่องหลายประการ และเชื่อว่าน้ำโขงหายไปเพราะเขื่อนจีน โดยดูได้จากน้ำขึ้นเร็วและลงเร็ว เหมือนการระบายน้ำออกจากเขื่อน ที่จู่ๆน้ำก็ขึ้นภายใน 1-2 วัน ต่อมาไม่นานน้ำก็แห้งอีก
“น้ำโขงขึ้น-ลงปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ”
และแน่นอนไม่เพียงแต่สามเหลี่ยมทองคำ , บ้านหม้อ , แก่งช้างหมอบ ฯลฯ ในน้ำโขงที่เลาะเลียบพรมแดนไทยจากเหนือ – อีสาน จะตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกันเท่านั้น
แต่หมายรวมไปถึงมหานทีสี่พันดอน หลีผี คอนพะเพ็ง แห่งนครจำปาสัก สปป.ลาว เรื่อยไปจนถึง ทะเลสาบเขมร ที่ราบลุ่มน้ำโขงเวียดนาม ที่เป็นแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตรและแหล่งท่องเที่ยว ที่สำคัญของทั้ง 2 ประเทศ ที่มีน้ำโขงหล่อเลี้ยง ก็หนีไม่พ้นชะตากรรมเดียวกัน
ที่มา: http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9530000030031
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 15:40:46 » |
|
บทเรียนจากแม่น้ำโคโลราโด Colorado River อิทธิพลของสหรัฐอเมริกา ที่เหนือประเทศเม็กซิโก
ชื่อในภาษาสแปนนิช Río Colorado, "Red River แม่น้ำแดง ผ่านภูเขาหุบเขาที่เป็นหินทรายสีแดง เริ่มต้นมาจากทะเลสาบ Grand Lake ในรัฐโคโลราโด มีความยาว 2330 กิโลเมตร ไหลผ่าน 4 มลรัฐ ได้แก่ โคโลราโด เนวด้า อริโซน่า และแคลิฟอร์เนีย โดยผ่านแกรนด์แคนย่อน วนอุทยานที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ มีเขื่อนกั้นน้ำ 2 แห่ง ที่เขื่อนฮูเว่อร์ และ เขื่อน เกลน แคนเนี่ยน ที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า
ในฤดูน้ำหลาก จะมีน้ำไหล 28000 ลบ. ม./วินาที ส่วนในฤดูร้อน มีน้ำไหล 113 ลบ.ม./วินาที น้ำส่วนใหญ่เอาใช้ในการเกษตรกรรม และบริโภคในสหรัฐฯ เหลือน้ำเพียง 10% ที่ไหลลงสู่ทะเล ผ่านประเทศเม็กซิโก ที่อ่าวแคลิฟอร์เนีย (ดินแดนของประเทศเม็กซิโก)
จากภาพถ่ายถ่ายดาวเทียม เมื่อวันที่ 8 เดือนกันยายนปี 2000
Not more than 80 years ago the mighty Colorado River flowed unhindered from northern Colorado through Utah, the Grand Canyon, Arizona, and Mexico before pouring out into the Gulf of California. But as one can see in this image of the Colorado River Delta taken on September 8, 2000, by the Spaceborne Thermal Emission and Reflection Radiometer (ASTER), flying aboard the Terra spacecraft, irrigation and urban sprawl now prevent the river from reaching its final destination.
The Colorado River can be seen in dark blue at the topmost central part of this image. The river comes to an end just south of the multicolored patchwork of farmlands in the northwestern corner of the image and then fans out at the base of the Sierra de Juarez Mountains. A hundred years ago the river would have cut through this entire picture and plowed straight through to the Gulf of California, the mouth of which can be seen in solid blue at the lower righthand corner of the image. Nearly all the water that flows into the Colorado River is now siphoned off for use in crop irrigation and for residential use. In fact, roughly only 10 percent of all the water that flows into the Colorado makes it into Mexico and most of that is used by the Mexican people for farming.
The bluish purple river that appears to be flowing from the Gulf of California to the north is actually an inlet that formed in the bed of the Colorado River after it receded. The island at the entrance to the Gulf of California is the Isle Montague. The gray areas surrounding this inlet and the gulf itself are mud flats created by sediments once carried by the river. The Hoover Dam built in 1935 and the Glen Canyon dam built in 1956 now trap most of the river's sediments long before they find their way to the gulf.
As to the other features on the image, the flat yellow expanse to the east of the farms is the Gran Desirto. Between the farmland and the desert one can see a dark blue pool covered with patches of green. Known as Sienega de Santa Clara, this salt-water marsh formed by return irrigation is home to a huge population of birds, including the endangered Yuma Clapper Rail and the Southwestern Willow Flycatcher. The white patches to the southeast of this swampy area are salt packs that separate the marsh from the near lifeless salt lake extending east. ที่มา: http://earthobservatory.nasa.gov/IOTD/view.php?id=1288
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 16:42:28 » |
|
|
|
|
|
Pae
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 18:08:08 » |
|
ทรัพยากรทุกอย่าง เมื่อมีผู้กักตุน ก็ย่อมมีผู้่ขาดแคลนครับ
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 20:51:12 » |
|
ตามมาอ่านค่ะ
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
ตุ๋ย 22
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 21:09:19 » |
|
ปลาหลากพันธ์ จะสูญพันธ์หมด โดยเฉพาะปลาบึก โลมาน้ำโขง เฮ้อ ประเทศต่างๆ กำลังกระหายพลังงานกันจนสิ่งแวดล้อมเสียหาย
|
น้ำใจน้องพี่สีชมพู ไม่เสื่อมคลายหายไปจากหัวใจ
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 22:28:21 » |
|
ร้ายกาจมากค่ะ แล้วจะเหลืออะไรนี่
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 22:35:09 » |
|
เพราะอะไร ถึงได้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ แล้วถึงกับต้อง ย้ายเมืองหลวงหนีปัญหา เชียวหรือคะ โอย โย่ โย๋ เมืองไทยเรานี้ แสนดีหนักหนา ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ทำมาหากิน แผ่นดินของเรา ปลูกเรือนสร้างเหย้า อยู่ร่วมกันไป
เราอยู่เป็นสุข สนุกสนาน เราตั้งถิ่นฐาน ไว้จนยิ่งใหญ่ เมืองไทยเรานี้ แสนดีกระไร เรารักเมืองไทย ยิ่งชีพเราเอย
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 22:44:51 » |
|
อยากให้แม่น้ำเจ้าพระยา ณ เมืองหลวง เป็นแบบนี้ค่ะ "clean and open water" Copenhagen, Denmark Stockholm, Sweden
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 22:56:32 » |
|
ทำไงดี
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 04 มีนาคม 2553, 08:03:03 » |
|
เขื่อนกั้นแม่น้ำโขง เขื่อนขนาดใหญ่มากกว่า ๑๐๐ เขื่อน ถูกกำหนดให้มีขึ้นบนลำน้ำโขงและแม่น้ำสาขา โดยได้รับการสนับสนุนและผลักดันจากสถาบันหลัก คือ ธนาคารพัฒนาเอเซีย ธนาคารโลก และคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ซึ่งทั้ง ๓ สถาบัน เป็นองค์กรโลกบาลที่มีเป้าหมายชัดเจนในการควบคุมและจัดการแม่น้ำโขงเชิงพาณิชย์
โครงการบางส่วนได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปแล้ว และโครงการหลักที่สร้างผลกระทบอย่างมากต่อลุ่มน้ำโขงทั้งหมด คือ การก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ๘ เขื่อน กั้นแม่น้ำโขงตอนบน หรือแม่น้ำหลานซางในประเทศจีน ภายใต้โครงการหลานซาง – เจียง ซึ่งเป็นโครงการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน โดยไม่สนใจเสียงทักท้วงและความวิตกกังวลของประเทศปลายน้ำว่า จะมีผลกระทบกับแม่น้ำโขง ระบบนิเวศน์ และชุมชนอย่างไรบ้าง รวมทั้งประเด็นที่ จีนกำลังจะกลายเป็นผู้ควบคุมลำน้ำโขง แม่น้ำนานาชาติแต่เพียงผู้เดียว
เขื่อนที่จะสร้างกั้นแม่น้ำโขงตอนบน มี ๒ เขื่อน ที่ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว คือ เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำมันวาน สร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ และเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำดาเชาซาน ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เขื่อนแห่งที่สาม ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ คือเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเซี่ยวหวาน เป็นเขื่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สันเขื่อนสูงถึง ๒๔๘ เมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ จีนได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างไปแล้วเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๔๕ รวมทั้งเขื่อนจิงหงในสิบสองปันนาที่อยู่ระหว่างการศึกษาเตรียมการก่อสร้าง และได้ปรับแต่งหน้าดินบริเวณฝั่งโขงไปแล้ว โดยมีนักธุรกิจการเมืองจากไทยไปร่วมลงทุนซึ่งมีสัญญาจะส่งไฟฟ้ามาขายในประเทศไทยด้วย
ผลกระทบที่เกิดขึ้นในประเทศจีนมีผู้ที่สูญเสียที่อยู่อาศัยไปแล้วไม่ต่ำกว่า ๙,๕๕๓ คน ระบบนิเวศน์ และผลกระทบด้านอื่น ๆ ยังไม่สามารถค้นหาข้อมูลได้ อันมีสาเหตุมาจากเงื่อนไขทางการเมือง เนื่องจากการควบคุมปริมาณน้ำในเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และการเดินเรือ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ เช่น การลดปริมาณของพันธุ์ไม้น้ำ สาหร่ายใต้ผิวน้ำ (ไก) การลดจำนวนลงของปลาบางชนิดถึงกับสูญพันธุ์
นอกจากนี้ผลกระทบต่อแม่น้ำโขงตอนล่างพบว่า มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของแม่น้ำโขงซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก ๒ ประการคือ ฤดูกาลน้ำขึ้น – น้ำลงของกระแสน้ำในแม่น้ำโขงในรอบหนึ่งปี และปริมาณตะกอนในลุ่มน้ำ
การเปิด – ปิดประตูระบายน้ำของเขื่อนในประเทศจีน มีผลทำให้ปริมาณเฉลี่ยของน้ำเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในฤดูแล้ง และการขึ้นลงของน้ำในแม่น้ำโขงไม่เป็นไปตามธรรมชาติอีกต่อไป อีกทั้งปริมาณตะกอนกว่าครึ่งหนึ่งที่จะไหลลงสู่แม่น้ำโขงก็ถูกเก็บกักไว้ที่เขื่อนต่าง ๆ ในจีน ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง
ผลกระทบต่อพันธุ์ปลาและการทำประมง ปริมาณน้ำที่เพิ่มมากขึ้นผิดปกติในฤดูแล้งส่งผลกระทบต่อการเดินทาง วางไข่ และอยู่อาศัยของปลา ขณะเดียวกันในฤดูฝนการเก็บน้ำของเขื่อนทำให้น้ำไม่หลากตามธรรมชาติ ระดับน้ำในพื้นที่ป่าน้ำท่วมถึงบริเวณตอนใต้ของประเทศลาวและกัมพูชาลดลง และส่งผลกระทบไปถึงแหล่งอาหาร แหล่งเพาะพันธุ์วางไข่ และแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ รวมไปถึงการลดลงของทรัพยากรประมง และการสูญพันธุ์ของสัตว์น้ำบางชนิด
ผลกระทบต่อการเกษตร กว่าร้อยละ ๘๐ ของนาข้าวบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงได้อาศัยธาตุอาหารต่าง ๆ ที่มากับตะกอนในช่วงฤดูน้ำหลาก เมื่อมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำโขง ทำให้วงจรการไหลของน้ำไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ปริมาณตะกอนที่มีประโยชน์ต่อการเพาะปลูกลดน้อยลง ส่งผลไปถึงความอุดมสมบูรร์ของดินและปริมาณผลผลิตทางการเกษตรก็จะลดลงตามไปด้วย
แสดงถึงนัยสำคัญว่า ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตจะสูงขึ้นด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของเกษตรกรที่ต้องแบกรับ รวมไปถึงคุณภาพน้ำในแม่น้ำที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีมากขึ้น
ขณะเดียวกันปริมาณน้ำที่เพิ่มมากกว่าปกติในฤดูแล้งทำให้ไม่สามารถทำเกษตรริมโขงได้ นอกจากนี้ยังมีประเด็นผลกระทบเรื่องการกัดเซาะ ปัญหาแผ่นดินถล่ม รวมถึงปัญหาการย้ายชุมชนออกจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อน ซึ่งได้รับค่าชดเชยที่ไม่เป็นธรรม
สถาบันหลักที่ให้การช่วยเหลือในการสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ คือ ธนาคารพัฒนาเอเซีย เขื่อนทั้งหมดที่จีนดำเนินการเป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ บางส่วนมีสัญญาส่งขายกระแสไฟฟ้าให้กับประเทศไทย เช่นเดียวกับประเทศลาว พื้นที่ใหม่ที่นักสร้างเขื่อนทั้งหลายกระหายให้มีเขื่อนในลุ่มน้ำ
ลาวเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีโครงการมากมายเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนในลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำโขง ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียและองค์กรข้ามชาติ เช่น การผลักดันให้มีการก่อสร้างเขื่อนเซคามัน ๑ กั้นแม่น้ำเซคามัน ซึ่งเป็น ๑ ใน ๖ ของแม่น้ำสาขาแม่น้ำเซกองซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาสายใหญ่ที่สุดของแม่น้ำโขง เขื่อนเซคามัน ๑ เป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าตามข้อตกลงที่จะขายให้กับประเทศไทย
อีกโครงการที่สำคัญคือโครงการเขื่อนน้ำเทิน ๒ ซึ่งสร้างกั้นแม่น้ำเทิน แม่น้ำสาขาใหญ่เป็นอันดับที่ ๔ ของแม่น้ำโขง โครงการนี้ตั้งอยู่ในแขวงคำม่วน ในตอนกลางของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และห่างจากโครงการเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำเทิน – หินบูน ที่สร้างเสร็จแล้ว ไปทางเหนือเพียง ๕๐ กิโลเมตรเท่านั้น เป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าตามข้อตกลงที่จะขายกระแสไฟฟ้าให้กับประเทศไทย โครงการเขื่อนน้ำเทิน ๒ นี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อชุมชนและระบบนิเวศน์ แต่แม้ว่าจะมีผลกระทบมากมายเพียงใดต่อชุมชน พันธุ์ปลา ความหลากหลายทางชีวภาพ พืชพรรณและสัตว์ประจำถิ่น แต่ธนาคารโลกก็เตรียมการที่จะให้เงินกู้และให้การรับรองสนับสนุนโครงการแม่น้ำโขงในประเทศกัมพูชา ก็เผชิญกับสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงไม่แพ้กัน เมื่อรัฐบาลกัมพูชามีความพยายามที่จะผลักดันโครงการเขื่อนแซมเบอร์ (SAMBOR dam) ซึ่งจะสร้างกั้นแม่น้ำโขง โดยอ้างว่าเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนนี้มีความสูงถึง ๓๕ เมตร ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง ๓,๓๐๐ เมกกะวัตต์ มีงบประมาณในการก่อสร้างอยู่ที่ ๔ ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โครงการนี้จะทำให้คนไร้ที่อยู่อาศัยถึง ๖๐,๐๐๐ คน ในบริเวณรอบริมฝั่งแม่น้ำโขง และส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อพันธุ์ปลา สัตว์ป่าท้องถิ่น เขื่อนแซมเบอร์นี้ได้รับการสนับสนุนและผลักดันอย่างเต็มที่จากคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
และที่ปลายแม่น้ำโขงก่อนไหลออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม ที่นี่มีแผนการก่อสร้างเขื่อนมากมายในลุ่มน้ำโขงเช่นเดียวกัน อาทิ เขื่อนเปลียกอง เป็นเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าสร้างกั้นแม่น้ำดาโปโค แม่น้ำสาขาของแม่น้ำเซซาน ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง เขื่อนแห่งนี้มีความสูงถึง ๖๕ เมตร ทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำเป็นบริเวณกว้างถึง ๘,๐๐๐ เฮกเตอร์ และท่วมพื้นที่การเกษตร ๕,๖๙๐ เฮกเตอร์ แรกสุดได้รับงบประมาณสนับสนุนการศึกษาความเป็นไปได้ ของโครงการจากคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
เขื่อนเซซาน ๓ และเขื่อนเซซาน ๔ เขื่อนอีกสองแห่งที่จะสร้างกั้นแม่น้ำเซซาน แม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงก็มีเป้าหมายเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และมีที่ตั้งอยู่ห่างกันเพียงแค่ ๕๐ กิโลเมตรเท่านั้น เขื่อนเซซาน ๓ ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเซีย และมีแผนจะสร้างให้เสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๕๐
นอกจากนั้นยังมีแผนจะสร้างเขื่อนทุงคอนตำ เป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้ากั้นแม่น้ำทุงโปโค แม่น้ำสาขาของแม่น้ำเซซาน ทั้งเขื่อนเซซาน ๓ เขื่อนเซซาน ๔ และเขื่อนทุงคอนตำ อยู่ในแผนการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำตลอดแม่น้ำเซซานในประเทศเวียดนาม เพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมที่กำลังขยายตัว และเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขายให้ประเทศเพื่อนบ้าน
ในประเทศไทยเอง โครงการคุกคามแม่น้ำโขงมีมาตลอดระยะเวลากว่าทศวรรษ เขื่อนปากมูล ซึ่งสร้างกั้นแม่น้ำมูน แม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง ปริเวณปากมูน จ.อุบลราชธานี ก็สร้างข้อขัดแย้งอย่างกว้างขวางถึงความไม่คุ้มค่าอย่างที่สุดของโครงการนี้ เมื่อต้องแลกกับระบบนิเวศน์ของพันธุ์ปลาที่สูญเสียไปทั้งระบบ และส่งผลกระทบมหาศาลต่อธรรมชาติและชุมชน เขื่อนปากมูนได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารโลกเป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานน้ำ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘
เขื่อนราษีไศลซึ่งสร้างกั้นแม่น้ำมูนใน จ.ศรีสะเกษ ทำให้ระบบนิเวศน์พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetlands) เสียหายอย่างมหาศาล เขื่อนราษีไศลนี้เป็นเขื่อนสำคัญในโครงการผันน้ำ โขง – ชี – มูล ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
ดูเหมือนว่าบทเรียนราคาแพงที่ไทยได้รับจากเขื่อนทั้ง ๒ ยังไม่เพียงพอที่จะสร้างความรู้สึกหวงแหนธรรมชาติลุ่มน้ำโขง ประเทศไทยยังมีโครงการสร้างเขื่อนหัวนา กั้นแม่น้ำมูน ใน จ.ศรีสะเกษ โครงการสร้างเขื่อนโป่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ กั้นลำเชียงทา แม่น้ำสาขาของแม่น้ำชี ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง โครงการสร้างเขื่อนลำโดมใหญ่ กั้นแม่น้ำลำโดมใหญ่ แม่น้ำสาขาของแม่น้ำมูน
ในแม่น้ำโขงเขตรอยต่อไทย – ลาว บริเวณ จ.เชียงราย โครงการใหญ่ที่คุกคามลุ่มน้ำโขงโดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียให้การสนับสนุน คือ โครงการผันน้ำ กก – อิง – น่าน มีแนวคิดที่จะสร้างเขื่อน สร้างอุโมงค์ เพื่อผันน้ำไปเก็บไว้ที่เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ โครงการนี้จะปิดตายลุ่มน้ำอิงทั้งระบบอันเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง
ที่มา: http://www.skyd.org/html/sekhi/60/028-kong.html
อ้างอิง :
|
|
|
|
|
yc
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: 04 มีนาคม 2553, 09:00:36 » |
|
ขอบคุณสองพี่ใหญ่ พี่วณิชย์16 ,พี่สำเริง17 ที่มีข้อมูลมากมาย หลากแง่มุม มาให้เสมอๆ ผมขอแจมหน่อย ความคิดของ ศ.เกียรติคุณ ฉลอง เกิดพิทักษ์ ดูแล้วเข้าท่านะครับ แต่ น่ากลัวมากๆ จะหาอ่านความคิดโครงการได้จากไหนครับ ผนังด้านหนึ่งเป็นเขื่อน แล้วด้านที่เหลือคือส่วนไหนครับ และที่น่ากลัวกว่าทุกสิ่ง ขอยกคำอธิบายด้วยข้อเขียนของครูตุ๋ย ดังนี้ ในความเห็นของผม ผลจากการสร้างเขื่อนมากมาย โดยเฉพาะลุ่มน้ำโขงนั้น ส่วนที่กระทบมากสุด คือ การสูญเสีย ความหลากหลายทางชีวพันธุ์ แบบที่ครูตุ๋ยยกตัวอย่างมา ส่วนเรื่องปริมาณน้ำนั้น เมื่อสิ้นสุดการสร้างเขื่อน และมีการสะสมน้ำในเขื่อนพอแล้ว ปริมาณน้ำในน้ำโขง น่าจะมีใช้มีใช้มากขึ้นด้วย ยิ่งถ้าเวียตนามสร้างเขื่อนแม่น้ำโขง ก็ยิ่งน่าจะมีน้ำในส่วนไทยเพิ่ม สิ่งที่จะไม่หวนกับมาเลย คือ ความหลากหลายทางชีวพันธุ์ และความสวยงามจากการบรรจงสร้างของธรรมชาติ
|
|
|
|
|
บ่าวหน่อ เมืองพลาญ
Full Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2540
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์
กระทู้: 490
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 04 มีนาคม 2553, 17:42:21 » |
|
ตอนนี้จีนสร้างเขื่อนกั้นไม่น้ำโขง ลาวก็จะสร้าง ใครๆก็จะสร้าง ผ่านประเทศใคร ประเทศนั้นก็จะสร้าง
ผมยังคิดเล่นๆเยนะครับ ว่า หากแม่น้ำโขงมีสัก 200 เขื่อนนี่ จะเกิดอะไรขึ้น แบบว่ากั้นมันทุกๆ 100 KM นี่เลย จะได้มีน้ำใช้ และมีน้ำโขงตลอดทั้งปี ไม่ต้องให้น้ำโขงไหลไปไหนเลย
|
RCU80 จงเจริญ
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #18 เมื่อ: 04 มีนาคม 2553, 21:51:06 » |
|
เห็นภาพชัดเจนกับคำพังเพยของไทยแต่โบราณที่ว่า .. กินน้ำใต้ศอก
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 05 มีนาคม 2553, 05:36:54 » |
|
ทีมนักอนุรักษ์เจอคาตาน้ำโขงแห้งขอด เรือใหญ่-เล็กหยุดวิ่งกันตลอดแนว เหลือแค่เรือยนต์ที่วิ่งข้ามฝั่งไทย-ลาวเท่านั้น แถมบางจุดคนเดินข้ามได้แล้ว ยันเขื่อนจีน-เรือสินค้า-การระเบิดเกาะแก่งใต้น้ำโขง ต้นเหตุก่อวิกฤต จี้รัฐบาลยกระดับปัญหาเข้าเวทีระหว่างประเทศด่วน แทนปล่อยคนท้ายน้ำรับกรรม รายงานข่าวจาก จ.เชียงราย แจ้งว่า หลังจากระดับน้ำในแม่น้ำโขงเหือดแห้งอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 53 ล่าสุดเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ทั้งจากกลุ่มรักษ์เชียงแสน-กลุ่มรักษ์เชียงของ ออกสำรวจความตื้นเขินของแม่น้ำโขง บริเวณชายแดนไทย-สปป.ลาว ด้าน อ.เชียงแสน ล่องแม่น้ำไปยัง อ.เชียงของ และ อ.เวียงแก่น เมื่อ 24 ก.พ.53 ปรากฏว่าคณะสำรวจทั้งหมดต้องประสบกับปัญหาแม่น้ำโขงแห้งเหือดเช่นกัน เนื่องจากเรือที่ให้บริการในแม่น้ำโขงทั้งเรือนำเที่ยวขนาดกลาง ขนาดเล็กไปจนถึงเรือเร็ว หรือสปีดโบท ก็งดให้บริการในช่วงนี้กันหมด เหลือเพียงเรือยนต์เล็กที่รับผู้โดยสารข้ามฟากมาจากฝั่ง สปป.ลาว –ไทยเท่านั้น แต่ก็ต้องขับเรืออย่างระมัดระวัง สาเหตุที่คนเดินเรือส่วนใหญ่งดให้การบริการช่วงนี้เนื่องจากแม่น้ำโขงแห้งลง จนส่วนใหญ่ลึกเพียง 0.5-1 เมตรเท่านั้น และมีบางแห่ง เป็นคุ้งน้ำลึก ซึ่งมีความลึกประมาณ 2-3 เมตร ทำให้เรือทุกประเภทไม่กล้าเดินเรือให้บริการ เพราะเกรงว่าจะเกยตื้นติดทรายหรือใบพัดถูกทรายหรือหินจนได้รับความเสียหาย รวมทั้งเกรงว่าจะชนกับเกาะแก่งใต้น้ำโขง ที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำจำนวนมาก ขณะที่เรือสินค้าในแม่น้ำโขงซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรือสัญชาติจีนต่างนำผ้าใบปกคลุมเรือ รักษาสินค้าเอาไว้และจอดเรียงรายอยู่ติดกับท่าเรือเชียงแสนอยู่ราว 4-5 ลำเพราะไม่สามารถแล่นออกจากท่าเรือหรือริมฝั่งได้ รวมถึงเรือสินค้าส่วนใหญ่อีกเกือบ 100 ลำที่เคยวิ่งขึ้น-ล่องจากเชียงรุ่ง – เชียงแสน ก็ไม่สามารถเดินทางมาจากท่าเรือเชียงรุ่งหรือจิ่งหง เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลหยุนหนัน จีนตอนใต้ เช่นกัน เพราะมีตะกอนทรายจำนวนมาก กระจายไปทั่วพื้นทีตลอดแนวแม่น้ำโขง นายจิระศักดิ์ อินทะยศ แกนนำกลุ่มรักษ์เชียงของ อ.เชียงของ กล่าวว่า สภาพของแม่น้ำโขงเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนจนชาวบ้านทั้งสองฝั่งแทบจะเดินไปมาหากันได้ เพราะการเกิดตะกอนทรายขึ้นมากมาย อันเกิดจากใบพัดเรือในแม่น้ำที่พัดตะกุยไปมาเพื่อการค้าขายกันอย่างคึกคักในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งมีการระเบิดเกาะแก่ง จึงทำให้ทรายพื้นแม่น้ำถูกตะกุยขึ้นมาจนเต็ม จากนั้นไหลไปติดตามจุดต่างๆ จนเกิดตะกอนทราย นอกจากนี้ เขื่อนจีนยังเปิดและปิดน้ำไม่เป็นธรรมชาติ ทำให้ต้นไม้ที่ขึ้นริมฝั่ง ที่ต้องการพ้นน้ำนาน 6 เดือนจึงลงรากยืนต้นได้ถูกน้ำท่วมในบางช่วงที่มีการเปิดเขื่อน จนต้นไม้ตาย ต่อมามีการปิดเขื่อนน้ำก็แห้งอีกส่งผลให้ริมฝั่งไม่มีต้นไม้คอยยืดหน้าดิน เมื่อมีเรือสินค้าแล่นผ่านจึงทำให้ดินพังทลายลงไปกลายเป็นตะกอนทรายทับถมกันไปในที่สุด นายมิติ ยาประสิทธิ์ ประธานกลุ่มรักษ์เชียงแสน กล่าวว่า ระดับน้ำจากการตรวจวัดของทางการมีการวัดจากเสาวัดเดิม แต่สภาพปัจจุบันคือเกิดตะกอนทรายจากใต้น้ำขึ้นมาจนทำให้น้ำตื้น แต่ผิวน้ำยังอาจจะเท่าเดิม ดังนั้นสภาพเช่นนี้จึงเกิดจากตะกอนทรายล้นแม่น้ำ ประกอบกับน้ำก็แห้งเพราะการกักเก็บน้ำของเขื่อนจีน โดยปัจจุบันสื่อในประเทศจีนเองไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่ หนังสือพิมพ์หนานฟ่างเดลี่ ฯลฯ ต่างก็นำเสนอข่าวว่าเขื่อนต่างๆ ในแม่น้ำโขงของจีนกักเก็บน้ำเอาไว้ เพราะข้างบนก็ประสบปัญหาความแห้งแล้งเช่นกัน และเกิดปัญหาเรือสินค้าติดตามหาดทรายต่างๆ ระหว่างเส้นทางพม่า-สปป.ลาว ดังนั้น จึงอยากให้ยกปัญหานี้เป็นปัญหานานาชาติ รัฐบาลไทยต้องให้ความสำคัญและดำเนินการตามกรอบเวทีระหว่างประเทศต่างๆ หรือประสานกันระหว่างประเทศ เพื่อให้แก้ไขปัญหาพร้อมๆ กัน ไม่ใช่ปล่อยให้ประเทศใต้น้ำได้รับผลกระทบอยู่ฝ่ายเดียว รายงานข่าวแจ้งอีกว่าในปัจจุบันที่มณฑลหยุนหนันมีการก่อสร้างเขื่อนหลายแห่ง โดยเขื่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือเขื่อนเสี่ยวหวาน ตั้งอยู่ตอนบนสุดของเขื่อนอื่นๆ ในแม่น้ำโขง มีความสูง 300 เมตร มีกำลังผลิตไฟฟ้า 4,200 เมกะวัตต์ และมีความจุน้ำกว่า 145,560 ล้าน ลบ.ม. เริ่มกักเก็บน้ำตั้งแต่เดือนตุลาคม 52 นอกจากนี้มีเขื่อนมั่นวาน มีกำลังผลิตไฟฟ้าขนาด 1,500 เมกะวัตต์ เขื่อนต้าเฉาซาน ขนาด 1,350 เมกะวัตต์ และเขื่อนจิ่งหง ขนาด 1,500 เมกะวัตต์
ที่มา: http://www.chiangraifocus.com/newsdetail.php?news=3975
|
|
|
|
บ่าวหน่อ เมืองพลาญ
Full Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2540
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์
กระทู้: 490
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 05 มีนาคม 2553, 09:40:10 » |
|
การที่มีการระเบิดเกาะแก่ง เพื่อขยายเส้นทางคมนาคมขนส่ง เป็นไงหล่ะครับที่นี้น้ำไหลเร็ว มาเร็วไปเร็ว น้ำเลยหมดเร็ว
ลองเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสดีไหมครับ ไม่ต้องสร้างกันแล้วสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว มาสร้างเขื่อน โดนสันเขื่อนเป็นถนนแทนไปเลยดีกว่า จะที่ Work
|
RCU80 จงเจริญ
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 05 มีนาคม 2553, 19:01:48 » |
|
ฟังอีกหนึ่งความเห็นครับ ดร.สมิทธชี้น้ำโขงแห้งไม่เกี่ยวเขื่อนจีนกักน้ำ ชี้เป็นปรากฏการณ์เอลนิโญ่
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 5 มี.ค. ที่โรงแรมเฮอร์มิเทจ รีสอร์ทแอนด์สปา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ประธานศูนย์เตือนภัยแห่งชาติ อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เป็นประธานเปิดการโครงการประชุมสัมมนา เตือนภัยแล้ง และ แก้ปัญหาแหล่งน้ำ โดยมีนายปราโมทย์ ไม้กลัด รองประธานกรรมการมูลนิธิฯ อดีตอธิบดีกรมชลประทาน บรรยายพิเศษเรื่องทฤษฏีและหลักปฏิบัติการจัดหาน้ำเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง
ดร.สมิทธกล่าวว่า เราคาดการณ์ว่าในฤดูร้อนปีนี้จะยาวนาน อุณหภูมิที่ปกคลุมพื้นที่ในประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะสูงผิดปกติ เนื่องจากมีปรากฏการณ์เอลนิโญ่ ซึ่งจะเกิดภาวการณ์ขาดแคลนน้ำ เพราะมีการระเหยของน้ำสูงมาก และจะมีผลกระทบต่อการใช้น้ำในการกสิกรรม และเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะปัญหาที่จะเกิดขึ้นในโอกาสข้างหน้าคือ น้ำสำหรับใช้ในการบริโภคจะมีปัญหามาก ซึ่งตนเชื่อว่าน่าจะเกิดปัญหาการแย่งน้ำเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถ้าไม่มีการจัดการที่ดี
ส่วนการตั้งข้อสังเกตว่า แม่น้ำโขงแห้งขอดจนเดินข้ามได้ อาจมาจากการที่จีนปิดเขื่อนนั้น ดร.สมิทธกล่าวว่า คิดว่าไม่เกี่ยวข้อง เพราะประเทศจีนกักน้ำไว้จริง แต่เป็นการกักน้ำไว้เพื่อทำพลังงานไฟฟ้า เมื่อพลังงานเต็มก็จะปล่อยออกมา ฉะนั้นปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงไม่ใช่เขื่อนที่ประเทศจีนกักกัน แต่เป็นผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน การละลายของหิมะที่ปกคลุมอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยอาจจะมีการละลายรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นน้ำส่วนหนึ่งก็ไหลลงทะเลไปหมดแล้ว ทำให้เหลือในฤดูแล้งนี้ปริมาณหิมะที่เหลืออยู่ไม่พอที่จะมาให้ปริมาณของน้ำในแม่น้ำโขงสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการวิธีการแก้ปัญหาก็คือวิธีการขุดสระ ขุดบ่อเก็บกักน้ำไว้ถึงจะมีน้ำไว้อุปโภค บริโภค ไปตลอดฤดูแล้ง ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาหลักที่ประเทศไทยไม่เคยแก้ไขให้เป็นรูปธรรมเลย http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRJMk56YzNOREkwTkE9PQ==
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 08:48:33 » |
|
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #23 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 18:16:36 » |
|
เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้เกิด วงจรอุบาทว์ จน-โง่-เจ็บ
ถ้าแม่น้ำโขงแห้งไปจากการสร้างเขื่อนกักน้ำโดยไม่ปล่อยน้ำลงมาให้ประเทศ
ใต้เขื่อนได้ใช้น้ำด้วย ผลจะทำ การเกษตร ไม่ได้ จึงเกิด จน โง่ และ เจ็บ ตามมา
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 20:23:05 » |
|
วันที่ 07 มีนาคม พ.ศ. 2553 เวลา 19:32:38 น. มติชนออนไลน์ จีนบอกปัดคำขอไทยให้เปิดเขื่อนแก้วิกฤตน้ำโขงแล้ง ภาคประชาสังคมเตรียมกดดันต่อในที่ประชุมเอ็มอาร์ซี ภาคประชาสังคมแฉ ผู้ว่าฯเชียงรายทำหนังสือให้จีนเปิดเขื่อนแก้วิกฤตน้ำโขงแห้งขอด แต่ถูกปฏิเสธ เตรียมกดดันต่อในที่ประชุมเอ็มอาร์ซี เม.ย.นี้ "ส.ว." จี้นายกฯ ต้องลงมาดูเลเรื่องนี้ด้วยตนเอง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ชมรมผู้สื่อข่าวสิ่งแวดล้อม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายแม่น้ำเพื่อชีวิต สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ลงพื้นที่สำรวจปัญหาการลดลงของแม่น้ำโขงในพื้นที่บริเวณศาลาท่าน้ำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย สุดเขตแดนประเทศไทยติดต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน (สปป.) ลาว ระหว่างวันที่ 6-7 มีนาคมที่ผ่านมา พบว่าขณะนี้น้ำในแม่น้ำโขงแห้งเป็นลานดินขนาดใหญ่ในพื้นที่ฝั่งไทย เหลือเพียงร่องน้ำแคบๆ ในฝั่งลาวเท่านั้น ชาวบ้านให้ข้อมูลว่าเดือนเมษายนของทุกปี น้ำในแม่น้ำโขงจะมีระดับสูงพอที่จะจัดการแข่งขันเรือยาวประเพณีระหว่างประเทศไทย ลาว และพม่าได้ แต่ปีนี้ไม่สามารถจัดงานได้ เพราะน้ำแห้งมาก
นายมิติ ยาประสิทธิ์ ผู้ประสานงานกลุ่มรักษ์เชียงแสนกล่าวว่า 2 ปีที่ผ่านมา ชาวเชียงแสนกำลังคิดจะปรับตัวเพื่อรับสภาพน้ำในแม่น้ำโขงที่มักจะล้นตลิ่ง และไหลท่วมพืชผลทางการเกษตร แต่ปีนี้กลับเกิดปรากฎการณ์ที่ชาวบ้านไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน คือระดับน้ำเริ่มแห้งมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 จนหาปลา ทำการเกษตรไม่ได้ บางรายถึงขั้นคิดจะไปขายแรงงานในเมือง
"ล่าสุด เมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าฯเมืองยูนนาน ประเทศจีน ขอให้ปล่อยน้ำจากเขื่อนจิงหงมาช่วยเหลือพื้นที่ท้ายน้ำ แต่ได้รับแจ้งว่าไม่สามารถทำได้ เพราะต้องเก็บน้ำไว้สำหรับแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ ขณะที่รัฐบาลไทยก็ได้แต่เกรงใจจีนไม่กล้าดำเนินการใดๆ" นายมิติกล่าว
ร.อ.ธงชัย จันทร์มิตร รน.เจ้าหน้าที่หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง อ.เชียงแสน กล่าวว่า จากการติดตามข้อมูลการไหลอย่างผิดปกติของน้ำในแม่น้ำโขงตั้งแต่ปี 2539 ซึ่งเริ่มมีเขื่อนแห่งแรกพบว่าปริมาณน้ำขึ้นลงไม่เป็นไปตามปริมาณฝนที่ตก และไม่เป็นไปตามสถิติที่เคยเก็บไว้ตามฤดูกาลก่อนที่จะมีการสร้างเขื่อนในจีน ด้านนายชวลิต วิทยนนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปลาน้ำจืด ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า เคยสำรวจชนิดของปลาในแม่น้ำโขงที่สบกก อ.เชียงของ พบว่ามีประมาณ 80 ชนิด แต่วิกฤตนี้จะทำให้ปลาหายไปมากกว่าครึ่ง เช่น ปลาบึก ปลาสร้อย ปลาปาก ฯลฯ ปลาชนิดแรกที่จะได้รับผลกระทบคือ ปลาบึก เพราะต้องว่ายทวนน้ำจากบริเวณน้ำตกหลี่ผี แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ขึ้นมาวางไข่ที่แก่งคอนผีหลง อ.เชียงของ จ.เชียงราย เมื่อน้ำลดอย่างนี้โอกาสแพร่พันธุ์ก็จะหายไป 1 ปี ทั้งที่ใกล้จะสูญพันธุ์อยู่แล้ว
"การที่แม่น้ำโขงแห้งจนวิกฤตเวลานี้มาจากหิมะบนเทือกเขาหิมาลัยละลายมากขึ้น จากภาวะโลกร้อน และยิ่งจีนสร้างเขื่อนก็ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายมากขึ้น" นายชวลิต กล่าว
นายประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากการที่ได้ล่องเรือสำรวจแม่น้ำโขงเห็นชัดเจนว่าปัญหาดังกล่าวขึ้นกับการปิดเปิดเขื่อนในจีน แต่ไม่มีใครเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบ ดังนั้นวันที่ 8 มีนาคมนี้ จะตั้งกระทู้ในที่ประชุมวุฒิสภา
ขณะที่นางเตือนใจ ดีเทศน์ กล่าวว่า การใช้แม่น้ำนานาชาติในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต้องมีกติการ่วมกัน เพราะจีนพูดเสมอว่าถ้ามีข้อมูลทางวิชาการชี้ชัดว่าน้ำท่วมน้ำแล้งเพราะเขื่อนในจีน จีนจะยอมรับและร่วมมือ ดังนั้นรัฐสภาจะผลักดันกติการ่วมใน 6 ประเทศให้เร็วที่สุด และนายกรัฐมนตรีต้องดูแลเรื่องนี้ด้วยตัวเอง
ด้านนายนิวัติ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวว่า ขณะนี้สามารถสรุปผลกระทบในแม่น้ำโขงในรอบ 10 ปี ได้ 5-6 ประเด็น คือ การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในจีน ปัญหาการระเบิดเกาะแก่งเพื่อใช้ในการเดินเรือพาณิชย์ การใช้สารเคมี การทำประมงผิดวิธี การบุกรุกพื้นที่ชุ่มน้ำ
"แต่เขื่อนในจีนมีผลมากที่สุด โดยหลังจากเปิดเขื่อนแห่งแรกในปี 2536 ชาวบ้านรับรู้ได้ถึงความผิดปกติ กระทั่งปี 2546 ที่เขื่อนแห่งที่ 2 และ 3 เปิดใช้ทำให้ชัดเจนว่า การปิดและเปิดเขื่อนของจีนเป็นสาเหตุสำคัญ โดยปี 2551 เกิดน้ำท่วมที่เชียงของ แค่หนึ่งคืนมีน้ำสูงถึง 1 เมตร กระทั่งมีเขื่อนแห่งที่ 4 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 น้ำก็แห้งตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์เป็นต้นมา เหลือเพียง 0.38 เมตร ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในการประชุมคณะกรรมาธิการลุ่มน้ำโขง (เอ็มอาร์ซี) ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในเดือนเมษายนนี้ เครือข่ายลุ่มน้ำโขงในภาคเหนือและภาคอีสานจะเคลื่อนไหวใหญ่ โดยจะเปิดเวทีคู่ขนาน รวมทั้งจะไปตั้งเวทีที่หน้าสถานทูตจีน เพื่อกดดันให้จีนแสดงสปิริต และจะทำหนังสือเชิญชวนไปยังรัฐบาลในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้ร่วมกันกดดันด้วย" นายนิวัติกล่าว
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ว่า รัฐบาลตระหนักถึงปัญหาผลกระทบต่อแม่น้ำโขงและยังสงสัยอยู่ว่าจะเกี่ยวข้องกับประเทศจีนหรือไม่อย่างไร ซึ่งในวันที่ 8 มีนาคมนี้ที่จะมีโอกาสพูดคุยกับตัวแทนของจีน จะขอให้จีนร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำไม่ให้ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงได้รับผลกระทบ
"รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ก็ต้องขอความร่วมมืออีกครั้งหนึ่งว่า การใช้น้ำเพื่อการเกษตร ต้องร่วมกันบริหารจัดการ เพราะเราต้องมีน้ำใช้เพียงพอสำหรับข้าวนาปีซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด" นายอภิสิทธิ์กล่าว http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1267965206&grpid=01&catid=
|
|
|
|
|